ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปิดฉาก สามเณรธรรมาสน์ทอง ค้นฟ้าคว้าหา "ยอดเณรนักเทศน์" แห่งปี  (อ่าน 2872 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ปิดฉาก สามเณรธรรมาสน์ทอง ค้นฟ้าคว้าหา "ยอดเณรนักเทศน์" แห่งปี
โดย...วรธาร ทัดแก้ว

ตลอดเวลา 5 เดือนของโครงการส่งเสริมวิชาการเทศนา “สามเณรธรรมาสน์ทอง” เชื่อเหลือเกินว่าโครงการนี้ได้แจ้งเกิดเต็มตัวเพราะได้รับการตอบรับจากสามเณรจำนวนมาก หากเปรียบโครงการนี้กับรายการทางโลก ช่างละม้ายคล้ายคลึง “เดอะ สตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว” ต่างแค่เดอะสตาร์ฯ ค้นหาคนรุ่นใหม่ผู้มีความสามารถในด้านการร้องเพลง แต่สามเณรธรรมาสน์ทองค้นหา “สามเณรผู้เป็นเลิศด้านเทศนาธรรม” หรือการเทศน์

โครงการนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ริเริ่มและจัดขึ้นร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมการศาสนา โดยการสนับสนุนของพระเถระผู้ใหญ่หลายรูปอันมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดพิชยญาติการามตลอดจนพระเถรานุเถระที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาการเทศนา ซึ่งก็ได้ปิดฉากอย่างสมบูรณ์แบบเมื่อวันที่ 19 พ.ย. ณ วัดพิชยญาติการามกรุงเทพฯ


สมเด็จพระพุทธชินวงศ์

ผลออกมาปรากฏว่า สามเณรที่มีความโดดเด่นเป็นเลิศด้านการเทศนาธรรม ซึ่งถือเป็นสุดยอดสามเณรธรรมาสน์ทอง ในปี 2557 มีทั้งหมด 3 รูป ได้แก่*สามเณรธงชัย ไชยภักดี* เปรียญธรรม 8 ประโยค (ป.ธ.8) สังกัดวัดคลองโพธิ์ จ.อุตรดิตถ์ สามเณรสุทธิชัย อุปวันดี เปรียญธรรม 3ประโยค (ป.ธ.3) วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา และ สามเณรอรรถกร สุดคิด นักธรรมเอก (น.ธ.เอก) จากวัดพระนคร จ.นครศรีธรรมราช ทั้งสามจะเข้าเฝ้าฯ และรับรางวัลโล่พระราชทานจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระผู้ทรงให้ความสำคัญแก่การศึกษาของพระภิกษุสามเณรทั่วประเทศมาโดยตลอด ในโอกาสมหามงคลที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ในปี 2558

เพื่อให้รู้จักโครงการมากขึ้นขอประมวลให้เห็นภาพแต่ต้นว่า โครงการออกสตาร์ตในเดือนมิ.ย.2557 มีสามเณรจากวัดต่างๆ จากทั่วประเทศส่งเข้าร่วมอบรม 273 รูป แบ่งการอบรมเป็น 2 ระยะ ช่วงแรกจัดอบรม 4 ครั้งตามรายภาค


 :96: :96: :96: :96: :96:

ครั้งแรก วันที่ 30 มิ.ย.-4 ก.ค. อบรมสามเณรในหนกลาง (ภาคกลาง) จำนวน 105 รูป ณ วัดพิชยญาติการาม กรุงเทพฯ ครั้งที่ 2 หนใต้ วันที่ 14-118 ก.ค. ณ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 53 รูป ครั้งที่ 3 หนเหนือ วันที่ 28 ก.ค.-1 ส.ค. ณ วัดเจ็ดยอด จ.เชียงใหม่ จำนวน 65 รูป และครั้งที่ 4 หนตะวันออก วันที่ 14-18 ส.ค. ณ วัดมหาธาตุ จ.ยโสธร จำนวน 50 รูป

