ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอเชิญท่าน ผู้รู้ อธิบาย คำว่า อรหัง กับคำว่า สัมมาอรหัง ด้วยคะ  (อ่าน 6871 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นว่าเป็นหนึ่งในคำภาวนา ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนะคะ เพื่อการพอกพูนธรรมให้มีศรัทธาในกรรมฐานมากขึ้น ขอเชิญท่านผู้รู้แจกธรรม ความหมาย หรือ อธิบายคำว่า อรหัง หรือ คำว่า สัมมาอรหัง ด้วยคะ อยากได้คำอธิบาย ที่เสริมกับหัวข้อนี้ คะ

" อรหัน กับ อรหันต์ " เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8595.0
 :c017: :25:
 
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อรหัง กับ พระอรหันต์ คือคำเดียวกันคะ
แปลว่า ผู้ไกลจากกิเลส เป็น พระอริยะขั้นสูงสุดในบรรดาพุทธสาวกคะ พระพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ด้วยคะ

ส่วนคำว่า สัมมา แปลว่า ถูกต้องคะ

จะเห็นว่า การใช้คำว่า สัมมาอรหัง เพราะในบรรดาลัทธิอื่น ๆ ก็มี พระอรหันต์ ประจำศาสนาลัทธิของ ลัทธิศาสนานั้นด้วยนะคะ สมัยครั้งพระพุทธกาลนั้นมี 6 ลัทธิใหญ่ก็กล่าวว่าตนเองเป็น พระอรหันต์ เช่นกันคะ พระพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้ก็ปฏิญญาตนว่าเป็นพระอรหันต์เช่นกันคะ

 ดังนั้น สัมมาอรหัง นั้นจะใช้กับคนที่ยังไม่เข้าใจ ในระบบพระอริยะก่อนคะ เมื่อใดใจเข้าถึงความหมายแล้วก็จะเหลือแต่เพียงคำว่า อรหัง คะ

  :58: :49: :49:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระมงคลเทพมุนี(หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)

ที่มาของคำว่า  “สัมมา อะระหัง”

เหตุผลที่ใช้คำว่า สัมมา อะระหัง
          พระมงคลเทพมุนีสอนให้บริกรรมภาวนาว่า สัมมา อะระหัง เป็นบทพุทธคุณ การที่ใช้คำนี้เป็นพุทธานุสติในการเจริญสมาธิเพราะพุทธานุสตินี้เป็นธรรม ประการต้นที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี สนใจปฏิบัติและสอนสานุศิษย์เป็นพิเศษทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจะต้องให้ใจ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะพุทธานุสติเป็นธรรมให้จิตตื่น ให้จิตสว่าง ให้จิตมีกำลัง มีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรมสืบต่อไป
 
          ธรรมดาจิตของบุคคลถ้าไม่มีอะไรยึดแล้ว จิตจะคอยแต่ฟุ้งซ่าน ทำให้สงบอยู่ไม่ได้ จึงต้อง มีพุทธคุณยึด เมื่อมีพุทธคุณยึดแล้ว จะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม จิตย่อมอยู่ในการรักษา เพราะพุทธานุภาพย่อมรักษาคนที่มีสติระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อยู่เป็น นิตย์ ดังพุทธภาษิตว่า


                           สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ                   สทา  โคตมสาวกา
                           เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ                    นิจฺจํ  พุทฺธคตา สติ


          แปลว่า สติที่ไปในพระพุทธเจ้ามีแด่พระสาวกของพระโคดมเหล่าใดทั้งวันทั้งคืน พระสาวกของพระโคดมเหล่านั้นจะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม ชื่อว่า ตื่นแล้วด้วยดี

         อาศัยเหตุนี้พุทธานุสติจึงเป็นคุณธรรมที่ทำให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติ ธรรมเป็นประการแรก ดังนั้นพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีจึงสนใจ และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านเตือนพุทธบริษัทเสมอๆ ว่าอย่าให้เป็นคนว่าง ควรมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ แม้จะยังไม่บรรลุอริยผลเบื้องสูงก็ตาม แม้เมื่อละโลก ก็มีสุคติเป็นที่ไป ดังพุทธพจน์ว่า

                          เยเกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส               น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
                          ปหาย มนุสฺสํ เทหํ                       เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ


          แปลว่า ชนเหล่าใดถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นแลจักไม่ไปสู่อบาย เมื่อเขาละร่างกายนี้แล้วก็จะไปเพียบพร้อมอยู่ในเทวสมาคม

           สัมมา อะระหังเป็นถ้อยคำที่ศักดิ์สิทธิ์ สืบทอดกันมายาวนานเป็นพันปี ให้ไว้สำหรับผู้มีบุญ ในกาลก่อน กว่าจะได้คำนี้มาจะได้ด้วยความยากลำบาก ต้องบอกกันแบบมีพิธีการมาก เพื่อให้รู้คุณค่าของคำๆ นี้

 


ความหมายของคำว่า สัมมาอะระหัง
          1. สัมมา อะระหัง เป็นคำสากลที่ใช้ได้กับทุกคนในโลก โดยไม่ขัดแย้งกับความเชื่อใดๆ
         
คำว่าสัมมา แปลว่า ถูกต้อง ดีงาม ที่ถูกที่ชอบ เช่น มีความเห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม

         อะระหัง แปลว่า ห่างไกลจากสิ่งชั่วร้าย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโกรธ ความโศกเศร้า ความคับแค้นใจ ความร่ำพิไรรำพัน ความอาลัย หรือห่างไกลจากบาปอกุศล

         สัมมา อะระหัง จึงแปลรวมๆ ว่า ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และไกลจากสิ่งชั่วร้าย จากบาปอกุศล ความโลภ ความโกรธ ความหลง


         2. สัมมา อะระหัง เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ 2 ศัพท์คือ สัมมาคำหนึ่ง กับอะระหังคำหนึ่ง
           2.1 สัมมา เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ดีงาม ถูกต้อง ในพระพุทธคุณ 9 บท    ท่านเอาศัพท์ นี้เข้าคู่กับสัมพุทโธ เป็นสัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพุทธคุณแล้วยังใช้ ในอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรค อยู่ทุกข้อเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ทำให้ความหมายของมรรค 8 หมายถึง ถูกต้อง สิ่งที่ดีงาม ตั้งแต่เห็นถูก คิดถูก  พูดถูก ทำถูก เป็นต้นเรื่อยไป

           2.2 ส่วนศัพท์ว่า อะระหัง เป็นพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อรวมเป็นสัมมาอะระหัง จึงแปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ



     นอกจากนี้ อะระหัง ยังแปลว่าไกลจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย หมายถึง ไกลจากกิเลส คือ กิเลสไปไกลๆ เพราะใจของเราห่างจากกิเลส ห่างจากความมืด ห่างจากความทุกข์ทรมาน ห่างจากความเลว ห่างจากสิ่งไม่ดี มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ จึงได้ชื่อว่า อะระหัง คือ มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ ไม่มีสิ่งที่ เป็นมลทินเข้าไปเจือปนเลยแม้แต่นิดเดียว ถ้าเป็นเพชร ก็เป็นเพชรที่ใส ไม่มีมลทิน ไม่มีขีด ไม่มีข่วน ไม่มีไฝฝ้า เป็นเพชรที่ใสทั้งเนื้อทั้งแววทั้งสี สวยงามไม่มีที่ติทีเดียว

          คำว่า อะระหัง นี้ยังเป็นคำแทนของพระธรรมกาย ซึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย เป็นผู้รู้แจ้งเพราะเห็นแจ้ง ญาณทัศนะเกิด เพราะว่ามีธรรมจักขุมองเห็นสว่างไสว เห็นถึงไหน รู้ถึงนั่น เป็นผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่งัวเงีย ไม่เหมือนอยู่ในโลกของความฝัน ตื่นมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง  คือรู้เรื่องความจริงทั้งหมด เห็นว่าอะไรเป็นจริง อะไรไม่จริงก็เห็นว่ามันไม่จริง อะไรจริงก็เห็นว่ามันจริง หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้นจนกระทั่งใจขยายไม่มีที่ สิ้นสุดที่เรียกว่าเบิกบานเหมือนอาการบานของดอกไม้

          ดอกไม้ที่น้ำเลี้ยงดอกไม้มันเต็มที่ก็ขยายส่งกลิ่นหอมไปไกลทีเดียว ขยายออกไป ใจที่เบิกบาน คือใจที่หลุดจากข้อง จากที่แคบ จากภพทั้งหลาย จากสิ่งที่ทำให้อึดอัดที่ทำให้คับแคบ ให้วิตกกังวล เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม อะไรต่างๆ หลุดหมดเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง ขยายไปไม่มีที่สิ้นสุด

          สัมมา อะระหัง โดยสรุปแล้วหมายถึง การเข้าถึงสิ่งอันประเสริฐ หรือสิ่งประเสริฐสูงสุดที่มนุษย์จะพึงเข้าถึงได้ คือพระธรรมกายในตัวนั่นเอง จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นว่า คำว่า สัมมา อะระหัง จึงเป็นถ้อยคำที่ถูกกลั่นกรองและคัดเลือกแล้ว เพื่อนำมาใช้เป็นคำภาวนาที่เหมาะสมที่สุดในการภาวนา




อ้างอิง คัดลอกมาจากหนังสือสมาธิ 2
ที่มา  http://main.dou.us/view_content.php?s_id=55&page=7
ขอบคุณภาพจาก http://www.pawluang.com/,http://www.dhammajak.net/,http://lh3.ggpht.com/


    บทความนี้เป็นกระทู้เก่าของเว็บมัชฌิมา อยู่ลิงค์นี้ครับ
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=732.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 


ความหมายของคำว่า “สัมมาอะระหัง”

          คำว่า “สัมมาอะระหัง” เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ ๒ ศัพท์ “สัมมา” ศัพท์หนึ่ง “อะระหัง” ศัพท์หนึ่ง

          “สัมมา” เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบในพระพุทธคุณ ๙ บท ท่านเอาศัพท์นี้เข้าคู่กับ “สัมพุทโธ” เป็นสัมมาสัมพุทโธเป็นบทแสดงพระคุณของพระพุทธเจ้า แปลว่าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพระพุทธคุณแล้ว ยังมีใช้ในองค์อริยมรรค ๘ ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรคอยู่ทุกข้อเป็น สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น

          ส่วนศัพท์ว่า “อะระหัง” เป็นพระพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อเข้าคู่กันเป็น สัมมาอะระหัง ก็แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ คือ ถูกต้อง ไม่ผิด โดยนัยว่าบทบริกรรม “สัมมาอะระหัง” ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงมีความหมายสูง และอยู่ในขอบข่ายของพุทธานุสสติโดยแท้

          บท “สัมมาอะระหัง” นี้
          โบราณาจารย์สมัยก่อนท่านแยกพรรณนาพระพุทธคุณทีละอักษร
          ในบทภาวนานี้ มี ๕ อักษร คือ สัม, มา, อะ, ระ, หัง
          แต่ละอักขระหรือแต่ละอักษรไปนี้ ท่านโบราณาจารย์ได้ให้ความหมายไว้ดังต่อไปนี้


     (สัม)
     สงฺขตาสงฺขเต ธมฺเม      สมฺมา เทเสติ ปาณินํ
     สํสารสฺส วิฆาเฏติ         สมฺพุทฺธํปิ นมามิหํ ฯ


