สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 28, 2012, 09:51:00 am



หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ"
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 28, 2012, 09:51:00 am
               ๒. สัพพาสวสูตร
            ว่าด้วยอุบายกำจัดอาสวะทั้งปวง
            [๑๔]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี    เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้นแล    พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า   

            “ภิกษุทั้งหลาย”   
 
            ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้วพระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า

            “ภิกษุทั้งหลาย    เราจักแสดงเหตุแห่งการปิดกั้นอาสวะ(๒)ทั้งปวงแก่เธอทั้งหลายเธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า


(๒ )อาสวะ  หมายถึงกิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน  ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่าง ๆ มี  ๔  อย่าง  คือ  (๑)  กามาสวะ  อาสวะคือกาม
                       (๒)  ภวาสวะ  อาสวะคือภพ 
                       (๓)  ทิฏฐาสวะ  อาสวะคือทิฏฐิ
                       (๔)  อวิชชาสวะ  อาสวะคืออวิชชา 
(ตามนัย  อภิ.วิ.(แปล)  ๓๕/๙๓๗/๕๘๖-๕๘๗)  แต่พระสูตรจัดเป็น  ๓ เพราะสงเคราะห์ทิฏฐาสวะเข้าในภวาสวะ  (ม.มู.อ.  ๑/๑๔/๖๘)


[๑๕]    “ภิกษุทั้งหลาย    เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้ ผู้เห็น  เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้  ผู้ไม่เห็น เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้ผู้เห็นอะไร (คือ)ผู้รู้  ผู้เห็นโยนิโสมนสิการ(๑) และอโยนิโมนสิการ(๒)  เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคาย  อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย  อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น  และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป

            [๑๖]    ภิกษุทั้งหลาย 
                อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยทัสสนะ(๓) ก็มี   
                อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการสังวร(๔)ก็มี   
                อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการใช้สอยก็มี   
                อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการอดกลั้นก็มี   
                อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการเว้นก็มี   
                อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการบรรเทาก็มี   
                อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการเจริญก็มี



(๑) โยนิโสมนสิการ  หมายถึงการทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย  โดยถูกทาง  กล่าวคือการนึก  การน้อมนึก  การผูกใจ การใฝ่ใจ  การทำไว้ในใจในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง  ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์  ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา  หรือโดยสัจจานุโลมิกญาณ  (ม.มู.อ.  ๑/๑๕/๗๑)
(๒) อโยนิโสมนสิการ  หมายถึงการทำไว้ในใจโดยไม่ถูกอุบาย  โดยไม่ถูกทาง  กล่าวคือการทำไว้ในใจในสิ่งที่ไม่ เที่ยงว่าเที่ยง  ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข  ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา  หรือการนึก  การน้อมนึก  การผูกใจการใฝ่ใจ  การทำไว้ในใจถึงความคิดโดยนัยที่กลับกันกับสัจธรรม  (ม.มู.อ.  ๑/๑๕/๗๑)
(๓) ทัสสนะ  หมายถึงโสดาปัตติมรรค  (ม.มู.อ.  ๑/๒๑/๘๑,  ม.มู.ฏีกา  ๑/๑๖/๑๙๐)
(๔) สังวร  เป็นชื่อของสติ  หมายถึงการระวังการปิดการกั้น  (ม.มู.  ฏีกา  ๑/๑๖/๑๙๑)  และดู  องฺ.ฉกฺก.  (แปล) ๒๒/๕๘/๕๔๗




(http://www.madchima.net/images/629_card_102.jpg)


หัวข้อ: ท่านนักปฏิบัติ ภาวนา ทุกท่าน โปรดทำความเข้าใจกับคำว่า อาสวะ กันก่อนดีไหม ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 28, 2012, 10:22:21 am
เรื่องที่นักภาวนา ปฏิบัติ มักจะลืม ก็คือ เป้าหมายในการภาวนา หรือ เป้าหมายในการปฏิบัติธรรม

เป้าหมาย ใน มรรค ของ พระอริยะเจ้า ก็คือการ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ การที่จะสำเร็จ พระอรหันต์ ก็คือการสิ้นกิเลส  เมื่อสิ้นกิเลส ก็ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิด กันอีกต่อไป

