ธรรมวินัย ๘ ประการ แก่พระนางมหาปชาบดีภิกษุณีไว้ดังนี้
ธรรม ใดเป็นไปเพื่อ
๑. ความกำหนัด (สราคะ)
๒. การประกอบตนอยู่ในทุกข์ (สังโยคะ)
๓. สะสมกิเลส (อาจยะ)
๔. ความมักใหญ่ อยากใหญ่ (มหิจฉตา)
๕. ความไม่สันโดษ (อสันตุฏฐิตา)
๖. ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ (สังคณิกา)
๗. ความเกียจคร้าน (โกสัชชะ)
๘. ความเลี้ยงยาก (ทุพภรตา)
ทั้ง ๘ นี้ พึงทราบเถิดว่า ไม่ใช่ ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา
ส่วนธรรมใด เป็นไปเพื่อ
๑. ความคลายกำหนัด (วิราคะ)
๒. การไม่ประกอบตนไว้ในกองกิเลส (วิสังโยคะ)
๓. การไม่สะสมกองกิเลส (อปจยะ)
๔. ความปรารถนาน้อย (อัปปิจฉตา)
๕. ความสันโดษ (สันตุฏฐิตา)
๖. การไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ (อสังคณิกา)
๗. ความไม่เกียจคร้าน คือความเพียรติดต่อสม่ำเสมอ (วิริยารัมภะ )
๘. ความเลี้ยงง่าย (สุภรตา)
พึงทราบเถิดว่า ทั้ง ๘ นี้เป็น ธรรม เป็นวินัย เป็นคำสอนของพระศาสดา
เมื่อเอาลักษณะ ทั้ง ๘ ประการนี้มาตัดสินว่า อะไรดี อะไรชั่ว อะไร
ควรเว้น อะไรควรทำ แล้วจะเห็นว่ามาตรฐานแห่งกรรมดีของพระพุทธองค์นั้น
อยู่ในระดับสูง และเป็นการแน่นอนว่า ความดีเช่นนี้ย่อมมีจุดจบในตัวเอง คือ
ไม่ใช่ความดีเพื่อ ลาภ ยศ ชื่อเสียง หรือเพื่อจุดมุ่งหมายอื่น แต่เป็น
ความดีเพื่อความดี ความดีเพื่อพ้นจากความวนเวียนในสังสารวัฏ
เพราะถือว่าการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏนั้น แม้จะเกิดดีเพียงไร
ก็ยังเจืออยู่ด้วยทุกข์ ต่างกัน แต่เพียงรูปแบบของความทุกข์เท่านั้น
แต่ในเนื้อหาแล้วเป็นความทุกข์เหมือนกัน
ในความหมายอย่างสูง ที่ว่า “ความดีเพื่อความดี” นี้
ทำให้เราเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นซึ่งพระพุทธ ภาษิตที่ว่า

เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง เหมือน หนึ่งยูง มีดี ที่แววขน
หากใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา
พุทธทาส ภิกขุ