ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - arlogo
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 26
41  กรรมฐาน มัชฌิมา / บันทึกความทรงจำ Memorytime / ลักษณะ ของดอกบัวที่เห็น เมื่อ: มีนาคม 24, 2016, 08:15:55 am
มีคนหลายถามเพราะอยากรู้ลักษณะดอกบัวที่ปรากฏ เห็นนั้นเป็นแบบไหน ?

 

ตามภาพนี้ใกล้เคียง

    ลักษณะ ยึดตามภาพที่แสดง
      1. ดอบบัวมีขนาดใหญ่ ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 - 15 นิ้ว
      2. มีชั้นกลีบซ้อนกัน 8 ชั้น
      3. ปลายกลีบงุ้มเป็นลักษณะ วงกลม คือมองด้วยสายตา ถ้ากลีบบัวหุบหมดก็ จะเป็นทรงกลม
      4. สีดอกบัว เปลี่ยนสี น่าจะประมาณ 5 สีเปลี่ยนสลับไปมา
      5. ไม่มีก้านบัว
      6. ลักษณะปรากฏขึ้นหลังจาก ปฏิจสมุปบาทเข้ารอบที่ 2
      7. ปรากฏอยู่ตรงหน้า ตรงส่วนคอห่างประมาณ 1 ศอกกว่า ๆ
      8. มันมีคำตอบบางอย่างให้ ในระหว่างที่เห็น โดยเฉพาะเรื่องเหตุปัจจัย


 
 
42  กรรมฐาน มัชฌิมา / บันทึกความทรงจำ Memorytime / พยายามไม่ออดอ้อนเวลาปวด แต่กลายเป็นเรื่องที่ถูกหมั่นไส้ เคสที่ 1 เมื่อ: มีนาคม 24, 2016, 08:02:04 am
หลายท่านพยายามอยากให้พระอาจารย์วิจารณ์ บุคคลากร ใน รพ. ในขณะเข้ารับการรักษา แต่เอาเป็นว่าไม่วิจารณ์ จะดีกว่า แต่จะเล่าเคสสักเคส นะ ที่เขาหมั่นไส้ กันมากอีกเคสหนึ่ง ตั้งชื่อเคสว่า

"พยายามไม่ออดอ้อนเวลาปวด แต่กลายเป็นเรื่องที่ถูกหมั่นไส้" เคสที่ 1

  นานาจิตตัง แต่ละคนที่ยังมีกิเลส เมื่อประกอบหน้าที่ ก็มีความคิดต่างกันไป อยู่ รพ. มาเข้ากับรักษาเจอพบบุคคลากร ใน รพ. ตอบได้เลยว่า ความนับถือพระกันนั้นมีน้อยมาก

      สังเกต จากการต้อนรับ การพูดคุย และการได้รับบริการ
   
        การต้ัอนรับ
           ดูได้ทันที ไม่มีการยกมือไหว้พระสงฆ์ นี่แสดงถึงความนับถือเบื้องต้น หลายคนอาจจะคิดว่าไม่สำคัญแค่มารยาท แต่ขอบอกท่านทั้งหลายหากเป็นชาวพุทธ นับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้ว เรื่องนี้จะไม่มีขาด 5 วัน 5 คืน ฉันเห็นมีที่ใช้ได้เลย คือ
       1. ผู้ซักประวัติหลังทำบัตรคนแรก เอื้อเฟื้อทันที และให้คำแนะนำทันทีด้วย
       2. คุณยาย จิตอาสา ตรงเครื่องวัดความดัน อันนี้ช่วยเหลือเรื่องรถนอน
       3. คุณศรี ( มาช่วยเพราะติดต่อไป อันนี้เพราะความจำเป็น )
       4. คุณหมอประพงษ์ ไหว้ก่อนซักประวัติ การพูดจากับพระสงฆ์มีความระวัง และชัดเจนพูดอย่างใจเย็น
       5. คุณหมอฝึกหัด ไหว้ตามคุณหมออาจารย์ ตามมารยาท
       
       นอกนั้นไม่มีใครไหว้ พระสงฆ์ เลย ตั้งแต่อยู่มาหลายวัน จนออกแม้กระทั่งกลับ นั่นแสดงให้เห็นว่า บุคคลากรไม่ได้นับถือพระสงฆ์ ทางธรรมเลยคิดแต่ว่า พระสงฆ์ก็เหมือนคนป่วยทั่ว ๆ ไป ที่เขาจะต้องช่วย ไม่ได้คิดถึงบุญกุศล ว่ารักษาพระสงฆ์ที่อาพาธ ด้วยความรู้สึกที่เป็นบุญจะได้บุญมาก

         การพูดจา
            ดูได้ทันที จากความเป็นคนเจ้าอารมณ์ เก็บกด อาจจะเป็นเพราะว่าสะสม การเห็นคนเจ็บ คนตาย จนเป็นความเคยชิน ไม่ใช่เห็นแบบธรรมะ ดังนั้นบางครั้งการพูดจา จึงห้วนเพราะว่า เคยแต่พูดดุคนไข้
   
            พยาบาล มีการใช้วาจา ปรามาส ด้วย ผรุสวาจาทุกวัน มีการพูดแดกดัน แบบต่าง ๆ ทุกวันที่เข้ารักษา ยิ่งอยู่ ก็ยิ่งเป็นบาปแก่เขา คนเหล่านี้ไม่ได้บุญ มีแต่ได้รับโทษ
         
           พยาบาล ไม่สามารถแยกแยะ พระปฏิบัติด้วยการคลุกคลีหลาย วันก็เห็นใจ เพราะพระที่เข้ารักษาส่วนใหญ่ ก็จะเป็นประเภทหลวงตาหัวดื้อ พระต่างด้าวพูดไม่รู้เรื่อง เป็นต้น นาน ๆ มากจะมีพระสายปฏิบัติ มาสักองค์ ดังนั้นจึงจำแนกไม่ได้ ว่า พระดี หรือ ไม่ดี ถึงแม้ ทาง รพ.จะมีการส่งบุคคลากรเข้ารับการฝึกธรรมะ ตามวัด แต่เป็นไปตามความสมัครใจ ซึ่งมีจำนวนผู้เข้าฝึกไม่กี่ท่านหรอก แม้หลักสูตรพยาบาล จะมีส่งเข้ารับการฝึกฝนทางด้านจิตใจ 3 วัน 7 วัน แต่ พระธรรมที่เข้าในจิตแก่ผู้เข้าฝึก ก็ไม่ได้ก้าวหน้าอะไร สังเกตจากน้องสาวที่เป็นพยาบาล ตนเองก็เช่นกัน ไม่เคยยกมือไหว้ หลวงพี่เวลามาเยี่ยมมาถึงก็จะยืนทางใกล้ศรีษะ และก็พูดจาแดกดันเช่นกัน แต่ก็ยังมีระวัง เพราะความเป็นพี่น้อง ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงผู้ที่ไม่ใช่ญาติเลย

            ในสถานที่เข้ารับการรักษา นั้น มีพยาบาลเพียง 3 ท่านเท่านั้นที่ผ่านในสายตา แต่มันเป็นจำนวนน้อยไป เพราะกะหนึ่งเวลาเขาจับเวร ชุด ละ 12 คน  ดังนั้น 3 คนใน 36 คนจึงเป็นตัวเลขที่น้อยมาก

        การให้บริการ
       
            โดยหลักการ ๆ ปฏิบัติกับพระสงฆ์ ต้องให้ความเคารพ ไม่ใช่แค่เป็นพุทธ ในทะเบียนเท่านั้น ครั้งแรกที่พระอาจารย์ จะเริ่มเจาะน้ำเกลือ ก็โดนใส่อารมณ์ โดยพยาบาลท่านแรก ทันที เรื่องเบา ๆ ง่าย ๆ สักสองเหตุการณ์
       
          เหตุการณ์ที่ 1 เมื่อถึงเตียง
   
          พยาบาล พูดว่า เดี๋ยวไปเก็บปัสสาวะด้วย นะ จะเจาะให้น้ำเกลือแล้ว
          พระ พูดว่า อย่างนั้นปวดอยู่พอดีไปเก็บปัสสาวะก่อนเลยนะ เดี่ยวค่อยเจาะแป๊ปหนึ่ง เพราะว่าเจาะแล้ว มีน้ำเกลือเข้าห้องน้ำลำบาก
          พยาบาล โกรธหน้าดำไปพักหนึ่ง ( เรื่องมากจังพระองค์นี้ ) พูดว่า ฉันไม่ได้มีเวลามากนะจะได้มายืนรอ ( อันที่จริงหลังจากเจาะก็เห็นไปนั่งพูดคุย นั่งเล่นเกือบ 30 นาที )

          เหตุการณ์ที่ 2 เมื่อฉันอาหารเสร็จ

          หมอเร่ิมอนุญาต ฉันอาหาร พอฉันเสร็จ อาจารย์ก็จะลุกนั่งเก้าอี้ข้างเตียง กับเดินเล็กน้อย พระรูปอื่น ๆ ฉันเสร้จนอนหมด เหลือแต่อาจารย์ เดินอยู่ข้างเตียง จงกรมข้างเตียง ( เดินแบบสบาย ๆ ) แต่พยาบาลมองว่า วุ่นวาย ทำตัวไม่เหมือนพระรูปอื่น เวลาฉันน้ำเดินไปฉันน้ำอุ่นน้ำร้อน ไม่ฉันน้ำในเหยือกที่เตรียมไว้ให้ ก็มีเสียงบ่นว่า เป็นพระเรื่องมาก

         ( พยาบาล ไม่ได้ชีวิตพระสงฆ์ประจำวัน ดังนั้นการกระทำอย่างนี้ที่ รพ. เรียกว่า พระเรื่องมาก
         1. นั่งสมาธิ เมื่อร่างกายพอนั่งได้ ก็นั่งกำหนดจิตสัก 30 นาที
         2. ฉันเสร็จลุกเดินสักประมาณ 20 นาที   )

         แต่พิจารณาภาพรวม ก็ยังได้รับการรักษา มาตรฐาน ถึงแม้ไม่ได้ดี ตามมาตรฐานที่คาดไว้ แต่ก็ยังไม่หลุดจากมาตรฐาน

         
 
43  กรรมฐาน มัชฌิมา / บันทึกความทรงจำ Memorytime / เหตุปัจจัย และ มาตรฐาน การรักษาไม่เหมือนกัน อย่าคาดหวังอะไรมาก เมื่อ: มีนาคม 24, 2016, 07:07:53 am
 ask1

มีหลายท่าน สอบถามกันมาว่า
  1. ทำไม พอจ. ไม่รักษาให้หายก่อนค่อยออกจาก รพ.

  2. ทำไม ไม่ฉันอาหารปกติ

  3. ทำไม ไม่ไป รพ. เอกชน

  อื่น ๆ


 ans1
    1. ทำไม พอจ. ไม่รักษาให้หายก่อนค่อยออกจาก รพ.
     
     ออกตามความเห็นของคุณหมอ วันสุดท้ายคุณหมอ ไม่คุยด้วย อีกอย่างพวกพยาบาล เขาเห็นว่าเดินไปเดินมาได้แล้ว ก็บอกว่า ให้ออกได้ประมาณนั้น เรื่องของ จนท. ต่าง ๆ ใน รพ. นั้น จะไม่วิจารณ์ เพราะว่า ไม่มีทั้งคนที่ดี และ คนที่ไม่ดี ถ้าเขียนวิจารณ์เรื่องนี้ เป็นชุดเลยตั้งแต่ เริ่มทำบัตร เลยละ
     
     เอาเป็นว่า การรักษาที่ รพ. ก็เป็นมาตรฐานแบบฟรี อยู่แล้ว ดังนั้น รักษา ฟรี อย่าไปคาดการณ์ ความพิเศษของการรักษา ยารักษาโรค ตลอดถึง บริการ ที่หลับนอนรักษา อาหาร ไม่ได้พิเศษอะไรทั้งนั้น เป็นไปตามมาตรฐาน ( ต่ำกว่าที่คิดไว้ )

     บางท่านบอกว่า ไม่ระบุเลือกหมอ ไปเลย ขอตอบว่า ทำไม่ได้ ไม่ใช่ข้าราชการเบิกจ่าย ระบุหมอรักษา นอนห้องพิเศษได้ ดังนั้นสิ่งที่หมอประกาศิต ลงมาใน รพ. นั้น ก็ต้องตามนั้น ที่สำคัญหน่วยพยาบาล ไม่ใช่ชาวธรรมะ จะได้ดูแล พระ เป็นอย่างพิเศษ เพราะเห็นมาแล้ว โดนมากับตัวเรื่อง การบริการทางด้านพยาบาลนั้น ต่ำกว่าที่คิดไว้มาก ห่วยกว่าเมื่อสิบปีก่อน ความใส่ใจหนักไปทางใช้เครื่องมือการแพทย์มากขึ้น ทำให้มีเวลาคิดมาก ๆ ขึ้น

    ดังนั้นการรักษา พอจ. ตลอด 5 วัน ที่ผ่านมานั้นไม่ได้มีความพิเศษใด ๆ ส่วนใหญ่ อาศัยกำลังกายของตนส่วนที่ดี ช่วยเหลือตนเอง ดูแลตนเองไปด้วย

    สรุปการรักษา เป็นไปตามมาตรฐาน ฟรี หรือเรียกว่า รักษาแบบอนาถา คือ รักษาให้กับคนยากจน
   
   

    2. ทำไม ไม่ฉันอาหารปกติ

    เป็นพระเลือกฉันไม่ได้ ยิ่งถ้าบิณฑบาตรไม่ได้ มีอะไรก็ต้องฉันอย่างนั้น อะไรพอจะเก็บพยุงชีวิตได้ ก็ต้องเก็บไว้ ดังนั้นเรื่องการฉันมีความเสี่ยงตลอดนั่นแหละ ดีที่ว่า ช่วงหลัง ๆ ลูกศิษย์ เขาได้ซื้ออาหารสำเร็จรูป แต่มีมาตรฐาน มาให้ ไม่เหมือนเมื่อก่อน เช่น ปลากระป๋อง แบบ ไม่มี มอก. ก็เปลี่ยนเป็นแบบมี มอก. คือต้องเพิ่มระดับมันจะแพงขึ้นกว่าสักนิด แต่มี มอก. อย อะไรพวกนี้ ก็ยังมีความปลอดภัยขึ้นอีกหน่อย

