ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กราบนมัสการ "พระบรมเกศาธาตุ" ณ วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา (๒) "องค์ดำนเรศวร"  (อ่าน 7672 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0






ตำหนักพระนเรศวรมหาราช วัดใหญ่ชัยมงคล
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วัดใหญ่ชัยมงคล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อ "วัดป่าแก้ว" หรือ "วัดเจ้าไท" ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า
    ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด

    นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย






ประวัติวัดใหญ่ชัยมงคล


สมัยกรุงศรีอยุธยา
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่คาดว่าประมาณ พ.ศ. 2443 (พ.ศ.2443 เป็นปีในสมัยรัชกาลที่5 แห่งราชวงศ์จักรี ข้อมูลไม่น่าถูกต้อง) เป็นที่พำนักของพระภิกษุคณะป่าแก้ว ซึ่งมี สมเด็จพระวันรัตน์เป็นประธานสงฆ์ จึงได้ชื่อว่า วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว


สันนิษฐานว่าเป็นที่กระทำการเสี่ยงเทียน ในคราวก่อนที่พระเฑียรราชาจะทรงปราบดาภิเษก ยึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์

ในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นที่พำนักของ สมเด็จพระวันรัตน์ ผู้เป็นพระเถระที่สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ความเคารพ ในคราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะพระมหาอุปราชของหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระพิโรธต่อบรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามทัพไม่ทัน ทรงดำริจะลงพระราชอาญาประหารชีวิต

แต่สมเด็จพระวันรัตน์ได้ทูลขอพระราชทานชีวิตของแม่ทัพนายกองเหล่านั้นไว้ โดยยกเอาพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องผจญมารอยู่โดยลำพัง เปรียบเสมือนกับสมเด็จพระนเรศวรที่ต้องทรงกระทำยุทธหัตถีโดยลำพัง

และได้ทูลแนะนำให้ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นแทนการประหารชีวิต สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นด้วยและทรงให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้น ชื่อว่า "พระเจดีย์ชัยมงคล" ประมาณ พ.ศ. 2135 มีความสูง 1 เส้น 1 วา เป็นเจดีย์ ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาจนทุกวันนี้

วัดป่าแก้ว หรือวัดเจ้าไท ต้องร้างลงเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2309 หงสาวดีได้ยกพลมาประชิดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาตรมรินทร์โปรดเกล้า ให้ยกทัพเรือออกจากพระนคร ไปตั้งอยู่ที่วัดป่าแก้ว แต่ทัพเรือสยามเสียทีข้าศึก พระยาเพชรบุรีถูกสังหาร กองทัพหงสาวดีบางส่วนได้ยึดเอาวัดป่าแก้ว หรือวัดเจ้าไท เป็นฐานปฏิบัติการ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310 วัดแห่งนี้จึงได้ร้างลง





ยุคฟื้นฟู
หลังจากที่วัดใหญ่ หรือ วัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ได้ร้างลงกว่า 400 ปี ได้มีพระภิกษุ สามเณร แม่ชี กลุ่มหนึ่ง โดยการนำของพระฉลวย สุธมฺโม ได้เข้ามาหักร้างถางพงที่รกเรื้อปกปิดอารามอันเก่าแก่แห่งนี้เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมได้ประมาณ 4 ปี ท่านต้องการออกจาริกอีกครั้งจึงได้ไปนิมนต์พระครูภาวนาพิริยคุณ เจ้าอาวาส วัดยม อำเภอบางบาล ให้มาดูแลวัดใหญ่ชัยมงคลต่อ


พระครูภาวนาพิริยคุณ (เปลื้อง วิสฏฺโฐ) ได้นำคณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแม่ชี หักร้างถางพง ฟื้นฟูวัดแห่งนี้จนได้รับการยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดราษฎร์ที่มีพระภิกษุจำพรรษา ในปี พ.ศ. 2500 โดยได้ชื่อว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ส่วนพระครูภาวนาพิริยคุณ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนารังสี

ยุคปัจจุบัน
หลังจากที่พระครูภาวนารังสีได้มรณภาพในปี พ.ศ. 2536 พระปลัดแก่น ปุญฺญสมฺปนฺโน หรือปัจจุบันเป็นพระครูพิสุทธิ์บุญสาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และได้ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแม่ชี พัฒนาวัดใหญ่ชัยมงคล จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด


ขอบคุณข้อมูลจาก
th.wikipedia.org/wiki/วัดใหญ่ชัยมงคล
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พลายมงคล


