ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ  (อ่าน 13850 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:11:29 am »
0
 ask1

๑.   วิญญาณในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดเป็น ธาตุวิญญาณหรือไม่?

๒.   การเข้าถึงมนธาตุ ใช้วิญญาณอันไหนเข้าถึง?

๓.   วิญญาณทั้ง ๖ เป็นวิญญาณอันเดียวกันหรือไม่ แยกกัน หรือเป็นวิญญาณอันเดียวกันที่ไปรู้ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๔.   เวลาที่เราคิด มโนวิญญาณทำงานอย่างไร ทำงานสัมพันธ์กับจิตหรือไม่ อย่างไร?

๕.   ความเข้าใจ ธาตุวิญญาณ ส่งเสริมต่อ สมาธิ หรือ วิปัสสนา หรือทั้ง ๒ อย่าง หรือไม่เกี่ยวกับทั้ง ๒ อย่าง ?

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2015, 01:10:06 am โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:31:04 am »
0


ธาตุ ยังคงอยู่ อย่างนั้น จนกว่า เจ้าของ จะถึง วิสูทธิ์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18115.0


บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:42:32 am »
0
วันนี้ค้นจดหมาย เพื่อประโยชน์แห่งเพื่อน เช่น คุณ ดนัย
เนื่องด้วยห้องนี้ ผมไม่เคยเห็นศิษย์พระอาจารย์สนธยา ตั้งคำถามเลยสักครั้งเดียว

 ( อาจจะด้วยคิดว่า หลายท่านรู้ดี อยู่แล้วในเรื่องเหล่านี้ หรือไม่ก็ไม่กล้าถาม เพราะเห็นว่าเป็นศิษย์ตรง กลัวว่าจะถามผิด ที่จริงผมอยากให้ศิษย์พระอาจารย์สนธยา ถามกันมาก ๆ นะครับ มันจะได้ประโยชน์กับผมด้วย อันนี้เป็นคำถามที่ข้อความสวนตัว ต้องขอบคุณระบบยังมีเซฟไว้อยู่นะครับ  )


     การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน เรียกว่า ผัสสะ
     การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน แล้วเกิดความรู้สึก สัมผัสชสเวทนา
     การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน  ผัสสะที่เกิดความรู้สึก และมีผลต่อใจขณะนั้น เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนา
     ในระหว่าง ที่ มโนสัมผัสชาเวทนาเกิด มีการกำหนดรู้ด้วยองค์แห่งธรรม มีอำนาจ สมาธิ เป็นต้น เรียกว่า มนายตนะธาตุ
     เมื่อ มนายตนะธาตุ เกิด มีการจำแนกเป็น ธาตุใดธาตุหนึ่ง ด้วยองค์คุณแห่งสมาธิอันสหรคตด้วยปัญญา เรียกว่า วิภังคธาตุ
     ในขณะแห่งจิต เข้าถึง วิภังคธาตุ สามารถกำหนด ธาตุในวิภังคธาตุได้ เห็นตามความเป็นจริงของธาตุนั้น ทั้งภายใน และภายนอก เรียกว่า การเข้าถึง ธรรมธาตุ
     เมื่อจิตแห่งพระอริยะ เข้าถึงธรรมธาตุ ด้วยอำนาจ ผลสมาบัติ ขณะนั้น เรียกว่า สุญญธาตุ
                   
      ที่มาจากจดหมาย ที่พระอาจารย์ เคยตอบผมไว้ ครั้งหนึ่ง หาตั้งนานนะครับ แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ ถ้าได้ฟังพระอาจารย์ อธฺิบายสักครั้ง จะสมบูรณ์ มาก ( ในความคิดผม )
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:47:20 am »
0
โอ มหัสจรรย์ จริง ๆ คำตอบที่ พี่ โกมล นำมาให้อ่านนี้ คลายปมไปได้หลายปม เลยครับ

  เอ แต่ เรื่องการใช้ข้อความส่วนตัว ใช้อย่างไร ครับ ใช้ไม่เป็น ครับ แนะนำหน่อย

  :49: :s_hi: thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:50:34 am »
0
การใช้ข้อความส่วนตัว ของ บอร์ด ( หลังไมค์ )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=16995.msg56870#msg56870


    ชมตรงนี้เลยครับ วิธีใช้งาน น่าจะเป็นเสียงพระอาจารย์เองเลยครับ

   :49:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 01:08:50 am »
0
 thk56 st11 st12 st12

คุณ komol

ช่วงนี้พระอาจารย์ท่านต้องการพักผ่อน เลยมาลองถามดู ขอบคุณมาก



ท่านใดมีข้อมูลอื่น ๆ รบกวนช่วยโพสต่อด้วยครับ

จากที่อ่านมา ทบทวนกับอารมณ์ในสมาธิ พอจะตอบข้อ ๕ ได้เล็กน้อย

ท่านใดมีความเข้าใจ หรือมีผลการปฏิบัติ ที่ใกล้เคียงกับที่ผมสงสัย ก็สนทนากันได้นะครับ