     ส่วนบะหมี่ สำเร็จโดยปกติจะไม่ฉัน แต่พอมาช่วงหลัง ๆ นี้ บางครั้งต้องเดินทางฉันด่วนก็เลยต้องฉัน เสร็จแล้วมันก็ไปซับน้ำในร่างกายเข้าไปไว้ตัวบะหมี่ นั่นแหละ ทำให้ร่างกายขาดน้ำ ดังนั้นบะหมี่สำเร็จรูปต้องทานตอนมันอ่ิมตัว ก็ประมาณ 30 นาทีในการแช่กับน้ำร้อน ไม่ใช่ 2 - 3 นาที ( แต่ปกติเราไม่ค่อยรอ )
   
     สรุป เป็นพระเลือกฉันไม่ได้ ขึ้นอยู่กับท่านผู้ใจบุญถวายภัตร์กันมา ต้องฉันไปตามที่มี


    3. ทำไม ไม่ไป รพ. เอกชน
 
     นั่นสิเห็นรณรงค์ กันมากมาย ห้ามพระรับเงินปัจจัย เพราะว่าจะนำมาซึ่งกิเลส ไม่พ้นกิเลส แต่ความเป็นจริงการไป รพ.เอกชน มันไม่ฟรี ไม่ใช่แต่เอกชน ของรัฐหลายอย่างก็ไม่ได้ฟรี อย่านอกระบบทุกอย่าง ต้องจ่ายตังค์ ถ้าขออะไรเพิ่มนอกระบบแล้วต้องจ่ายตังค์ ขออาหารพิเศษก็ต้องจ่ายตังค์ หลายปีมานี้ ฉันไม่ไดอยู่วัด หรือมีรายได้ ใด ๆ เลย ทุกวันก็นำทุนที่มีส่วนตัวออกมาใช้ในการเผยแผ่ จนจะหมดแล้ว จึงทำให้เป็นบุคคลที่ไม่มีเงินปัจจัยติดตัวอย่างเมื่อก่อน ดังนั้น เรื่องเงินปัจจัย จึงเป็นเรื่องลำบากใจ ลูกศิษย์ที่มี แต่ละคนก็มีภาระแตกต่างกันไป

    การไป รพ.เอกชน ได้รับการรักษาดี จริง แต่ มีค่าใช้จ่ายสูง เคยผ่าตัดไส้ติ่งนอน 3 วัน 2 คืน หมดไปร่วม 60,000 กว่าบาท อันนั้นคือสภาวะ ที่มีรายได้ จึงได้ไปรักษาที่ รพ.เอกชน ดังนั้น รพ.เอกชน ถ้า 15 ปีที่แล้วจะมีประวัติการรักษาของ พอจ.อยู่มาก ในขณะที่ รพ. สระบุรี ไม่มีประวัติการรักษาเลย

     การใช้บัตรรักษา ระดับการรักษา ไม่เท่ากัน ถ้าเป็นบัตรทองจะดีกว่า แต่เพราะเป็นพระ ไปขอทำไม่เคยได้ทำ ให้กลับทุกครั้ง ขอมาเป็นสิบครั้งไม่เคยได้สักใบ สิทธิ์บัตรทอง กับ สิทธิ์ พภ. เวลาใช้ต่างกันอยู่

     ของพระภิกษุ ค่ายา ส่วนที่เป็นยานอกบัญชี  คือมีใบขอรับการบริจาคจาก มูลนิธิ ทุนนิธิ เห็นในตอนเอาเอกสารคำร้องขอรับการช่วยเหลือค่าใช้จ่าย ดังนั้น ส่วนของ บัตรทอง ไม่มีการขอตรงไปตรงมาตามนั้นเบิกจ่ายตามจริง

    สรุป ไม่มีปัจจัยพอที่จะเข้าไปรักษา ที่ รพ.เอกชน


     
 
44  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ความสัมพันธ์ ในพระกรรมฐาน กับ วิธีไถนา ที่พระพุทธเจ้า มอบไว้แก่ชาวนา เมื่อ: มีนาคม 16, 2016, 08:29:37 am



ศรัทธาของเราเป็นพืช
  ศรัทธา ( ความเชื่อ )
  ลำดับ ปฏิจจสมุปบาท สายออกจากทุกข์

     ศรัทธา ไปสู่ ปราโมทย์ ปราโมทย์ ไปสู่ ปีติ ปีติ ไปสู่ ฉันทะสมาธิ  ฉันทะสมาธิ ไปสู่ ยถาภูตญาณทัศศนะ ยถาภูตญาณทัศศนะ ไปสู่ นิพพิทา  นิพพิทา ไปสู่ วิราคะ  วิราคะ ไปสู่ วิมุตติ วิมุตติ ไปสู่ วิมุตติญาณทัศศนะ  วิมิตติญาณทัศศนะ ไปสู่ นิพพาน ( อนุปาทาปรินิพพาน )

ความเพียรของเราเป็นฝน
   ความเพียร ที่ย่อหย่อน และไม่ตึงเกิน     

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ
   ความรอบรู้ ในกองพระกรรมฐาน และ ความเข้าใจเพื่อให้ความเพียร มีได้อย่างต่อเนื่อง

หิริของเราเป็นงอนไถ
   ความละอายใจต่อบาปอกุศล   

ใจของเรา เป็นเชือก
   กรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจเบื้องต้น เป็นอุบายสู่วิปัสสนาในท่ามกลาง มีมรรคผลและนิพพาน เป็นที่สุด   

สติของเราเป็นผาลและปฏัก
   การดำเนินสติ ในกองกรรมฐาน เป็นกายานุปัสสนา เป็นจิตตานุปัสสนา เป็นเวทนานุปัสสนา เป็นธรรมานุปัสสนา

เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา
    การคุ้มครองด้วยการสำรวมวาจา และ อาชีวะปาริสุทธิ

สำรวมในอาหารในท้อง
    โภชเนมัตตัญญุตา การปัจจเวกขณปัจจัย 4  การกระทำอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ
     การละจากสะสม การทำความผ่องใส ในปัจจัย 4
     ย้ำเตือนตนเสมอ ๆ ว่า นี่ไม่ใช่เรา นี่ไม่ใช่ของเรา นี่ไม่ใช่ตัวตนของเรา
     แม้ว่าเบื้องต้นจิตจะคิดว่า นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา นีึ่ไม่ใช่ตัวตนของเรา แน่การกล่าวสัจจะคือความจริง ย่อมละทิฏฐิที่ผิดได้ แม้ด้วยการข่ม อดกลั้น และประหารในที่สุด

ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส
    ความวิเวก ย่อมนำไปสู่ วิราคะฉันใด ความสงบเสงี่ยม ย่อมไม่พอกพูนกิเลส เพราะการอาศัยวิเวกนั่นเอง

ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ
    การดำเนินมรรคอันมีองค์ 8 ย่อมถึงซึ่งความเกษม

ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
    ย่อมมีการสิ้นกิเลส เพราะได้ มรรค และ ผล

การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้
     การไถนา ของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นอย่างนี้ แม้พระอริยะสาวก็เป็นอย่างนี้

การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ
    การไถนา ของพระพุทธเจ้า และ พระอริยะสาวก ย่อมมีผลเป็นอมตะ ( นิพพาน )

บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    บุคคลกระทำกรรมฐาน ด้วยองค์ประกอบอย่างนี้  ย่อมพ้นจากทุกขอุปาทานขันธ์ ทั้งปวง

45  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / แกะหลัก ภาวนาอย่างชาวบ้าน ผู้ทำกสิกรรม เมื่อ: มีนาคม 16, 2016, 08:15:50 am


ศรัทธาของเราเป็นพืช
  ศรัทธา ( ความเชื่อ )
  พืช คือสิ่งที่จะปลูก เมื่อจะปลูก พืชอะไร ก็ย่อมได้พืชเช่นนั้น

ความเพียรของเราเป็นฝน
   ความเพียร ที่ย่อหย่อน และไม่ตึงเกิน     

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ
   ความรอบรู้ในกสิกรรม ความรอบรู้ ในส่ิงที่กระทำ ไม่ใช่รู้ทุกอย่างในโลก แต่รอบรู้ในวิชากสิกรรมนั้น  เนื่องด้วยฝนมีฤดูกาลไม่ได้ตกทุกวัน ปัญญาความรอบรู้ในการบริหารจัดการน้ำ ให้มีอยู่เพื่อรักษาพืชผลจึงต้องใช้ปัญญาในการนำน้ำเข้าสู่นา

หิริของเราเป็นงอนไถ
   คันบังคับที่ต้องยึดไว้ให้มั่น คือความละอายใจ ๆ ก็จะสร้างความเกรงกลัวต่อบาป

ใจของเรา เป็นเชือก
   ใจเป็นเครื่องกระตุ้นให้ เดินต่อ วัวควายถ้าไม่กระตุ้นกระตุกเตือนมันก็จะยืนนิ่งอยู่อย่างนั้นดังนั้น ใจจึงต้องมีการกระตุ้นบ้าง

สติของเราเป็นผาลและปฏัก
    แต่บางครั้งการกระตุ้น มันก็ไม่ไหว จึงต้องมีการใช้เครื่องไม้เครื่องมือ ทิ่มแทงไปบ้างเล็กน้อย 

เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา
    ขณะที่ทำงานอยู่ ก็ไม่ควรพูดมาก ทำเรื่องอย่างอื่น ต้องคอยคุ้มครองกาย เพราะการเหยียบย่ำลงไปในน้ำในผืนนานั้น มีอันตรายทั้งเสี้ยนหนามและสัตว์มีพิษที่อยู่ในดิน

สำรวมในอาหารในท้อง
    เมื่อการทำกสิกรรม มีอยู่การบริโภคอาหารในระหว่างกระทำกสิกรรม จึงไม่ควร ควรจะต้องหยุดพัก

ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ
    เมื่อหยุดการไถนาว่างเว้น ก็ใช้เวลาที่ควรในการกำจัดวัชชพืช เพราะวัชชพืชไม่ต้องปลูกมันสามารถขึ้นได้เอง ดังนั้ันนาที่ไม่มีการดูแลย่อมถูกวัชชพืชแย่งความอุดมสมบูรณ์ พืชผลอาจจะไม่ได้ หรือได้ก็ไม่สมบูรณ์

ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส
    ความสันโดษพอใจ ในสิ่งที่มีเป็นเหตุไม่ขยายการทำกสิกรรมมากไป เพราะรู้ความพอดี บางคนทำมากไปมีกำลังพอ ดูแลมากก็ทำไม่ไหว ดังนั้นการทำกสิกรรม แต่พอดีจึงเป็นการคลายความลำบากในการจัดการ

ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ
    เมื่อผืนนาที่ไถแล้ว ได้ลงพืชสิ่งที่ต้องทำก็คือการหมั่นประกอบการดูแลพืชผลอย่างต่อเนื่องไม่วางธุระ
เมื่อชาวนาดูแลนา คือ พืชผลที่ลงแรงไว้อย่างนี้ ผลย่อมออกตามต้องการ

ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก
    ไม่เศร้าโศรก เพราะพืชผล ย่อมบริบูรณ์ ไม่ถึงภัยธรรมชาติ ย่อมไม่ทุกข์

การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้
     การไถนา ของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นอย่างนี้ แม้พระอริยะสาวก็เป็นอย่างนี้

การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ
    การไถนา ของพระพุทธเจ้า และ พระอริยะสาวก ย่อมมีผลเป็นอมตะ ( นิพพาน )

บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
    บุคคลถ้าไถนาแบบนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ ทั้งปวง



46  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำแค่นี้ ก็ไปนิพพาน ได้ ไม่ต้องซับซ้อนมากมาย เมื่อ: มีนาคม 16, 2016, 07:55:50 am
"พระพุทธเจ้า เวลาพระองค์ทรงตรัสสอนคนทั่วไป พระองค์จะยกอุปมาทางอาชีพเพื่อให้เข้าใจหลักธรรม เช่นสอนชาวนา พระองค์ก็ทรงตรัสเทียบธรรมลงไปที่ อาชีพเขาว่า
( ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเรา เป็นเชือก สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครองกายคุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้พลาดด้วยสัจจะ ความสงบเสงี่ยมของเราเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมาย่อมถึงสถานที่ๆ บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ฯ (กสิภารทวาชสูตรที่ ๔) )
ถ้าเทียบลงในกรรมฐาน แล้ว
ศรัทธา ก็คือ ผล และ นิพพาน
( ตามลำดับที่งอกงาม เจริญเติบโต ) ดังนั้นการพอกพูน และรักษาศรัทธาไว้นั่นแหละ คือการภาวนา
ความเพียร เปรียบเหมือนฝน เพราะมีช่วง มีฤดู มีครั้งครา ไม่ใช่ทุกวัน ดังนั้นความเพียรที่มีมากไปก็ไม่ดี หย่อนไปก็ไม่ดี
ปัญญา เปรียบเหมือนแอกและไถ สิ่งใดที่ถูกปกปิด ไปไม่ได้ไม่เข้าใจก็ต้องใช้ปัญญา การคือการตามพิจารณา ทำไว้ในใจอย่างแยบคาย
หิริ เป็นงอนไถ ความละอายใจต้องมีไว้เบื้องหน้า นำทางเพื่อละจากอกุศล
ใจ เป็นเชือก หมายถึงการควบคุมศรัทธา ความเพียร ปัญญา หิริ นั้น ต้องมีใจเป็นตัวการสั่งและควบคุม
สติ เป็นผาล และปฏัก บางครั้งจะนอกลู่ นอกทาง ก็ต้องทิ่มแทงกันบ้างให้รู้ตัว การเตือนตนสม่ำเสมอ ก็คือการตามระลึกเพื่อไปสู่ความรู้ตัว
เมื่อดำเนินชีวิตอยู่ ด้วยกาย วาจา โดยอาหาร ย่อมต้องถอนหญ้า หมายถึงเมือ่บริโภคปัจจัย 4 ก็ต้องถอนตัณหาในปัจจัย 4 เพราะถ้าปล่อยไว้ ต้นหญ้าจะใหญ่ขึ้นรกรุงรัง นำมาซึ่งภัยมากมาย วิธีที่ดีก็คือการรู้ความจริงของโทษทางวาจา และ ความไปสู่ สันโดษ
ความเพียรที่ กระทำสม่ำเสมอ อย่างนี้ย่อมได้ผลงอกงามไพบูลย์ถึงความเกษมอันไม่มีโยคะ ไม่เศร้าโศรก ย่อมมีผล เป็น อมตะ ( นิพพาน )
ถ้าไถนาอย่างนี้ ย่อมพ้ันจากทุกข์ทั้งปวง

ดังนั้นการแสดงธรรม แม้พระพุทธเจ้าจะแสดงอย่างพื้น ๆ แก่ชาวนา ก็มีที่สุดคือ พระนิพพานเช่นกัน ....."


