ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไม.? พระไตรปิฎกถึงต้องบันทึกเป็น "ภาษาบาลี"  (อ่าน 1151 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ทำไม.? พระไตรปิฎกถึงต้องบันทึกเป็น "ภาษาบาลี"

ตายแล้ว หรือไม่มีคนพูดแล้ว ภาษาจึงไม่มีการวิวัฒนาการหรือดิ้นได้อีก ความหมายของพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นอย่างไรเมื่อ 2,600 ปีก่อน มีความหมายอย่างไร ปัจจุบันก็ยังคงความหมายเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จะผ่านไปกี่พันปี http://winne.ws/n16366

ไม่คิดจะไม่แปลกนะ แต่ถ้าคิดให้ดีๆก็จะรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ถ้าพูดแบบสำนวนจีน เพราะมันคือ โองการสวรรค์ หรือ เป็นบัญชาสวรรค์ แต่ถ้าพูดเอาจริงๆก็คือ เพราะ ฝ่ายบุญเขาบันดาลให้ทำแบบนั้น

@@@@@@@

แล้วบันทึกเป็นภาษาบาลีมันดีอย่างไร คนทั่วไปอ่านก็ไม่เข้าใจ.?

ก็เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่ตายแล้ว หรือไม่มีคนพูดแล้ว ภาษาจึงไม่มีการวิวัฒนาการหรือดิ้นได้อีก ความหมายของพระธรรมคำสอนที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ เป็นอย่างไรเมื่อ 2,600 ปีก่อน มีความหมายอย่างไร ปัจจุบันก็ยังคงความหมายเดิมไม่เปลี่ยนแปลง จะผ่านไปกี่พันปี รอเมื่อใดที่มีผู้มีบุญได้มาศึกษาก็จะสามารถบรรลุธรรมได้เมื่อนั้น

หน้าที่อย่างหนึ่งในการธำรงรักษาพระศาสนาของพระภิกษุสงฆ์ก็คือ การศึกษาพระบาลี  ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นพระเป็นโยม จะเข้าใจพระธรรมคำสอนให้ถูกต้อง จึงต้องศึกษาความรู้มาก่อนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ พระบาลี กับ ประวัติศาสตร์


@@@@@@@

ศึกษาภาษาบาลี เพื่อจะได้-อ่านออก-แปลได้

ศึกษาประวัติศาสตร์ เพื่อจะได้รู้ว่า คำๆนั้น ในสมัยยุคก่อนพุทธกาลเขามีความหมายว่าอะไร แต่พอพระพุทธเจ้าประกาศศาสนาแล้ว มีการยืมคำนั้นมาใช้ แล้วให้นิยามใหม่ว่าอย่างไร เพราะการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา คือการเกิด Paradigm Shift หรือเกิดการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ของสังคมคนอินเดียในสมัยนั้นอย่างสิ้นเชิง

ยกตัวอย่าง..
คำว่า "นิพพาน" หรือ "นิรวาน" เป็นคำเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่พระพุทธเจ้าเอามาใช้แล้วให้นิยามใหม่ เพราะความเข้าใจเดิมของคนไม่ถูกต้อง
คำว่า "อรหันต์" ก็เป็นคำเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่พระพุทธเจ้าให้นิยามใหม่
คำว่า "มงคล" "บูชา" ก็ล้วนเป็นคำเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่พระพุทธเจ้าได้ให้นิยามใหม่ ที่ถูกต้องแทน

ดังนั้น หากเป็นแค่นักคิด นักตีความ ไม่ได้เรียนบาลีจนแตกฉาน จบแค่ ป.4 แล้วมาบวช หรือ จบ จปร. แล้วมาบวช อีกทั้งไม่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ด้วยแล้ว การตีความธรรมะ ก็อาจจะไม่ได้ความได้ เพราะไปเอาคำแปลหรือความหมายที่คนเข้าใจกันก่อนที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนามาตีความ ก็จะกลายเป็นความหมายของสังคมพราหมณ์ไป คือ แปลอาจถูก แต่ความหมายผิดจากพุทธพจน์ นั่นเอง