ระยะที่ 2 จัดอบรมวันที่ 22-26 ก.ย. ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯจำนวน 50 รูป คัดจาก 273 รูป วิธีการคือให้ทุกรูปเขียนบทเทศนา 1 หัวข้อและขึ้นเทศน์จริงบนธรรมาสน์ต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อคัดให้เหลือ 10 รูปสุดท้ายเพื่อไปศึกษาดูงาน ณ สังเวชนียสถานและพุทธสถานที่สำคัญ ณ ประเทศอินเดีย–เนปาล ในวันที่ 26 ต.ค.-1 พ.ย.ที่ผ่านมา

 :s_hi: :s_hi: :s_hi: :s_hi:

จากนั้นในวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นรอบตัดสินหาสามเณรที่มีความโดดเด่นพิเศษด้านการเทศน์ที่สุด 3 รูป เพื่อเป็นสามเณรธรรมาสน์ทอง ดังนั้นทั้ง 10 รูปจึงต้องขึ้นเทศนาเชิงประจักษ์บนธรรมาสน์ต่อหน้าคณะกรรมการตัดสิน ตาม*“หัวข้อเทศนาธรรม” *ที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ให้มาจำนวน 10 หัวข้อ ขึ้นอยู่กับสามเณรจับได้หัวข้ออะไรโดยที่ไม่อนุญาตให้สามเณรรูปที่ยังไม่ขึ้นแสดงเข้าฟัง ทว่าก่อนถึงวันขึ้นธรรมาสน์จริงจะให้สามเณรเตรียมตัวเขียนบทเทศนาและซักซ้อมการเทศน์เป็นเวลา 2 วัน

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะประธานเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวให้โอวาทในวันปิดโครงการว่า การสร้างสามเณรให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถือว่าเป็นการปลูกฝังอุดมคติที่ดีงามให้แก่สามเณรซึ่งเป็นเหล่าก่อของสมณะ แต่จากนี้ไปสามเณรต้องใฝ่หาความรู้ใส่ตัว พัฒนาตนให้มีความแตกฉานในธรรมอยู่เสอม ซึ่งมิใช่แค่สามเณรธรรมาสน์ทองเท่านั้น อนาคตอาจมีสามเณรธรรมาสน์เพชรเกิดขึ้นมาอีกก็ได้

 :25: :25: :25: :25: :25:

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ย้ำว่า งานด้านเผยแผ่นั้นเป็นงานสำคัญมาก และการที่ชาวพุทธจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นเรื่องยากเพราะมีความลึกซึ้งทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ ฉะนั้นผู้ทำหน้าที่เผยแผ่และนำธรรมะไปให้ประชาชนจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจและแตกฉานในหลักธรรมาเป็นอย่างดี

“อย่าลืมว่าธรรมของพระพุทธเจ้านั้นพระองค์ทรงได้มาจากการตรัสรู้อริยสัจสี่ แล้วเวลาที่พระองค์เทศน์ก็จบลงด้วยหลักอริยสัจสี่ตลอด ดังนั้นนักเผยแผ่ที่ดีก็ควรต้องทำตามพุทธวิธีนี้ จะเทศน์จะสอนอะไรอย่างไรต้องยึดแนวอริยสัจสี่ ถ้ายึดตามนี้จะเทศน์เรื่องอะไร แก่ใคร ที่ไหนเทศน์ได้หมด แต่การจะเป็นนักเทศน์ที่ดีครบถ้วนนั้นก่อนอื่นต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมจริงๆ รวมถึงเข้าใจหลักและวิธีการเทศน์ที่ถูกต้อง ซึ่งการจะเป็นเช่นนั้นได้ก็ต้องผ่านการอบรม ศึกษา ค้นคว้า และหมั่นฝึกฝนพัฒนาตนอยู่เสมอ”

พร้อมกันนั้นสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ยังได้ฝากคติธรรมของท่านมิลาเรปะ พระนักบุญของทิเบต ให้กับมวลสามเณรในโครงการว่า ธรรมะของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นถ้าเอาไปแสดงเหมือนแม่ค้าขายของเร่ในตลาดไม่มีผลแน่นอน ขอฝากให้คิด


