ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - raponsan
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 555
81  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เสียงกลอง เสียงระฆัง เสียงแห่งสัญลักษณ์ “วิถีไทย-วิถีพุทธ” เมื่อ: มีนาคม 14, 2024, 06:29:25 am
 :25: :25: :25:

เสียงกลอง เสียงระฆัง เสียงแห่งสัญลักษณ์ “วิถีไทย-วิถีพุทธ”







ตีกลอง ตีฆ้อง ตีระฆัง

ในสมัยก่อนบ้านเมืองยังไม่เจริญอย่างในปัจจุบันนี้ นาฬิกามักจะมีเฉพาะตามวัดเท่านั้น พระท่านก็ต้องตีกลองหรือฆ้องระฆัง เป็นสัญญาณบอกให้ทราบเวลาเป็นระยะๆ ไป เช่น ในเวลา ๑๘.๐๐ น. ตามวัดต่างๆ ในชนบทท่านมักจะ ย่ำกลอง หรือ ย่ำฆ้อง ย่ำระฆัง เพื่อบอกเวลาให้ชาวบ้าน ด้วยเหตุที่ทุกวันนี้ชาวบ้านมักมีนาฬิกาใช้กันทั่วไปแล้ว การย่ำกลอง ย่ำฆ้อง หรือย่ำระฆัง ในปัจจุบันจึงชักค่อยๆ หมดไป

แต่ก็ยังคงพอได้ยินเสียงกลองเพล เสียงระฆัง รวมทั้งเสียง “ย่ำกลองย่ำฆ้อง” อยู่บ้าง จากวัดใน จ.นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นนทบุรี ปทุมธานี และ จ.พระนครศรีอยุธยา

เสียงกลองจากวัดที่เราได้ยินกันจนคุ้นหู คือ การตีกลองเพล เวลา ๑๑.๐๐ น. เพื่อบอกเวลาฉันเพล ทั้งนี้จะตีโดยใช้ไม้เดียว ๓ ลา หน่วยวัดจังหวะที่ว่า “ลา” มาจากการรัวกลองหรือระฆังจนข้อมือล้า จากช้าไปเร็วสุด จบด้วยการตี ๓ ส่วนเสียงระฆังนั้นหลายคนอาจจะไม่ค่อยได้ยินเท่าไรนัก โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมือง

การตีระฆัง ถ้าเป็นช่วงในพรรษาจะมีการตีระฆังในช่วงเช้ามืดทุกวัน เวลาประมาณ ๐๔.๐๐-๐๔.๓๐ น. โดยจะตี ๓ ลา และจะตีนานถึง ๓๐ นาที เพื่อปลุกพระให้ตื่นจากการจำวัด เพื่อลงประชุมทำวัตรสวดมนต์เช้ามืด เป็นการกำจัดกิเลส ทำตนให้เป็นเขตนาบุญ

เมื่อออกบิณฑบาตโปรดญาติโยมในเวลาเช้า โยมจะได้บุญมากๆ จะมีผลต่อความเจริญของผู้ใส่บาตร ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาเตรียมกับข้าวกับปลาใส่บาตร อย่างไรก็ตาม การตีระฆังจะมีการตีอีก ๒ ช่วงเวลา เพื่อสวดมนต์ทำวัตร คือ
   ครั้งแรก ตีประมาณ ๐๘.๐๐ น. เพื่อส่งสัญญาณให้พระลงทำวัตรเช้า และ
   ตีอีกครั้งหนึ่งเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น จะตี ๓ ลา
   ทั้งนี้จะใช้เวลาตีไม่เกิน ๑๐-๑๕ นาที เพื่อส่งสัญญาณให้พระลงประชุมทำวัตรเย็น

เหตุที่ใช้เวลาตีนานต่างกัน เพราะตอนเช้ามืดพระท่านง่วง กลัวจะนอนเพลินไป ไม่ได้ลุกขึ้นทำวัตรเช้ามืด ส่วนตอนเย็นพระท่านตื่นอยู่แล้ว


@@@@@@@

สำหรับความพิเศษของการตีกลองตีระฆังส่งสัญญาณการทำวัตรนั้น ต้องยกให้ การตีกลองตีระฆังย่ำค่ำ กล่าวคือ ในช่วงพรรษา เมื่อทำวัตรเย็นจบแล้ว ประมาณ ๑๗.๓๐-๑๘.๐๐ น. จะมีการตีกลองย่ำค่ำ ซึ่งเป็นการตีกลองและระฆังประสานเสียงกัน โดยตีกลอง ๔ ครั้ง เป็นจังหวะ ตะ-ลุ่ม-ตุ่ม-ตุ่ม ทั้งนี้จะตีระฆังพร้อมๆ กับกลองในจังหวะตุ่มสุดท้ายพร้อมกัน จากนั้นก็จะเร่งจังหวะเร็วขึ้น ต่างรูปต่างรัวจนรัวไม่ไหว จึงเป็นอันว่าเสร็จ ๑ ลา และจะต้องตีเช่นนี้อีก ๒ ลา รวมเป็น ๓ ลา และทิ้งท้ายอีก ๓ ครั้ง เป็นการประกาศชัยชนะกิเลสของพระวัดนั้นๆ โดยผู้ที่อยู่ทางบ้าน หรือไกลออกไป เมื่อได้ยินเสียงกลองย่ำค่ำ ก็จะยกมือขึ้นประนมจบศีรษะอนุโมทนาบุญ

นอกจากนี้แล้ว ยังมีการตีกลองและระฆังอีก ๒ เรื่อง คือ

   ๑. ตีเมื่อมีเหตุร้ายเกิดขึ้นในวัด เช่น ไฟไหม้ โจรปล้น พระภิกษุมรณภาพ หรือต้องอาบัติหนักถึงขั้นปาราชิก ทั้งนี้ จังหวะการตีกลองระฆังไม่เป็นจังหวะเหมือนย่ำค่ำ จะเป็นการตีรัวทั้งกลองและระฆัง เมื่อชาวบ้านได้ยินก็จะรีบออกไปที่วัดทันที และ

   ๒. ตีเมื่อเกิดจันทรคราส และสุริยคราส ก็จะตีกลองระฆัง แต่ใช้การตีแบบจังหวะย่ำหรือลีลาย่ำค่ำ จนกว่าจันทรคราส และสุริยคราสจะคลาย อันนี้ต้องใช้พระเณรหลายรูป ส่วนใหญ่ก็จะตีกันจนมือพอง ขณะเดียวกัน ชาวบ้านก็จะตีปี๊บ ตีเกราะ เคาะไม้ เพื่อให้พระราหูคลายจากการอมพระอาทิตย์ พระจันทร์

อีกคติหนึ่งเนื่องจากพระเป็นโหราจารย์ คำนวณสุริยจักรวาลได้ เช่นเดียวกับ ร.๔ เป็นการส่งสัญญาณให้ชาวบ้านดูท้องฟ้า “สมเด็จพระญาณวโรดม” อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส กทม. ท่านเคยอบรมพระเณรที่เรียนใน มมร.ว่า

    "พระเณรเดี๋ยวนี้ละเลยไม่ศึกษาวิถีพุทธวิถีไทย เรื่องตีกลองตีระฆัง บางรูปขึ้นไปบนหอระฆังได้คว้าไม้ตีระฆัง ก็ตีจ้ำเอ้า จำเอา ตี ๓ ลา ไม่ถึง ๕ นาที หมาอ้าปากจะหอนสักหน่อยก็ตีจบซะแล้ว ส่วนบางรูปก็ตีอ้อยสร้อย  หมาหอนจะขาตะไกค้างก็ยังตีไม่จบ"

นี่เป็นการแสดงความห่วงใยกระตุ้นให้พระเณรได้ศึกษา และรักษาวิถีพุทธวิถีไทย และวัฒนธรรมทางศาสนา

@@@@@@@

ประเพณีตีกลองของภาคอีสาน

1. ประเพณีตีกลองเดิก(ดึก)

กลองดึก คือ กลองตีสัญญาตอนเวลาประมาณ ๐๓.๐๐-๐๔.๐๐ น. เพื่อเป็นสัญญาณเตือนให้ประชาชนรู้ว่า ถึงวันโกนวันพระ (ขึ้นหรือแรม ๗-๘-๑๔ และ ๑๕) แล้ว ให้งดเว้นสิ่งที่ควรงด ตื่นขึ้นมาสมาทานศีล ไหว้พระสวดมนต์ เจริญภาวนา กลองดึกนี้เป็นสัญญาณเตือนก่อนตื่นนอน เพื่อให้ลุกขึ้นประกอบกรรมดีแต่เช้า กลางวันจะตั้งใจทำอะไรดีก็จะเตรียมตัวไว้แต่เช้า และจะไปบำเพ็ญความดีทั้งวัน ในวันโกนวันพระทั้งสองวัน เพื่อเตือนพระภิกษุสงฆ์ และญาติโยมว่า เป็นวันพระที่จะต้องทำกิจทางพระพุทธศาสนา

2. ส่วนประเพณีตีกลองแลง

คือ การตีกลองสัญญาณในตอนเย็น เพราะคำว่า แลง หมายถึง ช่วงตอนเย็นเป็นเวลาระหว่างเวลา ๑๕.๐๐-๑๖.๓๐ น. จะตีกันในวันโกนวันพระขึ้นและแรม ในวันขึ้น ๘, ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน เมื่อถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. จะมีการตีกลองแลง วันดังกล่าวเป็นวันพระ พระภิกษุสามเณรจะหยุดการศึกษาเล่าเรียน จะซักสบง จีวร ปัดกวาดบริเวณวัดให้สะอาด ลงฟังเทศน์ในวันพระ สำหรับญาติโยมจะหยุดพักงานมาทำบุญรักษาศีล ฟังเทศน์ การตีกลองแลงจะมีเฉพาะในพรรษาเท่านั้น

3. ในขณะที่ประเพณีตีกลองงัน

คือ การตีกลองเวลาค่ำคืนประมาณ ๑๙.๐๐-๒๐.๐๐ น. ซึ่งจะตีทุกวันในช่วงเข้าพรรษา จุดมุ่งหมายของการตี นอกจากจะเป็นการรักษาประเพณีในช่วงเข้าพรรษาเอาไว้แล้ว ยังเป็นการให้สัญญาแก่คนหนุ่มสาวไปร่วมกันที่บริเวณวัด ซึ่งเรียกว่า ลงวัด เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ดายหญ้า ฝึกร้องสารภัญญ์ เป็นต้น

ในสมัยก่อน จะมีการตีกลองงัน บรรดาชายหนุ่มหญิงสาว จะนำเครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน หมากพลู บุหรี่ ไปถวายวัด แล้วพากันทำวัตรค่ำ รับศีลฟังเทศน์ หากมีเวลาก็จะหันสรภัญญ์ หรืออบรมศีลธรรมพอสมควร





ขอขอบคุณ :-
ไตรเทพ ไกรงู : รายงาน
https://www.thairnews.com/เสียงกลอง-เสียงระฆัง-เสี/
โดย thairnews - 04/10/2561
82  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / องค์แห่งทักษิณาทาน |กองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นบุญอันเลิศ เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 10:32:09 am
.



องค์แห่งทักษิณาทาน |กองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เป็นบุญอันเลิศ



๗. ทานสูตร ว่าด้วยองค์แห่งทักษิณาทาน

[๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น อุบาสิกาชื่อนันทมาตา ชาวเมืองเวฬุกัณฑกะ ถวายทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ ในหมู่ภิกษุมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นประธาน

พระผู้มีพระภาคได้ทรงเห็นอุบาสิกาชื่อนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้นแล้ว จึงรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายอุบาสิกาชื่อนันทมาตาชาวเมืองเวฬุกัณฑกะนั้น ถวายทานอันประกอบด้วยองค์ ๖ ในหมู่ภิกษุมีสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นประธาน

    @@@@@@@

    ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างไร.?
    คือ ฝ่ายทายก(ผู้ให้) มีองค์ ๓ ประการ , ฝ่ายปฏิคาหก(ผู้รับ) มีองค์ ๓ ประการ
             
    องค์ ๓ ประการของทายก อะไรบ้าง.?
    คือ ทายกในธรรมวินัยนี้
       ๑. ก่อนให้ก็มีใจดี
       ๒. กำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส
       ๓. ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน
    นี้คือองค์ ๓ ประการของทายก

    องค์ ๓ ประการของปฏิคาหก อะไรบ้าง.?
    คือ ปฏิคาหกในธรรมวินัยนี้
       ๑. เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ
       ๒. เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ
       ๓. เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ
    นี้คือองค์ ๓ ประการของปฏิคาหก

    องค์ ๓ ประการของทายก , องค์ ๓ ประการของปฏิคาหก มีด้วยประการฉะนี้
    ภิกษุทั้งหลาย ทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ เป็นอย่างนี้แล

    @@@@@@@
                                                 
    ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณบุญแห่งทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้ว่า ‘ห้วงบุญ ห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำความสุขมาให้ มีอารมณ์ดีเลิศ(๑-) มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญ ห้วงกุศลแห่งทักษิณานั้นถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’

    เปรียบเหมือนการกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐ อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑,๐๐๐ อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ อาฬหกะ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง น้ำในมหาสมุทรนั้นถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’ ฉันใด

    ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณบุญแห่งทักษิณาอันประกอบด้วยองค์ ๖ อย่างนี้ว่า ‘ห้วงบุญ ห้วงกุศลมีประมาณเท่านี้ นำความสุขมาให้ มีอารมณ์ดีเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่ทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญ ห้วงกุศลของทักษิณานั้น ถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้’ ฉันนั้น

    @@@@@@@

ทายกก่อนให้ก็มีใจดี เมื่อกำลังให้ก็ทำจิตให้เลื่อมใส ครั้นให้แล้วก็มีใจเบิกบาน นี้เป็นความถึงพร้อมแห่งยัญ(๒-)

ปฏิคาหกผู้สำรวมประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลาย คือ ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ ย่อมเป็นเขตที่สมบูรณ์แห่งการให้

ทายกต้อนรับปฏิคาหกด้วยตนเอง ถวายทานด้วยมือตนเอง ยัญนั้นย่อมมีผลมาก เพราะตน(ทายกผู้ให้ทาน) และเพราะผู้อื่น(ปฏิคาหก)เป็นบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ มีศรัทธา มีใจพ้นแล้ว(๓-) บูชายัญอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงโลกที่ปราศจากความเบียดเบียน เป็นสุข

                                           ทานสูตรที่ ๗ จบ



เชิงอรรถ :-
(๑-) มีอารมณ์ดีเลิศ ในที่นี้หมายถึงให้กามคุณ ๕ ประการ มีรูปเป็นต้นที่เลิศ (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๕๑/๓๔๘)
(๒-) ยัญ ในที่นี้หมายถึงทาน หรือเครื่องไทยธรรม (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๐/๓๔๑, องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘)
และดู ขุ.เปต. (แปล) ๒๖/๓๐๕/๒๑๖
(๓-) มีใจพ้นแล้ว หมายถึงมีใจพ้นจากความตระหนี่ลาภเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๓๗/๑๑๘)





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๔๘๖-๔๘๗ | พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๔. เทวตาวรรค , ๗. ทานสูตร
website : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=288
ภาพจาก : https://uttayarndham.org/dhama-daily





อรรถกถาทานสูตรที่ ๗ 
             
พึงทราบวินิจฉัยในทานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวฬุกณฺฏกี ได้แก่ เป็นชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ.
บทว่า ฉฬงฺคสมนฺนาคตํ ความว่า ประกอบไปด้วยองค์คุณ ๖ ประการ.
บทว่า ทกฺขิณํ ปติฏฐาเปติ ความว่า ถวายทาน.

บทว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน ความว่า เป็นผู้ถึงความโสมนัสตั้งเดือนหนึ่งว่า เราจักถวายทาน.
อธิบายว่า บุรพเจตนา ในคำว่า ปุพฺเพว ทานา สุมโน นี้ ย่อมมีแก่ผู้เริ่มต้นทำนา โดยคิดอยู่ว่า เราจักถวายทานด้วยข้าวกล้าที่เกิดจากนานี้ จำเดิมแต่กาลที่เกิดความคิดขึ้นว่า เราจักถวายทาน.
               
ส่วนมุญจนเจตนา(ความตั้งใจสละ) ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เมื่อให้ย่อมยังจิตให้ผ่องใสดังนี้ ย่อมมีได้ในเวลาให้ทานเท่านั้น แต่อปรเจตนานี้ว่า ครั้นให้แล้วก็มีจิตปลาบปลื้มดังนี้ ย่อมมีแก่ผู้ระลึกถึงในภายหลัง ในกาลต่อๆ มา.

               
@@@@@@@

บทว่า วีตราคา ได้แก่ พระขีณาสพผู้ปราศจากราคะ.
บทว่า ราควินยาย วา ปฏิปนฺนา ความว่า ดำเนินปฏิปทาที่เป็นเหตุนำราคะออกไป.

และเทศนานี้เป็นเทศนาอย่างอุกฤษฏ์ แต่มิใช่สำหรับพระขีณาสพอย่างเดียวเท่านั้น แม้พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน โดยที่สุดแม้สามเณรผู้ถือภัณฑะบวชแล้วในวันนั้น ทักษิณาที่ถวายแล้วย่อมชื่อว่าประกอบไปด้วยองค์ ๖ ทั้งนั้น. เพราะว่า แม้สามเณรก็บวชเพื่อโสดาปัตติมรรคเหมือนกัน.

ความบริบูรณ์แห่งทาน ชื่อว่า ยัญสัมปทา.

บทว่า สญฺญตา ความว่า สำรวมแล้วด้วยคำสำรวมคือศีล.
บทว่า สยํ อาจมยิตฺวาน ความว่า ตนเองล้างมือ ล้างเท้า แล้วล้างหน้า.
บทว่า สเกหิ ปาณิภิ ความว่า ด้วยมือของตน. ปาฐะเป็น สเยหิ ก็มี.

บทว่า สทฺโธ ได้แก่ เชื่อคุณพระรัตนตรัย.
บทว่า มุตฺเตน เจตสา ความว่า มีจิตหลุดพ้นจากความตระหนี่ในลาภ เป็นต้น.
บทว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลกํ ได้แก่ เทวโลกที่ปราศจากทุกข์ มีแต่สุข และโสมนัสอันโอฬาร.

                             จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๗       
       




ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : pinterest
website : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=308
83  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ตามไปดู ยกโบสถ์วัดใหม่ยายแป้น “๑ เดียว” ในกรุงเทพมหานคร เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 07:53:49 am
.



ตามไปดู ยกโบสถ์วัดใหม่ยายแป้น “๑ เดียว” ในกรุงเทพมหานคร

“ผู้เขียน” บวชเรียนมา 15 พรรษา  เป็นสามเณร 8 ปี และเป็นพระภิกษุอีก 7 ปี  ผ่านโบสถ์มาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 โบสถ์ คือ อาศัยวัดมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 วัด ทั้งชั่วคราวและจำพรรษา ยังไม่เคยไปร่วมกิจกรรม “ยกโบสถ์” สักครั้งหนึ่งในช่วิต  ส่วนใหญ่ไปร่วมงาน “ปิดทองฝังลูกนิมิต” หรือไม่ก็ “งานวัดประจำปี” น้อยสุดเคยร่วมแค่ “ทาสีโบสถ์”

พระพรหมวชิรปัญญาจารย์  (ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายคำว่า “โบสถ์” ไว้ว่า  เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์ ให้อุปสมบท มีสีมาเป็นเครื่องบอกเขต คำว่า โบสถ์ เป็นคำที่ใช้เฉพาะในพระพุทธศาสนา

“โบสถ์” เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ หรือโรงอุโบสถ ถ้าเป็นของพระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือสิม

“โบสถ์” เป็น “สถานที่ศักดิ์สิทธิ์”  เป็นที่ “ประทับของพระพุทธเจ้า” เป็นเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ เรียกว่า “วิสุงคามสีมา” ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องมีสังฆกรรมที่เรียกว่าผูกสีมา หรือผูกพัทธสีมาก่อน

@@@@@@@

ส่วนคำว่า “พัทธสีมา” พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า สีมา หมายถึงเขตหรือแดนที่กำหนดไว้สำหรับทำสังฆกรรมของสงฆ์ เป็นเขตชุมนุมสงฆ์โดยเฉพาะ ซึ่งพระสงฆ์กำหนดว่าผู้อยู่ในเขตนั้นจะต้องร่วมกันทำสังฆกรรมโดยความพร้อมเพรียงกัน

“พัทธสีมา” หมายถึงสีมา หรือเขตแดนที่พระสงฆ์ผูกไว้แล้ว คือพระสงฆ์ร่วมกันกำหนดให้เป็นเขตทำสังฆกรรมตามพระวินัย เรียกพิธีกรรมที่กำหนดอย่างนั้นว่า ผูกสีมา โดยทั่วไปเรียกพัทธสีมาว่า โบสถ์ หรืออุโบสถ เขตหรือแดนที่จะผูกเป็นพัทธสีมานั้น จะต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน เพราะต้องเป็นเขตแยกต่างหากจากเขตแดนบ้าน ซึ่งเรียกว่า “วิสุงคามสีมา”

โบสถ์ เป็น “ศาสนสำคัญ” ในทางพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่สร้าง “คน” เสกคน ให้เป็น “พระภิกษุ”
ยุคโบราณ มีคำกล่าวว่า “คนร้าย”  หนีเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อหนีเข้าไปใน “โบสถ์” เจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ตามจับ เพราะถือว่าเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และหมายความถึงว่า “ผู้ร้าย” ตนนั่น ยอมมอบตัวไว้ใน พระพุทธศาสนา แล้ว






“ผู้เขียน” ไปดูการ “ยกโบสถ์” วัดใหม่ยายแม้น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นวัดสร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 คือ ประมาณปี 2390 โดย “คุณยายแม้น สตรีชาวมอญ”  หลักฐานเหล่านี้มีทั้ง “ระฆังใบเก่า” และบนหลังคาอุโบสถหลังเก่ามีไก่ 2 ตัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ว่าสร้างเสร็จในปีระกา 2391

แต่ความจริง วัดแห่งนี้น่าจะมีอายุมากกว่านี้ เพราะธรรมดาทั่วไปคนมอญหรือคนไทยยุคเก่าเวลาจะสร้างวัดต้องนิมนต์พระมาอยู่ก่อน มาจำพรรษาสัก 5 -10 พรรษา เมื่อเห็นว่าพระอยู่ได้ ชาวบ้านศรัทธา จึงสร้างวัดแบบมั่นคงและถาวร

“วัดใหม่ยายแป้น” เจ้าอาวาสรูปก่อน ๆ มาจากภาคใต้คือ “จังหวัดพัทลุง” เป็นส่วนใหญ่ เพราะสืบเชื้อจากรุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันก็ยังมีคนในตระกูล “ณ พัทลุง” มาคอยดูและอุปถัมภ์วัดอยู่ ซึ่งตระกลู ณ พัทลุงนี้ก็ใช่ใครอื่นๆ คือ “สายคุณหญิงแป้น” ที่ไปแต่งงานกับ “พระยาพัทลุงขุนคางเหล็ก” แล้วตามไปอยู่ภาคใต้ ตั้งรกรากอยู่ที่นั้น

เมื่อแต่งงานแล้ว “ขุนคางเหล็ก” ท่านก็เปลี่ยนจากการนับถือศาสนาอิสลามมาเป็นชาวพุทธ ไม่เหมือนยุคนี้..ใครแต่งงานกับคนอิสลามต้องเข้านับถือรีตอิสลามทันที ไม่ว่าจะเป็น “ชายหรือหญิง”

@@@@@@@

“เจ้าคุณหรรษา” พระเมธีวัชรบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดใหม่ยายแป้น ท่านเป็น “พระนักวิชาการ” มีตำแหน่งทางวิชาการ นอกจาก เป็น “ด๊อกเตอร์” แล้ว ยังได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น “ศาสตราจารย์” ด้วย หากนับพระภิกษุในประเทศไทยเป็นรูปที่ 4 ของคณะสงฆ์
   - รูปแรก คือ พระพรหมบัณฑิต
   - รูปที่ 2 พระธรรมวัชรบัณฑิต
   - รูปที่ 3 พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ซึ่งอยู่วัดใหม่ยายแป้นเช่นกัน และ
   - รูปที่ 4 ก็คือ พระเมธีวัชรบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณหรรษา” 

“ผู้เขียน” ยกมาเล่าแบบนี้เพื่อสื่อถึงว่า “โบสถ์” วัดใหม่ยายแป้น มิใช่โบสถ์ธรรมดา เป็นโบสถ์ที่ “สร้างพระนักวิชาการ” รับใช้สังคม รับใช้คณะสงฆ์ ถึง 2 รูป ยังไม่มีวัดใดทำได้ ขนาด “วัดหลวง”  วัดดัง ๆ ที่ว่ามีเงินเยอะ คนไปท่องเที่ยวเยอะ มีพระจำพรรษาเยอะ ยังสู้ “โบสถ์วัดใหม่ยายแป้น” วัดราษฎร์ไม่ได้

“ผู้เขียน” ถาม “เจ้าคุณหรรษา” ว่าใช้งบประมาณเท่าไร ท่านบอกว่าประมาณ 20 ล้านบาท ใช้เวลา 5 ปี  เพราะ “ยกโบสถ์” ขึ้นมาทั้งหลังตอนนี้ยังไม่มีเจ้าภาพหลัก ไม่มีเจ้าภาพรายใหญ่

สาเหตุที่ยกท่านบอกว่า เพราะวัดติดคลอง เวลาฝนตกน้ำทะลักขึ้นมาท่วมลานโบสถ์ และที่สำคัญพื้นลานโบสถ์ ต่ำมาก ในขณะที่ “ลานวัด” ถมที่สูง ระยะยาวปล่อยไว้นานโบสถ์ “จะทรุด”




“ผู้เขียน” ไม่กล้าถามต่อว่า งบประมาณสูงขนาดนี้เอาที่ไหน เพราะเท่าที่มีประสบการณ์รู้ว่า “พระนักวิชาการ” หาเงินยาก จะออกปากบอกโยม..“กระด้างปาก อาย เขิน เกรงใจ ไม่กล้า” ไม่เหมือนพวก “พระหมอดู-พระปลูกเสก-พระสร้างวัตถุมงคล” พวกนี้โยมเข้าหาเยอะ เงินแค่ 20 ล้าน สร้างพระรุ่นเดียว อย่าว่าแต่ “ยกโบสถ์” เลย สร้างโบสถ์ “ทั้งหลัง” ยังได้สบาย

ตอนนี้พระสงฆ์วัดใหม่ยายแป้น “เดือดร้อน” เวลาลงพระปาฏิโมกข์ คนในชุมชนบวช ต้องไปอาศัยวัดใกล้เคียง ยังคิดอยู่ว่า “รับกฐิน” ปีนี้จะไปทำ “สังฆกรรม” ที่ใด

เท่าที่สืบค้นหาข้อมูลดู การยกโบสถ์ มีอานิสงส์มาก ไม่ต้องคิดอื่นไกล “โบสถ์” คือสถานที่ สร้างคนให้เป็นพระ แค่เป็นเจ้าภาพบวชพระภิกษุ ชาวพุทธเราถือว่าได้บุญ ได้อานิสงส์มากแล้ว นี่คือ “อุโบสถ” สถานที่ “สร้างคนให้เป็นพระ” น่าจะสุดยอดแห่งบุญแล้ว 

และเท่าที่สอบถามจากเพื่อนๆบ้าง พระภิกษุสงฆ์บ้าง ณ ตอนนี้ วัดใหม่ยายแป้น น่าจะเป็นวัดเดียวในกรุงเทพมหานคร ที่ “ยกใหม่” ส่วนวัดอื่นๆ ยังไม่มีข้อมูลว่ามีการยกโบสถ์แล้วบูรณะใหม่เหมือน “วัดใหม่ยายแป้น”

@@@@@@@

ยกโบสถ์ ยกชีวิต “สายมู” บอกว่า “แก้เคราะห์” ได้ทุกชนิด ทั้งเจ็บป่วย ค้าขาย และอุทิศส่วนกุศลให้ “เจ้าเวร-นายกรรม” เป็นต้น

“ผู้เขียน”จึงเชิญชวนชาวพุทธ หากท่านใดเห็นว่าการยกโบสถ์สำคัญต่อวัด สำคัญต่อพระพุทธศาสนาขอเชิญชวน “ร่วมด้วยช่วยกัน” หรือไปเที่ยววัด ไปชมวัดที่สะอาดรื่นรมย์ 

ติดต่อได้ที่เบอร์สำนักงานโทร 096-256-5142 หรือหากไม่สะดวกจะไปที่วัด โอนเงินเข้าบัญชีวัด ธ.กรุงไทย หมายเลข 026-028-0135 ก็ได้บุญเฉกเช่นเดียวกัน





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78079
84  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฟังพระเล่า : วิกฤตใหญ่ที่ไทยกำลังเผชิญ.!! เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 07:04:25 am
.



ฟังพระเล่า : วิกฤตใหญ่ที่ไทยกำลังเผชิญ.!!

วันที่ 12 มีนาคม 67  เพจสติ ได้นำคำบรรยายของ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล วัดป่าสุคะโต อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้พูดถึง “วิกฤตใหญ่ที่ไทยกำลังเผชิญ” ซึ่งสำรวจโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและธนาคารโลก ว่า

เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีข่าวเล็ก ๆ อยู่ข่าวหนึ่ง ที่จริงไม่ควรจะเป็นข่าวเล็ก น่าจะเป็นข่าวใหญ่ เพราะเป็นเรื่องราวข่าวคราวข้อมูลเกี่ยวกับคนไทยทั้งประเทศ แล้วก็มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับตัวเราเองหรือว่าลูกหลานของเราถ้วนหน้าเลย แล้วก็เป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ น่าเป็นห่วง

ก็คือธนาคารโลก กับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเขาเปิดเผยผลการวิจัยเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานของคนไทยทั้งประเทศ เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการดำเนินชีวิต จะเรียกว่าเพื่อความอยู่รอดในสังคมสมัยใหม่ก็ได้

แต่ว่ามากกว่านั้นก็คือเพื่อชีวิตที่ปกติสุขด้วย เขาเรียกว่าเป็นทักษะพื้นฐานหรือว่าบางทีก็ใช้คำว่าทักษะทุนชีวิตเลย ซึ่งเป็นคำใหม่ เป็นทักษะที่เป็นต้นทุนสำหรับการดำเนินชีวิต มีอยู่ 3 อย่าง 
    1) ทักษะด้านการอ่าน 
    2) ทักษะด้านดิจิตอล 
    3) ทักษะทางสังคมและอารมณ์

@@@@@@@

ทักษะด้านการอ่าน และทักษะด้านดิจิตอล คนไทยเกือบ 70%  มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์ ต่ำกว่ามาตรฐาน นับว่าไม่ใช่น้อยเลย เท่ากับค่อนประเทศเลย ทักษะด้านการอ่านเขาไม่ได้หมายถึงเฉพาะอ่านออกหรือรู้หนังสือ แต่รวมถึงการเข้าใจแล้วก็นำไปปฏิบัติได้ ฉะนั้นเขาให้อ่านฉลากยา ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทุกคนจะต้องอ่านเป็น แล้วเข้าใจ เอาไปปฏิบัติถูก คนไทยจำนวนไม่น้อยอ่านไม่ออก หรือที่อ่านนั้นถึงจะอ่านออกก็ปฏิบัติไม่ถูก ไม่เข้าใจ ซึ่งน่าเป็นห่วงมาก

ส่วนทักษะด้านดิจิตอล เขาไม่ได้หมายถึงเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือเป็น ออนไลน์เป็น สามารถใช้ Facebook โซเชียลมีเดียได้ แต่เขายังหมายถึงว่าสามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ดิจิตอลได้ เช่น ค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์หรือว่าสามารถจะเอามาใช้หาข้อมูลที่จำเป็นกับการดำเนินชีวิตทุกอย่าง

ตัวอย่างเช่น เขาให้โจทย์มาเกี่ยวกับราคาค่าบริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งก็มีหลายตัวอย่าง ปรากฏว่าส่วนใหญ่ไม่สามารถจะบอกได้ว่าค่าบริการโทรศัพท์ของหน่วยงานใดมันถูกที่สุด คือไม่สามารถจะเปรียบเทียบได้

แล้วยังรวมถึงความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตก็ยังทำไม่ได้ หาข้อมูลเกี่ยวกับดาราคู่จิ้นนั้นไม่ยาก แต่พอหาข้อมูลที่เกี่ยวกับรายจ่ายรายได้หรือค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ทำไม่เป็น เปรียบเทียบไม่ได้ว่า อะไรดีกว่าอะไร อะไรถูกกว่า 70% ความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์

@@@@@@@

ส่วนทักษะด้านอารมณ์ เขาหมายถึงว่า การรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เข้าใจความรู้สึกของคนอื่น รู้ว่าคนที่เรากำลังเกี่ยวข้องเขามีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร แล้วควรจะปฏิบัติกับเขาอย่างไร ควรจะพูดจาอย่างไร คือทักษะด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น

ที่สำคัญรวมถึงทักษะด้านจัดการกับอารมณ์ของตัวและแก้ทุกข์ของตัวได้ อันนี้ดีหน่อย ดีหน่อยหมายความว่าแย่น้อยหน่อย 30% ของคนไทย มีความสามารถด้านนี้ทักษะด้านนี้ต่ำกว่าเกณฑ์

ที่ว่ามา 2 ทักษะแรก ต่ำกว่าเกณฑ์ถึง 70% ซึ่งมันน่าคิดว่าคนไทยเรียนหนังสือตั้งแต่อนุบาลเลยก็ว่าได้ เด็กอนุบาลคือตั้งแต่เล็ก 2-3 ขวบก็เข้าอนุบาลแล้ว หรือว่าเข้าพรีอนุบาลแม้กระทั่งในชนบท ซึ่งโรงเรียนอนุบาลก็ไม่ได้สอนอะไร ไม่ได้ให้เด็กเล่นแต่ให้เด็กอ่านหนังสือ

เด็กไทยอ่านหนังสือตั้งแต่เล็กในขณะที่เด็กยุโรปเล็ก ๆ อนุบาลเขาไม่ให้อ่านหนังสือ เขาให้เล่นให้เรียนรู้เกี่ยวกับโลกและชีวิต แต่เด็กไทยเรียนหนังสือตั้งแต่เล็ก เข้าเรียน อ่านออกเขียนได้ตั้งแต่อนุบาล แล้ววัน ๆ หนึ่งแม้เด็กประถมเด็กมัธยมก็เรียนกันหลายชั่วโมง ยังไม่นับที่เรียนพิเศษ




เด็กไทยใช้เวลาในการเรียนหนังสือในห้องเรียนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สิงคโปร์ ฟินแลนด์ หรือว่าสวีเดน จำนวนวันที่เด็กเรียนหนังสือน้อยกว่าของไทยเยอะเลย แต่ทำไมเด็กไทยหรือคนไทยกลับมีทักษะด้านการอ่านแย่

อันนี้ยังไม่ได้ทดสอบทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เราก็เรียนตั้งแต่เล็ก แต่ว่าภาษาอังกฤษของเราต่ำมาก แพ้เวียดนามหลายช่วงตัวเลยทีเดียว ทั้งที่เวียดนามเกิดศึกสงครามมา 30 ปี เพิ่งจะเริ่มพัฒนาประเทศจริงจังก็เมื่อ 40 ปีที่แล้ว แต่เขาไปไกลแล้วด้านภาษา ยังไม่ได้พูดเรื่องภาษาต่างประเทศ เอาแค่ภาษาไทย อ่านรู้เรื่องแต่ว่าเข้าใจความหมายได้น้อยมาก

แล้วทักษะด้านดี ๆ ก็แปลกที่คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือ ใช้โซเชียลมีเดียวันหนึ่งหลายชั่วโมง ติดอันดับต้น ๆ ของโลกเหมือนกัน แต่ทำไมทักษะด้านนี้ถึงต่ำมาก หรือว่าเราใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อการเสพสุข หรือว่าเพื่อการปรนเปรอ เพื่อความสนุกสนาน แต่ไม่ได้ใช้เพื่อการค้นหาข้อมูล เพื่อใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

อันนี้นอกจากจะเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความบกพร่องในการเรียนรู้ของคนไทย มันยังสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่องของการเลี้ยงดู หรือการให้การศึกษาแก่เยาวชน เริ่มตั้งแต่ครอบครัวจนถึงโรงเรียนเลย พ่อแม่คงไม่ค่อยได้เลี้ยงดูให้การศึกษาลูกเท่าไหร่

โรงเรียนก็เหมือนกัน เด็กไทยเรียนหนังสือเยอะแต่ว่าความรู้ อ่านออกเขียนได้ด้านภาษาต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งด้านคณิตศาสตร์ การคำนวณ ก็เรียกว่าถดถอยมาก

@@@@@@@

แต่แปลกทักษะประการที่ 3 ซึ่งไม่ค่อยได้เรียน หรือว่าสอนกันในโรงเรียน คือ ทักษะด้านสังคมและอารมณ์ คนไทยจำนวนน้อยกว่าที่มีทักษะด้านนี้ต่ำกว่าเกณฑ์ คือ 30% แสดงว่าคงจะเรียนรู้จากวัฒนธรรม จากสังคม แต่ว่าก็ยังเรียนรู้ไม่พอ ไม่อย่างนั้นมันไม่มีตัวเลขแบบนี้

อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมาก ซึ่งทำให้หลายคนเขาวิตกมาก เฉพาะมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ  เขาบอกว่า ความตกต่ำด้านทักษะของคนไทยหรือทักษะด้านพื้นฐาน ถ้าคิดเป็นตัวเงินแล้วก็ประมาณ 20% ของ GDP หรือของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ก็หลายหมื่นล้านหรือแสนล้านเลยทีเดียว

ถึงบอกว่ามันเป็นข่าวใหญ่ ที่ไม่ควรจะเป็นข่าวเล็ก ๆ ที่พ่อแม่ หรือว่าโรงเรียน ครูบาอาจารย์ควรจะตื่นตัว แล้วก็ตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรการศึกษาของเรามันถึงจะดีขึ้นกว่านี้ ปฏิรูปกันมาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ในช่วง 40 ปี แต่ว่ามันไม่ได้ดีขึ้นเลย มีคนเขาบอกว่ามันต้องยกเครื่องแล้ว ไม่ใช่ปะผุ ซ่อมตรงนี้ทีแก้ตรงนั้นที

แต่ว่าเรื่องนี้ก็ไม่ค่อยได้มีผู้นำประเทศนี่สนใจเท่าไหร่ กระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เป็นคนที่มีความสามารถด้านนี้ มาเป็นรัฐมนตรีก็เพียงเพราะมีตำแหน่งให้ลง แต่ว่าไม่ได้มีความสนใจที่จะผลักดันขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่รัฐมนตรีก็ไม่พอถ้าหากว่าระบบราชการทั้งหมดยังเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ก็คงยาก.





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78072
85  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “มจร” เตรียมพร้อมจัดพิธีอัญเชิญ “พระพุทธมหาจุฬาฯ” เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 06:54:20 am




“มจร” เตรียมพร้อมจัดพิธีอัญเชิญ “พระพุทธมหาจุฬาฯ” 

วันที่ 11 มีนาคม 2567  พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2567 ที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีกำหนดการจัดพิธีอัญเชิญพระพุทธปฎิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา”

เพื่อประดิษฐานบนฐานชุกชี ณ มณฑลพิธี ลานเอนกประสงค์บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา




“ตอนนี้ฐานชุกชีสร้างเสร็จแล้ว พระพุทธรูปหล่อเรียบร้อยแล้ว ทางคณะผู้บริหาร มจร จึงได้กำหนดจัดงานเพื่ออัญเชิญมาตั้งในวันที่ 21 นี้ โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ หรือ “เจ้าคุณประยุทธ์ ปยุตโต” เป็นประธานในพิธี อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ จะเป็นประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ในขณะที่เจ้าภาพซึ่งเป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง คือ คุณเพ็ญศรี ชั้นบุญ จะกล่าวถวายรายงาน

ต่อนั้นก็จะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ กล่าวสัมโมทนียกถา ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ ญาติโยมที่มาร่วมงาน เป็นอันเสร็จพิธี ซึ่งพิธีดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกาเป็นต้นไป..”











ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78059
86  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เตือน “พระอุปัชฌาย์ต่างประเทศ” ไม่ควรกลับมา ให้การบรรพชาอุปสมบทในไทย เมื่อ: มีนาคม 13, 2024, 06:41:24 am




เตือน “พระอุปัชฌาย์ต่างประเทศ” ไม่ควรกลับมา ให้การบรรพชาอุปสมบทในไทย

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรฯ เป็นประธาน เปิดการฝึกซ้อมอบรมพระสังฆาธิการ เพื่อสอบความรู้แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ 57 ครั้งที่ 1

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสมัชชามหาคณิสสร เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กล่าวในการเป็นประธาน เปิดการฝึกซ้อมอบรมพระสังฆาธิการ เพื่อสอบความรู้แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ 57 ครั้งที่ 1 จำนวน 338 รูป เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่วัดสามพระยา ว่า

พระอุปัชฌาย์เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญ โดยในจริยาพระอุปัชฌาย์นั้นระบุว่า ต้องเอื้อเฟื้อ สังวร ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และกฎหมายอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎ มส. ตามคำสั่งหรือคำแนะนำชี้แจงของผู้บังคับบัญชา ที่สั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎ มส. และต้องระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้บกพร่อง

ซึ่งในทางพระธรรมวินัย พระอุปัชฌาย์ถือว่ามีความสำคัญ เพราะต้องมีหน้าที่กลั่นกรองกุลบุตรผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน เข้ามาเป็นสมาชิกในหมู่สงฆ์ ต้องเป็นประธานและรับผิดชอบในการบรรพชาอุปสมบท ทั้งต้องปกครอง ดูแล อบรม สั่งสอน สัทธิวิหาริก (คำเรียกผู้ที่ได้รับการบวชจากพระอุปัชฌาย์ใครเคยบวชจากพระอุปัชฌาย์รูปใดก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์นั้น) ให้ตั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัติ ต้องขวนขวายให้ได้รับการศึกษาตามพระธรรมวินัย ซึ่งถือเป็นภาระ ธุระของพระอุปัชฌาย์ โดยสัทธิวิหาริกที่พรรษายังไม่พ้น 5 หากจะไปอยู่ที่ใด พระอุปัชฌาย์ต้องมีหน้าที่คอยติดตามด้วย




สมเด็จพระพุฒาจารย์ กล่าวต่อไปว่า ในที่นี้จะขอพูดถึงหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ และสัทธิวิหาริก ตามวินัยมุข ซึ่งเป็นหน้าที่ที่เกิดจากความเคารพซึ่งกันและกัน

โดยหน้าที่ของพระอุปัชฌาย์ต่อสัทธิวิหาริก เรียกว่า สัทธิวิหาริกวัตร มีอยู่ 4 ข้อ
1. มุ่งการศึกษาของสัทธิวิหาริก
2. สงเคราะห์สัทธิวิหาริกด้วยสมณบริขาร
3. ป้องกันความเสื่อมเสียที่จะพึงเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วแก่สัทธิวิหาริก
4. ให้การรักษาพยาบาลเมื่อสัทธิวิหาริกเจ็บไข้ได้ป่วย

ส่วนหน้าที่ของสัทธิวิหาริอ ต่อพระอุปัชฌาย์ เรียกว่า อุปัชฌายวัตร มี 7 ข้อ
1. อุปัฏฐากรับใช้พระอุปัชฌาย์
2. มุ่งการศึกษา
3. ป้องกันความเสื่อมเสียที่จะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้วกับพระอุปัชฌาย์
4. รักษาน้ำใจของพระอุปัชฌาย์
5. มีความเคารพต่อท่าน
6. ไปไหนมาไหนบอกกล่าวท่าน
7. เมื่อพระอุปัชฌาย์เจ็บไข้ ต้องรักษาพยาบาล

ทั้งนี้ เมื่อปฏิบัติต่อกันดังกล่าวจะเกิดความผูกพันกัน นอกจากนี้ ยังมีการอนุญาตให้พระอุปัชฌาย์ สามารถขับไล่สัทธิวิหาริก ที่ไม่มีความเลื่อมใส ไม่มีความละอาย ไม่มีความเคารพ และพระอุปัชฌาย์สามารถประณามสัทธิวิหาริกได้




สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) กรรมการ มส. ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม บรรยายพิเศษว่า สำหรับพระอุปัชฌาย์ที่เป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศนั้น ในการจะดำเนินการบรรพชาอุปสมบทในต่างประเทศนั้น จะต้องทำให้ถูกกฎหมายในแต่ละประเทศ และถูกต้องตามพระธรรมวินัยด้วย ไม่ควรให้การบรรพชาอุปสมบทนอกเขตของตนเองที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศนั้นๆ

เพราะในแต่ละประเทศ ทางสมัชชาสงฆ์ไทยจะมีการแบ่งเขตในการปฏิบัติหน้าที่อยู่แล้ว ถ้าให้การบรรพชาอุปสมบทนอกเขต ต้องขออนุญาตจากสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศนั้นก่อน และพระอุปัชฌาย์ในต่างประเทศ เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้ว ไม่ควรมาให้การบรรพชาอุปสมบทในประเทศไทย เพราะจะเกิดปัญหา แม้จะได้รับการนิมนต์ให้กลับมาทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ในไทย ก็ไม่ควรรับ ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3250086/
12 มีนาคม 2567 , 12:57 น. | การศึกษา-ศาสนา
87  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 3 อาหารต้องห้ามในงานศพ โบราณว่าไว้ อย่าเอามาเสิร์ฟ เมื่อ: มีนาคม 12, 2024, 06:58:13 am
.



3 อาหารต้องห้ามในงานศพ โบราณว่าไว้ อย่าเอามาเสิร์ฟ

”พิธีกรรมและความเชื่ออยู่คู่คนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ วันนี้ทางสายกินจะมาพูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับอาหารต้องห้ามในงานศพ มีอะไรบ้างและเพราะอะไร

แน่นอนว่าคนไทยเรามีความเชื่อต่างๆสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณปู่ย่าตายายและถูกถ่ายทอดมายังลูกหลาน อีกทั้งยังมีประเพณีและพิธีกรรมต่างๆที่ถูกส่งต่อกันมารุ่นสู่รุ่น มีทั้งงานมงคล งานอวมงคล งานขาวดำต่างๆซึ่งในงานเหล่านี้ต่างก็มีความเชื่อเกี่ยวกับข้อห้ามต่างๆที่ห้ามทำในงานเหล่านั้น รวมถึงเรื่องของอาหาร มีทั้งอาหารที่เป็นมงคลและอาหารที่ไม่เป็นมงคลในแต่ละงาน วันนี้ทางสายกินขอพูดถึง เมนูอาหารต้องห้ามในงานศพ

โดยทาง The Ghost Radio เคยได้ให้ข้อมูลไว้ ความเชื่อตั้งแต่โบราณ ในงานศพเป็นงานที่สื่อถึงการจากลา พลัดพรากจากกัน และก็มีเมนูที่ไม่ควรนำมาเสิร์ฟในงานศพเพราะแฝงความหมายที่ไม่ดีเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็เป็นเรื่องของความเชื่อส่วนบุคคล ส่วนอาหารที่ไม่ควรเสิร์ฟในงานศพมีอะไรบ้างนั้น ไปเริ่มกันที่อย่างแรกกันเลย




1. อาหารหรือขนมประเภทเส้น

เมนูไหนก็ตามที่เป็นอาหารประเภทเส้น ไม่ว่าจะเป็น ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ราดหน้า ผัดไทย ผัดหมี่ และพวกขนมหวานอย่างฝอยทองก็ไม่ได้ เพราะคนโบราณกล่าวไว้ว่า อาหารประเภทเส้นเหล่านี้ เป็นเหมือนเส้นใยผูกพัน ทำให้ญาติพี่น้องที่ยังคงมีชีวิตอยู่กับผู้เสียชีวิตอาจผูกพันกันจนไม่สามารถตัดขาดจากกันได้ เนื่องจากวิญญาณของผู้เสียชีวิตยังมีห่วงอยู่และไม่ไปเกิดใหม่ ทั้งยังมีความเชื่อเกี่ยวกับการตายต่อ ๆ กันในเครือญาติ เนื่องจากความยาวของเส้นอาหารต่าง ๆ เป็นเหมือนเส้นใยนำทางให้วิญญาณนำพาชีวิตของคนในครอบครัวไปอยู่ด้วยนั่นเอง




2. อาหารที่ห่อด้วยใบตอง

ตั้งแต่ในอดีตคนโบราณมักนำใบตองหรือใบกล้วยที่มีขนาดใหญ่ มารองศพและปิดร่างศพเอาไว้ เพราะใบตองในสมัยนั้นหาง่าย ดังนั้นการนำอาหารที่ห่อด้วยใบตองมาเสิร์ฟในงานศพจึงเป็นเรื่องไม่ดีไม่เหมาะสม เป็นเหตุผลที่ไม่เห็นงานศพที่ไหนใช้ใบตองมาเป็นส่วนหนึ่งของการจัดโต๊ะอาหาร




3. ขนุน

ตามความเชื่อโบราณ ขนุนเป็นผลไม้มงคลของคนไทย หากปลูกต้นขนุนไว้หน้าบ้าน จะมีคนคอยจุนเจือช่วยเหลือให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง รอดพ้นจากการนินทาว่าร้าย จะช่วยหนุนนำชีวิตไปในทิศทางที่ดีขึ้น ช่วยเสริมสิริมงคล นำพาโชคลาภและเงินทองมาให้กับครอบครัว ขนุนจึงกลายเป็นอาหารต้องห้ามในงานศพ ที่ไม่นำมาเสิร์ฟในงานศพ เนื่องจากเหมาะนำไปเสิร์ฟงานมงคงพิธีต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน งานทำบุญ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล ปัจจุบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โปรดใช้วิจารณญาณ




Thank to : https://www.thainewsonline.co/lifestyle/food/868065
11 มีนาคม 2567
88  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มจร.วัดไร่ขิง เตรียมวิจัยสร้างนวัตกรรมการเจรจาเยียวยาจิตใจ เน้นบุคคล-คนในชุมชน เมื่อ: มีนาคม 12, 2024, 06:52:17 am
.




มจร.วัดไร่ขิง เตรียมวิจัยสร้างนวัตกรรมการเจรจาเยียวยาจิตใจ เน้นบุคคล-คนในชุมชน

มจร.วัดไร่ขิง เตรียมวิจัยสร้างนวัตกรรมการเจรจาเยียวยาจิตใจ เน้นบุคคล-คนในชุมชน สร้างสังคมสันติสุข จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ

เมื่อวันที่ 11 มี.ค.67 ผศ.ดร.นพ.บรรพต ต้นธีรวงศ์ ผอ.หลักสูตรการเจรจาเพื่อเยียวยาและฟื้นคืนความสมานฉันท์ (จ.ย.ส.) วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หรือ มจร. วัดไร่ขิง กล่าวว่า เตรียมดำเนินการวิจัยค้นคว้าข้อมูล สร้างหลักสูตร เพื่อเร่งหานวัตกรรม การเจรจาเพื่อการเยียวยาการบาดเจ็บทางจิตใจ

โดยเน้นที่บุคคล และกลุ่มคนในชุมชน เพื่อสร้างสังคมสันติสุข จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญต่างๆ ในสังคม ซึ่งในปัจจุบันมักเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้แก่ การกระทำทารุณ หรือทำร้ายทางกายในเด็ก คนชรา สตรี ทั้งการข่มขืน การกระทำทรมาน การกระทำทารุณ

รวมไปถึงการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ การบังคับใช้ กฎหมายประหารชีวิต ความยากจน การไร้ที่อยู่อาศัย การเป็นผู้ลี้ภัย การลิดรอนสิทธิเสรีภาพ และการขาดโอกาสในการเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน รวมถึงการสังหารหมู่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ สงครามที่ฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ การอยู่ภายใต้การยึดครองหรือในสภาวะจำยอมหรือระบบทาส ภัยพิบัติสาเหตุจากมนุษย์ สารเคมีรั่วทะลัก โรงงานระเบิด ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ น้ำท่วม โคลนถล่ม การแพร่กระจายของโรค ระบาด การก่อการร้ายชีวภาพ




การทอดทิ้งผู้ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ การสูญเสียอย่างกะทันหัน ได้แก่ บุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียสถานภาพ อัตลักษณ์ทรัพย์สิน บ้าน ที่ดิน การเปลี่ยนแปลงกระทันหันของกฎระเบียบ ซึ่งจะเห็นได้ว่าบาดแผลทางจิตใจ มีหลากหลายสาเหตุและรูปแบบ ปัญหาคือ เราจะตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านี้อย่างไร ซึ่งจะต้องดำเนินการวิจัยเพื่อหาคำตอบ

ผศ.ดร.นพ.บรรพต กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ มจร. วัดไร่ขิง ยังได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรวุฒิบัตรการเจรจาเพื่อเยียวยาและฟื้นคืนความสมานฉันท์ (จ.ย.ส.) รุนที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้อบรมสามารถวิเคราะห์สถานการณ์สะเทือนขวัญ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ความขัดแย้งที่ร้าวลึก การสูญเสียความเสียหาย สาเหตุ จุดยืน ความต้องการ ลักษณะความสัมพันธ์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

2. เพื่อให้ผู้อบรมมีความรู้ความเข้าใจ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับสภาวะการบาดเจ็บทางจิตใจ เทคนิควิธีการเยียวยา สร้างความสมานฉันท์การเจรจาอย่างมียุทธศาสตร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมมนุษยชน

3. เพื่อให้ผู้อบรมมีทักษะความเชี่ยวชาญ การเจรจาเพื่อเยียวยาและฟื้นคืนความสมานฉันท์ในสถานการณ์สะเทือนขวัญ และนำพุทธวิธีมาบูรณาการ โดยจัดอบรมตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. – 17 มี.ค. 2567





Thank to : https://www.khaosod.co.th/monitor-news/news_8133988
11 มี.ค. 2567 - 17:57 น.
89  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "โถกหวาครัน ไม่ทุ่มพ่าน" ถอดรหัสบอกบุญวัดดัง มันแปลว่าอะไรนะหลวงพ่อ เมื่อ: มีนาคม 12, 2024, 06:48:29 am
.



"โถกหวาครัน ไม่ทุ่มพ่าน" ถอดรหัสบอกบุญวัดดัง มันแปลว่าอะไรนะหลวงพ่อ

วัดเลียบจัดให้! ขึ้นป้ายบอกบุญญาติโยมเป็นภาษาใต้ คนภาคอื่นอ่านแล้วเกาหัวไม่เข้าใจ แต่ถ้าคนใต้อ่านแล้วเก็ตทันที

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดเลียบ อ.เมืองสงขลา ตอนนี้ใครที่ขับขี่รถผ่านไปมาหต้องสะดุดตากับป้ายภาษาใต้ที่ติดไว้ที่กำแพงวัด ตรงสี่แยกไฟแดง โดยมีข้อความเป็นภาษาใต้ว่า “พวงหรีดตัวอย่าง โถกหวาครัน ไม่ทุ่มพ่าน ได้บุญตรัน น้ะโยม เห็นด้วยและบอก ตต กันน้ะโยม”




หมายความว่า “ทางวัดมีความประสงค์ต้องการที่จะเปลี่ยนพวงหรีดที่ญาติโยมนำมาแสดงความเสียใจในงานศพให้กับผู้วายชนม์ โดยขอให้เปลี่ยนจากพวงหรีดมาเป็นต้นไม้อยู่ในกระถางและปักชื่อของผู้ที่มอบให้เนื่องจากราคาถูกกว่ามาก เสร็จงานแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ทิ้งเพ่นพ่านรวมทั้งได้บุญอีกด้วย หากเห็นด้วยขอให้บอกต่อๆกันไป”

พร้อมกับตัวอย่างของต้นไม้อยู่ในกระถางและปักชื่อของผู้ที่มอบให้เป็นตัวอย่างตั้งอยู่ใต้ป้ายให้ดูของจริง เรียกว่าใครที่ผ่านไปผ่านมาหน้าวัด ถ้าเป็นคนใต้อ่านแล้วก็เข้าใจได้ทันที แต่ถ้าคนภาคอื่นที่ไม่เข้าใจภาษาใต้ก็อาจจะงงๆ หรือไม่เข้าใจความหมายได้






พระครูนพกิจโกศล เจ้าอาวาสวัดเลียบ ซึ่งจะเป็นคนเขียนป้ายประชาสัมพันธ์กิจกรรมของวัดเองทั้งหมด และจะใช้ภาษาพูดภาษาถิ่นของชาวใต้มาเขียนให้อ่านได้เข้าใจกันง่ายๆ ไม่ต้องแปล ติดไว้ที่กำแพงหรือภายในวัดอยู่บ่อยๆ กล่าวว่า ตอนนี้ทางวัดมีแนวคิดว่าจะเปลี่ยนจากการใช้พวงหรีดที่ญาติโยมนำมาแสดงความเสียใจกับผู้วายชนม์บางครั้งมีเป็นจำนวนมากและราคาแพงอีกด้วย เมื่อเสร็จงานแล้ว ก็จะไม่รู้จะนำไปทิ้งไว้ที่ไหน มันเยอะเกินไป

จึงมีแนวคิดว่า หากเปลี่ยนจากพวงหรีด มาเป็นต้นไม้อยู่ในกระถาง ซึ่งราคาถูกกว่า และทางวัดยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ไปปลูกในบริเวณวัดเพื่อความร่มรื่นสวยงาม ก็จะดีกว่าอีกด้วย จึงได้ขึ้นป้ายสอบถามญาติโยมถึงแนวคิดข้อนี้ว่า เห็นด้วยไหม ซึ่งก็เป็นการได้บุญเช่นเดียวกัน แต่ราคาถูกกว่าพวงหรีดมาก เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีกทางหนึ่งด้วย





Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/209678
11 มี.ค. 67
90  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อธิการบดี มจร. ลงนามประกาศผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2561 เมื่อ: มีนาคม 09, 2024, 08:03:00 am
.



อธิการบดี มจร. ลงนามประกาศผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี 2561

พระราชปริยัติกวี อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้ลงนามในประกาศ มจร. เรื่องผลการคัดเลือกผลงานวิจัย และนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2561 โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 (1) แห่งพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.2540 และมติคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์

โดยมีผลงานวิจัยระดับดีเด่น 3 ผลงาน ได้แก่
   1. ผลงานวิจัยเรื่อง ศึกษาวิเคราะห์แก่นธรรมจากชาดก โดยพระราชปริยัติกวี อธิการบดี มจร.
   2. ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจับยึดและพลิกคัมภีร์ใบลานอัตโนมัติ โดยพระสุธีรัตนบัณฑิต ผอ.สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร.
   3. ผลงานวิจัยเรื่อง โรงเรียนผู้สูงอายุ : หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน โดยผศ.มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์ มจร.วิทยาเขตแพร่

ระดับดีมาก 3 ผลงาน ได้แก่
   1. ผลงานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมกระบวนการแห่งสัมมาชีพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพิจิตร โดยพระราชสิทธิเวที วิทยาลัยสงฆ์พิจิตร
   2. ผลงานวิจัยเรื่อง การฟื้นฟูคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้เข้าร่วมโครงการการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยดร.จุฑามาศ วารีแสงทิพย์ บัณฑิตวิทยาลัย
   3. ผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาต้นแบบการปรับสภาพที่อยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมสุขภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยดร.พุทธชาติ แผนสมบุญ คณะมนุษยศาสตร์ 

นอกจากนี้ยังมีการประกาศผลงานวิจัยระดับดี จำนวน 14 ผลงาน

@@@@@@@

สำหรับนักวิจัยระดับดีเด่น มี 3 ท่าน ได้แก่
   1. พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร บัณฑิตวิทยาลัย
   2. พระราชวชิรเมธี หน่วยวิทยบริการกำแพงเพชร
   3. รศ.ดร.เวทย์ บรรณกรกุล วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆษ

นักวิจัยระดับดีมาก จำนวน 3 ท่าน ได้แก่
   1. นายสมคิด นันต๊ะ วิทยาลัยสงฆ์นครน่านฯ
   2. ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง คณะสังคมศาสตร์
   3. ดร.จรัส ลีกา วิทยาเขตขอนแก่น

นอกจากนี้ ยังมีการประกาศรายชื่อนักวิจัยระดับดีอีก 14 รายด้วย





thank to : https://www.thairnews.com/อธิการบดี-มจร-ลงนามประก/
โดย thairnews - 06/05/2562
91  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แปลก!! วัดสร้างมา 81 ปี “ไม่มีโฉนด” ขณะชุมชนรอบวัดมีครบหมดแล้ว เมื่อ: มีนาคม 09, 2024, 07:50:57 am
.



แปลก.!! วัดสร้างมา 81 ปี “ไม่มีโฉนด” ขณะชุมชนรอบวัดมีครบหมดแล้ว

วันที่ 9 มี.ค. 67  วานนี้ ดร.นิยม เวชกามา ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเป็นอนุกรรมาธิการศาสนาด้วย ได้โพสต์เฟชบุ๊คเล่าว่า  ตนเองได้ออกเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวโดยลูกสาวเป็นคนขับ จากที่พักในกรุงเทพมหานครเพื่อเดินทางไปยังวัดโคก สว่างตำบลห้วยแถลงอำเภอห้วยแถลงจังหวัดนครราชสีมา  ถึงวัดเวลา 12:00 น. ตามคำร้องขอของหลวงตาสอาด อริยะวังโส (สะอาด จันทร์ดี)

เมื่อไปถึงได้กราบนมัสการหลวงตาสะอาดและพระครูโอภาสเมธากร(จักรกฤษ์ สุเมโธ) เจ้าอาวาสวัดบ้านโคกสว่างซึ่งนั่งรออยู่แล้ว ได้สนทนาเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่วัดก็ทราบว่า วัดดังกล่าวเดิมเป็นที่ป่าช้า ชาวบ้าน มีมติตกลงยกให้เป็นวัด ที่ให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2486 นับมาถึงวันนี้ก็ 81 ปี มีเนื้อที่ดิน 12 ไร่ วัดแห่งนี้เดิมไม่ได้อยู่ที่นี่อยู่ที่บ้านสวนหอมเป็นที่ดินที่ “ตระกูลจันดียกให้”  ที่วัดเดิมยกให้เป็นที่ของโรงเรียน สวนหอม จากที่เดิมยกให้โรงเรียนแล้วเลยวัดเกิดขึ้นสองวัดคือวัดอีกแห่งหนึ่งชื่อว่า วัดป่าไชยมงคลซึ่งห่างออกไป 300 เมตรและวัดบ้านโคกสว่าง




ดร.นิยม เล่าต่ออีกกว่า พระครูโอภาสเมธากรบอกว่า ท่านไม่ใช่คนที่นี่ แต่ท่านเป็นคนมหาสารคามแต่มาอยู่อยู่ที่นี่ 30 ปีแล้วได้มาสร้างกุฎิวิหารอาคารหลายหลังจากที่เดิมมีเพียงหลังมี หอพระไตรปิฎกศาลาการเปรียญกุฎิอีกหลานหลังด้วย ปัจจุบันกำลังก่อสร้างพระอุโบสถ โดยไม่รอที่จะได้รับอนุมัติตั้งเป็นวัดมีพระจำพรรษา 4 รูป เคยส่งเรื่องไปขอทางวัดยันสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครราชสีมาแล้วสองครั้ง

ครั้งแรกก็บอกว่า ผู้ว่าจะอนุมัติแล้วปรากฏว่า พอสำนักพุทธย้ายไปเรื่องก็เงียบไป ต่อมาส่งอีกครั้งหนึ่งในปัจจุบันผอ.สนง.พุทธคนปัจจุบัน ก็ได้รับการแจ้งว่ากำลังอนุมัติสองครั้งก็ต้องมีการตรวจสอบรังวัดพื้นที่วัดด้วยเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนเงินมากพอสมควร ที่สำคัญยืนยันว่าที่ดินชาวบ้านบริเวณรอบวัดมีโฉนดหมดแล้ว

ขณะที่หลวงตาสะอาด  อริยะวังโส อายุ 86 ปี ซึ่งเป็นคนในหมู่บ้านยืนยันว่าที่ดินเดิมเป็นที่ดินของโยมแม่ยกให้วัดต่อ ตนเคยบวชเป็นสามเณรอยู่ที่นี่ตั้งแต่ปีพ.ศ.2495 มาก่อนก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมการขอตั้งวัดจึงยากนักทั้งที่เป็นความประสงค์ของชาวบ้าน จึงขอความเมตตาจากสำนักพุทธแห่งชาติช่วยดำเนินการให้ด้วย




ดร.มหานิยม กล่าวว่าตนเห็นสภาพของบริเวณวัดและสิ่งแวดล้อมทั้งหมดแล้ววัดดังกล่าวน่าจะถูกต้องตามกฏหมายได้ ส่วนที่ได้สอบถามไปที่ผอ.สำนักพุทธจังหวัดนครราชสีมาท่านก็บอกว่า อยู่ระหว่างการประสานงานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดรอคำตอบอยู่

ผมเป็นเป็นผู้ต้องการที่จะช่วยเหลือพระพุทธศาสนาพระสงฆ์ก็อยากให้วัดนี้เป็นวัดที่ถูกต้องไม่น่าจะเป็นปัญหาเรื่องที่ดินตามกฏหมาย 22484 เพราะบริเวณดังกล่าววัดมีเอกสารสิทธิ์หมดแล้ว เห็นควรที่จะนำเข้าสู่คณะกรรมธิการเพื่อช่วยเหลือวัดต่อไป





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78017
92  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คณะสงฆ์ “ควรจำกัดที่พักสงฆ์” หรือไม่.!! เมื่อ: มีนาคม 09, 2024, 07:39:13 am



คณะสงฆ์ “ควรจำกัดที่พักสงฆ์” หรือไม่.!!

วันที่ 7 มีนาคม  2567  เฟชบุ๊ค Ch Kitti Kittitharangkoon ซึ่งเป็นเฟชบุ๊คส่วนตัวของ นายบุญเชิด กิตติธรางกูร ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดปทุมธานี ได้ตั้งคำถามว่า “คณะสงฆ์ : ควรจำกัดที่พักสงฆ์ หรือไม่!!“ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่พักสงฆ์ หมายถึง สถานที่พำนักพักพิงชั่วคราวของพระภิกษุสามเณร ซึ่งยังมิได้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย

ที่พักสงฆ์ มิใช่เป็นสำนักสงฆ์หรือวัด ซึ่งได้รับการอนุญาตตั้งเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เป็นแต่เพียงที่พักชั่วคราวเท่านั้น และไม่มีสิทธิใช้คำว่า “วัด” หรือ “สำนักสงฆ์” นำหน้าสถานที่ ใช้ไปก็ไม่ถูกต้อง

ที่พักสงฆ์ หากดำเนินการขอสร้างวัดและขอตั้งวัดไปตาม “กฎกระทรวง การสร้าง การตั้ง การรวม การย้าย และการยุบเลิกวัด การขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา และการยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา พ.ศ. 2559 ” เมื่อได้รับอนุญาตให้สร้างวัดและอนุญาตการตั้งวัดถูกต้องตามลำดับแล้ว แม้จะไม่มีวิสุงคามสีมาหรือโบสถ์ ก็จัดเป็นสำนักสงฆ์หรือวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย






ทีนี้มากล่าวถึงเรื่อง คณะสงฆ์ควรจำกัดที่พักสงฆ์ หรือไม่.?

ที่ผู้เขียนตั้งประโยคคำถามขึ้นมาข้างต้น ไม่ได้มีเจตนาที่ ไม่อยากให้ชาวพุทธสร้างและตั้งวัดแต่อย่างใด ให้แยกประเด็นนะครับ อย่าเพิ่งดราม่า แต่ที่ยกขึ้นมา เพราะในปัจจุบัน มีที่พักสงฆ์ที่คณะสงฆ์ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นที่พักสงฆ์ และหรือประกาศเป็นที่พักสงฆ์แล้ว ปรากฎมีพระภิกษุละเมิดพระวินัยและหรือไม่เอื้อเฟื้อต่อกฎมหาเถรสมาคม มติ ประกาศ คำสั่ง หรือระเบียบมหาเถรสมาคม ตลอดจนไม่เอื้อเฟื้อต่อกฎหมายบ้านเมือง อยู่เนืองๆ

อีกทั้งบางแห่งไม่ปรากฎว่ามีหัวหน้าที่พักสงฆ์กำกับดูแลแต่อย่างใด เจ้าหน้าที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนผู้เขียนเกิดความรู้สึกว่า คณะสงฆ์ควรจำกัดการมีขึ้นของที่พักสงฆ์ ที่ไม่ได้มีเจตจำนงค์ว่า “จะสร้างวัดขึ้นมาในอนาคต” ดีกว่ามั้ย

“แหล่งข่าว” จากคณะอนุกรรมาธิการศาสนาท่านหนึ่งระบุว่า ปัจจุบัน ที่พักสงฆ์เพิ่มขึ้นทั่วประเทศ สวนทางกับจำนวนพระภิกษุที่ลดลง โดยเฉพาะการเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ป่า ที่ดินของรัฐ โดยไม่ถูกต้อง ไม่ได้รับอนุญาตของพระสงฆ์  รัฐบาลหลายรัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหา แต่ปัญหามันแก้ไม่จบไม่สิ้น

@@@@@@@

จากข้อมูลของภาครัฐระบุว่าตอนนี้มีที่พักสงฆ์ทั่วประเทศมากกว่า 1 หมื่นแห่ง แต่เท่าที่เรามีข้อมูลปัจจุบันมีที่พักสงฆ์อยู่ในเขตที่ดินของรัฐ เช่น เขตอุทยาน เขตป่าไม้ สปก. เป็นต้น ประมาณ 8 พันแห่ง ซึ่งการเข้าไปอาศัยอยู่แบบนี้ ส่วนใหญ่ผิดกฎหมาย ทางคณะอนุกรรมาธิการศาสนาก็พยายามช่วยเจรจาให้หน่วยงานภาครัฐขอขึ้นทะเบียนแล้วขออนุโลมให้อยู่ได้ 15 ไร่  ซึ่งทางหน่วยงานรัฐท่านก็ยอมให้ เพียงแต่ว่าหากจะสร้างอะไรเพิ่มเติมต้องบอกเขาด้วย

“ตอนนี้เท่าที่ทราบที่พักสงฆ์จากจากเกือบ 8 พันแห่ง ยังแก้ปัญหาได้ไม่ถึง 3 พันแห่ง อันนี้เรายังไม่ได้นับรวม สำนักสงฆ์หรือวัดที่มีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับที่ดินรัฐ ที่ร้องมาที่คณะอนุกรรมาธิการศาสนา ขอให้แก้ปัญหาซึ่งมีทุกสัปดาห์อีกด้วย การลงพื้นที่ของนายกรัฐมนตรีที่จังหวัดสกลนคร ที่สั่งการว่าจะแก้ปัญหาที่ดินวัดทั่วประเทศ ตอนนี้ กำลังรอดูว่าทางรัฐบาลจะเดินหน้าอย่างไร เพราะปัญหาที่ดินวัด สำนักสงฆ์ หรือ ที่พักสงฆ์ กลายเป็นปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งของคณะสงฆ์ไปแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องเร่งแก้ปัญหา ไม่ให้บานปลายในอนาคต..”






Thank to : https://thebuddh.com/?p=78011
93  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ที่มา : บทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง 'มหามนตรา' เมื่อ: มีนาคม 08, 2024, 02:35:15 pm
.



บทสวดเจ้าแม่กวนอิม ที่มาบทสวด "มหากรุณาธารณีสูตร" ความเป็นมาแห่ง "มหามนตรา"| สวดมนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้

"มหากรุณาธารณี" เป็นบทสวดสำคัญในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นธารณีประจำองค์พระอวโลกิเตศวร ปางพันหัตถ์พันเนตร มีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานภาษาสันสกฤตของอินเดีย พระภควธรรมเถระชาวอินเดียนำเข้าไปแปลในประเทศจีน สมัยราชวงศ์ถัง และมีฉบับแปลเป็นภาษาทิเบตด้วย

"มหากรุณาธารณี" เป็นมนตร์อันเกิดจากความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ของพระอวโลกิเตศวรที่มีต่อสรรพสัตว์ที่ตกทุกข์ในโลก ในคัมภีร์กล่าวว่า ธารณีนี้มีชื่อต่างๆ กัน เช่น มหาไวปุลยสัมปุรณธารณี, อกิญจนมหากรุณาธารณี, อายุวัฒนธารณี, วิกรมอุตตรภูมิธารณี, มโนมัยอิศวรธารณี เป็นต้น อักษรหนึ่งตัวและประโยคหนึ่งในบทธารณีมนตร์นี้ ล้วนขยายเป็นอรรถธรรม อันจะนำเข้าถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

 
@@@@@@@

ประวัติ
 
ในประเทศไทยธารณีสูตรฉบับนี้ได้แปลโดยหลวงจีนคณาจีนพรต (เย็นบุญ) เจ้าอาวาสวัดทิพย์วารีวิหาร แขวงบ้านหม้อ เขตพระนคร กรุงเทพ , ในคัมภีร์สันสกฤตของมหายาน คือ คัมภีร์ “สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตธารณีสูตรมหากรุณามนตระ” นำเข้าไปแปลในจีนโดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงบทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร คือ มหากรุณาหฤทัยธารณี อันจะยังอานิสงส์ความศักดิ์สิทธิ์ให้บังเกิดขึ้นแก่ผู้สวดนานัปการ
 
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พันหัสต์พันเนตร รูปเคารพของพระอวโลกิเตศวรมีอยู่หลายปาง ทั้งภาคบุรุษ ภาคสตรี ไปจนถึงปางอันแสดงลักษณาการที่ดุร้าย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการปราบมาร คือ สรรพกิเลส แต่ปางที่สำคัญปางหนึ่งคือ ปางที่ทรงสำแดงพระวรกายเป็นพันหัสถ์พันเนตร

ซึ่งมีเรื่องราวปรากฏใน "พระสูตรสันสกฤต" คือ "สหัสภุชสหัสเนตรอวโลกิเตศวรโพธิสัตวไวปุลยสัมปุรณอกิญจนมหากรุณาจิตรธารณีสูตรมหากรุณามนตร์" หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "มหากรุณาธารณีสูตร" (大悲咒) นำเข้าไปแปลในจีน โดยพระภควธรรม ชาวอินเดีย ในสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึง บทสวดธารณีแห่งพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ คือ “มหากรุณาหฤทัยธารณี”

@@@@@@@

เนื้อหากล่าวถึง เมื่อครั้งที่พระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ โปตาลกะบรรพต ในกาลนั้น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้ขอพุทธานุญาตแสดงธารณีมนตร์อันศักดิ์สิทธิ์ไว้ เพื่อเป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ ซึ่งธารณีนี้ย้อนไปในครั้งกาลสมัยของพระพุทธเจ้านามว่า "พระสหัสประภาศานติสถิตยตถาคต" พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสธารณีนี้ แก่พระอวโลกิเตศวร และตรัสว่า

    “สาธุ บุรุษ เมื่อเธอได้หฤทัยธารณีนี้ จงสร้างประโยชน์สุขสำราญแก่สัตว์ทั้งหลายในกษายกัลป์แห่งอนาคตกาลโดยทั่วถึง”

ตามเนื้อความของพระสูตรได้กล่าวว่า ในขณะนั้น เมื่อพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ได้สดับมนตร์นี้แล้ว ก็ได้บรรลุถึงภูมิที่ ๘ แห่งพระโพธิสัตว์เจ้า จึงได้ตั้งปณิธานว่า

    “ในอนาคตกาล หากข้าพเจ้าสามารถยังประโยชน์สุขแก่สรรพสัตว์ได้ ขอให้ข้าพเจ้ามีพันเนตรพันหัตถ์ในบัดดล”

เมื่อท่านตั้งปณิธานดังนี้แล้ว พลันก็บังเกิดมีพันหัสถ์พันเนตรขึ้นทันที และเพลานั้นพื้นมหาพสุธาดลทั่วทศทิศก็ไหวสะเทือนเลื่อนลั่น พระพุทธเจ้าทั้งปวงในทศทิศก็เปล่งแสงโอภาสเรืองรองมาต้องวรกายแห่งพระโพธิสัตว์ และฉายรัศมีไปยังโลกธาตุต่าง ๆ อย่างปราศจากขอบเขต

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เนื่องจากปณิธานอันยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ หากเหล่ามนุษย์และทวยเทพ ตั้งจิตสวดมหากรุณาธารณี มนตร์นี้คืนละ ๗ จบ ก็จะดับมหันตโทษจำนวนร้อยพันหมื่นล้านกัลป์ได้ หากเหล่ามนุษย์ทวยเทพสวดคาถามหากรุณาธารณีนี้ เมื่อใกล้ชีวิตดับ พระพุทธเจ้าทั้ง ๑๐ ทิศจะยื่นพระกรมารับให้ไปอุบัติในพุทธเกษตรทุกแห่ง
 
@@@@@@@

จากเรื่องราวในพระสูตรนี้ทำให้เกิดการสร้างรูปพระโพธิสัตว์พันหัสถ์พันเนตร อันแสดงถึงการทอดทัศนาเล็งเห็นทั่วโลกธาตุและพันหัสต์ แสดงถึงอำนาจในการช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ บทสวดในพระสูตรนี้เป็นภาษาสันสกฤตผสมภาษาท้องถิ่นโบราณในอินเดีย ที่หลงเหลือมาในปัจจุบันมีหลายฉบับที่ไม่ตรงกัน ทั้งในฉบับทิเบต ฉบับจีนซึ่งมีทั้งของพระภควธรรม พระอโมฆวัชระ ฯลฯ

ต่อมาได้มีการค้นคว้าและปรับปรุงให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์โดย Dr.Lokesh Chandra และตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อ ค.ศ.1988 เป็นบทสวดสำคัญประจำองค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ที่พุทธศาสนิกชนมหายานสวดกันอยู่โดยทั่วไป
 
บทสวดนี้เป็นที่นับถือและสวดบูชาพระอวโลกิเตศวรกันอยู่ทั่วไป ในหมู่พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่อินเดียเหนือ เนปาล ทิเบต ไปจนถึงจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี มหากรุณาธารณีนี้เป็นบทสวดของพระอวโลกิเตศวรปางพันหัตถ์พันเนตร ในคัมภีร์ระบุว่า ผู้ที่เลื่อมใสถวายสักการะต่อพระอวโลกิเตศวรอยู่เป็นเนืองนิตย์ ตั้งใจสวดสรรเสริญพระนาม ย่อมจะถึงพร้อมในกุศลทั้งปวง สามารถยังวิบากกรรมอันมิมีประมาณให้สิ้นสูญ ครั้นเมื่อวายชนม์จะไปอุบัติ ณ สุขาวดีโลกธาตุแห่งองค์พระอมิตาภพุทธเจ้า

 


คาถาสวดบูชาเจ้าแม่กวนอิม
 
บทสรรเสริญพระคุณ นะโมกวงซิอิม ผ่อสัก
 
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)
    นำโมไต๋ชื้อ ไต๋ปุย กิวโคว่ กิวหลั่ง กวงไต๋เล่งก้ำ
    กวงสี่อิมผู่สัก (กราบ)

นำโมฮูก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิวโคว่ กิวหลั่ง กวงสี่อิมผู่สัก ทั่งจี้โต
โอม เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต เกียล้อฮวดโต ล้อเกียฮวดโต ล้อเกียฮวดโต
ซาผ่อออ เทียงล้อซิ้ง ตี่ล้อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งลี่ซิ้ง เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง
นำโมม่อออป่อเยี๊ยปอล้อบิ๊ก (กราบ)

บทสวดมนต์ฮ่งไป่กวงอิม(สรรเสริญกิตติคุณพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม)

    ม้อเอี่ยซาผ่อออ จี้ซิมกุยเหม่งลี่
    กวงอิมผ่อสักไต่ฉื่อปุย กิ่วโต่วจงเซ็งบ่อจิงตี้
    จ๋อชิ่วจิบปั๊งกำโหล่วจุ้ย อิ๋วชิ่วจิบกีเอี่ยงลิวกี
    เท้าเจี่ยเต็งจุงอยู่ไหล่ฮุก เข้าตังเสี่ยเหนี่ยมออหนี่ท้อ

    อู่นั้งเหนียมติกกวงอิมจิ่ว ฮวยแคฮ่วยจ่อแปะโหน่ยตี๊
    เจียวเหนี่ยมกวงซี่อิม หมอเหนียมกวงซี่อิม
    จี่เต็กลิ้มตังกวงซี่อิม แปะโหน้ยตี๊ตังกวงซี่อิม
    ฉิ่มเซียกิ้วโค่วกวงซี่อิม แปะโชยบ่วงเอ็กกวงซี่อิม

    หกต่อฮุ้งตังคงลี่หิ่ง หกต่อกังโอ้วหลั่งหลีชิ้ม
    หกต่อเอี้ยงกังกิ้วจิกโค่ว หกต่ออิมฮู่โต่วจงเซ็ง
    หยิกยิกสี่ซี้ไหล่กิ้วโค่ว สี่ซี้กิ้วโค่วปุกหลี่ซิง
    ง้อกิมกี๋ซิ่วไป้กวงอิม หยุ่ยหงวงกวงอิมกั้งไหล่ลิ้ม

    ไต่ฉื่อปุยกิ้วโค่วหลั่ง นำมอเหล่งก้ำกวงซี่อิม
    ผ่อสักหม่อฮอสัก นำมอออนี้ถ่อหุก
    นำมอออนี้ถ่อหุก นำมอออนี้ถ่อหุก

คำแปล

ขอนมัสการพระรัตนตรัยด้วยจิตตั้งมั่นในหลักของศาสนาที่จะเข้าถึงธรรมะ ขอน้อมระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมผู้ทรงมีมหาเมตตาเป็นอนันต์ที่ทรงช่วยเหลือสัตว์โลกให้พ้นจากวัฏฏะโดยไม่มีขอบข่าย พระหัตถ์ซ้ายของพระองค์ทรงถือแจกันน้ำอมฤตที่สามารถปราบมารได้ และพระหัตถ์ขวาทรงถือกิ่งหลิวอันศักดิ์สิทธิ์ไว้ สำหรับประพรมน้ำอมฤต บนเศียรทรงสวมรัตนมาลาที่มีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้า

พระองค์ทรงหมั่นสวดมนต์ภาวนาระลึกถึงพระพุทธเจ้าอมิตาภะอยู่เสมอ ผู้ใดหมั่นภาวนาพระคาถาบูชาพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมจนขึ้นใจย่อมที่จะพ้นจากทุกข์ร้อน และได้รับความร่มเย็นเหมือนดั่งความเย็นชื่นแห่งสระบัวขาว

ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมเสมอทั้งเวลาเช้าและเย็น ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงเร้นพระวรกายอยู่ในป่าไผ่ ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงประทับอยู่บนดอกบัวขาวในโบกขรณี ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงบำบัดทุกข์ตามเสียงพร่ำเรียกของสัตว์โลก

ขอน้อมจิตระลึกถึงพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมที่ทรงอยู่ห่างเราเป็นหมื่นเป็นแสนโยชน์บางครั้งพระองค์จะทรงปรากฏพระวรกายอยู่บนปุยเมฆเพื่อช่วยเหลือเรา บางครั้งพระองค์จะทรงดั้นด้นในท่ามกลางคลื่นลมของแม่น้ำและมหาสมุทร เพื่อทรงค้นหาและช่วยเหลือเรา บางครั้งพระองค์จะทรงบำบัดทุกข์ให้สัตว์โลกในมนุษยโลก บางครั้งพระองค์จะทรงช่วยเหลือสัตว์ในนรกโลกทุกๆวันทุกๆเวลา

ขออ้อนวอนพระองค์ให้เสด็จมาทรงช่วยปลดเปลื้องทุกข์ให้แก่เราทุกๆเวลา ขอให้พระองค์เสด็จมาอยู่ใกล้ๆเราเพื่อทรงขจัดทุกข์ ในวโรกาสนี้ข้าน้อยขอสักการบูชาพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมด้วยความเคารพยิ่ง และหวังว่ากระแสแห่งการสักการบูชานี้ คงจะกระทบถึงพระองค์ให้ทรงรับทราบและเสด็จมาโปรดข้าน้อยทั้งหลายบ้าง ขอน้อมสักการในน้ำพระทัยอันล้ำลึกของพระองค์ผู้ทรงเป็นพระมหาโพธิสัตว์ซึ่งขจัดทุกข์ให้แก่สัตว์โลกได้นะโมอนันตพุทธะ

 


บทสวดมหากรุณาธารณีสูตร

โชยชิ่ว โชยงั่ง บ่อไหง๋ ไต่ปุยซิมทอลอ นีจิ่ว (๓ จบ)
ปึงซือออนีทอ ยูไล้ (๓ จบ)

    - นำมอ ฮอลาตัน นอตอลา เหย่ เย
    - นำมอ ออลีเย ผ่อลูกิดตีซอปอลาเย
    - ผู่ทีสัตตอพอเย หม่อฮอสัตตอพอเย
    - หม่อ ฮอเกียลูนี เกียเยงัน สัตพันลาฮัวอี

    - ซูตัน นอตันเซ
    - นำมอ สิดกิด ลีตออีหม่งออลีเย
    - ผ่อลูกิด ตีสิด ฮูลาเลงถ่อพอ
    - นำมอ นอลา กินซี

    - ซีลี หม่อฮอพันตอซาเม
    - สะพอ ออทอ เตาซีพง
    - ออซีเย็น สะพอ สะตอ นอมอ พอสะตอ
    - นอมอ พอเค มอฮัว เตอเตา

    - ตันจิต ทองัน ออพอ ลูซี
    - ลูเกียตี เกียลอตี อีซีลี
    - หม่อฮอ ผู่ทีสัตตอ สัตพอ สัตพอ
    - มอลา มอลา มอซี มอซี ลีทอยิน

    - กีลูกีลูกิดมง ตูลู ตูลู ฟาเซเยตี
    - หม่อ ฮอฮัว เซเยตี ทอลา ทอลา
    - ตีลีนี สิด ฮูลาเย เจลา เจลา มอมอ ฮัวมอลา หมกตีลี
    - อีซี อีซี สิดนอ สิดนอ ออลาซัน ฮูลาเซลี

    - ฮัวซอ ฮัวซัน ฮูลา เซเย
    - ฮูลู ฮูลู มอลา ฮูลู ฮูลู ซีลี ซอลา ซอลา
    - สิดลี สิดลี ซูลู ซูลู ผู่ถี่เย ผู่ถี่เย ผู่ถ่อเย ผู่ถ่อเย
    - มีตีลีเย นอลา กินซี ตีลีสิด นีนอ

    - ผ่อเย มอนอ ซอผ่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    - หม่อฮอ สิดถ่อเย ซอผ่อฮอ สิดทอยีอี
    - สิดพันลาเย ซอผ่อฮอ นอลากินซี ซอผ่อฮอ
    - มอลานอลา ซอผ่อฮอ สิดลาเซง ออหมกเคเย

    - ซอผ่อฮอ ซอผ่อหม่อฮอ ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ
    - เจกิดลา ออสิดถ่อเย ซอผ่อฮอ ปอทอมอกิดสิดถ่อเย
    - ซอผ่อฮอ นอลากินซี พันเคลาเย ซอผ่อฮอ
    - มอพอลี เซงกิดลาเย ซอผ่อฮอ

    - นำมอห่อลาตัน นอตอลาเหย่เย
    - นำมอออลีเย ผ่อลูกิตตี ชอพันลาเย ซอผ่อฮอ
    - งัน สิดตินตู มันตอลา ปัดถ่อเย ซอผ่อฮอ


@@@@@@@

คำแปลและความหมาย โดยย่อ

1. นำมอ ห่อลาตันนอตอลาเหย่เย อ่านว่า นำ มอ ฮอ ลา ตัน นอ ตอ ลา เหย่ เย
   นำ มอ – ความนอบน้อม
   ฮอ ลา ตันนอ – ความเป็นรัตนะ
   ตอ ลา เหย่ – 3
   เย – นมัสการ

ความหมาย : ขอนอบน้อมนมัสการพระไตรรัตน์ทั้งสาม หมายถึง การน้อมเอาพระไตรสรณคมน์, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก ผู้ต้องการปฏิบัติให้ถึงพระองค์ จะต้องสาธยายมนตราด้วยความมีเมตตากรุณาและเปี่ยมด้วยศรัทธา ไม่ควรสวดด้วยเสียงอันดัง เกรี้ยวกราด และเร่งร้อน

2. นำมอ ออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ ออ ลี เย
    นำ มอ – ความนอบน้อม
    ออ ลี – องค์อริยะ
    เย – นมัสการ

ความหมาย :  ขอนอบน้อมนมัสการแด่องค์พระอริยะ ผู้ห่างไกลจากบาปอกุศล , วัตถุประสงค์แห่งบทนี้ พระโพธิสัตว์ทรงสั่งสอนชาวโลกให้ปฏิบัติทางจิตเป็นมูลฐาน พระสัทธรรมทั้งหลายล้วนกำเนิดมาแต่จิต เหตุนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความชัดแจ้งแห่งจิต และมองเห็นสภาวะแห่งตน จึงจะสามารถบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อไม่แจ้งชัดในจิตก็ไม่สามารถเห็นสภาวะแห่งตน หากแต่จิตเป็นอจล มีความมั่นคง ก็สามารถเดินทางสู่พระนฤพานได้

3. ผ่อลูกิตตี ชอปอลาเย อ่านว่า ผ่อ ลู กิด ตี ซอ ปอ ลา เย
   ผ่อ ลู กิด ตี – การเพ่ง พิจารณา อีกนัยหนึ่งคือความสว่าง
   ซอ ปอ ลา – เสียงของโลกอันเป็นอิสระ
   เย – นอบน้อมนมัสการ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะแด่องค์พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ผู้เพ่งเสียงแห่งสรรพสัตว์ผู้ยาก , พระโพธิสัตว์ผู้สงสารชีวิตแห่งสรรพสัตว์ผู้ตกอยู่ในกองทุกข์ เขาเหล่านั้นล้วนมีความทุกข์อันเกิดจากการหลงลืมสภาวะเดิมของตน จำต้องเวียนว่ายอยู่ในสังสารวัฏ พระองค์พิจารณาตามนี้ จึงเกิดเมตตาจิตที่จะโปรดสัตว์

4. ผู่ที สัตตอผ่อเย อ่านว่า ผู่ ที สัต ตอ พอ เย
   ผู่ ที (โพธิ) – ตรัสรู้
   สัต ตอ (สัตว์) – การมีชีวิต อารมณ์
   พอเย – น้อมคารวะ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้ให้ความตรัสรู้แก่ทุกชีวิต , หากตั้งใจในธรรม นอบน้อมต่อความแจ้งในสภาวะเดิม ก็จะถึงความหลุดพ้น

5. หม่อฮอสัตตอผ่อเย อ่านว่า หม่อ ฮอ สัต ตอ พอ เย
    หม่อ ฮอ – ใหญ่มาก
    สัต ตอ – สัตว์โลก หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึง ผู้กล้าหาญ
    พอ เย – น้อมคารวะ

ความหมาย : เมื่อน้อมคารวะผู้กล้าหาญ ก็มีโอกาสที่จะหลุดพ้น , มวลสรรพสัตว์ในโลกอันไพศาล ถ้ารู้สึกตัวแล้วลงมือปฏิบัติ ล้วนถึงความหลุดพ้นได้

6. หม่อฮอเกียลูหนี่เกียเย อ่านว่า หม่อ ฮอ เกีย ลู นี เกีย เย
    หม่อ ฮอ -ใหญ่มาก
    เกีย ลู – กรุณา
    นี เกีย – จิต
    เย – คารวะ

ความหมาย : ขอนอบน้อมคารวะต่อผู้มีมหากรุณาจิต

7. งัน (โอม) อ่านว่า งัน
    งัน (โอม) – นอบน้อม

ความหมาย : ขอนอบน้อม, บูชาถวายแด่พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีความเมตตากรุณาไม่มีประมาณ นำสัทธรรมอันเป็นความดับสูญโดยแท้จริง ปลุกให้มนุษย์ฟื้นคืนสภาวะเดิมที่มีอยู่ เข้าถึงสัทธรรมอันบริสุทธิ์

8. สัตพันลาฮัวอี อ่านว่า สัต พัน ลา ฮัว อี
    สัต พัน ลา – อิสระ
    ฮัว อี – อริยะ

ความหมาย : องค์อริยะผู้อิสระ ผู้มีกายใจอันบริสุทธิ์สะอาด , กายใจ จะบริสุทธิ์ได้ ต้องตั้งอยู่ในสัจธรรม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล

9. ซูตันนอตันแซ อ่านว่า ซู ตัน นอ ตัน เซ

ความหมาย : การปฏิบัติธรรมต้องถือความสัจเป็นพื้นฐาน ใช้ความเพียรเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุสู่อริยสัจ , หากการปฏิบัติธรรมไม่ประกอบด้วยความสัจ ก็จะไม่พบหนทางสู่ความสำเร็จ เนื่องจากความสัจนั้นเป็นธรรมที่ปราศจากการหลอกลวง จิตจึงรวมเป็นหนึ่งได้ เมื่อมีความสัจ ก็จะมีความเข้าใจ เมื่อเข้าใจก็จะมองเห็นความปลอดโปร่ง เมื่อปลอดโปร่งก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลง และกลับกลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น

10. นำมอสิดกิตหลี่ตออีหม่งออหลี่เย อ่านว่า นำ มอ สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง ออ ลี เย
     นำ มอ – นอบน้อม
     สิด กิด ลี ตอ อี หม่ง – ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมได้รับความคุ้มครองจากพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
     ออ ลี เย – การปฏิบัติธรรมจะรีบร้อนให้ได้ผลในทันทีย่อมเป็นไปไม่ได้

ความหมาย : ฉะนั้นผู้ที่จะน้อบน้อมเข้าถึงองค์อริยะ จำต้องปฏิบัติธรรมโดยมานะพากเพียร มีจิตใจมั่นคงเป็นหนึ่ง จะกระทำโดยเร่งรีบไม่ได้  ต้องทำใจให้ว่างเข้าถึงองค์แห่งพระธรรมคัมภีร์ หมั่นในการปฏิบัติตามหลักธรรม มีความคิดดำริมั่นที่จะก้าวข้ามห้วงแห่งโอฆะ คิดจะกระทำประโยชน์แก่สรรพชีวิต

@@@@@@@

11. ผ่อลูกิตตีซือฮูลาเลงถ่อพอ อ่านว่า ผ่อ ลู กิด ตี สิด ฮู ลา เลง ถ่อ พอ
     ผ่อ ลู กิด ตี – จิตต้องกับธรรม
     สิด ฮู ลา – ท่องเที่ยวไปอย่างอิสระ
     เลง ถ่อ พอ – เนื่องด้วยสำเร็จในมรรคผล

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องจงใจมุ่งไปข้างหน้า ฝึกฝนให้กายและจิตรวมเป็นหนึ่ง (เอกัคคตา)

12. นำมอนอาลากินชี อ่านว่า นำ มอ นอ ลา กิน ซี
     นำ มอ – นอบน้อม
     นอ ลา กิน ซี – การคุ้มครองคนดี นักปราชญ์ นักปฏิบัติ

ความหมาย : ด้วยความเมตตากรุณาของพระโพธิสัตว์ ทรงย้ำเตือนให้ยึดถือพระไตรสรณาคมน์ ต้องปฏิบัติตนอยู่ในมนุษยธรรม ทำตนเป็นตัวอย่างเพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้รับรู้ เป็นแบบอย่างและเจริญรอยตามสาธุชน ผู้ปฏิบัติตามพระพุทธองค์และพระธรรมยิ่งต้องมีความเมตตากรุณา จิตและโพธิจิตเพื่อโปรดสัตว์ รักษาพระธรรมยิ่งกว่าชีวิตและเผื่อแผ่ทั่วไปไม่มีประมาณ

13. ซีหลี่มอฮอพันตอซาแม อ่านว่า ซี ลี หม่อ ฮอ พัน ตอ ซา เม
     ซี ลี หม่อ ฮอ – ความเมตตากรุณาอันไพศาล สามารถบำบัดทุกข์บำรุงสุขได้
     พัน ตอ ซา เม – ผู้มีบุญวาสนาจะได้รับการคุ้มครองจากเทพเจ้า มารทั้งหลายไม่สามารถมารบกวนได้

ความหมาย : พระโพธิสัตว์เล็งเห็นว่า ชาวโลกถือเอาความรวย, มีชื่อเสียง, ศักดินา เป็นที่นิยมศรัทธา อันเป็นการเพิ่มพูนความทุกข์ พระองค์จึงเตือนจิตให้มนุษย์ จงผ่อนใจในทางโลก โน้มน้าวจิตใจมาในทางมรรคผล เมื่อจิตว่างแล้ว พระสัทธรรมอันพิสุทธิ์ก็จะเจริญขึ้น

14. สัตผ่อออทอเตาซีพง อ่านว่า สะ พอ ออ ทอ เตา ซี พง
     สะ – การได้เห็น
     พอ – เสมอภาค
     ออ – พระสัทธรรมอันบริสุทธิ์
     ทอ เตา ซี พง – ธรรมไม่มีขอบเขต

ความหมาย : ทุกคนที่ปฏิบัติสามารถรู้ได้เห็นได้ และบรรลุสู่พระพุทธภูมิได้โดยเสมอกัน

15. ออซีเย็น อ่านว่า ออ ซี เย็น

ความหมาย : ผู้ที่ทำความดีย่อมได้รับการชมเชย ผู้ทำบาปจะต้องสำนึกและขอขมาโทษ
 
16. สัตผ่อสัตตอ นอมอผ่อสัตตอ นอมอผ่อเค อ่านว่า สะ พอ สะ ตอ นอ มอ พอ สะ ตอ นะ มอ พอ เค
     สะ พอ สะ ตอ – พุทธธรรมอันไม่มีขอบเขตสิ้นสุด สรรพสัตว์ในโลกนี้ล้วนสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้
     นอ มอ พอ สะ ตอ – พุทธธรรมเป็นความเสมอภาค มิได้แบ่งแยกเป็นสูงหรือต่ำ
     นะ มอ พอ เค – พุทธธรรมมีความไพศาล ผู้ปฏิบัติตามจะสามารถระงับภยันตรายทุกสิ่ง

ความหมาย : ไม่ว่านักปราชญ์หรือผู้โง่เขลา เบาปัญญา คนหรือสัตว์ ล้วนสามารถหลุดพ้นได้ ถ้าเขาเหล่านั้นปฏิบัติธรรมด้วยความสัจ

17. มอฮัวเตอเตา อ่านว่า มอ ฮัว เตอ เตา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติต้องถือพระสัทธรรมเป็นสูญ ไม่ข้องแวะ ไม่ติดในรูป ไม่ยึดในจิต ถือเอาสัจธรรมเป็นใหญ่ และต้องละความวิตกกังวล กำจัดความโกรธ ความโลภ ความหลง โดยใช้หลักแห่งปัญญาดับกิเลสให้จิตสงบ เป็นอยู่ในโลกนี้โดยสันติสุข

18. ตันจิตทอ อ่านว่า ตัน จิต ทอ

ความหมาย : ความศรัทธาจริงอันต่อเนื่องกัน จิตต้องตรงกับพระธรรม ห้ามมิให้มีความคิดทางโลกเกิดขึ้นโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ เนื่องจากว่าหากปล่อยให้ความคิดทางโลก เกิดขึ้นในจิต กาย ใจ ก็จะไม่บริสุทธิ์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกับพระธรรม ไม่อาจจะพบความสันติสุขได้

19. งันออผ่อลูซี อ่านว่า งัน ออ พอ ลู ซี
     งัน – นอบน้อม เป็นบทนำ
     ออ พอ ลู ซี – เป็นพระโพธิสัตว์ หมายถึง พระธรรมคือ ความสะอาดจิตสะอาดสดใสไร้ราคะ

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติธรรมต้องมีจิตใจที่เด็ดเดี่ยว ไม่หวั่นไหวต่อการก่อกวนของเหล่ามาร(กามกิเลส) หากสามารถตั้งจิตข่มจิตสำรวมกาย วาจา และจิต ละทิ้งโลกาวิสัยทั้งหมดก็จะเข้าถึงพุทธสภาวะที่มีอยู่เดิม , ถ้าทำให้จิตมีความสงบนิ่งอยู่ทุกขณะ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะมีความสำเร็จในธรรมโดยมิรู้ตัว , พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ รวมทั้งพระโพธิสัตว์เจ้าได้หลุดพ้นในขณะที่อยู่ในโลกอันมากล้นไปด้วยกิเลสนี้

20. ลูเกียตี อ่านว่า ลู เกีย ตี

ความหมาย : เป็นโลกนาถ มีความเป็นอิสระ , มีกุศลจิตสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มัวหมอง มีรัศมีสว่างรอบกาย และสามารถร่วมกับดินฟ้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รักษาความมีกุศลจิต อย่าทำลายตนเอง อย่าหลงผิดเป็นชอบ สิ่งสำคัญ ต้องรักษาจิตให้บริสุทธิ์


@@@@@@@

21. เกียหล่อตี อ่านว่า เกีย ลอ ตี

ความหมาย : ผู้มีความกรุณา ผู้ปลดปล่อยทุกข์ เป็นผู้มีจิตในทางธรรม ดำรงมรรคมั่นคง มีสติปัญญาเฉียบแหลมยิ่งใหญ่ เมื่อจิตมีความสงบก็สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งชั่วร้ายให้กลับกลายเป็นดี

22. อีซีหลี่ อ่านว่า อี ซี ลี

ความหมาย : กระทำตามโอวาท อย่ามีจิตหลงผิด

23. หม่อฮอผู่ทีสัตตอ อ่านว่า หม่อ ฮอ ผู่ ที สัต ตอ
     หม่อ ฮอ – ความไพศาลของพุทธธรรม ทุกคนน้อมนำไปปฏิบัติได้
     ผู่ที – เห็นโลกนี้เป็นสูญ
     สัต ตอ – การเน้นปฏิบัติอนัตตธรรม มองเห็นสรรพธรรมเป็นสูญ

ความหมาย : มองความรุ่งเรืองแห่งลาภยศ สรรเสริญเป็นสูญ มองให้เห็นเป็นเงาลวง ทำจิตใจร่างกายให้หมดจด

24. สัตพอสัตพอ อ่านว่า สัต พอ สัต พอ

ความหมาย : พุทธธรรมมีความเสมอภาค อีกทั้งยังอำนวยประโยชน์สุขแก่สัตว์โลก ผู้ที่มีปัจจัยแห่งบุญย่อมได้รับความสุข

25. มอลามอลา อ่านว่า มอ ลา มอ ลา

ความหมาย : ผู้ปฏิบัติจะได้มีมโนรถแก้วมณี แก้วมณีนี้แจ่มใสไม่มีอะไรขัดข้อง , ความคิดคำนึงเกิดมาแต่จิต จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธานแห่งบุญและบาป ผู้ปฏิบัติต้องกำจัดความคิดอันเป็นอกุศล ความคิดฟุ้งซ่าน ระงับความวิตกกังวล เพียรพยายามเสาะหาสัจธรรม ชำระล้างอายตนะภายในให้สะอาดพิสุทธิ์ ละความห่วงใยใดๆให้สิ้นเชิง

26. มอซีมอซี ลีถ่อเย็น อ่านว่า มอ ซี มอ ซี ลี ทอ ยิน
     มอ ซี – ความมีอิสระทันที ผู้ปฏิบัติไม่มีเวลาใดที่ไม่เป็นอิสระคือมีอิสระทุกเมื่อ
     ลี ทอ ยิน – การปฏิบัติกระทั่งสำเร็จวิชชาธรรมกาย มีอาสน์ดอกบัวรองรับ

ความหมาย : โดยปกติแล้วผู้ที่มีจิตว่างก็จะมีความสะอาดทั้งกายและจิต เมื่อลงมือปฏิบัติแล้วก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ และก็จะตั้งอยู่เช่นนั้น ไม่มีวันเสื่อมถอย

27. กีลู กีลู กิตมง อ่านว่า กี ลู กี ลู กิด มง
     กี ลู – การเกิดความคิดปฎิบัติธรรมสามารถบันดาลให้เทพเจ้ามาปกปักรักษา
     กิด มง – ผู้ปฏิบัติจะต้องสร้างสมบุญบารมีเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรลุสู่มหามรรค (มรรคผล-นิพพาน)

28. ตูลู ตูลู ฮัวแซเหย่ตี อ่านว่า ตู ลู ตู ลู ฟา เซ เย ตี
     ตู ลู – ผู้ปฏิบัติจะต้องยืนให้มั่นตั้งใจปฏิบัติ ไม่หลุ่มหลงด้วยพวกเดียรถี มีความแน่วแน่ มีสมาธิ มีความสงบ
     ฟา เซ เย ตี – มีความบริสุทธิ์อันยิ่งใหญ่สามารถข้ามพ้นสังสารวัฏได้

29. หม่อฮอฮัวแซเหย่ตี อ่านว่า หม่อ ฮอ ฮัว เซ เย ตี

ความหมาย : พระสัทธรรมอันไพศาล สามารถระงับความเกิดดับแห่งกิเลสได้ ภัยพิบัติต่างๆไม่แผ้วพาน ทุกคนสามารถสำเร็จเป็นพุทธะได้เหมือนกัน กำจัดความหลงผิด ความเห็นแก่ตัว ปล่อยวางปัจจัยทางโลก

30. ทอลาทอลา อ่านว่า ทอ ลา ทอ ลา

ความหมาย : เมื่อปฏิบัติจิตให้มีสภาพเหมือนอากาศอันโปร่งใส ไร้ละอองธุลีแม้แต่น้อย ก็จะได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นพรหมได้

@@@@@@@

31. ตีลีนี อ่านว่า ตี ลี นี
     ตี – โลก
     ลี – สัตว์ทั้งหลายล้วนสามารถรับการโปรดได้
     นี – พรหมจาริณีที่ปฏิบัติธรรมอยู่

32. สึดฮูลาเย อ่านว่า สิด ฮู ลา เย

ความหมาย : เมื่อปฏิบัติธรรมเข้าถึงความสมบูรณ์แห่งสภาวะเดิมแล้ว จะมีความสว่างปรากฏในกายของตน

33. เจลาเจลา อ่านว่า เจ ลา เจ ลา

ความหมาย : ความโกรธ ดุ สุรเสียงที่เปล่งออกมาดุจเสียงคำรามของฟ้า กระหึ่มไปทั่วสารทิศ , ธรรมเหมือนดังฟ้าร้องคำรามไปทุกสารทิศ เป็นเสียงแห่งพรหมเมื่อเหล่ามารได้ยินศัพท์สำเนียงนี้ ก็จะเกิดความสะดุ้งกลัว

34. มอมอฮัวมอลา อ่านว่า มอ มอ ฮัว มอ ลา
     มอ มอ – การกระทำดี สามารถทำลายความกังวลแห่งภยันตรายได้
     ฮัว มอ ลา – ธรรมะเป็นสิ่งลึกซึ้ง เข้าใจยาก และมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่สามารถประมาณ หรือคาดคิดได้ เป็นประโยชน์ที่ไม่มีสิ่งใดทัดเทียม

35. หมกตีลี อ่านว่า หมก ตี ลี

ความหมาย : หลุดพ้น ผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ ย่อมบรรลุสู่ภูมิแห่งพุทธ

36. อีซีอีซี อ่านว่า อี ซี อี ซี

ความหมาย : การชักชวนตามพระศาสนา ทุกสรรพสิ่งให้ดำเนินไปตามธรรมชาติ , ทุกสิ่งปล่อยให้ดำเนินไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง อย่าฝืนกระทำตามใจชอบ

37. สึดนอสึดนอ อ่านว่า สิด นอ สิด นอ

ความหมาย : เป็นมหาสติ มีจิตใจมั่นคงสามารถเข้าสู่มหาปัญญา , ผู้ปฏิบัติธรรม มีความสว่างแห่งสติปัญญาอยู่ ถ้าใช้จิตนี้เป็นฐานใช้ธรรมให้เป็นประโยชน์ ก็จะได้รับฐานธาตุที่สดชื่น  แต่หากไม่มีจิตใจมั่นคงกำจัดกิเลสในตนไม่หมด ก็ไม่มีทางที่จะให้ความว่างแห่งสติปัญญาที่มีอยู่ดั้งเดิมปรากฏออกมาได้เลย

38. ออลาซันฟูลาแซลี อ่านว่า ออ ลา ซัน ฮู ลา เซ ลี
     ออ ลา ซัน – ความผ่านธรรมไปถึงธรรมราชา มีความอิสระในธรรม
     ฮู ลา เซ ลี – การได้พระธรรมกายอันบริสุทธิ์ ได้ดวงแก้วแห่งพระรัตนะ

39. ฮัวซอฮัวซัน อ่านว่า ฮัว ซอ ฮัว ซัน
     ฮัว ซอ – ผู้ที่มีธรรม ตั้งอยู่ในขันติธรรม
     ฮัว ซัน – ผู้บรรลุธรรม มีความสุขอันแท้จริงยากจะบรรยาย

ความหมาย : เป็นการอนุโมทนาตามเหตุตามปัจจัย ความสุขที่แท้จริง จะต้องได้จากการปฏิบัติที่ยากลำบาก ถ้าสามารถอดทนต่อความยาก ลำบากก็จะเข้าถึงความสุขอันยิ่งได้

40. ฟูลาแซเย อ่านว่า ฮู ลา เซ เย

ความหมาย : จะต้องมีความรู้ด้วยตนเอง ผู้จะบรรลุธรรมหากสามารถละการยึดเกี่ยวเข้าถึงสภาวะดั้งเดิม ก็จะพบพระพุทธเจ้าได้ทุกพระองค์
94  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เผยโฉม 'นางสงกรานต์ 2567' พร้อมเปิดคำทำนาย โหดกว่าทุกปี แนะสิ่งที่ควรระวัง เมื่อ: มีนาคม 08, 2024, 08:28:44 am
.



เผยโฉม 'นางสงกรานต์ 2567' พร้อมเปิดคำทำนาย โหดกว่าทุกปี แนะสิ่งที่ควรระวัง

เผยโฉม 'นางสงกรานต์ 2567' เปิดประวัติความเป็นมา พร้อมคำทำนายของปีนี้ โหดกว่าทุกปี แนะสิ่งที่ควรปฏิบัติและต้องระวัง

นางสงกรานต์ 2567 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศชื่อ นางสงกรานต์ ในปีนี้ พร้อมเผยคำทำนายตามหลักโหรพราหมณ์ กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง สงกรานต์ 2567 ปีนี้ นางสงกรานต์ เป็นใคร คำทำนายว่าอะไรมาดูกัน

สงกรานต์ 2567 ปีนี้ วันมหาสงกรานต์ ตรงกับ วันเสาร์ ที่ 13 เมษายน เวลา 22 นาฬิกา 17 นาที 24 วินาที จันทรคติ ตรงกับ วันเสาร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือนห้า ประกาศสงกรานต์ ปีพุทธศักราช 2567 ปีมะโรง (เทวดาผู้ชาย ธาตุทอง) ทางจันทรคติ เป็นปกติ มาสวาร ทางสุริยคติ เป็น อธิกสุรทิน

นางสงกรานต์ 2567 นามว่า นางมโหธรเทวี ทรงพาหุรัด ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย พระหัตถ์ขวาทรงจักร-พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จนอนลืมตา มาเหนือหลังมยุรา (นกยูง) เป็นพาหนะ

 

นางสงกรานต์ 2567

 
คำทำนายนางสงกรานต์ 2567

1. เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ อังคารเป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า
    • ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า
    • ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า
    • ตกในมหาสมุทร 60 ห่า
    • ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า
2. เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีตุล ชื่อวาโย (ธาตุลม) น้ำน้อย พายุจัด
3. เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีนี้ นาคราชให้น้ำ 7 ตัว ทำนายว่า ฝนแล้ง
4. เกณฑ์ธัญญาหารได้เศษ 5 ชื่อวิบัติ ข้าวกล้าในพื้นนา จะเกิดกิมิชาติ จะได้ผลกึ่งเสียกึ่ง



นางสงกรานต์ 2567

 


 
ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : Om โอมรัชเวทย์ Style
URL : https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/general-knowledge/570220
07 มี.ค. 2567 | 15:13 น. | เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
95  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดวิธีปล่อยปลาให้ได้บุญ ปล่อยปลาอะไรดี เมื่อ: มีนาคม 08, 2024, 08:20:10 am
.



เปิดวิธีปล่อยปลาให้ได้บุญ ปล่อยปลาอะไรดี

”ปล่อยปลาให้ได้บุญ เป็นทริคดีๆ เกี่ยวกับสายมูอีกแล้ว ใครมีปัญหาในเรื่องการเงิน ลองใช้วิธีนี้ดู พร้อมเปิดวิธีปล่อยปลาให้ได้บุญ ปล่อยปลาอะไรดี ไปดูกัน

ปล่อยปลาให้ได้บุญ วันนี้ทีมข่าวปาฏิหาริย์ มีทริคดีๆ เกี่ยวกับสายมู สายบุญมาฝากคะ โดยเฉพาะ ราศีเมถุน ให้เริ่มทำได้ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไป และ วิธีปล่อยปลาให้ได้บุญ ปล่อยปลาอะไรดี ไปดูกัน

วิธีปล่อยปลาให้ได้บุญ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำบุญไม่ว่าจะทำอะไรก็เป็นเรื่องที่ดีทั้งนั้น และถ้าหากอยากปล่อยปลา แบบได้บุญ ต้องรู้ด้วยว่าปล่อยปลาอะไรดี ปล่อยแหล่งไหน ทำยังไง ไปดูกันเลย




เปิดวิธีปล่อยปลาให้ได้บุญ ปล่อยปลาอะไรดี ก็คือ...

ปลาที่ปล่อยได้ ปลาไหล ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาสวาย ปลากราย ปลาบู่ หอยโข่ง หอยขม ปล่อยได้ที่ไหนบ้าง ศึกษาแหล่งน้ำที่จะปล่อย เช่น ลักษณะแหล่งน้ำ (แม่น้ำ คลอง บึง ฯลฯ) น้ำเน่าไหม เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม

สิ่งสำคัญที่ต้องดูก็คือ : ศึกษาว่าปลาและสัตว์น้ำที่ปล่อยเหมาะกับแหล่งน้ำแบบไหน ดูสุขภาพของปลาและสัตว์น้ำ หากป่วยหรืออ่อนแอมากๆ ก็ควรรักษาก่อน เพราะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทันทีอาจทำให้ตายได้ง่าย และจะแพร่โรคสู่สัตว์อื่นๆ ในแหล่งน้ำได้ด้วย

ปลาที่ห้ามปล่อย เพราะจะไม่ได้บุญ ก็คือ...

ห้ามปล่อยปลาดุก ปลานิล ปลาทับทิม  ปลาดุกอัฟริกัน ปลาดุกลูกผสม หรือ "บิ๊กอุย" กุ้งเครย์ฟิช เต่าญี่ปุ่น หรือ  เต่าแก้มแดง ปลาหางนกยูง ปลากดเกราะดำ ปลากดเกราะลาย ตะพาบไต้หวัน ปลาหมอสีคางดำ

คำแนะนำ : งดปล่อยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยานะคะ







ขอขอบคุณ : -
ข้อมูลจาก : สำนักงานประมงจังหวัดนนทบุรี
URL : https://www.thainewsonline.co/belief/belief/867898
07 มีนาคม 2567
96  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จิตวิทยาการทำงานที่จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่าย และดีขึ้น เมื่อ: มีนาคม 08, 2024, 08:14:25 am

.



จิตวิทยาการทำงานที่จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่าย และดีขึ้น

วิธีการทางจิตวิทยาที่มีประโยชน์ สามารถปรับใช้ในการทำงานได้ทั้งกับตัวเอง เพื่อนร่วมงาน และหัวหน้า เป้าหมายหลักของการใช้วิธีการทางจิตวิทยานี้ก็คือ การทำให้สถานที่ทำงานเป็นสถานที่เชิงบวก และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการทำงานที่สบายใจกับทั้งตัวคุณเอง เพื่อนร่วมงาน หัวหน้าและทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ลองมาดูกันซิว่าการเพาะปลูกพลังงานเชิงบวกในที่ทำงานนั้นสามารถทำอย่างไรได้บ้าง


@@@@@@@

• จัดการการทำงานของตัวเองให้ดีที่สุด

เริ่มจากการทำงานของตัวคุณเองก่อน จัดการระบบการทำงานของตัวเองให้มีประสิทธิภาพ แบ่งงานใหญ่ ๆ ให้ออกเป็นงานย่อย ๆ เริ่มจากทำงานที่ยากก่อน หลังจากนั้นค่อยไล่ระดับไปสู่งานที่ง่าย จัดการงานให้ตรงกับช่วงเวลาที่ได้รับมอบหมาย และตั้งใจทำงานออกมาให้ดีที่สุด

• ฝึกการหายใจ เพื่อคลายความเครียด

การทำงาน อาจทำให้หลายคนรู้สึกเครียด เหนื่อย มีความล้าเกิดขึ้นได้บ้าง แต่คุณสามารถผ่อนคลายความเครียดหรือความเหนื่อยล้านี้ได้ ด้วยการลุกขึ้นยืน สูดหายใจเข้าและออกลึก ๆ ผ่อนคลาย ชมนกชมไม้เดินไปชงกาแฟบ้าง จะช่วยปรับอารมณ์การทำงานได้

• มีความเข้าอกเข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน

ปลูกฝังความเห็นอกเห็นใจ โดยทำความเข้าใจถึงมุมมองและอารมณ์ของผู้อื่น สิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่ มีความเข้าใจกันมากขึ้น และมีการซัปพอร์ตซึ่งกันและกัน

• มีการสื่อสารต่อกันด้วยความชัดเจน

และตรงไปตรงมาด้วย เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด ซึ่งจะทำให้การทำงานสามารถดำเนินการต่อไปได้แบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น กรณีเกิดข้อสงสัยให้ถามเพื่อความเคลียร์

• แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการรับฟัง

เป็นเรื่องปกติที่สังคมการทำงานจะมีความขัดแย้งกันบ้าง เพราะว่าการทำงานเป็นสังคมขนาดใหญ่ และนำคนจากทุกเจนมารวมกัน แต่สิ่งสำคัญคือการหาวิธีก้าวข้ามผ่านความขัดแย้งนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำให้เกิดผิดใจกันในภายหลัง โดยจะต้องมีการรับฟังพูดคุยกัน เพื่อหาแนวทางแก้ไขที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

• ความสามารถในการปรับตัว

ในกรณีที่คุณพึ่งเข้าไปทำงานในบริษัทใหม่ ๆ คุณจะต้องแสดงให้เพื่อนร่วมงานเห็นถึงความสามารถในการปรับตัว และความเต็มใจที่จะเรียนรู้ เปิดใจรับฟังความคิดเห็นและแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถพัฒนาได้

และในกรณีที่ที่ทำงานของคุณมีคน TOXIC ที่ไม่มีการเปิดใจรับฟังมุมมองความคิดเห็นของผู้อื่น สิ่งที่คุณทำได้คือพยายามหลีกเลี่ยงบุคคลคนนั้นให้ได้มากที่สุด และข้องแวะกันเพียงแต่เรื่องงานเท่านั้น ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้าไปเกี่ยวข้องเด็ดขาด และอย่าพยายามจับโฟกัสไปที่บุคคลคนนั้น

แต่ให้หันไปขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่น่ารัก หรือชื่นชมหัวหน้าที่ดีมากกว่า ซึ่งจะช่วยทำให้คุณประคองสติ รักษาสุขภาพจิต และทำงานต่อไปได้อย่างมีความสุข

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ OOCA (อูก้า) ปรึกษาปัญหาใจ





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : PositivePsychology
พิสูจน์อักษร : สุชยา เกษจำรัส
URL : https://www.beartai.com/life/health/1355161
โดย ภูษิต เรืองอุดมกิจ | 30/01/2024
97  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "เครื่องเศร้าหมองของจิต" เมื่อ: มีนาคม 07, 2024, 07:38:34 am
.



"เครื่องเศร้าหมองของจิต"

"กิเลส แปลว่า เครื่องเศร้าหมอง" ตรัสว่า "เป็นอาคันุกะ คือสิ่งที่จรมาอาศัย" เหมือนอย่างแขกคือผู้ที่มาหา "ไม่ใช่เจ้าของบ้าน" และที่เรียกว่า "เครื่องเศร้าหมอง" ก็เพราะมาทำให้จิตใจที่ผุดผ่องอยู่โดยธรรมชาติต้องเศร้าหมอง "เหมือนอย่างผงธุลีที่ปลิวมาทำน้ำที่ใสสะอาดให้สกปรก"

เมื่อกิเลสไม่ใช่เป็นเจ้าของบ้าน คือ "ไม่ใช่ธาตุแท้หรือเนื้อแท้ของจิต เป็นเพียงสิ่งที่จรมาอาศัย" แม้จะอาศัยอยู่นานสักเท่าไร มาถือสิทธิครอบครองอย่างไร ก็คงไม่สามารถละลายธาตุแท้ของจิตได้

ฉะนั้น จึงอาจขัดเกลาชำระจิตให้พ้นจากเครื่องเศร้าหมองทั้งปวงได้

                   สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร





Thank to : http://www.dhammathai.org/monktalk/dbview.php?No=3342
โดย วิริยะ12  | 6 มี.ค. 2567
98  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มูลนิธิหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อม โดย “หลวงพี่น้ำฝน” แจกข้าวสาร 11 ชุมชนรอบวัด เมื่อ: มีนาคม 07, 2024, 07:33:31 am
.



มูลนิธิหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อม โดย “หลวงพี่น้ำฝน” แจกข้าวสาร 11 ชุมชนรอบวัด 222 ครัวเรือน แบ่งเบาภาระค่าครองชีพ

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 ที่วัดไผ่ล้อม ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน) เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ได้ดำเนินกิจกรรมมูลนิธิหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อม  แจกข้าวสาร 11 ชุมชนรอบวัดไผ่ล้อม รวมจำนวน 222 ครัวเรือน เพื่อแบ่งเบาค่าครองชีพ โดยมีคณะกรรมการชุมชนต่างๆ รวบรวมรายชื่อชาวชุมชนที่เดือดร้อนแจ้งมาทางวัดไผ่ล้อม เพื่อขอรับข้าวสาร

ในส่วนโครงการช่วยเหลือต่างๆ มูลนิธิหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อม ได้ดำเนินการตั้งแต่เจ็บป่วยจนถึงตาย และโครงการสวดเผาฟรี  ญาติโยมสามารถแจ้งมาที่พระลูกวัดหรือเจ้าหน้าที่วัดได้ หากทางมูลนิธิฯช่วยได้จะรีบดำเนินการทันทีหากเกินกำลังก็จะเป็นผู้ประสานงานให้กับญาติโยมในทุกเรื่อง








หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม กล่าวว่า วันนี้มูลนิธิหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อม ได้ร่วมกับคณะกรรมการมูลนิธิฯได้แจกข้าวสารให้กับประชาชนจาก 11 ชุมชน เข้ามาทำการรับข้าวสาร ประกอบด้วย
1.ชุมชนบ้านมอญ 47 ครัวเรือน
2.ชุมชนไผ่เตย 50 ครัวเรือน
3.ชุมชนสวนอนันต์ 20 ครัวเรือน
4.ชุมชนถมทอง 25 ครัวเรือน
5.ชุมชนมะขามแถว 20 ครัวเรือน
6.ชุมชนคชกฤต 10 ครัวเรือน
7.ชุมชนอยู่คง 20 ครัวเรือน
8.ชุมชนปฐมธานี 8 ครัวเรือน
9.ชุมชนพุทธรักษา 15 ครัวเรือน
10.ชุมชนพระประโทน 5 ครัวเรือน
11.ชุมชนสามตำบล 222 ครัวเรือน








ทั้งนี้มูลนิธิหลวงพ่อพูลวัดไผ่ล้อม ได้ดำเนินการช่วยญาติโยมมาอย่างต่อเนื่องตามเจตนารมณ์ของพระเดชพระคุณของหลวงพ่อพูล ซึ่งคณะสงฆ์ของวัดไผ่ล้อมจะทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียนที่ญาติโยมมีความเดือดร้อนเพื่อมารายงานแล้วนำไปสู่การช่วยเหลือเยียวยาในเรื่องต่างๆ ต่อไป สำหรับพื้นที่ของวัดไผ่ล้อมได้จัดให้มีศูนย์รับร้องทุกข์เรื่องต่างๆ ของญาติโยม โดยเฉพาะการเปิดศูนย์รับบริการตรวจโรคเจาะเลือดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน  สำหรับผู้สูงอายุ 

ญาติโยมจะสามารถมาใช้งานร่วมกันอย่างเกิดประโยชน์ รวมทั้งฌาปนสถานซึ่งมีโครงการสวดเผาฟรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายก็เป็นการช่วยเหลือญาติโยมทั่วประเทศที่มีความเดือดร้อน นอกจากนี้ยังส่งเสริมด้านการศึกษาศิลปวัฒนธรรมและความสามัคคีในชุมชนก็ยังเป็นส่วนที่ยังมีการขับเคลื่อนอยู่ตลอด โดยเฉพาะโครงการธนาคารเตียงและรถวีลแชร์ก็ยังทำหน้าที่อยู่ทุกวัน

“ข้าวสารที่นำมาแจก ทางวัดไผ่ล้อมจะพยายามกระจายให้ทั่วถึง โดยวันนี้มีประชาชนได้เดินทางเข้ามารับเองที่วัดเป็นจำนวนมาก  ส่วนที่ขาดเหลือตกหล่นก็จะประสานผู้นำชุมชนให้มีการนำไปส่งให้ถึงครัวเรือน นี่ก็เป็นอีกส่วนที่เป็นความตั้งใจของวัดไผ่ล้อมที่จะช่วยเหลือญาติโยมในทุกๆ เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาในชุมชนของเราต่อไปนั่นเอง” หลวงพี่น้ำฝน กล่าว









Thank to : https://www.thairnews.com/มูลนิธิหลวงพ่อพูลวัดไผ-2/
โดย thairnews - 05/03/2567
99  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พศ.ชี้ พิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ ช่วยสร้างรายได้ชุมชน เมื่อ: มีนาคม 07, 2024, 07:25:18 am
.



พศ.ชี้ พิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ ช่วยสร้างรายได้ชุมชน

นายสุพัฒน์ เมืองมัจฉา ผอ.สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม และโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสถาปนา เลื่อน และตั้งสมณศักดิ์พระสงฆ์ เป็นพระราชาคณะ จำนวน 97 รูป เป็นพระครูสัญญาบัตรตั้งใหม่ จำนวน 1,308 รูป และโปรดพระราชทานเลื่อนชั้นพระสังฆาธิการ จำนวน 1,116 รูป รวม 2,521 รูป

ซึ่งในส่วนของพระครูสัญญาบัตรนั้น พระราชทานพระบรมราชานุญาตถวายสมเด็จพระสังฆราชเสด็จประทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ในโอกาสอันสมควร โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระบัญชามอบผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ประกอบพิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร แด่พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 5 แห่ง ดังนี้

วันที่ 4 ก.พ. เขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง ที่วัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯ
วันที่ 7 ก.พ. เขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ ที่วัดกะพังสุรินทร์ จ.ตรัง
วันที่ 21 ก.พ. เขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก ภาค 9, 11 และ 12 ที่วัดพุทธวนาราม จ.มหาสารคาม
วันที่ 28 ก.พ. เขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก ภาค 8 และ 10 ที่วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม
วันที่ 25 มี.ค. เขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ นั้น

โฆษกพศ. กล่าวต่อไปว่า จากพิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร แด่พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ 4 ครั้งที่ผ่านมา ที่วัดพระศรีมหาธาตุ วัดกะพังสุรินทร์ วัดพุทธวนาราม และวัดพระธาตุพนม พบว่า

นอกจากจะมีพระสงฆ์ในพื้นที่มาร่วมพิธีจำนวนมากแล้ว ยังมีญาติโยมจำนวนมากติดตามพระสงฆ์มาด้วย ส่งผลให้เกิดมิติในด้านการสร้างรายได้ให้กับร้านค้าและชุมชนรอบวัด รวมไปถึงจังหวัดที่ใช้เป็นสถานที่ในการจัดพิธี นับเป็นอีกมิติหนึ่งที่เกิดขึ้นจากพิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร แด่พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ โดยจากนี้ยังเหลือการจัดพิธีดังกล่าวอีก 1 ครั้ง คือ วันที่ 25 มี.ค. เขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ ที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่





Thank to : https://www.thairnews.com/พศ-ชี้-พิธีพระราชทานสัญญ/
โดย thairnews - 05/03/2567
100  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อดีตพระพรหมสิทธิ “ปลื้มปีติ” น้ำใจ “คณะสงฆ์มหายาน” เมื่อ: มีนาคม 07, 2024, 07:17:59 am
.



อดีตพระพรหมสิทธิ  “ปลื้มปีติ” น้ำใจ “คณะสงฆ์มหายาน”

วันที่ 6 มีนาคม 2567 วานนี้ ณ วัดสระเกศ ราชวรมหาวริหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร พระอาจารย์จีนราชธรรมานุสิฐ หรือพระอาจารย์ฝ่าเจ้า (Shi Fa Zhao) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเขี้ยวแก้ว (Buddha Tooth Relic Temple) ประเทศสิงคโปร์ สหธรรมิกอดีตพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) และศิษย์ร่วมสายธรรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

ได้เดินทางมาร่วมแสดงความยินดีกับอดีตพระพรหมสิทธิ ภายหลังจากทราบข่าวเกี่ยวกับการพิพากษาคดีของอดีตพระพรหมสิทธิถึงที่สุด พร้อมกันนี้ศาลฎีกาในคดีแพ่งสั่งให้รัฐคืนเงินอดีตพระพรหมสิทธิทั้งหมด หลังตรวจสอบไม่พบความผิดฐานทุจริตและการฟอกเงินตามที่เป็นข่าวตั้งแต่ปี 2561

พระอาจารย์จีนราชธรรมานุสิฐ ได้กล่าวอวยพรแก่อดีตอดีตพระพรหมสิทธิ ตอนหนึ่งว่า  “ขอแสดงความยินดีที่ได้รับความยุติธรรมบางส่วนกลับคืนมา ส่วนเรื่องอื่น  ๆ คงจักได้รับคืนความยุติธรรมที่เสียไปโดยเร็ว และจะได้ร่วมกันเดินหน้าทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาเถรวาท-มหายาน ให้กลับมาได้อย่างเต็มที่ ..”




ก่อนจากกัน พระอาจารย์จีนราชธรรมานุสิฐ  ได้กล่าวว่าอีก 2 เดือนข้างหน้าจะมาประเทศไทยอีกครั้ง หวังว่า ในเวลานั้น อดีตพระพรหมสิทธิจะได้รับการคืนความยุติธรรมแล้ว จะได้ถือโอกาสนำศิษยานุศิษย์ มาร่วมฉลองการคืนความเป็นธรรมในโอกาสนั้นด้วย..

ส่วนภารกิจ พระอาจารย์ฝ่าเจ้า หรือ พระอาจารย์จีนราชธรรมานุสิฐ วันนี้ เวลา 09.00 น.จะเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อถวายทุนการศึกษาแก่นิสิต มจร เป็นเงินจำนวน 2,200,000 บาท 

โดยแยกเป็นทุนการศึกษาแก่นิสิตปริญญาเอก 50 ทุนๆ ละ 10,000 บาท ทุนการศึกษาแก่นิสิตปริญญาโท 120 ทุน ๆ ละ 5,000 บาท ทุนการศึกษาแก่นิสิตปริญญาตรี จำนวน 300 ทุน ๆ ละ 3,000 บาท และทุนการศึกษาแก่นักเรียนมัธยมโรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มจร จำนวน 100 ทุน ๆ ละ 2,000 บาท..









Thank to : https://thebuddh.com/?p=77973
101  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ม.รังสิต เก็บข้อมูล พบคนไทยไม่มีศาสนาราว 1.3 ล้านคน เมื่อ: มีนาคม 06, 2024, 08:07:56 am
.



ม.รังสิต เก็บข้อมูล พบคนไทยไม่มีศาสนาราว 1.3 ล้านคน ระดับ “มัธยมปลาย-มหาวิทยาลัย” มากสุด

'ธำรงศักดิ์' เผยผลสอบถามปมศาสนา 'ทั้งประเทศ' ระบุ 'ไม่มีศาสนา' 2% ขณะที่ ม.ปลาย 6.6% มหา'ลัย 9%

นักวิชาการรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เผยข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ “ศาสนา” พบ 'ทั้งประเทศ' ระบุ 'ไม่มีศาสนา' 2% ขณะที่ Gen Z มัธยมปลาย 6.6% Gen Z มหาวิทยาลัย 9% ชี้คนไทยทั่วประเทศระบุว่าไม่มีศาสนาสูงกว่าข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และมีแนวโน้มว่าคน Gen Z ระบุว่าไม่มีศาสนามากกว่าที่เราเคยรับรู้กัน

4 มี.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ รองศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์รายงานวิจัยผ่าน เฟซบุ๊ก 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' โดยระบุว่า คำถามข้อมูลผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับ “ศาสนา”

ผลการวิจัยพบว่า

  • คนไทยทั้งประเทศ (18 ปีขึ้นไป: 4,559 คน) ระบุว่า ไม่มีศาสนา ร้อยละ 2.0
  • Gen Z ทั้งประเทศ (อายุ 18-26 ปี: 1,047 คน) ระบุว่า ไม่มีศาสนา ร้อยละ 5.50
  • Gen Z มัธยมปลาย (อายุ 15-19 ปี: กรุงเทพและปริมณฑล: 503 คน) ระบุว่า ไม่มีศาสนา ร้อยละ 6.60
  • Gen Z มหาวิทยาลัย (อายุ 18-26 ปี: 490 คน) ระบุว่า ไม่มีศาสนา ร้อยละ 9.0

ธำรงศักดิ์ อธิบายด้วยว่า ประเทศต่างๆ ในโลกยอมรับความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนามากขึ้น ดังนั้น ในการสำรวจข้อมูลประชากร หรือแม้แต่ในการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล จึงมีช่องให้ติ๊ก “ไม่มีศาสนา” หรือ “ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด” (no religion, non-religious, unaffiliated) ทั้งนี้ เพื่อยอมรับอัตลักษณ์ของแต่ละคน เสรีภาพทางศาสนา และเป็นข้อมูลสำคัญในการคาดการด้านการตลาด เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง




ข้อมูลของ The World Factbook เมื่อปี 2563 ประมาณว่าประชากรในโลก เป็นศาสนาคริสต์ ร้อยละ 31.1 มุสลิม ร้อยละ 24.9 ฮินดู ร้อยละ 15.2 พุทธ ร้อยละ 6.6 ศาสนาท้องถิ่น ร้อยละ 5.6 ไม่มีศาสนา ร้อยละ 15.6 ที่เหลือเป็นศาสนาอื่นๆ

อังกฤษ มีการสำรวจข้อมูลศาสนาของประชากรปี 2564 พบว่า ผู้ตอบไม่มีศาสนาเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะคนอายุตั้งแต่ 40 ปีลงมา และผู้ตอบว่าเป็นคริสต์มีน้อยลง ประชากรทั้งอังกฤษมี 56.49 ล้านคน เป็นคริสต์ ร้อยละ 46.3 ไม่มีศาสนา ร้อยละ 36.7 มุสลิม ร้อยละ 6.7 ฮินดู ร้อยละ 1.8 ที่เหลือเป็นศาสนาอื่นๆ

สหรัฐอเมริกา ประชากร 339.66 ล้านคน เป็นคริสต์ ร้อยละ 68.2 ยิว ร้อยละ 3.5 มุสลิม ร้อยละ 0.9 ฮินดูและพุทธ ร้อยละ 0.7 ไม่มีศาสนา ร้อยละ 22.8 ที่เหลือเป็นศาสนาอื่นๆ

จีน ประชากร 1,413.14 ล้านคน ศาสนาพื้นเมือง ร้อยละ 21.9 พุทธ ร้อยละ 18.2 คริสต์ ร้อยละ 5.1 มุสลิม ร้อยละ 1.8 ไม่มีศาสนา ร้อยละ 52.1 ที่เหลือเป็นศาสนาอื่นๆ

สิงคโปร์ ประชากร 5.97 ล้านคน เป็นพุทธ ร้อยละ 31.1 คริสต์ ร้อยละ 18.9 มุสลิม ร้อยละ 15.6 เต๋า ร้อยละ 8.8 ฮินดู ร้อยละ 5 อื่นๆ ร้อยละ 0.6 ไม่มีศาสนา ร้อยละ 20

ไทย ปี 2554 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่าคนไทยอายุ 13 ปีขึ้นไป เป็นพุทธ ร้อยละ 94.6 อิสลาม/มุสลิม ร้อยละ 4.6 คริสต์ ร้อยละ 0.7 ศาสนาอื่นๆ และไม่มีศาสนา ร้อยละ 0.1

@@@@@@@

จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามของผู้วิจัย (2566-2567) ชี้ว่า คนไทยทั่วประเทศระบุว่าไม่มีศาสนาสูงกว่าข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และมีแนวโน้มว่าคน Gen Z ระบุว่าไม่มีศาสนามากกว่าที่เราเคยรับรู้กัน

คนไทยทั่วประเทศที่ระบุไม่มีศาสนาร้อยละ 2 นั้น ก็คิดเป็นประชากรราว 1.3 ล้านคน

คน Gen Z ระดับมหาวิทยาลัย ระบุว่าไม่มีศาสนาร้อยละ 9 ก็คิดเป็นประชากรราว 1.3 แสนคน

หมายเหตุ : คำว่า “ไม่มีศาสนา” หรือ “ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด” ไม่ได้หมายถึงการไม่มีความเชื่อความศรัทธาในแนวคิดใด ไม่ใช่ไม่มีค่านิยม จริยธรรม คุณธรรม และประเพณีทางสังคม แต่หมายถึงการไม่ได้ระบุตัวตนว่าตนได้สังกัดในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเพียงเท่านั้น

ข้อมูลพื้นฐาน

คนไทยทั่วประเทศ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 6-17 เมษายน 2566
Gen Z ทั่วประเทศ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 14-25 มีนาคม 2566
Gen Z มหาวิทยาลัย เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2566
Gen Z มัธยมปลาย ในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดปริมณฑล สมุทรปราการ นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร รวม 6 จังหวัด เก็บข้อมูลระหว่าง 13 พฤศจิกายน ถึง 1 ธันวาคม 2566






Thank to : https://prachatai.com/journal/2024/03/108302
ประชาไท / ข่าว | Submitted on Mon, 2024-03-04 01:24

รายการอ้างอิง :-
- “Census data suggests UK faces ‘non-religious future’, say campaigners.” The Guardian < https://www.theguardian.com/.../census-data-england-wales...
- Religion in England < https://en.wikipedia.org/wiki/Religion_in_England
- Religion in USA < https://www.cia.gov/the-world.../countries/united-states/
- Religion in China < https://www.cia.gov/the-world-factbook/countries/china/...
- Religion in Singapore < https://www.cia.gov/the-world-factbook/countries/singapore/
- สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2555 < http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/sns/5510-12.pdf
102  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รัฐบาลยกระดับดูแลสุขภาพ “พระสงฆ์-สามเณร” ตั้งเป้า มี “กุฏิชีวาภิบาล” ทุกอำเภอ เมื่อ: มีนาคม 06, 2024, 07:22:56 am

 :25: :25: :25:

รัฐบาลยกระดับดูแลสุขภาพ “พระสงฆ์-สามเณร” ตั้งเป้า มี “กุฏิชีวาภิบาล” ทุกอำเภอ ทั่วประเทศ

วันที่ 4 มี.ค. 67 เพจไทยคู่ฟ้า รายงานว่า รัฐบาล เปิด โครงการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์และสามเณร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ระดับพื้นที่ ครอบคลุมทั้งการให้ความรู้ส่งเสริมสุขภาพ การดูแลรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล การเข้าถึงสิทธิการรักษา

การจัดตั้งกุฏิชีวาภิบาลและสถานชีวาภิบาลสำหรับดูแลพระสงฆ์อาพาธ มีเป้าหมายจัดตั้ง กุฏิชีวาภิบาล อำเภอละ 1 แห่ง โดยปัจจุบันมีกุฏิ/บ้านชีวาภิบาล ที่พร้อมดำเนินการแล้ว 788 แห่งทั่วประเทศ

ทั้งนี้ ข้อมูลปี 2564 ทั่วประเทศไทยมีวัดกว่า 43,000 แห่ง พระสงฆ์-สามเณร ประมาณ 2.4 แสนรูป กว่า 50% อยู่ในวัยสูงอายุ อาพาธโรคเรื้อรัง รวมถึงอาพาธระยะท้าย ซึ่งการดูแลส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล การควบคุมโรคและการจัดการปัจจัยคุกคามสุขภาพ ต้องเป็นไปตามหลักพระธรรมวินัยและธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พ.ศ.2566






Thank to : https://thebuddh.com/?p=77942
103  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระนักวิชาการแนะ “ร่าง พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับศาสนา” ควรดึงแกนนำ 5 ศาสนาร่วม เมื่อ: มีนาคม 06, 2024, 07:17:58 am
.



“เจ้าคุณหรรษา” พระนักวิชาการชื่อดังแนะ “ร่าง พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับศาสนา” ควรดึงแกนนำ 5 ศาสนาที่รัฐรับรองเข้ามาร่วม

วันที่ 5 มีนาคม 2567 พระเมธีวัชรบัณฑิต  หรือ “เจ้าคุณหรรษา” ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้โพสต์เฟชบุ๊คส่วนตัว “ธรรมหรรษา DhammaHansa “

ได้พูดถึงการเปิดรับฟังความคิดเห็น ร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. ..ซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ การลบหลู่ ดูหมิ่น หรือเหยียดหยามต่อชื่อของพระเจ้าศาสนาของศาสนา ภรรรยา บรรดาสาวก ผู้นำศาสนา คำสอน ความศรัทธา ปรัชญาการใช้ชีวิต หรือความรู้สึกของผู้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ฯลฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้

“รัฐกับศาสนา” รัฐควรจะออกกฏหมายเพื่อปกป้องศาสนาอย่างเดียว หรือจะให้ศาสนาอำนวยความผาสุกแก่พลเมืองไทย

รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 67 ได้ตราเอาไว้ว่า รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่นในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ค่อนข้างจะชัดเจนว่า รัฐมุ่งให้ศาสนา หรือองค์กรศาสนาทำหน้าที่อำนวยประโยชน์แก่ประชาชน โดยชี้ชัดว่าให้รัฐส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจ และปัญญา ในขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ย้ำว่า รัฐต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการให้พุทธศาสนิกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการวางมาตรการ หรือกลไกในการป้องกันด้วย

@@@@@@@

ส่วนตัวมองว่า ถ้าจะออกมาตรการในการคุ้มครองและป้องกัน โดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฏหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับศาสนาในประเทศไทย โดยเฉพาะ 5 ศาสนาหลักที่รัฐบาลให้การรับรองนั้น จึงเห็นสมควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจาก 5 ศาสนาหลักมาปรึกษาหารือกัน เพราะเราต้องไม่ลืมว่า ใน 5 ศาสนาหลักนั้น มีทั้งศาสนาแบบอเทวนิยมที่ไม่นับถือพระเจ้า คือพระพุทธศาสนาหนึ่งเดียวในประเทศไทย กับศาสนาอื่นๆ อีก 4 ศาสนาที่เป็นศาสนาแบบเทวนิยมที่นับถือพระเจ้า

รายละเอียดเหล่านี้ มีความหลากหลายและซับซ้อนค่อนข้างมาก และการที่จะแก้ไขเพิ่มเติมในกฏหมายอาญาในประเด็นดังกล่าว จึงจำเป็นต้องศึกษารายละเอียด และที่สำคัญจะต้องไม่แก้ด้วยอารมณ์และความรู้สึก รวมถึงความต้องการจากกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วตีรวบ จำกัดกรอบให้ทุกคนเห็นด้วย หรือเอาด้วยกับเราแต่เพียงฝ่ายเดียว การดำเนินการเช่นนี้ ย่อมมิสามารถออกกฏหมายเพื่อแก้ไขได้อย่างตรงจุดและครอบคลุมรอบด้าน

ในประเด็นนี้ รัฐเองจำเป็นต้องใช้ความละเอียดอ่อน วิเคราะห์บริบท และผลกระทบที่จะต้องมาอย่างรอบด้าน ครอบคลุม และรัดกุม โดยมิให้กลุ่มบุคคลใด โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองมากระทำการอันใดที่จะทบต่อบรรยากาศการอยู่ร่วมกันของพี่น้องชาวไทยที่มีความเชื่อและความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม

หาไม่แล้ว ความหวังดีของบางกลุ่มที่มุ่งจะปกป้องอุดมการณ์ ศาสนา และความเชื่อของตนเอง ก็จะกลายเป็นฝันร่ายของกลุ่มอื่นๆ เมื่อนั้น ก็จะทำให้สูญเสียบรรยากาศการอยู่ร่วมกันของพลเมืองไทย จนนำไปส่ความหลาดระแวง และหวาดกลัวซึ่งกันและกัน และก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันและกันทั้งในระยะสั้น และระยะยาวในที่สุด


@@@@@@@

คำถามคือ รัฐจะทางออกในประเด็นนี้อย่างไร.? เชื่อเองว่าซึ่งมาจากพรรคการเมืองกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ คงจะมีแนวทางที่เหมาะสมในประเด็นเหล่านี้อยู่แล้ว อย่างน้อยที่สุดถ้าประเด็นเหล่านี้ ออกมาจากฐานคิดและความเชื่อของผู้นำองค์กรสูงสุดของแต่ละศาสนา ทั้ง 5 ศาสนาที่รัฐให้การรับรอง โดยมีรัฐสร้างเวทีพูดคุย

เชื่อว่าแม้จะใช้เวลาในการแสวงแนวร่วม แต่เชื่อว่าสังคมไทยในภาพรวมก็จะเกิดบรรยากาศแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีสถาบันศาสนาเป็นรากฐานสำคัญในการเสริมสร้างสังคมสันติสุข

รายละเอียดร่าง พ.ร.บ.









Thank to : https://thebuddh.com/?p=77963
104  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘ชนชั้น’ ในไทย สมัยแรก เมื่อ: มีนาคม 06, 2024, 06:59:29 am
.



‘ชนชั้น’ ในไทย สมัยแรก

ชนชั้นสมัยเริ่มแรกมีในชุมชนเกษตรกรรม 3,000 ปีมาแล้ว พบหลักฐานจากพิธีกรรมหลังความตาย

ชนชั้นนำ มีฐานะทางสังคมเหนือคนทั่วไปในชุมชนเดียวกัน

ผู้หญิงมีอำนาจเหนือผู้ชาย (หรือเป็นใหญ่ในพิธีกรรม) ดูได้จากพิธีกรรมของชุมชนเผ่าพันธุ์ ซึ่งแต่ละชุมชนเผ่าพันธุ์มีพิธีกรรมตลอดปี (12 เดือน) แต่ละพิธีมีครั้งละนานเป็นเดือน

ในพิธีกรรมมีผู้หญิงเป็นใหญ่ หรือเป็นหัวหน้าประกอบพิธี ซึ่งเรียก “แม่หมอ” (คำว่า “แม่” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่หรือหัวหน้า) เพราะเป็นผู้มีพลังแก่กล้าสื่อสารกับผีฟ้า (อยู่บนฟ้า) แล้วเชิญผีฟ้ามาบำบัดโรคภัยไข้เจ็บและกำจัดผีร้ายได้ จึงได้รับยกย่องเป็นหมอ เรียกแม่หมอ [ตรงกับภาษาเขมรว่า เมม็วต หรือ มะม็วต ไทยเรียกตามคำเขมรว่าแม่มด หมายถึงแม่หมอ (คำว่า มด กับ หมอ มีความหมายเดียวกัน คือผู้ชำนาญ หรือผู้เชี่ยวชาญ จึงมีภาษาพูดทั่วไปเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยต้องไป “หามดหาหมอ”) แต่โดยทั่วไปในไทยมักเข้าใจว่าแม่หมอ หรือแม่มด คือหมอผี (มีความหมายทางลบ)]

ผู้ชายมีอำนาจนอกพิธีกรรม ได้แก่ ปะทะการบุกรุกปล้นสะดมจากชุมชนเผ่าพันธุ์อื่น, ปกป้องและไล่ล่าสัตว์ร้ายขนาดใหญ่ (เช่น ช้าง, เสือ ฯลฯ) เป็นต้น


ชนชั้นนำเพศหญิงเริ่มแรกในไทย “เจ้าแม่โคกพนมดี” (ชื่อสมมุติของโครงกระดูกเพศหญิง) ที่ประดับประดาด้วยลูกปัดเปลือกหอย (แบบตัว I และแบบแว่นกลมบาง) มากกว่า 100,000 เม็ด (ราวหนึ่งแสนเม็ด) นอกจากนั้นยังพบแผ่นวงกลมมีเดือย, กำไลข้อมือ, เครื่องประดับศีรษะ ฯลฯ อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว (ขุดพบที่โคกพนมดี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี)

พิธีกรรมหลังความตาย

มี 2 ระดับ คือชาวบ้านทั่วไป กับ ชนชั้นนำ

ชาวบ้านทั่วไป เมื่อมีคนตาย เอาศพวางให้แร้งกากิน (ไม่ฝังศพ)

ชนชั้นนำ เมื่อตาย ต้องมีพิธีกรรมใหญ่โต และมีที่ฝังศพของชนชั้นนำและโคตรตระกูลอยู่ลานกลางบ้าน ซึ่งเป็นศูนย์กลางพิธีกรรมของชุมชน

1. พื้นที่ฝังศพ โดยทั่วไปเป็นพื้นที่พิเศษอยู่ในชุมชน (ไม่อยู่นอกชุมชน) ที่สมัยหลังเรียก “ลานกลางบ้าน” เป็นที่ฝังศพของชนชั้นนำและโคตรตระกูลของชุมชนนั้น ซึ่งเป็นโคตรตระกูลใหญ่มีฐานะทางสังคมลดหลั่นไป ได้แก่

หัวหน้าเผ่าพันธุ์ มีเครื่องใช้และเครื่องประดับคับคั่ง และ โคตรตระกูลเครือญาติทั่วไป เครื่องใช้และเครื่องประดับไม่มาก (หรือไม่มี)

แต่บางแห่งมีลักษณะเฉพาะต่างจากแหล่งทั่วไป คือ โคกพนมดี (อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี) เนินดินเนื้อที่ 30 ไร่ สูงประมาณ 12 เมตรจากพื้นราบ โดดเด่นอยู่กลางทุ่งนากว้างไกล เป็นที่ฝังศพชนชั้นนำและโคตรตระกูล มีเครือญาติหลายระดับลดหลั่นเกือบ 200 โครง

โคกพนมดีเป็นเนินดินสูง ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งนากว้างใหญ่ล้อมรอบในเขต อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี [โคก แปลว่า ที่เนินสูง, พนม เป็นภาษาเขมรแปลว่าภูเขา, ดี กลายจาก ฎี ในภาษาเขมร (อ่านว่า เด็ย) แปลว่าดิน เมื่อรวมความแล้ว “โคกพนมดี” หมายถึงเขาดิน]

เนินดินโคกพนมดีไม่ใช่ที่อยู่อาศัย แต่เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับพิธีกรรมของเผ่าพันธุ์ ได้แก่
    (1.) ฝังศพ เฉพาะชนชั้นนำและโคตรตระกูล
    (2.) พิธีกรรมเซ่นผี มีประจำทั้งปี มีคราวละหลายวัน ได้แก่ ขึ้นฤดูกาลใหม่ (เดือนอ้าย), เซ่นแม่ข้าว (แม่โพสพ), เซ่นผีเครื่องมือทำหากิน (เดือน 5) เป็นต้น

ที่อยู่อาศัยของชนชั้นนำและโคตรตระกูลเป็นเรือนครื่องผูกอยู่บริเวณที่ราบรอบเนินดินและปริมณฑล อยู่ปนกันกับประชากรทั่วไป

2. หลุมฝังศพ ถูกขุดดินเตรียมไว้ก่อนด้วยแรงงานคนจำนวนหนึ่งในชุมชน ซึ่งเป็นบริวาร (สมัยหลังเรียก “บ่าวไพร่”) ของชนชั้นนำ



สัญลักษณ์ของอำนาจ (ซ้าย) วัตถุคล้ายกำไลมีขอบหยักๆ ทำจากกระดองเต่า หรือกระดองตะพาบ และหิน (ควอทไซท์?) ขุดพบที่บ้านโคกพลับ ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี (ภาพจากหนังสือ ราชบุรี กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.2534 หน้า 70) (ขวา) ดินเผาคล้ายกำไลมีขอบหยักๆ ขุดพบที่อีสาน (ไม่มีข้อมูล)

3. สิ่งของมีค่าในหลุมศพ นอกจากร่างคนตายแล้ว หลุมศพชนชั้นนำยังมีสิ่งของมีค่ากับสัญลักษณ์อำนาจฝังรวมด้วย

     (ก.) สัญลักษณ์ของอำนาจ คล้ายกำไลคล้องข้อมือหรือแขน บางแห่งพบวัสดุวงกลมเจาะกลวง ขอบหยัก เป็นตัวแทนขวัญของคนตาย หรือประเพณีผูกข้อต่อแขน

ชนชั้นนำเมื่อยังไม่ตาย มีเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเป็นของมีค่าซึ่งมีเทคโนโลยีสูง ครั้นตายไปก็เอาสิ่งของเหล่านั้นฝังรวมกับศพด้วย ทั้งนี้เป็นไปตามความเชื่อว่าขวัญไม่ตาย แต่มีวิถีปกติ เพียงจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และต้องมีสิ่งของเครื่องใช้ปกติเหมือนยังไม่ตาย

สัญลักษณ์สายขวัญในหลุมศพ ทำจากวัสดุมีค่า เช่น กระดองเต่า, กระดองตะพาบ, หินหายาก, โลหะ เป็นต้น มีทั้งทรงกลมมีขอบเป็นหยักๆ และทรงกลมรูปกำไลไม่มีหยัก แล้วสวมข้อมือหรือข้อเท้าคนตาย เสมือนผูกข้อมือในพิธีสู่ขวัญปกติเพื่อเชิญขวัญสิงร่างคนตายจะได้ฟื้นคืนชีวิต

อีกแบบหนึ่งของสัญลักษณ์สายขวัญ ได้แก่ วัตถุทรงกลมแบน มีขอบนอกเป็นหยัก (คล้ายกงจักร) แล้วเจาะกลางกลวงกว้าง (คล้ายกำไล) ขุดพบสภาพเดิมคล้องข้อมือข้างขวาของโครงกระดูกศพมนุษย์ 2 โครง ซึ่งฝังดินราว 2,500 ปีมาแล้ว บริเวณที่ราบลุ่มต่ำบ้านโคกพลับ ต.โพหัก อ.บางแพ จ.ราชบุรี [จากรายงาน “การฏิบัติงานขุดสำรวจแหล่งโบราณคดีที่โคกพลับ จังหวัดราชบุรี” ของ สด แดงเอียด พิมพ์ในนิตยสาร ศิลปากร (ปีที่ 22 เล่มที่ 4) พ.ศ.2521 หน้า 22-30]

    (ข.) เครื่องประดับจำนวนมาก ทำจากวัสดุมีค่า มาจากชุมชนห่างไกลที่มีการติดต่อถึงกัน
    (ค.) เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ทำจำลองใช้เฉพาะพิธีศพ (ส่วนมากมักไม่ใช้ในชีวิตจริง)
    (ง.) แผ่นไม้รองรับซากศพ
    (จ.) โปรยดินเทศ (ผงสีแดง) ทั่วซากศพ

4. เฮือนแฮ้ว หมายถึงเรือนผี คือเรือนจำลองจากเรือนจริงใช้ปลูกคร่อมหลุมฝังศพให้ผีขวัญเจ้าของโครงกระดูกที่ฝังในดินได้ใช้งานเหมือนยังไม่ตาย ซึ่งยังพบสืบเนื่องในประเพณีฝังศพของผู้ไทในเวียดนาม

นักโบราณคดีขุดค้นที่โคกพนมดี อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี พบร่องรอยแล้วมีรายงานว่า “บริเวณที่ฝังศพมีรอยวงกลมของหลุมเสาเป็นระยะล้อมรอบอยู่ สันนิษฐานว่ามีอาคารไม้สร้างคลุมหลุมฝังศพ”

[ภาพและข้อมูลจากหนังสือ สยามดึกดำบรรพ์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัยสุโขทัย โดย ชาร์ลส ไฮแอม และ รัชนี ทศรัตน์ (ฉบับภาษาไทย) สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ พิพม์ครั้งแรก พ.ศ.2542 หน้า 55] •


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 1 - 7 มีนาคม 2567
คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_749797
105  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดความเชื่อ ไหว้เจ้าแม่กวนอิม ช่วยในเรื่องอะไร เมื่อ: มีนาคม 06, 2024, 06:34:21 am
.



เปิดความเชื่อ ไหว้เจ้าแม่กวนอิม ช่วยในเรื่องอะไร

”วันเปิดคลังสมบัติ 1 ปีมีครั้ง ไม่ต้องไปถึงฮ่องกงก็ไหว้ขอพรเจ้าแม่กวนอิม หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม ได้แล้ววันนี้ 6 มีนาคม 2567 พร้อมรายละเอียดและ เปิดความเชื่อ ไหว้เจ้าแม่กวนอิม ช่วยในเรื่องอะไร

สายมูห้ามพลาด วันเปิดคลังสมบัติ 1 ปีมีครั้งเดียว หรือเรียกกันว่า วันเปิดคลังสมบัติเจ้าแม่กวนอิม มีความเชื่อกันว่า พระโพธิสัตว์กวนอิม เมตตาเปิดคลังสมบัติเพื่อประทานพรแก่ผู้ศรัทธา โดยเฉพาะเรื่องโชคลาภ การเงิน และความร่ำรวย โดยวันเปิดคลังสมบัติเจ้าแม่กวนอิม 2567 นี้ จะตรงกับวันที่ 6 มีนาคม 2567 ซึ่งใน 1 ปีจะมีแค่วันเดียวเท่านั้น

เปิดความเชื่อ ไหว้เจ้าแม่กวนอิม ช่วยในเรื่องอะไร รู้หรือไม่? นอกจากตรุษจีนแล้ว ยังมีวันสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการกราบไหว้ขอพรที่เป็นสิริมงคลกับชีวิต นั่นก็คือ "วันเปิดทรัพย์" ซึ่งในวันนี้จะมีการทำพิธียืมเงินเจ้าแม่กวนอิม เพื่อให้มีโชคลาภเงินทองนั่นเอง ซึ่งพิธีสำคัญแบบนี้ 1 ปีมีเพียงครั้งเดียว ดังนั้น เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง จึงไม่ควรพลาดพิธียืมเงินเจ้าแม่กวนอิม ในวันสำคัญนี้




ฤกษ์งามยามดีในการขอเงินเจ้าแม่กวนอิมปีนี้ก็คือ

ฤกษ์ดีที่ฮ่องกงกำหนดคือ วันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 08.00-17.00 น. แต่หมอช้างระบุว่าเริ่มขอพรได้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม เวลา 23.00 น. ถึงวันที่ 6 มีนาคม เวลา 22.59 น. แล้วแต่คุณสะดวกเลยคะ เลือกวันเวลาได้ตามนี้เลย

พิธียืมเงินเจ้าแม่กวนอิมฮ่องฮำ

    • จุดธูปอธิฐาน
    • บอกชื่อ นามสกุล ที่อยู่
    • บอกจำนวนเงินที่ต้องการ และ ขอไปเพื่ออะไร
    • ขอ 1 ข้อให้ชัดเจน ขอให้ตัวเองเท่านั้น
    • ห้ามบนบานศาลกล่าว เพียงแค่ขอพรเท่านั้น เมื่อขอได้ผลก็มาขอบคุณท่าน
    • ปักธูปในกระถางใบใหญ่
    • หยิบผงธูปในกระถางใส่ในซองแดงเล็กๆ (อั่งเปา) ที่เราเตรียมไป
    • นำซองแดง วนเหนือกระถางธูป 3 รอบ




การคืนเงินเจ้าแม่กวนอิม

สำหรับผู้ที่ต้องการกลับมาขอบคุณเจ้าแม่กวนอิม หรือ มาคืนเงินเจ้าแม่กวนอิม เพียงเตรียมชุดไหว้ และกระดาษเงินกระดาษทอง จากนั้นนำชุดไหว้นั้นไปไหว้ขอบคุณท่าน รวมถึงกระดาษเงินกระดาษทองที่เปรียบเหมือนการมอบคืนเงินแก่ท่าน

บทภาวนาหัวใจพระโพธิสัตว์กวนอิม

    • โอม มา ณี แปะ หมี่ ฮง

และนี่คือความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น





Thank to :-
บทสวดจาก : หมอช้าง ทศพร ศรีตุลา
website : https://www.thainewsonline.co/belief/belief/867817
05 มีนาคม 2567
106  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "เย ธัมมา" คาถาดับทุกข์ บูชาเสด็จเตี่ย..รู้ว่าดีก็ปฏิบัติ เมื่อ: มีนาคม 05, 2024, 07:47:16 am
.



