สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: catwoman ที่ มิถุนายน 06, 2015, 09:43:53 pm



หัวข้อ: เจริญ สติ กับ เจริญ สมาธิ แตกต่างกันหรือ เป็นอันเดียวกัน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: catwoman ที่ มิถุนายน 06, 2015, 09:43:53 pm
 ask1

เจริญ สติ กับ เจริญ สมาธิ แตกต่างกันหรือ เป็นอันเดียวกัน คะ

 :88: :88: :88:


หัวข้อ: Re: เจริญ สติ กับ เจริญ สมาธิ แตกต่างกันหรือ เป็นอันเดียวกัน คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 13, 2015, 01:35:47 pm
อ้างถึง
(http://www.madchima.org/forum/avatars/Actors/Eva_Habermann.jpg) ข้อความโดย: catwoman

ask1

เจริญ สติ กับ เจริญ สมาธิ แตกต่างกันหรือ เป็นอันเดียวกัน คะ

 :88: :88: :88:

(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_26_03_14_11_42_34.jpeg)

คำถามนี้เกินปัญญาของผม ไม่อาจตอบให้กระจ่างได้ คุณแคทวูแมน ควรไปตั้งคำถามในห้อง "ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน" อย่างไรก็ตาม เมื่อตั้งใจมาถามแล้ว ผมจะพยายามคุยเป็นเพื่อน ขอให้ถือว่า หาข้อมูลมาคุยกัน นี่ยังไม่ใช่คำตอบ  ขอให้พิจารณาข้อธรรมใน "ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา" ดังนี้

ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค


    [๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง

    มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ
    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้นเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป

     ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง ฯ
     ......ฯลฯ.....................


ที่มา :- http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534)


(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_26_03_14_11_45_44.jpeg)

พระสูตรนี้ เป็นภาษิตของพระสารีบุตรทั้งหมด รู้จักกันในชื่อ "คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค" จากการอ่านอรรถกถา เข้าใจว่า พระอานนท์ฟังมาจากพระสารีบุตร 

ที่ใช้คำว่า มรรค ๔ ขอให้เข้าใจว่า ไม่ใช่อริยมรรคมีองค์ ๘ แต่เป็นปฏิปทามรรค เพื่อความเข้าใจขอนำ พระไตรปิฏก ฉบับประชาชน มาแสดงดังนี้

ยุคนัทธะ(ธรรมที่เทียมคู่) บทตั้งเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่า ภิกษุภิกษุณีจะพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระอานนท์ ก็มี ๔ ทาง คือ
๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน)
๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนเป็นเบื้องต้น (เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน)
๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม

อีกนัยหนึ่ง คือ

พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์(พูดว่าได้บรรลุ)ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ
    ๑. เจริญวิปัสสนา(ปัญญาอันเห็นแจ้ง) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่เจริญมรรคก็ละสัญโญชน์(กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด)ได้กิเลส  พวกอนุสัย(แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน)ย่อมไปหมด
    ๒. เจริญสมถะ(ความสงบใจ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส
    ๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส
    ๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม(วิปัสสนูปกิเลส=เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิดมีแสงสว่าง เป็นต้น) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.


ที่มา :- http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k21.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k21.html)
ที่มา :- http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/13.4.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/13.4.html)


(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_26_03_14_11_46_35.jpeg)

ตอบคำถามที่ว่า...เจริญสติ กับ เจริญสมาธิ แตกต่างกัน หรือเป็นอันเดียวกัน คะ.?
หากนำมรรคมีองค์ ๘ มาพิจารณา สัมมาสติเป็นมรรคองค์ที่ ๗ ส่วนสัมมาสมาธิเป็นมรรคองค์ที่ ๘ จะเห็นว่า แยกกันอย่างชัดเจน ดังนั้นจึงตอบได้ว่า เจริญสติกับเจริญสมาธิ แตกต่างกัน

อนึ่ง..หัวใจของ "กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ" คือ การรวมมรรคมีองค์ ๘ (เรื่องนี้เป็นความลับ) ในระดับปุถุชนแล้ว คงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยากว่า เมื่อสติกับสมาธิแยกกันแล้ว นำมารวมกันได้อย่างไร เรื่องนี้ต้องเว้นเอาไว้ ไม่ขอกล่าวถึง

กลับมาเรื่อง ปฏิปทามรรค ๔ มรรคนี้ทำให้เห็นว่า การเจริญสติ(หรือวิปัสสนา/ปัญญา) และการเจริญสมาธิ(หรือสมถะ) สามารถกระทำแยกกันได้ เมื่อกระทำแล้ว ก็จะได้ทั้งสติและสมาธิตามมา สุดท้ายก็จะสิ้นกิเลสเหมือนกัน สรุปง่ายๆ ดังนี้ครับ

    ๑. เจริญสมาธิก่อน สติจะเกิดตามมา การปฏิบัติธรรมแนวนี้เป็นพวกอุภโตภาค(ได้ทั้งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ)
    ๒. เจริญสติก่อน สมาธิจะเกิดตามมา การปฏิบัติธรรมแนวนี้เป็นพวกสุกขวิปัสสก(ได้ปัญญาวิมุติอย่างเดียว)

    สงสัยอะไรถามได้นะครับ ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้....


     :welcome: :49: :25: st12