พระราชญาณกวี

ด้าน *พระราชญาณกวี* ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก หนึ่งในคณะกรรมการตัดสินให้ความเห็นว่า โครงการสามเณรธรรมาสน์ทองเป็นเสมือนหนึ่งที่จะกระตุ้นให้สามเณรทั่วทั้งประเทศได้ตระหนักว่า *“อย่าเรียนแต่หนังสืออย่างเดียว”* ควรต้องเรียนรู้วิชาการเทศนาติดตัวด้วย บางรูปจบประโยค 9 หรือจบดอกเตอร์ แต่เทศน์ไม่เป็นไม่มีประโยชน์

“โครงการนี้เป็นโครงการชั้นเยี่ยมทำให้ผู้คนได้ตระหนักถึงคุณค่าของหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และสามเณรเหล่านี้ก็ได้แสดงให้ถึงความตั้งใจกับโครงการนี้ แต่ละรูปมีดีที่แตกต่างกัน บางรูปอาจน้ำเสียงดี บางรูปอาจจะธรรมะดี บางรูปลีลาดี บางรูปอาจประมวลข้อความในการเทศน์ดีแต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าใครเตรียมตัวดีกว่ากัน ทว่าจริงๆ แล้วแพ้ชนะไม่ได้อยู่ที่วันประกาศผลวันเดียว แต่วัดกันที่ระยะยาว นั่นหมายถึงวันที่น้องเณรจะไปทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ประชาชน ชุมชน สังคม หมู่บ้าน


 st11 st11 st11 st11 st11

ซึ่งไม่จำเป็นว่าฉัน ไม่ได้เป็นนักเทศน์ธรรมาสน์ทองแล้วไม่ต้องฝึกฝนอบรมอะไร แต่ที่จริงการเป็นสามเณรธรรมาสน์ทองกดดันนะ เพราะต้องแบกศักดิ์ศรีสามเณรธรรมาสน์ทองและยิ่งได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ ยิ่งต้องรักษามาตรฐานไว้ เก่งวันนี้วันเดียวชนะแล้วจบเลย ไม่ใช่ อย่าลืมว่าคนอื่นถึงเขาจะไม่ได้เป็นสามเณรธรรมาสน์ทอง แต่ถ้าหมั่นฝึกฝนพัฒนาตนอยู่เสมอก็อาจเก่งไปไกลลิบกว่าสามเณรธรรมาสน์ทองก็ได้ ต้องดูระยะยาว”

พระราชญาณกวี กล่าวต่อว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นกับเจ้าอาวาสวัดที่ส่งสามเณรเข้าโครงการฯ ด้วย ต้องให้โอกาสและมีเวทีให้สามเณรได้แสดงความสามารถอยู่เสมอ อย่าลืมว่าหน้าที่การเผยแผ่คำสอนของพระพุทธเจ้านั้นไม่ใช่พระเท่านั้นที่ทำได้สามเณรก็ทำได้ ขอเพียงให้โอกาสและส่งเสริมเขาเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการนำหลักธรรมคำสอนไปสู่ประชาชนได้อย่างน่าชื่นชม

 st12 st12 st12 st12 st12

ขณะที่ “สด แดงเอียด” ที่ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ด้านการศาสนา ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในฐานะประธานกรรมการจัดโครงการฯ กล่าวถึงผลของโครงการว่า แม้จะเป็นปีแรกของโครงการฯ ก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้ ทั้งการสร้างศาสนทายาทในการสืบทอดและแสดงเทศนาวิธีอย่างถูกต้องตามหลักเทศนา การส่งเสริมและการสร้างโอกาสให้สามเณรได้แสดงธรรมอันนำไปสู่การเผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างกว้างขวาง รวมถึงได้ช่วยสนับสนุนให้วัดต่างๆ มีบทบาทในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านการเทศน์แก่สามเณรมากขึ้น

