ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัคาหะ และ อุเบกขา คืออะไร และ ควรใช้ในตอนไหน ในการภาวนาครับ  (อ่าน 5411 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปัคาหะ และ อุเบกขา คืออะไร และ ควรใช้ในตอนไหน ในการภาวนาครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อธิบายความหมายของคำ
นิมิต         เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญธรรมกรรมฐาน
 ภาพที่เห็นในใจของผู้เจริญกรรมฐาน ภาพที่เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน

สมาธิ     ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความมั่นคงแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่ง จิต ภาวะที่จิตไม่ซ่านไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ความตั้งใจชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค

ปัคคาหะ    การยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต ความปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันท์ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริย วิริยินทรีย์ วิริยะพละ สัมมาวายามะ  วิริยสัมโพชฌงค์

อุเบกขา    ความไม่ซ่านไปในอารมณ์ ในอดีต ในอนาคต ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางกายก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาที่เสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 21, 2010, 11:21:41 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากให้พระอาจารย์ อธิบายเพิ่มเติม จากเืนื้อความย่อเพิ่มอีกครับ ผมมีปัญญาทางด้านกรรมฐาน ไม่มากครับ อ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 ขอบคุณ ล่วงหน้าทุกท่านนะครับ ที่จะช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้ ครับ

  :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากให้อธิบาย เรื่องนี้ อีกครั้ง คะ ดูเหมือน คำถาม ยังไม่ได้ถูกขยายเนื้อความ คะ

  :58:
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

ความนี้อาจเป็นแค่ความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่ควาหมายจริง เนื่องจากผมเองไม่รู้ธรรม ไม่รู้ปริยัติ ไมา่รู้สมภะ

เคยไหมที่เวลาเราระลึกถึงภาพพระตถาคต หรือ ภาพกสินใดๆ โดยใจนั้นจดจ่ออยู่เวลามอง เมื่อออกจากเวลามองเราระลึกทำสมาธิโดยระลึกเอาสัญญาในภาพนั้นๆมาตั้งเป็นอารมณ์ นั่นเป็นการเริ่มเอาปัคคหะนิมิตรเอาความจดจำในรูปนั้นๆมาทำความเพียรที่จะพ้น จนเมื่อเราแม้่หลับตาหรือลืมตาเราก็สามารถระลึกคำนึงถึงภาพที่จดจำนั้นได้เอามาเป็นจิตจดจ่ออยู่เป็นอารมณ์ส่วนเีดียวจนจิตสัมฤทธิ์ในเบื้องต้นคือความสงบไใ่ฟู้งซ่าน นั่นเรียกปัคคหนิมิตร เป็นการนำสมาธิกับความจดจ้องในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์เพื่อความไม่สัดส่าย ความไม่ฟุ้งไป เพียรอยู่เพื่อเอานิมิตนั้นมาเป็นที่ตังแห่งกรรมฐาน นี่เป็นฐานของกสิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 11, 2014, 05:11:44 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อยากให้พระอาจารย์ อธิบายเพิ่มเติม จากเืนื้อความย่อเพิ่มอีกครับ ผมมีปัญญาทางด้านกรรมฐาน ไม่มากครับ อ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

 ขอบคุณ ล่วงหน้าทุกท่านนะครับ ที่จะช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้ ครับ

  :c017: :25: :25:

   มี 3 คำ ในการภาวนา กรรมฐาน ไม่ว่า จะเป็น สมาธิเล็กน้อย จนถึง อัปปนาสมาธิ ขั้นละเอียด สิ่งที่ปรากฏตั้งแต่ เริ่มต้นจนจบ ก็คือ 3 คำนี้

   1. บริกรรมนิมิต มี 4 ระดับ  หมายถึงเครื่องกำหนด
      ระดับที่หนึ่ง หมายถึง  บริกรรม คำบริกรรม
      ระดับที่สอง หมายถึง อุคคหนิมิต
      ระดับที่สาม หมายถึง ปฏิภาคนิมิต
      ระัดับที่สี่ หมายถึง  นิมิตแท้ หรือ กายแห่งจิต

   2.ปัคคาหะนิมิต  หมายถึง การเพ่งรวบรวม บังคับ ให้จิตเกาะเกี่ยวกับ วัตถุแห่งสมาธิ
          ฐาน ที่ตั้งของการภาวนา ตามองค์กรรมฐาน
          กายนิมิต

   3.อุเบกขานิมิต หมายถึงการวางอารมณ์ ให้เป็นกลาง ไม่ยินดี หรือ ไม่ยินร้าย ในระหว่างที่ภาวนา
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น อดีต ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ปัจจุบัน ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น อนาคต ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ฉัีนทะสมาธิ ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ปีติ ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ยุคลธรรม ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น สุขสมาธิ ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น กายนิมิต ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น โอภาส ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ปฐมฌาน ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ทุติยฌาน ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ตติยฌาน ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น จตุุตถฌาน ปรากฏ ก็ไม่ยินดี ก็ไม่ยินร้าย วางใจเป็นกลาง ภาวนาต่อไป
       เมื่อ สภาวะธรรม อันเป็น ปัญจมฌาน ปรากฏ ก็ ถึง ผลแห่งสมาธิ เรียกว่า อุเบกขาสมบูรณ์ ถึงตรงนี้เรียกว่า ปริสุทธุเปกขาธรรม มี วิสุทธิธรรม 30 ปรากฏบังเกิด เป็น สภาวะธรรม แห่งอุเบกขา ตั้งแต่ ขั้นหยาบ 10 ประการ ขั้นกลาง 10 ประการ ขั้นละเอียด 10 ประการ

พยายามเลี่ยงคำบาลี และ วิชาการแล้ว แต่ ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะสภาวะบัญญิติ อธิบาย ปรมัตถ์บัญญัติ

เจริญธรรม / เจริญพร

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน    ของพระเสขะ    และของท่านผู้ปราศจากราคะ    ต่างกันอย่างไร
            คือ    สังขารุเปกขาของปุถุชนเป็นกุศล    แม้ของพระเสขะก็เป็นกุศล    แต่ของท่านผู้ปราศจากราคะเป็นอัพยากฤต    การน้อมจิตไปในสังขารุเปกขาของปุถุชน    ของพระเสขะ    และของท่านผู้ปราศจากราคะ   ต่างกันโดยสภาวะเป็นกุศล    เป็นอัพยากฤตอย่างนี้

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12 st12 st12


แจ่มแจ้งใจผมยิ่งนักครับพะอาจารย์ ผมจะน้อมนำเอาความเพียรนั้นมาให้ได้ตามสติกำลังครับ สาธุ สาธุ สาธุ st11
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