ไม่ต้องเกรงว่าผิด ถูก

 thk56

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2015, 01:11:20 am โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:21:22 am »
0
การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน เรียกว่า ผัสสะ

  ตกบรรทัดนี้ไป บรรทัด หนึ่ง คะ

ผัสสะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จิตเข้าไปรับทราบ อาการที่จิตเข้าไปรับ ทราบ เรียกว่า วิญญาณ

 คำตอบข้อที่หนึ่ง ถามว่า รวม ๆ ว่า อะไรคือ ธาตุวิญญาณ

   มนายตนะธาตุ จึงเรียกว่า ธาตุวิญญาณ

   ตา กระทบ รูป
   หู กระทบ เสียง
   จมูก กระทบ กลิ่น
   ลิ้น กระทบ รส
   กาย กระทบ สัมผัส เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
   ใจ กระทบ อารมณ์

  คำถาม คือ
๑.   วิญญาณในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดเป็น ธาตุวิญญาณหรือไม่?
 
   คำตอบชัด ๆ ก็คือ เป็นวิญญาณ ต่อเมื่อ จิตรับผัสสะนั้น ถ้าจิตไม่รับผัสสะ ไม่จัดเป็นวิญญาณ
   แต่คำว่า ธาตุ + วิญญาณ มันยังต้องไปอีก ถึง มนายตนะธาตุ นั่นแหละ อีก สองระดับ

  1. การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน แล้วเกิดความรู้สึก สัมผัสชสเวทนา
  2. ผัสสะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จิตเข้าไปรับทราบ อาการที่จิตเข้าไปรับ ทราบ เรียกว่า วิญญาณ
  3. การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน  ผัสสะที่เกิดความรู้สึก และมีผลต่อใจขณะนั้น เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนา
  4. ในระหว่าง ที่ มโนสัมผัสชาเวทนาเกิด มีการกำหนดรู้ด้วยองค์แห่งธรรม มีอำนาจ สมาธิ เป็นต้น เรียกว่า มนายตนะธาตุ
 

     ถ้าเขียนก็อย่างนี้่

     ตา
           กระทบ  จิตรับทราบ   วิญญาณ   มโนสัมผัสสชาเวทนา  มนายตนะธาตุ วิภังคธาตุ   สุญธาตุ
     รูป             จิตไม่รับทราบ  0

 :88: :49:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:27:49 am »
0
๒.   การเข้าถึงมนธาตุ ใช้วิญญาณอันไหนเข้าถึง?

     ในระหว่าง ที่ มโนสัมผัสชาเวทนาเกิด มีการกำหนดรู้ด้วยองค์แห่งธรรม มีอำนาจ สมาธิ เป็นต้น เรียกว่า มนายตนะธาตุ
     เมื่อ มนายตนะธาตุ เกิด มีการจำแนกเป็น ธาตุใดธาตุหนึ่ง ด้วยองค์คุณแห่งสมาธิอันสหรคตด้วยปัญญา เรียกว่า วิภังคธาตุ

     จากเคยฟังในรายการนะคะ 
      ถ้ามีการกำหนด สหรคต ด้วยปัญญา หรือ มหรคต ด้วยสมาธิ แล้ว มนายตนะธาตุ จะปรากฏ เมื่อจิตตั้งมั่น สิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ วิญญาณ แต่ พระอาจารย์ใช้คำว่า อัตตา / จิตวิญญาณ ( นิมิต ) เห็นได้ด้วยอำนาจสมาธิ มีการเห็นสองแบบคือ เห็น แบบมีนิมิต และ เห็นแบบไม่มีนิมิต การเห็นต่างกันที่บารมี

     ดังนั้น เมื่อถึง มนายตนะธาตุ แล้ว พ้นจากคำว่า วิญญาณในขันธ์ 5 เพราะว่า มันประกอบด้วย วิญญาณ เวทนา สังขาร และ สัญญา 4 ประการ เรียกอีกอย่างว่า นามกาย การเห็นมนายตนะธาตุ คือ ระดับ โคตรภูบุคคล ส่วนการเห็น วิภังคธาตุ มีได้ใน พระโสดาบัน ขึ้นไป

     :88: :49:

   
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:34:16 am »
0
๓.   วิญญาณทั้ง ๖ เป็นวิญญาณอันเดียวกันหรือไม่ แยกกัน หรือเป็นวิญญาณอันเดียวกันที่ไปรู้ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ


   ตอบ ว่า ไม่ใช่ เป็นคนละอัน เกิด และดับ เป็นคนละอัน การเกิดการดับ เรียงต่อกันเรียกว่า สันตติ ความต่อเนื่องดังนั้น คนทั่วไปจึงมองเห็นว่า เป็นอันเดียวกัน หากจิตกำหนดเป็นสมาธิระดับ อุปจาระสมาธิขึ้นไปแล้ว การเห็นจะเห็นว่า เป็นคนละอัน ไม่เกี่ยวกัน ตรงที่วิญญาณ แต่เกี่ยวกัน ที่ อัตตา ( ลักษณะสัญญา ) ที่จำไว้ว่า เป็น สุข หรือ ทุกข์ หรือ อทุกขมสุข