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส

47  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สาเหตุที่ลูกศิษย์ ไม่สามารถติดตามอาจารย์ ได้ เมื่อ: มีนาคม 11, 2016, 07:45:31 am

ขอบคุณภาพประกอบจาก https://upload.wikimedia.org/

จากพระสูตร แสดงให้เห็นแล้วว่าหากท่านทั้งหลาย มีคุณธรรม แตกต่างจากอาจารย์มากเกินไป และไม่มีปณิธาน เช่นเดียวกับพระอาจารย์ ท่านทั้งหลาย เหล่านั้นก็จะเดินไปกับอาจารย์ไม่ได้ ต้องแยกจากกันไปคนละทาง

    อะไร จึงจะเป็นสาเหตุ ให้ไปกับพระอาจารย์ได้

     1. พระอาจารย์ เคารพในพระอาจารย์ มีพระอาจารย์เฒ่า หลวงปู่ ขรัวตา ครูกรรมฐานปัจจุบัน
        ถ้าลูกศิษย์ ยังมีความเคารพเหมือนกันก็ไปร่วมกันได้
     2. พระอาจารย์ มีปฏิปทา ในแนวทางกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
        ถ้าลูกศิษย์ ยังปฏิบัติ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ยังไปร่วมทางกันได้
     3. พระอาจารย์ มีการส่งเสริม ให้ผู้มีบารมีร่วมกันเรียนศึกษาพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เพื่อการไปสู่่วิมุตติ
        ถ้าลูกศิษย์ ยังร่วมสนับสนุนส่งเสริม พระกรรมฐาน และมีปณิธานไปสู่ วิมุตติ ก็ไปร่วมกันได้
     4. พระอาจารย์ มี คุณธรรมวิมุตติ ในชาตินี้
        ถ้าลูกศิษย์ ปรารถนา วิมุตติต ในชาตินี้ ก็ไปร่วมทางกันได้
     
     ดังนั้นท่านทั้งหลายที่ไม่มีปณิธาน ตรงต้องกับพระอาจารย์ ชื่อว่า ธาตุภายใน ไม่ตรงกันกับพระอาจารย์ แน่นอนท่านย่อมไม่สามารถที่จะร่วมวงกับเราได้ คงต้องไปกับครูอาจารย์ท่านอื่น ในแนวทางที่ท่านชอบ ก็ขออนุโมทนากับทุกท่าน เพราะไม่ใช่จะมีแต่ตรงนี้เท่านั้นที่จะส่งเสริมวิมุตติ สำนักอื่น ที่มีกรรมฐาน ถูกต้องตามแนวทางมรรค ผล นิพพาน ก็ยังมีอยู่ ซึ่งขึ้นอยู่กับบารมีพวกท่าน จะหากันได้พบหรือไม่ ก็ขออนุโมทนา

     เวลาฉันตอนนี้ จะไม่เหลือ แล้ว อย่ามัวแต่เสียเวลาลวดลายกันให้มาก ถ้าปรารถนา จงเร่งปฏิบัติภายในให้มากขึ้น

        วิเวก ไปสู่ วิราคะ วิราคะ ไปสู่ นิโรธ   นิโรธ ไปสู่ โวสสัคคะ  โวสสัคคะ ไปสู่ อนุปาทาปรินิพพาน


    เจริญธรรม / เจริญพร

 
48  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธาตุ ภายใน เป็นเหตุให้สัตว์ ทั้งหลา่ย คบค้า เกื้อกูลกัน เมื่อ: มีนาคม 11, 2016, 07:31:59 am
         บุคคลผู้มีอัธยาศัยเหมือนกันจึงคบกันได้
            ครั้งนั้น    พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายเห็นสารีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีปัญญามาก
            เธอทั้งหลายเห็นมหาโมคคัลลานะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีฤทธิ์มาก
            เธอทั้งหลายเห็นมหากัสสปะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนกล่าวเรื่องธุดงค์๑
            เธอทั้งหลายเห็นอนุรุทธะกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีตาทิพย์
            เธอทั้งหลายเห็นปุณณมันตานีบุตรกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นธรรมกถึก
            เธอทั้งหลายเห็นอุบาลีกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนทรงวินัย
            เธอทั้งหลายเห็นอานนท์กำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนเป็นพหูสูต
            เธอทั้งหลายเห็นเทวทัตกำลังเดินจงกรมอยู่กับภิกษุจำนวนมากหรือไม่”
            “เห็น    พระพุทธเจ้าข้า”
            “ภิกษุทั้งหมดนี้ล้วนมีความปรารถนาชั่ว
             สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงามคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
            แม้ในอดีต    สัตว์ทั้งหลายก็ได้คบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลวสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม    ได้คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
            แม้ในอนาคต    สัตว์ทั้งหลายก็จักคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลวสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม    จักคบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม
            ภิกษุทั้งหลาย    แม้ในปัจจุบันนี้    สัตว์ทั้งหลายคบค้าสมาคมกันโดยธาตุอย่างเดียวกัน    คือสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเลว    สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยงาม    คบค้าสมาคมกับสัตว์ทั้งหลายผู้มี
อัธยาศัยงาม”



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://owlsc.com

     
49  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระอริยะ ไม่พูดขัดกัน และ ย่อมยกย่องซึ่งกันและกัน เมื่อ: มีนาคม 11, 2016, 07:22:03 am
พระเถระทั้ง ๒ รูปกล่าวสรรเสริญคุณของกันและกัน
            [๒๖๐]    เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว    ท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า    “ท่านผู้มีอายุ    ท่านชื่ออะไร    และเพื่อนพรหมจารีรู้จักท่านว่าอย่างไร”
            ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า    “ท่านผู้มีอายุ    ผมชื่อว่าปุณณะ    แต่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายรู้จักผมว่า    มันตานีบุตร”
            ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า    “ท่านผู้มีอายุ    น่าอัศจรรย์จริง    ไม่เคยปรากฏปัญหาอันลึกซึ้งที่ท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้น    นำมากล่าวแก้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งตามเยี่ยงอย่างพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว    รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้จะพึงกล่าวแก้ฉะนั้น    เป็นลาภอย่างมากของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย    เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายได้ดีแล้ว    ที่ได้พบเห็น    ได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร    แม้หากเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายจะเทิดทูนท่านปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะเหมือนเทริดผ้า    จึงจะได้พบเห็น    ได้นั่งใกล้    แม้ข้อนั้นก็นับว่าเป็นลาภมากของท่านเหล่านั้น    ท่านเหล่านั้นได้ดีแล้ว    อนึ่ง    นับว่าเป็นลาภอย่างมากของผมด้วย    ผมได้ดีแล้วด้วย    ที่ได้พบเห็นได้นั่งใกล้ท่านปุณณมันตานีบุตร”


พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๓.  โอปัมมวรรค]
๔.  รถวินีตสูตร


ขอบคุณภาพประกอบจากบ้านจอมยุทธ



    จากพระสูตร ต้องการยกให้ท่านทั้งหลาย เห็นว่า พระอริยะ กับ พระอริยะ ไม่มีปัญหาซึ่งกันและกัน แน่นอน และก็ไม่เพราะวัจนะ เพื่อยกตนข่มท่าน บัณฑิตผู้หวังในนิพพาน ย่อมเคารพต่อ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ไม่ใช่แต่ พุทธวัจน์ จนไม่ฟัง ธรรมวัจน์ หรือ สังฆวัจน์

    เพราะพระพุทธเจ้า มีไม่ได้ ถ้าไม่มี ธรรมวัจน์
    พระธรรม ก็มีไม่ได้ ถ้าขาดผู้ตรัสรู้
       ( พระธรรมที่มีอยู่ก่อนไม่ได้เรียกว่า พระธรรม เรียกว่า  ธรรมชาติ ได้ เป็นกลาง คือ เป็นได้ทั้งกุศล และ อกุศล และ อัพพยากฤต ธรรมส่วนนี้ไม่เรียกว่า พระธรรม เพราะขาดคำสอนหรือคำชี้นำ เป็นสภาวะที่ต้องตรัสรู้เอง)
    พระสงฆ์ ก็มีไม่ได้ ถ้าขาด พระพุทธเจ้า และ พระธรรม







50  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การรวม มรรค อาศัย สัมมาสมาธิ ในขั้นตอนสุดท้าย เมื่อ: มีนาคม 10, 2016, 09:17:18 am
[๙๗]    “ภิกษุทั้งหลาย    แม่น้ำคงคาไหลไปสู่สมุทร  บ่าไปสู่สมุท  หลากไปสู่สมุทร  แม้ฉันใด  ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน  เมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์   ๘   ทำอริยมรรคมีองค์   ๘   ให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน  โน้มไปสู่นิพพาน    โอนไปสู่นิพพาน

ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์    ๘    ทำอริยมรรคมีองค์    ๘    ให้มากย่อมน้อมไปสู่นิพพาน    โน้มไปสู่นิพพาน    โอนไปสู่นิพพาน    อย่างไร
      คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้
       ๑.  เจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๒.  เจริญสัมมาสังกัปปะอันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๓.  เจริญสัมมาวาจาอันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๔.  เจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๕.  เจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๖.  เจริญสัมมาวิริยะ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๗.  เจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก   อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
       ๘.  เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัยวิเวก    อาศัยวิราคะ    อาศัยนิโรธ    น้อมไป ในโวสสัคคะ
            ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุเมื่อเจริญอริยมรรคมีองค์    ๘    ทำอริยมรรคมีองค์    ๘ ให้มาก    ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน    โน้มไปสู่นิพพาน    โอนไปสู่นิพพาน    อย่างนี้แล”


      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  มหาวารวรรค  [๑.  มัคคสังยุต]
      ๘.  ทุติยเอกธัมมเปยยาลวรรค  ๑๔.  โยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร

     
   ขอบคุณภาพประกอบจาก http://topicstock.pantip.com/
51  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / วัปัสสนา ต่อ จากสมาธิ อย่างไร ? เมื่อ: มีนาคม 10, 2016, 09:09:42 am
  [๑๔] “เมื่อจิตเป็นสมาธิ  บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน  ปราศจากความเศร้าหมอง    อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น  ไม่หวั่นไหวอย่างนี้  เรานั้นได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า  นี้ทุกข์  นี้ทุกขสมุทัย  นี้ทุกขนิโรธ  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา   นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย  นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ  อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ ก็รู้ว่า หลุดพ้นแล้ว  รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว   ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว  ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป



ขอบคุณภาพประกอบจาก https://thebggaro.files.wordpress.com
52  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การโปรดญาต พ่อแม่พี่น้อง เป็นเรื่องที่ควรทำสุดท้าย ก่อนละสังขาร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2016, 01:34:01 pm



การโปรดญาต พ่อแม่พี่น้อง เป็นเรื่องที่ควรทำสุดท้าย ก่อนละสังขาร

"พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หลายท่านเคยถามอาจารย์ ท่านทำไม ไม่ไปโปรดพวกเขาบ้าง หรือไปเยี่ยมเยียนมอบธรรมะให้กับเขากันบ้าง ส่วนตัวก็ยินดีนะถ้า พ่อแม่พี่น้อง ญาติ สนใจธรรมะปฏิบัติ แต่ความเป็นจริง ทำได้ยาก สำหรับ พ่อแม่พี่น้อง ญาติ นั้นมีความเสี่ยงที่จะทำให้พวกเขาลงนรกมากกว่า จะได้รับธรรมะ เพราะเจอหน้า เจอตา แต่ละคน เขาก็เหยียดหยามเรา ด้วยความรู้สึกแบบญาติ ว่าไม่เอาไหน บวชเลี้ยงชีวิต ไม่สู้งาน ไม่สู้ชีวิต ประมาณนั้น เสียมากกว่า ที่จะมีใครมารับ ธรรมะ เจอหน้าแต่ละคน ก็ถามว่าเมื่อไหร่ จะสึก และแสดงความเห็น ว่าควรจะสึกออกมาเลี้ยงชีวิต มันจะภาคภูมิ กว่าอยู่เป็นพระ นี่กล่าวยังเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นการโปรด พ่อแม่พี่น้อง ญาติ เหล่านี้ สำหรับฉันตอนนี้ไม่มีความคิดเลย เพราะ พ่อแม่พี่น้อง ญาติ ท่านทั้งหลายเหล่านี้ไม่ได้ดูความเป็นจริง ทุกวันนี้พระ ภาวนาก้าวหน้าไปถึงขั้นไหนแล้ว ควรจะที่จะสึกหาลาเพศ มาอยู่ครองเรือนให้พวกเขาเล่นหัว เหยียดหยาม กันอย่างเมามัน ซึ่งบาปมากกว่า นรกจึงมีมากกว่า .... ทุกวันนี้ ญาตฉันไม่เคยให้มาช่วยเหลือ แม้แต่ฉันให้บิณฑบาต เขายังเลือกที่จะไม่ใส่บาตรฉัน เวลา ขับรถผ่านทางเห็นฉันเดินอยู่เขาก็ไม่จอดรับ แม้จะไปทางเดียวกัน ดังนั้นควรหรือที่เราจะไปโปรดเขา บางคนถ่มน้ำลาย ถุย ใส่ บอกว่า อาศัยผ้าเหลืองแดก ก็มี นี่ละคือ ญาต ที่ท่านทั้งหลายสงสัยกันว่า ทำไมฉันไม่ขอให้ญาตมาช่วย ทุกวันนี้ ฉันมี ญาต เพียงคนเดียวคือ แม่ ที่ฉันยังยอมรับบาตร อยู่ ถึงแม้ท่านจะบ่น เรื่องให้ลาสิกขาอยู่บ้าง แต่การอนุเคราะห์ท่านเห็นว่าเป็นชาติสุดท้ายแล้ว ที่เราจะได้มาเป็นแม่ลูกกัน ดังนั้นจึงเปิดโอกาสการสนทนาธรรมที่ยังพอเป็นไปได้ให้กับท่าน ทุกคร้งที่เจอกัน ฉันยังเป็นฝ่ายฟังท่านสอน ฉันก็ยินดีอยู่เพราะทำให้ท่านสบายใจ ที่ได้สอนพระ อย่างน้อยจิตใจมีการวิจารณ์ธรรม ไปด้วย แต่ก็มีข้อเสีย คือท่านไม่เคยสนใจการภาวนาของเราที่ก้าวหน้า ไปเกินกว่าจะอยู่กับชาว ฆราวาสได้แล้ว จึงมองปัญหามุมเดียว ว่าควรใช้ชีวิตอย่างฆราวาส หรือถ้าใช้ชีวิตอย่างพระก็ควรอย่างพระที่เขาอยู่กันในวัดเสกสวดมีรายได้ จะได้ไม่ต้องมาทำให้ญาต ตระกูลเดือดร้อนตนเอง เดือดร้อน อันที่จริงก็แปลกใจอยู่เหมือนกัน สิบกว่าปีมานี้ก็อยู่ด้วยทรัพย์ของเราที่มีอยู่ก่อนไม่ได้ใช้ทรัพย์ของญาติท่านนั้นมาจุนเจือชีวิตให้อยู่รอด และได้ลูกศิษย์ช่วยกันพยุงอัตภาพ จึงพออยู่ได้ ทำงานได้ .... "



ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส
53  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สายสัมพันธ์ ที่ร่วมปิดทองหลังพระ ขออนุโมทนา ทุกท่าน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2016, 12:17:04 am


"สายสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่สายเลือด แต่มีความอบอุ่น ถึงขั้นเสียสละให้ไดทั้งชีวิตเช่นเดียวกับ บุพพการี คือ พ่อและแม่ สายสัมพันธ์ ที่ไม่ใช่สายเลือดนี้ คือสายสัมพันธ์ ของครูกรรมฐาน กับศิษย์ ที่เรียนกรรมฐาน ซึ่งสายสัมพันธ์แตกต่างกัน สายสัมพันธ์ ระหว่าง อุปัชฌาย์ และ ผู้บวช ที่เรียกว่า อันเตวาสิก และ สัทธิวิหาริก แต่สายสัมพันธ์ ทางด้านการภาวนานั้น มันมีคุณค่าในตนเอง ในความเป็น พระที่เป็นเนื้อนาบุญ บรรดาศิษย์ถึงแม้ไม่แก่กล้าในวิชา กรรมฐาน แต่ก็ย่อมเห็น อัธยาศัย ของครูที่เป็นเนื้อนาบุญ ศรัทธา และ ความเลื่อมใส ในพระสงฆ์ ที่เป็นครูย่อมถึงพร้อมซึ่งการเสียสละ เพื่อรักษาอัตภาพ ของครู และสนับสนุนการเผยแผ่ธรรม อันงาน ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด นี่คือที่มาของความเสียสละ ภายใต้ คำว่า ปิดทองหลังพระ ....."

ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของ ธัมมะวังโส
54  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากให้ครูช่วยชี้แนะ คว่ำจักร-หงายจักร โดยบริกรรมพุทโธ บริกรรมลม เข้า-ออก นิมิตร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 11:44:22 pm
อ้างถึง
กำหนดจุดศูนย์กลาง  เห็นจักรมาทีละจักร  เดิน

       เห็นชัดไม่ชัด ก็รู้ว่าเดิน บริกรรมพุทโธก็เดิน

     หรือไม่บริกรรมก็เดิน ตามลม เข้าออก ตามจังหวะ

         ตั้งแต่กระจัดกระจาย ปรับ

          จากหมุนนิมิตร  จับจุดแกนโลก   เดินจักร  สี่ทิศ แปดทิศ สิบหกทิศ(อันนี้ยังกำหนดได้ไม่ชัด)

   แต่สองอันแรกค่อนข้างเป็นระเบียบดีกว่าเก่า

ระวังด้วยการ เรียกจักร เดินจักร ไม่ใช่คำพูดของฉัน ที่เขียนไว้ด้านบนนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิชา เลย และไม่เคยได้สอนไว้ เขียนไปคนจะเข้าใจผิดว่าฉันสอนนอกลู่ นอกทาง จากสายวัดพลับ

   การปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ

      1. สัมปยุต ลง ศูนย์นาภี
      2. ตั้งฐาน พระขุทกาปีติ เดินิจิต
              นิมิตร ลักณณะ และ รัศมี เกิด ผ่าน
      3.เลื่อนชั้น เป็น ฐานสอง พระขณิกาปีติ
              นิมิตร ลักณณะ และ รัศมี เกิด ผ่าน
      4.เลื่อนขั้น เป็น ฐานที่สาม  พระโอกกันติกาปีติ
             นิมิตร ลักณณะ และ รัศมี เกิด ผ่าน
      5.เลื่อนขั้น เป็น ฐานที่สี่ พระอุพเพงคาปีติ
             นิมิตร ลักณณะ และ รัศมี เกิด ผ่าน
      6..เลื่อนขั้น เป็น ฐานที่ห้า  พระผรณาปีติ
             นิมิตร ลักณณะ และ รัศมี เกิด ผ่าน
     
      ออกจากกรรมฐาน จบสาย อนุโลม
      7. เรียน คุณ สมบัติ ของ ธาตุ การใช้ องค์ วิปัสสนา อย่างอ่อน กับโกฏธาตุ ต่าง
           เริ่มตั้ง โกฏธาตุ ดิน ไฟ น้ำ ลม อากาศ             
   
        ออกจากกรรมฐาน จบสาย อนุโลม วิปัสสนาอย่างอ่อน เรียกว่า การตั้งธาตุ

      8. การเดินจิตให้แคล่วคล่อง เพื่อ สะกด เสียง อันเป็นเสั้ยนหนามแห่ง สมาธิ
         เรียนการเเดินจิต ตั้ง ธาตุ พระธรรมปีติ ขึ้น และ ลง
         ( อนุโลม ปฏิโลม )
         เข้าสอบจิต ตั้งสะกด ตามวิธีการของครุอาจารย์

      9. การเดินจิต เข้า คืบ เพื่อ โยกธาตุ ฐานจิต ให้เกิดความชำนาญ ไม่ผูกด้วย ลำดับ แต่เข้าอย่างลำดับ เรียกว่า หนุนธาตุ เสริมธาตุ ทอนธาตุ สะกดธาตุ 
         สอบ เข้าสะกดกรรมฐาน ตามขั้นตอน ของครูอาจารย์

     10. การเดินจิต เข้าวัด ออกวัด เพื่อให้จิตมั่นคงในฐาน ต่าง คำว่า วัด หมายถึง การสอบจิต ว่ารู้ไหม ว่า ตั้งฐานจิต ที่ฐาน ไหน ธาตุ อะไร คุณแห่ง ธาตุ คือ อะไร รัศมี พระลักษณะ ปรากฏอย่างไร
       สอบ เข้าสะกด เข้าวัด ออกวัด

      ผ่าน ก็ไปต่อ ห้อง ที่ 2 คือ พระยุคลธรรมหกคู่ 12 ประการ

    ( ดังนั้น การเข้าจักร หมุนเข็ม อะไร ๆ ต่างที่เขียนไว้ด้านบน ไม่ได้สอนไว้ อย่าไปฝึก ซี้ซั้วะ นะ มันจะทำให้เราติดขัด วิชามันตีกันได้ )


      นี้คือ สิ่งที่ศิษย์ ทุกท่านควรจะต้องทบทวนกันก่อน ที่มักบอกว่า ไม่ได้สอน และยังทำกันไม่ได้ มันอยู่ตรงไหน ทำไมจึงไม่ได้เลื่อนไป พระยุคลธรรมหกคู่ ให้ทบทวนกันตรงนี้ อย่าพึ่งไปพูดหรือกล่าวถึงวิชาด้านอัปปนา โดยตรง

    เจริญพร
         
 
 

55  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กรรมฐาน ไม่ใช่ แต่ โบราณ แต่ มีมาตั้ง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2016, 11:22:33 pm


( พระวีระ สุขมีทรัพย์ ฐานวีโร

คัมภีร์สมุดไทดำต้นฉบับบันทึกพระกัมมัฏฐานโบราณ วัดป่าแก้ว อยุธยา อายุ ๔๐๐ ปี ของพระพนรัต(รอด) หรือหลวงปู่เฒ่า เจ้าอาวาส องค์ที่สี่ พระสังฆราชฝ่ายซ้าย ของวัดป่าแก้ว ตกทอดมาถึง สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม
ข้อความจากเฟค พระครูสิทธิสังวร
)

กรรมฐาน ไม่ใช่ แต่ โบราณ แต่ มีมาตั้งแต่ สมัยพระพุทธเจ้า มีพระสชมม์อยู่
บางทีไปเน้นบอกกล่าว ว่า กรรมฐาน โบราณ แต่ ความเป็นจริง กรรมฐาน ไม่โบราณ ใช้คำว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นถูกต้องอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนตาม เพื่อให้เข้ากับยุค สมัย เหมือน หลาย ๆ คนที่พยายามชอบเปลี่ยนชื่อ หนังสือ พระไตรปิฏก นั่นแหละ จะให้เรียก คัมภีร์ นิพพาน บ้าง คัมภีร์ พุทธ บ้าง แล้วแต่จะจินตนาการ แต่ชื่อที่เหมาะสมก็คือ พระไตรปิฏก นั่นแหละ เหมาะสมอยู่แล้ว

   สมัยหนึ่ง ได้เข้ากราบ หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ท่านบอกว่า ให้เรียก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ใหม่ว่า กัมมัฏฐานโบราณ คนจะได้สนใจ ส่วนตัวรับฟังไว้ แต่ ก้อย่างที่แสดงไว้ด้านบนนั่นแหละ คือ เราไม่มีความจำเป็นต้องไปเรียกเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย หรือ ตีฆ้องร้อง เรียกคนเข้ามาปฏิบัติ สายนี้เพราะความเป็นจริง คนที่จะเข้ามาปฏฺบัติ มันต้องมีวาสนา บารมีกันด้วย จึงจะยอมรับกันเป็น ครู เป็น ศิษย์ เรียนกรรมฐานกันด้วยความเคารพ

 อันความเป็นจริง ตัวพระกรรมฐาน ไม่ใช่โบราณ เพราะมีมาแต่ยุค สมัยพระพุทธเจ้า มีพระชมม์อยู่ ผู้ที่เป็นผู้สืบทอด องค์แรก ก็คือ พระอริยะราหุลพุทธชิโนรส การบันทึกมีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยนั้น พระอริยะราหุลพุทธชิโนรส เป็น เอตทัคคะด้าน ผู้คงแก่การเรียน การบันทึกวิชา มีมาตั้งแต่สมัยนั้น มีตอนหนึ่งในพระไตรปิฏก อรรถกถา แต่ลืมหน้าไปแล้ว ต้องค้นใหม่ ขณะที่ ทรงอักษร ( บันทึก) ได้ร่วมกับ พระอริยะมหากัจจายนะ ในขณะ รวบร่วมอักษร เป็นตำรา ชื่อว่า มูลกัจจายนะ ซึ่งเป็นต้นแบบ ในการศึกษาบาลี ของ พระสงฆ์ หลายยุค ในสมัยนั้น มีกลุ่่มพระภิกษุ ต้องการรวบเป้น ภาษา สันสกฤต เพราะมีความไพเราะ สละสลวย เหมือนบทเพลง มีการขึ้นทูลขอพุทธานุญาต จากพระพุทธเจ้า แต่ พระพุทธเจ้าห้าม ใช้ภาษาสันสกฤต พร้อมบัญญัติ วินัยลงโทษปรับอาบัติ ไม่ให้พระภิกษุ เอื้อนเอ่ย เป็นเพลง พระสูตร พระคัมภีร์ จึงเว้นจากภาษาสันสกฤต น่าจะอยู่ในวินัย เล่มที่ 1 - 7 ต้องอ่านใหม่ มันนานแล้ว อ่านแล้วก็ไม่ได้จำไว้ เป็นพิเศษ ก็อย่างนี้
   
นวัน มาฆบูชา เป็นวันประชุม สันนิบาต คือ พระอรหันต์ เอหิภิกขุอปสัมปทา มาประชุมกัน มิได้นัดหมาย 1250 รูป และพระพุทธเจ้า ทรงประทาน โอวาทปาฏิโมกบ์ แก่พระอรหันต์ เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแผ่ พระธรรม อย่างย่อ 3 อย่างขยาย 6 วันนั้นเป็นคืนเดือนเพ็ญ

 และมีเหตุการณ์เพิ่มขึ้นอีกสองเหตุการณ์ คือ การแต่งตั้ง พระอัครสาวก ซ้าย ขวา คือ ประกาศให้ พระอรหันต์ ทั้ง 1250 รูปนั้น เลือกพระสงฆ์ 2 รูป เป้นอัครสาวก ซ้าย ขวา พระอริยะโมคคัลานะ และ พระอริยะสารีบุตร

อีกเหตุการณ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ คัมภีร์ มูลกัจจายนะ เรื่องรับสั่งให้มีการบันทึก พระสูตร พระวินัย ให้กับ พระธรรมกถึก และ พระวินัยธร มีการประกาศ ให้พระปุถุชน ที่สงฆ์เลือกให้ทำหน้าที่ เป็น พระธรรมธร และ พระวินัยธร

เรื่องของสองพระนี้ เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัว สมัยหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าต้องเสด็จไปอยู่ป่า พระองค์เดียว อาศัย ลิง และ ช้า อยู่ ในขณะนั้น

สำหรับช้างได้รับ พยากรณ์ ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า องค์ต่อไปอีกประมาณ 7 องค์ เรื่องนี้เกิดที่ ป่าลิไลย ( ป่าเลย์ไลย์ ) ส่วนลิง ก็น่าจะไม่ธรรมดา

พระธรรมธร ให้เรียน พระสูตร และวิธีการปฏิบัติกรรมฐาน คือ มูลกัจจายนะ
พระวินัยธร ให้เรียน และ จดจำข้อบัญญัติวินัยของ พระภิกษุ และการวินัจฉัยโทษ ปรับอาบัติ


56  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / บันทึกหนัก เรื่อง พระเณร ก็มี แต่คงให้อ่านมากไม่ได้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 10:41:20 am
"ไปเยี่ยมพระเณร อบรมบาลี พระเณรอยู่ในวัดร่วม สามร้อยรูป เวลานั่งฉันภัตรมาโดยพร้อมเพรียง เวลาเรียนก็ไปกันอย่างคับคั่ง แต่ถึงเวลาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า มี พระเณรเข้าเฝ้าเพียง 4 - 6 รูป ตกลงว่าทุกวันนี้เราให้ความรู้ หรือ ให้คุณธรรม เราให้ความรู้อะไร กับศาสนทายาท ให้ ตัวตน หัวโขน ยศศักดิ์ แล้วหลงลืมตัว กันไปเลยใช่ไหม ....."

ตัวอย่างเขียนหนัก ๆ ในบันทึก นะ เอามาให้ชมสักนิด อย่าคิดว่าฉันว่าไม่ได้มองพระเณร ดี หรือ ไม่ดี หรือ ไม่แยกแยะ เพียงแต่อาจจะไม่พูด เพราะไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะพูดได้ กับ พระเณรเหล่านั้น

 ใครมีบุญวาสนาร่วมกัน ก็ตักเตือน ชี้ทางให้ เท่านั้น ฉันเองก็ไม่ได้มีความสามารถจะเปลี่ยนแปลงสังคมตอนนี้ได้ ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็เพื่อคนที่มีวาสนา เป็น ศิษย์ ครู กันมาก่อน ตามคำอธิษฐาน เท่านั้นใครจะไป สู่ประตู อมตะ รีบมา สังขารฉันเองก็ใกล้แล้ว ....

  บ่มเพาะลูกศิษย์บางครั้งใช้เวลามากทีเดียว บางท่านทดสอบกัน สอนกัน 10 กว่าปี ที่น้อย ๆ ไม่มีดอกนะจ๊ะ ยิ่งเกิดใหม่ กิเลสอนุสัย ก็พอกพูนทางลบมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ดังนั้นยิ่งนานวัน พระอริยะ ก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ ยุคนี้เป็น ยุค ของพระอนาคามี และ พระสกทาคามี ที่ยังมีจำนวนมาก

   ;)
57  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียน ถาม เรื่อง อัปปมัญญา ที่ฟังจากรายการ คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 10:17:31 am
ขั้นตอน
   1. สัมปยุตธรรม ลงศูนย์นาภี ด้วยพุทธคุณ
   2. กำหนดพุทธคุณ พุทโธ สักพัก พอให้จิตผ่องใส
   3. อธิษฐาน เข้า เมตตาอัปปมัญญา
   4. เลือนฐานจิต จากศูนย์ ขึ้นไปที่ หทัยวัตถุ เนื่องด้วย เมตตาบารมี เกิดที่ หทัยวัตถุ ด้วยอำนาจของใจ
   5. ทำการระลึกถึง โทษ แห่ง ความโกรธ
   6. ทำการระลึกถึง การระงับความโกรธ ด้วยขันติธรรม
   7. สมาทาน ขันติธรรม เข้ากลางหทัย ด้วยความรู้สึกว่า การไม่โกรธ หรือ ระงับความโกรธ นั้นเป็นเหตุให้เกิดความสุข ใครที่สุข ก็คือ ใจที่สุข ใจที่สุข ก็คือเราที่สุข
   8. เมื่อถึง เรามีสุข นั่นก็คือ ความรักในตัวเรา ปรารถนาให้เรามีความสุข เพราะสุขจึงไม่คิดจะเบียดเบียนใคร ให้ทุกข์ เพราะถ้าทำให้คนอื่นทุกข์ ใจเราก็ทุกข์ ดังนั้น จิตจะดั้งดวงแห่งสุข ในท่ามกลางหทัย ว่า ขอให้เราเป็นผู้มีความสุข
   9. เมื่อถึงตรงนี้ ดวงนิมิตร คือ อุคคหนิมิตร ก็จะเกิดไปตามลำดับ
   10.เมื่อดวงนิมิตร เกิดขึ้นแล้ว ในท่ามกลางหทัยวัตถุ ก็จะขยายใหญ่ บ้าง เล็ก บ้าง ตาม ปฏิภาคนิมิตร ของแต่ละคน แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ จะเป็นรูปกลีบดอกบัว  จะเริ่มบาน 4 กลีบ 8 กลีบ 16 กลีบ 32 กลีบ 64 กลีบ จนบานซ้อนบานไปเรื่อย ระหว่างกลีบบัวจะเปลี่ยนสีไปด้วย บางท่านบานจนมีกงจักร หมุนรอบดอกบัว   เมื่อจิตเห็นปฏิภาคอย่างนี้แล้ว จึงกำหนดความสุข ตรงนั้น มันเป็นความสุขที่ไม่มีการเบียดเบียน เพราะความรักตนให้มีความสุข นั่นเอง ความสุขก็จะไต่ชั้นระดับไปถึง ตติยฌาน
   11. เมื่อถึง ตติยฌาน ให้ทำการอธิษฐาน แผ่ทิศาผรณา เป็น สีมสมเภท ( ไม่จำกัดขอบเขต ) ให้ทำการผ่ออกไปที่ 12 บุคคล ทั้ง 10 ทิศ
   12. จิตจะทรงอารมณ์ ด้วยนิมิตร ดอกบัน จาก 1 ดอก เป็น 2 ดอก 3 ดอก 4 ดอก 5 ดอก ตามทิศ จากนั้น เมื่อแผ่เสร็จรอบทิศทั้ง 10 ดอกบัวทั้งหมด จะบานออกแผ่กลีบประสานกัน ในตติยฌาน ขั้น ประณีต
   ( สำหรับพระอริยะบุคคล พระอนาคามี ขึ้นไป จะเป็นธรรมจักร แทนดอกบัว ตอนเข้า ตติยะฌานสีมสัมเภท
     ถ้าเป็นพระอรหันต์ ลัญจกร ( อันนี้กล่าวไว้แล้ว ในห้องศิษย์สายตรง แต่ผู้ทีจะหมุนได้ มีประเภทเดียวเท่านั้น ไม่ใช่หมุนได้ทุก ลัญจกร  จะหมุนแทน ดอกบัว)
   13. จิตจะไม่เข้า อุเบกขา เพราะ เมตตาอัปปมัญญา ไม่สามารถเข้า อุเบกขาเป็นฌานที่ 4 ได้
   14. สภาวะที่อยู่ ใน ตติยะฌาน ในขณะนั้นเรียกว่า สมาบัติของเจโตวิมุตติ ไม่ใช่ฌาน 4 ไม่ใช่ ฌาน 8 แต่อำนาจฌา่นสมาบัติ ขณะนั้น มีอานิสงค์มากกว่า ตามพุทธพจน์กล่าวไว้ ถึง 10 ประการ
   15. โดยส่วนใหญ่ เมื่อเข้า ตติยะฌาน ขั้นประณีต จะทรงสมาบัติ อย่างน้อย 3 วัน 3 คืน
   16. ให้อธิษฐานออกจาก เมตตาอัปปมัญญา เช่นกรรมฐาน เวลาปกติ การออกเหมือนกัน
   17. ไม่ต้องแผ่เมตตา ใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะในกรรมฐาน เป็นการแผ่ เมตตา อยู่แล้ว
   
    ;)     
 
58  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียน ถาม เรื่อง อัปปมัญญา ที่ฟังจากรายการ คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 09:59:25 am
ถ้าตอนนั่งกรรมฐาน กำหนดทิศไม่ได้ ก็ให้กำหนด ซ้าย ขวา หน้า หลัง ขวาเฉียงหน้า ขวาเฉียงหลัง ซ้ายเฉียงหน้า ซ้ายเฉียงหลัง  บน ล่าง ก็ได้ แต่ไม่สัมพันธ์ กับคำภาวนา คือ กล่าวทิศ แต่ใช้แทนกันได้


   ;)
59  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถ้าภาวนาอะไร ไม่ได้ ก็ กลับ ปรารภธรรม ( ปัจจุบัน เวไนยยะ ใช้แบบนี้กัน ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 09:48:43 am


"ฉันไม่ได้หาทาง ดับทุกข์อันเกิดจากโลกธรรม แต่ที่หาอยู่ทุกวันนี้ คือความน่าจะเป็นไปได้ในการเผยแผ่ พระกรรมฐาน ไม่ให้ติด ไม่ให้ขัด หลายคนเข้าใจผิดว่า ฉันหนีความทุกข์ไปที่ต่าง ๆ ฉันไม่มีความจำเป็นต้องมีหนีความทุกข์ไปในที่ต่าง ๆ เพราะฉันรู้ดีว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกี่ยวกับสถานที่ หรือบุคคล แต่มันเกิดที่ใจ ที่มีเหตุปัจจัยจากตัณหาต่างหาก ดังนั้นต่อให้ฉันหนีไปที่ไหน ๆ มันก็ไม่พ้นจากทุกข์ เพราะทุกข์ที่เกิดที่ใจ ต้องดับที่ใจเท่านั้น ที่ฉันทำทุกวันนี้ คือความเป็นไปได้ ในการเผยแผ่พระกรรมฐาน ไม่ให้ติดข้อแม้มากมายต่างหาก ลำพังแค่ประเพณีการขึ้นกรรมฐาน ก็เป็นอุปสรรคใหญ่ ขาดผู้ปฏิบัติจริงจัง นี่ก็เป็นอุปสรรคอยู่เช่นกัน ดังนั้นบางครั้งการหลีกเลี่ยงเพื่อให้การเผยแผ่ธรรมเป็นไปอย่างสะดวก ก็ต้องมีการเสียสละ และผู้เสียสละ ก็ไม่ต่างอะไรจากทหารที่ไปปกปักษ์รักษาดินแดน สิ้นชีพเพื่อชาติ ไม่ต่างกันเท่าใดนัก เพียงแต่ฉันทำหน้าที่นักรบของศาสนา คือ รบกับกิเลส ของคนที่พร้อมจะไปสู่ ประตูอมตะเท่านั้น ถ้ามากกว่านั้นก็ไม่ไหวเหมือนกัน ....."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส
60  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมตอบปัญหา เรื่อง "พระธรรมปีติ" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2016, 08:41:38 am
พระลักษณะ ในพระขุททกาปีติ เป็นอย่างไรครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=720.msg3079#msg3079



ค่อยกรองเพิ่มเติมนะ ตอนนี้กำลังไล่่อานตั้งแต่กระทู้แรก
61  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: รวมตอบปัญหา เรื่อง "พระธรรมปีติ" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2016, 08:34:41 am
ยังไม่ได้คัดกรองทั้งหมดนะ แต่ลิงก์ที่แนะนำ นั้นก็เกี่ยวข้องอยู่
ตามที่สมาชิก หลาย ๆ ท่านแนะนำมาให้พระอาจารย์ ช่วยรวบรวมการตอบปัญหา ที่เกี่ยวกับห้องพระกรรมฐาน และจัดแยกให้ท่านได้อ่านกันอย่างสะดวก เพิ่มขึ้น

  อันที่จริงเป็นคำแนะนำที่ดี แต่ในขณะเดียวกัน คนที่ทำก็ต้องนั่งอ่าน สิ่งที่โพสต์ไว้ เพื่อท่านทุกท่าน อีก ก็ขอบคุณกับคำแนะนำ ฉันก็จะได้ทบทวนไปด้วย ดีเหมือนกัน

   ;)
62  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำไม จึงละทิ้ง แนวทางสวนโมกขพลาราม อยากทราบเหตุผล ทำไมจึงเลือกสายวัดราชสิทธาราม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2016, 02:44:58 pm
อันที่จริง จะตอบว่า ละทิิ้งแนวทางไปเลย ก็ไม่ถูก เพราะว่า ที่ละทิ้งไปนั้นเป็นสิ่งที่ขัดกับพระดำรัส ของพระพุทธเจ้า ตรวจสอบด้วย อริยสัจจ 4 และการภาวนามาแล้ว จึงได้ละทิ้งส่วนสุดนั้นไป แต่ถ้าส่วนใด เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นถูกต้องไม่ขัดในญาณ ในองค์แห่งมรรค แล้ว ภาวนาแล้วก็ไม่ขัดสามารถ รวมลงมรรคได้ สิ่งนั้นก็ยังปฏิบัติตาม อยู่เสมอ ไม่ได้ ละทิ้ง

    เรื่องที่ต้องประกาศว่าไม่เห็นด้วย คือ เรื่อง ศาสนาสากล ซึ่งพากันตีความพุทธศาสนา เป็นเหมือนศาสนาอื่น หรือ ศาสนาอื่น  ก็เป็นศาสนาพุทธ รวมถึงการตีความ ว่า พระพุทธเจ้า พระธรรรม เป็น ธรรมชาต ซึ่งหลังจากได้ภาวนาทราบความจริงแล้ว ในญาณจึงทราบว่าไม่ได้เกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงไม่เห็นด้วย ในแนวทางศาสนาสากล เพราะพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่สอน ปรมัตถธรรม ศาสนาอื่น ๆ ไม่มีเรื่องนี้ ดังนั้นจะเห็นตัวศาสนาพุทธ ไม่ไปฆ่าใคร ทำลายใคร ให้ตกต่ำหรือ ตาย

   ดังนั้นแนวทางใด ที่ยังเป็นสัมมาทิฏฐิ ก็ยังคงไว้อยู่
   ส่วนแนวทางใดที่ขัดกับการภาวนา และ ญาณ สิ่งนั้นจะละไม่ตาม

    เชื่อว่าครูออาจารย์ ของ ข้าพเจ้าในสายนี้จักเข้าใจ ใน ทัศนะวิสุทธิ นี้เช่นกัน

   เจริญธรรม / เจริยพร

 
63  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อาหารดีประณีต แต่ไม่เพียงพอแจกจ่าย เปรียบเหมือน ปฏิเวธ ที่ มีน้อยกว่าการปฏฺิบัติ เมื่อ: มกราคม 08, 2016, 08:46:26 am
"อาหารจะดี ประณีต มีค่าหายาก คนครัวมีชื่อเสียง ปีหนึ่งทำได้สักครั้ง มีเพียงนิดหน่อย จัดเป็นอาหารที่เลิศ ครั้นมีผู้เดินทางไกล ผ่านมาจำนวนมาก เรานำอาหารแบ่งเล็ก แบ่งน้อย กระจายแจกแก่ผู้เดินทางจำนวนมาก รสแห่งอาหารย่อมถึงเขาบ้าง ไม่ถึงบ้าง ความประณีตของอาหารแลอารมณ์ นั้นย่อมไม่บังเกิด จะมีเพียงไม่กี่คนที่ลิ้มรสแล้ว ก็ปรารถนา จะเสพรสนั้นอีก ฉันใด
พระธรรมอันงาม อันละเอียด อันมีประมาณที่ยากจะได้รับ จากพระอริยะ อันมีกาลแห่งมรรคและผล ที่เกิดขึ้นแล้ว จัดเป็นธรรมอันละเอียดสุขุม ครั้นมีผู้เข้าภาวนามิได้ปรารถนา ในความสิ้นกิเลส พระธรรมที่กระจายลงไปสู่คนเหล่านั้น ย่อมมีเพียงรสนิดหน่อย พอให้เขาระลึกได้ถึงผลแห่งอันระลึกได้เล็กน้อย มีเพียงผู้มีปัญญา ไม่กี่คน ที่ได้รับฟังแล้วภาวนาตามได้น้อย ฉันนั้น "
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส



64  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อาหารที่หยาบ พอแจกจ่าย แก่ผู้คนเปรียบเหมือน ปริยัติ ที่มีมากกว่า การปฏิบัติ เมื่อ: มกราคม 08, 2016, 08:44:30 am


"อาหารที่รสชาด ธรรมดา มีเพียงให้ปริมาณบริโภค มีกำลัง อันบุรุษผู้บริโภคอาหารนั้นด้วย การสำนึกในการมีชีิวิต อาหารนั้นแม้ไม่ประณึิต อันหารสชาดที่ประทับใจได้น้อย แต่ให้ชีวิตรอดแก่ผู้บริโภค ฉันใด
เปรียบเหมือนบุรุษที่ มีปัญญา มีแรง รับธรรมเพียงส่วนหนึ่ง เพียงพอแก่จริต เขาย่อมกระทำความเพียรอย่างนั้น ตามธรรมอันให้ผล คือชีวิตอมตะแก่เขา เมื่อจิตของเขาพ้นแล้วจากสภาพที่ไม่มีการปรุงแต่ง ย่อมถึงแก่ความเป็นรอดจากโอฆะ ฉันนั้น
"
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส
65  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ตอนนี้ ได้แบบแปลน ทุติยะเจดีย์ แล้ว กำลังมองหาที่สร้าง นะ เมื่อ: มกราคม 06, 2016, 03:59:21 pm








 หลังจากได้ไปเยี่ยมชม เจดีย์วัดประยูรวงศาวาส แล้ว ก็ได้ไอเดียว เรื่อง ตั้งเจดีย์ 8 องค์เป็นกำแพง แก้ว ตามไอเดียเก่า

 แต่กำแพงแก้ว นี้ ต้องอยู่สูง และทางขึ้นเอียงลาดขึ้นมาชั้นสอง จะเสมอกัน กับเจดีย์ใหญ่ โดยองค์เจดีย์ใหญ่ นั้นภายในกำแพงแก้ว จะใช้ ประเภทโดม ใส ซึ่งจะมีไอเดียว ปรับปรุงใหม่ เปลี่ยนแบบจากที่เคยเห็นไว้บ้าง

   ;)
66  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ตอนนี้ ได้แบบแปลน ทุติยะเจดีย์ แล้ว กำลังมองหาที่สร้าง นะ เมื่อ: มกราคม 06, 2016, 03:51:00 pm
เจดีย์หาพบเจอตอนที่จะสั่งทำ Model เห็นว่ามีการออกแบบ ร่วมสมัย ไอเดีย คล้ายกับที่เราออกแบบไว้ สำหรับเจดีย์นี้ ได้วางศิลาฤกษ์ ไปในวันที่ 16 ก.ย. 58 เริ่มการก่อสร้างแล้ว มี เจ้าคณะหนตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นประธาน

สำหรับเรื่องงบประมาณการก่อสร้าง แล้ว คิดว่า คงได้สืบเสาะถามจากผู้สร้างเจดีย์นี้ ที่ขอนแก่น นะ เพราะพึ่งเห็นว่า มีลักษณะการก่อสร้าง ที่คล้ายคลิงกัน เพียงแต่ของเขา มีความวิจิตรทางศิลปะร่วมสมัยอยู่มาก ในการออกแบบ แต่ของเรา แค่ชั้นเดียวเท่านั้น แต่ด้านล่างจะเรียบง่าย ธรรมดา นะ ส่วนเจดีย์ ก็พยายามให้มีความธรรมดาทรงคล้ายกับ ปฐมเจดีย์



67  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สามัญสำนึก ของปทปรมะ ย่อมไม่อาจแทรกธรรมลงไปได้ ( ยุคป่าเถื่อนกำลังกลับมา ) เมื่อ: มกราคม 05, 2016, 01:39:04 pm

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://news.tlcthai.com/wp-content
พระพุทธภาษิต บทหนึ่ง กล่าวเรื่อง ความสว่าง และ ความมืด

    ตโม ตม ปรายโน  ตโม โชติ ปรายโน
    โชติ โชติ ปรายโน  โชติ ตโม ปรายโน

   มืดมาแล้ว มืดไป มืดมาแล้ว สว่างไป
   ส่วางมาแล้ว ส่ว่างไป สว่างมาแล้ว มืดไป

   ทั้งหมด อยู่ที่ สถานะ ของบุคคลนั้นเป็นผู้เลือก ไม่สามารถโทษใคร ๆ ได้ เพราะจิตที่อบรมภายใน ถ้ามันมีความดีอยุ่ เขาเรียกว่า สามัญสำนึกของมนุษย์ ก็ย่อมเลือกหนทางของมันเอง

    นอกจากสามัญสำนึก ของมนุษย์ ตายลงไปแล้ว เหลือ แต่ สามัญสำนึกของสัตว์ดิรัจฉาน อสุรกาย เปตร และ สัตว์นรก ที่มันเติบโตอยู่ โอกาสย่อมไม่มีแก่ ธรรม แน่นอน ย่อมดิ่งลงต่ำ คือ อกุศลธรรม

    ปัจจุบัน สถานะของ ปทปรมะ มีมากนั่นหมายความสถานะ ความเป็นมนุษย์ แทบจะไม่มี หรือ ไม่มี ความเป็นมนุษย์ จึงสิ้นสุด ที่ เวไนยะ เท่านั้น

     ดังนั้นจะเห็นว่า บางคนสนุกสนานกับการฆ่า เบียดเบียนกัน สนุกสนาน กับการผิดศีล นั่นก็หมายความว่า สามัญสำนึกในความเป็นมนุษย์ หมดไปแล้ว หรือ กำลังจะหมด นั่นเอง

    กมมุนา วัตตะตี โลโก
    สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
    กรรมของสัตว์
68  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สุดท้าย ก็คือ การบินเดี่ยว ไปแต่เพียงผู้เดียว เมื่อ: มกราคม 05, 2016, 01:30:10 pm


   ฉันทำงานมาหลายแบบ ไม่เคยท้อ ถึงแม้ว่างานจะยาก ก็ยังมีความสำเร็จให้เห็น อยู่บ้าง แต่สำหรับงานด้านการเผยแผ่พระกรรมฐาน ตั้งแต่เริ่มทำมา สิ่งที่ครูท่านบอกว่า สร้างพระโสดาบัน เพียงรูปเดียว ก็สำเร็จเป้าหมายแล้ว แต่ทุกวันนี้ผ่านไป 9 ปีแล้ว พระโสดาบัน ยังไม่ได้เลย นั่นแสดงให้เห็นว่า ในยุคปัจจุบันนี้ คนแม้มีความตั้งใจในการฝึกฝนอบรมจิต ตามพระธรรมกรรมฐาน แต่คนปัจจุบันกับผูกยึดติด ด้วยความรู้สึกบาง ๆ อยู่นิดหนึ่งเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็คือ ความทะนงในปัญญา คิดว่า เมื่อเวลาเหมาะสมแล้ว จะสำเร็จธรรมได้เอง



    หลังส่วาง แต่ หน้ามืด

    สำหรับเจตนา นี้ ต้องการแสดงธรรม เรื่อง ปูชนียวัตถุ กับ ปูชนียบุคคล
ด้านหลังถึงสว่าง ก็เป็น วัตถุธรรม ให้คนระลึกถึง กุศลธรรม ด้านหน้าถึงมืด มันก็เพียงสังขาร ที่ประกอบด้วย ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ทั้งสองอย่างไม่ต่างกัน ถ้าล้วนแตกดับแล้ว ก็แยกเป็นธาตุ ทั้ง 5 ประการ แต่ มีอยู่เพียงธาตุเดียว ที่ไม่สูญหายไป ก็คือ มนายตนะธาตุ ที่ยังคงอยู่ แม้เพียงใครเห็นยกมือไหว้ จิตชื่นชม ก็ส่งผลให้แก่ผู้นั้น คือ ความสุข ( กุศลธรรม ) นั่นเอง ที่มืดก็เพราะว่า ให้ความหมาย ว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นบุคคลเราเขา ที่สว่าง ก็ให้ความหมายว่า เป็นกุศล เป็นที่บูชา ทั้งสองอย่างนี้ ไม่แตกต่างกัน เพราะท้ายที่สุด ก็เป็นเพียง ความว่างเปล่า

ปูชนียวัตถุ เป็น ดั่งเครื่องหมายแห่งความสว่าง ส่วนปูชนียบุคคล เป็นดั่งเครื่องหมายแห่ง ความสว่างในที่มืด ยามทุกข์ ร้อนจิตใจ สับสน วุ่นวาย สิ่งที่เป็นที่พึ่งอันดับแรก ก็คือ พระสงฆ์ พระธรรม และพระพุทธ ปัจจุบันการเข้าถึงรัตนะตรัย มาจากพระสงฆ์ก่อน ไม่ใช่มาจาก พระธรรม หรือ พระพุทธ เพราะพระสงฆ์ เป็นผู้ที่มากล่าวยกย่อง พระพุทธ และ สาธยายพระธรรม ในปัจจุบัน นะ หากปัจจุบันวันนี้ถิ่นใดมีพระสงฆ์ ที่เป็นสุปฏิปันโน จำนวนมาก ที่นั่นก็มีสุขมาก ถ้ามีพระสงฆ์ ที่เป็นพระสุปฏิปันโน น้อย ที่นั่นก็มีทุกข์ มากเช่นกัน วันนนี้พระพุทธศาสนา ที่ขยายไปทั่วโลก เป็นเพราะพระสงฆ์ ที่เป็นสุปฏิปันโน นั้นเผยแผ่พระธรรม สาธยายธรรม จนคนทั้งหลายระลึกได้ถึง การอุบัติของพระพุทธเจ้า เป็นสำคัญ
69  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: เหตุการณ์ ยืนยัน วัดราชสิทธาราม ว่ามีนกเยอะนะที่นี่ แต่ ไม่มีนกพิราบ เมื่อ: มกราคม 03, 2016, 12:49:03 pm
กาญจนบุรี ยังไม่ได้ไป ต้องกลับก่อน เพราะว่า ไม่มีใครดูแลระบบ เว็บ และ วิทยุ ทำให้การติดต่อต่าง ๆ สะดุดหมด ประกอบกับพระอาจารย์ไม่ได้พกพา เครื่องพีซี ( กำลังหาซื้อ แท็บเล็ต ) และที่สำคัญ การเดินทางไปไม่ได้ เนื่องจาก รถเต็มไปแล้ว ขึ้นไม่ได้ ด้วย คนเดืนทางกลับ เที่ยวกัน จนไม่มีที่นั่งให้กับพระในช่วงเทศกาล ปีใหม่ นี้

  เจริญพร เอาไว้โอกาสต่อไป
70  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มอบธรรมะ ต้นปีแก่ท่าน สาธุชน พ.ศ. 2559 เมื่อ: มกราคม 03, 2016, 12:44:20 pm
จะบอกว่า ที่เฟค ไวกว่า นั้นเลยก็ยังไม่ใช่ ข้อความที่ เว็บ ส่วนมากจะมีก่อน เพราะเป็นเนื้อหา ตรง ส่วนที่เฟค ไวกว่านั้น จะไวเรื่องระบบ รูปภาพ คือได้ภาพมา จะสามารถอัพโหลดได้ทันที

   แต่ตัวเว็บนั้น ต้องมาบีบอัดก่อน ถึงจะอัพโหลดได้ ซึ่งความไว จะต่างกันตรงนี้ แต่ระยะยาวจะดีกว่า เพราะที่เฟค ภาพจะหายไป เวลานำมาใช้ในเว็บ

    ส่วนของเว็บถ้าอัพโหลดไว้เอง ภาพจะคงอยู่ อย่างนั้นไม่หายไป

    สำหรับเรื่องนี้ เจตนาให้กับเว็บตรง ๆ ไม่ได้ไป ปิดโพสต์ ที่ เฟคบุ๊ค นะ ( เข้าใจถูกต้อง )

    เจริญธรรม / เจริญพร
71  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม ประจำเดือน ม.ค. 2559 ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: มกราคม 03, 2016, 12:35:11 pm
มาถึงถิ่นธรรม ก็ควร เรียน กับพระอาจารย์ ใหญ่ สั่งสมกับ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม ไป
ส่วนของฉันนั้น เป็นประเภท ปิดทองหลังพระอยู่แล้ว ดังนั้น ... หลายคน ที่ไม่ชอบระบบปิด ก็เลย ชอบเป็นข่าวกัน ที่จริงการปิดทองหลังพระนี้ ไม่ใช่ เรื่องที่ใคร ๆ ทำได้ง่าย ๆ

   เจริญธรรม / เจริญพร
72  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม ประจำเดือน ม.ค. 2559 ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: มกราคม 03, 2016, 12:31:52 pm
สาธุ สาธุ สาธุ

  ก็ขอให้ท่านทั้งหลาย ค้นหาคำตอบ ของตัวเอง และ มุ่งสู่การภาวนา ที่เหมาะสมกับตนเอง ให้ถึงฟากฝั่ง คือ พระนิพพาน ให้ได้

    เจริญธรรม / เจริญพร
73  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ของขวัญ แก่ศิษย์ ที่ก้าวหน้า เมื่อ: มกราคม 01, 2016, 08:15:37 am


74  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พุทธคุณ ไม่สิ้นไปจาก พระอริยะ เมื่อ: มิถุนายน 19, 2015, 10:36:49 am
ask1หัวข้อนี้ คือ อะไร ?

  :smiley_confused1:

   ans1
   โปรดอ่านให้ดี และทบทวนการอ่านให้เข้าใจ ผู้มีปัญญาไซร์ต้องอ่านเข้าใจแน่นอน โปรดอ่านอีกรอบถ้ายังไม่เข้าใจ และถ้ายังไม่เข้าใจก็ให้อ่าน จนเกิดความเข้าใจ เพราะไม่ได้ใช้ภาษาซับซ้อน ไม่ได้มีปริศนาใด ๆ ที่ปัญญาของผู้ภาวนาจะมิอาจจะไม่เข้าใจในความหมาย เลย

   ดังนั้นขอให้ท่าน ทบทวนการอ่าน วัตถุประสงค์ ให้เข้าใจ ถ้าต้องการมีส่วนร่วม ก็ให้สาธยายคุณแห่งพระพุทธเจ้า ด้วยกัน ถ้าไม่ต้องการมีส่วนร่วม ก็ให้ไว้เพียงรู้และชื่น ชมข้อความที่คนอื่น กล่าวสรรเสริญพระพุทธคุณแทน

   เจริญพร


 
   พระผู้มีพระภาค    ผู้เป็นใหญ่แห่งชาวโลก    เป็นผู้สูงสุดแห่งนระ
 อันหมู่พรหมประนมมือทูลอาราธนาว่า
 ‘สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นปราชญ์    มีธุลีในดวงตาน้อยมีอยู่ในโลกนี้
 ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์หมู่สัตว์นี้แสดงธรรมเถิด
       ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงเป็นผู้นำ
 ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรม   
 ขอพระองค์โปรดแสดงอมตบท
 ขอพระสุคตโปรดแสดงธรรมเพื่ออนุเคราะห์ชาวโลกเถิด


         พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  พุทธวงศ์  ๑.  รตนจังกมนกัณฑ์
         เล่มที่ 33 หน้า 553

  องค์คุณแห่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์คุณหนึ่งที่สำคัญ นั่นก็คือ พระมหากรุณาธิคุณ อันเปี่ยม พระเมตตาธิคุณ สองประการนี้นับว่า มีความสำคัญ อันเป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเผยแผ่พระสัจจะธรรม ( อริยะสัจจะ 4 ) ให้ปวงสัตว์ อันมีธุลีในดวงตาน้อยได้ มองเห็นประตูแห่ง อมตะธรรม

    ข้าพเจ้า รำลึกถึงคุณแห่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนนี้แล้ว จึงดำรงค์ขันธ์นี้ไว้ เยี่ยงพระอริยะทั้งหลาย ที่มีชีวิตอยู่ เพื่อพระธรรม อันไพบูลย์ นั่นเอง

   ขอความเจริญในธรรม และความสำเร็จ ในกรรมฐาน จงมีแก่ข้าพเจ้า ตราบเฒ่า เข้าสู่นิพพาน ด้วยประการฉะนี้ เทอญ




 
75  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สดุดี วีรธรรม สองพระ ในใจ ฉัน ที่ชื่นชม ( วัดบวร ) เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 03:44:30 pm




 ความตั้งใจจริง ตั้งใจไปเคารพศพ เจ้าคุณระแบบ



มีคนถามมาว่า เจ้าคุณระแบบ มีความสัมพันธ์อย่างไรกับอาจารย์ ?

คำตอบก็คือ ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ กันเป็นพิเศษ ที่มีก็คือความเคารพในธรรม ที่ท่านแสดงไว้ด้วยสื่อ บันทึกต่าง ๆ และทางเราก็ฟังแล้ว สมเหตุสมผล จึงนำไฟล์เสียงท่านมาเปิดสลับรายการในสถานีไป ทุกวัน ส่วนตัวก็เคารพท่านกันก็ตรงนี้



บางครั้งการเป็นครูอาจารย์ จะเทียบเท่ากับการให้ธรรมเป็นทาน นั้นเลย ก็ยากอยู่ ในฐานะผู้แจกธรรมทาน ก็นับว่า ท่านเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งที่มีการพูดบรรยายพระสูตร ได้ครบถ้วน ส่วนตัวชมชอบก็ตรงนี้ นะ ในฐานะผู้แจกธรรมเช่นเดียวกัน ย่อมคงต้องสมควรแก่การสักการะ อภิวาท ด้วยความชื่นชมในงานกิจการเผยแพร่ พระธรรมเช่นกัน



ตะวันแดด สาดส่อง ในยามเที่ยง
ฉันได้เลี่ยง คืบเดินเข้า บวรวิหาร
มุ่งเดินมา ร้อยกิโล เพื่อกราบกราน
สดุดี วีรธรรม พุทธชน
มาครานี้ ได้เยือนกราบ ท่านทั้งสอง
เข้าทำนอง มาหา ในภายหลัง
ก็ชื่นชอบ ในธรรม เป็นกำลัง
จึงมานั่ง อภิวาท สดุดี เอย
ธัมมะวังโส ๒ มิ.ย. ๕๘


76  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สดุดี วีรธรรม สองพระ ในใจ ฉัน ที่ชื่นชม ( วัดบวร ) เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 03:41:58 pm


ภาพนี้ถ่ายได้อย่างคมชัด สมกับที่ไว้วางใจ เรื่องการถ่ายภาพ จึงนำท่านไปด้วย อันนี้เป็น โกศพระศพของ พระญาณสังวร พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ซึ่งมีกำหนดการ ปี 2560 ในการถวายพระเพลิง นะตั้งใจไปหลายครั้ง หลายหน ไม่สบโอกาส ก็ได้ครั้งนี้แหละ กะว่าไปวัดบวร ครั้งเดียว สองงานเลย
77  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สิ่งที่ไม่คาดคิดไว้ เมื่อภาพการเข้าสมาธิขั้นสูง ที่ทำได้สมัย อายุ 13 ปี ปรากฏ เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2015, 02:15:27 pm


ตอนที่ 2

มีแต่เพียงรู้ มีแต่เพียงระลึก

    ( เมื่อการสวดมนต์ แบบ บริกรรมสมาธิ ทำให้ภาพอดีต ปรากฏ เรื่องราวธรรมก็ปรากฏ)




"เมื่อฉัน กลับมาที่ห้องในวันนั้น ฉันได้ตั้งจิตอธิษฐาน ระลึก ถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระกรรมฐาน ครูผู้บอกพระกรรมฐาน และกล่าวขอขมา ลาโทษต่อต่อ สิ่งที่ระลึกทั้ง 5 นั้น เพื่อกรรมใดที่ปิดธรรม ปิดดวงตาของข้าพเจ้า ด้วยบาปกรรมอันเล็กน้อยนี้ ขอให้คุณเปิด ธรรมจักษุเพื่อได้แจ้งประจักษ์ในธรรม ข้าพเจ้าจักสวดบท อัคคะโต เว นี้ อย่างต่อเนื่อง 4 ชม. ขอความสำเร็จในภาระกิจจงมีแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ

  หลังจากได้สวด บท อัคคะโต เว มาเป็นเวลา 1 ชม. แรกไม่รู้สึกอะไร พอเริ่มเข้า ชม. ที่ 2 ความล้า ความขี้เกียจ เริ่มครอบงำ จนคิดจะเลิกสวด แต่ปากก็ยังสวดต่อไปเรื่อย ๆ พร้อมกับจิตที่ ปริวิตกหลายเรื่อง กลายเป็นว่า สวดไปด้วย คิดไปด้วย เริ่มที่จะสวดผิด พอรู้สึกตัวว่า จะสวดผิด ตอนนี้ สติ สัมปชัญญะ ก็กลับมาเริ่มต้นตำหนิตนเองว่า เรื่องแค่นี้ยังทำไม่ได้ เรื่องที่มากกว่านี้ ก็อย่าไปหวัง จิตสร้างมานะ คือไม่ต้องการยอมแพ้ ขึ้นมา ก็เลยสวดด้วยความพลุ่งพล่าน ดาลเดือดตัวเอง ว่าเรื่องแค่นี้ก็ทำไม่ได้ จะไปทำเรื่องใหญ่กว่านี้ได้อย่างไร พอสวดไปสักพักหนึ่ง เริ่มมีความรู้สึกว่าผิด ที่ใส่อารมณ์ในการสวด แต่การสวดก็ยังไม่ได้ยุติ ลง เข้า ชม. ที่ 3 ก็สวดแต่ก็พยายามสวดไปเพื่อให้ได้เวลาตามที่ อธิษฐานไว้ ขณะเดียวกันก็เริ่มสวดแบบปกติ คือ วางใจในบทสวด พออารมณ์ ที่รู้สึกว่าวางใจได้เป็นปกติ คือไม่ดาลเดือด ไม่คิดไปเรื่องอื่น นอกจากสวดอยู่อย่างนั้น เข้า ชม. ที่ 4 รู้สึกว่า มีความดีใจ ปลื้มใจ ที่อดทนสวดมาอย่างนี้ ตอนนั้นน้ำตาซึมออกมาไหลอาบแก้ม ใจมันตื้นตัน ตื่นเต้น รู้สึกว่ามีความห้าวหาญ รู้สึกว่า กายนี้มันเบา จิตนี้ ( ความรู้สึก ) มันซาบซ่าน ครั้นครบ 4 ชม. ก็รู้ว่า ครบ 4 ชม.แล้ว แต่  สติ สัปชัญญะ ขณะนั้น กับบอกตัวเองว่า ไม่ต้องหยุดหรอก สวดต่อไปเรื่อย ๆ หยุดสวดก็ไม่มีอะไรทำ ก็สวดไปเถอะ สวดไปเลย สวดไปเท่าที่สวดได้ เท่าไหร่ก็เท่านั้น จิตบอกอย่างนี้ ก็สวดไปเรื่อย ๆ แต่คราวนี้ไม่ดูนาฬิกาแล้ว เลิก เอื้อมมือไปปิดไฟ พร้อมสวดไปเรื่อย กะว่าสวดให้หลับไปเลย พอหลับตาลงแล้วสวดบริกรรมไปเรื่อย ๆ อย่างนั้น นานเท่าไหร่ ก็ไม่รู้  ปรากฏ มีภาพตัวเองสมัยเป็นสามเณรอยู่ที่ วัดดาวเสด็จ ตอนนั้นอายุ 13 ปี ปรากฏขึ้นเป็นเหตุการณ์ ที่สามเณร ( ตัวเอง ) ป่วยด้วยโรคอาหารเป็นพิษ ทั้งอาเจียร ทั้งตัวร้อน ท้องเสีย จนโยมมัคนายก ต้องรีบตัวส่ง โรงพยาบาลดูเหมือน จะหมดสติข้างโอ่งน้ำใบใหญ่ จากนั้นภาพก็หายวูบไปกลายเป็นภาพตนเอง นอนอยู่บนเตียง ที่โรงพยาบาลสระบุรี มองไปที่เขียนเห็นสายน้ำเกลือ โยงอยู่ ในตอนนั้นรู้สึกเพลีย ก็มองดูขวดน้ำเกลือและจ้องมองที่ขวดน้ำเกลือด้วยความรำคาญ พยาบาลเข้ามาดู แล้วจับปรับปิดเปิดน้ำ ที่ขวด ก็เลยถามว่า อีกนานไหมครับ จะแกะออก พยาบาลบอกว่า หมอบอกว่าให้ไว้ทั้งหมด 5 ขวด ห้ามอาหาร 3 วัน ตอนนั้นใจก็รำคาญ คิดว่า ขอให้น้ำเกลือ มันหมดไปไว ๆ เถอะ รู้สึกรำคาญ แต่เพราะว่าต้องนอนอยู่อย่างนั้นทำอะไรไม่ได้ขยับตัวไม่มีแรง ก็เลยจ้องมองขวดน้ำเกลือ ดูน้ำที่หยดลงมาที่ละหยด ที่ละหยด พร้อมนึกในใจว่า หมดไวๆ นอนมองนอนนึกอยู่อย่างนั้น มองไปด้วยความเพลิน ก็เห็นหยดน้ำเกลือ ที่ตกกระทบแตกตัว กระจาย มีแสงแวววาว เกิดขึ้นก็ดูด้วยความเพลิน รู้สึกเพลิน เพราะเวลาหยดนำ้ตก 1 ครั้งจะมีแสงประกายกระทบ สวยมาก ยิ่งดูแสงที่กระทบก็ยิ่งสวยเจิดจ้า เหมือนก้อนน้ำแข็ง ก้อนแก้ว ที่ถูกแสงกระทบระยิบระยับ นอนดูอย่างนั้นโดยไม่ขยับตัว มารู้สึกตัวอีกครั้งก็ตอน พยาบาลมาบอกว่า น้ำเกลือหมดแล้ว น้องเณร ต้องทานอาหาร ถ้าทานแล้วไม่มีอาการท้องเสียอีก ก็ให้กลับวัดได้ หลังจากนั้น ภาพก็วูบหายไป พร้อมกับเสียงระฆังทำวัตรยามเช้าดังขึ้น สรุปแล้วเหตุการณ์ทั้งหมด มีเรื่องราว หลายวัน แต่ เห็นในระหว่างสวดนั้นใช้เวลาทั้งหมด 7 ชม. ตั้งแต่ 19.00 - 04.30 น. ทำให้ฉันนึกถึงเรื่องการเข้าสมาธิขั้นสูง แบบไม่ได้คาดคิดไว้แล้วฉันลืมอารมณ์นี้ไปตั้งแต่ กลับมาก็ไม่ได้นึกถึง เพราะตอนนั้นเป็นเด็กชอบเล่น ชอบสนุกมากกว่า เลยไม่ได้สนใจเรื่องสมาธิหรือผล แม้การได้เห็นหยดน้ำครั้งนั้นใช้เวลาถึง 3 วัน ในสภาพกึ่งหลับกึ่งตื่น แต่ตอนนั้นรู้ตัวดีว่า ฉันไม่ได้หลับแต่ฉันเพลินมาก ๆ ในการดูหยดน้ำ

  ขอบคุณหลวงปู่ ทำให้ทราบเรื่องราว ที่ลืมไปแล้ว ซึ่งหมายถึงอารมณ์กรรมฐานที่บกพร่องอยู่นั้นได้รับปรับปรุงอย่างเร็วมากในการสวด บท อัคคะโต เว .....



