ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยการอบรมจิต  (อ่าน 3393 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยการอบรมจิต
« เมื่อ: ตุลาคม 14, 2013, 09:56:28 pm »
0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง "กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต" ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้



๓. ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต
                               

หลายๆคนคงสงสัยแต่ไม่เข้าใจสำหรับผู้ปฏิบัติใหม่ๆว่า การอบรมจิตมันคือสิ่งใด คืออะไร อย่างไหนจึงเรียกว่าถูกต้อง
การอบรมจิตยที่พระตถาคตตรัสไว้ดีแล้วนั้น คือ

ก. รู้ว่าสิ่งไหนที่ควรเสพย์ และ สิ่งไหนไม่ควรเสพย์
ธรรมารมณ์ที่ควรเสพย์ และ ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์
ธรรมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ  (รู้)
           ดูก่อนสารีบุตร      เมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่ร้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเจริญขึ้น   แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง   ธรรมา-
รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้   ไม่ควรเสพ.         
ธรรมารมณ์ที่ควรเสพ (รู้)
           ดูก่อนสารีบุตร  แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพธรรมารมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบไร
อกุศลธรรมทั้งหลายจะเสื่อมลง    แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเจริญขึ้น   ธรรมา-
รมณ์ที่รู้ได้ทางมโนแบบนี้   ควรเสพ.                                                 
            ข้อนั้นใด  ที่เราตถาคตกล่าวไว้ดังนี้ว่า    ดูก่อนสารีบุตร  เราตถาคต
กล่าวถึงธรรมารมณ์  ที่รู้ได้ทางมโน ไว้ ๒ อย่างคือ  ที่ควรเสพอย่าง ๑ ที่ไม่
ควรเสพอย่าง ๑   เราตถาคตอาศัยเนื้อความดังว่ามานี้    จึงได้กล่าวไว้แล้ว

ข. รู้ว่าสิ่งนี้ๆ ขณะใดๆ เราควรอดใจไว้ อดโทษไว้ รู้ว่าควรละ รู้ว่าควรปล่อย รู้ว่าควรวาง
ความรู้จักอด รู้จักละ รู้จักปล่อย รู้จักวาง เหล่านี้ คือ ขันติ
(ความอดทน อดกลั้นแล้วขัดใจขุ่นมัวใจนั่นไม่ใช่ขันตินะครับ นั่นเป็นขันอัด อาศัยความคิดไม่ว่าจะเป็นกุศลก็ดี หรือ อกุศลก็ดีกดข่มไว้)
เราจะเข้าถึงขันติจิตได้อย่างไร เราก็ต้องเจริญปฏิบัติดังนี้ คือ
- ศีล + พรหมวิหาร๔ ทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นธรรม 2 ที่เจริญคู่กันแล้วเป็นประโยชน์สุขอันมาก
   มีอานิสงส์คือ ไม่ร้อนรุ่มใจ ไม่ร้อนรนใจ ไม่มัวหมองใจ ไม่เศร้าหมองใจ มีกุศลจิตเกิดอยู่เป็นปกติจิต
- พิจารณาเห็นคุณและโทษของสิ่งนั้นๆที่เราพึงเอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิตอยู่
- พิจารณาเลือกในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

ค. รู้วางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาทั้งความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
ความรู้จังวางใจไว้กลางๆ ความวางเฉย คือ อุเบกขาจิต
(อุเบกขาจิตมีอยู่ 2 ประเภท คือ กุศล และ อกุศล ส่วนทางเข้าถึงอุเบกขาจิตมีอยู่ 10 แบบ)
เราจะเข้าถึงอุเบกขาจิตได้อย่างไร เราก็ต้องเจริญปฏิบัติดังนี้ คือ
   (วิธีเข้าอุเบกขาจิตนี้ๆเป็นหลักเบื้องต้นในการเข้าถึงได้สำหรับผู้ที่เริ่มปฏิบัติ ผมจะไม่กล่าวถึงในส่วนที่ผมยังไม่ถึง นั่นคือ อุเบกขาสำหรับผู้ที่ บรรลุแล้ว หรือพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะผมยังไม่ถึงแม้จะหาตำรามาเปิดกล่าวได้มันก็ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เพราะได้แค่บ่นแต่ไม่ถึงจริง ไม่เห็นจริง)
- เจริญขันติให้เกิดขึ้นแก่จิต
- เห็นเหตุ(สมุทัย)ที่ทำให้เราติดข้องใจในสิ่งไรๆ จนเกิดเป็นความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเหล่านั้น
- ละที่เหตุ(สมุทัย)นั้นๆไปเสีย โดยเจริญระลึกอยู่เนืองๆว่า..สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา สิ่งนี้ๆไม่ใช่ของเรา มันแค่มาอาศัยเกิดประกอบปรุงแต่งเท่านั้น เมื่อเข้าไปร่วมกับมัน หรือ เข้าไปเสพย์มัน ไม่ว่าจะพอใจยินดีหรือไม่พอใจยินดีมันก็มีแต่ทุกข์ หาประโยชน์สุขใดๆไม่ได้

ง. รู้เห็นตามจริงด้วยปัญญา
- เจริญตามในข้อ ก-ค เจริญปฏิบัติให้มีจิตตั้งมั่นชอบ สงบรำงัยจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท
- พิจารณาให้รู้เห็นตามจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเรานี้ มันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา และ ดับไปเป็นธรรม มันไม่เที่ยง คือ
   มีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีความสูญสลายไปเป็นธรรมดา ไม่ด้วยการดูแลรักษา ไม่ก็สภาพแวดล้อม -
   ไม่ก็ด้วยกาลเวลา หรือ สภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน ไม่ก็ด้วยความตายอย่างใดอย่างหนึ่ง
- พิจารณาให้รู้เห็นตามจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นกับเรา มันไม่มีตัวตนอันที่จะบังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้งให้มันเป็นไปดั่งใจได้
   ก็สิ่งใดๆเหล่านี้..เราไม่สามารถจะไปบังคับให้มันคงอยู่ตลอดไป หรือ ให้บังคับให้มันดับไปไม่เกิดขึ้นอีก ตามที่ใจเราปารถนาไม่ได้
- เห็นตามจริงด้วยปัญญาถึงความไม่ใช่เรา และ ไม่ใช่ของเรา กับสิ่งใดๆเหล่านี้
- เห็นด้วยปัญญาด้วยตัดจากความปรุงแต่งนึกคิดว่า..สิ่งใดๆเหล่านี้มันสักแต่เป็นเพียงแต่สภาพธรรมหนึ่งๆที่มากระทบสัมผัสให้รับรู้เท่านั้น
  แล้วมันก็ดับไป หากไม่ปรุงแต่งนึกคิดต่อเติมเรื่องราวใดๆในสิ่งนั้นมันก็ไม่เกิดทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี
- เห็นด้วยปัญญาด้วยตัดจากความปรุงแต่งนึกคิดว่า..สิ่งใดๆเหล่านี้มันสักแต่เป็นเพียงแต่สภาพธรรมหนึ่งๆที่มากระทบสัมผัสให้รับรู้เท่านั้น
  แล้วมันก็ดับไป หากไม่ปรุงแต่งนึกคิดต่อเติมเรื่องราวใดๆในสิ่งนั้นมันก็ไม่มีตัวตนบุคคลใดสักแต่เป้นเพียงแค่ ธาตุ เป็น รูปและนามที่มากระทบเท่านั้น
- เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้กลิ่นก็สักแต่ว่าได้กลิ่น รู้รสก็สักแต่ว่ารู้รส รู้การกระทบสัมผัสทางกายก็สักแต่ว่ารู้สัมผัส รู้ธรรมารมณ์ใดๆทางใจก็สักแต่รู้ว่าเป็นธรรมารมณ์ ไม่เข้าไปร่วม ไม่เข้าไปเสพย์ สักเพียงแต่ว่ารู้เท่านั้น