“เชื่อว่าสามเณรที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 273 รูป จะเป็นนักเทศน์ที่ดี เทศนาได้ถูกต้องตามระเบียบวิธีการเทศน์ที่ครูบาอาจารย์ซึ่งล้วนเป็นผู้รู้และเป็นนักเทศน์ที่สังคมให้การยอมรับได้พร่ำสอนอบรมทุกอย่าง ไม่ว่าจะการขึ้นธรรมาสน์ การจับใบลาน การตั้งนะโม การยกหัวข้อพระบาลีไปเทศน์ การแจกแจงธรรม การขยายธรรมที่ยากให้เข้าใจง่าย หลักการเทศน์ที่ถูกต้องสามเณรเรียนรู้หมด เพียงแต่ถ้าอยากเป็นนักเทศน์ที่สมบูรณ์แบบต้องหาความรู้เพิ่มเติมเท่านั้น ถึงตรงนี้ถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้วเรามีบุคลากรทางศาสนาที่ช่วยในการเผยแผ่ธรรมไปสู่ประชาชนเพิ่มขึ้นและเชื่อว่าจะเกิดการต่อยอดต่อไป”


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ปรึกษาสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กล่าวต่อว่า โครงการนี้แม้เพิ่งทำเป็นปีแรกก็ถือว่าประสบผลน่าพอใจมาก เพราะตลอดโครงการไม่มีจุดบกพร่องเกิดขึ้นให้เห็น จะมีก็แต่เรื่องของระยะเวลาในการฝึกอบรมที่เห็นว่าค่อนข้างน้อยซึ่งสมควรปรับเพิ่มขึ้นในปีหน้า จากปีนี้ฝึกอบรม 5 วัน 4 คืน ซึ่งบางวันเริ่มตั้งแต่เช้าจนถึง 4-5 ทุ่มจึงเลิก ก็อาจจะเพิ่มเป็น 7-10 วัน เพื่อความเหมาะสม

ขณะที่สามเณรที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสามเณรธรรมมาสน์ทองในปีแรกนี้ ยอมรับว่าทุกรูปมีความเหมาะสม เพราะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒทั้ง 7 รูป อันมี พระพรหมวชิรญาณเจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม เป็นประธานกรรมการตัดสิน

 :49: :49: :49: :49: :49:

สามเณรธงชัย ไชยภักดี อายุ 20 ปี หนึ่งในสามเณรธรรมาสน์ทอง เผยว่า แม้ว่าจะมีภาระในการเรียนประโยค 9 ซึ่งค่อนข้างหนัก แต่ก็ภูมิใจกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากความทุ่มเทตลอดโครงการ หลังจากนี้ไปจะทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมะเท่าที่มีโอกาส เพราะยังต้องมุ่งไปที่การเรียนบาลีประโยค 9 ก่อนซึ่งจะสอบในช่วงปลายเดือน ม.ค. ปี 2558 หลังจากนั้นค่อยวางแผนใหม่

“ถ้าการสอบผ่านไปด้วยดี สามเณรก็จะมุ่งมั่นพยายามหาความรู้ฝึกฝนตนเอง โดยจะศึกษาค้นคว้าธรรมะจากพระไตรปิฎก อ่านตำรับตำรามากขึ้นและนำมาถ่ายทอดให้เยาวชน ประชาชนต่อไป”

 :welcome: :welcome: :welcome: :welcome: :welcome:

ด้าน สามเณรอรรถกร สุขคิด สามเณรธรรมาสน์ทองอีกรูปจากนครศรีธรรมราช พูดถึงโครงการว่ายังไม่เคยเห็นโครงการแบบนี้ที่ไหนมาก่อนถือเป็นครั้งแรก เป็นโครงการดีมาก เพราะเปิดโอกาสให้สามเณรทั่วประเทศได้ฝึกฝนอบรมวิชาการเทศน์ที่ถูกต้องตามหลักการเทศนา พร้อมทั้งเป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับสามเณรในด้านการเผยแผ่มากขึ้น