   ดังนั้นเวลาผู้ปฏิบัติ จะปฏิบัติภาวนา จึงดับ อายตนะ ที่ละส่วน

   เริ่มตั้งแต่ ดับ รูป ด้วยการหลับตา
             ดับ เสียง ด้วยการเข้าสะกด
             ดับ กลิ่น ด้วยการเข้าเวทนา ลหุสัญญา สุขสัญญา
             ดับ รส ด้วยการเข้าเวทนา  ลหุสัญญา สุขสัญญา
             ดับ ผัสสะ ด้วยการเข้าเวทนา ลหุสัญญา สุขสัญญา
             ดับ อารมณ์ ด้วยการเข้า อุปจาระฌาน เป็นต้นไป ( ดับนิวรณ์ 8 ประการ )

              :49: :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:44:38 am »
0
๔.   เวลาที่เราคิด มโนวิญญาณทำงานอย่างไร ทำงานสัมพันธ์กับจิตหรือไม่ อย่างไร?

    เวลาที่เราคิด เกิด มโนวิญญาณ นั้น อาศัย สัญญา ( ความจำอารมณ์ ใน รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ) เมื่อใด ที่ใจ กระทบกับ อารมณ์ ( คือ สัญญา อย่างใดอย่างหนึ่ง ) สังขาร คือ การปรุงแต่ง ก็เกิดขึ้น เมื่อสังขาร การปรุงแต่ง ที่เกิดขึ้น ก็ส่งผลต่อใจ ว่า ทุกข์ สุข ไม่ทุกข์ไม่สุข แล้วจึงรวมเป็น สัมผัสสชาเวทนา ต่อไป ที่ มโนสัผัสสชาเวทนา

     ดังนั้น ผู้ภาวนาจึง มากำหนดสมาธิ เพื่อดัก มโนสัมผัสสชาเวทนา ด้วยการตั้งจิตให้เป็นสมาธิ เพื่อดับนิวรณ์ 5 เบื้องต้น เมื่อจิตสามารถดับนิวรณ์ 5 เบื้องต้น ก็จะสามารถเข้าสู่ความสงบของจิต ตามระดับตั้งแต่ อุปจาระสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ เมื่อจิตตั้งมั่นเพียงพอแล้ว กำหนดธาตุ คือ ขันธ์ 5 ( นามรูป ) แยกรูป รูปธาตุ  แยก นาม ( นามกาย ) จนกระทั่งเห็นความจริงปรากฏ ว่า มีอัตตา ( ตัวตน ) การเข้าไปกำหนด อัตตา ( เรียกว่า วิปัสสนา หรือ วิภังคธาตุ )

     ดังนั้น มโนวิญญาณ ก็คือ ระดับที่สองเท่านั้นเอง ไม่ใช่ตัวกำหนด เพราะเราไม่สามารถกำหนดได้ กำหนดไม่ทัน ถ้ากำหนดอย่างนี้ เรียกว่า กำหนดไม่ทัน กำหนดทันต้องหลัง มโนสัมผัสผัสชาเวทนาไปแล้ว กำหนดอย่างนั้น คือ ละกิเลส อย่างสิ้นเชิง

     พระอาจารย์ มักจะใช้คำว่า เราจะกำหนด หรือ ไม่กำหนด นามรูป ก็คง เป็นอยู่อย่างนั้น

     :49: :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:46:04 am »
0
๕.   ความเข้าใจ ธาตุวิญญาณ ส่งเสริมต่อ สมาธิ หรือ วิปัสสนา หรือทั้ง ๒ อย่าง หรือไม่เกี่ยวกับทั้ง ๒ อย่าง ?

   ที่จริงก็อยากตอบเลย แต่ ต้องไปทำงานแล้วนะคะ แต่งตัว อาบน้ำก่อน 7.45 น. แล้ว เดี๋ยวเดินไปไม่ทันทำงาน ดีนะหอพัก ติดที่ทำงาน เพียง 150 เมตร 5 5 5 5

  :88: :49: :58:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:49:13 am »
0
Oh my friend
   you best listener

  ฉันยังตอบไม่ได้ เลย .....

   st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 08:24:57 am »
0

st12 st12 st12

ท่าน KOBYAMKALA และ ท่าน KOMOL
เป็นประโยชน์อย่างสูงมากครับ




ผมมีกระทู้หนึ่งที่ท่าน รพลสันต์ตอบท่านสุนีย์ไว้ ประมาณถึงความหมายหรือความเป็นไปในบัญญัติของ มนธาตุ ดังนี้ว่า



อ้างถึง
sunee:

  ได้ยินในรายการ บ่อยมากคะ แต่ไม่ทราบ หมายถึง อะไร พอจะอธิบายได้หรือไม่ คะ ว่าหมายถึงอะไร



