ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี  (อ่าน 31442 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม


ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ และ แนวทางวิถีแห่งการปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายทั้งปวงที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าได้สั่งสอนชี้แนะไว้ มี หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร พระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤๅษีฯ) หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ(ครูอุปัชฌาย์ท่านแรกที่บวชให้แก่ผม) พระครูสุจินต์ธรรมวิมล(ครูอุปัชฌาย์ท่านที่สองที่บวชให้แก่ผม) และ พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส(ผมขออนุญาตพระอาจารย์เป็นอุปัชฌาย์ของผมอีกท่านหนี่ง โดยการด้วยขอด้วยการตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึง) ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน และ แนวทางวิถีปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายของครูบาอาจารย์ผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด




   ผมใคร่ขอย้ำท่านผู้แวะชมกระทู้นี้ด้วยครับ ซึ่งตัวผมนี้จบแค่นักธรรมตรี ความรู้ก็มีอย่างนักธรรมตรี ปฏิบัติได้ก็อย่างสอบแก้กระทู้ของนักธรรมตรีเท่านั้น สิ่งที่ผมเขียนนี้เป็นเพียงบันทึกผลจากการปฏิบัติเพื่อใช้วิเคราะห์ทบทวนความจำเมื่อหลงตนแล้วล้างสิ่งที่หลงนั้นกลับมาอยู่ที่ศุนย์แล้วเริ่มปฏิบัติทบทวนใหม่เท่านั้น อาจไม่ใช่ทางที่ถูกต้องตามจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เป็นเพียงสิ่งที่ผมเรียนรู้ศึกษาปฏิบัติมาจากครูอุปชัฌาย์อาจารย์ และ ศึกษาปฏิบัติเอาเองบ้าง เห็นได้เพียงงูๆปลาเท่านั้น ยังไม่รู้ธรรมอันแท้จริงใดๆทั้งสิ้น หากผิดพลาดมาประการใดหรือบิดเบือนอย่างไร ไม่ใช่ครูบาอาจารย์อันเป็นที่เคารพของผมท่านสอนมาผิด แต่เป็นเพราะความเห็นไม่จริงของผมเพียงคนเดียวเท่านั้นครับ ที่ผมโพสท์ไว้นี้เพื่อขอฝากเป็นบันทึกคาามจำกับทางเวบนี้ไว้และหวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาธรรมใหม่ทั้งหลายที่แวะเวียนมาชมแต่ต้องใช้วิจารณาญาณแยกแยะน้อมนำไตร่ตรองด้วยครับ พร้อมกันนั้นเพื่อเป็นการอุทิศบูญกุศลทางแห่งการพ้นทุกข์ทั้งปวงที่ผมสงเคราะห์ลงใน ๔๐ กรรมฐาน และ 1 วิปัสสนา นี้ให้แก่ คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา บิดาผู้ละโลกนี้ไปแล้วของผมครับ

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมเยียนติชมอย่างสูงครับ

ด้วยควรามเคารพและนับถือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์สาวก พ่อแม่บุพการีทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย และ สหายมิตรธรรมทุกท่าน




บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


สารบัญ

แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13576.0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมกาย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12524.0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมสมาธิ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12525.0

กรรมฐานชาวบ้าน ว่าด้วยเรื่องการอบรมจิต
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12526.0

ทุกข์ และ การกำหนดรู้ทุกข์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46532#msg46532

สมุทัย และ การพิจารณาละสมุทัย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46533#msg46533

นิโรธ และ การทำให้แจ้งในนิโรธ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46535#msg46535

มรรค และ สิ่งที่ควรเจริญให้มากในมรรค
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46536#msg46536

แนวทางเจริญปฏิบัติเพื่อละกิเลสทุกข์ด้วย อานาปานสติ+พุทธานุสสติ / ศีล+สีลานุสสติ / พรหมวิหาร ๔
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46538#msg46538

แนวทางเจริญปฏิบัติเพื่อละกิเลสทุกข์ด้วย พรหมวิหาร ๔ + ทาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46665#msg46665

อุบายการปฏิบัติแบบสมถะกึ่งวิปัสสนาดับราคะทางสฬายตนะ กุศลวิตกพิจารณาสงเคราะห์ในธรรม(ธัมมวิจยะ)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46667#msg46667

อุบายการปฏิบัติแบบสมถะกึ่งวิปัสสนาดับโทสะทางสฬายตนะ กุศลวิตกพิจารณาสงเคราะห์ในธรรม(ธัมมวิจยะ)
วิธีน้อมจิตพิจารณาเข้าสู่ ทุกขอริยะสัจ , ทมะ+อุปสมะ , ขันติ+โสรัจจะ(ศีลสังวรณ์,สัลเลขสูตร)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46668#msg46668

การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ราคะ)
พทุธานุสสติ , ท์วัตติงสาการะปาโฐ , จตุธาตุววัตถาน , การเพ่งเทียบกสินธาตุ , มรณะสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46675#msg46675

การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ราคะ)
กุศลวิตกเข้าอสุภะกรรมฐาน , อสุภะกรรมฐาน ๑๐ , อุปสมานุสสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46731#msg46731

การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(โทสะ)
พุทธานุสสติ , ท์วัตติงสาการะปาโฐ , จตุธาตุววัตถาน , อสุภะกรรมฐาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48253#msg48253

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๑ (อุบายดึงสมถะยกจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงสู่ทางวิปัสสนา)
พุทธานุสสติ , สีลานุสสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48254#msg48254

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๑ (อุบายดึงสมถะยกจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงสู่ทางวิปัสสนา)
ท์วัตติงสาการะปาโฐ , จตุธาตุววัตถาน , มรณะสติ , อสุภะกรรมฐาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48255#msg48255

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒ (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)
พุทธานุสสติ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ" , วิธีเจริญในธัมมานุสสติและสังฆานุสสติตามจริงโดยย่อ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48269#msg48269

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒ (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)
อุปสมานุสสติ , สีลานุสสติ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48339#msg48339

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒ (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)
พรหมวิหาร ๔ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ" เป็น "เจโตวิมุตติ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48340#msg48340

การทรงอารมณ์ให้ได้สมาธิไวๆ ขั้นต่ำได้อุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48341#msg48341

อุบายการทรงอารมณ์ใน เมตตาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48403#msg48403

อุบายการทรงอารมณ์ใน กรุณาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

อุบายการทรงอารมณ์ใน มุทิตาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

อุบายการทรงอารมณ์ใน อุเบกขาพรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตอันเป็นไปเพื่อวิปัสสนาญาณ ๑
- วิธีการเจริญจิตกำหนดรู้ในสภาวะที่เป็น "รูปธรรม" และ "นามธรรม" เบื้องต้น
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48599#msg48599

การละกิเลสด้วยการอบรมจิตอันเป็นไปเพื่อวิปัสสนาญาณ ๒
- การดึงจิตออกจากโมหะ และ ทรงอารมณ์ของ สติ+สัมปชัญญะ ให้พอเหมาะกับการพิจารณาสภาวะธรรม
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg48600#msg48600

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 10:34:03 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 06:50:35 pm »
0
๑. "ทุกขอริยสัจ" เป็นอย่างไร

เราจะไม่สามารถเห็นทุกข์จากอารมณ์ใดๆที่เราเสพย์อยู่ได้เลยหากเราไม่รู้จักสภาวะธรรมอาการความรู้สึกปรุงแต่งจากการเสพย์เสวยอารมณ์ที่เรียกว่าทุกข์ใดๆ
ดังนั้นเราต้องมารู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้งกันก่อนว่า ทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนนั้นเป็นอย่างไร ทุกขอริยะสัจเป็นไฉน ผมจะอธิบายตามที่ปัญญาผมพอจะเห็นได้ตามจริงดังนี้ครับ


๑.๑ ทุกข์ที่เป็นสัจธรรมที่เราสามารถรับรู้ได้ง่ายแม้ไม่ต้องเข้าไปรู้สภาพที่เป็นปรมัตถธรรม มีดังนี้คือ

        ๑.๑.๑ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน คับแค้นกาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์
        ๑.๑.๑ ทุกข์เพราะไม่สมดังความปารถนาตั้งใจ ใคร่ได้ ต้องการ
        ๑.๑.๓ ทุกข์เพราะความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นรักที่พอใจยินดี สิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งหลาย
        ๑.๑.๔ ทุกข์เพราะความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย
        ๑.๑.๕ แม้สมหวังดังปารถนายินดี ใคร่ได้นั้นแล้ว มีความพอใจในสุข-สมหวังที่ได้รับ เมื่อความสุข-สมหวังนั้นๆตั้งอยู่ แต่ใจเราก็จะเป็นทุกข์กังวลใจเพราะ “กลัว”
                   กลัวที่จะเกิดความพรัดพราก หรือ กลัวที่จะประสบกับสิ่งที่ตนไม่ชอบ ไม่พอใจยินดี ไม่ต้องการ ที่ตนไม่อยากให้มันเป็น ไม่อยากให้ถึงวันนั้น
                   ด้วยความกลัวอย่างนี้ๆจึงเกิดทุกข์ใจอย่างหนัก แม้จะยังไม่ได้พบเจอ แต่ก็นึกคิดเลยไปภายหน้าไม่อยู่ในปัจจุบัน เป็นทุกข์จากการส่งจิตออกนอกอย่างหนึ่ง


๑.๒ ทุกข์อันเกิดแต่การเสพย์อารมณ์จากความตรึกถึง นึกถึง คิดปรุงแต่งเป็นเรื่องราวไรๆ ทำให้เกิดความทุกข์ ความเศร้ามัวหมองใจเป็นต้น มีดังนี้คือ

        ๑.๒.๑ การที่มีความอยากได้สิ่งใดๆไม่รู้จักความเพียงพอบ้าง ไม่รู้จักลดละบ้าง ความที่ดิ้นรนไขว่คว้าหาสิ่งไรๆมาให้สมดั่งที่ตนปารถนาบ้าง
                   ความที่อยากให้ได้สิ่งไรๆเป็นไปตามที่ตนต้องการบ้าง สืบต่อให้เกิดความร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อร้อนผ่าวกาย-ใจ เศร้าหมองใจ มัวหมองใจ อันเกิดแต่ "โลภะ"
                   ก็ให้รู้ว่า อกุศลจิตเกิดขึ้นแก่ตนแล้ว เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยความโลภ
        ๑.๒.๒ การที่เรามีความกำหนัดในกามราคะ ความอยากใคร่อยากที่จะเสพย์ในเมถุน
                   สืบต่อให้เกิดความร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อร้อนผ่าวกาย-ใจ เศร้าหมองใจ มัวหมองใจ อันเกิดแต่ "ราคะ"
                   ก็ให้รู้ว่า อกุศลจิตเกิดขึ้นแก่ตนแล้ว เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยราคะ
        ๑.๒.๓ การที่เราโกรธแค้นบ้าง อาฆาตผูกเวรบ้าง พยาบาทเบียดเบียนหมายทำร้ายให้สิ่งไรๆนั้นพินาศฉิบหายตามความพอใจยินดีของตนบ้าง
                   ความกระทำสิ่งไรๆทาง กาย วาจา ใจที่เป็นการเบียดเบียนคนอื่นด้วยความขาดสติจากความเครียดแค้นบ้าง
                   สืบต่อให้เกิดความร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อร้อนผ่าวกาย-ใจ เศร้าหมองใจ มัวหมองใจ อันเกิดแต่ "โทสะ"
                   ก็ให้รู้ว่า อกุศลจิตเกิดขึ้นแก่ตนแล้ว เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยโทสะ
        ๑.๒.๓ การที่เรามีความลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งไรๆอยู่ด้วย หรือ เหม่อลอย ความนิ่งเฉยปิดกั้นไม่รับรู้สิ่งใด อุเบกขา
                   ไม่รู้ตัวทั่วพร้อม ไม่รู้ชัดในสิ่งที่เกิดขึ้น-ไม่รู้เท่าทันความเป็นไปในปัจจุบันของจิต ตรึกนึกไม่ได้ จดจำไม่ได้ หวนระลึกไม่ได้
                   สืบต่อให้เกิดความร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อร้อนผ่าวกาย-ใจ เศร้าหมองใจ มัวหมองใจ อันเกิดแต่ "โมหะ"
                   ก็ให้รู้ว่า อกุศลจิตเกิดขึ้นแก่ตนแล้ว เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยโมหะ


๑.๓ ทุกข์อันเกิดแต่สภาพอาการที่เป็นจริงใดๆของจิต อันตัดจากความปรุงแต่งตรึกนึกคิด

       ที่มีธรรมชาติอันร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อร้อนผ่าวกาย-ใจ เศร้าหมองใจ มัวหมองใจเป็นต้น มีดังนี้คือ
        ๑.๓.๑ ความที่มีสภาพอาการของจิต ที่มีความติดใจใคร่ตาม เพลิดเพลินยินดี ฟูพองใจ ปลื้มตื้นตันใจด้วยความติดใจ
                  ชื่นบานใจในสภาพที่มีความติดใจยินดี มีทั้งละเอียด และ หยาบ  ก็ให้รู้ว่า เราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยอาการแห่งจิตเช่นนี้ๆ
        ๑.๓.๒ ความที่มีสภาพอาการของจิต ที่มีความติดใจปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสิ่งใดๆที่เรารู้ในอารมณ์นั้นๆอยู่ อันเกิดแต่ความติดใจเพลิดเพลินยินดี
                   ความแช่มชื่นบานใจจากการได้เสพย์สมอารมณ์ที่ตนใคร่ปารถนาอันเกิดจากความเพลิดเพลิน มีทั้งละเอียด และ หยาบ
                   ก็ให้รู้ว่า เราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยอาการแห่งจิตเช่นนี้ๆ
        ๑.๓.๓ ความที่มีสภาพอาการของจิต ที่มีความขุ่นมัวขัดเคืองใจ ฝืดใจ อัดอั้น-อึดอัด-คับแค้น-เศร้าหมองกายและใจ มีทั้งละเอียด และ หยาบ
                   ก็ให้รู้ว่า เราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยอาการแห่งจิตเช่นนี้ๆ
        ๑.๓.๔ ความที่มีสภาพอาการของจิต ที่มีความนิ่งว่างอยู่แต่มีสภาพมีมัวหมองใจ หรือ ความนิ่งว่างอยู่ไม่รับรู้สิ่งไรๆมีลักษณะอันปิดกั้นด้วยความหม่นมัวหมองใจ
                   ความนิ่งว่างเฉยอยู่ในสภาพที่ตรึงหนักจิต อึมครึมหน่วงจิตดั่งเมฆครึ้มฝน หม่นหมองไม่ผ่องใส ไม่สงบรำงับจากความปรุงแต่งไรๆ ไม่มีความบางเบาของจิต
                   หรือ ไม่เกิดความว่างที่อยู่ด้วยความที่มีสภาพที่รู้ตัวรับรู้ รู้ชัดเข้าใจทุกอย่าง สักแต่แลดูอยู่เท่านั้น แต่ไม่เข้าไปร่วมเสพย์อารมณ์หรืออาการใดๆ
                   มีทั้งละเอียด และ หยาบ ก็ให้รู้ว่า เราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วโดยอาการแห่งจิตเช่นนี้ๆ


๑.๔ ทุกข์อันเกิดแต่ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ ทุกข์เพราะเข้าไปยึดมั่นในสิ่งที่ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราจนเวียนว่าย ตาย เกิดอยู่ในวัฏฏสงสารไม่รู้จบ
       - หากกำหนดรู้ทุกข์ตามข้อที่ ๑.๑-๑.๓ ไม่ได้ ก็จะไม่เข้าใจว่า ทุกข์จากการเข้าไปยึดในขันธ์ ๕ นี้เป็นอย่างไร มันเป็นทุกข์มากแค่ไหน จะไม่มีทางเห็นทุกขสมุทัยได้ตามจริง
       - ในข้อที่ ๑.๑-๑.๓ เรียกว่าเป็นเพียงการรู้ในความปรุงแต่งอันเป็นไปในทุกขเวทนากายและใจโดยส่วนเดียวเท่านั้นที่เราพอจะรู้ได้ แม้จัดอยู่ในส่วนหนึ่งทุกอริยสัจ แต่หากไม่เห็นตามจริงก็จะไม่รู้ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
          ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ทั้ง ๔ เป็นตัวทุกข์ เป็นทุกข์ในทุกขอริยะสัจ

** จะเห็นว่าความทุกข์จริงๆแล้วนั้นมีหลายระดับ มีหลายแบบให้รู้ ไม่ใช่แค่ว่าต้องเจ็บปวด ทรมาน ร้องไห้เสียใจ จึงเป็นทุกข์ ยังมีทุกข์จากปัจจัยหลายๆอย่างที่สืบต่อให้ดำเนินไปมีทั้งละเอียด ทั้งหยาบ ผู้หลงรับรู้แค่อย่างหยาบนี้เรียกว่ายังไม่เห็นทุกขอริยสัจอันแท้จริง รับรู้ได้ก็เพียงแค่ทุกขเวทนา อันยังสืบต่อให้เป็น อุปาทานขันธ์ ๕ ในภายหลัง ดังนี้ **




๒. การกำหนดรู้ "ทุกข์"

        ๒.๑ เมื่อรับรู้อารมณ์ใดๆทาง อินทรีย์ ๕ คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย
                ให้มี สัมปะชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะว่ากำลังทำอะไรอยู่ ความรู้ชัด รู้ชัดสิ่งที่นึกได้ ตระหนัก เข้าใจชัดตามความเป็นจริง
                พร้อมดึง สติ คือ ความระลึกรู้สภาพความปรุงแต่งจิตในปัจจุบันขณะ ความตรึกนึก ความหวนระลึกรู้สภาพธรรมใดๆ ความตามรู้ในสภาพธรรมใดๆ
                ความตรึกนึกแยกแยะพิจารณาอันเป็นไปในกุศลวิตก เข้ามาพิจารณาสภาพธรรมไรๆที่เกิดขึ้นแก่เราว่ามีอาการความรู้สึกอย่างไรบ้าง เป็น สุข หรือ ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์
        ๒.๒ เมื่อรู้ว่าตนเกิด ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน คับแค้นกาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลาย หรือ เกิดความปารถนาใดๆ หวาดระแวงใดๆ
                อันทำให้กายและใจของเราไม่เป็นปกติที่ผ่องใส แจ่มใสเบิกบาน ไม่เศร้าหมองใจ ไม่หม่นหมองใจ โดยปราศจากความติดข้องใจไรๆ
                ก็ให้รู้ว่าถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว ด้วยอกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆเกิดขึ้นแก่เรา
        ๒.๓ เมื่อรู้ว่าตนเกิดความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน คับแค้นกาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลาย หรือ เกิดความปารถนาใดๆ หวาดระแวงใดๆขึ้นแก่กายและใจ
                ก็ให้เราดึงเอา สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นพิจารณาให้เห็นว่า ขณะนั้นๆเรามีความร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อรุ่มร้อนผ่าวกาย-ใจไหม
                เมื่อรู้ว่าสิ่งนี้ๆมีในตนแล้วก็ให้พึงรู้ว่าเราถูกความทุกข์อันเกิดจากกิเลสตัณหาอกุศลจิตใดๆนี้หยั่งเอาแล้ว
        ๒.๔ เมื่อรู้ว่าเรามีความร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อรุ่มร้อนผ่าวกาย-ใจ ให้พึงหวนระลึกและตามรู้ไปว่า สภาพธรรมอาการที่ปรุงแต่งกายและใจเรานั้นมันมีความรู้สึกเช่นไร
                มีสภาพธรรมอันเกิดแต่อาการของจิตที่ตัดความนึกคิดอยู่ในรูปแบบใดๆตามข้อที่ ๑.๑,๑.๒ และ ๑.๓
         ๒.๕ เมื่อรู้ว่าอาการของจิตไรๆเกิดขึ้นแก่ตนให้พึงหวนระลึกรู้ว่าสภาพธรรมนี้เป็นไปในกิเลสส่วนใด โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ต้องแยกสภาพธรรมตามกิเลสนี้ๆให้ออก
         ๒.๖ แล้วพิจารณาว่าทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเพราะอะไร เพราะเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้รู้กลิ่น ได้รู้รส ได้รู้กระทบสัมผัสใดๆทางกาย หรือ ได้รู้ความกระทบสัมผัสใดๆทางใจ

** ให้กำหนดรู้เป็นประจำว่าทุกข์เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะรับรู้อารมณ์มาทางใดในอินทรีย์ ๖ หากเราไม่กำหนดรู้ทุกข์เช่นนี้ๆ เราจะไม่เข้าใจในทุกข์ว่าเป็นอย่างไร เป็นเช่นไร จนเข้าไปยึดใน ขันธ์ ๕ จนก่อให้เราต้องมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสารไม่รู้จบ โดยการเวียนว่ายตายเกิดไรๆนั้น ก็ไม่รู้ว่าจะมาเกิดเป็นอะไร สัตว์ใด สิ่งใด บุคตคลใด รวย จน ยาก ลำบาก ทุกข์ทรมาน อาการไม่ครบ 32 ประการบ้างเป็นต้น เรียกว่า การตกอยู่ใน "ทุกขอริยะสัจ" **
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2014, 09:29:32 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 07:08:00 pm »
0

๓. การพิจาณาให้เห็น "ทุกขสมุทัยอริยสัจ"

ลำดับการเกิดและปัจจัยสืบต่อของจิตทั้งปวงนี้เป็นเพียงแต่รู้เห็นโดยปุถุชนส่วนตัวเท่านั้น อาจจะมีจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง หรือ ไม่ถูกต้องตรงตามจริงทั้งหมด เพราะผมเป็นเพียงแค่ปุถุชนที่พอได้สัมผัสของจริงเพียงปริ่มๆอารมณ์เล็กๆน้อยๆเท่านั้น แล้วทำบันทุกนี้ไว้เพื่อทบทวนการปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นของตน


         ๓.๑ เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเราทุกข์เพราะรับรู้อารมณ์มาทางใดในอินทรีย์ ๖ ก็ให้เราหวนระลึกพิจารณาว่า

                - เมือเราได้เห็นทางตาแล้วเราเกิดความสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ กายและใจเพราะสิ่งใดหนอ
                  เราได้มีความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะของรูปที่เรามองเห็นเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - เมือเราได้ยินทางหูแล้วเราเกิดความสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ กายและใจเพราะสิ่งใดหนอ
                  เราได้มีความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะของเสียงที่เราได้ยินเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - เมือเราได้กลิ่นทางจมูกแล้วเราเกิดความสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆเพราะสิ่งใดหนอ
                  เราได้มีความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะของกลิ่นเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - เมือเราได้รู้รสทางลิ้นแล้วเราเกิดความสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ กายและใจเพราะสิ่งใดหนอ
                  เราได้มีความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะของรสที่เราได้รับรู้เหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - เมือเราได้รู้การกระทบสัมผัสทางกายแล้วเราเกิดความสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ กายและใจเพราะสิ่งใดหนอ
                  เราได้มีความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะของสิ่งที่เรารู้กระทบสัมผัสทางกายเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - เมือเราได้รับรู้สิ่งใดๆทางใจแล้วเราเกิดความสุข หรือ ทุกข์ หรือ เฉยๆ กายและใจเพราะสิ่งใดหนอหนอ
                  เราได้มีความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะของสิ่งที่เรารู้ได้ทางใจเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร


         ๓.๒ เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาสิ่งไรๆไว้ต่ออารมณ์ที่เราได้รับรู้มามาทางอินทรีย์ ๖ จนทำให้เราเกิดความทุกข์กายและใจ ก็ให้เราหวนระลึกพิจารณาว่า

                - ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะไรๆของรูปที่เรามองเห็นนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราเกิดความอยากมี อยากเป็น หรือ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน หรือ ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในลุกษณะของรูปที่เรามองเห็นเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะไรๆของเสียงที่เราได้ยินนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราเกิดความอยากมี อยากเป็น หรือ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน หรือ ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในลักษณะของเสียงที่เราได้ยินเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะไรๆของกลิ่นที่เราได้รับรู้เพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราเกิดความอยากมี อยากเป็น หรือ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน หรือ ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในลักษณะของเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะไรๆของรสที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราเกิดความอยากมี อยากเป็น หรือ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน หรือ ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในลักษณะของรสที่เราได้รับรู้เหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะไรๆที่มากระทบสัมผัสทางกายที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราเกิดความอยากมี อยากเป็น หรือ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน หรือ ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในลักษณะที่เรารับรู้กระทบสัมผัสทางกายเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้กับสภาพลักษณะไรๆที่เรารับรู้ได้ของใจนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราเกิดความอยากมี อยากเป็น หรือ อยากจะผลักหนีให้ไกลตน หรือ ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในลักษณะของที่เรารู้ได้ทางใจเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร


         ๓.๓ เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเรามีความทะยานอยากแบบไหนต่ออารมณ์ที่เราได้รับรู้มามาทางอินทรีย์ ๖ จนทำให้เราเกิดความยึดมั่นถือมั่น ก็ให้เราหวนระลึกพิจารณาว่า

                - ที่เรามีความทะยานอยากไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของรูปที่เรามองเห็นนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีทะยานอยากในแบบใดกับสภาพของรูปที่เรามองเห็นเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความทะยานอยากไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของเสียงที่เราได้ยินนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ปรุงแต่งเรื่องราวกับสภาพของเสียงที่เราได้ยินเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความทะยานอยากไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของกลิ่นที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ปรุงแต่งเรื่องราวกับสภาพของกลิ่นเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความทะยานอยากไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของรสที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ปรุงแต่งเรื่องราวกับสภาพของรสที่เราได้รับรู้เหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความทะยานอยากไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของการกระทบสัมผัสทางกายที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ปรุงแต่งเรื่องราวกับสภาพที่เรารู้กระทบสัมผัสทางกายเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความทะยานอยากไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆชองใจที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ปรุงแต่งเรื่องราวกับสภาพสิ่งที่เรารู้ได้ทางใจเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร


         ๓.๔ เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเรามีความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราวอย่างไรต่ออารมณ์ที่เรารับรู้มทางอินทรีย์ ๖ จนทำให้เราเกิดความทะยานอยาก ก็ให้เราหวนระลึกพิจารณาว่า
                - ที่เรามีความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราวไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของรูปที่เรามองเห็นนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสภาพของรูปที่เรามองเห็นเหล่านั้นไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราวไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของเสียงที่เราได้ยินนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสภาพของเสียงที่เราได้ยินเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราวไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของกลิ่นที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสภาพของกลิ่นที่เราได้รับรู้เหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราวไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของรสที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสภาพของรสที่เราได้รับรู้เหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราวไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของการกระทบสัมผัสทางกายที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสภาพของสิ่งที่เรารู้กระทบสัมผัสทางกายเอาไว้อย่างไร
                - ที่เรามีความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราวไรๆต่อสภาพลักษณะใดๆของใจที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเราใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสภาพของสิ่งที่เรารู้ได้ทางใจเหล่านั้นไว้อย่างไร


         ๓.๕ เมื่อเราได้รู้แล้วว่าเราใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้อย่างไรกับอารมณ์ใดๆที่รับรู้มาทางอินทรีย์ ๖ จนทำให้เราเกิดความตรึกนึกถึงปรุงแต่งเรื่องราว ก็ให้เราหวนระลึกพิจารณาว่า
               - ที่เราเข้าไปใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้ต่อสภาพลักษณะใดๆของรูปที่เรามองเห็นนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความรู้สึกพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดี หรือ เฉยๆ กับสภาพของรูปที่เรามองเห็นเหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้ต่อสภาพลักษณะใดๆของเสียงที่เราได้ยินนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความรู้สึกพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดี หรือ เฉยๆ กับสภาพของเสียงที่เราได้ยินนั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                - ที่เราเข้าไปใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้ต่อสภาพลักษณะใดๆของกลิ่นที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความรู้สึกพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดี หรือ เฉยๆ กับสภาพของกลิ่นที่เราได้รับรู้เหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้ต่อสภาพลักษณะใดๆของรสที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความรู้สึกพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดี หรือ เฉยๆ กับสภาพของรสที่เราได้รับรู้เหล่านั้นเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้ต่อสภาพลักษณะใดๆของการกระทบสัมผัสทางกายที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความรู้สึกพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดี หรือ เฉยๆ กับสภาพของสิ่งที่เรารู้กระทบสัมผัสทางกายเอาไว้อย่างไร
                - ที่เราเข้าไปใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้ต่อสภาพลักษณะใดๆของใจที่เราได้รับรู้นั้นเพราะสิ่งใดหนอ
                  เพราะเรามีความรู้สึกพอใจยินดี หรือ ไม่พอใจยินดี หรือ เฉยๆ กับสภาพของสิ่งที่เรารู้ได้ทางใจเหล่านั้นไว้อย่างไร


         ๓.๖ ให้พิจารณากลับไปกลับมาตามข้อที่ ๓.๑ และ ๓.๕ แบบอนุโลม ปฏิโลม จนเห็นตามจริงในสิ่งที่เป็นปัจจัยเนื่องให้ลืบต่อแก่กัน
                 ผมได้ทำการพิจารณาซ้ำไปซ้ำมากลับไปกลับมาได้ค้นพบตามลำดับด้วยปัญญาอันน้อยนิด (อาจจะไม่ถูกต้องตามจริงด้วยผมยังเป็นเพียงผู้ไม่รู้
                 ยังไม่แจ้งเห็นในสภาพจริงทุกขณะจิตแต่ก็พอที่จะใช้พิจารณาให้เห็นสมุทัย)ของผมได้ดังนี้ว่า


--> เมื่อจิตเรารับรู้ผัสสะอารมณ์ใดๆทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ  --> โสมนัส, โทมนัส, อุเบกขา(จิตสังขาร) --> สุข หรือ ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์กายใจ(สุข, ทุกข์, อุเบกขา) --> ใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสิ่งที่เรารู้อารมณ์นั้นๆ(จิตสังขาร) --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง(จิตสังขาร) --> ฉันทะ(ยินร้าย), ปฏิฆะ(ยินดี), โมหะ(หลง) --> อารมณ์ที่รัก, อารมณ์ที่ชัง --> เสพย์สังขารปรุงแต่งจิตอารมณ์โดยสมมติ --> เกิดความเร่าร้อนทะยานอยากทั้งปวง --> เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆที่เรารับรู้อารมณ์ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ --> ตระหนี่, ริษยา --> กองทุกข์ทั้งปวงแห่งทุกขอริยสัจ -->

--> กองทุกข์ทั้งปวงแห่งทุกขอริยสัจ --> ตระหนี่, ริษยา --> เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆที่เรารับรู้อารมณ์ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ -->  ความเร่าร้อนทะยานอยากทั้งปวง --> เสพย์สังขารปรุงแต่งจิตอารมณ์โดยสมมติ --> อารมณ์ที่รัก, อารมณ์ที่ชัง --> ฉันทะ(ยินดี), ปฏิฆะ(ยินร้าย), โมหะ(หลง) --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง(จิตสังขาร) --> ใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสิ่งที่เรารู้อารมณ์นั้นๆ(จิตสังขาร) --> สุข หรือ ทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์กายใจ --> โสมนัส, โทมนัส, อุเบกขา(จิตสังขาร) --> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดๆเป็นอารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ -->

** จากวงจรจะเห็นว่า สมุทัย หรือ เหตุแห่งทุกขอริยะสัจทั้งปวงนั้นเกิดขึ้นมาแต่ ความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีเป็นมูลเหตุ อันเกิดแต่ความโสมนัส และ ความโทมนัส เป็นต้น คือ มีผัสสะเป็นเหตุให้เกิดมีเวทนา ๖ ที่ในปัจจุบันขณะให้ อนุสัยกิเลสเกิดขึ้นให้จิตจำได้หมายรู้อารมณ์ แล้วเกิด "วิตกตรึกตรองถึง ด้วยอารมณ์ที่เป็น..ฉันทะสัญญา ปฏิฆะสัญญา คือ ความสำคัญมั่นหมายยินดีหรือยินร้ายในอารมณ์นั้นๆจากสฬายตนะ" เกิดขึ้นนั่นเอง แล้วก็เกิดฉันทะราคะใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทำให้เกิดกิเลสตัณหาในขันธ์ ๕ ขึ้น **

** แม้เมื่อไม่ได้รับรู้สิ่งใดๆทางอายตนะ ๕ คือ ทวาร ๕ ได้แก่ หุ ตา จมูก ลิ้น กาย
 แต่ธรรมชาติของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายก็ยังมี "ฉันทะวิตก" อันตรึกนึกในสิ่งที่พอใจยินดีแสวงหาอารมณ์นั้นๆเกิดขึ้น ด้วยกอปรใน "ฉันทะสัญญา" คือ ความจำหมายไว้ในความพอใจยินดีในอารมณ์ที่รับรู้นั้นๆ + "ฉันทะราคะ" คือ ความกำหนัดมีใจจดจ่อผูกใฝ่คำนึงถึงด้วยความติดใคร่พอใจยินดีในอายตนะภายนอก ๕ (ฉันทะราคะ มีสภาวะที่จิตนั้นตั้งมั่นมีใจจดจ่อผูกใฝ่คำนึงถึงแนบแน่นด้วยความติดใคร่พอใจยินดีในอารมณ์นั้น เช่น เห็นผู้หญิงสวยเซ็กซี่ เมื่อฉันทะราคะเกิดขึ้นจิตเราก็จะตั้งมั่นจดจ่อแนบแน่นด้วยความติดใคร่ยินดีปารถนาในรูปที่เห็น คือ บุคคลที่เราเห็นอยู่นั้นๆ) สืบต่อเป็น "กามฉันทะ" คือ ความพอใจยินดีแสวงหาทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอายตนะภายนอก ๕ จนเกิดเป็น เวทนา ขึ้นอีกส่งต่อเป็นไปใน กิเลสตัณหา --> อุปาทาน --> ทุกขอริยะสัจ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ฉันทะเป็นมูล ฉันทะเป้นเหตุ ให้เกิดทุกข์ทั้งปวง เมื่อจะละก็ต้องละที่ ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ที่มีใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมมารมณ์ นี้เองครับ **

การเกิดขึ้นของฉันทะ

เมื่อจิตเรารับรู้ "ผัสสะ" อารมณ์ใดๆทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ  --> เวทนา --> สัญญา --> ฉันทะ --> ฉันทะสัญญา  ความใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำหมายเอาไว้ในความพอใจยินดีกับสิ่งที่เรารู้อารมณ์นั้นๆ --> ฉันทะราคะ ความกำหนัดมีใจจดจ่อผูกใฝ่คำนึงถึงด้วยความติดใคร่พอใจยินดีในอายตนะภายนอก ๕ --> กามฉันทะ ความพอใจยินดีแสวงหาทะยานอยากใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอายตนะภายนอก ๕ --> เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆที่เรารับรู้อารมณ์ทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ยึดมั่นถือมั่นเป็นอุปาทานในขันธ์ ๕ --> ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงปรุงแต่งจิตแสวงหาในอารมณ์ที่ตนพอใจยินดี เป็น ฉันทะวิตก

ทุกขอริยะสัจจากฉันทะ

แบบที่ ๑ ผัสสะโดยธรรมารมณ์ --> เวทนา --> สัญญา --> ฉันทะวิตก + ฉันทะสัญญา + ฉันทะราคะ --> เวทนา เป็นสุขหรือทุกข์กายและใจ --> กามฉันทะ --> เกิดความใคร่กำหนัดหมายเสพย์อารมณ์ที่พอใจยินดีทำให้เกิดความเร่าร้อนทะยานอยากทั้งปวง --> อุปาทานขันธ์ ๕ มี รูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์  เป็นต้น --> กองทุกข์ทั้งปวงแห่งทุกขอริยสัจ -->

แบบที่ ๒ ผัสสะโดยอายตนะภายนอก ๕ --> สัญญา --> สุข ทุกข์ เฉยๆ(เวทนา) --> ฉันทะสัญญา --> เวทนา สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส --> ฉันทะราคะ  --> กามฉันทะ --> ตัณหา --> อุปาทานขันธ์ ๕ --> ฉันทะวิตก --> กองทุกข์ทั้งปวงแห่งทุกขอริยสัจ -->


-- ขอย้ำนะครับสิ่งที่ผมรู้เห็นทุกอย่างในกระทู้นี้ทั้งปวงจนถึงวงจรต่างๆนี้มันเกิดจากความรู้เห็นสัมผัสได้ของผม ซึ่งอาจจะไม่ตรงตามจริงหรือถูกต้องทั้งหมดผู้อ่านทุกท่านพึงพิจารณาแยกแยะแล้วนำไปใช้เฉพาะสิ่งที่ท่านเห็นว่าจริงและมีประโยชน์เท่านั้นนะครับ ซึ่งกระทู้นี้ทั้งหมดผมเขียนเพื่อเป้นบันทึกผที่ผมสัมสัมผัสรับรู้ได้จากการปฏิบัติจริงของผมเท่านั้น --
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2016, 09:06:14 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 07:19:30 pm »
0

๔. "สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ" เป็นอย่างไร

ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ เหตุนั้นเป็นไฉน ตามปัญญาที่ผมพอจะมี พอจะรู้ใคร่ครวญตรึกตรองได้นั้น นั้นคือ ปกติเราไปละเอาความทุกข์ที่ปลายเหตุ หรือ ละด้วยมิจฉาทิฐิ เช่น

1. เวลาที่ผิดหวังอกหักจากคนที่ตนรัก เป็นทุกข์ ก็พากันดับทุกข์โดยดื่มเหล้าบ้าง เมื่อดื่มเหล้าแล้วขณะเวลานึงอาจจะลืมไป ต่อมาก็ทุกข์อีกเหมือนเดิม
2. เวลาที่ผิดหวังอกหักจากคนที่ตนรัก เป็นทุกข์ ก็พากันดับทุกข์โดยการหาคนอื่นแทนบ้าง เมื่อมีคนใหม่แทนแล้วขณะเวลานึงอาจจะลืมไป ต่อมาก็ทุกข์อีกเหมือนเดิม
3. เวลาที่ผิดหวังจากการสอบเข้าเรียน เป็นทุกข์ แม้จะรู้ว่าต้องเรียนและทบทวนให้มากขึ้น(สิ่งนี้ควรทำให้มาก) แต่ก็ทำไม่เต็มที่ ทำแบบครึ่งๆกลาง ทำดีขึ้นกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย หรือ ทำจนเต็มสุดโต่งเกินไปไม่ได้หลับนอนพักผ่อน เมื่อทำแล้วยังไม่ได้ ก็กลับมาทุกข์อีก


ที่ยังทุกข์นั้นเพราะอะไร ผมขออธิบายง่ายๆดังนี้ครับ

ข้อที่ 1. ดับทุกข์ด้วย มิจฉาทิฐิ คือ เอาสิ่งที่เชื่อตามๆกันมาฟังตามๆกันมา ซึ่งเชื่อกันมาแบบผิดๆ ยึดมั่นเป็นที่ตั้งแห่งจิต
นั่นเพราะเหล้านั้นมันทำให้เกิดความเพลิดเพลิน หรือ ระบายสิ่งที่อัดอั้นตันใจซึ่งช่วยได้ชั่วขณะเท่านั้น ก็กลับมาทุกข์ใหม่เมื่อตรึกนึกถึงอีก และ อาจจะต้องสูญเสียสิ่งอื่นๆไปอีกมากมายหรือกระทำผิดได้อีกมากมายโดยไม่ทันยั้งคิด ไม่มีสติยั้งคิดด้วยซ้ำ
ข้อที่ 2. ดับทุกข์ด้วยมิจฉาทิฐิ คือ เอาความทะยานอยากที่จะทดแทนส่วนที่สูญสลายไปมาเป็นที่ตั้งจิต
นั่นเพราะเราเอาความทะยานอยากไปกดทับความทะยานอยากด้วยหวังจะทดแทนสิ่งที่ตนสูญเสีย แต่มันไม่มีสิ่งใดแทนกันได้ หรือ แม้ยอมรับได้ในขณะหนึ่ง ก็ทุกข์อีก ไม่ว่าจะด้วยความพรัดพรากหรือประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจเป็นต้น
- ดังนั้นในทั้งข้อที่ 1 และ 2 นี้เรียกว่าไม่เห็น อริยะสัจ ๔ จึงไม่รู้การละที่เหตุ ใช้ความเชื่อตามๆกันมา และ ความอยากตนเป็นใหญ่ในการแก้ปัญหา เป็น มิจฉาทิฐิ ถ้าจะดับทุกข์จริงๆต้องละที่เหตุ คือ ความพอใจยินดีที่มีเขาอยู่ เหตุคือความพอใจยินดีในตัวเขา สิ่งที่เป็นเขา ทุกอย่างที่เขาทำ ทุกสิ่งที่เขามีเขาเป็น พอใจที่จะอยู่กับเขา ต้องละที่เหตุเหล่านี้เป็นต้น ทุกข์ถึงจะเบาบางลงจนถึงไม่มีเลย นี่ก็เรียกสัมมาทิญิ เห็นตามจริงในอริยะสัจ ๔
- สำหรับผู้ทีอกหักแล้วจะเป้นจะตายเขาเคยคิดไหม พ่อแม่เลี้ยงเขามาจนทั้งชีวิต ไม่เคยขออะไรจากเขาเลยสักอย่างคอยให้ความรักเข้าใจสั่งสอนชี้แนะเสี้ยงดูมาตั้งแต่เกิด แต่เขากลับไม่สนใจในบุพการีเลย ดั่งคำที่ว่า เลิกกับแฟน 10 ปียังไม่เลิกร้องไห้ พ่อแม่ตาย 3 วันเลิกเสียใจ นี่ทั้งๆที่คุณแห่งการอุปการะเทียบกันไม่ได้เลย

ข้อที่ 3. ดับทุกข์ด้วยความเพียรมากขึ้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องควรเจริญให้มาก แต่หย่อนไปบ้าง ตึงไปบ้างนี่เรียกว่าสุดโต่งเกินไป เรียกว่าแม้รู้กิจใดๆสิ่งใดๆหน้าที่ใดๆที่ตนเองควรทำแล้วแต่ยังไม่อยู่ในความพอดี และ ยังไม่รู้สิ่งที่ควรละตามจริงเพื่อดับทุกข์ด้วย
การเพียรมากขึ้นเพื่อความสำเร็จในภายหน้าเป็นสิ่งที่ควรทำควรส่งเสริม แต่ความเพียรในการอ่านทบทวนไรๆต้องทำให้เต็มที่แบบพอดีพอควร ไม่ใช่ทำบ้างไม่ทำบ้างแล้วไปตั้งความหวัง เมื่อไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ ทั้งๆที่ตนเองทำไม่เต็มที่ ทำครึ่งๆกลางๆ หรือ ทำสุดโต่งเกินไปจนไม่ได้พักผ่อนด้วยความหวังไปเต็มที่จนร่างกายอ่อนเพลียเมื่อยล้า แต่ก็ยังสอบตกอยู่ นี่ก็ทุกข์อีก นั่นเพราะร่างกายก็ไม่ควรแก่งาน แม้จะมีจิตใจอันมุ่งมั่นก็ทำให้ความจดจำเลอะเลือนได้เพราะขาดการผักผ่อนหรือเสริมพลังงานให้ ซึ่งทั้งสองส่วนมีความเพียรจริง แต่ไม่ใช่ความเพียรที่มีความพอดีเป็นสายกลาง เช่นเมื่อเรียนเสร็จก็ทบทวนบทเรียนวันละนิดวันละหน่อย หรือ เมื่อจะอ่านก็ต้องแบ่งเวลาในการอ่านทบทวน แบ่งเวลาในการผักผ่อนดื่มกิน เพื่อให้กายและใจเรานั้นควรแก่งาน ที่สำคัญไม่ละที่เหตุ เหตุเกิดจากความพอใจยินดีที่จะสอบได้ ทำให้เราให้ความสำคัญจนตั้งความหวังเอาไว้มาก เมื่อไม่เป็นดังหวังก็ทุกข์
ดังนั้นเมื่อเรามีความเพียรรู้หน้าที่และสิ่งที่ควรทำแล้ว เราก็ต้องดับที่เหตุคือละที่ความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีว่าเราต้องสอบได้วันนี้ ต้องสอบได้ที่นี่ โดยให้พึงระลึกเพียงว่าเราต้องทำให้เต็มที่มีความเพียรทบทวนให้มากตามสติกำลังไม่หย่อนไปและไม่ตรึงไป เราได้เพียรตั้งใจมาเต็มที่ตามสติกำลังแล้วจะสอบได้ไม่ได้ก็ปล่อยให้มันเป็นไป ไม่ได้ที่นี่ก็มีที่อื่น หรือ แม้สอบไม่ได้ในวันนี้วันหน้าก็ต้องได้ หรือ ต้องมีสักวันสักที่จะต้องได้แน่นอนแค่ไม่ทิ้งความเพียรไป นี้เรียกว่าการวางใจไว้กลางๆเป็นอารมณ์โดยไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต ดังนี้แล้วเรียกว่ารู้กิจที่ควรทำและดับที่เหตุ ทำให้ความทุกข์น้อยลง เบาบางลง จนถึงไม่มีเลย ดังนี้
- จากตัวอย่างข้ามต้นนี้คิดว่าพอจะเข้าใจกันบ้างแล้วว่าทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "สมุทัยเป็นสิ่งที่ควรละ" ละเพื่อสิ่งใด



- ลองดูวงจรอันทำให้เห็นสมุทัยที่พอจะรู้ได้จากนักธรรมตรีอย่างผมที่พอจะมีปัญญาอันน้อยนิดที่ไม่รู้ธรรมใดๆพึงเห็นได้ แม้ไม่ถูกต้องตามจริงแต่อาจจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง ดังนี้ครับ

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เกิดความติดข้องใจ --> จึงอยากรู้ --> อยากดู อยากเห็น - อยากได้ยิน ได้ฟัง - อยากได้กลิ่น - อยากลิ้มรส -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> จึงเจตนาที่จะรู้ --> จึงมองดูเพื่อให้เห็น - จึงเงี่ยหูฟังเพื่อให้ได้ยิน - จึงใช้จมูกสูดดมเพื่อให้รู้กลิ่น - จึงดื่ม-กินเพื่อให้รู้รส - จึงพยายามที่จะได้สัมผัสทางกายเพื่อให้รับรู้ถึงความรู้สึกจากการผัสสะทางกายกับสิ่งนั้นๆ -->

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> เพราะมีความติดข้องใจ --> เมื่อเห็นตามต้องการแล้ว - เมื่อได้ยินตามต้องการแล้ว - เมื่อได้กลิ่นตามต้องการแล้ว - เมื่อรู้รสตามต้องการแล้ว - เมื่อรู้สัมผัสทางกายตามต้องการแล้ว --> เสพย์เป็นความรู้สึกพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี  --> เสวยอารมณ์เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ กาย-ใจ --> เกิดเป็นความใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายของใจจดจำเอาไว้กับสิ่งที่เรารู้อารมณ์นั้นๆ --> เกิดเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง --> เกิดเป็นความทะยานอยาก --> เกิดเป็นความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น --> เกิดกองทุกข์ทั้งปวงแห่งทุกขอริยสัจ

--> เมื่อจิตเรารับรู้สิ่งใดเป็นอารมณ์ --> พิจารณาตามจริง เห็นตามสัจธรรม รู้สภาพจริง --> เมื่อเราไม่มีความติดข้องใจ -->  แม้เห็นแล้ว --> แม้ได้ยินแล้ว --> แม้ได้กลิ่นแล้ว --> แม้รู้รสแล้ว --> แม้รู้สัมผัสทางกายแล้ว--> ไม่เกิดความพอใจยินดี-ไม่พอใจยินดี --> มีความวางเฉยสงบรำงับอยู่ มีใจวางไว้กลางๆ --> เสวยออุเบกขารมณ์ --> ไม่ใส่ใจสนใจให้ความสำคัญมั่นหมายไว้ในใจแม้จะมีความจำได้จำไว้ในสภาพนั้นๆ --> ไม่เกิดความทะยานอยาก  --> ไม่เกิดความเข้าไปยึดมั่นถือมั่น --> ไม่เกิดกองทุกข์ทั้งปวงแห่งทุกขอริยสัจ
 
ในขณะใดที่เราเห็นถึงสมุทัย เห็นในสิ่งที่ควรละนี้ ความแช่มชื่นความโล่งใจจิตเบิกบานใจ สบายกาย สบายใจ ความสงบรำงับ ว่างอยู่ ย่อมเกิดขึ้นแก่กายใจเรานี้ในขณะนั้นทันที นี่เป็นอานิสงส์จากการเพียงแค่รู้เห็นถึงสิ่งที่ควรละเท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2014, 07:29:36 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 07:27:54 pm »
0

๕. "ทุกขนิโรธอริยสัจ" เป็นอย่างไร

นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ความดับทุกข์นี้เมื่อเข้าถึงแล้วแม้ส่วนเสี้ยวหนึ่งของนิโรธเราก็จะได้รู้ว่า สภาพกายและใจมันมีแต่ความผ่องใสเบาสบาย สงบบางเบาร่มเย็นกายใจ ความแช่มชื่นใจมันอัดแน่นเต็มพรั่งพรูขึ้นมา ไม่มีอาการอันหนักหน่วงกายและใจ ไม่ตรึงหนักจิต ไม่มีความขัดเคืองใจ ไม่มีความติดใจเพลิดเพลิน ไม่เกิดความใคร่ปารถนา ไม่มีความร้อนรุ่มร้อนรนใจ ไม่มีความเดือนเนื้อร้อนใจ มีแต่ความเย็นสงบอันเป็นสุขที่หาประมาณมิได้ ซึ่งความรู้สึกนี้เราไม่สามารถจะหาได้จากการเสพย์ในรูปอารมณ์ใดๆสิ่งใดๆ (สี เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ)


๖. "นิโรธ ควรทำให้แจ้ง" ต้องทำอย่างไร

- เมื่อในขณะใดที่เราเห็นถึงสมุทัย คือ เห็นสิ่งที่ควรละ เห็นทางที่ควรที่จะใช้ละในเบื้องต้นบ้างแล้ว ขณะจิตนั้น..จิตของเรามันได้ละเหตุแห่งทุกข์ไปแล้วชั่วขณะหนึ่ง กุศลจิตก็เกิดขึ้น  ความแช่มชื่นความโล่งใจจิตเบิกบานใจ สบายกาย สบายใจ ความสงบรำงับ มีจิตว่างจากสุมทัยและทุกข์อยู่ด้วยความเบากายผ่องใสเบิกบานใจเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นแก่กายใจเรานี้ในขณะนั้นทันที นี่เป็นอานิสงส์จากการเพียงแค่รู้เห็นถึงสิ่งที่ควรละ และ เห็นทางที่ใช้ละเพียงเท่านั้นนะครับยังทำให้สุขกายใจได้เลย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราก็ยิ่งต้องทำนิโรธความดับทุกข์ให้แจ้งเพื่อให้เกิดความยินดีตรึกตรองสงเคราะห์ลงในธรรมเพียรเจริญปฏิบัติที่จะออกจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆให้ได้ ดังนี้คือ

๖.๑ ในขณะที่เรานั้นไม่มีทุกข์ ไม่มีความเศร้าหมองใจ ไม่มีความติดใจใคร่ได้ยินดีอันเกิดปแต่ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ ไม่มีความขัดใจ ขุ่นเคืองหมองใจ ไม่มีความมัวหมองตรึงหนังอึมครึมครึ้มใจหน่วงอยู่ ทำให้ไม่มีอกุศลวิตก ทำให้ไม่มีอกุศลจิต ทำให้ไม่มีอกุศลกรรมไม่มีความเร่าร้อน ร้อนรุ่มกายใจ มีแต่สภาวะธรรมที่มันแจ่มใสเบิกบาน เบาสงบร่มเย็น แช่มชื่นรื่นรมณ์สุขกายใจ จะเพิกมองไปทางไหนๆก็งดงามร่มเย็นสงบสุข จะฟังเสียงใดๆก็รู้สึกดี เป็นต้น
๖.๑.๑ ขั้นแรกให้พึงกำหนดรู้หรือหวนระลึกถึงความดับทุกข์ที่เราได้รับอยู่ในขณะนี้ หรือ ที่เคยได้รับเมื่อกาลก่อนนั้นว่ามันเป็นไฉนหนอ เช่น ความไม่มีทุกข์เร่าร้อน ร้อนรุ่มทั้งหลาย มันเป็นอย่างนี้ๆคือ มันแจ่มใสเบิกบานอย่างนี้ๆ มันสุขแช่มชื่นรื่นรมย์เย็นกายใจอย่างนี้ๆ เป็นต้น
๖.๑.๒ เมื่อกำหนดรู้แล้วว่า ความไม่มีทุกข์กาย ความไม่มีทุกข์อันเร่าร้อนมัวหมองใจ มันสุขอย่างไร ก็ให้พึงทำความดับทุกข์นั้นให้แจ้ง ยกตัวอย่างเบื้องต้นดังนี้ เช่น

ก. เห็นความสุขอันเกิดขึ้นได้เพราะทุกข์ดับจางหายไปได้ ด้วยความได้เสพย์สมความพอใจยินดี มันเป็นอย่างไรบ้าง
- เมื่อความทุกข์จางไปได้เพราะมีความสุขอันเกิดแต่ความกำหนดเพลิดเพลินยินดีบันเทิงใจเกิดขึ้นบ้าง ซึ่งทุกข์เหล่านั้นมันจางไปได้เพราะความไม่พอใจยินดี-ขัดเคืองขุ่นมัวใจ-โศรกเศร้าร่ำไรรำพัน-คับแค้นกายใจจางลงไปบ้าง

...นี่เรียกว่าทำให้รู้แจ้งความดับทุกข์นั้นเพราะโทสะจางหายไปได้บ้างแล้ว

ข. เห็นความสุขอันเกิดแต่ความเพลิดเพลินเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อความทุกข์อันคับแค้นไม่สบายกายใจดับไปนั้นด้วยได้สมความพอใจยินดีแล้วนั้น มันเป็นอย่างไรบ้าง
- เมื่อเราเป็นสุขอันเกิดแต่ความเพลิดเพลินยินดีนี้แล้ว มันถึงความพ้นทุกข์เลยหรือไม่ พอความเพลิดเพลินยินดีนั้นจางหายดับไป ความสุขของเรานั้นดับไปด้วยไหม เมื่อความสมความกำหนัดเพลิดเพลินพอใจยินดีบันเทิงใจดับไปจะเห็นว่าสุขนั้นก็ดับลงไปด้วยเสมอๆทุกๆครั้ง แล้วย่อมสืบต่อให้ความทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาอีกอย่างแน่นอนโดยหลีกเลีี่ยงบังคับไม่ได้ เช่น
๑. กลับเป็นมีจิตตั้งมั่นจดจ่อติดใคร่ยินดีแสวงหาในอารมณ์นั้นๆอีกจนเกิดความเร่าร้อนกายใจบ้าง๑
๒. เมื่อความได้เสพย์สมความพอใจยินดีเพลิดเพลินนั้นๆดับไปแล้ว ก็เกิดความขัดใจเร่าร้อนกายใจเพราะไม่เป็นหรือได้ตามที่ต้องการเกิดขึ้นบ้าง๑

...นี่เรียกว่าทำให้รู้แจ้งในสุขอันเกิดแต่ความได้เสพย์สมอารมณ์หมายตามความติดใจเพลิดเพลินใคร่ได้ยินดี คือ สุขจากโลภะ ว่ามันมีสภาวะอย่างไรได้บ้างแล้ว

ค. เห็นความสุขอันเกิดแต่ความไม่แสวงหาซึ่งดับความเพลิดเพลินพอใจยินดีและความขัดใจไม่พอใจยินดี ดับความโศรกเศร้าคับแค้นกายใจ มันเป็นอย่างไรบ้าง
- เมื่อเห็นความสุขอันเกิดขึ้นด้วยความแจ่มใสเบิกบาน สงบร่มเย็นกายใจ มีความแช่มชื่นเกษมเปรมปรีย์ ไม่มีจิตติดใจข้องแวะสิ่งไรๆ ไม่มีความติดใคร่ยินดีและไม่ขัดเคืองใจในสิ่งไรๆ มันเป็นอย่างไรบ้าง เช่น มันพึงอยู่ได้นานเหมือนหลุดพ้นจากบ่วงทุกข์ทั้งปวงบ้างไหม ไม่ว่าเราจะไปที่ไหนก็มีแต่รื่มรมย์สงบเย็นกายใจ จะเพิกมองหันหน้าไปทิศใดๆ ก้าวไปทิศใดๆก็ไม่มีความหวาดกลัว มีแต่ความแจ่มใสยินดีในทุกที่ที่ก้าวไปใช่ไหม ไม่มีความติดใคร่สิ่งใดๆ เหมือนโลกทั้งโลกนี้เป็นสุขไปหมดทุกข์อย่างใช่ไหม ไม่ต้องเร่าร้อนทุกข์ร้อนในสิ่งไรๆอีกแล้ว ถึงแม้สุขนั้นจะเกิดขึ้นหรือดับไปอย่างไรก็สักแต่เห้นว่ามันเป้็ธรรมชาติของสภาวะธรรมนั้น ความจดจ่อตั้งวมั่นติดใคร่แสวงอารมณ์ก็ไม่มี เหมือนไม่มีบ่วงทุกข์ให้เราอีกแล้ว
- เมื่อเห็นอย่างข้างต้นแล้วเราย่อมแจ้งในใจว่าสุขอันปราศจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงนี้ มันหาประมาณมิได้ ไม่มีที่เปรียบควรเสพย์มากกว่าสิ่งใดๆ

...นี่เรียกว่าทำให้รู้แจ้งในความดับทุกข์จากความสงัดดับจากกิเลสทั้งปวงเป็นอย่างไรได้บ้างแล้ว

๖.๒ เมื่อเจริญในข้อที่ ๖.๑ แล้วพึงทำความสุขอันผ่องใสเบิกบานนั้นๆให้แจ้งแก่ใจว่ามันเป็นอย่างไร แล้วหวนระลึกถึงว่า ที่เราเป็นสุขเช่นนี้ๆเพราะสิ่งใดหรอ เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆ เพราะไม่มีความทะยานอยากในสิ่งไรๆ เพราะไม่มีความติดใจเพลิดเพลินในสิ่งไรๆ เพราะไม่มีความขุ่นมัวขัดเคืองใจในสิ่งไรๆ เพราะไม่มีใจตั้งความหมายมั่นสำคัญว่าสิ่งๆเป็นที่ชอบที่พอใจยินดีและสิ่งนี้ๆเป็นสิ่งที่ไม่ชอบไม่พอใจยินดี เมื่อจะพบเจอสิ่งไรๆมันจึงมีแต่สุขอย่างนี้ ไม่มีความทุกข์เลย
- เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วจิตย่อมมีความยินดีแห่งกุศลฉันทะ น้อมไปในความเพียรที่จะออกจากกองทุกข์เพื่อพบความสุขที่แท้จริง นั่นคือ เจตนาความทำไว้ในใจอันประกอบไปด้วยความเพียรที่จะออกจากทุกข์เกิดขึ้นทันที ด้วยความเห็นชอบจากความกำหนดรู้ในทุกข์ พิจารณาเห็นสมุทัย แล้วทำนิโรธให้แจ้ง จิตจะเข้าไปตรึกตรองหาหนทางที่จะละในเหตุแห่งทุกข์นั่นคือ สมุทัย นั้นทันที ว่ามีทางใดที่เราจะละมันได้บ้าง จนเห็นแจ้งตามจริงด้วยสัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ซึ่งก็คือ ๔๐ กรรมฐานนั่นเอง แล้วสืบต่อให้เกิดความเพียรที่จะละเหตุอันนั้นต่อมา
- แต่เราจะถึงสิ่งนั้นจริงๆด้วยอันไม่เป็นที่เสื่อมสูญไปอย่างไร เข้าถึงได้ตลอดเวลาอย่างไร ถึงแม้กายนี้จะเสื่อมไปแต่เราก็สามารถเข้าอยู่ในสภาวะธรรมอันนั้นได้ตลอด เราจะทำอย่างไร นั่นจึงเป็นสิ่งที่ทำเกิดทางแห่งการพ้นทุกข์ มันมีเป็นร้อยเป็นพันหนทาง แต่หนทางเหล่านั้นต้องสงเคราะห์ลงใน มรรค มีองค์ ๘ ให้ได้ หรือ ลงเคราะห์ลงใน ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน สมาธิ จนถึงปัญญาความเห็นแจ้งตามจริงแห่งความพ้นทุกข์ ดังนี้ จึงจะเรียกว่ามาถูกทาง หากการดับทุกข์ผิดๆพื้นผิดๆ ทำให้หลุดพ้นผิดๆ เป็น มิจฉาวิมุตติ อันเกิดมาจากการมี ความเห็นผิด คิดผิด วาจาผิด ประพฤติผิด เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด ระลึกผิด จิตตั้งมั่นผิด
- เช่น เมื่อเกิดทุกข์ทางตา เป็นผลจากสิ่งที่ได้เห็นรูปไรๆแล้ว เมื่อเราวิเคราะห์เห็นเหตุ ได้รู้เหตุที่ควรละแล้ว กระทำให้แจ้งในความดับทุกข์ทางตาแล้วย่อมเห็นทางดับอันควรเจริญให้มากเมื่อได้รู้อารมณ์ไรๆทางตา เช่น เห็นก็สักแต่ว่าเห็น เป็นต้น เมื่อเพียรเจริญมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเข้าถึงความดับทุกข์อันแท้จริงไม่มีเหลือทางตา(คือ การเห็นรูป)ได้มากเท่านั้น เป็นต้น
- ด้วยความทำให้แจ้งในนิโรธนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เห็นทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์อับชอบธรรม เป็นกุศลธรรมอันงามควรแก่การปฏิบัติให้มากเจริญให้มากเพื่อให้แจ้งจริงและถึงจริงซึ่งความดับทุกข์อันเรียกว่านิพพาน และ  ควรแก่การบอกกับผู้อื่นว่า "ท่านจงมาดูเถิด" ซึ่งทางเหล่านั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว และ ได้ตรัสสอนไว้ถ่ายทอดจนมาถึงเราแล้วเราโดยผ่านทางพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายดังนี้
- ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผมที่เข้าใจแบบนักธรรมตรีเช่นนี้ๆ แม้ไม่ถูกต้องตามจริงแต่คงพอจะช่วยให้ท่านทั้งหลายพอจะเข้าใจสักเล็กน้อยว่าทำไมพระคถาคตจึงตรัสว่า นิโรธ ควรทำให้แจ้ง



๗. "ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ" เป็นอย่างไร ทำไมจึงควรเจริญให้มาก

- ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ทางดับทุกข์ คือ มรรคมีองค์ ๘ นี้มีทางที่ประกอบไปด้วยกุศลประโยชน์ เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ ยิ่งเจริญมากเท่าไหร่ ยิ่งเข้าถึงความดับทุกข์จริงๆอันไม่มีปัจจัยแห่งทุกข์แก่เราอีกได้มากเท่านั้น ทางนี้เป็นทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ประกอบไปด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา การปฏิบัติให้เข้าถึงนี้ ต้องอาศัยความเพียรเป็นหลัก ไม่ย่อท้อ ปฏิบัติด้วยความเห็นชอบว่า ทางนี้เป็นทางประเสริฐอันพระตถาคตตรัสไว้ดีแล้ว ทางนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตนเพื่อเจริญปฏิบัติให้มากเพื่อความดับทุกข์ จนถึงความพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ไป ยิ่งเจริญปฏิบัติมากเท่าไหร่ ยิ่งถึงความดับทุกข์ ความพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ได้มากเท่านั้น
- แต่อย่าตั้งหวังจนเกินไปจักเป็นเหตุให้เมื่อปฏิบัติไม่สำเร็จก็ไปกล่าวโทษพระพุทธเจ้าบ้าง โทษครูบาอาจารย์บ้าง วิปลาสบ้าง เพราะคนเรานั้นปฏิบัติสะสมมาต่างกันๆกันไป พระพุทธเจ้าตรัสให้เดินทางมัขฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลางพึงมีความเพียรไม่ย่อท้อ ไม่หย่อนไป ตรึงไป ปฏิบัติเพื่อความถึงซึ่งความพ้นทุกข์อันเกิดจากความเพียรนี้ได้ แม้ไม่ถึงวันนี้ วันหน้าก็ต้องถึง ไม่ถึงชาตินี้ ชาติหน้าก็ต้องถึงเพียรไปให้ถูกทางให้เห็นตามจริงเพื่อประโยชน์ในการพ้นทุกข์ในภายหน้า แต่ไม่ใช่ตั้งความปารถนาทะยานอยากเสียจนการปฏิบัตินั้นระคนกันไปทั่วเป็นเหตุให้เกิดวิปลาสได้
- ธรรมอันใดก็ตามแต่หากไม่มี มรรค๘ ย่อมไม่มีทางพ้นทุกข์เป็นอันขาด เพราะทางพ้นทุกข์ที่ชอบธรรมโดยแท้จริง สามารถเป็นเรือข้ามฟากออกจากทะเลทุกข์ได้จริงนั้น มีเพียง มรรค ๘ ทางเดียว จริงเจริญมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับว่าเราได้พายเรือข้ามฟากทะเลทุกข์ไปไกลได้มากเท่านั้น แต่ละคนนั้นจุดที่อยู่ในทะเลทุกข์กับระยะทางที่จะถึงฝั่งอันเป็นทางพ้นทุกข์นั้นกว้างหรือแคบต่างกัน ยิ่งเพียรเท่าไหร่ก็ยิ่งพายใกล้ฝั่งได้มากเท่านั้นดังนี้ นี่จึงเป็นเหตุที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ว่า มรรค ควรเจริญให้มาก


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 12, 2014, 12:34:33 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 07:33:31 pm »
0

๘. "มรรค มีองค์ ๘" ควรเจริญอย่างไร

โดยรวมแล้วแนวทางที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนนั้น พระองค์จะเน้นที่ "มีสติระลึกรู้อยู่ด้วยความสำรวม ระวัง" และ "การน้อมเข้ามาพิจารณาแลดูอยู่ที่ กาย กับ ใจ" เรานี้ทั้งนั้นเป็นหลัก ไมว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสสอนใน พระสูตร - พระปริตร ใดๆทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ก็ล้วนให้เจริญพิจารณาปฏิบัติอยู่ใน "กาย กับ ใจ" เรานี้เสมอ
- มรรค คือ อะไร มรรคที่พระตถาคต(คือ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณะโคดมมหามุนีย์ พระศาสดาของผม) ที่ท่านตรัสสอนไว้ดีแล้ว เป็นดังนี้คือ


องค์แปดคือ ความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ) ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) วาจาชอบ (สัมมาวาจา) การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) อาชีวะชอบ (สัมมาอาชีวะ) ความเพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ความระลึกชอบ (สัมมาสติ) ความตั้งใจมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ).

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด,
นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำาริในการออกจากกาม ความดำาริในการไม่พยาบาท ความดำาริในการไม่เบียดเบียน,
นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ

ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
นี้เราเรียกว่าการงานชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สาเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ,
นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว,
นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย !อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่เป็นประจำ,มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ) มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,
นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย !อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
- สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำงับลง,
- เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ เพราะปีติจางหายไป,
- เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และ ได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม” แล้วแลอยู่ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน,
- เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,
นี้เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ.

จบ อะริยัฏฐังคิกะมัคคะปาฐัง



- ซึ่งหากว่าเราทั้งหลายพอจะมีสัมมาทิฐิ และ สัมมาสังกับปะ บ้างแล้ว ย่อมเห็นชัดว่า...
ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ ทาน สติ สัมปชัญญะ  ปัญญา นั่นคือโดยย่อสั้นๆของมรรค ก็คือการเจริญเพื่อให้ กาย วาจา ใจ สุจริต นั่นเอง
- มรรค ๘ นั้น สิ่งแรกที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน คือ มีสติอยู่ระลึกรู้เห็นโทษและทุกข์จาก ทุจริต 3 คือ กาย วาจา ใจ ทุจริต และ มีสติอยู่ระลึกรู้เห็นคุณประโยชน์ของ สุจริต 3 คือ กาย วาจา ใจ สุจริต เมื่อเห็นทั้งคุณและโทษดังนี้แล้ว จิตย่อมน้อมไปถึงทางที่จะเจริญเป็นคุณประโยชน์พ้นจากโทษแห่งอกุศลทุจริตทั้งหลายเหล่านี้ นั้นก็คือ ความมีศีลเป็นเบื้องต้น เจริญจิตตั้งมั่นใจพรหมวิหาร๔ เพื่อเข้าถึงเจโตวิมุตติ ดำรงการในสละให้คือ ทาน มีสติระลึกรู้ทันขณะกาย วาจา ใจ มีสัมปะชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะนั้น เกิดปัญญหาเห็นตามจริง รู้ตามความเป็นจริงทั้ง สัจจธรรม และ ปรมัตถธรรม ละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเสียได้




ดังนั้น มรรค ๘ จึงมีหลายวิธีในการเข้าถึงในหลายรูปแบบตามแต่กาลอันควร
ผมขอยกตัวอย่างทางส่วนหนึ่งจากในอีกหลายๆแนวทางในการเข้าถึงมรรค๘ ดังกระทู้ด้านล่างต่อไปนี้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2014, 09:36:29 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 07:45:12 pm »
0

วิธีเบื้องต้นส่วนหนึ่งในการเข้าถึง "มรรค มีองค์ ๘" ที่ผมพอจะมีสติกำลังมองเห็นมี ๘ ข้อดังนี้

๑. เจริญปฏิบัติใน "กุศลกรรมบถ 10 ธรรมอันเป็นเครื่องเจริญปฏิบัติแห่งกุศล" ซึ่งเป็นการอบรมเจริญปฏิบัติในธรรมอันประกอบไปด้วย ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน เป็นเบื้องต้นจนเกิดเห็นจริงในสัมมาทิฐิ เป็นไปเพื่อการดำรงกาย-ใจให้เข้าถึง กุศลมูล 3 และ ความสุจริต 3 อันเป็นไปในมรรค ๘ เพื่อยังให้ถึงอินทรีย์สังวร คงไม่ต้องอธิบายนะครับหากท่านศึกษาและเข้าใจในพระธรรมดีแล้ว
     หรืออ่านเพิ่มเติมที่นี่ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=12&A=8951&w=%A1%C3%C3%C1%BA%B6

๒. เจริญปฏิบัติใน "สัลเลขะสูตร" ธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) คือ เจริญเพื่อเกื้อหนุนในกุศลกรรมบถ 10 เหมือนศีลกับพรหมวิหาร๔ ที่เกื้อหนุนกัน แต่ส่วนนี้เป็นการพึงเจริญปฏิบัติโดยมองน้อมมาสู่ตน-เจริญในตนเมื่อมองเห็น เหตุ ปัจจัย จากภายนอกมี่มากระทบบ้าง ภายในบ้าง แล้วพึงเจริญสติระลึกรู้ ปฏิบัติ พิจารณาด้วยการแยกแยะถูก ผิด ดี ชั่ว เห็นคุณ และ โทษ แล้วพึงเจริญปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ เข้าสู่ในธรรมเครื่องขัดเกลานี้เพื่อการดำรงกาย-ใจให้เข้าถึง กุศลมูล 3 และ ความสุจริต 3 เหตุให้ อันเป็นเหตุให้ มรรค ๘ บริบูรณ์สั ถึงซึ่งอินทรีย์สังวรบริบูรณ์
     อ่านที่นี่เพิ่มเติม http://www.nkgen.com/386.htm

๓. การเจริญปฏิบัติใน "ศีล อันเป็นกุศล" ธรรมอันเป็นเครื่องปกติ เพื่อความไม่เบียดเบียนทางกายและวาจา ระลึกเป็นสีลานุสสติ ระลึกถึงศีลของตนอันไม่ขาด ไม่ทะลุ อันบริบูรณ์ดีแล้ว เมื่อระลึกอยู่เช่นนี้ไม่เพียงแต่เข้าสู่อุปจาระฌาณแต่ยังช่วยให้เราสำรวมระวังในศีลมากขึ้นทำให้เรามีกาย-วาจาสุจริตเป็นองค์ธรรมในมรรค ๘ เป็นเหตุให้อินทรีย์สังวรบริบูรณ์ เพราะผู้ที่ไม่มีศีลอันดีงามแล้วจะระลึกในสีลานุสสติไม่ได้ ศีลอันดีนี้เป็นไปเพื่อความให้ใจไม่ร้อนรุ่ม มีความผ่องใส เบิกบาน ปราโมทย์ ปิติ สุข สงบ จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่ายควรแก่งานเอื้อในอินทรีย์สังวรอันเป็นฐานแห่งสติปัฏฐาน ๔
     อ่านที่นี่เพิ่มเติม http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=24&A=2&w=%CD%D2%B9%D4%CA%D1%A7%CA%C7%C3%C3%A4

๔. การเจริญปฏิบัติใน "พรหมวิหาร๔" เพื่อยังให้ใจถึงควาเป็นกุศล มีใจสุจริตละความผูกเวรอาฆาตพยาบาท ใช้ร่วมกับศีลให้ศีลบริบูรณ์ดีงามทำให้องค์ธรรมในมรรค ๘ บริบูรณ์ เป็นเหตุให้อินทรีย์สังวรบริบูรณ์ ควรเจริญให้มากจนเกิดจิตปารถนาดีให้ผู้อื่นเป็นสุขโดยไม่แยกแยะ ถึงความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์แบ่งปันเกิดเป็นการสละให้โดยไม่หวงแหนในสิ่งไรๆที่ตนมีถครอบครองเป็นปัจจัยใช่สอยอยู่ ด้วยหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์สุขจากการสละให้นั้นของเรา ดั่งความปารถนาดีที่บิดา-มารดานั้นจักมีให้บุตรอันเป็นที่รักเพียงคนเดียวด้วยหวังให้บุตรเป็นสุข มีจิตประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันให้บุตรปราศจากทุกข์มีแต่สุข เกิดเป็นการสละให้ในสิ่งอันดีงามเป็นประโยชน์สุขนั้นให้แก่บุตรได้พึงมีพึงใช้ มีจิตยินดีที่ตนได้สงเคราะห์แก่บุตรแล้ว หรือ มีปกติจิตยินดีเมื่อบุตรนั้นเป็นสุขกายและใจ เป็นการสละให้ที่สลัดจากความโลภอันตนยึดมั่นว่านี่เป็นเราเป็นของเราเสียได้ เรียกว่า "ทาน"(เมื่อระลึกถึงการสละให้อันงามนั้นก็เป็น จาคานุสสติ) พรหมวิหาร ๔ และ ทานนี้ เมื่อเจริญปฏิบัติเป็นประจำให้จิตยังให้จิตเข้าถึงเมตตาฌานเจโตวิมุตติ(ซึ่งภิกษุในพระธรรมวินัยนี้จะต้องถึงเจโตวิมุตติทุกองค์) ดั่งพระสูตรที่ว่านี้ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=19&A=3329&w=%BE%C3%CB%C1%C7%D4%CB%D2%C3
     ดูวิธีเจริญจิตเพื่อแผ่เมตตาเบื้องต้นอันเป็นผลให้ถึงในเจโตวิมุตติตาม Link นี้ครับ
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0

๕. เจริญปฏิบัติใน "สมาธิ" เพื่อยังให้จิตตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ อันเอื้อต่อสติสัมปชัญญะเป็นเหตุให้เข้าถึงความรู้เห็นถูกต้องตามจริงไม่ใช่การอนุมานคาดคะเนตึกนึกเอาเองเกิดเป็นวิปัสสนาญาณ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ จนเกิดนิพพิทา+วิราคะ ถึงซึ่ง วิมุตติ ดังที่กล่าวใน มรรคข้อ สัมมาสมาธิ ในพระสูตรข้างต้น
     ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=23&A=9041&w=%AC%D2%B9%CA%D9%B5%C3

๖. เจริญปฏิบัติใน "สติปัฏฐาน ๔" คือ ฐาน(ที่ตั้ง)แห่งสติ มีสติกำกับอยู่เป็นไปเพื่อวิมุตติ เพื่อให้แจ้งและรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต ธรรม คือ สิ่งที่เกิดขึ้นและมีในกายและใจตนจนเห็นตามจริงทั้งกานและใจทั้งภายในและภายนอก มีสัมปชัญญะเกื้อหนุนให้รู้ตัวทั่วพร้อมในขณะนั้น
- การเจริญปฏิบัติให้เริ่มที่กายานุสติปัฏฐานก่อนถึงจะเป็นผล เพราะเป็นการใช้สติดึงเอาสมาธิและสัมปชัญญะให้มีกำลังมากพอควรแก่งานและเป็นการเริ่มต้นพิจารณาเห็นในวิปัสสนาญาณตามจริงที่ไม่ใช่การตรึกนึกคิดคาดคะเนอนุมานเอาเอง เป็นการอบรมกายไปสู่จิตอันสัมผัสรับรู้และเห็นรับรู้ได้ง่าย
- แล้วตามด้วย เวทนานุสติปัฏฐาน แล้วจึงเจริญปฏิบัติใน จิตตานุสติปัฏฐาน แล้วค่อยเจริญใน ธรรมมานุสติปัฏฐาน เป็นส่วนสุดท้ายตามลำดับ ถึงจะเป็นไปเพื่อการอบรมจิตอย่างแท้จริง จึงจะเห็นว่ามันสักแต่มีไว้ระลึกรู้ยังไง เห็นสิ่งที่มีเกิดขึ้นในตนและดับไปสูญไปแล้วจากตน พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนเรียงเป็นลำดับให้แล้วตามนี้จึงจะเป็นไปเพื่อเข้าถึงโพชฌงค์ ๗ อย่างแท้จริง
- หากไปหยิบเอามาเจริญปฏิบัติมั่วๆจะไม่มีทางเห็นตาจริงแน่นนอน เว้นเสียแต่ว่าบุคคลนั้นมีการสะสมไว้มาดีแล้วในกาลก่อน
     ดูเพิ่มเติมดังนี้ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=6265&w=%CA%B5%D4%BB%D1%AF%B0%D2%B9
     และ http://www.nkgen.com/34.htm
     และ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=12&A=7552&Z=7914
     ดูเพิ่มเติมถึงปัจจัยอันเป็นอานิสงส์ต่อกันของสติปัฏฐาน ๔ ตาม Link นี้ครับ
     http://group.wunjun.com/ungpao/topic/539461-23343

๗. เจริญปฏิบัติให้เข้าถึงใน "อุเบกขา" เพื่อละความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเสียจงได้ นั่นคือ ละในสมุทัยนั่นเอง ไม่มีทั้งความพอใจยินดี(ฉันทะ,โสมนัส) และ ไม่พอใจยินดี(ปฏิฆะ,โทมนัส) อยู่ด้วยความมีใจกลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจและไม่พอใจมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ มีความสงบว่าง ผ่องใส ไม่หมองหม่นใจ มีสติระลึกรู้แลดูอยู่เห็นธรรมด้วยประการทั้งปวงไม่อิงราคะ ย่อมสลัดกิเลสออกเสียได้ ยังจิตให้ถึง"อุเปกขาสัมโพชฌงค์"(เมื่อจะเจริญปฏิบัติใน อุปสมานุสสติ คือ ระลึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ก็ให้ระลึกถึงสภาพจิตที่เป็นอุเบกขาอันมี่สภาพจิตแบบนี้ๆเป็นอารมณ์ เพราะนี่คือคุณของพระนิพพาน) อุเบกขานั้นมี 10 อย่าง ไม่ใช่ว่ามีแค่ในพรหมวิหาร๔ เท่านั้น http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=21483
     ดูพระสูตรที่เกี่ยวข้องตามนี้ครับ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=5605&Z=5668
     และ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=3640&Z=3778
     และ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_name.php?book=1&bookZ=45&name=%E0%C1%B5%B5%CA%D9%B5%C3&book=19&bookZ=19

๘. การเจริญพิจารณาในกายและใจให้เห็นกายภายในบ้าง-ภายนอกบ้างและสภาพจิตภายในบ้าง-ภายนอกบ้าง ให้พิจารณาลงในธรรมเกิดปัญญาเห็นจริงในวิปัสสนาญาณจนเหลือเพียง รูป-นาม
     ๘.๑ "อสุภะ คือ เห็นในความไม่สวยไม่งาม ไม่น่าพิศมัยยินดี" ก็เพื่อความเป็นไปในสัมมาสังกัปปะ คือ ดำหริชอบ ดำหริออกจากกาม ราคะ เจริญในพรหมจรรย์ และ รูป-นาม ซึ่งอสุภะนี้ตาเราเห็นได้โดยบัญญัติ เป็นซากศพในแบบต่างๆ ศพที่เขียวอืดบ้าง  ศพที่ถูกยื้อแย่งกินบ้าง ศพที่ถูกชำแหระออกบ้าง ศพที่แขนขาดขาขาดหัวขาดดั่งในสนามรบบ้าง ศพที่มีน้ำเลือดน้ำเหลืองไหลออกบ้าง ศพที่มีแต่กระดูกบ้างเป็นต้น พิจารณาเห็นกายกายในกายนอกเห็นว่าเรามีเขามีโดยไม่แยกเพศ จนแยกเป็นอาการทั้ง 32 ต่อไป
     ๘.๒ "ปฏิกูลมนสิการ หมายถึงกายซึ่งเต็มไปด้วยของที่ไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ รวม ๓๒ ประการ" เมื่อเราพิจารณาเห็นเป็นปฏิกูล คือ เป็นอาการทั้ง 32 แล้วย่อมเห็นชัดว่า กายเรานี้มีเพียงอวัยวะภายในน้อยใหญ่ มีกระดูกเป็นโครงร่าง มีเนื้อนั้นหนุนโครงทรงไว้ภายใน มีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ มี ขน ผม เล็บ ฟัน ใช้เพื่อการปกคลุดและทำหน้าที่ต่างๆ ที่เราไปติดใจก็ให้หนังหุ้มกับ ขนผม เล็บ ฟัน หนังนี้เอง เมื่อเห็นแยกเป็นอาการทั้ง 32 ไม่มีตัวตนบุคคลใดได้แล้ว ก็ให้พิจารณากายเรานี้สักเป็นแต่เพียงธาตุต่อไป
     ๘.๓  "ธาตุมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตนโดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ ๔ แต่ละอย่างๆว่ามีในกายเราอยู่นี้"
     ธาตุดิน ที่เป็นของแข้นแข็งอันมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ที่ต่างเมื่อไม่ได้มีการปรุงแต่งใดๆแล้ว ก็ล้วนไม่งาม เป็นปฏิกูล ไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ (โดยส่วนตัวผมนี้ได้เพ่ง ปฐวีกสิน ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งที่เข้าถึงนั้น เห็นกายตนเองและผู้อื่นเป็นดินเกิดทำให้เกิดวิราคะผุดขึ้นในใจในกาลสมัยนั้น)
     ธาตุน้ำ ที่หมายถึงเป็น ของเอิบอาบ คือความเป็นของเหลว เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ที่ล้วนปฏิกูล ไม่งามเช่นกัน ที่ต่างเมื่อไม่ปรุงแต่งใดๆแล้วก็ล้วนไม่งามไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
     ธาตุลม ความเป็นของพัดไปมา ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้  ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่  ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก  เช่น ลมหายใจอันไม่น่าปรารถนา ลมหมักหมมเหม็นเน่าอยู่ในท้อง ต่างล้วนเน่าเหม็น ล้วนไม่มีใครอยากดอมดม ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
     ธาตุไฟ  ความเป็นของเร่าร้อน  สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย และทั้งเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย  สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย  สิ่งที่เป็นเครื่องทำให้แปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว กล่าวคือแปรปรวนของที่กินและลิ้มแล้วให้เป็นพลังงานและสารต่างๆออกมา ย่อมเกิดความร้อนหรือพลังงานและของเสียเน่าเหม็นจากการสันดาปภายในต่างๆเป็นมูตรคูถ เหงื่อ ฯ. ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
      - "หากเป็นธาตุ ๕ ก็เพิ่ม อากาศธาตุ" เข้าไปเป็นที่ว่างกว้าง หรือ เป็นช่องว่างแทรกอยู่ในทุกๆอนูของทุกๆธาตุ
      - "หากเป็นธาตุ ๖ ก็เพิ่ม วิญญาณธาตุ" เข้าไป เป็นธาตุรู้ พิจารณาเห็นกายในกายนอกเห็นว่าเรามีเขามีไม่แยกเพศ
      - เมื่อเห็นแยกเป็นธาตุๆ ไม่มีตัวตนบุคคลใดได้แล้ว ย่อมเข้ารู้แน่ชัดและง่ายในวิปัสสนาญาณ เห็นว่านี่คือรูปธรรม นี่คือนามธรรม มีเอกลักษณ์ คุณลักษณะอาการอย่างไร มีสภาพจริงเป็นไฉน เจริญเข้าสู่สติปัฏฐาน ถึงโพชฌงค์๗(ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้) โดยบริบูรณ์ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของธาตุทั้ง ๔ ใน มหาหัตถิปโทปมสูตร ตาม Link นี้ครับ http://www.nkgen.com/770.htm
     ๘.๔ เมื่อรู้เห็นแล้วว่า รูป มีคุณสมบัติและลักษณะแต่ละอย่างเป็นอย่างไรมีสิ่งใดบ้าง กับ นาม มีคุณสมบัติและลักษณะแต่ละอย่างเป็นอย่างไรมีสิ่งใดบ้าง ให้เจริญพิจารณามีสติระลึกรู้แลดูอยู่แค่สภาพนั้นๆที่เรารู้การกระทบสัมผัสในขณะนั้น ไม่ต้องไปแยกจำแนกว่าในสิ่งนี้ๆที่เราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้กระทบสัมผัส ได้รู้ด้วยใจ มันมีรูปธาตุใดๆรวมอยู่จึงก่อเกิดขึ้นเป็นสิ่งนั้น ตัวนั้น
     ๘.๕ การจะรู้แยกธาตุจริงๆนั้นที่ผมพอจะมีปัญญาอันน้อยนิดพอจะรู้เห็นทางได้มีดังนี้คือ
             - ไม่ใช่การเข้าไปรู้ว่า ในสิ่งนั้นๆ บุคลนั้นๆ รูปร่างนั้นๆ มันประกอบด้วยอะไร-รูปอะไร-ธาตุอะไร ๑
             - แต่ให้รู้ว่าในขณะที่เราเกิดรู้ผัสสะใดๆ จากมโนใดๆ วิญญาณใดๆ ในขณะนั้นเป็นอย่างไร-มันมีคุณลักษณะ-สภาพจริง-สภาพธรรม-สภาวะธรรมเป็นอย่างไร มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น ๑
        ๘.๕.๑ สิ่งที่เห็นทางตามันก็มีแต่ สีๆ กับ แสง เท่านั้น สภาพที่เรามองเห็นทางตานั้นเมื่อดูแล้วก็จะเห็นว่า มันมีแต่สีๆ สีเขียวบ้าง ขาวบ้าง แดงบ้าง เหลืองบ้าง น้ำเงินบ้าง ดำบ้าง ส้มบ้าง ฟ้าบ้าง ซึ่งสีๆที่เห็นนั้นๆก็เป็นรูปทรงโครงร่างต่างๆตามลักษณะเคล้าโครงนั้นๆของมัน สีเหล่านั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงไป-แปรผันไปตลอดเวลาอย่างไร และ แสงที่เห็นนั้น ก็มีสว่างจ้าบ้าง มีมืดมิดบ้าง เช่น
               ก. เมื่อรู้ผัสสะใดๆทางตาในขณะนั้น เช่น เห็นต้นไม้ ก็ให้พึงมีสติระลึกรู้แลดูว่า สิ่งที่เราเห็นอยู่นั้นมีสีอะไรบ้าง มีโครงร่างรูปร่างอย่างไร มีความเปลี่ยนแปรไปอย่างไรบ้าง จนเข้าไปเห็นเป็นสีๆที่มีรูปร่างต่างๆ มีความเปลี่ยนแปรไปเป็นธรรมดาทุกๆขณะเท่านั้น : เมื่อเห็นสี ก็รู้แค่สี เห็นความเปลี่ยนแปรไปของสี ไม่ต้องไปรู้ ตรึกนึก หรือ มองว่าในสีนี้มีแสงด้วย หรือ ตานี้เห็นได้ทั้งสีและแสง หรือ สีเขียวคือใบไม้ สีน้ำตาลดำคือลำต้นของต้นไม้ ให้รู้แค่สีๆที่มีรูปทรงนั้นๆเท่านั้น ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย
               ข. เมื่อเห็นแสงรู้ผัสสะในขณะนั้นเป็น แสงสว่าง ก็ให้พึงมีสติระลึกรู้แลดูว่า แสงสว่างนั้นมันจ้ามาก ลุกโพรง หรือ พร่ามัว แสงที่เข้าตาหรือที่เห็นนั้นมีลักษณะใด เป็นประกายอย่างไร และเปลี่ยนแปลงผันแปรไปอย่างไรในแต่ละขณะนั้นๆ : เมื่อเห็นแสง ก็รู้แค่แสงเป็นอารมณ์ เห็นความเปลี่ยนแปรไปของแสง ไม่ต้องไปรู้ ตรึกนึก หรือ มองว่าในแสงนี้มีสีด้วย หรือ ตานี้เห็นทั้งสีและแสง ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย
               กล่าวคือ.."การพิจารณาในวัณณะรูป(สี)นั้น หรือ สิ่งที่เห็นทางตาจนเห็นแจ้งนั้น ในขณะที่ตาเรามองเห็น หรือ ขณะที่ตาเราจดจ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั้น..เราเห็นสีอะไรบ้าง ให้เอาสีมาตั้งเป็นอารมณ์รับรู้ทางตา ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย"
        ๘.๕.๒ เมื่อเราสัมผัสน้ำในโอ่ง อ่างน้ำ หรือแม่น้ำ เราจะรู้ว่าเมื่อเราเอามือกวัดแกล่งไปในน้ำ หรือ กระโดลงน้ำอย่างเร็ว จากธาตุน้ำนั้นซึ่งมีลักษณะเอิบอาบ-ชุ่มชื่น ซาบซ่าน-เกาะกลุม ก็จะมีสภาพแข็งอ่อนใช่ไหม นั่นเป็นคุณสมบัติของธาตุดินใช่ไหม
               - ขนาดสิ่งที่เราทุกคนนั้นเรียกว่าน้ำ เมื่อเข้าไปสัมผัสแล้วยังมีดินร่วมอยู่ด้วยใช่ไหม แล้วมันจะยังเรียกน้ำได้อีกไหม
               - ดังนั้นให้รู้แค่ลักษณะนั้นๆที่เราสัมผัสได้ ไม่ต้องไปเพ่งเอาว่าในน้ำนี้มีธาตุดินร่วมอยู่ด้วย มีธาตุไฟร่วมอยู่ด้วย มีธาตุลมร่วมอยู่ด้วย แต่ให้มีสติระลึกรู้แลดูอยู่ รู้ผัสสะในขณะที่สัมผัสน้ำนั้นๆว่าเรารู้สึกอย่างไร เช่น
               ก. เมื่อรู้สึก เอิบอาบ ชุ่มชื่น ซาบซ่าน ก็รู้แค่สภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่านี่คือธาตุน้ำหรือในน้ำมีอะไรรวมอยู่บ้าง มีธาตุใดๆบ้าง ให้รู้แค่สภาพ เอิบอาบ ชุ่มชื่น ซาบซ่าน ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
               ข. เมื่อรู้สึก อ่อน แช็ง นุ่ม ก็ให้รู้แค่ในสภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่าในน้ำก็มีธาตุนั้นด้วย ให้รู้แค่สภาพอ่อน-แข็งนั้น ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
        ๘.๕.๓ เมื่อรู้สึก ร้อน อุ่น เย็น ก็ให้รู้แค่ในสภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่าในน้ำก็มีธาตุนั้นด้วย ให้รู้แค่สภาพร้อน-เย็นนั้น ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
               กล่าวคือ.."การพิจารณาจนรู้ในธาตุ หรือ รูปธรรมใดๆที่เรารับรู้ได้จากการกระทบสัมผัสกางกายนั้น ให้เรารู้แค่ว่า..ในขณะนั้นเรารู้ผัสสะคุณลักษณะสภาพใดได้ หรือ ในขณะนั้นเรารู้ผัสสะคุณลักษณะสภาพใดอยู่ ก็ให้เอาคุณลักษณะสภาพที่เรารับรู้ได้ในขณะนั้นมาเป็นอารมณ์พิจารณา ไม่ต้องเข้าไปรู้สิ่งใดๆอีก มันถึงไม่มีตัวตนบุคคลใด หรือ สิ่งใดๆอีก"
                - เมื่อรู้แค่ผัสสะนั้นๆไม่ไปรู้อย่างอื่นแล้ว จนเห็นชำนาญแล้ว ให้พิจารณามองย้อนดูว่า วันๆหนึ่งตั้งแต่วันที่พิจารณาจนถึงปัจจุบันที่นั้นเรารับรู้กระทบสัมผัสสิ่งใดๆบ้าง ก็จะเห็นเองว่าที่เรารู้นั้นๆมันมีเพียง สีๆ เสียงสูง-ต่ำ ทุ้ม-แหลม กลิ่นในลักษณะต่างๆ รสในลักษณะต่างๆ  อ่อน แข็ง เอิบอาบ ตรึงไหวเคลื่อนที่ ร้อน เย็น ไม่มีตัวตนบุคคลใดเลย มีแต่สภาพการรับรู้นั้นๆเท่านั้นเอง ไม่มีสิ่งใดๆเลย
     ๘.๖ รู้ในลักษณะอาการความรู้สึกของจิตที่ปราศจากความนึกคิดปรุงแต่ง คือ มีสติแลดูอยู่รู้ตัวทั่วพร้อมเห็นในสภาวะลักษณะอาการของจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไร
               ก. เมื่อแรกเริ่มอาจจะรู้อาการของจิตในขณะที่เราเจริญจิตตานุสติปัฏฐานหรือรู้ตัวว่าขณะนี้มี โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ แล้วดูลักษณะอาการของจิตใจในขณะที่เกิดอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆว่าเป็นอย่างไร เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต เช่น ติดใจติดตามเพลิดเพลิน ขุ่นมัวขัดเคืองใน หมองหม่นใจ สั่นเครือติดตาม อัดอั้น อึดอัด คับแค้นใจ เป็นต้น พิจารณาดูว่าแต่ละอย่างๆนี้เป็นลักษณะอาการของจิตในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ ที่ต้องรู้ส่วนนี้อยู่เนืองๆก็เพื่อเมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึกใดๆขึ้น แม้อย่าง ละเอียด อ่อนๆ กลางๆ หรือ หยาบ เราก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า ขณะนั้นเสพย์อารมณ์ความรู้สึกใดๆอยู่ เพื่อจะละมันได้ทันที
               ข. เมื่อรู้สภาพลักษณะอาการของจิตจนชำนาญแจ่มแจ้งแทงตลอดแล้ว เมื่อใดที่มันเกิดขึ้นอีกก็ให้เราเข้าไปรู้ในสภาวะลักษณะอาการของจิตนั้นๆโดยไม่ต้องไปให้ความหมายของมันว่ามันคืออารมณ์ความรู้สึก รัก หรือ โลภ หรือ โกรธ หรือ หลงใดๆ แค่ให้จิตเข้าไปรู้จิต คือ มีสติแลดูอยู่ในลักษณะอาการของจิตในขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น ไม่มีตัวตน บุคคลใด ไม่มีสิ่งใดๆทั้งสิ้น เห็นลักษณะอาการนั้นๆว่ามัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ทรงอยู่ ดับไป ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ สักแต่รู้อาการนั้นก็พอไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก ไม่ต้องไปให้ความหมายใดๆกับความรู้สึกในลักษณะอาการของจิตใดๆขณะนั้นๆทั้งสิ้น สักเพียงแต่รู้ก็พอ มันถึงไม่มีตัวตน บุคคลใด นี่เรียกว่าปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน คือ ความปรุงแต่งจิตเหล่านี้สักแต่มีไว้ให้ระลึกรู้และตามรู้มันไปเท่านั้น ไม่ได้มีไว้ให้เสพย์ ไม่ได้มีไว้ให้เข้าไปร่วม
                - เมื่อพิจารณารู้เห็นอย่างนี้จนชำนาญแล้ว ก็จะพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า มันมีแต่สภาพอาการความปรุงแต่งนี้เท่านั้น มันไม่ใช่จิต ปกติจิตเป็นสภาพสงบผ่องใสสักแต่อาศัยเพียงเป็นความปรุงแต่งจิตนี้ๆที่จรเข้ามาทำให้ใจเศร้าหมอง ความปรุงแต่งที่จรมานี้ไม่ใช่จิต จนเกิดมีสติแลดูอยู่เห็นตามจริงดังนี้แล้วแม้สิ่งไรๆ ความรู้สึกปรุงแต่งนึกคิดไรๆเกิดมา มันก็ไม่ใช่จิตไม่ใช่เรา เราก็จะไม่ไปเคลิบเคลิ้ม หลงตาม เสพย์อารมณ์ตามมันไป ด้วยเพราะเห็นแยกความปรุงแต่งจิตกับจิตนั้นแล้ว นี่เรียกว่า "จิตเห็นจิต"


** การเจริญปฏิบัติในข้อที่ ๘ ทั้งหมดนี้จัดเป็นการปฏิบัติใน สัมมาวายามะ ความเพียรชอบ เป็นการเจริญปฏิบัติใน สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียรชอบ ๔ ประการ ดังนี้คือ **
๑. สังวรปธาน [เพียรระวัง]
๒. ปหานปธาน [เพียรละ]
๓. ภาวนาปธาน [เพียรเจริญ]
๔. อนุรักขนาปธาน [เพียรรักษา]
อ่านเพิ่มเติมได้ตาม Link นี้ครับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13591.0

- สรุป..ให้เราพึงเพียรมีสติระลึกรู้เจริญพิจารณาว่า ในแค่ละขณะจิตที่เรารู้ผัสสะนั้นๆ เรารู้สิ่งใด รู้สภาพคุณลักษณะใด-รู้สภาพธรรมใดของธาตุ  รู้ลักษณะอาการความรู้สึกใดๆ-เห็นสภาพธรรมใดๆของจิตก็พอ เห็นสภาพธรรมสิ่งไรๆว่าขณะนี้เกิดขึ้นในกายใจตนหรือสภาพธรรมนี้ๆดับไปไม่มีแล้วในกายใจตน เห็นว่ามันมีความผันแปรอย่างไร ไม่คงอยู่อย่างไร ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนอย่างไร จนเห็นความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปอย่างไร สิ่งนั้นมันก็จะไม่มีตัวตนบุคคลใดอีก เห็นถึงความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร นอกจากรูปและนาม ในความรู้ความเข้าใจของผมนั้นสิ่งนี้ๆถึงจะเรียกว่า "วิปัสสนา"
     ดูเพิ่มเติมตามพระสูตรนี้ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?item=131&book=12&bookZ=
     เห็นความเป็นไปตามจริงในปฏิจจสมุปปบาทอย่างไร ดูเพิ่มเติมที่นี่ http://nkgen.com/1mainpage1024.htm

- ซึ่งวิธีการเจริญทั้งหลายเหล่านี้อาจจะใช้ในสถานการณ์ที่ต่างกันไป และ เจาะจงแต่ละบุคคลไปตามแต่จริตนั้นๆ ที่ผมยกมานี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ปัญญาผมพอจะรู้ได้หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย และ ทำให้ท่านผู้อ่านได้เห็นตามจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ลองเลือกแนวทางทั้งหลายนี้ตามแต่ที่ท่านคิดว่าตรงและถูกจริตของท่านมาน้อมพิจารณาและเจริญปฏิบัติดูนะครับจะเห็นทางเข้าสู่ มรรค ๘ ทางแห่งการพ้นทุกข์อย่างแท้จริงครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 04, 2014, 08:37:59 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มีนาคม 01, 2014, 07:51:16 pm »
0

เมื่อเราปฏิบัติที่จะละตามทางอันงามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้แล้ว คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมยังนิโรธให้แจ้งมากขึ้นดังนี้ ผมมีแนวทางปฏิบัติง่ายๆ เพื่อที่จะให้ท่านผู้ปฏิบัติเห็นว่าความดับทุกข์เป็นอย่างไร แม้ดับได้เพียงชั่วขณะยังสุขเพียงใด เมื่อเจริญในมรรคให้มากก็ยิ่งเข้าถึงความดับทุกข์ได้มากมันเป็นไฉน ดังวิธีที่ผมปฏิบัติอยู่ตามประสาของนักธรรมตรีอย่างผมนั้นพึงจะพอปฏิบัติได้ดังนี้ครับ



๑. ปฏิบัติโดยอาศัยสมาธินำ

มีวิธีการอยู่หลายวิธี แต่ผมจะยกจำเพาะวิธีที่ทำได้ง่ายที่เราๆนั้นปฏิบัติกันอยู่ดังนี้ครับ

๑.๑ เจริญจิตขึ้นระลึกในพุทธานุสสติ

๑.๑.๑ เอาคุณของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
- เมื่อรู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ แล้วทำให้เกิดทุกข์จากกิเลส กาม ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะก็ดี ให้เราพึงตั้งสมาธิหายใจเข้า-ออกยาวๆ ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า บางท่านอาจจะสวดอิติปิโสฯ แต่ในที่นี้ผมจะรำลึกเอาคุณอันประเสริฐอันหาประมาณไม่ได้ของพระพุทธเจ้าในส่วนที่กล่าวว่า

อะระหัง ( พระพุทธเจ้านั้น เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรกราบไหว้ควรบูชา )
(ทรงเป็นพระอรหันต์ หมายถึง ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ทรงละเว้นการทำความชั่วทั้งหมด จึงทรงหมดสิ้นความทุกข์ สิ้นความร้อนรุ่มร้อนรนกายใจ สิ้นความเดือดร้อนทั้งปวง คือ พระตถาคตเจ้านั้นทรงดับแล้วซึ่งกิเลส กาม ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ ความผูกเวร(คือ ผูกโกรธผูกแค้น) ความพยายาบาทเบียดเบียน(คือ หมายทำร้ายให้ฉิบหาย))

- จากนั้นให้พึงเจริญจิตตั้งมั่นว่า เราจักละซึ่งกิเลส กาม ราคะ โทสะ โมหะ ความผูกเวร(คือ ผูกโกรธผูกแค้น) ความพยายาบาทเบียดเบียน(คือ หมายทำร้ายให้ฉิบหาย) ดั่งพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาโดยส่วนเดียวของข้าพเจ้านั้น ดังนี้
- แล้วอธิษฐานจิตดังนี้ว่า บุญใดที่ข้าพเจ้าระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ๆ ขออุปัทวะ ภัย อันตรายทั้งปวงอย่าได้มีแก่ข้าพเจ้า และ ด้วยเดชแห่งบุญนั้นขอ กิเลส กาม ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ไรๆอย่าพึงมีแก่ข้าพเจ้า แม้เมื่อมีอยู่นี้ก็ขอให้จงพึงพินาสไปเสียไม่มีอีก ไม่เกิดอีก ด้วยเดขแห่งบุญนั้น

เมื่อเจริญอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆทุกลมหายใจเข้าออก ย่อมสลัดระงับจาก กาม ราคะ โทสะ โมหะ ได้ด้วนประการฉะนี้

* หมายเหตุ กาม ราคะ ไรๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งของ โลภะ ทั้งสิ้น *

๑.๑.๒ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นลมหายใจ
- ส่วนนี้เราจะคุ้นเคยกันดี แต่บางคนหาก ศรัทธามีน้อย ย่อมทำได้แค่บริกรรมแทนการหายใจเข้าออกแทน ไม่ถึงซึ่งพุทธานุสสติ ผมเองก็บวชมาสายพระป่า มี หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ผู้เป็นพระอรหันต์เป็นครูอุปัชฌา ท่านสอนเพียงแค่ให้รู้ลมหายใจเข้า-ออก ระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออก ให้คำบริกรรมว่า พุทโธ นี้แทนความระลึกถึงพระพุทธเจ้า และ คุณของพระพุทธเจ้า ให้พึงตั้งจิตมั่นว่า ขอการระลึกบริกรรมว่าพุทโธนี้ เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้า แทนการระลึกถึงคุณทั้งปวงของพระพุทธเจ้า เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้า-ออก แล้วพึงหายใจเข้าระลึก พุทธ หายใจออกระลึก โธ พุทโธนี้คือชื่อของพระพุทธเจ้า ตราบใดที่หายใจเข้าออกเป็นพุทโธ ตราบนั้นจะมีพระพุทธเจ้าตั้งอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกดังนี้
- เมื่อรู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ แล้วทำให้เกิดทุกข์จากกิเลส กาม ราคะ โทสะ โมหะก็ดี ให้เราพึงตั้งสมาธิหายใจเข้ายาวระลึก "พุท" - หายใจออกยาวระลึก "โธ" ตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้า พึงระลึกว่าเมื่อลมหายใจเป็นพระพุทธเจ้านี้คุณแห่งความเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ เป็นผู้ไกลจากิเลสนี้ ย่อมมีแก่กายใจเราทุกลมหายใจเข้าออกด้วยประการฉะนี้

๑.๒ เจริญจิตขึ้นระลึกในศีล

ศีล คือ ความปกติ ปกติอันเป็นกุศลไม่ทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ใด บุคคลใด
- เมื่อรู้ว่าเราเกิด กาม ราคะ โทสะ โมหะ จากการรู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ ก็ให้พึงรู้ว่าเรากำลังมีเจตนาเบียดเบียนเขาอยู่ พึงละความเบียดเบียนนั้นเสีย โดยพึงตั้งเจตนามั่นที่จะทำในศีลให้บริบูรณ์ดีงาม ไม่ขาดไม่ทะลุ นั้นคือการมีเจตนาที่จะละเว้นซึ่งความเบียดเบียนทำร้ายสัตว์ใด บุคคลใด
- ทีนี้เมื่อเรารู้ว่ากิเลสตัณหาใดๆเกิดขึ้นแก่เราแล้วจากการรับรู้อารมณ์ทางสฬายตนะ ให้รู้เลยว่าเรากำลังมีความคลุกคลามเบียดเบียนเขาอยู่ เช่น
  1. การเจตนาหมายทำร้ายกายและใจเขา จนถึงการพรากชีวิตอันหวนแหนไปจากเขาบ้าง
  2. การเจตนาอยากได้สิ่งมาค่าของผู้อื่นมาครอบครอบ โดยที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้บ้าง
  3. การเจตนากระทำการอกุศลธรรมอันลามกใดๆที่ส่อไปในทางเสพย์เมถุนอันเป็นการพรากบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นไป หรือ ทำร้ายบุคคลอันเป็นที่รักของตนเองจากการเสพย์เมถุนนั้น จนไปถึงการพรากพรหมจรรย์อันดีงามของตนทิ้งไปเสีย
  4. การมีเจตนาพูดจาส่อเสียด ด่าทอ เหยียดหยาม ใส่ร้าย พร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ พูเดไม่มีมูลความจริง พูดจาหลอกลวง ยุยงให้คนแตกกัน
  5. การเจตนาเสพย์สิ่งไรๆที่ทำให้เกิดความลุ่มหลงมัวเมา ทำให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แต่กุศลธรรมเสื่อมลง

ทางเจริญปฏิบัติในศีลอันเป็นไปเพื่อความละเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์อื่น บุคคลอื่นทำได้ดังนี้คือ

  1. พึงรำลึกถึงตั้งเจตนามั่นว่า เราจักเป็นผู้เว้นแล้วซึ่งความเบียดเบียนทำร้ายชีวิตอันอยู่ปกติสุขแล้วของผู้อื่น เราจักละเว้นจากการพรากเอาชีวิตอันหวงแหนของผู้อื่นไป เราจักเป็นผู้ละเว้นการทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ใด บคคลใดที่เห็นอยู่ ด้วยเขาก็อยู่ของเขามีชิวิตสุขที่ดีของเขาอยู่แล้ว เราจักละเว้นเสียซึ่งเจตาที่หมายเบียดเบียนทำร้ายเขาอันนั้น เราจักเป็นผู้ถึงซึ่งคุณค่าแห่งชีวิตของผู้อื่นอันประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ดังนี้
  2. พึงรำลึกถึงตั้งเจตนามั่นว่า เราจักเป็นผู้เว้นจากความอยากได้หยิบจับเอาของที่ผู้อื่นไม่ได้ให้ เราจักเป็นผู้ไม่อยากได้ของรักของหวงใคร จักไม่หยิบจับช่วงชิงเอาสิ่งของใดบุคคลใดที่เขาไม่ได้ให้ เราจักเป็นผู้ละเว้นการทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ใด บคคลใดที่เห็นอยู่ ด้วยเขาก็อยู่ของเขามีชิวิตสุขที่ดีของเขาอยู่แล้ว ดังนั้นเราจักละเว้นเสียซึ่งเจตาที่หมายทำร้ายเบียดเบียนเขาอันนั้น เราจักเป็นผู้ดำรงชีพอยู่ด้วยความซื่อสัตย์อันประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ดังนี้
  3. พึงรำลึกถึงตั้งเจตนามั่นว่า เราจักเป็นผู้เว้นแล้วซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เป็นไปเพื่อเสพย์เมถุน เราจักไม่พรากเอาบุคคลอันเป็นที่รักของใคร เราจักไม่กระทำสิ่งอันไรที่เป็นการทำร้ายเบียดเบียนของรักของผู้อื่น จนถึงความถึงอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ความกระทำสิ่งไรๆที่เป็นความคงอยู่ไม่เบียดเบียนซึ่งพรหมจรรย์ ไม่มัวเมาลุ่มหลงในเมถุน เราจักเป็นผู้ละเว้นการทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ใด บคคลใดที่เห็นอยู่ ด้วยเขาก็อยู่ของเขามีชิวิตสุขที่ดีของเขาอยู่แล้ว ดังนั้นเราจักละเว้นเสียซึ่งเจตาที่หมายเบียดเบียนทำร้ายเขาอันนั้น เราจักประพฤติพรหมจรรย์อันควรแก่กาลซึ่งประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ดังนี้
  4. พึงรำลึกถึงตั้งเจตนามั่นว่า เราจักเป็นผู้เว้นแล้วซึ่งวาจาอันหยาบไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ เราจักมีวาจาอันงามไม่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนผู้อื่น ไม่พูดจาอันส่อเสียด พร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ ล่อแหลมในกามราคะ ใส่ร้าย ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นมีจิตและการกระทำไรๆอันเป็นอกุศลกรรมไรๆ เราจักเป็นผู้ละเว้นการทำร้ายเบียดเบียนสัตว์ใด บคคลใดที่เห็นอยู่ ด้วยเขาก็อยู่ของเขามีชิวิตสุขที่ดีของเขาอยู่แล้ว ดังนั้นเราจักละเว้นเสียซึ่งเจตาที่หมายเบียดเบียนทำร้ายเขาอันนั้น เราจักกล่าวแต่วาจาอันประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ดังนี้
  5. พึงรำลึกถึงตั้งเจตนามั่นว่า เราจักเป็นผู้เว้นแล้วซึ่งของมึนเมา เราจักไม่เสพย์สิ่งไรๆอันทำให้เกิดความไม่ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งที่ทำให้ขาดสติเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นแต่กุศลธรรมเสื่อมลงอันเป็นเครื่องเบียดเบียนทำร้ายให้กายและใจของตนเองและผู้อื่นต้องเศร้าหมอง  เราจึกพึงละการเสพย์สิ่งมึนเมาอันไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์เหล่านั้นไปเสีย

  - จิตจะยังเข้าถึงความสงบจาการระลึกนั้น เมื่อทำเป็นประจำจะเกิดเป็นศีลอันงามบริบูรณ์ดีพร้อมสามารถระลึกถึงเมื่อไรก็ได้
  - โดยระลึกถึงศีลข้อใดอันไม่ขาด ไม่ทลุ อันบริบูรณ์ดีพร้อมแล้ว ทุกครั้งที่ ตื่นนอน และ ก่อนนอน เป็นการสำรวจศีลที่ตนมีอยู่ด้วยว่า มีข้อใดบ้างหนอที่บริบูรณ์งามแล้ว ข้อใดหนอที่ยังขาดยังทะลุอันควรแก่การทำให้บริฐุณณ์ดีงาม เมื่อทำเป็นประจำทั่หวนระลึกได้ จะสามารถยังจิตให้เข้าถึงอุปจาระฌาณได้ เป็นสีลานุสสติ คือความระลึกถึงศีลอันที่ตนปฏิบัติมาดีแล้วไม่ขาดไม่ทะลุ บริบูรณ์ดีพร้อมแล้ว
  - ซึ่งศีลนี้จะเจริญปฏิบัติได้ก็ต้องเจริญควบคู่ไปกับ พรหมวิหาร๔ และ ทาน จึงจะเกิดผลกุศลอันสมบูรณ์เต็มกำลังใจ ไม่คับข้องใจเมื่อปฏิบัติ เป็นเหตุให้ปราศจากความร้อนรุ่มใจ-ร้อนรนใจ-เร่าร้อนกายใจอันเกิดแต่กุศลธรรม ทำให้กำลังใจของการเจริญปฏิบัติในศีลเต็มบริบูรณ์ดังนี้ครับ เช่น
ศีลข้อที่ ๑. จะละเว้นจากปาณาติบาตได้ ต้องอาศัยเมตตาปกคลุม มีความปารถนาดีเอ็นดูปรานี เห็นคุณค่ายินดีในความมีอิสระสุขและคุณค่าชีวิตของผู้อื่น เสมอด้วยความเห็นคุณค่ายินดีในความมีอิสระสุขและคุณค่าของชีวิตตน มีจิตสงเคราะห์และสละให้ มีความยินดีในสุขของผู้อื่นอันปราศจากความขุ่นมัวติดแวะข้องใจและริษยา
ศีลข้อที่ ๒. จะละเว้นจากอทินนาทานได้ ต้องอาศัยเมตตาปกคลุม มีความปารถนาดีเอ็นดูปรานี เห็นคุณค่าความจำเป็นและความสุขที่คงยังไว้ซึ่งสมบัติไรๆของผู้อื่น เสมอด้วยความเห็นคุณค่าความจำเป็นและความสุขที่คงยังไว้ซึ่งสมบัติไรๆของตน มีจิตสงเคราะห์และสละให้ มีความยินดีในสุขของผู้อื่นอันปราศจากความขุ่นมัวติดแวะข้องใจและริษยา
ศีลข้อที่ ๓. จะละเว้นจากกามเมสุมิจฉาจารได้ ต้องอาศัยเมตตาปกคลุม มีความปารถนาดีเอ็นดูปรานี เห็นคุณค่าความรักความหวงแหนบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่น เสมอด้วยความเห็นคุณค่าความรักความหวงแหนบุคคลอันเป็นที่รักของตน มีจิตสงเคราะห์และสละให้ มีความยินดีในสุขของผู้อื่นอันปราศจากความขุ่นมัวติดแวะข้องใจและริษยา
ศีลข้อที่ ๔. จะละเว้นจากมุสาวาทได้ ต้องอาศัยเมตตาปกคลุม มีความปารถนาดีเอ็นดูปรานี เห็นความสุขยินดีและคุณประโยชน์จากการได้สดับในสัมมาวาจาของผู้อื่น เสมอด้วยการเห็นความสุขยินดีและคุณประโยช์จากการได้สดับในสัมมาวาจาของตน มีจิตสงเคราะห์และสละให้ มีความยินดีในสุขของผู้อื่นอันปราศจากความขุ่นมัวติดแวะข้องใจและริษยา
ศีลข้อที่ ๕. จะละเว้นจากมุสาวาทได้ ต้องอาศัยเมตตาปกคลุม มีความปารถนาดีเอ็นดูปรานี เห็นความสุขยินดีและคุณประโยชน์ในการปราศจากความขาดสติมัวเมาหมกมุ่นกลุ้มรุม หรือ อยู่เป็นสุขโดยปราศจากสภาพแวดล้อม,บุคคลรอบข้าง,บุคคลอันเป็นที่รัก ที่ขาดสติ เสียสติ ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งที่เสพย์แล้วถึงซึ่งความฉิบหายไรๆของผู้อื่น เสมอด้วยการเห็นความสุขยินดีและคุณประโยชน์ในการปราศจากความขาดสติมัวเมาหมกมุ่นกลุ้มรุม หรือ อยู่เป็นสุขโดยปราศจากสภาพแวดล้อม,บุคคลรอบข้าง,บุคคลอันเป็นที่รัก ที่ขาดสติ เสียสติ ลุ่มหลงมัวเมาในสิ่งที่เสพย์แล้วถึงซึ่งความฉิบหายไรๆของตน มีจิตสงเคราะห์และสละให้ มีความยินดีในสุขของผู้อื่นอันปราศจากความขุ่นมัวติดแวะข้องใจและริษยา



๑.๓ เจริญจิตขึ้นแผ่ไปในพรหมวิหาร ๔

- เริ่มแรกนั้นให้ท่านทั้งหลายรู้สภาพอาการาของจิตใน พรหมวิหาร ๔ ก่อนว่ามีสภาพอย่างไร เมื่อเจริญจิตขึ้นจึงจะเข้าใฝจว่าเราอยู่ในสภาพไรๆ
- ผมพอจะเคยมีโอกาสได้เรียนรู้ปฏิบัติจากการรับรู้สภาพจิตด้วยจิตตานุสติปัฏฐาน ทำให้พอจะรู้เห็นด้วยปัญญาอันน้อิยนิดไดก้บ้างว่า
  อกุศลจิต กาม ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ตัวใดเกิดขึ้น ตัวใดดับไป ตัวใดคงอยู่
  กุศลจิต ความแจ่มใสเบิกบาน ความไม่ติดใจเพลิดเพลินปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ ไม่ขุ่นข้องขัดเคืองใจ ไม่เศร้าหมองใจ ไม่ข้องแวะมัวหมอง ความสงบรำงับนิ่งว่าง ตัวใดเกิดขึ้น ตัวใดดับไป ตัวใดคงอยู่
- ซึ่งท่านทั้งหลายก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทุกท่านตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ผมขอกล่าวถึงสภาพของพรหมวิหาร ๔ อันที่ผู้มีปัญญาน้อยปฏิบัติน้อยไม่รู้ธรรมใดๆอย่างผมพอที่จะรู้เห็นได้ ซึ่งอาจจะหาคำอธิบายในสภาพที่รู้ที่เข้ากันได้บ้างและไม่ได้บ้างดังนี้ครับ

1. เมตตา :
- ความที่สภาพจิตมีความเอ็นดูแก่เขา คือ ความมีใจรักใคร่ปรานี ไม่ถือโทษ
- มีทางเข้าถึงสภาวะนั้นๆด้วยการที่ใจเรามีความปารถนาดีแก่เขาด้วยประการดังนี้คือ
  ก. ปารถนายากให้เขาเป็นสุข๑
  ข. ปารถนาคิดดีหวังดีกับเขาโดยไม่ต้องการสิ่งใดๆจากเขาตอบแทนนอกจากปารถนาเพียงได้เห็นเขานั้นเป็นสุขแจ่มใส เบิกบานกายและใจก็พอ๑
- ดั่งเรามีความเอ็นดูบุตรหลาน หรือ บุพการี ญาติพี่น้องผู้เป็นที่รักของตนฉันนั้น
- ด้วยสภาวะที่จิตเรามีความผ่องใสเบิกบาน สงบละเอียดนุ่ม ไม่ตรึงหนักขุ่นเคืองใจ ไม่ติดใจขุ่นข้องแวะสิ่งไรๆกับเขา

2. กรุณา :
- ความมีสภาพจิตมีความเอื้อเฟื้อแก่เขา คือ ความมีใจอนุเคราะห์ แบ่งปัน
- มีทางเข้าถึงสภาวะนั้นๆด้วยการที่ใจเรามีความประสงค์จะสงเคราะห์ช่วยเหลือสิ่งไรๆให้แก่เขาด้วยประการดังนี้คือ
  ก. ปารถนาให้เขาได้รับประโยชน์สุขอันดีงาม ได้หลุดพ้นจากทุกข์ความเศร้าหมองใจไรๆ๑
  ข. ไม่ติดข้องใจหวังต้องการให้เขาทดแทนหรือใช้คืนด้วยใจปารถนาแค่ให้เขาได้ประสบสิ่งที่ดีงามก็พอ๑
  ค. ปารถนาแค่ให้เราได้ช่วยให้เขาหลุดพ้นจากความทุกข์ ทรมานลำบาก เหนื่อยล้า พ้นจากความรุ่มร้อนเศร้าหมองใจ ที่เขานั้นต้องเผชิญอยู่ก็พอแล้ว๑
- ดั่งเราประสงค์ที่จะอนุเคราะห์แบ่งปันสิ่งอันดีงามที่ประกอบไปด้วยประโยชน์สุขแก่บุตรหลาน หรือ บุพการี บิดา มารดา ญาติพี่น้องผู้เป็นที่รักของตนฉันนั้น
- ด้วยสภาวะที่จิตเรามีความผ่องใสเบิกบาน สงบละเอียดนุ่ม ไม่ตรึงหนักใจ ไม่ติดข้องแวะใจไรๆ ไม่หวงแหนสิ่งใดที่ตนนั้นพึงจะมีช่วยเหลือสงเคราะห์ให้เขาได้ ปราศจากความฝืนใจไรๆจากการที่เราได้ให้ช่วยเหลือสงเคราะห์แบ่งปันแก่เขา
  ง. เมตตาทาน คือ การสละให้ด้วยความมีใจเอ็นดูเอื้อเฟื้อ
- มีทางเข้าถึงสภาวะนั้นๆ คือ เมื่อเจริญจิตขึ้นใน "เมตตา และ กรุณา" แล้ว จิตย่อมยังให้เข้าถึงการกระทำใดๆโดยเจตนาอันเป็นกุศลที่เป็นการ "สละให้" ด้วยจิตละแล้วซึ่งความโลภ ความหวงแหน เห็นแก่ได้ หรือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในตนและสิ่งที่ตนครอบครองมีอยู่ว่า สิ่งนี้ๆเป็นเรา-เป็นของเรา แต่จะมีเพียงจิตอันปารถนาดีและประสงค์จะอนุเคราะห์ สงเคราะห์แบ่งปันไม่ยึดมั่นถือมันว่านี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา ปารถนาให้สิ่งใดๆที่เรามอบให้เขาอยู่นี้จะเป็นคุณประโยชน์สุขแก่ผู้รับ โดยไม่หวังเอาสิ่งใดๆจากเขาตอบแทนคืน แลเมื่อเราได้สละสิ่งไรๆให้เขาไปแล้วจะไม่มีความตรึกนึกคิดเสียใจเสียดายหรืออยากได้คืนในภายหลัง ที่เรียกว่า "เมตตาทาน"
- ดั่งเรามีความเอ็นดู เอื้อเฟื้อ ถึงการสละให้แก่บุตรหลาน หรือ บุพการี ญาติพี่น้องผู้เป็นที่รักของตน ด้วยหวังว่าเขาเหล่านั้นจะได้รับประโยชน์สุขอันดีงามจากสิ่งที่เราได้สละให้เขาไปฉันนั้น
- ด้วยสภาวะที่จิตเรามีความผ่องใสเบิกบาน สงบละเอียดนุ่ม ไม่ตรึงหนักใจ ไม่ติดข้องแวะใจไรๆ ไม่หวงแหนสิ่งใดที่ตนนั้นพึงจะมีช่วยเหลือสงเคราะห์ให้เขาได้ ปราศจากความฝืนใจไรๆจากการที่เราได้ให้ช่วยเหลือสงเคราะห์แบ่งปันแก่เขา
- ที่ผมยกเอาทานเข้ามาในพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็เพราะพรหมวิหาร๔ นี้ทำให้ทานอันดีของเรานั้นบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และ หลังให้ ทำให้เมื่อระลึกถึงผลทานอันที่กระทำไปแล้วนี้ ยังความสุขผ่องใสเบิกบานเข้าถึงอุปจาระฌาณได้ เรียกว่าการเจริญใน "จาคานุสสติ"


3. มุทิตา :
- ความที่สภาพจิตมีความยินดีไปกับเขา คือ มีความยินดีเปรมปรีย์ชื่นบานใจที่ไปกับเขาเมื่อเขาเป็นสุข
- มีทางเข้าถึงสภาวะนั้นๆด้วยการที่ใจเรามีความสุขยินดีไปเขากับเมื่อได้รู้เห็นว่าเขามีความสุขกายสบายใจ สำเร็จผลตามปารถนาอันดี ไม่มีทุกข์ ด้วยประการดังนี้คือ
  ก. มีความความสุขยินดีไปกับเขาเป็นสุขสำเร็จพอกพูนสมใจเขาปารถนา เรานั้นไม่มีจิตไปขุ่นเคือง อิจฉาริษยาต่อเขา๑
  ข. มีความสุขยินดีไปกับเขาเมื่อเขาได้ประสบกับความสุขที่ได้พ้นจากความทุกข์เศร้าหมองใจ๑
  ค. มีความสุขยินดีไปพร้อมกับเขาเมื่อได้รับรู้ว่าความสุข สมบัติ ลาภ ยศ บริวารทั้งหลายของเขานั้นยังคงอยู่ไม่เสื่อมสูญ ไม่ถูกพรากไปด้วยความเอ็นดูเอื้อเฟื้อแก่เขาอันปราศจากความริษยาแล้ว๑
- ดั่งเรามีความยินดีชื่นบานใจเมื่อบุตรหลาน หรือ บุพการี บิดา มารดา หรือ ญาติพี่น้องผู้เป็นที่รักของตนให้เป็นสุขกายใจ หรือ พ้นจากทุกข์ความเศร้าหมองใจ หรือ ประสบความสำเร็จสุขอันเป็นประโยชน์แก่เขา หรือ ไม่มีความสูญเสียพรัดพรากไปซึ่งของอันมีค่าของเขา ไม่ว่าจะจากการที่เราได้ช่วยเหลือเขาบ้างหรือเขาได้ทำได้ดูแลรักษาให้เกิดขึ้นเป็นไปด้วยตัวเขาเองบ้างฉันนั้น
- ด้วยภาวะที่จิตเรามีผ่องใสเบิกบาน สงบละเอียดนุ่ม ไม่หนักใจ ไม่ติดใจข้องแวะอิจฉาริษยาไรๆต่อเขา
หมายเหตุ
อิสสา -> อิจฉา ท่านแปลว่า “ริษยา” คือเห็นเขาได้ดีมีสุขสำเร็จแล้วทนอยู่ไม่ได้
คืออาการธรรมชาติที่จิตใจเกิดความกระวนกระวายกระสับกระส่ายในเมื่อเห็นคนอื่นทำดีแล้วได้ดี พอเห็นใครหรือได้ยินข่าวว่าใครได้ดี ก็เกิดความไม่พอใจในความดีของคนนั้น นี่คือความหมายของคำว่า “ริษยา”
ซึ่ง "ริษยา" นี้เป็นปฏิปักษ์กับ "มุทิตา"

4. อุเบกขา :
- ความที่สภาพจิตมีความไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งไรๆ คือ มีความวางเฉยตั้งใจไว้กลางๆไม่เอนเอียง ไม่ติดใจข้องแวะ หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
- มีการเข้าถึงสภาวะนั้นๆด้วยความที่เราตรึกตรองรู้เห็นอันเกิดแต่กุศลว่า เราได้มีความเอ็นดูเอื้อเฟื้อยินดีแก่เขาในกาลอันควรตามสติกำลังของเราแล้ว เราจะสามารถช่วยเหลือเขาได้แค่ไหนก็ต้องปล่อยให้มันเป็นไปตามกรรมนั้น หรือ ราได้มีความเอ็นดูเอื้อเฟื้อยินดีแก่เขาในกาลอันควรตามสติกำลังของเราแล้ว เขาจะนำทานอันเกิดจากความเอ็นดอนุเคราะห์ของเราไปใช้ในทางที่ถูกดีงามได้มากน้อยเพียงไรก็ต้องเป็นไปตามแต่กรรมของเขา แล้ววางใจไว้กลางๆด้วยประการดังนี้คือ
  ก. ไม่ติดใจข้องแวะไรๆอีก เพราะไปก็ไม่เกิดประโยชน์สุขใดๆนอกจากทุกข์บ้าง๑ เช่น เราจะช่วยเขาได้หรือไม หรือ เขาจะเอาไปทำอะไรที่ไม่ดี หรือ ใส่บาตรพระแล้วเพ่งโทษว่าพระองค์นี้ปฏิบัติไหมหรือทุศีล เป็นพระดีหรือไม่ดีเป็นต้น
  ข. พึงระลึกดังนี้ว่าสัตว์โลกย่อมมีกรรมเป็นของๆตนมีกรรมเป็นผู้ให้ผลติดตามและพึ่งพาอาศัย ไม่มีใครหลุดพ้นผลของกรรมไปได้บ้าง๑
- ด้วยสภาพจิตที่เข้าถึงสภาพจิตที่รู้ควรปล่อย ควรละ ควรวาง ไม่ติดใจข้องแวะไรๆ สืบต่อให้เข้าถึงความสงบรำงับ บางเบา วางเฉยอันไม่ยินดียินร้ายด้วยความไม่หม่นมัวหมองใจ


- เมื่อรู้แล้วว่าพรหมวิหาร ๔ เป็นอย่างไร ทีนี้เมื่อเรานั้นเข้าไปรู้หรือเสพย์อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะ แล้วทำให้เกิดทุกข์จากกิเลส กาม ราคะ โทสะ โมหะก็ดี ให้พึงเจริญจิตขึ้นแผ่เมตตาดังนี้

๑.๓.๑ พึงเจริญจิตขึ้นอยากให้ตนเองนั้นเป็นสุขปราศจากทุกข์ความร้อนรุ่มใจเหล่านี้
แล้วตั้งจิตอธิษฐานขอให้เราจงเป็นปกติสุขผ่องใสยินดี ปราศจากกิเลส คือ กาม ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ อกุศลธรรมอันลามกที่เป็นเครื่องร้อนรุ่มใจเหล่านี้ไปเสีย ความเศร้ามัวหมองใจไรๆเหล่านี้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขอให้พึงพินาศไปเสียจากกายใจเรา

- เมื่อจะพึงแผ่เมตตาโดยย่อให้ทันขณะแก่ตน ให้พึงเจริญระลึกดังนี้ว่า

ก. เมตตา คุณณัง อะระหัง เมตตา :
(ผมไม่รู้ความหมายหรือคำแปลนะครับ จำได้ว่าได้มาจากหนังสือพระคาถาครูบาอาจารย์ ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พหรมรังสี ซึ่งผมเอามาใช้ภาวนาแทนคำบริกรรมก่อนเจริญจิตขึ้นในเมตตา ทำให้เป็นสมาธิได้ดีครับ)
- ตั้งจิตน้อมรำลึกถึงคุณและคำสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นคุณและคำสอนอันเป็นเครื่องห่างไกลจากกิเลสดังนี้ว่า
เมตตาประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ ทำให้เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นกิจที่พระพระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวกทั้งหลายพึงกระทำแล้วซึ่งความเมตตา คือ ความเอ็นดู(ความรัก ปารถนาดี) ต่อสัตว์โลกนั้น กุลบุตรผู้ฉลาดผู้แสวงหาประโยชน์พึงกระทำตามกิจอันที่พระพุทธเจ้าและพระอริยะสาวกนั้นทำแล้ว
- แล้วพึงตั้งจิตขอคุณแห่งเมตตานี้ หรือ ขอพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าทรงเมตตา จงขจัดไปเสียซึ่งกิเลสตัณหาความร้อนรุ่มใจ ความติดใจ ความขัดเคืองใจ ความติดใจข้องแวะอันเกิดแต่ กาม ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ จากการรับรู้อารมณ์ใดๆสิ่งใดๆเหล่านั้นทั้งสิ้นนี้ ด้วยอำนาจแห่งเมตตานั้น
- หากเราเคยเจริญจิตตานุสติปัฏฐานมา เมื่อจิตพ้นแล้ว ไม่มีความติดใจไรๆ ไม่มีความข้องใจไรๆ ไม่มีจิตติดข้องแวะในสิ่งไรๆ มีความสงบรำงับจากกิเลสแล้ว ย่อมรู้ความผ่องใสของจิตที่เกิดขึ้น มีกำลังแห่งกุศล สมาธิแผ่ไปให้คนอื่นต่ออย่างไร
- แต่ไรมาผมไมเคยรู้ธรรมอาศัยบริกรรมคาถานี้เจริญจิตอย่างนี้ก็เข้าสมาธิได้แม้ไม่ถึงฌาณแต่ก็เป็นประโยชน์มากได้ผลดียิ่งนัก


ข. อะหัง สุขิโต จะ นิททุกโข โหมิ :(ใช้สวดบทนี้ส่วนเดียวเมื่อมีความร้อนรุ่มทุกข์กายใจ)
ขอให้ข้าพเจ้าเป็นสุข และ เป็นผู้ปราศจากกิเลสทุกข์ทั้งสิ้นนี้
(กิเลสทุกข์ คือ กาม ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความทุกข์และความร้อนรุ่มร้อนรนใจทั้งปวง)
ค. อะหัง อเวโร โหมิ :(ใช้สวดบทนี้ส่วนเดียวเมื่อมีความผูกเวรจ็บแค้นขุ่นเคืองใคร)
- ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่ผูกเวรผูกความโกรธแค้นใคร และ ปราศจากความผูกเวรผูกแค้นไรๆมาเบียดเบียน
- (ข้าพเจ้าจักเป็นผู้ไม่ผูกเวรผูกความโกรธแค้นใคร และ ปราศจากความผูกเวรผูกแค้นไรๆมาเบียดเบียน)
ง. อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ :ใช้สวดบทนี้ส่วนเดียวเมื่อมีความเจ็บแค้นผูกความพยาบาทใครด้วยใจหมายทำร้ายให้เขาฉิบหาย)
- ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนทำร้ายใคร และ ราศจากอุปสรรคภัยอันตรายใดๆทั้งปวงมาเบียดเบียน
- (ข้าพเจ้าจักเป็นผู้ไม่อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนทำร้ายใคร และ ปราศจากอุปสรรคภัยอันตรายใดๆทั้งปวงมาเบียดเบียน)
จ. อะหัง อนีโฆ โหมิ :(ใช้สวดบทนี้ส่วนเดียวเมื่อมีความร้อนรุ่มทุกข์กายใจ)
ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ อย่าได้มีความร้อนรุ่มกายใจ ขอให้มีแต่ความสุข-สงบ-แจ่มใส-เบิกบานกายใจ
ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความปารถนาใคร่ได้กำหนัดเพลิดเพลินยินดี-อึดอัด-อัดอั้น-คับแค้น-เศร้ามัวหมองกายและใจไรๆทั้งสิ้นนี้เทอญ
ฉ. อะหัง สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ :(ใช้สวดบทนี้ส่วนเดียวเมื่อมีปารถนาให้ตนได้พ้นจากทุกข์)
ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีกายและใจเป็นสุขแจ่มใสเบิกบาน คิด-พูด-ทำอันปราศจากกิเลสและทุกข์ภัยทั้งสิ้นนี้เทอญ

ช. อหํ สุขิโต โหมิ นิทฺทุกฺโข อเวโร อพฺยาปชฺโฌ อนีโฆ สุขี อตฺตานํ ปริหรามิ ฯ
ขอข้าพเจ้าจงถึงความสุข ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีความคับแค้นใจ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
ซ. เมื่อจะพึงเจริญแผ่ให้ตนแบบเต็มบทแก่ตน ให้พึงเจริญระลึกดังนี้ว่า


อหังสุขิโต โหมิ :
ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีความปกติสุขยินดี มีจิตแจ่มใสเบิกบานไม่เศร้าหมองกายใจ มีความดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด

นิททุกโข โหมิ :
ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากกิเลส กาม ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ
เครื่องแห่งความทุกข์และความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆทั้งสิ้นนี้

อเวโร โหมิ :
- ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่ผูกเวรผูกความโกรธแค้นใคร และ ปราศจากความผูกเวรผูกแค้นไรๆมาเบียดเบียน
- (ข้าพเจ้าจักเป็นผู้ไม่ผูกเวรผูกความโกรธแค้นใคร และ ปราศจากความผูกเวรผูกแค้นไรๆมาเบียดเบียน)

อัพยาปัชโฌ โหมิ :
- ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนทำร้ายใคร และ ราศจากอุปสรรคภัยอันตรายใดๆทั้งปวงมาเบียดเบียน
- (ข้าพเจ้าจักเป็นผู้ไม่อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนทำร้ายใคร และ ปราศจากอุปสรรคภัยอันตรายใดๆทั้งปวงมาเบียดเบียน)

อโรโค โหมิ :
ขอข้าพเจ้าจงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บใดๆทั้งปวง
ขอให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ควรแก่การดำรงชีพและกระทำในกิจการงานต่างๆ

อนีโฆ โหมิ :
ข้อข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ อย่าได้มีความร้อนรุ่มกายใจกลุ้มรุม ขอให้มีแต่ความสุข-สงบ-แจ่มใส-เบิกบานกายใจ
ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความปารถนาใคร่ได้กำหนัดเพลิดเพลินยินดี-อึดอัด-อัดอั้น-คับแค้น-เศร้ามัวหมองกายและใจไรๆทั้งสิ้นนี้เทอญ

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ :
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ มี ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน สมาธิ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา
ดำรงชีพและปฏิบัติกรรมฐานรักษากาย-วาจา-ใจให้พ้นจากทุกข์ภัยจนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้


- จากนั้นพึงเจริญจิตเข้าสู่ความเมตตาแก่ตนเองไปเรื่อยๆจนหายจากทุกข์อันเกิดจากความร้อนรุ่มใจ ร้อนรนใจ ทะยานอยาก ของกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านี้

ทั้งหมดนี้แม้แรกเริ่มให้พึงตั้งจิตอธิษฐานไปตามพระคาถาอย่างนี้ จนเมื่อเราทำเป็นปกติทุกวันแล้ว เพียงแค่เปล่งพระคาถามาจิตเราจะน้อมไปในสภาวะจิตที่มีความปารถนาตามนั้นเองโดยไม่ต้องไปบริกรรมใดๆเลยครับ ที่สำคัญที่สุดในการแผ่เมตตาอันไม่เป็นโทษ คือ ต้องแผ่เมตตาให้ตนเองให้เป็นก่อนโดยแผ่ให้ตนเองไม่เป็นทุกข์สงบรำงับจากทุกข์ให้ได้ก่อน จึงจะสามารถแผ่ให้ผู้อื่นได้ด้วยความเอ็นดูปรานี รักและปารถนาดีต่อผู้อื่นเสมอตนได้ หากแผ่เมตตาให้ตนเองไม่เป็นเมื่อแผ่ให้ผู้อื่นไปจิตที่แผ่ไปจะเต็มไปด้วยกิเลสทุกข์ประกอบไปด้วยโทษต่อตนเองและผู้อื่นอย่างหาประมาณไม่ได้ นี่จึงเป็นเหตุให้หลายๆคนที่ยิ่งแผ่เมตตายิ่งร้อนรุ่มเร่าร้อนกลุ้มรุมกายใจ

๑.๓.๒ หลังจากแผ่เมตตาให้ตนเองจนหายจากความร้อนรุ่ม ร้อนรนใจ ทะยานอยากใดๆแล้ว จากนั้นพึงละความคิดกระทำไรๆอันเป็นไปเพื่อความอกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆที่เรานั้นคิดเบียดเบียนผู้อื่นเหล่านั้น ไม่ว่าจะความผูกเวรผูกโกรธแค้นเคืองไรๆ ความพยาบาทไรๆ ความคิดในราคะไรๆ จิตก็จะเกิดกุศลธรรมขึ้นมาสงบ ผ่องใสบางเบา ไม่ตรึงหนักจิต จนถึงความสงบรำงับมีจิตละเอียดอ่อนไม่ตรึงหนักขุ่นขัดใจไรๆ จากนั้นให้เจริญจิตขึ้นเมตตาแก่เขาเสีย

ก. หากจะพึงระลึกแบบพรหมวิหาร๔ โดยย่อ เป็นการแผ่เมตตาไปให้แก่เขาด้วยบารมีแห่งเกุศลอันเราได้ทำมาดีแล้ว ให้พึงระลึกว่า

สัพเพ สัตตา สะทา โหนตุ, อเวรา สุขะ ชีวิโน :
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกข์เถิด

กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง, สัพเพ ภาคี ภะวันตุ เต :
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงได้เสวยผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเพียรด้วย กาย-วาจา-ใจ นี้แล้วเถิด



ข. หากจะพึงระลึกแบบทั่วไปโดยย่อ ให้พึงระลึกว่า

สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ นิทฺทุกฺขา อเวรา อพฺยาปชฺฌา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ ฯ
ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงถึงความสุข ปราศจากความทุกข์ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มี ความคับแค้นใจ จงมีความสุขการสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด ฯ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2014, 10:35:58 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:02 pm »
0

ค. หากจะพึงระลึกแบบเต็ม เพื่อแผ่จิตเมตตาไปให้แก่เขาด้วยแผ่ไปแบบพรหมวิหาร ๔ ให้พึงระลึกว่า

เมตตา

สัพเพ สัตตา : สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ : จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกัน
อัพยาปัชฌา โหนตุ : จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียน ซึ่งกันและกัน
อะนีฆา โหนตุ : จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจกันเถิด
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ : จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัย ทั้งสิ้นเถิด

กรุณา

สัพเพ สัตตา : สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ : จงพ้นจากทุกข์เถิด

มุทิตา

สัพเพ สัตตา : สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
มา ลัทธะสัมปัตติโต วิมุจจันตุ : จงอย่าไปปราศจากสมบัติอันตนได้แล้วเถิด

อุเบกขา

สัพเพ สัตตา : สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
กัมมัสสะกา : เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา : เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ : เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ : เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา : เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ : กระทำกรรมอันใดไว้
กัลยาญัง วา ปาปะกัง วา : ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ : จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ จงอย่าได้มีเวรเบียดเบียนกันและกัน จงอย่าได้มีความลำบากเจ็บไข้เลย จงเป็นผู้มีสุขพ้นทุกข์ภัยทั้งสิ้น กับขอจงเป็นผู้มีส่วนได้เสวยผลบุญ อันเราได้กระทำแล้วทุกเมื่อเถิด.


ให้ผู้เจริญในพรหมวิหาร ๔ กรรมฐานนั้นเจริญอย่างนี้เป็นประจำทุกวันโดยเริ่มต้นดังนี้

1. เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ แล้วหายใจเข้ายาวระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ในบริกรรมว่า พุทธ หายใจออกยาวงระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ในบริกรรมว่า โธ แล้วก็เปลี่ยนเป็น ธัมโม สังโฆ ตามลำดับนั้น จิตจะยังความสงบเข้าถึงพระพุทธเจ้าและพระรัตนตรัยครบพร้อม แล้วก็เจริญแผ่เมตตาให้ตนเอง เมื่อเสร็จแล้วก็แผ่เมตตาให้ผู้อื่นทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง ดังนี้ ใช้เวลาไม่เกินวันละ 10-15 นาที
2. เมื่อก่อนนอนตอนค่ำ ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ แล้วหายใจเข้ายาวระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ในบริกรรมว่า พุทธ หายใจออกยาวงระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ในบริกรรมว่า โธ แล้วก็เปลี่ยนเป็น ธัมโม สังโฆ ตามลำดับนั้น จิตจะยังความสงบเข้าถึงพระพุทธเจ้าและพระรัตนตรัยครบพร้อม แล้วก็เจริญแผ่เมตตาให้ตนเอง เมื่อเสร็จแล้วก็แผ่เมตตาให้ผู้อื่นทั้งเจาะจงและไม่เจาะจง ดังนี้ ใช้เวลาไม่เกินวันละ 10-15 นาที
3. เมื่อมีสติระลึกได้หากมีเวลาว่างก็ให้เจริญพรหมวิหาร ๔ ไป หรือ เมื่อเรารู้ตัวว่ากำลังเกิดกิเลสทุกข์หยั่งเอาแล้วก็ให้พึงตั้งจิตเจริญ พรหมวิหาร ๔ โดยเริ่มจากการแผ่เมตตาให้ตนเองจนจิตตนผ่องใจ เบิบาน สงบ และ สงัดจากกิเลสทุกข์แล้วจึงแผ่ให้ผู้อื่นต่อไป
4. เมื่อเจริญปฏิบัติเป็นประจำตามข้อที่ 1-3 อย่างนี้ทุกวัน พรหมวิหาร ๔ กรรมฐานนี้จะเข้ามาดำเนินในชีวิตเราเองโดยอัตโนมัติ ไม่เพียงแต่ปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ กรรมฐานยังให้จิตใจเป็นกุศลเท่านั้น แต่ยังทำให้เรามี ศรัทธา ศีล ทาน สมาธิ เป็นอันบริบูรณ์ดีงามจนสามารถแผ่ไปแบบไม่มีประมาณเข้าถึงในเจโตวิมุติได้ ดังนี้ครับ


๑.๓.๓ การแผ่เมตตาเจาะจงไปสู่บุคคลใด สัตว์ใด ที่เรานั้นมีความร้อนรุ่มกายใจต่อเขาตามความรู้สึกต่างๆที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน ทำได้ดังนี้

 - ก./๑ เมื่อเรามองสิ่งใดๆด้วยโลภะ คือ คือ ความติดใจจากความพอใจยินดีอันเกิดแต่ความเพลิดเพลิน ก่อเกิดความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์ที่พอใจยินดีนั้นๆ ซึ่งโลภะนี้ต่างกันแค่พลิกฝ่ามือกับเมตตาจิต แต่ต่างกันที่สภาพจิตซึ่ง
   โลภะ    : จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นใหญ่ มีความติดใจในสิ่งไรๆ มีความเพลิดเพลินฟูใจ
   เมตตา   : จะเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นมากกว่าตน ปราศจากความติดใจเพลิดเพลิน ไม่ติดใจข้องแวะไรๆ มีความผ่องใส สงบนุ่มเบาไม่ตรึงหนักมัวหมองใจ
   เวลาที่เรารับรู้อารมณ์ใดๆแล้ว มีความติดใจเพลิดเพลินในสิ่งนั้นๆ ฟูใจด้วยสมดั่งความใคร่ปารถนาบ้าง ความมีใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นๆด้วยอำนาจความเพลิดเพลินพอใจยินดีบ้าง หาความผ่องใสชื่นบานอันเกิดแต่ความสงบนุ่มเบากายใจโดยปราศจากเครื่องล่อใจไม่ได้ ให้รู้ว่าถูกความทุกข์อันเกิดแต่ความร้อนรุ่มใคร่ปารถนาหยั่งเอาแล้ว โดยความโลภ เป็นผลให้สืบต่อไปถึง "กามคุณ๕" คือ ความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย อันเป็นไปในความติดใจเพลิดเพลิน และ "ราคะ" คือ ความกำหนัดยินดีใคร่ปารถนาที่จะเสพย์ในเมถุนทั้งปวง

 - ก./๒ เมื่อเรามองเขาด้วยกามราคะ คือ มีความกำหนัดราคะมีความฝักใฝ่ในเมถุนต่อเขา

- ให้พึงละจิตอันเบียดเบียนเขาด้วยความกำหนัดราคะนั้นๆไปเสีย โดยพึงระลึกว่าเขาก็อยู่ของเขาดีๆแล้วแต่เรานี้เองเข้าไปตั้งความกำหนัดราคะอันมัวหมองนั้นแก่เขา
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔+ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความกำหนัดยินดีปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในเมถุนอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเหล่านั้นได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- พึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อเขาอยากให้เขาเป็นสุขปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ ใดๆมาคลุกคลามกายและใจเขา เจริญแผ่เมตตาจิตต่อเขาให้เราและเขาเป็นมิตรที่ดีมีความเอ็นดูเอื้อเฟื้อต่อกันและกัน ดั่งเราอยากให้คนอื่นเป็นมิตรที่ดีมีจิตใจดีงามต่อบุคคลอันเป็นที่รักของเรา ไม่มองบุคคลที่เรารักและหวงแหนยิ่งด้วยความกำหนัดราคะฉันนั้น
- พึงตั้งเจตนามั่นมีความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันสุขอันเป็นกุศลที่เจริญมาดีแล้วนี้ของเราให้แก่เขาด้วยหวังให้เขาหลุดพ้นจากความมัวหมอง หม่นหมองไรๆ ปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ อันพึงมีเข้ามาคลุกคลามกายและใจเขานั้น สละให้ซึ่งบุญกุศลทั้งปวงที่เราสะสมมาดีแล้วทำมาดีแล้วนี้ให้แก่เขาด้วยหวังให้เขาเป็นสุขแจ่มใสเบิกบานกายและใจ ปราศจากความร้อนรุ่มเศร้าหมองใจ ปราศจากเวรภัยอุปสรรคอันตรายใดๆทั้งปวง
- ฉันบุตรหลาน ญาติมิตร หรือ บุคคลอันเป็นที่รักนั้นจะพึงมีให้แก่กัน แล้วพึงละจิตอันประกอบด้วยราคะที่มีต่อเขานั้นลงเสีย เพื่อให้เขานั้นอยู่เป็นสุขอันดีไม่มีความมัวหมองจากอกุศลธรรมอันลามกนั้นๆของเรา สละกุศลธรรมอันที่เราสะสมมาดีแล้วให้แก่เขาด้วยอยากให้เขาเป็นสุขผ่องใสปราศจากเวรภัยจาก กาม ราคะ โทสะ โมหะ ไรๆมาเบียดเบียน
- เมื่อตั้งจิตแผ่ไปอย่างนี้ๆจิตอันร้อนรุ่มของเราก็จะดับไปและไม่มีจิตอันเป็นอกุศลธรรมอันลามกให้วิตกตรึกนึก เขาก็พ้นจากความเบียดเบียนอันเป็นไปในราคะอกุศลธรรมอันลามกจัญไรทั้งปวงเหล่านั้น เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อเขาเป็นปกติสุขแจ่มใสปราศจากกิเลสทุกข์อันมัวหมองกายและใจ จิตเราย่อมยังความผ่องใสยินดีโดยความไม่ติดข้องใจไรๆ ที่เราได้มีความเมตตา กรุณา ทาน นี้ๆให้แก่เขา โดยสละทิ้งซึ่งจิตอันเป็นราคะที่เราเพลิดเพลินยินดีแต่ต้องทำให้เขามัวหมองไป ให้เป็นเมตตาทานอันประเสริฐแก่เขาได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้นแล้ว

 - ข./๑ เมื่อเรามองเขาด้วยโทสะ คือ เมื่อเราตั้งความไม่พอใจยินดีในเขา ไม่ว่าเขาจะกระทำไรๆที่ดีหรือไม่ก็ตาม

- ให้พึงละจิตอันเบียดเบียนเขานั้นไปเสีย โดยพึงระลึกว่าเขาก็อยู่ก็เป็นของเขาอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว เรานั้นเองที่เอาจิตเข้าไปเสพย์ความไม่พอใจยินดีในเขาจนเราเองนั้นแหละที่ต้องมาร้อนรุ่มร้อนรนใจ อย่าไปติดใจข้องแวะุขุ่นเคืองใจไรๆจากการกระทำนั้นๆของเขาเพราะมันก็หาประโยชน์ไรๆแก่เเราไม่ได้ เป็นเหตุให้จิตใจเราและเขาต้องมัวหมองเศร้าหมองใจ อย่าไปตั้งสำคัญมั่นหมายผูกความไม่พอใจยินดีเอาไว้กับเขา คือ ตั้งแง่ในความไม่พอใจยินดีกับเขาไว้ ยิ่งตั้งแง่มากเท่าไหร่ก็ยิ่งร้อนรุ่มร้อนรนมากจนเป็นการทำร้ายทั้งเขาและตนเองโดยไม่มีมูลเหตุจำเป็น
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔+ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความผูกเวร พยาบาทเบียดเบียนใดๆได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- พึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อเขาอยากให้เขาเป็นสุขผ่องใสปราศจากเวรภัยอันตรายอันเป็นเครื่องเศร้าหมองกายใจ เจริญแผ่เมตตาจิตต่อเขาให้เราและเขาเป็นมิตรที่ดีมีความเอ็นดูเอื้อเฟื้อต่อกันและกัน ดั่งเราอยากให้คนที่เกลียดเราไม่ชอบใจเรานั้นมาเป็นมิตรที่ดีกับเราไม่โกรธเกลียดผูกเวรภัยกันอีกฉันนั้น
- พึงตั้งเจตนามั่นมีความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันสุขอันเป็นกุศลที่เจริญมาดีแล้วนี่ของเราให้แก่เขา สละให้ซึ่งบุญกุศลทั้งปวงที่เราสะสมมาดีแล้วทำมาดีแล้วนี้ให้แก่เขาด้วยหวังให้เขาเป็นสุขแจ่มใสเบิกบานกายและใจ ปราศจากความร้อนรุ่มเศร้าหมองใจ ปราศจากเวรภัยอุปสรรคอันตรายใดๆทั้งปวง
- ฉันบุตรหลาน ญาติมิตร หรือ บุคคลอันเป็นที่รักนั้นจะพึงมีให้แก่กัน แล้วพึงละจิตอันประกอบด้วยปฏิฆะและโทสะนี้ๆที่มีต่อเขาไปเสียเป็นทานอันเราสละความผูกใจไม่พอใจยินดีในเขาไปเสีย ไม่ติดข้องใจผูกใจกับเขาอีก
- เมื่อเราไม่ติดข้องใจไรๆในเขาแล้ว ได้แผ่จิตไปสู่เขาอย่างนี้แล้ว จิตเราก็จะไม่มีความร้อนรุ่ม เขาก็ได้พ้นทุกข์จากการละเวรภัยอันเบียดเบียนของเรานี้แล้ว เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อเห็นเขาเป็นสุขพ้นจากทุกข์ไปได้แล้ว จิตเราย่อมยังความผ่องใสยินดีโดยความไม่ติดใจไรๆที่เราได้มีความกรุณาเอื้อเฟื้อสุขและกุศลนี้ๆให้แก่เขาได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้นแล้ว

 - ข./๒ เมื่อเรามองเขาด้วยโทสะ คือ เมื่อเขาตั้งความไม่พอใจยินดีในเรา แม้เราจะทำดีแล้วถูกแล้วก็ตามที

- ให้พึงละจิตอันคับแค้น อัดอั้นขุ่นมัวใจไรๆเหล่านั้นไปเสียเพราะมันไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ อย่าไปตั้งความปารถนาให้เขาทำดีกับเราเหมือนอย่างที่เขานั้นทำกับคนนั้นคนนี้ อย่างนี้เรียกว่าเราเอาความสุขสำเร็จของตนไปฝากขึ้นไว้กับเขาซึ่งไม่ใช่สุขเพราะตนเองสร้าง พอเวลาเขาไม่กระทำอย่างที่ใจเราปารถนาไว้มันก็เป็นทุกข์มหันต์ ดังนั้นจงอย่าเอาความสุขสำเร็จใดๆของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นมันมีแต่ความทุกข์ ยิ่งผูกไว้มากก็ยิ่งทุกข์มาก
- โดยพึงระลึกว่าเขานั้นเป็นผู้ที่ถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ โดยความร้อนรุ่มร้อนรนใจจากความขุ่นมัวใจของเขานั้น ทำให้เขาไม่เป็นปกติสุขผ่องใสเบิกบาน ทำให้ต้องคอยดิ้นรนไขว่คว้าหาสิ่งที่ทำให้เขาสุขตามความโลภหรือความทะยานอยากอันไม่รู้จักหยุดของเขา เมื่อสิ่งที่เขาใคร่ปารถนาที่จะได้เสพย์อยู่นั้นไม่เป็นไปตามที่เขาต้องการเขาจึงเกิดแต่ความขุ่นมัวใจไม่เว้นว่างเลยในทุกขณะจิตนั้น ด้วยเหตุนี้เขาจึงเป็นผู้ที่น่าสงสารที่สุดควรแก่การอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อความสุขแห่งกุศลอันสะสมมาดีแล้วนั้นจากเรา คือ รดน้ำด้วยเมตตา เพื่อให้เขาหายความขุ่นมัวใจ ร้อนรุ่มใจ ร้อนรนใจ เดือเนื้อร้อนใจทั้งสิ้นนี้ ควรแก่กาลที่เราจักเป็นมิตรที่ดีมีความเอ็นดูเอื้อเฟื้อให้แก่เขาที่มีความร้อนรุ่มกายใจดั่งไฟนั้น
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔+ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความขุ่นมัวขัดเคืองใจ ความเศร้าหมองใจใดๆได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- พึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อเขาอยากให้เขาเป็นสุขผ่องใสปราศจากเวรภัยอันตรายอันเป็นเครื่องเศร้าหมองกายใจ เจริญแผ่เมตตาจิตต่อเขาให้เราและเขาเป็นมิตรที่ดีมีความเอ็นดูเอื้อเฟื้อต่อกันและกัน ดั่งเรานั้นมีความเอื้อเฟื้อให้แก่บุตรหลาน ญาติสนิท มิตรสหาย ที่มีความเอ็นดู เอื้อเฟื้อสงเคราะห์แก่กัน ไม่ถือโทษโกรธเคืองกันฉันนั้น
- พึงตั้งเจตนามั่นมีความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันสุขอันเป็นกุศลที่เราเจริญมาดีแล้วนี้ของเราให้แก่เขาเพื่อให้เขาได้พ้นจากทุกข์อันรุ่มร้อน หม่นมัวหมอง เศร้าหมองใจ สละให้ซึ่งบุญกุศลทั้งปวงที่เราสะสมมาดีแล้วทำมาดีแล้วนี้ให้แก่เขาด้วยหวังให้เขาเป็นสุขแจ่มใสเบิกบานกายและใจ ปราศจากความร้อนรุ่มเศร้าหมองใจ ปราศจากเวรภัยอุปสรรคอันตรายใดๆทั้งปวง โดยไม่คิดหวังสิ่งใดๆจากเขาตอบแทนคืนนอกจากเราปารถนาที่จะเอื้อเฟื้อสงเคราะห์สิ่งที่ดีงามให้แก่เขาเพื่อให้เขาได้หลุดพ้นจากทุกข์เครื่องร้อนรุ่มใจที่ร้อยรัดเขาอยู่นี้เท่านั้น
- ฉันบุตรหลาน ญาติมิตร หรือ บุคคลอันเป็นที่รักนั้นจะพึงมีให้แก่กัน แล้วพึงเพิกถอนความเศร้ามัวหมองใจอันใดที่จะพึงมีแก่เราออกทิ้งไปเสีย เป็นทานอันเราสละความผูกใจ ติดใจข้องแวะไรๆในตัวเขาไปเสีย ไม่ติดข้องใจผูกใจกับเขาอีก เป็นการละความผูกความสุขสำเร็จใดๆของตนเอาไว้กับผู้อื่น
- เมื่อเราไม่ติดข้องใจไรๆในเขาแล้ว ได้แผ่จิตไปสู่เขาอย่างนี้แล้ว จิตเราก็จะไม่มีความร้อนรุ่ม เขาก็ได้พ้นทุกข์จากการละเวรภัยอันเบียดเบียนของเรานี้แล้ว เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อเห็นเขาเป็นสุขพ้นจากทุกข์ไปได้แล้ว จิตเราย่อมยังความผ่องใสยินดีโดยความไม่ติดใจไรๆที่เราได้มีความกรุณาเอื้อเฟื้อสุขและกุศลนี้ๆให้แก่เขาได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้นแล้ว

 - ข./๓ เมื่อเรามองเขาด้วยโทสะ คือ เมื่อทั้งเราและเขาต่างตั้งแง่ความไม่พอใจยินดีโกรธแค้นเคืองต่อกันทั้ง 2 ฝ่าย

- ให้พึงละจิตอันคับแค้น อัดอั้น ไม่พอใจยินดีนั้นๆไปเสีย โดยพึงระลึกว่าเวลาที่เรานั้นคอยจ้องที่จะจับผิดเอาชนะใครเราต้องเหนื่อยลำบากมากไหม ยิ่งอยากจะชนะคนที่เราเกลียดที่เราทะเลาะเบาะแว้งด้วยนั้น เรายิ่งร้อนรุ่มร้อนรนใจแค่ไหน เวลาที่ไม่อาจจะทำร้ายให้เขาฉิบหายได้ หรือ ไม่สามารถโต้ตอบใดๆเขาได้ ก็ผูกเจ็บแค้นทุรนทุราย ดิ้นรนหมกมุ่นหาทางจะเอาคืนให้ได้ เวลาทำร้ายเขาได้แล้วก้อต้องมาคอยหาวิธีต่างๆที่จะทำร้ายเขาต่อ หรือ ต้องคอยหวานระแวงกลัวที่เขาจะทำร้ายตนคืนจนเป็นความอัดอั้นตันใจ คับแค้นใจ ร้อนรุ่ม ร้อนรน เดือดเนื้อร้อนใจตนเอง
- ลองหวนระลึกคำนึงถึงดูในมุมมองอีกด้านที่กลับกันคิดดูว่าเวลาที่เรามีชีวิตอยู่กับญาติสนิท มิตรสหายที่รักใคร่นั้น เราต้องมาร้อนรุ่มร้อนรนกายใจไหม เราต้องคอยมาหาเรื่องที่จะทำให้ชีวิตเขาวิบัติชิบฉายจนวุ่นวายสมองไหม เราต้องมาคอยระแวงว่าเขาจะมาทำร้ายเราบ้างไหม เราต้องมาคอยคิดกันท่าระแวงหาทางป้องกันตนเองเพราะกลัวตนเองจะโดนทำร้ายโดยไม่รู้ตัวบ้างไหม หรือ กลัวว่าจะสู้เขาไม่ได้บ้างไหม
- ด้วยเหตุดังนี้หากเราเป็นมิตรกับผู้คนให้มากมันจะมีค่าและเป็นสุขมากแค่ไหน ดั่งภาษิตจีนที่ว่า “มีมิตรห้าร้อยคน ยังนับว่าน้อยเกินไป มีศัตรูหนึ่งคน ยังนับว่ามากเกินไป”
  ดังนั้นเราจึงควรปารถนาที่จะเป็นมิตรที่ดีกับคนทั้งหลายให้มากที่สุด การเป็นมิตรที่ดีนั้นไม่ใช่ว่าต้องให้เขามาทำดีกับเราก่อน แต่เราสามารถที่จะแสดงความเอ็นดูปารถนาดีมีน้ำใจช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นได้ตลอดเวลาไม่จำกัดกาล และ ไม่จำกัดบุคคลหรือสัตว์ใดๆ
- ทีนี้ให้พึงหวนระลึกตรึกตรองถึงว่า เพราะเราผูกจองเวรเขา คือ ผูกความโกรธเจ็บแค้นไรๆกับเขา และ ผูกพยายาบาทอาฆาตเบียดเบียนต่อเขา คือ หมายทำร้ายเขาให้ฉิบหายไปนั่นเอง โดยที่เราไม่รู้จักปล่อยวาง เป็นเหตุทำให้เราเสพย์ความทุกข์ระทมกายและใจ อัดอั้นคับแค้น ทรมาน ไม่สบายกายไม่สบายใจ ร้อนรุ่มร้อนรนใจ เดือดเนื้อร้อนใจอย่างไม่เว้นว่าง นี่เรียกว่าถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔+ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความผูกเวร พยาบาทใดๆได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- จากนั้นให้เราพึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อเขาอยากให้เขาเป็นสุขผ่องใสปราศจากเวรภัยอันตรายอันทำให้เขาร้อนรุ่มกายใจ เจริญแผ่เมตตาจิตต่อเขาด้วยรำลึกว่าที่เราเป็นทุกข์ร้อนรุ่มใจอยู่ตลอดเวลานั้นก็เพราะเรามีจิตผูกเวรพยาบาทอยู่ ก็เมื่อเราสลัดจากความผูกเวรพยาบาททิ้งไปแล้ว ก็ยังความผ่องใสเบิกบาน สงบเบาสบายกายใจ ไม่ตรึงหนักกายใจ ไม่ขุ่นมัวใจให้เกิดขึ้นแก่เราในบัดนี้แล้ว เราก็พึงเจริญเมตตาจิตแผ่ให้เขาไปด้วยพึงมีเจตนาว่าเรานั้นจักเป็นมิตรที่ดีกับเขาจักมีความเอ็นดูมีน้ำใจช่วยเหลือเอื้อเฟื่อต่อเขา ไม่ถือโทษโกรธเขา สิ่งใดๆที่เคยทำไม่ดีต่อกันที่ผ่านมาแล้วมันก็เป็นอดีตไปแล้ว เป็นอดีตอันไม่สามารถนำประโยชน์สุขมาถึงแก่ตนเองและผู้อื่นได้ ดังนั้นละอดีตอันเศร้าหมองนั้นๆเสีย อยู่ในปัจจุบันอันประกอบไปด้วยกุศลประโยชน์สุขของเรานี้ แล้วแผ่ความปารถนาดีของเราส่งไปให้เขาขอให้เขานั้นได้เป็นสุข พ้นจากทุกข์ กิเลส กาม ราคะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มกายใจทั้งสิ้นนี้ ด้วยอยากให้เขานั้นได้เจอความสุขอันดีงามอย่างที่เรานั้นได้พบเจออยู่นี้ มีความเอื้อเฟื้อเจตตนาที่จะสงเคราะห์ให้เขานั้นได้พ้นจากทุกข์ ด้วยการสละบุญกุศลธรรมอันที่เราได้รับมานี้และบุญอันใดที่เราได้สะสมมาดีแล้วนี้ให้เขาไปเป็นเมตตาทาน เพื่อให้เขานั้นพ้นจาก กาม ราคะ โทสะ โมหะ เครื่องร้อนรุ่มใจทั้งสิ้นนี้ ขอให้กายใจเขามีแต่ความสุขแจ่มใสเบิกบานอันประกอบด้วยกุศลปราศจากความผูกเวรพยาบาท อันเป็นเหตุให้ยังความสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานเกิดขึ้นแก่กายใจเขาเหมือนดั่งที่เราเป็นสุขผ่องใสจากการไม่ผูกเวรพยาบาทอยู่ตอนนี้ ขอให้เขานั้นจงได้เสวยผลบุญที่เรานั้นได้บำเพ็ญเพียรด้วย กาย วาจา ใจ มาดีแล้วทั้งสิ้นนี้เทอญ
- เมื่อเราไม่ติดข้องใจไรๆในเขาแล้ว ได้แผ่จิตไปสู่เขาอย่างนี้แล้ว จิตเราก็จะไม่มีความร้อนรุ่ม เขาก็ได้พ้นทุกข์จากการละเวรภัยอันเบียดเบียนของเรานี้แล้ว เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อเห็นเขาเป็นสุขพ้นจากทุกข์ไปได้แล้ว จิตเราย่อมยังความผ่องใสยินดีโดยความไม่ติดใจไรๆที่เราได้มีความกรุณาเอื้อเฟื้อสุขและกุศลนี้ๆให้แก่เขาได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้นแล้ว
- ส่วนเขาจะยังคงมีความขุ่นข้องใจใน กาม ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านี้มากอยู่เพียงใด มันก็เป็นไปตามอกุศลกรรมใดของเขาที่สร้างมาแล้วนั้นเอง เราก็ต้องมีความวางเฉยต่อเขาด้วยใจกุศลเพราะติดใจข้องแวะไรๆไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆนอกจากทุกข์

 - ข./๔ เมื่อเรามองเขาด้วยโทสะ คือ เมื่อเรามีเรื่องทะเลาะบาดหมางกับบุคคลอันเป็นที่รัก หรือ คนที่มีไมตรีต่อกัน

- ให้พึงละจิตอันขุ่นข้องมัวหมองใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ ไม่พอใจยินดีนั้นๆไปเสีย เพราะยิ่งร้อมรุ่มเท่าไหร่ก็ยิ่งส่งผลให้การกระทำร้ายๆจนทำให้เกิดการสูญเสียอันไม่สามารถหวนคืนกลับมาได้อีกมากเท่านั้น
- โดยพึงหวนระลึกถึงสิ่งดีๆที่เขาได้เคยมีเคยทำให้เราสุขกายสบายใจ สิ่งที่ดีงามที่เขาทำให้เราเป็นสุข สิ่งที่ดีอันที่เขาทำให้เกิดประโยชน์แก่เรา ซึ่งเราเองก็ต้องเคยมีพลาดพลั้งทำให้เขาต้องเดือดเนื้อร้อนใจบ้างเช่นกันเขาก็คงต้องมีความขุ่นข้องมัวหมองใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ ไม่พอใจยินดีอย่างเรานี้เช่นกัน
- (ยิ่งถ้าเป็น บิดา มารดา บุพการีทั้งหลาย เรายิ่งต้องควรระลึกถึงบุญคุณท่านที่ให้กำเนิดเลี้ยงดูเราจนเติบใหญ่เป็นห่วงเป็นใยคอยดูแลรักษา บางท่านมีฐานะไม่ดีต้องอดมื้อกินมื้อเพื่อเอาเงินให้ลูกไว้ซื้อกินซื้อใช้ อย่างนี้ยิ่งควรรำลึกถึงบุญคุณท่านทุกขณะจิต ไม่ต้องไปรำลึกถึงเทวดาที่ไหนเพราะเรานั้นมีพระพรหม มีพระอรหันต์อยู่ที่บ้านอยู่แล้ว ให้รำลึกถึงคุณแห่งความเมตตาเอ็นดูปราณี กรุณาเอื้อเฟื้ออนุุเคราะห์ ทานอันท่านสละให้เราโดยไม่หวังสิ่งใดอบแทน มุทิตาเป็นสุขยินดีไปกับเราเมื่อเราเป็นสุขสำเร็จดังเราหวัง อุเบกขาวางใจไว้กลางๆปล่อยวางไม่ถือโทษต่อเราด้วยใจเอ็นดูเเอื้อเฟื้อที่ท่านมีต่อเรา ยิ่งหากท่านเข้าวัดปฏิบัติธรรม ยิ่งควรระลึกถึงศรัทธา ศีล สมาธิ สุตะที่ท่านมี แล้วมองย้อนดูตัวเราว่า เราได้มีได้ทำอย่างท่านหรือยัง ขาดตกส่วนไหนให้เรารีบเจริญตามท่าน นี่จัดเป็น "เทวตานุสสติ" ด้วยเช่นกัน เป็นการดูข้อวัตรปฏิบัติของเทวดา หรือ พรหม หรือ พระอรหันต์ในบ้านที่ยังชีพอยู่ที่เรามองเห็นได้ ไม่ต้องไปมองหาเทวดาที่เรามองไม่เห็นให้ตรึกนึกปรุงแต่งลำบากจิต แต่ไม่ใช่ว่าห้ามให้ระลึกถึงเทวดาที่เรามองไม่เห็นบนสวรรค์ชั้นฟ้านะครับ เพราะการระลึกถึงคุณเทวดาว่าทำบุญมาอย่างไร ถึงได้อยู่ในสวรรค์ชั้นนั้นชั้นนี้เพื่อให้เราปฏิบัติตามเป็นเทวตานุสสติที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว)
- เมื่อเขาหรือท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็ทำให้เราเป็นสุขกายสบายใจมาเป็นอันมากแล้ว เราจะผูกใจเจ็บต่อท่านเหล่านั้นไปก็เป็นเวรกรรม คือ ความเจตนาผูกความโกรธแค้นทางใจอันเป็นบาป เป็นกิเลสทุกข์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆนอกจากความเดือดเนื้อร้อนใจ ซ้ำยังเป็นการเห็นแก่ได้อยู่ฝ่ายเดียวที่ต้องให้เขาหรือท่านเหล่านั้นมาคอยเอาใจใส่ทำให้เราเป็นสุขพอใจอยู่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
- ดังนั้นแล้ว เมื่อเขาหรือท่านเหล่านั้นก็ทำและช่วยเหลือเราให้มีความสุขมามากพอสมควรแล้ว เราก็ควรที่เราจะตอบแทนทำให้คืนบ้าง ด้วยการละความติดใจขุ่นมัวข้องแวะไรๆนั้นไปเสีย เพื่อให้เลิกขุ่นเคืองใจกัน ด้วยจิตอันปารถนาดีอยากให้เขาเป็นสุขเหมือนที่เขาได้ทำให้เราเป็นสุขกายสบายใจฉันนั้น
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔ +ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความผูกเวร พยาบาทใดๆได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- จากนั้นให้เราพึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อเขาหรือท่านเหล่านั้น อยากให้เขาหรือท่านเหล่านั้นเป็นสุขผ่องใสปราศจากความขุ่นมัวขัดเคืองใจอันทำให้เขาหรือท่านเหล่านั้นร้อนรุ่มกายใจ โศรกเศร้าอัดอันคับแค้นกายใจ ขอให้เขาหรือท่านเหล่านั้นหลุดพ้นจากกิเลส กาม ราคะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งทุกข์อันร้อนรุ่มกายใจทั้งสิ้นนี้ มีความเอื้อเฟื้อเจตตนาสงเคราะห์และสละให้เขาหรือท่านเหล่านั้นได้พ้นทุกข์ ด้วยการสละให้ซึ่งบุญกุศลธรรมอันที่เราได้รับมานี้และที่สะสมมาดีแล้วนี้ ให้เขาหรือท่านเหล่านั้นไปเป็นเมตตาทาน เพื่อให้เขาหรือท่านเหล่านั้นได้พ้นจาก กาม ราคะ โทสะ โมหะ เครื่องร้อนรุ่มใจที่กลุ้มรุมอยู่ทั้งสิ้นนี้ไป ขอให้กายใจเขาหรือท่านเหล่านั้นมีแต่ความสุขแจ่มใสเบิกบานอันประกอบด้วยกุศลปราศจากกิเลสทุกข์ทั้งปวง ขอให้เขาหรือท่านเหล่านั้นนั้นจงได้เสวยผลบุญที่เรานั้นได้บำเพ็ญเพียรด้วย กาย วาจา ใจ มาดีแล้วทั้งสิ้นนี้เทอญ
- เมื่อเราไม่ติดข้องใจไรๆในเขาหรือท่านเหล่านั้นแล้ว ได้แผ่จิตไปสู่เขาหรือท่านเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว จิตเราก็จะไม่มีความร้อนรุ่ม เขาหรือท่านเหล่านั้นก็ได้พ้นทุกข์จากการละเวรภัยอันเบียดเบียนของเรานี้แล้ว เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อเห็นเขาหรือท่านเหล่านั้นเป็นสุขพ้นจากทุกข์ไปได้แล้ว จิตเราย่อมยังความผ่องใสยินดีโดยความไม่ติดใจไรๆที่เราได้มีความกรุณาเอื้อเฟื้อสุขและกุศลนี้ๆให้แก่เขาหรือท่านเหล่านั้นได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้นแล้ว
- ส่วนเขาหรือท่านเหล่านั้นจะยังคงมีความขุ่นข้องใจใน กาม ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เหล่านี้มากอยู่เพียงใด มันก็เป็นไปตามอกุศลกรรมใดๆของเขาหรือท่านเหล่านั้นที่สร้างมาแล้วนั้นเอง เราก็ต้องมีความวางเฉยต่อเขาหรือท่านเหล่านั้นด้วยใจกุศลเพราะติดใจข้องแวะไรๆไปก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆนอกจากทุกข์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2014, 09:46:38 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:37 pm »
0

๑.๓.๓ การแผ่เมตตาเจาะจงไปสู่บุคคลใด สัตว์ใด ที่เรานั้นมีความร้อนรุ่มกายใจต่อเขาตามความรู้สึกต่างๆที่เราพบเจอในชีวิตประจำวัน ทำได้ดังนี้

 - ข./๕ โดยปราศจากเวรภัยอันตรายใดๆทั้งปวอเรามองเขาด้วยโทสะ คือ เมื่อเรามีความสูญเสีย พรัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก ที่เคารพนับถือ (ทำกาละแล้ว คือ ตายแล้ว)

- เป็นปกติธรรมดาที่ปุถุชนอย่างเราย่อมยังความโศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างนี้มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา คือ ไม่คงอยู่นานย่อมสูญสลายไปไม่ด้วยกาลเวลา ไม่ก็ด้วยสภาพแวดล้อม ไม่ก็ด้วยการดูแลรักษา ไม่ก็ด้วยสภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน ไม่ก็ด้วยความตาย ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ ซึ่งเราไม่สามารถไปบังคับจับต้องให้มันคงอยู่หรือเป็นไปดั่งที่ใจเราต้องการปารถนาได้ จึงได้ชื่อว่ามัน ไม่มีตัวตน ดังนี้ที่เป็นเช่นนี้ เพราะมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความปารถนาเอาสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราย่อมนำความฌศร้าหมองใจมาให้เราเสมอ แม้ท่านที่ล่วงลับไปแล้วนั้นท่านก็คงอยากเห็นเรานั้นทำบุญปฏิบัติในกุศลทั้ง กาย วาจา ใจ มากกว่าจะมาโศรกเศร้าเสียใจ ยิ่งเราปฏิบัติเข้าถึงธรรมมากเท่าไหร่บุญก็ยิ่งมากพอที่จะถ่ายทอดไปให้ท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว เมื่อท่านได้รับผลบุญนั้นความแช่มชื่นจิตย่อมมีแก่ท่านเหล่านั้น ความกตัญญู กตเวทีย่อมมีแก่เรา หรือ ความทำหน้าที่ของ สามี ภรรยา ลุง ป้า น้า อา บุตรหลาน ญาติสนิท มิตสหาย ย่อมบริบูรณ์เป็นอันดีแก่เรานี้ แม้ผู้ที่ละโลกนี้ไปแล้วก็ได้รับซึ่งบุญนั้น เผลอๆปฏิบัติได้ถึงอภิญญาสามารถไปหาท่านเหล่านั้นที่ละโลกนี้ไปแล้วเมื่อไหร่ก็ได้
- ดังนี้แล้วเราคงเห็นแยหกแยะได้ว่า ความเสียใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน กับ การเร่งปฏิบัติธรรมเพื่อให้มีบุญบารมีแผ่ไปให้ท่านแม้ละโลกนี้ไปแล้วก็ได้รับผลบุญเหล่านั้น อันไหนควรเจริญให้มากกว่ากัน
- ส่วนตัวผมเอง บิดาผู้ประเสริญผู้ประกอบไปด้วยกุศล ศีล สมาธิ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแก่บุตรหลานและผู้อื่นอย่างไม่มีประมาณพึ่งละโลกนี้ไปเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556 ผมเสียใจมากแม้บวชหน้าไฟกรรมฐานมาก่อนสวดประชุมเพลิงท่านก็ยังร่ำไห้อยู่ ก็จนเมื่อฝันเห็นท่าน ท่านก็ไม่อยากให้ผมมานั่งเศร้าหมองใจอยู่ ให้ปล่อยวางไปเสีย ผมจึงละวางไว้แล้วก็บังเกิดสติขึ้นมีความคิดแวบเข้ามาว่า แม้ท่านยังชีพอยู่ผมได้กตัญญู กตเวทีต่อท่านไปแล้ว แม้น้อยมาก ยังไม่พอที่ผมปารถนาไว้ แต่เมื่อท่านละโลกนี้ไปแล้ว ผมจักเอาความเศร้าหมองไปให้ท่านชุดรั้งท่านให้ลงมาลำบากทำไมเล่า มัวแต่บอกให้ท่านมาหา มาห่วงบ้างคิดถึงท่านก็ไม่มีประโยชน์นอกจากฉุดรั้งท่านลงมาสู่ความเศร้าหมองใจที่ผมมีอยู่ เมื่อรู้ดังนี้แล้วผมจึงตั้งเจตนากลับมากรรมฐานใหม่หลังจากที่สมาธิอันงามผมเสื่อมหายไปเมื่อประมาณ 7 ปีก่อน โดยจิตปารถนาว่าจะนำบุญที่ปฏิบัติมาดีแล้ว บุญที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาให้ถูกต้องและตรงตามจริง บุญที่ทำให้คนหันมาศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนาด้วยเห็นข้อปฏิบัติที่ทำได้อย่างเรียบง่ายแต่ประกอบไปด้วยประโยชน์ บุญที่ทำให้คนศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ บุญที่ผมช่วยเหลือให้คน สัตว์ สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลายได้รับบุญกุศลและพ้นจากทุกข์นี้ ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ขอให้บุญเหล่านั้นมีมากจนหาประมาณไม่ได้ ถ่ายทองส่งไปให้ท่านได้รับจนถึงบุพการีแลบุคคลอันเป็นที่รักทั้งหลายของผมที่ได้ละโลกนี้ไปแล้วให้ได้อนุโมทนารับบุญทั้งหมดนี้ และ หวังว่าจะเข้าถึงซึ่งอภิญญาได้ไปหาท่านเองโดยที่ไม่ต้องให้ท่านลำบากมาเห็นผมให้ยาก นี่จะเห็นว่าการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา มีกุศลธรรมอันดีคือ ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน สมาธิ สัมปชัญญะ สติ ปัญญา ปฏิบัติตามธรรมอันดีที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เรามีกาย วาจา ใจ ผ่องใส เบิกบาน เป็นกุศล อันปราศจากกิเลสทุกข์นี้มีคุณค่า ประโยชน์สุขมากกว่า การที่จะมานั่งเศร้าหมองใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ให้บิดาท่านที่ละโลกนี้ไปแล้วนั้นต้องมัวหมอง
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔ +ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความผูกเวร พยาบาทใดๆได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- จากนั้นให้เราพึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อท่านที่ละโลกนี้ไปแล้วด้วยอยากให้ท่านเป็นสุขผ่องใสปราศจากความเศร้าหมองใจ ขอให้ท่านหลุดพ้นจากกิเลสทุกข์ คือ กาม ราคะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มใจทั้งสิ้นนี้ ขอให้ท่านอย่าได้มีห่วง มีเวนผูกแค้นเคืองใคร ไม่พยายาทเบียดเบียนใคร อันเป็นผลยังกุศลจิตอันผ่องใสให้แก่ท่านมีความสุขแจ่มใสเบิกบาน ขอให้ท่านนั้นอย่าได้มีความทุกข์กายใจจงอยู่ด้วยความมีกุศล ได้รู้ธรรมอันดีของพระพุทธเจ้าและปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ได้แม้อยู่ในโลกนั้น ขอให้ท่านมีความสุขกายใจรอพ้นจากทุกข์และภ้ยอันตรายทั้งปวง มีความเอื้อเฟื้อเจตนาสงเคราะห์ให้ท่านนั้นได้พ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวง ด้วยการสละบุญกุศลธรรมอันที่เราได้รับมานี้ และ ที่เราสะสมมาดีแล้วนี้ให้ท่านไป ปารถนา่ให้ท่านนั้นมีสุข แจ่มใส เบิกบานคงอยู่ไม่เสื่อมไป มีบารมีธรรมอันดีงามพอกพูนขึ้นแก่ท่าน ขอให้ท่านมีความสุขและสมบัติไรๆที่ท่านมีจงคงอยู่แก่ท่านไม่เสื่อมไป ให้ท่านได้เสวยผลแห่งกุศลกรรมอยุ่บนสวรรค์ชั้นพรหมขึ้นไปอันเป็นนิรัยดร์ และ ขอให้ท่านได้ถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้..เทอญ ด้วยเดชแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และ ด้วยเดชแห่งบุญใดที่เราได้สร้างสะสมมาดีแล้วทั้งหมดนี้
- เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ๆไปทุกวันย่อมยังให้จิตเราเป็นกุศล ผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข สงบนุ่มเบากายใจ ปราศจากกิเลสทุกข์เป็นอันมาก และ ทำให้ท่านผู้ละโลกนี้ไปแล้วไม่ต้องมาอยู่ในความเศร้าหมองใจของเราอีก ด้วยเหตุดังนี้

 - ข./๖ เมื่อเรามองเขาด้วยโทสะ คือ เมื่อเรามีความสูญเสีย พรัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก(เลิกรากันไป)

- ให้พึงละจิตเศร้าหมองใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพันไรๆเหล่านั้นไปเสีย พึงรำลึกถึงคำที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนด้วยสัจธรรมอันแท้จริงไว้ว่า คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุด ไม่มีใครล่วงพ้นสิ่งนี้ไปได้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งใดคงอยู่นานต้องเสื่อมโทรมและสูญสลายไป ไม่ด้วยกาลเวลาก็สภาพแวดล้อม หรือ การดูแลรักษา ไม่ด้วยสภาวะธรรมที่ปรุงแต่งภายในก็ด้วยความตาย ไม่มีตัวตนอันทึี่เราจะไปบังคับจับต้องฉุดรั้งให้มันเป็นไปดั่งใจได้
- เพราะเขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจึงไม่สามารถจะบังคับให้เขาคงอยู่กับเราได้ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ต่างก็มีวีถีทางความเป็นไปที่แตกต่างกันไป เราจักพึงไปปารถนาเอาสิ่งไรๆที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราได้เล่า พึงเจริญรู้สัจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า ยัมปิจฉังนะละภะติ ตัมปิทุกขัง ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ยิ่งปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่ของเรามากเท่าไหร่ก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น ปารถนาร้อยก็ทุกข์ร้อย
- ให้พึงระลึกเสียว่าเราเองก็ได้มีความพลาดพลั้งไปทำร้ายเขาให้เขาต้องเศร้าโศรกเสียใจมามาก ดูแลรักษาเขาไว้ไม่ดีพอ เพราะไม่มีสิ่งใดในโลกนี้อยากเจอกับความทุกข์หรือความเลวร้ายในชีวิต หรือ แม้แต่เราดูแลเขามาอย่างดีเต็มกำลังเราแล้ว แต่ความพอใจของคนมีไม่เท่ากันมันอาจจะไม่เพียงพอให้เขานั้นพอใจยินดีกับสิ่งที่เรามีให้เขา หากเรารักเขาจริงเราก็ควรมีจิตปารถนาดีหวังดีเห็นใจอนุเคราะห์สละปล่อยความสุขของตนเองที่จะได้รับสละให้เขาไปพบเจอชีวิตที่ดีสิ่งที่ดีงามสำหรับเขาเป็น ทานอันประเสริฐ เป็นการให้ชีวิตใหม่ที่ทำให้เขาเป็นสุขไม่ต้องมาทุกข์กายใจร้อนรนกายใจอีกต่อไป สละให้ปล่อยเขาไปเจอชีวิตที่ดีที่เขาพอใจจะเป็นจะอยู่ ให้เป็น "อภัยทาน คือ การสละให้เพื่อให้เขาได้มีชีวิตที่เป็นสุข อดไว้ซึ่งโทษและความผูกเวรภัยพยาบาทใดๆต่อเขา เพื่อให้เขาได้มีได้ใช้ชีวิตอันเป็นสุขตามที่เขาต้องการ เมื่อเราได้สละสิ่งไรให้เขาไปแล้วและได้ปล่อยให้เขาได้เดินไปตามทางเขาปารถนายินดีไว้แล้ว เราก็ไม่ควรจะมาเสียดายเสียใจอยากได้คืนในภายหลัง เพราะเป็นสิ่งที่เราได้สละให้ไปแล้วด้วยหวังแค่ให้เขาได้รับประโยชน์สุขไรๆจากการสละให้นั้นของเรา
- แม้วันนี้ยากที่เราจะทำใจ หรือ เขาไม่อาจจะรับรู้ความปารถนาดีของเราได้ แต่สิ่งที่เราให้ไปจะไม่สูญเปล่าอย่างแน่นอนเพราะเราได้ให้เขาไปด้วยใจที่รักและเอื้อเฟื้อต่อเขาโดยไม่หวังให้เขากลับมาตอบแทนสิ่งใดๆคืนต่อเรา เมื่อเราสละให้เขาไปแล้วเราจักไม่มีความเสียใจเสียดายในภายหลัง เพราะเป็นสิ่งประเสริญที่ผู้ที่มีจิตสันดานของพระอริยะเจ้าเท่านั้นที่จะทำได้ ดังนั้นสิ่งที่เราทำไปนี้แม้หมู่สัตว์ก็มิอาจติเตียน แม้เทวดาก็เคารพสรรเสริญ
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔+ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความขุ่นมัวขัดเคืองใจ ความเศร้าหมองใจใดๆได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- พึงตั้งจิตเจริญขึ้นด้วยความปารถนาดีต่อเขาอยากให้เขาเป็นสุขผ่องใสปราศจากเวรภัยอันตรายอันเป็นเครื่องเศร้าหมองกายใจ เจริญแผ่เมตตาจิตต่อเขายิ่งรักเขามาก เราก็ควรที่ปารถนาดีต่อเขาอยากให้เขาเป็นสุขให้มาก พึงระลึกเสียว่าการสละให้นี้ของเรา เป็นสิ่งเดียวที่เราพอจะทำให้เขาได้ในเวลานี้ แทนความรักยิ่งอันจริงใจที่เรานั้นมีให้เขา ดังนั้นเราจักพึงอดโทษไม่ผูกเวรพยาบาทอันใดๆไว้แก่เขา แล้วสละให้เขาไปมีความสุขอันทำให้เขาแช่มชื่นยินดีไม่ต้องมาทุกข์ลำบากอีก
- พึงตั้งเจตนามั่นมีความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันสุขอันเป็นกุศลที่เราเจริญมาดีแล้วนี้ของเราให้แก่เขาเพื่อให้เขาได้พ้นจากทุกข์อันรุ่มร้อน หม่นมัวหมอง เศร้าหมองใจ สละให้ซึ่งบุญกุศลทั้งปวงที่เราสะสมมาดีแล้วทำมาดีแล้วนี้ให้แก่เขาด้วยหวังให้เขาได้เป็นสุขแจ่มใสเบิกบานกายและใจ ปราศจากความร้อนรุ่มเศร้าหมองใจ ปราศจากเวรภัยอุปสรรคอันตรายใดๆทั้งปวง โดยไม่คิดหวังสิ่งใดๆจากเขาตอบแทนคืน มีความปารถนาที่จะเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ สงเคราะห์สิ่งที่ดีงามให้แก่เขาเพื่อให้เขาได้หลุดพ้นจากทุกข์เครื่องร้อนรุ่มใจที่เราเอาไปผูกร้อยรัดเขาไว้อยู่นี้เท่านั้น
- แล้วพึงเพิกถอนความเศร้ามัวหมองใจอันใดที่จะพึงมีแก่เราออกทิ้งไปเสีย เป็นทานอันเราสละความผูกใจติดใจข้องแวะไรๆในตัวเขาแล้ว ไม่ติดข้องใจผูกใจกับเขาอีก เป็นการสละให้ด้วย "อภัยทาน" ซึ่งผลแห่งทานนี้แม้เราและเขายังชีพอยู่ก็เป็นสุขกายและใจ แม้ตายไปก็ไม่มีบ่วงเวรผูกใจไว้ ด้วยเราได้สละให้มาดีแล้ว
- เมื่อเราไม่ติดข้องใจไรๆในเขาแล้ว ได้แผ่จิตไปสู่เขาอย่างนี้แล้ว จิตเราก็จะไม่มีความร้อนรุ่ม เขาก็ได้พ้นทุกข์จากการละเวรภัยอันเบียดเบียนของเรานี้แล้ว เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อรู้เห็นว่าเขาเป็นสุขพ้นจากทุกข์ได้เป็นสุขสำเร็จผลตามใจเขาปารถนาแล้ว จิตเราย่อมยังความความผ่องใสแช่มชื่นใจอันปราศจากอามิสเครื่องล่อใจและความติดใจข้องแวะใดๆต่อเขาอีก ยังความอิ่มเอิบใจยินดีที่เราได้มีความเมตตาเอ็นดูปารถนาดีกรุณาเอื้อเฟื้อสุขและกุศลนี้ๆให้แก่เขาได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้นแล้ว

 - ข./๗ เมื่อเรามองเขาด้วยโทสะ คือ เมื่อเราได้เลิกรากับบุคคลอันเป็นที่รัก แล้วมีคนใหม่ผ่านเข้ามาในชีวิตแล้ว แต่ใจยังคงอาลัยอาวรณ์คนเก่ามากอยู่ ทำให้ยังตั้งความไม่พอใจยินดีไว้กับคนใหม่อยู่มาก เรียกได้ว่าเอาคนใหม่มาทดแทนส่วนที่ขาดหายไปเฉยๆ

- เหตุที่เรามีความติดใจข้องแวะให้ขุ่นมัวใจไรๆกับคนใหม่นั้น นั่นเพราะเราตั้งความสำคัญมั่นหมายพอใจยินดีในแบบที่คนรักเก่าของเราเป็นไว้มาก เมื่อกระทำการไรๆที่แตกต่างกันนิดหน่อยหรือแม้เหมือนกันแต่ไม่ใช่คนๆนั้นทำเราก้อขัดเคืองใจแล้ว แม้คนใหม่เขาจะทำเพื่อเราแค่ไหนเราก็ยังขัดใจอยู่ดี นั่่นเพราะ เราไม่ยอมรับความจริงว่าเรื่องระหว่างคนรักเก่าของเรานั้นมันจบลงไปแล้ว และ ไม่ยอมเลิกละความพอใจยินดีที่มีต่อคนเก่านั้นทิ้งไป
- ลองหวนพิจารณาดูสิว่า คนเราแม้หน้าเหมือนกันจิตใจก็ยังต่างกันเลย คนเราแม้หน้าตาไม่งดงามแต่จิตใจดีก็มี คนหน้าตาดีจิตใจไม่ดีก็มี ทั้งๆที่เป็นคนเหมือนกันเพศเดียวกัน ความคิดความรู้สึกก็ยังต่างกันเลย ลองคิดมุมย้อนกลับกันดูไหมหากว่าคนใหม่เรานี้เขาก็เคยต้องมีคนผ่านเข้ามาคบหาบ้างในชีวิตเผลอๆอาจจะเป็นคนที่ดีมากด้วย แล้วอาจจะเลิกรากันไปเพราะเหตุผลบางประการก็เป็นได้ แล้วเรานั้นมาคบหากับเขาแล้วได้ทำให้ดีเท่าคนก่อนของเขาหรือไม่ เราควรค่าให้เขารักหรือไม่ ดังนั้นแล้วเราก้ต้องละความยึดมั่นถือมั่นในความพอใจยินดีที่มีต่อคนรักเก่าเราเสียว่าเป้นอดีตไปแล้ว เราควรอยู่ในปัจจุบันที่มีคนใหม่นี้แล้วดูแลเขาให้ดีอย่าขาดตกบกพร่องดังนี้
- เมื่อรู้ว่าสิ่งใดที่เราควรละและสิ่งใดที่เราควรทำควรเจริญให้มากแล้ว ให้เราพึงตั้งจิตแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากโดยตั้งจิตแผ่ด้วยใจปารถนาให้เรานั้นเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจแจ่มใสเบิกบาน ปราศจากความทุกข์ สงัดจากกามราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เครื่องแห่งความร้อนรุ่มร้อนรนใจใดๆเหล่านี้ทั้งสิ้นไป ตั้งจิตแผ่ให้ตนเองด้วยความปารถนาให้ตนนั้นเป็นผู้ไม่ผูกเวรไม่ผูกโกรธไม่ผูกแค้น ไม่ผูกพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ไม่มีความเบียดเบียนหมายที่จะทำลายให้เขาฉิบหาย ขอให้เราเป็นผู้มีจิตเป็นสุขกุศลแจ่มใสเบิกบานอันสลัดจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงแล้ว ขอให้เรานั้นจงเป็นผู้ มีอยู่ คงอยู่ รักษาอยู่ ซึ่งกายวาจาใจอันเป็นไปในกุศล ศีล+พรหมวิหาร ๔+ทาน+สมาธิ+สัมปชัญญะ+สติ+ปัญญา จนเข้าถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ฯลฯ
   เมื่อแผ่เมตตาให้ตนเองจนสงบใจได้แล้วความร้อนรุ่มใจย่อมถูกสลัดทิ้งไปเพราะความขุ่นมัวขัดเคืองใจ ความเศร้าหมองใจใดๆได้ถูกขจัดทิ้งหมดแล้วในใจเราในขณะนี้ ความผ่องใสจิตย่อมเกิดขึ้น
- ให้พึงระลึกถึงความปารถนาดีไรๆก็ตามที่เรามีให้กับคนรักเก่า หรือ อยากจะทำสิ่งที่ดีงามในส่วนที่เราทำตกหล่นขาดสูญไปต่อคนรักเก่านั้นว่าเป็นอย่างไร แล้วพึงมองคนรักใหม่ของเรานี้ด้วยความเอ็นดูปารถนาดีเห็นใจเอื้อเฟื้ออยากให้เขาเป็นสุขชื่นบานกายใจต่อคนรักใหม่อย่างนั้นไม่ต่างกัน
- พึงตั้งเจตนามั่นมีความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันสุขอันเป็นกุศลที่เราเจริญมาดีแล้วนี้ของเราให้แก่เขาเพื่อให้เขาได้พ้นจากทุกข์อันรุ่มร้อน หม่นมัวหมอง เศร้าหมองใจ สละให้ซึ่งบุญกุศลทั้งปวงที่เราสะสมมาดีแล้วทำมาดีแล้วนี้ให้แก่เขาด้วยหวังให้เขาได้เป็นสุขแจ่มใสเบิกบานกายและใจ ปราศจากความร้อนรุ่มเศร้าหมองใจ ปราศจากเวรภัยอุปสรรคอันตรายใดๆทั้งปวง โดยไม่คิดหวังสิ่งใดๆจากเขาตอบแทนคืน มีความปารถนาที่จะเอื้อเฟื้ออนุเคราะห์ สงเคราะห์สิ่งที่ดีงามให้แก่เขาเพื่อให้เขาได้หลุดพ้นจากทุกข์เครื่องร้อนรุ่มใจที่เราเอาไปผูกร้อยรัดเขาไว้อยู่นี้ มีเจตนาคือความประสงค์ที่จะอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อให้คนรักใหม่ของเราดั่งคนรักเก่าที่เรานั้นให้ความรักสุดใจนั้น สละความยึดมั่นถือมั่นอันเราตั้งความสำคัญมั่นหมายในใจเอาไว้กับคนรักเก่าทิ้งไปเสีย พึงอยู่กับปัจจุบันที่เรามีคนใหม่นี้อยู่ด้วยจิตเอ็นดูต่อเขาคนที่เป็นปัจจุบันนี้แทน
- เมื่อเราไม่ติดข้องใจไรๆในเขาแล้ว ได้แผ่จิตไปสู่เขาอย่างนี้แล้ว จิตเราก็จะไม่มีความร้อนรุ่ม เขาก็ได้พ้นทุกข์จากการละเวรภัยอันเบียดเบียนของเรานี้แล้ว เมื่อเราเข้าถึงความมีจิตเป็นสุขยินดีไปกับเขาเมื่อรู้เห็นว่าเขาเป็นสุขพ้นจากทุกข์แล้ว จิตเราย่อมยังความความผ่องใสแช่มชื่นใจอันปราศจากอามิสเครื่องล่อใจและความติดใจข้องแวะใดๆต่อเขาอีก ยังความอิ่มเอิบใจยินดีที่เราได้มีความเมตตาเอ็นดูปารถนาดีกรุณาเอื้อเฟื้อสุขและกุศลนี้ๆให้แก่เขาได้พ้นจากทุกข์ภัยอันเบียดเบียนนั้นแล้ว

๑. เริ่มแรกที่จะแผ่เมตตาให้เริ่มจากการแผ่ให้คนที่รัก คนที่รู้จักมักจี่ก่อน จะช่วยให้จิตเรามีความเอ็นดูปารถนาดีเต็มกำลังใจจนเป็นปกติจิตก่อน จากนั้นก็ค่อยแผ่ส่งต่อไปถึงคนที่ไม่รู้จักที่เรานั้นมองเห็นอยู่ แล้วส่งต่อไปจนถึงคนที่เกลียด โกรธแค้นเคืองเพื่อละเวรพยาบาท ให้เป็นมิตรที่ดี มีจิตเอื้อเฟื้อต่อกัน
(หากแผ่เมตตาให้คนที่เราผูกโกรธแล้วมันขุ่นเคืองขัดเคืองใจ ก็ให้หยุดแผ่ให้เขาทันที แล้วหันมาแผ่เมตตาให้ตนเองให้มากๆให้ตนสลัดทิ้งคลายความร้อนรุ่มที่กลุ้มรุมกายใจอยู่ จนสงบรำงับจากกิเลสทุกข์ทั้งปวงได้ก่อน จากนั้นพึงเจริญจิตขึ้นพิจารณาตามจริงว่า ด้วยใจที่ผูกแค้นนี้แลที่ทำให้เราต้องอัดอั้นคับแค้นกายใจถูกความร้อนรุ่มกลุ้มรุมกายใจให้เป็นทุกข์อย่างนี้ เวลาที่เราสลัดจากกิเลสทุกข์จิตใจมันแจ่มใสเบิกบานเบาสบายไม่หนักหมองมัวกายใจ เราพึงละเวรพยาบาทนี้ไปเสียเพราะผูกใจไปก็ไม่มีประโยชน์ไรๆนอกจากทุกข์ พึงมองคนที่เราผูกแค้นอยู่นั้นย้อนมาดั่งเราทำผิดต่อผู้อื่นเราย่อมอยากให้ผู้อื่นอดโทษไว้แก่เรา เขาก็เป็นเช่นนี้เหมือนกันและเขาก็ต้องมีความทุกข์กายใจเป็นอันมากจึงได้ระบายมาเบียดเบียนต่อเรา แม้ตอนนี้เขาก็คงถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ เขาเป็นผู้ที่ควรแก่เราจะสงเคราะห์จิตอันปารถนาดีที่สลัดทิ้งแล้วซึ่งความผูกแค้นเคืองนี้ให้แก่เขา เราผู้สลัดทิ้งแล้วซึ่งความโกรธแค้นจักแผ่เอาความผ่องใสเบิกบานอันเป็นสุขสงบจากกิเลสทุกข์นี้ไปให้เขาเพื่อให้เขาพ้นจากความทุกข์อันร้อมรุ่มเศร้าหมองกายใจดังนี้)
๒. เมื่อแผ่แบบข้อที่ ๑ เป็นประจำจนได้แล้ว ให้เริ่มแผ่ไปเป็นทิศเริ่มจากทิศเบื้องหน้าก่อนแผ่ไปให้คนและสัตว์ทั้งหลายที่เราพบเห็นแม้ไม่รู้จักกัน โดยระลึกเอารัศมีแห่งเมตตาพุ่งไปไกลและกว้างเท่าที่พอจะระลึกได้แล้วค่อยๆขยายไปทิศอื่นๆทั้งเบื้องหลัง เบื้องข้าง เบื้องเฉียง เบื้องบน เบื้องล่าง
๓. เมื่อแผ่แบบข้อที่ ๑ และ ๒ เป็นประจำจนได้แล้ว ก็เริ่มแผ่ไปให้คนทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย แมลงทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย เทวดาอารักษ์ทั้งหลาย พรหมทั้งหลาย อมนุษย์ทั้งหลาย ยักษ์ทั้งหลาย นาคทั้งหลาย  ครุฑทั้งหลาย คนธรรพ์ทั้งหลาย โดยพึงระลึกเอาบารมีจากแสงแห่งฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าที่แผ่บารมีขยายเป็นวงกว้างไปถึงสรรพสัตว์ทั่ว 80000 โลกธาตุนำพาเอาจิตอันปารถนาดีของเรานี้ไปสู้สรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นให้ครบทั้ง 10 ทิศ ให้เป็นมิตรที่ดี มีจิตเอื้อเฟื้อต่อกันทำไปเรื่อยๆอย่างนี้จิตจะเป็นเมตตาดีมากไม่แยกแยะบุคคลใด จนดึงจิตเมตตานั้นให้มีความจดจ่อตั้งมั่นเข้าสู่สัมมาสมาธิ เรียกว่า เมตตาฌาณ


๑.๔ เจริญจิตขึ้นระลึกในทานและศีลที่ปกคลุมด้วยพรหมวิหาร ๔ อันมีความรักปารถนาดีในผู้อื่นเสมอตน

- ทาน คือ การสละให้ด้วยความปรานี ให้ไปแล้วไม่อยากได้คืนในภายหลัง คือ ให้ด้วยความเอ็นดู ปารถนาดี สงสาร เห็นใจ ให้ด้วยความมีจิตสงเคราะห์ให้ ให้ด้วยความอนุเคราะห์แบ่งปัน มีความสละให้ เมื่อให้แล้วไม่คิดมาเสียดายเสียใจในภายหลัง

- ทานที่ผมพอจะมีปัญญาอันน้อยนิดพอจะรู้เห็นสัมผัสได้มีดังนี้ คือ

ก. การสละให้สิ่งใดๆแก่ผู้อื่นด้วยความเอ็นดูปารถนาดี มีจิตสงเคราะห์ให้เขาได้นำไปใช้ประโยชน์สุขอันดีงามบ้าง เมื่อให้ไปแล้วไม่มีความติดใจข้องแวะในบุคคลหรือสัตว์ที่เราให้ในภายหลัง๑
- ทานนี้จิตย่อมประกอบด้วย เมตตา กรุณา และ มุทิตา ได้ปหานแล้วซึ่งความโลภ ความโกรธแค้นทั้งปวงได้
ก.๑ หากเป็นการให้บุคคลที่เราไม่โกรธแค้น ด้วยจิตอันปารถนาดีมีความรักผู้อื่นเสมอด้วยตน และ กรุณาสงเคราะห์ให้ อนุเคราะห์แบ่งปันให้ มีความยินดีที่ในการให้ โดยไม่มาคิดเสียดายเสียใจอยากได้คืนในภายหลัง ยังให้ใจปหานกิเลส คือ ความโลภได้เป็นอย่างดี อันเรียกว่า "เมตตาทาน" คือ การให้ด้วยจิตที่ปารถนาดี เอ็นดู ปรานี อยากให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์สุขอันดีงามเสมอด้วยความสุขที่ตนมีจากการให้นั้นของเรา ย่อมยังให้กำลังใจในการให้ของเราเต็มพร้อมกับกำลังใจแห่งความเมตตานั้น
ก.๒ หากเป็นการสละให้เพื่อไถ่ชีวิต หรือ ต่อชีวิตอันดีมีอิสระสุข แก่บุคคลใด สัตว์ใด ที่เราไม่ได้โกรธเกลียด โดยมีจิตปารนาดีอยากให้เขามีอิสระสุข มีชีวิตสุขดำรงอยู่ตามสภาพและกาลอันควร โดยปราศจากเวรภัยไรๆมาเบียดเบียน เสมอดั่งตนมีอิสระสุขในชีวิตหรือตามอย่างที่ตนหวังอิสระสุขนั้น ด้วยจิตไม่หวังสิ่งใดตอบแทนคืน ด้วยจิตไม่มาคิดเสียใจเสียดาย หรือ ริษยาในอิสระสุขที่เขาได้มีได้เป็นในภายหลังถึงแม้ว่าตนนั้นจะช่วยให้เขามีอิสระสุขได้ แต่ตนเองไม่สามารถจะมีอิสระสุขนั้นได้อย่างเขา แม้ข้อนี้ผมก็เรียกว่า "เมตตาทาน" ยังจิตให้ถึงซึ่ง "อภัยทาน" ได้ด้วยตัดโทสะความขุ่นมัวริษยาเข้าสู่มุทิตาจิตได้แล้ว
ก.๓ หากเป็นการสละให้บุคคลที่เราผูกความโกรธแค้น ด้วยจิตปารถนาให้เขาเป็นอิสระสุข ไม่ถูกผูกขังด้วยเวร คือ ความผูกโกรธแค้นเคืองของเรา ไม่ถูกกผูกขังด้วยพยาบาท คือ ความผูกภัยอาฆาตหมายทำอันตรายทำลายชีวิตเขาให้ฉิบหายของเรา ไม่โกรธแค้นริษยาเมื่อเห็นเขาเป็นสุขและได้ดำรงคงไว้อยู่ซึ่งความเป็นสุขนั้นอยู่ ย่อมเป็นการละความผูกเวรพยาบาทด้วยความมีจิตปารถนาดีและความสงเคราะห์ให้ อนุเคราะห์ให้ สละให้ ยังกำลังใจของเราให้เต็มด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา ปหานสิ้นแล้วซึ่งกิเลส คือ โทสะ ได้เป็นอย่างดี ถึงซึ่งเรียว่า "อภัยทาน"


ข. การให้สิ่งใดๆแก่ผู้อื่นด้วยความสงเคราะห์ให้ แต่จิตนั้นไม่มีความเอ็นดูปรานีปารถนาดีต่อผู้รับ หรือ ให้แล้วมาเกิดความข้องใจเสียใจเสียดายอยากได้คืนในภายหลัง๑
- สิ่งนี้แม้จะขึ้นชื่ออันเรียกว่า ทาน ที่มีกริยา คือ การให้ แต่ไม่ทำให้เกิดอานิสงส์ หรือ มีอานิสงส์น้อย เป็นการให้ที่ไม่เต็มกำลังใจในการให้ แม้จะมีความกรุณาสงเคราะห์อนุเคราะห์แบ่งปัน แต่ก็ประกอบไปด้วยความขุ่นมัวใจ ติดแวะข้องใจ เศร้าหมองกายใจ ด้วยขาดซึ่งความเมตตาและมุทิตา โดยส่วนตัวผมแล้วการให้แบบนี้ผมไม่เรียกว่าทาน
ค. การให้สิ่งใดๆแก่ผู้อื่นด้วยหวังปารถนาในผลแห่งทานนั้นย้อนมาสู่ตน๑ คือ อยากได้บารมีผลบุญกุศลบ้าง อยากให้เขาตอบแทนคืนบ้าง อยากให้คนเคารพนับถือบ้าง
- สิ่งนี้แม้จะขึ้นชื่ออันเรียกว่า ทาน ที่มีกริยา คือ การให้ แต่ไม่ทำให้เกิดอานิสงส์ หรือ มีอานิสงส์น้อย เป็นการให้ที่ไม่เต็มกำลังใจในการให้ แม้จะมีความกรุณาคือสงเคราะห์อนุเคราะห์แบ่งปัน แต่ก็ประกอบไปด้วยความติดใจ ปารถนาใคร่ได้อันเกิดแต่ความเพลิดเพลินลุ่มหลงในผลแห่งทานนั้นอยู่ ด้วยขาดซึ่งความเมตตาและมุทิตา โดยส่วนตัวผมแล้วการให้แบบนี้ผมไม่เรียกว่าทาน


จากข้อ ก,ข,ค จะเห็นว่า ทานอันทำให้ บารมีทาน คือ กำลังใจในการให้ของเรานั้นเต็ม ย่อมตั้งต้นด้วยเมตตาเสมอ มีจิตสงเคราะห์ให้ อนุเคราะห์แบ่งปันให้ เกิดการสละให้อันเรียกว่าทาน หลังจากการให้แล้วจิตต้องไม่มีความเสียดายเสียดายเสียใจอยากได้คืนหรือเกิดริษยาในภายหลังยังในความยินดีต่อเขาอยู่ด้วยมุทิตา ไม่ว่าจะนานเสี้ยววินาที หรือ 1 วินาที หรือ 1 นาที หรือ 1 ชั่วโมง หรือ 1 วัน หรือ 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน หรือ 1 ปี หรือ 10 ปี หรือ 100 ปี
- สิ่งที่ใช้ในการการสละให้นี่มีอยู่ 2 แบบ คือ
    1. อามิสทาน คือ การให้สิ่งของ พระพุทธเจ้าตรัสว่าอามิสทานนี้ประกอบไปด้วยผลบุญกุศล สะสมได้เป็นทานบารมี
    2. ธรรมทาน คือ การให้ธรรม พระพุทธเจ้าตรัสว่าสิ่งประเสริฐสุด คือ การให้ธรรมอันเป็นกุศลเป็นทาน
- ซึ่งทานนี้จะเกิดผลบริบูรณ์ก็ต้องอาศัยหรือเจริญคู่กับ ศีล และ พรหมวิหาร๔ จึงจะเกิดเเป็นการ สละให้อันดีงาม


การปฏิบัติมีศีล 5 เป็นเบื้องต้น เพื่อปฏิบัติตนไม่เป็นผู้เบียดเบียนตนเองและคนอื่น ปฏิบัติดีงามด้วยกายและวาจา ศีล 5 มีความหมายคือ
๑.๑ เว้นจากทำลายชีวิต ลองคิดดูว่าหากทีคนคิดปองร้ายเรา หมายเอาชีวิตเรา แล้วมาฆ่าเรา พรากชีวิตเราไปจากโลกที่เราอยากจะอยู่จะเป็น เราชอบ เรารู้สึกดีไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๒ เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้ ลองคิดดูว่าหากมีคนมาขโมยของๆเรา หรือหยิบเอาสิ่งที่เราไม่ให้ ไม่อนุญาติด้วยความหวงแหน เป็นสิ่งมีค่าของเรา เราจะรู้สึกดีพอใจกับการกระทำนั้นไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๓ เว้นจากประพฤติผิดในกาม คือ ผิดต่อ ลูก ภรรยา สามี พี่ น้อง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา ลุง ป้า ของตนเองและคนอื่นเป็นต้น ลองคิดดูนะครับว่าหากคนที่เรารักหรือใครก็ตามมากระทำผิดในกามต่อครอบครัวเรา เราจะชอบไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๔ เว้นจากพูดเท็จ-โกหก ยุยงส่อเสียดให้ร้ายทำให้แตกคอกัน หรือ เหยียดหยามทำร้ายคนอื่น ลองคิดดูนะครับว่า หากคนอื่นบางคน หรือทุกคน คอยรักแต่โกหกปิดบังความจริงเรา พูดส่อเสียด พูดให้ร้ายเรา ด่าเรา เราคงไม่ชอบใช่ไหมครับ  เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ เราก็ควรอดที่จะกระทำอย่างนั้นต่อคนอื่น
๑.๕ เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ลองคิดดูนะครับว่า การดื่มสุรานั้นทำให้เราเสียเงินโดยไม่จำเป็น เสียจากส่วนที่ควรจะใช้ประโยขน์ได้มากกว่านั้น คนที่รักก้อไม่ชอบใจ อาจจะหนีเราไปเลยเพราะชอบเมาสุรา เงินที่ควรจะเก็บไว้ใช้จ่ายเพื่อภาระต่างๆ กองทุนต่างๆที่คาดไว้ก็หายไป  เงินไม่พอใช้ ต้องมากู้หนี้ ยืมสินใหม่อีก มีแต่เสียกับเสีย บางครั้งอาจจะฆ่าคนตายเพราะฤทธิ์แห่งสุราได้ด้วย หรือจะกระทำพลาดพลั้งใดๆก้อได้ แล้วก็มาเสียใจในภายหลัง   เมื่อเราไม่ชอบไม่พอใจ ไม่อยากจะได้รับผลกระทบเช่นนี้ๆ เราก็ไม่ควรที่จะดื่มสุราเมรัย เพื่อจะได้ไม่กระทำหรือรับผลกระทบเช่นนั้น
- ตรงนี้จะสอนให้ผู้ปฏิบัตินั้นรู้จักข้อศีลหรือความผิดที่ตนเองกระทำ จนถึงมีจิตเป็นกุศลตั้งในความไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกาย วาจา ฯ ด้วยสภาพจิตที่ผ่องใส สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้อง ต้องใจ ขุ่นมัว หมองมัว ทำด้วยความไม่ยึดมั่นฝืนใจทำของเรา  อานิสงส์จะช่วยให้มีความปกติสุขยินดี ไม่ร้อนรุ่ม-ร้อนรน ทั้งกายและใจ


- จะเห็นได้ว่า ศีล และ ทาน จะสมบูรณ์ได้ก็ต้องอาศัย พรหมวิหาร ๔
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2014, 12:48:56 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:32:58 pm »
0

๒. อุบายการเจริญปฏิบัติแบบสมถะเพื่อถึงกุศลจิต มีจิตจดจ่อและอุเบกขาเป็นผล

    ๒.๑ การละกิเลสด้วยการเปลี่ยนความคิด คือ กุศลวิตก (สัมมาสังกัปปะ)

- ปกติแล้วคนเราจะเกิดกามราคะขึ้นมานั้น ก็ด้วยเห็นในรูปใดๆทางตาเป็นใหญ่ นั้นคือ เห็นบุคคลเพศตรงข้ามทางตาแล้วเกิดความพอใจเพลิดเพลินยินดี จากนั้นก็ตรึกนึกคิดปรุงแต่งไปพร้อมกับสัญญาสำคัญใจมองเขาให้เป็นไปในราคะ คือ สนองในความอยากเสพย์เมถุน จนเกิดเป็นความปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์แห่งเมถุน จนเกิดความร้อนรุ่ม เร่าร้อนกลุ้มรุมทั้งกายและใจ ยังให้เกิดความถวิลหาทะยานอยากใคร่ได้ปารถนาที่จะเสพย์

- สัมมาสังกัปปะ หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด
สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก่


๑. เนกขัมมสังกัปป์ (หรือ เนกขัมมวิตก) คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะหรือโลภะ
๒. อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา กรุณาซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ
๓. อวิหิงสาสังกัปป์ (หรือ อวิหิงสาวิตก) คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลายด้วยความไม่รู้ เพราะคึกคะนอง ทำโดยไม่มีความโลภหรือความโกรธมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม ปัญญาคือเข้าใจโลกนี้ตามความเป็นจริง รู้ชัดในกฎแห่งกรรม หรือมีสามัญสำนึกในสิ่งที่ถูกต้องดีงามเอง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโมหะ

- กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน


- เมื่อเกิดรับรู้ทางสฬายตนะใดๆแล้วเกิดกิเลสทุกข์ คือ กาม ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ให้เจริญจิตขึ้นในกุศลวิตกดังนี้ครับ

๒.๑.๑ ก. เมื่อเกิดกามราคะขึ้นแก่จิตเมื่อเราได้รับรู้ทางตา
- ให้พึงรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเราถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว โดยความพอใจยินดีในสิ่งที่มีที่เป็นของบุคคลนั้นๆที่เราเห็น จนเกิดปารถนาใคร่ยินดีได้ที่จะเสพย์ในอารมณ์ใดๆที่รับรู้อยู่ เกิดความกำหนัดใคร่ได้ที่จะเสพย์ในเมถุนแล้ว พึงระลึกว่าทั้งๆที่บุคคลที่เราเห็นเขาก็เป็นอยู่ของเขาอย่างนั้น เรานั้นแหละที่ไปติดใจตรึกนึกปรุงแต่งเสพย์อารมณ์จา
กความคิดอันเป็นไปในกามราคะจนทำให้เรารุ่มร้อนเร่าร้อนกายใจ
- ให้เปลี่ยนความคิดที่มองเขาใหม่ดังนี้
   ก. คิดใหม่มองใหม่ดั่งท่านพระบิณโฑลภารทวาชะเถระท่านตอบคำถามแก่พระเจ้าอุเทนว่า

         พระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ตรัสไว้ดังนี้ว่า
         ดูกรภิกษุทั้งหลาย
       - เธอทั้งหลายจงมาตั้งจิตว่า เป็นมารดา ในสตรีปูนมารดา
       - เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นพี่สาวน้องสาว ในสตรีปูนพี่สาวน้องสาว
       - เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่าเป็นธิดา ในสตรีปูนธิดา

         ขอถวายพระพร ข้อนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุเหล่านี้ผู้ยังเป็นหนุ่มแรกรุ่น มีผมดำสนิท
         เป็นหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย ผู้ยังไม่หมดความระเริงในกามทั้งหลาย
         ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์จนตลอดชีวิต และปฏิบัติอยู่ได้นาน ฯ


   ข. คิดใหม่มองให้โดยดูว่าบุคคลนั้นๆที่เราเห็นอยู่เขาทำบุญมาอย่างไรหนอจึงมีรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณอันหมดจดงดงาม ฉลาด เป็นที่น่ารักน่าชื่นชมปารถนาแก่เราแลบุคคลทั้งหลาย มีความอยู่ดีกินดีเป็นสุขกายสบายใจอย่างนี้

     ข.๑ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "ทาน" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

     ข.๒ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "ศีล" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

     ข.๓ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "สมาธิ" และ "วิปัสสนา" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ
     ข.๔ คงเป็นเพราะในชาติก่อนนี้เขาเจริญได้เจริญปฏิบัติใน "พรหมวิหาร ๔" มาดีแล้วบริบูรณ์แล้วได้งดงามมาแล้วหนอ

(พรหมวิหาร ๔ เป็นเสาหลักให้เจริญใน ศีล ทาน สมาธิ สำเร็จบริบูรณ์ได้ด้วยดี เพราะมีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)
       ๑. เมื่อเราปารถนาอยากจะมีคนรักที่งดงามดีพร้อมทุกอย่าง หรือ ปารถนาที่จะได้ครอบครอง ครองคู่กับที่คนเราชอบเราปลื้มใจอยู่ ดั่งเช่นคนที่เรามองเห็นและเสพย์ความกำหนัดใคร่ปารถนาอยู่นี้ เราก็ควรที่จะทำในบุญกุศลให้มากให้มีเสมอกันกับเขา นั่นคือเราต้องเพียร ขยัน อดทน เจริญปฏิบัติให้เรามีพรหมวิหาร๔ ศีล ทาน สมาธิ ปัญญาให้มีบารมีเต็มหรือมากพอกับเขาหรือสูงกว่าเพื่อให้มีบารมีคู่กัน ดั่งเราเห็นว่ามีคู่ครองบางคู่นั้นแม้ชายหน้าตาไม่งดงามแต่ผู้หญิงหน้าตางดงามครองคู่รักใคร่กันก็มี ผู้ชายจนผู้หญิงรวยสวยงดงามครองคู่กันก็มี หรือ คนหน้าตางดงามสมกันมีฐานะที่สมกันครองคู่กันก็มี นั่นเพราะเขาสร้ามบุญบารมีทั้ง ๕ ข้อดังกล่าวนี้เสมอกันมา ดังนั้นเมื่อเราปารถนาจะมีคู่ครองงดงาม มีนิสัย วาจา การกระทำ ที่สมกันกับเรา หรือ อยากให้บุคคลที่เราปารถนาอยู่นั้นเป็นคู่ครองเรา เราก็ต้องเพียรขยันอดทนอย่างไม่ลดละเพื่อที่จะสร้างบารมีทั้ง ๔ นี้ให้มากเสมอเขาหรือมากกว่าเขา ด้วยประการฉะนี้
       ๒. สำหรับผู้ที่ถือเนกขัมมะ(บางคนก็เป็นฆราวาสแต่ถือบวชใจมีศีล ๕ เป็นเบื้องต้น) แม้จะเจอบุคคลที่เราพอใจยินดีเป็นที่งดงามหมดจดดั่งตนใคร่ได้ปารถนาดีแล้ว แต่เรามิอาจที่จะได้ยลหรือครองคู่ใดๆร่วมกับเขา ก็ให้พึงระลึกว่า เขาไม่ได้ถูกสร้างหรือลิขิตมาเพื่อเป็นคนของเรา ดังนั้นถึงแม้เราจะพึงปารถนาในเขาไป หรือ ตะเกียกตะกายไขว่คว้าเพื่อที่จะได้เขามามากเท่าไหร่จนแม้แลกด้วยกับชีวิตที่มีอยู่นี้ก็ไม่มีทางที่จะสมปารถนาไปได้ เพราะเขาไม่ได้ถูกสร้างเพื่อเกิดมาเป็นคนของเราดังนี้ แต่หากเป็นคนที่เขาถูกสร้างมาเพื่อกันและกันแล้วถึงแม้ไม่ต้องต้องพูด-ไม่ต้องไขว่คว้าปารถนา-ไม่ต้องไปทุ่มเทอะไรมากมายเขาก็จะถูกชักจูงให้ได้อยู่ครองคู่รักกันร่วมเคียงข้างกันอยุ่ดีไม่แคล้วคลาดกันไปดังนี้ ดังนั้นด้วยเพราะเขาไม่ได้เกิดมาเพื่อเรานั่นคงเป็นเพราะชาตินี้เราเกิดมาเพื่อสร้างในบารมีทั้ง ๔ ข้อนั้นให้เพียงพอแก่ตนเองเพื่อถึงความหลุดพ้นจากทุกข์อันร้อนรุ่มกายใจ เร่าร้อนกายใจ เจ็บปวดกายใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ ทรมานกายใจดั่งที่เราเผชิญอยู่เหล่านี้ให้สิ้นไปไม่มีอีก เราก็ควรที่จะเพียรขยัน อดทนเจริญปฏิบัติในทั้ง ๔ ข้อนี้ให้มากอย่างไม่ย่อท้อเพื่อในภายภาคหน้า หรือ ชาติหน้าเราจักมีนางแก้วเป็นคู่บารมีครองคู่กันและไปถึงซึ่งพระนิพพานด้วยกันดังนี้
(เป็นการใช้ตัณหาเพื่อละตัณหา ดั่งพระพุทธเจ้าตรัสสอนพระนันทะเถระซึ่งเป็นผู้มีราคะมากให้เปลี่ยนความคิดความกระทำใหม่โดยพาไปดูนางอัปสรบาสวรรค์ทั้งหลายพร้อมตรัสสอนเห็นเกิดความเห็นและความคิดอันเป็นอุบายในการปฏิบัติจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์)



   ค. บุคคลนั้นๆที่เราเห็นเขาก็อยู่ตามปกติของเขาอยู่อย่างนั้น เราเองที่ไปมองเอาส่วนเล็กส่วนน้อย ส่วนเว้าส่วนโค้ง จุดนั้นจุดนี้ของเขาแล้วเอามาคิดปรุงแต่งเสพย์อารมณ์จนเกิดความกำหนัดขึ้นมา เพราะว่าเรามองเขาอย่างนี้จึงทำให้เกิดราคะกลุ้มรุม ดังนั้นเราควรเปลี่ยนความคิดที่จะมองเขาเสียใหม่โดยมองในจุดที่เป็นจุดรวมๆ เพื่อให้กายใจเราสลัดจากความเร่าร้อนร้อมรุ่มที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมเราอยู่ดังนี้

เหตุที่กล่าวว่ามองเอาส่วนเล็กส่วนน้อยนั้นเป็นไฉน ที่ผมพอจะรู้เห็นได้คือ

(ธรรมฃาติเมื่อรู้อารมณ์ใดๆทางตา) ->
(สภาวะแรกก็สักแต่เห็นไม่มีบัญญัติ เห็นเป็นสีๆมีเคล้าโครงรูปร่างต่างๆเท่านั้น) ->
(เข้าไปรู้สภาพที่เห็นอยู่+สัญญา = รู้บัญญัติเป็นตัวตนบุคล สัตว์ สิ่งของ) ->
(มองดูส่วนเล็กส่วนน้อย) -> (อกุศลวิตก+ความหวนระลึกถึงสัญญาความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจใดๆ) ->
(ความปรุงแต่งจิตอันเป็นไปใน "ฉันทะ" + "ปฏิฆะ") -> (ความปรุงแต่งจิตสมมติสร้างเรื่่องราว) ->
(กิเลส) -> (ร้อนรุ่ม รุ่มร้อน เร่าร้อน เดือดเนื้อร้อนใจกลุ้มรุม) -> (ทุกข์)

     ค.๑ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ บุคลนั้นอยู่ในอิริยาบถใด เช่น ยืน เดิน นั่ง หรือ นอน ไม่ไปสัดส่ายมองดูจ้องดูในอวัยะส่วนเล็กส่วนน้อยของเขาจนเกิดความปรุงแต่งนึกคิดอันเป็นไปในกามราคะ ทำให้เราเห็นเป็นเพียงแค่คน ไม่ว่าจะเพศไรๆที่อยู่ในอริยาบถต่างๆเท่านั้น
(เป็นการดึง สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นรู้เพียงสิ่งที่เห็นในปัจจุบันขณะอันไม่เอาความตรึกนึกคิดจากการสำคัญใจที่จะมองในราคะ)

     ค.๒ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ สีเสื้อ ดูว่าที่เราเห็นเขานุ่งห่มอยู่นั้นเป็นสีอะไร มีสีอะไรบ้าง รูปทรงของสีเหล่านั้นเป็นไฉน เพ่งจุดเพียงสีเท่านั้น เมื่อมองเช่นนี้แม้เราจะรู้เพศ รู้สีผิว สีเสื้อผ้า ความสูงต่ำ แต่ไม่ได้ใส่ใจที่หน้าตาและส่วนเล็กส่วนน้อยของเขาแล้ว
(เรียกว่าใส่ใจมองในจุดใหญ่ๆที่มองเห็นได้ คือ ดูสีจากเสื้อผ้าเป็นอารมณ์ โดยไม่ได้เจาะเข้าไปดูส่วนเอว ส่วนนม ตรงอวัยะเพศเป็นยังไง ซึ่งความคิดที่จะมองดูและเพ่งเล็งอย่างนี้จะทำให้เกิดการตรึกนึกต่อเสพย์อารมณ์ของกิเลสสืบมา)

     ค.๓ คิดใหม่มองใหม่ในภาพรวมๆที่เราเห็น คือ เขาก็มีร่างกายอวัยวะต่างๆเหมือนเพศตรงข้ามคนอื่นๆทั่วไปที่เราพบเจอ มี 2 ขา 2 แขน มีผม มีคิ้ว มีหู มีเนื้อ มีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเหมือนกับเพศตรงข้ามคนอื่นๆที่เราเคยพบเจอไม่ได้ต่างกันเลย ซึ่งคนที่เราเคยพบเจอเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าเราจะมองด้วนราคะทุกคน ทั้งๆที่มีอวัยวะทั้งหมดเหมือนกันทุกอย่าง สิ่งที่ต่างก็เพียงแค่สี และ เคล้าโคลงรูปร่าง รูปพรรณสันฐานเท่านั้น เขาก็เป็นเพียงเพศตรงข้ามเหมือนคนอื่นที่เราได้เคยพบเจอทั่วไปเท่านั้น
(เป็นการมองโดยมีความคิดที่ลงมองในรูปขันธ์ตามอาการต่างๆที่เหมือนกับเพศตรงข้ามคนอื่นๆที่เราไม่ได้สำคัญใจมองด้วยราคะที่เราเคยพบเจอ)

   ง. ที่เราเกิดกามราคะกลุ้มรุมนั้น ก็เพราะเราสำคัญใจที่จะมองและตรึกนึกคิดต่อบุคคลที่เราเห็นนั้นด้วยราคะ(ราคะสังกัปปะ) เราก็ละทิ้งความคิดอันเป็นไปในกามนั้นเสีย แล้วเปลี่ยนความคิดใหม่โดยดึงเอาสิ่งที่รู้เห็นอยู่นี้มาวิเคราะห์ลงในธรรมให้เห็นตามจริง(ธัมมะวิจยะ) จนเกิดความเบื่อหน่ายแล้วสลัดทิ้งในกามราคะที่กลุ้มรุมกายใจเราเหล่านั้นให้คงอยู่สืบไปตามสติกำลัง เรียกว่า นิพพิทาในปัญญาของสมถะ ดังนี้ครับ

     ง.๑ คิดใหม่มองใหม่ด้วยเปลี่ยนและละในการให้ความสำคัญของใจจากสิ่งที่มองอยู่ มารู้ตัวอยู่กับปัจจุบันขณะ
           โดยให้หายใจออกจนสุดลมแล้วกลั้นหายใจไว้จนทนไม่ได้ แล้วค่อยหายใจเข้า แล้วตรึกนึกคิดใหม่ว่าการที่เราไปเพ่งเล็งเขาด้วยราคะอยู่นั้นมันสร้างความเร่าร้อนร้อนรุ่มกายใจจนเกิดความกำหนัดใครถวิลหา และ แม้เราเห็นเขาอยู่นั้นเราก็ไม่ได้สัมผัสกายใจไรๆของเขาเลย ซึ่งเขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้นแต่เรานี้เองที่เข้าไปเสพย์อารมณ์ตรึกนึกคิดปรุงแต่งจนเสวยโทมนัสเวทนารุ่มร้อนกายใจ ทั้งๆที่เขาก็อยู่ของเขาตรงนั้นและเราอยู่ของเราที่ตรงนี้ไม่ได้เข้าไปใกล้หรือสัมผัสไรๆในเขาเลย "แม้เราไม่ได้สัมผัสไรๆในตัวเขา ไม่ได้ร่วมเสพย์ในเมถุนกับเขา ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่ตายหนอ แต่การที่เราหายใจออกไป แล้วไม่หายใจเข้านี่สิจักทำให้เราทุรนทุรายจักตายเสียตรงนี้ให้ได้ กามราคะนั้นหนอไม่ได้สำคัญและเทียบไม่ได้เท่าลมหายใจที่หล่อเลี้ยงให้กายนี้ยังชีวิตเราให้อยู่ได้ ดังนั้นการจดจ่อเพ่งเล็งที่ลมหายใจเขาออกย่อมมีคุณประโยชน์มากกว่าที่เราจะไปเจาะจงเพ่งเล็งที่เรือนร่างอวัยวะส่วนเล็กส่วนน้อยของคนเพศตรงข้ามที่เราเห็นนั้นเสียอีก กามราคะนั้นหาประโยชน์ไรๆไม่ได้แก่เราเลยนอกจากทุกข์ดังนี้
(เป็นการดึงเอาสัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะและสติความระลึกรู้เท่าทันอารมณ์ขึ้นมา คิดตรึกนึกวิเคราะห์ลงในธรรมอันเรียกว่าธัมมะวิจยะ เพื่อให้เห็นไปด้วยความไม่มีคุณประโยชน์จากกิเลสที่เกิดขึ้นทางสฬายตนะ(แม้ยังซึ่งบัญญัติอยู่แต่ก็เป็นไปด้วยการพิจารณาในการรับรู้ซึ่งสภาพที่เกิดขึ้นจริง) เมื่อยังในอารมณ์พิจารณาอย่างนี้อยู่เนื่องๆก็จะพิจารณาเห็นธรรมตามจริงอันมีความ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เช่น เมื่อเห็นเพศตรงข้ามที่พอใจราคะก็เกิด เมื่อหายใจออกจนสุดไม่หายใจเข้าราคะก็ดับไปแต่เกิดความต้องการที่จะหายใจเข้าแทน พอหายใจเข้าและออกจนเป็นปกติได้แล้ว จิตที่จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจก็ดับไป จนพิจารณาเห็นตามจริงถึงความไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ มีความเกิดดับๆอยู่ตลอดเป็นธรรมดาไม่คงอยู่นาน ความเข้าไปเสพย์หลงไหล ลุ่มหลงไป ใคร่ตามกับสิ่งไม่เที่ยง คือจิตสังขารหล่านี้มันเป็นทุกข์ จนถึงแม้กายเรานี้ก็ไม่คงอยู่ ไม่หายใจก็จักต้องตาย-ที่ยังชีพอยู่ก็ด้วยมีลมหายใจหล่อเลี้ยงชีวิต ไม่กินก็ตายเพราะไม่มีอาหารเครื่องประโยชน์ให้ร่างกายซึมซับดำรงชีพอยู่-มีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะกิน ไม่ขับถ่ายร่างกายก็แปรปรวนเสื่อมโทรมในอวัยวะต่างๆจนถึงความเสื่อมทุพลภาพของกายทั้งหมดนี้แล้วก็ตาย ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงบ้าง เห็นความตายอยู่ทุกขณะบ้าง ย่อมเข้าถึงยถาภูญาณทัสสนะ ไม่ว่าจะบัญญัติ หรือ ปรมัตถธรรมอันเห็นเป็นเพียงธาตุหรือรูปนามไม่มีตัวตนบุคคลใดก็ตามและถึงแม้จะไม่เห็นทั้งหมดหรือตลอดเวลาก็จัดว่าเป็นปัญญาในขั้นต้นด้วย แม้อาจจะยังเกิดความเบื่อหน่ายบ้างไม่เบื่อบ้าง เข้าถึงแล้วบ้างไม่ถึงบ้างอันนี้ผมก็เรียกว่า นิพพิทาในขั้นสมถะปัญญา เกิดความเห็นตามจริงมีแลหาแนวทางเจริญปฏิบัติแสวงหาเพื่อถึงทางออกจากทุกข์ จนเมื่อเกิดความรู้เห็นตามจริงด้วยปัญญารู้แจ้งเห็นตามจริงอันไม่เสื่อมไป เพียรเจริญปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงซึ่งนิพพาน ย่อมเกิดนิพพิทาญาณในขั้นวิปัสสนาญาณอันแท้จริง)

     ง.๒ คิดใหม่มองใหม่ด้วยเจริญจิตขึ้นพิจาณาให้เห็นตามจึงถึงความไม่มีตัว ความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราในจากสิ่งที่เรามองเห็นอยู่
           โดยมองว่า บุคคลที่เราเห็นนั้นหนอแม้จะงดงาม สวยหยาดเยิ้ม หรือ หล่อเหลา น่าชื่นชมขนาดไหนก็ตาม แต่เขาก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา แม้นหากเขานั้นเป็นของเราจริงแล้ว เราก็ย่อมที่จะสามารถบังคับสั่งให้เขาเป็นไปดั่งใจเราต้องการได้ว่า เออนะขอเธอจงมารักเราเถิด เออนะขอเธอจงเข้ามาหาเราเถิด เออนะขอเธอจงยอมพลีกายใจให้เราเกิด เออนะขอเธอจงยอมพลีกายใจให้เราด้วยใจรักอันปราศจากอามิสเครื่องล่อใจเถิด เออนะขอเธอจงมาร่วมใช้ชีวิตคู่กับเราเถิด แต่ทว่าถึงแม้เราจะปารถนาอยากให้เขาเป็นอย่างนั้นตามใจปารถนาแต่มันก็หาเป็นไปสมดั่งใจเราหวังไม่ เพราะเราไม่อาจจะไป บังคับ ยื้อยึด ฉุดรั้ง สั่งให้เขากระทำทั้งกายและใจอย่างนั้นอย่างนี้ได้ดั่งใจเราหวังไม่ นั่นก็ด้วยเพราะเขาไม่ใช่เรา เขาไม่ใช่ของเรา สักแต่เป็นบุคคลที่เราเห็นแล้วก็จักเลยผ่านไป ไม่มีตัวตนอันที่เราจะเข้าไปตั้งความหวังปารถนาไรๆจากเขาได้ เพราะเขาไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราดังนี้ ยิ่งปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราไป มันก็ยิ่งเป็นทุกข์อันถูกกลุ้มรุมด้วยความร้อนรุ่ม ร้อนรน เร่าร้อนกายใจ หาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้เลยดังนี้
(เป็นการพิจารณาจนเห็นความไม่มีตัวตน เห็นความไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราในสิ่งทั้งปวงนี่ก็จัดเป็นยถาภูญาณทัสสนะอย่างหนึ่ง คือ ความรู้เห็นในทุกขอริยะสัจ และ เห็นความเป็นไปตามจริงด้วยปัญญาขั้นต้น(ในส่วนผมยกมานี้ผมหมายกล่าวถึงความเห็นตามจริงอันเป็นบัญญัติอยู่ เพราะยังคงเป็นบัญญัติอยู่บ้างหรืออาจจะเห็นรูปนามอยู่บ้างเล็กน้อย) แต่ก็เป็นทางเข้าสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆแล้ว จนเกิดความเบื่อหน่ายอันเป็นนิพพิทาเช่นกัน แต่เป็นนิพพิทาในแบบสมถะอันยังมีบัญญัติเป็นใหญ่อยู่ โดยมีความหน่ายแบบเป็นๆหายๆถ้าไม่ทรงอารมณ์ไว้ด้วยเพราะยังคงเป็นบัญญัติยังไม่เห้นตามจริงทั้งหมดอยู่มีความติดใจอยู่ซึ่งยังถอนออกไม่หมดเพียงแต่คลายความยึดมั่นแล้วเห็นทางที่ควรเจริญแล้ว เมื่อเกิดปัญญาเห็นแจ้งตามจริงในความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เป็นเพียงธาตุหรือรูปนามไม่มีตัวตนบุคคลใด ไปจนเข้าถึงแลเห็นความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสัจธรรม จนเกิดความเบื่อหน่ายด้วยปัญญาโดยไม่ถ่ายถอน เพียรเจริญปฏิบัติเพื่อถึงความพ้นทุกข์ คือ ถึงซึ่งนิพพาน ย่อมเข้าถึงนิพพิทาญาณในขั้นสมถะปัญญาอันแท้จริง)

                นิพพิทาสูตร
พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒

             [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท
เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่งามในกาย ๑  (เช่น  ปฏิกูลมนสิการ, นวสีวถิกา, อสุภกรรมฐาน)
มีความสำคัญว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑  (เช่น  ปฏิกูลมนสิการ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา)
มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑  (เช่น โลกธรรม ๘)
พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑  (เช่น พระไตรลักษณ์)
ย่อมเข้าไป ตั้งมรณสัญญาไว้ใน ภายใน ๑  (เช่น มรณสติ, พระไตรลักษณ์)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ

                จบสูตรที่ ๙

๒.๑.๑.ข การเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อเกิดราคะจากการรู้อารมณ์ทางทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

- การเจริญจิตขึ้นเปลี่ยนแปลงความคิดเพื่อละในกามราคะเมื่อได้รับรู้ผัสสะทาง "หู" คือ "เสียง" ก็ให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงความคิดไม่ต่างกันขอยกตัวอย่างคร่าวๆดังนี้

ก. เมื่อได้ยินเสียงไรๆก็ตามแล้วเอาไปคิดปรุงแต่งไปเองจนทำให้เราเกิดราคะ ที่เราได้ยินเสียงไรๆแล้วเกิดราคะนั่นเพราะเราได้ยินแล้วตรึกนึกคิดให้เป็นไปในราคะทั้งที่เป็นความจริงบ้างและไม่จริงบ้าง แต่ก็คิดเดาเอาว่าเป็นเสียงในการเสพย์เมถุนอยู่เช่นนั้นโดยที่ไม่รู้ว่าจริงไหมจนเกิดความกำหนัดแก่ตนให้ความร้อนรุ่มและเร่าร้อนกลุ้มรุมกายและใจตนเอง
    ก.๑ ให้ลองเปลี่ยนความคิดใหม่จากเสียงที่ได้ยินว่าอาจจะเป็นเสียงที่เกิดเพราะอาการอย่างอื่นไหม เช่น เขาเกิดอุบัติเหตุไหม เขามีความเจ็บป่วยในร่างกายไหม เขาร้องเรียกออกมาเพราะความทรมานไหม เขากรีดร้องออกมาเพราะถูกทำร้ายไหม
    ก.๒ ให้ลองเปลี่ยนความคิดใหม่ว่าากเสียงที่ได้ยินว่าอาจจะเป็นเสียงของสภาพแวดล้อมอื่นๆไหม เช่น เสียงพัดลม เสียงเปิดปิดประตู เสียงหนูวิ่ง แมงวิ่ง หมาวิ่ง เสียงแอร์ เสียงนกร้อง เสียงแมวร้อง เสียงหนูร้อง เสียงหมาร้อง เสียงผมพัดสิ่งของไรๆไหม ทั้งๆที่มันเป็นเพียงแค่เสียง และเราก็ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นตามจริงว่าเป็นเสียงอะไรมีความจริงเป็นไฉนกลับไปตรึกนึกคิดเอาเป็นเอาตายในราคะอย่างนั้น
ข. เมื่อได้ยินได้ฟังเสียงของเพศตรงข้ามที่พูดคุยสนทนากันอยู่แล้วเกิดราคะ นั้นก็เพราะด้วยเสียงนั้นทำให้เราเกิดความพอใจเพลิดเพลินยินดี จากนั้นเราก็เอามาปรุงแต่งนึกคิดเสพย์อารมณ์ให้เกิดความใคร่ปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในเมถุน ก็พึงลองเปลี่ยนความคิดใหม่ดูดังนี้ว่า
    ข.๑ เสียงนี้มันก็เป็นเพียงสิ่งที่เรารับรู้ทางหู เมื่อรู้แล้ว คือ ได้ยินแล้ว ก็เอามาปรุงแต่งตรึกนึกคิดไปทั่วจนเป็นไปในกามราคะ เพราะเป็นเสียงที่ชอบที่พอใจเพลิดเพลินยินดีว่าไพเราะบ้าง แล้วก็ปรุงแต่งคิดไปว่าเหมือนเสียงที่เสพย์เมถุนอยู่บ้างหรือหากเมื่อเสพย์เมถุนแล้วจักเป็นสภาพแบบใดบ้าง หรือ เสียงเซ็กซี่บ้าง เสียงน่ารักเพลิดเพลินใจบ้าง ทั้งๆที่ปัจจุบันเขาก็อยู่ในส่วนในที่ของเขาและเราก็อยู่ของเราที่ตรงนี้ ไม่ได้เข้าใกล้ไม่ได้สัมผัสข้องเกี่ยวกันเลย แต่เรานั้นเองที่ได้ยินเสียงอันเป็นท่วงทำนองที่เสนาะใจแล้วเอามาคิดให้เป็นไปในราคะเอง (ดังนี้คือการเรียกสติสัมปชัญญะให้ตื่นขึ้นรู้ความจริงในปัจจุบันและสลัดจากการถูกความคิดอันเป็นไปในราคะกลุ้มรุม)
    ข.๒ เสียงนี้มันก็เป็นเพียงสิ่งที่เรารับรู้ทางหู เมื่อรู้แล้ว คือ ได้ยินแล้ว ก็เอามาปรุงแต่งตรึกนึกคิดไปทั่วจนเป็นไปในกามราคะ ทั้งๆที่มันก็เป็นเพียงเสียงอันเป็นธรรมชาติที่หูเราจักพึงได้ยิน(นี่ถ้าไม่ได้ยินก็แสดงว่าหูหนวกแล้ว) ทั้งที่ตัวเขาก็ไม่ได้อยู่กับเรา ทั้งๆที่จริงแล้วหูของเรานั้นก็แค่ได้ยินเสียงอันมี น้ำหนัก ทำนอง และ ถ้อยคำต่างๆเท่านั้น ไม่ต่างจากที่เราได้รับฟังหรือได้ยินจากคนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่นที่อยู่ในที่นี้ๆ หรือ ที่อยู่ในที่อื่นๆเลย แต่เราเองต่างหากที่ฟังแล้วไปคิดปรุงแต่งให้ความสำคัญมั่นหมายของเสียงนั้นในความรู้สึกเช่นนั้นจนเกิดราคะอันเร่าร้อนรุ่มร้อนกลุ้มรุมกายใจเอง นี่เรียกว่าเราเป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้วเพราะความคิด เป็นผู้หลงอยู่ในความคิดอันเรียกว่า ราคะสังกัปปะ
    - ก็ให้เราพึงละความสำคัญมั่นหมายในเสียงอันเป็นไปในราะคะนั้นทิ้งเสีย แล้วจับฟังแค่คำพูด หรือ ความหมายของคำพูดแต่ละคำเท่านั้น
    - ก็ให้เราพึงละความสำคัญมั่นหมายในเสียงอันเป็นไปในราะคะนั้นทิ้งเสีย แล้วจับฟังแค่สภาพของน้ำเสียงนั้นๆว่ากล่าวออกมาด้วยวาจาอย่างไร เช่น เขาพูดกระแทก พูดพร้ำเพ้อ พูดเพ้อเจ้อ พูดส่อเสียด พูดยุแยงตะแครงรั่ว พูดเหยียหยาม เมื่อรู้ดังนี้ก็ไม่ต้องไปคิดโต้ตอบกับเสียงที่ได้ยินเหล่านั้น ให้พึงระลึกรู้แค่ว่า เป็น "มิจฉาวาจา" ไม่ควรเอาอย่าง ไม่ควรเสพย์ ไม่ควรจะกล่าวออกจากปากเราเพราะมันไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขไรๆนอกจากทุกข์ เป็นวาจาอันเมื่อกล่าวแล้วก็จักมีภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองและผู้อื่น หรือ เขาพูดด้วยวาจาอันดีไพเราะ มีเหตุมีผลหรือสามารถทบทวนวิเคราะห์เห็นในเหตุและผลได้ ไม่พูดพร่ำเพ้อ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดจาส่อเสียดยุแยง ไม่พูดเหยียดหยัน มีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อความเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น ก็ให้พึงระลึกรู้แค่ว่า เป็น "สัมมาวาจา" ควรที่จะเอาอย่าง ควรที่จะเสพย์ ควรที่จะกล่าว ควรที่จะเจริญให้มาก ควรที่จะออกจากปากของเรา ให้เรารู้แค่เพียงเท่านั้นก็พอ

    - แนวทางเบื้องต้นก็มีด้วยประการฉะนี้ ไม่ว่าจะเป็น "กลิ่น" หรือ "รส" หรือ "โผฐัพพะ" ก็เจริญอย่างนี้เหมือนกันทั้งหมด ขึ้นอยู่กับปัญญาและจริตนิสัยของแต่ละคนว่าจะเห็นในทุกข์ของมันเห็นอุบายวิธีการละของมันอย่างไร เห็นอุบายเจริญได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่ จริตนิสัยและปัญญาของผู้ปฏิบัติเองทั้งนั้นครับ อุบายของผมอาจจะไม่ถูกกับหลายๆท่านและอุบายของท่านอาจจะใช้ไม่ได้กับผมดังนั้นท่านทั้งหลายเพียงดูอุบายของผมพอเป็นแนวทางแล้วก็วิเคราะห์พิจารณาให้เห็นถึงอุบายอันถูกจริตของท่านแต่ละคนจะเป็นประโยชน์ที่สุดครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 10, 2014, 04:33:11 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:33:38 pm »
0

    ๒.๑.๒ การเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อเกิดโทสะจากการรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

- นอกจากการเปลี่ยนแนวคิดว่าเขาไม่ได้มีบทบาทที่สำคัญไรๆกับชีวิตเราจนทำให้เราต้องทุกข์ทรมานถึงกับมีอันตรายในชีวิต พร้อมกับเจริญในเมตตา-กรุณาแล้ว จนเข้าถึงการละสลัดทิ้งซึ่งการเอาความเอาสุขสำเร็จไรๆของตนเองไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น จนมองเห็นว่าสิ่งนี้ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา ไม่ได้มีไว้เสพย์แล้ว(ซึ่งผมโพสท์แนวทางคิดและปฏิบัติไว้ตั้งแต่เรื่องพรหมวิหาร ๔ แล้ว) ข้ออื่นยังมีอีก ผมจะแก้ข้ออุบายแบบคร่าวๆซึ่งเป็นแนวทางที่ปุถุชนจนถึงพระอริยะเจ้าก็พึงเข้าใจและกระทำได้ดังนี้ครับ

ก. ยังมีข้อหลักอื่นอีกที่สำคัญแต่เรามักจะหลงลืมกันไป เพราะเน้นที่จะเอาในสมาธิหรือวิปัสสนามากไปจนไม่เข้าใจสัจธรรมอื่นที่เราพบเจออยู่ทุกวันทุกขณะ เพราะเราจะคอยเพ่งดูแค่ว่านี่คือ โลภะเกิด นี่คือ โทสะเกิด นี่คือโมหะเกิด จนลืมไปว่าที่เราเจออยู่ทุกวันนี้โลภะ โทสะ โมหะ มันทุกข์ยังไงมันร้อนรุ่มร้อนรนแค่ไหน ควรที่เราจะเสพย์ หรือ ไม่ควรที่เราจะเสพย์ ซึ่งสัจธรรมข้อนี้เองคือสิ่งที่ทำให้เราเป้นโทษจาก โลภะ โทสะ โมหะ เห็น ทุกขอริยะสัจนั้นเอง นั่นก็คือ
 
   อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,
   ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
   ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,
   ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ;
   ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง,
   มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ;

สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความทุกข์ คือ ความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ความอึดอัด อัดอั้น คับแค้น กาย-ใจ ความไม่สบายกาย-ใจทั้งหลายนี้เป็นทุกข์ เช่น
-  เราพอใจยินดี ชอบที่จะให้คนอื่นพูดเพราะๆกับเรา แต่เมื่อเจอเขาพูดคำหยาบพูดไม่เพราะดั่งใจหวังปารถนา เราก็ขุ่นเคืองใจเป็นทุกข์ เรามีคนที่เคียงคู่กันอยู่แต่เขามี กาย วาจา ใจ ที่ไม่เป็นไปตามที่เราชอบที่เราพอใจยินดี เราก็ขุ่นเคืองใจเป็นทุกข์ เพราะประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจแก่เรา ผล คือ โกรธแค้นบ้าง ความขุ่นมัวใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ เศร้าโศรกร้ำไรรำพัน ร้อนรุ่มเศร้าหมองทั้งกายใจเป็นทุกข์
- เราคบหากับแฟนอยู่ดีๆ ไม่นานเมื่อเขาทิ้งเราไปไม่ว่าด้วยความตายหรือเขาจากลาไปหาคนอื่นก็ก่อเกิดเป็นความพรัดพรากแก่เรา ผล คือ โกรธแค้นบ้าง ความขุ่นมัวใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ เศร้าโศรกร้ำไรรำพัน ร้อนรุ่มเศร้าหมองทั้งกายใจเป็นทุกข์
- เราพอใจยินดีหวังปารถนาอยากจะได้บ้าน รถ เงิน ทอง เพื่อน อยากให้คนยอมรับเรา อยากอยู่จุดสูงสุด อยากอยู่สุขสบาย แต่เมื่อไม่เป็นไปตามที่หวังปารถนาไว้ ก็ก่อเกิดเป็นการประสบกับความไม่เป็นไป-ไม่สมดั่งหวังปารถนาพอใจ ยินดีใคร่ได้แก่เรา ผล คือ ความขุ่นมัวใจ อัดอั้นคับแค้นกายใจ เศร้าโศรกร้ำไรรำพัน ร้อนรุ่มเศร้าหมองทั้งกายใจเป็นทุกข์

เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ เราต้องพบเจออยู่เป็นประจำ นี่คือ ทุกขอริยะสัจ ที่เราต้องพบเจออยู่เป็นประจำทุกวัน ทุกขณะ แม้แต่ยามนอน แม้หลับฝันถึงเรื่องราวหรือสิ่งใดๆที่ตนเองพอใจยินดีแต่ไม่นานฝันนั้นก็ต้องดับไปเมื่อตื่นขึ้นมาเราก็ต้องพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่จำเริญใจทั้งสิ้นไป แม้อยากจะฝันอย่างนั้นอย่างนี้อีกตามที่ตนเองพอใจยินดีปารถนาต้องการแต่มันก็ยังไม่เป็นไปดั่งความตั้งใจปารถนานี่ก็คือความไม่สมปารถนา สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นเหตุที่ทำให้เราประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจทั้งหลาย

ทำอย่างไรถึงจะหายจากทุกข์ที่เกิดแต่โทสะนี้ๆ เราก็ต้องยอมรับความเป็นจริงตามสัจธรรมเหล่านี้ให้ได้คือ

- คนเรามีความไม่สมหวังปารถนายินดีใคร่ได้ดั่งใจไปทั้งหมดทุกอย่าง เราย่อมประสบกับความไม่สมปารถนาในสิ่งที่หวังเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปไม่ได้ ปารถนาร้อยก็ทุกข์ร้อย ปารถนาห้าสิบก็ทุกข์ห้าสิบ ไม่ปารถนาเลยก็ไม่ทุกข์เลย อย่าไปปารถนาเอาสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรามันมีแต่ทุกข์

- คนเรามีความพรักพรากเป็นที่สุดไม่ด้วยสภาพแวดล้อมภายนอกก็ด้วยสภาวะธรรมปรุงแต่งภายใน ไม่ก็ด้วยกาลเวลาและความตาย เราจะต้องพรัดพรากไปจากสิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญใจทั้งสิ้นไปไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่งดังนี้เป็นต้น เราจะล่วงพ้นจากความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญใจทั้งสิ้นนี้ไปไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งใดคงอยู่ยืนนาน ความเข้าไปยึดเอาสิ่งที่ไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์

- คนเรามีความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก-ที่พอใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่ทุกขณะ เราจะต้องเจอกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามความปารถนาใคร่ได้ต้องการ เจอสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่พอใจยินดี เจอการพรัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจทั้งหลาย เจอความผิดหวัง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นชื่อว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่-พอใจทั้งหลาย จนอยากจะผลักหนีให้ไกลตน เราจะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปเป็นไม่ได้ ด้วยเพราะสิ่งทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับมันให้เป็นไปตามเราพอใจต้องการได้

- เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่ เป็นเรา เป็นของเรา อันที่เราจะไปบังคับจับต้องให้มันเป็นไปดั่งใจได้ความปารถนาเอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นทุกข์

- เมื่อยอมรับสัจธรรมในเยื้องต้นอย่างนี้แล้วเวลาที่รู้อารมณ์ไรๆที่ทำให้เกิด โทสะ กลุ้มรุมกายและใจ ก็ให้พึงระลึกว่านี่เรากำลังประสบกับความไม่สมปารถนา กำลังประสบกับความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่จำเริญเพลิดเพลินใจ กำลังประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ เพราะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกับสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราอย่าเอาความสุขสำเร็ขใดๆไปผูกขึ้นไว้กับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธัมมารมณ์ ใดๆเหล่านี้เลยมันเป็นทุกข์ ทำใจยอมรับมันว่าต้องประสบพบเจออยู่เป็นธรรมดาทุกเวลาทุกขณะจิตอยู่แล้ว จากนั้นเจริญจิตขึ้นสลัดโทสะมันทิ้งเสียว่า ช่างมันเหอะ ก็ปล่อยมันไป ติดใจข้องแวะไปก็ไม่มีประโยชน์ไรๆกับเรา อย่าไปเอาความสุขของเราไปผู้กับสิ่งที่ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์เหล่านี้เลย อย่างเอาความสุขของเราไปผูกขึ้นไว้กัยสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เสียเวลาเปล่าๆ จิตใจเราจะเริ่มปลงใจในความติดข้องกับสภาวะที่รับรู้เหล่านั้นจนเข้าสู่ขันติได้เพราะรู้จักละ รู้จักปล่อย รู้จักวาง จนเข้าถึงความวางเฉยกับอายตนะภายนอกได้


เรื่องการยอมรับความจริงตามสัจธรรมคร่าวๆอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.msg27474#msg27474


ข. ยังมีข้อหลักอื่นที่สำคัญอีกข้อที่พระพุทธเจ้าเจริญและตรัสสอนอยู่นั้นแม่จนถึงวันที่จะปรินิพพานแล้วนั้นคือ "ความไม่หวั่นไหวต่อคำนินทา-สรรเสริญใดๆ จงเป็นผู้ไม่ถูกโลภะ-โทสะ-โมหะกลุ่มรุม" เพราะเมื่อหวั่นไหวต่อคำนินทา-สรรเสริญไรๆไปแล้วจักเป็นผู้ถูกโลภะ โทสะ โมหะกลุ้มรุมกายใจ ย่อมนำทุกข์ภัยอันตรายมาสู่ตน ให้รู้รับฟังแม้คำนินทา-สรรเสริญแล้วน้อมนำมาพิจารณาในสิ่งที่มีในตนและไม่มีในตนตามจริง สามารถไขข้อข้องใจไรๆได้ด้วยความเป็นเหตุเป็นผลทบทวนได้ดังนี้ มีจิตยังเข้าสู่ขันติและอุเบกขา รู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวาง รู้จักช่างมันในความถือตัวหลงตนว่านี่เป็นเรา-เป็นของเรา เราเป็นอย่างนี้ เราไม่เป็นอย่างนี้ พร้อมที่จะรับรู้รับฟังการโต้ตอบจากผู้อื่นด้วยความอดโทษไว้แก่เขา พร้อมเจริญพิจารณาด้วยปัญญาเห็นถึงสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ เห็นข้อดีและข้อเสียเมื่อจะทำกิจการใดๆลงไป พร้อมสามารถที่จะอธิบายเรื่องราวใดๆด้วยเหตุและผลให้รู้ตามจริงและทบทวนได้ให้ผลได้ไม่จำกัดกาล)

ข.๑ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จิตใจที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทาสรรเสริญนั้น เป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ! ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใด ฝึกตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสไนย ม้าสินทบ พญาช้าง ตระกูลมหาราชที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐยิ่งกว่าสัตว์เหล่านั้น"


- ลองทำความเข้าใจดูครับประโยชน์จากพุทธโอวาท 3 เดือน ก่อนปรินิพพานนี้ประกอบด้วยคุณประโยชน์เป็นอันมาก ลองเจริญปฏิบัติดูครับ
- ลองคิดในมุมมองว่าคนเราเป็นอย่างไรก็มักจะมองคนอื่นเป็นอย่างนั้นตามที่ตนเองเป็นที่ตนเองนั้นใคร่ครวญกระทำอยู่เป็นประจำ คนจิตใจดีก็ย่อมมองคนอื่นด้วยจิตใจที่ดีงาม ดังนั้นเมื่อเขามองเราด้วด้วยความเร่าร้อน ร้อนรุ่ม ขุ่นมัวใจ เขาก็จะกล่าววาจาที่จิตใจเขาเป็นอยู่ตามที่กายใจเขาถูกความร้อนรุ่มทั้งหลายกลุ้มรุมอยู่ออกมา เหมือนเป็นการระบายความอัดอั้น คับแค้นจากการถูกความเร่าร้อน ร้อนรุ่มกลุ้มรุมกายใจนั้นออกมา อย่างนี้เขาเป็นคนน่าสงสารอันเราควรเมตตากรุณาสงเคราะห์เขาด้วยจิตเอ็นดูปรานีให้มาก ไม่ควรไปติดข้องใจไรๆกับเขา นี่มันก็จะถอนความขุ่นข้องใจของเราขึ้นแล้วจะเกิดความ ปารถนาดี และ สงเคราะห์ สละให้ เขาแทน
- แต่หากว่าเรานั้นมีข้อบกพร่องจริงๆให้เขาว่ากล่าว เราก็แก้ที่ตัวเรา(เรามักจะมองตนเองไม่ออก ผู้อื่นจึงจะมองเราออกดังนั้นเราก็อดโทษแก่เขาไว้ อดใจไว้ อดทนได้ทนไว้ด้วยความปล่อย ละ วาง แล้วฟังหรือดูให้สิ่งที่เขาพูด กล่าว สิ่งไหนที่มีไหนเรา สิ่งไหนไม่มีในเรา สิ่งไหนที่เราเป็น สิ่งไหนที่เราไม่เป้นอย่างเขาพูด สิ่งไหนควรพูดกล่าวให้เห็นด้วยเหตุผล สิ่งไหนเราควรน้อมมาสู่ตน สิ่งไหนควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

ทางเจริญจิตเจ้า ความไม่หวั่นไหวต่อคำติฉินนินทามีดังนี้

ข.๑.๑ พึงเจริญใน "ทมะ + อุปสมะ" (ในขั้นสัมมาสังกัปปะ คือ กุศลวิตก จนเข้าสู่สมาธิและอุเบกขา)
เราจะเจริญในทมะและอุปสมะได้ เริ่มแรกต้องรู้ก่อนว่า ทมะ คือ ความขุ่มใจจากกิเลส อุปสมะ คือ ความสงบใจจากกิเลส ซึ่งทมะและอุปสมะนี้เป็นธรรมคู่กัน เมื่อจะเจริญปฏิบัติต่อการกระทำไรๆหรือวาจาไรๆของผู้อื่นอันเบียดเบียนกายใจเราให้พึงระลึกตรึกนึกอันมีทางเข้าถึงดังนี้ว่า


- เขามองเราด้วยสายตาอันไม่เป็นมิตร ก็ยังดีกว่าเขาด่าเรา
- เขานินทาด่าเราด้วยวาจา ก็ยังดีกว่าเขาตบตีเราด้วยมือ
- เขาตบตีเราด้วยมือ ก็ยังดีกว่าเขาใช้ไม้ทุบตีเรา
- เขาใช้ไม้ทุบตีเรา ก็ยังดีกว่าเขาใช้มีหอกหลาวฟาดฟันทิ่มแทงเรา
- ขาใช้มีหอกหลาวฟาดฟันทิ่มแทงเรา ก็ยังดีกว่าเขาฆ่าเรา

(นี่คือการเจริญ "ทมะ" ความข่มใจจากกิเลสด้วยความคิดในกุศล เพื่อข่มใจจากกิเลส คือ โทสะ เป็นต้น ยังจิตเจริญเข้าถึงความปล่อยวางใจจากกิเลสด้วยความคิดนั้น ทำให้เข้าถึงความวางเฉยไม่ยินดียินร้ายกับคำนินทาเหล่านั้น เป็นความสงบใจจากกิเลสอันเรียกว่า "อุปสมะ" ในขั้นความคิดจนเข้าสู่สมาธิและอุเบกขา)[/i]

ดูเพิ่มเติมใน ปุณโณวาทสูตร อันเป็นไปใน ทมะ+อุปสมะ ขั้นพระอรหันต์ ตาม Link นี้ครับ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=9641&Z=9745

ความไม่หวั่นไหวไปกับคำสรรเสริญใดๆนั้น เริ่มแรกให้เราพิจารณาเห็นโทษหากเข้าไปเสพย์ในวาจานั้น เมื่อหลงกับคำสรรเสริญเราย่อมประมาทเลินเล่อ หลงตนลุ่มหลงไปว่านี่เป็นเรานี่เป็นของเรา นี่เรามีเราเป็น ทั้งที่จริงบ้างไม่จริงบ้าง จนนำความฉิบหายมาสู่เรา เมื่อมีคำสรรเสริญใดๆแก่เรา พึงฟังแล้วรู้จักวางใจไว้แค่รับฟัง มองตามว่าสิ่งที่เขาสรรเสริญนั้นมีในเราหรือไม่ ควรแก่คนเขาต้อนรับสรรเสริญหรือไม่เพราะเหตุใดด้วยความพิจารณาหวนรำลึกทบทวนถึง ศรัทธา ศีล จาคะ มรร๘ ในตนอันตนเจริญปฏิบัติมาบริบูรณ์แล้วว่าครบพร้อมควรแก่คำสรรเสริญเหล่านั้นแล้วหรือยัง ไม่ปล่อยใจลุ่มหลงไปกับความคิดใจเพลิดเพลินยินดีกับคำเยินยอสรรเสริญเหล่านั้น ตั้งมั่นคงไว้ซึ่งความสงบสำรวมกายและใจไม่เผลไผลไปตามความติดใจเพลิดเพลินยินดี

(นี่ก็เป็นความสงบใจจากกิเลส คือ โลภะ ด้วยความความคิดพิจารณาในกุศลขุ่มใจจากกิเลส มีความสำรวมกาย-วาจา-ใจอยู่เพื่อสงบใจจากกิเลส)


ข.๑.๒ ให้พึงระลึกอยู่เนืองๆว่า สันดานปุถุชนร้อนรุ่มไปด้วยกิเลส ย่อมมีคำติฉินนินทาและสรรเสริญเป็นธรรมดา ผู้ที่หวั่นไหวไปตามคำนินทา-สรรเสริญมีเพียงผู้ที่มีสันดานปุถุชนเท่านั้น ด้วยเหตุยังกิเลสตัณหาเครื่องแห่งความร้อนรุ่มกายใจอยู่ไม่ห่าง ผู้ที่ไม่หวั่นไหวต่อคำติฉินนินทาและสรรเสริญ คือ ผู้ที่มีสันดานแห่งพระอริยะเท่านั้น ดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าสาวกของพระพุทธเจ้าย่อมเจริญเช่นนี้ๆ หากเรามีสันดานแห่งพระอริยะแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหวต่อคำนินทา-สรรเสริญด้วยประการฉะนี้


พรหมชาลสูตร
สรุปโดยย่อ

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุง ราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก. ได้ยินว่าในระหว่างทางนั้น. สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วน พรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง ฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ
    ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่ง ประชุมกันอยู่ ณ ศาลานั่งเล่น เกิดสนทนากันในเรื่องนี้
    ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำสนทนาของภิกษุเหล่านั้นแล้วเสด็จไปยัง ศาลานั่งเล่น ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้
    ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ท่านทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบ ความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริง สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วน พรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง ฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ พระพุทธเจ้าข้า เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระพุทธเจ้า พูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคือง หรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ ละหรือ?
    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้น จะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือ ชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริง แม้เพราะเหตุนี้ นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ใน เราทั้งหลาย.

ขอขอบคุณที่มาจาก http://www.polyboon.com/dhumma/09_001.php
พระสูตรเต็มดูได้ที่นี่ http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=09&A=0

คำสอนจากพระสูตรนี้ก็ตรงอยู่แล้วนะครับ ผมคงไม่ต้องอธิบายอะไรเพิ่มเติมเพราะคิดว่าทุกท่านจะรู้และมีธรรมสูงกว่าผมมาก เพราะผมเป็นผู้ไม่รู้ไม่มีธรรมไม่ได้ปฏิบัติแค่คนเขลาที่มีปัญญาน้อยหรือไม่มีเลย

ข.๒ พระพุทธเจ้าตรัสว่า
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ผู้อดทนต่อคำกล่าวล่วงเกินของผู้สูงกว่า ก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทนมีเมตตา ย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่าย สามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย ! เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์"

ข.๒.๑ พึงเจริญใน "ขันติ + โสรัจจะ" (ในขั้นสัมมาสังกัปปะ คือ กุศลวิตก จนเข้าสู่สมาธิและอุเบกขา)
เราจะเจริญในขันติและโสรัจจะได้ เริ่มแรกต้องรู้ก่อนว่า ขันติ คือ ความอดทนอดกลั้น มีความทนได้ทนไว้ รู้จักปล่อยวางกายใจ รู้จักละกายใจ โสรัจจะ คือ ความเสงี่ยม สำรวมในกาย วาจา ใจ, ความมีอัธยาศัยงาม รักความประณีตหมดจดและสงบเรียบร้อย นั่นคือ ศีลสังวร นั่นเอง ซึ่งขันติและโสรัจจะนี้เป็นธรรมคู่กัน เมื่อจะเจริญปฏิบัติต่อการกระทำไรๆหรือวาจาไรๆของผู้อื่นอันเบียดเบียนกายใจเราให้พึงระลึกตรึกนึกอันมีทางเข้าถึงดังนี้ว่า

- เมื่อมีใครมากล่าววาจากระทบกระทั่ง หรือ กระทำการใดๆเพื่อเป็นการเบียดเบียนทำร้ายเรา
- ไม่ว่าเราจะวางเฉย หรือ จะทุกข์ร้อนไปตามการกระทำนั้นๆของเขา
- มันก็เปลี่ยนความคิดให้เขาไม่ทำไม่ได้ และ เขาก็ได้ทำไปอยู่ดี ไม่ว่าเราจะนิ่งเฉยหรือเป็นทุกข์ก็ตาม
- เมื่อสุดท้ายแล้วเขาก็ทำ ทีนี้เราจะไปร้อนรุ่มตามการกระทำของเขาไปเพื่ออะไร เราก็วางเฉยเสีย
- ปล่อยให้มันผ่านเลยไปอย่าไปติดข้องใจไรๆให้เราร้อนรุ่มกายใจเปล่าๆ ละความติดใจข้องแวะ วางความติดค้างคาใจไรๆไปเสียเพราะมันพึงหาประโยชน์สุขไรๆไม่ได้นอกจากทุกข์
- เมื่อรู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวางแล้ว เป็นทางเข้าสู่ความอดทนอดกลั้น-ทนได้ทนไว้อันปราศจากความติดข้องใจไรๆให้เกิดขึ้น เรียกว่า "ขันติ"
- เมื่อขันติเกิดขึ้น อุเบกขาก็จะเจริญตาม คือ ความมีใจวางไว้กลางๆไม่ไปยินดียินร้ายต่อการกระทำไรๆของเขา
- พึงตั้งเจตนามั่นเจริญจิตขึ้นถึงความสำรวมกายวาจาใจอยู่ ไม่คิด-พูด-ทำอันเป็นอกุศล มีโทสะเป็นต้น เพื่อเว้นจากการเบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น
- มีทางเข้าถึงความสำรวมกายวาจาใจดังนี้โดย พึงระลึกอยู่เนืองๆว่า ความคิดอย่างไรอันเราไม่พึงปารถนาก็อย่าไปคิดเช่นนั้นกับคนอื่น วาจาอันใดเราไม่พึงปารถนาก็อย่ากล่าววาจาเช่นนั้นกับคนอื่น การกระทำอันใดที่เราไม่พึงปารถนาก็อย่ากระทำอย่างนั้นกับคนอื่น แม้นการกระทำไรๆที่พึงรู้ได้ด้วยกุศลธรรมว่าเป็นการกระทำอันเลวทรามเป็นอกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆที่ยังความฉิบหายให้เกิดขึ้นที่ผู้อื่นได้ทำแล้ว เราก็พึงอย่ากระทำเช่นนั้นตามเขา เรียกว่า "โสรัจจะ หรือ ศีลสังวร"
- นี่จัดว่าเป็นความอดทนอดกลั้นและความสำรวมทางกายวาจาใจไว้

ดูเพิ่มเติมสัลเลขะสูตรได้ตาม Link นี้ครับ
วิธีเจริญในศีลสังวร+สัมมามรรค(สัลเลขสูตร)

- ความสุขอยู่ที่เราทำ ไม่ได้อยู่ที่การกระทำหรือคำพูดของใคร อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับคนอื่นดังนี้
- ให้พึงระลึกอยู่เนืองๆว่า สาวกของพระพุทธเจ้าทุกองค์ ทุกคน จะไปในทิศเบื้องหน้าก็ดี เบื้องหลังก็ดี เบื้องข้างก็ดี เบื้องเฉียงก็ดี เบื้องบนก็ดี เบื้องล่างก็ดี แม้ไปในทิศไหนๆก็เจริญเมตตาแผ่ไปอันไม่มีประมาณ เพราะระลึกไว้ว่าแม้เมื่อตายแล้วก็ไม่เสียดายเพราะได้เจริญกุศลเมตตานี้แผ่ไปไม่ขาดเว้น แม้ชาติหน้าไม่มีอีกหรือจะต้องกลับมาเกิดอีกก็ไม่หวั่นด้วยในขณะนี้ได้เจริญในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแผ่ไปแบบไม่มีประมาณแล้ว ได้เจริญปฏิบัติในกุศลแล้ว เป็นผู้เอ็นดู ปรานี ปารถนาดีต่อผู้อื่นแล้ว ไม่มีความผูกเวร พยาบาท ละแล้วซึ่งความผูกโกรธแค้น ละแล้วซึ่งความอาฆาตพยาบาทหมายประทุษร้ายผู้อื่นให้ฉิบหาย เป็นผู้อนุเคราะห์แบ่งปันและสงเคราะห์แก่ผู้อื่นแล้ว เป็นผู้มีการสละให้ผู้อื่นแล้ว เป็นผู้ยินดีต่อผู้อื่นโดยปราศจากความริษยาแล้ว เป็นผู้มีใจวางไว้กลางๆ ปล่อยวาง ไม่ยินดียินร้ายต่อผู้อื่นแล้ว ด้วยประการฉะนี้

วิธีเจริญจิตให้เข้าถึงเมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต อุเบกขาจิตเบื้องต้นอันเป็นทางปูไปเพื่อเจโตวิมุตติดูได้ตาม Link นี้ครับhttp://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 23, 2014, 08:35:28 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 03:35:54 pm »
0
 st11 st12

   มีแนวกรรมฐาน โดยรวม อ่านแล้ว ก็รู้ว่า ผู้ที่เขียน ปฏิบัติได้ระดับหนึ่ง แต่อ่านมาจนหมด ก็ยังไม่เห็นแนวทางในการปฏิบัติจริง เพราะมีแต่การทำความเข้าใจ ในเนื้อหา ซึ่งบางครั้งติดเรื่องศัพท์ เพราะไม่เคยเรียน ธรรมะมาก่อน จึงทำให้เกิดความสงสัย ในศัพท์ต่าง ๆ

   ดังนั้น นับว่าอ่านแล้ว ก็ได้แนวทางความคิด เข้าใจสาระ เบื้องต้น คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

  แต่ปัญหา เรื่อง นิโรธ มรรค อ่านยังไม่ค่อยจะเข้าใจ

  thk56
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 04:34:38 pm »
0

     ๒.๒ การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ว่าด้วยราคะ ๑)

    ๒.๒.๑ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ มีความสำรวมกาย วาจา ใจ มีศีลสังวร จนสงเคราะห์ลงให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามที่ไม่น่าพิศมัยยินดี เข้าพิจารณาในเป็น ปฏิกูลมนสิการ และ อสุภะกรรมฐาน สักเป็นแต่เพียงธาตุ เพื่อละกามราคะ

    ๒.๒.๑.ก เจริญจิตขึ้นระลึกในพุทธานุสสติเป็นฐานแห่งจิตและความระลึกรู้ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

ก. เมื่อเรารู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะแล้วเกิดกามราคะ ก็ให้เกิดสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติตั้งอยู่ระลึกรู้ว่าราคะเกิด จากนั้นให้เจริญอานาปานนสติ+พุทธานุสสติทำดังนี้

๑. หายใจเข้ายาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจเข้ายาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "พุทธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 80000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
(เมื่อหายใจเข้ายาวจนสุดลมแล้ว เราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)

๒. หายใจออกยาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจออกยาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "โธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 80000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
(เมื่อหายใจเข้าออกจนสุดลมแล้วเราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)
- พึงเจริญอนุสสติด้วยอานาปานนสติและพุทธานุสสติเแล้วระลึกอย่างนี้สัก 3-5 ครั้ง คือ หายใจเข้า(พุทธ)+หายใจออก(โธ) นับเป็น 1 ครั้ง เพื่อดึง สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นมารู้กายรู้ใจในปัจจุบันทำให้จิตสงบและผละออกจากกามราคะ

ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอานนท์ว่าบุคคลใดก็ตาแม้จะระลึกถึงหรือเห็นพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวคำว่า อระหังๆๆๆ อยู่อย่างนี้ แม้จะสงบรำงับจากกิเลสได้แต่ก็ยังขจัดทิ้งซึ่งกิเลสไม่ได้หากเอาแต่ระลึกบริกรรมแต่ไม่ปฏิบัติตาม ด้วยเหตุดังนี้แล้วเราจะเจริญพุทธานุสสติอย่างไรให้หลุดพ้นซึ่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมมีวิธีให้ครับสามารถดับกิเลสเครื่องร้อนรุ่มกายใจได้หมด และ ปฏิบัติเข้าถึงสัมมาสมาธิ รูปฌาณ อรูปฌาณ จนถึงวิปัสนาญาณได้ แต่ขอกล่าวโดยย่อเฉพาะส่วนดังนัี้

๑. "พึงตรึกนึก รำลึกคำนึงถึงว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงพระเมตตากรุณามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราผู้เป็นสาวกแล้ว" เมื่อพระตถาคตมาอยู่เบื้องหน้านี้แล้วและพระตถาคตนั้นมีความสำรวมกาย-วาจา-ใจอยู่ มีศีลสังวร ได้กระทำให้เราเห็นอยู่เบื้องหน้าดังนี้แล้ว เรายังจะเสพย์ในกามราคะอันร้อนรุ่มอันเป็นอกุศลธรรมอันลามกจัญไรต่อหน้าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร เราผู้เป็นสาวกผู้ประพฤติตามอยู่นี้ควรสำรวมกาย-วาจา-ใจ ดั่งพระตถาคตที่ทำเป็นแบบอย่างนั้นแก่เรา พระตถาคตจะตรัสสอนเสมอว่าให้เลือกสอิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
- สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อมลง แล้วอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นไม่ควรเสพย์
- สิ่งใดที่ทำให้อกุศลธรรมอันลามกจัญไรเลื่อมลง แล้วกุศลธรรมอันผ่องใสเบิกบาน มีความสงบร่มเย็น เป็นสุขอันปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ ปราศจากความเบียดเบียนเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นควรเสพย์
(การสำรวมกาย วาจา ใจ แล้วเลือกสิ่งที่ควรเสพย์ ดูเพิ่มเติมที่ "สัลเลขะสูตร" ตาม Link นี้ http://www.nkgen.com/386.htm)

๒. ด้วยเหตุดังนี้แล้ว ให้พึงหวนพิจารณารำลึกว่า พระตถาคตก็อยู่เบื้องหน้าเรานี้แล้ว และ แสดงธรรมแห่งกุศลอันควรเจริญปฏิบัติแก่เราแล้วอยู่ทุกขณะดังนี้
  ก. แม้เรายืนอยู่-พระตถาคตก็ทรงพระวรกายยืนในเบื้องหน้าเรา ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ข. แม้เราเดินอยู่-พระตถาคตก็ทรงเสด็จนำหน้าเราไปอยู่นี้เสมอ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ค. แม้เรานั่งอยู่-พระตถาคตก็ทรงประทับนั่งอยู่เบื้องหน้าเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ง. แม้เรานอนอยู่-พระตถาคตก็ทรงบรรทมอยู่เบื้องหน้าเรา หากมีหิ้งพระอยู่ที่บ้านก็ให้พึงรำลึกว่าพระตถาคตประทับบรรทมอยู่ที่นั่น หรือ ทรงพระญาณแลดูเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์แม้ในยามนอนให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
๓. ด้วยพระเมตตากรุณาที่พระองค์ทรงดูแลเป็นห่วงเราอยู่แลปฏิบัติให้เห็นอย่างนี้ แล้วเราผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคตก็ควรประพฤติตาม คือ ต้องสำรวมในกาย วาจา ใจ แล้วละเสียซึ่งกิเลสกามราคะอันเร่าร้อนร้อนรุ่มกายใจที่กำลังกลุ้มรุมเราอยู่นี้เสีย ด้วยพึงเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเสพย์ เพราะมันหาประโยชน์สุขอันสงบร่มเย็นกายใจไม่ได้นอกจากทุกข์ด้วยประการฉะนี้แล (การพิจารณาให้เห็นถึงคุณและโทษตามจริงในกิเลสทำให้เกิดธรรมที่มีเสมอกันคือทั้ง ฉันทะและปฏิฆะเท่ากัน เกิดเป็นอุเบกขาขึ้นแก่จิต นี่ก็เป็นทางเข้าสู่อุเบกขาจิตประการหนึ่งที่ว่าด้วยการมีธรรมเสมอกัน)

๔. เพียรเจริญปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำ จิตที่น้อมไปหากามราคะจะเบาบางและสงบรำงับลง การสำรวมในกาย-วาจา-ใจก็บริบูรณ์ขึ้น เกิดเป็นศีลสังวรณ์ จนบังเกิดศีลที่บริสุทธิ์(สีลวิสุทธิ) เมื่อหวนระลึกถึงศีลที่สำเร็จบริบูรณฺ์นี้แล้ว ความร้อนรุ่มกายใจย่อมไม่มี จิตย่อมมีความผ่องใสปราโมทย์เบิกบาน มีปิติอิ่มเอม เป็นสุข จนเข้าถึงสัมมาสมาธิได้ด้วยประการฉะนี้ดังนี้
(การระลึกถึงคุณและปฏิปทาของพระพุทธเจ้าในพุทธานนุสสตินี้ ทำให้เราได้ทั้ง ศีล จาคะ สมาธิในสมถะ ได้ทั้งการอบรมกายและจิตเป็นวิปัสสนา)

    ๒.๒.๑.ข พิจารณาในบุคคคลที่เราเห็นอยู่ที่กำลังเกิดราคะอยู่นี้ว่า กายของเขานี้มีสภาพอย่างไรบ้าง เช่น เมื่อมองที่แขนของเขา มันก็โครงสร้างรูปร่างเหมือนแขนของเรา แล้วให้มาจับบีบแขนของเรามันก็นุ่ม แข็ง แขนของเขาก็มีสภาพเหมือนกัน เขามีผมเราก็มีผม เขามีเล็บเราก็มีเล็บ เขามีเนื้อเราก็มีเนื้อ เขามีฟันเราก็มีฟัน เขาก็เหมือนกับเราทุกอย่างไม่ต่างกัน แล้วพิจารณาเห็นแยกกายเขาออกเป็นอาการทั้ง 32 ดังนี้

ท์วัตติงสาการะปาโฐ
(ท์วัตติงสาการะปาโฐ คือ อาการทั้ง 32 ประการนี้ คือ กายคตาสติจะมีแต่เพียงในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่มี เป็นการพิจารณาโดยแยบคายที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนดึงเข้าได้ถึง ฌาณ ๔ เข้าสมถะเห็นเป็น อสุภะ ธาตุ กสิน ก็ได้ เข้าสู่วิปัสนาเห็นเป็นเพียงธาตุหรือรูปนามก็ได้ ในอนุสสติ ๑๐ บทท์วัตติงสาการะปาโฐ คือ กายคตาสติ ส่วนในหมวดที่พระพุทธเจ้าจัดรวมว่าเป็นการพิจารณากายคตาสตินั้น ท์วัตติงสาการะปาโฐ จะเป็น ปฏิกูลบรรพ เป็นการพิจารณาส่วนหนึ่งในกายคตาสติที่รวมเข้ากัน 7 หมวด คือ อานาปานสติบรรพ๑ อิริยาบถบรรพ๑ สัมปชัญญะบรรพ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ๑ ธาตุมนสิการบรรพ๑ นวสีวถิกาบรรพ๑ และ สัมมาสมาธิ คือ รูปฌาณ๔ หรือ กายานุสติปัฏฐาน นั้นเอง)

  ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

 เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่

 ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น

 น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร {เยื่อในสมอง}


ก็กายเรานี้เป็นอย่างนี้แล กายเขาที่เราเสพย์อารมณ์กำหนัดราคะอยู่ก็เป็นดังนี้แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเป็นของไม่สะอาดดังนี้แล กายเราและกายเขานี้ก็เป็นเช่นนี้แล สิ่งเหล่านี้ที่รวมอยู่ในกายเราและเขา เราจักพึงหวังเอาปารถนาในอาการทั้ง 32 เหล่านั้นในเขาก็ไม่เกิดประโยชน์ไรๆนอกจากทุกข์อันรุ่มร้อนมัวหมองใจจากการปารถนายึดมั่นถือมั่นในของไม่สะอาดเหล่านั้นดังนี้

    ๒.๒.๑.ค เจริญจิตขึ้นพิจารณาในบุคคคลที่เราเห็นอยู่ที่กำลังเกิดราคะอยู่นี้ว่า กายของเขานี้มีสภาพอย่างไรซึ่งประกอบไปด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ (อากาศ วิญญาณ) อย่างไรบ้าง

- เบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจดังนี้ก่อนว่า



ขอขอบคุณที่มาของรูปจากคุณณัฐพลศร ตามกระทู้นี้ครับ
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5260.0

๑. ขั้นตอนพิจารณาปฏิบัติในธาตุดิน เราจะรู้อย่างไรว่าธาตุเหล่านี้คือธาตุดิน เพราะที่มองเห็นมันก็เป็นคนทั้งตัว ตับ ไต กระเพาะ เล็บ มันก็เป็นอย่างที่เรารู้มาตั้งแต่เด็กจะให้มองเป็นดินยังไง
    " ข้อนี้พระตถาคตให้เอาเอกลักษณ์ของธาตุ คือ สภาพคุณลักษณะของธาตุดินเป็นอารมณ์ นั่นคือ รู้ในสภาพที่อ่อนและแข็ง ไม่ต้องไปรู้สภาพอะไรอื่นให้รับรู้สภาพนี้จากจากการสัมผัสรู้สึกถึงอาการที่เป็นเอกลักษณ์หรือคุณลักษณะของธาตุดินเท่านั้น(ถ้าทางวิปัสนานี้ท่านจะให้รู้จนเห็นไม่มีตัวตนบุคคลใดสักแต่เป็นเพียงรูปนาม ธาตุดินก็คือรูป เป็นมหาภูตรูป๔)"
    " ทีนี้เราลองจับดูหนังของเรามันก็อ่อนนุ่มใช่ไหม นั่นคือคุณสมบัติของธาตุดิน คือ มีความอ่อนนุ่มหรือแข็ง ดังนั้นหนังจึงเป็นธาตุดิน ผมก็มีลักษณะอ่อนนุ่มนั้นก็เป็นลักษณะของธาตุดิน เล็บมันแข็งใช่ไหมดังนั้นเล็บก็เป็นธาตุดิน เนื้อก็อ่อนนุ่มเนื้อจึงเป็นธาตุดิน หากเป็น ตับ ไต ไส้ กระเพาะอาหาร เราอาจจะยังไม่เคยจับใช่ไหม แต่คนกับสัตว์ก็เหมือนกันเราคงพอจะได้สัมผัสกันว่า มันมีความอ่อนนุ่มและแข็งเท่านั้น กระดูกก็แข็งก็แสดงว่าอวัยวะภายในมีตับ ไต กระดูกเป็นต้น คือธาตุดินที่มีอยู่ในกายเรา ก่อตัวรวมกัมกับน้ำบ้าง ลมบ้าง ไฟบ้าง อากาศศบ้างขึ้นเป็นรูปร่างเป็นอวัยวะต่างๆและตัวของคน สัตว์ขึ้นมานั่นเอง ร่างกายเราจึงประกอบด้วยธาตุดิน ด้วยประการฉะนี้"
    - หากอยากรู้ว่ากายเรานี้ อวัยวะชิ้นนั้นๆคือธาตุใดก็ให้ลองไปซื้อเครื่องใน หมู วัว เป็ด ไก่ เอามาจับๆและเพ่งพิจารณาดูว่ามันมีสภาพอย่างไร เวลาจับๆบีบๆนี่มัน อ่อนนุ่ม หรือ แข็ง เป็นใหญ่ในทุกพื้นที่ที่จับใช่ไหม นั่นแสดงว่าอวัยวะชิ้นนั้นคือธาตุดินนั่นเอง
    - หากอยากรู้ว่าอวัยวะที่เป็นธาตุดินมีดินรวมตัวกันขึ้นเป็นรูปทรงนั้นๆ มันเกิดขึ้นเพราะเหตุใดหนอเป็นปัจจัยปรุงแต่ง มีธาตุใดๆรวมอยู่บ้างหนอ ก็ให้ลองหลับตาแล้วจับๆบีบๆดูที่อวัยวะชิ้นนั้น เราจะได้รับความรู้สึกว่าเหมือนมีบางสิ่งที่มีสภาพอันเอิบอาบ ซึมซาย เกาะกุม เคลื่อนตัวไหลออกมาจากอวัยวะชิ้นนั้นๆ เมื่อเรามองดูก็จะเห็นเป็น น้ำเลือด น้ำหนอง มันข้น เป้นต้น เช่น หั่นดูมีเลือดหรือน้ำเหลืองภายในบ้าง มันก็คือธาตุน้ำนั่นเอง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีน้ำเป็นตัวเกาะกุมดินเข้ารวมกันให้มีรูปทรงลักษณะเช่นนั้น เมื่อบีบเคลื่อนสภาพมันดูคือลองเอาเครื่องในหรือก้อนเนื้อจุ่มลงไปในน้ำแล้วล้องบีบดูจะเห็นเหมือนมีลมเคลื่อนตัวทำให้ผุดขึ้นเป็นฟองในน้ำบ้าง--นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีลมร่วมอยู่เพื่อพยุงรูปทรงในส่วนนั้นให้คงสภาพอยู่ด้วย เมื่ออวัยวะที่สดใหม่อยู่ก็จะมีความอุ่นมีอุณหภูมิประมาณหนึ่งในอวัยวะส่วนนั้นบ้าง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีต้องอาศัยธาตุไฟเพื่อเผาผาญหลอมรวมให้อยู่ร่วมเกาะกุมกันด้วย เมื่อเราสังเกตุหรือผ่าดูอวัยวะชิ้นนั้นๆจะเห็นว่ามันมีช่องอณุเล็กๆแทรกอยู่เต็มไปหมดบ้าง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีอากาศธาตุเแทรกอยู่ในทุกอณุของดินเพื่อให้มันเป็นช่องสำหรับความยืดหยุ่นเคลื่อนตัวและแทรกซึมระบายให้ธาตุอื่นๆได้นั่นเอง

      อันนี้จะเห็นว่า ในอวัยวะภายในหรือชิ้นเนื้อหนึ่งๆจะประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ อันประครองอาศัยกันอยู่เพื่อรวมตัวกันขึ้นเป็นธาตุนั้นๆเป็นรูปทรงของอวัยวะส่วนนั้นส่วนนี้อยู่ภายในกายเราเพื่อทำหน้าที่ต่างๆในสถาวะที่สมดุลย์กันจะขาดกันไม่ได้จึงสามารถดำเนินไปทำหน้าที่ซึ่งกันและกันต่อไปได้ ดั่งตับ ไต ไส้ กระดูก เป็นต้น
    - จากนั้นลองเอาอวัยวะหรือชิ้นเนื้อเหล่านั้น ไปวางทิ้งไว้ในที่ใดๆก็ตามมี พอระยะเวลาผ่านไปก็จะเห็นว่า เมื่อน้ำเหือดแห้งลงสภาพดินของอวัยวะส่วนนั้นๆแทนที่จะอ่อนนุ่มกลับกลายเป็นแข็งแม้ยังคงสภาพดินอยู่แต่ความอ่อนนุ่มก็ไม่คงอยู่แล้ว เมื่อขาตธาตุน้ำการเกาะกุมรวมกันของสภาพธุาตทั้งหลายอันจะทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมของดินก็ไม่มีแล้ว เมื่อลมหายไปความทรงตัวอยู่ของธาตุดินก็ไม่มีแล้ว เมื่อไฟดับไปความหลอมรวมสภาพไรๆของดินก็ไม่มีแล้ว
    - จากนั้นไม่นานธาตุดินที่เป็นอวัยวะส่วนนั้นๆก็เสื่อมโทรมแปรเปลี่ยนและดับสลายไปในที่สุด

๒. แม้ในธาตุน้ำ ลม ไฟ ก็พิจารณาในกายอย่างนี้เป็นต้นส่วนเอกลักษณ์คุณลักษณะใดๆของธาตุ น้ำ ลม ไฟ ก็มีดังรูปที่ผมคำลอกมาจากท่านณัฐพลศรแล้วจึงไม่ต้องอธิบายซ้ำซ้อนนะครับ จะยกตัวอย่างเพียงคราวๆที่พอไว้เป็นแนวคิดพิจารณาดังนี้
    ๒.๑ ก็ดูจากภายนอก เช่น ปัสสาวะที่เราฉี่ออกมา น้ำมูกที่เราสั่งออกมา น้ำตาที่ไหลออกมา น้ำเลือด น้ำหนองที่ไหลออกมาลองสัมผัสดูว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เอกลักษณฺ์ของมันคือ ความเอิบอาบ ซาบซ่าน เกาะกุม เหมือนกันหมดใช่ไหม นั่นคือเอกลักษณ์ของธาตุน้ำ ในกายเรานี้ก็ประกอบไปด้วยน้ำอันเกาะกุมซาบซ่านให้คงสภาพกายรวมกันไว้อยู่ฉะนี้แล
    ๒.๒ เมื่อเราดูภายนอกคงเคยเห็นลมพัดเข้าออกถ้ำหรือภายในบ้านมันเคลื่อนตัวตรึงไหวพัดผ่านเราไปอย่างไร แม้ในกายเราก็มีอย่างนั้นภายในกายเราเหมือนถ้ำหรือบ้านให้ลมพัดผ่านเคลื่อนตัว ดั่งลมในกระเพาะอาหารมันจะมีความพัดขึ้นเคลื่อนตัวออกมาทำให้เราเรอออกมา หรือ ลมที่พัดลงลมในสำไส้ที่ออกมาเป็นตดเราจะรู้ความเคลื่อนตัวตึงไหวของมันได้ใช่ไหมครับ อันนี้เราทุกคนรู้สึกได้
    ๒.๓ เมื่อเราดูภายนอกเราย่อมเห็นไปที่เผาไหม้ เผาผลาญ ลุกโชนหลอมละลายรวมตัวกันไม่ว่าสิ่งใดๆทั้ง หิน เหล็ก น้ำมัน ไม้บ้าง มันหลอมได้หมดทุกอย่าง สภาพที่เราพอจะรู้สึกกับไฟได้คือมีสภาพร้อน แผดเผา ทำให้แสบร้อนบ้าง หรือ ภายนอกที่เป็นสภาพอากาศอุณหภูมิมันก็มีสภาพที่ทำให้ทั้งร้อน อบอุ่น และ เย็น ดังนี้ แม้ในกายเราไฟอันเป็นธาตุที่หล่อหลอมอยู่ก็มีสภาพเช่นนี้ คอยย่อยเผาผลาญอาหารบ้าง คอยปรับสภาพอุณหภูมิ หรือ ความอบอุ่น ร้อน เย็นในกายบ้าง ลองจับแขน จับแกล้ม เอามือแตะหน้าผาก หรือเอามือไปรองฉี่ที่เราเพิ่งฉี่ออกมา หรือเมื่อเลือดออกลองเอามือไปแต่เลือดดู จะเห็นว่ามันมีสภาพอุ่นบ้าง ร้อนบ้าง เย็นบ้างเป็นต้นออกมาจากกายเรานี้ เมื่อสภาพที่ไฟมีมากอันไม่สมดุลย์กับธาตุอื่นในกายก็เป็นเหตุให้เป็นไข้ ตัวร้อนบ้างเป็นต้น
 
ลองพิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อยๆก็จะเห็นความแยกเป็นธาตุในกายเราอันแม้ยังทรงบัญญัติอยู่ก็ตาม ดังตัวอย่างการพิจารณาของธาตุดินที่เป็นอวัยวะทั้งหลายในกายเรา ที่มีเกิดขึ้นในกายเราอย่างนี้ เราก็จะเริ่มเห็นว่ากายเหล่านี้มันประกอบไปด้วยธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศอันเป็นที่ว่าง-ช่องว่างหรือเป็นรูกวงในกายเรานี้ อาศัยกันเกิดขึ้นเพื่อยังทรงสภาพหลอมรวมเกาะกุมเคลื่อนตัวพยุงกันอยู่ มีวิญญาณธาตุอันเป็นธาตุรู้ดังนี้ จึงรวมเป็น ๖ ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ หลอมรวมอาศัยกันขึ้นมาเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ไม่มีตัวตนบุคคลใดที่เป็นนอกจากนี้ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรเปลี่ยนเสื่อมโทรม และ สูญสลายดับไปในที่สุด เหมือนพิจารณาเห็นในอสุภะกรรมฐานเราจักเห็นความเสื่อมโทรมและสูญสลายไปในที่สุดของร่างกาย อวัยวะ อาการทั้ง 32 ไรๆ อันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ทั้งปวงในกายนี้ จำแนกอยู่เป็นประจำเนืองๆจะเข้าเห็นได้ถึงธาตุภายในกายด้วยประการเบื้องต้นดังนี้

เพิ่มเติมการพิจารณาธาตุด้วยการเพ่งกสินธาตุเทียบเคียง

- อีกประการหนึ่งการจะให้มองเห็นเป็นธาตุนั้น โดยอาศัยการเพ่งกสิน เพื่อดับกามคุณ๕ เห็นเป็นธาตุ เช่น เพ่งธาตุดิน มีผลออกมาจะเห็นร่างกายของคนเป็นดินไปหมด (ซึ่งอานิสงส์จากการเพ่งกสินดินนี้ผมพบเจอมาด้วยตนเอง) ลองเพ่งกสินดินดูด้วยน้อมระลึกให้เห็นโทษของกามคุณ๕ เพื่อให้ละกามราคะได้ ให้เจริญเพ่งในกสินดังนี้ครับ
๑. โดยให้พึงเอาวงกสินดินมาเพ่งจนจดจำได้แม้ลืมตาหลับตาแล้วเพ่งระลึกไป จากนั้นก็พึงเพ่งดูรูปหรือนิมิตของวงกสินนั้นไปเรื่อยๆ พร้อมบริกรรมว่า ปฐวี กสินัง ดินๆๆๆๆ เริ่มแรกให้ทำเช่นนี้ไปก่อนจนสามารถเพ่งดวงกสินแล้วจิตรวมสงบลงได้ ในนิมิตที่เพ่งนั้นเราก็สามารถบังคับให้เล็กใหญ่ตามใจได้ เมื่อเราจะพึงระลึกนึกถึงเมื่อไหร่ก็เห็นนิมิตภาพวงกสินนั้นได้ทันที แล้วพึงเห็นภาพนิมิตนั้นได้นานตามปารถนา ทำให้ได้ตามนี้ก่อน
๒. ทีนี้เมื่อเรามองดูกายตนก็เพ่งดูเทียบพร้อมรำลึกถึงภาพดวงกสินดินนั้น แล้วบริกรรมว่า ปฐวี กสินัง ดินๆๆๆๆ เริ่มต้นอย่างนี้ไปเป็นการใช้กสินให้เห็นเป็นธาตุไม่ใช่เอาอภิญญา ซึ่งผมพลิกแพลงใช้เพื่อละกามราคะ อาจจะต่างจากครูบาอาจารย์ที่สอนในวิธีเจริญอภิญญา ซึ่งท่านสามารถทำน้ำให้เป็นดินได้ ทำดินให้เป็นน้ำได้
(รายละเอียดการเพ่งในแบบอภิญญาทั้งหลายมีสอนจากครูบาอาจารย์มากมาย โดยเฉพาะของพระราชพรหมญาณ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์สายอภิญญา)


     ๒.๒.๑.ง ระลึกเจริญพิจารณาเอาความตายมีอยู่เบื้องหน้าเป็นอารมณ์ คือ เจริญใน มรณะสติ

    - ให้พึงระลึกถึงความตายตลอดเวลา โดยให้พึงระลึกว่าเราจะต้องตายก่อน เช่น อาจจะนอนแล้วไหลตาย อาจจะนั่งแล้วช๊อคตาย อาจจะยืนแล้วหน้ามืดล้มหัวใจวายตาย อาจจะเดินแล้วล้มถูกหอนหรือของแหลมคมทิ่มตายตาย อาจจะกินแล้วติดคอตาย อาจจะกำลังขี้เยี่ยวอยู่แล้วตาย กำลังกินข้าวอยู่แล้วตาย หายใจเข้าอยู่ก็จักตาย หายใจออกอยู่ก็จักตาย ดังนั้นแล้วให้พึงเจริญระลึกอยู่ทุกขณะในเบื้องต้นอย่างนี้ว่า

๑. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง หรือ ตลอดวันหนึ่งวันหนึ่ง
๒. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วขณะที่ ยืน เดิน นั่ง นอน
๓. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วขณะที่กินข้าวเสร็จ หรือ กลืนข้าว 4 คำ บ้าง หรือ ชั่วคำหนึ่ง
๔. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วหายใจเข้าออก หรือ ชั่วขณะหายใจเข้า หรือ ชั่วขณะหายใจออก

    - ดังนั้นแล้ว เมื่อเกิด กามราคะ ขึ้นมาในใจให้พึงเจริญปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้

    ก. เมื่อเรากำลัง ยืน เดิน ยั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆเหล่าอยู่ แล้วไปเห็นเพศตรงข้ามทำให้เกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าเมื่อเรา ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในอิริยาบถใดๆนี้เราก็จักตายไป เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราเอาจิตไปฝากขึ้นไว้กับราคะอันร้อนรุ่ม เมื่อตายด้วยประการฉะนี้เราก็จักลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วให้หายใจเข้าออกยาวๆแรงๆสัก 3-5 ครั้ง เพื่อดึงเอาความรู้ตัวและระลึกรู้ทันความปรุงแต่งจิตในปัจจุบันขึ้นมา มีสัมปชัญญะรู้อิริยาบถตนในปัจจุบันขณะ ยืนก็รู้ว่ายืน เดินก็รู้ว่าเดิน นั่งก็รู้ว่านั่ง นอนก็รู้ว่านอน มีสติรู้ว่ากำลังจะไปไหน จะไปทำอะไร กำลังตรึกนึกคิดอะไร แล้วพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาท มีความสำรวมกายวาจาใจ แต่งกายให้เรียบร้อย แม้เมื่อต้องตายไปก็จักไปขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมหรือนิพพานเพราะมีกรรมฐานเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

    ข. เมื่อเรากำลังกินข้าวอยู่ แล้วเราไปเห็นเพศตรงข้ามทำให้เกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าแม้เมื่อขณะเรากลืนคำข้าวคำนี้แล้วเราก็จักต้องตายไป ไม่ก็ขณะเคี้ยวข้าวเราก็จักตายไป ไม่ก็ขณะตักข้าวเข้าปากเราก็จะต้องตายไป เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราตายด้วยเอากามราคะอันร้อนรุ่มกลืนกินลงไปกับคำข้าว ก็จักตายด้วยความร้อนรุ่มแล้วลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วให้หายใจเข้าออกยาวๆแรงๆสัก 3-5 ครั้ง เพื่อดึงเอาความรู้ตัวและระลึกรู้ทันความปรุงแต่งจิตในปัจจุบันขึ้นมา มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ กินข้าวก็รู้ว่ากำลังกินข้าวอยู่ พิจารณาดูคำข้าวที่เราเคี้ยวกลืนว่ามีสิ่งใดอยู่ กินเพื่ออะไร มีสติรู้ความปรุงแต่งจิตตนใจปัจจุบันขณะราคะมีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ ราคะดับไปแล้วก็รู้ว่าราคะดับไป คำข้าวที่กินเคี้ยวกลืนอันปราศจากความกำหนัดราคะแล้วนี้ แม้เมื่อกินเคี้ยวกลืนไปแล้วต้องตายไป ก็จักไปขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมหรือนิพพานเพราะมีกรรมฐานเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

    ค. เมื่อกำลังหายใจเข้าและออกอยู่นี้เราก็จะต้องตาย เมื่อไปเห็นเพศตรงข้ามแล้วเกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าแม้เมื่อเรากำลังหายใจเข้าอยู่นี้เราก็จักตาย แม้เมื่อเรากำลังหายใจออกอยู่นี้เราก็จักตาย เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราเอาลมหายใจเข้าออกนี้ไปฝากขึ้นไว้กับราคะอันร้อนรุ่ม เมื่อเราตายด้วยประการฉะนี้เราก็จักลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วพึงระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกอันสลัดจากราคะทิ้งเสีย มีพระพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้งทุกลมหายใจเข้าออกดีกว่าเป็นไหนๆ แม้เมื่อต้องตายไปก็จักไปขึ้นสวรรค์หรือไปพบพระตถาคตที่แดนนิพพานพราะมีกรรมฐานพุทธานุสติทุกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

- เมื่อพึงเจริญอยู่เนืองๆก็จะเข้าสู่ อุเบกขา และ ฌาณ ได้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 24, 2014, 06:09:39 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Tumdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มีนาคม 06, 2014, 08:22:08 pm »
0
นำมาเสนออีกนะครับ เพราะผมเองก็เคยคิดว่า จะพิมพ์หนังสือธรรมะ บ้างเหมือนกัน แต่เห็นหลาย ๆ ท่านพิมพ์กันมามากแล้ว และเนื้อหาก็ซ้ำกัน ก็เลยเลือกเป็นผู้อ่าน ครับ

  :c017:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มีนาคม 08, 2014, 07:33:24 pm »
0

     ๒.๒ การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ว่าด้วยราคะ ๒)

    ๒.๒.๑ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ มีความสำรวมกาย วาจา ใจ มีศีลสังวร จนสงเคราะห์ลงให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามที่ไม่น่าพิศมัยยินดี เข้าพิจารณาในเป็น ปฏิกูลมนสิการ และ อสุภะกรรมฐาน สักเป็นแต่เพียงธาตุ เพื่อละกามราคะ

    ๒.๒.๑.จ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในของไม่สวยไม่งามในส่วนของอวัยวะที่เราตรึกนึกสร้างมโนภาพสมมติเสพย์ในเมถุนอยู่นั้น


เมื่อเรารู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะแล้วเกิดกามราคะ ก็ให้เกิดสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมมีสติตั้งอยู่เพียงแค่แลดูความปรุงแต่งเท่านั้นโดยไม่เข้าไปร่วมเสพย์ คือ จิตมันคิดอะไรอย่างไรก็ให้แค่แลดู รู้ตามความเป็นไปในความคิดปรุงแต่งเสพย์ราคะนั้นว่า มันมีความต้องการยังไง ชอบอย่างไร พอใจยังไง ติดใจที่ตรงไหน ความปรวนแปรไปอันเกิดแต่ความคิดนั้นเป็นอย่างไร เราก็จะได้รู้เห็นถึง "สมุทัย" ของเราจริงๆก็ตรงนี้เอง
- ให้มีสัมปชัญญะความรู้ตัวเกิดขึ้นแนบอารมณ์ตรองดูพิจารณาสภาพนั้นๆ+สติระลึกรู้แลดูความปรุงแต่งเป็นไปในอารมณ์ความรู้สึกของจิต พิจารณาเห็นแลดูตามความปรุงแต่งจิตนั้นไปโดยไม่เข้าไปร่วมเสพย์ สักแต่ระลึกรู้สังเกตุดูอาการความปรุงแต่งของจิต ความปรุงแต่งนั้นมันไม่ใช่จิต ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา

       วิธีดึงสติ+สัมปชัญญะขึ้นแลดูสภาพที่ปรุงแต่งขณะที่ลืมตารับรู้อารมณ์อยู่นั้น มีวิธีง่ายๆดังนี้คือ

   ๑. เมื่อรู้ว่ากิเลสทุกข์เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ให้พึงรู้ที่ตนก่อนว่า เรามีความปารถนายินดีใคร่ได้ที่จะเสพย์ในสิ่งที่ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา(กามราคะ) หรือ เราเอาความสุขสำเร็จของเราไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา(โทสะ) จนทำให้เกิดความร้อนรุ่มร้อนรนใจกลุ้มรุมอยู่อย่างนี้เราพึงละข้อนั้นเสีย
   ๒. แม้เราไม่อยากจะให้ความร้อนรุ่มกายใจ เร่าร้อนกายใจ ความอัดอั้นคับแค้นกายใจ ความกำหนัด ความโกรธแค้น ความโศรกเศร้าร่ำไรรำพันไรๆขอพึงอย่าเกิดขึ้นแก่เราเลย แต่ถึงจะปารถนาอย่างนั้นเราก็ไม่อาจจะไปบังคับให้มันเป็นดั่งใจต้องการได้ นั่นก็เพราะว่าแม้จิตสังขารทั้งปวงก็ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา มันสักแต่เพียงจรมาปรุงแต่งบดบังจิตเท่านั้น เมื่อเราเข้าไปตามเสพย์มันแล้ว มันก็จะทำให้เกิดความตรึกนึกคิดสมมติเรื่องราวไปทั่วทั้งที่ไม่เป็นความจริงเลยสักอย่างจนทำให้เราร้อนรุ่มกายใจอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้แล้วเราจะไปตามเสพย์อารมณ์หรือยึดมั่นถือมั่นเสพย์ในอารมณ์กับสิ่งที่ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเราไปทำไม เพราะตามเสพย์มันไปแล้วสุดท้ายก็ไม่ใช่ความจริงและไม่ใช่ของเราอยู่ดีแถมยังร้อมรุ่มกายใจไปเปล่าๆ
   ๓. ดังนั้นพึงเพิกถอนจิตที่เข้าไปเสพย์ตามมันนั้นเสีย โดยตั้งจิตตรึกนึกสภาพอันดึงเอาสติขึ้นแลดูมามุมข้างบน เหมือนเรามองตัวเราจากที่สูง มองดูสภาพความปรุงแต่งจิตไรๆจากที่สูง มองดูสภาพอาการของจิตไรๆที่เกิดแต่จิตสังขารเหล่านั้นเข้ามาบดบังจากที่สูง
   ๔. เมื่อเรารู้ว่ามันปรุงแต่งเรื่องราวตรึกนึกสร้างมโนภาพไรๆเป็นเรื่องราวต่างๆ ก็อย่าไปห้ามมัน(เดี๋ยวมันจะขัดใจเอาทำให้เราขุ่นมัวตามมันอีก) เราก็พึงสักแต่ระลึกเอาว่ามีสติ+สัมปชัญญะ แลดูดูมันห่างๆ(สร้างมโนภาพซ้อนมันก็ได้ โดยวิธีของผมที่ผมใช้และพอมีปัญญาอันน้อยนิดจะทำได้คือ ทำเหมือนดั่งเราเล่นกสิน เราจะบังคับให้มันเล็ก-ใหญ่ ใกล้-ไกลก็ได้ตามต้องการ จะมากหรือน้อยเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับกำลังที่จดจ่อตั้งมั่นของจิต โดยให้พึงตั้งมโนภาพห่างพอประมาณที่ตาเราเห็นความปรุงแต่งดำเนินเรื่องราวของมันเหมือนกับเรานั่งดูละครในโทรทัศน์อยู่ พร้อมกันนั้นก็ระลึกรู้สภาพอาการจากการดำเนินเรื่องราวนั้นๆของมัน) ดูในความตรึกนึกคิดเรื่องราวอันเกิดแต่จิตสังขารเหล่านั้นอยู่ พึงระลึกเสมอว่ามโนภาพหรือเรื่องราวที่คิดนั้นๆไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา เราก็จะไม่เอาความสุขสำเร็จไรๆของเราไปฝากขึ้นไว้กับสิ่งที่ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา พึงเจริญจิตขึ้นว่าเราคือผู้แลดูความเป็นไปของมันเท่านั้น เราไม่ใช่ผู้เสพย์ ไม่ใช่ผู้ตาม ไม่ใช่ผู้เข้าไปร่วมกระทำไรๆดับมัน แล้วตั้งจิตแลดูมันอยู่ห่างๆ ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมและแนบอารมณ์กับสติที่แลดูอยู่นั้น (นี่เป็นการฝึกแยกจิตกับสังขารไปในตัว)
ก. หากเมื่อเราแยกกองมันออกได้แล้วก็จะเห็นมันทุกอย่างโดยที่มีสติ+สัมปชัญญะกำกับอยู่ เช่น คนเราเมื่อเกิดกำหนัดจากสิ่งที่เห็นไรๆ มักจะปรุงแต่งจากการมองเอาส่วนเล็กส่วนน้อยของเขาที่เราพอใจยินดีมาประกอบกับสัญญาของตนปรุงแต่งเรื่องราวที่ตรึกนึกไปทางในเรื่องที่สมมติขึ้นเห็นในอวัยวะน้อยใหญ่นั้นๆแล้วเข้าไปเสพย์เมถุนอยู่แล้ว เช่น ตรึกนึกใคร่ควรญปรุงไปสมมติเห็นเขาเปลือยกายเห็นส่วนเล็กส่วนน้อยเขาบ้างบ้าง สร้างสมมติขึ้นมาว่าร่วมเสพย์เมถุนกับเขาบ้าง เป็นต้น ทำให้จิตเกิดถวิลหาปารถนาใคร่ได้ยินดีที่จะเสพย์ในเมถุนนั้น
ข. ก็ให้เกิดสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมดึงสติขึ้นแลดูตามมันแต่ไม่เข้าไปร่วมเสพย์อารมณ์จากความตรึกนึกคิดนั้น แรกๆมันอาจจะขัดเคืองใจเรา มัวหมองใจเรา ให้รู้ว่าขณะที่เรารู้ทันมันนี้โทสะและโมหะก็เกิดขึ้นแก่เราแล้ว
ค. ให้เรานั้นตั้งจิตให้มั่นจดจ่อขึ้นพึงระลึกว่าจะดึงสติและสัมปชัญญะนี้ขึ้นทะลุผ่านสภาพโมหะความมัวหมองใจอันปิดกั้นสติ+สัมปชัญญะเหล่านี้ให้ได้ แล้วตั้งสติมั่นพร้อมปล่อยความคิดให้มันปรุงแต่งไป
ง. ทีนี้เมื่อมันไปตรึกนึกปรุงแต่งสร้างมโนภาพใดๆ เช่น นึกถึงหน้าอกเขาบ้าง อวัยวะเพศเขาบ้าง ทรวดทรงองเอวเขาบ้าง องคชาตเขาบ้าง ไม่ว่าส่วนเล็กน้อยไรๆก็ตาม ก็ให้เราพีงพิจารณาตรึกนึกคิดย้อนสวนในมโนภาพที่เราเห็นที่เราตรึกนึกคิดอยู่นั้นๆว่า มีกลิ่นเน่าเหม็นบ้าง มีหนอนเจาะชอนไชบ้าง มีสภาพอันเน่าเฟะบ้าง มีน้ำเลือดไหลออกมาบ้าง น้ำเหลืองไหลออกมาบ้าง น้ำหนองไหลออกมาบ้าง ตกขาวไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นบ้าง มีสภาพเละเทะน่าขยะแขยงบ้าง สกปรกไม่สะอาดเต็มไปด้วยของเน่าเหม็นบ้าง เป็นโพรงกระดูกที่มีก้อนเนื้อเป็นโพรงช่องทวาร มีไขมันมีน้ำหนองมีน้ำเลือดประกอบขึ้นเป็นอวัยวะเพศอันเน่าเหม็นนั้น หากเป็นหญิงตรึกนึกถึงชายก็ให้เห็นว่าองคชาตนั้นเป็นเพียงกแท่งเนื้อแท่งเอ็นมีหนอนชอนไชมีน้ำเลือดน้ำหนองไหลมีกลิ่นเหม็นมีรอยกัดกร่อนจากหนอนแมลงกัดกินชอนไชมีความน่าเกลียดน่าขยะแขยงอยู่นั้น
จ. จากนั้นก็ให้เข้าไปเห็นเขานั้นเปลือยกายโดนหอกหลาวทิ่มแทงอยู่บ้าง ปีนต้นงิ้วอยู่บ้าง ไส้ทะลักเลือดไหลโชก น้ำเหลืองน้ำหนองไส้ไหลทะลักมีแร้งกาจิกกินบ้าง อยู่ในขุมนรก
ช. เมื่อเราไปตรึกนึกเป็นมโนภาพว่ากำลังเสพย์สมในเมถุน ก็ให้ระลึกย้อนนึกมโนภาพสวนมันไปว่าชายหญิง หรือ เรากับคนที่เรากำลังเกิดกำหนัดอยู่นั้น กำลังเสพย์เมถุนอยู่นั้น กำลังเสพย์เมถุนในกระทะทองแดงอันร้อนรุ่มแผดเผาร่างกายจนมีหน้าตาบูดเบี้ยวร้องโหยหวนด้วยความเจ็บปวดจะหนีจากน้ำมันร้อนๆที่แผดเผาออกไปทางใดก็ไม่ได้ ถูกยมบาลกักขังทิ่มแทงร่างกายให้ทำด้วนบาปที่ติดในกาม หรือ กำลังถูกชำแระท้องไส้ น้ำเลือดน้ำหนองไหล หอกหลาวทิ่มแทงเสียบตัวเสียบตอเลือกไหลทะลักบ้าง เห็นเขาเปลือยกายถูกหนามใหญ่เสียบไว้ให้แร้งกากินบ้าง เป็นต้น(คนที่ดูหนังโป๊ต้องเจริญข้อนี้ให้มาก)
(แนวคิดนี้สงเคราะห์ลงในกุศลวิตกและอสุภะกรรมฐานคือในแบบที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระยสะกุลบุตร ก่อนจะออกบวช ต่างก็พิจารณาเช่นนี้จนเกิดความเยื่อหน่ายในกามราคะแล้วได้หนีออกบวช ถ้าทุกท่านอ่านพุทธปรัวติจะทราบดีถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงตื่นจากบรรทมขึ้นมากลางดึกเห็นนางสนม นางกำนันเปือยกายแก้ผ้านอนเหมือนดั่งซากศพ หรือบุคคลผู้เปือยกายตายลงนรกในสภาพท่าทางอันน่าขยะแขยง(ไม่ใช่สะอิดสะเอียนจะอ๊วกนะครับ ขยะแขยงในที่นี้คือ เห็นโทษในกามราคะ ทำให้ไม่มีความใคร่ยินดีที่จะเสพย์ในกามราคะ ไม่มีความรู้สึกไปข้องแวะในกามราคะทั้งชอบหรือไม่ชอบ รู้เพียงว่ากามราคะนี้หาประโยชน์สุขอันแท้จริงไม่ได้สักเป็นแต่เพีบงเครื่องยั่วยวนอันประกอบด้วยความทุกข์อันเร่าาร้อนกายใจ) ส่วนพระยสะกุลบุตรท่านพระเถระก็เห็นดั่งพระตถาคตเห็นจึงเกิดความสลดใจด้วยเห็นถึงโทษแห่งกามเป็นต้น ได้เปล่งอุทานว่า ที่นี่ขัดข้องหนอ ที่นี่วุ่นวายหนอ เดินออกจากปราสาท 3 ฤดูจนเจอพระตถาคตดังนี้)



    ๒.๒.๑.ฉ พิจารณาขึ้นเห็นในอสุภะกรรมฐานดังพระพุทธเจ้าสอนใน อสุภะกรรมฐาน ๑๐
อสุภะ หมายถึง ไม่สวยงาม มุ่งหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคนที่ตายไป การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน คือ การพิจารณาซากศพในลักษณะต่างๆ กัน 10 ลักษณะให้เห็นความน่าเกลียด ไม่สวยงาม โดยจะพิจารณาซากศพอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ใน 10 ลักษณะ ได้แก่

1.อุทฺธุมาตกอสุภ ซากศพที่ขึ้นอืดพอง

2.วินีลกอสุภ ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ

3.วิปุพฺพกอสุภ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มในที่แตกปริ

4.วิจฺฉิทฺทกอสุภ ซากศพที่ถูกฟันขาดออกจากกันเป็น 2 ท่อน

5.วิกฺขายิตกอสุภ ซากศพที่ถูกสัตว์ เช่น สุนัข กา แร้ง กัดกินโดยอาการต่างๆ

6.วิกฺขิตฺตกอสุภ ซากศพที่กระจายเรี่ยราด ศีรษะ มือ เท้า อยู่คนละทาง

7.หตวิกฺขิตฺตกอสุภ ซากศพที่ถูกสับฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอกจนเละ และทิ้งกระจายอยู่

8.โลหิตกอสุภ ซากศพที่มีเลือดไหลอาบ

9.ปุฬุวกอสุภ ซากศพที่มีหนอนไชอยู่ทั่วร่าง

10.อฏฺฐิกอสุภ ซากศพที่เหลือแต่กระดูก

ในการพิจารณาอสุภะโดยนัยของสมถะ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้ให้หลักการในการพิจารณาไว้โดยอาการ 11 อย่าง เพื่อให้สามารถกำหนดจำภาพ ถือเอาอสุภะนั้นเป็นนิมิตได้ โดยการพิจารณานี้ท่านแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ การพิจารณาอสุภะโดยอาการ 6 และ อาการ 5

ก.พิจารณาโดยอาการ 6 ได้แก่


1.พิจารณา สี โดยกำหนดดูว่า ศพนี้เป็นคนผิวสีอะไร เช่น ดำ ขาว หรือ เหลือง เป็นต้น

2.พิจารณา วัย โดยกำหนดดูว่า ศพนี้อยู่ในวัยใด เป็นเด็ก วัยกลางคน หรือเป็นคนชรา โดยไม่ต้องสนใจว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย

3.พิจารณา สัณฐาน โดยกำหนดดูว่า สัณฐานตรงนี้ ตรงนั้น คือ ศีรษะ คอ แขน มือ ท้อง อก เอว แข้ง ขา เท้า เป็นต้น

4.พิจารณา ทิศ โดยกำหนดว่า ในร่างนี้มี 2 ทิศ คือ ตั้งแต่สะดือขึ้นไปจนถึงศีรษะเป็นส่วนบน ใต้สะดือลงมาเป็นส่วนล่าง หรืออีกนัยหนึ่ง กำหนดให้รู้ว่าเรายืนอยู่ทางทิศนี้ ซากศพอยู่ทางทิศนี้

5.พิจารณา ที่ตั้ง โดยกำหนดที่ตั้งว่า มืออยู่ตรงนี้ เท้าอยู่ตรงนี้ ศีรษะอยู่ตรงนี้ เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่งให้รู้ว่า เรายืนอยู่ตรงนี้ ศพอยู่ตรงนั้น

6.พิจารณา ขอบเขต ให้รู้ว่าเบื้องต่ำสุดของซากศพ คือ พื้นเท้า เบื้องบนสุดเพียงปลายผม ทั้งตัวสุดแค่ผิวหนัง เต็มไปด้วยของเน่าเหม็น 32 อย่าง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น บุคคลที่มีบุญวาสนา ได้สั่งสมการเจริญอสุภกัมมัฏฐานไว้ในอดีต เมื่อพิจารณาด้วยอาการ 6 นี้แล้ว ปฏิภาคนิมิตย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากปฏิภาคนิมิตไม่เกิดขึ้น ควรพิจารณาอสุภะด้วยอาการ 5 ต่อไป

ข. พิจารณาโดยอาการ 5 ได้แก่

1.ดู ส่วนต่อ หรือ ที่ต่อ ให้รู้ว่าในสรีระร่างกายของศพมีส่วนต่อใหญ่ๆ อยู่ 14 แห่ง คือ มือขวามีที่ต่อ 3 แห่ง มือซ้ายมีที่ต่อ 3 แห่ง เท้าขวามีที่ต่อ 3 แห่ง เท้าซ้ายมีที่ต่อ 3 แห่ง คอมีที่ต่อ 1 แห่ง และเอวมีที่ต่อ 1 แห่ง

2.ให้ดู ช่อง เช่น ช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องท้อง ศพหลับตาหรือลืมตา อ้าปากหรือหุบปาก

3.ให้ดู หลุม หรือส่ วนที่เว้าลงไป พิจารณาดูที่หลุมตา ภายในปาก หลุมคอ เป็นต้น

4.ให้ดู ที่ดอน หรือ ส่วนที่นูนขึ้น โดยให้กำหนดรู้ว่าส่วนที่นูนนี้ คือ หัวเข่า คือ หน้าผาก หน้าอก เป็นต้น

5.ให้ดู ทั่วไปรอบๆ ด้านของศพ ที่ตรงไหนปรากฏชัด ก็ตั้งจิตไว้ที่ตรงนั้น พิจารณาว่าเป็นลักษณะของศพประเภทใด เช่น ความพองอืดปรากฏชัด ก็ บริกรรมว่า อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูลํ (ศพพองอืดนี้น่าเกลียด น่าขยะแขยง) หรือเห็นศพที่มีสีเขียวคล้ำปรากฏชัด ก็บริกรรมว่า วินีลกํ ปฏิกูลํ (ศพวินีลกะ หรือศพเขียวคล้ำนี้ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) ศพลักษณะอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่บริกรรมก็ให้ตั้งจิตกำหนดลงที่ลักษณะตรงส่วนนั้นๆ ของศพ
- นักปฏิบัติพึงถือเอานิมิตจากร่างศพนั้นตามวิธีการที่กล่าวมาแล้ว ลืมตาดูจับเอาเป็นนิมิต หลับตานึกถึง ร้อยครั้ง พันครั้ง นึกบ่อยๆ จนกระทั่งอสุภนิมิตปรากฏชัด หากการพิจารณาในป่าช้า ไม่สามารถทำนิมิตให้ปรากฏได้ นักปฏิบัติก็ควรกำหนดนิมิตนั้นเป็นอารมณ์ ตั้งจิตไว้ในอสุภะแม้เมื่อออกจากป่าช้า ในไม่ช้านิมิตก็จะปรากฏมั่นคงขึ้นได้

เมื่อได้พิจารณาอสุภะโดยอาการ 11 ดังกล่าวมาแล้ว ในการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง พระธรรมกาย นักปฏิบัติจะต้องนึกนิมิตนั้นไว้ที่ศูนย์กลางกาย โดยมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันในอสุภะทั้ง 10 ประเภท ดังต่อไปนี้

1.อุทฺธุมาตกอสุภ
หรือ ศพที่ขึ้นอืดพอง ให้พิจารณาความน่าเกลียดของศพว่า พองอืด แล้วน้อมภาพศพที่พองอืดมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย พร้อมบริกรรมว่า อุทฺธุมาตกํ ปฏิกูลํ ๆ ๆ (ศพอุทธุมาตกะ พองอืด น่าเกลียด น่าขยะแขยง) บริกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ลืมตาดูและหลับตาพิจารณาสลับไปเช่นนี้ ถ้าเมื่อใดหลับตาแล้วปรากฏภาพซากศพนั้นเหมือนเมื่อลืมตาก็จะได้อุคคหนิมิต อุคคหนิมิตเป็นนิมิตที่ปรากฏทางใจชัดที่ศูนย์กลางกาย จะเห็นเป็นซากศพน่าเกลียด น่ากลัวชวนให้ขยะแขยงสะอิดสะเอียน เมื่อปฏิบัติต่อไปก็จะได้ปฏิภาคนิมิตปรากฏเป็นภาพ คนอ้วนที่ล่ำสันนอนนิ่งอยู่ จากนั้นปฏิภาคนิมิตก็จะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นๆ จนใจรวมตกศูนย์เข้าถึงธรรม ดวงปฐมมรรคที่แท้จริงก็ผุดขึ้นมาแทนที่ ศพที่พองอืดนี้จะมีอาการพองเพียง 1 หรือ 2 วัน ก็จะแปรสภาพเป็นเขียวคล้ำ มีน้ำเหลือง ไหลเยิ้มต่อไป หากขณะที่เจริญอุทธุมาตกอสุภะแล้วยังไม่ได้อุคคหนิมิตหรือปฏิภาคนิมิต แต่ศพแปรสภาพไปแล้ว ก็ต้องไปหาศพใหม่ที่พองอืด หากหาศพที่เป็นเพศเดียวกับตนไม่ได้ บางกรณีท่านอนุโลมให้ใช้ซากสัตว์ เช่น ซากสุนัขก็ได้

2.วินีลกอสุภ พิจารณาซากศพที่มีสีเขียวคล้ำ บริกรรมว่า วินีลกํ ปฏิกูลํ ๆ ๆ (ศพที่มีสีเขียว น่าเกลียด น่าขยะแขยง) ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต อุคคหนิมิตของวินีลกอสุภะ คือ ลักษณะของศพมีสีเขียวคล้ำ ส่วนปฏิภาคนิมิตจะไม่น่าเกลียดน่ากลัว จะเหมือนรูปปั้นมีสีแดง สีขาว สีเขียว เจือกัน จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นจนใจรวมตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค

3.วิปุพฺพกอสุภ พิจารณาซากศพที่มีน้ำเหลืองแตกปริ บริกรรมว่า วิปุพฺพกํ ปฏิกูลํ ปฏิกูลํๆ (ศพวิปุพพกะ มีน้ำเหลืองไหลนี้ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) บริกรรมซ้ำๆ อุคคหนิมิตที่ เกิดขึ้นจะเป็นเหมือนตัวศพนั้น ส่วนปฏิภาคนิมิตจะเป็นเหมือนรูปปั้นนอนนิ่งไม่มีน้ำเหลืองไหล จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้น จนใจรวมตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค

4.วิจฺฉิทฺทกอสุภ พิจารณาซากศพที่ถูกฟันขาดเป็น 2 ท่อน ถ้าศพที่จะพิจารณานั้นกระเด็นอยู่ห่างกันเกินไป ให้นำส่วนที่ขาดมาวางใกล้ๆ ให้ต่อกันประมาณ 1 องคุลี (2 เซนติเมตร) แล้วบริกรรมว่า วิจฺฉิทฺทกํ ปฏิกูลํ ๆ ๆ (ศพวิจฉิททกะ ถูกฟันขาด 2 ท่อน น่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตปรากฏเป็นภาพศพขาด 2 ท่อนนั้นเอง ส่วนปฏิภาคนิมิตจะเป็นสภาพเหมือนคนนอนนิ่งเรียบร้อย ไม่น่ากลัว จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นๆ จนใจรวมหยุดตกศูนย์เข้าถึง ดวงปฐมมรรค

5.วิกฺขายิตกอสุภ พิจารณาซากศพที่ถูกสัตว์ทึ้งแย่งกันเรี่ยราด บริกรรมว่า วิกฺขายิตกํ ปฏิกูลํ ๆ ๆ (ศพวิกขายิตกะนี้น่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นจะเหมือนที่พิจารณา ส่วนปฏิภาคนิมิตจะเป็นสภาพเหมือนคนนอนนิ่ง เรียบร้อย ไม่น่ากลัว จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัว ใสขึ้นๆ จนใจรวมหยุดตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค
6.วิกฺขิตฺตกอสุภ พิจารณาซากศพที่กระจาย อวัยวะกระเด็นไปคนละทิศละทาง ต้องนำส่วนที่กระจัดกระจายในที่ต่างๆ มากองไว้ในที่เดียวกัน กำหนดบริกรรมว่า วิกฺขิตฺตกํ ปฏิกูลํๆๆ (ศพวิกขิตตกะ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตเหมือนซากศพที่เห็นปรากฏแก่สายตา ปฏิภาคนิมิตจะเห็นว่า อสุภะนั้นมีความสมบูรณ์ตลอดกาย จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นๆ จนใจรวมหยุดตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค

7.หตวิกฺขิตฺตกอสุภ พิจารณาศพที่ถูกสับฟันด้วยมีด บริกรรมว่า หตวิกฺขิตฺตกํ ปฏิกูลํ ปฏิกูลํๆ (ศพหตวิกขิตตกะ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตที่เกิดขึ้นเป็นสภาพศพที่เป็นริ้วรอยเพราะถูกฟัน ปฏิภาคนิมิตจะเป็นศพที่เรียบร้อย สมบูรณ์ จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นๆ จนใจรวมหยุดตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค

8.โลหิตกอสุภ พิจารณาซากศพที่มีเลือดไหล ซึ่งเลือดที่ไหลหาได้จากในเวลาที่ไหลออกจากปากแผลของคนผู้ได้รับการประหารเป็นต้น หรือในเมื่อมือและเท้าเป็นต้นถูกตัดขาด หรือในเวลาที่ไหลออกจากปากแผลของคนที่มีฝีหรือต่อมแตก โดยบริกรรมว่า โลหิตกํ ปฏิกูลํ ๆ ๆ (ศพโลหิตกะ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตจะเป็นสภาพศพที่มีเลือดไหล บางครั้งก็จะเหมือนผ้าแดงต้องลมพัดและไหวๆ อยู่ ส่วนปฏิภาคนิมิตจะเห็นซากศพเหมือนรูปปั้นกำมะหยี่สีแดง จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นๆ จนใจรวมหยุดตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค

9.ปุฬุวกอสุภ พิจารณาซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำชอนไชอยู่ บริกรรมว่า ปุฬุวกํ ปฏิกูลํ ๆ ๆ (ศพปุฬุวกะ เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) อุคคหนิมิตจะเป็นศพที่มีหมู่หนอนคลานไต่ไปมา แต่ปฏิภาคนิมิตจะเห็นเป็นสภาพศพที่เรียบร้อยเหมือนกองข้าวสาลีสีขาวกองอยู่ จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นๆ จนใจรวมหยุดตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค

10.อฏฺฐิกอสุภ พิจารณาซากศพที่เหลือแต่กระดูก บริกรรมว่า อฏฺฐิกํ ปฏิกูลํ ๆ ๆ (ศพอัฏฐิกะ นี้เป็นของน่าเกลียด น่าขยะแขยง) การพิจารณากระดูกในลักษณะเป็นท่อนๆ เป็นชิ้นๆ อุคคหนิมิตก็จะปรากฏกระดูกเป็นท่อน แต่ปฏิภาคนิมิตจะปรากฏเป็นร่างกายที่สมบูรณ์ จากนั้นจะค่อยๆ กลั่นตัวใสขึ้นๆ จนใจรวมหยุดตกศูนย์เข้าถึงดวงปฐมมรรค เช่นเดียวกัน

อฏฺฐิกอสุภ หรือซากศพที่เป็นกระดูก ที่สามารถนำมาพิจารณาเป็นอารมณ์กัมมัฏฐาน มีอยู่ 5 อย่าง คือ

1.ร่างกระดูกที่ยังมีเนื้อ เลือด เส้นเอ็น รัดรึงเป็นรูปร่างอยู่

2.ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อ แปดเปื้อนด้วยเลือด ยังมีเส้นเอ็นร้อยรัดอยู่

3.ร่างกระดูกที่ไม่มีเนื้อและเลือด แต่ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่

4.ร่างกระดูกที่ไม่มีเส้นเอ็นรัดรึงแล้ว กระจัดกระจายทั่วไป

5.ร่างกระดูกเป็นท่อนมีสีขาวดังสีสังข์

ข้อปฏิบัติเพิ่มเติมของการเจริญอสุภะ

การเจริญอสุภกัมมัฏฐานนั้น สำหรับผู้ที่มีนิสัยขลาดกลัวหรือกลัวผี เมื่อเกิดอุคคหนิมิต และขาดอาจารย์คอยควบคุมสอนการปฏิบัติ ก็อาจเข้าใจผิดว่าตนเองถูกผีหลอก เกิดเจ็บป่วยได้ จึงควรทำความเข้าใจในการปฏิบัติให้ดี บางทีก่อนที่อุคคหนิมิตจะเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติอาจนึกคิดไปว่าศพนี้จะลุกขึ้นนั่ง จะลุกขึ้นยืน จึงควรมีเพื่อนไปร่วมปฏิบัติด้วย และให้ทำความเข้าใจว่า ศพนั้น ที่จริงไม่ต่างกับท่อนไม้ ไม่มีวิญญาณครอง ไม่มีจิตใจ จะลุกขึ้นมาหลอกหลอนไม่ได้ เป็นเพราะใจของเราคิดไปเองวาดภาพไปเอง ในบางกรณีที่ศพยังใหม่ยังสดอยู่ เส้นเอ็นยึดทำให้ลุกขึ้น ก็เป็นไปโดยธรรมชาติ ให้ใช้ไม้ตีให้ล้มลง

การพิจารณาอสุภะนั้นนอกจากจะพิจารณาซากศพหรือร่างที่ปราศจากชีวิตดังกล่าว มาแล้ว ยังสามารถพิจารณาความเป็นอสุภะ หรือความไม่สวยงามในร่างกายของมนุษย์ที่ยังมี ชีวิตอยู่ ได้เช่นกัน โดยจะพิจารณาร่างกายของตนหรือผู้อื่นก็ได้ ดังต่อไปนี้


1.พิจารณาเมื่อร่างกายหรืออวัยวะบวมขึ้น ให้พิจารณาโดยความเป็น อุทธุมาตกะ (พองอืด)

2.พิจารณาเมื่ออวัยวะเป็นแผล ฝี มีหนองไหลออกมา ให้พิจารณาโดยความเป็น วิปุพพกะ (น้ำเหลืองไหล แผลแตกปริ)

3.พิจารณาเมื่อแขน ขา มือ เท้า หรืออวัยวะขาดด้วน เพราะอุบัติเหตุหรือเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้พิจารณาโดยความเป็น วิจฉิททกะ (อวัยวะขาดเป็นท่อน)

4.พิจารณาเมื่อมีโลหิตเปรอะเปื้อนร่างกาย ให้พิจารณาโดยความเป็น โลหิตกะ (เลือดไหล)

5.พิจารณาขณะที่แลเห็นฟัน ให้พิจารณาโดยความเป็น อัฏฐิกะ (กระดูก) หากจะกล่าวไปแล้ว ความเป็นอสุภะไม่ได้เป็นเฉพาะเมื่อตายลงหรือเป็นซากศพเท่านั้น ร่างกายที่มี ชีวิตอยู่นี้หากพิจารณาให้ดีก็ไม่ใช่สิ่งสวยงาม แต่เพราะการตบแต่งประดับประดา และความหลงผิดทำให้คิดไปว่าเป็นของสวยงามน่ารักน่าใคร่ จึงเกิดการยึดมั่นถือมั่น หวงแหน

การเจริญอสุภกัมมัฏฐานเป็นไปได้ทั้งในแง่สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

- หากเจริญในแง่สมถะ ก็ให้เห็นความเป็นสิ่งที่น่าเกลียดไม่สวยงาม ปฏิบัติแล้วทำให้ฌานเกิดขึ้นได้

ดั่งรูปเบื้องต้นข้างล่างนี้




ขอขอบคุณที่มาของ อสุภะกรรมฐานจาก http://book.dou.us/doku.php?id=md407:1

    ๒.๒.๑.ช เจริญจิตขึ้นระลึกในอุปสมานุสสติ

- ให้เจริญจิตขึ้นระถึงคุณของพระนิพพาน คือ มีสภาพว่างจากกิเลส กาม ราคะ โทสะ โมหะ
- เมื่อได้เห็นเพศตรงข้ามแล้วทำให้เราเกิดความกำหนัดทำให้เร่าร้อน ร้อนรุ่มกายใจ ก็พึงรู้ว่าเราถูกกามราคะกลุ้มรุมเข้าแล้ว ให้เราเจริญจิตขึ้นระลึกถึงว่า พระนิพานนี้มีคุณเป็นที่ว่าง เป็นที่ๆที่กิเลสอยู่ไม่ได้ สภาพที่กิเลสไม่อาจเข้าใกล้ คือ อุเบกขา พึงเขาเอาความว่างจากกิเลสเป็นอารมณ์ ระลึงถึงแต่ความว่างเท่านั้น อาจจะระลึกกำหนดเป็นนิมิตว่า

ดวงจิตของเรานี้ ปกติมีสภาพที่สว่างผ่องใส

แต่อาศัยที่กิเลสจรเข้ามารายล้อมรอบดวงจิต

แล้วเราเข้าไปดึงเอามันเข้ามาเสพย์

จิตมันจึงมัวหมองด้วยกิเลส มันจึงเกิดเป็นทุกข์ร้อมรุ่มกายใจ

เมื่อกำหนดพิจารณาเห็นดังรูปข้างต้นที่ผมยกนี้ จะเห็นว่าทุกครั้งที่เราเกิดกิเลสกาม ราคะ โทสะ โมหะ จิตใจเราย่อมเศร้าหมองอย่างนี้ ดังนั้นให้เจริญจิตขั้นดังนี้
วิธีที่ ๑ พึงกำหนดนิมิตน้อมระลึกว่าจิตเราที่ผ่องใสสว่างนวลเย็นชุ่มชื่น ถูกกิเลสที่มัวหมองปกคลุมอยู่ ดังนั้นแล้วก็ให้เราพึงระลึกว่า เอาความว่างจากกิเลสอันไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆ ไม่เข้าไปเสพย์ในความมัวหมองเศร้าหมองใจที่บดบังดวงจิตนั้น ขัดล้างเอาความมัวหมองนั้นให้ออกจนเหลือเพียงเนื้อของดวงแก้วนั้นที่สว่างไสว สงบร่มเย็นสบายกาบใจ ตัดขาดจากความยึดติดใดๆ ทำเช่นนี้ไปเรื่องๆจิตก็จะสงบจากกิเลสเข้าถึงความมีจิตตั้งมั่นได้
วิธีที่ ๒ พึงกำหนดนิมิตน้อมระลึกถึงดวงจิตอันสว่างไสวนวลตามีแต่ความว่างสงบร่มเย็นสบายกายใจ ให้พึงระลึกรู้จดจ่ออยู่อย่างนั้น จนเมื่อจะเกิดกาม ราคะ โทสะ โมหะขึ้นมาก็พึงระลึกว่าเป็นพลุแสงควันอันมัวหมองพุ่งขึ้นมารายล้อมรอให้จิตนั้นดึงเข้ามาเสพย์ แต่เราจดจ่ออยู่ที่แค่ดวงจิตไม่น้อมใจไปดึงเอากามราคะ โทสะ โมหะเหล่านี้มาเสพย์ ยังจิตในสว่างไสวร่มเย็นชุ่มชื่นกายใจทำเช่นนี้ไปเรื่องๆจิตก็จะสงบจากกิเลสเข้าถึงความมีจิตตั้งมั่นได้
วิธีที่ ๓ ให้ระลึกถึงความว่างของอุเบกขาเป็นที่ตั้งของสติ อุเบกขานี้มีสภาพว่างด้วยสภาพผ่องใส สงบเย็น เบาใจ ไม่หน่วงจิต ไม่ร้อนรุ่มหมองเศร้า ไม่มัวหมองใจ ไม่เกาะเกี่ยวกับกิเลสใดๆทั้งสิ้น ให้ระลึกเอาสภาพนี้เป็นที่ตั้งแห่งสติ
- หากท่านใดที่เคยถึงซึ่งฌาณ มีฌาณ ๔ เป็นต้น ท่านจะเข้าใจสภาพของอุเบกขาฌาณอันมีความสว่างนวลโล่งว่าง สงบเย็นเบาใจ มีเพียงสภาพที่รู้แลดูอยู่นั้นไม่มีคำพูดความคิดไรๆสักแต่เพียงรู้ในสภาพที่เกิดขึ้นเท่านั้น เหมิอนดังเราอยู่คนเดียวกลางที่ว่างสงบเย็นเป็นสุขอันหาประมาณไม่ได้ เปรียบดั่งเราอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรที่โล่งว่างสว่างตาใสสะอาดสงบเย็นสบายกายใจไม่มีสิ่งอื่นคนอื่นสัตว์อื่นใดมารบกวนในที่ที่เราอยู่นั้น ก็ให้น้อมเอาสภาพนั้นเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งสติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 29, 2014, 01:13:10 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2014, 12:20:50 pm »
0

     ๒.๒ การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ว่าด้วยโทสะ)

    ๒.๒.๒ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ มีความสำรวมกาย วาจา ใจ มีศีลสังวร จนสงเคราะห์ลงให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามที่ไม่น่าพิศมัยยินดี เข้าพิจารณาในเป็น ปฏิกูลมนสิการ และ อสุภะกรรมฐาน สักเป็นแต่เพียงธาตุ เพื่อละโทสะ

    ๒.๒.๒.ก พุทธานุสสติ

๑. ให้สงเคราะห์ลงพิจารณาให้เห็นตามจริงดังนี้ว่า
- พระพุทธเจ้านั้นมีพระเทวท้ต หมายปลงพระชนน์มาไม่รู้กี่ภพกี่ร้อยชาติ แม้กระทั่งเสวยชาติเป็นพระพุทธเจ้าพระแล้วพระเทวทัตก็ยังไม่เลิกรา ยังคอยกลั่นแกล้งแบ่งแยกตั้งตนเป็นใหญ่ และ กลิ้งก้อนหินหมายปลงพระชนน์ ปล่อยช้างนาราคิรีที่ตกมันมาวิ่งเหยียบพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ยังทรงไม่ถือโทษโกรธเคืองไรๆ ได้ทรงอดโทษไว้แก่พระเทวทัตมาตลอดทุกๆชาติ
- นั่นเพราะพระตถาคตได้เห็นด้วยปัญญาว่า โทสะ ไม่ใช่สิ่งที่ควรเสพย์ เมื่อเสพย์โทสะนั้นแล้วย่อมนำความร้อนรุ่ม-ร้อนรนกายใจมาสู่ตน และ พระเทวทัตนั้นประกอบด้วยไฟคือโทสะที่เผาไหม้ตัวท่านเองอยู่
- ลองน้อมเอามาสู่ตนเวลาที่เราเกิดโทสะ โกรธแค้น อาฆาตพยาบาทหมายจะทำให้ชีวิตคนอื่นเขาฉิบหาย เรานี้ร้อนรุ่มร้อนรนกายใจเป็นอันมากเพราะหมายที่จะหาทางหาวิธีทำร้ายเขาให้ฉิบหายทั้งเจ็บทั้งแค้นอัดอั้นตันใจ ยิ่งเมื่อไม่สามารถทำร้ายเขาได้ตามใจปารถนา ความคับแค้นก็ยิ่งทับถมเข้าไปใหญ่จนอกจะแตกตายเลยใช่ไหม เมื่อเห็นดังนี้แล้ว คิดว่าโทสะนั้นควรเสพย์ไหม
- เมื่อเราเห็นว่า โทสะ มันมีโทษ ไม่มีคุณประโยชน์ ไม่ควรเสพย์ด้วยประการฉะนี้แล้ว เราก็ไม่ควรเอาโทสะนั้นมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิตดั่งที่พระตถาคตนั้นทำเป็นแบบอย่าง

๒. การเจริญเข้าพุทธานุสสติ เมื่อเกิดโทสะ
- ให้พึงตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ กำหนดนิมิตระลึกถึงพระพุทธรูปใดๆหรือรูปพระพุทธเจ้าใดๆ ที่เม่ือเราเห็นแล้วศรัทธา เกิดความสงบกายใจ



- พึงพิจารณาดูความสงบ เป็นสุข ร่มเย็นอันปราศจากโทสะเครื่องแห่งความขุ่นมัวขัดเคืองข้องแวะค้างคาใจ-ร้อนรุ่มใจของพระพุทธเจ้าจากนิมิตนั้นเป็นอารมณ์ จะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นสุข สงบ ร่มเย็นไม่ร้อนรุ่ม ด้วยทิ้งแล้วซึ่งโทสะดังนี้
- เอาคุณของพระพุทธเจ้าที่เป็นสขุสงบอันปราศจากโทสะที่เราเห็นในภาพนิมิตนั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งสติ และ น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้าที่มีต่อพระเทวทัตนั้นมาเจริญขึ้นในจิตของเราให้ดึงจิตเราขึ้นให้ทะลุจาก โทสะ โมหะ แล้วถอยออกมารู้แลดูมันอยู่ จิตเราก็จะผละจากโทสะได้ด้วยประการฉะนี้


(ทางเจริญปฏิบัติดังจิตเข้าในพุทธานุสสติเพื่อละโทสะนี้ให้คำนึงรำลึกอยู่เนืองๆว่า
- พระพุทธเจ้าสลัดทิ้งแล้วซึ่งโทสะ-ไม่พึงถือเอาโทสะไรๆต่อพระเทวทัต ด้วยไม่พึงเห็นคุณประโยชน์ไรๆจากโทสะให้เพ่งโทษอันนั้น พระตถาคตได้เจริญจิตเช่นนี้ๆด้วยมีประมาณมากเท่าใด เราก็จะเจริญตามพระตถาคตให้มีมากอย่างนั้น ฉะนั้นเราจักเป็นผู้ไม่เพ่งโทษผู้อื่น-เราจะเป็นผู้อดโทษไว้แก่ผู้อื่นและสัตว์โลกทั้งปวงให้เป็นอภัยทานเสียดังนี้ สร้างบารมีทานไปด้วยเลย
- เมื่อเจริญอย่างนี้ในช่วงแรกๆนั้นมันจะขุ่นขัดเคืองใจอยู่ ก็ให้เรารู้ว่าโทสะ..อันขัดเคืองค้างคาใจ และ โมหะ..อันหมองมัวที่เป็นเครื่องปิดกั้นสติ+สัมปชัญญะทำให้เราหลงไหลเสพย์แต่ในความโกรธแค้นนั้นยังมีอยู่ในกายใจเรา ก็ให้พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดนิมิตระลึกว่า พระพุทธเจ้ามาประทับอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว ได้ทรงเพิกถอนการเสพย์ในโทสะถอยออกมานั่งแลดูกิเลสมันปรุงแต่งจิตที่เต็มไปด้วยความผูกโกรธนั้นเพื่อดูความเป็นไปของมัน แต่ไม่เข้าไปร่วมเสพย์กับมัน เห็นก็สักแต่เห็น ได้ยินก็สักแต่ได้ยิน รู้ก็สักแต่ว่ารู้ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนมันก็เป็นอย่างนี้เอง แล้วให้เราพึงเพิกถอนจิตออกมาสักแต่เพียงรู้สักแต่แลดูมันตามอย่างที่พระตถาคตนั้นทำให้เราดู จิตเราจะผละจากโทสะได้ด้วยประการฉะนี้

(ในรูปนี้ตามจริงแล้ว คือ พระพุทธเจ้าได้เจริญวิปัสสนาญาณเห็นความเกิดดับและหวนระลึกถึงอดีตชาติได้)
*แต่ในที่นี้ผมหมายเอาให้ผู้อ่านนั้นดูเป็นว่าพระพุทธเจ้าดึงจิตขึ้นแลดูกิเลสที่ปรุงแต่งเป็นไปจนเห็นความเกิดดับในมัน*


- จนเมื่อเจริญจิตทำอย่างนี้บ่อยๆเป็นประจำๆ เมื่อเพียงระลึกอย่างข้อที่ ๒ จิตมันจะดึงขึ้นจากโทสะ โทหะ ของมันเองโดยอัตโนมัติ เหมือนเริ่มแรกที่เราระลึกลมหายใจด้วยพุทโธ พอเข้าถึงฌาณได้พุทโธมันหายไปเอง ต่อมาพอจะเข้าสมาธิก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดพุทโธอีกเพียงระลึกถึงมันก็เข้าฌาณสมาธิได้เองทันที ผมเป็นเช่นนี้เชื่อว่าทุกท่านที่นี่ทุกคนปฏิบัติถึงแล้วมีธรรมสูงกว่าผมแล้วคงจะเข้าใจถึงสิ่งนี้นะครับ)


    ๒.๒.๒.ข ท์วัตติงสาการะปาโฐ

๑. ให้เราพึงเพ่งพิจารณาเห็นบุคลใดสัตว์ใดที่ทำให้เรารู้ผัสสะที่ไม่ชอบใจจนเกิดโทสะอยู่นี้ แยกออกเป็นเพียงแค่อาการทั้ง 32 คือ

 ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

 เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่

 ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น

 น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร {เยื่อในสมอง}


๒. แล้วทีนี้เราไปเพ่งโทษเอากับผมหรือ ไปเพ่งโทษเอากับเล็บหรือ ไปเพ่งโทษเอากับกองเนื้อ หน้ง ตับ ปอด ม้าม ผังผืด ขี้ เยี่ยว อย่างนั้นหรือ นี่น่ะแม้แต่กองขี้และของไม่สะอาดเหล่านั้นเราก็ยังจะไปเพ่งเอาโทษจากมันได้ หากเป็นเช่นนั้นเราก็จักมีจิตตกลงสู่เบื้องล่างยิ่งกว่าหนอนที่ชอนไชในขี้หรือของบูดเน่าแล้ว
๓. แล้วประโยชน์อันใดที่เราจะไปเพ่งโทษเอากับอาการทั้ง 32 ที่ไม่สะอาดเน่าเหม็นเหล่านั้นกันเล่า พึงอดโทษไม่เพ่งโทษแก่ของสกปรกเน่าเหม็นหรือกองขี้เหล่านั้นไปเสีย เพราะมันไม่มีประโยชน์ไรๆจะไปถือเอาโทสะจากของเน่าเหม็นเหล่านั้น

    ๒.๒.๒.ค จตุธาตุววัตถาน

๑. ให้เราพึงเพ่งพิจารณาเห็นบุคลใดสัตว์ใดที่ทำให้เรารู้ผัสสะที่ไม่ชอบใจจนเกิดโทสะอยู่นี้ แยกออกเป็นธาตุ คือ
- หากเขากระทำทางกายอันทำให้เราขุ่นขัดเคืองใจ ให้พึงระลึกตรึกนึกพิจารณาสงเคราะห์ลงในธาตุดินว่า นี่ๆน่ะที่เราเห็นมันเคลื่อนที่โยกย้ายขยับอยู่นี้มันก็เพียงธาตุดิน เป็นกองธาตุดิน เป็นก้อนธาตุดินที่มีประมาณเราก้อหนึ่งเท่านั้น ดินมันจะกระทำสิ่งใดๆมันก็เป็นเพียงแค่ดินเคลื่อนตัวเท่านั้น เราจะโง่ไปเพ่งโทษกับกองดินเหล่านี้ให้เร่าร้อนกายใจไปทำไม ปล่อยให้ดินมันเป็นไปของมันเราไม่เอาจิตไปผูกขึ้นไว้กับดินเราก็ไม่มีทุกข์
- หากเขากล่าววาจาอันทำให้เราขุ่นขัดเคืองใจ ให้พึงระลึกตรึกนึกพิจารณาสงเคราะห์ลงในธาตุลมว่า นี่มันเป็นเพียงลมที่พัดผ่านถ้ำคือช่องปากเท่านั้น เสียงมันมีดังบ้าง เบาบ้าง โหยหวนบ้างก็ตามแต่ลมนั้นมันจะพัดผ่านกระทบช่องโพรงแคบๆหรือช่องโพรงกว้างๆในถ้ำที่เกิดเป็นช่องว่างอยู่ภายในกองดินกองนี้เท่านั้น แล้วเราจะไปเพ่งเอาโทษกับลมที่ผัดผ่านโพรงถ้ำที่เป็นเสียงต่างๆเหล่านี้มันหาประโยชน์สุขได้หรือไม่ มีแต่คนโง่เท่านั้นที่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับลมที่พัดไปพัดมาให้หูเรารับรู้ได้ยินนี้ ดังนั้นพึงอดโทษไว้ สลัดทิ้งซึ่งโทสะอันเกิดแต่ลมที่พัดผ่านเหล่านั้นไปมานั้นเสีย ถึงจักเพึงเกิดประโยชน์สุขสงบไม่ร้อนรุ่มใจแก่เราด้วยประการฉะนี้

๒. ทำตัวเสมอด้วยธาตุดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระราหุลเถระดังนี้ว่า


ภาวนาเสมอด้วยธาตุ ๕

             [๑๔๐] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนา (อบรมจิต) เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

             [๑๔๑] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนคนทั้งหลายล้างของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงในน้ำ น้ำจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยน้ำอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

             [๑๔๒] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนไฟที่เผาของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ไฟจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยไฟอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

             [๑๔๓] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลมเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตของเธอได้ ดูกรราหุล เปรียบเหมือนลมย่อมพัดต้องของสะอาดบ้าง ของไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลมจะอึดอัดหรือระอา หรือเกลียดของนั้นก็หาไม่ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยลม ฉันนั้น เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยลมอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.

             [๑๔๔] ดูกรราหุล เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้. ดูกรราหุล เปรียบเหมือนอากาศไม่ตั้งอยู่ในที่ไหนๆ ฉันใด เธอจงเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศ ฉันนั้นแล เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนาเสมอด้วยอากาศอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้


    ๒.๒.๒.จ มรณะสติ

๑. เมื่อเราเกิดโทสะให้พึงระลึกรู้ว่า
- แม้เรากำลังหายใจเข้าอยู่นี้เราก็จักตายไป มีชีวิตอยู่ในเพียงลมหายใจเข้า
- แม้เรากำลังหายใจออกอยู่นี้เราก็จักตายไป มีชีวิตอยู่ในเพียงลมหายใจออก
๒. แล้วเราจะไปเอาโทสะมาเสพย์ให้ร้อนรุ่มกายใจไปทำไม เมื่อจักตายก็ตายด้วยความสงบร่มเย็นอันปราศจากกิเลสเสียยังดีกว่า ดังนนั้นก็พึงเพิกถอนโทสะออกไปเสียเพราะไม่มีความจำเป็นไรๆกับที่เราที่กำลังจะตายอยู่นี้
๓. แม้แต่เขาบุคคลที่ทำให้เราได้รู้ผัสสะไรๆที่ไม่พอใจยินดีทั้งหลายนี้ ก็จักยังชีวิตอยู่ได้อีกไม่นานเหมือนเรา แล้วเราจักไปเพ่งโทษเอากับรูปขันธ์ เอากับเสียง ที่กำลังจะปราศจากวิญญาณอยู่นั้นเพื่อสิ่งใด มันหาประโยชน์ไรๆไม่ได้เลยนอกจากทุกข์
๔. พึงอดโทษให้แก่รูปขันธ์ที่กำลังปราศจากวิญญาณนั้นเสีย
- เพื่อแม้เราจะยังชีพอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจเข้า เราก็จะไม่ตายไปกับความร้อนรุ่มกายใจ หรือ แม้เราจะยังชีพอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจออก เราก็จะไม่ตายไปกับความร้อนรุ่มกายใจ ดังนี้


    ๒.๒.๒.ง อสุภะกรรมฐาน

๑. พึงเจริญในอสุภะกรรมฐานไม่ต่างจากการเจริญเพื่อดับในราคะ พิจารณาศพทั้ง ๑๐ แบบ โดยไม่แยกเพศ
๒. จากนั้นเมื่อไปเห็นบุคคลใดก็ตามแต่กระทำการไรๆทางกายและวาจาให้เรารู้ผัสสะที่ไม่ชอบใจเกิดเป็นโทสะขึ้นมา ก็ให้พึงพิจารณาเอาบุคคลนั้นเทียบเคียงกับกองอสุภะ เช่น มองดูเขาเทียบว่ากำลังบวมอืดขึ้นบ้าง เขียงคล้ำบ้าง น้ำเลือดน้ำหนองไหลเจิ่งนองบ้าง หรือ ให้พึงเจริญเห็นเป็นเพียงแค่กระดูกมีเนื้อ มีเลือต มีเอ็นร้อยรัดติดอยู่ หรือ มีเพียงโครงกระดูกสีสังข์เท่านั้น
๓. พึงเจริญขึ้นว่าบุคคลนี้ๆไม่นานก็อยู่ในก็มีสภาพเป็นเช่นนี้ ดั่งศพที่กำลังเน่าเปื่อยและสูญสลายไป เขียวคล้ำอืด เต็มไปด้วยน้ำเลือดน้ำหนอง ้เราจักไปเอาสิ่งใดกับรูปขันธ์ที่กำลังจะเน่าเปื่อยสูญสลายนี้
๔. ก็ซากศพเหล่านี้มีความทุรนทุรายเป็นทุกข์ทรมานจากสภาพที่กำลังจะเน่าเปื่อยสูญสลายไปอย่างนี้ จึงได้แสดงกิริยาอันไม่เป็นที่พอใจยินดีต่อเราเพื่อเรียกความสนใจต่อเรา หมายให้เรานั้นได้อุทิศส่วนบุญกุศลทั้งหลายไปให้ ดังนั้นแล้วเราจึงควรอดโทษนั้นไว้แก่ซากศพที่กำลังทุกข์ทรมานจากความไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ ที่กำลังจะสูญสลายไปทั้งหลายเหล่านี้เสีย
๕. พึงระลึกเสียว่าเราคงเคยสร้างบุญบาปร่วมกันมาบ้างแล้วในกาลก่อน หรือ บุญกุศลของเรานั้นมีกำลังมากเพียงพอที่จะสงเคราะห์ให้เขา เขาจึงมาขอส่วนบุญนี้แก่เรา เขาหนีร้อนมาพึ่งเย็นเราจึงควรอดโทษนี้ให้แก่เขา ไม่ควรไปเพ่งโทษเขาอีกเพราะที่เขาเป็นอยู่นี้ก็ทุกข์ทรมานมากพอแล้ว
    ดังนั้นเราจักสลัดซึ่งโทสะอันร้อนรุ่มกายใจที่ได้รู้ผัสสะมาจากเขาเหล่านี้ทิ้งไปเสียให้หมด ไม่เอามาเป็นที่ตั้งเสพย์อารมณ์เพื่อให้เขาไม่มีโทษ แล้วให้พึงเอาบุญกุศลที่เราสะสมมาดีแล้วนั้นแผ่เจริญปฏิบัติไปให้เขาได้หายจากความทรมานกายใจเพราะความเสื่อมสลายเหล่านี้
(ข้อควรระวัง!! สำหรับบุคคลผู้ที่มีสัมปะชัญญะกับสติน้อย และ ใจไม่แข็งพอ ให้ระลึกเทียบเคียงเพียงเท่านี้พอ หากเข้าสู่สภาวะที่เป็นอสุภะจริงๆถ้าไม่มีครูบาอาจารย์อยู่เมื่อเจอหรือเห็นเป็นศพเข้ามาจะเข้าสู่ภาวะจิตตกสงสู่นิมิตภาพทำใฟ้คิดว่าเป็นผีเข้ามารังควาน ดังนั้นหากจิตไม่แข็งพอ คือ ไม่มีสติมากพอ หรือ ไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ ให้เพียงแค่เจริญระลึกเทียบเคียงเท่านั้น)



หมายเหตุ

ศีลกรรมฐาน ผมมีอุบายทางเจริญจิตเข้ากรรมฐานให้แล้วใน
แนวทางเจริญปฏิบัติเพื่อละกิเลสทุกข์ด้วย อานาปานสติ+พุทธานุสสติ / ศีล+สีลานุสสติ / พรหมวิหาร ๔
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46538#msg46538

ศีลสังวรณ์ สำรวมกาย วาจา ใจ (สัลเลขสูตร)
http://www.nkgen.com/386.htm

พรหมวิหาร ๔ กรรมฐาน ผมมีอุบายทางเจริญจิตเข้ากรรมฐานให้แล้วใน
แนวทางเจริญปฏิบัติเพื่อละกิเลสทุกข์ด้วย พรหมวิหาร ๔ + ทาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46665#msg46665

เมตตากถา(เจโตวิมุตติ)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=8449&Z=8691

ธรรมอันเป็นเครื่องให้ถึงเจโตวิมุติ(กรรมฐานทั้งหมดที่ผมโพสท์ไว้นี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยที่อยู่ในพระสูตรนี้เท่านั้น)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=23&A=7531
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2014, 01:49:17 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2014, 12:21:35 pm »
0

    ๓. ละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๑
    (อุบายดึงสมถะยกจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงสู่ทางวิปัสสนา)


- ในการเจริญปฏิบัติของระดับนี้ต้องอาศัยสมาธิให้มีจิตตั้งมั่นพอสมควรที่เอื้อต่อสติให้เห็นตามจริง บุคคลทั่วไปก็เจริญได้
- แม้ผู้ไม่เจริญในสมาธิแต่มีความระลึกรู้ตามก็พอที่จะพิจารณาได้ แต่จะไม่สามารถเห็นตามจริงได้อย่างผู้ที่มีจิตตั้งมั่นควรแก่งาน
- ผู้ไม่เจริญในสมาธิ เมื่อมีจิตตั้งมั่นพอให้เห็นตามจริงบ้างคือ เห็นความเกิดขึ้นเป็นไป แต่ไม่สามารถรู้ลำดับอนุโลม ปฏิโลมได้ ไม่สามารถเห็นความแปรปรวนปรุงแต่ง เหตุที่ผันให้เกิดดับได้ แต่ต้องอาศัยการทบทวนไปมาด้วยสมมติฐานเป็นอันมากและยังไม่สามารถจะเพ่งเล็งจะเป็นจริงตามนั้นได้เลย ต้องอาศัยให้พบเจอบ่อยๆทบทวนบ่อยๆจึงจะเห็นได้ ด้วยประการดังนี้

    ๓.๑ อุบายดึงสมถะยกจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงสู่ทางวิปัสสนา

    ๓.๑.๑ พุทธานุสสติ

ให้สงเคราะห์ลงพิจารณาให้เห็นตามจริงดังนี้ว่า

ก. พระพุทธเจ้านั้น ทรงตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง ทรงเป็นผู้ไกลจากกิเลส พระตถาคตทรงได้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ให้เรารู้เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับจับต้องให้มันเป็นไปดั่งใจได้ ไม่มีสิ่งใดคงอยู่นาน เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ด้วยประกรฉะนี้จึงขี้นชื่อว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นปารถนาในสิ่งที่ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรามันเป็นทุกข์
(ให้น้อมจิตกำหนดนิมิตรำลึกถึงว่า "พระพุทธเจ้านั่งตรัสเทศนาจำแนกธรรมสั่งสอนให้เรารู้ใน สัจธรรม แห่งไตรลักษณ์")

ข. พระตถาคตทรงได้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ให้เรารู้เห็นว่า
- แม้รูปขันธ์อันมีอาการทั้ง 32 เหล่านี้ก็ดี - เวทนาขันธ์ความเสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ เฉยๆเหล่านี้ก็ดี - สัญญาขันธ์ความจดจำสำคัญมั่นหมายใจของใจเหล่านี้ก็ดี - สังขารขันธ์ความปรุงแต่งประกอบจิตเหล่านี้ก็ดี - วิญญาณขันธ์ความรู้อารมณ์เหล่านี้ก็ดี - เป็นของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามกาลและสภาวะปรุงแต่งภายนอกและภายใจ ขันธ์ทั้ง ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจึงเป็นทุกข์
(ให้น้อมจิตกำหนดนิมิตรำลึกถึงว่า "พระพุทธเจ้านั่งตรัสเทศนาจำแนกธรรมสั่งสอนให้เรารู้ใน สัจธรรม เพื่อคลายอุปาทานใน ขันธ์๕ ")

ค. พระตถาคตทรงได้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ให้เรารู้เห็นว่า ด้วยเพราะไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา กาย เวทนา จิต ธรรม ทั้งหลายเหล่านี้ มีเกิดดับ สิ่งนี้มีในเราบ้างมีในเขาบ้าง จึงมีไว้เพียงสักแต่ระลึกรู้ ไม่ได้มีไว้เสพย์ด้วยประการทั้งปวงดังนี้
- เมื่อกายจะเกิดขึ้น แปรปรวน เสื่อมสูญ และ ดับไป ก็มีไว้สักแต่เพียงรู้ในสภาพ รู้ในสภาวะความเป็นไปของมันเท่านั้น สิ่งนี้มีในเราบ้างมีในเขาบ้าง ไม่ได้มีไว้ให้เข้าไปเสพย์ให้ยึดมั่นถือมั่น สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น สักแต่รู้ว่ามันแปรเปลี่ยน สักแต่รู้ว่ามันดับไป
- เมื่อความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี ความว่างเฉยๆก็ดี มันจะเกิดขึ้นก็สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น มันตั้งอยู่ก็สักแต่รู้ว่ามันตั้งอยู่ มันดับไปก็สักแต่รู้ว่ามันกดับไป สิ่งนี้มีในเราบ้างมีในเขาบ้าง สักแต่มีไว้ระลึกรู้เท่านั้นไม่ได้มีไว้เสพย์
- เมื่อโลภะ(กาม ราคะ) โทสะ โมหะ มันจะเกิดขึ้นก็สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น มันตั้งอยู่ก็สักแต่รู้ว่ามันตั้งอยู่ มันดับไปก็สักแต่รู้ว่ามันดับไป สิ่งนี้มีในเราบ้างมีในเขาบ้าง สักแต่มีไว้ระลึกรู้เท่านั้นไม่ได้มีไว้เสพย์
- เมื่อกิเลสนิวรณ์เกิดดับ-ก็รู้ หรือ ขันธ์๕เกิดดับ-ก็รู้ หรือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมมารมณ์เกิดดับ-ก็รู้ สิ่งนี้มีในเราบ้างมีในเขาบ้าง พิจารณาสงเคราะห์ลงให้เห็นตามจริง รู้เห็นในอริยะสัจ๔
(ให้น้อมจิตกำหนดนิมิตรำลึกถึงว่า "พระพุทธเจ้านั่งตรัสเทศนาจำแนกธรรมสั่งสอนให้เรารู้ใน สัจธรรม เพื่อคลายอุปาทานในธรรมทั้งปวง ")

ง. เมื่อรำลึกถึงว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงธรรมเทศนาแก่เราผู้ไหว้อยู่ให้ได้ประพฤติตามในข้อ ก-ค นี้แล้ว ก็ให้เราพึงเจริญระลึกเพื่อยกจิตเข้าสู่วิปัสนาคือ สักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น ปรุงแต่งสืบต่อตั้งอยู่ แปรปรวนให้เสื่อม และ ดับไป ไม่เข้าไปร่วมเสพย์ เป็นการ การอบรมจิตดังนี้
๑.  ให้พึงเจริญน้อมจิตเข้าไปหวนรำลึกถึงกำหนดเอานิมิตรูปพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะพระพุทธรูปที่เราเคารพศรัทธา ภาพวาด ภาพถ่ายใดๆก็ตามที่เราดูแล้วสงบกายใจ จากนั้นก็น้อมเอารูปนิมิตของพระพุทธเจ้านั้นมาพิจารณาลงในธรรมอันเรียกว่า ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ โดยพิจารณาให้เห็นว่า พระพุทธเจ้านั้นได้รับความสุขอันเป็นนิรันดร์ ได้รับอมตะธรรมอันเป็นบรมสุข ดับไปแล้วซึ่ง กิเลส ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติทั้งหลายทั้งปวง ด้วยมีความสำรวมกาย-วาจา-ใจ พึงเสพย์ในกุศลธรรมอันควรเสพย์ มีปฏิปทาอันงดงามเรียบร้อย มีศีลบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้จึงปราศจากความร้อนรุ่มกายใจ (ดั่งนิมิตที่เรากำหนดขึ้นมาว่า พระพุทธเจ้าทรงสงบร่มเย็นเป็นสุขมีกิริยาท่าทางอันงดงามสำรวมกายใจมีพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพกว้างไปไม่มีประมาณอยู่ด้วยความสงบแจ่มใส เบิกบานด้วยธรรม)
- เราสาวกผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าก็จักประพฤติตามพระตถาคตนั้น(ถือเอาคุณแห่งปฏิปทาการเจริญปฏิบัติของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสรู้เป็นแบบอย่าง)
๒. พึงพิจารณาภาพพระพุทธเจ้าในนิมิตที่กำหนดขึ้นมานั้นว่า พระตถาคตมีความนิ่งเฉย วางเฉย มีความวางใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาสิ่งใดมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ของจิต ไม่ว่าจะความสุข ความทุกข์ โลภะ(กาม ราคะ) โทสะ โมหะ จะเกิดขึ้นก็สักแต่รู้ว่าเกิดขึ้น ความสุข ความทุกข์ โลภะ(กาม ราคะ) โทสะ โมหะ จะดับไปก็สักแต่รู้ว่าดับไป ไม่เข้าไปร่วมเสพย์ เพราะมีมีไว้สักแต่ระลึกรู้เท่านั้นไม่ได้มีไว้เสพย์ พระองค์จึงทรงความสุขสงบร่มเย็นกายใจมีความวางเฉยไม่ติดข้องใจใส่ใจในสิ่งไรๆเหล่านี้อยู่ได้ด้วยความไม่ร้อนรุ่มเร่าร้อนกายใจ
- เราสาวกผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าก็จักประพฤติตามพระตถาคตนั้น(ถือเอาคุณแห่งปฏิปทาการเจริญอบรมจิตของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสรู้เป็นแบบอย่าง)
๓. พึงพิจารณาดูภาพนิมิตนั้นว่าพระพุทธเจ้ามีความสงบอันขจัดทิ้งซึ่งอุปาทานทั้งปวงดังนี้แล้ว ด้วยทรงเห็นว่า ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ดังนั้นแล้วสิ่งใดจะเกิดขึ้นหรือสิ่งใดจะดับไป กายนี้จะแตกสูญไป หรือ ใจนี้จะร้อนรุ่มเร่าร้อนยังไง พระองค์ก็ไม่ทรงเข้าไปยึดไว้ถือไว้ด้วยเห็นว่ามันมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ก็มีเสื่อมไปเป็นธรรมดา และมีความดับสูญสลายไปเป็นธรรมดา ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ดังนั้นแม้สิ่งใดจะเกิดขึ้นหรือสิ่งใดจะสูญดับสลายไปก็มิอาจทำให้พระพุทธเจ้านั้นทรงหวั่นไหวได้ ยังคงแต่ความสงบร่มเย็นเป็นสุขอยู่ไม่เสื่อมไปด้วยความไม่เข้าไปยึดอุปาทานเราสาวกผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าก็จักประพฤติตาม
- เราสาวกผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าก็จักประพฤติตามพระตถาคตนั้น(ถือเอาคุณแห่งวิปัสนาญาณของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสรู้มาเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกพิจารณา)
๔. น้อมพิจารณาเข้ามาสู่ตนว่าแม้แต่นิมิตที่เรากำหนดขึ้นเป็นรูปพระพุทธเจ้าอยู่นี้ก็ไม่คงอยู่นานก็เสื่อมไปแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา ฌาณมีเกิดขึ้นก็เสื่อมได้เพราะสักแต่เป็นเพียงจิตสังขารเท่านั้น ความสุขพอมันเกิดขึ้นเดี๋ยวมันก็ดับไป ความทุกข์พอมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป แล้วเราจะเข้าไปยึดเอาสิ่งใดกับความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราเหล่านี้อย่างไรได้เล่า พอไม่เป็นไปดั่งใจปารถนาพอใจยินดี พรัดพรากดับสูญไปก็เป็นทุกข์อีก ดังนั้นแล้วเราผู้เป็นสาวกผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้า พึงปฏิบัติตามพระตถาคตดังนี้ คือ มีศีลสังวร สำรวมกาย วาจา ใจ ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นร่วมเสพย์กับ กาย เวทนา จิต ธรรมเหล่านี้ สักแต่เพียงระลึกรู้เท่านั้นดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ธรรมทั้งปวงไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับมันให้เป็นดั่งใจปารถนาได้ ไม่คงอยู่นาน มีความสูญสลายไปเป็นธรรมดาไม่อาจจะยื้อมันไว้ได้ เพราะมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สักที่มีไว้ระลึกรู้ดำรงอยู่ชั่วคราว แม้กายและใจอันเราอาศัยอยู่นี้ก็ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
- เราสาวกผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระพุทธเจ้าก็จักประพฤติตามพระตถาคตนั้น(ถือเอาคุณแห่งวิปัสนาญาณของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสรู้น้อมเข้ามาสู่พิจารณาในตน)

(เมื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้าก็ให้พึงน้อมระลึกถึงข้อ ก-ง ดังนี้ จึงชื่อว่าระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยคุณแห่งการตรัสรู้(เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) คุณแห่งความเป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเพราะพระพุทธเจ้า และ ได้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ทั้งหลายดังนี้

จ. แล้วพึงตั้งรำลึกเอาเฉพาะนิมิตที่กำหนดเป็นรูปพระพุทธเจ้านั้นไปเรื่อยๆ พึงบริกรรมพุทโธ ไปทุกลมหายใจเข้าออก ให้เพ่งดูนิมิตไปเรื่อยๆ บริกรรมพุทโธทุกลมหายใจเข้าออกนั้นไปเรื่อยๆ ตามดูนิมิตกับพุทโธไปไม่ลดละ เพื่อยกจิตขึ้นวิปัสนาญาณให้เห็นตามจริงดังนี้

๑. พึงระลึกเอานิมิตที่เห็นพระพุทธเจ้าเมื่อทรงพระชนน์อยู่เป็นที่ตั้งแห่งสติ กำหนดเห็นเมื่อประสูติ เจริญวัยเติบโต เจ็บป่วย แก่ชรา ปรินิพพานร่างกายสูญสลาย เหลือแต่พระธาตุ ไม่มีรูปร่างอาการทั้ง 32 ใดหลงเหลืออยู่ นี่แม้พระพุทธเจ้าก็ยังมี ขันธ์๕ อันไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ เกิดขึ้นแล้วดับไป ไม่มีตัวตน ไม่อาจจะล่วงพ้นสิ่งนี้ไปได้ แล้วปุถุชนอย่างเราจะเหลืออะไรให้ยึดมั่นถือมั่นได้บ้างเล่า ขันธ์๕ นี้ของเรา คือ กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณของเราก็ต้องเสื่อมและดับสลายไปเช่นกัน แล้วจะไปปารถนาเอาสิ่งไรๆจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนให้มันเป็นทุกข์เปล่าๆ ไม่ว่าเราหรือใครๆก็ตามก็ยึดมั่นในขันธ์๕ ไม่ได้ เหมือนจุดสุดท้ายแห่งขันธ์๕ ของพระพุทธเจ้าที่ไม่คงอยู่นั้น ดังนั้นเราก็สักแต่เพียงใช้ ขันธ์๕ นี้ไว้ระลึกรู้ ใช้ดำเนินตามร้อยพระพุทธเจ้า เพื่อให้เห็นตามจิรงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพานตามพระพุทธเจ้านั้น
- นี่เรียกว่าเห็นสัจธรรมไตรลักษณ์ในรูปขันธ์ที่มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความเกิดดับและสูญสลายไปในที่สุด ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่นาน ในรูปขันธ์ของพระตถาคตอันเราระลึกถึงเป็นนิมิตแห่งพุทธานุสสติอยู่นี้ ความที่เห็นว่าไม่มีพระพุทธเจ้าในรูปขันธ์นั้นแล้ว เห็นถึงความไม่มีตัวตนใดๆ ไม่อาจจะบังคับชี้สั่งให้มันเป็นไปดั่งใจได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่ในสามโลกไม่มีใครอื่นยิ่งกว่ามี อภิญญา มีวิโมกธรรม มีปฏิสัมภิทาญาณ เป็นผู้รู้แจ้งโลกก็ยังไม่อาจไปบังคับชี้สั่งรูปขันธ์คือพระวรกายของพระตถาคตนั้นให้มันคงอยู่เที่ยงแท้แน่นอนได้ บังคับไม่ให้เจ็บป่วย ไม่ให้แก่ก็ไม่ได้ บังคับไม่ให้ดับสูญไปก็ไม่ได้ จากการเพ่งนิมิตพระพุทธเจ้าเป็นกสินในพุทธานุสสตินี้ทำให้เราได้เห็นในวิปัสนาญาณดังนี้ว่า เพราะธรรมชาติทั้งปวงล้วนแล้วแต่เกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ ธรรมทั้งปวงไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับชีสั่งให้มันเป็นไปดั่งใจได้ สิ่งไม่เที่ยงไม่มีตัวตนเหล่านี้เป็นทุกข์

๒. จากนั้นเราจะเห็นว่านิมิตรูปพระพุทธเจ้าที่เรากำหนดขึ้นมาเพ่งจดจ่อเทียบกสินนั้นจะ เกิด-ดับ สลับไปมา หรือ แปรเปลี่ยนไป หรือ ดับไป ของมันเอง
- นี่ทำให้เห็นว่า มโนสังขาร หรือ จิตสังขาร(สังขาร(สิ่งปรุงแต่ง)ทางใจหรือจิตทั้งหลาย - สังขารทางใจ, จิตสังขาร, จิตตสังขาร, ความคิด, ความนึก, ความคิดนึกปรุงแต่ง, สิ่งปรุงแต่งต่างๆที่เกิดแก่ใจ เช่น อาการความรู้สึกโลภ โกรธ หลง หดหู่ ฯลฯ. เช่น สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ) มันมีความแปรเปลี่ยนไป รวนเรแปรผัน เสื่อมโทรมแล้วดับไปของมันเอง ไม่คงอยู่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่อาจตั้งอยู่ได้นาน นี่ทำให้เราเห็นความไม่เที่ยงของจิตและเจตสิก เมื่อพอมันเกิดแล้วดับไปแต่เราหมายเข้าไปปารถนากับจิตและเจตสิกให้มันคงอยู่ตามใจปารถนา แต่พอมันไม่เป็นไปตามที่ใจเราปารถนาได้เราก็เป็นทุกข์ สิ่งใดที่ไม่เที่ยงมันเป็นทุกข์อย่างนี้  นี่ทำให้เราเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จากนิมิตที่เรากำหนดขึ้นมาเพ่งเป็นพุทธานุสสติอยู่นั้น
- ถึงแม้แต่กายและใจเราตรงต่อพระพุทธเจ้าไม่เคยเสื่อมคลาย แต่เราก็ยังไม่สามารถบังคับให้ มโนสังขาร หรือ จิตสังขาร(สังขาร(สิ่งปรุงแต่ง)ทางใจหรือจิตทั้งหลาย - สังขารทางใจ, จิตสังขาร, จิตตสังขาร, ความคิด, ความนึก, ความคิดนึกปรุงแต่ง, สิ่งปรุงแต่งต่างๆที่เกิดแก่ใจ เช่น อาการความรู้สึกโลภ โกรธ หลง หดหู่ ฯลฯ. เช่น สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ ได้แก่ มโนสัญเจตนา คือ ความจงใจทางใจ) ของเรานั้นไม่แปรเปลี่ยนไปจากนิมิตรูปพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ ขนาดเราตั้งใจกำหนดสร้างนิมิตรูปพระพุทธเจ้านั้นตั้งขึ้นมาเพ่งจดจ่ออยู่แท้ๆ แต่เราก็ยังไม่สามารถที่จะไปจับต้องบังคับชี้สั่งให้จิตสังขารหรือมโนสังขารนั้นมันเป็นไปดั่งใจเราต้องการได้ ไม่เห็นความเป็นตัวตนของเราในจิตสังขาร ทำให้เราเห็นว่าจิตและเจตสิกเหล่านี้เป็นสิ่งไม่มีตัวตน เพราะถ้ามันมีตัวตนเราก็ต้องบังคับจับต้องชี้สั่งให้มันเป็นไปตามใจปารถนาได้ นี่ทำให้เราเห็นความไม่มีตัวตนจากนิมิตที่เรากำหนดขึ้นมาเพ่งเป็นพุทธานุสสติอยู่นั้น


๓. การกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจจะเปลี่ยนไปรู้อย่างอื่นบ้าง คำบริกรรมว่า พุทโธ หายไปบ้าง
- นี่ทำให้เห็นว่า เราไม่อาจจะไปบังคับให้จิตและเจตสิกมันซื่อตรงต่อเราให้มันรับรู้จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ จดจ่ออยู่ที่คำบริกรรมพุทโธตลอดไปไม่ได้เลย จิต เจตสิกมันมีความรวนเร แปรผัน แปรเปลี่ยนไป ดับไปของมันเอง(ไม่เที่ยง)เอาแน่เอานอนกับมันไม่ได้เชื่อถือไม่ได้ ยึดมั่นถือมั่นในมันไม่ได้เลย จิต เจตสิกเหล่านี้เราไม่อาจจะไปบังคับจับต้องชี้สั่งให้มันคงอยู่ที่ลมหายใจและคำบริกรรมพุทโธไม่เสื่อมคลายตามที่ใจเราปารถนาไม่ได้เลย มันเปลี่ยนแปรไปของมันเองทุกขณะ(ไม่มีตัวตน)

๔. พอถึงจุดๆหนึ่ง เมื่อลมหายใจเราแผ่วเบาเหมือนไม่หายใจ
- ให้วิเคราะห์ลงในธรรมดังนี้ว่า ไอ้เจ้ารูปขันธ์นี้  เดี๋ยวมันก็หายใจยาวบ้าง เดี๋ยวมันก็หายใจสั้นบ้าง เดี๋ยวมันก็หายใจแรง เดี๋ยวมันก็หายใจเบา เดี๋ยวมันก็เหมือนไม่หายใจ เอาแน่นอนกับมันไม่ได้ มันไม่คงสภาวะใดอยู่ได้นานเลยไม่มีความซื่อตรงเที่ยงแท้แน่นอนในตัวมันเลย(อนิจจัง) มันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับจับต้องชี้สั่งให้มันคงอยู่ในสภาวะใดๆตลอดไปตามใจเราปารถนาได้(อนัตตา) แม้แต่รูปขันธ์มันจำเป็นต้องใช้ลมหายใจเพื่อยังชีพอยู่ แต่ตอนนี้มันจะไม่หายใจซะแล้ว มันจะทิ้งลมหายใจไปซะแล้วทั่งๆที่ตัวมันอาจจะสูญสลายได้เมื่อทิ้งลมหายใจไป ขนาดรูปขันธ์ของเราเองแท้ๆเรายังบังคับมันไม่ให้ทิ้งลมหายใจไม่ได้เลย แล้วเราจะไปเอาอะไรกับรูปขันธ์ที่รวนเรแปรปรวน ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนอย่างนี้  มันทิ้งลมหายใจได้เราก็ทิ้งรูปขันธ์นี้ได้เช่นกัน เราจักไม่ใส่ใจต่อรูปขันธ์ที่มันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนเหล่านี้ไป ถวายเป็นพุทธบูชาแล้วขึ้นไปหาพระพุทธเจ้าเสียยังดีกว่า นี่ให้เห็นไตรลักษณ์ของรูปขันธ์ เพิกถอนความยึดมั่นถือมั่นในรูปขันธ์ไป อุปาทานในรูปขันก็จักดับไป

- พึงหวนระลึกทบทวนว่า ทั้งๆที่เราเป็นผู้กำหนดนิมิตขึ้นมาเอง กำหนดคำบริกรรมขึ้นมาขึ้นมาเอง กำหนดจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าขึ้นมาเอง กำหนดสติรู้ตามลมหายใจขึ้นมาเอง กำหนดบริกรรมพุทโธขึ้นมาเองแท้ๆ แต่มันก็ยังดับไปของมันเอง แม้จะตั้งใจบังคับให้มันคงอยู่มันก็ยังดับไป ไม่ว่าจะกำหนดแบบนี้ไปสักที่ร้อยกี่พันกี่ล้านครั้งมันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของมันอย่างนี้อยู่ดี ด้วยเหตุนี้จึงได้ชื่อว่าธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราดังนี้ นี่เป็นการสงเคราะห์ภาวะธรรมลงในธรรมตามจริงให้เห็นวิปัสนาญาณจากพุทธานุสสติ

- ดึงสภาวะนี้ไปเรื่อยๆก็จะถึงฌาณ ๔ เป็นขั้นต่ำ เมื่อจิตจดจ่อพึงเห็นไตรลักษณ์จากนิมิตภาพของพระพุทธเจ้านั้น จนคลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆอยู่อย่างนี้ เราก็จะเข้าถึงยถาภูญาณทัสสนะ เข้าถึงนิพพิทาญาณความเบื่อหน่ายอันเห็นตามจริงในธรรมทั้งปวงแล้วเพียรปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ด้วยปัญญาขั้นที่ ๑-๔ ได้ ดังนี้

    ๓.๑.๒ สีลานุสสติ และ จาคานุสติ

๑. ให้พึงหวนระลึกถึง ศีล และ ทาน ใดๆที่เรานั้นได้กระทำมาดีแล้ว บริสุทธิ บริบูรณ์ดีแล้ว คือ ศีลอันไม่ขาด ไม่ทะลุ ทานอันสละให้สิ่งที่เสมอตนหรือสูงกว่าตน สละให้เพื่อเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ให้แล้วไม่มาติดแวะข้องใจ เสียใจ เสียดายในภายหลัง เมื่อเราหวนระลึกถึงจิตย่อมยังความอิ่มเอมใจให้เกิดเป็นสุขร่มเย็น เบากายสบายใจ

๒. เมื่อเราหวนรำลึกถึงศีลหรือทานอันเป็นกุศลอันได้ทำมาดีแล้วย่อมมีอานิสงส์ดังนี้
- มีความสุขใจพอใจยินดีในสิ่งที่ได้กระทำมาแล้วนั้น(ฉันทะ-อิทธิบาท๔ ก็เกิดขึ้น)
- จิตย่อมต่อเนื่องจดจ่อให้เราระลึกถึงผลจากการกระทำมาดีแล้วนั้นด้วยความยินดี ทำให้จิตแช่มชื่นเบิกบานมีจิตตั้งมั่นยินดีในความเพียรที่จะทำต่อไปโดยไม่ลดละไม่ทิ้งเครื่องแห่งกุศลอันนี้ไป(วิริยะ-อิทธิบาท๔ ก็เกิดขึ้น)
- จิตย่อมจดจ่อใฝ่ใจในศีลและทานอันดีละซึ่งสิ่งที่ยังให้ศีลและทานอันงามนั้นเสื่อม ตั้งใจทำให้ศีลและทานอันงามนั้นเกิดขึ้น ดำรงมั่นคงไว้ และ รักษาเอาไว้ไม่ให้เสื่อม(จิตตะ-อิทธิบาท๔ ก็เกิดขึ้น)
- ด้วยเหตุดังนี้จิตจะคอยสอดส่องแลดูในข้อวัตรทั้ง 3 ข้อข้างต้นของตนเองโดยอัตโนมัติว่า หย่อนไปไหม ตึงไปไหม ดำเนินไปในความหดหู่ไหม ทำด้วยความฟุ้งซ่านหรือไม่ วิเคราะห์ลงในธรรมเห็นความเป็นเหตุเป็นผลจากการปฏิบัติเพื่อยังความงดงามอันดีในการปฏิบัตินั้น(วิมังสา-อิทธิบาท๔ ก็เกิดขึ้น)
(อานิสงส์จากการปฏิบัติในศีลและทานอันงามนี้ทำครั้งเดียวนี่ถึงอิทธิบาท ๔ ได้เลย ทำให้เราตั้งมั่นในกุศล)

๓. เมื่อพึงหวนระลึกด้วยความยินดีที่ได้เจริญปฏิบัติอย่างนี้อยู่เนืองๆจิตก็จะแช่มชื่น อิ่มเอมตื้นตัน เป็นสุข ด้วยเหตุที่ทำให้จิตเป็นสุขเช่นนี้ๆทำให้จิตเรานั้นมีความพอใจยินดีแนบในอารมณ์ที่ระลึกอยู่นั้น ทำให้จิตมีความจดจ่อเป็นสมาธิมากขึ้น แนบอารมณ์กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานขึ้น จนเมื่อเข้าถึงความสงบใจรำงับอยู่ได้ ยังปัสสัทธิให้เกิดขึ้น ก็จะเข้าถึงซึ่งสัมมาสมาธิสลัดทิ้งซึ่งกิเลสนิวรณ์ได้
(ผมเคยกล่าวไว้ครั้งหนึ่งว่า คนเรานั้นไม่ว่ามันจะระลึกอะไร คิดอะไรที่ทำให้จิตมันเป็นสุขแล้วแนบไปกับอารมณ์นั้นอยู่ได้ มันก็เป็นสมาธิหมดทั้งนั้น เพียงแต่หากจิตแนบไปกับอกุศลวิตกมันก็จะไม่มีกำลังมากพอที่จะให้เห็นตามจริงเพราะมีโมหะนั้นปิดกั้นอยู่ให้แนบอารมณ์จดจ่อไปกับ โลภะ โทสะ นี่จึงชื่อว่า เห็นผิด คิดผิด ไปจนถึงระลึกผิด จิตตั้งมั่นผิด
 ** ในส่วนนี้เป็นสิ่งที่ผมเห็นมาเองไม่มีครูบาอาจารย์สอน หากกล่าวผิดก็ผิดที่ผมผู้เดียวไม่ใช่พระพุทธเจ้าตรัสสอนผิดหรือครูบาอาจารย์สอนผิดแต่อย่างใด **
 ** สาเหตุที่ผมกล้าจะกล่าวบอกเช่นนี้นั้น เพราะผมได้เห็นว่า ผมนี่โง่หนอ แม้มีศรัทธาอยู่ เพียรพยายามจะเจริญแต่กุศลอยู่ แต่ไม่เคยรู้ว่าอกุศลเหรือการดำเนินภาวะที่ผิดเป็นอย่างไร แล้วจะทำให้รู้และบอกคนอื่นได้ยังไงว่าเขาปฏิบัติมาผิดหรือถูก เวลาจะกล่าวกับเขาก็พูดได้แค่จำๆตามกันมาหรือเชื่อตามๆกันมาเท่านั้นไม่เคยเห็นเองตามจริง ผมจึงหันไปเจริญปฏิบัติใน "มิจฉัตตะ 10" คือ ภาวะที่ผิด ทั้ง 10 ประการ ซึ่งมันประกอบไปด้วยความหลงทั้งนั้น นี่จึงทำให้ผมเห็นและเข้าใจถึงโมหะที่น้อยคนจะสัมผัสและรู้ได้ตามจริง เมื่อรู้แล้วผมจึงถอยออกมาด้วยผมอาศัยศรัทธา ความเพียรที่จะละอกุศล ทำให้กุศลเกิดขึ้น คงกุศลไว้ รักษากุศลไม่ให้เสื่อม(ปธาน๔) ร่วมกับ สมาธิ สัมปชัญญะ และ สติ จึงเห็นตามจริงในสิ่งผิดแล้วถอยออกมาได้**)

๔. เมื่อรับรู้ได้ถึงความจดจ่อของจิตมีความแนบอารมณ์แลดูในสิ่งที่นึกคิดอยู่นั้นด้วยสติ โดยจะเห็นเหมือนว่าเรานี้ดูละครที่แสดงความเป็นไปของจิต ก็ให้พึงหวนระลึกเอาศีลและทานที่ทำมาแล้วนั้นวิเคราะห์ลงในธรรมดังนี้

ก. แม้ศีลและทานที่ระลึกอยู่นี้นั้น จะยังความสุขมาให้แก่เราได้ ก็เพราะการกระทำในศีลและทานที่งดงามอันนั้นก็ได้ผ่านมาแล้ว เป็นอดีตไปแล้ว ดับไปแล้ว
- ก็เพราะเมื่อการกระทำนั้นๆได้ดับไปแล้ว ความเข้าไปหวนระลึกในสิ่งที่ทำไปแล้วนั้นจึงจะเกิดขึ้นได้
- ก็เมื่อความหวนระลึกถึงศีลและทานอันดีที่เราได้ทำไปแล้วนั้นดับไป ความสุขเบิกบานใจจากการได้ระลึกถึงนั้นจึงเกิดขึ้น
- เมื่อความสุขนั้นดับไปความสงบรำงับจากสุขนั้นจึงเกิดขึ้นแก่เรา
- เพราะความสงบรำงับนั้นดับไป ความจดจ่อแนบกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานจึงเกิดขึ้น

ข. จิตอันสงบเย็นที่จดจ่อแนบสิ่งกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานจะไม่เกิดขึ้น -> หากเราไม่มีความสงบรำงับอันตัดขาดจากนิวรณ์ -> ความสงบรำงับอันตัดขาดจากนิวรณ์จะไม่เกิดขึ้น -> หากเราไม่มีความสุขร่มเย็นอันเกิดแต่ความอิ่มเอมแช่มชื่นเบากายใจ -> ความสุขร่มเย็นอันเกิดแต่ความอิ่มเอมแช่มชื่นเบากายใจจะเกิดขึ้นไม่ได้ -> หากเราไม่ปราศจากความเร่าร้อนเศร้าหมองอันตรึงหนักกายใจ -> ความปราศจากสภาพที่เร่าร้อนเศร้าหมองอันตรึงหนักกายใจจะเกิดขึ้นไม่ได้ -> หากเราไม่ คิด พูด ทำ ในสิ่งที่ดีงามบริสุทธิ์ที่ประกอบไปด้วยประโยชน์อันสงเคราะห์เอื้อเฟื้อไม่เบียดเบียนต่อตนเองและผู้อื่น
- ด้วยเหตุดังนี้ ศีล และ ทาน จึงชื่อว่าความปกติของคน ด้วยอานิสงส์ที่ทำให้คนทั้งหลายไม่เร่าร้อนเศร้าหมองอันตรึงหนักกายใจนั่นเอง เป็นสิ่งที่ควรเสพย์และเจริญให้มากดังนี้

ค. เมื่อพิจารณาในข้อ ก. และ ข. นี้เรียกว่าอนุโลม-ปฏิโลมเจริญเข้าสู่ธัมมะวิจยะให้เห็นความเป็นไปตามจริงด้วยสติจากศีลและทานที่เราทำมาดีแล้วนั้นจะเห็นว่า สิ่งเหล่านี้มัน เกิด-ดับ แล้วก็ เกิด-ดับ ไปเรื่อยๆอยู่ตลอดเวลาตามเหตุปัจจัยด้วยตัวของมันเอง จะไปบังคับให้มันคงอยู่ตลอดไปดั่งใจก็ไม่ได้ สิ่งเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา สักแต่มีเกิดและดับไปตามเหตุปัจจัย ไปยึดมั่นถือมั่นเอาสิ่งใดๆไม่ได้เลย
๑. ทีนี้ลองหวนระลึกนึกคิดทบทวนดูสิว่า แม้เราจะเพียรพยายามบังคับให้กายและใจเรานี้ตั้งมั่นดำรงจดจำอยู่ในศีลและทานตลอดเวลา แต่พอเราน้อมไปรู้อารมณ์อื่นๆ เช่น กำลังนั่งคุยเล่นสนุกสนานกับเพื่อนบ้าง ฟังเพลงบ้าง วิ่งออกกำลังกายบ้าง ขี้บ้าง เยี่ยวบ้าง อาบน้ำบ้าง ทำงานบ้าง ดูหนังบ้าง หรือเวลาที่นอน ในขณะนั้นเราก็ไม่ได้มีกายและใจที่ตั้งดำรงอยู่ในศีลและทานแต่กลับเอากายและใจไปตั้งจดจ่ออยู่ที่อารมณ์เหล่านั้น แม้จะพยายามไปบังคับให้ศีลและทานตั้งอยู่ในขณะที่เราน้อมไปรู้ในอารมณ์เหล่านั้นมันก็ทำไม่ได้ เพราะกายใจที่ตั้งในศีลและทานดับไปแล้ว การข้าไปรู้ในอารมณ์สิ่งเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น
๒. แม้แต่ขณะที่เรากำลังเจริญในศีลอยู่ในขณะนั้นกายและใจก็ไม่ได้ดำเนินไปในทาน จะไปบังคับให้ในขณะที่เจริญในศีลให้มีทานตั้งอยู่ร่วมด้วยก็ไม่ได้ นั่นเพราะกายใจที่ตั้งในศีลดับไป การที่เข้าไปตั้งกายใจในทานจึงเกิดขึ้น
๓. แม้ในขณะที่เราตั้งกายใจมั่นเจริญขึ้นในศีลข้อละเว้นจากปาณาติบาต ศีลข้ออื่นๆทั้งหมดก็ดับไปในขณะนั้นไม่ตั้งอยู่เลย เมื่อตั้งกายใจมั่นในศีลข้อละเว้นจากอทินนาทาน กายใจที่ตั้งมั่นในการละเว้นจากปาณาติบาตก็ดับไป
๔. แม้ความเป็นศีลและทานทั้งปวงที่เราตั้งกายใจมั่นถืออยู่เป็นอันมากมันก็ยัง แปรปรวน รวนเร เปลี่ยนไป เกิด-ดับๆ ตามเหตุปัจจัยของมันอยู่ตลอดเวลา ทั้งที่เราตั้งไว้บนกายใจของเราแท้ๆก็ยังบังคับมันให้เป็นดั่งใจเราปารถนาไม่ได้เลย
    - ด้วยเหตุนี้จึงไปยึดมั่นถือมั่นปารถนาเอาศีลในกายและใจไม่ได้ เพราะกายและใจมันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับให้มันตั้งอยู่คงอยู่ในกายและใจตลอดไปไม่ได้
๕. ถึงแม้เราจะตั้งทรงอารมณ์ในศีลและทานไว้ในขันธ์ทั้ง ๕ ได้ตลอดเวลา แต่เมื่อกายและใจนี้เจ็บป่วย เสื่อมโทรม ดับสูญไป เราจะเอาศีลและทานไปตั้งไว้ที่ไหนได้

    - ด้วยเหตุนี้จึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปขันธ์ว่าเป็นของเที่ยง มีตัวตน เป็นที่คงอยู่ไว้แห่งศีลและทานไม่ได้
    - ด้วยเหตุนี้จึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาขันธ์ว่าเป็นของเที่ยง มีตัวตน เป็นที่คงอยู่ไว้แห่งศีลและทานไม่ได้
    - ด้วยเหตุนี้จึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสัญญาขันธ์ว่าเป็นของเที่ยง มีตัวตน เป็นที่คงอยู่ไว้แห่งศีลและทานไม่ได้
    - ด้วยเหตุนี้จึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสังขารขันธ์ว่าเป็นของเที่ยง มีตัวตน เป็นที่คงอยู่ไว้แห่งศีลและมานไม่ได้
    - ด้วยเหตุนี้จึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในวิญญาณขันธ์ว่าเป็นของเที่ยง มีตัวตน เป็นที่คงอยู่ไว้แห่งศีลและทานไม่ได้


ดังนั้นขันธ์ ๕ จึงมีไว้สักแต่ให้ระลึกรู้ เป็นเพียงที่อาศัยชั่วคราวให้เราดำรงศีลและทานเพื่อให้บารมีศีลและทานนั้นเต็มกำลังใจเท่านั้น ไม่ได้มีไว้ให้ยึดมั่นถือมั่น นี่จึงขั้นชื่อว่ากายไม่มีตัวตน-ใจไม่มีตัวตน กายไม่เที่ยง-ใจไม่เที่ยง กายไม่ใช่เรา-ใจไม่ใช่เรา กายไม่ใช่ของเรา-ใจไม่ใช่ของเรา เมื่อรู้อย่างนี้แล้วก็ถอนอุปาทานในขันธ์ ๕ ไปเสีย มันไม่เที่ยง-ไม่มีตัวตน-เป็นทุกข์ เกิดมา-ตั้งอยู่-ดับไป สักแต่มีไว้ระลึกรู้และเป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น

- "บารมี" แปลว่า "เต็ม" หลวงพ่อฤๅษีท่านกล่าวว่า บารมีพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่าหมายถึงเต็มกำลังใจ ไม่ใช่เต็มเฉยๆ เช่น ทานบารมี ถ้าหากต้องใช้ของทั้งโลกยกมาให้หมดถึงจะเต็มทานบารมีเราจะทำอย่างไรถึงจะยกมาได้ ดังนั้นเต็มมันต้องเต็มที่ใจเรานี้จึงเรียกว่า บารมี ส่วนตัวผมก็พอจะเข้าใจในสิ่งนี้แต่ก้อยังขัดๆใจเพราะไม่เคยเจอสักที จนเมื่อผมนอนหลับไปแล้วได้ฝันถึงเรื่องที่ทำให้มีความสุขอันหาประมาณไม่ได้ ผมได้นอนเพียงแค่ 2 ชม. แต่ได้ตื่นมาด้วยความปลื้มใจ ตื้นตันใจ แช่มชื่นเย็นใจเป็นสุขเต็มกำลังใจ แม้ไม่ได้นอนจนถึงตี 4 ของอีกวันผมก็ยังรู้สึกมีกำลังกระปี้กระเป่า หรือ เมื่อเวลาเดินในระยะทางไกลๆแต่เดินไปกับคนที่รักหรือเดินไปด้วยความสุขสบายใจ จากที่ผมเคยเดินแบบเหนื่อยหอบกลับไม่มีอาการเจ็บปวดเหนื่อยหอบเลยแถมร่างกายก็ยังคงเดิมอยู่จิตใจก็แช่มชื่นเป็นสุข ผมจึงได้เข้าใจว่าเต็มกำลังใจมันเป็นอย่างนี้นี่เอง
- บารมีเต็มมันเป็นยังไง "อนุสสติ๖" นอกจากอานิสงส์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้วนั้น ยังมีเอาไว้เพื่อสิ่งใด ก็เพื่อให้หวนระลึกถึง "ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา" ที่ตนได้ทำมาดีแล้วนั้นเพียงพอแค่ไหน มีเต็มกำลังใจที่เรียกว่า "บารมี" แล้วหรือยัง หากเต็มกำลังใจแล้วความแช่มชื่นเป็นสุขร่มเย็นย่อมมีเป็นอันมากแก่กายใจตนจนอิ่มเต็มเข้าสู่สัมมาสมาธิก็ง่าย มี กาย วาจา ใจ เป็นไปในกุศลดังกล่าวโดยง่ายไม่มีความคับข้องใจ กดข่มอึดอัดกายใจ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2014, 05:53:56 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2014, 12:22:12 pm »
0

๓. ละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๑

    ๓.๑ อุบายดึงสมถะยกจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงสู่ทางวิปัสสนา


    ๓.๑.๓ ท์วัตติงสาการะปาโฐ

๑ พิจารณาทำความเข้าใจอันแนบไปในวิปัสสนา

- พึงระลึกว่า "รูปขันธ์ คือ ร่างกายของเรานี้แล" พระพุทธเจ้าตรัสสอนมาอย่างนี้ว่า
“ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนตั้งแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องล่างตั้งแต่ปลายผมลงไปประกอบไปด้วยอาการทั้ง 32 ประการ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด ต่างๆ ... ภิกษุชื่อว่า มีความเข้าใจอยู่ว่าเบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น....อย่างนี้แล...

อัตถิ อิมัสมิง กาเย (ที่มีอยู่ในกายนี้) เกสา (ผมทั้งหลาย) โลมา (ขนทั้งหลาย) นขา (เล็บทั้งหลาย) ทันตา (ฟันทั้งหลาย) ตะโจ (หนัง) มังสัง (เนื้อ) นะหารู (เอ็นทั้งหลาย) อัฏฐี (กระดูกทั้งหลาย) อัฏฐิมิญชัง (เยื่อในกระดูก) วักกัง (ม้าม) หะทะยัง (หัวใจ) ยะกะนัง (ตับ) กิโลมะกัง (พังผืด) ปิหะกัง (ไต) ปัปผาสัง (ปอด) อันตัง (ไส้ใหญ่) อันตะคุณัง (ไส้น้อย) อุทะริยัง (อาหารใหม่) กะรีสัง (อาหารเก่า) ปิตตัง (น้ำดี) เสมหัง (เสลด) ปุพโพ (น้ำเหลือง) โลหิตัง (น้ำเลือด) เสโท (เหงื่อ) เมโท (มันข้น) อัสสุ (น้ำตา) วะสา (มันเหลว) เขโฬ (น้ำลาย) สังฆาณิกา (น้ำมูก) ละสิกา (น้ำมันไขข้อ) มุตตัง (น้ำมูตร) มัตถะเก มัตถะลุงคันติ (เยื่อในสมอง)

- ด้วยอาการทั้งหมดเหล่านี้สงเคราะห์ประกอบรวมกันขึ้นมาโดยแบ่งหน้าที่กันทำงานต่างๆกันไปจึงเกิดเป็นตัวตน คนใดๆ สัตว์ใดๆ

๑. ทั้งๆที่รูปขันธ์ที่ไม่ว่าเราหรือใครๆได้เข้ามาอาศัยอยู่นี้ ก็มีเพียงแค่อาการทั้ง 32 ประการ ที่สงเคราะห์ประกอบกันทำงานร่วมกันอยู่เท่านั้น มีแต่ความเสื่อมโทรมอยู่ทุกวัน สักแต่รอให้ถึงเวลาที่จะดับสูญไป ด้วยเหตุดังนี้มันจึงมีไว้อาศัยเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น ไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเที่ยงไม่ได้เลย ดังนี้จึงเรียกว่า รูปขันธ์ไม่เที่ยงไม่คงอยู่ สักแต่มีไว้อาศัยใช้ทำในกิจการงานใดๆเพียงชั่วคราว สักแต่มีไว้ระลึกรู้ดูสภาวะและสภาพที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน เสื่อมโทรม และ ดับไปเท่านั้น เข้าไปยึดมั่นถือมั่นไม่ได้เลย เพราะมันไม่เที่ยง เมื่อเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งอันไม่เที่ยงมีแต่จะเสื่อมโทรมสลายไปทุกขณะเวลา มันก็ไม่พึงได้ตามใจปารถนา มันจึงมีแป็นทุกข์

๒. รูปขันธ์ มันก็มีแค่ อาการทั้ง 32 ประการเหล่านี้รวมกันแยกกันอยู่ก็ไม่ได้ เพราะเมื่อแยกกันอยู่ก็ไม่อาจทำหน้าที่ของกันและกันได้ มีแต่จะยังความเสื่อมโทรมและสูญสลายมาให้ ลองหวนระลึกถึงอวัยวะทั้งหลายที่เขาแช่ดองไว้ในโหลแก้วตามโรงพยาบาลหรือศูนย์วิทยาศาสตร์ เมื่อแยกกันออกมาแล้วมันก็หยุดทำงานมีแต่สภาพที่คงนิ่งอยู่ไม่มีความเคลื่อนไหวทำงานใดๆใช่มั้ยครับ และแม้เขาจะดองอยู่ในฟอร์มาลีนหรือแช่เย็นไว้มันก็ยังความเสื่อมโทรมแปรเปลี่ยนและสูญสลายไปทุกๆขณะจะช้าเร็วอยู่ที่การดูแลรักษาของเราใช่ไหมครับ ดังนั้นรูปขันธ์หรืออาการทั้ง 32 ประการเหล่านี้มันจึงไม่เที่ยง

๓. เพราะมีอาการทั้ง 32 ประการเหล่านี้รวมกันและยังทำงานในหน้าที่ของกันและกันอยู่มันจึงมีคนนั้นคนนี้ มีสัตว์นั้นๆ มีสิ่งของนั้นๆได้ รูปขันธ์ หรือ อาการทั้ง 32 ประการนี้เราจะไปบังคับยื้อยึดฉุดรั้งใดๆให้มันเป็นไปดั่งใจได้ไหม มันก็ไม่ได้ใช่มั้ยครับ ห้ามไม่ให้เจ็บไม่ให้ปวดก็ไม่ได้ ห้ามไม่ให้แก่ไม่ให้เสื่อมโทรมสูญสลายไปก็ไม่ได้ แล้วควรหรือไม่ที่เราจะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปขันธ์ ว่าเป็นตัวตน ว่านี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา นี่เป็นเขา นี่เป็นของเขา ก็ด้วยเพราะเหตุดังนี้ รูปขันธ์ จึงชื่อว่าไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของเรา

๔. หากมีเพียงแค่อาการใดอาการหนึ่งจาก 32 ประการนี้ ก็ไม่อาจจะเรียกว่าเป็นคนหรือสัตว์ได้ ดังนี้แล้วเราจะไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่สักแต่เพียงมีไว้แค่อาศัยอยู่ชั่วคราว สิ่งที่สักแต่เพียงอาศัยการสงเคราะห์ประกอบร่วมกันโดยมีอาการที่เรียกว่า ผม  ขน  เล็บ  ฟัน และ หนังที่หุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบปกปิดอาการอันเน่าเหม็นภายในไว้นี้ว่าเป็นสิ่งที่มีตัวตน มีเขา มีเรา นี่เป็นเขา นี่เป็นเรา ได้หรือไม่

๕. ความเข้าไปปารถนาเอากับสิ่งอันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน มันเป็นทุกข์ เราจึงควรเพิกถอนความสำคัญมั่นหมายของใจอันยึดมั่นในอาการทั้ง 32 หรือ รูปขันธ์ เหล่านี้ออกไปเสีย พึงเห็นมันเป็นของไม่เที่ยง เป็นสิ่งไม่มีตัวตน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ เสื่อมโทรม ดับไป เพียงมีไว้ระลึกรู้ไม่ได้มีไว้เสพย์ในกิเลสตัณหาจากรูปขันธ์นั้นจนเกิดเป็นความยึดมั่นถือมั่นอุปาทาน


๒ พิจารณาแยกอาการทั้ง ๓๒ ประการ สงเคราะห์ลงวิปัสสนา
๖. เมื่อได้ทำความเข้าใจให้เห็นตามจริงดังนี้แล้ว จิตย่อมน้อมวิเคราะห์ลงในธรรม แล้วเห็นว่า เราไม่มีในรูป รูปไม่ใช่เรา
เราไม่มีในรูปนั้นเป็นไฉน รูป คือ ร่างกายของเรานี้ มีอาการทั้ง 32 ประการ พึงพิจารณาให้เห็นดังนี้ว่า

  ผมหรือที่เป็นเรา, ขนหรือที่เป็นเรา, เล็บหรือที่เป็นเรา, หนังหรือที่เป็นเรา, เนื้อหรือที่เป็นเรา, เอ็นหรือที่เป็นเรา
  กระดูกหรือที่เป็นเรา, เยื่อในกระดูกหรือที่เป็นเรา, ม้ามหรือที่เป็นเรา, หัวใจหรือที่เป็นเรา, ตับหรือที่เป็นเรา
  พังผืดหรือที่เป็นเรา, ไตหรือที่เป็นเรา, ปอดหรือที่เป็นเรา, ไส้ใหญ่หรือที่เป็นเรา, ไส้น้อยหรือที่เป็นเรา
  อาหารใหม่หรือที่เป็น, อาหารเก่าหรือที่เป็นเรา, น้ำดีหรือที่เป็นเรา, เสลดหรือที่เป็นเรา, น้ำเหลืองหรือที่เป็นเรา
  เลือดหรือที่เป็นเรา, เหงื่อหรือที่เป็นเรา, มันข้นหรือที่เป็นเรา, น้ำตาหรือที่เป็นเรา, เปลวมัน(มันเหลว)หรือที่เป็นเรา
  น้ำลายหรือที่เป็นเรา, น้ำมูกหรือที่เป็นเรา, น้ำมันไขข้อหรือที่เป็นเรา, น้ำมูตรหรือที่เป็นเรา, (มันสมอง)หรือที่เป็นเรา

- ก็เมื่อรูปขันธ์ คือ อาการทั้ง 32 ประการทั้งหลายเหล่านี้  อันเราได้พิจารณาใน อนุโลม ปฏิโลม โดยแยบคายแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีเราหรือมีสิ่งใดที่เป็นเราอยู่ในรูปขันธ์หรือเป็นอาการทั้ง 32 ประการเหล่านั้น ด้วยเหตุดังนี้ "เราจึงไม่มีในรูป" (อนัตตา)
- ก็เมื่อรูปขันธ์ คือ อาการทั้ง 32 ประการทั้งหลายเหล่านี้  อันเราได้พิจารณาใน อนุโลม ปฏิโลม โดยแยบคายแล้ว ก็ไม่เห็นจะมีรูปขันธ์ คือ อาการใดๆใน 32 ประการเหล่านี้ที่จะเป็นเรา ด้วยเหตุดังนี้ "รูปจึงไม่ใช่เรา" (อนัตตา)


อัตถิ อิมัสมิง กาเย (ที่มีอยู่ในกายนี้) เกสา (ผมทั้งหลาย) โลมา (ขนทั้งหลาย) นขา (เล็บทั้งหลาย) ทันตา (ฟันทั้งหลาย) ตะโจ (หนัง) มังสัง (เนื้อ) นะหารู (เอ็นทั้งหลาย) อัฏฐี (กระดูกทั้งหลาย) อัฏฐิมิญชัง (เยื่อในกระดูก) วักกัง (ม้าม) หะทะยัง (หัวใจ) ยะกะนัง (ตับ) กิโลมะกัง (พังผืด) ปิหะกัง (ไต) ปัปผาสัง (ปอด) อันตัง (ไส้ใหญ่) อันตะคุณัง (ไส้น้อย) อุทะริยัง (อาหารใหม่) กะรีสัง (อาหารเก่า) ปิตตัง (น้ำดี) เสมหัง (เสลด) ปุพโพ (น้ำเหลือง) โลหิตัง (น้ำเลือด) เสโท (เหงื่อ) เมโท (มันข้น) อัสสุ (น้ำตา) วะสา (มันเหลว) เขโฬ (น้ำลาย) สังฆาณิกา (น้ำมูก) ละสิกา (น้ำมันไขข้อ) มุตตัง (น้ำมูตร) มัตถะเก มัตถะลุงคันติ (เยื่อในสมอง)

- ก็เมื่อรูปขันธ์ คือ ร่างกายของเรานี้ อาศัยอาการทั้ง 32 ประการทั้งหลายเหล่านี้รวมกันอยู่ก็จึงได้สมมติเอาว่าเป็นเรา ก็เมื่อแยกอาการทั้ง 32 ประการออกมามี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นนั้นออกมาจากรูปขันธ์ แยกออกมากองๆไว้อย่างนี้แล้ว เราจะเห็นรูปขันธ์มีอยู่ในเราหรือใครๆบ้างไหม มันก็หาไม่ได้ใช่ไหม ที่จะเห็นได้นั้นก็มีแต่กองสิ่งเน่าเหม็น ไม่มีร่างกายไรๆในเราหรือใครๆ รูปขันธ์ก็ไม่มีในเราและตัวตนบุคคลใดเหลืออีก ด้วยเหตุดังนี้ "รูปจึงไม่มีในเรา" (อนัตตา)
- ก็เพราะ รูปขันธ์ คือ อาการทั้ง 32 ประการทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีตัวตนอันที่จะไปบังคับใดๆได้ อาการทั้ง 32 ประการนี้ จึงมีความเสื่อมโทรมไปทุกๆขณะเวลา


- เมื่อเห็นดังข้อที่ ๑-๖ นี้แล้ว เราก็ย่อมรู้ว่า รูปขันธ์ คือ อาการทั้ง 32 ประการเหล่านี้ มันมีความแปรเปลี่ยนเสื่อมโทรมไปทุกขณะ ไม่นานก็เสื่อมสลายแล้วดับไปเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงอยู่นาน จะสูญสลายไปช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา สภาพแวดล้อม สภาพธรรมที่ปรุงแต่งทั้งภายในภายนอกและกาลเวลา มันเป็นกองทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในรูป รูปไม่มีในเรา รูปไม่ใช่เรา รูปไม่ใช่ของเรา สักแต่มีไว้ระลึกรู้ มีไว้อาศัยชั่วคราว เมื่อเราเข้าไปปารถนาหมายมั่นในรูปขันธ์ไปมันก็เสียแรงเปล่า ปารถนาไปทำไมให้มันเป็นทุกข์เปล่าๆ หากเมื่อเราไม่ปารถนาที่จะเอาความทุกข์ก็เพิกถอนความสำคัญมั่นหมายยึดมั่นถือมั่นในรูปขันธ์ทิ้งไปเสีย ถอนความยึดมั่นถือมั่นออกจากสิ่งอันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เราก็จักไม่ทุกข์อีก

    ๓.๑.๔ จตุธาตุววัตถาน

ให้พึงน้อมระลึกพิจารณา ดูว่าร่างกายของเรานี้เป็นอย่างไรตาม Link นี่

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46675#msg46675

    "ธาตุมนสิการ คือ การพิจารณาร่างกายของตนโดยให้เห็นแยกประเภทเป็นธาตุ ๔ แต่ละอย่างๆว่ามีในกายเราอยู่นี้"
     ธาตุดิน ที่เป็นของแข้นแข็งอันมี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ที่ต่างเมื่อไม่ได้มีการปรุงแต่งใดๆแล้ว ก็ล้วนไม่งาม เป็นปฏิกูล ไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ (โดยส่วนตัวผมนี้ได้เพ่ง ปฐวีกสิน ทำให้ช่วงเวลาหนึ่งที่เข้าถึงนั้น เห็นกายตนเองและผู้อื่นเป็นดินเกิดทำให้เกิดวิราคะผุดขึ้นในใจในกาลสมัยนั้น)
     ธาตุน้ำ ที่หมายถึงเป็น ของเอิบอาบ คือความเป็นของเหลว เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ที่ล้วนปฏิกูล ไม่งามเช่นกัน ที่ต่างเมื่อไม่ปรุงแต่งใดๆแล้วก็ล้วนไม่งามไม่สะอาด ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
     ธาตุลม ความเป็นของพัดไปมา ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้  ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่  ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก  เช่น ลมหายใจอันไม่น่าปรารถนา ลมหมักหมมเหม็นเน่าอยู่ในท้อง ต่างล้วนเน่าเหม็น ล้วนไม่มีใครอยากดอมดม ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
     ธาตุไฟ  ความเป็นของเร่าร้อน  สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย และทั้งเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย  สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย  สิ่งที่เป็นเครื่องทำให้แปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว กล่าวคือแปรปรวนของที่กินและลิ้มแล้วให้เป็นพลังงานและสารต่างๆออกมา ย่อมเกิดความร้อนหรือพลังงานและของเสียเน่าเหม็นจากการสันดาปภายในต่างๆเป็นมูตรคูถ เหงื่อ ฯ. ไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ
      - "หากเป็นธาตุ ๕ ก็เพิ่ม อากาศธาตุ" เข้าไปเป็นที่ว่างกว้าง หรือ เป็นช่องว่างแทรกอยู่ในทุกๆอนูของทุกๆธาตุ
      - "หากเป็นธาตุ ๖ ก็เพิ่ม วิญญาณธาตุ" เข้าไป เป็นธาตุรู้ พิจารณาเห็นกายในกายนอกเห็นว่าเรามีเขามีไม่แยกเพศ

จะเห็นได้ว่าในร่างกายเรานี้มีแต่เพียง ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ กอปรกันขึ้นมาเป็นเคล้าโครงรูปร่างดังนี้เท่านั้น ไม่เห็นมีอื่นใดเลย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา นี่เราไปติดไปยึดมั่นเอาธาตุทั้ง ๔ มาเป็นอุปาทาน ว่าเป็นเราเป็นเขา ทำไมผมถึงกล่าวว่ามีเพียงธาตุ ๔ ไม่มีอื่นใดเลย ให้เจริญจิตขึ้นพิจารณาให้เห็นตามจริงดังนี้
๑. ลองเอามือจับแขน จับหู จับขา จับหน้า จับตัวของเราดู เรารู้สึกอย่างไรบ้าง อ่อนนุ่ม แข็ง ใช่ไหมครับ
๒. ลองอมน้ำลายไว้ หรือ บ้วนออกมาแล้วเอานิ้งจิ้มๆดู ภายในนเราจะรู้สึกถึงความชุ่มชื่น ซาบซ่าน ภายในเราจะรู้สึกเหมือนมันเกาะกลุมสภาพไรๆรวมกันไว้ภายในใช่ไหมครับ ลองฉี่ใส่กระโถนแล้วเอามือแตะจับกวนๆมันดู มันก็จะมีสภาพเช่นนี้เหมือนกัน
๓. ลองเป่าลมออกมาทางปากออกมาใส่ฝ่ามือดู มันมีสภาพเคลื่อนตัว พัดเคลื่อนไหมครับ ลองเอามือเรานี้ไปป้องไว้ตรงจมูกแล้วหายใจเข้า หายใจออกดู ก็จะรู้สึกเช่นนี้เหมือนกันใช่ไหมครับ เวลาที่เราเลอจากลมในกระเพาะมันเคลื่อตัว พัดขึ้นพัดลง ตรึงไหวภายในไหมครับ หรือเวลาที่เราตดนี่ลมในลำไส้มันก็เคลื่อนตัว ตรึงไหวเหมือนกันใช่ไหมครับ
๔. ลองหวนระลึกจากการที่เราได้รู้ผัสสะจากสิ่งทั้ง 3 ข้อนั้นดู ก็จะเห็นว่ามันมีสภาพร้อนเย็นรวมอยู่ด้วยใช่ไหมครับ
๕. ทั้ง ๔ ข้อนี้เรารับรู้สัมผัสด้วยกายใจของเรา ทีนี้ลองไปสัมผัสผู้อื่นแบบนี้ดูนะครับว่ารู้สึกเหมือนกันไหม
๖. หรือแม้แต่ในขณะนที่เรานั่งๆอยู่นี้ หรือจับผนังห้อง จับรถ แตะที่พื้นที่เราเดินหรือยืนอยู่เราก็จะรู้สึกว่ามันมีแค่ อ่อน-แข็ง ร้อน-เย็น เป็นต้น ใช่ไหมครับ
๗. เมื่อเราอาบน้ำบ้าง ล้างหน้าบ้าง เราก็รู้สึกเพียง เอิบอาบ ซาบซ่า เกาะกลุม เป็นต้น เหมือนที่เรารับรู้จากน้ำลายและน้ำปัสสาวะของเราใช่ไหมครับ
๘. เวลาเรากินข้าว เคี้ยวข้าว กลืนคำข้าว นอกจากรู้รสชาติจากลิ้นแล้ว เรารับรู้อะไรได้อีกบ้าง อ่อน แข็ง นุ่ม ลื่นเกาะกลุม เหนียว ร้อน เย็น เป็นต้น ดังนี้ใช่ไหมครับ
๙. เวลาเดินไปหรือนั่งอยู่มีลมพัดผ่าน จะลมจากพัดลมก็ตาม ลมจากแอร์ก็ดี เราก็รู้สึกถึงการพัด เคลื่อนตัว ตรึงไหวใช่ไหมครับ
๑๐. เมื่อเป็นดังนี้แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะเป็น ภายนอกกาย หรือ ภายในกาย มันก็มีสภาพที่เรารับรู้สัมผัสได้ดังนี้ทั้งนั้น ไม่มีเกินกว่านี้
๑๑. ทีนี้เราก็จะเข้ารับรู้เพียงสภาพที่เป็นธาตุจากผัสนะเหล่านี้ จากนั้นต่อไปไม่เราว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขี้ เยี่ยว ฯลฯ (หรือแม้แต่ตอนที่เรามีเพศสัมพันธ์ เราก็จะรู้ได้แค่ผัสสะที่มีความเอิบอาบเกาะกุม ความเคลื่อนตัวกับผัสสะที่อ่อนแข็ง ร้อนเย็น) ก๋็ให้เราเข้าไปรู้สภาพจากผัสสะที่เราพอจะรับรู้ได้ในทุกๆอย่างทุกๆขณะ ทุกอิริยาบถ ทุกสภาวะการดำเนินไปในกาย เมื่อเจริญไปอย่างนี้เนืองๆเราก็จะเห็นว่ามันไม่มีสิ่งใดเป็นเรา เป็นเขา ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีสิ่งใดๆเลยนอกจากธาตุหรืออาการเหล่านี้ แม้ผัสสะใดๆที่เรารับรู้อยู่นี้ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆมี เกิด-ดับๆ ในสภาพนั้นๆอยู่ทุกขณะเวลา ไม่มีความเที่ยงแท้คงอยู่ได้นาน เกิดยถาภูญาณทัสสนะ เกิดปัญญาขึ้น จนเกิดนิพพิทาญาณด้วยความรู้เห็นตามจริงด้วยปัญญา

    ๓.๑.๕ มรณะสติ

เมื่อเราระลึกถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก เราก็ย่อมรู้แน่ชัดว่า กายนี้ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ดังนั้นแล้วก็ให้พึงพิจารณาในมรณานุสสติขึ้นเป็นวิปัสสนาดังนี้

๑.พิจารณาเห็นว่า เราก็จักตาย เขาก็จักตาย ทั้งเขาและเราต่างก็ต้องตายไปเหมือนกัน แล้วด้วยประโยชน์อันใดที่เราจะเข้ายึดเอารูปขันธ์ที่กำลังจะปราศจากชีวิตรูปที่ทรงให้รูปขันธ์ยังดำเนินไปอยู่ จะเข้าไปยึดเอากับสิ่งที่เราจะต้องสละทิ้งไปในทุกขณะนี้ทำไม ประโยชน์อะไรที่เราจะเข้าไปเสพย์ กาม ราคะ โทสะ โมหะ กับรูปขันธ์ที่กำลังจะปราศจากชีวิตไปในทุกขณะนี้ให้เกิดตัณหา อุปาทาน เพราะมันหาประโยชน์สุขที่แท้จริงอันเป็นนิรันดร์ไม่ได้เลยนอกจากทุกข์ แม้เมื่อได้เสพย์ดั่งใจใคร่ปารถนาแล้วความสุขที่ได้เสพย์นั้นก็อยู่ได้ไม่นาน สุดท้ายก็ต้องพรัดพรากรูปขันธ์อันเป็นที่รักทั้งสิ้นไปไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง จะเหลือก็แค่รูปขันธ์ที่ไร้ชีวิตอันมีแต่จะเน่าเปื่อยย่อยสลายไป แล้วประโยชน์อะไรที่เราจะไปเสพย์สุขกับรูปขันธ์ที่กำลังจะไร้ชีวิต
๒.คนเรามีความตายเป็นที่สุด มีความตายเป็นที่แน่นอนทุกคน ต่างกันแค่ว่าจะตายช้าหรือเร็วต่างกันเท่านั้นบางคนอาจจะขณะเสี้ยววินาทีนี้ บางคนอาจจะอีก 1 นาที, 1 ชั่วโมง, 1 วัน, 1 อาทิตย์, 1 เดือน 1 ปี, 10 ปี ถึงตาย แต่สุดท้ายก็คือตายอยู่ดี ความตายนี่เป็นสิ่งที่แน่นอนสำหรับสัตว์โลกทั้งหลาย แม้เทวดา หรือ พรหม ก็ยังต้องตาย คือ หมดบุญก็ตายจากสวรรค์ตายจากชั้นพรหมลงมาจุติเป็นคนหรือสัตว์ทั้งปวง ดังนั้นความตายเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน แต่เพราะไม่รู้ว่าเรา หรือ คนอื่น สัตว์อื่น หรือ เทวดา หรือ พรหม แต่ละคนแต่ละองค์จะตายตอนไหนเวลาใดเท่านั้น ไม่รู้วันและเวลาตายได้ กำหนดการตายไม่ได้ จึงชื่อว่า แม้ความตายก็ไม่เที่ยง
(ผมคัดลอกและเพิ่มเติมข้อมูลในแบบของผมลงในข้อที่ ๒. นี่้จากคำสอนของพระราชพรหมญาณ ซึ่งเป็นพระสายเจริญมรณะสติและกสินอภิญญา)
๓.แม้ความตายยังไม่เที่ยงทั้งที่วันหนึ่งต้องเจออยู่แล้ว แล้วกายนี้มันจะคงอยู่ได้นานแค่ไหน ดังนั้นอย่าเข้าไปยึดกับสิ่งที่สุดท้ายก็ต้องพรัดพรากจากไป อย่าเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูปขันธ์ที่มีไว้อาศัยชั่วคราว รูปขันธ์จะคงอยู่ก็เมื่อยังมีลมหายใจอยู่เท่านั้น ลมหายใจจะมีได้ก็ด้วยความเป็นไปดำรงอยู่ของกายนี้เท่านั้น ลมหายใจดับไปเมื่อไหร่่ก็ตายเมื่อนั้น กายมันก็ยังต้องยึดเอาลมหายใจเพื่อคงอยู่ แล้วจะไปยึดเอาอะไรกับรูปขันธ์ที่ยังต้องพึ่งพาลมไม่มีลมก็ต้องตายดับไป
๔.เจ้าร่างกายนี้ไม่กินก็ต้องตาย ไม่ดื่มก็ต้องตาย แล้วเราจะเข้าไปยึดมั่นถือมันในรูปขันธ์ที่มีแต่จะอันตะทานพรากดับไปจากเราทุกขณะเพื่ออะไร รูปขันธ์มันคงอยู่ไม่ได้ด้วยตัวของมันเอง แล้วมันจะเป็นที่พึ่งที่ยึดมั่นถือมั่นแก่เราได้อย่างไรเล่า ละความยึดมั่นสำคัญมั่นหมายต่อมันไปเสีย มันไม่มีที่ตั้งให้เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ มันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน มันคือกองทุกข์
๕. เมื่อเห็นดังนี้แล้วก็เพิกถอนจิตออกจากความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในรูปขันธ์ทั้งปวงออกไปเสียแล้วพึงตั้งจิตให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปขันธ์ทั้งปวงและกายเรานี้ ตั้งความเพียรโดยไม่ยึดในรูปขันธ์ เมื่อจะเจริญสมาธิก็พึงเอาจิตออกจากรูปขันธ์นี้ไปเสียอย่างต่ำก็ได้อากาสานัญจายตนะอันเกิดแต่ฌาณ ๔ เป็นฐาน

    ๓.๑.๖ อสุภะ

การเจริญอสุภกัมมัฏฐานเป็นไปได้ทั้งในแง่สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
- หากเจริญในแง่สมถะ ก็ให้เห็นความเป็นสิ่งที่น่าเกลียดไม่สวยงาม ปฏิบัติแล้วทำให้ฌานเกิดขึ้นได้
- ส่วนในแง่วิปัสสนาให้พิจารณาความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ ไตรลักษณ์ คือ ให้เห็นว่าตัวของเราก็เป็นสิ่งไม่เที่ยงเหมือนซากศพที่นอนอยู่ต่อหน้านั้นเช่นกัน เพียงแต่ศพนี้ ชายนี้ หญิงคนนี้ตายก่อนเราเท่านั้น

การพิจารณาอสุภะในแง่วิปัสสนานั้น
- ท่านให้นึกถึงชีวิตร่างกายของเราแม้จะผ่านทุกข์ทรมานได้รับความยากลำบากต่างๆ นานามาเพียงใด ก็ไม่ทุกข์เท่าตอนที่จะตายร่างกายแตกดับ ในขณะนั้นจะทุกข์ที่สุด คือ ทุกข์จนทนอยู่ไม่ได้ ต้องตายไปเช่นศพนี้ ดังพุทธดำรัสที่ว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์2)
- แลพิจารณาศพที่อยู่ตรงหน้าของเรานี้ว่า เมื่อศพนี้ยังมีชีวิตอยู่ เขาหรือเธอ ผู้นั้นไม่เคยปรารถนาที่จะตาย ไม่เคยต้องการจะเจ็บป่วยหรือแก่เฒ่า แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเป็นไปเช่นนี้ ใจปรารถนาแต่กายไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่อาจบังคับบัญชาได้ เขา หรือเธอก็ไม่ใช่เจ้าของร่างกายนี้โดยแท้จริง เพราะหากเป็นเจ้าของร่างกายนี้ก็ต้องไม่แก่ไม่เจ็บ ไม่ตาย ตามคำสั่งตามบัญชา แม้ร่างกายของเราเองก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรา รูปนามทั้งหลายเป็นอนัตตา เมื่อสังขารร่างกายเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยง), ทุกขัง (เป็นทุกข์), อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) จะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร

ขอขอบคุณที่มาของ อสุภะกรรมฐานจาก http://book.dou.us/doku.php?id=md407:1

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2014, 05:55:17 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2014, 05:51:02 pm »
0

    ๓. ละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒
    (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)


    ๓.๒ อุบายการดึงสมถะและวิปัสสนา สะสมบารมีเพื่อยกจิตให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ

    ๓.๒.๑ พุทธานุสสติ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ"

พุทธานุสสติ นี้เมื่ออยู่ในสมถะภาวนาก็ถึงสมาบัติ ๘ ได้ บางคนที่ไม่เข้าใจถึงพุทธานุสสติ หรือ การระลึกถึงคุณและกิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้าจริงๆก็จะไม่เข้าใจถึงวิธีการทรงเข้าสมาบัติ เพราะอาศัยอ่านตามๆกันมา เชื่อตามๆกันมา โดยขาดการเจริญแบบจริงจังทำให้รู้เพียงว่าต้องสวด อิติปิโส ภควา หรือ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า จึงเป็นพุทธานุสสติ ซึ่งคุณของพระพุทธเจ้ามีมากจำแนกได้มากมายหลายส่วนตามแต่ที่เราจะระลึกถึงเพื่อคุณอันใดสำหรับการเข้าถึงกรรมฐานที่ต่างกันดังนี้ครับ

    ๑. ปัสสัทธิ หรือ อุปจาระฌาณ

๑.ระลึกถึงคุณแห่งความเป็นผู้ไกลจากกิเลส คือ ดับแล้วซึ่งเพลิงกิเลส กาม ราคะ (โลภะ) โทสะ โมหะ ความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีทั้งหลาย น้อมระลึกเอาคุณนั้นเพื่อปหานกิเลสทุกข์ในตน เพื่อความสงบว่างอันสลัดจากกิเลสทั้งปวงที่มีในตน

๒. ระลึกถึงคุณแห่งการตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า น้อมระลึกพิจารณาถึงธรรมเหล่าใดที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จนเห็นถึงความเป็นเครื่องออกจากทุกข์ตามจริง ทำให้เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า ศรัทธาการตรัสรู้ของพรพุทธเจ้าตามจริง เป็นเหตุใกล้ให้จิตมีเจตนาตั้งมั่นและความเพียรประพฤติตามอยู่เพื่อปหานกิเลสทุกข์ ดั่งพระพุทธเจ้านั้นเพียรอดทนปฏิบัติเพื่อความตรัสรู้ชอบนั้น

๓. ระลึกถึงคุณแห่งความประกอบด้วยวิชชาและจรณะของพระพุทธเจ้า เพื่อความน้อมนำเอาคุณนั้นทำให้เราได้เพียรปฏิบัติถึงในจรณะ ๑๕ ได้โดยง่ายและถึงซึ่งวิชชาและจรณะอันบริบูรณ์ อันเป็นเหตุให้เข้าถึง อิทธิบาท ๔

๔. ระลึกถึงคุณแห่งความเสด็จไปแล้วด้วยดี คือ ไปที่ใดย่อมเกิดธรรมกุศลอันงามและช่วยให้คนออกจากทุกข์ได้ในที่นั้น แล้วน้อมนำเอาคุณนั้นว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่ตนแล้วคือเราได้รู้เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนแล้ว ย่อมเกิดแต่สิ่งอันดีงามปราศจากกิเลสทุกข์ขึ้นแก่เรา

๕. ระลึกถึงคุณแห่งความรู้โลกอย่างแจ่มแจ้งของพระพุทธเจ้า โดยน้อมนำเอาคุณนั้นแผ่บารมีให้เราเห็นแจ้งโลกตาม คือ เห็นความเกิดขึ้น ความปรุงแต่ง ความตั้งอยู่ ความเสื่อม และ ดับไปตามจริงในสิ่งทั้งปวงทั่รับรู้ได้ทางสฬายตนะ คือ รูปธรรม นามธรรมทั้งหลาย

๖. ระลึกถึงคุณแห่งการเป็นครูผู้ฝึกฝนบุรุษได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ด้วยสั่งสอนฝึกฝนบุรุษให้เข้าถึงซึ่งกุศลธรรมทั้งปวงและถึงซึ่งความพ้นทุกข์ทั้งหลายด้วยความเป็นเหตุเป็นผลพิจารณาทบทวนตรวจสอบให้เห็นตามจริงได้ พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะฝึกฝนสั่งสอนด้วยพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพไม่เลือกแบ่งชั้นวรรณะสูงหรือต่ำ ไม่ว่าจะฉลาดหรือโง่ ไม่มีความรังเกลียดไรๆต่อบุคคลใด สัตว์ใดทั้งปวง แม้แต่พญามาร พระตถาคตก็ทรงคอยชี้แนะสั่งสอนเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ของทุกคนเสมอกันทั้งมนุษย์ เทวดา มาร พรหม และ สัตว์โลกทั้งหลายด้วย


๗. ระลึกถึงคุณแห่งการเป็นครูผู้จำแนกธรรมสั่งสอนมนุษย์ เทวดา มาร พรหม และ สัตว์โลกทั้งหลายให้เห็นทางออกจากทุกข์ ทำให้เราได้เลือกเฟ้นธรรมขึ้นมาพิจารณาปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าจำแนกธรรมสั่งสอนไว้ได้ถูกตามที่จริตของตนต้องการ เพื่อถึงความออกจากทุกข์ ทั้งขั้นต้น ท่ามกลาง และ ที่สุดดังนี้ครับ

- เมื่อสวดมนต์ในพุทธคุณ(อิติปิโส)แล้วน้อมระลึกเจริญปฏิบัติดังนี้เนืองๆ ขั้นต่ำย่อมได้ ปัสสัทธิ หรือ อุปจาระฌาณ คือ ความมีจิตสงบรำงับอันสลัดจากนิวรณ์ กาม ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ทั้งปวงได้ ความหวาดกลัวหรือรังเกลียดสิ่งไรๆจะหายไปหมดเลย มีสภาวะที่สงบปกคลุมแต่จิตใจเบาเย็นผ่อนคลายไม่ติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆทั้งสิ้น

    ๒. รูปฌาณสมาบัติ

๑. เมื่อเราเจริญพุทธานุสสติจากข้อที่ ๑ แล้ว มีจิตสงบรำงับจากกิเลส ก็รู้ว่าจิตสงบรำงับจากอุปกิเลสแล้ว มีจิตจดจ่อได้นานขึ้นกว่าปกติโดยปราศจากอุปกิเลสแล้ว ให้พึงระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง คือ "พุทโธ"
หมายเหตุ "พุทโธ หมายถึง ชื่อที่ใช้เรียกผู้ที่ตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้ด้วยตนเอง นั่นคือ พระอันหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง"
๒. เมื่อระลึกถึงคุณนี้ของพระพุทธเจ้า เราต้องมีจิตศรัทธา คือ เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อจิตน้อมเชื่อและศรัทธาแล้ว เราก็จะเกิดความตั้งจิตมั่นโดยเฉพาะในพระพุทธเจ้า
๓. จากนั้นพึงตั้งจิตว่า "พุทโธ" นี้ คือ การระลึกถึงพระพุทธเจ้าด้วยความศรัทธาในคุณแห่งการตรัสรู้ชอบเองของพระพุทธเจ้า ก็ด้วยเป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เองจึงชื่อว่า "พุทโธ" ด้งยเหตุอย่างนี้ๆเมื่อจักกล่าว "พุทโธ" คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยการตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า หรือ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แม้เมื่อหายใจเข้าก็เต็มไปด้วยความศรัทธาในพระพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าตั้งอยู่ในจิตเหนือเศียรเกล้าด้วยใจศรัทธา และ ศรัทธาในการตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า
๔. แล้วก็ระลึกบริกรรม "พุท" หายใจออกพึงระลึกบริกรรมว่า "โธ" ด้วยเหตุดังนี้..พุทโธ..จึงขึ้นชื่อว่า เป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง หรือ เป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง หรือ เป็นการเรียกชื่อพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง เจริญไปเรื่อยๆจิตจะนิ่งสงบลมหายใจเบาขึ้นจนไม่ได้ยินเสียงลมหายใจแต่รู้ว่ายังหายใจตามปกติอยู่อย่าไปสนใจมันให้เจริญไปเรื่อยๆ จนเมื่อคำบริกรรมนั้นนิ่งอยู่ส่วนเดียวแม้ระลึกอยู่แต่เริ่มเห็นเป็นทีละขณะๆจิตไม่จับตามลมหายใจแล้ว มีความตรึกนึกคิด มีความแนบอารมณ์กับสิ่งที่คิดแต่แยกขาดจากความคิด คือ สภาวะที่รู้เห็นตามจริงถึงสิ่งที่คิดแต่ไม่เข้าไปเสพย์ความคิดเพียงแต่เกาะติดความคิดนั้นในระยะที่พอดีไม่ใกล้ไปจนสภาวะธรรมดับหรือห่างไปจนไม่เกิดสัมปชัญญะ เข้าสู่ "ปฐมฌาณ" จนรับรู้ในสภาวะธรรมอันสงัดจากอุปกิเลส มีความตรึกนึกคิดและแนบอารมณ์อยู่แต่ผู้เดียวไม่เกี่ยวข้องภายนอก อธิษฐานเข้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ หรือ อยู่นานแค่ไหนก็ได้ เป็น "รูปฌาณสมาบัติ ๑" (สมาบัติคือผลอันเกิดแต่ฌาณคือการเข้าไปรับรู้หรืออยู่แช่ในสภาวะธรรมของฌาณแต่ละระดับที่ได้ตามใจตนต้องการ แต่ยังเป็นโลกียะ จนเมื่อเข้าฌาณแม้ลืมตาและทรงอยู่ตลอดได้จึงเป็นโลกุตระ)
๔.๑ ประการที่ ๑ การที่จะเจริญพุทโธเข้าถึงฌาณ ๔ นั้น ให้พึงตั้งจิตจดจ่อที่พุทโธไปเรื่อยๆ จะเกิดสภาวะไรก็แค่ดูและรู้ตาม จิตมันจะเริ่มเข้าสูสภาวะที่ลมหายใจหายไปจนเหมือนไม่หายใจ(พึงระลึกว่าเป็นการกำหนดจิตจะละกายสังขารของอานาปนสติสูตรทิ้งลมหายใจคือทิ้งกายสังขารไป)คำบริกรรมหายไปมีสภาพอิ่มเอมใจชื่นบานใจและสภาวะรู้เข้าสู่ "ทุติยะฌาณ" "ตติยะฌาณ" ที่ความอิ่มใจหายไปมีสภาวะที่ชื่นบานรื่นรมณ์ใจอัดพุ่งทะลุขึ้นมาพร้อมสภาวะรู้ในสภาพนั้น "จตุตถะฌาณ" ความสุขที่อัดพุ่งนั้นหายไปยังเหกลือแต่ความนิ่งว่างสงบสว่างโพรงจิตจดจ่ออยู่รู้สภาวะนั้น ตามลำดับ
๔.๒ ประการที่ ๒ เมื่อเข้าสู่ปฐมฌาณได้แล้ว ให้มีความรู้ตัวทั่วพร้อมร้อมดึงเอาคุณอันประกอบไปด้วยวิชชาและจรณะ ซึ่ง วิชชา ๓ (๘) และ จรณะ ๑๕ นี้คือ อิทธิบาท ๔ ที่สาวกในธรรมวินัยนี้ต้องเจริญตาม ให้เราน้อมระลึกเอาคุณในข้อนี้ที่พระพุทธเจ้าตรัสธรรมอธิบายชี้แนะว่า จรณะนั้นมีสัมมาสมาธิประกอบด้วยรูปฌาณ ๔ ให้ระลึกเอาคุณที่ว่าพระพุทธเจ้าประกอบไปด้วยคุณมีฌาณ๔ บริบูรณ์งดงามดีแล้วอยู่ทุกขณะแม้ในยามหลับหรือตื่นไม่มีใครยิ่งกว่า ทีนี้เมื่อเราระลึกถึงคุณนั้นแล้วให้น้อมจิตว่าสภาวะธรรมนั้นๆจากพระพุทธเจ้าได้แผ่มาสู้เราสาวกผู้มีศรัทธาและการไว้นอบน้อมอยู่ได้น้อมมาสู่แล้ว ก็ให้ระลึกกำหนดจิตดั่งที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า
(ทุติยะฌาณ) - เพราะทิ้งวิตก-วิจารไป..จึงเข้าสู่ทุติยะฌาณได้ เราก็พึงกำหนดจิตละในวิตกวิจารเสียเหลือเพียงสภาวะที่แนบอารมณ์จดจ่ออยู่ด้วยความอิ่มเอมชื่นบานใจ แช่มชื่นใจ อยู่แต่วิเวกด้วยดับความตรึกนึกคิดนั้นมีนิมิตตั้งอยู่บ้าง
(ตติยะฌาณ) - เพราะดับความอิ่มเอมชื่นบานใจไป..จึงเข้าสู่ตติยะฌาณได้ เราก็พึงกำหนดจิตละสภาวะที่อิ่มเอมใจนั้นไป(จิตในสภาวะนี้มีสภาพที่รู้จิตมันสั่งอะไรมันเป็นไปเองของมันโดยไม่ต้องคิดเลยไม่มีเสียงจิตตรึกนึกคิดด้วยเมื่อจะไปทางใดกำหนดจิตอย่างไรมันไปเองเลยทันที นี่เรียกว่า จิตเป็นนาย จิตเป็นตัวสั่งทุกอย่างให้เป็นไป) มีจิตแนบอารมณ์จดจ่ออยู่ด้วยความแช่มชื่นรื่นรมย์ใจที่อัดเต็มดั่งภูเขาไฟที่ประทุขึ้นมา อยู่แต่วิเวก ไม่รับรู้สภาวะทางกายด้วยดับความอิ่มใจนั้นได้แล้ว
(จตุตถะฌาณ) - เพราะดับความแช่มชื่นใจรื่นรมย์ใจไป..จึงเข้าสู่จตุตถะฌาณได้ เราก็พึงกำหนดจิตละสภาวะที่แช่มชื่นใจรื่นรมย์ใจนั้นไป มีจิตแนบอารมณ์จดจ่อแลดูอยู่ด้วยความนิ่งเงียบสงบว่าง สว่างโพรง อยู่แต่วิเวกด้วยดับแช่มชื่นใจรื่นรมย์ใจนั้นได้แล้ว
- หากเจริญในสภาวะแบบนี้ประจำจะสามารถกำหนดจิตเข้าสมาบัติได้ง่าย และ สามารถกำหนดเข้าที่รูปฌาณใดก็ได้ตามใจปารถนา

    ๓. รูปฌาณสมาบัติ ๔ ต่อไปถึง อรูปฌาณ

๑. เมื่อเข้าปฐมฌาณได้แล้วให้พึงกำหนดจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าอันว่าด้วย อระหัง คือ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ดับกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง สภาวะที่ดับกิเลสโดยสิ้นเชิงนั้น คือ สภาพที่ว่างจากกิเลส ไม่มีกิเลสเลย จะไปทางไหน มองที่ใดไกลแค่ไหนก็ไม่มีเศษเสี้ยวของกิเลสเลย มีสภาวะที่ดับสูญไปเป็นสุญญตา ดั่งอากาศที่เป็นที่ว่างอันกล้างไปไม่มีประมาณ
๒. เมื่อยังปฐมฌาณอยู่ให้พึงตั้งระลึกเอาคุณของพระพุทธเจ้าที่เป็น อระหัง นั้นกำหนดเข้าสภาวะธรรมในอรูปฌาณโดย
แบบที่ ๑ กำหนดจิตจับเอาสภาวะที่เป็นสภาพว่างอันไม่มีประมาณที่เป็นสุญญตานั้นเป็นอารมณ์ของคุณที่ว่าด้วยความเป็นอระหังของพระพุทธเจ้า ไม่มีแม้ความตรึกนึกคิด เพียงแต่คงสภาวะอยู่รู้เท่านั้น เข้าถึงฌาณ ๔
- หากจะกำหนดตามอานาปานสติเมื่ออยู่ในอุปจาระฌาณให้กำหนดหายใจเข้าระลึก อระหัง หายใจออกระลึกถึงความว่างจากกิเลสที่เป็นสุญญตา จิตจะเดินเข้าปฐมฌาณ(ยังความระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าอยู่และจิตแนบอารมร์ระลึกถึงความว่างจากคำว่าอระหังนั้น) ไป ทุติยะฌาณ ตะติยะฌาณ จะตุตถฌาณ บ้างเมื่อเข้าผฐมฌาณแล้วจิตจะผันไปไวมากจนเข้าถึงฌาณ ๔ แบบเหมือนไม่ผ่านสภาวะใน ฌาณ ๒ และ ฌาณ ๓ เลย
แบบที่ ๒ กำหนดนิมิตระลึกถึงรูปพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ หรือ พระพุทธรูปใดๆที่เราเคารพศรัทธาเมื่อระลึกถึงแล้วเกิดความสงบแช่มชื่นใจตามไป



แล้วน้อมเอาสภาวะที่เป็นผู้ดับสิ้นแล้วซึ่งกิเลาทั้งปวง ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ความว่างอันสงบรื่นรมย์ร่มเย็นกายใจอันหาประมาณมิได้นั้นนอมมาสู่ตน แล้วกำหนดนิมิตว่าฉัพพรรณรังสีแห่งความเป็นอรหังของพระพุทธเจ้านั้นแผ่เข้ามาสู่ตน แล้วเรารับเอาพระบารมีนั้นน้อมนำจิตกำหนดเข้าสู่สภาวะที่ว่างเปล่านิ่งเฉย ไม่มีสิ่งไรๆยึดเหนี่ยว ไม่ติดเอาทั้งรูปใด นามใด กำหนดละทิ้งสังขารอันไม่เที่ยง กำหนดจิตทิ้งจิตตสังขาร(สัญญา เวทนา)และสังขารขันธ์(เจตสิก ๕๒)ทั้งปวง จับเอาแต่สภาวะที่ว่างเปล่าอันไม่มีความปรุงแต่งใดๆนั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตนั้นตามพระพุทธเจ้า เข้าสู่ฌาณ ๔ ให้กำหนดจนเข้าสู่สภาวะนี้ได้ดังใจต้องการถึง รูปสมาบัติ ๔
๓. จากนั้นเมื่ออยู่ในฌาณ ๔ จิตมันจะรู้แลนิ่งอยู่เท่านั้นต้องดึงสัมปชัญญะขึ้นมารู้ว่าในตอนนี้เราอบู่ในสภาพแลนิ่งอยู่ ไม่มีความคิดใดๆ(ไม่ต้องกำหนดเข้าไปหาสภาวะนั้นมากมันจะหลุดจากฌาณ ๔ ทันทีหากเรายังไม่ถึงสมาบัติ ให้เพียงแค่ตั้งสภาวะการรู้ตัวทั่วพร้อมและแลดูอยู่ที่ประมาณพอดีไม่ใกล้มากไป ไม่ห่างไป ซึ่งระยะนี้แต่ละคนจะต่างกันตามแต่กำลังของจิตซึ่งผู้ปฏิบัติและเข้าถึงจะรู้ได้ด้วยตนเอง) จากนั้นจะกำหนดจิตไปทางไหน อยากไปดูซอกใดจิตมันจะผันไปเองเหมือนมุมกล้องมันหันไปตามที่จะปารถนาโดยไม่มีความคิดใดๆเลยที่สภาพที่รู้สภาวะธรรมและรู้ว่าตนกำหนดจะให้มันไปทางใด สภาพนี้จะเป็นสภาวะที่เห็นชัดสุดว่า "จิตเป็นตัวกำหนดสั่งการทุกอย่าง" เราก็ตั้งกำหนดจิตไปในที่ว่างอันสว่างโพรงนั้น โดยพึงกำหนดมองเอาความว่างนั้นเป็นอารมณ์ เป็นความว่างที่เป็นสุญญตาดับสูญทุกอย่างไปไม่มีที่สิ้นสุด จิตจะเข้าสู่่อากาสานัญจายตนะฌาณ ดั่งตนเองอยู่ในที่โล่งกว้างแต่ผู้เดียวกลางความว่างอันกว้างไกลอยู่ในห้วงจักวาลอันกว้างนั้นก็ไม่ปาน

ข. ธัมมานุสสติ(ย่อ) ให้เราระลึกถึงธรรมปฏิบัติพระสูตรใดๆก็ตามแต่ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน แล้วเราน้อมนำมาน้อมเจริญพิจารณาและปฏิบัติ เมื่อพิจารณาปฏิบัติแล้วพึงได้รับผลอันดีจากการปฏิบัตินั้น ทำให้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงความพ้นจากทุกข์ได้ มีคุณประโยชน์สุขอันดีงาม ได้สัมมาสติ ได้สัมมาสติ ไม่ว่าจะเป็น ธัมมจักรกัปปวัตนะสูตร ก็ดี อาทิตตปริยายสูตร ก็ดี มงคลสูตรก็ดี มหาสติปัฏฐานสูตร ก็ดี สมาธิสูตร ก็ดี หรือ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ก็ดี ฯลฯ
- เมื่อนำมาระลึกถึงด้วยคุณว่า ธรรมปฏิบัตินี้ๆที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วนั้น เป็นทางเพื่อออกจากทุกข์จริงๆ เมื่อเราได้นำมาเจริญปฏิบัติแล้วได้รับผลดีงามอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ให้น้อมนำเอาผลที่เราได้จากการน้อมนำมาเจริญปฏิบัติในพระธรรมข้อนั้นๆที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีีแล้วมาหวนระลึกเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ก่อให้กุศลจิตเกิด มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อิทธิบาท ๔ เกิดขึ้น มีความอิ่มเอมชื่นบานใจ แช่มชื่นยินดี จนเกิดความสงบรำงับ(ปัสสัทธิ)เป็นอุปจาระสมาธิ
(ขอย้ำนะครับว่าเราต้องน้อมนำมาสู่ตนแล้วปฏิบัติในธรรมนั้นจนเห็นผลได้ตามจริงก่อนจะมากหรือน้อยก็ตาม จึงจะระลึกได้ถูกต้องตามจริงใน "ธัมานุสสติ" / หากไประลึกบริกรรมเอาว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนธรรมนี้ๆ บทๆ พระสูตรนี้ๆ พระปริตรนี้ๆมา ให้เป็นเครื่องออกจากทุกข์ ควรน้อมมาสู่ตน ผู้รู้ย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง แต่ว่าเรากลับไม่ได้น้อมนำมาสู่ตนแล้วเจริญพิจารณาปฏิบัติจนเห็นผลได้แต่อย่างใด อย่างนี้ถือเป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าข้อที่ว่าด้วย ความเป็นครูผู้สอนเทวดาและมนุษย์ทั้งแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ทั้งหลาย ไม่ใช่ธัมมานุสสติที่แท้จริง เพราะไม่ได้ปฏิบัติและไม่ได้รับรู้ผลตามจริงจากการน้อมนำมาเจริญพิจารณาปฏิบัติในธรรมนั้นๆ จึงไม่สามารถไประลึกเอาคุณในธรรมนั้นๆขึ้นมาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิตได้เพราะไม่เคยได้รู้ได้สัมผัส)
- เมื่อจะระลึกเข้า "รูปฌาณ หรือ อรูปฌาณ สมาบัติใดๆ" ให้พึงระลึกถึงว่า ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ที่เราปฏิบัติจนถึงฌาณใดๆได้แล้วนี้ ทำให้เราเกิดความพ้นทุกข์ได้รับสุขหรือผลจากการปฏิบัติดีๆอย่างนี้ๆ แล้วน้อมจิตเข้าระลึกถึงลำดับการเจริญปฏิบัติในธรรมนั้นๆของตนที่ทำให้เข้าถึงฌาณนั้น(เป็นการทบทวนจดจำทางเข้าฌาณของตนไปด้วย)
- แล้วกำหนดจิตระลึกถึงผลจากการปฏิบัตินั้น นั่นก็คือสภาวะธรรมที่เราเข้าถึงในฌาณจากการเจริญปฏิบัติในธรรมนั้นๆนั่นเอง มะถึงจุดนี้ให้กำหนดระลึกเอาฌาณนั้น โดยกำหนดระลึกว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนที่เราเจริญปฏิบัติมานี้
- ทำให้เข้าถึงซึ่งความเป็นกุศลชื่นบาน
- เข้าถึงองค์ปิติมีความอิ่มเอมปลื้มใจแช่มชื่นใจ(กำหนดจิตระลึกถึงสภาพปิติ และ สุขอันนั้นไปด้วย)
- เข้าถึงองค์ปฐมฌาณอันมีวิตกวิจาร ปิติ สุข อยู่แต่วิเวก(กำหนดจิตระลึกถึงสภาวะนั้นที่เราได้สัมผัสมาแล้วด้วยธรรมอันนั้นจริงๆ) จิตจะเข้าสู่ปฐมฌาณ มีรูปฌาณสมาบัติ ๑ เป็นผล
- เมื่อจะเอาในรูปฌาณสมาบัติอื่นๆก็กำหนดจิตระลึกไปในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนที่เราน้อมนำมาปฏิบัติจนถึงในองค์ฌาณนั้นๆดังนี้ (หากเราปฏิบัติได้แค่ไหนก็จะทรงอารมณ์เข้าถึงได้แค่นั้นไม่สามารถกำหนดจิตให้เข้าสูงกว่าที่ตนเองเคยสัมผัสได้เพราะต้องอาศัยความระลึกถึงในสภาพจริงๆของสภาวะนั้นๆด้วย)
ค. สังฆานุสสติ(ย่อ) ระลึกถึงอริยะสงฆ์ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป แต่ให้ดีที่สุดระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นอระหันตสาวก หรือ ครูบาอาจารย์ของตน ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบควรแก่การเคารพบูชากราบไหว้ต้อนรับ แล้วน้อมนำเอาคุณแห่งการเป็นพระอรหันต์ หรือ คุณแห่งปฏิปทาของครูบาอาจารย์ของเรานั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต ระลึกน้อมนำเอาคุณที่ท่านได้เผยแพร่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสู่เราและบุคคลทั้งหลายได้ถูกต้องงดงามดีแล้วได้รู้เห็นและเข้าถึงธรรมเอกอันใดอันหนึ่งแล้ว ระลึกถึงโดยความเคารพศรัทธาเอื้อเฟื้อ ระลึกถึงข้อวัตรปฏิบัติและแนวทางการเผยแพร่พระธรรมอันดีที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนของท่านเหล่านั้น แล้วน้อมนำมาตั้งมั่นในใจที่จะสำรวมและอบรมซึ่ง กาย วาจา ใจเ จริญปฏิบัติให้ได้อย่างท่านด้วยความมีจิตตั้งมั่นชื่นชมศรัทธาในตัวท่านด้วยกุศลธรรมอันดี จะเกิดความสงัดจากอุปกิเลสมีอุปจาระฌาณเป็นผล
- เมื่อจะกำหนดจิตระลึกเข้าถึงฌาณ ขณะที่อยู่ในอุปจาระฌาณ ก็ให้พึงกำหนดจิตระลึกถึงสิ่งที่ท่านเผยแพร่ธรรมสอนเราเรื่องสมาธิและฌาณในสภาวะและวิธีปฏิบัติให้เข้าถึงต่างๆ(ครูบาอาจารย์แต่ละองค์จะสอนต่างกันไปตามแต่ที่ท่านได้สะสมมาทางใด) แล้วกำหนดเข้าสภาวะนั้นๆ หรือ เราปฏิบัติถึงได้ตามที่ท่านสอนแค่ไหนก็ให้ระลึกถึงคุณแห่งวิถีที่ท่านชี้แนะสั่งสอนให้เราได้เจริญปฏิบัติมาจนถึงสภาวะธรรมนั้น แล้วกำหนดจิตระลึกเอาสภาวะธรรมนั้นๆที่เราเข้าถึงมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์เข้าสู่ปฐมฌาณได้ หรือ รู้ในคุณวิเศษใดๆที่ท่านบรรลุบทกระทำแล้ว ให้เรากำหนดจิตตั้งใจมั่นว่าจะเข้าถึงสภาวะธรรมที่ได้อย่างท่านด้วยการเจริญบารมีธรรมตามท่าน(การระลึกถึงตรงนี้หากเราเข้าถึงฌาณได้แล้ว และ มีบุญกับท่านพระอรหันต์องค์ไหน ท่านจะมากำหนดในนิมิตสมาธิบ้าง ในนิมิตตอนนอนหลับบ้าง แล้วสอนแนวปฏิบัติกรรมฐานให้เรา)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 12, 2014, 04:58:32 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2014, 04:30:45 pm »
0

    ๓. ละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒
    (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)


    ๓.๒ อุบายการดึงสมถะและวิปัสสนา สะสมบารมีเพื่อยกจิตให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ

    ๓.๒.๒ อุปสมานุสสติ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ"

อุปสมานุสสตินี้ เป็นไปในนิพพาน มีนิพพานเป็นอารมณ์ สามารถใช้กรรมฐานกองนี้เป็นฐานให้เข้าถึงได้ทั้ง วิปัสสนา สมาบัติ เจโตวิมุตติ ผมขอกล่าวเฉพาะคร่าวๆดังนี้ครับ ที่เหลือท่านก็ต้องพลิกแพลงเอาครับ

๑. อุบายทางวิปัสสนา ตามธรรมชาติของผู้ที่เจริญเอาคุณของนิพพานเป็นอารมณ์ย่อมรู้ว่า รัก โลภ โกรธ หลง เป็นทุกข์ แม้ขันธ์ ๕ นี้ก็เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ความไม่เข้าไปยึดมั่นใน รูป จิต เจตสิกทั้งปวงเป็นความสุขความหลุดพ้นอันเป็นบรมสุข ดินแดนนิพพานนั้นไม่ได้ไปด้วยรูปขันธ์ หรือ ขันธ์กองใดกองหนึ่งในขันธ์ทั้ง ๕ นี้ แต่จะไปถึงแดนนิพพานก็ต้องทิ้งความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ไป ดังนั้นข้อนี้คงไม่ต้องกล่าวมากเพราะมีวิปัสสนาญาณในตัวอยู่แล้ว เพราะคุณของพระนิพพานนี้ ผู้ที่จะระลึกได้ต้องเป็นผู้ที่หมายจะหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้บ้าง มีจิตกำหนดรู้ทุกข์ เพียรละสมุทัย เพียรทำนิโรธให้แจ้ง เพียรปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ แล้วบ้าง เห็นสุขจากการไม่ยึดมั่นถือมันในสิ่งใดๆจนสงบรำงับจากกิเลสแล้วบ้าง มีสัมมาสมาธิเข้าถึงรูปฌาณ ๔ แล้วบ้าง
๒. อุบายทางสมาธิ สะสมให้ถึงสมาบัติ ผู้ที่เจริญเข้าในอุปสมานุสสติอยู่เป็นประจำ ย่อมถือเอาความไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดี ความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆเลยเป็นอารมณ์ รู้เพียงความว่างทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง จนลมหายใจนั้นก็เป็นความว่างเปล่าไม่มีสิ่งใดที่จะเข้าไปยึดบ้าง นั่นคือ กำหนดจิตเอาความว่างอันสงบเย็นมีสภาวะนิ่งเงียบสว่างโพรงนวลตา ไม่หยิบจับยึดเอาทั้งกายและจิตมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ แม้เมื่อจะเจริญเข้าสู่สมาธิ ก็จะตั้งฐานไว้ที่ความว่างเป็นอารมณ์ทุกลมหายใจเข้าออกบ้าง จนเหลือจับเอาแต่ความว่างเป็นอารมณ์บ้าง จนที่สุดจิตไม่หยิบจับเอาทั้งความคิดทั้งสภาพรู้ทางกายและใจมาเป็นอารมณ์ เอาแค่สภาพว่างอย่างเดียวเท่านั้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
(สำหรับผมจะกำหนดความว่างเป็นอารมณ์ทุกลมหายใจเข้าออกอย่างนี้ไปเรื่อยสักพัก จิตมันจะไม่จับที่ลมแล้วไปกำหนดรู้ที่ความว่าง จากนั้นมันก็จะไม่หยิบจับเอาอะไรมาเป็นอารมณ์ทั้งสิ้น มันรู้ด้วยตัวของมันเองว่าเป็นทุกข์ เข้าสู่รูปฌาณได้ง่าย เมื่อนิ่งแช่อยู่นานจนมีกำลังมันก็จะถอนขึ้นอรูปฌาณเองโดยอัตโนมัติตามลำดับจนถึงอากิญจัญญายตนะฌาณ เมื่อจะเจริญกรรมฐานกองนี้อีกเมื่อมีความคิดฟุ้งซ่านไรๆจิตมันจะพึงรู้ทันทีว่านี่คือความฟุ้งซ่านเสพย์ไปก็มีแต่ทุกข์ มันจะไปจับที่ลมหายใจเอาเองเพราะรู้ว่าลมหายใจไม่ฟุ้งซ่านไม่เป็นทุกข์ ต่อมาแม้เมื่อจับลมหายใจอยู่มันก็จะรู้ว่ายังไม่พ้นทุกข์เพราะยังกายอยู่ด้วยลมหายใจนั้นเกิดแต่กระบวนการของร่างกาย จึงจับเอาแต่ความว่างอย่างเดียว หากผู้ใดที่เคยถึงฌาณ ๔ มาแล้วจะเข้ากรรมฐานกองนี้ได้ดีมาก เพราะจิตไม่ได้จับที่พุทโธ หรือจดจ้องที่ลมหายใจเข้าออกแล้ว เช่น ผมเมื่อได้โลกียะฌาณ ๔ มา จากการเจริญพุทธานุสสติด้วยบริกรรมพุทโธตามสายพระป่า เมื่อจะเข้าในสมาธิให้ถึงฌาณอีก มันไม่มีคำบริกรรมอีกแล้ว มันเพียงระลึกถึงแล้วหายใจเข้าออกก็ถึงอุปจาระสมาธิเป็นขั้นต่ำ เมื่อพึงเจริญไปอีกจนชำนาญแล้วก็จะเข้าฌาณได้เลย)
๓. อุบายทางสมาบัติ เมื่อเจริญในข้อที่ ๑ และ ๒ จนได้ถึงสัมมาสมาธิและชำนาญแล้วบางครั้งเมื่อจะเข้าเจริญในกรรมฐานกองนี้ เมื่อรู้เห็นความคิดปรุงแต่งตนก็เกิดความเบื่อหน่ายความคิดต่างๆนั้น เห็นเพียงว่าสิ่งนี้เป็นความฟุ้งซ่าน สิ่งนี้ไม่มีคุณ สิ่งนี้เป็นโทษ ไม่มีประโยชน์ แม้กายนี้เมื่อเข้าไปยึดจับเอาความพอใจยินดีไม่พอใจยินดีก็เป็นทุกข์ กายกรรมก็ไม่งาม เมื่อน้อมนำตามวิตกและวิจารนั้นไปย่อมเกิดความทุกข์อันร้อนรุ่มไม่รู้จบ วจีกรรมก็ไม่งาม ความน้อมจิตไปหาอารมณ์ใดๆย่อมยังอกุศลธรรมอันลามกจัญไรให้เกิดขึ้นมีความร้อนรุ่มและเร่าร้อนทั้ง กาย วาจา ใจ มโนกรรมก็ไม่งาม จิตก็จะผละจากความคิดนั้นไป แล้วพึงตั้งจดจ่ออยู่ที่ความว่างจากกิเลสตัณหา ว่างจากความตรึกนึกคิด ว่างจากความน้อมเข้าไปรู้อารมณ์ใดๆ จิตจะน้อมดึงเอาแต่ความสงบว่างจากอารมณ์ปรุงแต่งทั้งปวงนั้นมาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต จดจ่ออยู่อย่างนั้นเป็นอารมณ์เดียวมีรูปฌาณ ๔ เป็นฐาน นิ่งแช่อยู่ได้นาน เมื่อทำจนชำนาญแล้วเมื่อจะเข้าหรือออกก็เพียงกำหนดจิตระลึกถึงสภาพนั้นแล้วก็เข้าถึงได้ทันที จะอยู่นานเท่าไหร่ก็ได้ ถอนออกตอนไหนก็ได้ถึงซึ่ง รูปฌาณ ๔ สมาบัติ จากนั้นแล้วจิตมันก็จะรู้ด้วยตัวมันเองไม่ต้องไปจำจดกดข่มมันมันก็จะรู้ว่า สภาวะนี้ยังคงซึ่งรูปอยู่ จิตมันก็จะถอยออกมาแล้วเข้าสู่ความว่างสงบเย็นที่โล่งกว้างอันไม่มีประมาณเป็นอารมณ์เอง เข้าถึงใน อากาสานัญจานตนะฌาณเมื่อเข้าออกถึงจุดนี้เป็นประจำจิตมันจะรู้เองว่าสภาวะที่อยู่นี้มันยังไม่ไปไหนมันเพียงนิ่งแช่อยู่ด้วยยังติดกายอยู่ยังไม่แยกขาดจากกัน จิตมันก็จะไปจับเอาสภาพรู้แลดูความนิ่งว่างเท่านั้นไม่เข้าไปรับรู้ทางกายใดๆอีก ต่อมาแม้เมื่อจับเอาแต่ตัวรู้เอาดวงจิตที่เป็นวิญญาณเป็นอารตมณ์ก็ยังไม่พ้น จิตมันก็จะละความเข้าไปยึดจับเอาทุกสิ่งทุกอย่างทั้งปวงทิ้งปล่อยแค่ความนิ่งว่างไม่มีสิ่งไรๆเป็นอารมณ์นิ่งว่างแช่อยู่อย่างนั้น เจริญไปเรื่อยๆเช่นนี้ไม่หยุด จนสามารถอธิษฐานกำหนดเข้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ นานเพียงใดก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า ฌาณสมาบัติ แต่ยังไม่ถึงนิโรธสมาบัตินะครับ


(นิโรธสมาบัตินี้จะแยกกายหยาบกายละเอียดไปท่องเที่ยวโลดโผนได้และท่านว่าต้องทำให้ได้ครบถึงสมาบัติ ๘ ก่อน ที่ผมกล่าวนี้มีเพียงแค่ ๗ เท่านั้นตามที่ผมพอจะมีปัญหาเห็นและสัมผัสได้บ้าง ดังนั้นเรื่องนิโรธสมาบัติ ผมจะไม่รู้เรื่องใดๆเลยทั้งสิ้น และเจโตวิมุติ เป็นของผู้หลุดพ้นแล้วซึ่งผมรู้แค่โลกียะฌาณก็ยังไม่บรรลุธรรมใดๆทั้งสิ้นยังความเป็นปุถุชนอยู่ สิ่งที่ผมรู้และเผยแพร่ทั้งหลายขอให้ทุกท่านเข้าใจไว้ว่าเป็นเพียง "อุบายสะสมบารมีให้เข้าถึงซึ่งสมาบัติอันเป็นผลจากฌาณสมาธิธรรมดา จนยังนิโรธสมาบัติให้เกิด และ อุบายสะสมบารมีเพื่อให้เข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตติเท่านั้น")

    ๓.๒.๓ สีลานุสสติ อุบายสะสมบารมีให้เต็มกำลังใจจนเข้าสู่ "สมาบัติ"

การดึงศีลเข้าสู่สามาธิเพื่อให้ถึงสมาบัติ (สมาบัตินี่เป็นผลของฌาณสมาธิเฉยๆนะครับยังไม่ใช่นิโรธสมาบัติ)

รอบที่ ๑ อุปจาระฌาณ และ รูปฌาณ

๑.๑ ปาณาติบาต อาศัยสีลานุสสติเป็นฐานให้จิตแช่มชื่นเป็นสุข จากนั้นพึงหวนระลึกพิจารณาดูว่า สัตว์โลกทั้งหลายย่อมหวงแหนรักใคร่ในชีวิตของตน ความดำรงขีพยังชีวิตของเขาให้รอดพ้นอยู่ได้ในแต่ละวัน และ ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยความปราศจากภัยอันตรายมีชีวิตอยู่ด้วยความผาสุขสงบร่มเย็นอยู่ทุกเมื่อ นั่นถือเป็นความสุขอันดีงามของเขา แม้แต่เราเองก็เช่นกันย่อมมีความรักใคร่หวงแหนในชีวิตตนเป็นธรรมดา ย่อมอยากดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อ ด้วยเหตุอันนี้เราจึงควรละเว้นไม่ล่วงกระทำในปาณาติบาตนี้เสีย เพื่อความคงอยู่ในสุขทุกเมื่อในการดำรงชีวิตต่อสัตว์โลกทั้งหลายเหล่านั้น
    จากนั้นพึงตั้งจิตรวมไว้ที่จุดกลางอก(หทัย) ให้พึงเพ่งรวมจิตด้วยความหวนคำนึงว่าเราจะสำรวมกายใจอยู่นี้เพื่อยังกุศลให้เกิดขึ้นไม่ล่วงก้าวในปาณาติบาต แม้ลมหายใจเข้าเราก็จักสำรวมกายและใจอยู่ที่หทัย แม้ลมหายใจออกเราก็จะไม่ก้าวล่วงในปาณาติบาตสำรวมกายใจไว้ที่หทัย เพิ่งเจริญไปสักพัก ปิติและสุขจากจิตอันเป็นกุศลศลจะเกิดขึ้นเร็วมากและรวมเป็นสมาธิได้ง่าย เป็นปิติสุขจากกุศลจิตและความสงบสำรวมกายใจไม่ล่วงในปาณาติบาตนั้น
    แล้วพึงมีสัมปขัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมว่าเราดำเนินไปในสมาธิอันสำรวมในกายและใจไว้ที่หทัยเพื่อไม่ล่วงในปาณาติบาตอยู่ มีสติแลดูสภาวะธรรมปรุงแต่งนั้นอยู่ สักพักไม่นานจิตจะจดจ่อรวมมีความสงบรำงับจากอกุศลเข้าสู่ปัสสัทธิมีอุปจารระสมาธิเป็นที่ตั้งอยู่ มีความสงบรำงับจากกิเลสนิวรณ์ดีแล้ว จิตจดจ่อได้นานขึ้น
(เมื่อเจริญอย่างนี้ๆจนสามารถเข้าออกและรับผลจากสภาวะของอุปจาระฌาณได้ตลอด กำหนดเข้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ อันนี้เรียกว่าได้รับผลจากปัสสัทธิให้อกุศลธรรมอันลามกจัญไรดับไปได้แล้วด้วยสงบจากนิวรณ์ ๕ อันเป็นฐานแห่งสัมมาสมาธิแล้ว)
๑.๒ อทินนาทานและกาเมสุมิจฉาจาร อาศัยอุปจาระสมาธิในข้อที่ ๑.๑ พึงตั้งจิตพิจารณาว่า สัตว์โลกทั้งหลายย่อมเป็นสุขทุกเมื่อ ด้วยยังคงอยู่ไว้ได้ซึ่งทรัพย์สมบัติและบุคคลอันเป็นที่รักของตน แม้เราก็เช่นกันเมื่อยังคงอยู่ไว้ได้ซึ่งของอันเป็นที่รักที่จำเริญใจและบุคคลอันเป็นที่รักของเราทั้งหลายไว้อยู่ได้ย่อมยังความสุขมาให้ถึงแก่เรา ดังนั้นแล้วจึงเป็นกาลอันควรเจริญที่เราจักละเว้นไม่ล่วงในอทินนาทานและล่วงในกามราคะต่อเขาเหล่านั้น คือ จะไม่พรากเอาสิ่งของและบุคคลอันเป็นที่รักที่จำเริญใจหวงแหนของเขา อันที่เขาไม่ได้ให้มาผูกขึ้นเป็นของตน
    เมื่อมีอุปจาระสมาธิตั้งอยู่ จิตย่อมมีความสงบรำงับดีแล้ว เมื่อเห็นถึงข้อควรละเว้นในอทินนาทานและมิจฉากามราคะ ย่อมเห็นถึงความสำรวมในกายด้วยกุศลวิตกเป็นที่ตั้ง เมื่อมีกุศลวิตก อกุศลธรรมอันลามกจัญไรย่อมไม่เกิดขึ้น แล้วพึงตั้งจิตถอนจุดที่จดจ่อจากหทัยขึ้นไปจับเอาจุดอยู่ที่หว่างคิ้วของเราอยู่จับไว้รู้อยู่ที่ตรงนั้นแต่ไม่กดเพ่งโดยพึงรำลึกเหมือนเป็นลมเคลื่อนผ่าน รู้ลมสัมผัสจมูกหายใจเข้าออก(บริกรรมพุทโธบ้างก็ได้ หรือเพียงรู้แค่ลมเข้าออกก็ดี) แต่มองเห็นปัจจุบันที่ตรงกลางหว่างคิ้วที่เห็นมืดอยู่บ้าง มีจุดแสงไปกระพริบยุบยับๆบ้าง สักพักจิตจะเข้าสู่สภาวะเหมือนวูบหนึ่งขนลุกซู่บ้างเข้าสภาวะที่จิตจดจ่ออยู่ได้นานและมีจิตจดจ่ออยู่ไม่เอนเอียง มีการรับรู้เสียงในสภาพภายนอกน้อยมากทั้งๆที่ปกติได้ยินเสียงดังแต่ก็มีสภาวะเหมือนเสียงเบาหรือเหมือนไม่ได้ยิน ไม่มีจิตจดจ่ออยู่ที่เสียงนอกจากสิ่งที่เห็นอยู่เบื้องหน้า เห็นความตรึกนึกคิดอยู่ เห็นขณะที่ความตรึกนึกคิดดับ เห็นขณะที่เข้าไปรู้เรื่องที่คิดอยู่บ้าง เห็นความเข้าไปแนบอารมณ์แลดูสภาวะธรรมในปัจจุบันนั้นแต่ไม่เข้าร่วมกับสิ่งที่คิดอยู่บ้าง จนเห็นเป็นทีละขณะๆกัน นี่เป็น "วิปัสสนา" เกิดจาก "ปฐมฌาณ" อันมี "วิตก-วิจาร" อยู่นั่่นเอง ยถาภูญาณทัสสนะจะเกิดขึ้นก็ตรงนี้ จนสืบต่อไปนิพพิทาญาณที่มีวิราคะก็ตรงนี้
(เมื่อเจริญอย่างนี้ๆจนสามารถเข้าออกและรับผลจากสภาวะของปฐมฌาณได้ตลอดเข้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ จะอธิษฐานเข้านานเท่าไหร่ก็ได้ เข้าออกจนจับรับรู้ในสภาวะนั้นได้หมดคล่อง อันนี้เรียกว่าได้รับผลจากสัมมาสมาธิแล้ว นั่นคือ รูปฌาณสมาบัติ ๑ นั่นเอง)
๑.๓ มุสาวาท(มิจฉาวาจา) อาศัยวิตกวิจารณ์นี้มีอยู่ในปฐมฌาณ มีจิตไม่เอนเอียง กิเลสนิวรณ์ดับสิ้นไป มีจิตจดจ่อไม่เอนเอียงที่เรียกว่าเอกัคคตาพิจารณาดูอยู่จนเราเริ่มเห็นขันธ์ทั้ง ๕ แยกเป็นกองๆได้แต่ยังอาศัยกันเกิดขึ้นเป็นลำดับอยู่ จนเห็นว่า วาจาไรๆก็แล้วแต่มีอยู่ได้ด้วยอาศัย วิตก วิจาร นั้นเป็นใหญ่ คือ มีความตรึกนึกคิดจากการเข้าไปหวนระลึกเอาในบัญญัตสัญญาไรๆแล้วเกิดความปรุงแต่งในกองสังขารรอบไปเกิดเป็นเรื่องราวกล่าวทางปากอันเรียกว่าวาจาออกมา
    เมื่อความเห็นไปดังนี้ตามจริงโดยปราศจากความตรึกนึกเอาแล้ว(เวลาเราเห็นในสภาวะนั้นมันจะเป้นเป็นกองๆอันอาศัยกันเกิดขึ้นมาตามจริงเลยโดยไม่ต้องไปอนุมานเอา) แล้วให้ถอนจากสภาวะที่แลดูความปรุงแต่งจิตนั้นออกมา แล้วพึงหวนพิจารณาว่า วาจาอันชอบจะมีได้ก็อยู่ที่ วิตก วิจาร นี้ วาจาอันไม่ชอบจะมีได้ก็ด้วย วิตก วิจาร นี้ วจีกรรมทั้งปวงมีความเกิดขึ้นจากวิตกวิจารนี้ทั้งหมด แม้เราจะเพียรเจริญยังสัมมาวาจาให้เกิดขึ้นเป็นอันมาก แต่ก็ยังไม่อาจจะล่วงพ้นซึ่งมิจฉาวาจา คือ วาจาอันเป็นโทษไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ได้ นั่นเพราะเรายังซึ่งวิตกวิจารอยู่ วจีกรรมอันเป็นมิจฉาย่อมเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
    ด้วยเหตุดังนี้แล้ว เราก็พึงเพิกถอนจิตออกจาก วิตก วิจาร นี้เสีย เพราะเห็นโทษยังมีอยู่ใน วิตก วิจาร ด้วยเมื่อกุศลวิตกดับไปเมื่อไหร่ ก็เป็นทางให้อกุศลวิตกนั้นเกิดขึ้นทันที ดังนั้น วิตก และ วิจาร มีทั้งกุศลและอกุศลเกิดดับๆวนเวียนไปอยู่อย่างนี้ไม่สิ้นสุด จึงเป็นสิ่งไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เพราะคงกุศลจิตไว้นานไม่ได้ คงสัมมาวาจาให้อยู่ยืนนานไม่ได้ จากนั้นก็กำหนดจิตไม่ไปยึดเอาความตรึกนึกคิดและความเข้าไปแนบอารมณ์ประครองสิ่งที่คิดใดๆทั้งสิ้น จิตก็จะหลุดออกจากวิตกก่อน ก็จะเห็นในส่วนของวิจารโดดๆคือรู้ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวทั้งหมดแต่ไม่เข้าไปร่วมแนบอารมณ์รมณ์ตามความคิดนั้น เหมือนเรากำลังมองดูสภาวะธรรมที่ปรุงแต่งเรื่องราวเกิดดับต่างๆ รู้ว่าเป็นสภาวะกุศลหรืออกุศล เป็นไปในมรรคหรืออุปกิเลสใดๆ แต่ไม่เกิดความคิดไม่มีเสียงคิดไม่แนบอารมณ์ไปกับความคิด แต่แยกสภาวะออกมาสักแต่ว่ารู้เห็นในนิมิตและความปรุงแต่งไรๆเท่านั้น โดยไม่เข้าไปร่วมเสพย์เสวยอารมณ์ในความปรุงแต่งนั้น จะแยกขันธ์ ๕ ออกจากกันขาดเป็นกองๆได้ก็อยู่ที่ตรงนี้
(ปกติคนเราคิดก็จะเหมือนเป็นเสียงตนเองพูดไปตามความคิดตรึกนึกคิดพูดหรือเกิดภาวะที่จิตมันพูดสนทากันเอง) แล้วเพิกเข้าสู่ในสภาวะ ปิติ สุข อันปราศจาก วิตก วิจาร เป็นอารมณ์เข้าถึง "ทุติยฌาณ อันดับวิตก-วิจารแล้ว"
    อุบายกำหนดจิต โดยเอาจิตที่เรากำลังจดจ่อยึดในสภาวะธรรมไรๆอันมีวิตก-วิจารอยู่นั้น เพิกถอนออกมา(เช่น จดจ่อกับสภาพธรรมที่รู้เห็นความปรุงแต่ง หรือ ความคิดใดๆ)ด้วยพึงเห็นว่าสิ่งทั้งปวงเหล่านี้มันยังวจีกรรมไรๆที่เป็นกุศลธรรมใดๆให้คงอยู่ไม่ได้นาน มีความเกิดขึ้น แปรปรวน และ ดับไปเป็นธรรมดาไม่คงอยู่ได้นาน เป็นเหตุให้วจีกรรมอันเป็นอกุศลธรรมอันลามกจัญไรนั้นเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ แม้วิตกวิจารนี้หากทรงอยู่ในกุศลวิตกไม่ได้ก็ยังมิจฉาวาจามาสู่เราได้เสมอกำหนดจิตเปลี่ยนเอาไปยึดที่ความว่างอันสงบสุขเย็นอันไม่มีวิตกเหล่านี้แทน
อาศัยทางเข้าโดยเวลาเราหายใจเข้านั้นเราสักแต่รู้ว่าลมเข้า หายใจออกก็รู้แต่ลมออก ไม่มีคำบริกรรมใดๆทั้งสิ้น กำหนดรู้ลมกองลมทั้งปวงหายใจเข้าก็น้อมจิตตามลมไปจนสุดไม่ต้องไปบริกรรมนึกคิดแค่รู้สภาวะนั้นพอแม้หายใจออกก็เช่นกัน กำหนดจิตจะสลัดทิ้งกายสังขารโดยเพิกถอนจิตออกจากสภาวะที่เกาะอยู่ที่กายนี้ให้ไปจับเพียงความรู้สภาวะปรุงแต่งจิตต่างๆเท่านั้น จนกำหนดดับความตรึกนึกทั้งปวงทิ้งใจอยู่ที่ว่างสงบเพียงแต่รู้แล้วแลดูอยู่จนวิตกดับไปเหลือแต่วิจารอยู่โดดๆ แล้วพึงรู้สภาวะอันแลดูอยู่ของวิตกปรุงแต่งนั้นว่า..ด้วยอาศัยวิจารอยู่จึงเห็นความเป็นไปของขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นกองทุกข์ทั้งปวงนี้ เหตุทั้งปวงอยู่ที่ วิตก วิจาร ทึี่เกิดขึ้นร่วมกันนี้จึงยังคงไม่พ้นซึ่งอกุศลมูลได้ หากจะไม่ให้เกิดอกุศลวิตกเราก็ต้องละทิ้งซึ่งวิตกและวิจารนี้เสียแล้วเพิกจิตไปที่สภาอันว่างสุขสงบเบาเย็็นใจมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต
(เมื่อเจริญอย่างนี้ๆจนสามารถเข้าออกและรับผลจากสภาวะของทุติยะฌาณได้ตลอดเข้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ จะอธิษฐานเข้านานเท่าไหร่ก็ได้ เข้าออกจนจับรับรู้ในสภาวะนั้นได้หมดคล่อง อันนี้เรียกว่าได้รับผลจากสัมมาสมาธิแล้ว นั่นคือ รูปฌาณสมาบัติ ๒ นั่นเอง)
๑.๔ สุราเมรัยมัชชปมาทัฏฐาน ความละเว้นจากการเสพย์สุราและของมึนเมาหรือของที่ทำให้ขาดดสติอยู่ด้วยความประมาททั้งหลาย(ข้อนี้ผมเจตนาลงไว้ให้สำหรับผู้ติดเหล้าโดยเฉพาะ เพราะผมก็เพิ่งก้าวผ่านมา) อาศัยการเข้าสู่ทุติยะฌาณเป็นอารมณ์ เมื่อถอนออกมารู้สภาวะมีวิตกวิจารณ์เป็นอามณ์ ย่อมเห็นโทษจากอกุศลวิตกและอกุศลวิจาร อันทำให้ตรึกนึกถึงสัญญาเรื่องอกุศลอันลามกสืบต่อให้เข้าไปเสพย์เสวยอารมณ์จากความตรึกนึกคิดปรุงแต่งเรื่องราวบ้าง เมื่อเราเข้าไปจะตรึกนึกถึงเหล้าหรือสิ่งเสพย์ติดมัวเมาโดยสัญญาใดๆเราย่อมเข้าไปเสพย์เวทนาทุกครั้ง แต่ทุกข์ครั้งที่คิดถึงนั้นมันหาสุขไรๆไม่ได้เลยนอกจากทุกข์ เมื่อตรึกนึกถึงก็เกิดความอยาก พอไม่ได้ดั่งใจปารถนาก็เป็นทุกข์ ทุกข์เหล่านี้เกิดมาแต่อกุศลวิตก และ สัญญาใดๆที่เกี่ยวกับเหล้าและสิ่งมัวเมาทั้งหลาย
- แม้เมื่อสิ่งอื่นนอกจากเหล้าและสิ่งมัวเมาเหล่านี้ก็มีอยู่ คือ ความเสวยสุขเวทนาและโสมนัสเวทนาจากสิ่งใดๆไปแล้วเราก็จดจำสำคัญมั่นหมายมันไว้ว่าสิ่งนี้ๆทำให้เราเป็นสุข พอเมื่อความสุขเหล่านั้นดับไปเราก็ตะเกียกตะกายไขว่คว้าปารถนาใคร่ได้ที่จะหามาให้ได้ตามความสุขที่ตนจดจำสำคัญมั่นหมายไว้นี่ก็เป็นทุกข์เพราะความปารถนา แม้สมปารถนาตามความติดใจเพลิอดเพลินยินดีก็เป็นทุกข์เพราะเข้าไปยึดมั่นถือมันตัวตนกับสิ่งนั้นๆว่าเป็นสุขของตนทำให้ตนมีความสุขได้จริงๆ พอไม่ได้ดั่งปารถนาก็ทุกข์ใจอีก ดังนั้นแลจิตสังขารทั้งปวงจึงเป็นตัวทุกข์ พึงเพิกถอนจิตออกจากจิตสังขารนั้นเสียเพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ เมื่อเห็นโทษของมันเช่นนี้ๆก็ไม่มีอะไรให้ใจเราเกาะเกี่ยวกับจิตสังขารอีก แล้วย้ายจิตไปจับเอาความไม่ปรุงแต่งจิตใดๆอันมีแต่ความว่างสงบอันไม่ไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดๆทั้งมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต แล้วจิตก็จะผ่านเข้าสู่สภาวะที่เป็นสุขอันหาประมาณมิได้เกิดมาในชีวิตไม่เคยสุขอย่างนี้มาก่อนมัเป็นสุขจากความไม่ปรุงแต่งจิต มันเป็นสุขจากการไม่เข้าไปยึดสิ่งใดๆทั้งปวง เป็นสภาวะที่จิตมันเต็ม เรียกว่า ตติยะฌาณ จิตจะไม่สนใจในกายอีกต่อไป จนไม่รู้สึกในทางกายเลย
(เมื่อเจริญอย่างนี้ๆจนสามารถเข้าออกและรับผลจากสภาวะของตติยะฌาณได้ตลอดเข้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ จะอธิษฐานเข้านานเท่าไหร่ก็ได้ เข้าออกจนจับรับรู้ในสภาวะนั้นได้หมดคล่อง อันนี้เรียกว่าได้รับผลจากสัมมาสมาธิแล้ว นั่นคือ รูปฌาณสมาบัติ ๓ นั่นเอง)

๑.๕ ดึงสติสัมปะชัญญะขึ้นมาแลดูสภาวะของตะติยะฌาณเข้าสู่ จตุตถฌาน เมื่อได้รับสุขแม้ตั้งอยู่ได้ก็ด้วยอาศัยความดับไปแห่งวิตก วิจาร สัญญา เวทนา พึงพิจารณาหวนระลึกรู้ว่าขณะนี้ที่เป็นสุขมันก็เกิดแต่สังขารขันธ์อันปรุงแต่งให้เป็นไปในโสมนัสเวทนา เวทนาขันธ์ทั้งปวงก็เกิดแต่สังขารปรุงแต่งเท่านั้น ก็เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมครูได้ทรงตรัสไว้ว่า สัพเพสังขาราอนิจจา สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง ก็พึงเห็นว่าความสุขตั้งอยู่นี้ด้วยฌาณจิต แม้เมื่อเรารู้สภาวะที่สุขนั้นเกิดขึ้นจนมันเต็มกำลังใจแล้วความสุขนั้นก็ย่อมถอนไปลดลงไปเรื่อยๆจนดับไปไม่คงอยู่นาน และ ฌาณจิตอันเป็นสิ่งให้เข้าถึงสภาวะแห่งสุขนั้นก็ดับไปไม่ใช่ของเที่ยง เพราะความสุขและฌาณนั้นมันสักแต่เป็นเพียงจิตสังขารอันไม่เที่ยง เกิดและดับอยู่ตลอดเวลา แม้เมื่อเราถอนออกจากตติยะฌาณแล้วสุขนั้นก็หายไป ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ จะเข้าไปอยู่ในฌาณนั้นตลอดจนวันตายก็ไม่ได้ มันย่อมหาประโยชน์สุขไรๆอันเรียกว่า บรมสุขอันเป็นอมตะไม่ได้ เพราะบรมสุขอันเป็นอมตะนั้นต้องมีความคงอยู่ไม่เสื่อมไป ไม่ใช่สุขได้เพราะสังขารธรรมทั้งปวง
- เมื่อกำหนดสมาธิเข้าสู่ตติยะฌาณอีก สภาวะนั้นมันจะมีตัวรู้ ทุกคนที่เคยเข้าถึงย่อมรู้แน่ชัดว่าตอนนั้นมันรู้ว่าเกิดสงบว่างตัดขาดความตรึกนึกคิดจิตคลายความจดจ่อจากลมหายใจแล้วมีจิตแนบแน่นอยู่เบื้องหน้าเพียงส่วนเดียวเป็นฐาน พอสักพักจิตมันจะยกขึ้นสู่ความสุขอันหาประมาณไม่ได้ มันอัดพุ่งขึ้นพรั่งพรูเหมือนพรุ(พรุที่เป็นโอ่ง)ที่เขาจุดแล้วพุ่งขึ้นมาอัดกระจายเป็นวงกว้างอยู่บนฟ้า จนจิตมันไปจับอยู่ที่ความสุขนั้นโดยส่วนเดียว
- แล้วเมื่อลิ้มรสในสภาวะแห่งความสุขนั้นได้แล้ว เราก็ดึงสัมปชัญญะความรู้ตัวให้เกิดขึ้นร่วมสติแล้วมันจะเกิดสภาวะที่แลดูรู้ว่ามันเป็นสุขอัดจนเต็มกำลังใจจิตแต่ไม่ไปยึดเกาะเอาสุขมาเป็นอารมณ์ มันก็จะลดทอนสุขลง(แต่มันไม่มีความคิดเสียงคิดจากจิตไรๆทั้งนั้นแต่มันรู้ว่า มีความว่างสงบถ่ายถอนความยึดมั่นบ้าง รู้ว่ามีความสุขอัดเต็มระเบิดพรั่งพรูอยู่บ้าง เรียกว่ารู้แต่สภาพที่เป็นปรมัตถธรรมทั้งนั้น คือ สภาพจริงๆที่เป็นเอกลักษณ์ และ คุณลักษณะต่างๆของสภ่าวะธรรมนั้นๆ) ทีนี้เมื่อรู้อย่างนี้ว่าสิ่งเหล่านี้ปรุงแต่งเกิดขึ้นก็เป็นการที่เราเข้าไปรู้ในธรรมารมณ์(สิ่งที่ใจรู้สภาวะธรรมปรุงแต่งใดๆ) เราถอนความยึดในสุขนั้นแล้วมันก็จะยกเข้าสู่ที่ความว่างสงบสว่างโล่มีเพียงตัวรู้นิ่งแช่แลดูอยู่ในสภาวะนั้นอยู่เท่านั้น มันสงบว่าง เหมือนมีเราผู้เดียวในมหาสมุทรอันสว่างไสวสงบร่มเย็นมีวงกว้างได้อันประมาณที่จิตเรามองเห็นในสภาวะนั้นเข้าถึง "จตุตถะฌาณ" อันมีแต่ความนิ่งว่างสว่างไสวนวลใจ กับ สภาวะรู้แลดูอยู่เท่านั้น อันเกิดแต่ละจากสุขที่ไม่มีประมาณนั้นได้แล้วเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต
(เมื่อเจริญอย่างนี้ๆจนสามารถเข้าออกและรับผลจากสภาวะของจตุตถะฌาณได้ตลอดเข้าออกเมื่อไหร่ก็ได้ จะอธิษฐานเข้านานเท่าไหร่ก็ได้ เข้าออกจนจับรับรู้ในสภาวะนั้นได้หมดคล่อง อันนี้เรียกว่าได้รับผลจากสัมมาสมาธิแล้ว นั่นคือ รูปฌาณสมาบัติ ๔ นั่นเอง)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 16, 2014, 10:00:05 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2014, 04:45:44 pm »
0

    ๓. ละกิเลสด้วยการอบรมจิตในขั้นสมถะเชื่อมต่อไปวิปัสสนา ๒
    (อุบายสะสมให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ)


    ๓.๒ อุบายการดึงสมถะและวิปัสสนา สะสมบารมีเพื่อยกจิตให้เข้าถึงฌาณสมาบัติและเจโตวิมุตติ

๓.๒.๔ เมตตาพรหมวิหาร จนถึงอุบายทางเจริญปฏิบัติสะสมบารมีเข้าสู่พรหมวิหารเจโตวิมุตติ

อุบายกรรมฐานแบบพรหมวิหาร ๔ + ทาน และ วิธีการเจริญจิตเข้าสู่เมตตาอันเป็นทางเข้าในการแผ่ไปไม่มีประมาณ เบื้องต้นดูตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13637.msg46665#msg46665
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0


เมตตา หมายถึง ความปารถนาดีต่อผู้อื่น อยากให้ผู้อื่นเป็นสุขได้รับคุณประโยชน์และสิ่งดีงาม มีความเอ็นดูปรานีต่อผู้อื่น รักผู้อื่นเสมอด้วยตน
เจโตวิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้นแห่งจิต ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิตแห่งสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘

- หลายคนมักจะกล่าวว่าเจโตวิมุตติ หรือ พรหมวิหาร๔ กรรมฐานนี้ห้ามเจริญ เพราะเป็นของพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะท่านได้หลุดพ้นแล้วจึงทำได้ ห้ามคนธรรมดาเจริญปฏิบัติเด็ดขาด คำๆนี้ผมมักจะเห็นบ่อยมากสำหรับผู้ที่เรียนอภิธรรมมักจะกล่าวอย่างนี้ประจำ ผู้เจริญสมาธิยังไม่ถึงฌาณบางท่านก็จะกล่าวไว้เช่นกัน อันนี้คือสอนกันมาผิดๆทั้งนั้น ไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน หากจะกล่าวแต่เช่นนี้อย่างนี้ไม่นานพระพุทธศาสนาของเราก็ต้องเสื่อม พรหมวิหารกรรมฐาน เจโตวิมุตติทั้งหลายก็จะไม่มีอีกต่อไป
- ลองหวนระลึกดูสิครับว่า มีใครไหมเกิดมาแล้วมีฌาณ ๘ เข้าสมาบัติ ๘ ได้เลย มีใครไหมเกิดมาปุ๊บตรัสรู้เลยหรือบรรลุธรรมเลย ย่อมหาไม่ได้ใช่ไหมครับ ทุกคนทุกท่านทุกพระองค์ก็ย่อมต้องเริ่มจากปฏิบัติในสมถะภาวนาเพียรเจริญสะสมไปเรื่อยๆทำให้จากมีเพียงแค่ขณิกสมาธิ -> ปิติ -> สุข เกิดเป็นอุปจารสมาธิสมาธิ ตัดขาดจากนิวรณ์ ปัสสัทธิ -> ปฐมฌาณ ไปจนถึง อัฏฐังฌาณ เข้าสู่สมาบัติ๘ ขึ้นเห็นวิปัสสนา ตรัสรู้ บรรลุอรหันต์ ดูดั่งที่พระพุทธเจ้าของผมผู้ทรงพระนามว่า พระสมณโคดมมหามุนีย์ พระองค์ทรงสั่งสอนให้สาวกเจริญปฏิบัติในกุศล ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน สมาธิ เดินตามทางแห่ง มรรคมีองค์ ๘ สัมโพชฌงค์ เพื่อที่จะเข้าถึงซึ่ง เจโตวิมุตติ พระองค์ไม่เคยตรัสว่านี่เจโตวิมุตติห้ามเจริญ มีแต่ตรัสสอนว่าเป็นสิ่งที่เธิทั้งหลายควรทำควรเจริญให้มากควรเเพียรอยู่เพื่อเข้าถึง ดังนั้นแล้วหากบุคคลใดกล่าวว่าห้ามเจริญ ถือว่าไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าจะคอยตรัสสอนสาวกของพระองค์เสมอๆมีสรุปใจความโดยย่อว่า สาวกของพระพุทธเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์เพื่อทางหลุดพ้นกับพระภิกษุทั้งหลายในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเพียรเจริญปฏิบัติในทางแห่งเจโตวิมมุติอันเป็นทางเพื่อความหลุดพ้น และ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญพรหมวิหาร ๔ เป็นเจโตวิมุตติอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ภิกษุที่มีศรัทธาออกบวชไม่ได้บรรลุธรรมใดๆเลยก็ต้องเจริญ แม้ถึงภิกษุผู้ได้โลกียะฌาณก็ยังเจริญอยู่ เจริญไปในทั้งสิบทิศอันไม่มีประมาณไป
- อุปมาดั่งพระอภิธรรมปรมัตถสังคหะ ก็มีเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้นที่รู้เห็นตามจริงไม่มาตรึกนึกคิดเดาอนุมานกันเอาเอง และ พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้แสดงต่อใครๆพร่ำเพรื่อแต่แสดงต่อพระสารีบุตรเถระ เพื่อให้ไปแสดงแก่ภิกษุทั้ง 500 รูป ผู้ที่เคยเสวยชาติเป็นค้างคาวและได้รับฟังพระอภิธรรมด้วยความชื่นชอบแล้วตกลงมาตายให้ได้บรรลุอรหันต์เท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนที่เป็นปุถุชนธรรมดาแต่มีสันดานแห่งบัณฑิตและพระอริยะเจ้าได้มองเห็นว่าเป็นปัญญาแห่งการหลุดพ้นได้ใฝ่หาจะเรียนรู้ ได้เพียรกระทำตามกิจอันที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้นได้กระทำบรรลุบทแล้ว จนพอเมื่อได้เพียรเจริญปฏิบัติสะสมไปเรื่อยๆ เริ่มอาศัยจากการท่องจำและความเพียรระลึกเจริญอยู่ที่จะเข้าไปรู้สภาพจริงนั้นๆอยู่เนืองๆก็สามารถเข้าถึงและบรรลุธรรมได้เช่นกันฉันใด
   ผู้ที่เพียรปฏิบัติอยู่เนืองๆในพรหมวิหาร๔ พึงเจริญในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกอยู่เนืองๆ ย่อมเข้าถึง ศีล ทาน อันบริบูรณ์ มีความสงบร่มเย็นไม่ร้อนรุ่มกายใจ เจริญเข้าสมาธิได้ง่าย เมื่อยังจิตแผ่พรหมวิหาร๔ ไปแบบไม่มีประมาณ เริ่มจากขณิกกะสมาธิไป เมื่อจิตแช่มชื่นผ่องใสเป็นกกุศลจิต มีจิตอิ่มเอมเป็นสุข ย่อมจดจ่อเข้าสู่อุปจาระฌาณอันสลัดทิ้งซึ่งนิวรณ์มีความสงบรำงับอยู่ได้ จนเข้าสู่อารมณ์สมถะอันเรียกว่าอัปปนาสมาธิมีรูปฌาณเป็นต้นได้ จนเมื่อสงเคราะห์ พรหมวิหาร๔ ลงในธรรมแล้วแผ่ไปไม่มีประมาณนั้นย่อมยกจิตเข้าสู่อรูปฌาณได้ มีสมาบัติ ๘ เป็นผลฉันนั้น

- ด้วยปัญญาอันน้อยนิดของผมเห็นว่า เมตตาเจโตวิมุตติ เป็นรูปฌาณเริ่มเจริญได้ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ อุปจาระสมาธิ อัปปนาสมาธิ คือ ปฐมฌาณเป็นต้นไป เพราะอาศัยรูปอยู่ มี สุภวิโมกข์ เป็นผล คือ เห็นเป็นของงาม ที่ว่าเป็นของงามนี้มีอยู่ 2 นัยยะคือ
๑. เห็นรูปนามทั้งหลายงดงามเสมอกัน(นั้นเพราะเห็นทุกอย่างนั้นเป็นเพียงรูปนามจึงไม่มีสิ่งใดๆที่ต่างกันเลย) ไม่มีความรังเกลียดใดๆ๑
๒. เห็นเมตตาเจโตวิมุตตินี้เป็นสิ่งเจริญปฏิบัติอันงามประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ที่สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงเจริญ๑
- แต่ในส่วนกรุณา มุทิตา อุเบกขา เจโตวิมุตติ คือ อรูปฌาณ
(หากเราเริ่มจากขณิกสมาธินี้ เมื่อเจริญเมตตาไปแบบไม่มีประมาณสะสมไปเรื่อยๆ ก็จะเข้าสู่ อุปจาระสมาธิ และ รูปฌาณได้ อันนี้ผมยืนยันได้ด้วยประสบมากับตัวเอง จนเมื่อเข้าถึงสภาวะที่ผมยกไว้ข้างต้นทั้ง 2 ประการนั้น จะเห็นทุกอย่างเสมอกันไปหมด ทำให้ผมถอยออกมาพิจารณาเห็นอุบายการเจริญเมตตา แม้ในขณะที่เรายังความขัดเคืองใจกับบุคคลที่เราผูกเวรไว้ได้ แล้วสามารถดึงจิตหลุดออกจากความผูกเวรนั้นๆพร้อมเห็นเสมอรูปนามทั่วไปหมด)

สาวกทั้งหลายย่อมมีพระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เจริญใน พรหมวิหาร๔ ศีล และ ทาน ด้วยเป็นธรรมอันงาม พร้อมเห็นในอานิสงส์ว่า
- สาวกของพระพุทธเจ้า ทุกๆองค์ ทุกๆคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ในจะอยู่ในป่าก็ดี ในโคนต้นไม้ก็ดี จะนั่งอยู่ก็ดี จะยืนอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนอนอยู่ก็ดี จะไปในทิศเบื้องหน้าก็ดี เบื้องหลังก็ดี เบื้องข้างก็ดี เบื้องเฉียงก็ดี เบื้องบนก็ดี เบื้องล่างก็ดี แม้ไปในทิศไหนๆก็เจริญเมตตาแผ่ไปอันไม่มีประมาณ เพราะระลึกไว้ว่าแม้เมื่อตายแล้วก็ไม่เสียดายเพราะได้เจริญกุศลเมตตานี้แผ่ไปไม่ขาดเว้น แม้ตายไปแล้วหากชาติหน้าไม่มีอีกก็จักไม่มีความทุกข์และล่วงสู่อบายภูมิหากยังไม่บรรลุอรหันต์ก็ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นพรหม  หรือ แม้จะต้องกลับมาเกิดอีกก็ไม่หวั่นด้วยในขณะนี้ได้เจริญในเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแผ่ไปแบบไม่มีประมาณแล้ว ได้เจริญปฏิบัติในกุศลแล้ว เป็นผู้เอ็นดู ปรานี ปารถนาดีต่อผู้อื่นแล้ว ไม่มีความผูกเวร พยาบาท ละแล้วซึ่งความผูกโกรธแค้น ละแล้วซึ่งความอาฆาตพยาบาทหมายประทุษร้ายผู้อื่นให้ฉิบหาย เป็นผู้อนุเคราะห์แบ่งปันและสงเคราะห์แก่ผู้อื่นแล้ว เป็นผู้มีการสละให้ผู้อื่นแล้ว เป็นผู้ยินดีต่อผู้อื่นโดยปราศจากความริษยาแล้ว เป็นผู้มีใจวางไว้กลางๆ ปล่อยวาง ไม่ยินดียินร้ายต่อผู้อื่นแล้ว ด้วยประการฉะนี้ แม้เกิดใหม่ก็จะอุดมไปด้วยบริวารสมบัติ ไม่มีศัตรูภัยพาลดังนี้

ลองอ่านในตำนานของพระสูตรดังนี้
๑. กรณียเมตตสูตร
๒. เกสปุตตสูตร
- การแผ่เมตตาไปแบบเจโตวิมุตตินั้นสำคัญมาก ทำให้จิตใจเรามีความปรานี ปารถนาดีต่อผู้อื่น รักผู้อื่นเสมอตน อยากให้เขาได้รับประโยชน์สุขและสิ่งอันดีงามเสมอด้วยตนเสมอทั่วกันหมด ไม่แยกแยะว่าเป็นใคร สัตว์ใด หมู่คนทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย สัมภเวสีทั้งหลาย อมนุษย์ทั้งหลาย มารทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย พรหมทั้งหลาย ทั้งที่ชอบใจ ไม่ชอบใจ เป็นการเจริญกุศลอันหาประมาณไม่ได้ มีคุณประโยชน์เป็นที่สุด ไม่ใช่ว่าคนนี้เราไม่รู้จักแม้เขาจะทุกข์ยากลำบากจะตายก็ไม่เกี่ยวกับเรา-เราก็ไม่ต้องไปเมตตาเขา คนนี้ทำให้เราเจ็บแค้น-เราก็จักไม่เมตตาเขา ผีตนนี้ไม่ใช่พ่อแม่ญาติพี่น้องเรา-เราก็จักไม่เมตตาเขา นี่น่ะเป็นความถือตัวถือตนเกิดขึ้นแก่ตนเองแล้ว ความไม่มีจิตละกิเลสกาม ราคะ โทสะ โมหะ ความไม่เป็นไปเพื่อการหลุดพ้นจากกิเลสทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้นั้นทันที
- การแผ่เมตตาไปไม่มีประมาณดังนี้แล้วผู้ที่แผ่ไปย่อมยังความบริสุทธิ์อันปราศจากกิเลสทุกข์ไรๆไปสู่ผู้อื่น ศีลก็เกิดงามขึ้น ไม่มีความโกรธแค้น ไม่ร้อนรุ่มกายใจ เมื่อความร้อนรุ่มใจไม่มีแก่ตน สมาธิอันงามบริสุทธิ์ในขณะนั้นย่อมสืบต่อเนื่องขึ้นเป็นผล
- ทีนี้มาดูว่าเราจะแผ่อย่างไรจึงเป็นการสะสมเมตตาบารมีให้ถึง เมตตาเจโตวิมุตติ ไปสู่ กรุณา มุทิตา อุเบกขา เจโตวิมุตติ
(ขอย้ำนิดนึงนะครับว่า นี่คือสภาพที่เป็นโลกียะเท่านั้นผมรู้เห็นแค่โลกียะเท่านั้น นี่เป็นเพียงทางเข้าถึงซึ่ง พรหมวิหารเจโตวิมุตติในแบบโลกียะฌาณเท่านั้น ผู้ยังอรูปฌาณได้แม้ในโลกียะต่อให้ยังไม่บรรลุธรรมใดก็เข้าถึงได้เช่นกันครับ [เพราะผมยังไม่ถึงเจโตวิมุตติ ยังไม่บรรลุธรรมอันใดเลย ยังไม่ถึงโลกุตระฌาณ ยังไม่หลุดพ้น อุบายนี้จึงเป็นการสะสมให้เข้าถึงซึ่งตามประสบการณ์ที่ผมอบรมจิตมา])

- ประจวบกับผมได้พระธาตุมาจากพระที่วัดอนงค์คารามเนื่องจากเป็นวันเกิดผมแล้วขาผมเป็นเก๊าพร้อมเดินทางไกลข้ามฝั่งธนไปกราบไหว้เตี่ย อาก๋ง อาม่า อาเจ็ก พระท่านเห็นจึงเมตตาให้มาบอกว่าเป้นของพระอรหันต์ พอผมนำมาตั้งไหว้ที่หิ้งพระแล้ว ได้นอนไปหลับฝันพระอระหันต์ซึ่งไม่รู้ว่าเป้นท่านใดและเห็นพระตถาคตมาปรากฏอยู่ตรงหน้าผม มาสอนกรรมฐาน มาทำให้เห็นเรื่องการเข้าสมาบัติ ซึ่งพระตถาคตนั้นนั้นท่านเดินสมาบัติให้ดูมีมากกว่าแปดสมาบัติ มีมากถึงโดยประมาณ 12 สมาบัติ(เท่าที่พอจะจำได้) ซึ่งพระตถาคตเดินกำหนดสมาบัติกำหนดลมตั้งอยู่แนบอารมณ์เป็นจุดเหมือนกับในมัชฌิมาแบบลำดับที่กำหนดธาตุเป็นจุดๆ แต่ต่างการที่พระตถาคตนั้นกำหนดจับจุดที่จะวางอารมณ์และลมไว้จนถึง 12 สมาบัติ และ คืนต่อมาก็ฝันเห้นอีกว่าพระตถาคตมาบอกกรรมฐานว่าเธอ ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน ยังไง ทำใจอย่างไร และ ศีล พรหมวิหาร๔ ทาน เมื่อเจริญก็เข้าสมาบัติได้เช่นกัน แต่ผมยังไม่กล้าจะโพสท์ลงมากเพราะคิดว่าอาจเป็นนิมิตจากความคิดปรุงแต่งของผมเองก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งที่พอกำหนดเข้าแล้วพอจะเห็นอานิสงส์ได้บ้างมีอรูปฌาณ 3 คือ
  ๑.ดึงเข้าอากาสานัญจายตนะ ก็เปรียบดั่งปฐมรูปฌาณ เป็นอรูปฌาณขั้นที่หนึ่ง เมื่อจะกำหนดจิตทรงอารมณ์เข้าก็พึงหลับเพ่งที่จุดระหว่างคิ้วดูความมือนั้นแผ่ไปไม่มีประมาณ ดึงลมหายใจที่ผ่อนคลายจนจิตหรือตัวเรานั้นมีสมาธิมากขึ้น ว่างมากขึ้น เราก็จะเหมือนถูกดูดถึงเข้าไปในความมืดอันว่างกว้างจะมองทางไหนก็โล่งกว้างไปหาประมาณมิได้ มีความสงบว่างเงียบเหมือนเราอยู่กลางห้วงอวกาศจักรวาลนั้นนิ่งแช่อยู่ ซึ่งต่างจากฌาณ๔ ที่สว่างนวลว่างสงบมีแต่สภาพที่รู้แล้วว่าง
  ๒.ดึงเข้าวิญญานัญจายตนะ ก็ให้เอาจิตนี้คือสติไปจับเอาที่หทัยดึงกำหนดจับเอาที่ตัวรู้ให้แค่เพีนยงมีสภาพรู้เท่านั้น รู้สภาวะต่างๆเพียงอย่างเดียวไม่มีอย่างอื่นเลย โดบก่อนจะจับเข้าที่หทัยให้พึงเบิกไปมองพิจารณาดูท้องฟ้าเป็นต้นอันกว้างไกลไม่มีประมาณแล้วไปจับเอาจิตที่รู้ในสภาวะใดๆที่อยู่ท่ามกลางความว่างดั่งท้องนภานยั้นเป็นอารมณ์ สักพีกเมื่อจิตจะรวมลมหายใจเรานั้นสังเกตุได้เลยจะแผ่วเบามากเหมือนไม่หายใจแต่มันก็ยังหายใจอยู่ แล้วจิตรู้แคะสภาพที่แช่มชื่น จากนั้นก็จะว่างนิ่งจับเอาแต่สภาพรู้ของวิญญาณเท่านั้นเป้นอารมณ์
  ๓.ดึงเอาอากิญจัญญายตนะ ก็เปรียบดั่งผมพิจารณาเข้าเห็นว่าแม้อากาศนี้ความกว้างโล่งว่างดั่งท้องฟ้านี้ก็ยังคงเหมือนเป็นกายเป้นที่อาศัยของวิญญาณอยู่ แม้วิญญาณก็เป็นตัวรู้ที่มีสภาพรู้และรู้สึกรับรู้สภาวะธรรมต่างๆซึ่งยังความสงบหลุดพ้นไม่ได้ ก็จึงเพิกถอนออกจากอากาศและวิญญาณเสียพึงไม่จับเขาสิ่งใดๆเป็นอารมณ์เลยยังเอาแต่ความนิ่งว่างสงบสว่างนวลไม่ยังจิตให้เข้าไปรับรู้สิ่งใดๆทั้งนั้นมันอยู่แค่ในสภาพที่แน่นิ่งว่าง
(ซึ่งทั้ง ๓ ข้อนี้อาจจะผิดทางก็ได้นะครับ ไม่แนะนำให้ทำตามและกำหนดเข้าและผมก็ยังไม่ทำให้แน่ชัด แต่ท่านทั้งหลายผู้รู้ผู้เข้าถึงอยู่สูงกว่าผมแล้วจะลองวิเคราะห์ลงในธรรมเป็นอุบายการเข้าสมาบัติของท่านทั้งหลาย สิ่งนี้ก็อาจจะเป็นฐานและเป็นประโยชน์และแนวอุบายได้จึงได้กล่าวไว้)


๑. ก่อนจะทำสมาธิ ให้แผ่เมตตาให้คนเอง และ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า น้อมเอาคุณถึงพระมหากรุถณาของพระพุทธเจ้านั้นมาสู่ตน แล้วแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายตามปกติ(จิตจดจ่อเป็นขณิกสมาธิ)

๒. จากนั้นหายใจเข้ายาวๆพึงระลึก พุท หายใจออกยาวๆพึงระลึก โธ จึงทำอยู่สัก 5-10 ครั้ง(จิตจดจ่อเป็นขณิกสมาธิ ถึง อุปจาระสมาธิและอุปนาสมาธิ(สำหรับผู้ที่มีฌาณเพียงหายใจเข้าออกก็อธิษฐานเข้าได้ทันที))

๓. หายใจเข้าพึงระลึกเอาคุณแห่งความเป็นผู้ไกลจากกิเลสของพระพุทธเจ้าเข้ามาสู่ตน หายใจออกพึงระลึกเอาความร้อนรุ่มกิเลสทุกข์ออกไปจากตน สัก 5-10 ครั้ง(จิตจดจ่อเป็นขณิกสมาธิ ถึง อุปจาระสมาธิและอุปนาสมาธิ(สำหรับผู้ที่มีฌาณเพียงหายใจเข้าออกก็อธิษฐานเข้าได้ทันที))

๔. พึงรู้แค่เพียงลมที่เข้า พึงรู้แค่เพียงลมที่ออก ไปเรื่อยๆจนมีสภาพจิตที่สงบ ปล่อยว่างจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ(อุปจาระสมาธิ ถึง อัปปนาสมาธิ(อารมณ์สมถะ))

๕. เมื่อมีความสงบกายใจเกิดขึ้น คือ มีสภาพที่สงบปราศจากความติดใจข้องแวะไรๆแล้ว ให้พึงตั้งจิตขึ้นรำลึกดังนี้ว่า บารมีธรรมอันบริสุทธิ์แห่งพระเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้าได้แผ่ไปแบบไม่มีประมาณ ไม่เจาะจงเฉพาะใครบุคคลใด สัตว์ใด ฯลฯ แผ่ไปด้วยรัศมีอันบริสุทธิ์ไปไกล 84000 โลกธาตุ ร่มเย็น มีแต่สุขแช่มชื่นสบายกายใจ ปารถนาไปให้สัตว์โลกทั้งหลายเป็นสุข พ้นจากทุกข์ คงอยู่ซึ่งความสุขและสมบัติที่พึงมี หลุดพ้นจากบ่วงกรรมทั้งหลายของตน

๖. พึงน้อมส่งจิตตามไปซึ่งกระแสธรรมแห่งความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้านั้น โดยน้อมเอาจิตแผ่ตามไปดังนี้

    ๖.๑ แผ่เอาบารมีอันงามมีเมตตาบารมีเป็นต้นที่เรานั้นได้สะสมมาดี แล้วแผ่เอาความสุขอันเป็นเมตตานั้นตามไปไกลไม่มีประมาณ ไม่เจาะจง
(พึงระลึกนิมิตดังเรานั้นลอยไปตามทางอันไม่มีประมาณแห่งเมตตานั้น แล้วแยกเข้าไปเห็นแผ่นดิน ที่อยู่อาศัย คน สัตว์ ลิง ม้า วัว ควาย กวาง เสือ ต้นไม้ ใบหญ้า แมลง มด หมัด เห็ย ยุง หนอน อากาศ ท้องฟ้า สัตว์ปีก แม่น้ำ งู สัตว์เลื้อยคลาน ม้า ช้าง สัตว์สี่เท้า สัตว์มากเท้า ปลา ปู กุ้ง หอย แมลง เคย สัตว์เล็กสัตว์น้อยในน้ำในทะเล สัมภเวสีทั้งหลาย สวรรค์ เทวดา อมนุษย์ พรหมโลก พรหมทั้งหลาย แดนนิพพาน พระอรหันต์และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย นรก พญายมราช ยมทูต วิญญาณทั้งหลายที่ทรมานชดใช้ทุกข์บาปกรรม เปรต เป็นต้น เขาหรือท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็ประกอบไปด้วยกองขันธ์ทั้งหลายอันเกิดแต่เหตุและผลของบุญกรรมทำให้มีสภาพสภาวะที่ต่างๆกันไป เขาและท่านทั้งหลายเหล่านั้นแม้จะมีรูปลักษณ์ สภาพจิตใจอย่างไรเราก็ไม่พึงจะเข้าไปรังเกลียด(หากเป็นคนหรือสัตว์ที่เราเกลียด ผูกความโกรธแค้นไรๆจากการที่บุคคลหรือสัตว์ตัวนั้นได้ด่าว่ากล่าวพูดจาเบียดเบียน ทำร้ายเบียดเบียน มีจิตคิดร้ายต่อเรา ก็ให้พึงใช้อุบายดึงจิตขึ้นสู่เมตตา คือ ความรักความเอ็นดูปรานี เห็นเป็นของงามเสมอกัน ด้วยเห็นว่าบุคคลหรือสัตว์ตัวนั้นๆพึงมีจิตมีกายอันประกอบไปด้วยทุกข์ มีจิตและกายอันล่วงลงต่ำกว่าเรามาก ไม่ว่าจะด้วยผลกรรมแต่ปางก่อนหรือกรรมในปัจจุบันนี้ก็ตาม ทำให้เขาต้องร้อนรุ่ม เร่าร้อนไปด้วยกิเลสทุกข์ จึงได้มีกิริยาอาการทางกาย วาจา ใจ เป็นเช่นนั้นต่อเรา สัตว์ตนนั้นๆจึงได้มีกิริยาอาการอันไม่งาม ร่างกายน่ากลัวน่าเกลียด เพราะบุคคลและสัตว์ตัวนั้นประกอบไปด้วยกิเลสทุกข์เป็นผู้มีกายวาจาใจที่ต่ำกว่าเราดังนี้ เราผู้มีจิตอันอบรมมาดีแล้ว มีกาย วาจา ใจ อยู่สูงกว่าเขา เราจึงควรพึงเอ็นดูปรานีให้ความรักเห็นเป็นของงามเสมอกันแล้วแผ่เอาความรักปารถนาดี เอ็นกดูปรานี เห็นเป็นของงามถ้วนหน้ากันไปสู่เขาดังนี้) เพราะต่างก็ประกอบสงเคราะห์ไปด้วยธาตุ ๖ มีธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ วิญญาณธาตุ (มโนวิญญาณธาตุ) ไม่ต่างกับเรา เมื่อทุกสิ่งสักแต่เป็นเพียงขันธ์ เป็นเพียงธาตุ ไม่ต่างกันย่อมเสมอกันมีความงามเสมอเหมือนเท่ากันหมด น้อมจิตแผ่เอาความสุขสงบร่มเย็น ความปารถนาอยากให้เขาได้รับประโยชน์สุขร่มเย็นและสิ่งอันดีงามทั้งหลาย ให้เขาได้พ้นหรือคลายจากบ่วงกรรมแห่งความทุกข์ทรมานไปสู่เขาหรือท่านทั้งหลายเหล่านั้น)
    - ให้แผ่เอาจิตอันร่มเย็นประกอบไปคุณประโยชน์สุขปารถนาดีให้แก่สัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย เทวดา มาร พรหม สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด โลกธาตุใด ภพภูมิใด ได้เป็นสุขถ้วนหน้า จงเป็นผู้ไม่ผูกเวรพยาบาทซึ่งกันและกัน จงเป็นผู้พ้นจากเวรภัยพยาบาทอันตรายใดๆมาเบียดเบียนเขาทั้งหลายเหล่านั้น ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้เป็นสุขไม่มีทุกข์ พ้นจากกิเลสทุกข์ พ้นจากโรคภัย มีแต่ความสุขกายสบายใจอยู่ร่มเย็นเป็นสุขถึงความอุ่นใจ
    - ว่าด้วยสมาธิ : เมื่อน้อมจิตแผ่ไป ยังความแช่มชื่นเป็นสุขร่มเย็นกายและใจ มีจิตตั้งมั่นอันแผ่ไปนั้นแล้วยกจิตขึ้นดังว่าเรานั้นออกมาแลดูอยู่นอกโลก อยู่ในห้วงจักรวาล แลเห็นโลกทั้งใบ แม้จะเข้าไปสอดส่องดูมุมใดของโลกซอกใดของโลก ก็ได้หมดมองเห็นหมด แล้วพึงระลึกเอาบารมีจิตอันเป็นเมตตานั้นแผ่เป็นรังสีไปทั่วสากลโลก แม้จะทิศเบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องซ้าย เบื้องขวา เบื้องเฉียง เบื้องบน เบื้องล่าง แผ่ไปได้ครบหมด เกิดเป็นความจดจ่อของจิตเป็นจุดเดียวในขันธ์ทั้งปวงอยู่ เมื่อจะยังเข้าถึงสัมมาสมาธิ ย่อมมีสัมมาสมาธิ ในรูปฌาณ ๔ เป็นผล

    ๖.๒ แผ่เอาบารมีอันงามมีกรุณาบารมีเป็นต้นที่เรานั้นได้สะสมมาดีแล้ว แผ่ตามไปไกลไม่มีประมาณ ไม่เจาะจง
(กำหนดนิมิตดังเรานั้นลอยไปตามทางอันไม่มีประมาณแห่งบารมีอันมีจิตสงเคราะห์ปารถนาให้ผู้อื่นได้พ้นจากทุกข์ประสบสุขนั้นแก่เขาและท่านทั้งหลายเหล่านั้น แล้วพึงกำหนดนิมิตถอยออกมาจนเหมือนเราอยู่ในจักวาลอันกว้างใหญ่แลมองดูโลกนี้อยู่ น้อมจิตแผ่เอาความสุขสงบร่มเย็น ความปารถนาสงเคราะห์ มีจิตสละให้บารมีอันงามที่เราได้สั่งสมมาดีแล้วนั้นให้เขาเพื่อประโยชน์อันหลุดพ้นหรือคลายจากบ่วงกรรมแห่งความทุกข์ทรมานไปสู่เขาหรือท่านทั้งหลายเหล่านั้น แล้วพึงตรึงจิตมองออกไปที่ว่างอันกว้างไม่มีประมาณแห่งจักรวาลนั้นด้วยเห็นว่าแม้ที่อื่นอีกในอากาศอันกว้างไหลนั้นก็ยังมีผู้ที่เราควรสงเคราะห์อยู่อีก แล้วพึงแผ่จิตสงเคราะห์นั้นออกตามไปในที่โล่งกว้างไม่มีประมาณนั้น)
    - ปารถนาให้บารมีนั้นได้สงเคราะห์ให้สัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย เทวดา มาร พรหม สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด โลกธาตุใด ภพภูมิใด หากเป็นผู้มีสุขแล้วก็ขอให้เป้นสุขยิ่งๆขึ้นไป หากเป็นผู้ที่มีทุกข์มีเวรภัยพายาทอันตราย มีโรคภัยใดๆมาเบียดเบียน มีความร้อนรุ่มไม่สุขสบายกายใจ ก็ขอให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นจงได้รอดพ้นจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งหลายเหล่านั้นที่เขามีอยู่ ให้เขาถึงซึ่งความสุขกายสบายใจ ถึงซึ่งชัยชนะจากความร้อนรุ่มเร่าร้อนอันแผดเผากายใจ อยู่ร่มเย็นสงบสบายเป็นสุขถึงความอุ่นใจ
    - ว่าด้วยสมาธิ : พึงถอยจิตออกมาเพ่งไปที่อากาศ อันกว้าง ของห้วงจักรวาล พึงระลึกเอาว่าแม้ที่อื่นแแห่งห้วงจักรวาลนี้ก็ยังมีผู้เป็นทุกข์อยู่อีกมาก แล้วพึงตั้งจิตแผ่ออกไปสู่สัตว์ทั้งจักรวาล โดยดึงเอาความว่างของอากาศหรือจักรวาลที่กว้างโล่งว่างอันหาประมาณมิได้นั้นเป็นอารมณ์ เมื่อเห็นความสงบเย็นจากสภาพที่ว่างจากรูปอันปราศจากโทษและทุกข์แล้ว ให้พึงพิจารณาดูว่าสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นที่ยังต้องทนทุกข์อยู่นี้ได้ก็เพราะยังยึดเอารูปขันธ์มาเป้นที่ตั้งยึดมั่นถือมั่นเป็นต้น ยังคงเป็นรูปธรรมทั้งหลายอยู่ทำให้ยังความทุกข์ทั้งปวงนั้นเกิดขึ้น เมื่อเราสงเคราะห์แก่เขาแล้วพึงน้อมเอาความไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปขันธ์ใดๆ พึงเพิกถอนเอาความยึดมั่นในธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อันประกอบสงเคราะห์กันเป็นรูปคือกายนี้ให้ยังคงอยู่ในทุกข์ทั้งปวงเหล่านั้นเสีย แล้วน้อมจิตแผ่กรุณาบารมีตามไปยังความว่างดั่งในห้วงจักวาลนั้นมีแต่ความว่างเปล่าเป็นอากาศที่ว่างโล่งกว้างไกลออกไปไม่มีประมาณ ไม่มีตัวตน ไม่เป็นทุกข์ใดๆจากรูปขันธ์ รูปธาตุ รูปธรรมทั้งหลายที่ยึดเหนี่ยวใจให้เป็นทุกข์ พึงแนบอารมณ์ไปอย่างนี้ เมื่อจะยังเข้าถึงซึ่งสมาธิ ก็มีแค่ความว่างอันสงบเย็นบางเบาอยู่ท่ามกลางความโล่งกว้างอย่างไม่มีประมาณนั้นเป็นผล

   ๖.๓ แผ่เอาบารมีอันงามที่ประกอบไปด้วยความเป็นสุขผ่องใสยินดีปราศจากความติดใจข้องแวะไรๆริษยาต่อผู้อื่นที่เรานั้นได้สะสมมาดีแล้ว แผ่ตามไปไกลไม่มีประมาณ ไม่เจาะจง
(กำหนดนิมิตดังเรานั้นอยู่ท่ามกลางจักวาลอันกว้างใหญ่สงบว่างแล้วแลมองดูโลกนี้และหมู่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นอันเสวยความสุขกายสายใจ คงไว้ซึ่งความสุขสมบัติ บุคคลสิ่งของอันเป็นที่รัก ให้มองเห็นซึ่งสุขของเขา เห็นเขาเป็นสุข เห็นสุขอันนั้นที่เขาเป็นอยู่มีอยู่นั้นควรแก่เขาแล้วเป็นสิ่งที่เขาพึงมีพึงได้รับ พึงเห็นความสุขอันที่สิ่งของหรือบุคคลที่เขารักแและหวงแหนนั้นเขาควรมี สิ่งนั้นควรแล้วที่คงอยู่กับเขาไม่เสื่อมไปอันควรพึงมีแก่เขา พึงแลเห็นบารมีอันงามที่เขาพึงควรมี หรือ ที่เขาสะสมมาควรเอื้อประโยชน์สุขให้แก่เขาควรยังคงมีอยู่แก่เขาหรือท่านทั้งหลายเหล่านั้นไม่เสื่อมไป)
    - ยังความสุขแช่มชื่นยินดีแห่งคุณประโยชน์ทั้งปวงให้แก่สัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย เทวดา มาร พรหม สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด โลกธาตุใด ภพภูมิใด ให้เขาได้เป็นสุขอยู่ตราบสิ้นกาลนาน มีโชค ลาภ ธนะสมบัติ ยังคงอยู่ซึ่งทรัพย์สมบัติและสิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหน
    - ว่าด้วยสมาธิ : พึงน้อมพิจารณาเห็นว่าเมื่อสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้นมีคงามคงอยู่ซึ่งสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจหวงแหนเป็นเหตุแล้ว จึงมีความสุขแช่มชื่นจิตอยู่ได้ ความสุขจากความเข้ายึดแม้ในสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ยังความเที่ยงแท้อยู่ไม่ได้ ความสุขแช่มชื่นร่มเย็นนั้นอยู่ที่จิตมีอยู่ในจิตเท่านั้น แล้วยกจิตเพิกถอนออกจากความว่างของอากาศนั้นนั้นไปจับเอาดวงจิตดั่งแก้วอันสว่างไสวแช่มชื่นเป็นสุขอันเป็นตัวรู้ที่มีสภาพเพียงแค่แลดูอยู่ในสภาวะเหล่านั้นซึ่งอยู่ท่ามกลางอากาศอันไม่มีประมาณนั้นเป็นอารมณ์ ให้พึงตั้งจิตยึดเอาตัวรู้ที่มีสภาวะแลดูทุกอย่างอยู่นั้นอารมณ์ พึงแนบอารมณ์ไปอย่างนี้ เมื่อจะยังเข้าถึงสมาธิก็จะมีเพียงแต่สภาพที่รู้อันอยู่ในสภาวะแลดูอันมีความว่างสงบเย็นอยู่เท่านั้นเป็นผล

   ๖.๔ แผ่เอาบารมีอันงามที่ประกอบไปด้วยความมีใจวางไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเขาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีในสิ่งใดๆมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต มีความวางเฉยว่างอยู่ต่อสิ่งทั้งปวงที่เรานั้นได้สะสมมาดีแล้ว ด้วยพึงเห็นว่าสัตว์ทั้งปวงนั้นมีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผลติดตามและอาศัยไม่มีใครจะล่วงพ้นมันไปได้ ผลจากความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีของตนย่อมหาความสุขอันใดไม่ได้เลยนอกจากทุกข์ พึงเพิกถอนความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีเหล่านั้นทิ้งไปเสีย มีใจวางไว้กลางๆไม่เอาฉันทะและปฏิฆะมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ มีความว่างนิ่งเฉย แผ่ตามไปไกลไม่มีประมาณ ไม่เจาะจง ปารถนาให้บารมีนั้นได้สงเคราะห์ให้สัตว์ทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลาย เทวดา มาร พรหม สัมภเวสี อมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใด โลกธาตุใด ภพภูมิใด พึงดำรงอยู่ด้วยความมีใจวางไว้กลาง ไม่ยึดมั่นปารถนาในสิ่งใดๆให้เป็นทุกข์
    - ว่าด้วยสมาธิ : เมื่อเพิกถอนความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีออกเสีย จิตย่อมไม่เข้าไปตั้งความปารถนาและไม่ปารถนาไรๆต่อสิ่งทั้งปวง ด้วยเหตุดังนี้แล้วเราย่อมเห็นว่าทั้งรูปธรรมนามธรรมทั้งปวงเหล่านี้(รูป จิต เจตสิก)เป็นตัวทุกข์ เราพึงดึงจิตเพิกถอนออกจากการยึดมั่นทั้งกายและใจภายนอกและภายในของเราเหล่านี้ทิ้งไปเสีย พึงเพิกเฉยต่อกายและใจไม่เข้าไปยึดเอากายและใจมาเป็นอารมณ์ที่ตั้ง ถอนจิตออกมาไม่เข้าไปยึดมั่นแนบอารมณ์ร่วมแม้สภาพอันเป็นที่โล่งว่างหาประมาณมิได้และทั้งตัวรู้สภาวะใดๆทั้งสิ้น มีแต่ความวางเฉย นิ่งว่าง สงบเย็นอยู่ ไม่ไปยึดจับเอาสิ่งใดๆทั้งสิ้นมาเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ เมื่อจะยังเข้าถึงสมาธิก็จะมีเพียงแต่สภาพที่มีความแน่นิ่งว่างสงบแน่นิ่งอยู่เท่านั้น ไม่รับรู้ยึดจับเอาสิ่งใดๆทั้งปวง แม้จะมีสภาวะที่รู้ก็เหมือนไม่รู้เป็นผล

**ขอย้ำอีกครั้งนะครับ สภาพที่ผมรู้และเข้าถึคงมีแค่นี้ก็พูดได้แค่นี้ ท่านจะยึดว่าเป็นของจริงไม่ได้เลย แต่พึงเห็นเป็นเพียงอุบายการเจริญปฏิบัติเพื่อสะสมบารมีแห่ง "พรหมวิหาร๔ กรรมฐาน" ให้มันเต็ม เป็นเพียงแนวทางอุบายการดึงจิตให้เข้าถึงซึ่งเจโตวิมุตตินี้เท่านั้น**

ในขณะที่ผมเจริญอยู่อย่างนี้ แล้วถอยมาหวนระลึกถึงในสภาวะเมตตาอันแผ่ไปไม่มีประมาณนั้น มันก็มีความระลึกอย่างหนึ่งว่า ขอพระคาถาอันเป็นเมตตาที่พระเสริฐอย่างยิ่ง เหมือนที่ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านได้ ไม่รู้ท่านได้มาจากไหน จากได้จากสมาธิก็ขอพระคาถาอันเป็นเมตตาแก่ตนเอง แคล้วตลาส สงบสลัดพ้นจากบ่วงทุกข์ กาม ราคะ(โลภะ) โทสะ โมหะ โดยยังคงอยู่ซึ่ง พุทธานุสติ เป็นกำลัง พลันขณะระลึกจบได้พอประมาณก็เหมือนมีคำพูดและคำบาลีแวบเข้ามาในหัวผมนี้ ซึ่งผมก็พอจะจดจำได้แต่ไม่เข้าใจความหมายของมัน ผมก็คิดว่าเพราะเราเจริญใน กรณียะเมตตสูตรมากไปป่าว หรือ ตรึกนึกคิดเอามาเอง ทั้งๆที่ไม่รู้บาลี เดี๋ยวจะทำให้คำสอนคลาดเคลื่อนแล้วเกิดความวิบัติได้ แต่ทว่าทุกครั้งที่ผมระลึกเจริญคาถานี้จิตใจมันจะเบาสบายไม่ร้อนรุ่ม เวลาอยากกินเหกล้า อยากมีเพศสัมพันธ์ แต่พยายามถือศีลอยู่ มีทมะ และ ขันติ เป็นเบื้องต้นบ้าง หรือบางครั้งก็ไม่สามารถเจริญได้เลย ผมจะระลึกบริกรรมคาถานี้พร้อมระลึกถึงคุณแห่งเมตตายรมีของพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ ผมก็จะหายอยากทันทีแล้วเข้าสู่สภาวะที่เป็นกุศลจิต พรหมวิหาร๔ ศีล ทาน อยู่ทันที
**ขอให้ผู้อ่านแยกแยะด้วยว่าควรจะนำไปใช้ไหม เพราะอาจเป็นเพียงการอุปโลกอนุมานเอาของผมเอง อาจจะเป็นเพราะว่าผมเคยตรึกนึกคิดแล้วมันแวบเข้ามาในสมองแล้วต่อเรื่องราวเอาเป็นคาถาก็ได้ เหมือนสายพระป่าท่านว่า จิตของเรามันคุยกันเองอยู่ ไม่ใช่ของจริง ไม่ใช่หูทิพย์ คาถานั้นมีดังนี้นะครับ


พุทธะ เมตตัญจะ
ธัมมะ เมตตัญจะ
สังฆะ เมตตัญจะ
อุณ์หัสสะ วิชะโย



** อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจเป็นแนวทางที่ผิดไม่ถูกต้องตามจริง อาจจะหลงไปหรือผมปฏิบัติแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะในเจโตวิมุติโดยความเข้าถึงประกอบกับสัญญาปรุงแต่งใดๆ ผู้รู้และผู้เยี่ยมชมต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิด อย่าเชื่อตามเพราะผมแค่ปุถุชน**
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 12:02:42 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2014, 04:46:10 pm »
0

อุบายการทรงอารมณ์ให้ได้สมาธิไวๆ ขั้นต่ำได้อุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

ตามที่ผู้ที่ได้เดินตามทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ย่อมได้เห็นเหมือนพระพุทธเจ้า ได้เห็นเหมือนกันดังนี้คือ
- ความมีจิตแช่มชื่น แจ่มใส เบิกบาน ย่อมนำความอิ่มเอมใจมาให้ / ความอิ่มเอมใจ ย่อมนำความสุขมาให้ / ความสุขย่อมนำสมาธิมาให้


- ดังนั้นแล้ว การที่เราจะเข้าสู่สมาธิได้ง่ายจิตใจเราย่อมเป็นสุขก่อน มันจะถึงสมาธิปุ๊บเลย ลองสังเกตุดูผู้ที่มีความสุขครบพร้อมทุกอย่าง เขาไม่มีห่วงไม่มีอะไรให้คิดมาก เวลาเขาทำสมาธิจะไปได้ไวมาก ส่วนคนที่คิดมากฟุ้งซ่านหรือเป็นทุกข์มักจะเข้าสมาธิลำบากจนกว่าจะละในความตรึกนึกคิดนั้นได้ หรือ เห็นสัจธรรมตามจริงแล้วยอมรับมันได้ เมื่อกุศลจิตเกิดขึ้นไม่ขาดก็เป็นเหตุให้ได้รับความแช่มชื่นมีปิติอิ่มเอมตื้นตันใจเป็นสุขสงบจึงเข้าสมาธิได้
- ครูอุปัชฌาย์ผม พระครูสุจินต์ธรรมวิมล(ครูอุปัชฌาย์ท่านที่สองที่บวชให้แก่ผม) ก่อนท่านจะให้ทำสมาธิท่านจะให้ พระ,เณร ระลึกถึงเรื่องที่ทำให้เรามีความสุขอันไม่อิงราคะ ก่อนจะกรรมฐานทุกครั้ง ซึ่งสมัยนั้นตอนที่ผมบวชอยู่ ผมก็ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไร ครูบาอาจารย์สอนให้ทำอะไรก็ทำตามไม่มีติดขัดสงสัย นั่นเป็นครั้งแรกที่ผมรู้สึกได้ถึงอุปจาระสมาธิไปจนถึงอัปปนาสมาธิโดยไม่ใช่มิจฉาสมาธิเป็นครั้งแรกในชีวิต  เหมือนแลเห็นตัวเองอีกคนอยู่ตรงหน้าเหมื่อนส่งกระจกดูตัวเองอยู่ ไม่รับรู้สภาวะภายนอก มีความนิ่งว่าง สงบ สุขอยู่อย่างนั้น แม้ครูอุปัชฌาย์ท่านบอกให้หยุดแล้วไปฉันท์ข้าวตอน 9.00 น. ก็ยังไม่รับรู้จนเณรนั้นมาจับเข่ยาเรียกที่ตัวผมถึงจะรู้สึกตัว แต่ตอนนั้นผมไม่รู้หรอกว่าเขาเรียกว่าอะไรรู้แค่ทำตามครูอุปัชฌาย์สอนเท่านั้น (ที่วัดจะฉันท์ข้าวมื้อเดียว แล้วก็กรรมฐานเช้าเย็น พอถึงช่วงเข้าพรรษาจะเข้ากรรมโดยไม่ฉันท์เข้า 3 วันบ้าง 5 วันบ้าง 7 วันบ้าง 9 วันบ้าง พอออกพรรษาก็จะเข้าปริวาสกรรม มีทั้งพระวัดอื่นมาร่วมสังฆกรรมด้วย)

- ที่ผมกล่าวว่าที่ผมรับรู้ในตอนนั้นเป็นสัมมาสมาธินั้น เนื่องจากสมัยผมอายุ 14-16 ปี ผมชอบผู้หญิงที่เรียนห้องเดียวกันจนเมื่อจบ ม.3 ก็ไม่ได้เรียนด้วยกันแต่อยากเห็นหน้าเขา ผมก็อาศัยทำสมาธิโดยนอนหงายเอาผ้าห่มหนาๆสมัยก่อนคลุมปิดทั้งตัวตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงหัวแรกๆจะหายใจลำบากหน่อย แล้วก็ตั้งมือพนมไว้เหนือสะดือเล็กน้อยแล้วเพ่งจิตไปทั่ระหว่างมือทั้งสองข้างสักระยะเมื่อจิตจดจ่อสักหน่อย ผมก็จะอาศัยดูเมื่อขยับมือที่พนมอยู่นั้นออกห่างกันแล้วก็ดันเข้ามาหากันใหม่จะรู้สึกมีแรงดันกั้นระหว่างมือนั้นแล้วผมก็ระลึกว่าแรงดันที่กั้นระหว่างฝ่ามือทั้งสองข้างนั้นคือลูกพลังหรือแรงอัดอากาศเหมือนดั่งลูกโป่งฟองน้ำที่เราเป่าเล่นตอนเด็กๆเป็นพลังจิตที่มีกำลัง พอมีแรงอัดได้ที่แล้วผมจะละจิตที่มือ แล้วพึงเพ่งมองๆไปที่หว่างคิ้ว แลดูในความมือนั้นแล้วเพ่งอยู่ที่จุดแสงเล็กจนมันรวมตัวกันใหญ่ขึ้นเมื่อไม่รับรู้เสียงจากภายนอกแล้ว ผมก็จะพึงดึงจิตขึ้นแยกออกจากร่างเหมือนถอดจิต ก็จะเริ่มมองเห็นชัดที่เพดานห้องนอน เมื่อเห็นนิ่งดีแล้วก็จะระลึกไปที่บ้านของคนที่ผมชอบ หรือ ไปที่โรงเรียน มันก็จะมีความรู้สึกวูบเป็นเงาเหมือนตัวเราออกจากร่างไปที่ๆเราต้องการ ภาพแนกๆจะเห็นไม่ชัดเป็นเหมือนภาพขาวดำ จนจดจ่อมองนิ่งดีแล้วจะเห็นเป็นภาพปกติ ผมทำอย่างนี้อยู่บ่อยประจำๆ ลองไปดูที่เพื่อนผมแล้วถามเพื่อนว่าที่ผมเห็นมันจริงไหม เขาบอกว่าถูกหมดตามที่ผมพูดมา ผมก็ยิ่งติดใจทำอยู่เรื่อยๆ จนอายุ 17 ปีก็บวชเณรสายพระป่าซึ่งครูอุปัชฌาย์ผมท่านก็สอนให้เพียงดำรงศีลให้เป็นกุศล แล้วก็ พุทโธ เท่านั้น จึงมารู้ภายหลังว่า นี่คือมิจฉาสมาธิเป็นไปเพื่ออกุศลธรรมอันลามกจัญไรจึงได้เลิกทำ ที่ผมเล่าให้ฟังนี้เพื่อเป็นตัวอย่างว่าการเจริญสมาธิแบบนี้ไม่ใช่ทางที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน เป็น มิจฉาสติ ระลึกผิด มิจฉาสมาธิ ตั้งมั่นผิด ไม่ควรเจริญระลึกถึง แม้มันจะทำให้เราเป็นสุขก็ตามที แต่ไม่เป็นไปเพื่อสัมมาสมาธิ

- ด้วยเหตุตามที่ผมท้าวความอธิบายในข้างต้นเราจะเห็นว่าไม่ว่าจะระลึกนึกคิดอะไรมันก็เป็นสมาธิหมด แต่ในสมาธินั้นเป็นไปเพื่อความชอบหรือหลุดพ้นจากกองทุกข์หรือไม่ เหมือนพวกเล่นอวิชชาหรือไสยเวทย์เขาก็มีฌาณและญาณของเขาแต่เป็นแบบมิจฉาเพราะอิงไปด้วย โลภะ กาม ราคะ โทสะ โมหะ


ทีนี้มาเข้าเรื่องการทรงอารมณ์กันเลยนะครับ

๑. เมื่อจะทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิได้ง่าย เราก็ต้องมีกุศลจิตเป็นที่ตั้ง ต้องสร้างจิตให้เป็นกุศลก่อน เพราะกุศลจิตจะทำให้จิตใจ แจ่มใส เบิกบาน สงบสุขสบายเย็นเบากายใจ ด้วยธรรมแห่งกุศลอันไม่อิงกิเลสราคะนั้น ทีนี้เราจะระลึกยังไง ซึ่งเรื่องพระพุทธเจ้าก็มีบอกใน อนุสสติ ๖ อยู่แล้ว หากผู้ใดมีศรัทธาน้อยย่อมระลึกถึงพระรัตนตรัยได้ยากซึ่งก็มีอยู่มากหลายคน ดังนั้นเราก็ระลึกเอา ศีล ทาน พรหมวิหาร๔ อันที่เราได้เจริญปฏิบัติมาดีแล้วเป็นอารมณ์แห่งจิต เช่น
- เราได้มีศีลข้อใดๆอันบริบูรณ์ดีแล้วก็ระลึกถึงว่าเราได้กระทำศีลข้อนี้มาดีแล้ว มีความงดงามไม่ติดใจข้องแวะไรๆแล้ว คือ ทำแล้วไม่ติดข้องแวะใจไรๆจากการกระทำนั้น ทำไปแล้วมีความสงเคราะห์ต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอันมากสร้างความสุขให้คนรอบข้างเมื่อระลึกถึงแล้วให้ประโยชน์สุขแก่เราเป็นอันมาก
- เราได้เจริญในทานอันนี้แล้ว หรือ ได้เจริญทานเป็นประจำแล้ว ซึ่งทานทีเราสละให้เขาแล้ว ไม่หวังสิ่งใดจากผู้รับคืน ให้แล้วไม่มาติดใจข้องแวะเสียใจเสียดายในภายหลัง ให้ด้วยหวังอยากให้เขาได้ใช้ประโยชน์สุขจากการให้นั้นของเรา
- ระลึกถึง เมตตา มีจิตปารถนาดีเอ็นดูปรานีต่อผู้อื่น กรุณา มีจิตสงเคราะห์ให้ผู้อื่น มุทิตา มีจิตยินดีเป็นสุขไปกับเขาไม่มีความริษยาใดๆ อุเบกขา มีจิตวางใจเอาไว้กลางๆ วางเฉยไม่จับเอาความชอบและไม่ชอบมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต อันที่เราได้ทำมาดีแล้วงามแล้ว

๒. หากยังไม่มีความแช่มชื่นใจเท่าที่ควรมีความรู้สึกขัดๆหน่วงๆใจด้วยความเศร้าหมองอยู่ ก็ให้นำเอาความระลึกถึงใน ศีล ทาน พรหมวิหาร๔ นั้นมาหวนระลึกสงเคราะห์ให้เข้ากับชีวิตเราบ้างสักนิด โดยให้หวนระลึกถึงข้อศีลและทานใดๆที่เราได้ทำมาดีแล้วเป็นผลให้คนในครอบครัวมี พ่อ แม่ บุพการี พี่ น้อง ลูก เมีย ญาติสนิท มิตรสหายเป็นต้น หรือ บุคคลอื่น เช่น บุคคลรอบข้าง คนอื่นๆ สัตว์อื่น ได้รับความสุขกายสบายใจจากการเจริญปฏิบัติใน ข้อศีล ทาน พรหมวิหาร๔ นั้นๆของเรา คือ

    ๒.๑ ที่เราเจริญปฏิบัติในศีลนั้นเพื่อสิ่งใด มีประโยชน์อย่างไร เช่น ย่อมยังความเป็นกุศลกรรมของเราให้งดงาม ดังนี้

ศีลข้อที่ ๑. เป็นไปเพื่อความไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่นและคนที่เรารัก เช่น พ่อ แม่ บุพการี พี่ น้อง ลูก เมีย ญาติสนิท มิตรสหาย บุคคลที่รู้จักและไม่รู้จัก สัตว์โลกทั้งหลายเป็นต้น ซึ่งรวมไปถึงตัวเราเองด้วย (อาศัยเมตตาจิตทำให้ศีลข้อนี้เกิดขึ้น ส่งต่อไปถึง กรุณาจิต และ มุตาจิตให้มีจิตน้อมนำให้กระทำ)
- ทำให้บุคคลในครอบครัวเมื่ออยู่ใกล้เราแล้วก็เป็นสุขไม่มีทุกข์เพราะไม่ต้องหวาดกลัวหรือหวานดระแวงว่าเราจะทำร้ายพรากชีวิตเขา เราเองก็เป็นสุขไม่มีทุกข์ ไม่เป็นบุคคลดุร้ายน่ากลัวทำร้ายผู้อื่นตามความพอใจยินดีของตนด้วยเห็นคุณของชีวิตสุขของผู้อื่นบ้างเป็นต้นต่อคนในครอบครัวเราเองและผู้อื่น
ศีลข้อที่ ๒. และ ศีลข้อที่ ๓. เป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือและไว้ใจได้ เป็นผู้รู้จักพอไม่ละโมบโลภมากอยากได้ของผู้อื่น ไม่คิดร้ายมีความซื่อสัตว์ต่อบุคคลในครอบครัวของตนและผู้อื่น ไม่เผาทำลายครอบครัวตนเองและผู้อื่นด้วยไฟคือโลภะ,ไฟคือกาม,ไฟคือราคะ ไม่เป็นผู้ที่พรากเอาสิ่งของหรือบุคคลอันเป็นที่รักของผู้อื่นหรือพรากเอาความสุขของบุคคลในครอบครัวของตนและผู้อื่นไป (อาศัยเมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิตทำให้ศีลข้อนี้เกิดขึ้น)
- คนในครอบครัวเมื่อได้อยู่ใกล้เราก็ย่อมเป็นสุขมีความรักใคร่กลมเกลียวเชื่อมั่นในเราได้ แม้ผู้อื่นก็อุ่นใจไว้เนื้อเชื่อใจเมื่ออยู่กับเรา
ศีลข้อที่ ๔. เป็นผู้มีวาจาไพเราะน่าฟัง ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่พูดคำไม่จริง ไม่กล่าววาทะด้วยโลภะ,โทสะ,โมหะ มีวาจาที่เชื่อถือตรวจสอบได้ ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ ไม่พูดพร่ำเพ้อส่อเสียด ไม่พูดยุยงให้เขาแตกกัน พูดแต่วาจาอันประกอบไปด้วยคุณประโยชน์ต่อครอบครัวและผู้อื่น
- ทำให้คนในครอบครัวเราก็มีความสุขเมื่อได้สนทนาพูดคุยกับเรา มีความรักใคร่กลมเกลียวไม่แตกแยกด้วยสัมมาวาจา คนอื่นก็รู้สึกดีกับวาจาอันงามนั้นเมื่อได้ยิน (อาศัยเมตตาจิต กรุณาจิต และ มุทิตาจิตเกิดขึ้น)
ศีลข้อที่ ๕. มีสติสมบูรณ์ไม่สิ้นเปลืองทั้งเงินทั้งกายทั้งใจให้มัวหมอง ไม่มีพิษภัยดุร้ายอารมณ์ร้อนกระทำโดยขาดสติ ไม่สร้างความเดือนร้อนทำร้ายคนในครอบครัวและผู้อื่น (อาศัยเมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต อุเบกขาจิตเกิดขึ้น)
- เป็นเหตุให้คนในครอบครัวมีความสุขที่เราไม่ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายมีเงินเกื้อหนุนครอบครัวอย่างพอเพียงและไม่เป็นคนอารมณ์ร้อนทำอะไรตามใจหรืออารมณ์ความรู้สึกใน รัก โลภ โกรธ หลง โดยขาดสติความยั้งคิดถึงสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์เป็นเหตุให้ศีลธรรมข้ออื่นทั้ง ๔ ข้อข้างต้นต้องขาดและมัวหมองไปด้วย ทำให้ครอบครัวอยู่ด้วยแล้วเป็นสุขร่มเย็นไม่ต้องคอยหวาดระแวงว่าเราจะกระทำการใดๆที่ผิดพลาดหรือพลาดพลั้งให้คนในครอบครัวต้องลำบาก คนอื่นอยู่ด้วยก็ไม่ต้องกลัวและหวาดระแวงในตัวเรา

    ๒.๒ ที่เราเจริญปฏิบัติในทานนั้นเพื่อสิ่งใด มีประโยชน์อย่างไร เช่น เราเป็นผู้ละแล้วซึ่งความละโมบโลภมาก ไม่เป็นผู้ตระหนี่ถี่เหนียว เป็นผู้รู้จักให้มากกว่าที่จะได้รับ เมื่อเรามีทานอันหวังให้ผู้รับเป็นสุขจากการให้นั้นของเรา ให้แล้วไม่มาอยากได้คืน ให้แล้วไม่มาเสียใจเสียดายในภายหลัง ให้โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนจากผุ้รับเป็นประจำทั้งภายในบ้าน(พ่อ แม่ บุพการี ลูกเมีย ญาติสนิท มิตรสหาย)และภายนอกบ้าน(มีพระรัตนตรัยที่อยู่ในทิศเบื้องบนเหนือเศียรเกล้าเราเป็นหลัก จนไปถึงผู้อื่นและสัตว์อื่น) จิตใจเราย่อมไม่มีความติดใจข้องแวะขัดเคืองใจในสิ่งใดๆมีแต่ความสุขกายสบายใจ (อาศัยเมตตาจิต กรุณาจิต จึงจะเกิดทานขึ้นได้ แต่หากให้ไปโดยผ่านๆหรือให้เพราะอยากได้สิ่งใดๆตอบแทนคืนก็แสดงว่าการให้นั้นอาศัยเพียงกรุณาจิตโดยส่วนเดียวไม่มีอานิสงส์มากซ้ำยังสร้างกิเลสอันมัวหมองให้ตนด้วย และ หลังจากให้แล้วหากให้ด้วย "เมตตาทาน" ก็จะมีมุทิตาจิตเกิดขึ้น แต่หากให้เพราะกรุณาจิตอันเกิดแต่อกุศลธรรมอันลามกจัญไรจะไม่มีมุทิตาจิตเกิดตามเลย ทำให้ทานไม่บริบูรณ์)
- คนในครอบครัวเราไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ บุพการี พี่ น้อง ลูก เมีย ญาติทั้งหลายก็เป็นสุขสงบร่มเย็นจากทานอันดีที่เรานั้นได้สงเคราะห์ อนุเคราะห์ แบ่งปันความสุขอันงามให้ท่านเหล่านั้น
- ด้วยการที่เรานั้นเป็นผู้มีให้ ให้ด้วยความรักใคร่เอ็นดูเอื้อเฟื้อแก่คนในครอบครัวไม่ขาด ย่อมทำให้คนในครอบครัวที่ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลเราก็ตามย่อมเป็นสุขยินดี เพราะเรานั้นเป็นผู้ให้มากกว่ารับ ไม่เห็นแก่ตัวหรือประโยชน์ส่วนตน ไม่ตะหนี่ถี่เหนียวโลภมากรู้จักแบ่งปันให้ต่อคนในครอบครัว
- หากเมื่อเรานั้นได้สละทิ้งเอาความสุขไรๆของเราก็ตามอันเกิดแต่ความพอใจเพลิดเพลินยินดีของเรา หรือ สละให้ความสุขไรๆที่เราได้สมดั่งใจใคร่ได้ปารถนายินดีให้แก่คนในครอบครัว ยอมสลัดทิ้งเสียซึ่งความสุขพอใจยินดีของเราเพื่อให้คนในครอบครัวหรือบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งของเรานั้นได้รับความสุขสงบร่มเย็นดีงามเบิกบานแช่มชื่นกายใจแก่เขาแทน บุคคลในครอบครัวเราหรือบุคคลอันเป็นที่รักยิ่งของเรานั้นย่อมมีความสุขจากการสละให้นั้นของเรา ถึงแม้จะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลจากเราเขาก็จะเป็นสุขไม่เคลือบแคลงขุ่นขัดเคืองใจต่อเรา เราเองก็ไม่มีความขุ่นมัวขัดเคืองใจต่อเขา กลับทำให้เรานั้นมีแต่ความเป็นสุขรื่นรมย์ยินดีไปกับเขาโดยปราศจากความติดใจข้องแวะใจ เศร้าโศรกเสียใจ หรือ เศร้าหมองใจใดๆ เป็นเหตุให้เขาก็เป็นสุขเราก็เป็นสุขจากผลแห่งการสละใหเ้นั้นของเรา
- แม้บุคคลอื่นภายนอกก็เป็นสุขจากทานอันเราปารถนาให้เขาได้เป็นสุข โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนจากการสละะให้นั้นของเรา

    ๒.๓ ที่เราเจริญในพรหมวิหาร๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มีประโยชน์อย่างไร เช่น ยังความบริบูรณ์แห่งกุศลจิตแก่เราและคนรอบข้างดังนี้

๒.๓.๑ ได้รู้จักความรักและเป็นผู้ที่มีความรักอันเกิดแต่ความปารถนาดี เป็นผู้ที่ละแล้วซึ่งโทสะทั้งปวง มีความจิตที่คิดเอื้อแก่คุณประโยชน์สุขอันดีงามไม่มีโทษภัยต่อตนเองและผู้อื่น
- ครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รักของเราแม้ผู้อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ย่อมรู้สึกอบอุ่นเป็นสุขกายสบายใจต่อเรา ไม่อยู่กับเราด้วยความหวาดกลัว เพราะได้รับความรักความเอ็นดูปารถนาดีมีประโยชน์สุขไม่มีทุกข์และโทษภัยไรๆจากเรา ทำให้ครอบครัวมองเราว่าเป็นผู้ไม่มีจิตใจคับแคบมีใจกว้างจิตใจดี เป็นผู้รู้จักอดโทษเว้นโทษไว้ไม่ถือโทษไม่ผูกเวรพยาบาท ละแล้วซึ่งโทสะด้วยใจหวังให้ท่านเหล่านั้นได้เป็นสุข
- แม้ผู้อื่นหรือศัตรูภัยพาลก็รู้สึกได้ถึงความมีน้ำใจปารถนาดีเอื้อในคุณประโยชน์สุขไร้ซึ่งทุกข์และโทษภัยใดๆของเรา ทำให้เขาก็เป็นสุขเมื่ออยู่ใกล้เรา และ อยากเป็นมิตรที่ดีกับเรา
ก. ด้วยประการฉะนี้แล้ว..แม้ศีลหรือทานอันใดเราก็มีใจพร้อมที่จะน้อมนำมาสู่ตน ด้วยใจรักใคร่เอ็นดูปรานี อยากให้เขาได้มีความสุขพบสิ่งดีงามทั้งกายและใจ จากความปารถนาดีที่เรานั้นมีต่อคนในครอบครัวและผู้อื่น ด้วยจิตที่ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์สุขและสิ่งดีงามไม่มีทุกข์ไม่มีโทษภัยให้แก่ครอบครัว บุคคลอันเป็นที่รัก หรือ ผู้อื่น..ดังนี้
๒.๓.๒ ได้รู้จักเป็นผู้ให้ไม่มีจิตคิดหวงแหนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ได้เป็นผู้มีจิตและการกระทำทาง กาย-วาจา-ใจ ที่มีความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อ สละแป่งปันให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์สุขมีแต่คุณไม่มีโทษภัยและถึงความพ้นจากทุกข์ เป็นผู้ที่สละแล้วซึ่งโลภะทั้งหลาย(มีกามและราคะทั้งปวงเป็นต้น)
- ครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รักของเราแม้ผู้อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ย่อมรู้สึกอบอุ่นเป็นสุขกายสบายใจต่อเรา เพราะได้รับความมีจิตที่จะสงเคราะห์เอื้อเฟื้อแบ่งปันสิ่งใดๆที่มีคุณประโยชน์สุขอันดีงามไร้ซึ่งทุกข์และโทษภัยจากเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาควรพึงมี,พึงได้รับ,ควรได้อยู่,ควรได้เป็น
- สละให้ซึ่งสิ่งอันมีคุณดีงามมีประโยชน์ทำให้คนในครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รักของเรานั้นได้เป็นสุขพ้นจากทุกข์ด้วยการกระทำอันเป็นไปเพื่อความสงเคราะห์เอื้อเฟื้อที่เรียกว่า "ทาน" คือ การสละให้ในสิ่งไรๆอันมีคุณประโยชน์ดีงามอันเป็นไปเพื่อความพ้นจากทุกข์ประสบสุขไม่มีโทษภัยให้แก่ครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รักของเรา โดยไม่หวังสิ่งไรๆตอบแทนจากท่านเหล่านนั้นคืน มีจิตหวังเพียงแค่สิ่งที่เราให้นั้นจะช่วยให้ท่านเหล่านั้นได้เป็นสุขพ้นจากทุกข์ได้บ้างไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตามแต่ซึ่งเราก็ได้ทำด้วยเจตนาอันนั้น(อาศัยกรุณาจิตทานจึงเกิดขึ้น)
- แม้ผู้อื่นหรือศัตรูภัยพาลก็รู้สึกได้ถึงความมีจิตสงเคราะห์ของเรา ด้วยเห็นคุณว่าเราปารถนาที่จะสงเคราะห์เอื้อเฟื้อ แบ่งปันสละให้ในสิ่งใดๆเพื่อความเป็นประโยชน์สุขรอดพ้นจากทุกข์ มีคุณประโยชน์ไม่มีโทษให้แก่เขา โดยปราศจากความติดข้องใจไรๆ เขาย่อมเป็นสุขกายและใจ มีจิตลดละในอกุศลวิตกใดๆที่มีต่อเราลง และ น้อมนำกุศลวิตกใดๆให้มีแก่เราเป็นอันมาก มีจิตหมายจะเป็นมิตรที่ดีต่อเราจนเกิดการกระทำอันเป็นไปในสิ่งนั้น
ข. ด้วยประการฉะนี้แล้ว..แม้ศีลหรือทานอันใดเราก็มีกาย-วาจา-ใจพร้อมทำ ด้วยใจสงเคราะห์เอื้อเฟื้ออยากให้เขาได้พ้นจากทุกข์ทั้งกายและใจ จากความปารถนาดีที่เรานั้นมีต่อคนในครอบครัวและผู้อื่น เพราะเป็นสิ่งที่ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์สุขและสิ่งดีงามไม่เป็นโทษภัยให้แก่เขาและท่านทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้
๒.๓.๓ ได้รู้จักความเป็นสุขยินดีไปกับผู้อื่นโดยปราศจากความริษยา เป็นผู้ละแล้วซึ่งโลภะและโทสะ ความติดใจข้องแวะใดๆทั้งปวง
- ครอบครัวของเราแม้ผู้อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ย่อมรู้สึกอบอุ่นเป็นสุขกายสบายใจต่อเรา เพราะได้รับความเอ็นดูรักใคร่มีจิตปลื้มปิติสุขยินดีไปกับเขาโดยปราศจากความริษยาขุ่นเคืองใจไรๆของเรา เมื่อเขาได้รับสุขพ้นจากทุกข์หรือคงไว้ซึ่งสมบัติและบุคคลอันเป็นที่รักที่มีค่าของเขา หรือ มีความสุขยินดีไปกับเขาที่เขาได้ทำในสิ่งที่ดีงามเป็นกุศลและได้รับผลอันดีจากกุศลกรรมที่เขานั้นทำ
- แม้ผู้อื่นหรือศัตรูภัยพาลก็รู้สึกได้ถึงความมีจิตยินดีเอื้อเฟื้ออันปราศจากความริษยาขุ่นเคืองใจต่อเขา เขาย่อมเป็นสุขกายและใจ มีจิตยินดีในความเป็นมิตรต่อเรา และ น้อมนำกุศลวิตกใดๆให้มีแก่เราเป็นอันมาก
ค. ด้วยประการฉะนี้แล้ว..แม้ศีลหรือทานในกุศลอันใดที่เราได้เจริญปฏิบัติด้วยกาย-วาจา-ใจมาแล้ว เราย่อมเห็นชอบและมีความยินดีที่จะดำเนินเจริญปฏิบัติต่อไป เกิดมีความเพียรอันงามนั้นเจริญอยู่ด้วยความเป็นไปเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์สุขอันดีงามไม่มีโทษและเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์แก่ผู้อื่น มีการกระทำทางกาย-วาจา-ใจที่เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ยินดีให้ผู้อื่นได้คงไว้ซึ่งทรัพย์สมบัติสิ่งของมีค่าและบุคคลอันเป็นที่รักที่หวงแหนของเขา หรือ มีการกระทำทางกาย-วาจา-ใจที่เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ยินดีให้ผู้อื่นได้ทำในสิ่งที่ดีงามเป็นกุศลและได้รับผลอันดีจากกุศลกรรมที่เขานั้นทำ ด้วยจิตที่มีความสุขยินดีไปกับเขาสลัดทิ้งจากความริษยาทั้งปวง เพราะเป็นสิ่งที่ประกอบไปด้วยคุณประโยชน์สุขและสิ่งดีงามไม่เป็นโทษภัยให้แก่เขาและท่านทั้งหลายเหล่านั้นโดยไม่แยกแยะมิตรหรือศัตรู รวมทั้งตัวเราด้วย ดังนี้
๒.๓.๔ ได้รู้จักความวางใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยต่อความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ทุกข์ร้อนไม่เดือดร้อนกายใจ มีแต่ความสงบร่มเย็นเบากายสบายใจเพราะไม่ติดข้องใจในสิ่งใดๆทั้งสิ้น เป็นผู้มีจิตใจหนักแน่นเป็นกลางไม่เอนเอียงต่อสิ่งใดบุคคลใด มีความไม่ยินดียินร้ายต่อผู้ใด สัตว์ใด มีจิตที่ไม่ติดข้องใจไรๆจากการกระทำทางกาย วาจา ใจใดๆของผู้ใดสัตว์ใดด้วยเพราะเราได้เจริญปฏิบัติใน เมตตา กรุณา มุทิตา ต่อบุคคลนั้นๆสัตว์นั้นๆมาดีเต็มที่ตามสติกำลังของเราแล้ว พึงมีจิตเห็นในศรัทธาตามจริงว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ไม่มีใครจะล่วงพ้นจากผลแห่งการกระทำของตนทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะต้องเป็นทายาท คือว่าจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป ผลการเกิดจากการนี้จิตของเราย่อมยังให้ถึงกุศลอันสงบรำงับจากกิเลสได้ง่าย จนเข้าถึงสัมมาสมาธิได้ง่าย
- ครอบครัวของเราแม้ผู้อยู่ใกล้หรืออยู่ไกล ย่อมรู้สึกเป็นสุขเย็นกายสบายใจต่อเรา
 
- ซึ่ง พรหมวิหาร ทั้ง ๔ ข้อนี้ครอบคลุมหมดทั้งศีลและทาน หากไม่มีความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ศีลจะเกิดขึ้นไม่ได้แม้เจริญศีลอยู่ก็ด้วยความคับข้องอึดอัดกายใจ ทานจะเกิดขึ้นไม่ได้แม้เจริญทานอยู่ก็ด้วยความโลภหวังผลตอบแทนย่อมนำมาซึ่งความทุกข์อันเกิดแต่ความไม่สมปารถนา ไม่เป็นที่รักที่พอใจ เมื่อเจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่เนืองๆจิตที่เป็น เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา จะไม่เกิดขึ้นเพียงจิตทีละขณะที่ละนิดแล้วดับไป แต่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอๆเป็นประจำจนสามารถเข้าถึงฌาณได้


๓. ให้พึงเจริญหวนระลึกในข้อที่ ๒ ทั้งหมดดังนี้ไปเรื่อยๆ แล้วสงเคราะห์ลงระลึกถึงใน "สีลานุสสติ" หรือ "จาคานุสสติ" เมื่อหวนระลึกพิจารณาเห็นประโยชน์และความสุขที่ตนเองและผู้อื่นจะได้รับจาก พรหมวิหาร๔ ศีล ทาน จนเรารู้สึกมีจิตแช่มชื่น แจ่มใส เบิกบาน เบาโล่งสว่างเย็นใจ เกิดความยินดีพอใจที่จะทำในสิ่งเหล่านั้นแล้ว สงเคราะห์ลงระลึกถึงใน "สีลานุสสติ" คือ หวนระลึกถึงศีลอันงามข้อใดที่เราได้ทำมาดีแล้ว ไม่ขาดไม่ทะลุซึ่งเป็นคุณประโยชน์สุขไม่มีโทษต่อตนเองและผู้อื่นที่มีความงดงามบริบูรณ์ดีแล้ว หรือ "จาคานุสสติ" คือ หวนระลึกถึงทานอันใดที่เราได้ สงเคราะห์ให้แล้ว เอื้อเฟื้อแบ่งปันแล้ว สละให้ด้วยใจผ่องใสยินดีแล้ว ซึ่งเป็นไปเพื่อความประโยชน์สุขดีงามไม่มีโทษและทุกข์แก่ผู้รับโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆคืน ให้แล้วไม่มาติดใจข้องแวะเสียดายเสียใจในภายหลัง เกิดความพอใจยินดีที่ได้ทำในสิ่งนั้นๆแล้ว จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความอิ่มเอมปลื้มใจ เป็นสุขด้วยมีกุศลจิตเป็นที่ตั้งจดจ่อแห่งอารมณ์ให้เข้าสู่อุปจาระสมาธิได้โดยง่าย

๔. เมื่อเกิดสภาวะที่สงบรำงับจากสุขอันเรียกว่า "ปัสสัทธิ" แล้วก็ให้กำหนดรู้ลมหายใจ เมื่อเกิดความสงบรำงับอันสลัดจากอกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆขึ้น ขจัดนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว จากนั้นก็ตั้งเอาความสงบสุขแช่มชื่นผ่องใสจากการพ้นแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวงยกจิตขึ้นแผ่เมตตาให้แก่ตนเองก่อนเป็นหลัก แล้วแผ่ไปให้บุพการีและบุคคลอันเป็นที่รักของเราที่ยังมีชีวิตอยู่ ญาติสนิทมิตรสหาย บุพการีและบุคคลอันเป็นที่รักของเราที่ละโลกนี้ไปแล้ว บุคคลที่รู้จัก บุคคลที่เราเคยผูกเวร และ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายเพื่อตัดละเวรนั้นของเราและเขา
- จากนั้นก็หสวนระลึกถึงตอนที่เรายังเด็กๆไม่รู้อะไร หรือ ตอนที่เราเพิ่งรู้จักธรรมมะใหม่ๆ ครูบาอาจารย์สอนเพียงให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าบริกรรม "พุท" ให้กำหนดรู้ลมหายใจออกบริกรรม "โธ" รู้เพียงว่าการระลึกพุทโธทุกลมหายใจเป็นการระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นพทุธานุสสติ ไม่ต้องเข้าไปรู้อะไรอื่นใดที่นอกเหนือจากนี้ทั้งนั้น ให้มีเพียงพุทโธเป็นลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ทำไปเรื่อยๆไม่ต้องไปสนใจอะไรทั้งสิ้น ไม่รู้จักฌาณ ไม่รู้จักญาณ ไม่ต้องไปรู้จักฌาณและญาณไรๆทั้งนั้น รู้จักแต่เพียงลมหายใจเข้า คือ "พุท" ลมหายใจออก คือ "โธ" เท่านั้น ไม่ต้องไปฉลาดไปอยากรู้อะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องไปเก่งเกินครูบาอาจารย์ท่านสอน ไม่ต้องเข้าไปจับเอาสภาวะธรรมปรุงแต่งไรๆทั้งสิ้น รู้แค่พุทโธเท่านั้น ไม่ทิ้งพุทโธไป ไม่ต้องไปใส่ใจอย่างอื่น เมื่อเจริญไปเรื่อยๆอย่างนี้จะเข้าถึงสัมมาสมาธิเอง


๕. เมื่อออกจากสมาธิ ให้ค่อยๆถอยออกมาจนถึงสภาวะที่รู้สึกสงบนิ่งสบายปกคลุมกายใจแล้ว ให้กำหนดจิตระลึกถึงนิมิตเห็นพระพุทธเจ้ามีรัศมีแห่งฉัพพรรมณรังสี ระลึกถึงเรากราบลงแทบเบื้องพระบาทของพระพุทธเจ้าด้วยความเคารพเอื้อเฟื้อ จากนั้นก็พึงตั้งกำหนดจิตแผ่รัศมีอันเป็นเมตตาแผ่ขยายออกไปตามรัศมีแสงแห่งฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าไปสู่
- บุพการีและบุคคลอันเป็นที่รักของเราที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุพการีและบุคคลอันเป็นที่รักของเราที่ละโลกนี้ไปแล้ว
- ญาติสนิทมิตรสหายบุคคลที่เราให้ความเคารพสนิทชิดเชื้อ
- บุคคลเราที่รู้จักคุ้นเคย
- บุคคลที่เราเคยผูกเวร และ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย เพื่อตัดละเวรนั้นของเราและเขา
- บุคลทั้งหลายแบบไม่เจาะจง
- สัตว์ทั้งหลายแบบไม่เจาะจง
- พระสยามเทวาธิราช
- พรหมทั้งหลายบนสวรรค์ชั้นพรหมทั้งหมด
- พระแม่ธรณี
- พระแม่คงคา
- ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔
- ยักษ์
- นาค
- ครุฑ
- คนธรรม์
- เทวดาทั้งหลาย
- เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา
- สัมภเวสีทั้งหลาย

- จากนั้นก็ให้หายใจเข้าลึกๆจนสุดใจแล้วกลั้นไว้ จากนั้นหายใจออกยาวๆแล้วกลั้นไว้ (อาจจะหายใจแรงๆก็ได้) จนรู้สึกตัวตามปกติในสภาวะภายนอกแล้วค่อยๆเปิดตาขึ้นบิดตัวเหยียดแขนขาเพื่อคลายการกดทับเส้นของร่างกาย


** อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจเป็นแนวทางที่ผิดไม่ถูกต้องตามจริง อาจจะหลงไปหรือผมปฏิบัติแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะในเจโตวิมุติโดยความเข้าถึงประกอบกับสัญญาปรุงแต่งใดๆ ผู้รู้และผู้เยี่ยมชมต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิด อย่าเชื่อตามเพราะผมแค่ปุถุชน**
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 12:04:15 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2014, 01:03:26 pm »
0

อุบายการทรงอารมณ์ใน พรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

๑. การทรงอารมณ์ในเมตตาพรหมวิหาร ๔  #(๑)

ธรรมอธิบาย
- การทรงอารมณ์ในเมตตาพรหมวิหาร ๔ จะต่างจากเมตตาจิตที่เกิด-ดับๆอยู่ทุกขณะจิต แต่ก็อาศัยเมตตาจิตที่เกิดสืบต่ออารมณ์ได้คงที่ยาวนานให้เข้าถึงในสภาวะนั้น ดังนั้นแล้วการที่เราจะเจริญในเมตตาพรหมวิหาร ๔ ได้เราก็ต้องเข้าใจว่าเมตตาคืออะไรก่อน ซึ่งผมได้โพสท์ในแทบทุกกระทู้ในเรื่องนี้ จนรู้ว่าสภาพเมตตาจิตนั้นเป็นเช่นไร จึงเข้าถึงและรู้ว่าเมตตาพรหมวิหาร ๔ เป็นเช่นไร อาศัยอะไรเป็นบาทดังต่อไปนี้ครับ

1. เมตตา คือ ความรัก ความเอ็นดู-ปรานี ปารถนาดีต่อผู้อื่นอยากให้ผู้อื่นได้เป็นสุข โดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนคืน หวังแค่ให้ผู้อื่นได้รับความสุขยินดีมีคุณประโยชน์ดีงาม
2. เมตตาจิต คือ สภาวะขณะที่จิตเกิดความสงบรำงับสงัดซึ่ง โลภะ โทสะ โมหะ ในตน มีจิตชื่นบานใจน้อมไปในความปารถนาดีอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข
3. เมตตาพรหมวิหาร ๔ คือ จิตมีความรักใคร่เอ็นดูปรานีต่อผู้อื่น สัตว์อื่น หรือสิ่งไรๆเสมอเท่ากันหมดโดยไม่แยกแยะ ไม่มีความรังเกลียดต่อสิ่งไรๆทั้งสิ้น เห็นทุกอย่างเป็นของงามเสมอกันหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีความเกลียดกลัวต่อสิ่งไรๆ ดั่งมารดาที่มีต่อบุตรไม่ว่าบุตรจะมีรูปร่างหน้าตาสภาวะทางกายหรือวาจาหรือใจเป็นอย่างไรดีร้ายยังไงก็ยังคงรักใคร่เอ็นดู ดูแลถนุถนอมบุตรอยากให้บุตรมีความสุขเสมอด้วยตนหรือยิ่งกว่าตนฉะนี้ไม่เสื่อมคลายเป็นต้น แม้ความรักอันเอ็นดูปรานีปารถนาดีต่อบุตรนี้ก็เห็นเป็นของงามควรคุณค่าคู่แก่บุตรของตนทุกคนเสมอกันหมด
4. รวมความแล้วทั้ง 3 ข้อนี้ มีคุณลักษณะคล้ายกันแต่มีสภาพธรรมความเป็นไปที่ต่างกันดังนี้
4.1 เมตตาจิต อาจจะเกิดเพียงชั่วขณะหนึ่งไม่นานและไม่ส่งต่อให้เกิดกรุณาจิตตามด้วยก็ได้ อย่างเห็นคนลำบากมีจิตปารถนาดีอยากให้เขาเป็นสุขเฉยๆแต่ก็ไม่มีจิตที่จะสงเคราะห์ไรๆต่อเขาเป็นต้น ส่งผลให้ไม่เกิดมุทิตาจิตและอุเบกขาจิต
4.2 เมตตาพรหมวิหาร ๔
- เมตตาพรหมวิหาร ๔ นั้นจะเห็นทุกอย่างในเบื้องหน้าเป็นของงามเสมอกันหมด มีความเอ็นดูเสมอกันหมดไม่ต่างกันแม้สิ่งใดๆ(รูปารมณ์เข้าถึงสุภวิโมกข์) น้อมไปในการสละ พึงเจริญขึ้นอยู่นานด้วยอาศัยการทรงเข้าถึงฌาณ ๑-๔ มีกำลังกำหนดแผ่ไปได้ไม่มีประมาณ แม้ความรักอันเอ็นดูปรานีปารถนาดีต่อผู้อื่นนี้ก็เห็นเป็นของงามควรคุณค่าคู่แก่เขาเหล่านั้นเหมือนกันหมดไม่ต่างกันโดยไม่แบ่งแยก สืบต่อส่งไปในความมีจิตสงเคราะห์ อนุเคราะห์ เอื้อเฟื้อ แบ่งปันประโยชน์สุข กุศล หรือ สิ่งไรๆที่ตนมีให้แก่ผู้อื่นด้วยความรักเสมอกันหมดอันเกิดแต่จิตที่น้อมไปในการสละ
- ด้วยความมีจิตสงเคราะห์น้อมไปในการสละแล้วนั้น เป็นเหตุให้เห็นว่ามนุษย์นี้ๆสัตว์นี้ๆอมนุษย์นี้ๆเทวดานี้ๆมารนี้ๆพรหมนี้ๆ พึงควรแก่ที่เราจะสงเคราะห์ให้สิ่งที่ดีมีประโยชน์สุขดีงามให้แล้ว พึงตั้งจิตถอนขึ้นจากความงามในรูปอันนั้นแผ่ให้ไปไม่มีประมาณสิ้นสุดดุจความว่างกว้างไปมากไม่มีประมาณไม่มีที่สิ้นสุดในอากาศธาตุนั้น ด้วยเพิกถอนจิตอออกสละทิ้งในสุภวิโมกข์ทั้งหมด จนเกิดการสละให้สืบมา(สภาวะธรรมนี้จิตมันไม่เกาะรูปอีกแล้ว) สละให้ด้วยหวังให้ผู้รับได้ประโยชน์จากสิ่งที่ตนสละให้นั้นโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทนคืน ให้แล้วไม่มาเสียใจเสียดายในภายหลังเพราะสิ่งไรๆที่ได้สละให้ไปแล้วนั้น ถือว่าตนได้สละคืนสละทิ้งไปแล้วไม่มีสิทธิ์อันใดในสิ่งนั้นอีก สิ่งที่ได้สละไปแล้วนั้นๆไม่ใช่ของตนอีกต่อไป
- เมื่อสละให้แล้วนั้น ย่อมพึงเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างใน ๓ โลกนี้มีความสุขเพราะอยู่ได้เพราะยังซึ่งร่างกาย ทรัพย์สมบัติทั้งหลาย และ บุคคลอันเป็นที่รักของตนอยู่ได้ หรือ ได้ทำในสิ่งอันเป็นกุศลดีงามแล้วได้รับผลอันดีจากสิ่งที่ทำนั้นจึงพึงความสุขยินดีอันเป็นไปแก่เขาไว้ได้พึงควรมีจิตยินดีไปกับเขาอันปราศจากความริษยาทั้งปวง มีวิญญาณเป็นที่ตั้งแห่งสุขยินดีเหล่านั้น แล้วพึงน้อมนำเอาความชื่นบานเบิกบานที่จิตนั้นมาตั้งเป็นอารมณ์
- เมื่อด้วยเห็นว่าเรานั้นได้มี เมตตาเป็นอันมากแล้ว กรุณาเป็นอันมากแล้ว ทานเป็นอันมากแล้ว มุทิตาเป็นอันมากแล้ว พึงเห็นว่าทั้งหมดดังกล่าวได้กระทำเต็มกำลังใจแล้ว แม้ทุกสิ่งทุกอย่างใน ๓ โลกนี้จะมีความสุขอยู่ได้ก็ด้วยมีซึ่งสมบัติและบุคคลอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีก็อยากที่จะมีจะได้มาก็แสวงหาให้ได้ดั่งใจต้องการจนเกิดทุกข์ ถึงแม้เมื่อมีแล้วก็ยังแสวงหาอีกไม่หยุดหย่อนเพราะควาามไม่รู้จักพอบ้างเพราะยังไม่ได้สมดั่งใจตนบ้าง จนเกิดเป็นความทุกข์ ด้วยเหตุดังนี้จึงพึงเป็นว่าสัตว์โลกย่อมมีความวุ่นวายสุขและทุกข์ไม่สิ้นสุดอันเป็นไปตามกรรมของตน คือ มโนกรรม วจีกรรม กายกรรม ไม่พึงควรจับเอาที่จิตอันที่แปรปรวนนั้นเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต จึงควรพึงเพิกถอนจิตออกมาไม่หยิบจับเอาทั้งความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี ฉันทะ ปฏิฆะมาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต จึงพึงวางใจไว้กลางๆเสีย จนวางเฉยๆไม่จับเอาอะไรสักอย่างทั้งรูปหรืออรูปทั้งวิญญาณจนไม่จับเอาอะไรทั้งสิ้นมาเป็นที่ตั้งแห่งจิตพึงอยู่โดยอุเบกขาพรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์

(กรรม คือ การกระทำไรๆทาง กาย วาจา ใจ ได้แก่ กายะกรรม วจีกรรม มโนกรรม ซึ่งกรรมนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเจตนาความตั้งใจ จงใจ เจาะจงเป็นหลักสงเคราะห์ลงกระทำที่ใจสำเร็จที่ใจก่อนจึงค่อยสืบต่อไปที่ กายและวาจา ด้วยเหตุดังนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เจตนาเป็นกรรม)

อุบายการทรงอารมณ์เมตตา

ก. เมื่อตื่นนอนก็ดี ทำกิจการงานใดๆอยู่ก็ดี(หากมีเวลาว่างจากเสร็จกิจการงานนั้นๆ หรือเมื่อพักเบรกจากการทำงาน) อยู่ในอิริยาบถใดอยู่ก็ดีไม่ว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอนก็ตาม(นอนอยู่แต่ไม่ได้หลับนะครับ) หรือ เมื่ออกุศลธรรมอันลามกจัญไรใดๆเกิดขึ้นแก่กายและใจเราก็ตาม

- ให้กำหนดลมหายใจเข้ายาวๆบริกรรม "พุท" หายใจออกยาวๆบริกรรม "โธ" ทำให้จิตสงบรำงับด้วยสมาธิขั้นต้นเพื่อเรียกให้ "สัมปชัญะ กับ สติ(จนถึงซึ่งสติปัฏฐาน ๔)" เกิดขึ้นเป็นสัมมาสติ(สติ+สัมปชัญญะ) แล้วพึงกำหนดตั้งจิตเจริญปฏิบัติใน "สัมมัปปธาน ๔ คือ ความเพียร ๔ อย่าง" ได้แก่ เพียรละอกุศลที่ยังไม่เกิด เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น เพียรคงกุศลไว้ เพียรรักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม "ซึ่งการจะเข้าถึง ปธาน ๔ ได้นั้นต้องมี อนุสสติ ๖" เป็นที่ตั้งเจริญดำรงอยู่ในกายและใจ ดังนี้ คือ

๑. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธาเชื่อในพระพุทธเจ้าว่า "พระพุทธเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
๒. ระลึกถึงคุณคุณของพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ซึ่งให้ระลึกถึงพระธรรมใดๆที่เราได้น้อมนำมาเจริญปฏิบัติแล้วทำให้เรานั้นเห็นผลได้ไม่จำกัดกาล เห็นตามจริงว่าเป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งปวงซึ่งเราได้เห็นผลนั้นแล้ว แล้วระลึกเอาความรู้สึกพ้นทุกข์จากการปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้น
๓. ระลึกถึงคุณคุณของพระสงฆ์สาวกขอวงพระพุทธเจ้า ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าตรัสสอน มีปฏิปทางดงามควรแก่การเลื่อมใสกราบไหว้ต้อนรับและได้เผยแพร่พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนอันเป็นเครื่องออกจากทุกข์จนมาถึงเราให้เราได้รับรู้ปฏิบัติทั้งแนวทางการเจริญและปฏิปทาอันดีทั้งปวงที่ท่านได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้เราเห็นแล้วน้อมทำตาม ได้แก่สงฆ์ผู้เป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่(โสดาบัน สิกทาคามี อนาคามี อรหันต์) นับเรียงตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ(มรรคและผล)
๔. ระลึกถึงคุณศีลข้อที่เราได้ทำมาดีแล้ว ซึ่งให้ระลึกถึงศีลข้อใดๆก็ตามที่เราได้ถือมาบริบูรณ์ดีแล้วไม่ขาด ไม่ทะลุ ที่เราทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอันมาก เมื่อทำแล้วเกิดความสุขกายเต็มกำลังกายและใจเรา
๕. ระลึกถึงคุณทานอันใดที่เราทำมาดีแล้ว ซึ่งให้ระลึกถึงทานอันใดที่เราได้สละให้ไปดีแล้ว ให้ด้วยสภาพจิตที่ไม่มีความติดใจข้องแวะทั้งก่อนให้,ขณะให้ และ หลังให้ การสละให้อันใดที่เราทำแล้วเกิดความสุขทั้งตนเองและผู้อื่นดม้จะเล็กน้อยแต่มันสุขเต็มกำลังใจที่ได้ให้
๖. ระลึกถึงว่าเทวดา เทพบุตร นางฟ้า นางอัปสรที่มีหน้าตาหล่อเหลาและสวยงดงามอยู่บนสวรรค์แต่ละชั้น พรหมแต่ละชั้นทำบุญอย่างไรมาบ้างมากน้อยเพียงไร ซึ่งบุญกุศลหลักที่ท่านหล่านั้นทำเบื้องต้นได้แก่ ศรัทธา(ความเชื่อ ๔ อย่าง) สุตะ(การเล่าเรียนศึกษาและฟังธรรมให้มาก) พรหมวิหาร๔ ศีล ทาน สมาธิ ปัญญา(เครื่องพิจารณาเพื่อออกจากทุกข์) แล้วน้อมมาดูที่ตัวเราว่าได้ทำข้อใดมาบ้างใน ๗ ข้อนี้ เรานั้นขาดตกบกพร่องในข้อใดบ้าง ข้อใดที่เรานั้นได้ทำมาเต็มกำลังใจบริบูรณ์ดีงามแล้วบ้าง ข้อใดที่เรานั้นควรกระทำเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ดีงามยิ่งขึ้นจนเต็มกำลังใจบ้าง แล้วให้เราเพียรเจริญปฏิบัติให้ดีพร้อมจนเต็มกำลังใจอยู่เนืองๆเสมอๆ

ข. พึงหายใจเข้าระลึก "พุท" ระลึกเอาคุณแห่งความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน คือ เป็นผู้ไม่หลงอยู่ เป็นผู้มีพระทัยอันผ่องใสบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง หายใจออก "โธ" พึงระลึกถึงพระบารมีของพระพุทธเจ้าช่วยปัดเป่ากิเลสในใจเราให้จางหายไปมีความสงบรำงับไม่หลงอยู่ในกิเลส น้อมจิตเราเข้าสู่ความดับสิ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้า

- แล้วพึงกำหนดจิตน้อมนำเอาความสุขอันแจ่มใสเบิกบานด้วยธรรมอันปราศจากกิเลสทุกข์เครื่องเร่าร้อนใจทั้งสิ้นนี้แผ่มาสู่ตน
- พึงระลึกน้อมในใจว่าเราจักเป็นผู้ละเว้นแล้วซึ่งเวรพยาบาทความผูกโกรธแค้นอาฆาตมาดร้ายใดๆทั้งปวงต่อผู้อื่น ขอให้เราจงถึงซึ่งความละเว้นอันงามเหล่านั้น
- ขอให้เราปราศจากเวรภัยพยายาทอันตรายใดๆมาเบียดเบียนทำร้ายเรา ขอให้เราปราศจากโรคทางกายและใจทั้งปวง
- ขอให้เราไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจเร่าร้อนเศร้าหมองไม่สบายกายไม่สบายใจทั้งปวง
- ขอให้เราจงเป็นสุขกายสุขใจ รักษากายวาจา ใจ ให้รอดพ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นทั้งปวง จนเข้าถึงซึ่งธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้ดวงตาเห็นธรรมและถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆ

ค. พึงกำหนดจิต"ทำไว้ในใจ"(เจตนา) หรือ พึงมีจิต"สำเหนียก"(มีจิตกำหนดรู้และทำไว้ในใจอย่างนี้ๆโดยไม่มีคำบริกรรมหรือเสียงคิดใดๆนองจากสภาพที่รู้และทำไว้ในใจนั้นๆ) ว่า บนโลกนี้ไม่ว่าจะเป็นคนไหนๆสัตว์ตัวไหนๆแมลงตัวใดๆสิ่งมีชีวิตใดๆทั้งหมดบนโลกนี้ จะอยู่ในบ้านก็ดี ในที่โล่งก็ดี ในที่แคบก็ดี ในป่าก็ดี ในโพรงไม้ก็ดี ในถ้ำก็ จะอยู่พื้นที่ใดๆของโลกก็ตามแต่ เราจักเป็นผู้ปารถนาดีอยากให้เขาไม่มีทุกข์ ให้เขาเป็นสุขกายและใจ มีความรักใคร่เอ็นดูปรานีไปสู่เขา เราจักเป็นผู้ไม่ติดใจข้องแวะขุ่นเคืองใจไรๆต่อใคร ไม่ทำไว้ในใจของตนไรๆให้เป็นศัตรูกับใคร คือ ไม่ทำใจให้ตั้งแง่ถือเอาความชอบใจและไม่ชอบใจต่อการกระทำไรๆของผู้ใดให้เกิดความขัดเคืองใจต่อเขา เราจักไม่เป็นผู้ผูกเวรโกรธแค้นเคืองต่อใคร เราจักไม่เป็นผู้พยาบาทเบียดเบียนและหมายทำร้ายใครให้ฉิบหายใคร เราจักไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจักเป็นมิตรที่ดีต่อมนุษย์-สัตว์-แมลงและสิ่งมีชีวิตไรๆทั้งหลายบนโลกนี้ทั้งหมด หรือ แม้แต่สัมภเวสี-พระภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย เทวดา-นางฟ้าทั้งหลาย เทพบุตร-เทพธิดาทั้งหลาย และ อมนุษย์ทั้งหลาย เราจักเป็นผู้ปารถนาดี ไม่ผูกเวรโกรธแค้นเคือง ไม่พยาบาทเบียดเบียนและหมายทำร้ายเขาให้ฉิบหายใคร  เราจักเป็นมิตรที่ดีไม่เป็นศัตรูกับเขาทั้งหลายเหล่านั้น
- เมื่อมีเจตนาในเมตตาพรหมวิหาร ๔ คือ ความทำไว้ในใจตั้งจิตไว้มั่นในเมตตาอย่างนี้ เป็นเมตตาพรหมวิหาร ๔ อันประเสริฐซึ่งมีกำลังแผ่ไปทั่วบนโลกได้ทั่วหมด "ซึ่งหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ(พระราชพรหมญาณ)ท่านสอนไว้ เป็นประโยชน์อย่างมาก กำหนดทำได้ง่ายแต่มีคุณสูงเข้าถึงได้ในทันทีที่ระลึกถึงและทำไว้ในใจ" แม้แต่เวลาที่เราผูกโกรธแค้นใครหรือไปพบคนใดสัตตว์ใดแล้วเกิดความติดใจข้องแวะขุ่นเคืองใจไรๆ ก็กำหนดจิตทำไว้ในใจอย่างนี้ แล้วสำเหนียกหรือบริกรรมแนบจิตไปกับคำบริกรรมอย่างนี้ บางครั้งอาจจะทำไว้ในใจร่วมกับหายใจเข้าออกยาวๆจดสุดใจ โทสะไรๆก็ดับไปในทันที
- เมื่อจะแผ่ไปให้ครบ 3 โลก ก็พึงระลึกถึงเทพยบุตร-เทพธิดา ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ท้าวเวสสุวรรณ พระอินทร์ มหาเทพทั้งหลาย พรหมทั้งหลาย อมนุษย์ทั้งหลาย และ ทุกๆสิ่งที่มีและอาศัยอยู่บนสวรรค์ หรือ ท่านพญายมราช ยมทูตทั้งหลาย วิญญาณทั้งหลาย เปรตทั้งหลาย อมนุษย์ทั้งหลาย สิ่งไรๆก็ตามที่มีและอยู่ในนรกภูมิทั้งหลาย ด้วยเจตจำนงค์ทำไว้ในใจตั้งจิตไว้มั่นในเมตตาพรหมวิหาร ๔ แผ่ไปถึงเขาอย่างนี้ๆ

ง. เมื่อกำหนดเมตตาจิตแผ่ไปอย่างในข้อ ค. ได้แล้ว ก็ให้พึงกำหนดจิตแลเห็นรูปในเบื้องหน้า เช่น คนอื่นๆ สัตว์อื่นๆ แมลงอื่นๆ หนอนอื่นๆ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกนี้ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดๆบนโลกนี้ ไม่ว่าเราจะแลเห็นสิ่งใดๆก็พึงระลึกว่าเป็นของงามเป็น "สุภวิโมกข์" เห็นรูปเป็นของงามเสมอกันหมด

- ด้วยอาศัยมองดูในรูปลักษณะของรูปภายนอกเบื้องหน้าที่มองเห็นนั้นๆเห็นว่าเหมือนกัน ถึงแม้จะผิวพรรณดีงดงามหรือกระด้างไม่ดีไม่งาม ก็เห็นมีสีในรูปนั้นๆเหมือนๆกันเป็นฐาน กล่าวคือเห็นเป็นคนเสมอกันหมด

- มีผมสีเดียวกันบ้าง คือ ดำบ้าง เหลืองบ้าง ขาวบ้าง
- สีผิวเหมือนกันบ้าง คือ สีดินดรุนบ้าง ขาวบ้าง เหลืองบ้าง คล้ำเขียวบ้าง คล้ำเหลืองน้ำผึ่้งบ้าง ดำบ้าง
- แม้เป็นผู้หญิงเหมือนกันก็งดงามด้วยความเป็นหญิงเสมอกันทั้งนั้นไม่ว่าจะเด็กเยาว์วัย วัยรุ่น วัยกลางคน ผู้สูงอายุ เป็นผู้ชายเหมือนกันก็งดงามด้วยความเป็นชายเสมอกันทั้งนั้นไม่ว่าจะเด็กเยาว์วัย วัยรุ่น วัยกลางคน ผู้สูงอายุอย่างนี้สีบไป จนมองเห็นไม่แยกเพศเห็นเพียงลักษณะรูปร่างหรือสีที่เหมือนกันหมด เป็นสัตว์เหมือนกันก็งดงามในความเป็นสัตว์เสมอกัน เป็นแมลงเหมือนกันก็งดงามในความเป็นแมลงเสมอกัน ไม่ว่าจะต้นไม้ใบหญ้า คน สัตว์ แมลง หนอนในขี้ พยาธิ สิ่งมีชีวิตใดๆที่อยู่ในพื้นที่ใดๆบนโลกนี้ ให้เราพึงแลเห็นว่าทุกอย่างเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้เหมือนกันหมดต่างก็มีความงดงามในความเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงอยู่บนโลกนี้ทั้งหมดเสมอกัน
- แม้โลกอื่นภพภูมิอื่นก็มีอีกพึงกำหนดเห็นในรูปนิมิตสัญญาไม่ว่าจะเป็น สัมภเวสี พระภูมิเจ้าที่ พระยายมราช วิญญาณในนรกภูมิ เปรต เทวดาเทพบุตร นางฟ้านางอัปสร ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี ท้าวเวสสุวรรณ ยักษ์ นาค ครุฑ คนธรรม์ พระอินทร์ พรหมทั้งหลาย สิ่งไรๆใน 3 โลก ต่างก็มีความงดงามเสมอกันหมดไม่เหลื่อมล้ำกันเลย เป็นของงามแท้ที่อยู่คู่ในภพภูมินั้นๆด้วยฉะนี้
- เมื่อกำหนดจิตไปในรูปเบื้องหน้าด้วยเห็นในลักษณะภายนอก-ภายใน หรือ กำหนดเป็นสีของรูปนั้นๆเหมือนกันไม่แตกต่าง ด้วยกำหนดเห็นเป็นสีที่ตนชอบใจบ้างที่เหมือนกันไม่ต่างกันเป็นของงามเสมอกันทั้งหมดฉะนี้ "จิตกำหนดเข้าล่วงสู่สุภวิโมกข์" (ธรรมชาติของจิตของผู้ยังโลกียะอย่างเราๆ เมื่อเห็นเป็นของงามย่อมมีจิตเอ็นดูรักใคร่น้อมใจปารถนาดีอันเอื้อต่อการสละให้ ส่วนผู้ที่ถึงโลกุตระฌาณนั้นผมเองยังไม่ถึงแต่ผมเชื่อก็เชื่อว่าท่านเหล่านั้นมีความรักใคร่เอ็นดูอันต่างจากเราอย่างแน่นอน ความรักใคร่เอ็นดูและเห็นเป็นของงามทั้งปวงของท่านย่อมไม่มีราคะใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฐฐัพพะ ธรรมารมณ์ คือ ไม่มีฉันทะราคะนั่นเอง แต่ความเอ็นดูของท่านผู้ถึงวิมุตติแล้วผมสันนิษฐานว่าคงเหมือนเวลาที่เราเข้าฌาณ ๔ แม้ความว่างก็เห็นเป็นของงามแต่ไม่มีราคะ สีที่เกิดเห็นในนิมิตในสภาวะนั้นๆก็งามแม้มันจะเป็นแค่สีครามฟ้ามีความสว่างเหมือนท้องฟ้ายามรุ่งอรุณบ้างหรือบางคนอาจเห็นเป็นสีขาวโพลงสว่างโล่บ้าง เห็นเป็นสีขาวนวลออกเหลืองบ้าง นี่น่ะแค่สีแค่นั้นก็ยังงาม แม้สภาพว่างนิ่งเฉยเหมือนอยู่เดี่ยวๆกลางมหาสมุทรก็ยังงาม เมื่อถอยออกจากฌาณ ๔ ทรงอารมณ์อยู่แม้ลืมตาตั้งอยู่ในความว่างบ้าง ตั้งอยู่ในปฐมฌาณบ้าง หรือ มาตั้งอยู่ที่อุปจาระฌาณบ้าง เราจะสังเกตุเห็นและสัมผัสได้ว่าแม้เราเพิกไปรับรู้สิ่งใดๆทางสฬายตนะ คือ สีไรๆ เสียงไรๆ กลิ่นไรๆ รสไรๆ สิ่งที่รู้ทางกายไรๆ สิ่งที่ใจรู้ไรๆ เราก็เห็นเป็นของงามหมดบ้าง มีความสงบนิ่งว่างอันสงัดจากอุปกิเลสมีจิตน้อมไปในการสละต่อสิ่งไรๆเสมอกันหมดโดยไม่มีความติดใจข้องแวะในสิ่งไรๆบ้าง มีความยินดีในการสละอันปราศจากฉันทะราคะและปฏิฆะต่อสิ่งไรๆ สภาวะแห่งการทรงอารมณ์ในเมตตาเจโตวิมุตติโดยอาศัยสุภวิโมกข์ก็มีฐานเริ่มต้นด้วยประการฉะนี้เช่นกัน)

จ. พึงน้อมพิจารณาเห็นรูปในเบื้องหน้าว่า คน สัตว์ สัตว์เลื้อยคลาน แมลง หนอน สิ่งไรๆต่างก็เป็นเพียงกองขันธ์ ๕ เป็นนามรูปเหมือนกันไม่ต่างกัน มีกาย-เวทนา-จิต-ธรรมเหมือนกันเสมอกัน

 เช่น คนที่เรารัก คนที่เราเกลียดผูกความเคืองโกรธ ตัวเราเอง คนอื่นที่เรารู้จักและไม่รู้จักต่างก็เป็นคนเหมือนกัน และ เป็นเพียงเพียงกองขันธ์ ๕ เหมือนกันหมด เป็นนามรูปเหมือนกันทั้งนั้นไม่ต่างกันเลยเสมอกันหมด
 
- มีอาการทั้ง ๓๒ มีกายภายในมีสีแดงของน้ำเลือด มีสีเหลืองของน้ำเหลืองเป็นต้น เห็นเป็นสิ่งปฏิกูลเหมือนกันบ้าง แม้รูปภายนอก เช่น ผิวพรรณงามไม่มีปฏิกูลหรือผิวพรรณไม่งามเเป็นที่รวมอยู่แห่งสิ่งปฏิกูล แต่ก็มีรูปภายในอันเป็นปฏิกูลสัญญาเหมือนกันหมดทุกเพศทุกวัยดังนี้บ้าง
- มีสภาวะธรรมปรุงแต่งอาการความรู้สึกของจิตอันเป็นไปในรัก โลภ โกรธ หลง เร่าร้อน ผ่องใสร่มเย็นเบากายสบายใจไม่มีความติดใจข้องแวะ มีจิตปารถนาดีน้อมไปในการเอื้อเฟื้อสละให้ ทำดี ทำผิดพลาด อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย หอมบ้าง เหม็นบ้าง สกปรกบ้าง สะอาดบ้าง เหมือนกันตามธรรมชาติของปุถุชนผู้ยังอุปาทานในขันธ์ ๕ อยู่ย่อมมี รูปพรรณและจิตใจอันงามบ้างหรือทรามบ้างเป็นธรรมดา
- นั่นเพราะทั้งเราและเขาเหล่านั้นต่างก็มีสภาพธรรมอันเกิดแต่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ หรือ มโนวิญญาณธาตุอันเป็นธรรมชาติของกองขันธ์ ๕ เหมือนกันหมดไม่ต่างกันเลย หรือแม้แต่หมา แมว ลิง เสือ ช้าง ม้า สัตว์ใดๆ หนอนในขี้ หนอนผีเสื้อ มด แมงมุม แมลงใดๆต่างก็เป็นเพียงกองขันธ์เหมือนๆกัน เป็นนามรูปเหมือนกันทั้งนั้นไม่ต่างกันเลยเสมอกันหมด แม้จะมีเคล้าโครงรูปร่างสีสันที่ต่างกันแต่ก็เป็นแค่มีธาตุดิน-น้ำ-ลม-ไฟ-อากาศมากน้อยในสัดส่วนที่ต่างกันเท่านั้น แต่สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ทั้งหมดต่างก็เป็นเพียง กองขันธ์ ๕ ธาตุ ๖ (ถ้าเพ่งกสินดินให้ดูทจับเอาสภาวะธาตุนี้) หรือ นามรูป คือ รูป จิต เจตสิก(วิปัสนาให้ดูจุดที่เป็นสีๆนี้ส่าสิ่งที่เห็นนี้มีแต่สีๆไปหมดไม่มีตัวตนบุคคลใดๆเลยก็ได้ คือ เห้นแต่สภาพที่เป็นสีๆ / แต่หากจับเอาสีใดสีหนึ่ง เช่น สีผมที่เหมือนกัน สีผิวดินดรุณ เหลือง เขียว แดง ขาว โดยบัญญัติจะเป็นกสินทันที) เหมือนกันทั้งหมดเป็นนามรูปเสมอกันไม่ต่างกัน นี่ก็เกิดเห้นรูปเบื้องหน้าด้วยสติสัมโพชฌงค์แล้ว
- หากเป็นกสินดิน พึงกำหนดเห็นรูปเบื้องหน้า รูปภายในและภายนอกทั้งหลาย ร่างกายเราให้เป็นดินทั้งหมด เมื่อราคะดับไปแล้ว ให้พึงเห็นว่า กายคือรูปขันธ์ทั้งหลายนี้ แม้จะละเอียดหรือหยาบยังไง ทั้งหมดก็เป็นดินเหมือนกันทั้งนั้น มีความงามในความเป็นดินเสมอกันหมดทั้งปวง
(ซึ่งหากเพ่งกสินดินจนถึงอุปจาระฌาณได้แล้ว เริ่มแรกจะเห็นแม้กายตนและผู้อื่นเป็นดินทั้งหมดดั่งสีดินดรุณบ้าง เมื่อสูงขึ้นจะเห็นเป็นสีดำหมดบ้าง)

- แม้ภพภูมิอื่นก็เป็นกองขันธ์แม้ไม่ได้ประกอบด้วยรูปขันธ์อันเห็นด้วยตาเปล่าได้ก็ดีเป็นเพียงแค่นามขันธ์ก็มีอยู่อีกพึงกำหนดเห็นในรูปนิมิตสัญญาไม่ว่าจะเป็น สัมภเวสี พระภูมิเจ้าที่ พระยายมราช วิญญาณในนรกภูมิ เปรต เทวดาเทพบุตร นางฟ้านางอัปสร ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี ท้าวเวสสุวรรณ ยักษ์ นาค ครุฑ คนธรรม์ พระอินทร์ พรหมทั้งหลาย สิ่งไรๆใน 3 โลก ต่างก็มีความเสมอกันหมดไม่เหลื่อมล้ำกันเลย เป็นกองขันธ์ที่อยู่คู่ในภพภูมินั้นๆด้วยประการฉะนี้
- เมื่อพิจารณาด้วยสติปัฏฐาน ๔ เบื้องต้นอย่างนี้ ด้วยพิจารณาในขันธ์หรือนามรูป คือ กาย เวทนา จิต ธรรม แลเห็นเป็นรูปภายนอกและภายในเสมอกันบ้าง เห็นมีเวทนาเสมอกันบ้าง เห็นมีความรัก-โลภ-โกรธ-หลงเสมอกันบ้าง เห็นสภาวะธรรมไรๆเสมอกันบ้าง เมื่อจิตเรามีความตั้งมั่นอันปราศจากราคะความเร่าร้อนติดใจข้องแวะทั้งปวงก็รู้ว่าปราศจากราคะความเร่าร้อนติดใจข้องแวะทั้งปวง เห็นภายในภายนอกมีความไม่ยินดียินร้ายอันเกิดแต่วิราคะ ทรงอารมณ์มีจิตตั้งมั่นอยู่ได้ตั้งแต่อุปจาระฌาณถึงจตุตถฌาณ เป็นต้นให้พึงระลึกว่าช่วงเวลาขณะหนึ่งนี้ๆเราได้ถึงซึ่งความสงัดอันพ้นจากกองทุกข์เครื่องเร่าร้อนทั้งปวงอยู่ น้อมจิตแลมองดูในเบื้องหน้ายังมีผู้ที่ยังคงหลงอยู่ในความเร่าร้อนอยู่เป็นอันมากหาประมาณมิได้ ควรแล้วที่ควรจักแผ่เอาความเอ็นดูปารถนาดีที่เรามีนี้ไปสู่เขาเพื่อให้เขาได้เป็นสุขหลุดพ้นจากกองทุกข์เสมอเหมือนเราในขณะเวลานี้ (เมื่อเข้าสู่สภาวะธรรมนี้น้อมใจไปอย่างนี้จิตเราย่อมเกิดจิตยินดีมีความปารถนาดีน้อมไปในการสละ เรียกว่าจิตเราอยู่สูงกว่าปุถุชนธรรมดาแล้ว คือ สงัดจากกิเลสความทุกข์อันเร่าร้อนทั้งปวงแล้ว จนเกิดเป็นเมตตาอันมีกำลังมากหาประมาณมิได้มีจิตน้อมในการสละ อันเรียกว่า เมตตาพรหมวิหาร ๔ อันเป็นไปในเจดตวิมุตติ มีสัมมาสมาธิในขั้นอุปจาระฌาณจนถึงจตุตถฌาณอันเกิดแต่การทำสติสัมโพชฌงค์ให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน ๔ สืบต่อจนถึง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความวางเฉยอันมีวิราคะเป็นผลนั่นเอง แต่วิราคะจะเกิดได้ก็ต้องอาศัยยถาภูญาณทัศนะให้รู้เห็นตามจริงด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์นั่นเอง)

ฉ. เมื่อเราเห็นทุกอย่างเป็นของงามรักใคร่เอ็นดูเสมอกันหมด หรือ ยังความสงบว่างมีจิตสงัดจากความติดใจข้องแวะไรๆทั้งปวงจนมีจิตน้อมไปในการสละดังนี้เป็นฐานที่ตั้งแล้ว จิตเราย่อมไม่ใคร่หวงแหนติดขัดไรๆเมื่อตั้งเจตนาแห่งความปารถนาดีสละไปสู่เขา

- ก็พึงเจริญด้วยอุบายกุศลธรรมโดย

๑. ให้เราน้อมระลึกถึงว่าพระพุทธเจ้านั้นแม้พระเทวทัตที่จ้องทำลายพระพุทธเจ้ามาทุกชาติคอยลอบปลงพระชนน์พระตถาคตมานับไม่ถ้วน แม้สัมภเวสี ยักษ์ นาค ครุฑ คนธรรม์ พญามาร เทวดา พรหม พระองค์ก็ทรงเมตตาด้วยเห็นเป็นของงามเสมอด้วยกันหมดไม่ต่างกัน พระองค์พึงเห็นว่าความรักความอันเอ็นดูปรานีและปารถนาดีอยากให้เขาเป็นสุขก็เป็นสิ่งที่งดงามคู่ควรแก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นเช่นกันแม้ทุกสิ่งทุกอย่างใน 3 โลกนี้ก็งดงามคู่ควรต่อความปารถนาดีที่งามอันนั้น พระตถาคตองค์บรมศาสดาจึงได้แผ่ไปทั้งพระเมตตา พระกรุณา พระมุทิตา พระอุเบกขาไปให้เขาเหล่านั้นได้โดยไม่มีประมาณ
๒. ด้วยเหตุดังนี้เราสาวกผู้กราบไหว้และประพฤติตามพระตถาคตเจ้าอยู่นั้นก็ควรประพฤติตามด้วยพึงเห็นทุกอย่างเป็นของงามเสมอกันดังนี้ แม้จะแลไปทางใดก็พึงเห็นว่าเขาเหล่านั้นงดงามดีแล้ว เห็นว่าเขาเหล่านั้นเป็นสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ที่งดงามเสมอกันหมด คนนั้น สัตว์นั้น แมลงนั้น หนอนนั้นๆ พยาธิเหล่านั้นแม้สิ่งไรที่เรารู้อารมณ์อยู่นี้ก็งดงามไปหมดเป็นสิ่งมีชีวิตจิตใจที่งดงามที่อยู่คู่กับโลภ หรือ อยู่คู่ในสภาพธรรมที่ต่างๆกันนั้น
๓. พึงเห็นว่า แม้บารมีกุศลธรรมแห่งเมตตาอันเราสะสมมาดีแล้วนี้ก็เป็นของงาม เป็นสิ่งที่งดงามเสมอด้วยคุณค่าอันคู่ควรแก่เขาเหล่านั้นเหมือนกันหมดไม่ต่างกันโดยไม่แบ่งแยก เกิดจิตน้อมสละให้ (ลองพึงหวนระลึกดูว่าเวลาที่เรามีความรักใคร่เอ็นดูปรานีต่อใครแล้ว เช่น บุคคลอันเป็นที่รักทั้งหลายของเรา หากไม่อิงราคะพึงระลึกถึงพ่อแม่พี่น้องบุตรหลานเป็นต้น เราย่อมมีจิตปารถนาดีอันน้อมไปในการสละ)
๔. จากนั้นให้น้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าด้วยศรัทธายิ่งเต็มกำลังใจว่า "พระพุทธเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง" จากนั้นให้พึงกำหนดนิมิตระลึกว่าเรานั้นเข้าไปเกาะจับยึดเอาที่ความเป็นพระอรหันต์ที่ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงของพระพุทธเจ้า เป็นดวงจิตดวงแก้วปัญฑระอันสว่างไสวกว้างไกลไม่มีประมาณ พึงจับจิตจดจ่ออยู่สภาวะอันดับสิ้นแล้วซึ่งเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิงของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอารมณ์จนจิตมีความอิ่มเอมสุข สงบร่มเย็นเบาสบายกายใจรำงับจากกองกิเลสทั้งปวง
(หากเราเคยเข้าถึงฌาณ ๔ ได้จะรู้ว่าสภาวะที่ไม่มีความปรุงแต่งจากกิเลสเป็นเช่นไร นิ่งแช่อยู่ในสภาวะอันว่างในกายในใจนี้แต่ยินดียินร้ายรับรู้ต่อผัสสะภายนอก แม้ความว่างทีั่เราแช่อยู่นั้นก็เป็นความสงบร่มเย็นงดงาม นี่แม้ความว่างที่มีอยู่โดดๆก็ยังงดงามสงบร่มเย็น เมตตาพรหทวิหาร ๔ ก็อาศัยสภาวะธรรมเช่นนั้นแผ่เมตตาไปฉะนี้)
(ผู้ที่หัดปฏิบัติใหม่ยังไม่มีสมาธิ ไม่มีฌาณ ก็ให้ไม่ต้องไปสนในฌาณใดๆทั้งสิ้น ให้ไม่รู้จักฌาณ ญาณเป็นดีที่สุดแล้วเพียงทำสมาธิไปเรื่อยๆตามครูบาอาจารย์สอนที่ละขั้นโดยไม่ต้องไปสนหรือปารถนาเอาสิ่งใดๆทั้งสิ้น หากจะเข้าในเมตตานี้ก็ให้กำหนดจิตโดยระลึกเอาสภาพธรรมดั่งข้อที่ 5. /๔. นั้นเป็นอารมณ์)
๕. พึงระลึกน้อมนำเอาพระบารมีนั้นแผ่มาให้เราสงบรำงับจากกิเลสทั้งปวง น้อมนำพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าแผ่ฉัพพรรณรังสีนำเอาเมตตาความรักเอ็นดูปรานีปราถนาดีอยากให้เขาเป็นสุข มีความความอดโทษเว้นโทษ มีความขอและให้อโหสิกกรรมจากเรานี้ไปสู่ 3 โลกดังนี้ โดยกำหนดนิมิตว่าพระพุทธเจ้าฉายฉัพพรรณรังสีแผ่ไปทั่ว 84,000 โลกธาตุคลืบคลายแผ่ไปเหมือนแสงแดดส่องไล่ความมืดในทั่วทุกพื้นที่ แผ่แยกเข้าไปเห็น มนุษย์บ้าง ในบ้าน ในตึก ในซอกซอย เคหะสถาน วัดวาอาราม ในที่กว้าง ในที่โล่ง ในที่มิดชิด ในโพรงไม้ โพรงหญ้า ภูเขา ในดิน ใต้ดิน มีมด มีแมลง มีหนอนใด มีสัตว์ใด ต้นไม้ต้นหญ้าไรๆ ในน้ำเห็นแยกว่านี่น้ำ นี่สัตว์น้ำ นี่แมลงในน้ำ นี่โคลนตม สัตว์ในโคลนตม แมลงในโคลนตม นี่อากาศอันว่างเปล่า ในอากาศผืนฟ้ามีนก มีแมลง มีสัตว์ใดสิ่งไรๆสิ่งมีชีวิตในดิน-ในน้ำ-ในโคลนตม-ในอากาศแผ่นฟ้าทั้งปวง แม้ทิศเบื้องหน้าก็ดี เบื้องหลังก็ดี เบื้องข้างก็ดี เบื้องเฉียงก็ดี เบื้องบนก็ดี เบื้องล่างก็ดีให้แผ่ไปเช่นนี้ๆ ด้วยจิตปารถนาให้ความสุขสวัสดีอันปผระกอบไปด้วยความสุขรำเร็จ ร่มเย็น แช่มชื่น รื่นรมย์กายและใจ ปราศจากความทุกข์อันเร่าร้อนกลุ้มรุมแผดเผาให้เศร้าหมองทั้งกายและใจ จงมีแก่เขาเหล่านั้น ดังนี้ จะได้ฐานที่ตั้งแห่งเมตตาฌาณ



** อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจเป็นแนวทางที่ผิดไม่ถูกต้องตามจริง อาจจะหลงไปหรือผมปฏิบัติแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะในเจโตวิมุติโดยความเข้าถึงประกอบกับสัญญาปรุงแต่งใดๆ ผู้รู้และผู้เยี่ยมชมต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิด อย่าเชื่อตามเพราะผมแค่ปุถุชน**
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 12:04:45 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

buddy3210

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 2
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มิถุนายน 09, 2014, 04:52:57 pm »
0
กรรมดี และ กรรมชั่ว
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2014, 12:00:29 pm »
0

อุบายการทรงอารมณ์ใน พรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป

๑. การทรงอารมณ์ในเมตตาพรหมวิหาร ๔  #(๒)


ช. การจำแนกแผ่เมตตาเบื้องต้นแบบย่อ

ช.๑. เรามักจะเห็นในบทสวดมนต์พระปริตรทั้งหลายว่า "ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทั้งหลาย" ซึ่งจริงๆแล้วบทสวดและสภาวะความมีจิตปารถนาดีน้อมไปในการสละอย่างนี้ๆ ก็คือ เมตตาพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง แต่น้อยคนจะเข้าใจในสภาวะนั้นๆเพราะหลายๆคนจะไม่เห็นกรรมฐานจากบทสวดจึงเน้นเข้าสติปัฏฐานและอภิธรรมปรมัตถสังคหะอย่างเดียว

ช.๒. องค์สมเด็จพระตถาคต พระองค์จะทรงตรัสสอนอยู่เนืองๆในการเจริญปฏิบัติ กรรมฐานทั้ง ๔๐ หรือ การอบรมกายและใจ จนถึงวิปัสสนาญาณว่า "เธอทั้งหลาย พึงสำเนียกรู้อยู่ในสภาวะธรรมนั้นๆ หรือ เธอทั้งหลาย พึงสำเนียกอยู่อย่างนี้ๆว่า..(กำหนดจิตทำไว้ในใจให้เป็นไปในกุศลธรรมไรๆ).." นั่นก็คือ
   ๑. ความที่ วิตก วิจาร ดับไป เหลือ สติ+สัมปชัญญะ อุเบกขา เอกัคคตา นั้นคือ ฌาณ
   ๒. ความที่สภาวะที่ทำไว้ในใจในสภาวะกุศลธรรมไรๆโดยไม่กล่าวบทสวดมนต์ หรือ คำบริกรรม

กล่าวคือ

- ความสำเหนียก อันว่าด้วย ฌาณ นั้นเป็นสภาวะที่มีสติกำหนดรู้แลดูอยู่ในสภาวะธรรม ด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อมกำกับเสมอๆ คือ รู้ในสภาวะธรรมนั้นๆตลอดหมดจรดแต่ไม่มีความคิดและเสียงคิดใดๆ มีการทำไว้ในใจโดยไม่มีความคิดว่าจะไปทางใด ดูสิ่งใด ทำสิ่งใด หันไปทางใดมันก็วูบไปอย่างนั้นเลยทันที
   ซึ่งจะทำให้เห็นตามจริงดั่งคำที่พระพุทธเจ้าตรัสได้เลยว่า จิตเป็นตัวสั่งทุกอย่าง และ เจตนา คือ มโนกรรม หากเราอยู่ฌาณ ๒ - ๔ ที่ประกอบด้วยสัมปะชัญญะก็จะรู้สภาวะนี้ๆดีที่สุด

- ความสำเหนียก อันว่าด้วย ขณิกสมาธิขั้นต้น-ขั้นละเอียด ไปจนถึง อุปจาระฌาณ นั้นเป็นสภาวะที่มีตั้งจิตมั่นในสภาวะธรรมไรๆอันเป็นกุศลธรรมทั้งปวง มีความกำหนดจิตทำไว้ในใจ โดยไม่บริกรรมตรึกนึกคิดพูดกล่าวในใจ มีความรู้ตัวทั่วพร้อมในขณะนั้นกำกับอยู่
   สามารถหัดถึงสภาวะนี้ด้วย อานาปานสติ (ขอกล่าวโดยย่ออันพอที่จะกำหนดทำได้ง่ายเท่านั้น) เป็นการกำหนดรู้ลมหายใจ คือ กายสังขาร โดย

   ลำดับที่ ๑

   ก. มีความรู้ว่าเรากำลังทำสมาธิอยู่ และ อยู่ในอิริยาบถใดๆ คือ สัมปะชัญญะ
   ข. มีความรู้ว่าเรากำลังกำหนดรู้ลมหายใจ และ ระลึกรู้ตามลมหายใจเข้า-ออก คือ สติ
   ค. มีใจจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออก หรือ มีใจจดจ่ออยู่ตรงจุดที่เรารับรู้ผัสสะไรๆเมื่อมีลมหายใจเข้า-ออกนั้น คือ สมาธิ

   ลำดับที่ ๒

   ก. พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปิติ สุข เวทนา สัญญา สังขาร(นิวรณ์ ๕)คือจิตสังขาร
   ข. พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้กำหนดสลัดทิ้ง ดับเสียซึ่งกายสังขาร(ลมหายใจ) และ จิตสังขาร(เวทนา สัญญา นิวรณ์ ๕)ทั้งปวง กำหนดรู้สภาวะธรรมที่เป็น วิตก วิจาร กำหนดรู้สภาวะทำไรๆ
   ค. กำหนดจิตทำไว้ในใจดึงสัมปชัญญะขึ้นมารู้ตัวทั่วพร้อม มีสติแลดูอยู่ นั่นคือ รู้สักแต่เพียงว่ารู้ในสภาวะธรรมไรๆโดยไม่บริกรรมกล่าวคำพูด หรือ ความตรึกนึกคิด วิตกแนบความคิดในใจใดๆ ด้วยพึงทำไว้ในใจกำหนดจิตว่า
      - เราจักสลัดทิ้งซึ่ง วิตก วิจาร ปิติ สุขทั้งปวง เราจักเป็นผู้สำเนียกอยู่เท่านั้น เริ่มแรกอาจจะมีเสียงคิดของตนเองบ้าง จนเมื่อ สัมปชัญญะ + สติ + สมาธิ เกื้อหนุนพอดีได้สมกันแล้ว ความสำเหนียกนี้จะเกิดขึ้นเองในทันที

   สรุป

- การตามรู้ หวนระลึกรู้ คือ สติ เช่น ตามรู้ลมหายใจ ตามรู้ความปรุงแต่งจิต รู้สภาวะธรรมปรุงแต่งจิตที่กำลังดำเนินไปอยู่ทั้งหมด
- ความรู้ตัวทั่วพร้อมของสภาวะธรรมทั้งหลายแม้ภายในภายนอกที่กำลังดำเนินไปอยู่ในขณะนั้นๆ คือ สัมปะชัญญะ
- การกำหนดรู้ กำหนดจิตเข้าไปรู้สภาวะไรๆอยู่ เจตนาความทำไว้ในใจไรๆให้เป็นไปในสภาวะธรรมไรๆบ้าง คือ ความสำเหนียกอันมีสติระลึกรู้+สัมปะชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อมที่สมกันกำกับอยู่

- ดังนั้นความสำเหนียกอยู่อันเป็นกุศลธรรม เป็นธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ คือ มีสภาวะรู้ กำหนดทำไว้ในใจอยู่ไรๆ แล้วจิตกำหนดเพิกไปอย่างนั้นๆโดยไม่ต้องคิด ไม่มีความคิด ไม่มีคำพูดไรๆทั้งสิ้น และ ความสำเหนียกอันเป็นไปในกุศลทั้งปวงจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีสติและสัมปะชัญญะกำกับอยู่เท่านั้น เมตตาพรหมวิหาร ๔ นี้หากจะไม่บริกรรมก็ให้สำเนียกทำไว้ในใจด้วยจิตอันมีความปารถนาดีน้อมไปในการสละดังนี้

6.1 หากเจริญสมาธิอยู่หรือกำลังเข้า-ออกกรรมฐานอยู่

ก. หากเพิ่งทำแรกๆยังมีกำลังเมตตาน้อย เพราะยังอบรมณ์จิตอันเป็นกุศลเมตตาที่เกิดแต่โพชฌงค์ให้น้อมไปในการสละได้ไม่เต็มที่

๑. พึงตั้งจิตทำไว้ในใจ โดยแผ่เอาความปารถนาดี อยากให้เขาได้เป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานอันปราศจากทุกข์ เวรภัยอันตราย และ ความร้อนรุ่มเร่าร้อนกายและใจ แผ่ไปให้บุคคลอันเป็นที่รักและเคารพกราบไหว้บูชาทั้งปวง เช่น บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ เมีย ลูก หลาน แฟน ญาติทั้งปวง มิตรสหายทั้งปวง ไปถึงสัตว์เลี้ยงเราบ้าง โดยพึงตั้งจิตว่า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลายเหล่านี้ที่กล่าวมา จงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น

๒. จากนั้นค่อยทำไว้ในใจ โดยแผ่เอาความปารถนาดี อยากให้เขาได้เป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานอันปราศจากทุกข์ เวรภัยอันตราย และ ความร้อนรุ่มเร่าร้อนกายและใจ แผ่ไปสู่บุคคลที่รู้จักพบเห็นอยู่นี้ๆบ้าง บุคคลที่ไม่รู้จักบ้าง บุคคลที่เราผูกความเคืองโกรธบ้าง บุคคลที่เราผูกอาฆาตหมายทำลายชีวิตเขาบ้าง สัตว์ที่พบเห็นบ้าง โดยพึงตั้งจิตว่า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลายเหล่านี้ที่กล่าวมา จงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น

๓. แล้วแผ่เอาความปารถนาดี อยากให้เขาได้เป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานอันปราศจากทุกข์ เวรภัยอันตราย และ ความร้อนรุ่มเร่าร้อนกายและใจ แผ่ไปสู่เจ้ากรรมนายเวร  สัมภเวสี เจ้าที่ทั้งหลายทั้งปวง จนถึงเทพบุตรเทวดา นางฟ้านางอับสร ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ นาคทั้งหลาย ยักษ์ทั้งหลาย คนธรรม์ทั้งหลาย ครุฑทั้งหลาย ท้าวเวสสุวรรณผู้มีใจเคารพศรัทธาในพระพุทธเจ้าเหนืออื่นใด พระอินทร์ ยมฑูต พระยายมราช อมนุษย์ พรหมทั้งหลายเป็นต้น โดยพึงตั้งจิตว่า ขอความสุขสวัสดีทั้งหลายเหล่านี้ที่กล่าวมา จงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น

ข. หากเเจริญเมตตาที่เกิดแต่โพชฌงค์มีจิตในการสละ มาพอควรจนมีกำลังดีแล้ว

๑. พึงตั้งจิตทำไว้ในใจ โดยแผ่เอาความปารถนาดี ขอให้ความเป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานอันปราศจากทุกข์ ปราศจากเวรภัยอันตราย และ ความร้อนรุ่มเร่าร้อนกายและใจทั้งหลาย จงมีแก่ คน สัตว์ และ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงบนโลกนี้ ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดๆหรือซอกมุมใดๆของโลกนี้ก็ตาม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลายเหล่านี้ที่กล่าวมา จงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น

๒. พึงตั้งจิตทำไว้ในใจ โดยแผ่เอาความปารถนาดี ขอให้ความเป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานอันปราศจากทุกข์ ปราศจากเวรภัยอันตราย และ ความร้อนรุ่มเร่าร้อนกายและใจทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทั้งหลาย คือ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ท้าวเวสสุวรรณ พระอินทร์ พระแม่คงคา พระแม่ธระณี พรหมทั้งหลาย พระภูมิเจ้าที่ เทวดา นางฟ้า เทพบุตร เทพธิดา นามรูป-นามธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดๆหรือซอกมุมใดๆภพภูมิใด แม้ในสวรรค์ชั้นฟ้าทั้งปวงก็ตาม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลายเหล่านี้ที่กล่าวมา จงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น

๓. พึงตั้งจิตทำไว้ในใจ โดยแผ่เอาความปารถนาดี ขอให้ความเป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานอันปราศจากทุกข์ ปราศจากเวรภัยอันตราย และ ความร้อนรุ่มเร่าร้อนกายและใจทั้งหลาย จงมีแก่ท่านทั้งหลาย คือ พระยายามราช  ยมฑูตทั้งหลาย วิญญาณ สัมภเวสีทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดๆหรือซอกมุมใดๆภพภูมิใดๆ แม้ในนรกภูมิทั้งปวงก็ตาม ขอความสุขสวัสดีทั้งหลายเหล่านี้ที่กล่าวมา จงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น

6.2 หากทำบุญให้แก่บุพการีและบุคคลอันเป็นที่เคารพรักที่ได้ละโลกนี้ไปแล้ว

ก. พึงตั้งจิตปารถนาดีอยากให้ท่านเหล่านั้นได้เป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานปราศจากเวรภัยอันตราย ปราศจากความทุกข์เร่าร้อนกลุ้มรุมกายใจ รักษาให้รอดพ้ยจากทุกภัยทั้งปวง
ข. แล้วพึงกำหนดจิตทำไว้ในใจด้วยความปารถนาให้ความสุขสวัสดิ์ดีทั้งหลายเหล่านี้ จงมีแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้นที่เราทำบุญกุศลไปให้ โดยเจาะจงตามบุคคลที่เราได้ทำบุญไปให้นั้นเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะอยู่ในภพภูมิใดๆก็ตาม
   ข.๑. พึงนำจิตแห่งเมตตากรุณานี้น้อมขอให้พระยายมราช ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ ท้าวเวสสุวรรณผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อย่างยิ่ง พระอินทร์ พรหมทั้งหลาย ได้นำข่าวสารนี้ส่งไปถึงท่านเหล่านั้นให้ได้มาอนุโทนาและรับบุญทั้งหลายที่เราได้ทำอุทิศให้ท่านอยู่นี้ทั้งหมด
   ข.๒. ขอพระบารมีแห่งพระพุทธเจ้าได้แผ่ฉัพพรรณรังสีนำทางท่านเหล่านั้นให้ได้มารับบุญกุศลนี้ทั้งหมดทุกท่านเทอญ

(พระราชพรหมญาณท่านสอนให้ทำประมาณนี้ รับรองถึงท่านเหล่านั้นแน่นอนไม่ผิดเพี้ยน)

6.3 หากทำกิจการงานใดๆอยู่ หรือ อยู่อิริยาบถไรๆแล้วพึงเห็น บุคคลใดๆที่รู้จักหรือไม่รู้จักไม่ว่าจะ ยาก ดี มี จน ภูมิฐานหรือซอมซ่อ หน้าตาดีหรือขี้เหร่ สัตว์ใดๆ ศาลพระภูมิใดๆ ศพตามป่าช้าใดๆ ศาลเทพเจ้าใดๆ

- พึงตั้งจิตปารถนาดีอยากให้เขาได้เป็นสุขร่มเย็มแจ่มใสเบิกบานปราศจากเวรภัยอันตรายแผ่ไปให้เขาเหล่านั้นโดยเจาะจง ด้วยพึงเห็นว่าเขาทั้งหลายนั้นๆก็เป็นผู้งดงามไปหมดไม่ได้ต่างจากผู้อื่นเลยบ้าง นี่ก็ร่างกายงดงามตามธรรมชาติที่เป็นรูปขันธ์เหมือนกันหมด มีสีผมเหมือนกัน สีผิวเหมือนกัน กายภายในภายนอกเหมือนกัน ต่างก็เป็นผู้ที่ควรแก่สิ่งอันงามคือบารมีแห่งเมตตาธรรมอันนี้เสมอกันหมด พึงกำหนดจิตเจาะจงแผ่ไปที่เขาเหล่านั้นด้วยความเห็นในเสมอภาคในธรรมทั้งปวง


** อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจเป็นแนวทางที่ผิดไม่ถูกต้องตามจริง อาจจะหลงไปหรือผมปฏิบัติแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะในเจโตวิมุติโดยความเข้าถึงประกอบกับสัญญาปรุงแต่งใดๆ ผู้รู้และผู้เยี่ยมชมต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิด อย่าเชื่อตามเพราะผมแค่ปุถุชน**
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 12:05:22 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2014, 12:01:05 pm »
0

อุบายการทรงอารมณ์ใน พรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป ๒

๒. การทรงอารมณ์ในกรุณาพรหมวิหาร ๔

อุบายการทรงอารมณ์กรุณา

ก. ในขั้นต้นการทรงอารมณ์ให้เกิดในกรุณาจิต พึงยกจิตขึ้นในกุศล โดยกำหนดจิตระลึกรู้เจริญดังนี้

๑. "ปธาน ๔" คือ พึงละอกุศลที่ยังไม่เกิด๑ ทำกุศลให้เกิดขึ้น๑ คงกุศลไว้๑ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม๑ โดยการทำไว้ในใจ(เจตนา)ตั้งจิตระลึกเนืองๆใน
    - "พุทธานุสสติ" เป็นอารมณ์แรกทุกครั้งเสมอๆไม่ว่าจะเจริญสิ่งใดก็ตามจะทำให้จิตเราถึงซึ่งปิติสุขแล้วมีจิตสงบรำงับจากอุปกิเลสทั้งปวงเป็นปัสสัทธิหรืออุปจาระฌาณได้ง่ายทำให้สืบต่อไปถึงปฐมฌาณได้ดีแม้ลืมตาอยู่ โดยให้ระลึกทำไว้ในใจ(เจตนา)ด้วยศรัทธาในคุณแห่งการตรัสรู้ชอบเป็นอระหังโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้าโดยย่อดังนี้ "พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
    - "จาคานุสสติ" เป็นอารมณ์ที่สองโดยระลึกเอาทานอันใดที่เราทำแล้วเกิดความแช่มชื่นใจ เกิดปิติอิ่มเอมให้เบาโล่งสบายกายใจจนเหมือนให้ตัวลอยบ้าง อิ่มเอมจนขนลุกซู่ด้วยความยินดีเป็นปลื้มอัดเต็มใจบ้าง จะทำให้จิตเป็นสุขเต็มที่จากการที่เราได้เคยสละให้เป็นทานนั้นๆ เมื่อเกิดปิติสุขจนเต็มกำลังใจในจาคะนั้นๆแล้วย่อมความสงบใจเบาร่มเย็นกายใจเราอันน้อมไปในการสงเคราะห์อนุเคราะห์สละแบ่งปัน เมื่อเกิดสภาวะจิตขึ้นดังนี้แล้วย่อมเกิดการสละให้ซึ่งกุศลธรรมไม่ว่าจะเป็น ธรรมทาน บารมีทาน สิ่งของอันเป็นอามิสทานทั้งปวงอีก

๒. กำหนดจิตทำไว้ในใจว่า เราจักเพิกจิตออกจากรูปธรรมทั้งหลาย ทรงอยู่ในความไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งไรๆอันเป็นรูปธรรมทั้งปวง เพื่อจักกระทำความสงเคราะห์เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์แบ่งปันสละให้ไม่ว่าจะเป็นคนใด สัตว์ใด สิ่งมีชีวิตไรๆทั้งหลายที่อยู่บนโลกนี้ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ใดๆมุมใดๆซอกใดๆของโลกนี้ก็ตามแต่ หรือ แม้จะเป็นสัมภเวสีทั้งหลาย พระภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย เทวดาอารักษ์ทั้งหลาย ท้าวเวสสุวรรณ พระอินทร์ พรหม มหาเทพหรือเทพยดาทั้งหลายหมู่ใดก็ตาม พระยายมราช ยมทูต วิญญาญาณทั้งหลายในนรกภูมิหมู่ใดก็ตาม แล้วน้อมจิตแผ่เอาความสงเคราะห์อันไม่ยึดมั่นถือมั่นในรูปธรรมทั้งปวงนั้นๆไปสู้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น
- หากเป็นอามิสทาน คือ สละให้ด้วยสิ่งของไรๆ ก็พึงให้ด้วยสิ่งของที่เราพอจะมีให้เขาได้ตามกำลัง

ข. ในขั้นทรงอารมณ์ในกรุณาสมาธิให้แผ่ไปแบบไม่มีประมาณ

อาศัยผลจากการทรงอารมณ์ในเมตตาให้เกิด "สัมโพชฌงค์ ๗" และ "สุภะวิโมกข์" เกิดจิตน้อมไปในการสละดีแล้ว ให้พึงตั้งจิตไม่ยินดีในรูปทั้งที่เห็นในเบื้องหน้าทั้งที่เข้าไปรู้รูปภายใน ด้วยพึงใช้ "อุบาย" ระลึกดังนี้ว่า

๑. "กรุณาที่แผ่ไปด้วยรูปนั้นยังจำกัดแค่เพียงตาเห็น" แม้ที่อื่นและสิ่งอื่นๆนอกจากที่เห็นเบื้องหน้านี้ยังมีอีกมาก พึงระลึกถึงว่า "อากาศนี้มีที่ว่างอันไม่มีประมาณ และ มีอยู่แทรกอยู่ในทุกอณูทั้งปวงในโลกนี้ฉันใด เราก็จักทำจิตสงเคราะห์ให้มีกว้างไปไม่มีประมาณดั่งอากาศฉันนั้น เพิกจิตออกสลัดทิ้งไม่ยึดเอารูปนี้ๆทั้งภายในภายนอกอีกแล้ว"

๒. พึงหวนระลึกถึงแสงสีเขียวเป็นอารมณ์ (สีเขียวของผู้เพ่งวัณณะกสินนี้ อานิสงส์จะทำให้ทั้งโลกนี้มืดดำหมดเป็นดุจดั่งอากาศธาตุที่มีสภาพมืดว่างอันหาที่สุดไม่ได้ก็ได้ จะทำให้สว่างก็ได้ เปิดตาทิพย์ก็ได้ เมื่อจะกำหนดอากาศเป็นอารมณ์หรืออากาสานัญจายตนะฌาณก็เลยต้องอาศัยสีเขียวมาตั้งเป็นอารมณ์นั่นเอง)

   ๒.๑ ฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีความศรัทธาในพระพุทธเจ้าจะระลึกได้ยาก ผู้ที่ไม่กำหนดพุทโธหรือเพ่งกสินที่รูปพระพุทธเจ้าจะไม่เกิดนิมิตเห็นซึ่งฉัพพรรณรังสีนี้ ดังนั้นให้พึงอุปมาดังว่า พระอาทิตย์มีแสงสว่างไสวเป็นประกายฉันใด ฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าก็มีความสว่างไสวเป็นประกายไปทั่ว 84,000 โลกธาตุด้วยมากกว่าฉันนั้น "ให้เอาฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าที่แผ่แทรกซึมไปได้ทั่วหมื่นโลกธาตุเข้าไปถึงทุกอนูแห่งอากาศธาตุทั้งปวงไม่ว่าในรูปธาตุและอรูปธาตุใดๆนั้นเป็นอารมณ์ พึงตั้งเอาวงกลมแสงสว่างเป็นประะกายสีเขียวแห่งฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอารมณ์

   ๒.๒ หากนึกดวงกสินนั้นๆไม่ออก ก็ให้ลองมองที่ดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณบ้าง หรือ แสงอาทิตย์ที่สาดส่องสะท้อนบ้างแต่หากเป็นอาทิตย์เมื่อยามสาย แล้วหลับตาดูก็จะเห็นว่ามีประกายแสงเป็นวงกลมเกิดขึ้น มีสีเขียวบ้าง มีเหลืองบ้าง มีแดงบ้าง มีขาวบ้าง สีน้ำเงินบ้าง เป็นวงกลมในความมืดนั้น

อุบายการเพ่งให้เห็นวงกสิน

   - โดยสังเกตุเห็นได้ว่าสีเขียวนั้นจะเด่นเป็นวงกว้างสุดให้จับเอาวงกลมที่เป็นสีเขียวนั้นมาเพ่งเป็นอารมณ์ ซึ่งบางครั้งหากสีเขียวไม่ชัดเจน เห็นเป็นสีน้ำเงินหรือขอบประกายเหลือแดงมากกว่าก็ให้เราเพ่งเอาจำเพาะวงกลมในความมืดที่เห็นในขณะที่เราหลับตานั้นเป็นอารมณ์ ไม่ว่าวงกลมนั้นจะเล็กแค่ไหน หรือ ใหญ่แค่ไหนก็ให้เพ่งเอาจำเพาะที่วงกลมนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นวงกลมมีเส้นขอบสีจางๆแทบจะดำมืดก็ตามต้องหาวงกลมนั้นให้เจอแล้วเพ่งไปที่วงกลมนั้นเป็นอารมณ์
   - แล้วพึงระลึกบริกรรมในวงกลมกสินนั้นว่า อากาศๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะจดจ่อในวงกลมแล้วแนบอารมณ์ในวงกลมนั้นได้
   - เมื่อจิตจดจ่อในวงกลมนั้นดีแล้วจะเห็นวงกลมนั้นเด่นขึ้น บ้างเป็นเห็นวงกลมแสงสีเขียว สีขาวนวล ก็ให้เรามีสัมปะชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมแนบอารมณ์ไปที่วงกลมนั้นแล้วกำหนดบังคับให้วงกลมนั้นจากเล็กๆเป็นวงใหญ่ก็ได้ จากวงใหญ่เป็นวงกลมเล็กๆก็ได้
   - เมื่อสมารถบังคับให้วงกลมกสินนั้นเล็กหรือใหญ่ก็ได้ตามใจแล้ว ให้กำหนดเอาวงกสินนั้นเป็นสีเขียวโดยส่วนเดียวเท่านั้น จนเกิดเป็นวงกสินแสงสีเขียวสว่างจ้าไปทั่ว ก็ให้จับเเอาวงกสินนั้นแหละเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์

๓. เมื่อสามารถสร้างและบังคับวงกสินดั่งในข้อที่ ๒ จนกำหนดเมื่อไหร่ก็ได้ได้แล้ว ให้พึงกำหนดจิตเพิกออกจากรูปทั้งปวงแม้แต่กายตนด้วยระลึกว่ารูปนั้นมีจำกัดจำเพราะมีประมาณอยู่ ให้พึงดึงจิตออกไปจากรูปที่ตนเห็นอยู่ ออกจากกายตนไปเสีย เพิกจิตเรานี้ถอนออกจากรูปไม่มีความยินดีในรูปอีก แม้รูปเบื้องหน้าแม้ภายในภายนอกก็ตาม ไม่ยึดเอากายอันที่มีสิ้นสุดมีประมาณนี้ไปเสีย

   ๓.๑ เอาจิตไปจับที่วงกสินสีเขียวอันเป็นวงแสงกว้างไกลเป็นประกายไปไม่มีประมาณในอากาศจากฉัพพรรณรังสีของพระพุทธเจ้าที่เรากำหนดทำไว้ในใจนั้นแหละเป็นอารมณ์ จิตไม่ยินดียินร้ายในรูปอีก

   ๓.๒ พึงกำหนดเอาสีเขียวนั้นเป็นอารมณ์แผ่ไปในวงกว้างดุจเราอยู่ในห้วงอากาศอันเป็นที่ว่างไม่มีประมาณนั้น พึงทำไว้ในใจว่า พระพุทธเจ้ามีพระกรุณาธิคุณต่อรูปนามทั้งปวงในภพทั้ง 3 โลกนี้อย่างไร เราซึ่งเป็นสาวกผู้กราบไหว้อยู่ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจักประพฤติตามอย่างนั้น แล้วให้กำหนดเอาจิตอันสงเคราะห์ซึ่งกุศลธรรมอันดีงามทั้งปวงน้อมไปในการสละนั้นแผ่ไปตามแสงสีเขียวอันมีในอากาศนั้น

   ๓.๓ หากเพิกจิตออกจากรูปได้ คือ มีปฏิฆะสัญญา จิตนี้ที่ผมสัมผัสได้จะดุจดั่งเราอยู่กลางห้วงอากาศอันกว้างไกลไม่มีประมาณดั่งในจักรวาลและมีกำลังในการสละอัดไว้มาก มันพรั่งพรูแผ่ออกไปเป็นวงกว้างแบบไม่มีประมาณอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดุจอากาศมีความกว้างเพียงไรมันก็แผ่ไปถึงได้ฉันนั้น เหมือนสภาวะที่สงเคราะห์สละให้นั้นมันแผ่ไปในทุกอนูอากาศในโลกธาตุ จักรวาลธาตุได้หมดทุกอนูไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนจุดใดในโลกธาตุ ในจักวาลธาตุมันก็ไปถึงหมดฉันนั้น

- หากเป็นกสินดิน พึงกำหนดเห็นรูปเบื้องหน้า รูปภายในและภายนอกทั้งหลาย ร่างกายเราให้เป็นดินทั้งหมด แล้วกำหนดเพิกจิตออกกจากรูปทั้งปวงอันเกิดแต่ธาตุดินนี้ พึงเห็นว่ามีกายนี้จะงดงามเพียงไร หรือ ทรามหยาบยังไง ก็เป็นเพียงดินเท่านั้นไม่มีเว้น พึงเพิกจิตออกสลัดทิ้งซึ่งปฐวีรูปทั้งหลายเหล่านั้นเสียไม่จับเอารูปธาตุดินทั้งปวง


- เพ่งกสินนั้นสามารถเจาะจงเพ่งเอาสีเขียวได้เลย
โดยให้เพ่งดูทีละนิดแล้วหลับตาจนจดจำได้เป็นวงกสินแม้หลับตาหรือลืมตา(ไม่ได้เพ่งจนปวดตาแล้วก็หลับนะครับ)
เมื่อเห็นดวงกสินนั้นมีทรงอยู่ได้ ไม่นานแล้วเลือนไป ท่านพระราขพรหมญาณกล่าวว่านี่คือ ขณิกสมาธิ
มันอยู่ทรงอยู่นิดเดียวก็หายไป เริ่มแรกอาศัยความเข้าไประลึกถึงสัญญาในรูปที่เราเพ่งนั้น
จนเมื่อจิตนิ่งเป็นอุปจาระสมาธิแล้ววงกสินนั้นจะปรากฎขึ้นให้เห็นในเบื้องหน้า
เมื่อเข้าสู่อุปจาระสมาธิก็จะกลายเป้นสีเหลือง แล้วก็เป็นวงกสินดวงแก้วสีขาวสว่างไสว





- ส่วนการเพ่งโดยกำหนดทำไว้ในใจหรือดูโดยธรรมชาติในแบบที่ผมเจริญอยู่โดยทำไว้ในใจ
แล้วมองเพิกไปไม่ว่าสิ่งใดๆก็กำหนดเอาเป็นกสิน จนถึง นีลกสินให้หมด การทำแบบนี้แม้ลืมตาเมื่อหัดใหม่ก็สามารถกำหนดได้ดี ซึ่งวิธีอาจจะไม่เหมือนที่ครูบาอาจารย์สอนอาจไม่ตรงตามหลัก นั่นก็ด้วยเหตุที่ว่าผมไม่มีครูสอนกสิน (โดยมากจริตผมขี้เกียจฟังขี้เกียจอ่านมักจะปฏิบัติเพื่อค้นพบโดยตนเองแล้วจึงย้อนกลับไปอ่านของครูบาอาจารยืทั้งหลายว่าผมมาผิดทางไหม หลงทางไหมเพื่อปรับใช้อีกที ผมจึงได้ใช้วิธีนี้ๆเพ่งกำหนดจนเป็นวงกสินโดยไม่มีครูบาอาจารย์สอนมานานมาก แล้วผมพึ่งว่ารู้ตามจริงที่พระราชพรหมญาณสอนเมื่อวันที่ 23/8/57 นี้เอง โดยฟังเทปจากยูทูป) แต่หากเคยถึงฌาณ ๑-๔ แล้ว ก็สามารถกำหนดเพิกมองไปในส่วนต่างๆได้โดยง่าย โดยให้พึงกำหนดตามลำดับของรูปข้างล่างทั้งหมดนี้ตามลำดับ


1. ดูวงใบไม้สีเขียว หรือ วงกสินสีเขียวดังรูปนี้ดดยดูสักพักสบับกับหลับตาระลึกถึงรูปวงกสินสีเขียวนี้ให้ขึ้นใจ
ทำไปเรื่อยๆจนจำได้ขึ้นใจแม้หลับหรือลืมตา








2. เมื่อจำได้ขึ้นใจแล้ว ให้หลับตาแล้วเพิกมองดูไปเบืองหน้าในความมืดนั้น จะเห็นเป็นเงาวงกลมจางๆ
เริ่มแรกอาจจะยังไม่ใช่สีที่เรากำหนดเพ่งดู คือ สีเขียว โดยมันอาจจะเป็นวงกลมดำมืดมีขอบวงกลมจางๆบ้าง
เป็นวงกลมสีน้ำเงินคล้ำมืดหรือจางบ้าง ม่วงบ้าง แดงบ้าง เหลืองบ้าง ขาวบ้างก็ตามแต่
มันจะโยกย้ายแวบไปซ้ายขวา บน ล่าง หรือ โผล่มาอยู่กลางบ้างก็ตาม
ก็ให้เรากำหนดเพ่งที่วงกลมนั้นแหละเป็นวงกสิน เพ่งจนมันกำหนดให้มันหยุดนิ่งตรงกลางเบื้องหน้าไม่เคลื่อนไหวได้




แล้วจากกนั้นก็ให้กำหนดจิตสลับกับระลึกถึงวงกสินสีเขียวที่เราเพ่งจนจำได้ขึ้นใจนั้น
ระลึกสลับไปมากับวงที่เห็นในเบื้องหน้าอย่างนั้น หรือ จะระลึกดึงเอาวงกสินสีเขียวนั้นซ้อนกับวงกลมที่เห็นเบื้องหน้าก็ได้
เมื่อจิตเรานิ่งแล้ว วงกลมที่เราเพิกมองกำหนดเพ่งอยู่เบื้องหน้านั้นจะกลายเป็นวงกสินสีเขียว











- สำหรับกสินหนึ่งที่เพ่งง่ายเห็นไว ทำให้จิตรวมได้ง่ายสำหรับผม คือ อาโลกสิน แล้วเมื่อเห็นวงกสินจนจิตนิ่งดีแล้วเพิกถอยออกมา กำหนดจิตใหม่โดยพึงกำหนดจดจำเอากสินสีเขียวแล้วเพ่ง ที่วงแสงนั้นโดยกำหนดเป็นสีเสียวเมื่อจะลืมตามองไปทางได้ก็พึงกำหนดว่าเขียวๆเราก็จะเห็นเป็นสีเขียวไปหมดเริ่มจากเขียวเล็กน้อยบางส่วนจนเข้าไปเห็นในพื้นที่ส่วนมากเป็นสีเขียว(ผมถึงแค่นี้นะครับ)

1. อาศัยอาโลกะกสินเป็นหลักเพ่งไป โดยอาจจะอาศัยมองดูแสง ดังนี้

1.1 ดวงอาทิตย์ยามเช้าตรู่-ยามเย็นๆ-ตอนทรงกลดเป็นวงรัศมี
กำหนดว่าฉัพพรรณรังสีของพระตถาคตนั้นมีประกายประมาณนี้
ฉัพพรรณรังสีของพระตถาคต ส่องสว่างฉายแสงไปทั่วหมื่นโลกธาตุไปมากกว่าไม่มีประมาณ
(อาศัยโดยมองสักระยะแล้วหลับตา แล้วนึกเอาภาพนั้นๆ)






















- 1.2 กำหนดมองดุดวงจันทร์เต็มดวง ก็กำหนดว่า ดวงจันทร์อันสว่างไสวควรยินดีนั้น
คือจิตเดิมอันมีความสว่างไสวปราศจากกิเลสของเรา
(อาศัยโดยมองสักระยะแล้วหลับตา นึงถุึงภาพของดวงจันทร์นั้นแล้วกำหนดว่าเป็นจิตเดิมของเรา)

















2. หลับตากำหนดดูวงกสินเพื่อเพ่ง
ซึ่งเมื่อสัญญาจะจดจำวงแสงได้จนนิ่งแล้ว เมื่อหลับตาแล้วเราเพิกมองไปที่เบื้องหน้าหว่างคิ้วจะเห็นเป็นวงกลม
แม้วงกลมนั้นอาจจะจางๆบ้างแต่ต้องกำหนดให้ได้
แล้วก็ให้เราเพ่งเอาวงกลมที่เห็นในความมืดขณะหลับตานั้นแหละเป็นวงกสินดังรูป

2.1 ซึ่งเมื่อเริ่มแรกที่หลับตาเราจะเห็นเป็นวงกลมมีขอบเห็นชัดในที่มืดบ้าง






2.2 เมื่อนานไปเส้นขอบจะจางลงบ้างจนแทบกำหนดไม่ได้แต่ให้เพ่งมองให้เห็นวงนั้นแม้เล็กเท่ารู้เข็มก็ตามแล้วกำหนดเพ่ง
- หากหาไม่เจอจริงๆเพราะเริ่มแรกสัญญายังไม่ลงมั่นในสติทำให้หลงลืมไป เราก็อาจจะอาศัยแสงที่เป็นวงเล็กๆเป็นจุดเพ่ง




2.3 เมื่อกำหนดได้แล้วจะเริ่มเห็นเป็นวงแสงมีขอบวง จากมืดๆจนถึงสว่างจ้าดั่งดวงอาทิตย์ได้






3. เมื่อเพ่งจนจิตแนบเป็นสมาธิกำหนดวงกสินเล็กหรือใหญ่สว่างหรือมืดลงได้แล้วให้กำหนดวงกสินเป็นสีเขียวดังรูป








4. เมื่อกำหนดวงกสินเป็นสีเขียวได้แล้วจนเห็นเป็นวงแสงสีเขีบวได้
ก็ให้พึงกำหนดเป็นดั่งแสงมีเขียวที่สว่างไสวโล่ขึ้นที่สาดส่องไปทั่วอากาศในจักวาลทุกอนู







** อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจเป็นแนวทางที่ผิดไม่ถูกต้องตามจริง อาจจะหลงไปหรือผมปฏิบัติแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะในเจโตวิมุติโดยความเข้าถึงประกอบกับสัญญาปรุงแต่งใดๆ ผู้รู้และผู้เยี่ยมชมต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิด อย่าเชื่อตามเพราะผมแค่ปุถุชน**
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 12:07:30 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2014, 09:23:36 pm »
0
.

อุบายการทรงอารมณ์ใน พรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป ๓

๓. การทรงอารมณ์ในมุทิตาพรหมวิหาร ๔

อุบายการทรงอารมณ์มุทิตา

ก. ในขั้นต้นการทรงอารมณ์ให้เกิดในมุทิตาจิต พึงยกจิตขึ้นในกุศล โดยกำหนดจิตระลึกรู้เจริญดังนี้

๑. "ปธาน ๔" คือ พึงละอกุศลที่ยังไม่เกิด๑ ทำกุศลให้เกิดขึ้น๑ คงกุศลไว้๑ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม๑ โดยการทำไว้ในใจ(เจตนา)ตั้งจิตระลึกเนืองๆใน
    - "พุทธานุสสติ" เป็นอารมณ์แรกทุกครั้งเสมอๆไม่ว่าจะเจริญสิ่งใดก็ตามจะทำให้จิตเราถึงซึ่งปิติสุขแล้วมีจิตสงบรำงับจากอุปกิเลสทั้งปวงเป็นปัสสัทธิหรืออุปจาระฌาณได้ง่ายทำให้สืบต่อไปถึงปฐมฌาณได้ดีแม้ลืมตาอยู่ โดยให้ระลึกทำไว้ในใจ(เจตนา)ด้วยศรัทธาในคุณแห่งการตรัสรู้ชอบเป็นอระหังโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้าโดยย่อดังนี้ "พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
๒. พึงทำไว้ในใจว่า เราจักเป็นผู้ไม่มีความติดใจข้องแวะต่อคน สัตว์ และ สิ่งมีชีวิตทั้งปวงในดลกนี้ เราจักพึงเป็นผู้ทีจิตยินดีต่อผู้อื่น เมื่อเขาได้รับความสุขสำเร็จไรๆ คงไว้ซึ่งสมบัติและบุคคลอันเป็นที่รัก ได้พานพบแต่สิ่งที่ดีงาม ได้กระทำในสิ่งที่ดีงาม จนถึงเข้าถึงธรรมอันประเริฐที่งามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้วนั้นทั้งปวงและหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ๆ

** อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจเป็นแนวทางที่ผิดไม่ถูกต้องตามจริง อาจจะหลงไปหรือผมปฏิบัติแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะในเจโตวิมุติโดยความเข้าถึงประกอบกับสัญญาปรุงแต่งใดๆ ผู้รู้และผู้เยี่ยมชมต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิด อย่าเชื่อตามเพราะผมแค่ปุถุชน**
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 12:08:01 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2014, 01:41:29 pm »
0
.

อุบายการทรงอารมณ์ใน พรหมวิหาร ๔ ให้เข้าถึงอุปจาระสมาธิ แล้วทรงอารมณ์ให้เป็นฌาณต่อไป ๓

๓. การทรงอารมณ์ในอุเบกขาพรหมวิหาร ๔

อุบายการทรงอารมณ์อุเบกขา

ก. ในขั้นต้นการทรงอารมณ์ให้เกิดในอุเบกขา พึงยกจิตขึ้นในกุศล โดยกำหนดจิตระลึกรู้เจริญดังนี้

๑. "ปธาน ๔" คือ พึงละอกุศลที่ยังไม่เกิด๑ ทำกุศลให้เกิดขึ้น๑ คงกุศลไว้๑ รักษากุศลไว้ไม่ให้เสื่อม๑ โดยการทำไว้ในใจ(เจตนา)ตั้งจิตระลึกเนืองๆใน
    - "พุทธานุสสติ" เป็นอารมณ์แรกทุกครั้งเสมอๆไม่ว่าจะเจริญสิ่งใดก็ตามจะทำให้จิตเราถึงซึ่งปิติสุขแล้วมีจิตสงบรำงับจากอุปกิเลสทั้งปวงเป็นปัสสัทธิหรืออุปจาระฌาณได้ง่ายทำให้สืบต่อไปถึงปฐมฌาณได้ดีแม้ลืมตาอยู่ โดยให้ระลึกทำไว้ในใจ(เจตนา)ด้วยศรัทธาในคุณแห่งการตรัสรู้ชอบเป็นอระหังโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้าโดยย่อดังนี้ "พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน"
๒. พึงทำไว้ในใจว่า พระพุทธเจ้ามีพระกรุณาต่อผู้อื่นอย่างไรเราสาวกผู้กรายบไหว้อยู่จักประพฤติตตามนั้น

ท่านหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ หรือ พระราชพรหมญาณ นั้นท่านสอนไว้ว่า อุเบกขาพรหมวิหาร ๔ นั้นจะทรงอารมณ์นั้นให้สำเร็จได้ ต้องเว้นจากความลำเอียงทั้ง ๔ ประการ จำเป็นจะต้องมีคุณธรรมข้ออื่นสนับสนุน คือเราต้องเว้นจาก อคติ ๔ ประการ คือ
๑. ความลำเอียงเพราะความรัก
๒. ความลำเอียงเพราะความชัง
๓. ความลำเอียงเพราะความหลง
๔. ความลำเอียงเพราะความกลัว


    ขณะที่ทำที่เจริญโดยอุเบกขา เช่นเมื่อเข้าสู่พิธีพุทธมนต์ของหลวงปู่บุญกู้ อนุวัฑฒโน ซึ่งจะมีสวดแผ่เมตตาหลวง เราทำไว้ในใจว่าจะไม่ยึดจับเอาสิ่งไรๆทั้งสิ้น เพราะล้วนเป็นสมมติทั้งหมด ไม่ว่ากาย เวทนา สัญญา ความตรึกนึกคิดปรุงแต่งจิตทั้งปวง ล้วนไม่เที่ย งไม่มีตัวตน ความเข้าไปยึดเอาสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นทุกข์ แม้แต่วิญญาณธาตุก็รู้แต่สมมติไม่รู้ของจริงเลย รู้สิ่งใดก็รู้อยู่ได้ไม่นานไม่ยั่งยืนแล้วก็แปรเปลี่ยนดับไป ไม่มีตัวตนอันเราจะบังคับมันดั่งใจให้รู้แต่อารมณ์ที่รักที่พอใจได้ ความเข้าไปยึดเอาวิญญาณว่าเป็นเราเป็นของเรา ว่าเที่ยงแท้ยั่งยืนย่อมเป็นทุกข์ มันรู้และยึดเอาแต่สิ่งไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน มันยึดเอาแต่ของปลอมมาเป็นตัวตนว่าจริง เมื่อจิตรู้แต่สมมติเหล่านี้ย่อมเป็นทุกข์ เมื่อยังไม่ตายจิตนี้มันก็มีความเกิดรับใรรูปลักษณ์ต่างๆไปทั่วไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีรูปลักษณ์ มันรูปร่างต่างๆมันเกิดดับแปรเปลี่ยนไปตามสังขารปรุงแต่งไปทั่วไม่ใช่ดวงเดิมอย่างเดิม คือ รูปลักษณ์อันเดิมเกิดขึ้นตั้งอยุ่ดับไป ก็เกิดแปรเป็นรูปลักษณ์อันใหม่ขึ้นมาไม่ใช่อันเดิม อยู่อย่างนี้ไปเรื้อยๆไม่สิ้นสุด แม้เมื่อตายไปจิตเดิมที่เป็นอยู่ตอนนี้มันก็ดับไปแล้วมันก็เกิดใหม่แปรเปลี่ยนไปตามแต่สภาวะธรรมสังขารและวิบากกรรมให้ปรุงแต่งเป็นเป็นไป ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราเลย ความไม่ยึดกิเลสสมมติทั้งปวงเป็นความถึงปรมัตถธรรม แล้วทำจิตให้ไม่ยินดีในขันธ์ ๕ ทำไว้ในใจเหมือนยกจิตออกจากรูปขันธ์เป็นต้น แล้วแผ่ไปไม่มีมีประมาณในความรู้สึกนั้นๆ บ้านก็รู้สึกเหมือนว่ายังกายอยู่บ้าง เมื่อมีจิตจดจ่ออยู่ก็เหมือนไม่มีกายไม่มีใจอยู่บ้าง

** อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้อาจเป็นแนวทางที่ผิดไม่ถูกต้องตามจริง อาจจะหลงไปหรือผมปฏิบัติแล้วเข้าใจผิดว่าเป็นสภาวะในเจโตวิมุติโดยความเข้าถึงประกอบกับสัญญาปรุงแต่งใดๆ ผู้รู้และผู้เยี่ยมชมต้องพิจารณาแยกแยะถูกผิด อย่าเชื่อตามเพราะผมแค่ปุถุชน**
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2015, 12:27:36 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2014, 01:44:54 pm »
0

   ๔. อุบายการละกิเลสด้วยการอบรมจิตอันเป็นไปเพื่อวิปัสสนาญาณ ๑

  อุบายวิธีการเจริญจิตกำหนดรู้ในสภาวะที่เป็น "รูปธรรม" และ "นามธรรม" เบื้องต้น


- ถ้าหากเราไม่สามารถเข้าถึงจนเห็นตามจริงอันตัดขาดจากความนึกคิดปรุงแต่งไรๆ ที่เรียกว่า ยถาภูญาณทัสสะ แล้ว แม้จะรู้อ่านท่องจำจนขึ้นใจครบหมด อภิธรรมปรมัตถสังคหะ ก็ไม่สามารถถึงซึ่งนิพพิทาญาณได้
- ถึงแม้อาจจะมีนิพพิทาบ้างเล็กน้อยตามกำลังของสมาธิ เกิดความหน่ายบ้างยึดมั่นถือมั่นบ้างยังไม่รู้แจ้งแทงตลอดจนถึงนิพพิท่าญาณที่แท้จริง(ส่วนมากจะหน่ายด้วยความหลง) จุดนี้แหละเป็นเหตุให้คนทั้งหลายเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ตนร่ำเรียนมาหรือที่ตนเห็นบ้างเพียงเล็กน้อย และ จริงบ้างไม่จริงบ้าง เมื่อเข้าไปยึดเสร็จปุ๊บนี่ถือเลยว่า ธรรมฉันถูกเจ๋งที่สุด มีตัวตนอัดสัมผัสได้ให้ผลได้ ธรรมผู้อื่นที่ไม่ถูกจริตตนก็กล่าวว่าเขาเจริญมามั่วไปหมด บ้างว่าเขาหลงทาง บ้างว่าเขาบ้า ครูบาอาจารย์ฉันเก่งกว่า สายกรรมฐานฉันเลิศที่สุด ครูบาอาจารย์ท่านอื่นมั่วไม่ถึงสอนมั่วอย่างนี้เป็นต้น อย่างที่เราเคยเห็นแม้ในเวบนี้ก็มี ทั้งๆที่ในมุมกลับกันผู้อื่นก็มองเราเช่นนี้เหมือนกัน นี่คือผลกระทบของบุคคลที่ยังไม่เห็นตามจริง ซึ่งเห็นด้วยความหลง หลงจากผลกรรมฐานบ้าง ศรัทธาจนหน้ามืดบ้าง อย่างนี้ถึงขั้นวิปลาสได้
- ส่วนผู้ที่เห็นตามจริงบ่อยๆ ทุกวัน เรื่อยๆ จนมากขึ้นๆ จนจับได้แทบทุกขณะจิต เขาจะเกิดยถาภูญาณทัสสนะ ซึ่งคนที่จะเห็นอย่างนี้นั้น เป็นผู้ที่มีสัมมาสมาธิขึ้นไปบ้าง หรือ ผู้ที่เคยมีสัมมาสมาธิแต่เสื่อมไปบ้าง เขาจะเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่มีสิ่งใดเป็นเรา เป็นของเรา เห็นความ ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง และ ทุกข์จากการเข้าไปยึดในสิ่งเหล่านี้ แม้ธรรมปฏิบัติ ธรรมวิจยะไรๆ ก็ไม่เที่ยง เพราะมีความสงเคราะห์แปรเปลี่ยนไป เมื่อระดับพิจารณาสูงขึ้น หรือ ดับสูญ หรือ จริตแปรเปลี่ยน เพราะธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง(สังขารธรรม) ธรรมทั้งปวงจึงไม่เทึ่ยง(อุบายแห่งสัมมาสังกัปปะหรือกุศลวิตกหรือกรรมฐาน) ธรรมทั้งปวงจึงไม่มีความตายตัว ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตนดังนี้
- บุคคลผู้รู้เห็นตามจริงแล้วเขาจะไม่ยึดว่าของครูบาอาจารย์ฉันตรงที่สุด ฉันปฏิบัติมาตรงและถึงแล้ว ฉันรู้เห็นเยอะกว่าเขา แต่เขาจะเห็นว่าแนวทางไรๆก็ตามแต่หากเป็นทางออกจากทุกข์ย่อมดีหมด สามารถสงเคราะห์ลงในธรรมได้ทั้งหมด อุบายนี้มีมากเป็นล้านๆอุบายการเข้าถึงอุบายทั้งหลายนี้จัดเป็น สัมมาสังกัปปะ เมื่อปฏิบัติดำรงชีพและเจริญปฏิบัติเพื่อให้มีจิตจั้งมั่นมีกำลังแล้วเห็นตามจริงเรียกว่า สัมมาสติและสัมมาสมาธิ นั้นคือ ๔๐ กรรมฐาน และ วิปัสนา ๙ นั่นเอง
- ส่วนผมเองเป็นผู้ไม่รู้ธรรม ไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีปัญญา มีแต่ศรัทธาต่อพระรัตนตรัยและเจตนาที่จะเผยแพร่ธรรมเพื่อช่วยให้คนได้เห็นทางออกจากทุกข์และศรัทธาในพระพุทธศาสนา ใคร่ขอท่านผู้เข้าถึงธรรมแล้ว ผู้มีธรรมสูงทั้งหลาย ขอสาทยายธรรมปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินไปในวิปัสนาภาวนาดังนี้ครับ

(ขอเพิ่มเติมนะครับรู้เห็นตามจริงโดยที่ไม่มีสมาธิมีแค่ 1 ในร้อย หรือ 1 ใน ล้านเท่านั้น เพราะแม้ผู้เข้าวิปัสนาจริงๆก็อาศัยฌาณของสมถะที่เป็นปฐมฌาณก่อน จนจิตแนบเข้าในสภาวะธรรมที่ดึงจิตเป็นวิปัสนาจึงจะสามารถใช่สมาธิจากผลของญาณ คือ ปัญญา ได้ สมัยนี้แนวสุขวิปัสโกแบบนี้จะมีเยอะ แต่น้อยที่จะได้ ฌาณ ๑ จึงทำให้ไม่รู้จริง ได้แต่อ่านเอาจนทึกทักเป็นอัตตาไม่หมด เอาเพียงตำราที่อ่านมากดทับอารมณ์ปรุงแต่งของตนไว้เท่านั้น พระพุทธเจ้าเห็นก็เห็นในสมถะก่อนวิปัสนา และ เห็นตามจริงว่า สมถะ+วิปัสนาจะขาดกันไม่ได้ จึงทีตรัสไว้ใน ธรรมอันงามทั้ง ๑๐ บท พระพุทธเจ้าไม่เคยให้ใครเจริญปฏิบัติโดยเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง สาวกของพระตถาคตจะไม่สอนให้ใครปฏิบัติเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ด้วยแม้เป็นแนวทางออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนจริงแต่ก็ไปไม่ถึงตามจริง)


รูป-นาม คืออะไร

นาม ได้แก่ นามธรรม ๕ อย่าง คือ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ หรือนามขันธ์ ๓ คือ
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ (เจตนา ผัสสะ มนสิการ) กล่าวโดยย่อ ก็คือ จิต เจตสิกนั่นเอง
รูป ได้แก่ รูปขันธ์ ได้แก่รูป ๒๘ คือ มหาภูตรูป ๔ อุปาทายรูป ๒๔

๑. เมื่อรู้ว่า นามรูป มีอะไรบ้างทีนี้ก็ให้เราเข้าไปรู้คุณลักษณะเบื้องต้นของ นามรูป ก่อนว่าแต่ละอย่างๆนั้นเป็นอย่างไรบ้าง (มีอธิบายเยอะแยะทั้งในกระทู้นี้ข้อมูลเนื้อหาข้างล่างบางส่วนและในกูเกิลก็มี หรือ หลายๆท่านก็รู้อยู่แล้ว ผมคงไม่ขออธิบายมากนะครับตรงนี้)

๒. เมื่อรู้คุณสมบัติของนามรูปแล้วให้ระลึกรู้พิจารณาในปัจจุบันขณะเท่านั้น คือ เมื่อรู้เห็นแล้วว่า รูป มีคุณสมบัติและลักษณะแต่ละอย่างเป็นอย่างไรมีสิ่งใดบ้าง กับ นาม มีคุณสมบัติและลักษณะแต่ละอย่างเป็นอย่างไรมีสิ่งใดบ้าง จากนั้นให้เจริญพิจารณามีสติระลึกรู้สภาวะธรรมแล้วแลดูอยู่แค่สภาพนั้นๆที่เรารู้การกระทบสัมผัสในขณะนั้น โดยไม่ต้องไปแยกจำแนกว่าในสิ่งนี้ๆที่เราได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รู้รส ได้กระทบสัมผัส ได้รู้ด้วยใจ มันมีรูปธาตุใดๆรวมอยู่จึงก่อเกิดขึ้นเป็นสิ่งนั้นตัวนั้น ในรู้สภาวะแค่ขณะนั้นๆที่ระลึกรู้ตามทันได้พอ

๓. การจะรู้แยกธาตุจริงๆนั้นที่ผมพอจะมีปัญญาอันน้อยนิดพอจะรู้เห็นทางได้มีดังนี้คือ
    - ไม่ใช่การเข้าไปรู้ว่า ในสิ่งนั้นๆ บุคลนั้นๆ รูปร่างนั้นๆ มันประกอบด้วยอะไร-รูปอะไร-ธาตุอะไร ๑
    - แต่ให้รู้ว่าในขณะที่เราเกิดรู้ผัสสะใดๆ จากมโนใดๆ วิญญาณใดๆ ในขณะนั้นเป็นอย่างไร-มันมีคุณลักษณะ-สภาพจริง-สภาพธรรม-สภาวะธรรมเป็นอย่างไร มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น ๑

๔. สิ่งที่เห็นทางตา มันก็มีแต่ สีๆ กับ แสง เท่านั้น สภาพที่เรามองเห็นทางตานั้นเมื่อดูแล้วก็จะเห็นว่า มันมีแต่สีๆ สีเขียวบ้าง ขาวบ้าง แดงบ้าง เหลืองบ้าง น้ำเงินบ้าง ดำบ้าง ส้มบ้าง ฟ้าบ้าง ซึ่งสีๆที่เห็นนั้นๆก็เป็นรูปทรงโครงร่างต่างๆตามลักษณะเคล้าโครงนั้นๆของมัน สีเหล่านั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงไป-แปรผันไปตลอดเวลาอย่างไร และ แสงที่เห็นนั้น ก็มีสว่างจ้าบ้าง มีมืดมิดบ้าง เช่น
    ก. เมื่อรู้ผัสสะใดๆทางตาในขณะนั้น เช่น เห็นต้นไม้ ก็ให้พึงมีสติระลึกรู้แลดูว่า สิ่งที่เราเห็นอยู่นั้นมีสีอะไรบ้าง มีโครงร่างรูปร่างอย่างไร มีความเปลี่ยนแปรไปอย่างไรบ้าง จนเข้าไปเห็นเป็นสีๆที่มีรูปร่างต่างๆ มีความเปลี่ยนแปรไปเป็นธรรมดาทุกๆขณะเท่านั้น : เมื่อเห็นสี ก็รู้แค่สี เห็นความเปลี่ยนแปรไปของสี ไม่ต้องไปรู้ ตรึกนึก หรือ มองว่าในสีนี้มีแสงด้วย หรือ ตานี้เห็นได้ทั้งสีและแสง หรือ สีเขียวคือใบไม้ สีน้ำตาลดำคือลำต้นของต้นไม้ ให้รู้แค่สีๆที่มีรูปทรงนั้นๆเท่านั้น ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย
    ข. เมื่อเห็นแสงรู้ผัสสะในขณะนั้นเป็น แสงสว่าง ก็ให้พึงมีสติระลึกรู้แลดูว่า แสงสว่างนั้นมันจ้ามาก ลุกโพรง หรือ พร่ามัว แสงที่เข้าตาหรือที่เห็นนั้นมีลักษณะใด เป็นประกายอย่างไร และเปลี่ยนแปลงผันแปรไปอย่างไรในแต่ละขณะนั้นๆ : เมื่อเห็นแสง ก็รู้แค่แสงเป็นอารมณ์ เห็นความเปลี่ยนแปรไปของแสง ไม่ต้องไปรู้ ตรึกนึก หรือ มองว่าในแสงนี้มีสีด้วย หรือ ตานี้เห็นทั้งสีและแสง ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย
    กล่าวคือ.."การพิจารณาในวัณณะรูป(สี)นั้น หรือ สิ่งที่เห็นทางตาจนเห็นแจ้งนั้น ในขณะที่ตาเรามองเห็น หรือ ขณะที่ตาเราจดจ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั้น..เราเห็นสีอะไรบ้าง ให้เอาสีมาตั้งเป็นอารมณ์รับรู้ทางตา ไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก มันก็จะไม่มีตัวตน บุคคล หรือ สิ่งอื่นใดเลย"

๕. เมื่อเราสัมผัสน้ำ เช่น น้ำในโอ่ง อ่างน้ำ หรือแม่น้ำ เราจะรู้ว่าเมื่อเราเอามือกวัดแกล่งไปในน้ำ หรือ กระโดลงน้ำอย่างเร็ว จากธาตุน้ำนั้นซึ่งมีลักษณะเอิบอาบ-ชุ่มชื่น ซาบซ่าน-เกาะกลุม ก็จะมีสภาพแข็งอ่อนใช่ไหม นั่นเป็นคุณสมบัติของธาตุดินใช่ไหม
    - ขนาดสิ่งที่เราทุกคนนั้นเรียกว่าน้ำ เมื่อเข้าไปสัมผัสแล้วยังมีดินร่วมอยู่ด้วยใช่ไหม แล้วมันจะยังเรียกน้ำได้อีกไหม
    - ดังนั้นให้รู้แค่ลักษณะนั้นๆที่เราสัมผัสได้ ไม่ต้องไปเพ่งเอาว่าในน้ำนี้มีธาตุดินร่วมอยู่ด้วย มีธาตุไฟร่วมอยู่ด้วย มีธาตุลมร่วมอยู่ด้วย แต่ให้มีสติระลึกรู้แลดูอยู่ รู้ผัสสะในขณะที่สัมผัสน้ำนั้นๆว่าเรารู้สึกอย่างไร เช่น
    ก. เมื่อรู้สึก เอิบอาบ ชุ่มชื่น ซาบซ่าน ก็รู้แค่สภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่านี่คือธาตุน้ำหรือในน้ำมีอะไรรวมอยู่บ้าง มีธาตุใดๆบ้าง ให้รู้แค่สภาพ เอิบอาบ ชุ่มชื่น ซาบซ่าน ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
    ข. เมื่อรู้สึก อ่อน แช็ง นุ่ม ก็ให้รู้แค่ในสภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่าในน้ำก็มีธาตุนั้นด้วย ให้รู้แค่สภาพอ่อน-แข็งนั้น ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น

๖. เมื่อรู้สึก ร้อน อุ่น เย็น ก็ให้รู้แค่ในสภาพลักษณะนั้นๆ ไม่ต้องเข้าไปรู้ หรือ ตรึกนึกคิดว่าในน้ำก็มีธาตุนั้นด้วย ให้รู้แค่สภาพร้อน-เย็นนั้น ไม่ไปรู้อย่างอื่นอีก มันถึงจะไม่มีตัวตนบุคคลใดทั้งสิ้น
    กล่าวคือ.."การพิจารณาจนรู้ในธาตุ หรือ รูปธรรมใดๆที่เรารับรู้ได้จากการกระทบสัมผัสกางกายนั้น ให้เรารู้แค่ว่า..ในขณะนั้นเรารู้ผัสสะคุณลักษณะสภาพใดได้ หรือ ในขณะนั้นเรารู้ผัสสะคุณลักษณะสภาพใดอยู่ ก็ให้เอาคุณลักษณะสภาพที่เรารับรู้ได้ในขณะนั้นมาเป็นอารมณ์พิจารณา ไม่ต้องเข้าไปรู้สิ่งใดๆอีก มันถึงไม่มีตัวตนบุคคลใด หรือ สิ่งใดๆอีก"
    - เมื่อรู้แค่ผัสสะนั้นๆไม่ไปรู้อย่างอื่นแล้ว จนเห็นชำนาญแล้ว ให้พิจารณามองย้อนดูว่า วันๆหนึ่งตั้งแต่วันที่พิจารณาจนถึงปัจจุบันที่นั้นเรารับรู้กระทบสัมผัสสิ่งใดๆบ้าง ก็จะเห็นเองว่าที่เรารู้นั้นๆมันมีเพียง สีๆ เสียงสูง-ต่ำ ทุ้ม-แหลม กลิ่นในลักษณะต่างๆ รสในลักษณะต่างๆ  อ่อน แข็ง เอิบอาบ ตรึงไหวเคลื่อนที่ ร้อน เย็น ไม่มีตัวตนบุคคลใดเลย มีแต่สภาพการรับรู้นั้นๆเท่านั้นเอง ไม่มีสิ่งใดๆเลย

๗. รู้ในลักษณะอาการความรู้สึกของจิตที่ปราศจากความนึกคิดปรุงแต่ง คือ มีสติแลดูอยู่รู้ตัวทั่วพร้อมเห็นในสภาวะลักษณะอาการของจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไร
    ก. เมื่อแรกเริ่มอาจจะรู้อาการของจิตในขณะที่เราเจริญจิตตานุสติปัฏฐานหรือรู้ตัวว่าขณะนี้มี โลภะ โทสะ โมหะ ราคะ แล้วดูลักษณะอาการของจิตใจในขณะที่เกิดอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆว่าเป็นอย่างไร เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต เช่น ติดใจติดตามเพลิดเพลิน ขุ่นมัวขัดเคืองใน หมองหม่นใจ สั่นเครือติดตาม อัดอั้น อึดอัด คับแค้นใจ เป็นต้น พิจารณาดูว่าแต่ละอย่างๆนี้เป็นลักษณะอาการของจิตในอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ ที่ต้องรู้ส่วนนี้อยู่เนืองๆก็เพื่อเมื่อเกิดอารมณ์ความรู้สึกใดๆขึ้น แม้อย่าง ละเอียด อ่อนๆ กลางๆ หรือ หยาบ เราก็สามารถรู้ได้ทันทีว่า ขณะนั้นเสพย์อารมณ์ความรู้สึกใดๆอยู่ เพื่อจะละมันได้ทันที
    ข. เมื่อรู้สภาพลักษณะอาการของจิตจนชำนาญแจ่มแจ้งแทงตลอดแล้ว เมื่อใดที่มันเกิดขึ้นอีกก็ให้เราเข้าไปรู้ในสภาวะลักษณะอาการของจิตนั้นๆโดยไม่ต้องไปให้ความหมายของมันว่ามันคืออารมณ์ความรู้สึก รัก หรือ โลภ หรือ โกรธ หรือ หลงใดๆ แค่ให้จิตเข้าไปรู้จิต คือ มีสติแลดูอยู่ในลักษณะอาการของจิตในขณะนั้นๆว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น ไม่มีตัวตน บุคคลใด ไม่มีสิ่งใดๆทั้งสิ้น เห็นลักษณะอาการนั้นๆว่ามัน เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ทรงอยู่ ดับไป ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใดๆ สักแต่รู้อาการนั้นก็พอไม่ต้องเข้าไปรู้อย่างอื่นอีก ไม่ต้องไปให้ความหมายใดๆกับความรู้สึกในลักษณะอาการของจิตใดๆขณะนั้นๆทั้งสิ้น สักเพียงแต่รู้ก็พอ มันถึงไม่มีตัวตน บุคคลใด นี่เรียกว่าปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน คือ ความปรุงแต่งจิตเหล่านี้สักแต่มีไว้ให้ระลึกรู้และตามรู้มันไปเท่านั้น ไม่ได้มีไว้ให้เสพย์ ไม่ได้มีไว้ให้เข้าไปร่วม
    - เมื่อพิจารณารู้เห็นอย่างนี้จนชำนาญแล้ว ก็จะพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า มันมีแต่สภาพอาการความปรุงแต่งนี้เท่านั้น มันไม่ใช่จิต ปกติจิตเป็นสภาพสงบผ่องใสสักแต่อาศัยเพียงเป็นความปรุงแต่งจิตนี้ๆที่จรเข้ามาทำให้ใจเศร้าหมอง ความปรุงแต่งที่จรมานี้ไม่ใช่จิต จนเกิดมีสติแลดูอยู่เห็นตามจริงดังนี้แล้วแม้สิ่งไรๆ ความรู้สึกปรุงแต่งนึกคิดไรๆเกิดมา มันก็ไม่ใช่จิตไม่ใช่เรา เราก็จะไม่ไปเคลิบเคลิ้ม หลงตาม เสพย์อารมณ์ตามมันไป ด้วยเพราะเห็นแยกความปรุงแต่งจิตกับจิตนั้นแล้ว นี่เรียกว่า "จิตเห็นจิต"


๘. การกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อระลึกรู้ในสภาวะของนามรูปต่างๆทั้งปวงจนชินเป็นกิจวัตรประจำวันจนเกิด สติ+สัมปชัญญะ ให้ระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้องอันแยกจากความคิดได้อยู่เนืองๆแล้ว "ก็ให้เรากำหนดจิตขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงว่า สภาวะที่เกิดขึ้นอยู่นี้ๆ ทำให้เรานั้นเป็น สุข หรือ ทุกข์"

รอบที่ ๑

- เมื่อเป็น "สุข" แล้วเรายินดีในสุขนั้นไหม มีความเพลิดเพลินคลื้นเครงรื่นเริงใจไหม เกิดความใคร่ได้ปารถนายินดีที่จะได้เสพย์มันอีกไหม หากเป็นเช่นนั้น ให้หวนระลึกกำหนดพิจารณาว่า ไอ้ความสุขที่เราว่ามันดีแช่มชื่นรื่นเริงใจเรานั้น แต่ในขณะนี้มันทำให้เราเร่าร้อนเป็นทุกข์ไหม แล้วอย่างนี้ความสุขเหล่านั้นที่เราว่าดี แท้ที่จริงแล้วมันเป็นสุขหรือเป็นทุกข์เล่า ย่อมเป็นทุกข์ใช่ไหม เมื่อเกิดความสุขใดๆให้กำหนดรู้ทุกข์จากมันไปเช่นนี้ๆ จะเห็นทุกขอริยะสัจ
- เมื่อเป็น "ทุกข์" แล้วความทุกข์นั้นมันเกิดจากสิ่งใด เกิดจาก สี เสียง กลิ่น รส การกระทบสัมผัสทางกาย รู้ได้ทางกาย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ หรือ เกิดที่ใจ เมื่อเกิดทุกข์แล้วกำหนดรู้ทุกข์อย่างนี้ๆ เราย่อมเห็นว่า แม้สีก็เป็นทุกข์ แม้เสียงก็เป็นทุกข์ แม้กลิ่นก็เป็นทุกข์ แม้รสก็เป็นทุกข์ แม้การกระทบสัมผัสทางกายก็เป็นทุกข์ แม้ดิน-น้ำ-ลม-ไฟก็เป็นทุกข์ ในกายเรานี้ก็เป็นดิน-น้ำ-ลม-ไฟดังนั้นแล้วกายนี้มันเป็นทุกข์ไหมเล่า แม้เมื่อใจ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณธาตุก็เป็นทุกข์ แล้วทีนี้บนโลกนี้มีสิ่งใดที่ไม่เป็นทุกข์บ้างไหมเล่า เมื่อเป็นทุกข์แล้วเราพอใจในทุกข์ไหมมันควรไหมที่จะเสพย์ทุกข์จากสิ่งเหล่านั้น

รอบที่ ๒

- เมื่อเป็น "สุข" แล้วสุขนั้น มันคงอยู่ตลอดไปไหม-ก็ไม่คงอยู่ตลอดไปใช่ไหมมีความดับไปเป็นธรรมดา บังคับให้มันคงอยู่กับเราตลอดไปได้ไหม-ก็ไม่ได้ใช่ไหมมันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจต้องการได้ใช่ไหม เมื่อเข้าไปตั้งความปารถนาไรๆในมันเป็นทุกข์ไหม สิ่งใดทึ่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นทุกข์ใช่ไหม
- เมื่อเป็น "ทุกข์" แล้วทุกข์นั้นมันอยู่ตลอดไปไหม-ก็ไม่คงอยู่ตลอดไปใช่ไหมมีความดับไปเป็นธรรมดา บังคับให้มันไม่เกิดขึ้นให้มันออกไปไกลๆเราตลอดไปได้ไหม-ก็ไม่ได้ใช่ไหมมันไม่มีตัวตนอันที่เราจะไปบังคับให้มันเป็นไปดั่งใจต้องการได้ใช่ไหม เมื่อเข้าไปตั้งความปารถนาไรๆในมันก็ยิ่งเป็นทุกข์ซ้ำเติมใช่ไหม สิ่งใดทึ่ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มันเป็นทุกข์ใช่ไหม

รอบที่ ๓

- เมื่อเป็น "สุข" แล้วสุขนั้นเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปใช่ไหม มันสักแต่เป็นเพียงสภาวะธรรมที่ปรุงแต่งกายและใจเท่านั้นใช่ไหม มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาใช่ไหม สักแต่เป็นเพียงนามธรรมเป็นเจตสิกปรุงแต่งให้จิตรู้เสพย์เสวยอารมณ์เท่านั้นใช่ไหม เข้าไปยึดมั่นถือมั่นปารถนาตัวตนในสุขนั้นไม่ได้เลยใช่ไหม ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในมันนั้นย่อมเป็นทุกข์ ดังนั้นแล้วเมื่อสุขเกิดขึ้นเราก็สักแต่เพียงรู้ว่าสุขเกิด รู้สภาวะธรรมปรุงแต่งอันเป็นไปในสุขนั้นว่ามันเป็นอย่างไร มันแช่มชื่น รื่นเริง รื่นรมย์ ตรึงใจ เพลิดเพลิน ครื้นเครงบันเทิงใจ ปลื้มใจ อิ่มเอมตื่้นตันใจ ฟูใจ ใคร่ตามยินดีด้วยความเพลิดเพลินตรึงเศร้ามัวหมองใจไม่ผ่องใส หรือ ชื่นบาน ผ่องใส เบาสงบเย็นสบายกายใจไม่อิงสิ่งล่อใจให้เกิดความเพลิดเพลินใจ เมื่อสภาวะนั้นๆดับไปในทางกายก็ดีหรือทางใจก็ดีก็รู้ว่าดับไป ไม่มีตัวตนบุคคลใด สัตว์ใด นอกจากสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
- เมื่อเป็น "ทุกข์" แล้วทุกข์นั้นเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไปใช่ไหม มันสักแต่เป็นเพียงสภาวะธรรมที่ปรุงแต่งกายและใจเท่านั้นใช่ไหม มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาใช่ไหม สักแต่เป็นเพียงนามธรรมเป็นเจตสิกปรุงแต่งให้จิตรู้เสพย์เสวยอารมณ์เท่านั้นใช่ไหม เข้าไปยึดมั่นถือมั่นปารถนาตัวตนในทุกข์นั้นไม่ได้เลยใช่ไหม ความเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในมันนั้นย่อมเป็นทุกข์ซ้ำเก่า ดังนั้นแล้วเมื่อทุกข์เกิดขึ้นเราก็สักแต่เพียงรู้ว่าทุกข์เกิด รู้สภาวะธรรมปรุงแต่งอันเป็นไปในทุกข์นั้นว่ามันเป็นอย่างไร มันคับแค้นอัดอั้นใจ อึดอัดใจ ขัดเคืองใจ ขุ่นมัวใจ ฝืดเคืองใจ ติดแวะข้องใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เร่าร้อนใจ ร้อนรุ่มใจ เดือนเนื้อร้อนใจ อัดกรีดทะยานใจ หวิววูบหล่นใจ ฝ่อใจ เศร้าหมองใจ มัวหมองใจ เมื่อสภาวะนั้นๆดับไปในทางกายก็ดีหรือทางใจก็ดีก็รู้ว่าดับไป ไม่มีตัวตนบุคคลใด สัตว์ใด นอกจากสภาวะธรรมที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2014, 01:51:20 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2014, 01:46:13 pm »
0

   ๔. อุบายการละกิเลสด้วยการอบรมจิตอันเป็นไปเพื่อวิปัสสนาญาณ ๒

  การดึงจิตออกจากโมหะ และ ทรงอารมณ์ของ สติ+สัมปชัญญะ ให้พอเหมาะกับการพิจารณาสภาวะธรรม


เมื่อรู้ว่า โลภะ โทสะ โมหะ มีสภาพอย่างไรแล้ว(ต้องรู้เห็นเองตามจริงไม่ใช่ไปอ่านๆเอาแล้วจดจำมานะครับ ผมถึงได้อธิบายไว้ว่าให้รู้อาการของรูปนามในวันๆหนึ่งที่เราได้รับผัสสะ คนที่อ่านๆเอาไม่ได้ปฏิบัติจะมองแค่ผ่านๆว่านี่ฉันก็อ่านมาแล้วรู้แล้ว ให้ลองทบทวนดูดีๆในข้อที่ผมให้ไว้นะครับ ปัญญาญาณผมเกิดขึ้นด้วยการเจริญปฏิบัติจากกรรมฐานและพิจารณาโดย อนุโลม ปฏิโลม จากการรู้ผัสสะทั้งปวงนี้เองไม่ว่าจะ รูปกระทบนาม นามกระทบนาม)
- ผมเองก็ไม่มีครูอุปัชฌาย์สอน เพราะครูอุปัชฌาย์ผมท่านแรกคือ หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ ท่านก็นิพพานแล้ว เตี่ยผมผู้ที่เจริญปฏิบัติกรรมฐานกับทั้งหลวงพ่อปาน พลวงพ่อฤๅษี และ หลวงปู่นิลมหันตปัญโญท่านคอยสอนให้ผมเจริญในศีลตั้งแต่ผมจำความได้คือตั้งแต่ผมอายุได้ 1 ขวบ ท่านก็ได้ลาโลกนี้ไปแล้ว ครูอุปัชฌาย์อีกท่านคือพระครูสุจินต์ธรรมวิมล (สมจิตร กดนอก-รตินฺธโร) ก็อยู่ไกลมากเพราะผมอยู่ กทม. จะมีก็แต่ท่านผู้รู้ คือ ท่านเดฟ ที่วัดเกาะสอนให้รู้ว่า ธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในสภาพจริงๆที่เป็นเอกลักษณ์ของธาตุว่ามันเป็นยังไงแก่ผม แล้วสอนให้ผมหัดเจริญจิตานุสสติปัฏฐานให้รู้ทันว่ากุศลหรืออกุศลเกิดแก่จิตเราตั้งแต่เมื่อ 4 ปีก่อน ส่วนที่เหลือผมรับรู้จากการปฏิบัติจากกองกรรมฐานทั้งหมด ซึ่งมีพลิกแพลงใช้ตามกาลทั้ง ๔๐ กองกรรมฐาน
(ส่วนมากผมจะยึดที่ อานาปานสติ พุทธานุสติ พรหมวิหาร๔ ทาน ศีลก็เกิดขึ้นเองอัตโนมัติ(ซึ่งผมเจริญโดยถือเอานิมิตจากสมาธิที่เห็นพระตถาคตเป็นแก้วขาวนวลประกายน้ำเงินฟ้าเหมือนประกายดวงดาว มีพระวรกายสูงมากกว่าบริวารที่ตามหลัง มีบริวารเดินตามเป็นอันมากยาวไกลจนสุดตาล้วนเป็นแก้วทั้งหมด ไม่ได้ปลงพระเกศาทุกพระองค์มีทรงเกศาดั่งรูปพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์อยู่ทุกพระองค์ ทรงได้เสด็จมาสอนให้ผมเจริญปฏิบัติ ในตอนนี้ผมก็เข้าเจริญประกอบที่ศีลสังวรสำรวมครบในกาย วาจา ใจ มีใน สัลเลขะสูตร หลายๆท่านคงไม่รู้ว่าสำรวมกาย วาจา ใจเป็นยังไงก็ให้ดูที่พระสูตรนี้ เพราะปัจจุบันนี้โดยมากแล้วจะรู้กันแต่การอบรมกาย-อบรมจิตเท่านั้น)
- พอเมื่อเจริญในข้อข้างต้นนั้น ในกาลต่อมาธรรมชาติที่ชื่อว่าจิตของผม มันก็จะเข้าไปรู้ในกรรมฐานกองอื่นเองโดยอัตโนมัติ อาจจะเป็นเพราะผมได้อธิษฐานจิตไว้ แล้วพอผมเข้าสมาธิหรือหลับก็จะเกินนิมิตเห็นพระอรหันต์มาสอนนั่งสมาธิ มาสอนการเจริญจิตทั้ง ๔๐ กรรมฐานและท่าทางการเจริญให้ดู ทำให้ผมเกิดจิตตั้งมั่นเห็นในธาตุบ้าง รูปบ้าง นามบ้าง
(ซึ่งผมก็จำได้บ้างไม่ได้บ้างและยังไม่รู้ถึงในแบบที่กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสอน แต่ที่ผมเห็นนั้น ผมก็คิดว่ายังไม่ถึงวิปัสสนา เพราะวิปัสนามีมากกว่าที่ผมรู้นี้อย่างแน่นอนซึ่งผมยังไม่ถึงจึงกล่าวเฉพาะที่ผมถึงและปฏิบัติได้เท่านั้น)

- ดังนั้น หากที่ผมโพสท์นี้ผิดต่อหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือ ไม่เป็นประโยชน์บิดเบือน  ขอให้ทุกท่านรู้ไว้ว่า พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ท่านผู้รู้ทั้งหลายที่ได้สั่งสอนชี้แนะผมนั้นไม่ได้สอนผิดหรือทำผิดแต่อย่างไร แต่ผิดทีผมเอง ด้วยเพราะผมเห็นผิด จึงทำให้คิดผิด ทำให้กล่าวผิด ทำให้ประพฤติผิด ทำให้ดำรงชีวิต(เลี้ยงชีพ)ผิด ทำให้ระลึกผิด ทำให้จิตตั้งมั่นผิด ธรรมที่ออกมาจึงไม่เป็นจริงไม่มีประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย หากธรรมปฏิบัติทั้งปวงของผมนี้เป็นประโยชน์ขอให้ทุกท่านรู้ไว้เลยว่า เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระพุทธเจ้าได้รู้เห็นตามจริงแล้วตรัสสอนมามีพระสงฆ์ครูบาอาจารย์และท่านผู้รู้ทั้งหลายเผยแพร่มาสู่ผม และ ผมได้นำธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นมาปฏิบัติจนให้ผลได้ไม่จำกัดกาล ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด
- ที่สำคัญที่สุดคือ ธรรมปฏิบัติของพระพุทธเจ้านี้เราสามารถนำมาประยุกต์ปฏิบัติพลิกแพลงใช้ในการเจริญในชีวิตประจำวันได้ครบหมดทุกจริต ทุกกรรมฐานได้หมด อยู่ที่เรานั้นใช้ปัญญาที่ตนมีอยู่รู้จริตตนแล้วพลิกแพลงนำมาใช้ให้เกิดประโนยชน์ได้หรือไม่ดังนี้ ด้วยเหตุนี้แม้ข้อกรรมฐานหรือแค่ชื่อกรรมฐานที่หลายๆท่านและผมเองยกขึ้นมากล่าวอ้างโดยไม่ต้องอธิบายข้อย่อยข้อปฏิบัติมาก(เพราะมีในพระไตรปิฏกอยู่แล้ว)ท่านผู้รู้ทุกท่านก้สามารถที่จะเจริญพลิกแพลงใช้งานได้ทันที)


การทรงอารมณ์ในจิตานุสติปัฏฐานให้เกิดสัมมาสมาธิ

ธรรมอธิบาย

- โมหะ นี้เป็นตัวที่ดูยากสำหรับคนที่เรียนอภิธรรมโดยไม่ปฏิบัติกรรมฐาน แต่ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานจะเห็นได้ด้วยตัวเอง คือ (ขอใช้ศัพท์ทางโลกนะครับเพราะผมไม่รู้บาลี ไม่ได้เรียนอภิธรรม) กิริยา คือ การกระทำของมันคือ สภาพที่หลง ปิดกัน สภาวะอื่นๆไม่ให้เข้ามารู้มัน
- อุปมาเหมือนเรานอนหลับอยู่ในความฝัน แม้ภายนอกแม้จะเสียงดัง จะสั่นสะเทือน หรือ จะมีการเคลื่อนไหว ร้อนหนาวยังไงไม่ตื่นมารับรู้ความจริงอันเป็นไปในปัจจุบันฉันใด โมหะ ก็มีลักษณะกิริยา คือ การกระทำที่มำให้เรา หลงอยู่ ปิดกัน ไม่ให้รับรู้ความจริงหรือสิ่งที่เกิดอยู่จริงในปัจจุบันขณะฉันนั้น
- โมหะ นี้มีสภาวะอาการของจิตที่มีสภาพ มัวหมองใจ-ไม่ผ่องใส ตรึงหนักจิต-ไม่เบาใจ มีสภาพเศร้าหมองใจ
เช่น เมื่อโมหะคือความหลงเกิดขึ้น เราเข้าไปหลงในโลภะหรือโทสะ มันก็ปิดกันสติที่จะรู้ว่าโลภะหรือโทสะนั้นเกิดขึ้นแก่จิต มันมีความมัวหมอง เศร้าหมองใจปิดกั้นไว้ไม่ให้เรารู้ในสภาวะจิตที่เกิดขึั้นในปัจจุบัน จิตมันก็เข้าไปหลงเสพย์เกาะติดตามจดจ่ออยู่ที่โลภะหรือโทสะที่เกิดขึ้นนั้น ดังนี้
- พระราชพรหมญาณท่านสอนว่า ไอ้โมหะที่ไม่ต้องไปหาวิธีฆ่ามันให้ยาก เราฆ่าตัว โลภะ โทสะ 2 ตัวนี้ออกจากกายใจเราได้ โมหะมันก็ไม่มีที่อาศัยอยู่มันก็จะดับสลายไปของมันเอง

1. กิเลส รัก โลภ โกรธ หลง คือ โลภะ(กาม ราคะ) โทสะ โมหะ เกิดขึ้นแก่จิต เราก็อย่าไปไม่ชอบใจมันให้พึงยินดีที่มันเกิดขึ้น เพราะเราอาศัยมีมันเกิดขึ้นในจิตเราถึงจะรู้กรรมฐานใช้กรรมฐานจนถึงวิปัสนาญาณได้ ดังนั้นเมื่อมันเกิดขึ้นให้เราตั้งสำคัญมั่นหมายเอาไว้แก่จิตว่านี้เป็นความพอใจยินดีของเราด้วยเหตุดังกล่าว เพราะเราจะหลอกใช้ไอ้ความปรุงแต่งจิตเกิดประกอบจิต แต่ไม่ใช่จิตเหล่านี้แหละมาเจริญปฏิบัติกรรมฐาน แต่ส่วนมากแล้วเพราะเราพอใจให้มันเกิดนี่มันจะรีบดับไปทันทีเพราะมันกลัวเราหลอกใช้มันเผาตัวมันเอง ดังนั้นจึงต้องสักแต่รู้ไม่ใช้จิตที่รู้นี้พุ่งเข้าไปหามัน หรือตทื่นเต้นดีใจจนเนื่้อเต้นเมื่อรู้ว่ามันเกิด ให้สักแต่เพียงแลดูมันเท่านั้น
2. เมื่อ โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นก็ให้เราสักแต่รู้ว่ามันเกิดขึ้น
    2.1 ในส่วนของสมถะนั้น ก็ให้เรานั้นแลดูความเป็นไปของมันแล้วดึงเอาสภาวะธรรมที่ปรุงแต่งจิตของมันที่เกิดขึ้นเป็นไปนี้แหละมาสงเคราะห์วิเคราะห์ลงในธรรม เพื่อให้เราเห็นถึงสภาวะธรรมปรุงแต่งของมันที่เกิดขึ้นให้เราเห็นตามจริงในธรรม จากนั้นก็ให้ดึงเอาข้อกรรมฐานที่ถูกจริตมาเจริญเพื่อละมัน นี่น่ะเราจะเห็นกองกรรมฐานที่เหมาะกับจริตเราก็ตรงนี้แหละ

    2.2 ในส่วนของการอบรมจิตนั้น ให้พึงระลึกกำหนดเอาว่า
- ในขณะใดขณะหนึ่งที่เราเกิดกิเลสทุกข์ขึ้นประกอบจิตตรึงจิตเสพย์มันอยู่นั้น ให้หวนระลึกย้อนไปดู "อุปมาอุปไมยดั่งว่า เรานั้นเป็นตัวละครที่อยู่ในโทรทัศน์ที่กำลังเล่นเสพย์อารมณ์ไปตามบทบาทนั้น ซึ่ง บทบาทที่ว่านี้ก็คือ โลภะ โทสะ เรานั้นแหละที่เข้าไปเล่นคือร่วมเสพย์ในบทบาทอันเป็น โลภะ โทสะ นั้นๆ ส่วนกองถ่ายละครในฉากในตอนต่างๆนั้นก็คือ โมหะ นั่นเอง โมหะนี้และเป็นตัวกำกับบทบาทให้เราเล่นตามบท โลภะ โทสะ ด้วยความลุ่มหลงโดยเอาบทที่เราเล่นเป็นพระเอกหรือนางเอกนั่นแหละมาหลอกให้เราหลงแล้วปิดกั้นความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเรา นั่นคือ จิตอันเป็นธรรมชาติที่สว่างไสว ไม่มีความปรุงแต่งใดๆ แต่โมหะนี้มันทำให้เราหลงมืดฟ้ามัวดินไม่รับรู้อะไรที่เป็นความจริงด้วยเอาความเป็นพระเอกหรือนางเอกนี้มาหลอกให้เราหลงว่า โลภะนี้คือตัวเรา โทสะนี้คือตัวเรา ดังนี้"
- "ดังนั้นเราจะถอยออกจากความหลงที่ว่า โลภะนี้เป็นเรา โทสะนี้เป็นเรา ได้นั้นก็ด้วยเราถอนตัวออกจากละครที่เล่นอยู่นั้นเสีย ออกจากกองถ่ายอันเป็นโมหะนั้น โดยพึงระลึกดึงเอาสติหรือจิตเดิมอันสว่างไสวนี้ออกมาจากกองถ่ายนั้นเสีย แล้วออกมาเป็นผู้นั่งดูหนังเรื่องนี้ทางโทรทัศน์แทน ให้ดูเรื่องราวความเป็นไปในบทบาทต่างๆของมันโดยที่เราไม่เข้าไปร่วมแสดงด้วย คือ ไม่เข้าไปร่วมเสพย์มันนั่นเอง"
- "เมื่อเราดึงจิตออกจากโมหะมาได้ เราก็จะเป็นแค่เพียงผู้แล ผู้ดู ผู้รู้ ความเป็นไปของมัน เหมือนเรานั่งดูละครในโทรทัศน์อยู่นั่นเอง"
- ก็ให้เรานั้นแลดูความเป็นไปของมันโดยไม่เข้าไปร่วมเสพย์ ไม่เอาสติพุ่งเข้าไปหามันมากเกินไปเดี๋ยวมันตกใจปิดโทรทัศน์นั้นไม่ให้เราเห็นเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปในละครนั้น และ ไม่ปล่อยสติให้ถอยห่างมันเกินไป หากถอยมาห่างมันเกินไปเราก็จะเห็นความปรุงแต่งเรื่องราวความเป็นไปของมันไม่ชัดทำให้เราเผลอไผลไปกับมันด้วยไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมของมัน นั่นคือ พึงดึงสติขึ้นแลดูมันให้เหมือนเราดูละครโทรทัศน์ซึ่งแค่ดูแต่ไม่เข้าไปเสพย์อารมณ์กับหนังเพราะรู้ว่ามันเป็นเพียงแค่ละครที่แต่งขึ้นมาให้ดำเนินเรื่องไปเท่านั้น เปรียบสติเป็นเราที่แลดูละครอยู่ แล้วกิเลสทุกข์ความปรุงแต่งจิตอันเป็นโทสะและโลภะใดๆนั้นคือบทบาทเรื่องราวของละครที่เราดูอยู่ในโทรทัศน์ ซึ่งโมหะนั้นก็คือโทรทัศน์ที่เราดูอยู่นั่นเอง
- ให้ดึงจิตแยกออกมาดูอย่างนี้ ดูว่ามันเป็นยังไงมันจะอยู่นานได้แค่ไหนหากเราไม่เข้าไปร่วมเสพย์มัน จนเห็นมันดับไป อันนี้แหละเรียกว่าตามดูมันแค่แลดูเท่านั้นไม่เข้าไปเสพย์ เวทนา จิต ธรรม จะเกิดก็สักแต่รู้ว่าเกิด จะดับก็สักแต่รู้ว่าดับ ไม่ได้เข้าไปร่วมเสพย์ ไม่ได้มีเอาไว้เสพย์ สักแต่มีไว้ระลึกรู้ ไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา การเข้าไปรู้ในวิปัสนานั้นเขาทำกันอย่างนี้แหละครับ
- ทีนี้เมื่อเรารู้ทันมันแลดุมันอยู่ ผลลัพธ์ที่เราได้ก็ คือ ทำให้เราสามารถเห็นความปรุงแต่งของมัน เห็นความดำเนินเรื่องราวเป็นไปของมัน รู้ความต้องการของมัน เห็นความเสื่อมและดับไปของมัน โดยที่เราไม่ได้ไปมีความรู้สึกร่วมด้วยกับมันเลย ทีนี้มันก็ทำให้เราทุกข์ไม่ได้ ซ้ำยังทำให้เราสนุกเพลิดเพลิดไปกับมันที่เรานั้นเก่งสามารถทำให้อย่างนี้


    2.3 เพื่อที่เราจะทำให้ได้ทุกขณะจิตเราก็ต้องมีความยินดีพอใจอยากให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ เพื่อที่จะจะให้เห็นมันบ่อยขึ้น เหป็นบทบาทเรื่องราวที่มันเป็นไปมากขึ้น แล้วก็ตามดูพิจารณาและละมันไปอย่างนี้เรื่อยๆ ไม่มีความเกลียดกลัวมันอีก ให้มีความยินดีให้มันเกิดขึ้น มีความอยากให้มันเกิดขึ้น ทีนี้แหละจิตเราจะคอยดู คอยแล คอยจดจ่อแลดูการเกิดขึ้นและดับไปของมันเองในทุกขณะจิตเองโดยอัตโนมัติ โดยที่ไม่พุ่งเข้าไปหามันมากเกินไปจนมันกลัวแล้วแตกกระเจิงหนีไป ไม่ถอยออกมาห่างมันมากเกินไปจนไม่รู้ความเป็นไปของมันแล้วหลงเข้าไปเสพย์มัน เป็นการทรงสติให้ตั้งอยู่เองโดยอัตโนมัติเมื่อสติคอยแลดูอยู่นั้นจิตมันก็จะจดจ่อกับสภาวะธรรมที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลาทำให้จดจ่อเป็นจุดเดียวได้นานขึ้น ตั้งมั่นได้ง่ายขึ้นจนเกิดเป็นสัมมาสมาธิได้ ดั่งพระตถาคตตรัสเอาไว้ว่า สติที่พอควรจึงจะมีสมาธิที่พอควรดังนี้ ด้วยเหตุดังนี้ นี่เรียกว่า เอาฉันทะละฉันทะ ใช้ตัณหาเพื่อละตัณหา (แต่อย่าไปหลงในความเก่งตนนะครับจะถูกโลภะ โมหะ มันล่อลวงให้หลงยึดมั่นถือมั่นติดใจจนถอนไม่ขึ้น ให้พึงน้อมระลึกพระนักปราชญ์ ผู้มีสันดานแห่งพระอริยะนั้น ย่อมเห็นทุกข์และโทษอันเกิดแต่ความเพลิดเพลิน เพราะจักนำความเสียหายมาให้เราได้ในภายหลัง "ทำเหมือนดั่งพระอุปคุตท่านใช้อุบายและอภิญญาทรมานพญามารจนตั้งจิตอธิษฐานว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าดังนี้") อันนี้เป็นทางแห่งสมถะเพื่อเข้าสู่วิปัสนาญาณของ จิต เจตสิก


แม้ผมจะเห็นตามจริงอย่างนี้ก็จริง แต่ผมเชื่อและมั่นใจอย่างมากว่านี่ยังไม่ถึงขั้นวิปัสสนายังเป็นสมถะอยู่ เป็นปัญญาในสมถะอันเป็นทางเข้าไปสู่วิปัสสนา ผู้ที่ถึงวิปัสสนาญาณท่านต้องเห็นอยู่ตลอดเวลาไม่ใช่เห็นบ้างไม่เห็นบ้างอย่างนี้ มีความคิดพิจารณาในแบบวิปัสสนาโดยไม่ไกด้นึกคิดเอา ที่ผมกล่าวอย่างนี้เพราะมีครั้งหนึ่งขณะผมอาบนั้นอยู่นั้น ผมได้น้อมพิจารณาในวิปัสนา จากนั้นพอจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลื่น ได้รู้รส ได้รู้โผฐฐัพพะ ได้รู้ธรรมมารมณ์ มันไม่เห็นตัวตนบุคคลใดเลยที่มันเห็นมันรับรู้ได้ มันเป็นเพียงแค่ธาตุ แค่รูปนามทั้งหมด พอจะพิจารณาน้อมเอามาลงในวิปัสสนามันก็คิดและเห็นโดยความเป็นวิปัสสนา ไม่ใช่ความคิดวิเคราะห์ตรึกนึกเอาแต่มันเห็นจริงมันเข้าไปรู้ตามจริงอย่างนั้น แม้ช่วงเวลานั้นจะเพียงแค่ 1-5 นาทีที่เห็น แต่มันก็นานพอที่จะทำให้ผมรู้ได้ว่าผู้ที่ถึงวิปัสสนาจริงๆท่านเห็นยังไง พิจารณายังไง มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นผล ไม่ใช่แบบที่ผมโพสท์ลงกระทู้ทั้งหมดนี้แน่นอนดังนี้ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 14, 2014, 01:50:46 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2014, 01:47:30 pm »
0
 
st12 st12 st12


- ผมเขียนในส่วนเบื้องต้นที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเดินเข้าทาง สมาบัติ และ วิปัสสนาแล้วเสร็จวันนี้ เวลา 11.30 น. โดยประมาณ ซึ่งวันนี้เป็นวัน อาสาฬหบูชา ผมปารถนาอย่างยิ่งจะให้ธรรมทานนี้เป็นประโยชน์แก่ทุกท่านที่เข้ามาแวะเยี่ยมชม แต่ผมก็เป็นเพียงผู้ต้อบต่ำยิ่งกว่าปุถุชน ไม่มีส๊ล ไม่มีธรรม ดังนั้นธรรมที่รู้เห็นทุกท่านที่แวะชมต้องกรองแล้วน้อมนำไปใช้ในอุบายที่คาดว่าเกิดประโยชน์กับท่าน ทางที่ถูกต้องคือทางของพระพุทธเจ้าดังนั้นแม้ธรรมใดๆที่ผมโพสท์ไปนี้หากเป็นประโยชน์ต่อท่านทั้งหลาย ให้ท่านได้รู้และศรัทธาเลยว่านี่คือธรรมของพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ไม่มีธรรมใดที่เป็นของผม

- และอีกส่วนหนึ่งของขออุทิศบุญกุศลทั้งปวงที่ผมได้สะสมมาดีแล้วให้แด่ "เตี่ยกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา" ผู้เป็นบิดาให้กำเนินและเลี้ยงดูผมจนเติบโตมีงานทำมีครอบครัวเลี้ยงดูลูกเมีย พ่อ แม่ บุพการีทั้งหลาย ญาติพี่น้องทั้งหลาย และ ทำบุญมากมายได้อย่างไม่ขัดสนได้


"วันที่ 5 มกราคม 2557 ที่ผ่านมานี้ เป็นวันครบรอบวันตายของ คุณพ่อ กิมคุณ เบญจศรีวัฒนา เตี่ยของผม ครบ 1 ปี พอดี"

ผมจึงปารถนาขอให้ท่านผู้ที่เข้าแวะเยี่ยมชมในเวบและกระทู้นี้ ทุกท่านล้วนมีธรรมสูงกันทุกคน มีศีล มีธรรม รู้ธรรมทั้งปวง ได้มีความเมตตากรุณาอุทิศผลบุญบารมีของท่านแม้เพียงเล็กน้อยก็ดีได้แผ่อุทิศส่วนบุญกุศลให้กับ


"คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา"

จักเป็นพระคุณอย่างสูงแก่ผม และ เป็นทานบารมีแก่ตัวท่านผู้มีจิตเมตตากรุณาอุทิศบุญนั้นให้แก่เตี่ยผมด้วยครับ

- ด้วยเหตุดังนี้ๆ เมื่อผมยังชีพนี้อยู่ และ ยังได้แวะเข้าเวบนี้อยู่ หากเมื่อผมได้รู้เห็นธรรมใดที่ดีเป็นประโยชน์ก็จักนำมาเผยแพร่ให้ท่านทั้งหลายได้เรียนรู้และน้อมนำมาพิจารณาอยู่เนืองๆครับ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง


st12 st12 st12

บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2014, 01:42:45 pm »
0

     ๒.๒ การละกิเลสด้วยการเจริญเข้าสู่กอง สมถะกรรมฐาน(ว่าด้วยราคะ ๑)

    ๒.๒.๑ เจริญจิตขึ้นให้เห็นในสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ มีความสำรวมกาย วาจา ใจ มีศีลสังวร จนสงเคราะห์ลงให้เห็นเป็นของไม่สวยไม่งามที่ไม่น่าพิศมัยยินดี เข้าพิจารณาในเป็น ปฏิกูลมนสิการ และ อสุภะกรรมฐาน สักเป็นแต่เพียงธาตุ เพื่อละกามราคะ

    ๒.๒.๑.ก เจริญจิตขึ้นระลึกในพุทธานุสสติเป็นฐานแห่งจิตและความระลึกรู้ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์

ก. เมื่อเรารู้อารมณ์ใดๆทางสฬายตนะแล้วเกิดกามราคะ ก็ให้เกิดสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ มีสติตั้งอยู่ระลึกรู้ว่าราคะเกิด จากนั้นให้เจริญอานาปานนสติ+พุทธานุสสติทำดังนี้

๑. หายใจเข้ายาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจเข้ายาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "พุทธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 80000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
(เมื่อหายใจเข้ายาวจนสุดลมแล้ว เราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้วระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)

๒. หายใจออกยาวๆจนสุดใจ มีสติรู้ว่าหายใจออกยาวพร้อมกำกับคำบริกรรมว่า "โธ" น้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป หรือ ภาพวาดพระพุทธเจ้าองค์ใดๆที่ทำให้เราสงบใจเมื่อระลึกถึง (โดยส่วนตัวผมจะระลึกถึงภาพของพระพุทธเจ้าที่เขาถ่ายติดใต้ต้นโพธิ์ด้วยผมพิจารณาและศรัทธาถึงความตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เองของพระพุทธเจ้า เห็นถึงความสำรวมกาย วาจา ใจ มีสติและจิตตั้งมั่น มีความผ่องใส เบิกบาน สงบ สุขอันปราศจากกิเลสเป็นสภาวะธรรมที่ชื่อว่า "อระหัง" [ระลึกเอาความสุขอันปราศจากกิเลสมีความไม่ติดข้องใจยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไรๆมันผ่องใสเบิกบานสงบสุขอย่างที่เราเห็นสภาวะของพระพุทธเจ้าดังในรูปนั้นเอง] มีพระเมตตาแผ่ออกไปทั่ว 80000 โลกธาตุ [ระลึกว่าพระเมตตาและพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพนั้นแผ่มาสู่ตนให้หายความร้อนรุ่มใจ])
(เมื่อหายใจเข้าออกจนสุดลมแล้วเราอาจจะกลั้นลมหายใจไว้ แล้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าดังนี้จะเป็นการดึงเอาความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันให้เกิดเร็วขึ้น)
- พึงเจริญอนุสสติด้วยอานาปานนสติและพุทธานุสสติเแล้วระลึกอย่างนี้สัก 3-5 ครั้ง คือ หายใจเข้า(พุทธ)+หายใจออก(โธ) นับเป็น 1 ครั้ง เพื่อดึง สัมปชัญญะ+สติ ขึ้นมารู้กายรู้ใจในปัจจุบันทำให้จิตสงบและผละออกจากกามราคะ

ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระอานนท์ว่าบุคคลใดก็ตาแม้จะระลึกถึงหรือเห็นพระพุทธเจ้าแล้วกล่าวคำว่า อระหังๆๆๆ อยู่อย่างนี้ แม้จะสงบรำงับจากกิเลสได้แต่ก็ยังขจัดทิ้งซึ่งกิเลสไม่ได้หากเอาแต่ระลึกบริกรรมแต่ไม่ปฏิบัติตาม ด้วยเหตุดังนี้แล้วเราจะเจริญพุทธานุสสติอย่างไรให้หลุดพ้นซึ่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมมีวิธีให้ครับสามารถดับกิเลสเครื่องร้อนรุ่มกายใจได้หมด และ ปฏิบัติเข้าถึงสัมมาสมาธิ รูปฌาณ อรูปฌาณ จนถึงวิปัสนาญาณได้ แต่ขอกล่าวโดยย่อเฉพาะส่วนดังนัี้

๑. "พึงตรึกนึก รำลึกคำนึงถึงว่า พระพุทธเจ้านั้นทรงพระเมตตากรุณามาปรากฏอยู่เบื้องหน้าเราผู้เป็นสาวกแล้ว" เมื่อพระตถาคตมาอยู่เบื้องหน้านี้แล้วและพระตถาคตนั้นมีความสำรวมกาย-วาจา-ใจอยู่ มีศีลสังวร ได้กระทำให้เราเห็นอยู่เบื้องหน้าดังนี้แล้ว เรายังจะเสพย์ในกามราคะอันร้อนรุ่มอันเป็นอกุศลธรรมอันลามกจัญไรต่อหน้าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร เราผู้เป็นสาวกผู้ประพฤติตามอยู่นี้ควรสำรวมกาย-วาจา-ใจ ดั่งพระตถาคตที่ทำเป็นแบบอย่างนั้นแก่เรา พระตถาคตจะตรัสสอนเสมอว่าให้เลือกสอิ่งที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์
- สิ่งใดที่ทำให้กุศลธรรมเสื่อมลง แล้วอกุศลธรรมอันลามกจัญไรเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นไม่ควรเสพย์
- สิ่งใดที่ทำให้อกุศลธรรมอันลามกจัญไรเลื่อมลง แล้วกุศลธรรมอันผ่องใสเบิกบาน มีความสงบร่มเย็น เป็นสุขอันปราศจากกาม ราคะ โทสะ โมหะ ปราศจากความเบียดเบียนเกิดขึ้น พระตถาคตตรัสว่าสิ่งนั้นควรเสพย์
(การสำรวมกาย วาจา ใจ แล้วเลือกสิ่งที่ควรเสพย์ ดูเพิ่มเติมที่ "สัลเลขะสูตร" ตาม Link นี้ http://www.nkgen.com/386.htm)

๒. ด้วยเหตุดังนี้แล้ว ให้พึงหวนพิจารณารำลึกว่า พระตถาคตก็อยู่เบื้องหน้าเรานี้แล้ว และ แสดงธรรมแห่งกุศลอันควรเจริญปฏิบัติแก่เราแล้วอยู่ทุกขณะดังนี้
  ก. แม้เรายืนอยู่-พระตถาคตก็ทรงพระวรกายยืนในเบื้องหน้าเรา ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ข. แม้เราเดินอยู่-พระตถาคตก็ทรงเสด็จนำหน้าเราไปอยู่นี้เสมอ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ค. แม้เรานั่งอยู่-พระตถาคตก็ทรงประทับนั่งอยู่เบื้องหน้าเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์ให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
  ง. แม้เรานอนอยู่-พระตถาคตก็ทรงบรรทมอยู่เบื้องหน้าเรา หากมีหิ้งพระอยู่ที่บ้านก็ให้พึงรำลึกว่าพระตถาคตประทับบรรทมอยู่ที่นั่น หรือ ทรงพระญาณแลดูเราอยู่นี้ ทรงได้สำรวมกาย-วาจา-ใจ และ เลือกสิ่งที่ควรเสพย์แม้ในยามนอนให้เราเห็นแล้วประพฤติตามอยู่นี้
๓. ด้วยพระเมตตากรุณาที่พระองค์ทรงดูแลเป็นห่วงเราอยู่แลปฏิบัติให้เห็นอย่างนี้ แล้วเราผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระตถาคตก็ควรประพฤติตาม คือ ต้องสำรวมในกาย วาจา ใจ แล้วละเสียซึ่งกิเลสกามราคะอันเร่าร้อนร้อนรุ่มกายใจที่กำลังกลุ้มรุมเราอยู่นี้เสีย ด้วยพึงเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ควรเสพย์ เพราะมันหาประโยชน์สุขอันสงบร่มเย็นกายใจไม่ได้นอกจากทุกข์ด้วยประการฉะนี้แล (การพิจารณาให้เห็นถึงคุณและโทษตามจริงในกิเลสทำให้เกิดธรรมที่มีเสมอกันคือทั้ง ฉันทะและปฏิฆะเท่ากัน เกิดเป็นอุเบกขาขึ้นแก่จิต นี่ก็เป็นทางเข้าสู่อุเบกขาจิตประการหนึ่งที่ว่าด้วยการมีธรรมเสมอกัน)

๔. เพียรเจริญปฏิบัติอย่างนี้เป็นประจำ จิตที่น้อมไปหากามราคะจะเบาบางและสงบรำงับลง การสำรวมในกาย-วาจา-ใจก็บริบูรณ์ขึ้น เกิดเป็นศีลสังวรณ์ จนบังเกิดศีลที่บริสุทธิ์(สีลวิสุทธิ) เมื่อหวนระลึกถึงศีลที่สำเร็จบริบูรณฺ์นี้แล้ว ความร้อนรุ่มกายใจย่อมไม่มี จิตย่อมมีความผ่องใสปราโมทย์เบิกบาน มีปิติอิ่มเอม เป็นสุข จนเข้าถึงสัมมาสมาธิได้ด้วยประการฉะนี้ดังนี้
(การระลึกถึงคุณและปฏิปทาของพระพุทธเจ้าในพุทธานนุสสตินี้ ทำให้เราได้ทั้ง ศีล จาคะ สมาธิในสมถะ ได้ทั้งการอบรมกายและจิตเป็นวิปัสสนา)

    ๒.๒.๑.ข พิจารณาในบุคคคลที่เราเห็นอยู่ที่กำลังเกิดราคะอยู่นี้ว่า กายของเขานี้มีสภาพอย่างไรบ้าง เช่น เมื่อมองที่แขนของเขา มันก็โครงสร้างรูปร่างเหมือนแขนของเรา แล้วให้มาจับบีบแขนของเรามันก็นุ่ม แข็ง แขนของเขาก็มีสภาพเหมือนกัน เขามีผมเราก็มีผม เขามีเล็บเราก็มีเล็บ เขามีเนื้อเราก็มีเนื้อ เขามีฟันเราก็มีฟัน เขาก็เหมือนกับเราทุกอย่างไม่ต่างกัน แล้วพิจารณาเห็นแยกกายเขาออกเป็นอาการทั้ง 32 ดังนี้

ท์วัตติงสาการะปาโฐ
(ท์วัตติงสาการะปาโฐ คือ อาการทั้ง 32 ประการนี้ คือ กายคตาสติจะมีแต่เพียงในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่มี เป็นการพิจารณาโดยแยบคายที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนดึงเข้าได้ถึง ฌาณ ๔ เข้าสมถะเห็นเป็น อสุภะ ธาตุ กสิน ก็ได้ เข้าสู่วิปัสนาเห็นเป็นเพียงธาตุหรือรูปนามก็ได้ ในอนุสสติ ๑๐ บทท์วัตติงสาการะปาโฐ คือ กายคตาสติ ส่วนในหมวดที่พระพุทธเจ้าจัดรวมว่าเป็นการพิจารณากายคตาสตินั้น ท์วัตติงสาการะปาโฐ จะเป็น ปฏิกูลบรรพ เป็นการพิจารณาส่วนหนึ่งในกายคตาสติที่รวมเข้ากัน 7 หมวด คือ อานาปานสติบรรพ๑ อิริยาบถบรรพ๑ สัมปชัญญะบรรพ๑ ปฏิกูลมนสิการบรรพ๑ ธาตุมนสิการบรรพ๑ นวสีวถิกาบรรพ๑ และ สัมมาสมาธิ คือ รูปฌาณ๔ หรือ กายานุสติปัฏฐาน นั้นเอง)

  ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

 เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่

 ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น

 น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร {เยื่อในสมอง}


ก็กายเรานี้เป็นอย่างนี้แล กายเขาที่เราเสพย์อารมณ์กำหนัดราคะอยู่ก็เป็นดังนี้แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา อันมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบเป็นของไม่สะอาดดังนี้แล กายเราและกายเขานี้ก็เป็นเช่นนี้แล สิ่งเหล่านี้ที่รวมอยู่ในกายเราและเขา เราจักพึงหวังเอาปารถนาในอาการทั้ง 32 เหล่านั้นในเขาก็ไม่เกิดประโยชน์ไรๆนอกจากทุกข์อันรุ่มร้อนมัวหมองใจจากการปารถนายึดมั่นถือมั่นในของไม่สะอาดเหล่านั้นดังนี้

    ๒.๒.๑.ค เจริญจิตขึ้นพิจารณาในบุคคคลที่เราเห็นอยู่ที่กำลังเกิดราคะอยู่นี้ว่า กายของเขานี้มีสภาพอย่างไรซึ่งประกอบไปด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ (อากาศ วิญญาณ) อย่างไรบ้าง

- เบื้องต้นเราต้องทำความเข้าใจดังนี้ก่อนว่า



ขอขอบคุณที่มาของรูปจากคุณณัฐพลศร ตามกระทู้นี้ครับ
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5260.0

๑. ขั้นตอนพิจารณาปฏิบัติในธาตุดิน เราจะรู้อย่างไรว่าธาตุเหล่านี้คือธาตุดิน เพราะที่มองเห็นมันก็เป็นคนทั้งตัว ตับ ไต กระเพาะ เล็บ มันก็เป็นอย่างที่เรารู้มาตั้งแต่เด็กจะให้มองเป็นดินยังไง
    " ข้อนี้พระตถาคตให้เอาเอกลักษณ์ของธาตุ คือ สภาพคุณลักษณะของธาตุดินเป็นอารมณ์ นั่นคือ รู้ในสภาพที่อ่อนและแข็ง ไม่ต้องไปรู้สภาพอะไรอื่นให้รับรู้สภาพนี้จากจากการสัมผัสรู้สึกถึงอาการที่เป็นเอกลักษณ์หรือคุณลักษณะของธาตุดินเท่านั้น(ถ้าทางวิปัสนานี้ท่านจะให้รู้จนเห็นไม่มีตัวตนบุคคลใดสักแต่เป็นเพียงรูปนาม ธาตุดินก็คือรูป เป็นมหาภูตรูป๔)"
    " ทีนี้เราลองจับดูหนังของเรามันก็อ่อนนุ่มใช่ไหม นั่นคือคุณสมบัติของธาตุดิน คือ มีความอ่อนนุ่มหรือแข็ง ดังนั้นหนังจึงเป็นธาตุดิน ผมก็มีลักษณะอ่อนนุ่มนั้นก็เป็นลักษณะของธาตุดิน เล็บมันแข็งใช่ไหมดังนั้นเล็บก็เป็นธาตุดิน เนื้อก็อ่อนนุ่มเนื้อจึงเป็นธาตุดิน หากเป็น ตับ ไต ไส้ กระเพาะอาหาร เราอาจจะยังไม่เคยจับใช่ไหม แต่คนกับสัตว์ก็เหมือนกันเราคงพอจะได้สัมผัสกันว่า มันมีความอ่อนนุ่มและแข็งเท่านั้น กระดูกก็แข็งก็แสดงว่าอวัยวะภายในมีตับ ไต กระดูกเป็นต้น คือธาตุดินที่มีอยู่ในกายเรา ก่อตัวรวมกัมกับน้ำบ้าง ลมบ้าง ไฟบ้าง อากาศศบ้างขึ้นเป็นรูปร่างเป็นอวัยวะต่างๆและตัวของคน สัตว์ขึ้นมานั่นเอง ร่างกายเราจึงประกอบด้วยธาตุดิน ด้วยประการฉะนี้"
    - หากอยากรู้ว่ากายเรานี้ อวัยวะชิ้นนั้นๆคือธาตุใดก็ให้ลองไปซื้อเครื่องใน หมู วัว เป็ด ไก่ เอามาจับๆและเพ่งพิจารณาดูว่ามันมีสภาพอย่างไร เวลาจับๆบีบๆนี่มัน อ่อนนุ่ม หรือ แข็ง เป็นใหญ่ในทุกพื้นที่ที่จับใช่ไหม นั่นแสดงว่าอวัยวะชิ้นนั้นคือธาตุดินนั่นเอง
    - หากอยากรู้ว่าอวัยวะที่เป็นธาตุดินมีดินรวมตัวกันขึ้นเป็นรูปทรงนั้นๆ มันเกิดขึ้นเพราะเหตุใดหนอเป็นปัจจัยปรุงแต่ง มีธาตุใดๆรวมอยู่บ้างหนอ ก็ให้ลองหลับตาแล้วจับๆบีบๆดูที่อวัยวะชิ้นนั้น เราจะได้รับความรู้สึกว่าเหมือนมีบางสิ่งที่มีสภาพอันเอิบอาบ ซึมซาย เกาะกุม เคลื่อนตัวไหลออกมาจากอวัยวะชิ้นนั้นๆ เมื่อเรามองดูก็จะเห็นเป็น น้ำเลือด น้ำหนอง มันข้น เป้นต้น เช่น หั่นดูมีเลือดหรือน้ำเหลืองภายในบ้าง มันก็คือธาตุน้ำนั่นเอง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีน้ำเป็นตัวเกาะกุมดินเข้ารวมกันให้มีรูปทรงลักษณะเช่นนั้น เมื่อบีบเคลื่อนสภาพมันดูคือลองเอาเครื่องในหรือก้อนเนื้อจุ่มลงไปในน้ำแล้วล้องบีบดูจะเห็นเหมือนมีลมเคลื่อนตัวทำให้ผุดขึ้นเป็นฟองในน้ำบ้าง--นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีลมร่วมอยู่เพื่อพยุงรูปทรงในส่วนนั้นให้คงสภาพอยู่ด้วย เมื่ออวัยวะที่สดใหม่อยู่ก็จะมีความอุ่นมีอุณหภูมิประมาณหนึ่งในอวัยวะส่วนนั้นบ้าง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีต้องอาศัยธาตุไฟเพื่อเผาผาญหลอมรวมให้อยู่ร่วมเกาะกุมกันด้วย เมื่อเราสังเกตุหรือผ่าดูอวัยวะชิ้นนั้นๆจะเห็นว่ามันมีช่องอณุเล็กๆแทรกอยู่เต็มไปหมดบ้าง-นั่นก็แสดงว่าธาตุดินจะก่อตัวกันขึ้นเป็นรูปร่างแบบใดๆได้ก็ต้องมีอากาศธาตุเแทรกอยู่ในทุกอณุของดินเพื่อให้มันเป็นช่องสำหรับความยืดหยุ่นเคลื่อนตัวและแทรกซึมระบายให้ธาตุอื่นๆได้นั่นเอง

      อันนี้จะเห็นว่า ในอวัยวะภายในหรือชิ้นเนื้อหนึ่งๆจะประกอบไปด้วย ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ อันประครองอาศัยกันอยู่เพื่อรวมตัวกันขึ้นเป็นธาตุนั้นๆเป็นรูปทรงของอวัยวะส่วนนั้นส่วนนี้อยู่ภายในกายเราเพื่อทำหน้าที่ต่างๆในสถาวะที่สมดุลย์กันจะขาดกันไม่ได้จึงสามารถดำเนินไปทำหน้าที่ซึ่งกันและกันต่อไปได้ ดั่งตับ ไต ไส้ กระดูก เป็นต้น
    - จากนั้นลองเอาอวัยวะหรือชิ้นเนื้อเหล่านั้น ไปวางทิ้งไว้ในที่ใดๆก็ตามมี พอระยะเวลาผ่านไปก็จะเห็นว่า เมื่อน้ำเหือดแห้งลงสภาพดินของอวัยวะส่วนนั้นๆแทนที่จะอ่อนนุ่มกลับกลายเป็นแข็งแม้ยังคงสภาพดินอยู่แต่ความอ่อนนุ่มก็ไม่คงอยู่แล้ว เมื่อขาตธาตุน้ำการเกาะกุมรวมกันของสภาพธุาตทั้งหลายอันจะทำให้คงอยู่ในสภาพเดิมของดินก็ไม่มีแล้ว เมื่อลมหายไปความทรงตัวอยู่ของธาตุดินก็ไม่มีแล้ว เมื่อไฟดับไปความหลอมรวมสภาพไรๆของดินก็ไม่มีแล้ว
    - จากนั้นไม่นานธาตุดินที่เป็นอวัยวะส่วนนั้นๆก็เสื่อมโทรมแปรเปลี่ยนและดับสลายไปในที่สุด

๒. แม้ในธาตุน้ำ ลม ไฟ ก็พิจารณาในกายอย่างนี้เป็นต้นส่วนเอกลักษณ์คุณลักษณะใดๆของธาตุ น้ำ ลม ไฟ ก็มีดังรูปที่ผมคำลอกมาจากท่านณัฐพลศรแล้วจึงไม่ต้องอธิบายซ้ำซ้อนนะครับ จะยกตัวอย่างเพียงคราวๆที่พอไว้เป็นแนวคิดพิจารณาดังนี้
    ๒.๑ ก็ดูจากภายนอก เช่น ปัสสาวะที่เราฉี่ออกมา น้ำมูกที่เราสั่งออกมา น้ำตาที่ไหลออกมา น้ำเลือด น้ำหนองที่ไหลออกมาลองสัมผัสดูว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เอกลักษณฺ์ของมันคือ ความเอิบอาบ ซาบซ่าน เกาะกุม เหมือนกันหมดใช่ไหม นั่นคือเอกลักษณ์ของธาตุน้ำ ในกายเรานี้ก็ประกอบไปด้วยน้ำอันเกาะกุมซาบซ่านให้คงสภาพกายรวมกันไว้อยู่ฉะนี้แล
    ๒.๒ เมื่อเราดูภายนอกคงเคยเห็นลมพัดเข้าออกถ้ำหรือภายในบ้านมันเคลื่อนตัวตรึงไหวพัดผ่านเราไปอย่างไร แม้ในกายเราก็มีอย่างนั้นภายในกายเราเหมือนถ้ำหรือบ้านให้ลมพัดผ่านเคลื่อนตัว ดั่งลมในกระเพาะอาหารมันจะมีความพัดขึ้นเคลื่อนตัวออกมาทำให้เราเรอออกมา หรือ ลมที่พัดลงลมในสำไส้ที่ออกมาเป็นตดเราจะรู้ความเคลื่อนตัวตึงไหวของมันได้ใช่ไหมครับ อันนี้เราทุกคนรู้สึกได้
    ๒.๓ เมื่อเราดูภายนอกเราย่อมเห็นไปที่เผาไหม้ เผาผลาญ ลุกโชนหลอมละลายรวมตัวกันไม่ว่าสิ่งใดๆทั้ง หิน เหล็ก น้ำมัน ไม้บ้าง มันหลอมได้หมดทุกอย่าง สภาพที่เราพอจะรู้สึกกับไฟได้คือมีสภาพร้อน แผดเผา ทำให้แสบร้อนบ้าง หรือ ภายนอกที่เป็นสภาพอากาศอุณหภูมิมันก็มีสภาพที่ทำให้ทั้งร้อน อบอุ่น และ เย็น ดังนี้ แม้ในกายเราไฟอันเป็นธาตุที่หล่อหลอมอยู่ก็มีสภาพเช่นนี้ คอยย่อยเผาผลาญอาหารบ้าง คอยปรับสภาพอุณหภูมิ หรือ ความอบอุ่น ร้อน เย็นในกายบ้าง ลองจับแขน จับแกล้ม เอามือแตะหน้าผาก หรือเอามือไปรองฉี่ที่เราเพิ่งฉี่ออกมา หรือเมื่อเลือดออกลองเอามือไปแต่เลือดดู จะเห็นว่ามันมีสภาพอุ่นบ้าง ร้อนบ้าง เย็นบ้างเป็นต้นออกมาจากกายเรานี้ เมื่อสภาพที่ไฟมีมากอันไม่สมดุลย์กับธาตุอื่นในกายก็เป็นเหตุให้เป็นไข้ ตัวร้อนบ้างเป็นต้น
 
ลองพิจารณาอย่างนี้ไปเรื่อยๆก็จะเห็นความแยกเป็นธาตุในกายเราอันแม้ยังทรงบัญญัติอยู่ก็ตาม ดังตัวอย่างการพิจารณาของธาตุดินที่เป็นอวัยวะทั้งหลายในกายเรา ที่มีเกิดขึ้นในกายเราอย่างนี้ เราก็จะเริ่มเห็นว่ากายเหล่านี้มันประกอบไปด้วยธาตุ ๕ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศอันเป็นที่ว่าง-ช่องว่างหรือเป็นรูกวงในกายเรานี้ อาศัยกันเกิดขึ้นเพื่อยังทรงสภาพหลอมรวมเกาะกุมเคลื่อนตัวพยุงกันอยู่ มีวิญญาณธาตุอันเป็นธาตุรู้ดังนี้ จึงรวมเป็น ๖ ธาตุ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ หลอมรวมอาศัยกันขึ้นมาเป็นคน สัตว์ สิ่งของ ไม่มีตัวตนบุคคลใดที่เป็นนอกจากนี้ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรเปลี่ยนเสื่อมโทรม และ สูญสลายดับไปในที่สุด เหมือนพิจารณาเห็นในอสุภะกรรมฐานเราจักเห็นความเสื่อมโทรมและสูญสลายไปในที่สุดของร่างกาย อวัยวะ อาการทั้ง 32 ไรๆ อันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ ทั้งปวงในกายนี้ จำแนกอยู่เป็นประจำเนืองๆจะเข้าเห็นได้ถึงธาตุภายในกายด้วยประการเบื้องต้นดังนี้

เพิ่มเติมการพิจารณาธาตุด้วยการเพ่งกสินธาตุเทียบเคียง

- อีกประการหนึ่งการจะให้มองเห็นเป็นธาตุนั้น โดยอาศัยการเพ่งกสิน เพื่อดับกามคุณ๕ เห็นเป็นธาตุ เช่น เพ่งธาตุดิน มีผลออกมาจะเห็นร่างกายของคนเป็นดินไปหมด (ซึ่งอานิสงส์จากการเพ่งกสินดินนี้ผมพบเจอมาด้วยตนเอง) ลองเพ่งกสินดินดูด้วยน้อมระลึกให้เห็นโทษของกามคุณ๕ เพื่อให้ละกามราคะได้ ให้เจริญเพ่งในกสินดังนี้ครับ
๑. โดยให้พึงเอาวงกสินดินมาเพ่งจนจดจำได้แม้ลืมตาหลับตาแล้วเพ่งระลึกไป จากนั้นก็พึงเพ่งดูรูปหรือนิมิตของวงกสินนั้นไปเรื่อยๆ พร้อมบริกรรมว่า ปฐวี กสินัง ดินๆๆๆๆ เริ่มแรกให้ทำเช่นนี้ไปก่อนจนสามารถเพ่งดวงกสินแล้วจิตรวมสงบลงได้ ในนิมิตที่เพ่งนั้นเราก็สามารถบังคับให้เล็กใหญ่ตามใจได้ เมื่อเราจะพึงระลึกนึกถึงเมื่อไหร่ก็เห็นนิมิตภาพวงกสินนั้นได้ทันที แล้วพึงเห็นภาพนิมิตนั้นได้นานตามปารถนา ทำให้ได้ตามนี้ก่อน
๒. ทีนี้เมื่อเรามองดูกายตนก็เพ่งดูเทียบพร้อมรำลึกถึงภาพดวงกสินดินนั้น แล้วบริกรรมว่า ปฐวี กสินัง ดินๆๆๆๆ เริ่มต้นอย่างนี้ไปเป็นการใช้กสินให้เห็นเป็นธาตุไม่ใช่เอาอภิญญา ซึ่งผมพลิกแพลงใช้เพื่อละกามราคะ อาจจะต่างจากครูบาอาจารย์ที่สอนในวิธีเจริญอภิญญา ซึ่งท่านสามารถทำน้ำให้เป็นดินได้ ทำดินให้เป็นน้ำได้
(รายละเอียดการเพ่งในแบบอภิญญาทั้งหลายมีสอนจากครูบาอาจารย์มากมาย โดยเฉพาะของพระราชพรหมญาณ ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์สายอภิญญา)


     ๒.๒.๑.ง ระลึกเจริญพิจารณาเอาความตายมีอยู่เบื้องหน้าเป็นอารมณ์ คือ เจริญใน มรณะสติ

    - ให้พึงระลึกถึงความตายตลอดเวลา โดยให้พึงระลึกว่าเราจะต้องตายก่อน เช่น อาจจะนอนแล้วไหลตาย อาจจะนั่งแล้วช๊อคตาย อาจจะยืนแล้วหน้ามืดล้มหัวใจวายตาย อาจจะเดินแล้วล้มถูกหอนหรือของแหลมคมทิ่มตายตาย อาจจะกินแล้วติดคอตาย อาจจะกำลังขี้เยี่ยวอยู่แล้วตาย กำลังกินข้าวอยู่แล้วตาย หายใจเข้าอยู่ก็จักตาย หายใจออกอยู่ก็จักตาย ดังนั้นแล้วให้พึงเจริญระลึกอยู่ทุกขณะในเบื้องต้นอย่างนี้ว่า

๑. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งวันหนึ่ง หรือ ตลอดวันหนึ่งวันหนึ่ง
๒. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วขณะที่ ยืน เดิน นั่ง นอน
๓. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วขณะที่กินข้าวเสร็จ หรือ กลืนข้าว 4 คำ บ้าง หรือ ชั่วคำหนึ่ง
๔. เราพึงมีชีวิตอยู่ได้แค่ชั่วหายใจเข้าออก หรือ ชั่วขณะหายใจเข้า หรือ ชั่วขณะหายใจออก

    - ดังนั้นแล้ว เมื่อเกิด กามราคะ ขึ้นมาในใจให้พึงเจริญปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้

    ก. เมื่อเรากำลัง ยืน เดิน ยั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆเหล่าอยู่ แล้วไปเห็นเพศตรงข้ามทำให้เกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าเมื่อเรา ยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ในอิริยาบถใดๆนี้เราก็จักตายไป เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราเอาจิตไปฝากขึ้นไว้กับราคะอันร้อนรุ่ม เมื่อตายด้วยประการฉะนี้เราก็จักลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วให้หายใจเข้าออกยาวๆแรงๆสัก 3-5 ครั้ง เพื่อดึงเอาความรู้ตัวและระลึกรู้ทันความปรุงแต่งจิตในปัจจุบันขึ้นมา มีสัมปชัญญะรู้อิริยาบถตนในปัจจุบันขณะ ยืนก็รู้ว่ายืน เดินก็รู้ว่าเดิน นั่งก็รู้ว่านั่ง นอนก็รู้ว่านอน มีสติรู้ว่ากำลังจะไปไหน จะไปทำอะไร กำลังตรึกนึกคิดอะไร แล้วพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาท มีความสำรวมกายวาจาใจ แต่งกายให้เรียบร้อย แม้เมื่อต้องตายไปก็จักไปขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมหรือนิพพานเพราะมีกรรมฐานเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

    ข. เมื่อเรากำลังกินข้าวอยู่ แล้วเราไปเห็นเพศตรงข้ามทำให้เกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าแม้เมื่อขณะเรากลืนคำข้าวคำนี้แล้วเราก็จักต้องตายไป ไม่ก็ขณะเคี้ยวข้าวเราก็จักตายไป ไม่ก็ขณะตักข้าวเข้าปากเราก็จะต้องตายไป เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราตายด้วยเอากามราคะอันร้อนรุ่มกลืนกินลงไปกับคำข้าว ก็จักตายด้วยความร้อนรุ่มแล้วลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วให้หายใจเข้าออกยาวๆแรงๆสัก 3-5 ครั้ง เพื่อดึงเอาความรู้ตัวและระลึกรู้ทันความปรุงแต่งจิตในปัจจุบันขึ้นมา มีสัมปชัญญะรู้ตัวทั่วพร้อมรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ กินข้าวก็รู้ว่ากำลังกินข้าวอยู่ พิจารณาดูคำข้าวที่เราเคี้ยวกลืนว่ามีสิ่งใดอยู่ กินเพื่ออะไร มีสติรู้ความปรุงแต่งจิตตนใจปัจจุบันขณะราคะมีอยู่ก็รู้ว่ามีอยู่ ราคะดับไปแล้วก็รู้ว่าราคะดับไป คำข้าวที่กินเคี้ยวกลืนอันปราศจากความกำหนัดราคะแล้วนี้ แม้เมื่อกินเคี้ยวกลืนไปแล้วต้องตายไป ก็จักไปขึ้นสวรรค์ชั้นพรหมหรือนิพพานเพราะมีกรรมฐานเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

    ค. เมื่อกำลังหายใจเข้าและออกอยู่นี้เราก็จะต้องตาย เมื่อไปเห็นเพศตรงข้ามแล้วเกิดราคะกำหนัดขึ้นมา "ก็ให้พึงพิจารณาว่าแม้เมื่อเรากำลังหายใจเข้าอยู่นี้เราก็จักตาย แม้เมื่อเรากำลังหายใจออกอยู่นี้เราก็จักตาย เรามีความตายเป็นเบื้องหน้าอยู่ทุกขณะอย่างนี้แล้ว หากเราเอาลมหายใจเข้าออกนี้ไปฝากขึ้นไว้กับราคะอันร้อนรุ่ม เมื่อเราตายด้วยประการฉะนี้เราก็จักลงนรกไปเสียแล้ว" ดังนั้นพึงเพิกมันถอนออกเสีย แล้วพึงระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกอันสลัดจากราคะทิ้งเสีย มีพระพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้งทุกลมหายใจเข้าออกดีกว่าเป็นไหนๆ แม้เมื่อต้องตายไปก็จักไปขึ้นสวรรค์หรือไปพบพระตถาคตที่แดนนิพพานพราะมีกรรมฐานพุทธานุสติทุกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ขณะที่ตาย

- เมื่อพึงเจริญอยู่เนืองๆก็จะเข้าสู่ อุเบกขา และ ฌาณ ได้


บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

bankk

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: เมษายน 03, 2015, 11:47:19 am »
0
สาธุครับ amulet
บันทึกการเข้า