     ๑. พระพุทธองค์ทรงแสดงสังขตธรรมและอสังขตธรรม โดยชอบแก่สัตว์ทั้งหลาย
     ๒. พระพุทธองค์ ทรงทำลายการเวียนเกิดเวียนตายได้
     ๓. พระพุทธองค์ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
     ข้าพเจ้าขอนมัสการ


     พระคาถาบทนี้ท่านบอกอุปเท่ห์ คือวิธีใช้ไว้ว่า ให้ภาวนาก่อนจะเข้าสู่สงคราม หาผู้ทำร้ายมิได้แล



     (มา)
     มาตาว มานปาลิเต      มานสตฺเต ปมทฺทิ โย
     มานิโต เทวสงฺเฆหิ      มานฆาตํ นมามิหํ ฯ


     ๑. พระพุทธองค์ทรงย่ำยีสัตว์ผู้มีมานะ (ความถือตัว) ที่มานะ (ความถือตัว) เลี้ยงไว้ดุจมารดา
     ๒. พระพุทธองค์ อันหมู่ทวยเทพยอมรับนับถือ
     ๓. พระพุทธองค์ทรงทำลายมานะได้
     ข้าพเจ้าขอนมัสการ


     พระคาถาบทนี้ ท่านบอกอุปเท่ห์ไว้ว่า ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน หมายความว่า ถ้าบังเอิญท่านต้องเผชิญกับคนใจแข็ง ให้มีอันแข็งข้อ แข็งกระด้างเอากับท่านอย่างนี้แล้ว โบราณาจารย์ท่านแนะนำให้ใช้คาถาบทนี้ แก้ไขเหตุการณ์





     (อะ)
     อนุสฺสาหสพฺพสตฺตานํ      อนุสฺสาเหติ โย ชิโน
     อนนฺตคุณสมฺปนฺโน         อนฺตคามี นมามิหํ ฯ


     ๑. พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนคนไม่มีอุตสาหะ ให้มีความอุตสาหะ
     ๒. พระพุทธองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยคุณธรรมไม่สิ้นสุด
     ๓. พระพุทธองค์ทรงถึงที่สุดแห่งทุกข์
     ข้าพเจ้าขอนมัสการ


     พระคาถาบทนี้ ท่านบอกอุปเท่ห์ไว้ว่า ภาวนาป้องกันเสือและจระเข้ หมายความว่า ถ้าท่านต้องเข้าป่าที่มีสัตว์ร้ายชุกชุม หรือต้องลงน้ำในย่านที่มีสัตว์น้ำอันตราย ถ้าทำใจให้เป็นสมาธิ ภาวนาคาถาบทนี้ จะป้องกันสัตว์ร้ายได้



     (ระ)
     รโต นิพฺพานสมฺปตฺโต      รโต โส สตฺตโมจโน
     รมาเปติธ สตฺเต โย         รมทาตํ นมามิหํ ฯ


     ๑. พระพุทธองค์ทรงยินดีในธรรม ได้ทรงบรรลุถึงพระนิพพาน
     ๒. พระพุทธองค์ทรงปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นทุกข์
     ๓. พระพุทธองค์ทรงยังสัตว์ให้ยินดีในพระนิพพาน
     ๔. พระพุทธองค์เป็นผู้ทรงประทานให้ซึ่งพระนิพพานอันเป็นที่ยินดี
     ข้าพเจ้าขอนมัสการ


     พระคาถาบทนี้ ถ้าใครยึดมั่นท่องบ่นภาวนาเป็นนิจ สามารถป้องกันการกระทำคุณผีและคุณคนทั้งปวงได้



     (หัง)
     หญฺญติ ปาปเก ธมฺเม      หํสาเปติ ปทํ ชนํ
     หํสมานํ มหาวีรํ             หนฺตปาปํ นมามิหํ ฯ


     ๑. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปธรรม
     ๒. พระพุทธองค์ยังชนให้ยินดี ซึ่งทางฆ่าบาปนั้น
     ๓. พระพุทธองค์ทรงร่างเริง
     ๔. พระพุทธองค์ทรงกล้าหาญยิ่งใหญ่
     ๕. พระพุทธองค์ทรงฆ่าบาปได้แล้ว
     ข้าพเจ้าขอนมัสการ


     พระคาถาบทนี้ โบราณาจารย์ท่านแนะนำว่า ให้หมั่นเพียรภาวนาเมื่อจะเข้าสู่ณรงค์สงคราม ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยได้


         
     พระคาถา แสดงความหมายว่า แต่ละอักขระของบท สัมมาอะระหัง
     ที่นำมาลงไว้พร้อมทั้งอุปเท่ห์ คือ วิธีใช้นี้
     
สำหรับผู้ที่นับถือและเชื่อมั่นภาวนาให้จริงจัง จนจิตเป็นสมาธิมั่นคง ย่อมได้ผลจริงดังใจหมาย



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.watpaknam.org/meditation/page_07.php
http://photos1.hi5.com/,http://www.thailandholidayclub.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พุทธคุณ ๙ (คุณของพระพุทธเจ้า)

     อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น)

     ๑. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น)

     ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง)

     ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)

     ๔. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา)

     ๕. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยท่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมาอยู่ในกระแสโลกได้)

     ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า)

     ๗. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย)

     ๘. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ ดดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย)

     ๙. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม)

     พุทธคุณ ๙ นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีอรหํ เป็นต้น)
     บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ๙ ประการ



อ้างอิง
ม.มู.๑๒/๙๕/๖๗; องฺ.ฉกฺก.๒๒/๒๘๑/๓๑๗.
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม http://www.dhammathai.org/bd/09.php
ขอบคุณภาพจาก http://www.sangthipnipparn.com/


     
     ผมจำได้ว่า พระอาจารย์เคยปรารภเรื่องนี้ (ผมไม่ได้ถาม) ท่านกล่าวว่า
     สองคำนี้เหมือนกัน อรหัง ไม่ต้องมี สัมมา ก็ได้
     คำว่า อรหัง เป็นพระอรหันต์ อรหันต์อย่างไรก็เป็นสัมมา(ถูก)ในตัวเองอยู่แล้ว (ผมอธิบายโดยสรุป)


     ผมขอวิเคราะห์เล็กน้อย ขอให้ดู "พุทธคุณ ๙" (คุณของพระพุทธเจ้า)
     ขอให้สังเกตคำว่า "อรหัง" จะไม่มีคำว่า "สัมมา" นำหน้า
     นั่นอาจกล่าวได้ว่า พระพุทธองค์ไม่เคยตรัสว่า ท่านเป็น "สัมมาอรหัง"
     ดังนั้น หากยึดเอาพุทธพจน์ เราควรยึดเอาคำว่า อรหัง เป็นหลัก


     สรุปก็คือ ทั้งสองคำเหมือนกันครับ ใครชอบคำไหน หรือจะใช้คำไหน ก็เชิญตามอัธยาศัย

      :25:
   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ดรุณี

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ อ่านแล้ว เกิดความเข้าใจมากจริง ๆ คะ

 สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
อยากให้ทุกชีวิต มีความสุข และ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน

sakda

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ อยากให้ติดหมุด เรื่องนี้ครับ เพราะอ่านแล้ว มีสาระ และตรงกับคำภาวนาเบื้องต้นตอนขึ้นกรรมฐาน นะครับ

 :49:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีเนื้อหาครอบคลุม นะคะ แต่สงสัยว่า สัมมาอะระหัง นี่ หลวงพ่อสดเป็นต้นแบบ นำว่า หรือว่า หลวงปู่สุกนำไว้ก่อนคะ สับสนอยู่เ้หมือนกัน วิธีการที่กำหนดก็มิได้เหมือนกันซะด้วยนะคะ

  :s_hi: :smiley_confused1: :49:
บันทึกการเข้า