ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - miracle
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พลังจิตใต้สำนึกกับการใช้ชีวิต เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2012, 01:03:25 pm
พลังจิตใต้สำนึกกับการใช้ชีวิต



ในแต่ละวันเราต้องใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ยามหลับ สมองก็ยังประมวลผลของความคิดที่เกิดขึ้นมาอยู่ทั้งคืน

ถ้า สมองเราไม่รู้จักกำจัดขยะส่วนเกินออก ก็ไม่ต่างอะไรกับห้องที่มีเอกสารรกรุงรังเต็มไปหมด  และในแต่ละวันก็ยังมีเอกสารใหม่ ๆ ส่งเข้ามาอีกมากมาย สมองจะเก็บรวบรวม เอกสารที่คิดว่าสำคัญไว้อย่างเป็นระบบ หมวดหมู่ จนมากพอมันก็จะบีบอัดข้อมูลแปลงเป็นไฟล์แห่งความรู้สึก  แล้วส่งต่อไปเก็บที่ฐานข้อมูลส่วนลึกที่เรียกว่า จิตใต้สำนึก

ดัง นั้น ถ้าในแต่ละวันเราคิดไม่ดี คิดลบอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลที่สมองรวบรวมแล้วส่งไปที่จิตใต้สำนึก ก็จะเป็นความรู้สึกลบ  พลังแห่งความรู้สึกนั้นจะเข้มข้นกว่าความคิดมาก เพราะเป็นข้อมูลที่ถูกบีบอัดมาจากความคิดนับพันนับหมื่นความคิด

ใน แต่ละวันเราจึงต้องพยายามระวังคำพูดหรือความคิดที่มีความหมายทางลบแฝงอยู่  เพราะจะทำให้เกิดความรู้สึกทางลบขึ้นเล็ก ๆ ทุกครั้งที่พูด คิด หรือทำ  และในที่สุดมันจะหล่อหลอมกันเป็นพลังแห่งความคิดรู้สึกลบ ซึ่งจะก่อให้เกิดผลรุนแรงกว่าที่คาด

ความคิดไม่สามารถเอาชนะความ รู้สึกได้ การตัดสินใจของคนเราเกือบร้อยละเก้าสิบมาจากความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด  พลังความรู้สึกสูงกว่าพลังความคิดมาก เพราะมันออกมาจากส่วนของจิตใต้สำนึก

ลองมาใช้พลังจิตใต้สำนึกกับชีวิตประจำวันกันดีกว่า

1. ความคิด ส่งผลต่อเซลล์ทุกเซลล์ในทุกระบบของร่างกาย  และสามารถส่งผลไปถึงเซลล์ของคนอื่น ๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ในระบบประสาท  ดังนั้น จงพยายามคิดบวกอยู่เสมอ

2. ในแต่ละวัน คุณจะรับอิทธิพลจากแรงดึงดูดของความคิดคนอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลา  พยายามกำหนดสติ คัดเลือกเฉพาะความคิดในทางบวกให้เข้ามามีอิทธิพลต่อคุณ

3. จงบอกตัวเองอยู่เสมอว่า คุณสามารถกำหนดชะตาชีวิตของตัวเองได้  ชีวิตเป็นไปตามพลังความรู้สึก แม้ว่าจะมีความรู้สึกบางอย่างที่เป็นกรรมเก่าฝังอยู่ในภวังคจิตก็ตาม คุณก็สามารถใช้ความคิดซึ่งเป็นกรรมปัจจุบันไปเปลี่ยนแปลงได้  ความรู้สึกเกิดจากความคิดจำนวนมากที่มาหลอมรวมกัน ดังนั้นในแต่ละวันพยายามคิดดีอยู่เสมอ ย้ำซ้ำ ๆ ลงไปจนเกิดเป็นความรู้สึกใหม่ที่ดี ไปลบล้างความรู้สึกลบที่ผุดขึ้นมาจากภวังคจิต

4. การให้ คือ การเพิ่ม ไม่ว่าสิ่งที่ให้จะเป็นลบหรือบวก  ถ้าให้ลบกับคนอื่น ลบในตัวคุณก็จะเพิ่มขึ้น  ยกตัวอย่างเช่น คุณให้วิทยาทาน ให้ความรู้เป็นทาน ขณะที่คุณให้ จิตวิญญาณคุณก็จะเข้ามารับสิ่งนั้นด้วย  ยิ่งให้ยิ่งเก่ง ยิ่งสอนยิ่งรู้ ยิ่งเรียนยิ่งฉลาด ยิ่งบริจาคยิ่งรวย