"เย ธัมมา" คาถาดับทุกข์ บูชาเสด็จเตี่ย..รู้ว่าดีก็ปฏิบัติ

“เย ธัมมา เหตุปัปภวา เตสัง เหตุง ตถาคโต เตสัญ จ โย นิโรโธ จ เอวัง วาที มหาสมโน” คาถาสี่บทนี้...มีคำแปลว่า ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น และดับเหตุแห่งธรรมนั้น พระมหาสมณมีวาทะอย่างนี้

แม้เป็นคาถาแสนสั้น...แต่มานพผู้แสวงหา อย่างอุปติสสะ ก็เข้าใจแจ่มแจ้ง นี่คือคำสอนจากศาสดาองค์จริง...ภาษาชาวพุทธว่าได้ดวงตาเห็นธรรม...

รีบไปชวนเพื่อนมานพโกลิตะ ทั้งยังมีใจไปชวนอาจารย์สัญชัย...แต่อาจารย์ยังติดใจฐานะเจ้าสำนักใหญ่ปฏิเสธ สองมานพขอบวชเป็นพระภิกษุในพุทธศาสนา

โลกรู้จักกันต่อมา พระสารีบุตร เอกอัครสาวกเบื้องขวา พระโมคคัลลานะ เอกอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า

พระสารีบุตร แสดงธรรมได้ลุ่มลึกทั้งกว้างขวางเจนจบ... พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า “สอนแทนพระองค์ได้” แต่กระนั้น พระสารีบุตร ไม่เคยลืมคำสอนเยธัมมาของพระ “อัสสชิ” อาจารย์คนแรก รู้ว่าอาจารย์อยู่ทางทิศไหน ท่านก็จะหันศีรษะไปทางนั้น




พระอัสสชิ เป็นบุตรของพราหมณ์ทั้ง 8 ที่ทำนายพระลักษณะ เจ้าชายสิทธัตถะ...ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะเป็นจักรพรรดิ ถ้าบวชจะเป็นศาสดาเอกของโลก รู้ข่าวเจ้าชายทิ้งราชสมบัติออกบวช ก็ชวนเพื่อนอีกสามคนตามโกณฑัญญะพราหมณ์ ไปปรนนิบัติ...และเมื่อเจ้าชายตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

ก็ทรงตามไปสอนอริยสัจ 4 จนถือเป็นพระปัญจวัคคีย์พระภิกษุในพุทธศาสนากลุ่มแรก

คาถา เย ธัมมา...ที่จริงก็คืออีกสำนวน บอกเนื้อหาอริยสัจ 4 ถือกันว่าเป็นคาถาที่สั้นและขลังกว่าคาถาใดๆ...อีกสามร้อยปีต่อมา พระเจ้าอโศกทรงเผยแผ่พุทธศาสนา...ก็ยังทรงใช้

พระพิมพ์สมัยศรีวิชัยในภาคใต้ หรือสมัยทวารวดีในภาคกลาง...จารึกคาถา “เย ธัมมา...” ยืนยันว่า คำสอนพระอัสสชิ ถูกเลือกไปใช้ แพร่หลาย กว้างไกลไปทั้งโลก

เหตุเกิดจากที่ใด ก็ต้องตามไปดูให้รู้ต้นเหตุและหาวิธีดับที่ต้นเหตุ นี่คือคาถาดับทุกข์ ที่ถูกใช้ดับทุกข์ได้จริง

คำสอนนี้มีที่มาที่ไป “กิเลน ประลองเชิง” บันทึกไว้ในคอลัมน์ “ชักธงรบ” เรื่อง “เย ธัมมา คาถาดับทุกข์” หลายปีมาแล้ว...เท้าความไปในหกสำนักศาสนาใหญ่ สมัยพุทธกาล สำนักของสัญชัยเวลัฏฐบุตร เป็นสำนักใหญ่ บรรดาสาวกได้ชื่อว่า “ปริพาชก” เก่งกาจในทางตอบโต้ปัญหา “อุปติสสมานพ” ถูกนับเป็นสาวกมือหนึ่ง อุปติสสมานพ เป็นลูกคนรวย เบื่อหน่ายชีวิตฟุ้งเฟ้อหรูหรา




...อยู่กับอาจารย์สัญชัยนานจนพบว่า คำสอนอาจารย์ยังดับทุกข์ได้ไม่จริง

เช้าวันหนึ่ง ในเมืองราชคฤห์ อุปติสสะเห็นนักบวชหัวโล้นห่มเหลืองเดินบิณฑบาต คู้เหยียดมือเท้า การเหลียวดูเป็นไปอย่างสงบสำรวม น่าเลื่อมใส ก็สะดุดใจเดินตาม รอจนนักบวชนั้น นั่งฉันอาหารเสร็จ ก็ถาม...“อาจารย์ท่านเป็นใคร อาจารย์ท่านสอนอะไร”

นักบวชผู้นั้นออกตัวว่า บวชได้ไม่นาน ไม่สามารถสอนธรรมโดยพิสดาร อุปติสสะก็บอกว่า ขอแค่ย่อๆก็ได้ดังความข้างต้นที่กล่าวมานี้เอง

@@@@@@

 พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หรือที่หลายคนเรียกสั้นๆว่า “เสด็จเตี่ย”

“เสด็จเตี่ย”...ได้ชื่อว่าเป็นพระบิดาแห่งทหารเรือไทย พระองค์ท่านเป็นที่ศรัทธา เคารพรักของเหล่าทหารเรือ ชาวประมง และประชาชนทั่วไป ด้วยเชื่อว่าท่านเป็นคนที่มีเมตตามาก ทำให้ใครต่อใครต่างก็พากันมาขอพรกับพระรูปกรมหลวงชุมพรกันมากมาย บนบานศาลกล่าวขอกันแทบจะทุกเรื่อง

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน การเงิน การค้าขาย สุขภาพ ความรัก หรือแม้กระทั่งเรื่องการเรียน การสอบเข้าเรียนต่อในสถานศึกษา สถาบันต่างๆ



เครื่องสักการะที่ต้องเตรียมจะมีธูป 9 ดอก (19 ดอกก็ได้), เทียน 1 คู่, ดอกกุหลาบสีแดงหรือพวงมาลัยดอกมะลิ, หมากพลู, เบียร์, บรั่นดี, บุหรี่, ขนมหวาน...ผลไม้, กับข้าวไทย, ปืนใหญ่ หรือเรือรบจำลอง เป็นต้น

อีกครั้งที่คนใกล้ตัวมีโอกาสแวะสักการะศาลเสด็จเตี่ย บ้านเพ จ.ระยอง อีกที่ซึ่งมีผู้คนศรัทธามากล้นเดินทางเข้ามาแวะกราบไหว้ สักการะด้วยว่ามีเครื่องแก้บนมากมาย แต่ที่มากเป็นพิเศษก็คือรูปปั้นทหารเหล่าต่างๆ ตำรวจ โดยเฉพาะทหารเรือดูจะมากกว่าเพื่อน นับรวมไปถึงรูปปั้นช้าง ม้า ไก่ ปืนโบราณ ก็มีอยู่ไม่น้อย

จุดธูปเทียนบูชาเรียบร้อยแล้วกล่าว พระคาถาบูชาประจำพระองค์ “พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” ตั้งนะโม 3 จบ “โอมชุมพร จุติ อิทธิกะระนังสุขโข นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะ กะสะ มะอะอุ” (3, 5, 9 จบ)

@@@@@@

“โอมชุมพร จุติ อิทธิกะระนังสุขโข นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะพะ กะสะ มะอะอุ” คำบูชากรมหลวงชุมพรฯ มีความหมายอย่างยิ่ง นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย อธิบายสรุปความเอาไว้ว่า...

“ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการพระรัตนตรัย ขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกกับขอน้อมไหว้บูชา พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ องค์บิดาของทหารเรือไทย แม้สิ้นพระชนม์แล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอบูชาด้วยการปฏิบัติตนนอบน้อมพระพุทธองค์...ดำเนินชีวิตด้วยการไม่คบคนพาล สังสรรค์บัณฑิต ทำดีเป็นนิตย์ คิดถึงอนิจจังตลอดไป ขอพระองค์โปรดประทานความสำเร็จ ความสุขสมหวัง แก่ข้าพระพุทธเจ้าด้วยเทอญ”




นาวาเอกทองย้อย ย้ำว่า...รู้ว่าดีแล้วปฏิบัติ ได้ผลชะงัดยิ่งกว่าท่องคำบูชา

วันนี้เสี่ยงเซียมซีสรุปความรวมว่า *ดวงชะตาท่านดีมาก*  หนึ่ง...เจ้านายเมตตาเอ็นดู สอง...เริ่มมีโชคแล้ว สาม...คนไข้กำลังป่วยจะทุเลา สี่...คนรักคนนี้ ใช่แล้ว ห้า...บุตรในท้องเป็นชาย หก...การที่คิดไว้จะสำเร็จ

“ศรัทธา”...นำมาซึ่งปาฏิหาริย์? เชื่อไม่เชื่อโปรดอย่าได้...“ลบหลู่”.

                                 รัก-ยม






Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2767450
3 มี.ค. 2567 , 07:05 น. | ไลฟ์สไตล์ > วัฒนธรรม > รัก-ยม
107  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “พระพิบูลย์” พระเกจิอีสาน ที่ทางการไม่ไว้วางใจ จนถูกไต่สวน, ถ่วงน้ำ สั่งคุมตัวจน เมื่อ: มีนาคม 05, 2024, 07:25:44 am
.

พระพิบูลย์ วัดพระแท่น จังหวัดอุดรธานี (ภาพจากศิลปวัฒนธรรม, กรกฎาคม 2556)


“พระพิบูลย์” พระเกจิอีสาน ที่ทางการไม่ไว้วางใจ จนถูกไต่สวน, ถ่วงน้ำ สั่งคุมตัวจนมรณภาพ

พระพิบูลย์ วัดพระแท่น อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะพระนักพัฒนา, พระนักบุญ, พระเกจิชื่อดัง หนึ่งในความภาคภูมิใจของจังหวัดอุดรธานี แต่อีกด้านหนึ่ง พระพิบูลย์กลับถูกทางการคุมตัวจน “มรณภาพ”

คำตอบในเรื่องนี้ เชิดชาย บุตดี ค้นคว้าและเรียบเรียงไว้ในบทความชื่อ “พระพิบูลย์ : ผู้มีบุญหรือนักบุญแห่งอุดรธานี” ในนิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” เดือนกรกฎาคม 2556

พระพิบูลย์ มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านพระเจ้า ตำบลมะอึ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด พระพิบูลย์มีชื่อในการใช้เวทมนตร์คาถา และอภินิหารช่วยเหลือชาวบ้านมาตลอด หลังบวชได้ระยะหนึ่งก็ออกธุดงค์ไปร่ำเรียนวิชาคาถาอาคมกับอาจารย์ผู้วิเศษนานหลายปี ภายหลังกลับมาสร้างวัดในพื้นตามที่ที่อาจารย์แนะนำ เรียกว่า “วัดพระแท่น”

นอกจากนี้ พระพิบูลย์ยังเป็น “พระนักพัฒนา” นำพาชาวบ้านตัดถนนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระแท่น เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับชุมชนและหมู่บ้านที่ขยายตัวมากขึ้น รวมทั้งนำพาชาวบ้านตั้งธนาคารข้าวเปลือก ธนาคารโค- กระบือ การซื้อจอบ-เสียมให้ชาวบ้านหยิบยืม และการชักชวนชาวบ้านให้นุ่งขาวห่มขาวเพื่อเข้าวัดถือศีล

จนเกิดคำเล่าลือเกี่ยวกับพระพิบูลย์แผ่กระจายอย่างกว้างขวาง เช่น ปราบจระเข้ยักษ์ในลำน้ำปาว, ปราบอาคมขับไล่ภูตผีให้กับชาวบ้าน, ใช้น้ำมนต์รักษาผู้เจ็บป่วย, ทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าถูกต้อง ฯลฯ ชาวบ้านจึงเกิดศรัทธาเดินทางมากราบไหว้อยู่ไม่ขาด

@@@@@@@

ทั้งหมดนั่นทำให้พระพิบูลย์ถูกพระสงฆ์ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐในมณฑลอุดรจับตาอย่างใกล้ชิดเพราะมีพฤติการณ์คล้ายกับ “ผู้มีบุญ” (บุคคลที่อ้างตนเป็นผู้วิเศษ) และมีการคุมตัวพระพิบูลย์ในที่สุด

แม้จะไม่ทราบปีเกิดที่แน่นอนของพระพิบูลย์ หากการจับกุมของพระพิบูลย์ประเมินว่า คงเกิดขึ้นในระหว่างกลางทศวรรษ 2460 เป็นต้นมา เพราะในกลางทศวรรษ 2460 คือช่วงเวลาที่รัฐบาลสยามมีการตั้งพระสงฆ์ท้องถิ่นที่ไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ เพื่อให้กลับมาฟื้นฟูงานด้านคณะสงฆ์ในมณฑลอุดรอย่างจริงจัง

การบริหารจัดการคณะสงฆ์หัวเมืองอีสาน รัฐสยามจัดส่งพระท้องถิ่นเข้าไปเรียนวัตรปฎิบัติที่กรุงเทพฯ จากนั้นจึงส่งกลับไปเป็นผู้ปกครองในพื้นที่ เช่น พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) และสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) จากอุบลฯ เป็นผู้ปกครองและดูแลทั้งที่มณฑลอุบล และมณฑลนครราชสีมา

ส่วนในมณฑลอุดร ที่พระพิบูลย์อยู่นั้น พระสงฆ์ท้องถิ่นในมณฑลนี้ได้เรียนรู้วัตรปฏิบัติและจารีตสงฆ์อย่างกรุงเทพฯ ล่าช้ากว่ามาก พ.ศ. 2465 รัฐสยามแต่งตั้ง พระเทพเมธี (อ้วน ติสฺโส) ขึ้นเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะมณฑลอุดร และแต่งตั้งให้ พระครูสังฆวุฒิกร (จูม พนฺธุโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ (วัดที่ต่อมาเป็นสถานที่กักตัวพระพิบูลย์ถึง 15 ปี) อยู่ในตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าคณะมณฑลเพื่อเรียนรู้งานไปด้วย หลังจากนั้นอีก 3 ปีต่อมา จึงได้รับตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอย่างเป็นทางการ

@@@@@@@

จากเอกสารหลักฐานในพื้นที่ พระพิบูลย์ถูกคุมตัวด้วยข้อหาใด พอสรุปได้เป็น 2 ประเด็น คือ

1. บทบาทของพระพิบูลย์คล้ายกับพระสงฆ์เมืองยโสธรที่ถูกกล่าวหาว่ามีไปเข้าร่วมกับ “กลุ่มมีผู้บุญ” จึงถูกเพ่งเล็งจากคณะสงฆ์ในมณฑลอุดร แต่ไม่สามารถชี้ได้ชัดเจนว่า มีการซ่องสุมกำลังคนเพื่อเข้าโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐหรือสถานที่ราชการ, หลอกลวงเพื่อให้ผู้คนงมงายแล้วแสวงหาผลประโยชน์ใส่ตน

เป็นแต่มีกระทำการให้ผู้คนจำนวนมากนิยม จึงมิอาจลงโทษขั้นรุนแรงระดับเป็น “กบฏผู้มีบุญ” ทำได้เพียงการตักเตือนในการคุมตัวครั้งที่ 1 และคุมตัวไว้อย่างถาวรในครั้งที่ 2 เพื่อไม่ให้พระพิบูลย์กลับไปดำเนินบทบาทในลักษณะเช่นเดิมได้อีก เพราะถือว่ามีการตักเตือนแล้วแต่ก็ยังปฏิบัติดังเดิม

2. ความหมายของ “การสำรวมในความเป็นสมณเพศ” สำหรับพระพิบูลย์กับพระในมุมของรัฐสยามแตกต่างกันสิ้นเชิง พระพิบูลย์มีวัตรปฏิบัติเรียบง่ายตามอย่างครูอาจารย์อย่าง “พระครองลาว” ไม่ว่าการครองผ้าจีวรอย่างง่ายตามความสะดวก, การช่วยเหลือชาวบ้านผู้ตกทุกข์ได้ยาก, การนำชาวบ้านพัฒนาชุมชนรอบวัด ฯลฯ แต่ในมุมของรัฐ หรือเจ้าคณะมณฑลอุดร ต้องครองผ้าจีวรอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยในทุกโอกาส, วางตนเหมาะสมกับคฤหัสถ์, มีหน้าที่หลักพระสงฆ์คือศึกษาพระธรรมวินัย ฯลฯ


@@@@@@@

ส่วนการคุมตัวพระพิบูลย์นั้น โดยทั่วไปกล่าวว่าพระพิบูลย์ถูกทางการคุมตัว 2 ครั้ง คือ

ครั้งที่ 1. ถูกคุมตัวไปที่วัดโพธิสมภรณ์ วัดของเจ้าคณะมณฑลอุดร ก่อนถูกคุมตัวไปไต่สวนต่อที่กรุงเทพฯ โดยไม่ได้ระบุว่าถูกนำตัวไปไต่สวนที่วัดใด หรือที่หน่วยงานใด ต่อมาถูกนำตัวไปถ่วงน้ำที่เกาะสีชัง เมื่อไม่มรณภาพเจ้าหน้าที่ที่คุมตัวจึงปล่อยพระพิบูลย์เพราะเลื่อมใส และการคุมตัวครั้งนี้ไม่สามารถระบุเวลาปีได้แน่นอน แต่คาดว่าคงจะปลายทศวรรษ 2460 เพราะใน พ.ศ. 2466 ได้มีการปฏิรูปงานคณะสงฆ์ในมณฑลอุดรขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

ครั้งที่ 2. พระพิบูลย์ถูกคุมตัว/กักตัวไว้ที่วัดโพธิสมภรณ์ โดยเจ้าคณะมณฑลอุดรจัดให้พระพิบูลย์จำพรรษาที่กุฏิด้านท้ายวัด ซึ่งเป็นพื้นที่ป่ารกจนมรณภาพ รวมเวลานานถึง 15 ปี  เมื่อมรณภาพแล้วศพของพระพิบูลย์ก็ต้องถูกเก็บไว้ที่วัดโพธิสมภรณ์ต่อไปอีกเกือบ 4 ปี จึงสามารถนำศพท่านไปบำเพ็ญกุศล

การคุมตัวพระพิบูลย์ในครั้งนี้ สามารถคาดการณ์ช่วงเวลาได้ว่าคงจะเกิดขึ้นในราว พ.ศ. 2474 เพราะจากหลักฐานบอกว่าพระพิบูลย์มรณภาพ พ.ศ. 2489 และ พ.ศ. 2493 คือปีที่สามารถนำศพพระพิบูลย์กลับไปบำเพ็ญกุศลที่วัดพระแท่นได้ จากนั้นอีก 11 ปี (พ.ศ. 2504) จึงมีการฌาปนกิจศพพระพิบูลย์ที่สนามพิบูลย์รังสรรค์ ตรงข้ามกับวัดพระแท่น

@@@@@@@

หากข้อมูลพระครูมัญจาภิรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระแท่น และเจ้าคณะอำเภอพิบูลรักษ์ (ผู้สืบปณิธานพระพิบูลย์ในการพัฒนาสังคมชุมชนรอบวัดพระแท่น) พระพิบูลย์ถูกคุมตัวถึง 3 ครั้ง คือ ครั้งแรกถูกคุมตัวไปที่วัดโพธิสมภรณ์ และก็ปล่อยตัวกลับวัดพระแท่นในระยะเวลาไม่นานนัก ครั้งที่ 2 ถูกคุมตัวไปที่วัดโพธิสมภรณ์ และถูกนำตัวเข้ากรุงเทพฯ ก่อนจับไปถ่วงน้ำที่เกาะสีชัง (โดยรายละเอียดเช่นดังที่กล่าวข้างต้น) และครั้งที่ 3 พระพิบูลย์ถูกคุมตัว/กักตัวไว้ที่วัดโพธิสมภรณ์จนมรณภาพ

ปัจจุบันเรื่องราวของพระพิบูลย์ได้ถูกขยายการรับรู้อย่างกว้างขวางในฐานะ “พระพัฒนา” และ  “พระนักบุญ” ใน พ.ศ. 2540 อันเป็นปีที่มีการตั้งอำเภอพิบูลยรักษ์ จังหวัดอุดรธานี ก็นำชื่อของ “พระพิบูลย์” ในฐานะพระนักพัฒนารุ่นบุกเบิก มาเป็นชื่ออำเภอใหม่แห่งนี้


คลิกอ่านเพิ่ม :-

    • ครูบาศรีวิชัย “เจ้าตนบุญแห่งล้านนา” กับความขัดแย้งในคณะสงฆ์
    • ญาคูสีทัด พระผู้นำการสร้างงานพุทธศิลป์ในพื้นที่สองฝั่งโขง





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : วิภา จิรภาไพศาล
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 4 มีนาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_128486
108  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “พระพุทธเจ้า” ปรินิพพานที่ใด ใช่ตามที่มหาปรินิพพานสูตรว่าไว้จริงหรือ.? เมื่อ: มีนาคม 05, 2024, 07:12:11 am
 :25: :25: :25:

“พระพุทธเจ้า” ปรินิพพานที่ใด ใช่ตามที่มหาปรินิพพานสูตรว่าไว้จริงหรือ.?


ภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระพุทธประวัติตอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ภายในสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ภาพจิตรกรรมภายในวิหารพระภิกษุหลวงพ่อเพ็ชร ข้างวิหารหลวงพ่อเพ็ชร วัดท่าถนน (ภาพ : wikicommon)



เคยสงสัยกันไหมว่า “พระพุทธเจ้า” ปรินิพพาน ที่ใด.?

เรื่องราวนี้ปรากฏอยู่ใน บทความ “พระพุทธเจ้าปรินิพพานด้วยโรคอะไร?” โดย พระมโน เมตฺตานนฺโท ใน นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 21 ฉบับที่ 9 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2543

ในบทความพูดถึงเหตุที่ทำให้พระพุทธเจ้าปรินิพพาน วันเวลาที่เกิด และอีกมากมาย แต่ครั้งนี้ จะขอยกเรื่อง “พระพุทธเจ้า” ปรินิพพาน ที่ใด ให้ทุกคนได้รู้กัน…

พระมโน เมตฺตานนฺโท ได้วิเคราะห์และอธิบายไว้ดังนี้

“ความในมหาปรินิพพานสูตรเล่าเรื่องปาฏิหาริย์มากมาย เมื่อทรงทอดพระองค์ลงระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในป่าใกล้กรุงกุสินารา แต่สิ่งที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ไม่น่าจะเป็นบริเวณแท้จริงที่ปรินิพพาน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ คือ

@@@@@@@

๑. เมื่อทรงประชวรหนักนั้น ภิกษุผู้ติดตามน่าจะขวนขวายพาพระองค์ไปหาแพทย์ที่อยู่ในเมืองมากกว่าที่จะพาไปประทับในป่า โดยเฉพาะเมื่อทรงมีอาการหนาวสั่น ปวดท้อง และกระหายน้ำมาก เนื่องจากสภาพความต้องการของร่างกายผู้ป่วย จะเป็นปัจจัยที่บังคับให้ผู้ใกล้ชิดทั้งหลายขวนขวาย ให้พระองค์ทรงพระชนม์ให้นานที่สุด

การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมให้อบอุ่นเป็นความจำเป็นที่ต้องการในการดูแลผู้ป่วยที่หนาวจัด จึงน่าจะเป็นไปได้มากกว่าที่ว่าสาวกทั้งหลายพาพระองค์เข้ารับการรักษาภายในที่มุงบังที่ให้ความอบอุ่น

ซึ่งอาจมีแพทย์ดูแลใกล้ชิด ผู้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้พระองค์สบายที่สุด ในสภาวะเช่นนี้ผู้ที่ดูแลน่าจะพยายามให้น้ำ (ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นน้ำสมุนไพรบางอย่าง) ให้พระองค์จิบทีละน้อยเพื่อประทังความกระหาย ในสภาพนี้พระองค์เองไม่น่าจะทรงดื่มน้ำได้ทีละมากๆ

๒. เมื่อพระอานนท์ทราบว่า พระพุทธองค์จะปรินิพพานแน่แล้วได้เกิดความเสียใจจนกระทั่งจะเป็นลมไม่อาจประคองตนไว้ได้ ต้องยืนเหนี่ยวกลอนประตูรูปหัวสิงห์อยู่ กลอนประตูนี้อยู่ในป่าตามลำพังไม่ได้แน่นอน นอกเสียจากว่าพระพุทธองค์กำลังประทับอยู่ในห้องของอาคารที่อยู่ในเมืองกุสินารานั่นเอง

๓. หลังจากปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายมีมติที่จะเคลื่อนพระศพออกจากเมืองไปประตูทางทิศใต้ แต่ไม่อาจเคลื่อนพระศพได้ มิได้ระบุว่าต้องนำพระศพเข้าเมืองก่อน แสดงว่าสถานที่ปรินิพพานนั้นอยู่ในเมืองกุสินารานั่นเอง”


อ่านเพิ่มเติม :-

    • “สูกรมัททวะ” พระกระยาหารมื้อสุดท้าย ของพระพุทธเจ้า คืออะไรแน่ ?!?
    •  “สุขาวดี” คืออะไร? ทำอย่างไรจึงจะได้เข้าสู่ แดนสวรรค์ อันบริสุทธิ์ของชาวพุทธ
    • “พระปิณโฑลภารทวาชะ” พระอรหันต์ ที่อวดอิทธิฤทธิ์ จนพระพุทธเจ้าตำหนิ และบัญญัติเป็นข้อห้าม
    • พระมหากัสสปะ พระสาวกผู้เลิศ ในการ สมาทานธุดงค์




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 4 มีนาคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_128458
109  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดเทคนิค การฝึกหายใจ ช่วยให้ผ่อนคลาย คลายเครียด และคลายกังวล เมื่อ: มีนาคม 03, 2024, 08:08:03 am
.
 :49: :49: :49:

เปิดเทคนิค การฝึกหายใจ ช่วยให้ผ่อนคลาย คลายเครียด และคลายกังวล




การฝึกหายใจ ทำง่าย คลายเครียด ช่วยสุขภาพดี

การฝึกหายใจ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรับมือกับความเครียดที่เข้ามาหาเราได้ทุกรูปแบบจริง ๆ ค่ะ ความเครียดเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจมาจากงาน เงิน เพื่อน ครอบครัว หรือคนรัก ผ่านชีวิตประจำวันของเรา หลายต่อหลายครั้งความเครียดก็ก่อตัวจนกลายเป็นความวิตกกังวล ที่ทำอย่างไรก็ไม่หายสักที

ปัญหาเหล่านี้จะคลี่คลายไปได้ เมื่อใช้เทคนิคการหายใจ 3 รูปแบบของ ดร.แอนดรูว เวล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนแพทย์ฮาร์วาร์ด ผู้สนับสนุนการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์ผสมผสาน ที่จะมาช่วยให้ทุกคนนผ่อนคลายลงได้นั่นเอง


@@@@@@@

รูปแบบที่ 1 : การกระตุ้นลมหายใจ หรือ การหายใจแบบสูบลม (The Stimulating Breath or the Bellows Breath)

การกระตุ้นลมหายใจเป็นเทคนิคการหายใจแบบโยคะ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพลังงานและความตื่นตัวให้ได้เหมือนไปออกกำลังกายมา

วิธีการฝึกหายใจ

การกระตุ้นลมหายใจสามารถฝึกหายใจในท่าไหนก็ได้ ไม่มีการจำกัดท่าว่าต้องนั่งหรือนอน
    1. หายใจเข้าและออกผ่านทางจมูกเร็ว ๆ โดยที่ปากของคุณปิดสนิทอยู่ หายใจสั้น ๆ และรวดเร็ว ในระยะเวลาที่เท่า ๆ กัน
    2. หายใจรูปแบบนี้เป็นเซท ๆ 1 เซท หายใจให้ได้ 3 ครั้งใน 1 วินาที หลังจากที่หายใจรูปแบบนี้เสร็จในแต่ละรอบให้หายใจตามปกติ
    3. ครั้งแรกที่ฝึกหายใจรูปแบบนี้ ห้ามทำนานเกิน 15 วินาที สามารถเพิ่มเวลาในแต่ละเซทได้เซทละ 5 วินาทีหรือมากกว่านั้น จนกว่าจะครบ 1 นาที





รูปแบบที่ 2 : การหายใจแบบ 4-7-8 หรือการผ่อนคลายลมหายใจ (The 4-7-8 (or Relaxing Breath) Exercise)

การหายใจแบบ 4-7-8 เป็นยากล่อมประสาทตามธรรมชาติสำหรับระบบประสาท โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ผ่อนคลาย ลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายมากยิ่งขึ้น หรือช่วยในการทำให้ผ่อนคลายได้ขณะที่เกิดความตึงเครียดขึ้นมากะทันหัน เหมือนการนับ 1 – 10 เพื่อให้เราใจเย็นลง

วิธีการฝึกหายใจ

การหายใจแบบ 4-7-8 ควรนั่งหลังตรง และวางปลายลิ้นไว้ตรงเหงือกหลังฟันหน้าข้างบนค้างไว้ตลอดการฝึกหายใจ
    1. หายใจออกแรง ๆ โดยการเป่าลมออกทางปาก ให้มีเสียงดัง ฟู่!
    2. ปิดปากให้สนิท แล้วหายใจเข้าผ่านทางจมูก นับ 1 – 4 ในใจ
    3. กลั้นหายใจ นับ 1 – 7 ในใจ
    4. หายใจออกแรง ๆ โดยการเป่าลมออกทางปาก ให้มีเสียงดัง ฟู่! นับ 1 – 8 ในใจ
    5. หายใจรูปแบบนี้เสร็จนับเป็น 1 เซท ทำซ้ำไปอีก 3 เซท รวมเป็นทั้งหมด 4 เซท

การฝึกหายใจรูปแบบนี้ให้ได้ 2 ครั้งต่อวัน ในเดือนแรกที่คุณฝึกทำ ใน 1 ครั้งห้ามหายใจรูปแบบนี้เกิน 4 รอบ และในครั้งแรกที่ฝึกหายใจรูปแบบนี้ถ้าคุณรู้สึกเหมือนจะหน้ามืด ไม่ต้องกังวล มันจะหายไปเอง

@@@@@@@

รูปแบบที่ 3 : การนับลมหายใจ (Breath Counting)

การนับลมหายใจเป็นเทคนิคการหายใจง่าย ๆ ที่นิยมใช้ในพุทธศาสนนิกายเซน ตามหลักการแล้วจะหายใจแบบเงียบและช้า แต่ความลึกและจังหวะอาจแตกต่างกันไป โดยการนับลมหายใจสามารถใช้เพื่อฝึกสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบได้ อาจนับลมหายใจไปพร้อมกับ การนั่งสมาธิ หรือ ฝึกการนับลมหายใจเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำกัดท่าหรือสถานที่

การนับลมหายใจ เป็นการฝึกหายใจผ่านทางจมูก ควรนั่งในท่าที่สบาย จากนั้นนั่งหลังตรง ศีรษะเอียงไปข้างหน้าเล็กน้อย หลับตาและหายใจเข้าลึก ๆ จากนั้นหายใจตามปกติ

วิธีการฝึกหายใจ

    1. รอบแรกหายใจออกนับ 1
    2. หายใจออกครั้งที่ 2 นับ 2
    3. หายใจรูปแบบนี้วนไปเรื่อย ๆ จนถึงหายใจออกนับ 5
    4. เริ่มหายใจออกนับ 1 รอบที่ 2

การนับลมหายใจห้ามนับเกิน 5 และนับเฉพาะตอนที่หายใจออกเท่านั้น ลองฝึกหายใจรูปแบบนี้ให้ได้ 10 นาที




และนอกจาก 3 วิธีนี้แล้ว ก็ยังมีการหายใจอีกรูปแบบที่เรียกว่า ฝึกหายใจที่เรียกว่า deep breathing exercise ที่เหมาะมากสำหรับผู้ที่ปัญหาเรื่องการหายใจ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีภาวะลองโควิด

Deep Breathing Exercise

Deep Breathing Exercise เป็นการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลม (Deep breathing exercise) ซึ่งจะช่วยฟื้นฟู และเสริมความแข็งแรงให้กับปอด และยังช่วยลดความเครียด ทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้เต็มที่อีกด้วยค่ะ

สำหรับการฝึกทำได้ไม่ยากเลย คือ วางมือตรงหน้าท้องและหน้าอกเพื่อรับรู้ลมหายใจ การฝึกทำได้ไม่ยาก ด้วยการหายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่อง เป่าลมออกทางปากท้องยุบ ทำ 5 ครั้งต่อรอบ วันละ 3-4 ครั้ง

การฝึกหายใจร่วมกับเพิ่มความเคลื่อนไหวของทรวงอก (Chest Trunk Mobilization)

ท่าที่ 1. ไขว้มือข้างหน้า สูดหายใจเข้าพร้อมกางแขนออกและยกแขนขึ้น หายใจออก แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปาก พร้อมลดแขนลง ทำช้าๆ 5 ครั้งต่อรอบ
ท่าที่ 2. หายใจเข้า กางแขนข้างใดก็ได้ออกข้างลำตัว พร้อมเอียงตัวไปฝั่งตรงข้าม หายใจออก แล้วค่อย ๆ เป่าลมออกทางปากพร้อมลดแขนลง ทำช้าๆ 5 ครั้งต่อรอบ

@@@@@@@

ข้อควรระวัง

หยุดฝึกทันที หากมีอาการเหล่านี้
    • เหนื่อยหอบมาก
    • หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ
    • หายใจสั้นหรือถี่มากๆ

(อัตราการหายใจมากกว่า 22 ครั้ง/นาที หายใจเข้าและออก นับเป็น 1 ครั้ง)

      โดย Suparada Aroonrungsikul





เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

  • เทคนิคการหายใจ ที่นักวิ่งมือใหม่ควรรู้
  • เช็กสัญญาณเตือน โรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ
  • ไขคำตอบอาการ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม






Thank to :-
URL : https://cheewajit.com/mind/249359.html
MIND | February 18, 2024 | By Riya   
ที่มา :-
 •  Andrew Weil, M.D.
 •  มหาวิทยาลัยมหิดล
110  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จัดสังฆทาน ยังไง ให้ได้บุญ งบไม่บาน เมื่อ: มีนาคม 03, 2024, 07:41:12 am
.



จัดสังฆทาน ยังไง ให้ได้บุญ งบไม่บาน

หลายท่านเคยซื้อสังฆทานสำเร็จรูปถวายพระ โดยมองหาถังราคาถูกเข้าไว้ แต่หารู้ไม่ว่าหลายครั้งข้าวของในถังไม่สามารถใช้การได้จริง วันนี้แอดชวนทุกคนมาเลือกซื้อของเพื่อ จัดสังฆทาน ด้วยตัวเอง รับรองว่า ราคาไม่แพง (เท่าสังฆทานสำเร็จรูป) แถมพระได้ใช้ประโยชน์จริง (ทุกอย่าง) แน่นอน

@@@@@@@

1. จัดสังฆทาน อุปกรณ์ในห้องน้ำ

      • แปรงสีฟัน เลือกชนิดขนแปรงอ่อนๆ เพราะช่วยดูแลเหงือและฟันได้ดี
      • ยาสีฟัน ชนิดผงหรือหลอดก็ได้ แนะนำแบบสมุนไพรหรือมีส่วนผสมของเกลือ เพื่อระงับกลิ่นปากและป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ที่สำคัญต้องไม่ลืมที่มีฟลูออไรด์ สำคัญมากนะคะ เพราะป้องกันเรื่องฟันผุ
      • ยาสระผม พระต้องใช้แชมพูสระหนังศีรษะเช่นเดียวกับฆราวาส อาจเลือกสูตรลดหรือรักษาปัญหาเรื่องโรคผิวหนัง ที่สำคัญต้องเป็นชนิดไม่มีกลิ่นหอม แนะนำว่าเลือกใช้เป็นสูตรสมุนไพรเพื่อป้องกันเรื่องการมีส่วนผสมของน้ำหอมไปเลยก็ได้ค่ะ
      • สบู่ ต้องไม่มีกลิ่นหอมแรงและไม่ควรมีส่วนผสมของมอยส์เจอร์ไรเซอร์
      • มีดโกน แนะนำแบบสองคม เพราะใช้โกนผมได้ดี
      • ผ้าเช็ดตัว สีสุภาพ อาจเลือกตามสีจีวรของท่าน เพื่อความเหมาะสม
      • กระดาษชำระ เลือกชนิดที่ไม่ยุ่ยง่าย และมีความยาวเหมาะสม ลองเปรียบเทียบหลายๆ ยี่ห้อ เพื่อดูว่ายี่ห้อใดคุ้มมากกว่ากัน

2. จัดสังฆทาน อุปกรณ์เครื่องเขียน

เนื่องจากพระสงฆ์ต้องเรียนปริยัติธรรมและจดกำหนดนัดหมายต่างๆ สมุด ปากกา ดินสอ ยางลบ จึงจัดเป็นสิ่งจำเป็นมากควรเลือกสีสันปกไม่ฉูดฉาด *ปากกาแดงจำเป็นมาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายท่าน

3. ยารักษาโรค

ควรจัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ ยาแก้ปวดหัว ปวดท้อง แก้ไอ แก้ไข้ แก้ปวดกล้ามเนื้อ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาใส่แผล *อย่าลืมสังเกตวันหมดอายุและฉลากผลิตภัณฑ์ยาก่อนถวาย

สิ่งสำคัญที่สุด.! แม้พระหลายรูปจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันและหัวใจแต่อย่าถวายยาเหล่านั้นให้ท่าน เพราะโรคเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ แนะนำให้หาหนังสือดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันและหัวใจไปถวายท่านแทนจะดีกว่า

4. ของจำเป็นอื่นๆ

      • หนังสือธรรมะ ทุกวันนี้หนังสือธรรมะ นิตยสาร หรือสื่อธรรมะจำพวกซีดี มีขายอย่างหลากหลายและราคาไม่แพง นอกจากช่วยให้ความรู้แล้วยังช่วยให้พระรู้ทันข่าวสารบ้านเมืองเพื่อนำไปประกอบการเทศนาได้อีกด้วย
      • ไฟฉาย หากเป็นพระป่า ควรถวายไฟฉายพร้อมถ่าน ควรเลือกแบบหลอด LED เพราะกินถ่านน้อย ทนทานและสว่างมาก

@@@@@@@

ประหยัดเงินแถมได้ของมีคุณภาพอย่างนี้…ถวายสังฆทานครั้งต่อไป ลองมาจัดสังฆทานด้วยตัวเองกันดีกว่านะคะ





Thank to :-
ที่มา : Secrect Thailand
URL : https://cheewajit.com/mind/5598.html
MIND | January 07, 2024 | By A Cuisine
111  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “เรื่องการเงินของวัด” พระวินัยท่านให้สงฆ์จัดการกันเอง เมื่อ: มีนาคม 03, 2024, 07:31:24 am
.



“เรื่องการเงินของวัด” พระวินัยท่านให้สงฆ์จัดการกันเอง

รู้สึกวุ่นวายก้าวก่ายเรื่องพระเรื่องสงฆ์กันนัก โดยเฉพาะผู้ไม่ประสาเรื่องพระธรรมวินัย แต่ยังอวดศักดาใช้กฎหมายมาจัดระเบียบพระสงฆ์ โดยเฉพาะเรื่องเงินซึ่งทางภาษาพระท่านเรียกว่า “ปัจจัย” อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อการครองสมณเพศเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว และยังความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชาวโลกตามพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเอกของโลก

เรื่องเงินของพระ ของวัด พระคุณเจ้าผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมท่านกล่าวว่า….

เพราะเป็นเงินที่ประชาชนเขาศรัทธาถวายสงฆ์ ก็ต้องแล้วแต่สงฆ์ ท่านจะไปใช้ประโยชน์อย่างไร? ที่ไม่ผิดพระธรรมวินัย ไม่ผิดสมณวิสัย โยมเป็นไวยาวัจกร ก็ขวนขวายในกิจอันควรที่พระสงฆ์มอบหมาย พระธรรมวินัยไม่ได้ให้โยมมาเป็นใหญ่อยู่เหนือพระสงฆ์

ชาวพุทธโปรดเข้าใจตามนี้ จะได้ไม่หลงประเด็น และกระทำการก้าวล่วงพระธรรมวินัยโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

พระธรรมวินัยสมบูรณ์มาแล้วกว่า ๒๕๐๐ ปี ถ้าพระสงฆ์ทำผิดกฎหมาย ก็สามารถดำเนินคดีเอาผิดกับพระได้ตามกฎหมายอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องออกกฎหมายใด ๆ ขึ้นมาควบคุมบังคับพระอีกเลย มิฉะนั้นจะกลายเป็นการเอากฎหมายมาใหญ่กว่าพระธรรมวินัย หวังว่าคงไม่มีใครอุตริคิดทำขึ้นมา

การออกกฎหมายใด ๆ ที่เกี่ยวกับพระสงฆ์ ที่มีโทษทางอาญา ต้องไม่ขัดหรือแย้งต่อพระธรรมวินัย ทั้งต้องเป็นไปเพื่อการปกป้องส่งเสริมพระธรรมวินัยให้แน่นหนามั่นคงยิ่งขึ้น อย่างนั้นจึงควร มิใช่การออกกฎหมายที่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ หรือมาเพิกถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว


@@@@@@@

หากนักกฎหมายคนใดคิดการเช่นนั้น คือการพยายามออกกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อพระธรรมวินัย มาสั่งการให้พระสงฆ์ต้องปฏิบัติอย่างนั้น ต้องทำอย่างโน้น ขอให้ชาวพุทธจงรับรู้ร่วมกันเถิดว่า ไอ้หรืออีคนนั้น กำลังกระทำตัวเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนาอย่างร้ายแรง พระสงฆ์จะต้องลุกฮือกันขึ้น เพื่อปกป้องพระธรรมวินัยอย่างแน่นอน เราผู้หนึ่งล่ะ จะไม่มีวันนิ่งดูดาย

กรณีที่จะออกกฎหมายมาควบคุมการเงินของวัด หรือควบคุมการใช้จ่ายเงินของพระสงฆ์ ก็ได้ยินแต่ข่าว แต่ยังไม่ทราบรายละเอียด ขอดูไปก่อนว่า จะมีผลดี ผลเสียอย่างไร? และจะเป็นการเอากฎหมายมาก้าวล่วงต่อพระธรรมวินัยหรือไม่?

เพราะพระธรรมวินัยไม่ได้กำหนดให้พระต้องทำบัญชี ท่านจะใช้เงินบริจาคอันเกิดจากศรัทธาของประชาชนเพื่อสงเคราะห์โลก หรือใช้ในกิจสงฆ์อันควรอันชอบด้วยพระธรรมวินัยอย่างไรก็ได้ เว้นไว้แต่ว่า พระสงฆ์เอาเงินไปใช้ผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์ของการบริจาค อันอาจเป็นการยักยอกเงินสงฆ์ ซึ่งพระวินัยได้บัญญัติโทษไว้ถึงขั้น “ปาราชิก” หากจะออกกฎหมายจัดการกับผู้เช่นนั้น ก็ถือว่าสมควรอยู่ ทั้งนี้ต้องแยกแยะให้ชัดเจน

การใช้จ่ายเงินในแต่ละวัดแต่ละวัน ใครจะไปนั่งทำบัญชีได้ทุกอย่าง มันเพิ่มภาระขึ้นมาอีกมากมาย วัดทั่วประเทศจะมีพระเจ้าอาวาสทำบัญชีเป็นสักกี่รูปกี่วัด ถ้าจะให้โยมมาทำบัญชีให้ ใครจะเสียสละมาทำให้ฟรี และมีความซื่อสัตย์สุจริตมากพอไหม? ถ้าทำบัญชีผิดพลาด ตัวเลขตัวเงินไม่ตรงกัน พระสงฆ์จะถูกตรวจสอบเอาผิดกันเดือดร้อนวุ่นวายไปหมดทั้งประเทศ หรือเปล่า?

@@@@@@@

ทุกวันนี้พระท่านอยู่กันแบบเอาพระธรรมวินัยเป็นใหญ่ มีเงินบริจาคเข้ามา ก็เก็บไว้ใช้ในสิ่งที่จำเป็น แล้วแต่ผู้เป็นประธานสงฆ์จะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนใหญ่ท่านก็ใช้จ่ายไปในการก่อสร้างเสนาสนะ ซ่อมแซมที่ชำรุดทรุดโทรมบ้าง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าหยูกค่ายาของพระเณรที่เจ็บไข้ได้ป่วย หรืออนุเคราะห์แก่วัดวาที่อดอยากขาดแคลน หรือบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตามแต่จะเห็นสมควร มีเท่าไรก็ใช้ไป เหลือเท่าไร ก็เท่านั้น

วัดดี พระดี ท่านไม่ได้เก็บสั่งสมเงิน หรือเอาเงินบริจาคไปใช้ผิดวัตถุประสงค์การบริจาคอย่างไม่เป็นธรรมเป็นวินัย เหมือนอย่างที่เคยปรากฏเป็นข่าวว่า พระเอาเงินไปเล่นหุ้น หรือไปลงทุนทำธุรกิจ ส่วนใหญ่แต่ละวัดจะไม่ได้ทำบัญชีอย่างเป็นกิจจะลักษณะตามหลักการทำบัญชี ยิ่งถ้าเป็นวัดที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ไม่ต้องพูดเรื่องเงินหรอก กระทั่งอาหารบิณฑบาตจะขบจะฉันก็ยังฝืดเคือง

วัดที่มีปัญหาเรื่องการเงิน มักเป็นวัดที่มีชื่อเสียงอยู่ในเมือง ที่มีศาสนวัตถุโดดเด่น มีศาลาสวดศพเยอะ ๆ มีตึกให้เช่าเยอะ ๆ มีการโปรโมทเพื่ออวดสรรพคุณ หรือทำธุรกิจขายเครื่องรางของขลัง วัดอย่างนั้นต่างหากที่มักมีปัญหา และมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

การแก้ปัญหาในเรื่องใด ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุดที่เป็นต้นเหตุของปัญหา มิใช่หว่านแหสะเปะสะปะไปทั่วบ้านทั่วเมือง เห็นหมาบ้าไม่กี่ตัว ก็ไปไล่จับหมาทั้งประเทศมาฉีดยากันบ้า คนที่คิดทำอย่างนั้นได้ มันน่าจะเป็นบ้ายิ่งกว่าหมาบ้าหรือเปล่า?

พระที่ท่านตั้งใจปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ส่วนใหญ่ท่านก็รักษาพระวินัยโดยเคร่งครัด พระวินัยท่านบัญญัติไว้ตอนแรก ห้ามไม่ให้พระรับเงินทองด้วยตนเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นรับแทน ถ้าขืนทำปรับอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ต้องเอาเงินทองที่รับมานั้นสละทิ้งไป แล้วปลงอาบัติต่อหน้าสงฆ์ ๔ รูป จึงจะพ้นอาบัติได้

ต่อมาภายหลัง เมณฑกเศรษฐี ร้องขอให้พระพุทธองค์ทรงผ่อนผันให้มีไวยาวัจกรรับเงินทองแทนพระได้ เนื่องจากพระก็มาจากหลายสกุล ที่หยาบก็มี ที่สุขุมาลชาติก็มี ย่อมมีความแตกต่างในด้านความเป็นอยู่ ถ้าชีวิตพระต้องลำบากมากนัก บางรูปก็ไม่อาจจะทนทานตรากตรำอยู่ได้นาน อายุของพระศาสนาก็จะสั้นลง

@@@@@@@

ก็ลองคิดดูก็ได้ ถ้าพระไม่รับเงินทองที่ญาติโยมบริจาค กฐิน ผ้าป่า ก็ไม่ต้องทอดกันล่ะ แล้วพระเณร จะเป็นอยู่กันอย่างไร? เพราะทุกวันนี้จะไปไหนมาไหน จะทำอะไรก็ต้องใช้เงินทั้งนั้น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่ารถ ค่ายา ค่าอาหาร ค่าก่อสร้าง ค่าซ่อมแซม กุฏิ วิหาร โบสถ์ ศาลา ซึ่งนับวันมีแต่ชำรุดทรุดโทรมไปเรื่อย ๆ ต้องบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลา

วัดเราเองก็มีสถานีวิทยุเสียงธรรมเพื่อประชาชน เผยแผ่ธรรมภาคปฏิบัติ ออกอากาศตลอด ๒๔ ชั่วโมง ค่าไฟเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ก็อาศัยศรัทธาจากประชาชนบริจาคเงินมาทั้งนั้น ถ้าไม่ให้พระรับเงินทอง แล้วจะให้หมาตัวไหนมาจ่ายค่าไฟค่าใช้จ่ายจิปาถะภายในวัดให้

หมาสองขาตัวที่มันเห่าเก่ง ๆ ที่คอยคิดแต่จะออกกฎหมายมาจัดการกับพระ ไอ้หมาตัวนี้มันจะมาจ่ายค่าไฟ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้วัดหรือ? มันก็ดีแต่เห่านั่นแหละ! ลองให้มันมาบวชเป็นพระดูบ้างสิ! มันเคยคิดที่จะบวชไหม? แล้วให้มันไม่ต้องรับเงินทอง ดูสิว่ามันจะอยู่ได้กี่วัน จะอยู่นานสู้หมาวัดที่มีสี่ขาได้หรือเปล่า? หมาวัดก็ไม่ได้รับเงินทองนะ แต่หมาวัดก็อยู่ในวัดได้ เพราะมันกินข้าวก้นบาตรพระ แต่เวลามันเจ็บป่วย ก็ต้องอาศัยเงินทองที่ญาติโยมบริจาคถวายพระมานั่นแหละ ไปเป็นค่ารักษาเยียวยา

พระพุทธองค์ก็ทรงเล็งเห็นถึงความจำเป็น จึงทรงอนุญาตผ่อนผันให้มีไวยาวัจกรรับเงิน ทองแทนพระได้ เรียกว่า “เมณฑกานุญาต” แต่ห้ามมิให้พระยินดีในเงิน ทองที่เขาถวาย แต่ให้ยินดีในปัจจัย ๔ อันจะพึงมีพึงได้จากเงินทองนั้น คือ หากขัดสนด้วยปัจจัย ๔ อย่างหนึ่งอย่างใด ก็สั่งให้ไวยาวัจกรเอาเงิน ทองนั้น ไปจัดหามาให้ได้

@@@@@@@

ดังนั้น ใคร ๆ จึงไม่ควรอุตริมาพูดว่า อย่าเอาเงินทองไปถวายพระ มันจะทำให้พระเป็นบาป บาปโคตรพ่องโคตรแม่ม…สิ!

พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้เอาไปถวายได้ แต่ถวายให้เป็น อย่าเอาเงินไปให้พระจับ ให้เอาเงินไปมอบให้ไวยาวัจกร หรือโยมอุปัฏฐากวัด หรือใส่ตู้บริจาคก็ได้ หรือวางไว้ในที่อันควร แล้วบอกพระว่า โยมขอถวายปัจจัย ๔ เป็นมูลค่าเท่านั้นเท่านี้ พระคุณเจ้าประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณบริโภค โปรดเรียกหาจากไวยาวัจกร

ชาวพุทธจงรู้ไว้ พระวินัยห้ามไม่ให้พระรับเงินทองด้วยตนเอง แต่ทรงอนุญาตให้ผู้อื่นรับแทนได้ โปรดทำความเข้าใจเสียให้ถูกต้อง แต่พระวินัยห้ามไม่ให้พระจับเงินทอง หรือยินดีในเงินทองนั้น ทั้งห้ามไม่ให้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนด้วยเงินทองกับคฤหัสถ์ ดังเช่น การทำธุรกิจพุทธพาณิชย์ซื้อขายเครื่องรางของขลัง เป็นต้น

เงินทองมันเป็นของร้อน ท่านก็ไม่ให้เอามือไปจับ เดี๋ยวมันจะลวกมือ พระมีเงินทองติดตัว มันก็อันตราย จะถูกปล้นถูกจี้ มันไม่ต่างจากคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน แต่ว่า เงินทองมันก็เป็นของจำเป็นต่อการดำรงชีพ แต่ถ้าจำเป็นต้องจับ ท่านก็ให้เอาคีมไปหนีบไปจับ พอได้ใช้ประโยชน์ แต่ไม่ให้เอามือไปจับ เดี๋ยวมันจะลวกมือ จะตายเสียก่อนที่จะได้มรรค ผล นิพพาน




หากมีกิจอันใดที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ท่านก็มอบให้ไวยาวัจกร หรือโยมอุปัฏฐากไปจัดการแทน นี่เรียกว่า เอาคีมไปจับ หรือถ้าจำเป็น พระก็ไปด้วยกันก็ได้ แต่พระไม่จำเป็นต้องจับเงิน หรือพกเงินใส่ย่ามไปเอง ให้โยมอุปัฏฐากที่ไว้ใจได้ถือไป

บางทีพระก็ต้องยอมลำบากบ้าง เพื่อรักษาพระวินัยให้บริสุทธิ์ ถ้าอยากสบายเหมือนฆราวาสก็อย่ามาบวชเลย มันจะหนักศาสนาเปล่า ๆ เป็นพระก็ต้องลำบากกว่าฆราวาสเป็นธรรมดา เพราะพระต้องรักษาศีล ๒๒๗ ชาวบ้านเขามีอย่างมากก็แค่ศีล ๕ พระจะไปทำตัวสบาย ๆ เหมือนฆราวาสได้อย่างไร?

แต่ก็นั่นแหละ สถานะของพระแต่ละรูป ก็ไม่เท่าเทียมกัน บางรูปก็มีโยมอุปัฏฐากดูแลเป็นอย่างดี ต่อให้เดินทางรอบโลก ก็ไม่ต้องจับเงินแม้แต่สักบาทเดียว ก็สามารถไปได้หมด

แต่พระบางรูปที่ไม่มีโยมอุปัฏฐากดูแล แถมด้อยทางด้านสติปัญญา ก็อาจมีทำผิดพระวินัยด้วยเรื่องจับเงินทองบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องปกติของการอยู่ร่วมกันในคนหมู่มาก ผู้ที่รักษากฏกติกาไว้ได้ก็มี ผู้ที่ตั้งหน้าตั้งตาแหกกฏกติกาอยู่เสมอก็มี เพราะโลกนี้มันมีทั้งคนดี คนชั่ว พระก็ต้องมีทั้งพระดี พระชั่ว เป็นเรื่องธรรมดา

เพราะพระมาจากคน ถ้าคนชั่วมาบวช หากบวชแล้วไม่ตั้งใจปฏิบัติแก้ไขปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ไม่มีหิริ คือความละอายต่อบาป ไม่มีโอตตัปปะ คือความสะดุ้งกลัวต่อบาป กฏกติกาใด ๆ ในโลก ไม่ว่าจะดีแค่ไหน ก็บังคับคนเช่นนั้นให้ปฏิบัติตามไม่ได้

@@@@@@@

พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ ก็มิได้มีพระประสงค์เพื่อจะฆ่าพระให้ตาย แต่พระวินัยจะเป็นเหมือนรั้วกั้นทาง เพื่อคอยประคับประคองให้พระปฏิบัติตนอยู่ในกรอบอันเดียวกัน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม ไม่ให้พระเดินหลงออกไปนอกทาง ซึ่งมันจะนำความวิบัติฉิบหายมาสู่พระได้

ยิ่งมีข่าวที่นิติบริกรคิดที่จะออกกฎหมายมาควบคุมเรื่องการเงินของวัดของพระ บังคับให้พระต้องทำบัญชี อันนี้ต้องระวังไว้ให้ดี ๆ มันเป็นดาบสองคม และจะเป็นการละเมิดพระวินัย เพราะในพระวินัยไม่ได้กำหนดให้พระต้องทำบัญชีรายงานใคร ในเมื่อมันเป็นเงินของสงฆ์ ที่เกิดจากศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อพระสงฆ์ ท่านมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ แล้วใครจะมาใหญ่เหนือสงฆ์ ใหญ่เหนือพระธรรมวินัย

เรื่องให้พระทำบัญชีเงินนี่ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ล่อแหลมต่อการละเมิดพระวินัย อาจเป็นการเอากฎหมายมาทำลายล้างพระวินัย และทำลายพระให้เหลือน้อยลงไปเรื่อย ๆ ได้เลย

ชาวพุทธเอ๋ย! ถ้าไม่รู้จักช่วยกันปกป้องพระธรรมวินัย ให้เขาเอากฎหมายมาใหญ่เหนือพระธรรมวินัยได้ นั่นแหละ คือการทำลายศาสนาพุทธให้สิ้นซากไปได้เลย พระธรรมวินัยคือองค์แทนพระศาสดา ท่านบัญญัติพระวินัยไว้ดีแล้ว ไอ้นักกฎหมายหัวดำ มันจะเก่งกว่าพระศาสดาแลหรือ?

อีกหน่อยจะหาหมามาบวชสักตัวก็ยังยาก เพราะถูกกฎหมายบังคับให้ทำโน่นทำนี่มากมาย ที่เกินขอบเขตของพระวินัย แล้วพระจะอยู่กันได้อย่างไร?


@@@@@@@

แค่รักษาศีล 227 ให้บริสุทธิ์ ก็หนักหนาสาหัสมากแล้ว ทั้งยังต้องทำความเพียรฝืนกิเลส ฆ่ากิเลส แล้วยังต้องมาปฏิบัติตามกฎหมายที่ออกมาบังคับพระให้ทำโน่นทำนี่ ต้องทำบัญชีไม่รู้กี่บัญชี และพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านก็ไม่ได้มาสนใจเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ มีเท่าไรก็ใช้ไป จะก่อสร้างทำอะไรก็ทำไป ให้ทานสงเคราะห์โลกบ้าง เหลือเท่าไรก็เท่านั้น ไม่ได้มาคอยตรวจสอบทำบัญชีอย่างเป็นทางการตามกฎหมายเหมือนที่บริษัทห้างร้านทำกัน

ต่อไปคงจะวุ่นวายน่าดู เพราะการทำบัญชีก็ต้องมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน ค่าใช้จ่ายบางอย่างก็ไม่มีใบเสร็จ และพระก็ไม่ได้จับเงินเอง นับเงินเอง หากตัวเลขกับตัวเงินไม่ตรงกัน จะไม่ถูกกล่าวหาว่ายักยอกหรอกหรือ? จะมีกี่วัด พระกี่รูป ที่รู้เรื่องทำบัญชี ทุกวันนี้ วัดตามบ้านนอก จะหาพระเฝ้าวัดสักสองสามรูปก็ยังยาก

นี่คงเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ศาสนาพุทธจะถูกทำลายโดยชาวพุทธด้วยกันเอง น่าเศร้าใจนัก! เอาหัวคิดอันชาญฉลาด ไปคิดออกกฎหมายอย่าให้นักการเมืองมันโกงชาติ ปล้นชาติ จะดีกว่าไหม? พระสงฆ์ท่านไม่ได้เลวร้ายถึงขนาดต้องออกกฎหมายมาควบคุมกันขนาดนั้น

นักกฎหมายที่ดี ๆ ในบ้านนี้เมืองนี้ จงช่วยกันนะ อย่าให้พวกนิติบริกรใจคดทั้งหลายมาออกกฎหมาย มาบัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ มาเพิกถอนสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว มิฉะนั้น ศาสนาพุทธคงจะถึงกาลวิบัติฉิบหายในเวลาอีกไม่นาน

เมื่อออกกฎหมายอย่างหนึ่งได้ ก็จะมีอย่างที่สอง ที่สามตามมา โดยอ้างว่าป้องกันพระทำผิดพระธรรมวินัย ทั้งที่พระพุทธองค์ทรงป้องกันไว้อย่างรอบคอบแล้ว ผู้ที่จะประพฤติผิดพระธรรมวินัย ไม่มีสิ่งใดป้องกันได้หรอก นอกจากเขาจะมีหิริโอตตัปปะอยู่ภายในใจเองเท่านั้น

@@@@@@@

ซึ่งถ้าออกกฏหมายป้องกันคนทำผิดได้ ประเทศไทยก็ไม่ควรจะมีโจร ข้าราชการก็ไม่ควรจะมีการทุจริต ตำรวจทหารก็ไม่ควรจะมีการรีดการไถ บริษัทห้างร้านต่าง ๆ ก็ไม่ควรจะมีการโกงบัญชีหนีภาษี เพราะทั้งมวลก็มีกฏหมายเขียนป้องกันไว้หมดแล้ว แต่คนมันจะโกง มันกลัวกฏหมายเสียที่ไหน ฉันใดก็ฉันนั้น

การมาออกกฎหมายก้าวล่วงพระวินัย ให้ปรับโทษพระที่ทำผิดเกินจากพระวินัยได้ มันก็ห้ามพระทำผิดไม่ได้ แต่มันฆ่าพระดี ๆ ให้ตายได้แน่นอน เรื่องเงินทองพระวินัยปรับโทษปาราชิกเฉพาะที่เจตนาโกงเงินมีมูลค่าตั้งแต่ ๕ มาสก เทียบเท่าทองคำหนัก ๒๐ เมล็ดข้าวเปลือก สมัยนี้คงเทียบเท่าราคาทองคำหนักประมาณ ๑ บาท ถ้ามูลค่าต่ำกว่านั้น ก็ไม่ได้ปรับโทษ ถึงปาราชิก

แต่ถ้าถือเป็นเป็นโทษผิดทางกฎหมาย ก็จับสึกได้เลย นี่เรียกว่า เพิ่มโทษเกินจากพระวินัย

และพระที่ทำไม่ดี ก็จะมีมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าพระทำผิดกฎหมายแล้ว จะกลับตัวไม่ได้ ต้องถูกจับสึก ในขณะที่พระทำผิดพระวินัย ถ้าไม่ถึงขั้นผิดกฎหมาย ท่านให้โอกาสกลับตัวได้ พระปลงอาบัติแล้วก็เป็นอันพ้นผิดไป

ดังนั้น พระไม่ดี ก็จะใช้วิธีการหลบเลี่ยงกฎหมายให้แยบยลเข้าไปอีก ก็สมคบกับคนชั่ว นักกฎหมายชั่ว นักบัญชีชั่ว นั่นแหละ แล้วประพฤติทุจริตกันต่อไป

ในขณะที่พระดี ท่านไม่อยากยุ่งกับเรื่องบ้า ๆ บอ ๆ เหล่านี้ ก็คงต้องหนีออกจากวัด ไปสร้างกุฏิอยู่ในที่สบายใจ ไม่ต้องเป็นวัดเป็นวาแม่ม..ล่ะ เพราะเป็นวัดมันมีแต่เรื่องยุ่ง ๆ ไม่รู้กฎหมายกี่ฉบับบังคับควบคุมเอาไว้ วัดจะกลายเป็นวัดร้างกันระเนระนาด เพราะไอ้นักกฎหมายหัวดำนี่แหละ มันเก่งกว่าพระพุทธเจ้า

เพราะถ้าจะออกกฎหมายจัดการกับพระอลัชชีที่ทำผิดพระวินัยจนถึงขั้นปาราชิกไปแล้ว มันไม่ใช่พระแล้ว แต่ไม่ยอมสึกออกไป ยังอาศัยศาสนาห่มผ้าเหลืองหลอกลวงประชาชนอยู่ หรือพวกที่ปลอมบวชเข้ามาสร้างความเสื่อมเสียแก่พระพุทธศาสนา จะออกกฎหมายเอาโทษผิดทางอาญากับอลัชชีเหล่านี้ ก็เห็นสมควรอยู่


@@@@@@@

แต่จะออกกฎหมายเอาผิดกับพระที่ท่านไม่ได้ประพฤติผิดพระธรรมวินัยถึงขั้นปาราชิก หาควรไม่ เพราะพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ปลงอาบัติสำนึกผิด ก็พ้นจากอาบัติไปได้

อย่างที่บอกไว้แล้ว พระวินัยไม่ได้ทรงบัญญัติไว้เพื่อฆ่าพระ แต่เพื่อให้พระรู้การกระทำที่ผิด และแก้ไขปรับปรุงตัวให้ดีเสียใหม่ได้ พระพุทธองค์ทรงเปิดประตูไว้ให้กลับตัวได้ เพราะไม่มีใครจะทำถูกไปเสียทุกอย่าง คนเราย่อมมีโง่บ้าง มีฉลาดบ้างเป็นธรรมดา

อย่าพูดเลยว่า พระดีไม่กลัวทำผิดกฎหมาย ก็จริงอยู่ที่ท่านไม่กลัวทำผิดกฎหมาย เพราะพระวินัยละเอียดกว่ากฎหมาย แต่ถ้าออกกฎหมายมาบังคับพระได้ ลงโทษเอาผิดพระได้ ทั้งที่พระไม่ได้ทำผิดพระวินัย เป็นพระดีก็ถูกจับติดคุกได้ ดังเช่น กรณีบังคับให้พระทำบัญชีนี่แหละ จะเกิดปัญหาขึ้นอย่างแน่นอน

พระวินัยบัญญัติปาราชิก 4 เท่านั้น จึงเป็นโทษประหาร แต่ถ้าออกกฎหมายเอาผิดพระได้ ก็เท่ากับเพิ่มโทษประหาร มีปาราชิกข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 เพิ่มเติมไปเรื่อย ๆ เพราะถ้าผิดกฎหมายก็ต้องถูกจับสึก ก็เท่ากับมีปาราชิกเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

อีกหน่อยพระทำบัญชีผิดก็อาจต้องถูกจับสึก ต่อไปใครจะอยากบวช ใครจะเป็นเจ้าอาวาส วัดจะร้างไปตาม ๆ กัน นี่แหละ!! พวกอวดเก่งกว่าพระพุทธเจ้า อ้างว่าเพื่อปกป้องศาสนาพุทธ แต่ด้วยวิธีการที่ทำลายศาสนา ทำลายพระเณรให้หมดสิ้นไป

ถ้าชาวพุทธไม่ฉลาด ชาวพุทธก็ทำลายศาสนาพุทธเสียเอง ฆ่าพระเสียเอง ไม่ต้องรอให้ศาสนาอื่น ๆ มาฆ่ามาทำลายหรอก ....เอวังฯ

              ประภาคาร






Thank to : https://www.thairnews.com/เรื่องการเงินของวัด-พ/
โดย thairnews - 02/11/2560
112  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปลัด มท. เดินหน้า “หมู่บ้านยั่งยืน” กำชับทุกตำบลสร้าง “ทีมพระภิกษุ” เมื่อ: มีนาคม 02, 2024, 08:52:02 am
.



ปลัด มท. เดินหน้า “หมู่บ้านยั่งยืน” กำชับทุกตำบลสร้าง “ทีมพระภิกษุ” เป็นภาคีเครือข่าย เพื่อร่วม  “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” พัฒนาชีวิตประชาชน

วันที่ 28 ก.พ. 67  นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐบาลและภารกิจสำคัญของกระทรวงมหาดไทย ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งที่ประชุมได้มีการกล่าวถึงความก้าวหน้าของการน้อมนำแนวพระดำริ “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)”

ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา พระราชทานแนวทางในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาคนในหมู่บ้าน/ชุมชน เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อปี 2566 ภายใต้ชื่อโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ 36 พรรษา 8 มกราคม 2566

ด้วยการอาศัย 4 กระบวนการสำคัญ คือ การร่วมพูดคุย การร่วมคิด การร่วมทำ และการร่วมรับประโยชน์ ตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระองค์ท่านได้พระราชทานแนวทางความสำเร็จอย่างยั่งยืน ที่ถอดบทเรียนมาจากโครงการพระราชดำริ 5,151 โครงการ ผ่านระบบคุ้มบ้าน ป๊อกบ้าน หรือหย่อมบ้าน




“ในปี 2567 ซึ่งเป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอทั่วประเทศ ได้มีเจตนารมณ์ร่วมกันในการยกระดับแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนด้วยการขับเคลื่อน “โครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” ให้ครบทั้ง 75,086 หมู่บ้านทั่วประเทศ ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ด้วยการต่อยอดแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) ซึ่งได้รับการขับเคลื่อนในปีที่ผ่านมา

โดยจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPIs) ของหมู่บ้านยั่งยืน จำนวน 8 ตัวชี้วัด ได้แก่
    1) ด้านที่อยู่อาศัย
    2) ด้านความมั่นคงทางอาหาร
    3) ด้านความสะอาด
    4) ด้านความสามัคคี
    5) ด้านความร่วมมือ
    6) ด้านการปฏิบัติตามหลักศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
    7) ด้านความมั่นคงปลอดภัย และ
    8) ด้านการมีน้ำสะอาดสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อน “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” คือ การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ต้องลุกขึ้นมาเป็นผู้นำการสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบบูรณาการ ด้วยหัวใจ ด้วย Passion ลงไปกระตุ้นปลุกเร้าสร้างพลังให้กับทีมงาน ทั้งทีมจังหวัด ทีมอำเภอ ทีมตำบล และทีมหมู่บ้าน ด้วยการพูดคุยหารือเพื่อทบทวนว่าในรอบปีที่ผ่านมาได้มีการทำงานแบบบำบัดทุกข์ บำรุงสุข มีความสำเร็จ มีปัญหาอุปสรรค มีจุดอ่อนจุดแข็ง ในการขับเคลื่อนภารกิจสำคัญของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยอย่างไร การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข จึงจะเกิดผลเป็นรูปธรรมได้” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว




นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวต่ออีกว่า “เพราะคำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน” ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และคนมหาดไทย จึงต้องสร้างให้เกิด 7 ภาคีเครือข่าย เพื่อช่วยกันทำให้เกิด “หมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village)” อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องให้ความสำคัญกับ “ภาคีเครือข่ายภาคผู้นำศาสนา” ด้วยการไปกราบนมัสการขอคำปรึกษาจากเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และพระสังฆาธิการทุกระดับ โดยนำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ที่กระทรวงมหาดไทยได้ลงนามร่วมกับมหาเถรสมาคม 3 ฉบับ ได้แก่

1) โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ประธานฝ่ายสาธารณูปการ เป็นโครงการที่มุ่งสร้างวินัยของผู้คนและคณะสงฆ์ ให้ร่วมดูแลเรื่องของศาสนสถานและบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะในลักษณะ 5ส เช่น ร่วมกันทำให้วัดมีส้วมสาธารณะ และทำให้สถานที่ต่าง ๆ ของวัดถูกสุขลักษณะ มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความสะอาดสะอ้าน เป็น “รมณียสถาน” ของประชาชนในชุมชน

2) โครงการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ประธานฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ โดยมีพระเถระนำผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และทีมงานไปสงเคราะห์ญาติโยม ให้ได้มีปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต และส่งผลดีกับสุขภาพจิตของผู้คน คือ ทำให้คนอยู่ในศีลในธรรม และ

3) โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี ประธานโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5” ด้วยการรณรงค์ให้ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ไม่ให้คนเที่ยวกลางคืน ไม่ผิดศีลธรรมของศาสนา พร้อมทั้งเชื้อเชิญผู้นำภาคศาสนาอื่น ๆ มาเป็นภาคีเครือข่าย ด้วย “ทีมอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” ที่มีนายอำเภอทุกอำเภอเป็นผู้นำในการบูรณาการระดับอำเภอ และปลัดอำเภอเป็นผู้นำการบูรณาการระดับตำบล ด้วยแนวทาง 3 ประการ คือ

     1. ต้องมี “ทีมพระ” ลุกขึ้นมายืนเคียงข้าง “1 พระสังฆาธิการ 1 ภาคราชการประจำตำบล ทุกตำบล” และให้ทุกอำเภอจัดทำบัญชีรายชื่อพระสงฆ์พร้อมข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย
     2. ต้องมีการ “พูดคุย-วางแผน” ร่วมกันของพระสงฆ์ ข้าราชการ และภาคีเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ และ
     3. ต้องลงพื้นที่จริงร่วมกันอย่างน้อย 1 พื้นที่/เดือน เพื่อทำให้มีบรรยากาศของการที่ชาวบ้านได้ร่วมกันพบปะ พูดคุย ปรึกษาหารือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์เกิดขึ้นเต็มผืนแผ่นดินไทย






นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวในช่วงท้ายว่า ขอให้กรมการปกครองได้ติดตามการขับเคลื่อน “โครงการหมู่บ้านยั่งยืน” โดยสร้างทีมที่เป็นทั้งทีมทางการและไม่เป็นทางการไปร่วมกันทำให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มบ้าน ขับเคลื่อนตาม 8 ตัวชี้วัดของโครงการหมู่บ้านยั่งยืน

เพื่อสนองพระดำริของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ที่ได้พระราชทานแนวทาง “หมู่บ้านยั่งยืน” ให้กระทรวงมหาดไทย และสอดคล้องกับสิ่งที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดที่ได้ลงนาม MOU ร่วมกับ UN ประจำประเทศไทย ประกาศเจตนารมณ์เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน (Statement of Commitment to Sustainable Thailand) “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา”

เพื่อแสดงความมุ่งมั่นทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN SDGs) ทั้ง 17 ข้อ โดยเฉพาะข้อที่ 17 การเป็นหุ้นส่วน Partnership มีความช่วยเหลือร่วมมือกันโดยมีพระสงฆ์เป็นหลักชัย อันจะทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ดีงาม ผู้คนมีความสุขทั้งกาย และใจ มีความปลอดภัย มั่นคงทางร่างกายและจิตใจ เป็นสังคมแห่งการให้ เป็นสังคมแห่งความรัก ความเมตตา เพราะมีคณะสงฆ์เป็นที่พึ่งหลัก มีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ทำให้สิ่งที่ดีงามได้กระจายความหวังของกระทรวงมหาดไทยที่อยากเห็นประชาชนทุกคนในประเทศไทยของเราได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน





Thank to : https://thebuddh.com/?p=77811
113  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โวยวัดดังเชียงใหม่ ขูดค่าเช่าจาก 1,500 เป็น 17,000 รองเจ้าอาวาสรุดเคลียร์ เมื่อ: มีนาคม 02, 2024, 08:42:30 am
.



โวยวัดดังเชียงใหม่ ขูดค่าเช่าจาก 1,500 เป็น 17,000 รองเจ้าอาวาสรุดเคลียร์

ผู้เช่าอาคารพาณิชย์หน้าวัดป่าเป้าขึ้นป้าย วิงวอนวัดดังกลางเมืองเชียงใหม่ลดค่าเช่า หลังแจ้งปรับค่าเช่าใหม่สุดโหดจากเดือนละ 1,500 บาทเป็น 17,000 บาท อ้างไม่พร้อมต่อสัญญาให้ขนของออกทันที

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร้านค้าและผู้พักอาศัยในอาคารพาณิชย์ กว่า 23 คูหา หน้าวัดป่าเป้า บนถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นป้ายติดไว้หน้าอาคารเรียกร้องให้วัดป่าเป้าลดค่าเช่า หลังทางวัดให้ทนายความ ส่งหนังสือแจ้งผู้เช่าที่ใกล้หมดสัญญาว่า จะมีการปรับค่าเช่าใหม่ จากเดือนละ 1,500 บาทต่อคูหา เป็นเดือนละ 17,000 บาทต่อคูหา หากผู้เช่าไม่ดำเนินการต่อสัญญาตามกำหนด ถือว่าไม่ประสงค์จะเช่าอาคารพาณิชย์ต่อ ขอให้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารพาณิชย์ทันที

โดยอาคารพาณิชย์ที่ตั้งอยู่บนถนนมณีนพรัตน์หน้าวัดป่าเป้า ฝั่งคูเมืองเชียงใหม่ด้านนอก เป็นอาคาร 2 ชั้น นอกจากเป็นที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ยังเปิดเป็นร้านค้าขายเสื้อผ้า ชุดนักเรียน อุปกรณ์เดินป่า ร้านเครื่องเสียง เครื่องใช้ไฟฟ้า




หญิงวัย 50 ปี หนึ่งในผู้เช่า เปิดเผยว่า พ่อทำสัญญาเช่าที่ดินกับวัดป่าเป้ามาตั้งแต่ปี 2518 จากนั้นก็ลงทุนสร้างอาคารพาณิชย์ขึ้นเองเพื่ออยู่อาศัยและค้าขาย โดยช่วงแรกเสียค่าเช่าเดือนละ 200 บาท และขยับขึ้นมาเป็นเดือนละ 400 บาท ต่อเมื่อปี 2552 ผู้อาศัยที่ครบสัญญาเช่า เจ้าอาวาสรูปที่สองได้แจ้งขอปรับค่าเช่าเป็นเดือนละ 1,500 บาท ทำสัญญา 15 ปี พร้อมค่าเซ้ง หรือเงินกินเปล่า 500,000 บาท ผู้อาศัยทุกหลังตกลงทำสัญญา บางรายมีเงินก็จ่ายค่าเซ้งไปทั้งก้อน แต่บางรายก็ขอผ่อนจ่ายเป็นงวดๆ รวมค่าเซ้งที่ทางวัดได้ไปกว่า 11,500,000 บาท

กระทั่งเมื่อปลายปี 66 หลายครอบครัวใกล้หมดสัญญาเช่า ทางวัดจึงมอบหมายให้ทนายความส่งหนังสือมาแจ้งเรื่อการต่อสัญญาใหม่ และปรับค่าเช่าเป็นเดือนละ 17,000 บาทต่อคูหา หรือเพิ่มจากเดิมกว่า 10 เท่า และขอเก็บค่าเช่าล่วงหน้า 3 เดือน หากไม่ต่อสัญญาก็ให้ย้ายออกทันที เพราะทางวัดจะให้คนอื่นมาเช่าต่อ พร้อมมอบหมายให้ทนายความเข้ามาสำรวจอาคารพาณิชย์ สร้างความงุนงงให้ชาวบ้านเป็นอย่างมาก

เจ้าของรายนี้ บอกอีกว่า เวลานี้ชาวบ้านได้รับความร้อนเดือดร้อนมาก เพราะทางวัดแจ้งแบบกระชัดชิด หลายครอบครัวอาศัยอยู่มานานกว่า 70 – 80 ปี ตั้งแต่เป็นที่ดินเปล่า ทุกคนลงทุนสร้างอาคารขึ้นมาเอง หากวัดจะปรับขึ้นค่าเช่าก็ควรแจ้งให้ชาวบ้านทราบก่อน ช่วงแรกชาวบ้านพยายามเข้าไปพูดคุยกับเจ้าอาวาสขอลดค่าเช่าในราคาที่เหมาะสมและอยู่ได้เพราะเศรษฐกิจไม่ดี แต่เข้าไปคุยถึง 2 ครั้งเจ้าอาวาสไม่ยินยอม จนครั้งล่าสุดเจ้าอาวาสปฎิเสธไม่ให้เข้าพบโดยอ้างว่าอาพาธ






ด้านนายปรีชา ขันธนา ประธานชุมชนวัดป่าเป่า กล่าวว่า นอกจากอาคารพาณิชย์หน้าวัด ยังมีชุมชนที่อยู่หลังวัดอีกกว่า 100 หลังคาเรือน หากวัดขึ้นค่าเช่าอาคารพาณิชย์ฝั่งด้านหน้า ก็เกรงว่าต่อไปจะขึ้นค่าเช่ากับชุมชนด้านหลังอีก จึงได้มีการยื่นขอเสนอขอให้ทางวัดเก็บค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท สัญญา 15 ปี และต่อสัญญาทุก 3 ปี โดยผู้เช่าจะเสียภาษีโรงเรือนเอง

ล่าสุดเมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พระมหาอนุพันธ์ อภิวฑฺฒโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเป้า ได้เดินทางมาเจรจากับผู้เช่าอาคารพาณิชย์หน้าวัด เพื่อรับข้อเสนอจากผู้เช่าและนำไปหารือกับพระครูอมรวีรคุณ เจ้าอาวาสอีกครั้ง

พระมหาอนุพันธ์ กล่าวว่า ยังไม่ขอให้สัมภาษณ์หรือให้ข้อมูลอะไรเพราะยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องนำข้อเสนอของชาวบ้านไปแจ้งให้เจ้าอาวาสทราบก่อน เพื่อตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไร อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นทางสำนักพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ ทราบเรื่องแล้วและจะลงพื้นที่มาพูดคุยในประเด็นนี้กับเจ้าอาวาสและชาวบ้านอีกครั้ง





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนออนไลน์
URL : https://thebuddh.com/?p=77827
114  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ว่าด้วย “ตำรวจพระ” เมื่อ: มีนาคม 02, 2024, 08:34:28 am
.



ว่าด้วย “ตำรวจพระ”

จากกรณีมีข่าว “หลวงพี่น้ำฝน” วัดไผ่ล้อม จังหวัดนครปฐม จับกุมพระภิกษุที่เริ่ยไรเงินและอยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง จนถูกสึกออกไป  ตอนหลังมีข่าวว่า กลับมา “ห่มจีวรใหม่” อีกครั้ง  ต่อมา พระธรรมวชิรานุวัตร หรือ “เจ้าคุณแย้ม”  เจ้าคณะภาค 14 ไปเปิดสัมนาว่าด้วยพระวินยาธิการพร้อมมอบบัตรประจำตัวให้ หรือก่อนหน้านั่น พระเทพเวที “เจ้าคุณพล” เจ้าคณะภาค 6 ก็ไปเปิดศูนย์พระวินยาธิการ จังหวัดเชียงราย โดยมี กอ.รมน. ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น เข้าร่วม

หลังเสนอข่าวออกไป มีชาวพุทธจำนวนมากยังไม่ทราบว่า “พระวินยาธิการ” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า  “ตำรวจพระ” เกิดแล้ว โดยเฉพาะกรณี “หลวงพี่น้ำฝน”  มีคนพูดถึงท่านค่อนข้างมาก เพราะบทบาทของท่านประเภท “ถึงลูกถึงคน” คล้าย ๆ กับในอดีต ตำนวนพระวินยาธิการ สิงห์เหนือเสือใต้ “มหาเสวย-มหาอดุลย์”  เมื่อ “อลัชชี-พระนอกรีต” แค่ได้ยินชื่อ “เยี่ยวหด ตดหาย” โดยเฉพาะจำพวกบิณฑบาตล่วงเลยเวลาที่กำหนดไว้คือ ประมาณ  08.00 น. หรือจำพวกเช่าบ้าน หรือ ยืนอยู่กับที่  ประเภทนี้ถูกจับสึกหมด บางกรณีไล่จับจีวรปลิว!!

พระภิกษุที่ทุ่มเททำงานปราบปรามพระนอกรีตประเภทบู้ดุเดือดแบบ “พระมหาเสวย พระมหาอดุลย์” หรือแม้กระทั้ง “หลวงพี่น้ำฝน” เดียวนี้หายาก กลัวโยมมองว่า “ไม่เหมาะสม” ความเป็นสมณเพศ

ซ้ำเมื่อเห็นภาพของ “หลวงพี่น้ำฝน” เป็นพระวินยาธิการ โดยตำแหน่งของท่านคือ ประธานคณะทำงานดำเนินการแก้ไขข้อขัดข้อง ระงับเหตุ และแก้ไขปัญหาอธิกรณ์ข้อร้องเรียนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 14  มีทั้งพระภิกษุและฆราวาสบางคน พูดเชิงทำนองแหนะกระแหน เนื่องจากภาพของท่านเป็น “พระสายมู” มองว่าไม่เคร่งครัด ประพฤติไม่เหมาะสมกับความเป็นสมณะ ทั้ง ๆที่ หลวงพี่น้ำฝน  อีกด้านหนึ่งท่านเป็น “พระนักพัฒนา -สังคมสงเคราะห์” ตัวยง หากตัวจับยาก รูปหนึ่งในสังคมไทย

@@@@@@@

และหากจะว่าตำแหน่งของ “หลวงพี่น้ำฝน”  เมื่อเทียบกับตำแหน่งทาง “ตำรวจภูธร” ก็เสมือน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 อย่างไรอย่างนั้น เพราะคุมถึง 4 จังหวัดคือ นครปฐม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ต่างกันนิดเดียวคือ “ตำรวจภาคภูธร 7” กินพื้นที่จังหวัดมากกว่าเท่านั้น

ความจริง “ตำรวจพระ” หรือ “พระวินยาธิการ” เกิดขึ้นมานานแล้วในคณะสงฆ์ เพียงแต่เดิมไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบอะไรรองรับ ยุคก่อนการเกิดขึ้นของ “พระวินยาธิการ” เกิดขึ้นเพราะเจ้าคณะปกครองบางรูปต้องการ “แก้ปัญหาพระประพฤตินอกรีต” การจับกุม จับสึก บางกรณีเจอ “พวกหัวหมอ” เจอสายแข็ง หมิ่นเหม่ต่อ “ถูกฟ้องกลับ”  เพราะไม่มีกฎหมาย กฎระเบียบอะไรรองรับ

“ผู้เขียน” ติดตาม ระเบียบพระวินยาธิการ ตั้งแต่ “ตั้งไข่” ไปร่างและประชุมกันอยู่ที่ “วัดหงส์” เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยมี “พระพรหมโมลี” วัดปากน้ำเป็นประธานกรรมการ ร่างระเบียบพระวินยาธิการ และหากจะว่าไปตามตรงระเบียบพระวินยาธิการ ถือว่าเป็น “ผลงานชิ้นเดียว” ของ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก ในฐานะประธานคณะกรรมการฝ่ายปกครอง ที่มหาเถรสมาคมมีคำสั่งแต่งตั้งไว้เมื่อปี 2559 เพื่อการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 6 +1 นอกนั้นมีหรือเปล่าไม่ทราบ เพราะไม่ปรากฎออกมาสู่สาธารณชน หากมี “กราบขออภัย”




สาระสำคัญของเระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยพระวินยาธิการ พ.ศ. 2562 นี้ ระบุว่า  ออกตามความในมาตรา 15 ตรีแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535

เหตุผลสำคัญที่จำต้องออกระเบียบพระวินยาธิการ เนื่องด้วยการปฎิบัติหน้าที่ของพระวินยาธิการปัจุจุบัน ยังไม่มีบทบัญญัติรองรับที่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้การปฎิบัติหน้าที่ของพระวินยาธิการเกิดความเรียบร้อยดีงาม ตามเจตนารมณ์แห่งการรักษาหลักพระธรรมวินัยและกฎหมาย จึงจำต้องออกระเบียบนี้ ลงนามโดย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562

เนื้อหาหลัก ๆ แบ่งออก ชเป็น 6 หมวด 28 ข้อ เช่น คณะกรรมการ เจ้าคณะใหญ่ เป็นประธาน ไล่ลงไปจนถึงจังหวัด ซึ่งเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธาน พร้อมทั้งเจ้าคณะอำเภอในจังหวัดอีกไม่เกิน 5 รูป ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมเป็นคณะกรรมการ และจะต้องจัดตั้งศูนย์พระวินยาธิการประจำจังหวัด และตำบลหนึ่งให้มีพระวินยาธิการจำนวน 2 รูป คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องเป็นพระสังฆาธิการ เป็นเปรียญหรือมีความรู้นักธรรมเอก  อำนาจหน้าที่ คือ ตรวจตรา แนะนำ ชี้แจง ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการสืบสวน สอบสวนแล้วแต่กรณี หากเจอพระภิกษุสามเณร ไม่ยินยอมขออารักขาต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ เป็นต้น

ส่วนงบประมาณ หากจำไม่ผิดได้รับเงินอุดหนุนต่อปี ย้ำต่อปี รูปละ 2,000 พันบาท บางรูปบอกแค่ค่ารถต่อครั้งบางกรณีก็ไม่พอแล้ว..


@@@@@@@

“ผู้เขียน” คิดว่าระเบียบพระวินยาธิการหรือ “ตำรวจพระ” นี้ น่าจะเป็นเครื่องมือ “ป้องกัน” พระวินยาธิการถูกฟ้องกลับได้ดี ในขณะเดียวกันหาก “คณะสงฆ์” ใช้เป็น อาจนำไป “ปกป้องคุ้มครองภัย” ที่มากระทบคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนาในมิติอื่น ๆ ได้ด้วย ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น ขอคณะสงฆ์ทุกภาคต้องจับมือทำงาน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจต้องขอแรงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดสัมมนาระดมความร่วมคิด ร่วมทำ ตามหนต่าง ๆ  เสมือนมาระดมความคิดว่า ภัยพระพุทธศาสนาทั้งภายในและภายนอกของเราตอนนี้มีอะไร แล้วคิดออกมาเป็นผัง ถอดออกมาเป็นฉาก ๆ แล้วหามาตรการแนวทางป้องกัน ซึ่งคิดว่าที่ผ่านมา คณะสงฆ์ ในภาพรวมยังไม่เคยทำในลักษณะแบบนี้

และเพื่อให้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ คณะสงฆ์ หรือ กลุ่มพระวินยาธิการ จำเป็นต้อง สร้าง “ภาคีเครือข่าย” เช่น สถาบันการศึกษา ตำรวจ  ฝ่ายปกครอง ท้องถิ่น ชาวบ้าน หรือแม้กระทั้งองค์ด้านกฎหมาย เช่น สภาทนาย องค์กรมูลนิธิอื่น ๆ  “กลุ่มพระวินยาธิการ” ก็ควรดึงมาเป็นภาคีเครือข่าย ทั้งติดอาวุธทั้งอบรมกฎหมายคณะสงฆ์ต้องรู้ อย่างที่ “พระธรรมราชานุวัตร”  เจ้าคณะภาค 10 ร่วมกับ “มูลนิธิทนายกองทัพธรรม” อบรมให้กับพระสังฆาธิการ ไวยาวัจกรในเขตปกครองภาค 10

บทบาท พระวินยาธิการ หรือ “ตำรวจพระ”  หากจะว่าไป เมื่อมีระเบียบรองรับแบบนี้ ควรมีบทบาทและทำหน้าที่ให้เข้มกว่านี้ เพื่อดึงศรัทธาญาติโยมกลับมา ยุคนี้ “วิกฤติศรัทธา” ภาพลบ เกิดขึ้นกับคณะสงฆ์เป็นอันมาก คนเบื่อพระสงฆ์เยอะ  ส่วนหนึ่งนอกจาก “ความเชื่อ” สังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ส่วนสำคัญเกิดจาก..สถาบันสงฆ์ เองเป็นนัยสำคัญ พูดให้ชัดคือ สังคมไทยยุคใหม่ ไม่ชอบพวกอภิสิทธิ์ชน ไม่ชอบคนอยู่ “เหนือคน”  ทุกคนต้องรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน มีนักวิชาการ คนชั่นกลาง เด็กรุ่นใหม่ บางกลุ่ม มองคน “เท่าเทียม” กันหมด

สุดท้าย ขอฝากถึง “พระวินยาธิการ” ซึ่งหากนับตำบลในประเทศไทยมีมากกว่า 7,000  ตำบล ๆ หนึ่ง มีพระวินยาธิการ 2 รูป รวมแล้ว 14,000 กว่ารูป ว่า เมื่อพวกท่านเป็น พระวินยาธิการ หรือ “ตำรวจพระ” แล้ว ต้องทำตัวเป็นแบบอย่างให้กับพระภิกษุสงฆ์รูปอื่นๆ ต้องเคารพ “พระธรรมวินัย” กฎหมาย และจารีตที่ดีงาม อย่าง “หลงตัวเอง” ทำผิดเอง หรือ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในทางที่มิชอบ เอื้อต่อพวกพ้องเป็นอันขาด!!






Thank to : https://thebuddh.com/?p=77853
115  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อ.วังเจ้า “ไม่มีแผ่ว” เดินหน้า “หมู่บ้านรักษาศีล 5″ ขยายผลสู่ ”หมู่บ้านศีลธรรม″ เมื่อ: มีนาคม 02, 2024, 08:23:29 am
.



อำเภอวังเจ้า “ไม่มีแผ่ว” เดินหน้า “หมู่บ้านรักษาศีล 5″ ขยายผลสู่ ” หมู่บ้านศีลธรรม” ต่อเนื่อง

วันที่ 1 มี.ค. 67 นายศักดิ์ดา สำเภาเงิน นายอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครอง มีนโยบายการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม” ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยยึดหลักทางศาสนาและนำมาปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิต

เพื่อสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันด้วยความปรองดองสมานฉันท์ ก่อให้เกิดสันติสุขในหมู่บ้าน/ชุมชน พัฒนาไปสู่หมู่บ้านศีลธรรม ภายใต้ภารกิจของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชนสมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐที่หวังให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “



นายศักดิ์ดา สำเภาเงิน นายอำเภอวังเจ้า กล่าวว่า ฝ่ายปกครองอำเภอวังเจ้า ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกแม่บ้านมหาดไทยจังหวัดตาก สมาชิกเหล่ากาชาดจังหวัดตาก เจ้าหน้าที่ปกครอง สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนอำเภอวังเจ้า ที่ 10 อสม. และคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้บูรณาการร่วมกับคณะสงฆ์ตำบลเชียงทอง นำโดยพระครูพินิจธรรมโชติ เจ้าคณะตำบลเชียงทอง เลขานุการเจ้าคณะอำเภอวังเจ้า เจ้าอาวาสวัดลาดยาวใหม่ ขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางศาสนา “ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม” ของอำเภอวังเจ้า มาอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ได้จัดกิจกรรม ดังนี้

1) โครงการวัดไม่ทิ้งโยม ถนนสายบุญ เป็นการออกรับบิณฑบาต ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม นำมาจัดเป็นถุงยังชีพ จำนวน 30 ถุง ๆ ละ 1,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท เพื่อนำไปมอบให้แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่ บ้านใหม่ชัยมงคล หมู่ที่ 10 ตำบลเชียงทอง

2) โครงการบ้านนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน โดยคณะสงฆ์วัดลาดยาว ร่วมกันปลูกผักสวนครัว อาทิเช่น ถั่วฝักยาว มะเขือยาว มะเขือม่วง มะระจีน ฟักทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า แตงกวา เป็นต้น และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้วัดเข้ามาเก็บไปบริโภคได้ ส่วนหนึ่งคณะสงฆ์จะเก็บและทำเป็นกำ ๆ ให้ผู้ใหญ่บ้านนำไปแจกชาวบ้านที่บ้านอยู่ห่างไกลจากวัด

3) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต กลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ยากไร้ จัดซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ให้กับผู้ด้อยโอกาส ผู้ยากไร้ ผู้ยากจน ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ ในพื้นที่บ้านลาดยาว ตำบลนาโบสถ์ จำนวน 1 ราย และบ้านครองราชย์ ตำบลเชียงทอง จำนวน 1 ราย




“การจัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นการขับเคลื่อนโครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางศาสนา “ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม” ในด้านหลักประกันชีวิต เสริมสร้างให้คนในสังคมไทยมีจิตใจที่เป็นบุญเป็นกุศล เพิ่มพูนในการทำความดี ช่วยกันดูแลสังคม และส่งเสริมการสร้างความสามัคคี ปรองดอง ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันภายในชุมชน โดยยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ร่วมมือกันในการสงเคราะห์เกื้อกูล บูรณาการความร่วมมือเพื่อพัฒนาสังคมไทย และขยายผลไปช่วยสังคมโลกให้มีความสุขอย่างยั่งยืน

โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันเป็นอย่างดีทั้งบ้าน วัด โรงเรียน หน่วยงานราชการ และองค์กรเอกชน เสริมสร้างความอบอุ่นให้สมาชิกในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้เกิดความสงบสุข ร่มเย็น เป็นสุข และได้ร่วมรับประโยชน์ คือ ความสุข ความอิ่มเอมใจ ไปด้วยกัน เพื่อนำไปสู่ “หมู่บ้านศีลธรรม” อย่างยั่งยืนตลอดไป” นายศักดิ์ดาฯ กล่าวเน้นย้ำ




นายศักดิ์ดา สำเภาเงิน นายอำเภอวังเจ้า กล่าวทิ้งท้ายว่า ทีมอำเภอวังเจ้า มุ่งมั่นในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ มีแนวคิดที่จะ Change for Good โดยการสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

โดยการขยายเครือข่ายการสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ และสร้างกลไกที่มีความยั่งยืน สามารถขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง ทำงานแบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และใช้ทุนทางวัฒนธรรม “ครอบครัว ศาสนา สถานที่ราชการ หรือ สถานศึกษา” หรือ บ้าน วัด ราชการ หรือ “บวร” สร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อความมั่นคงในระดับชุมชนหมู่บ้าน เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา สิ่งสำคัญ คือ ภาครัฐต้องเป็นส่วนที่กระตุ้น ปลุกเร้า และจับมือให้ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยลงมือลงแรงไปด้วยกัน ซึ่งสิ่งที่เราทุกคนจะได้รับนอกจากจะเป็นความสุขทางใจแล้ว ยังช่วยทำให้คนในชุมชนของเรามีความเข้มแข็งมั่นคงอีกด้วย










Thank to : https://thebuddh.com/?p=77873
116  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เขมรอยุธยา ญาติใกล้ชิดที่ถูกบิดเบือน เมื่อ: มีนาคม 01, 2024, 10:00:34 am
.
 :49: :49:
.
เขมรอยุธยา ญาติใกล้ชิดที่ถูกบิดเบือน


ขบวนแห่ของชาวสยามหรือ “เสียมก๊ก” สุจิตต์ วงษ์เทศ เคยกล่าวว่า คนกลุ่มนี้เป็นพวกที่อยู่รัฐและบ้านเมืองบริเวณสองฝั่งโขงที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมของกษัตริย์กัมพูชาในยุคนั้น ไม่ใช่ “กองทัพเมืองขึ้นของขอม” ตามคำอธิบายของนักวิชาการเจ้าอาณานิคมตะวันตก



“เขมร” ใน “อยุธยา” ญาติใกล้ชิดที่ถูกบิดเบือน!?

กลุ่มคนในวัฒนธรรมเขมรนับว่ามีบทบาทต่อสังคมอยุธยามาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา เพราะอาณาจักรเขมรโดยเฉพาะในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แผ่อิทธิพลเข้ามายังบริเวณภาคกลางของสยาม และ “ชาวเสียม” ก็มีส่วนร่วมในสงครามที่เขมรทำกับจาม ปรากฏเป็นภาพสลักที่ปราสาทนครวัดที่มีชื่อเรียกว่า “เสียมกุก” แม้จะยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างหาที่สิ้นสุดได้ยากว่า “เสียมกุก” ที่ปราสาทนครวัดหมายถึงชาวสยามที่บริเวณใดกันแน่

@@@@@@@

เขมรพระนครสมัยรุ่งเรือง ต้นแบบราชสำนักสยาม

นอกจากนี้ เขมร ยังเป็นวัฒนธรรมที่แข่งขันกับวัฒนธรรมทวารวดีในย่านนี้ตลอดตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 เมื่อสิ้นอำนาจไปแล้วได้ทิ้งร่องรอยทางศิลปกรรมเอาไว้ในรูปที่เรียกว่า “ศิลปะบายน” (Bayon Art) เช่น ปรางค์สามยอดที่เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ปราสาทสระมรกตที่เมืองศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ปราสาทวัดกำแพงแลงเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ฯลฯ

จารึกปราสาทพระขรรค์ ซึ่งทําขึ้นโดยพระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้กล่าวถึงนามเมืองสำคัญในเขตภาคกลางของสยาม 6 เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงส่งพระพุทธรูปจำหลักแทนพระองค์ที่เรียกว่า “พระชัยพุทธมหานาถ” ไปประดิษฐานไว้ เมืองทั้งหกมีรายนามและข้อสันนิษฐานถึงอาณาเขตที่ตั้งกันดังต่อไปนี้

(1) “ลโวทยปุระ” (ละโว้ ลวปุระ หรือลพบุรี จังหวัดลพบุรี)

(2) “สุวรรณปุระ” (อาจเป็นที่เนินทางพระ สามชุก หรือไม่ก็ตัวเมืองสุพรรณภูมิ จังหวัดสุพรรณบุรี)

(3) “ศัมพูกปัฏฏะนะ” (เมืองโบราณที่สระโกสินารายณ์ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี)

(4) “ชัยราชปุระ” (มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีร่องรอยการเป็นปราสาทเขมรเก่า)

(5) “ศรีชัยสิงหปุระ” (บางท่านว่าเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ขณะที่บางท่านเห็นต่างว่าเป็นเมืองสิงห์บุรีเก่าที่ตําบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี แต่โดยทั่วไปยอมรับว่าคือเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี)

(6) “ศรีชัยวัชรปุระ” (ศูนย์กลางอยู่ที่ปราสาทวัดกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี)

ปราสาทเขมรได้พัฒนาคลี่คลายรูปแบบต่อมากลายเป็นมหาธาตุทรงปรางค์ บางครั้งเรียกว่า “ทรงฝักข้าวโพด” เพราะเป็นเจดีย์ที่มีรูปทรงคล้ายข้าวโพด [1] มหาธาตุทรงปรางค์ถือเป็นประธานหลักของเมืองสำคัญต่างๆ อาทิ ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี ปรางค์ประธาน วัดมหาธาตุวรวิหาร เมืองราชบุรี ปรางค์ประธานวัดมหาธาตุ เมืองเพชรบุรี ปรางค์ประธานวัดจุฬามณีและวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ปรางค์ประธานวัดหน้าพระธาตุ เมืองสิงห์บุรี ปรางค์ประธานวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองสุพรรณบุรี และวัดมหาธาตุ กรุงศรีอยุธยา ก็เป็นมหาธาตุทรงปรางค์ เช่นกัน มหาธาตุทรงปรางค์นี้เป็นที่นิยมทำมาจนถึงวัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้งที่กรุงเทพฯ

จาก คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม: เอกสารจากหอหลวง กล่าวถึง “พระมหาธาตุที่เป็นหลักกรุงศรีอยุธยา” มีอยู่ 5 องค์ คือ พระมหาธาตุวัดพระราม พระมหาธาตุวัดมหาธาตุ พระมหาธาตุวัดราชบุรณ (วัดราชบูรณะ) พระมหาธาตุวัดสมรโกฏ (วัดสมณโกศฐาราม) และพระมหาธาตุวัดพุทไธสวริย (วัดพุทไธสวรรย์) [2] นอกจากนี้ ในพื้นที่ย่านตัวเมืองกรุงศรีอยุธยา ยังพบเจดีย์ทรงปรางค์อีกหลายแห่ง ได้แก่ วัดส้มหรือวัดกุฎีฉลัก วัดเจ้าพราหมณ์ (วัดขุนพราหมณ์) วัดไตรตรึงษ์ วัดลังกา วัดถนนจีน วัดเชิงท่า วัดกษัตราธิราช วัดไชยวัฒนาราม วัดโลกยสุทธาราม วัดวรเชษฐ์เทพบำรุง

จากการที่เขมรเป็นศูนย์กลางการแพร่วัฒนธรรมอินเดียโบราณ ทำให้วัฒนธรรมเขมรที่ผสมผสานระหว่างอินเดียกับพื้นเมืองกลายเป็นต้นแบบของวัฒนธรรมจารีตในรัฐลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยารุ่นหลัง ที่ยังคงอ้างอิงและสร้างสิทธิธรรมจากการสืบทอดวัฒนธรรมเขมรยุครุ่งเรืองหรือเขมรพระนคร ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีหลวงหรือขนบธรรมเนียมของราชสำนักหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นภาษาราชสำนักหรือราชาศัพท์ก็พัฒนามาจากภาษาเขมรโบราณ ภาษานี้ใช้สื่อสารแพร่หลาย ดังจะเห็นได้จากจารึกและใบลานสมัยอยุธยา ที่นิยมจดจารด้วยภาษาเขมรโบราณ [3] การพระราชพิธี 12 เดือน (ทวาทศมาส) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก ไปจนถึงการแต่งกายของชนชั้นนำอยุธยาในยุคต้นและศิลปะการฟ้อนรำต่างๆ รวมถึงพิธีกรรมต่างๆ ที่พราหมณ์เขมรมีบทบาทต่อราชสำนักอยุธยา [4]

@@@@@@@

ญาติชิดสนิทใกล้ ชนชั้นนำอยุธยากับเขมรพระนคร

ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างอยุธยากับเขมรยังมีสาเหตุปัจจัยมาจากความเป็นเครือญาติชาติพันธุ์ระหว่างชนชั้นนำทั้งสองบ้านเมือง โดยเฉพาะราชวงศ์อู่ทองที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับเขมรพระนคร เพราะเมืองลพบุรีเคยเป็นเมืองลูกหลวงของเขมรพระนครในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มาก่อน ในเวลาต่อมา เมืองลพบุรียังคงมีความสำคัญในฐานะเมืองลูกหลวงของราชอาณาจักร เพียงแต่เปลี่ยนสถานะจากเมืองลูกหลวงของเขมรพระนคร มาเป็นเมืองลูกหลวงของอยุธยา ดังจะเห็นได้จากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1893 ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสองค์โตขึ้นไปครองเมืองลพบุรี

อนึ่ง เมื่อพิจารณาประเด็นเรื่องเครือญาติแล้ว อันที่จริงชื่อ “ราชวงศ์อู่ทอง” นี้ควรปรับแก้เสียใหม่เป็น “ราชวงศ์ละโว้” หรือ “ราชวงศ์ลพบุรี” เพราะคำว่า “ราชวงศ์อู่ทอง” มาจากความเชื่อว่ากษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 ทรงอพยพมาจากเมืองอู่ทอง แต่ที่จริงราชวงศ์นี้สืบสายมาจากวงศ์กษัตริย์ผู้ครองเมืองลพบุรี ซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางอำนาจของเขมรในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน

จากที่ชนชั้นนำอยุธยามีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับเขมรพระนครจึงเป็นเหตุให้เอกสารล้านนาเรียกกรุงอโยธยาว่า “กรุงกัมโพช” ไปด้วย [5] อโยธยาในช่วงก่อนสถาปนากรุง พ.ศ. 1893 ก็คือเมืองท่าหน้าด่านทางตอนใต้ของแคว้นลพบุรีหรือรัฐละโว้ ต่อมาพัฒนากลายเป็นเมืองหลวงของรัฐละโว้แทนที่เมืองลพบุรี ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสัมพันธ์กับการเปลี่ยนราชวงศ์ที่นับถือพุทธมหายานแบบเขมร มาเป็นกลุ่มที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ แต่ยังคงอ้างสิทธิสืบสายพระโลหิตมาจากกษัตริย์ราชวงศ์ก่อนหน้า [6]

แม้เมื่อหลังสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว กษัตริย์ผู้ครองเมืองจะหันไปมีสายสัมพันธ์กับแคว้นสุพรรณภูมิและนครศรีธรรมราช แต่ก็มิได้ละทิ้งขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมเดิมของตนที่เป็นฝ่ายนิยมเขมร การทวีความสำคัญของพุทธศาสนาแบบเถรวาทลังกาวงศ์ ยังทำให้กษัตริย์อโยธยาสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแคว้นสุโขทัยอีกด้วย เนื่องจากอโยธยาเป็นรัฐที่มีปฏิสัมพันธ์กับรัฐข้างเคียงกรอบทิศเช่นนี้ คือ ทิศตะวันออกสัมพันธ์กับเขมรพระนคร ทิศใต้สัมพันธ์กับนครศรีธรรมราช ทิศตะวันตกสัมพันธ์กับสุพรรณภูมิ ทิศเหนือสัมพันธ์กับสุโขทัย จึงเป็นเงื่อนไขให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากราชวงศ์หนึ่งไปสู่อีกราชวงศ์หนึ่ง และที่สำคัญคือเปิดต่อการเข้ามาของคนภายนอกรอบทิศตลอดเวลา

ความนิยมในศิลปวัฒนธรรมเขมรพระนครยังมีอยู่ในหมู่ชนชั้นนำอยุธยา ล่วงมาถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้ทรงให้ช่างไปศึกษาและถ่ายแบบปราสาทสำคัญๆ ที่เมืองพระนครมาจำลองเป็นพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งรูปแบบจะคล้ายคลึงกับปราสาทที่ลานหน้าจักรวรรดิที่เมืองนครธม นอกจากนี้ ยังจำลองรูปแบบและผังมาสร้างปราสาทนครหลวงและวัดไชยวัฒนารามขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาอีกด้วย [7]


@@@@@@@

เขมรอยุธยา มายังไง?

การเข้ามาของชาวเขมรในอยุธยามีทั้งเข้ามาโดยสงครามกวาดต้อนเข้ามาค้าขาย และการเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร การเข้ามาโดยวิธีสงครามกวาดต้อนนั้นครั้งใหญ่ๆ เกิดขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) เมื่อทรงนำทัพไปตีเมืองนครธมของเขมรพระนคร ส่วนฝ่ายเขมรเองก็เข้ามากวาดต้อนผู้คนโดยพระเจ้าละแวก (เอกสารไทยมักเรียก “พระยาละแวก” ซึ่งไม่เหมาะสม เป็นการลดพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินเพื่อนบ้าน) ยกทัพมากวาดต้อนชาวเมืองแถบหัวเมืองตะวันออกและเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชา

สำหรับการเข้ามาด้วยสาเหตุทางการค้าขายโดยตรงนั้น จากเอกสารคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม: เอกสารจากหอหลวง ได้ระบุว่า ทุกปีจะมีพ่อค้าชาวเมืองพระตะบองเดินทางมาโดยคาราวานวัวต่าง มาตั้งร้านค้าอยู่ที่ตลาดบ้านศาลาเกวียน ตรงบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองกรุงศรีอยุธยา ถัดจากหัวรอขึ้นไปราว 4-5 กิโลเมตร สินค้าต่างๆ ที่พ่อค้าชาวเขมรนำเข้ามาค้าขายยังตลาดบ้านศาลาเกวียนนั้น ได้แก่ เร่ว กระวาน ไหม กำยาน ครั่ง ดีบุก หน่องา ผ้าปูม แพรญวน ทอง พราย พลอย แดง และบรรดา “สินค้าต่างๆ ตามอย่างเมืองเขมร” [8]

ส่วนการเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ปรากฏในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ทำให้เกิดชุมชนใหญ่ของชาวเขมรขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาและเมืองบางกอก โดยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้มีชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อพยพลี้ภัยจากการเบียดเบียนทางศาสนาเข้ามา สมเด็จพระนารายณ์ทรงให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณโบสถ์คอนเซปต์ชัญ เมืองท่าบางกอก (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่วัดคอนเซ็ปชัญ ย่านสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพฯ) และให้อยู่ภายใต้ความดูแลของคณะมิสซังฝรั่งเศส เรียกว่า “บ้านเขมร” นอกจากมีประชากรเขมรแล้วยังมีชาวโปรตุเกส ฝรั่งเศส และเวียดนาม ที่เป็นชาวคริสต์เข้ามาอยู่ปะปนด้วย

@@@@@@@

ชุมชนบ้านเขมร มีอยู่ทั่วอยุธยา

ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้มีชาวเขมรอพยพเข้ามาอยู่กรุงศรีอยุธยา ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณวัดค้างคาว ในพื้นที่เกาะเมืองมีวัดร้างแห่งหนึ่งชื่อ “วัดสวนหลวงค้างคาว” ปัจจุบันคือด้านหลังติดสนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จากที่มีชื่อพ้องกัน จึงทำให้เกิดความเชื่อว่าวัดสวนหลวงค้างคาวนี้ คือที่ตั้งของชุมชนเขมรที่เข้ามาในรุ่นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ

แต่สภาพที่ตั้งและโบราณสถานของวัดสวนหลวงค้างคาวก็ชวนให้สงสัยว่า วัดสวนหลวงค้างคาวคงไม่ใช่วัดค้างคาวที่กล่าวถึงในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ เพราะวัดสวนหลวงค้างคาวมีโบสถ์ขนาดใหญ่ ตั้งตระหง่านเหนือเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่เกิดจากการถมพูนดินสูงขึ้น ทั้งโบสถ์มีลักษณะเดียวกับวิหารหลวงวัดธรรมิกราชที่ติดกับพระบรมมหาราชวังทางทิศตะวันออก อีกทั้งวัดธรรมิกราชยังมีฉนวนทางเดินตัดตรงจากพระที่นั่งวิหารสมเด็จในพระบรมมหาราชวังมายังวิหารหลวงของวัด นี่เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของวัดธรรมิกราชและวิหารหลวงไม่น้อยเลย

ทั้งโบสถ์วัดสวนหลวงค้างคาวและวิหารหลวงวัดธรรมิกราชยังมีขนาดใกล้เคียงกับพระที่นั่งสรรเพชญมหาปราสาท อาคารแบบนี้คือสถานที่ที่สามารถใช้เป็นที่ประชุมว่าราชกิจของกษัตริย์ได้ในกรณีฉุกเฉินหรือ ณ ขณะเสด็จมาประทับอยู่ อีกทั้งวัดสวนหลวงค้างคาวยังตั้งอยู่ริมคลองฉะไกรน้อย ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรลัดตรงระหว่างพระบรมมหาราชวังไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนใต้ เป็นที่สะดวกแก่เจ้านายในการเสด็จมายังสถานที่แห่งนี้อีกด้วย

วัดสวนหลวงค้างคาวมีลักษณะเป็นราชอุทยาน มีความสำคัญเกินกว่าจะพระราชทานให้แก่ชาวเขมรหรือชนชาติใด และเป็นสถานที่ที่พบร่องรอยการใช้งานอยู่ถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะมีใบสีมาหินทรายและสถูปเจดีย์รุ่นปลายอยุธยาล้อมรอบโบสถ์ สถานที่ที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระพระราชทานให้แก่ชาวเขมร ตามพระราชพงศาวดารก็ไม่มีคำว่า “สวนหลวง” ซึ่งก็น่าแปลกใจว่า หากพระราชทานที่ดินสวนหลวงแห่งที่ 2 ของพระนคร (ต่อจากสวนหลวงแห่งที่ 1 คือสวนหลวงสบสวรรย์ ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงให้สร้างเป็นวังหลังที่ประทับแก่พระเอกาทศรถไปแล้วนั้น) เหตุใดพระราชพงศาวดารจึงไม่ใช้คำว่า “สวนหลวงค้างคาว” มีแค่คำว่า “วัดค้างคาว”

บริเวณนอกเกาะเมืองทางทิศตะวันตก ย่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องหัวแหลม จุดบรรจบกันระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับคลองเมือง (แม่น้ำลพบุรี) ยังมีวัดอีกแห่งชื่อตรงกับพระราชพงศาวดารว่า “วัดค้างคาว” ปัจจุบันเป็นวัดร้าง เหลือเพียงซากเจดีย์ขนาดย่อม พื้นที่ถูกปรับปรุงเป็นลานจอดรถของวัดท่าการ้อง ถ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระจะพระราชทานที่ดินบริเวณนี้ให้แก่ชาวเขมรอพยพก็ไม่แปลกเพราะเป็นที่นอกเกาะเมือง มีเส้นทางสัญจรต่อไปยังชุมชนเขมรเก่าแก่ที่ย่านเกาะมหาพราหมณ์อีกด้วย

อนึ่ง ชาวเขมรในอยุธยาสามารถแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม “เขมรเก่า” หรือที่อยุธยาเรียกว่า “ขอม” มีวัดขอม เกาะขอม บ้านขอม ตัวบทกฎหมายก็มีกล่าวถึง “ขอม” (คำว่า “ขอม” เป็นคำที่อยุธยาเรียกเขมร) ขอมกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่อยู่ในอยุธยามาแต่เดิม ชุมชนใหญ่อยู่ที่ย่านบางปะอิน และอีกกลุ่มคือ “เขมรใหม่” ที่เข้ามาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ การแบ่งลักษณะนี้ก็เช่นเดียวกับกรณีชาวมอญ ที่แบ่งเป็น “มอญเก่า” กับ “มอญใหม่” “มอญเก่า” นั้นได้แก่มอญที่เข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวร ชุมชนใหญ่อยู่ที่โพธิ์สามต้น คลองสระบัว คลองบางลี่ “มอญใหม่” เป็นกลุ่มที่เข้ามาภายหลังตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์จนถึงสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ชุมชนใหญ่อยู่ที่สามโคก ปากเกร็ด ตลาดขวัญ (นนทบุรี) และหัวเมืองฝั่งตะวันตกในลุ่มแม่น้ำท่าจีนและแม่กลอง

เนื่องจากกลุ่มเขมรใหม่รุ่นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ อพยพเข้ามาพร้อมเจ้านายชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ของเขมรขณะนั้น จึงมีสมัครพรรคพวกบริวารเข้ามาอยู่ด้วยกันมาก ราชสำนักให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โดยอนุญาตให้ชาวเขมรเหล่านี้อยู่ใต้สังกัดเจ้านายเดิมของตน ต่อมาเมื่อเจ้านายเดิมนั้นสิ้นพระชนม์ ราชสำนักจึงแต่งตั้งผู้นำชุมชนคนใหม่ให้ทำหน้าที่แทน ซึ่งนั่นมาพร้อมกับการที่ชาวเขมรถูกสักเลกสังกัดในระบบไพร่ของอยุธยา เช่นเดียวกับชาวมอญและลาว

กลุ่มตระกูลไท-ลาวนิยมเรียกเขมรโบราณว่า “ขอม” เช่นมีค่าเรียก ว่า “ขอมอุโมงคเสลา” ในเอกสารตำนานพื้นเมืองของล้านนา หรืออย่างคำว่า “ขอมสบาดโขญลำพง” ในศิลาจารึกสุโขทัย อยุธยาก็เรียกเขมรโบราณว่า “ขอม” เช่นกัน จึงมีวัดชื่อ “วัดขอม” อยู่บริเวณพื้นที่ที่เป็นสุสานจีนวัดพนัญเชิงในปัจจุบัน แต่ตัววัดได้ร้างและถูกผนวกรวมเข้ากับวัดพนัญเชิงไปนานแล้ว อีกทั้งยังมีร่องรอยชุมชนเขมรอยู่ที่บริเวณวัดขนอน อำเภอบางบาล และวัดโปรดสัตว์ วัดทำเลย์ไท ที่อำเภอบางปะอิน ก่อนที่ชาวเขมรจะผสมกับชาวมอญที่เข้ามาอยู่ภายหลัง โดยมีร่องรอยใบสีมาที่ น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลุชาฏะ) กำหนดนิยามเรียกว่า “ใบสีมาแบบขอมผสมทวารวดี” [9]

นอกจากนี้ ยังมีชุมชนเขมรตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านขอม (ปัจจุบันชื่อตำบลวัดยม) ท่าเกาะพระก็เคยมีชื่อเรียกว่า “เกาะขอม” และมีชุมชนขอมอยู่ที่ริมคลองบ้านโพธิ์ ปากคลองทางทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของอยุธยาชื่อ “บ้านขอม” (ปัจจุบันคือตำบลสามเรือน อำเภอบางปะอิน) และคลองบ้านเลนในเขตอำเภอบางปะอิน ก็เป็นเครือญาติกับเขมรที่บ้านขอม บ้านเลนมีอาณาเขตครอบรวมถึงบริเวณวัดชุมพลนิกายาราม ซึ่งเป็นนิวาสถานเดิมของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ฟอร์เรสต์ แมคกิลล์ (Forrest McGill) ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในอยุธยา จะได้ข้อสรุปถึงแรงจูงใจสำคัญต่อความนิยมในศิลปกรรมรูปแบบเขมรของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ว่าส่วนหนึ่งก็เพราะทรงมีเชื้อสายชาวเขมรในอยุธยา [10] และอีกกรณีคือในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มีหลักฐานเป็นหนังสือคู่มือทูตสยามที่ไปฝรั่งเศส มีเนื้อความระบุว่าถ้าฝรั่งถามเกี่ยวกับพระองค์ว่า “กษัตริย์องค์ปัจจุบันสืบตระกูลมาแต่ใด” ให้ทูตสยามตอบไปว่า ทรงสืบเชื้อสายมาจาก “สมเด็จพระปฐมสุริยนารายณีศวรบพิตร” กษัตริย์ต้นวงศ์ผู้สร้างเมืองเขมรพระนคร [11]

สมัยอยุธยามีชาวเขมรอพยพเข้ามาอยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ก็มีเจ้านายเขมรลี้ภัยจากปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติเข้ามา คือกรณีนักองค์ราม หรือนักองค์โนน เมื่อเวลาใกล้จะเสียกรุงฯ พ.ศ. 2310 นักองค์รามได้ร่วมเดินทัพไปหัวเมืองตะวันออกกับกลุ่มพระยาตาก (สิน) ภายหลังเมื่อสถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงและทำศึกได้รับชัยชนะในกัมพูชา สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ก็ทรงแต่งตั้งนักองค์รามขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงกัมพูชา และในกรุงธนบุรีก็มีชุมชนเขมรตั้งอยู่ที่ย่านคลองสำเหร่ คลองสามเสน คลองสำโรง คลองทับนาง วัดบางยี่เรือ [12]


อ่านเพิ่มเติม :-

    • ขอมอยู่ไหน? ไทยอยู่นั่น ขอมกับไทย ไม่พรากจากกัน
    • “เขมร” ไม่เรียกตัวเองว่า “ขอม” ไม่มีคำว่าขอมในภาษาเขมร คำว่า “ขอม” มาจากไหน?
    • “เมืองพระนคร” บ้านเมืองล่มสลาย ผู้คนถูกกวาดต้อน เหตุสงคราม “อยุธยา” บุก “เขมร”
    • เขมร ใน อยุธยา กองกำลังพระองค์เจ้าดำ ก่อกบฏพระเจ้าท้ายสระ?






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : Downtown Ayutthaya ต่างชาติต่างภาษา
ผู้เขียน : กำพล จำปาพันธ์, โมโมทาโร่
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 26 มกราคม 2566
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_100399

เชิงอรรถ :-
[1] สันติ เล็กสุขุม, เจดีย์: ความเป็นมาและคำศัพท์เรียกองค์ประกอบเจดีย์ใน ประเทศไทย (กรุงเทพฯ: มติชน, 2552), น.34.
[2] คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม: เอกสารจากหอหลวง (นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิาช, 2555), น. 40.
[3] ศานติ ภักดีคำ และนวรัตน์ ภักดีคำ, ประวัติศาสตร์อยุธยาจากจารึก (กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์, 2561); ก่องแก้ว วีระประจักษ์, บรรณาธิการ, สารนิเทศจากคัมภีร์ ใบลานสมัยอยุธยา (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2545), น. 113-121.
[4] ประกอบ ผลงาม, สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: เขมรถิ่นไทย (นครปฐม: สถาบันวิจัย ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล, 2538)
[5] กำพล จำปาพันธ์, “กัมโพช: ละโว้-อโยธยาในเอกสารล้านนา,” วารสารมนุษยศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 15, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2557): 74-82.
[6] ศรีศักร วัลลิโภดม, กรุงศรีอยุธยาของเรา (กรุงเทพฯ: มติชน, 2546), น. 29.
[7] Forrest McGill, “The Art and Architecture of the reign of King Prasatthong of Ayutthaya (1629-1656)” (PhD.Thesis in The History of Art at University of Michigan,1977), pp. 264-265.
[8] คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม: เอกสารจากหอหลวง, น. 7.
[9] น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลุชาฏะ), ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่ อยุธยา (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2558), น.90.
[10] Forrest McGill, “The Art and Architecture of the reign of King Prasatthong of Ayutthaya (1629-1656)”, pp. 263-264.
[11] ไมเคิล ไรท์, ภูมิศาสตร์ – ประวัติศาสตร์สยาม: เอกสารชั้นต้นสมัยสมเด็จพระนารายณ์ที่เปิดเผยใหม่, เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2562, เข้าถึงได้จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_7424
[12] กำพล จำปาพันธ์, พระเจ้าตาก กษัตริย์นักการค้า และธนบุรีศรีมหาสมุทร (กรุงเทพฯ: มติชน, 2561), น. 26-28, 216-217.

หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ Downtown Ayutthaya ต่างชาติต่างภาษาและโลกาภิวัฒน์แรกในสยาม-อุษาเคย์, เขียนโดย กำพล จำาปาพันธ์, โมโมทาโร่ (สำนักพิมพ์มติชน, 2566)
117  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พบฐานโยนี โบราณวัตถุอายุกว่า 600 ปี บนเทือกเขาหลังสวนโมกข์ เมื่อ: มีนาคม 01, 2024, 09:44:28 am
.



พบฐานโยนี โบราณวัตถุอายุกว่า 600 ปี บนเทือกเขาหลังสวนโมกข์

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ จ.สุราษฎร์ธานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีชาวบ้านพบวัตถุโบราณที่บริเวณเทือกเขานางเอ ด้านหลังสวนโมกขพลาราม (วัดธารน้ำไหล) หมู่ที่ 6 ต.เลม็ด อ.ไชยา จึงแจ้งนายชวลิต โรจนรัตน์ นายอำเภอไชยา ทราบ และประสานนายกิตติ ชินเจริญธรรม หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ไชยา พระมหาธงชัย วรรณะวีโร เจ้าอาวาสวัดรัตนราม(วัดแก้ว) ต.เลม็ด อ.ไชยา ร่วมตรวจสอบ โดยต้องเดินเท้าขึ้นบนเทือกเขาระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร

เมื่อเดินไปถึงบนเทือกเขาได้พบวัถตุโบราณเป็นฐานโยนี (หรืออวัยวะเพศหญิงพระแม่อุมา)เป็นลักษณะแท่งคล้ายศิวลึงค์เป็นแท่งสองแท่นเหมือนกับวางซ้อนกันบนแท่นอิฐ มีก้อนหินน้อยใหญ่ วางอยู่รอบๆ ซึ่งคาดว่าอายุประมาณราวสมัยอยุธยา (674ปี) โดยมีชาวบ้านในพื้นที่นำบายศรีและสิ่งของมาสักการะ




พระมหาธงชัย วรรณะสีโร เจ้าอาวาสวัดรัตนราม(วัดแก้ว) เปิดเผยว่า สถานที่แห่งนี้เป็นเทือกเขาศักดิ์สิทธิ์ ด้านล่างเป็นวัดและมีบ่อน้ำเจ็ดแห่ง เชื่อว่า เป็นที่ตั้งของกษัตริย์สมัยศรีวิชัย ซึ่งบนเทือกเขาบริเวณนี้เต็มไปด้วยเจดีย์ต่างๆถือว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่เก็บกระดูกของเจ้าเมืองของกษัตริย์และพระตั้งแต่แรก

“ จากการสำรวจที่ตรงนี้พบว่า เป็นศิวลึงค์ มีร่องรอยการขุดเป็นฐานแกะสลักเป็นหินทรายแดง มีร่องน้ำของโยนี เต็มไปด้วยเศษอิฐ คาดว่าเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ในสมัยก่อน เพราะเป็นแนวดิน ที่ไม่ใช่ตามธรรมชาติ ซึ่งในพื้นที่ อ.ไชยา จะพบของแบบนี้มากคาดว่าที่บริเวณนี้จะมีก่อนเกิดพุทธศักราช(กว่า 2,567ปี) “




ด้านนายกิตติ ชินเจริญธรรม หัวหน้าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยา กล่าวว่า บริเวณนี้เป็นจุดที่มีหินทรายแดงนำไปสร้างพระพุทธรูปและโบราณวัตถุในสมัยก่อน ตามความเชื่อชาวบ้านคิดว่า เป็นศิวลึงค์ โยนี เบื้องต้นได้เก็บภาพเก็บหลักฐานเพื่อนำไป ศึกษาองค์ประกอบต่างๆ เพื่อหาข้อมูลให้กับชาวบ้าน เพราะ อ.ไชยา เป็นเมืองยุคโบราณในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีการสำรวจค้นหา จึงขอให้ชาวบ้านช่วยดูแลรักษาทรัพย์สมบัติครั้งประวัติศาสตร์ เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป






Thank to : https://www.matichon.co.th/region/news_4449212
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 - 21:48 น.   
118  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ตามรอย สุสานพระเจ้าตาก ที่จีน มีจริงหรือ.? เมื่อ: มีนาคม 01, 2024, 09:26:48 am
.



ตามรอย สุสานพระเจ้าตาก ที่จีน มีจริงหรือ.?

”รู้หรือไม่ ที่จีนมีสุสานพระเจ้าตาก... วันนี้รายการปาฏิหาริย์ ช่วงเจนจิราหามาเล่า จะพาไป ตามรอย สุสานพระเจ้าตาก ที่จีน มีจริงหรือ ไปดูกันคะ

สุสานพระเจ้าตากที่จีน วันนี้รายการปาฏิหาริย์ ช่วงเจนจิราหามาเล่า และทีมงานไทยนิวส์ได้เดินทางไปไกลถึงโพ้นทะเล มณฑลกวางตุ้ง ซัวเถา สถานที่แห่งนี้มีความเชื่อและตำนานเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปรับฟังเรื่องราวได้เลยคะ




ตามรอย สุสานพระเจ้าตาก ที่จีน มีจริงหรือ

สุสานพระเจ้าตากสินมหาราช หนึ่งเดียวในประเทศจีน หนึ่งเดียวในโพ้นทะเล ณ ซัวเถา จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแล เวลาที่คนไทยเดินทางไปสักการะจะมีคนคอยเตรียมชุดไหว้ไว้ให้ ที่เถ่งไฮ่ ซัวเถา เป็นบ้านเกิดบิดาของพระเจ้าตากสินมหาราช คนจีนแต้จิ๋วในยุคนั้นจึงภูมิใจและรักพระเจ้าตากสินดังเช่นคนไทย ชื่อจีนของพระเจ้าตากสินมีชื่อว่า แต่อ๊วง ตระกูลของพระเจ้าตากสินจึงมีแซ่ว่า แต้




ที่เมืองนี้มีหลุมฝังศพของพระเจ้าตากสินเรียกว่าแต่อ่วงหมอ (郑王墓, เจิ้งหวางมู่) แม้ว่าจะเรียกว่าเป็นหลุมศพ แต่ก็เป็นเพียงที่ฝังเสื้อผ้า พระภูษา ของท่านเท่านั้นเอง สุสานแห่งนี้มีความหมายต่อใจของคนในเถ่งไฮ่ เพราะการที่อุตส่าห์ส่งเสื้อผ้าของท่านข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากไทย เพื่อมาสร้างหลุมศพที่นี่ก็แสดงให้เห็นว่าคนจีนในไทยให้ความสำคัญกับพระเจ้าตากสินมาก

จึงไม่แปลกว่าชาวจีนที่อพยพมาไทยจะชื่นชอบพระเจ้าตากสินมาก ว่ากันว่าตอนพระเจ้าตากสินทำสงครามกับแคว้นต่างๆ เพื่อรวบรวมแผ่นดิน พวกชาวจีนในไทยก็ให้การช่วยเหลือเต็มที่




แม้ว่าปัจจุบันจะได้รับการสมญาเป็นสุสาน แต่แท้จริงแล้วไม่มีพระบรมศพประดิษฐานอยู่แต่อย่างใด โดยอ้างอิงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง “คืนถิ่นจีนใหญ่” ตอนหนึ่งกล่าวถึงการเสด็จฯ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ว่า “สุสานเหมือนกับหลุมศพฝรั่งธรรมดา ไม่ได้ทำ โค้งๆ แบบฮวงซุ้ยจีนที่เคยเห็นที่อื่น มีป้ายหินแกรนิต สีชมพูสลักตัวทองเป็นอักษรจีนแปลความว่า สุสาน ฉลองพระองค์และพระมาลาของพระเจ้าตากสินแห่งกรุงสยาม สร้างขึ้นในปีที่ 47 แห่งรัชสมัยเฉียนหลง



วิธีสักการะ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ เถ่งไฮ่ ซัวเถา ที่ประเทศจีน ล่าสุดที่แอดมินไปมา คือ ใช้ธูป 8 ดอก และเทียนแดง 1 คู่ โดยแบ่งไหว้ 2 จุด คือ...

1. ไหว้เจ้าที่ 5 ดอก
2. ไหว้ที่องค์ท่าน 3 ดอก

หากสงสัยจะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและแนะนำอยู่ ที่บริเวณฐานของรูปปั้นพระเจ้าตากสิน จะมีรูปปั้นไก่ชน ที่ประชาชนนำมาถวายเหมือนเช่นในประเทศไทย







Thank to : https://www.thainewsonline.co/belief/belief/867586
29 กุมภาพันธ์ 2567
119  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ภาษาพูด-ภาษาเพลง ของคนสมัยเริ่มแรก เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2024, 09:03:09 am
.



ภาษาพูด-ภาษาเพลง ของคนสมัยเริ่มแรก

คนสมัยเริ่มแรกมีภาษาพูดและภาษาเพลงผสมกลมกลืนด้วยกัน เรื่องเล่าสมัยเริ่มแรกเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน ซึ่งประกอบด้วยคำพูดปกติกับคำคล้องจองคลุกเคล้าผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน

เมื่อต้องการเน้นพิเศษบางช่วงบางตอนของเรื่องเล่าก็สร้างเป็นคำคล้องจอง ครั้นบอกเล่าถึงตรงที่มีคำคล้องจองจะเปล่งลีลาทำนองพิเศษโดดเด่นออกมา จนนานไปคำคล้องจองมีพลังเหนือเรื่องเล่าปกติจึงถูกใช้งานโดยเฉพาะ แล้วเรียกกันต่อมาว่าคำขับลำ หมายถึงคำคล้องจองถูกขับลำด้วยทำนองลีลาต่างๆ กระทั่งเติบโตแตกแขนงเรียกสมัยหลังว่าโคลงกลอน

คำคล้องจองเก่าแก่มีสอดแทรกเรื่องกำเนิดโลก และเรื่องกำเนิดมนุษย์จากน้ำเต้า ซึ่งปัจจุบันพบความทรงจำสืบเนื่องเป็นลายลักษณ์อักษรมีสองสำนวน คือ พงศาวดารล้านช้าง กับ ความโทเมืองจากเมืองหม้วย

คำคล้องจองดั้งเดิมมีลักษณะเสรีและมีขนาดสั้นๆ แล้วค่อยๆ ยืดยาวขึ้นเรื่อยๆ ตามต้องการใช้บอกเล่าเป็นเรื่องราวที่มียาวขึ้น จึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับคำพูดในชีวิตประจำวันโดยไม่กำหนดแบบแผน ไม่กำหนดจำนวนคำและสัมผัสว่าต้องอย่างนี้ อย่างนั้น อย่างโน้น (ตรงข้ามกับร้อยกรองที่คุ้นเคยทุกวันนี้ล้วนให้ความสำคัญต่อสิ่งที่เรียกสมัยหลังจนปัจจุบันว่าฉันทลักษณ์ หมายถึงกำหนดจำนวนคำแต่ละวรรค และกำหนดสัมผัสเสียงระหว่างวรรค)

ร้อยกรองมีกำเนิดคลุกเคล้าอย่างขาดไม่ได้ด้วยทำนองเสนาะของขับลำและเพลงดนตรีอย่างเสรี เมื่อมีพัฒนาการสมัยหลังๆ จึงให้ความสำคัญเรื่องสัมผัสเสียง (สัมผัสนอก, ใน) และระดับเสียง (เอก, โท) [คำอธิบายมีรายละเอียดอยู่ในหนังสือโองการแช่งน้ำ และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา ของ จิตร ภูมิศักดิ์ สำนักพิมพ์ดวงกมล พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2524]

วรรณกรรมสมัยแรกๆ เพื่อฟังเสียงขับหรือร้อง จึงต้องอ่านออกเสียง หรือ “อ่านด้วยหู” เพราะยังไม่เป็นวรรณกรรมเพื่ออ่านด้วยตา (หลังมีการพิมพ์จึงเป็นวรรณกรรมอ่านด้วยตา)

@@@@@@@

ขับลำคำคล้องจอง

ขับลำคำคล้องจองเก่าสุดราว 2,500 ปีมาแล้ว หรือเรือน พ.ศ.1 ไม่พบหลักฐานตรงไปตรงมา แต่พบสัญลักษณ์เป็นลายเส้นบนภาชนะสำริดอยู่ในหลุมศพที่เวียดนาม บริเวณหลักแหล่งดั้งเดิมของจ้วง-ผู้ไท

ลายเส้นสำริดชุดหนึ่งเป็นรูปคนแต่งคล้ายหญิง มี 3 คน ดังนี้ คนนำหน้าทำท่าฟ้อน, คนกลางเป่าแคน, คนตามหลังทำท่าฟ้อน ทั้งหมดคล้ายขับลำคำคล้องจองคลอแคนในพิธีกรรมหลังความตาย (เพราะพบรูปเหล่านี้ในหลุมศพ)

พิธีกรรมหลังความตายของคนชั้นนำของเผ่าพันธุ์ เช่น หัวหน้าเผ่าพันธุ์ มีพิธีขับลำบอกผีฟ้าว่าส่งขวัญคนตายขึ้นฟ้าไปรวมพลังกับผีฟ้าเพื่อคุ้มครองคนยังไม่ตายอยู่ในชุมชน เส้นทางส่งขวัญคนตายขึ้นฟ้าเริ่มออกจากเรือน ผ่านสถานที่ต่างๆ แล้วล่องเรือหรือแพข้ามห้วงน้ำกว้างใหญ่ไพศาลซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับเมืองฟ้า ตลอดเส้นทางที่ส่งขวัญผ่านไป เนื้อความรำพึงรำพันสั่งเสียสั่งลาผู้คนเครือญาติ, บ้านเรือน, สัตว์, สิ่งของ, ภูมิสถานป่าดงพงไพร ฯลฯ

แต่ผีฟ้าเป็นสิ่งมีอำนาจเหนือธรรมชาติ (หมายถึงไม่ใช่คน) ต้องสื่อสารด้วยภาษาผีฟ้าที่แสดงออกด้วยเครื่องเป่าเป็นเสียงสูงต่ำเรียกแคน ดังนั้น การสื่อสารกับผีฟ้าต้องทำโดยหมอขวัญขับลำคำสู่ขวัญเป็นภาษาคน ผ่านหมอแคนซึ่งทำหน้าที่แปลงถ้อยคำภาษาคนเป็นภาษาผีฟ้าซึ่งอยู่ต่างมิติเพื่อให้ผีฟ้ารับรู้ตั้งแต่ต้นจนปลาย ด้วยเหตุดังนั้นการติดต่อสื่อสารกับผีฟ้าต้องทำคู่กันด้วยหมอขวัญกับหมอแคน (ความเชื่ออย่างนี้เป็นต้นตอวงมโหรีราชสำนักสมัยหลังกำหนดแบบแผนประเพณีสีซอสามสายคลอคำร้องตั้งแต่คำต้นจนคำท้าย)

ขับลำคำคล้องจองมีต้นตอรากเหง้าเก่าสุดพบในโซเมียเมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว หรือเรือน พ.ศ.1 บริเวณตอนใต้มณฑลกวางสีของจีนต่อเนื่องกับทางตอนเหนือของเวียดนามอันเป็นหลักแหล่งดั้งเดิมของจ้วง-ผู้ไท ซึ่งเป็นกลุ่มเก่าสุดของคนพูดตระกูลภาษาไท-ไต จากนั้นแผ่ไปตามเส้นทางการค้าดินแดนภายในถึงลุ่มน้ำโขง, ลุ่มน้ำสาละวิน, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เมื่อฟักตัวอยู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาษาไท-ไตถูกเรียกสมัยปัจจุบันว่าสำเนียงเหน่อ

ลักษณะสำคัญร่วมกันของคนพูดตระกูลภาษาไท-ไต ได้แก่ นับถือผีฟ้า, เชื่อเรื่องขวัญ, มีประเพณีทำศพครั้งที่สอง, ทำนาดำหรือนาทดน้ำ, รู้เทคโนโลยีสำริด ฯลฯ เหล่านี้พบหลักฐานแพร่กระจายจากโซเมียทางตอนใต้ของจีน-ทางเหนือของเวียดนามเข้าลุ่มน้ำโขง ลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา เป็นที่รับรู้ทั่วไปทั้งไทยและสากล

ประเพณีขับลำคำคล้องจองเหล่านี้ต่อไปข้างหน้าเติบโตเป็นการละเล่นขับซอ (ขับแปลว่าร้อง ส่วนซอเป็นคำลาวแปลว่าร้อง) แพร่หลายในรัฐอยุธยา กระทั่งมีพัฒนาการเป็นขับเสภาในกรุงรัตนโกสินทร์

หลักฐานลายเส้นสำริดเป็นต้นทางสร้างสรรค์สืบเนื่องต่อมา ดังนี้
(1.) คำสั่งเสียสั่งลาเส้นทางส่งขวัญ เป็นต้นแบบนิราศต่อไปข้างหน้า
(2.) ท่าฟ้อนลายเส้นสำริด เป็นต้นตอ “ยืด-ยุบ” ของท่าฟ้อนท่ารำต่อไปข้างหน้า
(3.) ขับลำคลอแคนเป็นต้นทางแบบแผน “ดนตรี”, “ปี่แคนซอ” (ร้องกับปี่แคน) ในราชสำนักอยุธยา (พบในอนิรุทธคำฉันท์)



ภาษาพูด-ภาษาเพลงของคนสมัยเริ่มแรก พบหลักฐานลายสลักเมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว รูปคนแต่งคล้ายหญิง นุ่งยาวปล่อยชายสองข้าง มีเครื่องประดับเป็นขนนกและใบไม้สวมหัว ร่วมกันขับลำคำคล้องจองแล้วเป่าแคนคลอ พร้อมฟ้อนประกอบ (ลายเส้นจำลองจากลายสลักบนขวานสำริด ขุดพบในหลุมศพเมืองดงเซิน ริมแม่น้ำซองมา จ.ถั่นหัว เวียดนาม)


ต้นทางร้อยกรอง

ภาษาพูด-ภาษาเพลงของคนสมัยเริ่มแรกเป็นต้นทางร้อยกรองทุกวันนี้

คำคล้องจองสมัยแรกเริ่มของจ้วง-ผู้ไทใช้เวลาพัฒนาการในที่สุดเป็นร้อยกรอง พบร่องรอยเป็นสุภาษิตจ้วงหลายบท ได้แก่ “ทางอยู่ที่ปาก หมากอยู่ที่ต้น”, “กินข้าวคิดถึงนา กินปลาคิดถึงน้ำ”, รักข้าวต้องหมั่นลงนา รักเมียต้องขยันเยี่ยมยาย” (naz-นา สัมผัสกับ bah-เมีย) [จากหนังสือจ้วง : ชนชาติไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน ภาคที่ 2 : วัฒนธรรม (ปรานี กุลละวณิชย์ บรรณาธิการ) จัดพิมพ์โดยศูนย์ภาษาและวรรณคดีไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2531]

คำคล้องจองที่ว่า “กินข้าวคิดถึงนา กินปลาคิดถึงน้ำ” ยังพบในกลุ่มผู้ไทพูดกันว่า “กินข้าวอย่าลืมเสื้อนา กินปลาอย่าลืมเสื้อน้ำ” ได้ความตรงกัน แต่ต่างกันที่ทางผู้ไทมีคำว่า “เสื้อนา” กับ “เสื้อน้ำ” คำว่า “เสื้อ” ก็คือเชื้อ หมายถึงบรรพชน บางทีเรียก “ผีเชื้อ” (ออกเสียง “ผีเสื้อ”)

จากคำคล้องจองอย่างง่ายๆ ถ้าส่งสัมผัสไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นร่าย พบในจ้วง-ผู้ไท มีร่ายชนิดวรรคละ 5 คำ แล้วส่งสัมผัสจากคำท้ายของบาทไปยังคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ของวรรคถัดไป (จากหนังสือ งานจารึกและประวัติศาสตร์ ของ ประเสริฐ ณ นคร พิมพ์เนื่องในโอกาสฉลองอายุ 6 รอบ เมื่อ 21 มีนาคม 2534)

กลอนเพลงชาวจ้วง-ผู้ไทที่ยกมานี้มีลักษณะเสรี ไม่เคร่งครัดจำนวนคำแต่ละวรรค และไม่กำหนดเสียงสัมผัสใน แต่จะให้ความสำคัญที่จังหวะขับหรือร้อง คือจะมีกี่คำก็ได้ แต่ให้อยู่ในจังหวะที่ไพเราะรื่นเริงก็แล้วกัน ซึ่งคล้ายกับกลอนเพลงยุคแรกๆ ของไทย เช่น กาพย์กลอนลุ่มแม่น้ำโขง (แถบล้านนาและอีสาน), กลอนเพลงร้องเรือ (ภาคใต้) และกลอนร้องเล่นหรือกล่อมเด็ก (ภาคกลาง) รวมทั้งบทร้องมโหรีในราชสำนักสมัยอยุธยา

ครั้นหลังรับศาสนาจากอินเดีย คำคล้องจองในศาสนาผีได้รับยกย่องเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ เช่น บทสวด, บทเทศน์มหาชาติ, บทสรรเสริญ หรือประณามพจน์ ฯลฯ แล้วถูกเรียกว่าร่าย มีทั้งร่าย (ปกติ) และร่ายยาว ขณะเดียวกันก็มีพัฒนาการเป็นโคลงและกลอน

คำคล้องจองเป็นต้นทางของคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองที่รู้จักทั่วไปในทุกวันนี้ว่ากลอน มี 3 พวก คือ กลอนร่าย, กลอนลำ, กลอนร้อง (มีอธิบายอย่างละเอียดใน โองการแช่งน้ำ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ สำนักพิมพ์ดวงกมล พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2524)

[คำคล้องจองเป็นส่วนหนึ่งอย่างสม่ำเสมอของภาษาพูดในชีวิตประจำวันบรรพชนคนไทย ทำให้สมัยหลังมีคำพูดติดปากทั่วไปว่า “ไทยเป็นชาตินักกลอน” คำว่า “กลอน” ตรงนี้หมายถึงคำคล้องจอง ซึ่งไม่ใช่กลอนแปดแบบสุนทรภู่] •


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_748608
120  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ท่องแดนมหานรก “อเวจี” ภพภูมิแห่งการลงทัณฑ์ผู้ทำกรรมหนัก ตามคติไตรภูมิ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2024, 08:10:21 am
.

ภาพ พยายมราช ในโลกนรก จากจิตรกรรมไตรภูมิ ฉบับรัชกาลที่ 9 (ภาพจาก ไตรภูมิ ฉบับรัชกาลที่ 9, กระทรวงวัฒนธรรม, 2554


ท่องแดนมหานรก “อเวจี” ภพภูมิแห่งการลงทัณฑ์ผู้ทำกรรมหนัก ตามคติไตรภูมิ

ตามคติไตรภูมิ “โลกนรก” หรือ “นิรยภูมิ” เป็นส่วนหนึ่งของอบายภูมิหรือทุคติภูมิ 4 (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกามภูมิ) ประกอบด้วยพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาล มีมหานรกหลายขุมซ้อนทับกันหลายชั้น โดยมี “อเวจี” อยู่ล่างสุด แต่ละชั้นยังมีนรกบริวารรายล้อมอยู่ร่วมร้อยขุม

@@@@@@@

“มหานรก” ใน “นิรยภูมิ”

นิรยภูมิ จะแบ่งออกเป็น “มหานรก” มีด้วยกัน 8 ขุมใหญ่ ตั้งซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ และแยกกันอย่างชัดเจนอยู่ลึกลงไปใต้โลกมนุษย์ มนุษย์ที่ทำกรรมชั่ว เมื่อเสียชีวิตจะลงไปเกิดเป็นสัตว์นรกในชั้นเหล่านี้เพื่อใช้กรรม เรียงจากชั้นบนสุดลงไปยังชั้นล่างสุดได้ ดังนี้

1. สัญชีวนรก หรือนรกไม่มีวันแตกดับ เป็นนรกสำหรับผู้เบียดเบียนผู้อื่น สัตว์นรกจะถูกทรมานจากนิรยบาลด้วยสารพัดวิธีจากคมอาวุธจนตาย จากนั้นจะมี “ลมกรรม” พัดผ่านให้คืนชีพมาเสวยโทษทัณฑ์เรื่อย ๆ เป็นภาวะเกิด-ตาย วนเวียนอยู่เช่นนั้น อายุของสัตว์นรกคือ 500 ปี โดย 1 วันนรก เท่ากับ 9 ล้านปีโลกมนุษย์

2. กาฬสุตตนรก หรือนรกเส้นด้ายดำ เป็นนรกสำหรับผู้ที่ทำร้ายผู้มีพระคุณหรือทำลายชีวิตสัตว์โลก หลังถูกตีด้วยด้ายดำจนเกิดเส้นตามร่างกาย สัตว์นรกจะถูกเฉือนด้วยคมอาวุธตามรอยเหล่านั้น อายุของสัตว์นรกคือ 1,000 ปี โดย 1 วันนรก เท่ากับ 3 โกฏิ (1 โกฏิ เท่า 10 ล้าน) กับอีก 6 ล้านปีโลกมนุษย์

3. สังฆาฏนรก หรือนรกบดขยี้ เป็นนรกสำหรับผู้ไร้ความเมตตา ชื่นชอบการทารุณกรรม สัตว์นรกจะถูกกระหน่ำตีด้วยฆ้อนเหล็ก และบดทับด้วยลูกไฟกับภูเขาเหล็ก อายุของสัตว์นรกคือ 2,000 ปี โดย 1 วันนรก เท่ากับ 14 โกฏิกับอีก 5 ล้านปีโลกมนุษย์

4. โรรุวนรก หรือนรกแห่งเสียงคร่ำครวญ เป็นนรกสำหรับคนโลภ ฉ้อโกง ร่างของสัตว์นรกจะถูกตรึงให้นอนคว่ำหน้า หัว มือ และเท้าจมอยู่ในดอกบัวเหล็กที่เปลวเพลิงลุกท่วม ร้องครวญครางด้วยความทุกข์แสนสาหัส แต่ไม่ตาย อายุของสัตว์นรกคือ 4,000 ปี โดย 1 วันของนรกขุมนี้เท่ากับ 23 โกฏิกับอีก 4 ล้านปีโลกมนุษย์

5. มหาโรรุวนรก หรือนรกแห่งเสียงคร่ำครวญอย่างยิ่งยวด เป็นนรกสำหรับคนจิตใจโหดเหี้ยม ทำความชั่วทั้งปวงด้วยจิตอาฆาตพยาบาท ดอกบัวเหล็กของนรกขุมนี้จะเพิ่มคมตามกลีบดอก และสัตว์นรกต้องจมอยู่ในดอกบัวเหล็กทั้งตัว อายุของสัตว์นรกคือ 8,000 ปี โดย 1 วันนรก เท่ากับ 921 โกฏิกับอีก 6 ล้านปีโลกมนุษย์

6. ตาปนรก หรือนรกแห่งความร้อนรุ่ม เป็นนรกสำหรับคนบาปที่พร้อมด้วยโลภะ โทสะ โมหะ สัตว์นรกจะถูกหลาวเหล็กแท่งใหญ่ราวต้นตาลเสียบพร้อมเปลวไฟพวยพุ่ง ก่อนถูกสุนัขนรกฉุดกระชากลงมากิน อายุของสัตว์นรกคือ 16,000 ปี โดย 1 วันนรกเท่ากับ 1,842 โกฏิกับอีก 12 ล้านปีโลกมนุษย์

7. มหาตาปนรก หรือนรกแห่งความร้อนรุ่มอย่างยิ่งยวด เป็นนรกสำหรับผู้ที่เคยฆ่าคนและฆ่าสัตว์เป็นหมู่มาก ๆ ไม่คำนึงถึงชีวิตผู้อื่น ต้องอยู่ในกำแพงและภูเขาเหล็กที่เต็มไปด้วยหนามแหลม พร้อมลมกรดพัดพาร่างไปโดนหนามเสียบ อายุของสัตว์นรกขุมนี้คือ ครึ่งกัลป์ (ตามตำราไตรภูมิกถา 1 กัลป์ เทียบได้กับเวลาที่ภูเขาสูง 1 โยชน์ กว้าง 3 โยชน์ มีเทวดาเอาผ้าทิพย์บางดุจควันไฟมาถูภูเขาในทุก ๆ 100 ปี เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าภูเขาจะราบเสมอแผ่นดิน จึงเรียกได้ว่าสิ้นกัลป์หนึ่ง ซึ่ง 1 กัลป์เท่ากับ 64 อสงไขยปี และอสงไขยปีเท่ากับเลข 1 ตามด้วยเลขศูนย์ 140 ตัว)

8. อเวจีนรก หรือนรกอันแสนสาหัสไร้ปรานี ทั้งลึกและกว้างใหญ่ที่สุด เป็นนรกสำหรับผู้ทำกรรมหนักอันได้แก่ ฆ่าบุพการี (พ่อ-แม่) ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต และยุยงให้คณะสงฆ์แตกแยก ขุมนรกล้อมด้วยกำแพงเหล็กที่เปลวไฟลุกท่วม สัตว์นรกจะถูกเพลิงเผาผลาญด้วยอิริยาบถต่าง ๆ ทั้ง นั่ง ยืน หรือนอน ตามกรรมของตน อยู่ห้องสี่เหลี่ยมพร้อมหลาวเหล็กเสียบทะลุร่างตรึงให้แน่นิ่งไม่สามารถขยับร่างกายได้ อายุของสัตว์นรกขุมนี้คือ 1 กัลป์

ใครชดใช้กรรมใน “อเวจี”.?

บุคคลสำคัญที่เคยใช้กรรมอยู่ในนรกชั้น “อเวจี” คือ พระเทวทัต ผู้ทำอนันตริยกรรม หรือการพยายามปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า หลังสิ้นชีพพระเทวทัตก็ลงมาเกิดในมหานรกขุมนี้ทันทีในร่างสัตว์นรกสูง 300 โยชน์ เสวยทุกข์ในห้องสี่เหลี่ยม พร้อมหลาวเหล็กขนาดเท่าต้นตาล แท่งแรกแทงจากข้างหลังทะลุด้านหน้า แท่งที่ 2 แทงทะลุสีข้างซ้าย-ขวา และแท่งสุดท้ายเสียบกลางศีรษะทะลุกลางลำตัวลงมาด้านล่าง โดยปลายหลาวเหล็กทุกด้านถูกยึดติดเพดานของห้องสี่เหลี่ยมนั้น


@@@@@@@

นอกจากมหานรกขุมใหญ่ทั้ง 8 แล้ว จากคำอธิบายของพระเทพมุนี ระบุว่า มีนรกขุมย่อยที่อยู่ถัดออกไป เป็นนรกบริวาร เรียกว่า “อุสสทนรก” ซึ่งตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ เหนือ-ใต้-ออก-ตก ของมหานรกทุกขุม แต่ละทิศจะมี 4 ขุม ดังนี้

1. คูถนรก ขุมนรกที่เต็มไปด้วยหนอนตัวใหญ่คอยกัดกินสัตว์นรกที่ผ่านเข้ามา

2. กุกกุฬนรก ขุมนรกที่เต็มไปด้วยเถ้าถ่านคอยเผาสัตว์นรกให้กลายเป็นจุณ

3. อสิปัตตนรก ขุมนรกที่มีต้นมะม่วงใหญ่สำหรับหลอกให้สัตว์นรกเข้ามาพักพิง จากนั้นใบมะม่วงจะกลายเป็นหอกพุ่งแทงสัตว์นรกเหล่านั้น มีกำแพงเหล็กติดเปลวเพลิงขวางกั้นพร้อมสุนัขนรกและแร้งนรกคอยรุ่มฉีกกินสัตว์นรกทั้งหลาย

4. เวตรณีนรก ขุมนรกที่เต็มไปด้วยน้ำเค็มและเครือหวายหนามเหล็กคอยทิ่มแทงให้เกิดแผล มีไฟลุกท่วมกลางน้ำกับดอกบัวกลีบคมที่ติดเปลวเพลิงอยู่ตลอด สัตว์นรกที่แหวกว่ายอยู่ในน้ำเค็มจะถูกนิรยบาลใช้เบ็ดเกี่ยวลากขึ้นมาบนฝั่งเพื่อทำทัณฑ์ทรมานต่อ

มีอุสสทนรก 16 ขุม ต่อมหานรก 1 ขุม จึงมีอุสสทนรกทั้งสิ้น 128 ขุม (8 x 16) รายล้อมมหานรกทั้ง 8 ขุมใหญ่

@@@@@@@

ยมโลกนรก

ถัดจาก “อุสสทนรก” ออกไป ยังมีนรกบริวารอีกชั้นหนึ่ง เรียกว่า “ยมโลกนรก” ซึ่งเป็นขุมนรกชั้นนอก ล้อมอยู่นอกสุดของมหานรก เป็นนรกสำหรับผู้ทำกรรมดีบ้างร้ายบ้าง

ยมโลกนรก เป็นนรกประจำทั้ง 4 ทิศ เหนือ-ใต้-ออก-ตก เช่นกัน แบ่งเป็นทิศละ 10 ขุม มีดังนี้ โลหกุมภีนรก, สิมพลีนรก, อสินขะนรก, ตามโพทะนรก, อยคุฬะนรก, ปิสสกปัพพตะนรก, ธุสะนรก, สีตโลสิตะนรก, สุนขะนรก และยันปาสาณะนรก ยมโลกเหล่านี้จะประจำอยู่ในทุกทิศของมหานรก แบ่งเป็นชื่อและประเภทการใช้กรรมเหมือนกัน

มหานรก 1 ขุมใหญ่ มียมโลกนรกอยู่ทิศละ 10 ขุม รวมมียมโลกนรก 40 ขุม (4 ทิศ, 4 x10) ต่อมหานรก นิรยภูมิซึ่งมีมหานรก 8 ขุมใหญ่ จึงมียมโลกนรกทั้งสิ้น 320 ขุม (8 x 40)


@@@@@@@

สัตว์นรกเมื่อใช้กรรมในมหานรกแล้ว หากกรรมยังไม่สิ้น จะต้องมาใช้กรรมในอุสสทนรกต่อ หากกรรมยังไม่สิ้นอีก ก็ใช้กรรมต่อในยมโลกนรก การใช้กรรมด้วยทุกข์โทษหนักเบาจะขึ้นอยู่กับชั้นของมหานรก ยกตัวอย่างคือ กรรมในสุนขะนรก ชั้นอเวจีนรก (มหานรกชั้นล่างสุด) ย่อมทุกข์หนักกว่ากรรมในสุนขะนรก ชั้นสัญชีวนรก (มหานรกชั้นบนสุด) เพราะมีอายุการใช้กรรมนานถึง 1 ชั่วกัลป์

นอกจากนรกขุมใหญ่ คือ มหานรก, นรกบริวารอย่างอุสสทนรก และนรกบริวารชั้นนอกสุดอย่างยมโลกนรกแล้ว นิรยภูมิยังมีนรกพิเศษอยู่อีกซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง 3 โลกอันได้แก่ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และโลกนรก เป็นขุมมืดมิดเพราะไม่มีแสงใดส่องไปถึง เรียกว่า “โลกกันตรนรก” เต็มไปด้วยสัตว์นรกร่างกายใหญ่โต รูปร่างแปลกประหลาด ลอยเคว้งด้วยความหนาวเหน็บอยู่ชั่วนิรันดร์ โลกกันตรนรก เป็นขุมนรกสำหรับผู้ที่กระทำทรมานบุพการี หรือทำร้ายผู้ทรงศีลอยู่เป็นนิจซึ่งเป็นกรรมหนักนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม :-

    • สวรรค์แบบพุทธที่เทวดาตกชั้นได้ จาก “ฉกามาพจร” ในไตรภูมิพระร่วง
    • เดือน 7 สารทจีน นรก “เปิด” ให้วิญญาณมารับส่วนกุศลในโลกมนุษย์





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : เด็กชายผักอีเลิด
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 14 กันยายน 2565
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_93024?utm_source=dable

อ้างอิง :-
- พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไทย; กรมศิลปการ (ตรวจสอบและชำระใหม่). (2526) ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง. กรุงทพฯ : กรมศิลปการ.
- พระเทพมุนี (วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.9). (2526). โลกทีปนี, อนุสรณ์ พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์. กรุงเทพฯ : กราฟิคอาร์ต.
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 555