ยกตัวอย่างของใกล้ตัว คำว่า "กิน" ภาษาไทยแท้ๆเดิมๆ ไม่ว่าไปพูดกับคนไทลื้อ ไทดำที่ลาว ไขเขิน ไทใหญ่ที่พม่า เขาเข้าใจหมดว่า กิน แปลว่าอะไร

แต่หากเขาได้ยิน 2 คนหน้าตาคล้ายๆผู้หญิงคุยกันว่า
"นี่เธอทำอย่างไรดีนะ ฉันอยากกินนายธนชัยจังเลย คนอะไรไม่รู้หล่อน่ากินมาก"
คนไทใหญ่ ไทลื้อ คงจะคิดว่า 2 คนนั้นเป็นยักษ์แน่ๆ

นี่เขาเรียกว่า วิวัฒนาการของภาษา ภาษามันความหมายเปลี่ยนได้ ธรรมะของพระพุทธเจ้า กว่าจะค้นมาได้ ต้องสร้างบารมีตั้ง 20 อสงไขย ฝ่ายบุญเขาจึงต้องพยายามรักษาไว้ให้ดีที่สุด ยาวนานที่สุด เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ที่มีบุญมาเกิดในภายหลัง จะศึกษาธรรมะ มันจึงต้องรอบรู้ด้วย ไม่ใช่รู้นิดหน่อยแล้วนึกว่ารู้ดีแล้ว




Credit : Somchet J. Mhin
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1201393719987238&id=100003498636156
ขอบคุณภาพจาก : https://www.matichonweekly.com/
ขอบคุณ : https://www.winnews.tv/news/16366
โดย Poundtawan ,14 มิ.ย. 2560 - 01.43 น. , แก้ไขเมื่อ 14 มิ.ย. 2560 - 01.51 น.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 12, 2020, 07:02:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ทำไม.? พระไตรปิฎกถึงต้องบันทึกเป็น "ภาษาบาลี"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2020, 07:00:00 am »
0
ขอบคุณภาพจาก https://www.posttoday.com/life/healthy/576105


ทรงห้าม ยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็น "ภาษาสันสกฤต"

[๒๘๕] สมัยนั้นภิกษุ ๒ รูป ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นพี่น้องกัน เกิดในตระกูลพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวานมีเสียงไพเราะ ภิกษุทั้ง ๒ รูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่สมควรกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
    “พระพุทธเจ้าข้า เวลานี้ภิกษุต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างเชื้อชาติ ต่างตระกูลพากันออกบวช ภิกษุเหล่านั้นทำพระพุทธพจน์ให้ผิดเพี้ยนด้วยภาษาของตน(๑-) ขอวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะขอยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต”(๒-)

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
   “โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ขอวโรกาส ข้าพระพุทธเจ้าจะขอยกพระพุทธพจน์ขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต’ เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส”
    ครั้นทรงตำหนิแล้ว

ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะด้วยภาษาของตน”


เชิงอรรถ :-
(๑-) ภาษาของตน คือ ภาษามคธ ซึ่งมีสำนวนโวหารตามแบบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส (วิ.อ. ๓/๒๘๕/๓๑๗)
(๒-)ฉนฺทโส คือ สกฺกตภาสาย = ภาษาสันสกฤต (วิ.อ. ๓/๒๘๕/๓๑๗)



ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] จุลวรรค ภาค ๒
โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๗ หน้า : ๗๑
ขอบคุณ : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=07&siri=21


 :96: :96: :96:

ความเห็นจาก เฟซบุ้กพุทธศาสนาและปรัชญา เมื่อ10 กุมภาพันธ์ 2017 

ในอรรถกถาพระวินัย ท่านตีความเรื่อง"ภาษาของตน" ว่าคือ  ภาษามคธซึ่งมีสำนวนโวหารตามแบบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส (วิ.อ. ๓/๒๘๕/๓๑๗) และตีความว่า พระพุทธองค์ไม่ให้ใช้ภาษาสันสกฤต

แต่เมื่อพิจารณาด้วยวิจารณญาน ตามบริบทในยุคสมัยนั้นอย่างตรงไปตรงมา ผู้เขียนเชื่อว่า "ภาษาของตน" ไม่น่าจะหมายถึง แค่เพียงภาษามาคธี เพียงภาษาเดียวได้ แต่น่าจะเปิดกว้างให้สามารถใช้ ภาษาถิ่นของภิกษุทั้งหลายตามเชื้อชาติ ตามโคตร ตามตระกูลของเขาเหล่านั้น ซึ่งมีอยู่มากมายหลายภาษาในอินเดียสมัยนั้นได้ (ภิกษุบางท่านอาจไม่รู้ภาษามคธเลย-ดูตอนที่ 4) และ "ภาษาของตน" ดังกล่าวนี้ ย่อมรวมถึงภาษาสันสกฤตไว้ด้วย

ถ้าภิกษุนั้นๆยังใช้ภาษาสันสกฤตอยู่ในโคตรของตน จะเล่าเรียนหรือยกพุทธพจน์ด้วยภาษาสันสกฤตของตนก็น่าจะทำได้ ไม่ผิดกติกาอะไร ทั้งนี้ก็เพื่อความเข้าใจและประโยชน์ของภิกษุผู้นั้นเอง "ภาษาของตน" ในพระสูตรนี้จึงได้แก่ ภาษาของตนคนพูด นั่นแหละ ไม่ใช่ภาษาของใครอื่น

แต่หลักใหญ่ที่ทรงเน้น น่าจะได้แก่ การไม่ยอมให้ผูกขาดการใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเพียงภาษาเดียว มาสืบทอดพระพุทธพจน์มากกว่า ซึ่งในพระสูตรนี้ บ่งไปถึงภาษาสันสกฤตที่ถูกเสนอขึ้นมาโดยภิกษุ 2 รูปต้นเรื่อง


@@@@@@@

ถ้า "ภาษาของตน" จะหมายถึงแต่เพียงภาษามาคธีเพียงภาษาเดียว ตามที่อรรถกถากล่าวไว้ ก็ไม่มีเหตุผลใดๆที่จะทำให้พระพุทธพจน์ผิดเพี้ยนไปมากด้วย "ภาษาของตน" ได้เลยตามที่พระภิกษุทั้งสอง เกริ่นนำไว้  เพราะทุกคนพูดภาษาเดียวกันคือภาษามาคธีอยู่แล้ว จะผิดเพี้ยนไปมากได้อย่างไร

และถ้าจะห้ามเรียนด้วยภาษาสันสกฤตจริง ก็ดูจะเป็นการกีดกันพระภิกษุที่ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นภาษาของตน ไม่ให้รู้พุทธพจน์ จนเกินไป ซึ่งไม่น่าจะเป็นเจตนารมณ์ของพระศาสดา

ภาษาที่ใช้สังคายนาพระไตรปิฎกภายหลังจากพุทธปรินิพพานนั้น  พระเถระ 500 รูป เลือกที่จะใช้เป็นภาษามาคธี ตามบรรยากาศของการสังคายนาครั้งแรกที่จัดขึ้นในแคว้นมคธสมัยนั้น 

การตีความพระสูตรนี้โดยพระอรรถกถาจารย์เถรวาท จึงน่าจะตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ การเลือกภาษามาคธีมาใช้สืบทอดพระพุทธพจน์ตามมติของพระเถระ ว่าเป็นเจตนารมณ์ของพระศาสดา

แต่สำหรับความเห็นของผู้เขียนแล้ว การเปิดกว้างให้สามารถศึกษาพุทธพจน์ด้วย"ภาษาของตน" ที่ตนเองเข้าใจที่สุดโดยไม่ยอมให้มีการผูกขาดเรื่องภาษา น่าจะตรงตามเจตนารมณ์ของพระพุทธเจ้ามากกว่าการอนุญาตให้ใช้ได้เพียงภาษาใดภาษาหนึ่งเพียงภาษาเดียวในการถ่ายทอดพุทธพจน์



ที่มา : https://www.facebook.com/IloveBuddhismandphilosophy/posts/975159865954357/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 12, 2020, 07:13:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