  ที่นี้ กิเลส ก็คือ นิสสัยหมักดอง อกุศลไว้ ภาษาที่เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ อาสวะ หรือ สิ่งหมักดอง ปิดกั้น

  อาสวะ เทียบกับภาษาไทยแล้ว ก็ตรง ๆ  อา + สวะ ( สิ่งไร้สาระ )

  อาสวะ ในพระพุทธศาสนา จัดไว้ มี 4 ประการ


   (๑)  กามาสวะ  อาสวะคือกาม
            ความหมกหมุ่นใน กามคุณ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อยากได้ อยากมี
  (๒)  ภวาสวะ  อาสวะคือภพ 
            ความหมกหมุ่นในภพ คือ ตัณหา ความเป็น อยากเป็น
  (๓)  ทิฏฐาสวะ  อาสวะคือทิฏฐิ
            ความหมักหมม หลงผิด ตริตรึกใน กาม ในภพ ด้วยอำนาจความเห็นผิด ไม่เชื่อในกุศล กับหลงเชื่อในอกุศล ไม่เชื่อ มรรค ผล นิพพาน
  (๔)  อวิชชาสวะ  อาสวะคืออวิชชา
            ความหลงผิด ไม่เห็นตามความเป็นจริง 8 ประการ
              หลงผิด ในเรื่อง ทุกข์
              หลงผิด ในเรื่อง เหตุแห่งทุกข์
              หลงผิด ในเรื่อง ผลของระงับสิ้นทุกข์
              หลงผิด ต่อการ ภาวนาไปสู่หนทางของการระงับสิ้นทุกข์
              หลงผิด ในอดีต
              หลงผิด ในเหตุอนาคต
              หลงผิด ในเหตุปัจจุบัน
              หลงผิด ในเหตุเนื่องซึ่งกันและกัน 


    1กามาสวะ  หมายถึงความกำหนัดในกามคุณ  ๕  (ม.มู.อ.  ๑/๑๗/๗๔)
    2 ภวาสวะ  หมายถึงความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ  ความติดใจในฌานที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ  รวมทั้งทิฏฐาสวะ  (ม.มู.อ.  ๑/๑๗/๗๔)
   3 อวิชชาสวะ  หมายถึงความไม่รู้ในอริยสัจ  ๔  (ม.มู.อ.  ๑/๑๗/๗๔)


 

  เมื่อพระุพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรม พระองค์จึงแสดงเหตุที่จะให้อาสวะ สิ้นไป ซึ่ง เหตุที่จะทำให้อาสวะ สิ้นไป นี้เรียกว่า มรรค ซึื่งมีวิธีการปฏิบัติ ตามหัวข้อไว้ 7 หัวข้อ ซึ่งนักภาวนาตัวจริง เสียงจริง นักภาวนาแท้ ๆ ก็ต้องใช้อย่างนี้แหละ ไม่ว่าจะเป็นนิกายไหน ในพระพุทธศาสนา ก็ต้องใช้อย่างนี้ นะจ๊ะ

             1  อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยทัสสนะ ก็มี   
             2  อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการสังวรก็มี   
             3  อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการใช้สอยก็มี   
             4  อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการอดกลั้นก็มี   
             5  อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการเว้นก็มี   
             6  อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการบรรเทาก็มี   
             7  อาสวะทั้งหลายที่ต้องละด้วยการเจริญก็มี   


(http://www.madchima.net/images/116_card_103.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ"
เริ่มหัวข้อโดย: แพนด้า ที่ พฤษภาคม 29, 2012, 10:33:18 am
ติดตามภาคต่อ อยู่นะครับ ....