5. หากรู้สึกโกรธใครสักคน จงหมั่นคิดถึงเขาแต่ในทางดี ในที่สุดความรู้สึกโกรธจะหายไปเอง  ความรู้สึกเป็นเรื่องของจิต แต่ความคิดเป็นเรื่องของสมอง  คุณห้ามความรู้สึกไม่ได้ แต่ห้ามความคิดได้  ความคิดกับความรู้สึกแยกส่วนกัน ถ้ารู้สึกลบแล้วคิดบวก เหมือนน้ำที่ราดบนกองไฟ  แต่ถ้ารู้สึกลบแล้วยังคิดลบ จะเหมือนการราดน้ำมันลงบนกองไฟ

6. จงพยายามฝึกมองส่วนบวกที่ซ่อนอยู่ในลบ ฝึกจนเกิดความสามารถพิเศษ เพราะคนที่จะเป็นอัจฉริยะได้ต้องมีความสามารถพิเศษนี้  สิ่งลบ ๆ ที่เกิดในชีวิตประจำมีมากมาย พยายามใช้ปัญญาเข้าไปวิเคราะห์  ในวิกฤติย่อมมีโอกาส  คนคิดบวกจะเห็นบวกที่ซ่อนอยู่ในลบ แต่คนคิดลบจะเห็นแต่ส่วนลบแม้สิ่งนั้นจะเป็นบวก

7. จงจำไว้ว่า  ทุก ๆ คนมีแก้วสารพัดนึกอยู่ในตัว  เพียงแต่บางคนเท่านั้นที่สามารถนำมันขึ้นมาใช้ได้ เพราะต้องมีเคล็ดลับบางอย่าง ซึ่งเคล็ดลับนั้นก็คือ ขอ เชื่อ รับ ของกระบวนการในเดอะซีเคร็ตนั่นเอง

8. ถ้าคิดลบต่อเหตุการณ์ใด จะดึงดูดให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง  คุณจึงเห็นคนล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายครั้ง นั่นเป็นเพราะยังไม่รู้จักเปลี่ยนแปลงวิธีคิด

หวังว่าจะไม่งงนะจ๊ะ...ค่อย ๆ อ่านและทำความเข้าใจนะ  ^^
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / หลวงปู่สุก เริ่มศึกษาภาวนา พระกรรมฐาน มัชฌิมา เมื่อใดใครเป็นผู้สอน ??? เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 06:03:57 pm
ทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา
อย่างเป็นแบบ เป็นแผน
ถึงวันพฤหัสบดี ข้างขึ้น ของวันเข้าพรรษาปีนั้น ซึ่งนับว่าเป็นวันครู อันเป็น
วัฒนธรรมประเพณีขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมา มาแต่เดิม ซึ่งต้องไปขึ้นพระกรรมฐานใน
สำนักหลัก สำนักใหญ่ อันเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ประจำกรุง
ศรีอยุธยา คือสำนัก วัดป่าแก้ว

ท่านพระครูรักขิตญาณ (สี) องค์พระอุปัชฌาย์ ของท่าน ได้นำพระอาจารย์สุก ไป
กราบสักการะ เข้ามอบตัวต่อพระรัตนไตร ขึ้นพระกรรมฐาน กับ พระพนรัต (แก้ว) วัด
ป่าแก้ว