“ต้องขอบคุณโครงการนี้ที่ให้ความสำคัญกับสามเณร อย่างน้อยก็จุดประกายให้อาตมาคนหนึ่งได้ฉุกคิดถึงการเป็นนักเทศน์นักเผยแผ่ที่ดีในอนาคต จริงๆ แล้วไม่ว่าจะได้รางวัลหรือไม่ก็ตาม ในฐานะสามเณรคิดเสมอว่าเมื่อบวชเข้ามาต้องศึกษาพระธรรมวินัยให้แจ่มแจ้งจะได้นำไปสั่งสอนคนได้ ถ้าบวชแล้วไม่ศึกษาก็อย่าคิดไปสอนคนอื่น อย่างไรก็ตามในฐานะหนึ่งในสามเณรธรรมาสน์ทองก็ตั้งใจจะทำหน้าที่เผยแผ่สุดความสามารถตามที่ครูอาจารย์สอน อย่างน้อยคือสอนให้ชาวบ้านมีศีล 5 ในการดำเนินชีวิตก็คิดว่าประสบความสำเร็จแล้ว” สามเณรธรรมาสน์ทองจากปักษ์ใต้ กล่าว

 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

ขณะที่ สามเณรธีรพงษ์ ล้อประโคน จากวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ ผู้พลาดหวังแต่ยังผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายมีโอกาสได้ไปอินเดีย-เนปาล กล่าวว่า แม้ไม่ติดหนึ่งในสามสามเณรธรรมาสน์ทองก็ไม่รู้สึกเสียใจ เพราะได้รับสิ่งดีๆ มากมายจากโครงการนี้ เช่น ได้รู้วิธีการเทศน์ที่ถูกต้องจากครูบาอาจารย์ ได้เพื่อนใหม่ และที่สำคัญก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองในทางที่ดี

“อาตมาได้ความรู้มากเกี่ยวกับวิชาการเทศน์ ทั้งได้ปฏิบัติจริง ได้เพื่อนใหม่ ได้เห็นความร่วมแรงร่วมใจของเพื่อนสามเณรทุกรูป โดยเฉพาะในช่วงใกล้จบโครงการเราช่วยกันคิดว่าจะทำอะไรบ้างเพื่อตอบแทนพระเถรานุเถระ ครูบาอาจารย์ที่ให้การสั่งสอน ตลอดจนผู้ที่มีส่วนร่วมโดยตรงและโดยอ้อมกับโครงการนี้ แต่ที่สำคัญเวทีนี้ได้เปลี่ยนอาตมาสิ้นเชิงจากเดิมเป็นคนขี้อายไม่กล้าแสดงออก แต่ตอนนี้ขอแค่มีเวที ขอให้โอกาสอาตมาจะไม่รีรอ” สามเณรธีรพงษ์ ทิ้งทาย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการดีๆ แบบนี้จะเกิดการต่อยอดและผุดขึ้นในทุกๆ จังหวัดภายใต้การนำของเจ้าคณะพระสังฆาธิการทุกระดับ แต่ทุกวันนี้เห็นแต่พระเณรมุ่งแต่เรียนอย่างเดียว จนลืมดูเรื่องการฝึกอบรมเรื่องการเผยแผ่ไปแล้ว


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.posttoday.com/ธรรมะ-จิตใจ/331221/ปิดฉาก-สามเณรธรรมาสน์ทอง-ค้นฟ้าคว้าหา-ยอดเณรนักเทศน์-แห่งปี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา สาธุ โครงการนี้ ทำให้ระลึก ย้อน ถึงตนเอง ที่ก้าวสู่ วิถี สามเณรนักปาฐกถา สมัยที่ได้เข้าศีกษาเล่าเรียน ธรรม ในแนวทางสวนโมกข์ โดยได้ครูอาจารย์ ที่สำคัญหลายรูป ขณะนั้นซึ่งท่านกล่าวได้ว่า เป็นศิษย์ชั้นแนวหน้า ในหลวงพ่อพุทธทาส อาทิ
     1.หลวงพ่อจรัล  สุญญกาโม  แห่งสวนอิทัปปัจจยตา
     2.พระอาจารย์ถวิล  สุญญธาตุ  แห่ง วค.ลำปาง
     3.พระอาจารย์วิรัช  รวิวํโส   แห่ง วค.ลำปาง
     4.อาจารย์มานิตย์  สุทธจิตต์
     5.พระอาจารย์มหาประทีป  อุตตมปัญโญ  แห่งธรรมสถานหาดทรายแก้ว
     6.พระอาจารย์สงวน  จนทวํโส  แห่งธรรมสถานหาดทรายแก้ว
     7.พระอาจารย์ อรรณพ แห่งเขาสวนวาง
     8.พระอาจารย์ เบิ้ม แห่งวัดตำหรุ
     9.พระอาจารย์วิรัตน์  วิรตโน  แห่งสวนโมกขพลาราม
    10.พระอาจารย์สุชาต  แห่งสวนโมกขพลาราม
    11.พระอาจารย์ อีกหลายรูป แห่งวัดชลประทานรังสถษดิ์
   
       ในส่วนของสายนี้ เป็นแรงผลักดันเรื่องการปฏบัติ ตนเอง 3 เรื่อง
      1.สวดมนต์แปล
      2.ต่อต้านเรื่องไสยศาสตร์
      3.ปฏิบัติตนเอง ในแนวทางสายวัดป่า ฉันในบาตร นอนในกลด เป็นนักอ่านนักฟังธรรม แต่ไม่ชอบอ่านพระไตรปิฏก ในสมัยนั้นคิดว่า หนังสือธรรมโฆษณ์ปกดำของหลวงพ่อพุทธทาส อ่านแล้วเข้าใจง่ายกว่า
     
      ในสมัยนั้น วัดในสระบุรี ต่อต้านแนวทางการปฏิบัติ ในแนวทางสวนโมก สมัยโดนเรียกสอบสวนบ่อย จาก เจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ แต่เป็นเพราะว่า หลวงพ่อรองเจ้าคณะอำเภอ เป็นอุปัชฌาย์ ท่านก็คอยเตือนอยู่เสมอ ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าคณะอำเภอ เรืองถูกสอบก็น้อยลงไป สมัยนั้นถูกตั้งฉายา เณรบ้าคอมมิวนิสต์ พอเป็นพระ ถูกกลั่นแกล้ง ส่งสอบนักธรรม วนสามครั้ง ตรี โท เอก ตรี โท เอก ตรี โท  และเปรียญ 1-2  อีก 3 ครั้ง ทั้งที่ตอนนั้นได้ ประโยค 3 มาแล้ว เขาก็ส่งสอบซ้ำ ด้วยคำพูดว่า ส่งสอบระดับแรก นี่แหละ จนกว่าจะหาย บ้า แต่ในครั้งนั้น ด้วยความเคารพในหลวงพ่ออุปัชฌาย์ ไม่อยากให้เป็นเรื่อง เป็นราว ถูกเรียกว่า เป็นคนหัวดื้อ ก็เลยเข้าสอบ ตามที่ เลขาเจ้าคณะอำเภอจัดการ

      ตอนนั้นการฉันในบาตร การสวดมนต์แปล การนอนมุ้งกลด การอ่านหนังสือธรรมโฆษณ์ สมัยนั้นถูกตราหน้าไว้ว่า เป็น สามเณรบ้า พระนิพพาน ด้วยคำพูดของพระผู้ใหญ่ ในสมัยนั้นเลยว่า นิพพานไม่มีทางทำได้จริง ในสมัยนี้ สมัยนี้ไม่มีพระอริยะแล้ว อย่าบ้าให้มากกว่า นี้  อันที่จริงเรื่องถูกกลั่นแกล้ง มีมากกว่า นี้ บางคนใช้กำลังเข้ามาข่มเหง ก็มี แต่ ด้วยว่าหลวงพ่อ อุปัชฌาย์ ท่านเป็นใหญ่ เรื่องราวไม่ใหญ่โตมาก เพราะพระเณรสมัยนั้น ยำเกรง หลวงพ่ออุปัชฌาย์ อยู่มาก

       พูดยาวไปหน่อยแต่พอเล่าเรื่องราว ของพระสงฆ์ ในสมัยเป็นสามเณร ไม่ใช่ว่า จะมีใครมาส่งเสริม อย่างโครงการสามเณรธรรมาสน์ทอง นี้หรอก พอเห็นโครงการนี้ จึงขออนุโมทนา ที่ คณะสงฆ์ให้ความสำคัญสามเณร กันอย่างดีในปัจจุบัน

     https://www.youtube.com/watch?v=2JJFLBh5pVY

    https://www.youtube.com/watch?v=4niWSqbxqv4

    https://www.youtube.com/watch?v=mWDQNqJ7UE8

    https://www.youtube.com/watch?v=A8PWbB8JXoA
     

  เอ้าตัวอย่าง นัั่งฟังแล้ว ก็ถือว่าใช้ได้ ในรูปแบบการเทศน์ ซึ่งมีระเบียบแบบแผน

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


              เสียเวลา..!
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

SRIYA

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 199
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12

 คิดว่าถึงแม้จะส่งเสริม ระบบ เทศน์อย่างนี้ แต่การเทสน์อย่างนี้ไม่เหมาะในยุคปัจจุบันแล้วนะคะ
แต่ถ้ารักษาธรรมเนียม ก็ OK อยู่ คะ

  :49:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความอบอุ่น

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอนแรก ผมคิดว่าเป็น สามเณรนักพูด อ้อที่แท้ เป็นแบบเทศน์บนธรรมะ ในทำนองเสนะ ร้อยแก้ว เทศน์อย่างนี้ ไม่เข้าตาผมครับแต่ลูกเณร เทศน์แบบปฏิภาณอันนี้ผมว่าเข้าตามาก นะครับ

   :s_hi: thk56
บันทึกการเข้า

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12

  ก็ได้ระดับหนึ่ง แต่อย่างไร ก็ดูแล้วไม่รุ่งหรอกครับ เพราะความเป็นจริงยุคนี้ ไม่นิยม พระเณรเทศน์แล้วครับ อย่างวัดข้างบ้านนี้ ถ้าเวลาเทศน์งานศพ ต่อให้ลูกเณรเก่งแค่ไหน ก็ไม่มีสิทธิ์ไปเทศน์หรอกนะครับ เพราะคำสั่งเจ้าอาวาสออกกฏว่า ถ้าเทศน์งานศพ ต้องเป็นเจ้าอาวาส ถ้าวันนั้นเจ้าอาวาสไม่อยู่ ก็ต้องเป็นหน้าที่ของ รองเจ้าอาวาสหรือ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ถ้าไ่ม่อยู่ทั้งสามองค์พร้อมกัน ซึ่งเป็นไปได้ยากครับ ก็ให้นิมนต์วัดอื่น ๆ ที่เป็นเจ้าอาวาสมาเทศน์แทน ผมเคยถามเจ้าอาวาสเรื่องนี้ครับ เพราะที่วัดมีพระนักเทศน์เก่ง ๆ อยู่ตั้ง หลายรูป แต่ท่านเหล่านั้นไม่เคยได้เทศน์ในงานศพสักครั้ง ผมไปกี่ครั้ง ต่่อกี่ครั้ง ก็เป็นเจ้าอาวาสตลอด นะครับ

   ดังนั้นเห็นลูกเณรเทศน์แล้ว บอกได้เลยว่า ก็แค่ประกวดคุณสมบัติตรงนี้แต่ความเป็นจริงเนื้อแท้ โครงการนี้ แทบไม่ได้ส่งเสริมอะไร กับลูกเณรที่เก่ง ๆ หลาย ๆ ร้อย องค์ เลยครับ

    สรุป สาธุ สาธุ ก็แล้วกัน


   ที่ผมสนใจ คือ ประวัติของพระอาจารย์มากกว่าครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