****** ความหมายของอารมณ์และธรรมารมณ์ในทางธรรม****

อารมณ์ กับ ธัมมารมณ์
ลองดูคำว่า  "อารมณ์" กันก่อนละกันนะคับ
จะได้เข้าใจคำว่า "อารมณ์" ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นน่ะคับ

คำว่า "อารมณ์"  หมายถึงสิ่งที่จิตรู้
จิตกำลังรู้สิ่งใด...สิ่งนั้นนั่นแหละเป็นอารมณ์ของจิตในขณะนั้น
อันนี้คิดว่าคงเข้าใจแล้วนะคับ  แต่จะแยกออกให้เห็นดังนี้คือ....

ทางตา........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รูปารมณ์  (สี)
ทางหู.........รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  สัททารมณ์  (เสียง)
ทางจมูก....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  คันธารมณ์  (กลิ่น)
ทางลิ้น.......รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้นคือ  รสารมณ์  (รส)
ทางกาย.....รับรู้ได้อารมณ์เดียวเท่านั้น (แต่มี 3 ลักษณะ) คือ  โผฏฐัพพารมณ์
(ได้แก่สัมผัสทางกาย  คือสภาพที่เย็นร้อนอันได้แก่ธาตุไฟ...อ่อนแข็งอันได้แก่ธาตุดิน...เคร่งตึงหรือไหวเคลื่อนอันได้แก่ธาตุลม)

สำหรับทางใจ
จะรับรู้อารมณ์ต่อจากทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกาย
ก็คือรับรู้  รูปารมณ์  สัททารมณ์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฏฐัพพารมณ์
และนอกเหนือจากอารมณ์ทั้ง 5 ที่กล่าวมาแล้ว
ทางใจยังรับรู้อารมณ์อื่นๆ อีกทั้งหมด
ซึ่งไม่สามารถรับรู้ทางตา  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายเลย

สิ่งที่รับรู้ได้เฉพาะทางใจอย่างเดียวเท่านั้น....นี่แหละคับเรียกว่า  "ธัมมารมณ์"
ซึ่งเมื่อประมวลแล้วก็ได้แก่....ปสาทรูป...สุขุมรูป (รูปที่ละเอียด)...จิตและเจตสิกทั้งหมด...นิพพาน
และบัญญัติธรรม (ชื่อ คำ เรื่องราว ความหมายต่างๆ ฯลฯ)

จะเห็นได้ว่าทางใจนี่รับรู้ได้หมดทุกอารมณ์เลย
สมจริงดังว่า...ทุกอย่างรวมลงที่ใจ

จะสังเกตได้นะคับว่า
รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
อารมณ์ทั้ง 5 นี้แม้เมื่อทางใจรับรู้ต่อจากทางปัญจทวารแล้ว
ก็ยังคงเป็น  รูปารมณ์...สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์  อยู่นั่นเอง
ไม่ได้กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  แต่อย่างใดนะคับ

สิ่งไหนที่เป็นอารมณ์อย่างใด  ก็ต้องเป็นอย่างนั้นเสมอ
ไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาน่ะคับ
เช่น  สี  เมื่อรับรู้ทางตา  เป็นรูปารมณ์
พอมารับรู้ทางใจ  ก็ยังคงเป็นรูปารมณ์  ไม่ใช่ไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ
เสียง  กลิ่น  รส  ธาตุดิน/ธาตุไฟ/ธาตุลม  ก็เช่นกันคับ
แม้ทางใจจะรับรู้ต่อจาก  ทางหู  ทางจมูก  ทางลิ้น  ทางกายแล้ว
ก็ยังคงเป็น  สัททารมณ์...คันธารมณ์...รสารมณ์...โผฏฐัพพารมณ์
ไม่ใช่กลายไปเป็น  ธัมมารมณ์  น่ะคับ

แต่ว่า...สิ่งที่นึกคิดต่อเนื่องออกไปอีกนั้นเอง  คือ ธัมมารมณ์
เช่น  ทันทีที่ทางตารับรู้รูปารมณ์ (สี)...แล้วทางใจก็รับรู้รูปารมณ์นั้นต่อ
หลังจากนั้น...ก็นึกคิดเป็นชื่อ  คำ  เรื่องราวความหมายต่างๆ ขึ้นมา
เป็นคน  เป็นสัตว์  เป็นสิ่งของต่างๆ ขึ้นมา...ตรงนี้แหละที่เป็น  ธัมมารมณ์
แล้วก็เกิดความชอบ-ชัง  รัก-เกลียด  ฯลฯ ตามมา...นี่ก็เป็นธัมมารมณ์อีกเช่นกันน่ะคับ

ขอขอบคุณ คุณเดฟแห่งวัดเกาะ ที่อธิบายความหมายของ ธรรมารมณ์  ให้เข้าใจอย่างละเอียดตามข้างต้นนี้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2013, 02:27:08 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยการอบรมจิต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2013, 02:50:24 pm »
0


การปฏิบัติเพื่อการอบรมจิตเบื้องต้น

           - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              เมื่อพอใจยินดีก็ให้รู้ว่าพอใจยินดีอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อไม่พอใจยินดีก็ให้รู้ว่าไม่พอใจยินดีอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อเกิดความสุข - ก็สักแต่รู้ว่าสุขเกิด
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อเกิดความทุกข์ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์เกิด
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อความสุขดับ - ก็สักแต่รู้ว่าสุขดับ
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อความทุกข์ดับ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์ดับ
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อกำหนัดใคร่ได้ปารถนา ก็รู้ว่ากำหนัดใคร่ใคร่ได้ปารถนาอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดี - ก็รู้ว่าติดใจเพลิดเพลินใคร่ตามยินดีอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจ - ก็รู้ว่าขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้าหมองใจอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              เมื่อมัวหมองใจไม่ผ่องใส - ก็รู้ว่ามัวหมองใจไม่ผ่องใสอยู่
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แล้วเจริญเข้าระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจักไม่เข้าไปปารถนายินดีในสิ่งที่ไม่ใช่เ้รา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจักไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมและเสพย์ในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ สักแต่เพียงรู้เท่านั้นมีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน
              แต่ไม่เข้าไปร่วมในความรู้สึกใดๆ เราก็จักไม่มีทุกข์ ไม่ร้อนรนใจ จากนั้นก็ตามรู้เพียงลมหายใจไม่หลุดไป
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ มีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน แลดูมันอยู่เท่านั้น

            - พิจารณาเข้ารับรู้ถึงสภาพจริงๆ ในอาการของสิ่งที่มากระทบทางอายตนะทั้ง ๖
              ๑. เมื่อตามองเห็น ก็สักแต่มองเห็น แล้วมองดูว่าที่เรามองดูในระยะทางตานี้ เรามองเห็นสีใดๆบ้าง
              สีเหล่านั้นมีเคล้าโครงเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร เมื่อเห็นดังนี้ ก็ให้เจริญเข้าไปรู้ว่า สิ่งตาเห็นนี้มันก็แค่สีๆเพียงเท่านั้น
              ก็ด้วยมีโครงร่างๆต่างๆนาๆนี้ เราก็เข้าไปอาศัยสมมติบัญญัติว่า สิ่งนี้ๆคืออะไร เป็นอะไร คน สัตว์ ตึก บ้าน อย่างไร
              ทั้งๆที่มันเป็นเพียงสีๆเท่านั้น อยู่ระยะใกล้ ระยะไกล มีเค้าโครงใดๆเท่านั้น ไม่มีตัวตนบุคคลใดๆเลย
              ที่เราไปมองเห็นแล้วชอบใจหรือไม่ชอบใจนี้ เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางตานี้ ทั้งที่สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อเห็นจึงสักแต่ว่าเห็นด้วยประการดังนี้เป็นต้น
              เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางตา และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางตา เพราะมันเป็นทุกข์
              ๒. เมื่อหูได้ยิน ก็สักแต่ว่าได้ยิน พิจารณาเข้าไปรู้ว่าเสียงที่ได้ยินไรๆนั้นมันมีสภาพอย่างไรบ้าง มันแหลม ทุ้ม สูง ต่ำ ดัง เบา
              สิ่งที่เรารับรู้จริงๆแล้วมันมีแค่สภาวะเสียงดังนี้เท่านั้น เราก็เข้าไปอาศัยสมมติบัญญัติว่า เสียงนี้ผู้หญิง เสียงนี้ผู้ชาย
              เสียงนี้ของสัตว์ เสียงนี้ชม เสียงนี้ด่า เสียงนี้หนวกหู เสียงนี้ไพเราะ ทั้งๆที่มันไม่มีตัวตนบุคคลใดเลย
              ที่เราฟังแล้วชอบใจและไม่ชอบใจนี้ เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ทางหูนี้ ทั้งที่สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้ยินจึงสักแต่ว่าได้ยินด้วยประการดังนี้เป็นต้น เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางหู
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางหู เพราะมันเป็นทุกข์
              ๓. เมื่อได้กลิ่น ก็สักแต่ว่าได้กลิ่น พิจารณาเข้าไปรู้ว่ากลิ่นไรๆเหล่านั้นมันมีสภาพอย่างไรบ้าง มันได้กลิ่นมาอย่างไร
              มันรู้กลิ่นเพราะเราหายใจเข้า ลมที่หายใจเข้าไปนั้นมีความปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพลมปกติใดๆ
              ก็เราก็เข้ายึดมั่นถือมั่นว่า กลิ่นนี้หอม กลิ่นนี้เหม็น กลิ่นนี้ชอบ กลิ่นนี้ไม่ชอบ กลิ่นนี้รัก กลิ่นนี้เกลียด
              เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางจมูกนี้ ทั้งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้กลิ่นจึงสักแต่ว่าได้กลิ่นด้วยประการดังนี้เป็นต้น เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางจมูก
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางจมูก เพราะมันเป็นทุกข์
              ๔.เมื่อรู้รสใดๆ ก็สักแต่ว่ารู้รส พิจารณาเข้าไปรู้ว่ารสไรๆเหล่านั้นมันมีสภาพอย่างไรบ้าง มันได้รสมาอย่างไร
              มันรู้รสเพราะเรากินสิ่งใดๆเข้าไป ในสิ่งนั้นๆมีสิ่งใดๆปรุงแต่งอยู่บ้าง ทั้งที่เรากินเพื่ออยู่รอดหรือดับกระหายให้คงชีวิตอยู่เท่านั้น
              ก็เราก็เข้ายึดมั่นถือมั่นว่า รสนี้หวาน รสนี้เค็ม รสนี้อร่อย รสนี้ไม่อร่อย รสนี้ชอบ รสนี้ไม่ชอบ รสชาตินี้รัก รสชาตินี้เกลียด         
              เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางลิ้นนี้ ทั้งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้รู้รสจึงสักแต่ว่าได้รู้รสด้วยประการดังนี้เป็นต้น เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางลิ้น
              และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางลิ้น เพราะมันเป็นทุกข์
              ๕. เมื่อรู้กระทบสัมผัสใดๆทางกาย ก็สักแต่รู้ถึงความกระทบสัมผัสนั้นๆ เข้าไปรู้แค่เพียงสภาพที่เรารับรู้สัมผัสจากสิ่งไรๆอยู่ในขณะนั้นๆ
              ว่า มันอ่อนหรือแข็ง เอิบอาบซาบซ่านอย่างไร ร้อนหรือว่าเย็น เคลื่อนตัวตรึงไหวยังไง
              จากนั้นลองหวนระลึก คำนึงพิจารณาว่า วันๆหนึ่งเราได้รับรู้สิ่งที่เรารู้สัมผัสอยู่นี้มากน้อยเพียงไร รับรู้ได้กับสิ่งใดๆบ้าง
              นอกจากการรับรู้ในสภาพอย่างนี้ มีสภาพอื่นอีกไหมที่เราเข้าไปรู้สัมผัสในทางกาย ย่อมหาไม่มีใช่ไหม ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ หรือ สิ่งของ
              ก็เราก็เข้ายึดมั่นถือมั่นว่า สิ่งที่เรารับรู้สภาพของมันจากการกระทบสัมผัสนั้นๆว่า เป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งของ เป็นตัวตน บุคคลใด
              ว่าสภาพอย่างนี้ๆชอบใจ สภาพแบบนี้ๆไม่ชอบใจ เกิดเป็นคน-สัตว์-สิ่งของอย่างนี้ๆฉันรัก คน-สัตว์-สิ่งของอย่างนี้ๆฉันเกลียด
              ทั้งๆที่สิ่งเหล่านี้มันเกิดขึ้นประชุมกันเป็นธรรมดาของมัน ไม่อาจไปบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจได้
              มันมีความแปรปรวนไป เกิดและดับไปเป็นธรรมดา เพราะเข้าไปร่วมในอารมณ์ที่รู้ทางกายนี้ ทั้งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเกิดทุกข์
              ดังนั้นเมื่อได้รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆจึงสักแต่ว่าได้รู้รสด้วยประการดังนี้เป็นต้น
              เราจึงควรวางใจไว้กลางๆไม่เข้าไปร่วมอารมณ์ใดๆทางกาย และ ไม่เข้าไปเสพย์ธรรมารมณ์ใดๆที่รับรู้ทางกาย เพราะมันเป็นทุกข์
              ๖. ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ๖.๑ เมื่อพอใจยินดี - ก็ให้รู้ว่าพอใจยินดีอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๒ เมื่อไม่พอใจยินดีก็ให้รู้ว่าไม่พอใจยินดีอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๓ เมื่อเกิดความสุข - ก็สักแต่รู้ว่าสุขเกิด
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๔ เมื่อเกิดความทุกข์ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์เกิด
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๕ เมื่อความสุขดับ - ก็สักแต่รู้ว่าสุขดับ
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๖ เมื่อความทุกข์ดับ - ก็สักแต่รู้ว่าทุกข์ดับ
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๗ เมื่อกำหนัดใคร่ได้ปารถนา ก็รู้ว่ากำหนัดใคร่ใคร่ได้ปารถนาอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๘ เมื่อติดใจ พองฟูใจ เพลิดเพลินใคร่ตามยินดี - ก็รู้ว่าติดใจ พองฟูใจ เพลิดเพลินใคร่ตามยินดีอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๙ เมื่อขุ่นข้องขัดเคืองใจ เศร้าหมองใจ - ก็รู้ว่าขุ่นข้องขัดเคืองใจเศร้า หมองใจอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
              ๖.๑๐ เมื่อหม่นมัวหมองใจไม่ผ่องใส - ก็รู้ว่าหม่นมัวหมองใจไม่ผ่องใสอยู่
                  ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นลักษณะอาการของสภาวะนั้นๆว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไร
                  มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ก็ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สักแต่ว่าเข้ามาอาศัยจิตได้เกิดขึ้น เพียงเข้ามาเกิดประกอบปรุงแต่งจิตเท่านั้น
              แล้วเจริญเข้าระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออกไม่หลุดไป ไม่ส่งจิตออกนอก
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก เมื่อมองสิ่งใดๆ เห็นสิ่งใดๆ ได้ยินสิ่งใดๆ ได้กลิ่นใดๆ รู้รสใดๆ รู้กระทบสัมผัสทางกายใดๆ รู้ธรรมารมณ์ใดๆ
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจักไม่เข้าไปปารถนายินดีในสิ่งที่ไม่ใช่เ้รา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจักไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
              ให้พึงเจริญในใจว่า สิ่งนี้ๆไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจักไม่เข้าไปร่วมหรือเสพย์ในสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราทั้งหลายเหล่านี้
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมและเสพย์ในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ สักแต่เพียงรู้เท่านั้นมีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน
              แต่ไม่เข้าไปร่วมในความรู้สึกใดๆ เราก็จักไม่มีทุกข์ ไม่ร้อนรนใจ จากนั้นก็ตามรู้เพียงลมหายใจไม่หลุดไป
            - ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ไม่ละจิตจากลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงเจริญจิตถึงความไม่ติดข้องใจ ไม่ข้องแวะสิ่งใด
              ไม่เข้าไปร่วมในอารมณ์ความรู้สึกใดๆ มีความวางใจไว้กลางๆ วางเฉยนิ่งอยู่สักแต่รู้ตามมัน แลดูมันอยู่เท่านั้น
            - เมื่อเกิดความนิ่งว่าง - ก็สักแต่รู้ว่าว่างเกิด ดูสภาวะนั้นว่ามันผ่องใส หรือ มัวหมอง
              ดูสภาวะอาการความรู้สึกของจิตที่เป็นสภาพจริงๆที่เป็นเอกลักษณ์ของสภาวะนั้นว่ารู้สึกอย่างไร
              มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติแลดูความเป็นไปของมันอยู่เท่านั้น แลดดูว่ามันผ่องใส เบิกบาน หรือ หม่นมัวหมองใจ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2013, 02:23:31 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยการอบรมจิต
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2013, 08:31:42 pm »
0


                                  มหาสัจจกสูตร สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา

[๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี. ก็สมัย
นั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งดีแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรมีพระพุทธประสงค์จะเสด็จเข้าไป
เพื่อบิณฑบาตในเมืองเวสาลี เวลานั้น สัจจกนิครนถ์ ผู้เป็นนิคันถบุตร เมื่อเที่ยวเดินเพื่อยืด
แข้งขา ได้เข้าไปที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน. ท่านพระอานนท์ได้เห็นสัจจกนิครนถ์กำลังเดินมาแต่
ไกล ครั้นแล้วจึงทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิครนถ์นี้เป็นนักโต้ตอบ
พูดยกตนว่าเป็นนักปราชญ์ ชนเป็นอันมากยอมยกว่าเป็นผู้มีความรู้ดี เขาปรารถนาจะติเตียน
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงพระกรุณาประทับอยู่สักครู่หนึ่งเถิด.
             พระผู้มีพระภาคจึงประทับอยู่บนอาสนะที่เขาปูถวาย. ขณะนั้น สัจจกนิครนถ์เข้าไปถึงที่
พระผู้มีพระภาคประทับ ครั้นแล้วทูลปราศรัยกับพระองค์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
             [๔๐๖] สัจจกนิครนถ์ ครั้นนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ
มีสมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งหมั่นประกอบกายภาวนาอยู่ แต่หาได้หมั่นประกอบจิตภาวนาไม่.
สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ย่อมประสบทุกขเวทนาอันเกิดในสรีรกาย. พระโคดมผู้เจริญ เรื่อง
เคยมีมาแล้ว เมื่อบุคคลอันทุกขเวทนาอันเกิดในสรีรกายกระทบเข้าแล้ว ความขัดขาจักมีบ้าง
หทัยจักแตกบ้าง เลือดอันร้อนจักพลุ่งออกจากปากบ้าง (พวกที่บำเพ็ญกายภาวนานั้น) จักถึงความ
เป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง จิตอันหันไปตามกายของผู้นั้น ก็เป็นไปตามอำนาจกาย. นั่นเป็นเพราะ
อะไร? เป็นเพราะไม่อบรมจิต. พระโคดมผู้เจริญ มีสมณะและพราหมณ์พวกหนึ่ง หมั่นประกอบ
จิตตภาวนาอยู่ แต่หาได้หมั่นประกอบกายภาวนาไม่. สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ย่อมประสพ
ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นในจิต. พระโคดมผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว เมื่อบุคคลอันทุกขเวทนาอัน
เกิดขึ้นในจิตกระทบเข้าแล้ว ความขัดขาจักมีบ้าง หทัยจะแตกบ้าง เลือดอันร้อนจัดพลุ่งออก
จากปาก (พวกที่บำเพ็ญจิตตภาวนานั้น) จักถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง กายอันหันไปตาม
จิตของผู้นั้น ก็เป็นไปตามอำนาจจิต. นั่นเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะไม่อบรมกาย. พระโคดม
ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีความดำริว่า หมู่สาวกของพระโคดม ย่อมหมั่นประกอบจิตตภาวนาอยู่โดยแท้
แต่หาหมั่นประกอบกายภาวนาอยู่ไม่.
             [๔๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กายภาวนาท่านฟังมาแล้ว
อย่างไร?
             สัจจกนิครนถ์ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ท่านนันทะผู้วัจฉโคตร ท่านกิสะผู้สังกิจจโคตร
ท่านมักขลิผู้โคสาล ก็ท่านเหล่านี้เป็นผู้เปลือยกาย ปล่อยมารยาทดีเสีย เช็ดอุจจาระที่ถ่ายด้วยมือ
ไม่ไปรับภิกษาตามที่เขาเชิญให้รับ ไม่หยุดตามที่เขาเชิญให้หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่
ยินดีภิกษาที่เขาเจาะจงให้ ไม่ยินดีการนิมนต์ ไม่รับภิกษาที่เขาให้แต่ปากหม้อ ไม่รับภิกษาที่เขาให้
แต่ปากกระเช้า ไม่รับภิกษาในที่มีธรณีและมีท่อนไม้ หรือมีสากอยู่ในระหว่าง ไม่รับภิกษาของคน
๒ คน ที่กำลังกินอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ของหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มนม ของหญิงที่มีชู้
ไม่รับภิกษาที่เขานัดกันทำ ในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัขไว้ และในที่มีหมู่แมลงวันตอม ไม่รับปลา ไม่รับ
เนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำที่เขาหมักแช่ด้วยสัมภาระ รับภิกษาที่เรือนเดียวบ้าง รับเฉพาะ
คำเดียวบ้าง รับที่เรือนสองหลังบ้าง รับเฉพาะสองคำบ้าง ฯลฯ รับที่เรือนเจ็ดหลังบ้าน รับเฉพาะ
เจ็ดคำบ้าง เลี้ยงตนด้วยภิกษาอย่างเดียวบ้าง สองอย่างบ้าง ฯลฯ เจ็ดอย่างบ้าง กลืนอาหารที่เก็บ
ไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง ฯลฯ เจ็ดวันบ้าง หมั่นประกอบเนืองๆ ในอันกินภัตตามวาระ แม้มี
วาระครึ่งเดือนเห็นปานนี้ ย่อมอยู่ดังนี้.
             พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลเหล่านั้นเลี้ยงตนด้วยภัตเท่านั้นอย่างเดียวหรือ?
             ส. ไม่เป็นดังนั้น พระโคดมผู้เจริญ บางทีท่านเหล่านั้น เคี้ยวของควรเคี้ยวอย่างดีๆ
กินโภชนะอย่างดีๆ ลิ้มของลิ้มอย่างดีๆ ดื่มน้ำอย่างดีๆ ให้ร่างกายนี้มีกำลัง เจริญ อ้วนพีขึ้นๆ
             พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ พวกเหล่านั้นละทุกกรกิจอย่างก่อนแล้ว บำรุงกายนี้ภายหลัง
เมื่อเป็นอย่างนั้น กายนี้ก็มีความเจริญและความเสื่อมไป.


                              ว่าด้วยกายภาวนาและจิตตภาวนา

             [๔๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ จิตตภาวนาท่านได้ฟังมาแล้ว
อย่างไร?
             สัจจกนิครนถ์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสถามในจิตตภาวนา ไม่อาจทูลบอกได้.
             ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะสัจจกนิครนถ์ดังนี้ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กายภาวนา
ก่อนนั้นท่านเจริญแล้ว  แม้กายภาวนานั้น ไม่ประกอบด้วยธรรมในอริยวินัย ท่านยังไม่รู้จักแม้
กายภาวนา จักรู้จักจิตตภาวนาแต่ไหน ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายมิได้อบรมแล้ว มีจิตมิได้
อบรมแล้ว และที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นได้ด้วยเหตุอย่างไร ท่านจงฟังเหตุนั้นเถิด
จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว.
             สัจจกนิครนถ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
             [๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้
อบรม เป็นอย่างไร? ดูกรอัคคิเวสสนะ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูก
สุขเวทนากระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนักในสุขเวทนา และถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา
สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไปเพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบ
เข้าแล้ว ก็เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ถึงความหลงไหล แม้สุขเวทนานั้น
เกิดขึ้นแก่เขาแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว
ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิต ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคน
ใดคนหนึ่ง ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ครอบงำจิต
ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิตทั้งสองอย่างดังนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายมิได้อบรม
มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างนี้แหละ.
             ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างไร? ดูกรอัคคิ-
*เวสสนะ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้า
แล้ว ไม่มีความยินดีนักในสุขเวทนา และไม่ถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของ
เขานั้นย่อมดับไป เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว
ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ไม่ถึงความหลงไหล แม้สุขเวทนานั้น
เกิดขึ้นแก่อริยสาวกแล้ว ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น
ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิต ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่อริย-
*สาวกผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ไม่
ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิตทั้งสองอย่างนี้ ดังนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกาย
อบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างนี้แหละ.
             สัจจกนิครนถ์ทูลว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดม เพราะพระโคดม
มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว.

                                         ทรงชี้แจงเรื่องเวทนา

             [๔๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ วาจานี้ท่านนำมาพูดเทียบกับเราโดยแท้
แต่ว่าเราจะบอกแก่ท่าน ดูกรอัคคิเวสสนะ เมื่อใดแลเราปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อนั้นจิตของเรานั้นถูกสุขเวทนาที่เกิดขึ้นครอบงำตั้งอยู่ หรือถูกทุกขเวทนา
ที่เกิดขึ้นครอบงำตั้งอยู่ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้เลย.
             ส. สุขเวทนาอันเกิดขึ้นที่พอจะครอบงำจิตตั้งอยู่ หรือทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นที่พอจะ
ครอบงำจิตตั้งอยู่ เวทนาเช่นนั้นย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระโคดมผู้เจริญโดยแท้.
             [๔๑๑] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ทำไมเวทนาทั้ง ๒ นั้น จะไม่พึงมีแก่เรา ดูกรอัคคิเวสสนะ
เราจะเล่าให้ฟัง เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ ได้มีความดำริดังนี้ว่า ฆราวาส
เป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติ
พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เรากำลังเป็นหนุ่ม
มีเกศาดำสนิทยังหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนาจะให้บวช
มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ ได้ปลงผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อบวชแล้ว ก็เสาะหาว่า อะไรเป็นกุศล เมื่อแสวงหาทางอันสงบ
อย่างประเสริฐเยี่ยม จึงเข้าไปถึงสำนักท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วกล่าวกะอาฬารดาบส
ดังนี้ว่า ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้
แล้ว ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร จึงกล่าวกะเราว่า เชิญท่านอยู่เถิด ธรรมที่วิญญูชนพึง
บรรลุอยู่ เพราะทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน ต่อกาลไม่นานนี้ ก็เช่นเดียว
กัน. เราก็ศึกษาธรรมนั้นเร็วไว มิได้ช้า. ชั่วขณะหุบปากเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวได้ซึ่งญาณ
วาทและเถรวาท และทั้งเราทั้งผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้เราเห็น. เราจึงดำริต่อไปว่า ท่านอาฬารดาบส
กาลามโคตร ไม่บอกธรรมนี้ว่า เราทำให้แจ้ง ด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุสักว่า
ความเชื่ออย่างเดียว โดยที่แท้ ทานอาฬารดาบส กาลามโคตร ก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้น
เราเข้าไปหาท่านอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้
ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอกด้วยเหตุเท่าไร? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว ท่านอาฬารดาบสก็
บอกสมาบัติชั้นอากิญจัญญาตนะ. เราจึงดำริว่า มิใช่มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
แต่ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร เท่านั้น แม้เราก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา
เหมือนกัน ถ้ากระไร เราพึงพากเพียรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร
บอกว่า เราทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่. เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่เร็วไว มิได้เนิ่นช้า. ครั้งนั้นเราเข้าไปหาท่านอาฬารดาบสกาลามโคตรแล้ว ถามว่า ท่าน
กาลามะ ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่านี้หรือ?
             ท่านอาฬารดาบสก็บอกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง
บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่านี้แหละ. เราจึงบอกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุแม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งซึ่ง
ธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วอยู่ ด้วยเหตุเท่านี้.
             ท่านอาฬารดาบสกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่ได้เห็น
สพรหมจารีเช่นท่าน เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ด้วยความรู้ยิ่งเองบรรลุแล้วจึงบอกได้ ท่านก็ทำให้
แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วอยู่ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุ
แล้วอยู่ เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยประการดังนี้ เรารู้
ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น เป็นอันว่าเราเช่นใด ท่านก็รู้เช่นนั้น
ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ด้วยประการดังนี้ มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันปกครอง
คณะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์เรา ก็ยกย่องเราผู้
เป็นศิษย์เสมอด้วยตนด้วย บูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วย. เราจึงมีความแน่ใจว่า ธรรมนี้ไม่เป็น
ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน เพียงแต่เป็นไปเพื่อความเข้าถึงอากิญจัญญายตนภพเท่านั้น.
เราไม่พอใจธรรมนั้นระอาธรรมนั้น จึงหลีกไป.
             [๔๑๒] ดูกรอัคคิเวสสนะ เราเสาะหาว่า อะไรเป็นกุศล เมื่อแสวงหาทางอันสงบ
อย่างประเสริฐเยี่ยม จึงเข้าไปถึงสำนักท่านอุททกดาบส รามบุตรแล้วกล่าวว่า ท่านรามะ ข้าพเจ้า
ปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านอุททกดาบส รามบุตร
จึงกล่าวกะเราว่า เชิญท่านอยู่เถิด ธรรมที่วิญญูชนพึงบรรลุเพราะทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง ตาม
แบบอาจารย์ของตนอยู่ต่อกาลไม่นาน นี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน. เราก็ศึกษาธรรมนั้นเร็วไวมิได้ช้า.
ชั่วขณะหุบปากเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวได้ซึ่งญาณวาท และเถรวาท และทั้งเรา ทั้งผู้อื่นก็
ทราบชัดว่า เรารู้เราเห็น. เราจึงดำริต่อไปว่า ท่านรามะไม่บอกว่า ธรรมนี้เราทำให้แจ้งด้วยความรู้
ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุสักว่าความเชื่ออย่างเดียว โดยที่แท้ ท่านรามะก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่.
             ครั้งนั้น เราเข้าไปหาท่านอุททกดาบส รามบุตร แล้วถามว่า ท่านรามะ ท่านทำให้แจ้ง
ซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่าไร? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว ท่าน
อุททกดาบส รามบุตร ก็บอกสมาบัติชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ. เราจึงดำริว่า มิใช่มีศรัทธา
วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ท่านรามะเท่านั้น แม้เราก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ
ปัญญาเหมือนกัน ถ้ากระไร เราจึงพากเพียร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ท่านรามะบอกว่า เราทำให้แจ้ง
ด้วยความรู้ยิ่งแล้วเข้าถึงอยู่. เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเองเข้าถึงอยู่เร็วไวมิได้
เนิ่นช้า.
             ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร แล้วถามว่า ท่านรามะ ท่านทำให้แจ้งซึ่ง
ธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่าไร? ท่านอุททกดาบสก็บอกว่า ดูกร
ท่านผู้มีอายุ เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่านี้แหละ.
เราก็บอกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้ว ด้วย
เหตุเท่านี้.
             ท่านอุททกดาบสกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่ได้
เห็นสพรหมจารีเช่นท่าน เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดด้วยความรู้ยิ่งเองบรรลุแล้วจึงบอก ท่านก็ทำให้
แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วอยู่ ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ด้วยความรู้ยิ่งเอง
บรรลุแล้วอยู่ เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยประการดังนี้
เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น เป็นอันว่า เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น
ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ด้วยประการดังนี้ มาเถิด บัดนี้ เราทั้ง ๒ จะอยู่ร่วมกันปกครองคณะนี้
ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านอุททกดาบส รวมบุตรทั้งที่เป็นอาจารย์เรา ก็ยกย่องเราผู้เป็นศิษย์เสมอ
ด้วยตนด้วย บูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วย. เราจึงมีความแน่ใจว่า ธรรม (สมาบัติ ๘) นี้ ไม่
เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง
เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน เพียงแต่เป็นไปเพื่อความเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ
เท่านั้น. เราไม่พอใจธรรมนั้น ระอาธรรมนั้น จึงได้หลีกไป.
             [๔๑๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล เสาะหาว่าอะไรเป็นกุศล เมื่อแสวงหาทางอันสงบ
อย่างประเสริฐเยี่ยม จึงเที่ยวจาริกไปในมคธชนบท โดยลำดับ ก็ลุถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ได้เห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ แนวป่าเขียวสดเป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน้ำ
สะอาดดี น่ารื่นรมย์ โคจรคามก็ตั้งอยู่โดยรอบ จึงดำริว่า ภูมิภาคน่ารื่นรมย์ แนวป่าเขียวสด
เป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ โคจรคามก็ตั้งอยู่โดย
รอบ สถานที่เช่นนี้ เป็นที่สมควรบำเพ็ญเพียรแห่งกุลบุตรผู้ต้องการจะบำเพ็ญเพียร จึงนั่งลง
ณ ที่นั้น ด้วยคิดว่า ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร.


                                              อุปมา ๓ ข้อ

             [๔๑๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักเราไม่เคยได้ยิน
มาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่เรา.
             อุปมาข้อ ๑ ว่า เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่เขาวางไว้ในน้ำ. บุรุษถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้า
ด้วยหวังว่า เราจักให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ
นั้นเอาไม้สีไฟสีลงที่ไม้สดมียางที่เขาวางไว้ในน้ำ พึงให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้บ้างหรือหนอ?
             สัจจกนิครนถ์ทูลว่า ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นเพราะอะไร เป็น
เพราะไม้สดนั้นมียางทั้งเขาวางไว้ในน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า.
             พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ยังไม่หลีกออกจากกามด้วยกาย ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความกระหาย และ
ความกระวนกระวายเพราะกาม ในกามทั้งหลายยังมิได้ละ และมิได้ระงับคืนเสียด้วยดีในภายใน.
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้า หยาบ เผ็ดร้อน อันเกิดขึ้นเพราะ
ความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้นก็ดี ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อความ
ตรัสรู้ดีอันประเสริฐ. นี้แลอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏ
แจ่มแจ้งแล้วแก่เรา.
             [๔๑๕] อุปมาข้อที่ ๒ ว่า เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ. บุรุษ
ถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้าด้วยหวังว่า เราจักให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญ
ความนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สีไฟสีลงที่ไม้สดมียางที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ พึงให้ไฟเกิด
ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือหนอ?
             สัจจกนิครนถ์ทูลว่า ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นเพราะอะไร เป็น
เพราะไม้สดอันมียาง ถึงเขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า.
             พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง
แม้หลีกออกจากกามด้วยกายแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความกระหาย
และความกระวนกระวายเพราะกาม ในกามทั้งหลายยังมิได้ละ และมิได้ระงับคืนเสียด้วยดีภายใน.
สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้า หยาบ เผ็ดร้อน อันเกิดขึ้นเพราะ
ความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้นก็ดี ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อความ
ตรัสรู้ดีอันประเสริฐ. นี้แลอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ที่เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อน
มาปรากฏแจ่มแจ้งแล้วแก่เรา.
             [๔๑๖] อุปมาข้อที่ ๓ อื่นอีกว่า เปรียบเหมือนไม้อันแห้งสนิทที่เขาวางไว้บนบกห่างจาก
น้ำ. บุรุษถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้าด้วยหวังว่า เราจักให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่าน
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สีไฟสีลงที่ไม้อันแห้งสนิทที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ
พึงให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้บ้างหรือหนอ?
             สัจจกนิครนถ์ทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะไม้
แห้งสนิท ทั้งเขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ.
             ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง หลีก
ออกจากกามด้วยกายแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความระหาย
และความกระวนกระวายเพราะกาม ในกามทั้งหลายเสียด้วยดีในภายในแล้ว. สมณะหรือพราหมณ์
ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้า หยาบ เผ็ดร้อน อันเกิดขึ้นเพราะความเพียรก็ดี
หรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้นก็ดี ก็เป็นผู้ควรเพื่อรู้ เพื่อเห็น และเพื่อความตรัสรู้ดีอันประ-
*เสริฐ. นี้แลอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อนมาปรากฏแจ่มแจ้งแล้ว
แก่เรา. อุปมาทั้ง ๓ ข้ออันไม่น่าอัศจรรย์ เราไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนเหล่านี้แหละ มาปรากฏ
แจ่มแจ้งแล้วแก่เรา.
             [๔๑๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นมีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงกดฟันด้วยฟัน เอาลิ้น
ดันเพดานไว้ให้แน่น เอาจิตข่มคั้นจิตให้เร่าร้อน. เรานั้นก็กดฟันด้วยฟัน เอาลิ้นดันเพดานไว้
แน่น เอาจิตข่มคั้นจิตให้เร่าร้อน เมื่อเราทำดังนั้นเหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง. เปรียบ
เหมือนบุรุษมีกำลัง จับบุรุษที่มีกำลังน้อยกว่า ที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น ฉะนั้น.
ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น มิได้ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวน
กระวายไม่สงบระงับ เพราะความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้
มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2013, 02:27:33 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยการอบรมจิต
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2013, 08:34:47 pm »
0
                            ความต่างกันในการบำเพ็ญทุกกรกิริยา

             [๔๑๘] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌานอันไม่มีลมปราณ
เถิด เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากและทางจมูก. เมื่อเรากลั้นลมหายใจออก
และลมหายใจเข้าทางปากและทางจมูก ลมก็ออกทางช่องหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ๆ เหมือนเสียง
สูบช่างทองที่เขาสูบอยู่ ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น
ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่
แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             [๔๑๙] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌานอันไม่มีลมปราณ
เถิด. เรากลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูก. และทางช่องหู. เมื่อเรากลั้นลม
หายใจออก และลมหายใจเข้าทางปากทางจมูก และทางช่องหู ลมเป็นอันมากก็เสียดแทงศีรษะ
เหมือนบุรุษที่มีกำลัง เอามีดโกนที่คมเชือดศีรษะ ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียร
ไม่ย่อหย่อนมีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียร
ที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             [๔๒๐] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌาน อันไม่มีลม
ปราณเถิด. เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู. เมื่อกลั้น
ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะเป็นอันมาก
เหมือนบุรุษที่มีกำลังเอาเชือกหนังอันมั่นรัดเข้าที่ศีรษะ ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความ
เพียรไม่ย่อหย่อนมีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียร
ที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             [๔๒๑] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌานอันไม่มีลมปราณ
เถิด. เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูก และทางช่องหู. เมื่อกลั้นลมหายใจ
ออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีลมเป็นอันมากบาดท้อง เหมือนนายโค
ฆาต หรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด เอามีดสำหรับแล่โคที่คมเถือแล่ท้อง ฉะนั้น. ดูกรอัคคิ-
*เวสสนะ เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย
ไม่สงบระงับ เพราะความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้
ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             [๔๒๒] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌาน อันไม่มีลม
ปราณเถิด. เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรากลั้น
ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความเร่าร้อนในร่างกายเป็น
อันมาก เหมือนบุรุษที่มีกำลัง ๒ คนช่วยกันจับบุรุษคนหนึ่งที่มีกำลังน้อยกว่า ที่แขนทั้ง ๒ ข้าง
แล้ว ให้เร่าร้อน อบอ้าวอยู่ ใกล้หลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียร
ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียร
ที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             ดูกรอัคคิเวสสนะ เทวดาทั้งหลายเห็นเราเข้าแล้วพากันกล่าวว่า พระสมณโคดมทำกาละ
แล้ว. บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมยังมิได้ทำกาละ แต่ก็จะทำกาละ บางพวกกล่าวว่า พระ
สมณโคดมไม่ทำกาละ ทั้งจะไม่ทำกาละ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เห็นปานนี้
นั้น เป็นวิหารหารธรรมของท่านผู้เป็นพระอรหันต์.
             [๔๒๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติอดอาหารเสียโดย
ประการทั้งปวงเถิด. ขณะนั้น พวกเทวดาเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่า
ปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวง พวกข้าพเจ้า
จะแทรกโอชาหารอันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น.
เรามีความดำริว่า เราปฏิญญาว่าจะตัดอาหารโดยประการทั้งปวง แต่เทวดาเหล่านี้จะแทรกโอชาหาร
อันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งเรา เราจะยังมีอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น การปฏิญญาไว้นั้นก็
เป็นมุสาแก่เราเอง. เราจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า ข้อนั้นไม่ควร.
             [๔๒๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารให้น้อยลงๆ
เพียงซองมือหนึ่งๆ บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วดำ
บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดบัวบ้าง. เราก็กินอาหารให้น้อยลงๆ ดังนั้นจนมีร่างกายซูบผอมยิ่งนัก เพราะเป็น
ผู้มีอาหารน้อยนั้น เหลือแต่อวัยวะใหญ่น้อย เหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก หรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ
เนื้อตะโพกก็ลีบเหมือนกีบอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนาม เหมือนเถาวัลย์ [หนามรอบข้อ]
ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่าที่สะพรั่งอยู่ ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้า
ตาเหมือนดวงดาวในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ หนังศีรษะบนศีรษะก็เหี่ยวหดหู่ เหมือนลูกน้ำเต้า
ที่เขาตัดมายังดิบ ต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวไป. เรานึกว่าจะลูบพื้นท้องก็จับถึงกระดูกสันหลัง
เมื่อนึกว่า จะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถึงพื้นท้อง เพราะพื้นท้องของเราติดแนบถึงกระดูกสันหลัง
เมื่อนึกว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวนแซล้มลง ณ ที่นั้น. เมื่อจะให้กายสบายบ้าง เอา
ฝ่ามือลูบตัวเข้า ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกายเพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย. มนุษย์ทั้งหลาย
เห็นเราเข้าแล้วก็กล่าวว่า พระสมณโคดมดำไป บางพวกก็พูดว่า พระสมณโคดมไม่ดำ เป็นแต่
คล้ำไป บางพวกก็พูดว่า ไม่ดำ ไม่คล้ำ เป็นแต่พร้อยไป. เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์เปล่งปลั่ง
แต่เสียผิวไป ก็เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น.
             [๔๒๕] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ ที่เสวยทุกขเวทนากล้า หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป. แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณ
ทัสสนะอันวิเศษที่พอแก่พระอริยะซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้. ชะรอย
ทางแห่งความตรัสรู้พึงเป็นทางอื่นกระมัง. เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว
สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ
ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา
ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย.
             [๔๒๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริต่อไปว่า ความสุขนั้น เราผู้มีกายถึงความซูบ
ผอมมาก ไม่ทำได้ง่ายเพื่อจะบรรลุ ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและกุมมาสเถิด.
เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและกุมมาส. ครั้งนั้น ภิกษุทั้ง ๕ ที่เฝ้าบำรุงเราด้วยหวังว่า
พระสมณะโคดมบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. เมื่อใด เรากินอาหารหยาบ
คือข้าวสุกและ กุมมาส เมื่อนั้นภิกษุทั้ง ๕ นั้นก็ระอาหลีกไปด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมมักมาก
คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว.
             [๔๒๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้กายมีกำลังแล้ว สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้สุขเวทนาที่
เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เราบรรลุ
จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้. เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เราย่อม
ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่
อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.


                               ตรัสการบรรลุวิชชาที่ ๒

             [๔๒๘] เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อจุตูปปาตญาณ. เราเห็นหมู่สัตว์
ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ
อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในมัชฌิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๒ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไป
อยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             [๔๒๙] เราเมื่อมีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน
ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ. ย่อมรู้ชัดตามเป็น
จริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสว-
*สมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว แม้จาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำๆ เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูกรอัคคิเวสสนะ ในปัจฉิมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๓ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความ
เพียร ส่งจิตไปอยู่ อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสง
สว่างเกิดขึ้นแล้ว. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
             [๔๓๐] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า เป็นผู้แสดงธรรมแก่บริษัทหลายร้อย.
ถึงแม้บุคคลคนหนึ่งๆ สำคัญเราอย่างนี้บ้างว่า พระสมณโคดมแสดงธรรมปรารภเราเท่านั้น. ท่าน
อย่าพึงเห็นอย่างนั้น พระตถาคตย่อมแสดงธรรมแก่บุคคลเหล่านั้นโดยชอบ เพื่อประโยชน์ให้รู้
แจ้งอย่างเดียว. เราประคองจิต สงบตั้งมั่น ทำให้เป็นสมาธิ ณ ภายใน ในสมาธินิมิตเบื้องต้น
จนจบคาถานั้นทีเดียว เราอยู่ด้วยผลสมาธิเป็นสุญญะ ตลอดนิตยกาล.
             ส. ข้อนี้ ควรเชื่อต่อพระโคดมผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แต่พระโคดม
ย่อมรู้เฉพาะว่า พระองค์เป็นผู้หลับในกลางวันบ้างหรือ?
             พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เรารู้เฉพาะอยู่ว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน เรากลับจากบิณฑบาตใน
กาลภายหลังภัต ปูสังฆาฏิให้เป็น ๔ ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับโดยข้าง
เบื้องขวา.
             ส. พระโคดมผู้เจริญ สมณะและพราหมณ์เหล่าหนึ่ง ย่อมกล่าวข้อนั้นในความอยู่ด้วย
ความหลง.
             พ. บุคคลเป็นผู้หลงหรือเป็นผู้ไม่หลง ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น หามิได้ ก็บุคคลเป็นผู้หลง
หรือเป็นผู้ไม่หลง ด้วยเหตุใด ท่านจงฟังเหตุนั้น จงทำในใจให้ดีเราจักกล่าว บัดนี้.
             สัจจกนิครนถ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.

                              ตรัสความเป็นผู้หลงและไม่หลง

             [๔๓๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็อย่างไร บุคคลเป็นผู้หลง อาสวะ
ทั้งหลายอันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้เกิดความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์
ให้มีชาติชรามรณะต่อไป บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยังละไม่ได้แล้ว เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่า เป็นผู้หลง
บุคคลนั้นเป็นผู้หลง เพราะเหตุยังละอาสวะทั้งหลายไม่ได้ อาสวะทั้งหลายอันทำให้เศร้าหมอง
ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรามรณะต่อไป บุคคล
ผู้ใดผู้หนึ่งละเสียแล้ว เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่า เป็นผู้ไม่หลง บุคคลนั้นนับว่า เป็นผู้ไม่หลง
เพราะเหตุละเสียได้ซึ่งอาสวะทั้งหลาย. ดูกรอัคคิเวสสนะ อาสวะทั้งหลายอันทำให้เศร้าหมอง
ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีวิบากเป็นทุกข์ ให้มีชาติชรามรณะต่อไป ตถาคต
ละเสียได้แล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังว่าต้นตาลยอดด้วน ทำไม่ให้เกิดสืบไป
ไม่มีความเกิดต่อไปเป็นธรรมดา ดุจเดียวกันกับต้นตาลที่เขาตัดยอดเสียแล้ว ไม่อาจงอกงามได้
ต่อไป.

                               สัจจกนิครนถ์สรรเสริญพระผู้มีพระภาค

             [๔๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
พระโคดมผู้เจริญ เรื่องที่ท่านกล่าวมานั้น น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี พระโคดมผู้เจริญ อันข้าพเจ้า
มาสนทนากระทบกระทั่ง ทั้งไต่ถามด้วยถ้อยคำที่ปรุงแต่งมาอย่างนี้ก็มีผิวพรรณสดใส ทั้งมีสีหน้า
เปล่งปลั่ง เพราะท่านเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าจำได้ว่า ข้าพเจ้า
เป็นผู้ปรารภโต้ตอบวาทะกะท่านปูรณะ กัสสป แม้ท่านปูรณะ กัสสปนั้น ปรารภโต้ตอบวาทะ
กับข้าพเจ้า ก็เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย และชักนำให้พูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธเคือง
ขัดแค้นให้ปรากฏ พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าจำได้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้ปรารภโต้ตอบวาทะกะท่าน
มักขลิ โคศาล ... ท่านอชิตะ เกสกัมพล ... ท่านปกุธะกัจจายนะ ... ท่านสัญชัย เวลัฏฐบุตร ... ท่าน
นิครนถ์ นาฏบุตร แม้ท่านนิครนถ์ นาฏบุตรนั้น ปรารภโต้ตอบวาทะกับข้าพเจ้า ก็เอาเรื่องอื่นมา
พูดกลบเกลื่อนเสียและชักนำให้พูดนอกเรื่อง ทั้งทำความโกรธเคืองขัดแค้นให้ปรากฏ ส่วนพระ
โคดมผู้เจริญอันข้าพเจ้ามาสนทนากระทบกระทั่ง ทั้งไต่ถามด้วยถ้อยคำที่ปรุงแต่งมาอย่างนี้ ก็มีผิว
พรรณสดใส ทั้งมีสีหน้าเปล่งปลั่ง เพราะท่านเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโคดมผู้เจริญ
มิฉะนั้น ข้าพเจ้าขอลาไปในบัดนี้ ข้าพเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่ต้องทำมาก.
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ท่านจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้เถิด.
             ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์ผู้นิคันถบุตร ชื่นชม อนุโมทนา พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป ดังนี้แล.

                                        จบ มหาสัจจกสูตร ที่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 04, 2013, 02:26:22 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