อ้างถึง
raponsan:

 ans1 ans1 ans1

มนะ ใจ
_________________________________________________

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


 ans1 ans1 ans1

คำว่า ใจ คือ จิต มนะ มานัส หทัย บัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ ที่เกิดแต่ผัสสะเป็นต้นนั้น นี้เรียกว่า ใจ

__________________________________________________

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=29&A=0&Z=486


 ans1 ans1 ans1

มโนธาตุ เป็นไฉน
       จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับ
           ของจักขุวิญญาณธาตุจิต ฯลฯ
           ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ
           ของฆานวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ
           ของชิวหาวิญญาณธาตุ
       จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิด ดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า มโนธาตุ
___________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=35&A=2323&w=_%C1%E2%B9%B8%D2%B5%D8_


 ans1 ans1 ans1

ธาตุ 6  (สิ่งที่ทรงสภาวะของตนอยู่เอง คือมีอยู่โดยธรรมดา เป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีอัตตา มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวะ ) ได้แก่
       1. ปฐวีธาตุ (สภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่, สภาพอันเป็นหลักที่ตั้งที่อาศัยแห่งสหชาตรูป เรียกสามัญว่า ธาตุแข้นแข็ง หรือ ธาตุดิน)
       2. อาโปธาตุ (สภาวะที่เอิบอาบหรือดูดซึม หรือซ่านไป ขยายขนาด ผนึก พูนเข้าด้วยกัน เรียกสามัญว่า ธาตุเหลว หรือ ธาตุน้ำ)
       3. เตโชธาตุ (สภาวะที่ทำให้ร้อน เรียกสามัญว่า ธาตุไฟ)
       4. วาโยธาตุ (สภาวะที่ทำให้สั่นไหวเคลื่อนที่ และค้ำจุน เรียกสามัญว่า ธาตุลม)
       5. อากาสธาตุ (สภาวะที่ว่าง โปร่งไป เป็นช่อง)
       6. วิญญาณธาตุ (สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์, ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสต~ ฆาน~ ชิวหา~ กาย~ มโนวิญญาณธาตุ)
_____________________________________
อ้างอิง :- ม.อุ. 14/169/125 ; อภิ.วิ. 35/114/101.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


 ans1 ans1 ans1

ธาตุกัมมัฏฐาน 6 (กรรมฐานคือธาตุ, กรรมฐานที่พิจารณาธาตุเป็นอารมณ์ กำหนดพิจารณากายนี้แยกเป็นส่วนๆ ให้เป็นว่าเป็นเพียงธาตุสี่แต่ละอย่างไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา)
       1. ปฐวีธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะแข้นแข็ง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะแข้นแข็งเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
       2. อาโปธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะเอิบอาบ ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะเอิบอาบเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้.
       3. เตโชธาตุ คือ ธาตุที่มีลักษณะร้อน ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ไฟที่ยังกายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย ไฟที่ยังอาหารให้ย่อย หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะร้อนเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
       4. วาโยธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะพัดผันเคร่งตึง ภายในตัวก็มี ภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะที่เป็นภายในสำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมซ่านไปตามตัว ลมหายใจ หรือสิ่งอื่นใดก็ตามในตัว ที่มีลักษณะพัดผันไปเป็นต้น อย่างเดียวกันนี้
       5. อากาสธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นช่องว่าง ภายในตัวก็มีภายนอกตัวก็มี กล่าวเฉพาะภายใน สำหรับกำหนด พอให้สำเร็จประโยชน์ เป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องทวารหนัก ทวารเบา ช่องแห่งอวัยวะทั้งหลาย หรือที่อื่นใดที่มีลักษณะเป็นช่องว่างอย่างเดียวกันนี้
       6. วิญญาณธาตุ  คือ ธาตุที่มีลักษณะเป็นเครื่องรู้แจ้งอารมณ์ กล่าวคือ วิญญาณธาตุ 6.

       ตัวอย่างธาตุที่แสดงข้างต้นนี้ ในปฐวีธาตุมี 19 อย่าง ในอาโปธาตุมี 12 อย่าง เติมมัตถลุงค์ คือมันสมอง เข้าเป็นข้อสุดท้ายในปฐวีธาตุ รวมเป็น 32 เรียกว่า อาการ 32 หรือ ทวัตติงสาการ.
       ธาตุกัมมัฏฐานนี้ เรียกอย่างอื่นว่า ธาตุมนสิการ (การพิจารณาธาตุ) บ้าง จตุธาตุววัฏฐาน (การกำหนดธาตุสี่) บ้าง เมื่อพิจารณากำหนดธาตุ 4 ด้วยสติสัมปชัญญะ มองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไปในกาย ตระหนักว่ากายนี้ก็สักว่ากาย มิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ดังนี้ จัดเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานส่วนหนึ่ง (หมวดที่ 5 คือ ธาตุมนสิการบรรพ).