"


  ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
  บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
78  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฌาน บารมี ของเก่า ที่สามารถเข้าได้โดยไม่ได้คาดคิดไว้ เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2015, 01:31:55 pm

ตอนที่ 1

ว่าด้วยการระลึก ถึงคุณธรรมบารมีเก่า

    ( เมื่อวันหนึ่ง ฉันท้อเรื่องการปฏิบัติ อัปปนาจิตวิถี ที่ไม่สามารถกระทำให้เกิดได้ )




"เมื่อวันหนึ่งฉันท้อถอย ในเรื่องการปฏิบัติ ฌานสมาธิ ( เป็นขั้นอัปปนาจิต ) เพราะยิ่งทำ ก็ยิ่งฟุ้ง เพียรมากจัดเลยทำไม่ได้ ใจมันก็ร้อนรน เหมือนคนทำอะไรไม่ได้ดั่งใจ เหมือนจะคว้าได้ ก็คว้าไม่ได้ จึงเรียนบอกครูว่า ผมขอฝึกแค่อุปจาระสมาธิ เพื่อ วิปัสสนาก็พอนะครับ ผมต้องการวิปัสสนา มากกว่า เรื่องอัปปนาจิต

  ครูฉันนิ่งไป ไม่ตอบอะไร แต่สักพักท่านก็พูดขึ้นว่า
 "แก สามารถเข้า ฌานบารมีเดิมได้ตอนอายุ 13 ปี แล้วทำไมจะทำ ฌานบารมีไม่ได้ "
  ผมทำได้ตอนไหนครับ ? ไม่รู้สึกตัวเลย
 "แกทำได้ แล้ว แต่ เพราะว่าจิตหน่วงปัญญามากไป ในสายธรรมใหม่ จึงขวางกุศลธรรมดีไว้ ไม่ให้เข้าใจ"
  ไม่เข้าใจครับ !
 "เนื่องด้วยในสายธรรมใหม่ นั้น เป็นการใช้ปัญญามากจึงสกัดกั้นขวางการทำ สมาธิ แต่บารมีเก่ายังมีอยู่ ของเก่าที่มีมาแล้วก็ยังมีอยู่ และเคยเข้าได้แล้ว ถ้าสงบใจ ระงับความรู้ ว่า ว่าง หรือ สุญญตา ลงไปบ้างจะมองเห็นอุปนิสัย ของตนเองได้ สิ่งที่มีปัญญาตอนนี้มันก้าวเกินระดับของสมาธิ ดังนั้นการเจริญปัญญาที่มากกว่าสมาธิ จะเป็นหนทางแห่งปัญญาวิมุตติ นั้นกับคำอธิษฐานมันขัดกัน เนื่องด้วยตั้งแต่อดีตชาติมาก ไม่เคยปรารถนา เป็นพระอริยะประเภทปัญญาวิมุตติ แต่ตั้งความปรารถนาเป็น อริยะเอตทัคคะ ด้วย "
  แล้วกระผม ควรทำอย่างไร ครับ ?
  "วันนี้งดการเจริญปัญญา และ สมาธิ ทั้งหมด แต่ให้ไปเจริญการสวดมนต์แทน "
  การสวดมนต์ ไม่ใช่การทำสมาธิ หรือ ครับ ?
  "ไม่ใช่ สำหรับวันนนี้ไม่ใช่ "
  ...... !
  "วันนี้ให้สวดมนต์ บทว่า เลิศ เพื่อให้จิตสงบ ไม่ฟุ้งซ่าน และหยุดการใช้ สังขาร ( การคิดมาก) ลง"
  กระผมต้องสวดบทอะไร ครับ ?
 "บทที่ชื่อว่าเลิศ อัคคโต เว ให้สวดไปเรื่อย ๆ 4 ชม. สวดไปเรื่อย ให้สวดออกเสียงไม่ต้องดังเกิน เบาเกิน สวดแบบนิ่ม ๆ เรื่อย ๆ ทำนองสังโยค ไปเข้าใจนะ หลังจาก 4 ชม.แล้ว ก็จะจำเรื่องราว ตอนอายุ 13 ปีได้"
  ครับ กระผมจะปฏิบัติตาม ที่หลวงปู่สั่งครับ
"


  ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
  บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
79  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / หลักสูตร พระอภิธรรม เทียบเท่า ปริญญาตรี เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2015, 10:42:57 pm
วิทยาลัยแห่งนี้สังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีครูทั้งพระและฆราวาส 36 คน แบ่งชั้นเรียนตามหลักสูตรคือ ตรีโทเอก รวมเวลาเรียน 7 ปี จบแล้วได้ประกาศนียบัตรอภิธรรมบัณฑิต (ป.อบ.) เทียบเท่าปริญญาตรี

สิ่งพิเศษสำหรับการเรียนอภิธรรมคือ เรียนฟรี เว้นแต่ชำระค่าลงทะเบียน 50 บาท และค่าตำราตามราคา ไม่จำกัดอายุ และความรู้เบื้องต้น โดยทางวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนทุกวัน มีทั้งภาคบ่ายและภาคค่ำ และเปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์อาทิตย์) หยุดวันพระ วันนักขัตฤกษ์ และวันหยุดตามประกาศมหาวิทยาลัย

หลักฐานในการสมัครเข้าศึกษา
1.รูปถ่ายสีขาวดำ ขนาด 1 นิ้ว 2 ใบ
(ไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 2 ปี)
2.สำเนาประกาศนียบัตร (เฉพาะผู้ที่เคยสอบผ่านในชั้นต้นมาแล้ว)
เปิดสอนรอบปกติ (วันจันทร์วันศุกร์)
ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
ภาคค่ำ เวลา 17.00-19.00 น.
เปิดสอนรอบพิเศษ (วันเสาร์วันอาทิตย์)
ภาคบ่าย เวลา 13.00-16.00 น.
ภาคค่ำ เวลา 17.00-20.00 น.
สำหรับหลักสูตรการศึกษาอภิธรรมนั้นแบ่งดังนี้

ชั้นที่ 1 จูฬอาภิธรรมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 1 จิตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ การจำแนกจิตโดยย่อและโดยพิสดาร
ปริจเฉทที่ 2 เจตสิกสังคหะ
ศึกษาความหมาย ธรรมชาติ ลักษณะและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก
ปริจเฉทที่ 6 รูปสังคหะ นิพพาน
ศึกษาความหมาย โครงสร้างประกอบ เนื้อหาของรูปและนิพพาน

ชั้นที่ 2 จูฬอาภิธรรมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ปริจเฉทที่ 3 ปกิณณกสังคหะ
ศึกษาความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา เหตุ กิจ ทวาร อารมณ์ และวัตถุ
ปริจเฉทที่ 7 สมุจจยสังคหะ
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ โครงสร้างและเนื้อหาตามหลักสมุจจยสังคหะหมวดอกุศล มิสสกะ โพธิปักขิยะ และสัพพสังคหะ

ชั้นที่ 3 จูฬอาภิธรรมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 6 เดือน)
ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (มาติกาโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้างและเนื้อหาสาระของคัมภีร์ธัมมสังคณีประเภทของมาติกา ติกมาติกา ทุกมาติกา อธิธัมมทุกมาติกา สุตตันติกทุกมาติกา
เมื่อเรียนจบสอบชั้นที่ 3 หรือจูฬอาภิธรรมิกะเอก จึงได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

ชั้นที่ 4 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหะ
ศึกษาความหมายของวิถีจิต โครงสร้าง และกฎเกณฑ์ของวิถีจิต ปัญจทวารวิถี มโนทวารวิถี กามชวนมโนทวารวิถี อัปปนาชวนมโนทวารวิถี การจำแนกวิถีจิตโดยภูมิและบุคคล
ปริจเฉทที่ 5 วิมุตตสังคหะ
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง และเนื้อหาของวิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะ ปฏิสนธิจตุกกะ กัมมจตุกกะ มรณุปปัตติจตุกะ

ชั้นที่ 5 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ปริจเฉทที่ 8 ปัจจัยสังคหะ
ศึกษาความหมายของปัจจยสังคหะตามปฏิจจสมุปบาทนัยความเป็นไปของเหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกันตามปัฏฐานนัย
ปริจเฉทที่ 9 กัมมัฏฐานสังคหะ
ศึกษาความหมาย ประเภท ความสำคัญ และประโยชน์ของสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยอาศัยอรรถกถา และฎีกาประกอบ

ชั้นที่ 6 มัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ (ปัญหาพยากรณโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาและประเภทของธาตุกถาในนยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา พาหิรมาติกา
จบชั้นที่ 6 หรือมัชฌิมอาภิธรรมมิกะเอก จะได้ประกาศนียบัตร 1 ใบ

ชั้นที่ 7 มหาอาภิธรรมมิกะตรี (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (มูลยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของมูลยมกการจำแนกมูลยมก ทั้ง 4 ประเภท โดยนัย 4 การจำแนกมูลยมก 4 และนัย 4 โดยยมก 3 ยมกสรูปัตถนิสสยะ (ขันธยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระ และประเภทของขันธยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ และปริญญาวาระ

ชั้นที่ 8 มหาอาภิธรรมมิกะโท (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
ยมกสรูปัตถนิสสยะ (อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของอายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ประเภทของ อายตนยมก ธาตุยมก สัจจยมก ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ

ชั้นที่ 9 มหาอาภิธรรมมิกะเอก (ใช้เวลาศึกษา 12 เดือน)
มหาปัฏฐาน (ปัจจัยโชติกะ)
ศึกษาความหมาย โครงสร้าง เนื้อหาสาระของปัฏฐาน และประเภทของปัฏฐาน สรุปเนื้อความ 3 ประการ การจำแนกปัจจัย 24 โดยความเป็นกุศล อกุศล และอัพยากตะ

รวมใช้เวลาในการศึกษาจนจบหลักสูตรทั้ง 9 ชั้น 7 ปี 6 เดือน
จบชั้นนี้มีคุณสมบัติเท่ากับปริญญาตรี

ประวัติการศึกษาอภิธรรมในไทย
หนังสือที่ระลึกงานมอบประกาศนีบัตรอภิธรรมบัณฑิตเล่าประวัติความเป็นมาของการศึกษาพระอภิธรรมในเมืองไทยดังนี้

เมื่อพุทธศักราช 2494 พระเดชพระคุณเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เดินทางไปดูกิจการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่า ได้เห็นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศพม่าอย่างแพร่หลาย ซึ่งในสมัยนั้นการศึกษาพระอภิธรรมในประเทศไทยยังไม่มี จึงได้ติดต่อรัฐบาลประเทศพม่าขออาราธนาพระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ พระเถระผู้เชี่ยวชาญพิเศษทางด้านพระอภิธรรมปิฎกจากประเทศพม่ามาดำเนินการเปิดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎกครั้งแรกที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งพุทธศักราช 2509 พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ ถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์ได้ดำเนินการต่อเรื่อยมา



อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
พุทธศักราช 2511 ได้ก่อตั้งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร อยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานอำนวยการจัดการศึกษา โดยได้รับความอุปถัมภ์จากมูลนิธิสัทธัมมโชติกะ และผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป จนกระทั่งพุทธศักราช 2524 ด้วยเมตตาธรรมและมองการณ์ไกลของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่หวังความเจริญก้าวหน้าของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ประกาศให้อภิธรรมโชติกะวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้ชื่อว่า “อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ขึ้นตรงต่อสำนักอธิการบดี

ปัจจุบัน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสังกัดสำนักงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคมตามมาตรา 9 วรรคสอง และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ข้อ 11 (3) เรื่องการแบ่งส่วนงาน พุทธศักราช 2541 ได้ดำเนินการจัดการศึกษามาเป็นเวลา 36 ปีแล้ว มีสาขาทั่วประเทศ 57 แห่ง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีบทบาทเผยแผ่ธรรมะในรูปแบบของการจัดการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก อรรถกถา และฎีกาพระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเหลือพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและสังคมไทยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข และเกื้อกูลต่อการพัฒนาประเทศได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทุกๆ ด้าน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้พุทธบริษัทมีความรู้ความเข้าใจในพระอภิธรรมปิฎก
2.เพื่อเป็นการรักษาพระปริยัติศาสนาส่วนของพระอภิธรรมปิฎกให้คงอยู่สืบต่อไป
3.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความเข้าใจในปรมัตถธรรมอันเป็นสภาวะที่เกื้อกูลแก่การปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน
4.เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ความสามารถศึกษาเชื่อมโยงกับพระสุตตันตปิฎกและพระวินัยปิฎก ที่มีความสัมพันธ์กัน ไม่ขัดแย้งกันเกื้อกูลกัน
5.เพื่อประโยชน์แก่ผู้ศึกษาที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
6.เพื่อเสริมสร้างศรัทธาและปัญญาของผู้ศึกษาให้มั่นคงในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนายิ่งๆ ขึ้นไป

รายการวิทยุ
นอกจากการเรียนการสอนตามปกติ ทางวิทยาลัยยังจัดรายการทางวิทยุ มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า
รายการวิทยุของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัยทางสถานีวิทยุ พล.ม. 2 AM 963 KHz
รายการ “แก่นธรรมจากพระอภิธรรมปิฎก”
วันพุธ เวลา 23.30-24.00 น.
รายการ “พระอภิธรรมเพื่อคุณภาพชีวิต”
วันเสาร์ เวลา 20.30-21.00 น.

สุดท้ายในหนังสือนี้ให้ข้อมูลว่า จะติดต่อขอทราบรายละเอียดหรือร่วมอุปถัมภ์รายการได้ที่

อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร./โทรสาร 02224 3843, 026236101
พลังจิต เว็บ พระพุทธศาสนา ธรรมะ พระไตรปิฎก ลึกลับ อภิญญา วิทยาศาสตร์ทางจิต Buddhism Buddhist

หรือคลิกที่ http://www.mcu.ac.th หน่วยงาน อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
80  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ว่าด้วยความหมาย แห่ง logo ประจำตัว เมื่อ: พฤษภาคม 21, 2015, 12:25:17 pm


  มีหลายท่านสอบถามความหมาย ของ LOGO นี้มา

    บางท่านก็แซว ว่า ไม่เวียนหัว หรือ ? เป็นต้น
 
  ก็ตอบโดยรวม เลยก็แล้วกัน

      สำหรับ LOGO นี้ เป็น Logo ที่จัดทำขึ้นมา
      มีความหมายดังนี้
        1. ตัวชื่อ หมุนตามเข็มนาฬิกา
      มีความหมายถึง ธัมมะวังโส ก็อยู่ภายใต้ กฏ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ ระเบียบ วินัย ที่สำคัญมันก็ยังต้องวุ่น อยู่ แต่อยู่กรอบ ของการภาวนา นั่นก็คือ ฟันเฟือง ซึ่งการภาวนาก็ต้องมีต่อไป จนกว่า ธัมมะวังโส จะไม่มี อัตภาพ อยู่ในโลกนี้

       2. ฟันเฟือง ที่ยังคงหมุนคลุมชื่อ
      มีความหมายถึง แก่นแห่งการภาวนา ก็คือ ปฏิจจสมุปบาท เป็นแก่น ของการภาวนาที่แท้จริง ลำดับในญาณใดก็ตาม ล้วนแล้ว ก็คือ แก่น ที่ต้องปลดระวาง อวิชชา เพื่อ ออกจากสังสารวัฏ

     ( เท่านี้พอเนาะ พิมพ์ลำบาก ตัวหนังสือเล็กมาก มองไม่ค่อยเห็น )

    ;)

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 26