ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุผู้สำเร็จฌาน  (อ่าน 1836 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ภิกษุผู้สำเร็จฌาน
« เมื่อ: มิถุนายน 16, 2011, 04:41:55 am »
0
ผู้ได้บรรลุฌานที่หนึ่ง
ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจและทำปัญญาให้ถอยกำลัง เหล่านี้ ได้แล้ว,
เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุ ฌานที่หนึ่ง
ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่.
เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัวที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนนายช่างอาบก็ดี หรือลูกมือของเขาก็ดี เป็นคนฉลาด
โรยผงที่ใช้สำหรับถูตัวในเวลาอาบน้ำลงในขันสำริด แล้วพรมน้ำหมักไว้,
ครั้นเวลาเย็น ก้อนผงออกยางเข้ากัน ซึมทั่วกันแล้ว จับกันทั้งภายในภายนอก
ไม่ไหลหยด ฉันใด ;

ภิกษุ ท. ! ภิกษุ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกนั้น ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี,
ฉันนั้นเหมือนกัน.
มู. ม. ๑๒/๕๐๕/๔๗๑


ผู้ได้บรรลุฌานที่สอง
ภิกษุ ท. ! อีกประการหนึ่ง, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ภิกษุจึง บรรลุ ฌานที่สอง
อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว
ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.
เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำอันลึก มีน้ำอันป่วน ไม่มีปากน้ำทางทิศตะวันออก
ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ แต่ฝนตกเพิ่มน้ำให้แก่ห้วงน้ำนั้น ตลอดกาลโดยกาล,
ท่อน้ำเย็นพลุ่งขึ้นจากห้วงน้ำ ประพรมทำให้ชุ่ม ถูกต้องห้วงน้ำนั้นเอง ;
ส่วนไหน ๆ ของห้วงน้ำนั้นที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้วมิได้มี. ข้อนี้ฉันใด,

ภิกษุ ท. ! ... ฉันนั้นเหมือนกัน
มู. ม. ๑๒/๕๐๕/๔๗๒


ผู้ได้บรรลุฌานที่สาม
ภิกษุ ท. ! อีกประการหนึ่ง, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ
ภิกษุ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย จึง บรรลุ ฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่.
เธอ ประพรมกายนี้ทำให้ชุ่มทั่ว ชุ่มรอบ เต็มรอบ ด้วยลำพังสุขหาปีติมิได้,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัวที่สุขหาปีติมิได้ ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล หนองบัวปทุม หนองบัวบุณฑริก
มีดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางเหล่าที่เกิดอยู่ในน้ำ เจริญอยู่ในน้ำ ยังขึ้นไม่พ้นน้ำ
จมอยู่ภายใต้อันน้ำเลี้ยงไว้, ดอกบัวเหล่านั้น ถูกน้ำเย็นแช่ชุ่ม ถูกต้องตั้งแต่ยอดตลอดราก,
ส่วนไหน ๆ ของดอกบัวเหล่านั้นทั่วทั้งดอก ที่น้ำเย็นไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ข้อนี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ... ฉันนั้นเหมือนกัน.
มู. ม. ๑๒/๕๐๖/๔๗๓


ผู้ได้บรรลุฌานที่สี่
ภิกษุ ท. ! อีกประการหนึ่ง, เพราะละสุขและละทุกข์เสียได้, เพราะ
ความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ภิกษุ จึง บรรลุ ฌานที่สี่
อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธ์ิเพราะอุเบกขา แล้ว
แลอยู่.
เธอนั้น นั่งแผ่ไปตลอดกายนี้ ด้วยใจอันบริสุทธ์ิผ่องใส,
ส่วนใดส่วนหนึ่งของกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธ์ิผ่องใส ไม่ถูกต้องแล้ว มิได้มี.

ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนชายคนหนึ่ง นั่งคลุมตัวด้วยผ้าขาวตลอดศีรษะ,
ส่วนไหน ๆ ในกายเธอทั่วทั้งตัว ที่ผ้าขาวไม่ถูกต้องแล้ว (คือไม่คลุมแล้ว) มิได้มี.
ข้อนี้เป็นฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ... ฉันนั้นเหมือนกัน.
มู. ม. ๑๒/๕๐๗/๔๗๔
บันทึกการเข้า