ขอบคุณมากครับ ที่ชี้แนะ

  :c017: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ"
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ พฤษภาคม 29, 2012, 05:12:28 pm
สาธุ ขอบพระคุณพระคุณเจ้า เป็นประโยชน์มากครับ


หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "ความเห็น ละเลยไม่ได้ ถ้าต้องการภาวนาต้องทำความเข้าใจ"
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ พฤษภาคม 30, 2012, 08:53:21 am
เรื่องนี้เป็นเรื่องนักภาวนาควรจะต้องทำความเข้าใจอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นเรื่องละเลยไม่ได้ในการปฏิบัติ จะปฏิบัติถูก หรือ ผิด อยู่ที่ทัศนะ ( การเห็น )ในครั้งแรก ธรรมจักษุ จะมีหรือไม่ อยู่ที่ทัศนะ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัส  สัมมาทิฏฐิ เป็นอรุณ ของการภาวนา  ( สัมาทิฏฐิ สมาทานา สัพพังทุกขัง อุปัจจุคุง ) ดังนั้นท่านนักภาวนาทั้งหลายพึงทำความเข้าใจพระสูตรส่วนนี้ก่อน เพื่อละอาสวะทางความเห็นให้ตรง ให้ถูกต้องก่อน

               อาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ
            [๑๗]    อาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ    เป็นอย่างไร
            คือ    ปุถุชนในโลกนี้ผู้ยังไม่ได้สดับ ไม่ได้พบพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ  ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของพระอริยะ  ไม่ได้พบสัตบุรุษทั้งหลายไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับคำแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ  ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ เขาเมื่อไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ เมื่อไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมมนสิการถึงธรรมที่ไม่ควมนสิการ ไม่มนสิการถึงธรรมที่ควรมนสิการ


(http://www.madchima.net/images/153_card_106.jpg)

       ธรรมที่ไม่ควรมนสิการซึ่งปุถุชนมนสิการ    เป็นอย่างไร
            คือ    เมื่อปุถุชนมนสิการถึงธรรมเหล่าใด   
      กามาสวะ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ   
      ภวาสวะ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น    ที่เกิดแล้วย่อมเจริญ
     และอวิชชาสวะ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ   

      เหล่านี้คือธรรมที่ไม่ควรมนสิการซึ่งปุถุชนมนสิการ

        ธรรมที่ควรมนสิการซึ่งปุถุชนไม่มนสิการ    เป็นอย่างไร
            คือ    เมื่อปุถุชนมนสิการถึงธรรมเหล่าใด   
           กามาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป   
           ภวาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป
           และอวิชชาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป   
   
        เหล่านี้คือธรรมที่ควรมนสิการซึ่งปุถุชนไม่มนสิการ

            เพราะปุถุชนนั้นมนสิการถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ไม่มนสิการถึงธรรมที่ควรมนสิการ  อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ
 
           [๑๘]    ปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้ว่า 

               ‘ในอดีตกาลยาวนาน
                  เราได้มีแล้ว  หรือมิได้มีแล้วหนอ 
                 เราได้เป็นอะไรมาหนอ 
                 เราได้เป็นอย่างไรมาหนอเราได้เป็นอะไรแล้วจึงมาเป็นอะไรอีกหนอ 
                ในอนาคตกาลยาวนาน 
                  เราจักมีหรือจักไม่มีหนอ 
                  เราจักเป็นอะไรหนอ 
                  เราจักเป็นอย่างไรหนอ 
                  เราจักเป็นอะไรแล้วไปเป็นอะไรอีกหนอ’ 
 
            หรือว่าบัดนี้    มีความสงสัยภายในตน   
               ปรารภปัจจุบันกาลกล่าวว่า
                  ‘เรามีอยู่หรือไม่หนอ   
                   เราเป็นอะไรหนอ 
                   เราเป็นอย่างไรหนอ   
                  สัตว์นี้มาจากไหนหนอและเขาจักไปไหนกันหนอ’
           [๑๙]    เมื่อปุถุชนนั้นมนสิการโดยไม่แยบคายอย่างนี้    ทิฏฐิ(ความเห็นผิด)อย่างใดอย่างหนึ่ง    บรรดาทิฏฐิ    ๖    ก็เกิดขึ้น    คือ
            ๑.    ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า    ‘อัตตาของเรามีอยู่’
            ๒.    ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า    ‘อัตตาของเราไม่มี’
            ๓.    ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า    ‘เรารู้จักอัตตาได้ด้วยอัตตา’
            ๔.    ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า    ‘เรารู้จักสิ่งที่ไม่ใช่อัตตาได้ด้วยอัตตา’
            ๕.    ทิฏฐิเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นโดยแน่แท้มั่นคงว่า    ‘เรารู้จักอัตตาได้ด้วยสิ่งที่ไม่ใช่อัตตา’
            ๖.    อีกอย่างหนึ่ง    ทิฏฐิเกิดมีแก่ผู้นั้น  อย่างนี้ว่า  ‘อัตตาของเรานี้ใด  เป็นผู้กล่าว เป็นผู้รู้    เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วในอารมณ์นั้น  ๆ    อัตตาของเรา นี้นั้นเป็นสภาวะที่เที่ยง    ยั่งยืน    มั่นคง    ไม่แปรผันไปเป็นธรรมดา จักดำรงอยู่เสมอด้วยสิ่งที่แน่นอน’