พลายมาศเมือง


   
    ช้างที่อยู่หน้าตำหนักพระนเรศวร มีสองเชือก ทางขวาชื่อ พลายมงคล ทางซ้ายชื่อ พลายมาศเมือง
    ครั้งก่อนที่ผมได้มาตำหนักนี้ มีครูพานักเรียนมาทัศศึกษาที่นี้ ครูได้สอนว่า ช้างทรงของพระนเรศวร ไม่ได้ชื่อ "ก้านกล้วย" ช้างทรงพระนเรศวร ชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"

   
    ผมลองหาข้อมูลดูพบว่า เดิมช้างทรงของท่านชื่อ “พลายภูเขาทอง”
    ต่อมาได้ชื่อว่า “เจ้าพระยาไชยานุภาพ”
    ภายหลังชนะยุทธหัตถีแล้ว จึงได้ชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 16, 2013, 11:44:34 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0







ไก่ชนพระนเรศวร หรือไก่เจ้าเลี้ยง
     เป็นไก่อู พันธุ์เหลืองหางขาวเป็นที่รู้จักเรียกขานกันว่า "ไก่เหลืองหางขาว” จัดเป็นยอดไก่
    มีลักษณะสีสร้อยเหลือง แข้งขาวอมเหลือง ปากขาวอมเหลืองหางสีขาวยาวเหมือนฟ่อนข้าว ยืนผงาดอกเชิดท้ายลาด หน้าแหลมยาวเหมือนหน้านกยูง ปีกใหญ่ยาวมีขนแซมทั้งสองข้าง อกใหญ่ ตัวยาว หางรัดชิด แข้งเล็กนิ้วยาวเรียว เดือยงอน เวลาขันเสียงใหญ่และยาว

__________________________________________
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=207921
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ตำนานไก่พระนเรศวร

     จากหนังสือพระมหากษัตริย์ไทย ของประกอบโชประการ 2519 หน้า 208 กล่าวไว้ดังนี้ วันหนึ่งได้มีการตีไก่ขึ้นระหว่างสมเด็จพระนเรศวรฯกับไก่ของมังชัยสิงห์ราชนัดดา (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระมหาอุปราชา)

    ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรตีชนะไก่ของมังชัยสิงห์ มังชัยสิงห์ขัดเคืองพระทัยจึงตรัส ประชดประชันหยามหยันออกมาอย่างผู้ที่ถือดีว่ามีอำนาจเหนือกว่าว่า
    “ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริงหนอ”


    ถ้าไม่ใช่คนเหี้ยมหาญแกว่นกล้า ไม่ใช่คนสู้คนทุกสถานการณ์ก็คงจะได้แต่รับฟังหรือเจรจาโต้ตอบไปอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว  แต่สมเด็จพระนเรศวรฯไม่ใช่คนเช่นนั้น ทรงเป็นวีรขัติชาติที่ทรงสู้คนทุกสถานการณ์ จึงตรัสตอบโต้เป็นเชิงท้าอยู่ในทีว่า
    “ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีกันอย่างกีฬาในวังเหมือนอย่างวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเอาเมืองกันก็ยังได้”





    จากหนังสือของประยูร ทิศนาคะ : สมเด็จพระนเรศวร ฉบับออกอากาศ, พระนครหอสมุดกลาง 09,2513 ( 10 ) 459 หน้า 64 – 65 ได้บรรยายการชนกันอย่างละเอียดว่า

    “ขณะที่ไก่ของสมเด็จพระนเรศวรกับไก่ของพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีกำลังชนกันอยู่อย่างทรหด ต่างตัวต่างจิกตีฟาดแข้งแทงเดือยอย่างไม่ลดละ ฝ่ายทางเจ้าของไก่ คือ พระนเรศวรและพระมหาอุปราชาแห่งกรุงหงสาวดีพร้อมทั้งข้าราชการ บริพาร ทั้งหลายที่เสมอนอก ก็เขม็งมองด้วยความตั้งอกตั้งใจและผู้ที่ปากเปราะหน่อย ก็ตีปีกร้องสนับสนุนไก่ข้างฝ่ายเจ้านายฝ่ายของตนเป็นที่สนุกอย่างคาดไม่ถึง

     ขณะที่ไก่ฟาดแข้งกันอย่างอุตลุดพัลวัน สายตาผู้ดูทุกคู่ต่างก็เอาใจช่วยและแทบว่าจะไปตีแทนไก่ก็ว่าได้คล้ายกับว่าไก่ชนกันไม่ได้ดังใจตนเมื่อทั้งสองไก่พัวพันกันอยู่พักหนึ่ง ไก่ของพระมหาอุปราชก็มีอันล้มกลิ้งไปต่อหน้าต่อตา ไก่ชนของพระนเรศวรฯกระพือปีกอย่างทระนงและขันเสียงใส พระมหาอุปราชถึงสะอึกสะกดพระทัยไว้ไม่ได้”