ประวัติพระพนรัต (แก้ว) ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา สืบต่อมากับ พระพน
รัต (แปร) พระพนรัต (แก้ว) ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดป่าแก้ว และเป็นอาจารย์ใหญ่
กรรมฐานมัชฌิมา ในปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ท่านดำรงตำแหน่งมาจนถึง
ปลายรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พระพนรัต (แก้ว) ดำรงตำแหน่งเป็นพระพนรัต พระสังฆราช ฝ่ายซ้าย เจ้าคณะ
อรัญวาสี เป็นองค์สุดท้าย ของวัดป่าแก้ว ท่านศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบ เต็ม
รูปแบบ และเป็นองค์สุดท้ายที่ใช้ราชทินนามว่า พระพนรัต เมื่อสิ้นพระพนรัต (แก้ว)
แล้ว ต่อมา พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเปลี่ยนตำแหน่งพระพนรัต เป็น พระวันรัต ดำรง
ตำแหน่งเป็นเจ้าคณะคามวาสี และให้ตำแหน่งพระพุทธาจารย์ (พระพุฒาจารย์) วัด
โบสถ์ราชเดชะ เป็นเจ้าคณะกลางอรัญวาสี แทนวัดป่าแก้ว ตั้งแต่นั้นมา
พระครูรักขิตญาณ (สี) นำพระอาจารย์สุก ไปขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมา กับพระ
พนรัต (แก้ว) วัดป่าแก้วครั้งนั้น พระพนรัต (แก้ว) ก็แก่ชราภาพลงมากแล้ว และพระ
พนรัต (แก้ว) ก็มรณภาพลงในพรรษาปีนั้นเอง
ครั้งนั้นพระอาจารย์สุก ทรงนำ เครื่องบูชาขันธ์ห้า อันเป็นประเพณี ขึ้นพระ
กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับแต่โบราณไปด้วย ขันธ์ห้านี้ประกอบไปด้วย ข้าวตอก ห้า
กระทง ดอกไม้ห้าสี ห้ากระทงใบตอง เทียนขี้ผึ้งหนักหนึ่งบาทห้าเล่ม ธูปห้าดอก ใส่ใน
ถาดไม้สี่เหลี่ยมไปทำวัตรขึ้นพระกรรมฐานกับ พระพนรัต (แก้ว) วัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นวัด
ศูนย์กลางกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุงศรีอยุธยามาแต่เดิม
ทำวัตรพระ ขึ้นพระกรรมฐานเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระพนรัต (แก้ว) พระองค์
ท่าน ทรงเทศขึ้นลำดับธรรมมัชฌิมา ๑ จบตามโบราณประเพณีแล้ว ทรงบอกองค์
อาราธนาพระลักษณะพระกรรมฐานเบื้องต้นให้คือ องค์พระลักษณะขุททกาปีติธรรม
เจ้า ทรงบอกองค์พระกรรมฐานให้แล้ว พระพนรัต(แก้ว) พระอาจารย์ใหญ่ ทรงมอบ
ตัวพระอาจารย์สุก ให้กับพระครูรักขิตญาณ (สี) อบรมพระกรรมฐานต่อไป
ถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ พระภิกษุสงฆ์พระอารามต่างๆ ในกรุงรัตนโกสินทร์
ยุคต้น และยุคกลางต้องมาขึ้นพระกรรมฐานมัชฌิมา กับพระญาณสังวรเถร (สุก) ที่วัด
ราชสิทธาราม (พลับ) เนื่องจากเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานมัชฌิมา ประจำกรุง
รัตนโกสินทร์
การเป็นศูนย์กลางพระกรรมฐานในวัดราชสิทธารามนั้น เป็นมาตั้งแต่ปีพระ
พุทธศักราช ๒๓๒๕ มาจนถึงประมาณปีพระพุทธศักราช ๒๔๙๐ ความเป็นศูนย์กลาง
พระกรรมฐานก็เสื่อมซาลงไป จนเกิดสายพระกรรมฐานใหม่ขึ้นมากมาย ความเป็น
หนึ่งเดียวของพระกรรมฐานเกือบหมดไปในกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้ผู้ปฏิบัติสับสน
เนื่องจากพระสงฆ์รุ่นหลัง ไม่รักษาแบบแผนดั่งเดิมไว้
การศึกษาพระปริยัติธรรม ของพระอาจารย์สุกในครั้งนั้น กลางวันพระอาจารย์
สุก ท่านศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม พระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายน์ กลางคืนท่านเจริญจิต
ภาวนา พระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ฉันภัตตาหารเช้าแล้วทุกวัน พระอาจารย์สุก เข้าแจ้งสอบอารมณ์พระกรรมฐาน
กับท่านพระครูรักขิตญาณ (สี) ถ้าแจ้งพระกรรมฐานหรือ สอบอารมณ์ผ่าน พระอาจารย์
จะให้พระองค์ท่านอาราธนาพระกรรมฐานองค์ที่สอง ต่อไปคือ คือพระลักษณะขณิกา
ปีติ จนจบขั้นตอนของพระปีติทั้งห้า อันเป็นต้น เป็นราก เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ
พระองค์ท่าน ทรงศึกษาเบื้องต้นของพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับจนจบ
ภายในพรรษานั้น พระองค์ท่าน ทรงปฏิบัติได้ พระปีติทั้ง ห้าประการ เข้าสะกดหนึ่ง
ห้อง พระยุคลธรรมทั้ง หกประการ เข้าสะกดหนึ่งห้อง พระสุขสมาธิ สองประการ เข้า
สะกดหนึ่งห้อง แต่ละห้องพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับต้อง เข้าสับ พระปีติทั้งห้า
ยุคลทั้งหก สุขสมาธิทั้งสอง เข้าคืบ พระปีติทั้งห้า พระยุคลทั้งหก สุขสมาธิทั้งสอง เข้า
วัด ออกวัด คือเดินหน้า ถอยหลัง พระปีติทั้งห้า พระยุคลทั้งหก พระสุขสมาธิทั้งสอง
แล้วเข้าลูกสะกด พระปีติทั้ง ห้า พระยุคลทั้งหก พระสุขสมาธิทั้งสอง เป็นอันจบสาม
ห้องนี้ เป็นเบื้องต้นของพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นการฝึกตั้งสมาธิ ยังสมาธิ
เมื่อสะกดจบสามห้องแล้ว พระอาจารย์ของพระองค์ท่านก็มอบ ลูกสะกด ให้แก่ท่าน
หนึ่งลูก ให้พกติดตัว เพื่อเป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณอยู่เนืองๆ และป้องกันตัวด้วย สติ
การศึกษาพระปีติ ๕ พระยุคล ๖ พระสุขสมาธิ ๒ ประการ และอานาปานสติ ๙
จุด ของพระองค์ท่านครั้งนี้เป็นการทบทวนของเก่าเท่านั้น เพราะพระองค์ท่านเคยเรียน
มาแล้วกับ ท่านขรัวตาทอง แต่ครั้งนั้นยังไม่เป็นแบบ เป็นแผนเหมือนครั้งนี้ ครั้งนี้
พระองค์ท่าน ทรงปฏิบัติได้รวดเร็ว ปากต่อปาก คำต่อคำ ต่อหน้า ท่านพระครูรักขิต
ญาณ (สี) เลยที่เดียว
ท่านพระครูรักขิตญาณ (สี) วัดโรงช้าง ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์เถรผู้เฒ่า เป็น
พระอริยบุคคล ทรงอภิญญา และท่านยังรอบรู้ และชำนาญใน คัมภีร์มูลกัจจายน์ คัมภีร์
โยชนามูลกัจจายน์ พร้อมพระคัมภีร์แปลธรรมบท คัมภีร์มงคลทีปนี ฯ ทั้งบั้นต้น บั้น
กลาง บั้นปลาย ท่านเคยเข้าสอบทานพระบาลี แต่สอบไม่ผ่านสามกอง จึงมิได้เป็น
เปรียญ แต่ท่านมีความรู้ ความสามารถโดยชอบธรรม
ออกพรรษา ของทุกๆปี ท่านพระครูรักขิตญาณ(สี) จะออกสัญจรจาริกธุดงค์
แสวงหาความสงบวิเวก ไปตาม สถานที่ต่างๆทุกปีมิได้ขาด ถึงแม้เวลาที่สังขารของท่าน
จะชราภาพลงมากแล้ว ถ้าท่านไม่ออกสัญจรจาริกธุดงค์ ก็เหมือนจะขาดอะไรไปสัก
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
อย่าง ตอนชราภาพนั้น ท่านพระครูรักขิตญาณ จะต้องสัญจรจาริกไป พระพุทธบาททุก
ปี เพราะใกล้หน่อย และท่านก็ทรงอภิญญาด้วย การไปมาจึงรวดเร็ว
การบิณฑบาต ท่านพระครูรักขิตญาณ (สี) ท่านถือเป็นกิจวัตรประจำวัน แม้ชรา
ภาพออกไปบิณฑบาตไม่ไหว ท่านก็จะออกมายืนถือบาตรอยู่หน้ากุฏิของท่าน ท่านถือ
ธุดงค์วัตร สามประการ เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ๑ นุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร ๑ ฉันมื้อ
เดียวเป็นวัตรหนึ่ง กล่าวว่าการฉันอาหารมื้อเดียว เป็นไปเองด้วยอำนาจอริยมรรค ที่
ท่านบรรลุ คือ อานาคามีผล


อ้างอิงจาก หนังสือประวัติสมเด็จพระสังฆราช ( หลวงปุู่สุก ไก่เถื่อน )
หน้าที่ 46 - 49

3  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ถ้าเราโดนวิจารณ์ ด่า ต่อว่า ในทางเสียหาย ควรทำอย่างไรในการภาวนาคะ เมื่อ: สิงหาคม 05, 2011, 09:29:20 am
ถ้าเราโดน กลุ่มคน ที่รวมตัวกัน วิจารณ์ ด่า ต่อว่า ในทางเสียหาย ซึ่งไม่ได้เป็นความจริง แต่พยายามสร้างความเห็นให้คนอื่น มองเห็นว่าเป็นความจริง อยากทราบว่า เพื่อนสมาชิกห้องกรรมฐาน มีิวิธีการ วางตัว วางอารมณ์ อย่างไร ในการควบคุณอารมณ์ จิต และ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นได้

 :c017:
หน้า: [1]