ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การไม่เชื่อเรื่องอภินิหาร ปาฏิหาร ภูตผีปีศาจ เทวดา ผิดไหม บาปไหม  (อ่าน 4417 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การไม่เชื่อเรื่องอภินิหาร ปาฏิหาร ภูตผีปีศาจ เทวดา ผิดไหม บาปไหม

และจะขัดต่อการปฏิบัติภาวนา หรือป่าวคะ ถ้าหากเราไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้

 :25:
บันทึกการเข้า

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การไม่เชื่อเรื่องอภินิหาร ปาฏิหาร ภูตผีปีศาจ เทวดา ผิดไหม บาปไหม

  วิสัชชนา  ก็น่าจะไม่บาปนะคะ เพราะหลักพุทธศาสนานั้นสอนให้ไม่งมงายอยู่แล้วคร้า...

อ่านเรื่องนี้ประกอบได้คร้า...
กาลามสูตร กับ อริยธน ขัดกันหรือป่าว
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=143.0


และจะขัดต่อการปฏิบัติภาวนา หรือป่าวคะ ถ้าหากเราไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้

  วิสัชชนา ก็น่าจะมีปัญหาคร้า..เพราะถ้าไม่เชื่อ ก็เท่ากับ ไม่เชื่อเรื่อง ภพ ชาติ ด้วยคะ และอาจจะพาล
ไปไม่เชื่อเรื่อง พระพุทธเจ้าด้วยอีกคะ หรือจะตอบว่า เชื่อพระพุทธเจ้า แต่ไม่เชื่อเรื่องเทวดา ก็ดูแล้วขัด ๆ กันอยู่
นะคร้า....
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การไม่เชื่อ ก็ไม่น่าจะมีความผิด นะคะ
แต่การไม่ศรัทธา ในสิ่งที่ปฏิบัติ นี่อาจจะเป็นอุปสรรค ในการภาวนา ก็ได้นะคะ

โดยเฉพาะเรื่อง ตถาคตโพธิสัทธา ความเชื่อมั่นต่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
 และการเชื่อใน ญาณ ทั้ง 3 ในคืนตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อันนี้สำคัญมากคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก็ไม่คิดว่า จะเป็นเรื่องที่จะเสียหาย นะคะ
แต่สุดท้าย ก็คงต้องเพิ่มพูน ศรัทธา ในพระรัตนตรัยด้วยนะคะ จึงจักปฏิบัติภาวนาได้ก้าวหน้า คะ

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ยอดชาย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 96
  • ยอดชายแท้ ก็คือยอดมนุษย์
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่ผิด ไม่บาป  แต่ไม่บุญ

เชื่อบางอย่าง ทำให้จิตเป็นกุศล

เทวดา = คนที่ทำความดี เป็นผู้มีความดี
เชื่อเทวดา = ระลึกถึงเทวดา = อนุสสติคือเทวตานุสติ = มีใจเลื่อมใสในผู้มีความดี หรือระลึกถึงการทำความดี = จิตเป็นกุศล = ได้บุญ


เชื่อ อภินิหาริย์ ปาฏิหาริย์ ถ้าเป็นของพระพุทธเจ้า = ระลึกในความดีและความสามารถของพระพุทธเจ้า = พุทธานุสติ  = จิตเป็นกุศล = ได้บุญ

ถ้าเป็นของพระสงฆ์ = ระลึกในความดีและความสามารถของพระสงฆ์ = สังฆานุสติ  = จิตเป็นกุศล = ได้บุญ

ถ้า เชื่อแล้ว เลื่อมใสศรัทธา เกิดความอยากปฏิบัติ เจริญรอยตาม อยากทำบุญกับท่าน อย่างนี้ เป็นกุศล  คือจิตเป็นกุศล ก่อให้เกิดจิตที่เป็นกุศลอีก นำไปสู่การกระทำดี

แต่ถ้าเชื่อแล้ว งมงาย ขอโดยไม่พยายาม ยึดเป็นที่พึ่ง มัวเมา  อย่างนี้ ตอนแรกจิตเป็นกุศล แต่ส่งผลให้เกิดอกุศล เพราะเชื่อโดยขาดปัญญา

ส่วนเรื่องเปรตอสุรกาย ถ้าเชื่อแล้ว กลัวบาป กลัวจะต้องเป็นอย่างนั้น เชื่อว่ามีผีแล้วเชื่อเรื่องชาติภพ แล้วทำให้อยากทำดี กลัวการทำชั่ว.. อย่างนี้เชื่อแล้วเป็นบุญ

แต่ถ้าเชื่อแล้วหลอน กลัว ทำให้ต้องไปหาที่พึ่ง เช่นหมอผี ฯลฯ อย่างนี้เชื่อแล้วจิตตกต่ำ อย่าเชื่อเลยจะดีกว่า..

คนที่ไม่เชื่อ แล้วเฉยๆ ไม่มีบุญไม่มีบาป (เอาให้มันไม่มีบาปได้จริงๆ นะ) ก็เสมอตัว

ส่วน ใหญ่ผู้ที่ตายไปเป็นผีนาน พระท่านว่าเป็นกลุ่มนี้ คือมันไม่มีแรงส่งน่ะ ไม่ทำกรรมอะไรมาก แต่ว่าทำบุญน้อย มันก็เป็นศูนย์  จะขึ้นก็ไม่ขึ้น จะลงก็ไม่ลง ก็ต้องรอกันไปจนถึงเวลาเกิดใหม่   ครั้นจะรอให้ลูกหลานทำบุญให้ ลูกหลานก็ดันไม่เชื่อไปด้วยกัน เพราะสอนกันมาอย่างนั้น ก็เลยไม่ค่อยได้ทำบุญให้  ก็ต้องรอเจอลูกหลานที่ทำบุญมากหน่อย จิตถึงจะสว่างไสว เปลี่ยนภพภูมิได้..  คิดง่ายๆ ก็จิตมันนึกถึงบุญ มันก็มีความสุข มันก็เลยปรับไปอยู่ในภพที่มีความสุขไง 

ส่วนจิตเฉยๆ ก็เฉยๆ แต่มันเฉยแบบโมหะนะ.. โหวงๆ ทื่อๆ ไปอย่างนั้น

จิตที่ทื่อๆ อันประกอบด้วยโมหะ จะนึกถึงบุญก็นึกถึงไม่ได้ เพราะไม่เคยทำไม่เคยเชื่อ อย่างนี้พระท่านว่า มักไปเกิดภูมิสัตว์

เขียน มาอย่างนี้ก็ไม่ต้องเชื่อหรอก พระท่านเล่าให้ฟังสนุกๆ ว่า ที่รู้อย่างนี้ผีนั่นแหละมาเล่าให้ฟัง..  ผีว่า หลวงพี่..ผีก็เหมือนคนแหละ มีทุกแบบ..ทำไงก็ได้อย่างนั้น..

ท่านก็เลยว่า.. วันนี้ไม่เชื่อไม่เป็นไร เดี๋ยวตายไปก็รู้เอง..

ธรรมชาติ ของจิตมนุษย์ต้องยึดเหนี่ยวสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้เสมอ  จิตที่ไม่ยึดเหนี่ยวสิ่งใดเลยได้จริงๆ คือจิตของพระอรหันต์ เป็นอิสระไร้พันธนาการ

จิตมนุษย์ทั่วไป ที่บอกว่าไม่ยึดเหนี่ยวอะไรนั้น ไม่ยึดไม่จริง  ที่จริงยึด เช่นยึดถือความเชื่อมั่นว่าไม่มีนรกสวรรค์ ไม่มีผี ไม่มีปาฏิหาริย์ ก็ยึดไว้มั่นไง ถึงใครมาพูดก็ไม่เชื่อ..

บ้างก็ยึดวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่สามารถพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ก็ไม่เชื่อ อันนี้ก็ยึด

ทาง ปรัชญามีคำพูดตลกๆ ว่า "ซาร์ตเอาพระเจ้าไปจากมนุษย์แล้ว แต่ซาร์ตไม่สามารถเอาศรัทธาไปจากมนุษย์ได้ มนุษย์ที่เชื่อซาร์ต ก็เลยต้องมายึดมาศรัทธาซาร์ตแทน" ว่าเข้านั่น..

ดังนั้น ถ้าอยากไม่เชื่อ ก็ต้องไม่เชื่อแบบกาลามสูตร ก็ต้องศึกษา วิจัย พิจารณาข้อมูลต่างๆ จนเกิดความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่ยึดความไม่เชื่อไว้ โดยไม่เคยเรียนรู้หรือศึกษาทางใดทางหนึ่งหรือหลายๆ ทางเลย.. อย่างนี้ก็เข้าข้อที่ว่า "เชื่อโดยฟังตามๆ กันมา เชื่อโดยวัฒนธรรมการสั่งสอนทางสังคม"  ก็เป็นความเชื่ออยู่ดี


เอ้อ..ลืม ไปอีกนิดนึง ไม่เชื่อไม่เป็นไร เสมอตัว  แต่ไม่เชื่อแล้วพูดจาปรามาสสิ่งนั้น หรือบอกคนอื่นให้ไม่เชื่อตาม หรือปรามาสคนที่เชื่อ  อันนี้บาปทันที

ผลของกรรมปรามาส (แม้จะเกิดจากความไม่รู้) โดยเฉพาะปรามาสพระพุทธเจ้าพระอริยะสงฆ์  ออกจะเป็นกรรมหนักมิใช่น้อย  เราโดนมาแล้ว และขอบอกเลยว่า..เข็ดจริงๆ 
จบแระ
บันทึกการเข้า
ลูกผู้ชายนักสู้

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
[181] ศรัทธา 4 (ความเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล - faith; belief; confidence)
       1. กัมมสัทธา (เชื่อกรรม, เชื่อกฎแห่งกรรม, เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่าเมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่าและเชื่อว่าผลที่ต้องการจะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น - belief in Karma; confidence in accordance with the law of action)
       2. วิปากสัทธา (เชื่อวิบาก, เชื่อผลของกรรม, เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วต้องมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว - belief in the consequences of actions)
       3. กัมมัสสกตาสัทธา (เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน, เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบากเป็นไปตามกรรมของตน - belief in the individual ownership of action)
       4. ตถาคตโพธิสัทธา (เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดี ก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้เป็นแบบอย่าง - confidence in the Enlightenment of the Buddha)

       ศรัทธา 4 อย่างนี้ มีมาในบาลีเฉพาะข้อที่ 4 อย่างเดียว (เช่น องฺ.สตฺตก. 23/4/3; A.III.3 เป็นต้น) ว่าโดยใจความ ศรัทธา 3 ข้อต้น ย่อมรวมลงในข้อที่ 4 ได้ทั้งหมด
       อนึ่ง ในข้อ 3 มีข้อธรรมที่มาในบาลีคล้ายกัน คือ กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน - knowledge that action is one's own possession) เช่น อภิ.วิ. 35/822/443; Vbh.328.

ที่มาเนื้อหา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=181
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขึ้นอยู่กับที่คุณถามมานั้นเป็นอะไรระหว่าง...

"ยังไม่เชื่อ" กับ "ไม่เชื่อ"

"ยังไม่เชื่อ" ไม่เป็น มิจฉาทิฐิ เช่น ยังไม่เชื่อว่า ภูตผีปีศาจ เทวดา ไม่มี

"ไม่เชื่อ" เป็นมิจฉาทิฐิ เช่น ไม่เชื่อว่ามี ภูตผีปีศาจ เรียกง่ายๆ ว่าไม่เชื่อสัตว์ผุดเกิดแล้วโตทันทีมีอยู่

ซึ่งก็ต้องมาตีความว่า "มิจฉาทิฐิ" นี้เป็นบาปหรือไม่?

คำตอบ ก็คือ "มิจฉาทิฐิ" จัดว่าเป็น "บาป" อย่างหนึ่ง เพราะว่าอยู่ในเรื่องของ อกุศลกรรมบถ ๑๐ ดังนี้

อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
      กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
      ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
          ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
          ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
          ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
      ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
          ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
          ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
          ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
          ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
      ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
          ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
          ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
          ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;
      เทียบ กุศลกรรมบถ

ลองอ่านเรื่องนี้เพิ่มนะครับ
เกี่ยวกับ พระศรีอริยะเมตตรัย จากพุทธองค์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=723.0
บันทึกการเข้า