     นับว่าเมืองไทยเรามีไก่ชนที่เก่งมาก จึงทำให้สมเด็จพระนเรศวรฯ เชื่อพระทัยอย่างแน่นอนว่าเมื่อชนต้องชนะไก่พม่า จึงกล้าท้าทายเดิมพันบ้านเมืองกัน





    พงศาวดารยังกล่าวถึงการตีไก่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในพม่าโดย เฉพาะราชสำนักถือกันว่า“การตี ไก่เป็นกีฬาในวัง” บรรดาเชื้อพระวงศ์จึงนิยมเลี้ยงไก่ชนกันแทบทุกตำหนักจะเห็นได้ว่าการตีไก่เป็นที่โปรดปรานของเชื้อพระวงศ์ในวังพม่าจึงเชื่อได้ว่าคนไทยสมัยนั้นก็นิยมการตีไก่กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน

    สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราชสมภพ ณ วังจันทน์ เมืองพิษณุโลกสองแคว พระองค์ทรงโปรดปรานการตีไก่มาแต่ทรงเยาว์วัยทรงใฝ่หาความรู้และเสาะหาไก่เก่งมาเลี้ยงไว้ด้วยเช่นกัน พ. ต.พิทักษ์ บัวเปรม (ข้าราชการบำนาญ) ท่านได้บันทึกไว้ว่าเมื่อปี 2500 ท่านได้อ่านตำราไก่ชนจากสมุดข่อย เชื่อแน่ว่าไก่ที่พระนเรศวรฯทรงนำไปชนกับพม่านั้นนำไปจากบ้าน “ บ้านกร่าง” เดิมเรียกบ้าน “บ้านหัวแท”

    ซึ่งอยู่ห่างจากตัว เมืองพิษณุโลกไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 9 กิโลเมตรความเห็นท่านว่าตรงกับการศึกษาของ พล.ต.ต.ผดุง สิงหเสนีย์ ด้วย “บ้านกร่าง” อำเภอเมืองพิษณุโลก แดนไก่ชนนเรศวร เป็นหมู่บ้านเก่าแก่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษไทยโบราณ ปัจจุบันพบซากปรักหักพังของวัดวาอารามเป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มายาวนาน





    ผู้คนในหมู่บ้านยังสืบทอดขนบธรรมเนียม มาตั้งแต่บรรพบุรุษคือมีงานเทศกาลต่างๆก็จะนัดชนไก่กัน ณ บ่อนประจำหมู่บ้าน “ลุงชิต เพชรอ่อน” อายุประมาณ 90 ปี ( พ.ศ.2535 ) อยู่บ้านกร่าง คนในหมู่บ้านบอกว่าเป็นนักเลงไก่ชน มาตั้งแต่เด็กสืบสายเลือดการชนไก่มาจากพ่อและปู่

    ท่านเล่าว่าสมัยพ่อพูดถึงสมัยปู่เลี้ยงไก่ชน (ประมาณ 200 ปีมาแล้ว) บ้านกร่างเลี้ยงไก่มากเป็นไก่เก่งชนชนะชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ต้องการของคนต่างถิ่น ไก่ที่เลี้ยงเป็น “ไก่อูตัวใหญ่ สีเหลือง หางขาว” และปู่ได้พูดเสมอว่า “ไก่เหลืองหางขาวไก่เจ้าเลี้ยง” คำพูดนี่จึงติดปากคนบ้านกร่างมาจนทุกวันนี้

    จากการศึกษาภาพเขียนฝาผนังที่วิหารวัดสุวรรณดาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าเป็นภาพเขียนเก่าแก่ มีอยู่ภาพหนึ่งเป็นภาพพระนเรศวรฯชนไก่ ใต้ภาพบรรยายไว้ว่า
    “พระนเรศวรฯ เมื่ออยู่หงสาวดี เล่นพนันไก่กับมังสามเกียด มังสามเกียดก็ว่าไก่เชลยเก่ง พระนเรศวรฯ ตรัสตอบว่าไก่เชลยตัวนี้จะพนันเอาเมืองกัน ต่างองค์ต่างไม่พอใจในคำตรัส พ.ศ. 2121 พระชันษา 23 ปี”





    ซึ่งภาพไก่ที่เขียนเป็นไก่เหลือง หางขาว แข้งขาว ปากขาวอมเหลือง ตาเหลือง ดังนั้น ไก่ชนที่พระนเรศวรฯ นำไปจากบ้านกร่าง จึงน่าจะเป็น “ไก่เหลืองหางขาว” สมดังไก่เจ้าเลี้ยง ในหนังสือสารานุกรมพัฒนาภาคใต้ พ.ศ. 2529 เล่ม 3 เรียก “ไก่เหลืองหางขาว” ว่า “ไก่เหลืองใหญ่” ลักษณะขนแดงอ่อน คล้ายสีทอง ขนปีกขาว ปากขาว หางขาว ปากเป็นร่อง เกล็ดเป็นผิวหวายตะกร้า (ขาวแกมเหลือง) จัดเป็นยอดไก่

    ไก่ชนพระนเรศวร หรือไก่เจ้าเลี้ยง เป็นไก่อู พันธุ์เหลืองหางขาวเป็นที่รู้จักเรียกขานกันว่า ”ไก่เหลืองหางขาว” จัดเป็นยอดไก่ มีลักษณะสีสร้อยเหลือง แข้งขาวอมเหลือง ปากขาวอมเหลืองหางสีขาวยาวเหมือนฟ่อนข้าว ยืนผงาดอกเชิดท้ายลาด หน้าแหลมยาวเหมือนหน้านกยูง ปีกใหญ่ยาวมีขนแซมทั้งสองข้าง อกใหญ่ ตัวยาว หางรัดชิด แข้งเล็กนิ้วยาวเรียว เดือยงอน เวลาขันเสียงใหญ่และยาว


ที่มา http://www.kaisiam.com/index.php?mo=3&art=342139
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





   
     เป็นทำเนียมของศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯ ต้องเสาะหาไก่มาให้ชมกัน ครั้งนี้ไม่ใช่ไก่เถื่อน เป็นไก่บ้าน
     เป็นไก่ชนของพระนเรศวร ภาพไก่ที่นำมาให้ชมทั้งหมด อยู่ถนนเดียวกัน
     ไก่ที่เห็นส่วนใหญ่จะเป็น "ไก่เหลืองหางขาว" ถนนนี้อยู่หน้าตำหนักพระนเรศวร
     ถนนนี้ผมไม่เห็นชื่อ ผมแอบตั้งชื่อในใจว่า "ถนนไก่ชน" เพื่อนๆเห็นด้วยไหมครับ..

     :104: :104: :104: :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 วัด ป่าแก้ว คือ ตํานาน ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ยุค กรุงศรีอยุธยา

    หลวงปู่ทวด ท่านข้ามนําข้ามทะเลจืดมา ก็มาเรียน ที่วัด ป่าแก้วในยุคกรุงศรี พระที่สอน ยศ สมเด็จพระ พนรัตวัดป่าแก้ว

       แม้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
           ตอนที่ท่านพระอาจารย์ อยู่วัดท่าหอย อยุธยา

          ท่านก็ขึ้น กรรมฐาน กับ สมเด็จพระพนรัต วัดป่าเเก้ว ที่นี่

             วัดนี้เป็นที่รวมของครูบาอาจารย์ กรรมฐาน มัชฌิมา ในอดีต


             นับว่าเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

             ด้วยเหตุผลที่มี ครูอาจารย์ ที่ ปฏิบัติบําเพ็ญมาก จึงเป็นที่ศักสิทธิ์

             
แม้ พระอาจารย์ ของพระนเรศวรก็มี ของดี จําพวก ตะกรุด ผ้าประเจียด ออกรบ เพื่อปลุกขวัญกําลังใจ เหล่าผู้กล้า ในประวัติมี ที่เป็น ทหารผีพม่ากลัว เพราะฆ่าตาย แล้วก็ลุกขึ้นมาสู้ต่อ


       มาครั้งพระสังฆราชไก่เถื่อน ก็ทําให้ รัชกาลที่1 ไปรบกับลาว
            เป็นตะกรุดผ้ายันต์ มหาจักรพรรดิ์ (เวทาสากุ)บรรจุคาถาพญาไก่เถื่อนอยู่ในผ้ายันต์ )
       รัชกาลที่หนึ่งไปรบชนะทุกครั้ง

         รัชกาลที่หนึ่ง ชนะจากรบ ก็มากราบ พระอาจารย์ ท่านเป็นคู่บารมีกันมาแต่ อดีตชาติ

        ก็มาเสริมเรื่องตํานาน พระกรรมฐาน กันบ้าง เพื่อเป็นเกร็ดความรู้     

         
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา