ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 7 ทักษะช่วยเราเข้าใจกัน  (อ่าน 424 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
7 ทักษะช่วยเราเข้าใจกัน
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2019, 06:31:12 am »
0


7 ทักษะ ช่วยเราเข้าใจกัน

Helen Riess นักจิตวิทยาของ ม.ฮาร์วาร์ด ได้ทำงานวิจัยและพบว่า “ความเห็นอกเห็นใจช่วยทำให้เราเข้าใจคนอื่นมากขึ้น” ดังนั้น การฝึกให้เห็นอกเห็นใจคนอื่นจึงช่วยให้เจ้าของธุรกิจ และเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเธอได้ถอดบทเรียนออกมาเป็น 7 ทักษะที่ฝึกฝนได้ด้วยตัวคุณเอง ผ่านวิธีการ 7 ขั้นตอน ที่มีชื่อเรียกว่า  E.M.P.A.T.H.Y. (แปลว่า ความเห็นอกเห็นใจ)

@@@@@@

E — Eye contact (การสบตา)
เพราะดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ Riess แนะนำว่า เวลาพูดคุยหรือสนทนากันให้คนเราควรพบปะกันจริงๆ ซึ่งจะทำให้เราได้สำรวจภาษากายหรือท่าทางของผู้พูดอีกด้วย เพราะคนเราไม่ได้สื่อสารกันเพียงแค่คำพูดเท่านั้น

M — Muscles for facial expression (การแสดงออกทางสีหน้า)
เพราะสมองของคนเราชอบเลียนแบบสิ่งที่เห็นได้โดยอัตโนมัติ กรณีที่มีคนอื่นยิ้มให้ เราจึงยิ้มตอบได้ทันที อย่างไรก็ตาม คนที่แกล้งฝืนยิ้ม เราก็สามารถสังเกตได้ เพราะการปั้นสีหน้าเป็นเรื่องโกหกได้ยาก

P — Posture (ท่าทาง)
การนั่งหลังตรง แปลว่าคุณกำลังมีความสุขหรือความมั่นใจ Riess ซึ่งเป็นหมอก็มักแสดงท่าทางเวลาคุยกับคนไข้ด้วยการนั่งหันหน้าเข้าหา โน้มตัวลงไป และนั่งอยู่ในระดับสายตาเดียวกัน

A — Affect (อารมณ์ความรู้สึก)
ให้ความสนใจกับอารมณ์ความรู้สึกของคู่สนทนาด้วย ว่าขณะนั้นเขากำลังอยู่ในอารมณ์แบบไหน โศกเศร้า กังวล สับสน การสื่อสารจะประสบความสำเร็จยากมาก ถ้าคุณไม่ใส่ใจความรู้สึกของคู่สนทนา ดังนั้น ลองเชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง เพราะการสื่อสารกับผู้คนก็มีสิ่งที่สมองทำไม่ได้เช่นกัน


@@@@@@

T — Tone of voice (น้ำเสียง)
การพูดโดยเน้นใส่จังหวะ น้ำเสียงช่วยทำให้ผู้ฟังเข้าใจเจตนาที่แท้จริง เพราะน้ำเสียงแสดงความคิด อารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด ซึ่งในกรณีของ Riess ที่เป็นหมอ เขาจะพูดกับคนไข้ด้วยน้ำเสียงที่เหมือนเพื่อนคุยกัน ทำให้คนไข้รู้สึกถึงความเป็นกันเอง ทำให้ได้บทสนทนาที่ดี

H — Hearing the whole person (ตั้งใจฟัง)
การตั้งใจฟังคู่สทนา โดยไม่สนใจเนื้อหาหรือเรื่องที่เขาเล่า แต่สนใจความรู้สึกของผู้พูดเป็นหลัก สิ่งสำคัญคือจะต้องฟังโดยไม่ตัดสินไปก่อน หรือกรณีที่อยู่วงสนทนาที่กำลังโต้เถียงกัน บางครั้งเราต้องยอมถอยออกมาบ้าง อย่าเข้าไปขัดจังหวะหรือเข้าไปพูดคุยด้วย ซึ่งเป็นการแสดงการตั้งใจฟังที่ดีและทำให้สถานการณ์ไม่บานปลาย

Y — Your response (ปฏิกิริยาของคุณ)
ความรู้สึกเป็นเหมือนโรคติดต่อ เวลาคุณกังวล โกรธ หงุดหงิด ไม่สบายใจคนรอบข้างสามารถสัมผัสและรับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ได้ ดังนั้น เวลาสนทนากัน คุณควรจะสังเกตความรู้สึกของตัวเอง เพราะจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของคู่สนทนาด้วย



อ้างอิง : https://thriveglobal.com/stories/skills-get-along-with-anyone-tips-expert/
ขอบคุณ : johjaionline.com/opinion/helen-riess-7-ทักษะช่วยเรา-เข้าใจกัน-เห็นอก-เห็นใจ/ 
โดย คธาพล รพีฐิติธรรม 7 ส.ค. 2562
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2019, 06:32:45 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