______________________________________________________________

อ้างอิง :-   ที.ม. 10/278/329 ; ม.มู. 12/342/350 ; ม.อุ. 14/684-687/437 ; ม.อุ. 14/684-689/437-440 ; วิสุทธิ. 2/161.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

       ans1 ans1 ans1
   
       "มนธาตุ" คำนี้เท่าที่ค้นในพระไตรปิฎกไม่มีครับ แต่พอแยกศัพท์ออกมา
       มน หมายถึง ใจ คำว่า ใจ ในพระไตรปิฎกมีศัพท์หลายคำที่ใช้แทนกันได้
       ขอยกคำว่า "วิญญาณ" มาใช้แทน คำว่า "มนะ"
       วิญญาณธาตุ คือ สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์, ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสต~ ฆาน~ ชิวหา~ กาย~ มโนวิญญาณธาตุ

      ans1 ans1 ans1

      ขอยกเอา "ฉวิโสธนสูตร" บางส่วน มาอธิบายคำว่า วิญญาณธาตุ แทนคำว่า "มนธาตุ" ดังนี้
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาว่า สาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า
       ดูกรท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ
ตรัสไว้ชอบ นี้มี ๖ ประการ ๖ ประการเป็นไฉน คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุเตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ
       ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลธาตุ ๖ ประการอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบแล้ว ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้

        :25: :25: :25:

       [๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้วทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับสิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า
       ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตามิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยปฐวีธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยปฐวีธาตุได้
       ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยเตโชธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยเตโชธาตุได้
       ข้าพเจ้าครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา ... เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละและสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวาโยธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยวาโยธาตุได้
       ข้าพเจ้าครองอากาสธาตุโดยความเป็นอนัตตา...เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยอากาสธาตุและอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยอากาสธาตุได้
      ข้าพเจ้าครองวิญญาณธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นอาศัยวิญญาณธาตุ และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นอาศัยวิญญาณธาตุได้
       ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ ฯลฯ.....

________________________________________________________________

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=2445&Z=2669
________________________________________________________________

      ans1 ans1 ans1
      ในกรรมฐานมัชฌิมาฯ เราอาจจะได้ยินคำว่า
      มนธาตุ มนายตนะธาตุ มหาภูตรูป และพุทธธาตุ
      บอกตรงๆว่า ผมยังอธิบายไม่ได้ รู้แต่ว่า หากได้พุทธธาตุแล้ว ต้องเป็นอริยบุคคล
     :25: :25: :25:





ควรเข้าใจว่า  จิตคือ ธรรมชาติ  ชนิดหนึ่ง

ธรรมชาตินี้  บางครั้งก็เรียกว่า  "สภาวะ"

เป็นสภาวะเพราะ  ไม่ใช่สัตว์  ไม่ใช่บุคคล  ไม่มีตัวตน  ไม่มีกลิ่น   ไม่มีสี   ไม่มีรส  ฯลฯ

จิตมีชื่อต่างๆที่ใช้เรียกขานกันถึง ๑๐ ชื่อ ดังแสดงว่า
                   
ยํ  จิตฺตํ  มโน  หทยํ  มานสํ  ปณฺฑรํ  มนายตนํ  มนินฺทฺริยํ  วิญฺญาณํ  วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา  มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ
                   
อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายไว้ว่า
           
ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า  "จิต"
                   
ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า   "มโน"
                   
จิตที่รวบรวมอารมณ์ไว้ภายในนั่นแหละชื่อว่า    "หทัย"
                   
ธรรมชาติฉันทะ  คือความพอใจที่มีอยู่ในใจนั้นชื่อว่า      "มนัส"
                   
จิตเป็นธรรมชาตฺที่ผ่องใส จึงชื่อว่า     "ปัณฑระ"
                   
มนะที่เป็นอายตนะ คือเครื่องต่อ จึงชื่อว่า     "มนายตนะ"
                   
มนะที่เป็นอินทรีย์  คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า   "มนินทรีย์"
               
ธรรมชาติใดที่รู้อารมณ์  ธรรมชาตินั้นชื่อว่า   "วิญญาณ"
                   
วิญญาณที่เป็นขันธ์ จึงชื่อว่า      "วิญญาณขันธ์"

มนะที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่รู้อารมณ์ จึงชื่อว่า    "มโนวิญญาณธาตุ"

ทั้งหมดนี้คือจิตทั้งหมดที่ทำหน้าที่ที่มีสภาวะต่างๆกันไป

.........................


เนื้อความที่รับรอง  จากพระไตรปิฏก  (โปรดสังเกตที่หัวข้อ)

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

[๙๒] วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
            จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน(มโน นี้คาดว่าพิมพ์ผิด ซึ่งน่าจะเป็น มนะ) มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์  มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๓] มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
            จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน(มโน นี้คาดว่าพิมพ์ผิด ซึ่งน่าจะเป็น มนะ) มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
             
[๙๔] มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
            จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน(มโน นี้คาดว่าพิมพ์ผิด ซึ่งน่าจะเป็น มนะ) มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ  วิญญาณขันธ์   มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า มนินทรีย์ ๑ มีในสมัยนั้น.

            [๙๕] มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
            จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มโน(มโน นี้คาดว่าพิมพ์ผิด ซึ่งน่าจะเป็น มนะ) มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า  มโนวิญญาณธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.

             [๙๖] ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้นเป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธัมมายตนะ ๑ มีในสมัยนั้น.
 
            [๙๗] ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
             เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ นี้ชื่อว่า ธรรมธาตุ ๑ มีในสมัยนั้น.

สภาพหรือลักษณะของจิต

จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ

สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ

จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล

จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป

จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย

และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น

ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการ คือ

วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ

ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ

สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ

นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด





ส่วนเรื่องจิตกับกรรมฐานดูที่นี่ครับ

https://books.google.co.th/books?id=XVUXAwAAQBAJ&pg=PT516&lpg=PT516&dq=%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95+%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99+%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA+%E0%B8%AB%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2+%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A3%E0%B8%B0+%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B0&source=bl&ots=tpsYx36WAz&sig=6rY_SL1y74VazXgx8PCUpeFQ_ho&hl=th&sa=X#v=onepage&q=%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%20%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%99%20%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA%20%E0%B8%AB%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2%20%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%A3%E0%B8%B0%20%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B0&f=true
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2015, 09:07:27 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 08:46:29 am »
0
6. วิญญาณธาตุ (สภาวะที่รู้แจ้งอารมณ์, ธาตุรู้ ได้แก่ วิญญาณธาตุ 6 คือ จักขุวิญญาณธาตุ โสต~ ฆาน~ ชิวหา~ กาย~ มโนวิญญาณธาตุ)
_____________________________________
อ้างอิง :- ม.อุ. 14/169/125 ; อภิ.วิ. 35/114/101.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)





  1. การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน แล้วเกิดความรู้สึก สัมผัสชสเวทนา
  2. ผัสสะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จิตเข้าไปรับทราบ อาการที่จิตเข้าไปรับ ทราบ เรียกว่า วิญญาณ
  3. การกระทบกันของ อายตนะภายใน และ ภายนอก ในระหว่างที่กระทบกัน  ผัสสะที่เกิดความรู้สึก และมีผลต่อใจขณะนั้น เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนา
  4. ในระหว่าง ที่ มโนสัมผัสชาเวทนาเกิด มีการกำหนดรู้ด้วยองค์แห่งธรรม มีอำนาจ สมาธิ เป็นต้น เรียกว่า มนายตนะธาตุ
  5.เมื่อ มนายตนะธาตุ เกิด มีการจำแนกเป็น ธาตุใดธาตุหนึ่ง ด้วยองค์คุณแห่งสมาธิอันสหรคตด้วยปัญญา เรียกว่า วิภังคธาตุ
  6.ในขณะแห่งจิต เข้าถึง วิภังคธาตุ สามารถกำหนด ธาตุในวิภังคธาตุได้ เห็นตามความเป็นจริงของธาตุนั้น ทั้งภายใน และภายนอก เรียกว่า การเข้าถึง ธรรมธาตุ
  7.เมื่อจิตแห่งพระอริยะ เข้าถึงธรรมธาตุ ด้วยอำนาจ ผลสมาบัติ ขณะนั้น เรียกว่า สุญญธาตุ
 
(  มาเสริมส่วนที่หายไปนะครับ )
 
  8.เมื่อพระอริยะบุคคลเข้า นิโรธสมาบัติ ชื่อว่า เข้า ธรรมธาตุ ( นิโรธ เป็น ธรรมสภาวะที่ประหารกิเลส เป็นธรรที่ไม่คืนกลับมาอีก มีตั้งแต่พระอนาคามี )

  9.เมื่อพระอรหันต์ ดับสัญญา และ เวทนา เข้านิโรธสมาบัติ ชื่อว่า เข้า สู่ นิพพานธาตุ พ้นจากความเป็น และ ตาย ในสภาวะนี้เหมือนตาย แต่ไม่ตาย เหมือนเป็นอยู่ แต่ เหมือนตาย

   ( มีตัวอย่าง พระเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ  ชาวบ้านเข้าใจว่าท่านตาย จึงสุมฟืนมากมาย เพื่อเผาร่างท่าน ทุกคนกลับบ้านหลังจากไฟลุกโชน อย่างแรงแล้ว ตอนเช้า พระออกจากเวทยิตนิโรธสมาบัติ เข้าไปบิณฑบาต ยังความประหลาดใจ แก่ชาวบ้านว่า พระตายแล้ว เข้ามาบิณฑบาตรได้อย่างไร )