            ข้อนี้เราเรียกว่า    ทิฏฐิ    ได้แก่    ป่าทึบคือทิฏฐิ  ทางกันดารคือทิฏฐิ  เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ  ความเดือดร้อนคือทิฏฐิ    กิเลสเครื่องผูกพันสัตว์คือทิฏฐิ

            ภิกษุทั้งหลาย    เรากล่าวว่า    ‘ปุถุชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์    ผู้ยังไม่ได้สดับย่อมไม่พ้นจากชาติ(ความเกิด)    ชรา(ความแก่)    มรณะ(ความตาย)    โสกะ(ความเศร้าโศก)    ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)    ทุกข์(ความทุกข์กาย)    โทมนัส(ความทุกข์ใจ)และอุปายาส(ความคับแค้นใจ)    ย่อมไม่พ้นจากทุกข์’
 
           [๒๐]    ภิกษุทั้งหลาย    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว    ได้พบพระอริยะทั้งหลาย    ฉลาดในธรรมของพระอริยะ    ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ    พบสัตบุรุษทั้งหลายฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ    ได้รับคำแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ    ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ  รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ    อริยสาวกนั้นเมื่อรู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ    เมื่อรู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ    ย่อมไม่มนสิการถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ    มนสิการถึงแต่ธรรมที่ควรมนสิการ

ธรรมที่ไม่ควรมนสิการซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ    เป็นอย่างไร
            คือ    เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการถึงธรรมเหล่าใด    กามาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ    ภวาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญและอวิชชาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเจริญ    เหล่านี้คือธรรมที่ไม่ควรมนสิการซึ่งอริยสาวกไม่มนสิการ

            ธรรมที่ควรมนสิการซึ่งอริยสาวกมนสิการ    เป็นอย่างไร
            คือ    เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการถึงธรรมเหล่าใด    กามาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป    ภวาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป    และอวิชชาสวะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น    ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไปเหล่านี้คือธรรมที่ควรมนสิการซึ่งอริยสาวกมนสิการ
 
           เพราะอริยสาวกนั้น    ไม่มนสิการถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการ    มนสิการถึงธรรมที่ควรมนสิการ    อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น    และอาสวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป
            [๒๑]    อริยสาวกนั้นมนสิการโดยแยบคายว่า   
                ‘นี้ทุกข์(สภาวะที่ทนได้ยาก)   
                 นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์)   
                 นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์)   
                 นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’   
            เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการโดยแยบคายอย่างนี้สังโยชน์    ๓    คือ   
          (๑)    สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)   
          (๒)    วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)   
          (๓)    สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลและวัตร)    ย่อมสิ้นไป
            ภิกษุทั้งหลาย    เหล่านี้เรียกว่า    อาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ




 


หัวข้อ: การละอาสวะด้วย ทัศนะ ถ้าภาวนาได้ ก็เป็น พระอริยบุคคลขั้นต้น คือ สำเร็จเป็นพระโสด
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ พฤษภาคม 30, 2012, 10:13:38 am
การละอาสวะด้วย ทัศนะ ถ้าภาวนาได้ ก็เป็น พระอริยบุคคลขั้นต้น คือ สำเร็จเป็นพระโสดาบัน

  มนสิการ มีอะไรเป็นพื้นฐาน
     ตอบมีศีล และ ความศรัทธาต่อกุศล เป็นพื้นฐาน หากไม่มีสองสิ่งนี้มาก่อน มนสิการเกิดไม่ได้ เหมือนบุรุษที่ไม่เคยคิดจะสร้างกุศล ไหนเลยที่มีกุศลเกิดขึ้นได้ ดังนั้น มนสิการ อาศัย ศีล และ ความศรัทธา เป็นพื้นฐาน

  มนสิการ มีอะไรเป็นกำลัง
     ตอบ มี สติและสมาธิเป็นกำลัง เพราะอาศัยจิตที่มี อุเบกขา ในกุศลธรรมจึงมองเห็นตามความเป็นจริง ด้วยทิฏฐิ เห็นจริงตามจริง ด้วยการทำไว้ในใจไว้ก่อนโดยแยบคาย มนสิการที่กระทำไว้ดี เพื่อเป็นไปเพื่อการละตัดอาสวะ ทั้ง 4 ดังนั้นจึงกล่าวได้ มนสิการ มี สมาธิกำลัง

  มนสิการ มีอะไรเป็นที่สุด
     ตอบ มนสิการ มีปัญญา ความเห็นถูกต้อง ความดำริถูกต้อง เป็นที่สุดเป็นผลของ มนสิการ ดังนั้นจะหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองคือ อาสวะ ได้ด้วย การทำมนสิการ อย่างนี้จึงกล่าวได้ว่า ละอาศัยด้วยทิฏฐิ อย่างนี้นี่เอง

   องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงผล ในที่สุด ว่า


     [๒๑]    อริยสาวกนั้นมนสิการโดยแยบคายว่า   
                ‘นี้ทุกข์(สภาวะที่ทนได้ยาก)   
                 นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์)   
                 นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์)   
                 นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’   
            เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการโดยแยบคายอย่างนี้สังโยชน์    ๓    คือ   
          (๑)    สักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)   
          (๒)    วิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)   
          (๓)    สีลัพพตปรามาส(ความถือมั่นศีลและวัตร)    ย่อมสิ้นไป
            ภิกษุทั้งหลาย    เหล่านี้เรียกว่า    อาสวะที่ต้องละด้วยทัสสนะ


  การละสังโยชน์ ได้ 3 ประการ ก็คือ คุณธรรมของพระโสดาบันนั่นเอง ดังนั้น การละอาสวะด้วยทิฏฐิ จึงจัดไว้เป็นการภาวนาด้วยประการแรกอย่างนี้

 

(http://www.madchima.net/images/533_card_107.jpg)

 


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ"
เริ่มหัวข้อโดย: แพนด้า ที่ พฤษภาคม 30, 2012, 12:35:51 pm
  เรียนถามว่า วิธี มนสิการ ทำอย่างไรครับ
   :smiley_confused1:
   :c017:

    :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ"
เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ พฤษภาคม 30, 2012, 12:39:22 pm
มนสิการ น่าจะเป็นวิธีการปฏิบัติ

   [๒๑]    อริยสาวกนั้นมนสิการโดยแยบคายว่า   
                ‘นี้ทุกข์(สภาวะที่ทนได้ยาก)   
                 นี้ทุกขสมุทัย(เหตุเกิดทุกข์)   
                 นี้ทุกขนิโรธ(ความดับทุกข์)   
                 นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)’   
            เมื่ออริยสาวกนั้นมนสิการโดยแยบคายอย่างนี้


 :58:


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ"
เริ่มหัวข้อโดย: pornpimol ที่ พฤษภาคม 30, 2012, 01:43:54 pm
ก็หมายความว่า มนสิการ นี้ คือการความเข้าใจกับ อริยสัจจะ 4 ประการ ใ่ช่หรือไม่ คะ

  :c017: :25:


หัวข้อ: ธรรมวันนี้เสนอคำว่า "โยนิโสมนสิการ" แปลว่า....
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ พฤษภาคม 30, 2012, 03:51:14 pm
คำว่า "มนสิการ" เฉยๆ หามาตอบให้ไมได้
แต่ถ้าเป็น "โยนิโสมนสิการ"

จาก พจนานุกรม เพื่อการศึกษาพุทธศาสน์  อธิบายศัพท์และแปลความหมาย  คำวัด ที่ชาวพุทธควรรู้
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต)
ธรรมสภา  สถาบันบันลือธรรม

 แปลว่า  การทำไว้ในใจโดยแยบคาย, การพิจารณาโดยแยบคาย

   โยนิโสมนสิการ คือความเป็นผู้ฉลาดในการคิด  คิดอย่างถูกวิธีถูกระบบ พิจารณา  ไตร่ตรองสาวไปจนถึงสาเหตุหรือต้นตอของเรื่องที่กำลังคิด  คือคิดถึงรากถึงโคนนั่นเอง  แล้วประมวลความคิดรอบด้านจนกระท่งสรุปออกมาได้ว่าสิ่งนั้นควรหรือไม่ควร  ดีหรือไม่ดี  เป็นต้น

   โยนิโสมนสิการ  เป็นวิถีทางแห่งปัญญา  เป็นธรรมสำหรับกลั่นกรองแยกแยะข้อมูลหรือแหล่งข่าว (ปรโตโฆสะ)  อีกชั่นหนึ่ง  เป็นบ่อเกิดแห่งสัมมาทิฐิ  ทำให้มีเหตุผล  ไม่งมงาย

พจนานุกรมพุทธศาสตร์  ฉบับประมวลธรรม  พระธรรมปิฏก (ป. อ. ปยุตฺโต)
 โยนิโสมนสิการ  แปลว่า  การใช้ความคิดถูกวิธี  คือ  การทำในใจโดยแยบคาย  มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณาสืบค้นถึงต้นเค้า  สาวหาเหตุผลจนตลอดสาย  แยกแยะออกพิเคราะห์ดูด้วยปัญญาที่คิดเป็นระเบียบและโดยอุบายวิธี  ให้เห็นสิ่งนี้ยๆ  หรือปัญหานั้นๆ  ตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
     "ภิกษุทั้งหลาย  เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู๋  ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน  เป็นบุพนิมิต  ฉันใด  ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ  ก็เป็นตัวนำ  เป็นบุพนิมิต  แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค  แก่ภิกษุ  ฉันนั้น"
     "เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายในอื่นแม้สักอย่างเดียว  ที่มีประโยชน์มาก  สำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะ  เหมือนโยนิโสมนสิการ  ภิกษุผู้มีโยนิโสมนสิการ  ย่อมกำจัดอกุศลได้  และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น"
     "เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น  แม้สักข้อหนึ่ง  ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด  ก็เกิดขึ้น  ที่เกิดขึ้นแล้ว  ก็เจริญยิ่งขึ้น  เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"
     "เราไม่เล็งเห็นธรรมอื่น  แม้สักข้อหนึ่ง  ซึ่งจะเป็นเหตุให้ความสงสัยที่ยังไม่เกิด  ก็ไม่เกิดขึ้น  ที่เกิดขึ้นแล้ว  ก็ถูกขจัดเสียได้  เหมือนโยนิโสมนสิการเลย"
     "โยนิโสมนสิการ  ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่,  เพื่อความดำรงมั่น  ไม่เสื่อมสูญ  ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม"



หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "การภาวนาฝึกฝนปฏิบัติธรรม คือ การปิดกั้นอาสวะ"
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ พฤษภาคม 31, 2012, 07:57:50 am
มนสิการ คือ การกระทำไว้ในใจ  โยนิโสมนสิการ หมายถึง การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย

  ทั้งสองประการนี้ แตกต่างกันตรงที่ 

   มนสิการ  ตรงประเด็น น่าจะเป็นระดับของพระโยคาวจจร ที่แจ่มแจ้งกับธรรม ที่เรียกว่า อริยสัจจะ 4 อย่างเต็ม คือมาถึงระดับนี้ จิตไม่ตกแล้ว ไม่ต้องออกอุบายในการภาวนา ๆ กันตรงๆ จุด ส่วนมาก มนสิการจะเริ่มจากสมถะ ( ความเห็นส่วนตัว ) คือมั่นคงไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนนะครับ


   โยนิโสมนสิการ เผื่อทางไว้ หรือ เตรียมแก้สถานการณ์ด้วย  เช่นเวลาจิตตก ก็ต้องแก้ไชสภาวะจิตที่ตก อันนี้เรียกว่า ทำไว้โดยแยบคาย ถ้าหากไม่มี โยนิโสมนสิการ ก็อาจจะต้องถอนตัวจากเหตุการณ์ ไม่ต่อสู้ ท้อถอยในการภาวนา

 :s_hi: