ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา  (อ่าน 13308 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 02:35:57 am »
0
ใกล้จะถึงวัน อาสฬหบูชาแล้ววันที่ 26 กรกฏาคม 2553
ก็ขอมาแสดง เรื่องนี้ก่อนคร้า เอาบุญก่อนใคร ด้วยการนำเสนอ




วันอาสาฬบูชา ตรงกับ วันเพ็ญ เดือนแปด มีความสำคัญดังนี้

1.เป็นวันของพระธรรม เพราะเป็นวันแรก ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมครั้งแรกเป็นทางการ
   แก่ ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 ชื่อสูตรว่า ธัมมจักรกัปวัตนสูตร ( ทำ มะ จัก กัป ปะ วัด ตะ นะ สูด )
2.มีผู้สำเร็จ ธรรม คนแรกคือ พราหมณ์โกณทัญญะ
3.มี พระรัตนตรัยครบ ครั้งแรก เพราะ พรามห์โกณฑัญญะ ขออุปสมบท เป็นพระรูปแรก ในพระพุทธศาสนา
4.และมีอริยะสงฆ์ ครั้งแรก คือ สำเร็จเป็น พระโสดาบัน
5.ในพระสูตร มีการกล่าวถึง สวรรค์ 16 เป็นครั้งแรก ในพระสูตร

รู้สึกในตอนทำวัตรเย็น พระอาจารย์ จะเปิดทุกวัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2010, 04:30:27 am โดย หมวยจ้า »
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2010, 08:50:23 pm »
0
ใกล้จะถึงวัน อาสฬหบูชาแล้ววันที่ 26 มิถุนายน 2553
ก็ขอมาแสดง เรื่องนี้ก่อนคร้า เอาบุญก่อนใคร ด้วยการนำเสนอ



ขอโทษครับน้องนีย์ที่ถูกแล้ว วันอาสาฬหบูชา คือ วันที่ 26 เดือนกรกฎาคม ครับ ไม่ใช่เดือนมิถุนายน

น้องนีย์เป็นอะไรไป ง่วงนอนรึเปล่าครับ  :34: :34: :34:

ผมขอจุดเทียนสวยๆให้น้องนีย์ เพื่อเป็นกำลังใจ(ตาจะได้ใส) :58: :58: :58:

และอยากเห็นน้องนีย์แสดงธรรมให้มากกว่านี้ ทีแสดงมา ผมว่าสั้นไปหน่อย

ขอให้พักผ่อนให้มากๆน่ะครับ  :bedtime2: :bedtime2:  :49: :49:
ขออนุโมทนา
  :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 04, 2010, 08:52:49 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2010, 04:30:56 am »
0
แ้ก้แล้ว คร้า

 :13: :13:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2010, 07:39:17 am »
0
สำหรับ ประเทศไทยเรานั้น มีวัฒนธรร และ พิธี สำคัญหลายอย่าง


อาทิ การทำเทียนจำนำพรรษา

     การถวายผ้าอาบน้ำฝน

     การเวียนเทียน

     การทำบุญตักบาตร

     การฟังธรรม
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ทรงแสดง พระสูตรแรก ในพระพุทธศาสนาที่มีพระสงฆ์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2010, 01:29:51 am »
0
พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 14 - 19


 [๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน 

แขวงเมืองพาราณสี เสด็จเข้าไปทางสำนักพระปัญจวัคคีย์. พระปัญจวัคคีย์ได้เห็นพระผู้มีพระภาค 

เสด็จมาแต่ไกล แล้วได้นัดหมายกันและกันว่า ท่านทั้งหลาย พระสมณะโคดมนี้เป็นผู้มักมาก 

คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่พึงอภิวาท ไม่พึง 

ลุกขึ้นต้อนรับพระองค์ ไม่พึงรับบาตรจีวรของพระองค์ แต่พึงวางอาสนะไว้  ถ้าพระองค์ปรารถนา 

ก็จักประทับนั่ง. ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปถึงพระปัญจวัคคีย์ พระปัญจวัคคีย์นั้นไม่ตั้งอยู่ 

ในกติกาของตน ต่างลุกขึ้นต้อนรับพระผู้มีพระภาค รูปหนึ่งรับบาตรจีวรของพระผู้มีพระภาค 

รูปหนึ่งปูอาสนะ รูปหนึ่งจัดหาน้ำล้างพระบาท รูปหนึ่งจัดตั้งตั่งรองพระบาท รูปหนึ่ง 

นำกระเบื้องเช็ดพระบาทเข้าไปถวาย พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะ ที่พระปัญจวัคคีย์ 

จัดถวาย แล้วทรงล้างพระบาท. ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์เรียกพระผู้มีพระภาคโดยระบุพระนาม และ 

ใช้คำว่า "อาวุโส" เมื่อพระปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสห้ามพระ 

ปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเรียกตถาคตโดยระบุชื่อ และอย่าใช้คำว่า "อาวุโส" 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุ 

อมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้า 

สักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย 

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน 

เข้าถึงอยู่. 

        เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว. พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า 

อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยานั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้ 

บรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้ 

พระองค์เป็นผู้มักมาก คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริ- 

มนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า. 

        เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

ตถาคตไม่ใช่เป็นคนมักมาก ไม่ได้เป็นคนคลายความเพียร ไม่ได้เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้   

บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จะแสดงธรรม พวกเธอปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว 

ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลาย 

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน 

เข้าถึงอยู่. 

        แม้ครั้งที่สอง พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า ... 

        แม้ครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสว่า ... 

        แม้ครั้งที่สาม พระปัญจวัคคีย์ได้ทูลค้านพระผู้มีพระภาคว่า อาวุโสโคดม แม้ด้วยจริยา 

นั้น แม้ด้วยปฏิปทานั้น แม้ด้วยทุกกรกิริยานั้น พระองค์ก็ยังไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม 

อันเป็นความรู้ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ก็บัดนี้พระองค์เป็นผู้มักมาก คลาย 

ความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ไฉนจักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ 

ความเห็นพิเศษอย่างประเสริฐ อย่างสามารถได้เล่า. 

        เมื่อพระปัญจวัคคีย์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

พวกเธอยังจำได้หรือว่า ถ้อยคำเช่นนี้เราได้เคยพูดแล้วในปางก่อน แต่กาลนี้. 

        พระปัญจวัคคีย์กราบทูลว่า คำนี้ไม่เคยได้ฟังเลย พระพุทธเจ้าข้า. 

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ 

พวกเธอจงเงี่ยโสตสดับ เราได้บรรลุอมตธรรมแล้ว เราจะสั่งสอน จักแสดงธรรม พวกเธอ 

ปฏิบัติอยู่ตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าสักเท่าไร จักทำให้แจ้งซึ่งคุณอันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุด 

แห่งพรหมจรรย์ ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วย 

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. พระผู้มีพระภาคทรงสามารถให้พระปัญจวัคคีย์ 

ยินยอมได้แล้ว. ลำดับนั้นพระปัญจวัคคีย์ ได้ยอมเชื่อฟังพระผู้มีพระภาค เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิต 

เพื่อรู้ยิ่ง. 
                                ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร 
                          ปฐมเทศนา




        [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุด 

สองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ   

        การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้าน 

เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ 

        การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ 

ด้วยประโยชน์ ๑ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ 

ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ 

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตา 

ให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน 

นั้น เป็นไฉน? 

        ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ 

ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ 

ตั้งจิตชอบ ๑ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง 

ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ 

เพื่อนิพพาน. 

        [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ 

ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก 

ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ 

โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบ 

ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา 

ภวตัณหา วิภวตัณหา. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ 

ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ 

นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑. 

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 17

        [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้ว 

แก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล เราก็ได้กำหนดรู้แล้ว. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละเสีย. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล เราได้ละแล้ว 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล เราทำให้แจ้งแล้ว. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรให้เจริญ. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดวงตา ญาณ ปัญญา วิทยา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 

ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล เราให้เจริญแล้ว.   

                        ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ 

        [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ นี้ มีรอบ ๓ 

มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดดีแล้ว เพียงใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังยืนยันไม่ได้ว่า 

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ใน 

หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น. 

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงของเรา ในอริยสัจ ๔ นี้ 

มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น เราจึงยืนยันได้ว่า 

เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก 

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์. 

        อนึ่ง ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นวิเศษของเราไม่กลับกำเริบ ชาติ 

นี้เป็นที่สุด ภพใหม่ไม่มีต่อไป. 

        ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี 

ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา 

สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับเป็นธรรมดา. 

        [๑๗] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดาได้ 

บันลือเสียงว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ 

ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ 

ใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. 

        เทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. 

        เทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราชแล้ว ก็บันลือเสียงต่อไป. 

        เทวดาชั้นยามา ... 

        เทวดาชั้นดุสิต ... 

        เทวดาชั้นนิมมานรดี ... 

        เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ... 

        เทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม ได้ยินเสียงของพวกเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดีแล้ว ก็ 

บันลือเสียงต่อไปว่า นั่นพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว   

ณ ป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม 

หรือใครๆ  ในโลก จะปฏิวัติไม่ได้. 

        ชั่วขณะการครู่หนึ่งนั้น เสียงกระฉ่อนขึ้นไปจนถึงพรหมโลก ด้วยประการฉะนี้แล. 

        ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้าน ทั้งแสงสว่างอันยิ่งใหญ่หาประมาณมิได้ 

ได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย. 

        ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งพระอุทานว่า ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะ ได้รู้แล้วหนอ 

ท่านผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้ จึงได้เป็นชื่อ 

ของท่านพระโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้. 

                                ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จบ 


สรุปในพระสูตร มีข้อทีควรเอาใจใส่ ดังนี้

1. พระพุทธเจ้า ตรัสแสดง ทางที่ไม่ควรปฏิบัติ 2 ทาง
    1.กามสุขัลลิกานุโยค คือเพลิดเพลินอยู่กามคุณ
    2.อัตตะกิละมะูถานุโยค คือทรมานตน

2. วิธีการดับทุกข์นี้มีอยู่ เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8
    1.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก
    2.สัมสังกัปปะ ความคิดถูก
    3.สัมมาอาชีิวะ การเลี้ยงชีวิตถูก
    4.สัมมากัมมันตะ การทำการงานถูก
    5.สัมมาวาจา การพูดจาูถูก
    6.สัมมาวายามะ การพากเพียรถูก
    7.สัมมาสติ การระลึกถูก
    8.สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นถูก

3.ทรงแสดง อริยสัจ 4 มีปริวัฏ 3 ( ญาณ 3 ) มีอาการ 12
    รอบที่ 1
   1.สัจจญาณ ในทุกข์
   2.กิจจญาณ ในทุกข์
   3.กตญาณ ในทุกข์
   รอบที่ 2
   1.สัจจญาณ ในสุมุทัย
   2.กิจจญาณ ในสมุทัย
   3.กตญาณ ในสมุทัย
   รอบที่ 3
   1.สัจจญาณ ในนิโรธ
   2.กิจจญาณ ในนิโรธ
   3.กตญาณ ในนิโรธ
   รอบที่ 4
   1.สัจจญาณ ในมรรค
   2.กิจจญาณ ในมรรค
   3.กตญาณ ในมรรค

   ถ้าพิจารณาให้ ดีแล้ว ในอริยสัจ มีเรื่อง ผล และ เหตุ

   และที่สำคัญ ในอริสัจทั้ง 4 เนื่องด้วยความทุกข์ หรือ ทุกข์

   พระสูตร นี้จึงเป็นเรื่องของการนำมนุษย์ออกจากความทุกข์ ระงับทุกข์

   ความทุกข์ ในที่นี้หมายถึง

  ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่  ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก  ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์

 ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์  โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์


4.ทรงตรัสถึง สวรรค์ 16 ชั้น
 
   สวรรค์ หรือ เทวโลก มี 6 ชั้น ซึ่งเรียกว่า ฉกามาพจร มีดังนี้

1. จาตุมหาราชิกา มีท้าวมหาราชทั้ง 4 เป็นผู้ปกครอง คือ

-1. ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3 พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์
-2. ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ
-3. ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค
-4. ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์

2. ดาวดึงส์ มีพระอินทร์ เป็นผู้ปกครอง

3. ยามา มีท้าวสุยามเทวราช เป็นผู้ปกครอง

4. ดุสิต มีท้าวสันดุสิตเทวราช เป็นผู้ปกครอง

5. นิมมานรดี มีท้าวสุนิมมิตเทวราช เป็นผู้ปกครอง

6. ปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวปรนิมมิตวสวัตตีมาราธิราช เป็นผู้ปกครอง

รูปพรหม 16 ชั้น

1. พรหมปาริสัชชาภูมิ

2. พรหมปุโรหิตาภูมิ

3. มหาพรหมาภูมิ

4. ปริตตาภาภูมิ

5. อัปปมาณาภาภูมิ

6. อาภัสราภูมิ

7. ปริตตสุภาภูมิ

8. อัปปมาณสุภาภูมิ

9. สุภกิณหาภูมิ

10. เวหัปผลาภูมิ

11. อสัญญีสัตตาภูมิ

12. อวิหาสุทธาวาสพรหมภูมิ

13. อตัปปาสุทธาวาสพรหมภูมิ

14. สุทัสสาสุทธาวาสพรหมภูมิ

15. สุทัสสีสุทธาวาสพรหมภูมิ

16. อกนิฏฐสุทธาวาสพรหมภูมิ

5. มีผู้ได้ ดวงตาเห็นธรรม เรียกว่า ธรรมจักษุ การได้ธรรมจักษุ นั้นหมายความว่าสำเร็จ

เป็นพระโสดาบัน

6.พระสูตร นี้ ตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่ พระปัญจวัคคีย์ นั้นมีเหล่าเทวดาร่วมรับฟังด้วย มีเทวดาบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล เป็นหมื่น ( ใช้คำว่า หมื่นโลกธาตุ ) ดังนั้นพระสูตรนี้ จึงจัดเป็น ธรรมาภิศมัย ด้วย






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 08, 2010, 01:32:47 am โดย หมวยจ้า »
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การกล่าวถึง พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่ง
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2010, 01:38:37 am »
0
ในเพลงที่ RDN เปิดบ่อย ๆ

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   ข้าพเจ้า ถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   ข้าพเจ้า ถือเอา พระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   ข้าพเจ้า ถือเอา พระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้า ถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้า ถือเอา พระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้า ถือเอา พระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้า ถือเอา พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้า ถือเอา พระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
 
   แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้า ถือเอา พระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกถึง



การกล่าวแสดง ถึง พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งนั้น ถือว่าเป็น พุทธมามกะ อุบาสก อุบาสิกา

และ พุทธบริษัท

อานิสงค์

เทวดา สุคติ และ การเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เป็นสิ่งหวังได้

 :25:



บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ประเพณี แห่เีทียนพรรษา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2010, 01:42:01 am »
0

เครดิตจากเว็บนี้ คะ

http://www.tatubon.org/tatubon/mc_view.php?t=11&s_id=16&d_id=10



ประวัติ งานประเพณีแห่เทียนพรรษา

            ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิ ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล       ชาวอุบล ไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัย กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่   เมือง อุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

          การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

          ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480 การทำต้นเทียน ได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุ ทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ

          ในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความ สนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

            ใน พ.ศ.2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำ ต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์

          ครั้น พ.ศ.2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน  นายประดับ ก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ

          ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่ง พุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

          พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา  ทำให้ต้นเทียนแกะ สลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา  ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน

          นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จังหวัด อุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา   ให้ เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวด    ขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก

 การทำต้น เทียนประเภทแกะสลัก

          ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยนายคำหมา  แสงงาม ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 หลังจากหล่อและกลึงต้น เทียนแล้ว จะเริ่มแกะสลักต้นเทียนด้วยขั้นตอน ดังนี้

          ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการ่างทั้งส่วนฐานลำต้นและยอดเทียน ใช้เครื่องมือแกะสลักซึ่งจะมีการเซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ แก้ไขส่วนที่บกพร่องในระหว่างการแกะสลัก อาจมีการผิดพลาดได้ เช่น รูปที่แกะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือบางส่วนแตกหัก ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย

เครื่องมือ ที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียน

1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียวและโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว

2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง

3. ตะขอ เหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน

4. แปรง ทาสีชนิดดี

การทำต้น เทียนประเภทติดพิมพ์

          การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มีขั้นตอนและวิธีการคล้ายกันกับการหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลักทุกขั้นตอน แต่มีความแตกต่างกัน 2 ประการ คือ

          การ หล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้ซึ่งมีราคาถูก แต่การหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพดี และราคาแพงกว่า ทั้งนี้ ก็เพราะว่า หากขี้ผึ้งคุณภาพไม่ดี เมื่อแกะสลักลึกและซับซ้อนหลายขั้น ขี้ผึ้งจะแตกหัก

          ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มักหล่อให้มีขนาดเล็กกว่าต้นเทียนประเภทแกะสลัก เพราะการหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ จะต้องนำไปกลึงให้เป็นรูปและขนาดเล็กลงบางส่วน แล้วจึงติดดอกเสริมโดยรอบให้หนาขึ้น ส่วต้นเทียนประเภทแกะสลัก ต้องทำให้มีขนาดใหญ่เอาไว้ เพื่อที่จะแกะสลักหรือขูดออก

            งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี นอกจากจะเป็นงานที่แสดงออกถึง การยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนา อย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลฯ แล้ว ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลฯ อีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก บรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯ ที่มีอยู่มากมายหลากหลายแขนง และผลิตงานด้านศิลปอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปร่วมสมัย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ ทดลอง และประลองฝีมีเชิงช่าง โดยผ่านต้นเทียนพรรษา ดังนั้น ผู้ที่มาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี จึงสามารถชื่นชม และศึกษากิจกรรมของงาน ทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมือง และในด้านศิลปการตกแต่งต้นเทียนกิจกรรมภายในงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1. เยือน ชุมชน ชมวิถีวัฒนธรรมการตกแต่งต้นเทียน

การไปเยือน ชุมชน หรือ คุ้มวัดต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังเตรียมการตกแต่งต้นเทียน คือในช่วงประมาณ 2-3 วัน ก่อนวันแห่นั้น นอกจากผู้มาเยือนจะได้ศึกษากรรมวิธีและขั้นตอน การตกแต่งเทียนอันเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นแล้ว ยังจะได้สัมผัสบรรยากาศการร่วมแรงร่วมใจ ของชุมชนในการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สำคัญของชาวอุบลฯ สำหรับคุ้มวัดที่น่าสนใจ เช่น วัดบูรพา วัดหนองบัว วัดสว่างอารมณ์ วัดศรีประดู่ทรงธรรม วัดสุทัศวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง และวัดผาสุการาม เป็นต้น

2. การ เวียนเทียนวันอาสาฬหบูชาที่วัดงามในเมืองอุบลฯ

การเวียน เทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาจัดขึ้นในช่วงค่ำของ ตามวัดต่างๆ โดยทั่วไปกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่จะได้ชื่นชมเอกลักษณ์ ทางสถาปัตยกรรมพื้นเมือง อันงดงามตามวัดต่างๆ ในอีกมิติหนึ่ง

3. การ ตั้งแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมือง

ในช่วงค่ำ ของวันอาสาฬหบูชา จะเป็นเวลาที่ต้นเทียน พรรษาจากคุ้มวัดต่างๆ กว่า 30 ต้น จะถูกเคลื่อนย้ายมาตั้งไว้ ณ บริเวณถนนรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมขบวนแห่ในเช้าวันรุ่งขึ้น ในช่วงนี้ ต้นเทียนจะได้รับการตกแต่งอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับสถานที่ตั้ง จะได้รับการจัดเตรียมไว้อย่างดี เช่น การเตรียมแสงไฟ ไว้สาดส่องต้นเทียน การประดับประดาบริเวณงาน อย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็น ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในการชื่นชมศิลปการตกแต่งเทียนอย่างละเอียดละออ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงศิลปะตกแต่งเทียนที่งดงาม และสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย

4. กิจกรรม ขบวนแห่เทียนพรรษา

จะจัดขึ้น ในวันรุ่งขึ้น คือวันเข้าพรรษา ตั้งแต่เวลา ประมาณ 08.00 น. เป็นต้นไป โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนอุปราช ผ่านหน้าศาลากลาง ไปถนนชยางกูร เป็นระยะทางประมาณ2-3 กม. จึงสลายขบวน รูปแบบของการจัดขบวนประกอบด้วย ขบวนเทียนหลวงพระราชทาน ขบวนต้นเทียนของคุ้มวัดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละขบวนจะประกอบด้วยการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การเข้าชมขบวนแห่ ่คณะกรรมการจัดงาน จะจัดเตรียมอัฒจันทร์นั่งชมไว้บริการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด อัตราค่าบริการประมาณท่านละ200 บาท ส่วนการเข้าชมขบวนตามจุดอื่นๆ นั้นสามารถชมได้ตามอัธยาศัยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ขบวนดังกล่าวปกติจะเสร็จสิ้นในช่วงบ่าย


อันนี้เป็นประวัติของชาว อุบล ( เมืองบัว )นะคะ 
:25:

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
รูปสวย ๆ จากแห่เทียนพรรษา
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2010, 01:54:23 am »
0




http://www.healthcorners.com/2007/article/img2/2_1208999071.jpg
http://gotoknow.org/file/kamonna/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A4.jpg
http://www.212cafe.com/boardvip/user_board/ketorchid2/picture/01026_2.jpg





คัดสรรมาให้ ดู คะ

จะได้ ภูมิใจ ใน ภูมิปัญญา และ ศรัทธา ของเราชาวไทยที่นับถือพุทธศาสนา

และ ร่วมกันรักษา ประเพณี นี้ด้วยนะคร้า
Aeva Debug: 0.0004 seconds.[/][/img]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 17, 2011, 09:32:47 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2010, 08:41:33 am »
0
อนุโมทนากับผู้หญิงตัวเล็กๆด้วยนะจ๊ะ :25: :25: :25:

ว่างๆจะมาช่วยเสริมให้

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หลวงพี่เฉย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 88
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2010, 12:17:50 pm »
0
อนุโมทนาด้วยอีกคนนะ
ภาพสวยมากๆ ถ่ายเองหรือเปล่านะ  สุดยอดจริงๆนะชอบมากๆ
บันทึกการเข้า
"ขอให้รวยโดยฉับพลัน!!!...ทุกท่านเทอญ"   วรธมฺโมภิกฺขุ (หลวงพี่เฉย)

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอนำบทความเรื่อง “นรกโลกันตร์ นรกเย็น ไม่มีไฟสักนิด” มาแสดง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=595.0
เพื่อบรรยายความอัศจรรย์ของการแสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” ดังนี้ครับ

การอุบัติของพระพุทธเจ้า ช่วยให้นรกโลกันตร์มีแสงขึ้นแวบหนึ่ง
กระนั้น ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสได้มองเห็นอะไรๆ ในนรกโลกันตร์เสียทีเดียว

"ถ้าและว่าต่อ เมื่อใดโพธิสัตวผู้จะลงมาอุบัติตรัสแก่สัพพัญญุตญาณ และเมื่อท่านเสด็จลงไปเอาปฏิสนธิในครรภ์พระมารดานั้นก็ดี และเมื่อท่านสมภพจาตุโกรธรนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแก่สัพพัญุตญาณนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาพระธรรมจักรนั้นก็ดีแล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่นิพพานนั้นก็ดี ในกาล ๕ ที่นี้ในโลกันตนรกนั้นจึงได้เห็นหนแท้นักหนา คนซึ่งอญุ่ในนรกนั้นจึงได้เห็นกัน"
(ข้อความจากหนังสือไตรภูมิพระร่วง)

ชั่วชีวิตของผู้ที่อยู่ใน นรกโลกันตร์ (ซึ่งยาวนานกว่าอายุเฉลี่ยมนุษย์มาก เชื่อเหอะ) มีเพียง 5 ครั้งเท่านั้นที่จะได้มีโอกาสเห็นภาพของดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ และเห็นรูปลักษณ์ของเพื่อนร่วมภพ ซึ่งโอกาสที่จะมีแสงสว่างเพียง 5 ครั้งนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในชีวิตของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ได้แก่

1. เมื่อทรงปฏิสนธิในครรภ์พระมารดา

2. เมื่อประสูติ

3. เมื่อตรัสรู้

4. เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องธัมมจักรกัปปวัตนสูตร (ธรรมจักร)

5. เมื่อเสด็จปรินิพพาน


"อัน ว่าเขาและบ่อนกันดังนั้นก็ดีบมิได้เห็นอยู่นาน เห็นเร็วประมาณดีดนิ้วมือเดียวไส้ เห็นปานดังสายฟ้าแลบคาบเดียวไส้ เมื่อดังนั้นเขาทั้งหลายนั้นมิได้ว่าอันใด ครั้นเขาว่าแต่เท่านั้นแล้วไส้ก็กลับไปมืดดังเก่าเล่า ฯ ผิเมื่อพระพุทธเจ้าตัรสเทศนาธรรมจักรนั้น ยังค่อยเรืองอยู่เว้นนานกว่าทุกคาบวันละน้อยแสงสายจึงวายเรือง"
(ข้อความจากหนังสือไตรภูมิพระร่วง)


อย่าง ไรก็ดี แสงที่สว่าง 5 ครั้งนั้นก็ใช่ว่าจะส่องไปนานๆ แบบหลอดไฟเบอร์ 5 แต่สว่างแค่ชั่วเวลาดีดนิ้วเปาะเดียวเหมือนฟ้าแลบเท่านั้น จะมีก็แต่แสงตอนพระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องธัมมจักรกัปปวัตนสูตรเท่านั้นที่จะ สว่างนานกว่าหน่อยนึง แล้วถึงค่อยๆ จางลงๆ


เป็นที่ทราบกันว่า  เหตุการณ์ในชีวิตของพระพุทธเจ้า ได้แก่
๑. ปฏิสนธิในครรภ์
๒. ประสูติ
๓. ตรัสรู้
๔. แสดงปฐมเทศนา “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” (ธรรมจักร)
๕. ปรินิพพาน

ทุกครั้งจะเกิดแผ่นดินไหวและโอภาส(แสงสว่าง)ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ


จากบทความด้านบนจะเห็นว่า หากนำเอาแสงแวบที่ปรากฏเฉพาะในนรกโลกันตร์ มาเป็นตัวชี้วัด

การแสดงธรรมจักรของพระพุทธองค์ยิ่งใหญ่และอัศจรรย์ที่สุด
 เนื่องจาก มีแสงสว่างที่ปรากฏอยู่ ได้นานกว่าทุกเหตุการณ์


คนทั่วไปมักจะให้ความสำคัญของวันวิสาขบูชา มากว่าวันอาสาฬหบูชา
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ให้ความสำคัญกับการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มากกว่าการแสดงธรรมจักร

การแสดงปฐมเทศนาเป็นการประกาศคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือพุทธศาสนา อย่างเป็นทางการ
และนับเป็นการเริ่มเผยแผ่พุทธธรรม เป็นครั้งแรกในชมพูทวีปนั่นเอง


ขอให้ธรรมคุ้มครอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 12, 2010, 12:47:16 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 16, 2010, 04:20:26 pm »
0
อนุโมทนา กับ อุบาสิกาหญิง เข้มแข็งขึ้นนะนี่

:25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพุทธรูป "ปางปฐมเทศนา"และ"ปางประทานเอหิภิกขุ"
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2010, 09:06:37 pm »
0
พระพุทธรูป
ปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร
    

   พระพุทธรูปปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร วัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ( นั่ง ) ขัดสมาธิ บางแห่งสร้างเป็นพระอิริยาบถนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วพระหัตถ์เป็นวงกลม เป็นเครื่องหมายธรรมจักร พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา (ตัก) บางแบบพระหัตถ์ซ้ายประคองพระหัตถ์ขวา หรือพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือชายจีวร

ความเป็นมาของปางปฐมเทศนาหรือปางแสดงธรรมจักร
   ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหปุณมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ มีใจความสำคัญดังนี้ คือ


ทรงให้งดเว้นทางสุดโต่ง ๒ สาย คือ
กามสุขขัลลิกานุโยค ได้แก่ การประกอบตนให้หมกมุ่นในกาม
และอัตตกิลมถานุโยค คือ ทำตนเองให้ลำบาก


ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ และอริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรมในวันนั้น


ปางประทานเอหิภิกขุ
   

   พระพุทธรูปปางประทานเอหิภิกขุ วัดสุทัศนเทพวาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ (นั่ง) ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา (ตัก) พระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ฝ่าพระหัตถ์แบ นิ้วพระหัตถ์งองุ้มลงเล็กน้อย

ความเป็นมาของปางประทานเอหิภิกขุ
   เมื่อพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาเสร็จแล้ว โกณฑัญญพราหมณ์ได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระโสดาบันบุคคลและทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้โกณฑัญญพราหมณ์เป็นภิกษุด้วยพระวาจา ความว่า


"เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด"


ซึ่งถือเป็นการบวชด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นผลให้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๓ ประการ ในวันอาสาฬหบูชา หรือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นี้ คือ
( ๑ ) พระพุทธองค์ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร
( ๒ ) มีพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา
( ๓ ) พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บังเกิดขึ้นครบองค์สามเป็นครั้งแรก


ที่มา http://www.dhammathai.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ความสำคัญ ของวัน อาสาฬหบูชา
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2011, 09:34:58 am »
0
เกี่ยวกับวัน อาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา

มีสาระอ่านเพิ่มเติม ในนี้นะ สำหรับ คนที่ จดหมาย มาถาม นะ

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