  10. เมื่อพระอรหันต์ ดับขันธ์ คือ ไม่คงรูปกายต่อไป เรียกว่า เข้าสู่ นิพพาน
     สังเกต ว่าไม่มีคำว่า ธาตุ เพราะ นิพพาน ไม่มีธาตุ 5



    ที่มาจาก ธัมมะวังโส ภิกขุ



  อ่านต่อที่นี่ นะครับ
  ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 25, 2015, 08:50:58 am โดย KIDSADA »
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 09:06:49 am »
0
่คือ เรื่องของผัสสะ ควรอ่านตรงนี้ด้วย .....
หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า พระอาจารย์สนธยา ท่านอธิบายไม่มีข้อความในพระไตรปิฏก แต่ผมติดตามกระทู้ท่านมาเสมอผู้หนึ่ง ไม่มีครั้งใดที่ท่านอธิบายนอกพระไตรปิฏก ถึงจะสรุปไว้ 10 ข้ออย่างที่ผ่านมานั้น แต่มีข้อความพระไตรปิฏก กำกับอยู่เสมอครับ


ข้อความที่พระอาจารย์ ยกเรื่อง ผัสสะ ทั้งหมด ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.msg29287#msg29287

 like1 like1 like1
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 09:16:13 am »
0
ประโยคเด็ดเรื่อง วิญญาณ ( นิพพาน ) อยู่ตรงนี้ครับ

ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7878.msg30532#msg30532

ดังนั้น คิดว่า คุณ ดนัย ตั้งคำถาม ที่มีประโยชน์ นะครับ ผมเองก็เลยได้ทบทวนไปด้วย ปกติไม่ได้ทบทวนอย่างนี้มานานแล้ว เนื่องด้วย ในบอร์ดนี้ไม่มีใคร ตั้งคำถามแบบเด็ด ๆ จริง ๆ สักครั้ง นะครับ และพระอาจารย์ ท่านไม่ค่อยได้โพสต์ แบบเมื่อก่อนด้วย

  ถือว่า เป็นการอุ่นเครื่อง ก่อนนะครับ หลายท่านที่อ่าน และร่วมวิจารณ์ ผมว่าธรรมขณะนี้ น่าจะเพิ่มขึ้นกันมากแล้วนะครับ คิดว่าอย่างนั้น

   :49: like1 st12 st12
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 09:35:47 am »
0
วิญญาณ ไม่น่าจะเป็น นิพพาน
 วิญญาณ น่าจะหมายถึง การรับรู้ ของจิต เท่านั้น

สุญญตา ที่ท่านยังไม่รู้จัก. ( บรรยายโดยหลวงพ่อพุทธทาส )
https://youtu.be/xod-qzA5XVw

ขอบคุณ Buddhadharm ผู้โพสต์

 
บันทึกการเข้า

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 10:06:56 am »
0
หนู kobyamkala นี่ ยอดเยี่ยม สามารถแจง เป็นข้อได้ ลุงอ่านก็ยังไม่ค่อยเข้าใจคำถามเลย แต่อ่านจากคำตอบ ที่แสดงแล้ว ก็รู้สึกว่า จะเข้าใจเพิ่มเติม ถ้าให้ดี ลองไปดูผังในห้องศิษยสายตรง ประกอบด้วยก็ดีนะ

 ตอนแรกว่าจะนำภาพมาโพสต์ตรงนี้ แต่กลัวว่าห้องนั้น เป็นห้องสงวน นำออกมาเดี๋ยวถูกตัดสิทธิ์

 ทำไม ต้องเข้าใจ รูปขันธ์ และ ภาวนาใ้ห้ถึงรูปขันธ์
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18057.0
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 05:57:15 pm »
0

     ขออนุโมทนาสาธุ ในธรรมของทุกท่าน ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:48:36 pm »
0
 st11 st12 st12

ขออนุโมทนา สาธุ กับทุก ๆ ท่านที่เข้ามาตอบและแสดงความเห็น โดยเฉพาะคุณกบ ที่จดจำธรรมไว้ได้มาก และถ่ายทอดได้ดีมาก

หวังว่าทุกท่านใคร่ครวญในธรรม ด้วยสติ ย่อมได้ปัญญากันทุกท่านนะครับ

ผมเองก็จะนำไปศึกษา ต่อยอดการปฏิบัติ เพื่อการสิ้นภพ สิ้นชาติ เช่นกัน

ช่วงนี้อาจรบกวน สหธรรมทุกท่านมากหน่อย เนื่องจากพอศึกษา แล้วปฏิบัติ บางครั้งก็ติดขัด

ท่านใดสะดวกก็ช่วยมาตอบกระทู้ อื่น ๆ ด้วยนะครับ



"สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ"




 thk56 thk56 thk56


บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 04:56:55 am »
0
 :58: :88: :49: st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:00:45 am »
0
อนุโมทนา สาธุ เป็นคำถามที่มีแก่นสาร ในการอ่าน และการภาวนา จริง ๆ คนที่ถามคำถามอย่างนี้ ไม่มี มานานแล้ว นะปกติเข้ามา Login เท่านั้น แหละคะ พร้อม พวกลูกศิษย์ แค่มา Login และอ่านเนื้อหา เนื่องด้วยขอ้ความธรรม ช่วง ๆ หลัง ๆ ไม่มีเรื่องเกี่ยวกับ กรรมฐาน มัขฌิมา แบบลำดับ หรือไม่มีใคร กล้าถาม พระอาจารย์ในแนวทาง ปฏิบัติ  นาน มาก

   นับว่า คุณดนัย มาถามถูกช่วง จริง ๆ ขอบคุณมากคะ

   การวิจารณ์ ธรรม ที่ติดขัด ได้อ่านแล้ว รู้ว่า แต่ละท่าน ถึงแม้ไม่ค่อยโพสต์ ก็มีธรรมก้าวหน้า โดยเฉพาะที่สังเกตดูคนที่ติดตามฟังรายการ นั้น จะรู้เรื่องมากกว่า คนที่ไม่ได้ฟัง คะ

     st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:01:40 am »
0
สรุปแล้ว คุณ ดนัย พอใจในคำตอบหรือยัง คะ

  :58: st12
บันทึกการเข้า

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:03:02 am »
0
 like1 like1 like1

  อันที่จริง ส่วนตัว ก็ชอบอ่าน ธรรมวิจารณ์ แบบนี้
ช่วงหลังพระอาจารย์ ท่านโพสต์ แล้วถามยาก มากคะ คือไม่มีช่องว่างให้ถามเลย ก็ไม่รู้จะถามอะไร คะ

 แต่ชอบอ่าน ธรรมวิจารณ์ แบบ สายกรรมฐาน อย่างนี้ คะ

   st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:05:35 am »
0
หนู kobyamkala นี่ ยอดเยี่ยม สามารถแจง เป็นข้อได้ ลุงอ่านก็ยังไม่ค่อยเข้าใจคำถามเลย แต่อ่านจากคำตอบ ที่แสดงแล้ว ก็รู้สึกว่า จะเข้าใจเพิ่มเติม ถ้าให้ดี ลองไปดูผังในห้องศิษยสายตรง ประกอบด้วยก็ดีนะ

 ตอนแรกว่าจะนำภาพมาโพสต์ตรงนี้ แต่กลัวว่าห้องนั้น เป็นห้องสงวน นำออกมาเดี๋ยวถูกตัดสิทธิ์

 ทำไม ต้องเข้าใจ รูปขันธ์ และ ภาวนาใ้ห้ถึงรูปขันธ์
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=18057.0


  เป็นที่น่าเสียดาย นะครับ ลุง kittisak นำลิงก์มาแปะ แต่ข้อความส่วนนี้ไม่สามารถ นำมาเผยแพร่ เป็นสาธารณะ ได้ นะครับ

    แต่หากเราวิจารณ์กันแล้ว อิงขอ้ความ กันจะได้ไหม ? ผมก็คิดอยู่เหมือนกัน เพราะไม่อยากให้ถูกตัดสิทธิ์ การเข้าห้องนี้ เพราะห้องนี้ ผมว่า สำคัญกว่าห้องอื่น ๆ มาก ๆ เลยครับ

    เพราะป็นห้อง แนวทางกรรมฐาน แท้ ๆ แล้ว นั่นเอง

    st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 08:52:55 pm »
0
ขอบคุณมาก ครับ ทั้งคำถาม และ คำตอบ ถึงแม้จะเข้าใจได้ยังไม่มาก แต่ อย่างน้อย ก็รู้ว่า แนวคิดเพื่อ การไม่กลับมาเกิดนี้ ยังมีอยู่ในกลุ่มชนชาวธรรม ครับ

   thk56 st12
บันทึกการเข้า

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:33:30 pm »
0
ขอบคุณมาก ครับ ทั้งคำถาม และ คำตอบ ถึงแม้จะเข้าใจได้ยังไม่มาก แต่ อย่างน้อย ก็รู้ว่า แนวคิดเพื่อ การไม่กลับมาเกิดนี้ ยังมีอยู่ในกลุ่มชนชาวธรรม ครับ

 st11 st12 st12





     สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก

         อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ

               เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ




    พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

           เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

     เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

           เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

     เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

           เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน






ที่มาจาก: http://www.fungdham.com/pray/pray04.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 26, 2015, 09:37:23 pm โดย ดนัย »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2015, 07:29:55 pm »
0
ต้องขอบคุณ ท่านผู้ถามด้วย ถามโดนใจมาก

  :58: st11 st12
บันทึกการเข้า

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2015, 12:49:18 pm »
0
ไม่เห็นคุณดนัย โพสต์แล้ว สงสัยจะหายไปอีกคน แล้วนะ

 คิดถึงนะครับ ....สรุปแล้วเรื่องวิญญาณ นี้ ตรงกับในบอร์ดศิษย์สายตรงใช่หรือไม่ ครับ ?

  :49:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา