ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 706
121  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผู้สูงอายุต้องรู้ 5 นิสัยอันตราย พาให้อายุสั้น มีอะไรบ้าง.? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2024, 07:13:13 am
.



ผู้สูงอายุต้องรู้ 5 นิสัยอันตราย พาให้อายุสั้น มีอะไรบ้าง.?

เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ หลายคนก็อยากมีอายุยืนยาวเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างมีความสุข ซึ่ง 5 เคล็ดลับนิสัยดีที่พาอายุยืนนั้นเราได้เอ่ยถึงไปแล้วว่ามีอะไรบ้าง แต่ขณะเดียวกันก็ควรรู้จัก 5 นิสัยอันตรายที่พาให้อายุสั้นลงด้วย เพื่อให้เราหันมาสังเกตตัวเองว่ามีนิสัยเหล่านี้ไหม

ถึงแม้จะเป็นผู้สูงวัยแล้วก็ยังสามารถปรับเปลี่ยนนิสัยแย่ๆ เหล่านี้ได้ ลองตั้งเป้าหมายเล็กๆ ค่อยๆ ปรับไปทีละอย่าง เช่น ฝึกแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น หรือตั้งใจฟังมากขึ้น รู้จักควบคุมอารมณ์เวลาอยากเถียงแบบไร้เหตุผล ลองหายใจลึกๆ 2-3 ครั้ง ถอยออกจากสถานการณ์นั้นๆ แล้วลองสำรวจว่าคุณรู้สึกอย่างไรบ้าง


@@@@@@@

1. อายุสั้นถ้า…ก้าวร้าวหรือขี้โมโห

แม้ว่าความก้าวร้าวหรือขี้โมโหมักจะเป็นเรื่องของความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าว แต่ส่งผลต่อนิสัยที่แสดงถึงความไม่เป็นมิตร การต่อต้าน ความขุ่นเคือง ความแปลกแยก การไม่เห็นด้วย ไปจนถึงพฤติกรรมรุนแรง (ที่มา: Mind Help) คนแบบนี้มักมีปัญหาในเรื่องการสื่อสารและความสัมพันธ์ ซึ่งนำไปสู่การโดดเดี่ยวทางสังคมและความเครียดที่สูงขึ้น โดยระดับคอร์ติซอลหรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งการต่อสู้หรือหนี” ที่หลั่งออกมาตอนก้าวร้าว สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ การวิจัย (อ้างอิงจาก Handbook of Cardiovascular Behavioral Medicine) ระบุว่า ระดับคอร์ติซอลที่สูงอย่างต่อเนื่องนานๆ สามารถเพิ่มการอักเสบในร่างกาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงได้

จากผลวิจัยปี 2013 ที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน (Journal of the American Heart Association) ชี้ชัดว่า คนที่ก้าวร้าวขี้โมโหจะไม่ค่อยดูแลตัวเอง มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่และมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งเป็นเหตุทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจ โดยความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุก็สูงมาก เมื่อเทียบกับคนที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

ความก้าวร้าวหรือขี้โมโหนั้น บางคนอาจฝังรากมาตั้งแต่เกิด หรือไม่ก็ซึมซับจากสภาพแวดล้อม แต่การปรับเปลี่ยนให้ก้าวร้าวน้อยลงหรือใจเย็นขึ้นสามารถทำได้ ขอแค่ต้องมุ่งมั่นและตั้งใจให้เต็มที่ ต้องมีสติรู้เท่าทันการกระทำและความรู้สึกของตนเอง ซึ่งสามารถช่วยชะลอและจัดการกับสถานการณ์ต่างๆ ได้โดยไม่ตอบสนองอย่างรุนแรง การบรรเทาความเครียดด้วยโยคะ การทำสมาธิ และการกำหนดลมหายใจ จะช่วยลดความก้าวร้าวและผลกระทบต่อสุขภาพได้ และอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยให้คุณผ่านพ้นบาดแผลทางใจในอดีตและปัจจัยอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมโกรธได้ เปลี่ยนใจร้อนเป็นใจเย็น ชีวิตสุขขึ้นแน่นอน!




2. อายุสั้นถ้า…วิตกกังวลเกินเหตุ

Clinical Psychology Reviews ระบุว่า การวิตกจริตหรือมีความกังวลสูงเป็นนิสัยที่สะท้อนถึงคนที่มีแนวโน้มจะเกิดอารมณ์ด้านลบได้ง่าย เช่น วิตกกังวล กลัว กลุ้มใจ และหงุดหงิด ฯลฯ คนที่วิตกจริตมากๆ จะมีปฏิกิริยาทางอารมณ์และเกิดความเครียดได้มากกว่า โดยมักมองว่าสถานการณ์ต่างๆ เป็นอุปสรรคหรือถูกกดดัน ส่งผลให้ไวต่อความเครียด มีโอกาสเป็นทุกข์และไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ได้มากขึ้น

การกังวลใจเป็นสิ่งปกติ และหากกังวลใจมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรควิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า คนประเภทนี้มักรู้สึกกังวลใจ ร้อนรน กลัว และหงุดหงิดอยู่ตลอดเวลา จนนำไปสู่วงจรอารมณ์ด้านลบ กระตุ้นให้เกิดความเครียดทำให้รับมือกับปัญหาได้ยากขึ้น

ความเครียดเรื้อรังที่เกิดจากระดับความวิตกจริตสูงจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ระดับฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอล (cortisol) ที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ จนนำไปสู่ปัญหาด้านหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังบางอย่างได้ นอกจากนี้ คนที่วิตกกังวลมากๆ มีโอกาสที่จะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงสุขภาพ เช่น สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าจัด หรือนิสัยการกินที่ไม่ดี ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น (ที่มา: Journal of Psychiatry Research)

วิธีคลายความวิตกกังวล คือ ต้องฝึกฝนให้ตนเองมีสติและทำสมาธิ ซึ่งจะช่วยลดความเครียด ทำให้มองเห็นสถานการณ์ต่างๆ ได้ชัดเจนและมีเหตุผลมากขึ้น ส่วนการทำจิตบำบัดจะช่วย 'รีเฟรช' ความคิด และหาวิธีจัดการกับอารมณ์เชิงลบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมด้วยการดูแลตัวเองอย่างครบถ้วน เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เท่านี้ก็จะช่วยลดความวิตกกังวลและทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นแล้ว

3. อายุสั้นถ้า…เก็บกดอารมณ์จนเครียด

การเก็บกดอารมณ์เป็นการพยายามควบคุมหรือระงับความรู้สึกข้างใน อาจจะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เป็นการพยายามเก็บไว้ไม่ให้คนอื่นรู้ ซึ่งมักเกิดจากแรงกดดันทางสังคมหรือสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยให้แสดงอารมณ์ที่แท้จริงออกมา (ที่มา: Healthline)

คนเราบางครั้งก็ต้องพยายามเก็บอารมณ์บ้าง แต่ทำบ่อยๆ ก็ไม่ดีเพราะอาจกระทบกับร่างกายและจิตใจได้ ทำให้เครียดและกังวลเพิ่มขึ้น จนอาจนำไสู่ความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เป็นต้น

การเก็บกดอารมณ์เป็นเวลานานอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อร่างกายได้เช่นกัน ความเครียดเรื้อรังจากการพยายามกดอารมณ์ไว้ตลอด จะทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอลพุ่งสูง ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ (ที่มา: Psychology Today) แถมยังอาจอาการทางกายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาวะใดๆ เลย อย่างปวดหัว ปวดเมื่อย หรือปัญหาระบบทางเดินอาหารอีกด้วย

เคล็ดลับในการสู้กับการ "เก็บกด" ก็คือ "ปล่อยวาง" รับรู้ถึงอารมณ์นั้นและแสดงความรู้สึกอย่างเหมาะสม ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูงญาติมิตร ฝึกสติให้อยู่กับปัจจุบัน หากรู้สึกเกินจะรับไหวก็ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญได้เลย ทั้งหมดที่กล่าวมานี้สามารถช่วยเอาชนะอารมณ์หดหู่ และผลกระทบต่อสุขภาพได้ นอกจากนี้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผยโดยไม่ตัดสิน จะเป็นอีกแรงที่ช่วยเยียวยาจิตใจและ สุขภาพโดยรวมได้




4. อายุสั้นถ้า…มัวแต่กลัวสายตาคนอื่น

กลัวสายตาคนอื่น ไม่กล้าออกสังคม เก็บกดความรู้สึก ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นลักษณะนิสัยของคนที่ชอบเก็บตัว ปิดกั้นพฤติกรรมหรือการแสดงออกของตนเองในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคม โดยมักเกิดจากความรู้สึกประหม่า กลัวการถูกตัดสิน หรือต้องการหลีกเลี่ยงการประเมินในแง่ลบจากผู้อื่น ส่งผลให้ขาดความมั่นใจจนรู้สึกไม่กล้าแสดงออกอย่างอิสระ (ที่มา: Practical Psychology)

คนที่ชอบเก็บตัวมักเครียดและวิตกกังวลมากกว่าปกติเวลาเข้าสังคม เพราะกลัวการถูกมองในแง่ลบหรือกลัวการถูกปฏิเสธ ทำให้ขาดความมั่นใจ คิดมาก และรู้สึกประหม่าอึดอัด หากเก็บตัวนานๆ อาจนำไปสู่การโดดเดี่ยว ไม่มีเพื่อนสนิท หรือคนที่เข้าใจเราจริงๆ รู้สึกเหมือนอยู่ตัวคนเดียวบนโลก เศร้า ท้อแท้ และสิ้นหวัง ซึ่งอาจทำให้เป็นโรคภาวะซึมเศร้าและโรควิตกกังวลได้

ความเครียดต่อเนื่องที่เกิดจากการเก็บตัวส่งผลต่อร่างกายได้ ยิ่งเครียด ร่างกายยิ่งผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น งานวิจัยจาก Encyclopedia of Behavioral Medicine ชี้ให้เห็นว่า คนที่ชอบเก็บตัวจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น

ใครที่ชอบเก็บตัวลองปรับวิธีคิดใหม่ สร้างความมั่นใจในตนเอง ฝึกฝนทักษะการเข้าสังคม ค่อยๆ เปิดใจออกไปพบปะผู้คน เพื่อลดความกลัวและความวิตกกังวล หรือแม้แต่การปรึกษาหรือการเข้ากลุ่มคนที่มีปัญหาคล้ายกันก็สามารถช่วยให้คุณเลิกเก็บตัวและช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพได้

5. อายุสั้นถ้า…ชอบเอาแต่ใจ

จมอยู่กับตัวเอง ระวังจะกลายเป็นคนที่ “เอาแต่ใจ” เกินไป เพราะมัวแต่สนใจสิ่งที่ตัวเองต้องการและอยากได้จนสร้างปัญหาให้กับคนอื่น ส่งผลเสียรอบด้านไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ย่ำแย่ เหงา และโดดเดี่ยว แถมยังไม่เห็นอกเห็นใจหรือเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นเข้าไปอีก ก็ยิ่งยากที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีได้ ส่งผลให้รู้สึกแปลกแยกและเก็บตัวมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เครียด วิตกกังวล และซึมเศร้าเพิ่มขึ้น

การหมกมุ่นอยู่กับตัวเองและความเครียดอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายได้เช่นกัน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PeerJ เมื่อปี 2017 เผยว่า ความเครียดเรื้อรังจากการมีปัญหากับคนอื่น หรือการแยกตัวออกจากสังคม อาจให้ระดับคอร์ติซอลพุ่งสูงจนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันและหลอดเลือดหัวใจอ่อนแอลงได้

นิสัยเอาแต่ใจสามารถปรับเปลี่ยนได้ด้วยการฝึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่น รับฟังอย่างตั้งใจ ใส่ใจคนรอบข้าง มีเมตตา พร้อมช่วยเหลือผู้อื่น และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จะได้ปรับมุมมองให้กว้างขึ้น เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น และทำให้มีสุขภาพและความเป็นอยู่โดยรวมดีขึ้น

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม 5 นิสัยอันตรายเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่ควรปรับตัว แต่ไม่ว่าจะอยู่ช่วงวัยใด หากรู้ว่าตัวเองมีนิสัยหรือทัศนคติเหล่านี้แล้วสามารถปรับเปลี่ยนได้เร็วตั้งแต่ตอนที่ยังอายุไม่มากนักก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพกายและใจตนเอง รวมถึงดีต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างในระยะยาว ที่จะช่วยทำให้อายุยืนขึ้นอีกด้วย






Thank to :-
website : https://www.thairath.co.th/lifestyle/lifestyle45plus/2764627
20 ก.พ. 2567 13:16 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์สไตล์ 45+ > ไทยรัฐออนไลน์ | ภาพจาก : iStock
ข้อมูลอ้างอิง : Health Digest
อ่านบทความเกี่ยวกับวัยกลางคนและผู้สูงอายุได้ที่ Lifestyle 45+
122  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทริปสายมู.! มาฆบูชานี้ ปฏิบัติธรรมเสริมสร้างบารมีที่ “วัดเขาสุกิม” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2024, 07:00:09 am
.



ทริปสายมู.! มาฆบูชานี้ ปฏิบัติธรรมเสริมสร้างบารมีที่ “วัดเขาสุกิม”

ผู้ที่ชื่นชอบปฏิบัติธรรม มีธรรมะอยู่ในหัวใจ ขอแนะนำ “วัดเขาสุกิม” จ.จันทบุรี วัดใหญ่บนภูเขาสูง

“วัดเขาสุกิม” เป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่อายุหลายสิบปี ตั้งอยู่ที่ จ.จันทบุรี เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสวยงามรายล้อมไปด้วยป่าอันเขียวขจี และมีบ่อน้ำด้านหน้าบรรยากาศดีสุด ๆ เป็นมากกว่าแค่วัดสำหรับทำบุญทั่วไปอย่างแน่นอน ซึ่งที่วัดแห่งนี้ก็สร้างขึ้นโดยพุทธศาสนิกชนที่มีความศรัทธาต่อ “พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย” จึงสร้างวัดเขาสุกิมขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2509 มีบันไดขึ้นไปที่อุโบสถถึง 349 ขั้น!! เป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีบริการรถรางขึ้นและลงฟรี








“วัดเขาสุกิม” นั้นไม่ได้มีความน่าสนใจแค่เรื่องของการสักการะทำบุญเพียงเท่านั้น เพราะยังมีความสวยงาม สถาปัตยกรรมต่าง ๆ มากมายให้ได้เดินชมอีกต่างหาก มีของเก่าของโบราณต่าง ๆ หายากให้ชมที่ “ตึก 60 ปี เฉลิมพระเกียรติ”, พื้นที่ปฏิบัติธรรม, ที่สักการะ “พระบรมสารีริกธาตุ” ของ “หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย” และมีหุ่นขี้ผึ้ง เครื่องหยก เครื่องประดับต่าง ๆ จากประเทศจีน สวยงาม และไม่ได้หาชมที่ไหนกันได้ง่าย ๆ

“วัดเขาสุกิม” วัดสวยงามแสนศักดิ์สิทธิ์แบบนี้ สายมูไม่ควรพลาด...








หากคุณเป็นสายมูและอยากไปเที่ยวที่วัดนี้ แต่ติดปัญหาการเดินทางไม่มีรถ สามารถเช่ารถในราคาถูกได้ที่ Trip.com และถ้าคุณคิดว่าไปวันเดียวไม่จุใจ ก็ยังสามารถจองโรงแรมสวยๆ ที่จันทบุรีเพื่อพักค้างแรม 1 – 2 คืนได้ที่ Traveloka หรือ Klook จบทริปแบบสุขใจอิ่มบุญพร้อมเสริมสิริมงคลให้ชีวิต

ชมวิดีโอคลิปได้ที่ : https://youtu.be/4Id89HNHuDo





Thank to : https://www.pptvhd36.com/travel/thailand/217578
โดย PPTV Online | 20 ก.พ. 2567
ขอบคุณภาพจากรายการ "เปิดตำนานกับเผ่าทอง ทองเจือ"
123  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อึ้ง.! วัดพระธาตุดอยสุเทพ ตั้งมากว่า 600 ปี ไม่มี “โฉนด” ร้อง กมธ.ศาสนาช่วย.! เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2024, 07:29:58 am
.



อึ้ง!! วัดพระธาตุดอยสุเทพ ตั้งมากว่า 600 ปี ไม่มี “โฉนด” ร้อง กมธ.ศาสนาช่วย!!

วันที่ 14 ก.พ. 67   ที่อาคารรัฐสภามีการประชุมคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร โดยมี นายวีระพล จิตสัมฤทธิ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ดำเนินการประชุมตามข้อร้องเรียนของวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร 2 ประเด็น คือ วัดต้องการออกโฉนดที่ดิน และขอขยายทางเท้าเดินขึ้นดอยสุเทพ โดยมีคณะอนุกรรมการสำคัญประกอบด้วย นายเพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล นายประกรณ์เกียรติ ญาณหาร และ นายสัมพันธ์ เสริมชีพ เป็นต้นร่วมกันประชุม

ในขณะที่ทางคณะอนุกรรมาธิการศาสนาได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อมาร่วมชี้แจง ประกอบด้วย เจ้าอาวาสพระธาตุดอยสุดเทพ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 เชียงใหม่ เจ้าพนักงานเชียงใหม่ ผู้อำนวยการแขงทางหลวงเชียงใหม่  หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสุเทพ -ปุยและผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่

พระครูปลัดวิมลวัฒน์  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอยสุเทพ ราชวรวิหาร ในฐานะตัวแทนของ พระธรรมเสนาบดี เจ้าอาวาสพระธาตุดอยสุเทพ เปิดเผยว่า วันนี้วัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร ได้ทำหนังสือร้องเรียนถึงคณะกรรมาธิการศาสนา สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอดำเนินการ 2 เรื่อง คือ

หนึ่ง วัดพระธาตุดอยสุเทพขอให้คณะกรรมาธิการช่วยเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินวัด เนื่องจากวัดตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ. 1962 รวมแล้ว 600 กว่าปี แต่วัดยังไม่มีโฉนดที่ดินเป็นของตนเอง มีแต่ใบ ส.ค. 1 ออกไว้เมื่อปี 2498  ซึ่งมีเนื้อระบุเพียงแต่ว่า ทิศเหนือจำลำห้วยร้าง  ทิศใต้จดถนนศรีวิชัย ทิศตะวันออกจดป่า หางจากพระธาตุ 1 กิโลเมตร  ตอนนี้ยังติดปัญหาเนื่องจากกรมอุทยานแห่งชาติ ได้ร้องคัดค้าน..”






ในขณะที่ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า “ทางจังหวัดเชียงไม่ได้ ไม่ได้นิ่งนอนใจเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินวัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมทั้งทางเท้าเดินขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ เมื่อไปเที่ยวเชียงใหม่บางส่วนนิยมเดินขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพ  ซึ่งส่วนนี้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดได้มีการพูดคุยกับอธิบดีกรมทางหลวงแล้ว คาดว่าจะออกแบบทางเดินเสร็จเร็ว ๆ นี้

ในส่วนของที่ดินวัด เนื่องจากกรมอุทยาน ท่านไม่เห็นด้วยกับการออกโฉนดที่วัดขอจำนวน 200 ไร่ ท่านจึงทำหนังสือขอรายละเอียดทั้งประวัติพระธาตุดอยสุเทพ และตำนาน ซึ่งตรงนี้เรามีหนังสือยืนยันแต่เป็นภาษาคำเมืองแบบโบราณ กำลังให้กรมศิลปากรแปลอยู่คาดว่าเร็ว ๆ นี้จะส่งให้กรมอุทยานตามที่ท่านต้องการได้..”

ทางด้าน ตัวแทนกรมที่ดินจังหวัด เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตอนนี้ที่ดินรังวัดเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 200 ไร่ ซึ่งความจริงที่ดินพร้อมออกโฉนดให้ แต่ดินอยู่ที่กรมอุทยาน ที่ท่านขอหลักฐานเพิ่มเติม “ซึ่งหากเราดูจากใบ สค. 1 เนื้อที่ของวัดพระธาตุดอยสุเทพ ไม่ใช่แค่ 200 ไร่ อาจถึง 1,000 ไร่ และความจริงวัดทุกวัดในพระพุทธศาสนา มี พ.ร.บ.สงฆ์ มาตรา 34 คุ้มครองอยู่ หากพิสูจน์ได้ว่าวัดตั้งมาก่อน แม้ไม่ใบ สค. 1 ก็ห้ายใครยกความขึ้นสู้  โดยมาตรา 34 นี้ระบุไว้ว่า ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดหรือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แล้วแต่กรณี ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ หรือที่ศาสนาสมบัติกลาง”






ในขณะที่ตัวแทนกรมอุทยานแห่งชาติทั้งในส่วนกลาง  สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 อุทยานแห่งชาติสุเทพ-ปุย ระบุว่า ส่วนหนึ่งกรมอุทยานได้กันพื้นที่ไว้สำหรับวัดแล้วบางส่วน แต่ที่มีปัญหาเนื่องจากวัดได้ร้องขอเพิ่มเติมอีก 200 ไร่ ซึ่งในส่วนนี้เป็นอำนาจของผู้บริหารจะต้องรับไปพิจารณาและตรวจสอบ ซึ่งตอนนี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ คงต้องรอหนังสือแปลจากจังหวัดเชียงใหม่ และภาพถ่ายทางอากาศ ประกอบให้ผู้บริหาพิจารณา

“ในส่วนของทางเดินเท้าขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ ทางกรมอุทยานแห่งชาติไม่มีปัญหา ซึ่งปัญหานี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ เคยมาชี้แจงแล้วคราวหนึ่งในคณะกรรมาธิการศาสนา ชุดที่แล้ว ว่า หากวัดหรือกรมทางหลวง ทำทางเท้าในขอบเขตอำนาจของกรมทางหลวง ซึ่งวิธีคือ วัดจากตรงกลางถนนออกไปฝั่งละ 10 เมตร นั่นคือขอบเขตอำนาจของกรมทางหลวง แต่หากเลยจากนั้นต้องขออนุญาตจากกรมอุทยาน แต่เท่าที่ดูและพูดคุย ณ วันนี้พื้นที่จะทำ ยังอยู่ในขอบเขตของกรมทางหลวง สามารถดำเนินการได้เลย..”

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย วัดมีความสูงจากระดับที่ราบเชียงใหม่ราว 689 เมตร และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,046 เมตร เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของภาคเหนือ นอกจากนี้ยังประกอบด้วยจุดชมทิวทัศน์ที่สามารถมองเห็นเมืองเชียงใหม่ได้ทั้งหมด












Thank to : https://thebuddh.com/?p=77433
ภาพ : https://www.ktktour.net
124  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศรัทธาเนืองแน่น ไทยลาวนับแสน ร่วมแห่พระอุปคุต เปิดงานนมัสการพระธาตุพนม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2024, 06:53:24 am
.



ศรัทธาเนืองแน่น ไทยลาวนับแสน ร่วมแห่พระอุปคุต เปิดงานนมัสการพระธาตุพนม

นครพนมเนืองแน่นด้วยพลังศรัทธา ชาวไทยลาวนับแสนร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์ แห่พระอุปคุต เปิดงานบุญใหญ่อีสาน บุญเดือนสาม นมัสการองค์พระธาตุพนมวันแรก คาดเงินสะพัดเกือบ 100 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงในเขตเทศบาลตำบลธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บรรยากาศเปิดงานบุญเดือนสาม นมัสการองค์พระธาตุพนม ประจำปี 2567 กำหนดเปิด 17–25 กุมภาพันธ์ 2567 ภาคเช้ามีการประกอบพิธีสำคัญ ตลอดริมฝั่งน้ำโขงในเขตเทศบาลตำบลธาตุพนม ได้มีประชาชนนักท่องเที่ยว พลังศรัทธา ข้าโอกาสพระธาตุพนม ต่างนำเครื่องสักการบูชา รวมถึงดอกดาวเรือง มาร่วมพิธีศักดิ์สิทธิ์แห่พระอุปคุต ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ สืบทอดมาแต่โบราณ เชื่อกันว่าสืบทอดมาแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เนื่องจากพระอุปคุตเป็นสาวกพระพุทธเจ้า และมีความศักดิ์สิทธิ์ มีอิทธิฤทธิ์ที่สามารถคุ้มครองภัยปกปักรักษางานประเพณีต่างๆ ได้




สำหรับพิธีแห่อุปคุต จะประกอบขึ้นในช่วงเช้า ก่อนการเปิดงานวันแรก ของงานนมัสการองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุหรือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้า ถือเป็นบุญใหญ่ของชาวอีสาน ที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ปี 2519

โดยเชื่อกันว่า ก่อนที่จะเริ่มงานนมัสการวันแรก จะต้องมีการประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ ตามประเพณีความเชื่อ คือ อัญเชิญองค์พระอุปคุตมาปกปักรักษาให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตลอด 9 วัน 9 คืน โดยถือเป็นงานประจำปีบุญใหญ่อีสานที่กระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว มีเงินหมุนเวียนสะพัดเกือบ 100 ล้านบาท ทำให้ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่พัก ถูกจับจองเต็ม




ทั้งนี้ งานนมัสการองค์พระธาตุพนม จัดขึ้นเดือนมกราคม ของทุกปี หรือในช่วง วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นงานบุญประเพณีใหญ่ของชาวอีสาน ที่สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่ปี 2519 ยาวนานกว่า 40 ปี โดยจากประวัติความเป็นมา ตามตำนานความเชื่อ พระอุรังคนิทาน ระบุไว้ว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางอากาศ เพื่อไปบิณฑบาต ที่เมืองศรีโคตรบูร สปป.ลาว ภายหลังได้มาประทับแรมที่ภูกำพร้า คือ จุดที่ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมในปัจจุบัน จากนั้นพญาอินทร์ ได้เสด็จมาทูลถาม ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า เช่นกันกับพระพุทธองค์ เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก จะได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้เช่นกัน



ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก ได้ร่วมกันสร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น เพี่ออัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาประดิษฐาน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 หรือในราวปี พ.ศ. 8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร กำลังเจริญรุ่งเรือง โดยการนำของพญาเจ้าเมืองทั้ง 5 และพระอรหันต์ 500 องค์ ซึ่งในยุคแรก ได้ก่อสร้างจากดินดิบ เป็นเตาสี่เหลี่ยม ข้างในเป็นโพรงมีประตูทั้ง 4 ด้าน จากนั้นได้มีการบูรณะ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 500 และทำการบูรณะต่อเนื่องมารวมถึง 6 ครั้ง



จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 พระธาตุพนมได้พังทลายลง เนื่องจากฐานเก่าแก่ ทำให้เป็นที่ฮือฮา เพราะได้พบเห็นผอบแก้ว บรรจุพระอุรังคธาตุ 8 องค์ ไว้ภายใน และมีการลงเข็มรากสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อปี 2519 เป็นเจดีย์ทรงฐาน 4 เหลี่ยม ความสูง จากพื้นถึงยอดฉัตร 57 เมตร ฐานกว้างด้านละประมาณ 12 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม ภายในได้บรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอก ของพระพุทธเจ้า

จากนั้นจึงได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลอง บูชาองค์พระธาตุพนม จนสืบทอดมาถึงปัจจุบันทุกปี ที่สำคัญถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ ส่งผลดีทั้งการท่องเที่ยว และสร้างเศรษฐกิจ เงินหมุนเวียนสะพัดปีละหลาย 100 ล้านบาท ส่วนยอดทำบุญ มีพลังศรัทธาร่วมบริจาคปีละไม่ต่ำกว่า 20-30 ล้านบาท




Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2764024
17 ก.พ. 2567 18:40 น. | ไทยรัฐออนไลน์
125  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 2567 ปี ขอเชิญร่วมกราบสักการะธรรมราชา พระบรมสารีริกธาตุ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2024, 06:47:38 am
.



มหามงคลชีวิต ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 2567 ปี ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เชิญร่วมกราบสักการะธรรมราชา พระบรมสารีริกธาตุ

มหามงคลชีวิต ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 2567 ปี ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเชิญร่วมกราบสักการะธรรมราชา พระบรมสารีริกธาตุ พร้อมอรหันตธาตุพระอัครสาวก จอมทัพธรรม พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ ในโครงงานธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง (Ganga-Mekong Holy Buddha Relics Dhammayatra)

สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ร่วมจัดพิธีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ กรุงนิวเดลลี และพระอรหันตธาตุพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ จากสถูปสาญจี สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อให้พุทธบริษัทกราบสักการะ

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 ร่วมกับรัฐบาลไทย โดย กระทรวงวัฒนธรรม กรมการศาสนา รัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย โดย สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย พร้อมทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จัดพิธีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย มาประดิษฐานชั่วคราวที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ – วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2567 ภายใต้โครงงานธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง

สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 มีพันธกิจหลักในการดำเนินงานกิจกรรมโครงการต่าง ๆ เพื่อการขับเคลื่อนการ เผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อสร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้าง ความเข้าใจที่ดีในการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปึกแผ่นด้วยสันติสุขในกลุ่มประเทศชาวพุทธแถบทวีปเอเชียโดยอาศัยหลักพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางในการพัฒนาให้เกิดความเจริญอย่างยั่งยืนและมั่นคงบนเส้นทางอริยมรรค


@@@@@@@

สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เป็นองค์กรอิสระไม่หวังผลกำไร ก่อกำเนิดจากการรวมตัวของพุทธบริษัท ร่วมกันทำงานสร้างความมั่นคงด้านพระพุทธศาสนา ด้วยการปลูกฝังศรัทธาในพระพุทธศาสนาผ่านกิจกรรมโครงการต่างๆ โดยอาศัยความร่วมมือภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาล องค์กรเอกชน คณะบุคคล และบุคคล เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และด้วยตระหนักถึงวิกฤตปัญหาที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญอันสามารถแก้ไขเบ็ดเสร็จได้ด้วยพุทธธรรม

สถาบันโพธิคยาฯ ดำเนินงานตามพันธกิจดังกล่าวต่อเนื่องมาแล้วเป็นเวลา 17 ปี และมีผลงานโดดเด่นเป็นที่รู้จัก คือ งานธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง (ไทย-เมียนมา-เวียดนาม-สปป.ลาว-กัมพูชา) ซึ่งจัดผ่านไปแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ธรรมยาตรา 5 แผ่นดิน ตามรอยพระอริยสงฆ์ลุ่มน้ำโขง จัดขึ้นในปีพ.ศ. 2560 ครั้งที่ 2 ธรรมยาตรา 5 แผ่นดินลุ่มน้ำโขง พุทธศาสตร์การทูตสู่สันติภาพโลก จัดขึ้นในปีพ.ศ. 2562 โครงการธรรมยาตราฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเดินตามรอยบาทองค์พระศาสดา เพื่อรวมพลังสายธารศรัทธาของพุทธบริษัทลุ่มแม่น้ำโขงให้มีความสมัครสมานสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว ในฐานะที่มีสมเด็จพ่อองค์เดียวกัน คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า มีแม่น้ำโขง. เป็นดุจแม่ ที่คอยหล่อเลี้ยงคนในภูมิภาคนี้ ให้ดำรงวิถีชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง และเพื่อประกาศพระพุทธศาสนา สืบสานพุทธปณิธานของพระพุทธองค์ให้ดำรงคงอยู่ตลอดไป

อนึ่ง ความสำเร็จของโครงการธรรมยาตรา 5 แผ่นดินทั้ง 2 ครั้ง สามารถสร้างพลังศรัทธา และความสามัคคีของประชาชนทั้ง 5 ประเทศ ให้เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง จนนำมาสู่โครงการธรรมยาตรา ครั้งที่ 3 ในชื่อ ธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นโครงการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นธรรมยาตราเชื่อมดินแดนของ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากมหาธรรมนทีคงคา สู่แผ่นดินแห่งพุทธธรรมลุ่มน้ำโขง นำเสด็จฯ โดยพระบรมสารีริกธาตุขององค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นธรรมราชา ตามเสด็จฯ โดยพระอรหันตธาตุพระสารีบุตร พระมหาโมคคลานะ พระอัครสาวกซ้ายขวาจอมทัพธรรม

สำหรับกำหนดการพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุพระสารีบุตร และพระมหาโมคคัลลานะ จะจัดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง จากนั้นธรรมยาตรา ไปภาคเหนือ ที่ หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 5-8 มีนาคม พ.ศ.2567 ต่อไปยัง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี ในวันที่ 10-13 มีนาคม พ.ศ.2567 สิ้นสุดภาคใต้ที่วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) จังหวัดกระบี่ ในวันที่ 15-18 มีนาคม พ.ศ.2567 และส่งเสด็จกลับไปยังสาธารณรัฐอินเดีย

@@@@@@@

ดร.สุภชัย วีระภุชงค์ เลขาธิการ สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 กล่าวว่า “งานมหามงคลนี้เกิดขึ้นจากสามัคคีธรรมของทุกฝ่าย ในการเชื่อมต่อพลังศรัทธาในพุทธธรรมของประชาชน 2 ภูมิภาคจากลุ่มแม่น้ำคงคา คือ สาธารณรัฐอินเดีย ถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนา สู่ลุ่มแม่น้ำโขง ดินแดนพระพุทธศาสนาประดิษฐานมั่นคง ในประเทศไทย กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยสถาบันโพธิคยาฯ ดำริโครงการธรรมยาตราพระบรมสารีริกธาตุ มหานทีคงคาลุ่มน้ำโขง ขึ้น มีรัฐบาลไทยโดยกระทรวงวัฒนธรรม กรมศาสนา เป็นผู้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมพระอรหันตธาตุพระอัครสาวก พระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ มีผู้แทนระดับสูงจากรัฐบาลอินเดียเป็นผู้อัญเชิญมา ด้วยการประสานงานจากสถานทูตอินเดียประจำประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้พุทธบริษัท ทั้งชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้านกราบสักการะ

นับเป็นโอกาสสำคัญครั้งประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในการธรรมยาตราของ พระบรมสารีริกธาตุ เสด็จพร้อมพระอรหันตธาตุพระอัครสาวกทั้งซ้ายขวา จากนำอัญเชิญประสานงานโดยสถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย นอกจากนั้น ด้วยพระบรมสารีริกธาตุ คือส่วนที่เหลืออยู่ของพระสรีระขององค์พระศาสดาและหลังจากการถวายพระเพลิง การเสด็จของพระบรมสารีริกธาตุจึงเปรียบประดุจดัง องค์พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จฯ โดยพระองค์เอง และเมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปไหน ย่อมประทานพรโปรดพุทธศาสนิกชน โปรดเวไนยสัตว์ ผู้อยู่ในข่ายแนะนำสั่งสอนได้ สามารถบรรลุธรรมได้

“เราจึงควรถือโอกาสนี้ สร้างศาสนาธรรมให้ปักหลักมั่นคง ด้วยการนำคำสอนขององค์พระศาสดาซึ่งคือปริยัติธรรม นำมาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดปฏิเวธธรรม มีความเข้าใจและเข้าถึงธรรมะได้จนสามารถยกระดับจิตใจให้ทุกคนในแผ่นดินลุ่มน้ำโขงได้มีความสุขกับการใช้ชีวิตต่อไปโดยไม่เบียดเบียนกัน รู้จักคำว่าอภัยและรับรู้ลมหายใจให้มากที่สุด เพื่อสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงธรรมะให้เกิดขึ้นเพื่อสืบทอดความรัก ความสามัคคี และสร้างสันติสุขโดยธรรมให้เกิดขึ้น


@@@@@@@

“ผมเชื่อมั่นว่า ปัญหาวิกฤตสังคมที่รุมเร้าโลก ชนะเบ็ดเสร็จได้โดยธรรม หรือธรรมวิชัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่แก้ปัญหาได้ทุกระดับ สถาบันโพธิคยาฯ จึงขอรณรงค์ให้ผู้นำทุกภาคส่วนหันมาใช้ “ธรรม” เป็น “อำนาจ” ไม่ใช้ “อำนาจ” เป็น “ธรรม”

“งานนี้ผมจึงมุ่งหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มของการสร้างศตวรรษแห่งธรรมะ (Dhamma Century) อันเป็นการเสริมสร้างสันติธรรมในหมู่ชาวพุทธ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศตวรรษแห่งธรรมะ ด้วยการนำหลักธรรมคำสอนของศาสนา เป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านศาสนาและส่งเสริมคุณธรรมของประชาคมโลก เพื่อสร้างความสงบสุข แก่มวลมนุษยชาติสืบไป”

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://bodhigaya980.com/dhamayartra/dhammayatra-3/





thank to : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8101094
17 ก.พ. 2567 - 17:27 น.
126  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / นัยคำว่า “สามเณรนาคหลวง” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2024, 09:30:32 am
.



นัยคำว่า “สามเณรนาคหลวง”

วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗  พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา ได้โพสต์ในเฟชบุ๊คส่วนตัวเล่าอธิบายคำว่า “นาคหลวง” ดังนี้

ในวงการเรียนบาลีและในวงการผู้สนับสนุนให้พระเณรเรียนบาลี ถ้ามีสามเณรอายุยังน้อยเข้ามาเรียนบาลี ก็มักจะกระตุ้นเตือนให้กำลังใจและให้ตั้งความหวังไว้ที่-จะได้เป็น “นาคหลวง”

คำว่า “นาคหลวง” ในความหมายที่โดดเด่นในวงการเรียนบาลีก็คือ ผู้ที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในขณะเป็นสามเณร เพราะมีธรรมเนียมพระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ คือที่เรียกกันว่า เป็นนาคหลวง

แต่พึงเข้าใจว่า คำว่า “นาคหลวง” นอกจากจะเรียกสามเณรที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์แล้ว ยังเรียกบุคคลอื่น ๆ ที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์อีกด้วย เช่น พระราชวงศ์ ข้าราชบริพาร หรือผู้ใดผู้หนึ่งที่ทรงโปรดเป็นการส่วนพระองค์




ถ้าจะพูดให้ถูก ก็ควรจะบอกว่า “นาคหลวง” ก็คือผู้ที่มีคุณสมบัติบางประการเข้าเกณฑ์ที่พระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง และในบรรดาเกณฑ์เหล่านั้น ผู้ที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในขณะที่เป็นสามเณรท่านถือเป็นเกณฑ์ข้อหนึ่งที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวง

ธรรมเนียมให้สามเณรที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้เป็นนาคหลวงนี้แรกมีในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สามเณรรูปแรกที่สอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ในรัชกาลนั้นคือ สามเณรปลด วัดเบญจมบพิตร ทรงโสมนัสเป็นล้นพ้น ว่ากันว่าถึงกับเสด็จเข้าไปอุ้มสามเณรปลดในขณะที่เสด็จไปประทับฟังการสอบ

การสอบบาลีสมัยนั้นสอบด้วยวิธี “แปลปาก” ไม่ใช้วิธีเขียนกระดาษคำตอบเหมือนสมัยนี้ จะให้แปลข้อความตั้งแต่ไหนถึงไหนในคัมภีร์ที่เป็นหลักสูตรในชั้นนั้น ๆ กรรมการจะชี้บอกกันตรงนั้นเลย ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ผู้เข้าสอบต้องแปลให้กรรมการฟังสด ๆ และมีธรรมเนียมพระมหากษัตริย์เสด็จไปประทับฟังการสอบด้วย เป็นเครื่องหมายว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ทรงอุปถัมภ์บำรุงการพระศาสนาอย่างเต็มกำลัง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้จัดรถหลวงไปส่งสามเณรปลดถึงวัด เมื่อถึงเวลาอุปสมบทเป็นภิกษุก็ทรงรับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์  และถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบมาตั้งแต่ครั้งนั้นว่า สามเณรรูปใดสอบเปรียญธรรม ๙ ประโยคได้ เมื่อถึงคราวอุปสมบทพระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นที่มาของคำพูดในวงการเรียนบาลีว่า “สามเณรนาคหลวง”





Thank to : https://thebuddh.com/?p=77489
127  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “เจ้าคณะภาค 6” เปิดศูนย์พระวินยาธิการ หวังเป็น“โมเดลนำร่อง” ให้คณะสงฆ์ทั่วประเทศ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2024, 09:25:04 am
.



“เจ้าคณะภาค 6”  เปิดศูนย์พระวินยาธิการ หวังเป็น “โมเดลนำร่อง” ให้คณะสงฆ์ทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567   พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 เป็นประธานเปิด”ศูนย์พระวินยาธิการประจำจังหวัดเชียงราย” โดยความร่วมมือกับคณะสงฆ์จังหวัดเชียงราย มี พระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย คณะสงฆ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงราย กอ.รมน. ส่วนภูมิภาค ฝ่ายปกครองอำเภอ ผู้นำท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ ผู้เกี่ยวข้อง ณ หน่วยอำเภอแม่จัน และอำเภอเชียงแสน ณ วัดราษฎร์บูรณะ และวัดศรีบุญยืน ตามลำดับ

พระเทพเวที เปิดเผยว่า การเปิดศูนย์พระวินยาธิการของจังหวัดเชียงราย คณะสงฆ์ภาค 6 นี้ ถือว่านำร่องเป็นโมเดลให้คณะสงฆ์ทั่วประเทศ  ในการบูรณาการและขับเคลื่อนงานพระวินยาธิการ ตามระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยพระวินยาธิการ พ.ศ. 2562 เป็นการสอดรับกับแผนพัฒนากิจการคณะสงฆ์ในด้านการปกครอง. พ.ศ.2565-2569  ซึ่งแนวทางการแจ้งเบาะแสและการแก้ไขปัญหาการทำความผิดต่อพระพุทธศาสนาสามารถแจ้งผ่าน Call Center 1374 หรือผ่านศูนย์พระวินยาธิการประจำจังหวัด  ของแต่ละหน่วยอำเภอนั้น ๆโดยที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงรายร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์พระวินยาธิการอำเภอจะคอยระวังและรับข่าวสารเรื่องร้องเรียน จากนั้นจะดำเนินการถวายข้อมูลไปยังเจ้าคณะจังหวัดเพื่อพิจารณาสั่งการให้เจ้าคณะอำเภอในท้องที่ ๆ เกิดเหตุทราบและดำเนินการระงับเหตุร่วมกับพระวินยาธิการ และผู้เกี่ยวข้องประจำท้องที่ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป







“สำหรับศูนย์นี้แม้นจะให้ชื่อว่าศูนย์พระวินยาธิการ มิใช่สอดส่องดูแลพฤติกรรมพระสงฆ์ที่ประพฤติมิชอบยังเดียว แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว คณะสงฆ์ยังได้ทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่น ๆ  เช่น กอ.รมน.  ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่น ในการสอดส่องดูแลภัยที่อาจกระทบต่อความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา  ภาคีเครือข่ายเหล่านี้ทำงานร่วมกันทุกอย่าง เช่น  บุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือองค์กรใดองค์หนึ่งมีพฤติกรรมบ่อนทำลายความมั่นคงพระพุทธศาสนา ศูนย์นี้ก็สามารถเข้ามาดูแลตรวจสอบได้  ความขัดแย้งในชุมชน หรือ แม้กระทั้ง การไกล่เกลี่ยความขัดแย้งในชุมชน ศูนย์พระวินยาธิการนี้จะเป็นหลักเป็นศูนย์แก้ปัญหาให้กับชุมชนหมู่บ้านนั้น ๆ ได้เช่นกัน”










Thank to : https://thebuddh.com/?p=77455
128  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “หลวงพี่น้ำฝน” จู่โจมจับสึก 2 หลวงตา ปฏิบัติกิจเวิร์คฟร็อมโฮม ไม่กลับวัด เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2024, 09:17:58 am
.



“หลวงพี่น้ำฝน” จู่โจมจับสึก 2 หลวงตา ปฏิบัติกิจเวิร์คฟร็อมโฮม ไม่กลับวัด พร้อม “ลุย” ทั่วประเทศ

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน) เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม พร้อมพระเลขา ได้ประสานเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ตรวจสอบที่บ้านพักแห่งหนึ่งย่านถนนกั๋งบ๊วย ในตัวเมืองนครปฐม หลังจากมีประชาชนร้องเรียนว่ามีพระสงฆ์ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมโดยไม่กลับวัดต้นสังกัดและอาศัยอยู่ที่บ้านพักดังกล่าวมาเป็นแรม ซ้ำยังมีการขับรถกระบะไปจอดเพื่อบิณฑบาตและขับกลับมาจอดทิ้งไว้ที่สวนธารณะใกล้บ้าน เกือบทุกวัน ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมสร้างความไม่สบายใจกับพุทธศาสนิกชนที่พบอยู่เป็นประจำ

โดยเมื่อหลวงพี่น้ำฝนและเจ้าหน้าที่ไปถึงที่บ้านหลังดังกล่าว ได้พบกับพระภิกษุสงฆ์ ตามที่ได้รับรายงานและนิมนต์มาสอบถามหาหนังสือประจำตัว โดยพบว่ามีความผิดปกติ และมีอาการไม่พอใจแสดงความขัดขืนเพื่อจะขอหนังสือเอกสารประจำตัวกลับคืน โดยมีชาวบ้านหลายหลังที่ทราบเรื่องได้ออกมาดูเหตุการณ์ ซึ่งหลายคนในแวกดังจึงได้เชิญให้ไปทำการสอบสวนที่วัดไผ่ล้อมเพื่อประสานไปยังเจ้าอาวาสวัดต้นสังกัดที่จังหวัดกาญจนบุรีแต่ไม่พบหลักฐาน จึงได้ประสานนำส่งไปให้เจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์ สอบสวนอีกชั้นหนึ่ง

@@@@@@@

จากนั้นเมื่อคณะสงฆ์ได้นิมนต์เชิญไปพบกับพระครูทักษิณานุกิจ เจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์ ซึ่งได้ทำการสอบสวนและพยายามติดต่อกลับไปที่วัดต้นสังกัดอีกครั้ง กระทั่งได้คุยโทรศัพท์กับเจ้าอาวาส ได้แจ้งว่าเป็นพระจริงแต่ไม่ได้อาศัยอยู่ที่วัดดังกล่าวแล้ว ซึ่งขัดแย้งกับหนังสือเอกสารที่มีอยู่ในมือ เมื่อสอบสวนจึงพบว่าเป็นการดำเนินการเขียนเองและประทับตราโดยไม่มีเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอลงนาม จึงได้สั่งการให้ทำการสึกทันที

ขณะที่อีกรายมีประชาชน ได้แจ้งมาว่าพบพระภิกษุ ไม่กลับวัดและมีการปักกลดอยู่ใกล้กับโรมแรมชื่อดังริมถนนเพชรเกษม อยู่นานประมาณ 3 เดือน จึงได้เข้าไปตรวจสอบและพบพระภิกษุวัย 60 ปี ตามที่ร้องเรียนคือจะอาศัยปักกลดอยู่ริมถนนเพชรเกษม เพื่อไปบิณฑบาตและรับปัจจัยจากญาติโยม โดยมีต้นสังกัดอยู่จังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นได้นิมนต์ไปให้ เจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์ ดำเนินการจับสึกอีก 1 ราย


@@@@@@@

พระครูทักษิณานุกิจ เจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม กล่าวว่า สำหรับกรณีพระที่ถูกจับสึกไปในวันนี้เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนให้มีการตรวจสอบว่ามีพระภิกษุสงฆ์ ออกบิณฑบาตและมาพักบ้านโยมนานนับปีโดยมีหลวงพี่น้ำฝน ได้ทำหน้าที่พระวินยาธิการ ได้นำมาให้ตรวจสอบก็พบว่าเป็นเรื่องจริงตามที่ได้รับร้องเรียนมา ตรวจสอบใบสุทธิก็พบว่ามีการปลอมแปลงใบสุทธิมีการอาศัยอยู่เป็นหลักแหล่ง ตามกฎของมหาเถระสมาคมก็สามารถจับศึกลาสิกขาได้เลย

ซึ่งหากมีการร้องเรียนเข้ามาอีกก็จะมีการดำเนินการขั้นเด็ดขาดตามกฎของมหาเถระสมาคมซึ่งมีกฎระเบียบไว้อยู่แล้ว ซึ่งหากเคยมีการตักเตือนแล้วและยัง มีการประพฤติเช่นเดิมอีกก็สามารถจับศึกได้อีกเช่นกัน โดยคณะสงฆ์ก็ต้องมีการเข้มงวดกวดขันโดยเฉพาะคณะผู้ปกครองที่ต้องเคร่งครัด และขอฝากถึงพระภิกษุสงฆ์ที่คิดจะเข้า มาบิณฑบาตหรือมาอาศัยในจังหวัดนครปฐม ให้พึงสังวรว่าอาจจะถูกจับศึกได้ มีการปฏิบัติพระธรรมวินัย ซึ่งต้องอาศัยญาติโยมประชาชนก็ต้องช่วยคณะสงฆ์ด้วยในการเป็นหูเป็นตาเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมด้วย

@@@@@@@

พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ (หลวงพี่น้ำฝน) เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม กล่าวว่า ในฐานะประธานคณะทำงานดำเดินการแก้ไขข้อขัดข้อง ระงับเหตุ และแก้ไขปัญหาอธิกรณ์ข้อร้องเรียนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 14 เรื่องพฤติกรรมของพระที่อาศัยบ้านอยู่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนมาสักพักนึงแล้วซึ่งได้ให้ลูกศิษย์และทีมงานเข้าตรวจสอบอยู่ตลอดแต่ด้วยมีภารกิจเยอะก็ยังไม่ได้เข้ามาดูด้วยตนเอง กระทั่งวันนี้มีคนร้องเรียนเข้ามาอีกจึงได้ลงพื้นที่ติดตามไปจนถึงบ้านพักแล้วก็พบตัวตามที่มีการร้องเรียนมา จากการตรวจสอบหนังสือสุทธิก็พบว่าเป็นการปลอมแปลงขึ้นมา เมื่อสอบถามไปยังเจ้าอาวาสต้นสังกัดแจ้งว่าไม่ได้อยู่แล้ว แต่มีการลงนามว่าอาศัยอยู่ที่สำนักสงฆ์ ซึ่งตามหลักก็ผิดอยู่แล้วเพราะพระภิกษุสงฆ์จะต้องมีวัดต้นสังกัดและอยู่ที่วัดในการทำวัดด้วย

ดังนั้นได้ดำเนินการตามขั้นตอนในการส่งตัวไปให้เจ้าคณะตำบลพระปฐมเจดีย์ทำการสอบสวนซึ่งท่านได้แจ้งกลับมาว่าพบความผิดจริงตามที่มีการร้องเรียน ทางเจ้าอาวาสต้นสังกัดก็ได้แจ้งว่าสามารถให้ลาสิกขาออกไปได้เลย ซึ่งในทั้งสองกรณีที่มีการจับศึก เป็นการทำงานที่บูรณาการร่วมกันของคณะสงฆ์ ภาค 14 มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นประธานและมีเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอเป็นรองประธานรวมถึงคณะสงฆ์ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระวิญญาณธิการก็จะสามารถดำเนินการเต็มรูปแบบ ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะมีคณะทำงานที่ดำเนินการทั้งในพื้นที่จังหวัดนครปฐมและพระสงฆ์จากพื้นที่อื่นที่จะเข้ามาปฏิบัติตนไม่เหมาะสมในพื้นที่ได้แน่นอน


@@@@@@@

”ในฐานะประธานคณะทำงานดำเดินการแก้ไขข้อขัดข้อง ระงับเหตุ และแก้ไขปัญหาอธิกรณ์ข้อร้องเรียนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 14 ขอยืนยันว่าจะมีการทำงานร่วมกันไม่ใช่แค่ในพื้นที่รับผิดชอบภาค 14 เท่านั้น แต่รวมถึงจะบูรณาการร่วมกันทั่วประเทศเพื่อตรวจสอบและควบคุมไม่ให้เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งหากถึงมืออาตมาก็จะมีการดำเนินการไป ตามขั้นตอน ของกฎหมายและกฎของมหาเถรสมาคมอย่างตรงไปตรงมาแน่นอน” หลวงพี่น้ำฝนกล่าวปิดท้าย





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=77486
129  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดคำพิพากษาคดี “ฐิตินาถ ณ พัทลุง” “ชาวพุทธ” ยกมือสาธุการทั้งแผ่นดิน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2024, 09:05:18 am
.



เปิดคำพิพากษาคดี “ฐิตินาถ ณ พัทลุง” “ชาวพุทธ” ยกมือสาธุการทั้งแผ่นดิน เหลือบไรอาศัย “ธรรมะ” หากินมีหนาว

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - เป็นคดีที่อาจไม่ได้น่าสนใจสำหรับใครบางคน แต่สำหรับ “ชาวพุทธ” ทั่วทั้งแผ่นดินแล้ว คำพิพากษาที่ออกมาถึงกับต้อง “ยกมือขึ้นสาธุการ” โดยพร้อมเพรียงกันเลยทีเดียว เพราะบรรยายเอาไว้ถึงขนาดสังคมมีการตั้งข้อสังเกตกันเลยว่า ผู้พิพากษาน่าจะศึกษาเปรียญธรรมมาอย่างถ่องแท้

ขณะที่บรรดาพวกที่ชอบอ้างตัวเป็นไลฟ์โค้ช เปิดคร์อสเก็บเงินทำมาหากินจนร่ำรวยด้วยการแอบอ้างสอนธรรมะส่งเดชไปเรื่อย ได้มีร้อนๆ หนาวๆ กันบ้างไม่มากก็น้อย

คดีที่ว่านั้นก็คือ คดีที่

“ครูอ้อย-ฐิตินาถ ณ พัทลุง” ไลฟ์โค้ชเข็มทิศชีวิต เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ไทยเวิลด์ มีเดีย จำกัด จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และละเมิด พร้อมเรียกค่าสินไหมทดแทนจำนวน 5,052,777 บาท สืบเนื่องมาจากเนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก “ผู้จัดการสุดสัปดาห์” โพสต์ภาพ น.ส.ฐิตินาถ และบุคคลในวงการบันเทิงอื่นๆ และมีข้อความในภาพว่า “รวมคนดังชีวิตหวิดพังเพราะเข็มทิศ” และเขียนข้อความประกอบภาพว่า “เป็นประเด็นอย่างต่อเนื่องสำหรับคอร์สหลักสูตร “เข็มทิศชีวิต” “ของครูอ้อย ฐิตินาถ ณ พัทลุง” หลังคนในวงการต่างทยอยถอนตัวออกจากการวงจรของเจ้าตัวมากขึ้น

และเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567 ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้อง


@@@@@@@

คำพิพากษาบางช่วงบางตอนเขียนบรรยายเอาไว้ว่า

“ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนย่อมต้องยอมรับว่าพระธรรมคำสั่งสอนที่ได้ประทานไว้ให้โดยมหากรุณานั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดมีคุณค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินใดๆ ในโลก และเป็นการประทานให้เปล่าๆ ไม่ต้องใช้เงินหรือทองเข้าแลก ดังนั้น จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่เหล่าพุทธบริษัท 4 ผู้หนึ่งผู้ใด ที่ได้เรียนรู้พระธรรมแล้วจะอาศัยเอาพระธรรมนั้นออกแสดงเพื่อการค้า หรือเพื่อแสวงหาผลกำไร เพราะเป็นการตีราคาพระธรรมคำสอนเทียบค่ากับเงินทอง เป็นการกระทำที่ไม่เคารพต่อพระรัตนตรัยประการหนึ่ง เป็นหนทางที่จะนำไปสู่การเบียดเบียนในทางทรัพย์สิน เงินทองได้ประการหนึ่ง ทำให้บุคคลที่ยังไม่ได้มั่นคงในพระรัตนตรัยพากันเสื่อมถอยหนีห่างไปจากศาสนาประการหนึ่ง และประการสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการสั่งสอนหรือถ่ายทอดธรรมะให้บุคคลอื่น ผู้ตั้งตนเป็นครูอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็นผู้ได้เปรียญธรรมหรือศึกษาปฏิบัติธรรมจนเป็นผู้ข้ามโคตรจากปุถุชนเป็นอริยะบุคคลอย่างชอบขั้นโสดาบัน มีคุณธรรมวิเศษในใจ มีดวงตาเห็นธรรมรู้เห็นอยู่ในแนวทางแห่งพระนิพพาน มีมรรคองค์ 8 เป็นปฏิปทาในตนแล้วจึงค่อยสามารถให้การอบรมสั่งสอนปุถุชนผู้ยังมีปัญญามืดบอดแต่มีศรัทธาได้ เพราะคนที่ยังเป็นปุถุชนและยังไม่ได้เปรียญธรรมหากเที่ยวไปสั่งสอนคนอื่น ก็เท่ากับคนตาบอดเดินจูงคนตาบอดไป ย่อมจะไม่สามารถถึงจุดหมายตามที่ปรารถนาได้ แต่กลับต้องประสบกับทุกข์และคลาดเคลื่อนออกนอกทางแห่งพรหมจรรย์ที่ทรงแสดงไว้ให้อย่างแน่แท้ และยิ่งหากเข้าลักษณะเป็นการใช้เงินจ้างในการจูง ก็เป็นการพ้นวิสัยที่จะเอาผิดเอาโทษกับบุคคลผู้จูงทั้งในทางแพ่งและทางอาญาได้ ด้วยเหตุผลที่เขาอ้างเอาว่าการชำระเงินเป็นความสมัครใจของผู้อยากเรียนรู้ธรรม และที่ใครไม่สามารถสร้างปัญญาได้ก็เป็นเรื่องของวาสนาแต่ละบุคคลเท่านั้น ดังนี้ หากมีบุคคลใดได้แสดงตนกระทำการดังกล่าวเช่นนั้นจึงไม่นับว่าเป็นบุคคลที่สมควรจะได้รับการยกย่องจากสาธุชนทั่วไปว่า เป็นผู้ประกอบคุณงามความดีหรือนำประโยชน์ทางศาสนามาให้สังคมแต่ประการใด ในขณะเดียวกัน ก็ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรที่จะได้ไปซึ่งเงินของบุคคลที่แสวงหาที่พึ่งทางใจจากคำสอนในพระพุทธศาสนาอีกด้วย”

ทั้งนี้ หลังจากที่ได้มีการนำเสนอคำพิพากษาดังกล่าวออกไป ปรากฏว่า มีผู้แสดงความเห็นต่อคำพิพากษาดังกล่าวเป็นจำนวนมาก และมีการแชร์ความไปในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง

บางรายถึงกับยกข้อความคำพิพากษาบางช่วงบางตอนมาโพสต์ต่อ เช่น “

@@@@@@@

แพรี่ ไพรวัลย์ วรรณบุตร” ที่บอกว่า “ดิฉันได้อ่านคำพิพากษาของศาลที่มีต่อกรณีของอาจารย์ที่้เป็นไลฟ์โค้ชสอนธรรมะท่านหนึ่งแล้ว ดิฉันปลาบปลื้มใจมากค่ะ...” พร้อมกับแสดงความคิดเห็นตบท้ายโพสต์อีกต่างหากว่า “ปล. สาธุ ศาลท่านเทศนาถึงเพียงนี้แล้ว ต่อไปพวกที่ชอบอ้างตัวเป็นไลฟ์โค้ชเจ้าลัทธิเจ้าศาสดา เปิดคอร์สเก็บเงิน แอบอ้างสอนธรรมะส่งเดชไปเรื่อย ได้มีร้อนๆ หนาวๆ บ้างล่ะ”

หรือ “มล.ชัยนิมิต นวรัตน์” ที่โพสต์แสดงความคิดเห็นเอาไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “อยากให้พุทธศาสนิกชนได้อ่านคำพิพากษาของศาล ซึ่งได้อธิบายผิดชอบชั่วดีของการแอบอ้างเอาศาสนามาเป็นเครื่องมือหากินอย่างแจ่มกระจ่าง เสียดายที่เป็นการยกฟ้องโจทก์ ซึ่งแพ้คดีแล้วก็เหมือนเจ๊า ไม่ได้ไม่เสีย ถ้าหากเป็นการพิพากษาให้จำเลยแพ้ในการกระทำเช่นเดียวกันนี้ คงจะได้รับผลกรรมสาสมในชาตินี้ ไม่ต้องรอถึงชาติไหน”

นอกจากนั้น ถ้าหากได้อ่านคำพิพากษาโดยละเอียดก็มีความน่าสนใจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะในทางคดีที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ยกตัวอย่างเช่น

“เมื่อคดีนี้โจทก์เป็นผู้ยังไม่ได้เปรียญธรรมมีแต่ปริญญาทางโลก ได้ยอมรับว่าได้นำเอาหลักศาสนาพุทธมาใช้เป็นปัจจัยในการประกอบธุรกิจ มีรายได้และผลกำไรจากการเปิดคอร์สอบรม “เข็มทิศชีวิต” เป็นเงินไม่น้อยประมาณปีละ 10 ล้านบาทขึ้นไปโดยการเก็บเงินค่าสมัครเข้าอบรมคอร์สเข็มทิศชีวิตจะกำหนดค่าสมัครตามจำนวนผู้สมัคร หากมีผู้สมัครจำนวนน้อยจะคิดค่าสมัครแพงกว่ากรณีที่มีผู้สมัครจำนวนมาก ค่าคอร์สรายบุคคลในราคาหลักหมื่นไม่ก็หลักแสน โดยเพียงบุคคลเดียวหากเรียนหลายคอร์สจะต้องใช้เงินประมาณ 3 ล้านบาทนั้น ย่อมเท่ากับเป็นการรับรองอยู่ในตัวต่อผู้มีศรัทธาในพระศาสนาว่า ตนเองมีภูมิจิตภูมิธรรมสูง เลยขั้นปุถุชนคนหนึ่งด้วยกิเลสไปแล้ว ซึ่งอย่างไรก็ดี คุณธรรมภายในใจเช่นว่าที่รู้ได้แต่เฉพาะตนส่วนคนอื่น ไม่สามารถจะรู้เห็นได้ ทำได้แต่เพียงคาดเดาเอาจากบุคลิกภาพ อันประกอบด้วย วาจากิริยา ท่าทางและการแต่งกาย อย่างไรก็ดี พอจะมีเครื่องหมายที่จะบ่งชี้ว่า อริยสาวกผู้ใดเป็นผู้มีคุณธรรมภายในเช่นนั้นได้ กล่าวคือ อริยสาวกผู้นั้นจะต้องเป็นผู้มีจิตเมตตา กรุณา ไม่กระทำสิ่งที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น”


@@@@@@@

หรือที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการฟ้องร้องดำเนินคดีว่า...

“คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า บุคคลผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง เคยเข้าคอร์สอบรมเข็มทิศชีวิตกับโจทก์ มีความสนิทสนมรักใคร่ในตัวโจทก์ แต่ต่อมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะลงข่าวกล่าวถึงโจทก์ด้วยกับคำตามฟ้อง บุคคลเหล่านั้นต่างก็ร้องขอให้โจทก์ลบรูปของตนที่ถ่ายคู่กับโจทก์ออกจากเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์คอร์สอบรม "เข็มทิศชีวิต" ของโจทก์และแสดงออกให้สังคมทราบว่า ไม่ยอมที่จะให้โจทก์ใช้ชื่อเสียงของตนไปประชาสัมพันธ์คอร์สอบรมของโจทก์อีก และเมื่อพิจารณาจากเอกสารข่าวของสำนักข่าวรวม 4 สำนัก ที่ลงข่าวในเดือน พ.ค. และ มิ.ย. 2566 มีเนื้อความกล่าวถึงพฤติการณ์ที่มีผู้เข้าคอร์ส "เข็มทิศชีวิต" กล่าวถึงพฤติกรรมของโจทก์ในการดำเนินงานเปิดคอร์สอบรมในทางเป็นลบต่อตัวโจทก์ สอดคล้องกับคำตอบถามค้านของพยานโจทก์ว่า โจทก์เป็นไลน์โค้ชชื่อดังมีรายได้จากการเปิดคอร์สอบรม "เข็มทิศชีวิต" หลายสิบล้านบาทต่อปี ได้ประสบปัญหาในเรื่องความไว้วางใจจากบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนที่เคยใกล้ชิดสนิทสนมและเคยเปิดคอร์สอบรม "เข็มทิศชีวิต" ของโจทก์ ต่างทยอยถอนตัวออกไปอยู่ห่างจากโจทก์ และไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ภาพถ่ายของเขาเหล่านั้น ที่เคยถ่ายร่วมกับโจทก์ ในขณะที่เข้าอบรมในคอร์ส "เข็มทิศชีวิต" นำไปใช้ในการโปรโมทคอร์สอบรมของโจทก์ และบางคนถึงขั้นขัดแย้งไปทางกฎหมายกับตัวโจทก์ ซึ่งเห็นว่าการที่โจทก์ต้องหยุดเปิดคอร์ส "เข็มทิศชีวิต" ไปก่อนหน้านี้ประมาณ 1 ปีเศษก็น่าเชื่อว่าเป็นผลมาจากข้อเท็จจริงการที่ผู้เข้าอบรมได้สัมผัสหรือได้เห็นปฏิปทาในทางธรรมของโจทก์ ที่ปรากฏอยู่ในข่าวซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 1 ลงข่าว

@@@@@@@

“ดังนี้พฤติการณ์แห่งรูปคดีย่อมจะน่าเชื่อได้ว่า บรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงดังกล่าวนอกจากจะไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการเข้าคอร์สแล้ว ยังถึงขั้นกับตั้งตัวรังเกียจในตัวโจทก์อีกด้วย และโดยที่หลักการสำคัญของศาสนาพุทธ และทุกศาสนาที่ให้มนุษย์ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันด้วยความมีเมตตาและกรุณา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความผาสุกแล้ว เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำของโจทก์ตามที่กล่าวมาข้างต้น จึงต้องเชื่อได้ว่าตัวโจทก์เป็นคนที่ได้กระทำให้บุคคลผู้เสียเงินสมัครเข้าอบรมคอร์ส “เข็มทิศชีวิต” ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ทั้งในด้านชื่อเสียงและเงินทอง จึงนับว่าเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยหลักธรรมอันเป็นหลักการของศาสนาพุทธ ดังนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยการกระทำที่ขัดแย้ง ไม่ตรง และไม่เป็นไปโดยชอบด้วยคำสอนของพระศาสดา มีเจตนามุ่งหวังและแสวงหากำไรเป็นประโยชน์เฉพาะตน มาใช้เป็นฐานรองรับในการขอใช้อำนาจแห่งกฎหมายคุ้มครอง การกระทำดังกล่าวว่า เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพของตนโดยชอบธรรม เพื่อให้ลงโทษบุคคลอื่นที่กล่าวประกาศตีแผ่และตำหนิติเตียนเฉพาะแต่การกระทำและผลของการกระทำของโจทก์ โดยไม่ใช่เป็นการใส่ร้ายในเรื่องส่วนตัวของโจทก์แต่ประการใด ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยในคดีอาญา ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (4) พิพากษายกฟ้อง”

นี่นับเป็นคำพิพากษาในคดีเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่จำต้องบันทึกเอาไว้เป็นประวัติศาสตร์กันเลยทีเดียว.






ขอบคุณ ; https://mgronline.com/daily/detail/9670000014590
เผยแพร่ : 17 ก.พ. 2567 05:54 | ปรับปรุง : 17 ก.พ. 2567 05:54 | โดย : ผู้จัดการออนไลน์
130  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศาลยกฟ้องผู้จัดการ คดีหมิ่น "อ้อย เข็มทิศชีวิต" ชี้แอบอ้างศาสนาหากิน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2024, 08:57:57 am
.



ศาลยกฟ้องผู้จัดการ คดีหมิ่น "อ้อย เข็มทิศชีวิต" ชี้แอบอ้างศาสนาหากิน

ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง คดี "ฐิตินาถ ณ พัทลุง" ไลฟ์โค้ชเข็มทิศชีวิต ฟ้องสื่อผู้จัดการ ฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหายกว่า 5 ล้าน ชี้เจ้าตัวเอาหลักศาสนาพุทธมาหากิน มีรายได้นับสิบล้าน ทั้งที่ไม่ได้เปรียญธรรม มีแต่ปริญญาทางโลก แถมนำคำสอนพระศาสดาแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว ไม่เป็นไปโดยชอบ

วันนี้ (12 ก.พ.) ศาลอาญากรุงเทพใต้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่ นางสาวฐิตินาถ ณ พัทลุง หรือครูอ้อย ไลฟ์โค้ชเข็มทิศชีวิต เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท ไทยเวิลด์ มีเดีย จำกัด จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 2 คน ฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา และละเมิด พร้อมเรียกค่าสินไหมทดแทนจำนวน 5,052,777 บาท สืบเนื่องมาจากเนื่องจาก เมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก "ผู้จัดการสุดสัปดาห์" โพสต์ภาพ น.ส.ฐิตินาถ และบุคคลในวงการบันเทิงอื่นๆ และมีข้อความในภาพว่า

“รวมคนดังชีวิตหวิดพังเพราะเข็มทิศ” และเขียนข้อความประกอบภาพว่า “เป็นประเด็นอย่างต่อเนื่องสำหรับคอร์สหลักสูตร “เข็มทิศชีวิต” “ของครูอ้อย ฐิตินาถ ณ พัทลุง” หลังคนในวงการต่างทยอยถอนตัวออกจากการวงจรของเจ้าตัวมากขึ้น ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปก็ต้องบอกว่า “คอร์ส” การจัดสัมมนาปรึกษาปัญหาชีวิตของเจ้าตัวนั้นมีปัญหามาตั้งแต่แรกๆ แล้ว และมี “คนดัง” มากมายที่ชีวิตพังเพราะเข็มทิศ

โดยเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2567 ศาลอาญากรุงเทพใต้ นัดไต่สวนมูลฟ้อง และวันที่ 12 ก.พ. 2567 ศาลนัดฟังคำพิพากษาหรือคำสั่ง


@@@@@@@

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ที่พระโพธิสัตว์ยอมละทิ้งราชสมบัติ บุตร และภรรยาเสด็จหลีกออกผนวชแสวงหาทางพ้นทุกข์ จนได้ปัญญาตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นองค์พระอรหันตระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนได้ปัญญาตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นองค์พระอรหันตระสัมมาสัมพุทธเจ้าและตั้งพระศาสนาหรือพระธรรมวินัยขึ้น โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือพระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ไว้ให้พระพุทธศาสนิกชนได้ยึดถือเป็นสรณะนั้น เป็นการกระทำเพื่อโปรดเหล่าสัพพสัตว์ที่จะได้ศึกษาเรียนรู้ตามจนเกิดปัญญารู้เห็นสัจธรรม ทำให้ทุกข์ในใจเบาบางลงไปจนหมดสิ้นอันเป็นที่สุดแห่งทุกข์

โดยพระตถาคตไม่ได้กระทำไปด้วยความปรารถนาในลาภ ยศ คำสรรเสริญ หรือทรัพย์สินเงินทองใดๆ ซึ่งการเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนไปสู่ผู้มีศรัทธา ก็ทรงให้เป็นหน้าที่ของเหล่าสงฆ์สาวกหรือนักบวชในธรรมวินัย ที่ได้รับการศึกษาธรรมวินัยจนสำเร็จเป็นประโยชน์แก่ตน มีคุณสมบัติเป็นผู้มักน้อย สันโดษในลาภสักการะ เลี้ยงขึ้นด้วยปัจจัยสี่ที่ผู้ครองเรือนมอบให้ด้วยใจศรัทธา เที่ยวจาริกไปเผยแผ่คำสอนและชี้ทางแห่งความสุขความเจริญในชีวิตให้แก่คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยมีความเห็นชอบเป็นสัมมาทิฏฐิ ได้ตาปัญญาเป็นแสงสว่างของชีวิต ก็ย่อมจะพบชีวิตใหม่ที่มีคุณค่ากว่าการได้ทรัพย์สินอันใดในโลก เพราะแม้จะยังทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ไม่ได้ในอัตภาพนี้ ก็ต้องได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติในอัตภาพต่อ ๆ ไปอย่างแน่นอน

ส่วนการดำรงอยู่อย่างมั่นคงของพระศาสนาเป็นที่พึ่งของเหล่าสัพพสัตว์ชั่วกาลนาน พระองค์ทรงมอบให้เหล่าพุทธบริษัท 4 อันประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ช่วยกันกระทำ โดยภิกษุและภิกษุณีต้องอยู่ในพระธรรมวินัย อุบาสกและอุบาสิกามีความเคารพในพระรัตนตรัย เป็นต้น ดังนั้น เมื่อน้อมใจเข้าไปพิจารณาหลักการสำคัญของพระศาสนาตามพระประสงค์ที่กล่าวมาข้างต้นและความต้องการอยากพ้นทุกข์ของมนุษย์เข้าด้วยกัน ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนย่อมต้องยอมรับว่าพระธรรมคำสั่งสอนที่ได้ประทานไว้ให้โดยมหากรุณานั้น ย่อมเป็นสิ่งที่ประเสริฐสูงสุดมีคุณค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินใดๆ ในโลก และเป็นการประทานให้เปล่าๆ ไม่ต้องใช้เงินหรือทองเข้าแลก

@@@@@@@

ดังนั้น จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่เหล่าพุทธบริษัท 4 ผู้หนึ่งผู้ใด ที่ได้เรียนรู้พระธรรมแล้วจะอาศัยเอาพระธรรมนั้นออกแสดงเพื่อการค้า หรือเพื่อแสวงหาผลกำไร

เพราะเป็นการตีราคาพระธรรมคำสอนเทียบค่ากับเงินทอง เป็นการกระทำที่ไม่เคารพต่อพระรัตนตรัยประการหนึ่ง
เป็นหนทางที่จะนำไปสู่การเบียดเบียนในทางทรัพย์สิน เงินทองได้ประการหนึ่ง
ทำให้บุคคลที่ยังไม่ได้มั่นคงในพระรัตนตรัยพากันเสื่อมถอยหนีห่างไปจากศาสนาประการหนึ่ง

และประการสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการสั่งสอนหรือถ่ายทอดธรรมะให้บุคคลอื่น ผู้ตั้งตนเป็นครูอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็นผู้ได้เปรียญธรรมหรือศึกษาปฏิบัติธรรมจนเป็นผู้ข้ามโคตรจากปุถุชนเป็นอริยะบุคคลอย่างชอบขั้นโสดาบัน มีคุณธรรมวิเศษในใจ มีดวงตาเห็นธรรมรู้เห็นอยู่ในแนวทางแห่งพระนิพพาน มีมรรคองค์ 8 เป็นปฏิปทาในตนแล้ว จึงค่อยสามารถให้การอบรมสั่งสอนปุถุชนผู้ยังมีปัญญามืดบอดแต่มีศรัทธาได้

เพราะคนที่ยังเป็นปุถุชนและยังไม่ได้เปรียญธรรมหากเที่ยวไปสั่งสอนคนอื่น ก็เท่ากับคนตาบอดเดินจูงคนตาบอดไป ย่อมจะไม่สามารถถึงจุดหมายตามที่ปรารถนาได้ แต่กลับต้องประสบกับทุกข์และคลาดเคลื่อนออกนอกทางแห่งพรหมจรรย์ที่ทรงแสดงไว้ให้อย่างแน่แท้ และยิ่งหากเข้าลักษณะเป็นการใช้เงินจ้างในการจูง ก็เป็นการพ้นวิสัยที่จะเอาผิดเอาโทษกับบุคคลผู้จูงทั้งในทางแพ่งและทางอาญาได้

ด้วยเหตุผลที่เขาอ้างเอาว่าการชำระเงินเป็นความสมัครใจของผู้อยากเรียนรู้ธรรม และที่ใครไม่สามารถสร้างปัญญาได้ก็เป็นเรื่องของวาสนาแต่ละบุคคลเท่านั้น ดังนี้ หากมีบุคคลใดได้แสดงตนกระทำการดังกล่าวเช่นนั้นจึงไม่นับว่าเป็นบุคคลที่สมควรจะได้รับการยกย่องจากสาธุชนทั่วไปว่า เป็นผู้ประกอบคุณงามความดีหรือนำประโยชน์ทางศาสนามาให้สังคมแต่ประการใด ในขณะเดียวกัน ก็ย่อมเป็นผู้ไม่สมควรที่จะได้ไปซึ่งเงินของบุคคลที่แสวงหาที่พึ่งทางใจจากคำสอนในพระพุทธศาสนาอีกด้วย


@@@@@@@

ดังนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์เป็นผู้ยังไม่ได้เปรียญธรรมมีแต่ปริญญาทางโลก ได้ยอมรับว่าได้นำเอาหลักศาสนาพุทธมาใช้เป็นปัจจัยในการประกอบธุรกิจ มีรายได้และผลกำไรจากการเปิดคอร์สอบรม “เข็มทิศชีวิต” เป็นเงินไม่น้อยประมาณปีละ 10 ล้านบาทขึ้นไป

โดยการเก็บเงินค่าสมัครเข้าอบรมคอร์สเข็มทิศชีวิตจะกำหนดค่าสมัครตามจำนวนผู้สมัคร หากมีผู้สมัครจำนวนน้อยจะคิดค่าสมัครแพงกว่ากรณีที่มีผู้สมัครจำนวนมาก ค่าคอร์สรายบุคคลในราคาหลักหมื่นไม่ก็หลักแสน โดยเพียงบุคคลเดียวหากเรียนหลายคอร์สจะต้องใช้เงินประมาณ 3 ล้านบาทนั้น ย่อมเท่ากับเป็นการรับรองอยู่ในตัวต่อผู้มีศรัทธาในพระศาสนาว่า ตนเองมีภูมิจิตภูมิธรรมสูง เลยขั้นปุถุชนคนหนึ่งด้วยกิเลสไปแล้ว

ซึ่งอย่างไรก็ดี คุณธรรมภายในใจเช่นว่าที่รู้ได้แต่เฉพาะตนส่วนคนอื่น ไม่สามารถจะรู้เห็นได้ ทำได้แต่เพียงคาดเดาเอาจากบุคลิกภาพ อันประกอบด้วย วาจากิริยา ท่าทางและการแต่งกาย อย่างไรก็ดี พอจะมีเครื่องหมายที่จะบ่งชี้ว่า อริยสาวกผู้ใดเป็นผู้มีคุณธรรมภายในเช่นนั้นได้ กล่าวคือ อริยสาวกผู้นั้นจะต้องเป็นผู้มีจิตเมตตา กรุณา ไม่กระทำสิ่งที่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดเนื้อร้อนใจด้วยประการใด ๆ ทั้งสิ้น

@@@@@@@

คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่า บุคคลผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง เคยเข้าคอร์สอบรมเข็มทิศชีวิตกับโจทก์ มีความสนิทสนมรักใคร่ในตัวโจทก์ แต่ต่อมาก่อนที่จำเลยที่ 1 จะลงข่าวกล่าวถึงโจทก์ด้วยกับคำตามฟ้อง บุคคลเหล่านั้นต่างก็ร้องขอให้โจทก์ลบรูปของตนที่ถ่ายคู่กับโจทก์ออกจากเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์คอร์สอบรม "เข็มทิศชีวิต" ของโจทก์และแสดงออกให้สังคมทราบว่า ไม่ยอมที่จะให้โจทก์ใช้ชื่อเสียงของตนไปประชาสัมพันธ์คอร์สอบรมของโจทก์อีก

และเมื่อพิจารณาจากเอกสารข่าวของสำนักข่าวรวม 4 สำนัก ที่ลงข่าวในเดือน พ.ค. และ มิ.ย. 2566 มีเนื้อความกล่าวถึงพฤติการณ์ที่มีผู้เข้าคอร์ส "เข็มทิศชีวิต" กล่าวถึงพฤติกรรมของโจทก์ในการดำเนินงานเปิดคอร์สอบรมในทางเป็นลบต่อตัวโจทก์ สอดคล้องกับคำตอบถามค้านของพยานโจทก์ว่า โจทก์เป็นไลน์โค้ชชื่อดังมีรายได้จากการเปิดคอร์สอบรม "เข็มทิศชีวิต" หลายสิบล้านบาทต่อปี ได้ประสบปัญหาในเรื่องความไว้วางใจจากบุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคนที่เคยใกล้ชิดสนิทสนมและเคยเปิดคอร์สอบรม "เข็มทิศชีวิต" ของโจทก์ ต่างทยอยถอนตัวออกไปอยู่ห่างจากโจทก์ และไม่ยินยอมให้โจทก์ใช้ภาพถ่ายของเขาเหล่านั้น ที่เคยถ่ายร่วมกับโจทก์

ในขณะที่เข้าอบรมในคอร์ส "เข็มทิศชีวิต" นำไปใช้ในการโปรโมทคอร์สอบรมของโจทก์ และบางคนถึงขั้นขัดแย้งไปทางกฎหมายกับตัวโจทก์ ซึ่งเห็นว่าการที่โจทก์ต้องหยุดเปิดคอร์ส "เข็มทิศชีวิต" ไปก่อนหน้านี้ประมาณ 1 ปีเศษก็น่าเชื่อว่าเป็นผลมาจากข้อเท็จจริงการที่ผู้เข้าอบรมได้สัมผัสหรือได้เห็นปฏิปทาในทางธรรมของโจทก์ ที่ปรากฏอยู่ในข่าวซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 1 ลงข่าว


@@@@@@@

ดังนี้พฤติการณ์แห่งรูปคดีย่อมจะน่าเชื่อได้ว่า บรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงดังกล่าวนอกจากจะไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการเข้าคอร์สแล้ว ยังถึงขั้นกับตั้งตัวรังเกียจในตัวโจทก์อีกด้วย และโดยที่หลักการสำคัญของศาสนาพุทธ และทุกศาสนาที่ให้มนุษย์ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันด้วยความมีเมตตาและกรุณา ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ เพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความผาสุกแล้ว เมื่อพิจารณาพฤติการณ์แห่งการกระทำของโจทก์ตามที่กล่าวมาข้างต้น

จึงต้องเชื่อได้ว่าตัวโจทก์เป็นคนที่ได้กระทำให้บุคคลผู้เสียเงินสมัครเข้าอบรมคอร์ส "เข็มทิศชีวิต" ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ทั้งในด้านชื่อเสียงและเงินทอง จึงนับว่าเป็นการกระทำไม่ชอบด้วยหลักธรรมอันเป็นหลักการของศาสนาพุทธ ดังนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยการกระทำที่ขัดแย้ง ไม่ตรง และไม่เป็นไปโดยชอบด้วยคำสอนของพระศาสดา มีเจตนามุ่งหวังและแสวงหากำไรเป็นประโยชน์เฉพาะตน มาใช้เป็นฐานรองรับในการขอใช้อำนาจแห่งกฎหมายคุ้มครอง

การกระทำดังกล่าวว่า เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพของตนโดยชอบธรรม เพื่อให้ลงโทษบุคคลอื่นที่กล่าวประกาศตีแผ่และตำหนิติเตียนเฉพาะแต่การกระทำและผลของการกระทำของโจทก์ โดยไม่ใช่เป็นการใส่ร้ายในเรื่องส่วนตัวของโจทก์แต่ประการใด ดังนี้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายทั้งโดยนิตินัยและพฤตินัยในคดีอาญา ที่จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (4) พิพากษายกฟ้อง






ขอบคุณ : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9670000013030
เผยแพร่ : 12 ก.พ. 2567 21:31 | ปรับปรุง : 13 ก.พ. 2567 09:23 | โดย : ผู้จัดการออนไลน์
131  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำไม “อโยธยา” ถึงเป็นเมืองที่ ถูกบังคับให้สูญหาย.? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2024, 07:41:23 am
.

ฐานพระปรางค์วัดสมณโกฏฐาราม พระมหาธาตุหลักกรุงอโยธยา


ทำไม “อโยธยา” ถึงเป็นเมืองที่ ถูกบังคับให้สูญหาย.?

เมืองอโยธยา ตั้งอยู่ในพิกัดที่ปัจจุบันเป็นสถานีรถไฟอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีคูน้ำคันดิน แผนผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ นับเป็นเมืองที่มีความสำคัญ เก่ากว่าทั้งกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งเก่ากว่าสุโขทัย แต่ “อโยธยา” กลับเป็นเมืองที่ถูกด้อยค่า ซ้ำยังถูกบังคับให้สูญหาย

สุจิตต์ วงษ์เทศ นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ เล่าว่า อโยธยาเก่ากว่าสุโขทัยราว 100 ปี ปรากฏหลักฐานบ่งชี้ว่า อย่างน้อยเมื่อราว พ.ศ. 1750 เมืองอโยธยาถือกำเนิดแล้วตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาว ร่วมทัพขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง ดังนั้น กรุงสุโขทัยเกิดหลังกรุงอโยธยา

อโยธยาเริ่มราว พ.ศ. 1650 กาฬโรคระบาดราวเรือน พ.ศ. 1890 ตำนานเรียกโรคห่า แต่ถูกเข้าใจผิดเป็นอหิวาต์ มีการย้ายศูนย์กลางอำนาจจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ขนานนามใหม่ว่า “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” (เพื่อแก้อาถรรพ์)

ส่วนเหตุที่ทำไมเมืองอโยธยาถึงถูกบังคับให้สูญหายมากว่า 150 ปีแล้วนั้น สุจิตต์บอกว่า เรือน พ.ศ. 2400 ชนชั้นนำสยามเชื่อตามนักค้นคว้าจากยุโรปว่า “ชนเชื้อชาติไทย” มีถิ่นกำเนิดในจีน (ลุ่มน้ำแยงซี) แล้วอพยพหนีการรุกรานของจีนลงมาตั้งหลักแหล่งในไทย ตั้งกรุงสุโขทัย เมื่อเมืองสุโขทัยเสื่อมอำนาจ จึงมีกรุงศรีอยุธยา โดยไม่มีอโยธยา

@@@@@@

อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสเมื่อปี 2450 ทรงทักท้วงว่า อโยธยา เป็นเมืองต้นกำเนิดของอยุธยา อโยธยาซึ่งอยู่ทางตะวันออกของอยุธยา เป็นเมืองมีก่อนการสร้างอยุธยา นับเป็นต้นประวัติศาสตร์สยาม

สุจิตต์ยังบอกด้วยว่า จิตร ภูมิศักดิ์ นักประวัติศาสตร์และนักคิด ก็พูดถึงประเด็นนี้เช่นกันว่า อโยธยาสืบเนื่องเป็นอยุธยา และให้ความสำคัญต่ออโยธยาว่า เป็นต้นทางลัทธิรามและตระกูลราม (คู่กับสุพรรณภูมิ ลัทธิอินทร์, ตระกูลอินทร์) อยู่ในหนังสือ “สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนสมัยศรีอยุธยา” (เขียนก่อน พ.ศ. 2509 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2526)

ขณะที่ปี 2509 ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งขณะนั้นเป็นอาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แสดงหลักฐานรอบด้านทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและมานุษยวิทยาว่า อโยธยาเป็นเมืองเก่าของอยุธยา ไว้ในหนังสือ “สังคมศาสตร์ปริทัศน์”

ทว่าหลังปี 2475 ลัทธิชาตินิยมแบบทางการได้สถาปนา “กรุงสุโขทัย” เป็นราชธานีแห่งแรก ส่วนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีต่อจากกรุงสุโขทัย ทำให้ “เมืองอโยธยา” หายไปจากความรับรู้ในประวัติศาสตร์กระแสหลัก


@@@@@@

“ปัจจุบัน อโยธยาถูกบังคับสูญหาย เพราะขัดกับความเชื่อว่าสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชนเชื้อชาติไทย ทั้งนี้ โดยระบบราชการรวมศูนย์ และระบบการศึกษาผูกขาดด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี เลื่อมใสลัทธิชาตินิยม คลั่ง ‘ชนเชื้อชาติไทย’” สุจิตต์ ปิดท้าย

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “อโยธยา” ในเอกสารและตำนานเก่าแก่ อยู่ร่วมสมัยกับ “สุโขทัย-ล้านนา”
    • “กรุงอโยธยา” ศูนย์กลางอำนาจแห่งแรกของไทย




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ : เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_127393
อ้างอิง : สุจิตต์ วงษ์เทศ. “พงศาวดารอโยธยาศรีรามเทพนคร ฉบับ มานิต วัลลิโภดม: อโยธยา เก่าแก่กว่าสุโขทัย ต้นกำเนิดอยุธยา ต้นแบบรัตนโกสินทร์” วันที่ 21 เมษายน 2566.
132  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Golden Boy รูปแทนองค์ “ชัยวรมันที่ 6” (?) ผู้สร้างปราสาทพิมาย ต้นแบบนครวัด เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2024, 07:32:39 am


ประติมากรรมสำริด โกลเด้นบอย (Golden Boy) ที่ถูกตีความว่าเป็น พระเจ้าชัยวรมันที่ 6


Golden Boy รูปแทนองค์ “ชัยวรมันที่ 6” (?) ผู้สร้างปราสาทพิมาย ต้นแบบนครวัด

ประติมากรรมสำริด “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) ถูกตีความอย่างมากมายหลายหลากทฤษฎีว่า ภายใต้รูปอันงดงามนั้น ประติมากรรมรูปนี้หมายถึงใคร หรือเป็นอะไรกันแน่? โดยหนึ่งในข้อสันนิษฐานที่ได้รับความเชื่อถือกันมากที่สุด ซึ่งตั้งต้นมาจากการวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์ The Met สหรัฐอเมริกา ก็คือ เป็นรูปสนองพระองค์ของ “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” ผู้สถาปนา ปราสาทพิมาย

แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัด แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวถือว่าตั้งอยู่บนความเป็นไปได้ไม่น้อย เพราะตัวตนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เอง ถือว่าเป็นกษัตริย์องค์สำคัญและยิ่งใหญ่ของเขมรโบราณสมัยพระนคร ซึ่งมีร่องรอยหลักฐานของพระองค์ที่สัมพันธ์กับในดินแดนอีสานใต้ อันเป็นพื้นที่ที่พบ “โกลเด้นบอย” ด้วย

ที่สำคัญคือในยุคสมัยของพระองค์ มีการสร้างปราสาทที่สำคัญอย่าง ปราสาทพิมาย ซึ่งนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์กันว่าเป็น “ต้นแบบ” ก่อนการสร้าง ปราสาทนครวัด อันยิ่งใหญ่แห่งเมืองพระนคร

“ศิลปวัฒนธรรม” ร่วมกับ รศ. ดร. ศานติ ภักดีคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกและประวัติศาสตร์กัมพูชา ชวนแกะรอยโกลเด้นบอย โดยเฉพาะการพาไปรู้จักกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ในฐานะกษัตริย์แห่งอาณาจักรพระนคร ผู้มี “พื้นเพ” อยู่ในพื้นที่แคว้นมหิธรปุระ ซึ่งปัจจุบันคือพื้นที่แถบอีสานใต้ของไทย ว่าพระองค์มีความสำคัญต่อการปะติดปะต่อเรื่องราวประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่างไร หาก โกลเด้นบอย คือ “รูปแทน” ของพระองค์จริง ๆ

@@@@@@@

อาจารย์ศานติ เล่าว่า มีหลักฐานจำนวนหนึ่งในพื้นที่ประเทศไทยที่เล่าถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูล หรือตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เช่น จารึกปราสาทพระขรรค์ จารึกปราสาทพนมรุ้ง กล่าวถึงบรรพบุรุษของพระองค์ที่แคว้นมหิธรปุระ โดยเท้าความไปถึงกษัตริย์องค์หนึ่งชื่อ “หิรัณยวรมัน” เป็นผู้ปกครองพื้นที่แถบลุ่มแม่น้ำมูล หรือแคว้นมหิธรปุระ

หลักฐานข้างต้นระบุว่า หิรัณยวรมัน มีพระราชโอรสได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรพระนคร คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 กับพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1

อาจารย์ศานติ เล่าว่า “ในจารึกปราสาทพระวิหาร มีการกล่าวถึงว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ และสามารถขยายอำนาจไปจนสุดทะเล” ซึ่งนั่นหมายความว่า พระราชอำนาจของพระองค์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แคว้นมหิธรปุระในอีสานใต้ แต่มีเหนืออาณาจักรเขมรทั้งหมด

ความเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ยังสัมพันธ์กับการอุบัติขึ้นของ ปราสาทพิมาย ดังเห็นได้จากจารึกบริเวณกรอบประตูระเบียงคดของปราสาท กล่าวถึงนามของชนชั้นสูงระดับเจ้าเมืองว่าเป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ที่นั่นพร้อมระบุปีศักราชไว้ชัดเจน ทำให้นักประวัติศาสตร์ทราบว่าปราสาทพิมายเริ่มสร้างสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 คือสร้างก่อนปราสาทนครวัด


@@@@@@@

จากข้อมูลข้างต้น อาจารย์ศานติชี้ว่า “สอดคล้องกับหลักฐานรูปแบบศิลปกรรม ถึงแม้บางครั้งเราจะจัดว่าปราสาทพิมายเป็นศิลปะแบบนครวัด แต่จริง ๆ เราจะพบว่า มันเป็นช่วงรอยต่อของความคลี่คลายจากศิลปกรรมแบบบาปวน (ก่อนนครวัด) มาสู่นครวัด”

ติดตามเรื่องราวแบบเต็ม ๆ ได้ใน SILPA PODCAST GOLDEN BOY EP.1 “เขมรโบราณ” ถิ่นอีสานใต้ แหล่งกำเนิด “Golden Boy” โดย รศ. ดร. ศานติ ภักดีคำ ที่ YouTube : Silpawattanatham https://youtu.be/1BXfh7SAQf8

อ่านเพิ่มเติม :-

    • น่าสงสัย!? ประติมากรรม “Golden Boy” เก่าแก่กว่ายุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 6
    • “Golden Boy” รูปสนองพระองค์ชัยวรมันที่ 6 ไม่ใช่ศิลปะบาปวน แต่เป็นศิลปะพิมาย!
    • โกลเด้นบอย ไม่มีทางเป็นรูปของ “พระอิศวร” หรือ “พระศิวะ” แน่นอน เพราะเหตุใด?!
    • แกะรอยที่มา “Golden Boy” แบบสืบถึงฐานประติมากรรม! ไขตัวตนรูป “พระเชษฐบิดร” แห่งอีสานใต้?





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_127165
133  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดพระบาทน้ำพุเปิดเมืองลิงบนพื้นที่กว่า 3 ไร่ แห่งแรกในประเทศไทย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2024, 07:26:04 am
.



วัดพระบาทน้ำพุเปิดเมืองลิงบนพื้นที่กว่า 3 ไร่ แห่งแรกในประเทศไทย

ลพบุรี - ท่านเจ้าคุณอลงกต เปิดเมืองลิง เพื่อให้ลิงอยู่อย่างมีความสุขบนพื้นที่กว่า 3 ไร่ แห่งแรกในประเทศไทย ร่วมกับกรมอุทยาน แก้ปัญหาลิงรบกวนชาวบ้าน

วันนี้ (14 ก.พ.) ที่เมืองลิงที่สร้างขึ้นภายในวัดพระบาทน้ำพุ ต.เขาสามยอด อ.เมืองลพบุรี พระอุดมประชานาถ เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ ได้ทำพิธีเปิดเมืองลิง เพื่อให้ลิงเข้ามาอยู่อาศัยอย่างมีความสุข ทั้งนี้เนื่องจากที่วัดพระบาทน้ำพุแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ในการดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ระยะสุดท้าย ซึ่งพื้นที่ตั้งอยู่ปลายเขา มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และได้ขยายอาณาเขตการหากินลงมาพื้นที่วัด สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน และพระ รวมทั้งผู้ป่วยเป็นอย่างมาก






หลวงพ่ออลงกต จึงมีแนวคิดที่จะให้ลิงกับคนอยู่กันได้อย่างมีความสุข จึงได้มีการก่อสร้างเมืองลิงขึ้น โดยงบประมาณที่ทำการก่อสร้างเป็นการรับบริจาคจากองค์กรภาคเอกชน โดยไม่ใช้งบประมาณของวัดแต่อย่างใด สำหรับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นวัสดุที่นำมา รีไซเคิล ส่วนอาหารที่นำมาเลี้ยงลิงได้รับการบริจาครวมทั้งการซื้อไอศกรีมวานร และส่วนหนึ่งจะแบ่งมาจัดซื้ออาหารให้ลิง เมืองลิงแห่งนี้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชอย่างใกล้ชิด โดยจะมีการนำสัตวแพทย์มาทำหมันให้ลิงเพื่อลดปริมาณลิงลงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สำหรับการสร้างเมืองลิงแห่งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ขอความอนุเคราะห์จากวัดพระบาทน้ำพุ ให้ทำการสร้างเมืองลิงขึ้นเพื่อที่จะดูแลและแก้ปัญหาลิงที่สร้างความเดือดร้อนให้ชาวลพบุรี

หลวงพ่ออลงกต กล่าวอีกว่า การสร้างเมืองลิงแห่งนี้ยึดถือความถูกต้องตามกฎหมาย ลิงอยู่อย่างมีความสุข เพื่อเป็นต้นแบบให้หลายจังหวัดที่มีปัญหาเรื่องลิงมาศึกษาดูงาน ทั้งนี้การสร้างเมืองลิงยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควรต้องมีการแก้ไขอีกหลายอย่าง ทั้งนี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจะมาดูแลอย่างใกล้ชิด ให้การแนะนำในการสร้างเมืองลิง ให้เป็นที่อยู่อาศัยของลิงโดยเน้นให้ลิงที่เข้ามาอยู่ภายในเมืองลิงแห่งนี้อย่างมีความสุข






สำหรับภายในเมืองลิง จะมีคาเฟ่ให้สำหรับผู้ที่มาเที่ยวชมลิงได้เห็นความเป็นอยู่ของลิงรวมทั้งมีสถานที่ให้อาหารลิง โดยผู้ที่ใจบุญจะมาซื้อผลไม้และอาหารต่างๆ ให้ลิงด้วยตัวเองอย่างมีความสุขเช่นกัน และพร้อมที่จะขยายเมืองลิงออกไปเป็นเฟส 2 เพื่อรองรับลิงที่สร้างปัญหาอยู่ในตัวเมืองลพบุรี ให้ได้มาอยู่ ณ ที่เมืองลิงแห่งนี้

นางวีรยา โอชะกุล ผอ.สำนักบริการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 สาขาสระบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช กล่าวว่า การสร้างเมืองลิงแห่งนี้ เป็นการทำข้อตกลง MOU ระหว่างกรมอุทยานฯ และจังหวัดลพบุรี และขอรับการอนุเคราะห์จากวัดพระบาทน้ำพุดำเนินการภายใต้กฎหมายอย่างถูกต้อง และทาง กรมจะส่งเจ้าหน้าที่พร้อมทั้งสัตวแพทย์มาทำการดูแลลิงที่อยู่ในเมืองลิงแห่งนี้อย่างใกล้ชิดอีกด้วย





Thank to : https://mgronline.com/local/detail/9670000013818
เผยแพร่ : 14 ก.พ. 2567 21:09 | ปรับปรุง : 15 ก.พ. 2567 05:39 | โดย : ผู้จัดการออนไลน์
134  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปีละครั้ง งานวัดใหญ่ พิษณุโลก เปิดให้กราบพระบรมสารีริกธาตุในสถูปสีทอง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2024, 07:15:09 am
.



ปีละครั้ง งานวัดใหญ่ พิษณุโลก เปิดให้กราบพระบรมสารีริกธาตุในสถูปสีทอง

งานวัดใหญ่ หรืองานสมโภชพระพุทธชินราช ประจำปี 2567 ประชาชนชาวพิษณุโลกและนักท่องเที่ยวมีโอกาสได้ขึ้นพระปรางค์ ด้านหลังวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช เปิดให้ขึ้นได้ปีละ 1 ครั้ง ในช่วงจัดงานวัดใหญ่ 7 วัน ได้กราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุบรรจุในสถูปเจดีย์สีทอง

งานสมโภชพระพุทธชินราชประจำปี 2567 หรือ งานวัดใหญ่ งานประเพณีเก่าแก่ของเมืองพิษณุโลก วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร หรือ วัดใหญ่ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้จัดเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 ปีนี้ จัดเป็นปีที่ 90 กำหนดจัดงานระหว่าง 15-21 กุมภาพันธ์ 2567 ประชาชนทั้งชาวพิษณุโลกและต่างจังหวัดได้เดินทางมาเที่ยวงานจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณหน้าวิหารและภายในวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชเนืองแน่นด้วยผู้คน ที่เข้ามากราบนมัสการพระพุทธชินราช พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดพิษณุโลก




นอกจากนี้ ถือเป็นประเพณีที่ทำสืบต่อกันมายาวนาน ในทุกปีของงานสมโภชพระพุทธชินราช วัดใหญ่ เปิดโอกาสให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ขึ้นไปบนพระปรางค์ ที่อยู่ด้านหลังวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชในตลอดช่วงเวลาจัดงาน 7 วัน จากที่ปกติจะปิดประตูล็อก และไม่ให้ขึ้นไปบนพระปรางค์



ในวันนี้ ทั้งชาวพิษณุโลกและนักท่องเที่ยว ได้มีโอกาสปีนบันได 25 ขั้น ขึ้นไปบนพระปรางค์ ที่ภายในมีสถูปเจดีย์สีทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ โดยมีนักเรียนโรงเรียนพุทธชินราชพิทยา คอยอำนวยความสะดวกและแนะนำ การขึ้นลงให้ปลอดภัย แม้ว่าใจกลางพระปรางค์จะไม่สูงมากนัก แต่บันไดทางขึ้นค่อนข้างชัน และนักเรียนจะคอยไปขึ้นไปเก็บดอกไม้ธูปเทียนที่นักท่องเที่ยวนำขึ้นไปด้านบน รวมถึงคอยขอความร่วมมือห้ามปิดทองที่สถูปเจดีย์สีทอง



พระปรางค์วัดใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก ในช่วงงานวัดใหญ่ของทุกปี ถือเป็นโอกาสอันดี สำหรับท่านที่อาจจะไม่เคยขึ้นไปกราบนมัสการองค์สถูปเจดีย์ ที่เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะที่สำคัญของพระมหากษัตริย์คู่พิษณุโลกสองแคว เนิ่นนานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในพระมหาธรรมราชาที่ 1 ลิไท เดิมนั้นพระปรางค์วัดใหญ่น่าจะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมัยอยุธยาตอนต้น พิษณุโลกได้เป็นเมืองหลวงถึง 25 ปี จึงทำนุบำรุงพุทธศาสนานำเอาศิลปะแบบอยุธยาเข้ามาสร้างให้ มีเอกลักษณ์เพื่อเป็นขอบเขตอาณาจักร จึงได้บูรณะปรับปรุงให้เป็นพระปรางค์ตามยุคสมัย เป็นพระปรางค์ทรงคล้ายฝักข้าวโพด

พระปรางค์ มีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงโดยการบูรณะตามยุคสมัยกาลเวลา เช่น การนำเอากระเบื้องโมเสกที่ฉาบด้วยทองไปปิดทำให้เกิดความสวยงาม เรียก “นพเก้า” ปัจจุบันมีการบูรณะใหม่เปลี่ยนกระเบื้องโมเสก "นพเก้า" ลอกปูนที่หมดอายุนำเอาปูนปั้นรูปพญาครุฑยุดนาคลงทั้ง 12 ตน และนำครุฑที่เรียกครุฑพาห์ทิศละ 1 ตน ยักษ์พระเวสสุวรรณ ทิศละ 6 ตน สี่ทิศด้วยกัน ดังที่เห็นในปัจจุบัน




ครั้งในช่วงสมัยรัชกาลที่ 7 ได้กำหนดให้มีงานประจำปี กำหนดทุกวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 จึงเกิดเป็นงานสมโภชประจำปี ปีละครั้ง ที่สำคัญได้ให้โอกาสประชาชนที่ศรัทธาได้เข้าใกล้องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า กราบพระบรมสารีริกธาตุ โดยทางวัดเปิดให้ขึ้นพระปรางค์ ในช่วงงานสมโภชพระพุทธชินราชเป็นประจำทุกปี ซึ่งต่างจากเจดีย์หรือพระธาตุจังหวัดอื่นๆ ที่มักจะไม่ให้คนทั่วไปได้เข้ากราบและได้ชม เป็นที่อันสงวนถึงความศักดิ์สิทธิ์ต้องห้าม (โดยเฉพาะผู้หญิง) จึงถือว่าน่าจะเป็นโอกาสที่ดีในงานวัดใหญ่ทุกๆ ปี หากมีโอกาสควรขึ้นไปกราบนมัสการ ชมความสวยงามของศิลปะไทย

สิ่งที่น่าประทับใจ ใจกลางพระปรางค์ อาทิ สถูปเจดีย์สีทองที่เป็นทรงลังกา หรือคล้ายระฆังคว่ำ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ศูนย์รวมจิตใจพุทธศาสนิกชนบนฐานบัลลังก์สามชั้น ลงพื้นสีชาดแดงและปิดทอง มีลายไทยลายประจำยามประดับกระจก 2 ชั้นบน, กระเบื้องทอง, คาดลายดอกไม้ฐานบน, คาดลายประจำยามก้ามปูฐานกลาง, ลายกระจังตาอ้อยคว่ำหงายฐานล่าง, ด้านหลังประดิษฐานพระปรางมารวิชัยในคูหา, ตัวดาวเพดานบูรณะคราวเดียวกันลงชาดปิดทอง ล่องลงสีเขียวที่รอบดาวเดือน สีเขียวเข้ามาสร้างความสวยงามตามสมัยนิยม หากได้นมัสการจะรู้สึกความอิ่มใจ อิ่มตา ในความสวยงามของพุทธศิลป์ บานประตูใหม่จากที่เริ่มผุพัง แกะลายไทยกนกเปลวสีทองล่องลงสีชาดแดง (บานเดิมอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์ให้ชม) ขั้นบันได 25 ขั้น เสริมราวสเตนเลส เพื่อความปลอดภัย (เดิมหากมีงานประจำปีจะเป็นลำไม้ไผ่ให้ชาวเมืองได้จับขึ้นไป) มีพญานาค 7 เศียรเป็นราวบันไดให้คนสมัยก่อนได้ค่อยๆ ลูบราวหรือเกล็ดพญานาคขึ้นไปอย่างมีสติแฝงกุศโลบาย หน้าพญานาคมีเทวดา 2 องค์คอยดูแลเรียกเทพพนม




Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/north/2763574
15 ก.พ. 2567 18:13 น. | ข่าว > ทั่วไทย > เหนือ > ไทยรัฐออนไลน์
135  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ความรักที่ดี ควรเริ่มต้นที่การ “รักตัวเอง” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2024, 06:25:41 am




ความรักที่ดี ควรเริ่มต้นที่การ “รักตัวเอง”

ทุกวันนี้เราเจอข่าวที่คนทำร้ายกัน และทำร้ายตัวเองมากขึ้น นักจิตวิทยาบอกว่าสาเหตุก็เพราะคนเรา “รักตัวเอง” ไม่พอ ในเดือนแห่งความรัก อยากให้ทุกคนมีความรักดี ๆ ก็คือเริ่มต้นจากการรักตัวเอง

รักตัวเอง และ เห็นคุณค่าในตัวเอง (Self-esteem) เป็นสองปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเราดีและมีความสุข เพราะเราจะมอบสิ่งดี ๆ ให้ตัวเอง เช่น กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเหมาะสม จนนำไปสู่สุขภาพกาย-ใจที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้คือ เสน่ห์ที่สามารถดึงดูดให้คนอื่นมาชอบและมารักเราได้เช่นกัน

และเมื่อเรามีคนรัก เราก็สามารถดูแลเขาได้เป็นอย่างดี เพราะมีประสบการณ์ในการดูแลร่างกายและหัวใจของตัวเองมาแล้ว ดังนั้นมันจึงถึงเวลาแล้วที่เราควรจะหันกลับมารักตัวเอง มอบความสุข และสิ่งดี ๆ ให้ตัวเอง เพื่อให้กลายเป็นเราในแบบ “Best version of me” พร้อมที่จะส่งต่อความรักดี ๆ ไปสู่คนรอบตัว ครอบครัว และสังคม
[/size]




เริ่มต้นรักตัวเองทำอย่างไร วิธีไหนบ้างที่นักจิตวิทยาแนะนำ

สำหรับใครที่สงสัยว่า “การรักตัวเอง” จะเริ่มต้นอย่างไรดี ข้อมูลจากเว็บไซต์ของ กรมสุขภาพจิต บอกเอาไว้ว่าสิ่งที่เราควรเริ่มต้นก็คือ การดูแลสภาพจิตใจให้พร้อมกับมารักตัวเอง อย่างเช่น

    • หยุดตำหนิและพูดเชิงลบกับตัวเอง เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อสภาพจิตใจ และไม่มองโลกในแง่ร้ายจนเกินไป

    • สร้างความเชื่อมั่นให้กับตัวเอง ชื่นชมสิ่งที่ตัวเองทำแม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ ก็ตาม เพื่อสร้างพลังบวก พลังใจ และสร้างความเชื่อมั่นให้สามารถทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไปได้ในอนาคต

    • ฝึกให้ตัวเองมีความเมตตาและความอ่อนโยน ด้วยการรู้จักให้อภัย ไม่ผูกใจเจ็บ ไม่คิดร้าย ชื่นชมในความสำเร็จของผู้อื่น ซึ่งจะสามารถลดความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวเราได้

    • ลดการเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น เพราะทุกคนย่อมมีช่วงเวลาของตัวเอง อย่าเอาความสำเร็จของคนอื่นมาเป็นแรงกดดัน แต่ให้เปลี่ยนมาเป็นความเชื่อมั่นว่าเราก็สามารถทำได้ สามารถเป็นตัวเองที่ดีขึ้นในทุกวัน และเป็นตัวเองในเวอร์ชั่นที่ดีที่สุดได้เมื่อสภาพจิตใจดีมีความต้องการที่จะพัฒนาตัวเองไปข้างหน้า ก็ถึงเวลาที่เราต้องหันมาดูแลร่างกายให้ดีด้วยเช่นกัน

    • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การกินสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเสริมสุขภาพให้ดีจากภายในสู่ภายนอก ขั้นแรกคือการ ลด “หวาน มัน เค็ม” ซึ่งเป็นสามารถสำคัญของโรคอ้วน และโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ขั้นต่อมาก็คือ การเพิ่มผักและผลไม้ เสริมประโยชน์ให้ร่างกายด้วยการดื่มนม อย่างเช่น นมถั่วเหลือง

    • ออกกำลังกายให้เหมาะสมและสม่ำเสมอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ก็ยังช่วยเผาผลาญไขมันทำให้เรามีหุ่นเฟิร์ม กระชับ ผิวพรรณสดใส และเมื่อได้ออกกำลังกายติดต่อกันประมาณ 15–20 นาทีขึ้นไป ก็จะทำให้ร่างกายหลั่งสาร Endorphins ที่ช่วยให้มีความสุขและจิตใจแจ่มใส

    • พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน เมื่อเราทุ่มเทร่างกายให้กับการใช้ชีวิต การทำงาน และการออกกำลังกายแล้ว ก็ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนจะช่วยให้สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายได้พักฟื้นอย่างเต็มที่เพื่อตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่อย่างสดใส ที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้ว




รักตัวเองจนเกิดเรื่องดี ๆ ถึงเวลาแล้วที่จะส่งต่อความรักให้คนรอบข้าง หลังจากเราดูแลตัวเองให้เป็น “Best version of me” ดีทั้งร่างกายและจิตใจก็ถึงเวลาส่งความรักต่อไปให้คนรอบข้างเพื่อสร้างสังคมที่ดี สิ่งนี้ทำง่าย ๆ แค่การยิ้มทักทายให้กับคนรอบกายและทุกคนที่พบเจอ ขั้นต่อมาก็คือ การมอบสิ่งดี ๆ ให้กับพวกเขาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นคำพูด ความคิด รวมไปถึงสิ่งของต่าง ๆ เช่น การบริจาคสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ การให้ทุนการศึกษารวมถึงการบริจาคโลหิตที่สามารถช่วยต่อชีวิตให้กับผู้คนอีกมาก มายได้ และสิ่งดี ๆ ที่เราแบ่งปันก็จะย้อนกลับมาหาเรากลายเป็นความดีที่ต่างตอบแทนกันแบบไม่รู้จบ

“เพื่อน” ตัวช่วยสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจในการรักและเปลี่ยนแปลงตัวเอง สำหรับใครที่ยังขาดแรงบันดาลใจในการลุกขึ้นมารักและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็นตัวเองในเวอร์ ชั่นที่ดีขึ้นใน ทุก ๆ วันลองเริ่มต้นด้วยการให้คำมั่นสัญญาและตั้งเป้าหมายกับตัวเองอย่างแน่วแน่ พร้อม ๆ ไปกับการฟัง อ่านและดู บุคคลที่น่าสใจซึ่งมีแนวทางพัฒนาตัวเองในแบบที่เราชอบ หรืออีกวิธีหนึ่งที่ได้ผลดีก็คือการหาเพื่อนมาร่วมเปลี่ยนแปลงตัวเองไปพร้อมกันเพราะ ต่างฝ่ายจะช่วยผลักดันกันไปในทางที่ดี เพราะดีบวกกับดี ก็ย่อมทำให้เกิดผลดีได้แน่นอน







Thank to : https://cheewajit.com/special-update/253008.html
SPECIAL UPDATE , By Tanatat | February 12, 2024
136  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “เจ้าแม่กวนอิม” แต่เดิมก็เป็นผู้ชาย และทำไมถึงกลายมาเป็นผู้หญิง.? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2024, 06:10:51 am
.



“เจ้าแม่กวนอิม” แต่เดิมก็เป็นผู้ชาย และทำไมถึงกลายมาเป็นผู้หญิง.?

ก่อนหน้าที่ “กวนอิม” จะกลายมาเป็น “เจ้าแม่” (แถมยังเป็นเจ้าแม่ในระดับสัญลักษณ์ของความเป็นหญิง จนได้ถูกอัญเชิญมาเป็นแบรนด์ แอมบาสเดอร์ ของครีมแต้มสิว และรอยด่างดำของใบหน้า หรือแก้มก้น รวมไปถึงช่วยข้อศอกให้หายด้านได้ ของเครื่องสำอางแบรนด์ระดับโลคอลในบางประเทศเลยทีเดียว) พระนางเคยเป็นผู้ชายมาก่อน เมื่อครั้งที่ยังประทับอยู่เฉพาะแต่ในชมพูทวีป และภูมิภาคอื่นๆ นะครับ

จะมีก็เฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก อันมี “จีน” เป็นศูนย์กลางสำคัญทางวัฒนธรรม และการเมือง ที่ได้กระทำการรีโนเวตพระองค์เสียใหม่ จนได้เปลี่ยนเพศจาก “หนุ่ม” กลายเป็น “สาว” ก่อนจะส่งต่อเจ้าแม่องค์นี้ไปยังดินแดนอื่นๆ ของโลก ผ่านทางอะไรที่เรียกกันว่า ชาวจีนโพ้นทะเล

เพราะแต่แรกเริ่มเดิมทีนั้น บรรดาศาสนิกชน ผู้ศรัทธา เรียกพระองค์ว่า “พระอวโลกิเตศวร” ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นพระโพธิสัตว์ระดับป๊อปสตาร์แถวหน้าพระองค์หนึ่งในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

และก็ยังคงเป็นอย่างนั้นเรื่อยมา จนแม้กระทั่งเมื่อพระองค์ได้เสด็จออกธรรมยาตรา มาถึงผืนแผ่นดินมังกรในช่วงแรกๆ ในช่วงหลังราชวงศ์ฮั่น คือหลัง พ.ศ.767 ที่จีนได้ผลัดเปลี่ยนเข้าสู่ยุคสามก๊ก (บางท่านก็เชื่อว่า ศาสนาพุทธได้เดินทางมาถึงจีนตั้งแต่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นแล้ว) พระองค์ก็ยังครองเพศชาย ในฐานะของนักบวชอยู่ ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนเป็นเพศหญิงอย่างทันทีทันใด

@@@@@@@

ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ควบตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญในจีนศึกษา โดยเฉพาะทางด้านวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ อย่าง ผศ.ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช แห่งคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กรุณาอธิบายให้ผมฟังว่า ชาวจีนได้เริ่มเปรียบเทียบพระอวโลกิเตศวร (ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา) กับความงามของผู้หญิง มาตั้งแต่ราชวงศ์จิ้นตะวันตก-ตะวันออก ซึ่งคาบเกี่ยวอยู่ในยุคที่จีนเรียกว่า ยุคห้าชนเผ่า สิบหกแคว้น ซึ่งจะเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.857 คือประมาณ 100 ปี หลังจากพุทธศาสนาได้ถูกเผยแพร่เข้ามาในดินแดนจีน

อ.อชิรัชญ์ ยังระบุต่อไปด้วยว่า ในยุคสมัยต่อมาอย่างราชวงศ์ถัง อันเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดสมัยหนึ่งของจีน ได้มีจิตรกรในราชสำนักที่ชื่อ อู่เต้าจื่อ (มีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.1223-1302) ได้วาดภาพพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ขึ้น โดยมีแบบมาจากหญิงสาวในราชสำนัก

แต่ในสมัยนี้พระโพธิสัตว์ท่านก็ยังทรงครองเพศชายอยู่นะครับ เพราะอย่างน้อยท่านก็ยังทรงไว้พระมัสสุคือหนวด อยู่ที่เหนือริมพระโอษฐ์

แต่ถึงจะเป็นอย่างนั้น ในช่วงปลายของราชวงศ์ดังกล่าว (ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ.1450) ก็เริ่มมีความนิยมในการพูดถึงการจำแลงพระวรกายลงมาช่วยเหลือมนุษย์ ในรูปร่างต่างๆ ของพระอวโลกิเตศวร (อย่างที่เคยนิยมมาก่อนแล้วในอินเดีย)

แน่นอนว่า หนึ่งในรูปจำแลงเหล่านั้นก็มีที่เป็น “ผู้หญิง” อยู่ด้วย แต่ก็ยังไม่มีการสร้างรูปของพระอวโลกิเตศวรในฐานะของผู้หญิงอยู่ดี เราต้องรอจนถึงยุคราชวงศ์ซ่งเหนือ (พ.ศ.1503-1669) โน่นเลย กว่าที่พระโพธิสัตว์พระองค์นี้ จะครองเพศเป็นผู้หญิงโดยสมบูรณ์

ดังจะเห็นได้ว่า ประติมากรรมจากวัดถ้ำม่ายจีซาน ที่สร้างขึ้นในยุคราชวงศ์ที่ว่า ได้สร้างรูปพระอวโลกิเตศวรครองเครื่องนุ่งห่มด้วยเสื้อคอปิด อย่างสตรีในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึ่งก็คงจะได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งที่สั่งสมกันมาข้างต้นนั่นแหละ อ.อชิรัชญ์ให้ข้อมูลทิ้งท้ายเอาไว้อย่างนั้น

@@@@@@@

ผมรับฟัง อ.อชิรัชญ์ ด้วยความสบายใจ เพราะข้อมูลจากอาจารย์สาวโสดสนิทท่านนี้ ที่ชาวจีนเชื่อว่าคือ ปาง, พระชาติ หรือรูปจำแลงหนึ่งของ “พระอวโลกิเตศวร” ในรูปของผู้หญิง ซึ่งก็คือ “เจ้าแม่กวนอิม” นั่นเอง

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดของนิทานเรื่อง “เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน” พบอยู่บนศิลาจารึกสองหลัก ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงใกล้เคียงกันคือ จารึกที่เรียกว่า จารึกเจี่ยงจือฉี ตามชื่อของผู้สร้างจารึก ซึ่งถูกจารขึ้นเมื่อ พ.ศ.1643 แต่ถูกแก้ไข และเพิ่มเติมข้อความในอีก 4 ปีต่อมาคือ พ.ศ.1647 และสำเนาของชิ้นส่วนจารึกหมายเลข 02202 จากห้องสมุดฟู่ซือเหนียน (ห้องสมุดจีนศึกษาแห่งนานกัง ประเทศไต้หวัน, Library of the Academic Sinica at Nan Kang) ซึ่งระบุปี พ.ศ.1647 เช่นกัน

แน่นอนว่าจารึกทั้งสองทั้งสองหลักนี้ว่ากันด้วยเรื่องบุญญาบารมีของ “เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน” พระชาติหนึ่งของ “พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร” ที่ถูกทรมานและทรกรรมโดยพระราชบิดาของพระนาง อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ “เจ้าแม่กวนอิม” ที่ชาวจีนทั้งหลาย ไม่ว่าจะแผ่นดินใหญ่ แผ่นดินเล็ก เกาะฮ่องกง หรือเกาะไต้หวัน รวมไปถึงบรรดาชาวจีนโพ้นทะเลรู้จักกันดีนั่นเอง

แถมช่วงเวลาที่มีการจดจารจารึกทั้งสองหลักดังกล่าว มันตรงกันกับยุคที่จีนถูกปกครองโดยราชวงศ์ซ่งเหนือที่ อ.อชิรัชญ์ คนดีคนเดิมให้ข้อมูลว่า เริ่มมีการสร้างประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในรูปของผู้หญิง ซึ่งก็น่าจะพอเรียกได้ว่าคือ “เจ้าแม่กวนอิม” ในวัดถ้ำม่ายจีซานนั่นแหละนะครับ

พูดง่ายๆ ว่าเรื่องของ “เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน” คือสิ่งที่มอบสิทธิธรรม และเติมเต็มความเป็นหญิง ให้กับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในสังคมจีน แต่สิ่งที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือว่า ทำไมชาวจีนจะต้องแปลงพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ให้เป็นสาวด้วย.?


@@@@@@@

ในขณะที่พุทธศาสนาถูกเผยแผ่เข้ามาในสังคมอุษาคเนย์ของเรา เมื่อประมาณ พ.ศ.1000 นั้น ศาสนาดั้งเดิมคือศาสนาผี ให้ความสำคัญกับผู้หญิงเป็นหลัก ผีของเราจึงมักจะเป็น “ผีผู้หญิง” อะไรที่ใหญ่ๆ โตๆ ก็มักจะเรียกนำหน้าด้วยคำว่า “แม่” เช่น แม่น้ำ แม่พิมพ์ หรือแม้กระทั่งตำแหน่งของผู้ชายอย่างแม่ทัพ เรียกได้ว่า เป็นสังคมที่มีผู้หญิงเป็นใหญ่

และศาสนาพุทธ (รวมถึงพราหมณ์-ฮินดู ที่ก็อิมพอร์ตจากอินเดียเข้ามาเหมือนกัน) ก็คือศาสนาที่มอบอำนาจให้กับผู้ชาย มากกว่าที่เคยเป็นมา ดูง่ายๆ ก็จากนักบวช ที่ต้องเป็นเฉพาะผู้ชายนี่แหละ

แต่เมื่อสมัยที่พุทธศาสนาแผ่กระจายเข้าสู่ดินแดนของพวกจีนนั้น ศาสนาขงจื๊อที่มอบอำนาจอย่างเต็มรูปแบบแก่ “ผู้ชาย” ได้ถูกสถาปนาเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่นของพวกเขามานานนมแล้ว โดยเฉพาะในราชสำนัก ที่ใช้คำสอนของขงจื๊อเป็นหลักในการบริหารจัดการทั้งจักรวรรดิ และสังคมวัฒนธรรม

ดังนั้น เมื่อศาสนาจากต่างแดนอย่างศาสนาพุทธถูกอิมพอร์ตเข้ามา จึงกลายเป็นที่พึ่งพิงของบรรดาผู้หญิงในจีนมันไปเสียอย่างนั้น

ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ ก็คือ การที่จักรพรรดินีพระองค์แรก และพระองค์เดียวของจีนอย่าง พระนางอู่เจ๋อเทียน (ที่ไทยเราชอบออกเสียงตามสำเนียงฮกเกี้ยนว่า บูเช็กเทียน ซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่าง พ.ศ.1167-1248) ที่ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแทบจะหาที่เปรียบมิได้ และก็ไม่ต้องสงสัยว่า บรรดาขุนนางที่แวดล้อมอยู่รอบพระวรกายของพระองค์ ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ชายที่ยึดมั่นตามขนบความเชื่อแบบขงจื๊อแทบทั้งนั้น

นี่ยังไม่นับว่า อู่เต้าจื้อ จิตรกรแห่งราชสำนักถัง ที่วาดรูปพระอวโลกิเตศวร ด้วยแบบจากหญิงสาวในราชสำนัก ก็มีชีวิตคาบเกี่ยวอยู่ในช่วงปลายของพระนางอู่เจ๋อเทียนพอดี

@@@@@@@

ในรัชสมัยของอู่เจ๋อเทียน ได้สถาปนาราชวงศ์ขึ้นมาใหม่คือ “ราชวงศ์อู่โจว” ซึ่งสกุลอู่ของพระนางรุ่งเรืองถึงขีดสุด ก่อนจะกลับไปใช้ชื่อ “ราชวงศ์ถัง” ตามเดิมเมื่อสิ้นรัชกาล พร้อมกับการกลับมาทวงคืนอำนาจของสกุลหลี่ แน่นอนว่า อู่เต้าจื้อ ก็น่าจะสืบสายมาจากสกุลอู่ ที่มีอู่เจ๋อเทียน เป็นผู้นำ และที่สำคัญก็คือพระนางเป็นผู้หญิง

สิ่งที่ศาสนาพุทธนำมาอีกอย่างก็คืออะไรที่เรียกว่า “ภิกษุณี” ซึ่งดูจะได้รับความนิยมในจีนเสียยิ่งกว่าดินแดนต้นกำเนิดอย่างอินเดียเสียอีก

หลักฐานที่เห็นได้ชัดก็คือในขณะที่ภิกษุณีในอินเดีย ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพระภิกษุที่เป็นผู้ชาย จีนในสมัยราชวงศ์ถังนี่เอง ที่มีการถกเถียง และแปลความหลักเกณฑ์ในพระไตรปิฎกข้อนี้กันใหม่ จนสรุปออกมาด้วยผลที่มอบอำนาจให้บรรดาภิกษูณีทั้งหลายได้ปกครองกันเอง ไม่ต้องขึ้นกับพระภิกษูที่เป็นผู้ชาย

และนี่ก็ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่ “ผู้หญิง” จีนในยุคโน้น ได้ใช้สำหรับหลบเลี่ยงอำนาจในโลกฆราวาส ที่เป็นของผู้ชายนะครับ หลักฐานหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงจีนใช้การบวชเป็นภิกษุณี เป็นช่องทางในการหลบหนีการแต่งงานแบบคลุมถุงชนที่ไม่พึงประสงค์ การต้องจ่ายสินสอดทองหมั้น หรือทรัพย์สินที่ไปพร้อมกับเจ้าสาวจำนวนมากตามกฎหมาย และอะไรต่อมิอะไรอีกสารพัด

การบวชเป็นภิกษุณีในสังคมจีนได้ทวีความซับซ้อนกว่าในอินเดียไปอีกมาก ตัวอย่างเช่น ก่อนจะบวชเป็นภิกษุณีได้นั้น จำเป็นต้องผ่านการเป็น “หนีโถง” คือหญิงสาวผู้ศึกษาธรรมสำหรับเตรียมเป็นภิกษุณี เป็นเวลาหลายปี กว่าที่จะได้รับอนุญาตให้บวชอย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

โดยหญิงสาวเหล่านี้จะยังไม่ได้ปลงผม และไว้ผมยาวตามแบบฆราวาสทั่วไปจึงเรียกอีกอย่างว่า “ฉางฟ่า” (ซึ่งก็แปลตรงตัวว่า ผมยาว) ถ้าเคยเห็นหญิงสาวผมยาวอยู่ในสำนักนางชีตามซีรี่ส์กำลังภายในของจีน ก็นั่นแหละครับคือพวกหนีโถง ที่ผมว่า

@@@@@@@

สำนักภิกษุณี (หรือสำนักนางชี ในนิยายกำลังภายใน) ในจีนเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เรื่อยมาจนถึงราชวงศ์ซ่ง โดยเฉพาะในราชวงศ์ซ่งเหนือตอนต้น ซึ่งมีสำนักภิกษุณีที่สำคัญ และโด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งในยุคนั้น แถมยังเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถบวชได้อย่างเป็นสาธารณะชื่อว่า “สำนักภิกษุณีเมี่ยวซ่าน”

ถูกต้องแล้วนะครับ “เมี่ยวซ่าน” (??) เดียวกันกับที่สะกดเป็นชื่อของ “เจ้าหญิงเมี่ยวซ่าน” ซึ่งก็คือเจ้าแม่กวนอิม ในจารึกสองหลักที่ผมว่านั่นแหละ เพียงแต่ว่าสำนักภิกษุณีนี้มีมาตั้งแต่ช่วงต้นราชวงศ์ซ่งเหนือ แต่จารึกสองหลักนั้นระบุศักราชในช่วงปลายราชวงศ์แล้ว

ถึงแม้ว่านักวิชาการชาวจีน มักจะโอนเอนไปในทางที่ว่า “พระอวโลกิเตศวร” ได้กลายมาเป็น “เจ้าแม่กวนอิม” ก็เพราะคุณลักษณะที่อ่อนโยน เพราะพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์แห่งความกรุณา

แต่ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนักว่า เมื่อพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานต่างๆ แล้ว เหตุผลดังกล่าวจะสำคัญไปกว่า สถานภาพของผู้หญิงในยุคนั้น และสารพัดสิ่งอันที่ศาสนาพุทธให้กับพวกเธอได้?

และถ้าหากว่า พวกเธอจะเนรมิตพระโพธิสัตว์องค์สำคัญที่สุดของพุทธศาสนา อย่างพระอวโลกิเตศวร ให้กลายมาเป็นผู้หญิง แล้วให้มีชื่อเดียวกับสำนักภิกษุณีแห่งสำคัญ (ซึ่งหากจะตั้งชื่อตามภิกษุณี หรือเจ้าหญิงที่ไหนก็ไม่เห็นจะแปลก?) ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไรไม่ใช่หรือครับ.?






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 26 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2561
คอลัมน์ : On History
ผู้เขียน : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
เผยแพร่ : วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/culture/article_79316
137  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “คาถาชินบัญชร” คาถาศักดิ์สิทธิ์ที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)” ไม่ได้แต่ง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2024, 05:59:10 am
.

ภาพหลวงพ่อโต จาก : wikicommon


“คาถาชินบัญชร” คาถาศักดิ์สิทธิ์ที่ “สมเด็จพระพุฒาจารย์” หรือ “หลวงพ่อโต” ไม่ได้แต่ง.?

“คาถาชินบัญชร” เป็นพระคาถาที่เมื่อคนพูดถึงขึ้นมาก็จะต้องนึกถึง “สมเด็จพระพุฒาจารย์” (โต พฺรหมฺรํสี) หรือ “หลวงพ่อโต” เนื่องจากเป็นพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีไว้บริกรรมและปลุกเสกพระเครื่องชื่อดังมากมาย อีกทั้งยังเป็นคาถาที่หลายคนเชื่อว่าช่วยให้แคล้วคลาดจากภัยอันตราย จนเข้าใจกันว่า “หลวงพ่อโต” คือผู้แต่ง “คาถาชินบัญชร” ขึ้น

@@@@@@@

แล้วความจริงเป็นอย่างไร ใครคือผู้ริเริ่ม “คาถาชินบัญชร” กันแน่.?

บทความ “เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา คาถาชินบัญชรมาจากไหน.?” โดย ลังกากุมาร พระนิสิตบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบาลีและพุทธศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยแกลาณียะ ศรีลังกา ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรมเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ได้อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดและน่าสนใจ ว่า

    "คาถาชินบัญชรมีหลายข้อสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใดกันแน่ บางคนก็กล่าวว่าแต่งขึ้นในสมัยอาณาจักรดัมพเดณิยะ (พ.ศ. 1779-1803) บางคนก็บอกว่ามีมาตั้งแต่อาณาจักรคัมโปละ (พ.ศ. 1884-1958) หรือไม่ก็อาณาจักรแคนดี (พ.ศ. 2134-2358)

     แม้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ แต่สิ่งที่หลายคนเห็นตรงกันคือคาถาชินบัญชร รับความเชื่อมาจาก “พุทธศาสนา ลัทธิมหายานแบบตันตระ” ซึ่งเชื่อมโยงกับ “เทพนาถะ” เทพเจ้าในความเชื่อดังกล่าว ที่เป็นที่พึ่งทางใจให้กับชาวบ้านในขณะที่บ้านเมืองอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันสงฆ์หรือกษัตริย์ ในช่วงอาณาจักรคัมโปละ (พ.ศ. 1884-1958) และพุ่งทะยานสุดขีดในช่วงอาณาจักรโกฏเก (พ.ศ. 1954/1958-2140)

     ลังกากุมาร สันนิษฐานว่า ผู้แต่งคาถาศักดิ์สิทธิ์นี้ คือ “โตฏะคามุเวศรีราหุละ” จอมปราชญ์แห่งยุคโกฏเก ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนความเชื่อเรื่อง “เทพนาถะ” เทพที่ได้รับความนิยมมากในสมัยอาณาจักรคัมโปละ ให้แพร่หลายไปทั่วพื้นที่ ทั้งยังรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการทำพิธีกรรมบูชาสรรเสริญเทพนาถะด้วยตนเอง และแต่งคัมภีร์หลายเล่มเพื่อสรรเสริญพระองค์ร่วมกับบรรดาศิษย์ เช่น คัมภีร์โกกิลสันเดศยะ, คัมภีร์ติสรสันเดศยะ เป็นต้น."


@@@@@@@

ทว่าทุกอย่างยังเป็นเพียงข้อสันนิษฐานจากปัจจัยแวดล้อมเท่านั้น เพราะยังไม่ปรากฏหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ผู้เขียนก็ได้ให้เหตุผลว่า เหตุที่ทำให้เชื่อว่า “โตฏะคามุเวศรีราหุละ” เป็นผู้แต่ง “คาถาชินบัญชร” เพราะดังนี้…

    “น่าเสียดายว่าไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ถ้าศึกษาปัจจัยแวดล้อมสามารถยืนยันว่าคาถาชินบัญชรเกิดขึ้นในยุคท่านแน่นอน ด้วยเหตุว่าเทพนาถะเป็นคติความเชื่อของมหายานแบบตันตระ คาถาที่แต่งสำหรับสวดสรรเสริญจะกล่าวถึงการอ้อนวอน

    อีกทั้งอัญเชิญพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกทั้งปวงมาปกปักรักษาคุ้มครองแลป้องกันผู้บนบานกราบไหว้ตามคติลิทธิตันตระที่เน้นมนตราเป็นจุดเด่น

    เมื่อค้นตามคัมภีร์หลากหลายต่างสรุปเป็นแนวเดียวกันว่าเทพนาถะเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดสมัยพระสังฆราชศรีราหุละนี้เอง เพราะจากนั้นไม่นานเกาะลังกาก็ตกอยู่ในสภาพวุ่นวายแตกแยก ทั้งศึกภายในคือชาวสิงหลทำสงครามห้ำหั่นกันเอง อีกทั้งศึกภายนอกคือโปรตุเกสก็เข้ามารุกรานครอบงำ”


@@@@@@@

แล้วคาถาชินบัญชรเข้ามาเผยแพร่ที่ไทยได้อย่างไร.?

เรื่องนี้ ลังกากุมารกล่าวว่า

   “หลักฐานในคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์บอกว่า มีพระสงฆ์จากล้านนาประเทศ ๒๕ รูป มีพระมหาธัมมคัมภีร์และพระมหาเมธังกรเป็นหัวหน้า ได้เดินทางมาศึกษาพระธรรมวินัยและอุปสมบท ณ อาณาจักรโกฏเก ภายใต้ความดูแลของพระสังฆราชวนรัตนเถระและความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ลังกา

   ก่อนอำลาอุปัชฌาย์เดินทางกลับดินแดนมาตุภูมิ ได้จาริกแสวงบุญกราบไหว้สถานที่สำคัญทั่วเกาะลังกา แลเมื่อเดินทางกลับล้านนาบ้านเกิด ได้อารธนาพระลังการ่วมเดินทางมาด้วย ๒ รูป กล่าวคือ พระมหาวิกกรมพาหุ และพระมหาอุตตมปัญญา

   ความเป็นไปได้ก็คือพระสงฆ์ไทยล้านนาน่าจะมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระสังฆราชโตฏะคามุเวศรีราหุละ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะจอมปราชญ์นามอุโฆษ และผู้อุทิศชีวิตเผยแผ่ลิทธิบูชาเทพนาถะ หรือาจจะมีโอกาสร่วมสัมผัสพิธีกรรมสวดสรรเสริญเทพนาถะ เพราะวิชัยพาหุปิริเวณะเป็นสถาบันการศึกษาสงฆ์ที่โด่งดังสูงสุดยุคนั้น พระคาถาชินบัญชรน่าจะติดตามพระสงฆ์ไทยกลับล้านนาคราวนั้นเอง”


@@@@@@@

จากหลักฐานดังกล่าวจึงอนุมานได้ว่าคาถาชินบัญชรน่าจะแต่งขึ้นในสมัยยุคโกฏเก โดยพระสังฆราชโตฏะคามุเวศรีราหุละ แต่ก็มีอีกความเห็นหนึ่ง (ซึ่งอ้างอิงจากหลักฐานก่อนหน้าเช่นกัน) ที่คิดว่าไม่ใช่พระสังฆราช แต่เป็น “ศรีรามจันทรา” หรือศิษย์ของพระสังฆราช ก็เป็นได้

เนื่องจากหากดูลักษณะของคาถาแล้ว เป็นคาถาที่ต้องแต่งด้วยไวยากรณ์สูง ซึ่งลูกศิษย์ผู้นี้ก็เปี่ยมไปด้วยความสามารถเรื่องกาพย์กลอน จนแต่งกลอนสรรเสริญเทพนาถะเป็นที่ยกย่องไปทั่วฟ้า อย่าง “วรตรัตนากรปัญจิกา” ได้

อ่านเพิ่มเติม :-

    • พระพุทธรูปที่ลพบุรี อาจสร้างขึ้นครอบ “ไม้กางเขน” โบราณของชาวคริสต์
    • ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อโสธร “องค์จำลอง” เป็นที่ศรัทธาล้ำหน้า “องค์จริง”
    • “หลวงพ่อโต” วัดป่าเลไลยก์ ที่สุพรรณบุรี แสดงปางป่าเลไลยก์ตั้งแต่แรก ไม่ใช่ปางประทานปฐมเทศนา?





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ : วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_127307
138  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ตรุษจีนและการแก้ชง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2024, 07:59:59 am
.



ตรุษจีนและการแก้ชง

เมื่อเข้าใกล้เทศกาลตรุษจีน ประเด็นเรื่องแก้ชงก็จะร้อนแรงขึ้นมาทีเดียว ทั้งจากฟากฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมทั้งบรรดาอาซินแสต่างๆ ที่จะต้องออกมาจัดกิจกรรมหรือผลิตข้อมูลให้บรรดาสายมูทั้งหลายได้ติดตาม

ถกเถียงกันมานักต่อนักแล้วในเรื่องนี้ ผมผู้ไม่มีความรู้ลึกซึ้งอะไรเพราะเพิ่งเป็นเจ๊กหัดไหว้เจ้าจึงขอดูอยู่ห่างๆ และก็คงเพียงนำเสนออะไรที่ได้ยินได้ฟังมาจากท่านผู้รู้อีกที ซึ่งแน่นอนว่าความผิดพลาดทั้งหลาย ย่อมเกิดจากความทรงจำอันพร่าเลือนของผมเอง

อันที่จริงอาจารย์ถาวร สิกขโกศล เคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับปีชงเอาไว้ชื่อ “ความรู้เรื่องชงและเรื่องน่ารู้จีน-ไทย” น่าหามาอ่านอย่างยิ่งครับ ท่านก็จะเกิดความรู้ความเข้าใจ ใครใคร่มูก็จะได้มูอย่างมีคุณภาพ

อาจารย์ท่านบอกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจว่า หากซินแสหรืออาจารย์คนใดพูดเรื่องปีชง โดยไม่มีความเข้าใจเรื่องระบบเวลาแบบจีนคือระบบ “ต้นฟ้า-กิ่งดิน” (บ้างก็เรียกกิ่งดินก้านฟ้าหรือก้านฟ้ากิ่งดิน) ก็ให้หนีให้ไกล แสดงว่าไม่เข้าใจเรื่องชงจริงๆ เพราะระบบต้นฟ้า-กิ่งดินนี้ ถือเป็นรากฐานความเข้าใจระบบเวลาในทางโหราศาสตร์จีนซึ่งเป็นฐานคิดของเรื่องชงเลยทีเดียว

จะอธิบายในที่นี้ก็จะยืดยาวและผมก็มิใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เอาเป็นว่าการแบ่งปี เดือน วัน และยามของจีนต่างอยู่ในระบบนี้คือ ต้องนำต้นฟ้าและกิ่งดินมาใช้ร่วมกัน ทีนี้แต่ละอันต่างก็มีสภาวะหยินหยางหรือสภาวะคู่ตรงข้ามและมีธาตุทั้งห้า (ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม้ ทองหรือโลหะ) ครองอยู่


@@@@@@@

นี่แหละคือ เบื้องหลังความคิดเรื่องชง เพราะธาตุทั้งหลายต่างก็มีทั้งสร้างหรือหนุนเสริมและทำลายล้างหรือข่มกัน เช่น ไม้หนุนเสริมไฟ (ไฟไหม้ไม้) ไฟหนุนเสริมดิน (เผาไหม้จนเกิดเถ้า) ส่วนน้ำข่มไฟ (ดับไฟ) ไฟข่มโลหะ (ทำให้โลหะหลอมละลาย) เป็นต้น มนุษย์และสรรพสิ่งในจักรวาลล้วนก่อกำเนิดจากธาตุทั้งห้าทั้งสิ้น เมื่อธาตุต่างๆ มีความเปลี่ยนแปลงก็ย่อมส่งผลกระทบไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ดังนั้น การที่แต่ละปีแต่ละเดือนต่างก็มีธาตุเข้าครองเช่นนี้ การชง (ภาษาฮกเกี้ยนออกเสียงว่า ช้อง) จึงเกิดจากการที่ธาตุที่อยู่ อยู่เบื้องหลังระบบปีเหล่านี้เข้าข่มหรือขัดแย้งกับธาตุในพื้นดวงชะตาของมนุษย์นั่นเอง

แต่นอกจากความคิดทางปรัชญาในเรื่องธาตุ ยังมีระบบความเชื่อทางศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย คือเรื่องเทพ “ไท่โส่ย” ซึ่งเทียบได้กับ “พระเคราะห์จร”

ไท่โส่ยเป็นเทพทางโหราศาสตร์ เป็นการนำเอาวีรชนหรือเทพเจ้าท้องถิ่นต่างๆ เข้ามาเป็นตัวแทนระบบต้นฟ้า-กิ่งดิน ในแต่ละปีจนครบราศีจักร คือธาตุห้าเวียนไปจนหกสิบปี ไท่โส่ยจึงมีหกสิบองค์ แต่บางศาลเจ้าอาจทำไว้สักการะรวมในองค์เดียว ถือว่าเทพพระเคราะห์จรเหล่านี้จะมาเข้าครองแต่ละปีและจรไปเรื่อยๆ คล้ายกับระบบโหราศาสตร์ไทย เมื่อเทพพระเคราะห์จรเข้ามา บางคนที่มีพื้นดวงขัดแย้งหรือไปต้องพระเคราะห์จรเข้าก็จะได้รับโทษภัยต่างๆ

เขาถึงมิใคร่ได้กราบไหว้รูปเคารพไท่โส่ยกันในบ้านเรือน หรือทำเครื่องรางมาติดตัวเพราะท่านเป็นพระเคราะห์ที่จรไปในแต่ละปี คือมาแล้วก็จาก ไม่ได้อยู่ถาวร และชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น “พระเคราะห์” ซึ่งโดยมากก็ไหว้เพื่อให้ผ่อนโทษภัยมากกว่าไหว้เพื่อขอโชคขอลาภอย่างเทพอื่นๆ และเดี๋ยวปีหน้าองค์ใหม่ก็มาแล้ว

@@@@@@@

จะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องไท่โส่ยนี้ เข้าใจได้ง่ายกว่าคำอธิบายทางปรัชญาและนำไปสู่พิธีกรรมต่างๆ ได้ จึงเป็นที่นิยมมาก สมัยผมสนใจเรื่องโหราศาสตร์แรกๆ อาจารย์ท่านหนึ่งเคยพูดว่าโหราศาสตร์มันมีหลายภาค ภาคแรกคือภาคคำนวณคือการคำนวณการโคจรของดวงดาวและการคำนวณวันเวลาต่างๆ ซึ่งคนมักมิใคร่สนใจเรียนทั้งๆ ที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่สุด ภาคที่สองคือภาคพยากรณ์ และภาคที่สามคือภาคพิธีกรรม

ท่านว่าภาคพิธีกรรมนี่แหละที่เสริมเติมเข้ามาทีหลัง โหราจารย์บางท่านถึงกับไม่สนใจภาคนี้เอาเลยทีเดียว เพราะเห็นว่ามันถูกเอามาใช้เพื่อหากินซะมากกว่าและไม่ได้เกี่ยวอะไรกับพยากรณ์ศาสตร์ แต่อันที่จริงรายได้มหาศาลของโหรหลายๆ คนก็มาจากภาคนี้แหละ

พิธีแก้ชงจึงกลายเป็นกิจกรรมสำคัญในช่วงตรุษจีนเพราะเหตุนี้ อะไรจะน่ากลัวไปกว่าดวงซวยเป็นไม่มี เพราะอย่างอื่นเสียหายเรายังพอหาวิธีจัดการได้ แต่ถ้าดวงเสียตนเองก็ไม่รู้จะไปแก้ไขอย่างไร เราจึงต้องพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมให้สบายใจไว้ก่อน

ทีนี้บางคนสงสัยว่า ทำไมจึงนิยมไปแก้ชงที่วัดจีนนิกาย ผมคิดว่านอกจากจะเป็นเรื่องกิจกรรมหารายได้เข้าวัดแล้ว อันที่จริงพุทธศาสนาในจีนนั้นปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่นมาก พอชาวบ้านกลัวเรื่องชง พระท่านก็ปรับเอาเรื่องนี้มาเป็นพิธีกรรมทางศาสนา เช่น ทำพิธีสวดสะเดาะเคราะห์หรือฝากดวงชะตาไว้โดยอ้างพุทธานุภาพให้ปกปักคุ้มครอง กิจกรรมแก้ชงหรือเกี่ยวกับดวงชะตาทั้งหลาย เช่น สวดสะเดาะพระเคราะห์ ฝากรายชื่อทำบุญ ถวายประทีป ไปจนถึงการปัดชงยอดฮิตจึงมักเกิดขึ้นในวัด

นอกจากนี้ ความเชื่อเรื่องชงของคนจีนโดยเฉพาะในชาวบ้านมีความละเอียดซับซ้อน ยังมีเรื่องวัน ยาม ทิศทาง เรื่อยไปถึงเรื่องงานศพ เรื่องสี กิจกรรมอะไรต่ออะไรจิปาถะมากมายก่ายกอง การชงในคติจีนจึงมิได้มีแค่เรื่องปีนักษัตรหรือปีเกิดอย่างเดียว

พี่ชายคนโตของอาก๊องหรือคุณปู่ของผมชื่อกิมคุ่น ท่านเสียชีวิตตั้งแต่อายุยังน้อย ว่ากันว่าท่าน “ช้อง” หรือชงอย่างร้ายแรงจึงตาย แต่น้องสาวคนเล็กคืออาโป๋กิมหลี (ปัจจุบันอายุเข้าเขตร้อยปีแล้ว) เล่าให้ผมฟังว่า ท่านเข้าป่าแล้วเกิดเป็นไข้ป่าขึ้นมา คนเห็นอาการไข้ป่าก็คิดว่าโดนคุณผีกระทำหรือช้อง เลยไปลือกันว่าท่านช้องตาย


@@@@@@@

อาจารย์เทียนเต็กซือหู (อาจารย์นนท์) บอกว่า แต่ก่อนใครจะไปทำพิธีแก้ชง ผู้รู้ที่ศาลเจ้าท่านต้องตรวจสอบดวงชะตาให้ก่อนว่าพื้นดวงเป็นอย่างไร เหมาะควรแก่การทำพิธีแก้ชงหรือไม่ ไม่ใช่พอเกิดในปีนักษัตรนั้นนี้ปุ๊บจะต้องชงแบบเกิดภยันตรายทันที

ช่วงส่งเจ้าก่อนสิ้นปีนั้น นอกจากเจ้าเตาไฟประจำบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ยังจะได้ส่งไท่โส่ยองค์เดิมกลับไปด้วย บางศาลเจ้าก็ทำพิธีนี้ แต่ก็มีอยู่ค่อนข้างน้อย

ส่วนวันเวลาในการแก้ชงนั้น ผมเห็นในปีนี้คนพากันไปแก้ตั้งแต่ขึ้นปีใหม่สากล ศาลเจ้าและวัดจีนก็คนแน่นขนัดแล้ว รวมทั้งได้เห็นพิธีประดิษฐ์ใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในปีนี้คือการไปไหว้ “เสาหลักเมือง” ในวันเสาร์แรกของปี

จะขำแต่ก็แอบขื่น ปัดโธ่ “เสาร์” กับ “เสา” มันพ้องเสียงกันก็จริง แต่ความหมายคนละโยชน์ เราจะเอาแบบนี้กันจริงๆ หรือ เรื่องเล่นคำพ้องเสียงนี้มีมาแต่โบราณก็จริง แต่ก็เป็นเพียง “เคล็ด” ที่อาจไม่ต้องถึงกับเป็นพิธีกรรมหรือไปจริงจังนัก มิฉะนั้น เราคงต้องไปไหว้พระพุทธในวันพุธแรกของปี ไปไหว้เถ้ากระดูกคนตายในวันอังคารแรก ไปไหว้อะไรสุกๆ ในวันศุกร์แรก อะไรแบบนี้มันมีเยอะแล้ว อย่าให้มันมีเพิ่มอีกเลย

คนจีนถือว่าปี “นักษัตร” เปลี่ยนในวันหลิบชุ้น คือวันแรกที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ (ชุ้น) ตามปฏิทินสุริยคติกาล ตกราววันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ แต่ตรุษจีนหรือปีใหม่นั้นจะนับวันที่หนึ่งเดือนหนึ่งตามจันทรคติกาล ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับหลิบชุ้นก็ได้เพราะปฏิทินจีนหรือ “ปฏิทินชาวนา” นั้นเป็นการผสมกันทั้งปฏิทินสุริยคติที่มีการแบ่งอุตุปักษ์ย่อยๆ ตามฤดูกาล และปฏิทินจันทรคติเข้าด้วยกัน

หากปีใดตรุษจีนตรงกันหรือหลังหลิบชุ้น ถือว่าเป็นเทศกาลฉลองฤดูใบไม้ผลิแท้ เพราะอันที่จริงตรุษจีนก็คือเทศกาลฉลองการเข้าปีใหม่ซึ่งก็คือการเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลินั่นเอง

@@@@@@@

ดังนั้น ถ้าจะแก้ชงให้ตรงตามขนบความเชื่อ ท่านว่าให้ถึงหลิบชุ้นเสียก่อนจึงค่อยแก้ชง แต่หากไม่แน่ใจว่าวันไหนเป็นหลิบชุ้น ท่านก็ให้ถือเอาง่ายๆ ว่าเป็นตรุษจีนก่อนก็ได้ เพราะหากไปทำพิธีก่อนหลิบชุ้น คือไปทำตั้งแต่วันปีใหม่สากล ไท่โส่ยก็ยังคงเป็นองค์เดิมครองปีอยู่ ย่อมไม่มีผลอะไร จำต้องรอให้ไท่โส่ยองค์ใหม่ลงมาครองปีเสียก่อนจึงจะสัมฤทธิผล

วัยรุ่นสายมูเขามีคำกล่าวว่า “เกิดอะไรไม่ดีให้โทษว่าชงไว้ก่อน” ชงก็เลยกลายเป็นคำยอดฮิตติดปากจนเสียความหมายเดิมไป

เรื่องแก้ชงนี้ ผู้ใหญ่หลายท่านกล่าวตรงกันว่าอย่าไปจริงจังซีเรียสมากนัก เพราะคนจีนแต่เดิมถือว่าโชคชะตาฟ้าดินมีผลเพียงสามส่วน มนุษย์ต้องเพียรเอาเองถึงเจ็ดส่วน ถึงจะชงจริงแต่ก็มีผลแค่สามสิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง พึงมีสติให้มาก

จึงขอชวนกันร้องเพลงของคุณเจินเจิน บุญสูงเนิน ซึ่งแปลมาจากเพลงจีนฮกเกี้ยนในคติเดียวกันนี้ ไว้เตือนใจว่า “สามสิบลิขิตฟ้า เจ็ดสิบต้องฝ่าฟัน ต้องสู้ ต้องสู้จึงจะชนะ” •


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 9 - 15 กุมภาพันธ์ 2567
คอลัมน์ : ผี-พราหมณ์-พุทธ
ผู้เขียน : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_745567
139  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ชุมชนเริ่มแรกในไทย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2024, 07:45:50 am
.



ชุมชนเริ่มแรกในไทย

คนหลายชาติพันธุ์ล้วน “ไม่ไทย” ในชุมชนเริ่มแรกตั้งแต่ก่อนเกษตรกรรมจนเข้าสู่หลังเกษตรกรรมหลายพันปีมาแล้ว แต่คนเหล่านั้นเป็นบรรพชนคนไทยซึ่งรู้ได้จากการศึกษาพิจารณาจากหลักฐานวัฒนธรรม โดยเฉพาะพิธีกรรมหลังความตายที่คนยังทำต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

ก่อนเกษตรกรรม หมายถึง ก่อนการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนผู้คนร่อนเร่แสวงหาอาหารตามแหล่งธรรมชาติของหุบเขาลำเนาไพรห้วยหนองคลองบึงบุ่งทาม และตามชายฝั่งถึงท้องทะเล

หลังเกษตรกรรม หมายถึง ผู้คนรู้จักสะสมอาหารไว้กินทั้งปี ด้วยการปลูกข้าวตลอดจนเลี้ยงสัตว์จากการสังเกตและลองผิดลองถูกตามธรรมชาติ จึงตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ติดที่ร่วมกันเป็นชุมชน

เริ่มจากปลูกเพิงอยู่อาศัยอย่างง่ายๆ ด้วยไม้ไผ่ และมุงด้วยใบไม้ทั่วไป หลังจากนั้นก็ทำให้แข็งแรงเป็นกระท่อมหรือทับ บริเวณที่มีแหล่งน้ำ โดยมีบุคคลสำคัญเป็นหัวหน้า มีที่ฝังศพหัวหน้าเป็นแหล่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วมีพิธีฝังศพหรือพิธีกรรมหลังความตาย

แต่คนไม่ได้หยุดร่อนเร่พเนจรพร้อมกันทั้งหมด ฉะนั้น จึงมีบางพวกบางกลุ่มยังคงร่อนเร่แสวงหาอาหารตามธรรมชาติต่อไปอีก

หลายพันปีมาแล้วมีชุมชนเริ่มแรกกระจายห่างๆ ทั่วภูมิภาคอุษาคเนย์และทั่วดินแดนประเทศไทย บางแห่งเป็นชุมชนราว 5,00 ปีมาแล้ว แต่ส่วนมากเป็นชุมชนราว 3,000 ปีมาแล้ว ล้วนมีวัฒนธรรมร่วมกัน หรือเป็นวัฒนธรรมร่วม



ต้นข้าวเป็นแถวเหมือนนาดำ หรือทำนาทดน้ำ ราว 2,500 ปีมาแล้ว หรือเรือน พ.ศ.1 มีรูปแสดงความหมายต่างๆ เช่น มือแดง, ขวัญ, คน, วัวควาย (ลายเส้นคัดลอกโดยกรมศิลปากร จากภาพเขียนที่ผาหมอนน้อย อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี)


ทำนาปลูกข้าว

มี 2 แบบหลัก ได้แก่
    (1.) ทำไร่หมุนเวียนบนที่สูง เรียก “เฮ็ดไฮ่” หรือ ดราย์ ไรซ์ (dry rice) และ
    (2.) ทำนาทดน้ำในที่ลุ่ม เรียก “เฮ็ดนา” หรือ เวต ไรซ์ (wet rice) มี 2 แบบย่อย ดังนี้

นาหว่าน ด้วยการหว่านเมล็ดข้าวลงในนาที่มีน้ำท่วมถึง แล้วปล่อยให้ข้าวงอกงามตามธรรมชาติ

นาดำ ด้วยการเพาะต้นกล้าของข้าวไว้ก่อน แล้วถอนต้นกล้าไปปลูกในนาจริงที่เตรียมพื้นที่ไว้ (ดำ เป็นคำกริยา แปลว่ามุดลงไป ดังนั้น นาดำหมายถึงการดำนาโดยใช้นิ้วหัวแม่มือกดโคนต้นกล้าที่มีรากติดอยู่ให้ปักลึกมุดดินโคลนเลนซึ่งเป็นพื้นที่เตรียมไว้แล้ว)

การทำนาดำต้องรู้เทคโนโลยีก้าวหน้า คือการทดน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าว และระบายน้ำเพื่อควบคุมปริมาณตามต้องการ


@@@@@@@

กินข้าวเป็นอาหารหลัก

ข้าวเหนียว (เมล็ดป้อม) เป็นอาหารหลักของคนส่วนมาก
ข้าวเจ้า (เมล็ดเรียว) มีบ้าง แต่ไม่มากเท่าข้าวเหนียว

[ทางภาคใต้ของไทยปัจจุบันกินข้าวเจ้า แต่พิธีแต่งงานเรียก “กินเหนียว” หมายถึงนึ่งข้าวเหนียวไปไหว้ผีบรรพชน ย่อมเป็นพยานว่าบรรพชนคนภาคใต้นานมาแล้วกินข้าวเหนียวในชีวิตประจำวัน]

กับข้าว “เน่าแล้วอร่อย” ของกินพร้อมข้าว เรียก “กับข้าว” หลายพันปีมาแล้วบางอย่างถูกทำให้ “เน่าแล้วอร่อย” เป็นที่นิยมสูงสุดและกว้างขวางสุดในอุษาคเนย์ ได้แก่ ปลาแดก, ปลาร้า, กะปิ, น้ำปลา, น้ำบูดู ฯลฯ รวมถึง “น้ำพริก” ประเภทต่างๆ

การทำให้ “เน่าแล้วอร่อย” คือวิธีถนอมอาหารไว้กินนานๆ เป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมร่วมกันของคนในอุษาคเนย์



เรือนเสาสูง มีใต้ถุน ในชุมชน 2,500 ปีมาแล้ว [ลายเส้นสลักบนหน้ากลองทอง (มโหระทึก) พบที่เวียดนาม]


เรือนเสาสูง

เรือนเสาสูงเป็นที่อยู่อาศัยทั้งบริเวณหุบเขาและทุ่งราบ ตั้งแต่ตอนใต้ของจีนจนถึงหมู่เกาะ

เสาสูง หมายถึง เรือนมีต้นเสาและมีหลังคาตั้งบนต้นเสา แล้วยกพื้นสูงอยู่ใต้หลังคาคลุม ส่วนใต้พื้นเรือนถึงพื้นดิน เรียกใต้ถุน (ถุน เป็นคำดั้งเดิม แปลว่า ข้างใต้, ข้างล่าง)

ใต้ถุน หมายถึง บริเวณใต้พื้นเรือนถึงพื้นดิน เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนในชุมชนตลอดวันตั้งแต่เช้าถึงค่ำ (ก่อนขึ้นไปนอนบนเรือนเพื่อป้องกันสัตว์ร้าย) กิจกรรมประจำวัน เช่น หุงหาอาหาร, ตีหม้อ, ทอผ้า, เลี้ยงเด็กที่เป็นลูกหลานในชุมชน, คอกวัวคอกควายเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ

ใต้ถุนไม่ได้มีไว้หนีน้ำท่วม (ตามที่บอกกันต่อๆ มาจนปัจจุบัน) เพราะเรือนของคนบนที่สูงในหุบเขาซึ่งน้ำไม่เคยท่วมก็ล้วนใต้ถุนสูง มีไว้ทำกิจกรรมชีวิตประจำวัน

ส่วนบริเวณที่ราบลุ่มน้ำท่วมย่อมมีน้ำท่วมถึงใต้ถุน แล้วคนหนีน้ำท่วมขึ้นไปอยู่บนเรือน โดยไม่ได้มีเจตนาตั้งแต่แรกทำใต้ถุนสูงไว้หนีน้ำ

ไม้ไขว้กันบนหลังคาเรือน เป็นเทคโนโลยีค้ำยันด้วยไม้ไผ่สองลำไม่ให้หลังคายุบลง ซึ่งคนบางกลุ่มเรียกไม้ไขว้กันอย่างนี้ว่า “กาแล” พบในทุกเผ่าพันธุ์ แต่บางกลุ่มใช้ส่วนไขว้กันเป็นที่แขวนหัวสัตว์เพื่อเซ่นผี เช่น หัวควาย เป็นต้น

บ้าน หมายถึง เรือนหลายหลังอยู่รวมกันเป็นชุมชน ตรงกับปัจจุบันว่าหมู่บ้าน หรือตรงกับภาษาอังกฤษว่า village

เรือน หมายถึงที่อยู่อาศัยเป็นหลังๆ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า house (ปัจจุบันมักเรียกบ้าน)

สองคำนี้ต่อมาใช้ปนกันและบางทีใช้รวมกันว่า “บ้านเรือน” ตรงกับ house แล้ว ผูกคำใหม่ว่า “หมู่บ้าน” ให้ตรงกับ village


@@@@@@@

นับถือศาสนาผี ไม่มีเวียนว่ายตายเกิด และเชื่อว่าปรากฏการณ์ทุกอย่างทั้งหมดไม่ว่าดีหรือร้ายเกิดจากการกระทำของผีทั้งนั้น โดยผีกับคนติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยการเข้าทรงผ่านร่างทรงซึ่งเป็นหญิง

ผีใหญ่สุดอยู่บนฟ้าเรียกผีฟ้า ต่อมาเรียกอีกชื่อว่า แถน (เป็นคำกลายที่รับจากจีนว่า “เทียน” แปลว่า ฟ้า)

เชื่อเรื่องขวัญ (ไม่มีวิญญาณ) ว่าขวัญมีในคน, สัตว์, พืช, สิ่งของ, เครื่องมือเครื่องใช้, อาคารสถานที่ ฯลฯ เชื่อว่าคนตาย ส่วนขวัญของคนไม่ตาย ยังมีวิถีปกติ (เหมือนเมื่อมีชีวิต) แต่อยู่ต่างมิติที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น เคลื่อนไหวได้ จึงมีพิธีทำขวัญเพื่อป้องกันเหตุไม่ดี

หญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรมทางศาสนาผี และเป็นหัวหน้าเผ่าพันธุ์ รวบอำนาจรวมศูนย์ด้วยการอ้างผี จึงมีอำนาจเหนือชาย

สืบตระกูลทางฝ่ายหญิง เพราะหญิงเป็นแม่ให้กำเนิดลูก

หญิงมีอำนาจเหนือชาย เพราะหญิงเป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน ในพิธีแต่งงานหญิงเป็น “นาย” เรียก เจ้าสาว ส่วนชายเป็น “ขี้ข้า” เรียก เจ้าบ่าว ต้องไปอยู่รับใช้บ้านของฝ่ายหญิง

@@@@@@@

ยกย่องสัตว์มีพลังเหนือธรรมชาติ ได้แก่ หมา, กบ, งู, จระเข้, ตะกวด เป็นต้น

หมา เป็นสัตว์นำทางส่งขวัญของชนชั้นนำของเผ่าพันธุ์ขึ้นฟ้ารวมพลังกับผีฟ้า

กบ เป็นสัตว์นำน้ำฝนสู่ชุมชนให้คนทำนาทำไร่อุดมสมบูรณ์

งู เป็นผู้คุ้มครองน้ำและดิน เช่นเดียวกับจระเข้ และตะกวด


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 2-8 กุมภาพันธ์ 2567
คอลัมน์ : สุจิตต์ วงษ์เทศ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_743810
140  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ ‘ศิลปากรสัญจร’ ต่อยอด Soft Power การท่องเที่ยว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2024, 07:26:31 am
.



มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ ‘ศิลปากรสัญจร’ ต่อยอด Soft Power การท่องเที่ยว

กรมศิลปากร สนองนโยบายรัฐ ต่อยอด Soft Power การท่องเที่ยว จัดกิจกรรม ‘ศิลปากรสัญจร’ ครั้งที่ 2 พาชมเมืองโบราณพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควบเมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดรับจองที่นั่งแล้ว

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้มอบนโยบายให้ กรมศิลปากร ดำเนินโครงการส่งเสริม Soft Power ด้านการท่องเที่ยว  ในมิติทาง วัฒนธรรม โดยเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวโบราณสถาน

กรมศิลปากรได้จัดกิจกรรม “ศิลปากรสัญจร” ครั้งที่ 1  ณ อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 20-21 ม.ค.2567 (2 วัน 1 คืน) ในราคาย่อมเยา ได้รับการตอบรับที่ดี



เขาคลังนอก เมืองโบราณศรีเทพ

กรมศิลปากรจึงสานต่อกิจกรรม ‘ศิลปากรสัญจร’ ต่อเนื่อง ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” เชิญชวนผู้สนใจร่วมทัวร์ไปกับกรมศิลปากรในราคาย่อมเยา โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายนำเข้าสมทบกองทุนโบราณคดีเพื่อบูรณะโบราณสถานและพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั่วประเทศ

กิจกรรม ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2567 เยือนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 2 แห่ง ได้แก่

    - เมืองโบราณพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    - เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์



ห้องศิลปะทวารวดี

กิจกรรม ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” เริ่มต้นด้วยการสักการะพระพุทธสิหิงค์ และชมห้องจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทวารวดีและศิลปะอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

จากนั้นเดินทางไปยังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชมนิทรรศการเครื่องทองอยุธยา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา   

ชมวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และแต่งชุดไทยชมวัดไชยวัฒนารามยามเย็น พร้อมชมการแสดงโขนสุดวิจิตรครั้งประวัติศาสตร์ โขนประกอบแสงสี เรื่องรามเกียรติ์ ชุด สัจจะพาลี โดยศิลปินจากสำนักการสังคีต

รุ่งเช้าร่วมกิจกรรมตักบาตร ณ วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร และออกเดินทางไปจังหวัดเพชรบูรณ์ ชมอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ มรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งใหม่ของไทย

โดยมีวิทยากรมากประสบการณ์ รวมทั้งนักโบราณคดีที่ได้ทำงานในแต่ละพื้นที่เป็นมัคคุเทศก์ร่วมให้ความรู้และความเป็นมาของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมของชาติได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน



วัดไชยวัฒนาราม ยามค่ำ (อยุธยา)


โขน โดยศิลปินจากสำนักการสังคีต


วัดสุวรรณดาราม อยุธยา


วัดราชบูรณะ

กิจกรรม ศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2567 ในราคา 5,800 บาท (รวมค่ารถ ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเข้าชม ชุดตักบาตรพระสงฆ์ และค่าบริการชุดไทย) รับจำนวนจำกัด 80 คน

ผู้สนใจจองเข้าร่วมกิจกรรมศิลปากรสัญจร ครั้งที่ 2 “มรดกโลก 2 นครา อยุธยา-ศรีเทพ” และ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณสุภาภรณ์ ปัญญารัมย์ โทร. 0 2164 2501 - 2 ต่อ 6008 และ 6010 หรือ โทร. 09 2634 8583






Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1112895
By วลัญช์ สุภากร | 12 ก.พ. 2567 เวลา 21:21 น.
141  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เรื่องเล่า : พระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2024, 08:06:20 am
.



เรื่องเล่า : พระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง

ในวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน 2567 ที่จะถึงนี้ จะมีงานสำคัญอีกครั้งหนึ่งในชีวิตนั่นคือ การบรรจุพระธาตุและยกฉัตร “พระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง” ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ที่รับเป็น “แกนนำ” ร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่บูรณะซ่อมแซมเอาไว้ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำมาแล้ว ทั้งสร้างเจดีย์และบูรณะเจดีย์จำนวน 2 องค์ด้วยกัน สำหรับพระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง

“เปรียญสิบ” ชักชวนคนในพื้นที่ร่วมกัน “บูรณะเจดีย์เก่า” ซึ่งตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ปี 2516 หากนับอายุก็ 50 ปีแล้ว เริ่มบูรณะปฐมฤกษ์มาตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2566 ก่อนเทศกาลสงกรานต์ปีที่แล้ว ความโชคดีในการบูรณะครั้งนี้ก็คือมีทีมงาน “จิตอาสา” ในชุมชนและความตื่นตัวของคนมอญจากทั่วโลก เนื่องจากหมู่บ้านทุ่งก้างย่าง อดีตคือชุมชนมอญขนานใหญ่ที่มีเหตุต้องแยกย้ายถิ่นฐาน เนื่องจากรัฐบาลไทยยุคปี 2520 มองว่าเป็น “ภัยความมั่นคง”

ปัจจุบันลูกหลานคนมอญเหล่านี้ นอกจากกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงแล้ว ยังกระจัดกระจายไปทั่วโลก กำลังคนและกำลังเงินในการระดมบูรณะเจดีย์จึงไม่ได้ยากเย็นมากนัก ซ้ำมีพระมหาเถระ อาทิ พระพรหมวัชรเมธี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 9 พระเทพเวที เจ้าคณะภาค 6 และอีกหลายรูป รวมทั้งประชาชนคนไทยทั่วไป ร่วมกันบริจาค จนแล้วเสร็จ ซึ่งมีกำหนดการบรรจุพระธาตุและยกฉัตรในวันอาทิตย์ที่ 7 เมษายน ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป




“เปรียญสิบ” ได้รับความเมตตาจาก พระพรหมเสนาบดี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค 7 รับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ “ปลัดเก่ง” คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เมตตารับเป็นประธานฝ่ายฆราวาสเดินทางไป “บรรจุพระธาตุ-ยกฉัตร” มีหลายคนตั้งคำถามและสงสัยว่า การเชิญพระเถระผู้ใหญ่และปลัดกระทรวงมหาดไทย หนักใจหรือไม่ มีการเตรียมการอะไรบ้าง เนื่องจาก “พระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง” ตั้งอยู่ในป่า ไม่มีวัด ไม่มีชุมชน ขาดแคลนทุกประการ

“เปรียญสิบ” โดยส่วนตัวพอรู้จักกับ “พระพรหมเสนาบดี” อยู่บ้าง ท่านเป็นพระเถระผู้ใหญ่มีเมตตา และพระเดชพระคุณดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 7 ซึ่งปกครองดูแลภาคเหนือ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน วัดหลายวัดล้วนทุรกันดาร มีภาพปรากฎท่านบุกป่าลุยเขา สุขภาพของท่านจึงแข็งแรง  โปรดกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อยู่ประจำ แปลว่า เรื่องขึ้นเขา-ลงห้วย-ลุยป่า ท่านสบาย ส่วนอีกเรื่อง “ปัจจัยใส่ซอง” อันนี้ “เปรียญสิบ” ก็ไม่หนักใจ เพราะท่านทำโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โครงการศีล 5 พระที่เข้าร่วมส่วนใหญ่มี “หัวใจแห่งพระโพธิสัตว์” เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ ด้วยเหตุนี้จึงตัดสินใจกราบนิมนต์พระพรหมเสนาบดีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในครั้งนี้

ส่วนวันงานจริง ท่านจะไปหรือไม่ไป นั่นอีกประการหนึ่ง..

“เปรียญสิบ” นอกจากนิมนต์ พระพรหมเสนาบดี แล้ว ยังกราบอาราธนานิมนต์คณะขับเคลื่อนศีล 5 ทั้งคณะ อาทิ  พระธรรมวชิรานุวัตร เจ้าคณะภาค 14 พระเทพเสนาบดี เจ้าคณะจังหวัดลพบุรี พระเทพปวรเมธี รองเจ้าคณะภาค 15 พระเทพปริยัติโสภณ เจ้าคณะจังหวัดกาญจนบุรีด้วย สาเหตุเนื่องจากท่านเหล่านี้ “เปรียญสิบ” คุ้นเคยกันเป็นส่วนตัวเนื่องจากการลงพื้นที่หมู่บ้านศีล 5 ด้วยกัน และมีหลายรูปยังไม่ได้นิมนต์เนื่องจากดูจาก “หุ่น” แล้ว เกรงใจ กลัวเป็นลม แต่หากท่านจะเมตตาก็ยินดียิ่ง..!!




“ปลัดเก่ง” คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มีความคุ้นเคยกันตั้งแต่ปี 2548 แล้ว เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย มีความศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย และเป็น “ลูกชนบท” ติดดิน ไม่มีปัญหาเรื่องการขึ้นเขา เรื่องสถานที่ จึงเชิญให้ “ปลัดเก่ง” เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ซึ่งท่านก็เมตตารับไปเป็นประธานบรรจุพระธาตุและยกฉัตรเจดีย์ให้..อย่างน้อย “ช้างเหยียบนา พญาเหยียบเมือง” พ่อเมืองกาญจนบุรี คงไม่ให้ “ลูกพี่” ตัวเอง นั่งรถเข้าไปยังพระธาตุเจดีย์ บนถนนด้วยความยากลำบาก..และหากปลัดเก่งท่านไปแบบนี้ ข่าวสารที่ออกไป “ชุมชนไทรโยค” ก็อาจได้แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกแห่ง

อันนี้คือ..เล่าให้ฟังว่า เมื่อเราคิดดี ทำดี ผู้ใหญ่ท่านก็เมตตาช่วยเราด้วย หมายความถึงว่า “สังคมไทย” ยังมีที่ยืนให้สำหรับคน “ คิดดี ทำดี” และคนทำงานแบบ “จิตอาสา”

และมิได้ความว่าการบูรณะพระธาตุเจดีย์ที่ประสบความสำเร็จนี้ “เปรียญสิบ” คิดดีและทำดี เพียงคนเดียว  ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นจากหลากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะคนในชุมชนประเภทจิตอาสาคิดดี ทำดี ร่วมกัน “เอามื้อสามัคคี” สำคัญที่สุด!!

ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบุรณะพระธาตุเจดีย์มอญทุ่งก้างย่าง สอบถามรายละเอียด : 086-344-9902





ขอขอบคุณ :-
คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
URl : https://thebuddh.com/?p=76818
142  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “เจ้าคุณต่อศักดิ์” สุดยอดพระนักพัฒนา ผู้จุดประกาย “สำนึกรักษ์บ้านเกิด” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2024, 08:00:43 am




“เจ้าคุณต่อศักดิ์” สุดยอดพระนักพัฒนา ผู้จุดประกาย “สำนึกรักษ์บ้านเกิด”

“เจ้าคุณต่อศักดิ์” หรือ  พระราชมหาเจติยาภิบาล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ประธานสมาคมวัดอรุณสหราชอาณาจักร เมืองนอริช  และรักษาการเจ้าอาวาสวัดโบสถ์หลวงปู่เทียน จ.ปทุมธานี ท่านส่งภาพ “โคกหนองนา”  มาให้ชมหลายรอบ ในฐานะ “ผู้เขียน” เป็นคนหนึ่งที่สนใจและติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงที่ “ปลัดเก่ง” คุณสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นั่งเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้ปูพรม โคกหนองนา ทั่วประเทศมากกว่า 20,000 แปลง ซ้ำมีภาพปรากฏว่าใน “รั้วในวัง” มีการทำ โครงการโคกหนองนา

ด้วยวงการสงฆ์..ตื่นตัวมากมายทั้งจากปรากฎการณ์ภาพปรากฎดังที่กล่าวว่า บทบาทของ “ปลัดเก่ง” ไม่มีใคร “กล้าปฎิเสธ” ว่า คุณคือ “พระเอก” ตัวจริง ที่ทำให้โคก หนอง นา  “จุดกระแสติด” กลายเป็นทุกหมู่บ้าน ทุกตำบลต้องมี ประจวบเหมาะกับ มีงบประมาณมาอุดหนุนในการขุดสระน้ำ และเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 บางพื้นที่ขาดแคลนอาหาร คนตกงานต้องกลับบ้านเกิดเมืองนอนจำเป็นต้องทำงานเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพ ซ้ำ “การปลูกผักผสมผสาน” แบบนี้หลายหมู่บ้านทำอยู่แล้ว

“เจ้าคุณต่อศักดิ์” น่าจะเป็นพระภิกษุรูปแรก ๆ ที่นำรูปแบบ “โคกหนองนา” ไปเผยแพร่แนวคิดและทำที่วัดที่ท่านดูแลที่ “ประเทศอังกฤษ” ทำเสร็จแล้วนำผักนั้นไปดูแลแจกจ่ายให้กับ..ประชาชนคนไทยในประเทศอังกฤษ มีการตั้ง “ตู้แบ่งปัน” ประเภทใครมีอะไรเหลือเพื่อเผื่อแผ่ต่อให้ผู้อื่นก็นำมาใส่ตู้นี้ได้

“เจ้าคุณต่อศักดิ์” หลังจากนำแนวคิด “โคกหนองนา” ไปเผยแพร่ให้กับคนไทยในประเทศอังกฤษแล้ว มีคนไทยหลายครอบครัวนอกจากปลูกผักกินเองในครอบครัว บางคนมีที่ดิน มีญาติอยู่ในประเทศไทย ชวนสามีหรือภรรยาคนอังกฤษกลับมาทำแปลง “โคกหนองนา” ที่บ้านเกิดเมืองนอนในประเทศไทยด้วย




“ผู้เขียน” เคยลงไปดูแปลงโคกหนองนา  ตามคำแนะนำของเจ้าคุณต่อศักดิ์ ที่จังหวัดชัยภูมิบ้านเกิดของท่าน มีชื่อเต็มๆ ว่า “โครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งศรัทธาประเทศอังกฤษ”  ณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ  เป็นแปลงโคกหนองนา ของหญิงไทยที่แต่งงานกันคนอังกฤษ ทำไว้เพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนและในขณะเดียวกันให้คนในชุมชนมีผักปลอดสารพิษได้รับประทาน ที่เหลือก็ให้ “ญาติ” นำไปจำหน่ายตลาดใกล้เคียง

“เจ้าคุณต่อศักดิ์” เล่าว่า หลังจากนำรูปแบบโคกหนองนา ไปทำที่ประเทศอังกฤษ โยมเขาสนใจก็กลับมาทำที่บ้าน ใช้ทุนของเขาทั้งหมด แต่ขอให้เจ้าคุณต่อศักดิ์ ออกแบบและช่วยดูแล

“ในตอนแรกนั้นก็ศึกษาจากแนวคิดโคกหนองนาพระราชทาน ประกอบกับภูมิปัญญาเดิมที่ท่านด้วยเรียนรู้จากการเป็นลูกชาวนา รวมทั้งการพูดคุยและเปลี่ยนกับปราชญ์ชาวบ้าน ท่านจึงให้แนวคิด และร่วมลงมือทำไปด้วยสมอง และสองมือ โดยไม่รู้ว่าจะถูกหรือผิด จะสำเร็จหรือล้มเหลว แต่สิ่งที่มั่นใจได้แน่ชัดก็คือท่านมีหัวใจ และความศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยมที่มุ่งมั่นจะทำโครงการโคกหนองนา..”

“ปณิธาน มหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง” ขอยืมศัพท์ ของ “อดีตเจ้าคุณเทอด” ในหนังสือ “ทศชาติ” วัดสระเกศ ฯ มาใช้ เพื่อสื่อความไปถึงความตั้งใจของ “เจ้าคุณต่อศักดิ์” พระราชมหาเจติยาภิบาล ว่า แนวคิดการทำ โคก หนอง นา ของท่าน ปัจจุบันแม้จะมองดูว่า “แผ่ว” แต่ความมุ่งมั่นของท่านยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลงหรือมาสั่นคลอนความ “ตั้งใจ” ของท่านได้

หลังจากชวนผู้ว่าชัยภูมิไปดู โครงการพระราชทานโคกหนองนาแห่งศรัทธาประเทศอังกฤษ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ  ที่ตั้งอยู่ใกล้ “พระธาตุชัยภูมิ” อนุสรณ์แห่งความดี “สำนึกรักษ์บ้านเกิด” ของเจ้าคุณต่อศักดิ์ ที่ท่านมุ่งมั่นสร้างไว้หมดงบประมาณไปเกือบ 500 ล้าน กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำจังหวัดชัยภูมิไปแล้ว




ล่าสุดไม่กี่วันที่ผ่านมา “เจ้าคุณต่อศักดิ์” ชวนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ  “นายอนันต์  นาคนิยม” โดยมีรองผู้ว่าฯ  พัฒนาการจังหวัด โยธาธิการจังหวัด ผู้นำท้องถิ่น ไปร่วมกันดูพื้นที่ ปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อออกแบบทำแปลง “โคกหนองนา” ณ วัดพระธาตุชัยภูมิ เพื่อพัฒนา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และศูนย์เรียนรู้ “โคกหนองนา” แก่ชุมชน และผู้สนใจทั่วไป

“เจ้าคุณต่อศักดิ์” ไม่ใช่พระจบประโยค 9 ไม่ได้เป็น “ดร.” แต่ท่านเป็น “พระนักพัฒนา”อยู่ที่ไหน พัฒนาที่นั่น สมัยจำพรรษาวัดอรุณท่านสร้างพระ “สมเด็จ 9 แผ่นดิน” นำเงินพัฒนาวัด นำเงิน ชวนญาติโยมไปพัฒนาบ้านเกิดของท่านโดยมี “พระธาตุชัยภูมิ” เป็นหลักฐานความตั้งใจของท่าน มาอยู่ “วัดโบสถ์”  หลวงปู่เทียน จ.ปทุมธานี จาก “วัดแทบรกร้าง รกรุงรัง แออัด “ ปัจจุบันทำเป็น “วัดท่องเที่ยว” ชูพระพุทธรูปของเก่าที่มีอยู่ คือ “พระพุทธจักรพรรดิ์” อายุกว่า 400 ปี มีคนมากราบไว้กันมากมายจนต้องขยายพื้นที่ลานจอดรถ จากจอดได้ประมาณ 100 คัน

ปัจจุบันจำนวนนักท่องเที่ยวจอดได้มากกว่า 1,000 คันทั้งภายในวัดและนอกวัด ย้ายโรงเรียนขนาดเล็ก สร้างให้ใหม่ สร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชนวัดก็มีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 2-3 ล้านบาท เงินที่ได้มาพัฒนาวัด พัฒนาโรงเรียน พัฒนาชุมชน มีแนวคิดอยากจะชูวัดโบสถ์ให้เป็น “ศูนย์กลางมอญ” จังหวัดปทุมธานีอีก ซ้ำอนาคตจะมีการสร้างองค์ “พระพุทธจักรพรรดิ์” จำลองด้วยงบประมาณสูงถึง 150 ล้านบาท อันนี้คือ “เจ้าคุณต่อศักดิ์”

พระภิกษุแบบ “เจ้าคุณต่อศักดิ์” นอกจากเป็น “พระนักพัฒนา สำนักรักษ์บ้านเกิด” แล้ว เป็นพระมี “ความกตัญญูกตเวที” รู้คุณคน ไม่ได้สร้างภาพว่ารัก พระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ตอนที่ท่านยังมีชีวิตและมีอำนาจบารมีอยู่เท่านั้น ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพระสงฆ์ในสังคมไทย ยึดมั่นใจสถาบันหลักของชาติ เป็นพระที่ไม่หยุดอยู่กับที่ คิด สืบสาน รักษา ต่อยอด อยู่ตลอดเวลา..





ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=77267
143  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระเณรผู้จบ ป.ธ.9 ผู้ทรงภูมิรู้สุดยอดของคณะสงฆ์ไทย แต่ถูกปล่อยทิ้ง "แบบไร้ค่า" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2024, 07:42:29 am
.



พระเณรผู้จบ ป.ธ.9 : ผู้ทรงภูมิรู้สุดยอดของคณะสงฆ์ไทย แต่ “ถูกปล่อยทิ้ง” แบบไร้ค่า.??

วันที่ 10 ก.พ. 67  มีผู้ใช้เฟชบุ๊คท่านหนึ่ง นามว่า Apinyawat Phosan ได้วิพากษ์วิจารณ์ระบบการสร้างคนเพื่อสืบทอดศาสนาทายาทของคณะสงฆ์ไทย โดยที่ไม่มีการวางแผน ซึ่งมีหลายประเด็นน่าคิดเป็นอย่างมาก เว๊บไซต์ “Thebuddh” ขอนำมาเผยแพร่ต่อ มีรายละเอียดดังนี้

เมื่อคณะสงฆ์ไทยฝึกฝนความรู้ให้แก่พระภิกษุและสามเณรให้มีภูมิรู้แบบจารีตนิยมพุทธ โดยเรียนนักธรรมเพื่อเป็นฐานสอบเปรียญธรรมหรือประโยคบาลีตั้งแต่ชั้นต่ำไปถึงชั้นสูงสุด การเรียนประโยคบาลีได้สูงสุดถึง ปธ.9 จึงถือว่า ผู้สอบได้เป็นผู้มีภูมิรู้สูงสุดและสุดยอดตามทัศนะของคณะสงฆ์ไทย

แม้ว่าจะมีความรู้แค่จำด้านภาษาบาลีใน 3 เรื่องสำคัญเท่านั้น คือ
    1) แปลบาลีเป็นไทย
    2) กลับไทยเป็นบาลี และ
    3) แต่งฉันทลักษณ์บาลีจากภาษาไทยที่กำหนดให้
มิได้มีความรู้ในวิชาการสาขาอื่นๆ และมีวิธีวิทยาอื่นๆ นอกจากวิธีจำได้ก็ตามเถอะ แต่ก็นับว่าเป็นผู้ทรงภูมิรู้ด้านภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาพุทธพจน์และภาษาที่พระสงฆ์ใช้สวดสาธยายในการทำพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

แต่…เป็นผู้ทรงภูมิรู้สูงสุดและสุดยอดในทัศนะของผู้บริหารการปกครองคณะสงฆ์แล้วอย่างไรละครับ.? ระบบทางโลกและศาสนาอื่นให้การศึกษาหรืออบรมบ่มเพาะความรู้ให้แก่คนของเขา ก็เพื่อให้ทำการบางอย่างตามที่มุ่งหมายทั้งนั้น ดังนี้

    1) ทหารและตำรวจ มีโรงเรียนฝึกฝนทหารและตำรวจของพวกเขา ที่เรียกว่า โรงเรียนเตรียม โรงเรียนนายร้อย จปร. โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ก็เพื่อฝึกฝนคนของพวกเขาอย่างสูงเพื่อให้จบออกมาเป็นนายทหารและนายตำรวจ มีงานให้ทำหรือรองรับให้ทำเมื่อจบออกมา แต่จะไต่เต้ามียศสูงถึงที่สุดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการทำงานและผลงานของแต่ละท่านเป็นสำคัญ นอกจากว่าเป็นคนของ

    2) ศาสนาคริสต์มีโรงเรียนสำหรับเป็น “แหล่งเพาะกล้า” ของความเป็นพระหรือบาทหลวง ซึ่งต้องศึกษาคัมภีร์ไบเบิลและศาสตร์แห่งการตีความทางเทววิทยา รวมทั้งวิชาการอื่นๆ ประกอบ เพื่อให้เป็นพระหรือบาทหลวงผู้มีความสามารถทางการศึกษา มีภูมิรู้ทางศาสนาอย่างดี และมีภูมิรู้ในศาสตร์อื่นๆ ประกอบ เมื่อจบออกมา ก็ถูกส่งไปช่วยงานทางศาสนาและประกาศศาสนา พระหรือบาทหลวงที่สามารถในการบริหารและจัดการ ก็ถูกส่งออกไปเป็นเจ้าอาวาสประจำคริสตจักรต่างๆ โดยเฉพาะในเมืองไทย จะมี “มหาวิทยาลัยแสงธรรม” ซึ่งเป็นแหล่งเพาะกล้าแห่งความเป็นพระหรือบาทหลวงผู้ทรงภูมิรู้ขั้นต่ำระดับปริญญาตรีขึ้นไป ก่อนจะถูกส่งออกไปประจำคริสตจักรต่างๆ ในประเทศไทย




ย้อนกลับมาดูที่คณะสงฆ์ไทย ฝึกฝนพระภิกษุและสามเณรอย่างชาววัด ฝึกฝนกันเองแบบพี่สอนน้อง ใช้วิธีการแบบเก่าโบราณ สำนักเรียนวัดต่างๆ จัดสอนกันเอง แต่มีแม่กองบาลีสนามหลวงเป็นผู้อำนวยการออกข้อสอบและจัดสอบตามจังหวัดต่างๆ จากนั้นจึงตั้งกรรมการตรวจและมีประกาศผลสอบ ในลักษณะว่า สอบได้สอบต่อ สอบตก ก็สอบซ้ำชั้นในปีต่อไป จนกว่าจะสอบได้ จนถึงชั้นสูงสุด ปธ.9 แต่เมื่อจบถึง ปธ.9 แล้ว ก็ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรมของผู้จบ ปธ.9 แต่ละรูป งานไม่มีให้ทำหรือไม่มีงานที่คิดไว้รองรับตามแผน เหมือนอย่างระบบทหาร ตำรวจ และศาสนาคริสต์

ทำไมจึงเป็นแบบนี้.? ก็เมื่อยกย่องผู้จบ ปธ.9 อย่างสูงว่า เป็นผู้จบสูงสุดและสุดยอดในทัศนะของผู้ปกครองคณะสงฆ์ไทย มีผู้บริหารสูงสุด คือ มส. หรือ มหาเถรสมาคม ซึ่งมีอำนาจสูงสุดในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทย สามารถสร้างระเบียบปฏิบัติได้ และกำหนดนโยบายได้ มีคน คือ ผู้จบ ปธ.9 อยู่มากในประเทศไทย

ทำไมไม่คิดแผนกำหนดนโยบายใช้คนเหล่านี้ ให้เป็นประโยชน์ต่อกิจการพระศาสนาเล่า.?

เหมือนอย่างทหารและตำรวจที่ใช้ผู้ที่จบจากโรงเรียนที่ผ่านการฝึกฝนมาดีตามระบบแล้ว (จบแล้ว) ไว้ในตำแหน่งงานเพื่อให้ทำงาน และเหมือนอย่างศาสนาคริสต์ที่ใช้ผู้ที่จบจาก “แปลงเพาะกล้า” แล้วให้ทำงานเป็นพระหรือบาทหลวงเพื่อกิจการทางศาสนาของพวกเขา เงินที่เป็นทุนหาได้ไม่ยากเลย ขอให้ทำจริงเถอะ เงินหาได้แน่ ๆ ทีทุนก่อสร้างในวัดก็ยังหาได้ไม่ยากนี่ครับ

ผู้ทรงภูมิรู้บาลีถึง ปธ.9 มีคุณค่าในการนำมาใช้ประโยชน์ ให้ใช้ประโยชน์พวกท่านเถิด อย่าปล่อยพวกท่านให้ดูไร้ค่าหรือไร้ความหมายในภูมิความรู้ที่จบมาเลย แม้จะเป็นความรู้แบบจำและจารีตนิยมก็เถอะ ผู้เขียนเสียดายภูมิรู้ในทางภาษาบาลีของพวกท่านครับ หากว่าถูกปล่อยทิ้งให้ดูไร้ค่าและไร้ความหมายหลังจบ ปธ.9 มาแล้ว

ในขณะที่ พระมหาวัฒนา ปญฺญาทีโป ปธ.9 อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม เมื่อไม่นานมานี้ ได้ โพสต์เฟชบุ๊คส่วนตัว  Wat Pan Ken  ว่า  จำนวน ประโยค 9 ทั่วประเทศ พระภิกษุมี 1,741 รูป สามเณร 266 รูป




นับว่าเยอะพอสมควร มหาเถรสมาคมควร มีแนวนโยบายให้ท่านเหล่านี้ทำงานเพื่อพระศาสนา ด้านเผยแผ่ หรือด้านใดด้านหนึ่ง เพราะงบประมาณที่ได้รับ นิตยภัตเดือนละ 8.2 ล้าน ตกปีละ 98 ล้านเชียว  http://maha9.mahapali.com/index.php

หรือแท้จริงแล้ว..การศึกษาสูงสุดของคณะสงฆ์ คือ ปธ. 9 ซึ่งใช้หลักสูตรการศึกษามาตั้งแต่ยุคสมัยรัฐกาลที่ 5  ไม่เหมาะกับสภาพสังคม  เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้จำพวกพระเณรจบประโยค 9 จำนวนมาก ไม่เหมาะกับการขับเคลื่อนกิจการงานคณะสงฆ์ทั้ง 6 ด้านและรวมทั้งแนวคิด การทำงาน ไม่ทันต่อสังคมไทยและสังคมโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่เวลาเกิดปัญหาข้อถกเถียงองค์ความรู้ในพระพุทธศาสนา บรรดาคนจบประโยค ป.ธ. 9 ไม่สามารถออกมาอธิบายหรือจี้แจงข้อกังขาเหล่านั้นได้เช่นกัน

เมื่อมองเข้าไปยัง “มหาเถรสมาคม” ปัจจุบันการดำรงตำแหน่งเป็น “กรรมการมหาเถรสมาคม” ไม่จำเป็นต้องจบ ปธ. 9 หรือจบเปรียญสูงแล้ว ระบบที่พระผู้ใหญ่วางกฎเกณฑ์ระบบไว้ “พังทลาย” ไปแล้ว และทั้งการได้มาซึ่ง ตำแหน่งทาง “ปกครอง” หรือ “สมณศักดิ์” ยุคนี้ เปลี่ยนแปลงจากยุคกรรมการมหาเถรสมาคมอันมี “สมเด็จฟื้น” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสามพระยา ซึ่งท่านมักพิจารณาจากผู้จบประโยค 9 หรือผู้จบเปรียญธรรมสูง ๆ ก่อน..

หรือดังมีคำกล่าวกันว่า ยุคนี้คนถือย่าม ตุ๊ด แต๋ว..เดินตามหลังพระผู้ใหญ่ก็ได้ดีได้ เรียนไปทำไมบาลี..จบไปก็ตกงาน.!!


 


ขอขอบคุณ :-
URL : https://thebuddh.com/?p=77283
ภาพ : เพจวัดโมลีโลกยาราม,วัดสามพระยา
144  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / บุญใหญ่อีสาน นมัสการองค์พระธาตุพนม บูชาพระอุรังคธาตุ 17-25 ก.พ.นี้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2024, 07:18:25 am
.



บุญใหญ่อีสาน นมัสการองค์พระธาตุพนม บูชาพระอุรังคธาตุ 17-25 ก.พ.นี้

จ.นครพนม ชวนท่องเที่ยงร่วมงานบุญใหญ่อีสาน สืบสานประเพณีนมัสการองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง อายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี เปิดตำนานความเชื่อไทย-ลาว บูชาพระอุรังคธาตุ จัด 9 วัน 9 คืน กระตุ้นเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว แต่ละปีเงินสะพัดปีละเกือบ 100 ล้าน

นายจักรพงษ์ ปทุมไกยะ นายอำเภอธาตุพนม จ.นครพนม เปิดเผยว่า ปีนี้ทางจังหวัดนครพนม ร่วมกับ อ.ธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร รวมถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้เตรียมพร้อมจัดงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของภาคอีสาน คือ งานนมัสการองค์พระธาตุพนม สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ถือเป็นงานบุญประเพณีที่สืบทอดมาแต่พุทธกาล

ปีนี้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-25 กุมภาพันธ์ 2567 หรือในช่วงวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 3 รวม 9 วัน 9 คืน ถือเป็นประเพณีโบราณที่ชาวอีสาน ตลอดจนชาวพุทธทั้งไทยและชาวลาวได้ให้ความสำคัญ เพราะเป็นบุญประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ จัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระธาตุพนม รวมถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากภายในองค์พระธาตุพนม ได้บรรจุพระอุรังคธาตุไว้ภายใน มีอายุเก่าแก่กว่า 2,500 ปี โดยมีการยืนยันค้นพบพระอุรังคธาตุที่บรรจุไว้ภายใน หลังจากเหตุการณ์พระธาตุพนมล้ม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518




สำหรับพิธีศักดิ์สิทธิ์สำคัญ จะเริ่มแต่วันแรกภาคเช้า ปีนี้ตรงกับวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 พุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยชาวลาวนับแสนคน จะร่วมกัน ประกอบพิธีอัญเชิญพระอุปคุต จากริมแม่น้ำโขงไปประดิษฐาน ณ พระวิหารหอพระแก้ว ภายในวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร รวมถึงแห่เครื่องสักการบูชาของชนเผ่าต่างๆ ทั้ง 8 เผ่า ที่อาศัยอยู่ใน จ.นครพนม รวมถึงชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม มาร่วมขบวนแห่พิธีอัญเชิญ รวมทั้งขบวนศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นอีสานที่มีความศรัทธาร่วมพิธี

ถือเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ จัดขึ้นก่อนเปิดงานนมัสการองค์พระธาตุพนม เพื่อขอให้องค์พระอุปคุต พระผู้มีอิทธิฤทธิ์ตามตำนานความเชื่อ มาช่วยคุ้มครองปกปักรักษา ปกป้องภยันตรายต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้น จนกว่างานจะสำเร็จเรียบร้อยเป็นไปด้วยดี ตลอด 9 วัน 9 คืน เนื่องจากในตำนานพุทธกาล เชื่อกันว่าพระอุปคุตเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์ บำเพ็ญเพียรอยู่ใต้มหาสมุทร เมื่อมีงานประเพณีสำคัญ จะมีการอัญเชิญมาปกปักรักษา คุ้มภัย โดยจำลองนำพระอุปคุตขึ้นมาจากแม่น้ำโขง เพื่อมาปกปักรักษา คุ้มครองประชาชน นักท่องเที่ยวที่ศรัทธา ตลอดการจัดงาน"

นายอำเภอธาตุพนม กล่าวอีกว่า ส่วนกิจกรรมสำคัญ ตลอดงานจะมีการทำบุญสวดมนต์เจริญภาวนา ถวายเป็นพุทธบูชา การส่งเสริมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา การเวียนเทียนบูชาพระธาตุพนมให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยชาวลาว ไปจนถึงลูกหลานเยาวชน ได้ร่วมทำบุญ ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทำให้ทุกปีส่งผลดีต่อภาคเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวในพื้นที่ ทั้งโรงแรมที่พัก ร้านค้า ร้านอาหาร รวมถึงสินค้าต่างๆ ขายดี ทุกอาชีพกลายเป็นธุรกิจสร้างรายได้ มีเงินหมุนเวียนสะพัดในพื้นที่ปีละเกือบ 100 ล้านบาท ถือเป็นงานบุญประเพณีที่ยิ่งใหญ่ กระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเป็นอย่างดี  ยิ่งในช่วงวันสุดท้ายของงานทุกปี จะมีประชาชน นักท่องเที่ยวพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทย ชาวลาว ที่มีจิตศรัทธามาเที่ยวทำบุญร่วมแสนคน



ด้าน อาจารย์หมง อภัยโส อายุ 65 ปี ประธานชมรมศิษย์วัดพระธาตุพนม เปิดเผยว่า สำหรับองค์พระธาตุพนม ถือเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมายาวนาน อายุเก่าแก่ราวกว่า 2,500  ปี ภายในได้บรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ และเป็นพระธาตุประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ และคนที่เกิดปีวอก ส่วนงานนมัสการองค์พระธาตุพนม สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่ปี 2519 ยาวนานเกือบ 50 ปี

"บรรดาชาวพุทธในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและในประเทศลาว เชื่อถือสืบๆ กันมาว่า ถ้าใครมีโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์ ถวายเครื่องสักการบูชาหน้าองค์พระธาตุพนม จิตใจจะสงบเยือกเย็นอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง ถ้ายังไม่บรรลุนิพพานในชาตินี้ เมื่อตายแล้ววิญญาณก็จะได้ไปสู่สวรรค์ ชาวพุทธในถิ่นนี้ถือกันว่าองค์พระธาตุพนมไม่เพียงแต่จะเป็นเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอกของพระพุทธเจ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ซึ่งครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จมาประทับแรมอยู่หนึ่งราตรีอีกด้วย ทำให้ทุกปีในวันงานจะมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศของไทยและชาวลาว ต่างเดินทางกันมาร่วมพิธีกรรมมากมายกว่าแสนคน พร้อมมีการจัดมหรสพสมโภชคึกคักสนุกสนาน จัดเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน"





Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/northeast/2762366
11 ก.พ. 2567 15:36 น. | ข่าว > ทั่วไทย > อีสาน > ไทยรัฐออนไลน์
145  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ยกช่อฟ้า "นกหัสดีลิงค์" บนหลังคาโบสถ์ไม้ตะเคียนหนึ่งเดียวในไทย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2024, 07:11:55 am
.



ยกช่อฟ้า "นกหัสดีลิงค์" บนหลังคาโบสถ์ไม้ตะเคียนหนึ่งเดียวในไทย

ยกช่อฟ้า "นกหัสดีลิงค์" บนหลังคาโบสถ์ไม้ตะเคียนหนึ่งเดียวในไทย ชาวบ้านรุมส่องเลขเด็ดหางประทัด มั่นใจปังแน่นอน งวด 16 กุมภาพันธ์ 2567

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 นายสิรภพ นิยมเดช นายอำเภอบ้านไร่ จ.อุทัยธานี เป็นประธานงาน ยกช่อฟ้านกหัสดีลิงค์ บนหลังคาอุโบสถรากไม้ตะเคียนหนึ่งเดียวในประเทศไทย วัดเขาถ้ำประทุน หมู่ 12 ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่จังหวัดอุทัยธานี

สร้างด้วยรากไม้ตะเคียนทองทั้งหลัง มูลค่ากว่า 500 ล้านบาท โดยช่อฟ้าใช้ไม้ตะเคียนแกาะสลักเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ทั้งหมด 6 ตัวซึ่งต้องใช้รถเครน 2 ตัวยกขึ้นไปยังหลังคาโบสถ์ โดยพระสงฆ์จำนวน 9 รูป เจริญพุทธมงคลพระคาถา






หลังจากนั้นได้มีการจุดประทัดเสี่ยงทายจำนวน 2 พันนัด ได้เลข 3 ตัว 817 และ 53 ส่วนอีกประทัดอีกอันหนึ่งได้ถูกไฟไหม้เห็นแต่เลข 8 ตัวเดียว หลังจากนั้นได้มีชาวบ้านจำนมากที่มาร่วมงานหลายจังหวัดได้นำมือถือมาถ่ายเลขหางประทัด ทั้ง 2 หางไปเพื่อเสี่ยงทายในวันที่ใกล้หวยออก

โดยภายในงานยกช่อฟ้าอุโบสถ วัดเขาถ้ำประทุน ได้มีประชาชนมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท นครสวรรค์ สิงห์บุรี ลพบุรีและประชาชนในจังหวัดอุทัยธานี ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ทีมาร่วมงานต่างพูดว่าการยกช่อฟ้าที่วัดเขาถ้ำประทุนนั้นแปลกกว่าที่อื่นที่เป็นปูน แต่ที่วัดเขาถ้ำประทุนนั้นเป็นไม้ตะเคียนนำมาแกะสลักเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ที่มีหนึ่งเดียวในประเทศไทย

“นกหัสดีลิงค์” เป็นชื่อของนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในเทวนิยาย อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะผสมของสัตว์ 4 ชนิด ลำตัวเป็นนกใบหน้าเป็นสิงห์ จะงอยปากเป็นงวงช้าง เขี้ยวหน้าเป็นงามี หางเป็นหงส์ มีพละกำลังดั่งช้างเอราวัณ 3-5 เชือกรวมกัน






คนล้านนานั้นรู้จักสัตว์ในจินตนาการชนิดนี้มาตั้งแต่ยุค 1,400 ปีก่อน ชื่อของนกหัสดีลิงค์ปรากฏในตำนานการสร้างนครหริภุญไชย ว่าเหล่าฤๅษีทั้งสาม อันได้แก่ วาสุเทพฤๅษี สุกทันตฤๅษี และอนุสิสฤๅษี ที่ช่วยกันวางรากฐานเมืองลำพูนได้เรียก “นกหัสดีลิงค์” ออกมาจากป่าหิมพานต์ให้ทำหน้าที่บินไปคาบ “หอยสังข์” (สัญลักษณ์หนึ่งในสี่สวัสดิมงคลของพระนารายณ์หรือวิษณุเทพของฮินดูประกอบด้วยดอกบัว สังข์ จักร คทา แทนดินน้ำลมและไฟ) มาจากห้วงมหาสมุทรเพื่อนำมาใช้เป็นต้นแบบในการสร้างเมืองลำพูน

เหล่าฤๅษีใช้ไม้เท้าขีดเส้นเขตแดนเมืองตามขอบรูปร่างของหอยสังข์นั้นกลายเป็นแผ่นดินที่พูนนูนขึ้นตอนกลางคล้ายกระดองเต่าและมีน้ำล้อมรอบอันเป็นที่มาของผังเมืองโบราณยุคทวารวดีที่มีอายุมากกว่าพันปี เชื่อกันว่าเป็นผังเมืองที่จะทำให้ผู้อาศัยมีความสมบูรณ์พูนสุข






Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/206107?utm_source=aside_nocard&utm_medium=position_latest_news
11 ก.พ. 67
146  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เทคนิคการงีบพักสายตา ควรทำตอนไหน กี่นาที ถึงจะดีต่อสุขภาพ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2024, 08:07:56 am
.



เทคนิคการงีบพักสายตา ควรทำตอนไหน กี่นาที ถึงจะดีต่อสุขภาพ

การงีบ หรือ นอนพักสายตา เป็นอีกหนึ่งเทคนิค และพฤติกรรมประจำวัน ที่ทำให้มนุษย์เราสามารถชาร์จตัวเองให้กลับมาสดชื่นระหว่างวันได้อีกครั้ง แต่ถึงอย่างไรก็ตามการงีบ และพักสายตา นั้นควรจะต้องทำในเวลาที่เหมาะสมถึงจะดีต่อสุขภาพ

การนอนงีบ และพักสายตา คือ การหยุดกระทำต่างๆ โดยให้ดวงตาที่อ่อนล้ามานั้นได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น ‘การนอนหลับ’ ระหว่างวันในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อที่จะได้ชดเชยเวลาที่นอนไม่เพียงพอในช่วงคืนที่ผ่านมา หรือความอ่อนล้าทางสายตาให้กลับมามีชีวิตชีวาให้มากขึ้น

การงีบ และการพักสายตานั้น จะมีช่วงระยะเวลาของการนอนหลับที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสมอง และร่างกาย หากสามารถพักผ่อนได้อยากถูกต้อง จะทำให้รู้สึกตื่นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความตึงเครียด ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส และระบบร่างกายจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากกระทำผิดเวลา ก็อาจจะส่งผลให้ร่างกายอ่อยเพลียได้เช่นกัน

@@@@@@@

ข้อดีของการงีบ

    • การงีบ สามารถทำให้เกิดการตื่นตัวของสมอง และร่างกายในการทำงานมากขึ้น
    • ช่วยรักษาอาการเพลีย และโรยราต่าง ถือเป็นการชดเชยเวลานอนที่หายไปได้ดี
    • เพิ่มประสิทธิภาพทำให้สมอง มีการจำได้รวดเร็วเพิ่มขึ้น
    • ลดความเครียดหรือความหงุดหงิด  เพราะการหลับจะช่วยลดฮอร์โมนที่ก่อให้เกิดความเครียดได้
    • มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
    • สุขภาพโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากการงีบระหว่างวันจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ

ข้อเสียของการงีบ

    • ทำให้ผู้มีปัญหาการนอนนั้นหลับยาก
    • หากงีบไม่เป็นเวลา และมีระยะเวลานาน อาจทำให้ร่างกายอ่อนเพลียได้ง่ายขึ้น
    • ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานระหว่างวันหากทำผิดวิธี
    • การอดนอนในช่วงกลางคืน ไม่สามารถชดเชยด้วยการงีบได้
    • เทคนิคการงีบ และพักสายตาระหว่างวัน


@@@@@@@

ข้อมูลของ สสส. ได้เผยถึงเคล็ดลับการงีบระหว่างวันอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สามารถเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย ให้มีแรงใช้งานได้ตลอดวัน มีข้อมูลดังต่อไปนี้

    - เวลาที่เหมาะสมในการงีบพักสายตาระหว่างวันจะอยู่ที่เวลา 10-20 นาที เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเพิ่มพลังงาน และคืนความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สมองโปร่ง เพราะอยู่ในช่วง non-rapid eye movement (NREM)

    - หากงีบหลับเป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป จะส่งผลที่ไม่เป็นผลดีกับร่างกาย เพราะจะยังคงรู้สึกง่วง มึนงง เหมือนกับนอนไม่พอ และยังคงไม่พร้อมที่จะทำงาน ซึ่งกว่าอาการนี้จะหายไปก็จะใช้เวลาเพิ่มอีกประมาณ 30 นาทีต่อมา

    - การนอนงีบหลับเป็นเวลา 60 นาที เป็นช่วงเวลาที่ส่งผลดีต่อความจำ ซึ่งเรียกว่าอยู่ในช่วง Slow-wave sleep เป็นการหลับลึกที่ยังคงความง่วง แต่สมองสามารถเสริมความจำดีไว้ได้

    - การนอนหลับ 90 นาที เป็นการนอนที่ครบรอบ กล่าวคือ มีหลับลึกและไม่ลึกมากนัก อาจมีการฝันบ้าง ช่วยให้อารมณ์ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่งัวเงียเหมือนช่วง 30-60 นาทีแรก

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม การงีบหลับในช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น ช่วงกลางวัน-บ่าย อาจส่งผลดีต่อร่างกาย และสุขภาพมากที่สุด ไม่ควรงีบหลับหลังจากช่วงเย็นลงไปแล้ว เพราะอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับไปช่วงกลางคืนได้

นอกจากนี้ “จากผลวิจัยพบว่าการใช้เวลางีบระหว่างวันเกินกว่า 30-45 นาที หรือการงีบช่วง 11.00 น. นอกจากจะไม่ส่งผลดีกับร่างกายแล้ว ยังก่อให้เกิดผลเสียตามมาอย่าง เช่น ทำให้ช่วงกลางคืนนอนไม่หลับ และอาจมีปัญหาสุขภาพตามมา อย่างที่กล่าวไปข้างต้นอีกด้วย”





ขอขอบคุณ :-
ข้อมูล : สสส. | ภาพ : istock
URL : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2760189
2 ก.พ. 2567 19:32 น. | ไลฟ์สไตล์ > ไลฟ์ > ไทยรัฐออนไลน์
147  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กำหนดการ พิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ จากอินเดีย เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2024, 08:00:05 am
.



กำหนดการ พิธีอัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ จากอินเดีย

รัฐบาลเชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมชมพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากประเทศอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมสักการะได้ใน 4 จังหวัด 4 ภาคทั่วไทย

พระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรซึ่งเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา และพระโมคคัลลานะเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้าย เป็นปูชนียวัตถุที่พุทธศาสนิกชนนับถือและสักการะ ถูกอัญเชิญจากประเทศอินเดียมายังประเทศไทย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับรัฐบาลอินเดีย โดยสถานเอกอัครราชฑูตอินเดียประจำประเทศไทย สถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ดำเนินโครงการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากประเทศอินเดีย มาประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ ประเทศไทย

ตามโครงการธรรมยาตราจากมหานทีคงคาสู่ลุ่มน้ำโขง : สักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ โดยมีกำหนดการจัดงานระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ - 19 มีนาคม 2567




กำหนดการพิธีอัญเชิญและสักการะพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากประเทศอินเดีย มีดังนี้

    • ภาคกลาง : วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 จัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ จากสาธารณรัฐอินเดีย และเปิดให้ประชาชนเข้าสักการะ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง วันที่ 3 มีนาคม 2567 ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
    • ภาคเหนือ : ระหว่างวันที่ 5-8 มีนาคม 2567 ที่หอคำหลวง อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่
    • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ระหว่างวันที่ 10-13 มีนาคม 2567 ที่วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี
    • ภาคใต้ : ระหว่างวันที่ 15-18 มีนาคม 2567 ที่วัดมหาธาตุวชิรมงคล (วัดบางโทง) จังหวัดกระบี่

หลังจากนั้นจะจัดพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุฯ ส่งมอบคืนให้แก่สาธารณรัฐอินเดียต่อไป

การจัดงานในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศไทยที่จะหล่อหลอมพลังความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จึงขอเชิญชวนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าร่วมสักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ อันเป็นการเสริมสร้างสันติธรรมให้เกิดขึ้นทั้งในระดับประเทศ และระดับนานาชาติ

โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศตวรรษแห่งธรรม (Dharma Centuries) ด้วยการนำหลักธรรม ความเชื่อของศาสนาเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมโยงความร่วมมือด้านศาสนาและส่งเสริมคุณธรรมของประชาคมโลกเพื่อสร้างความสงบสุขแก่มวลมนุษยชาติสืบไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สายด่วนวัฒนธรรม 1765





ขอขอบคุณ :-
ภาพ : เพจพระลาน
URL : https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2761483
7 ก.พ. 2567 19:00 น. | ไลฟ์สไตล์ > วัฒนธรรม > ไทยรัฐออนไลน์
148  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไขข้อข้องใจ สวดมนต์ตอนไหนดีที่สุด เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2024, 07:51:35 am
.



ไขข้อข้องใจ สวดมนต์ตอนไหนดีที่สุด

การสวดมนต์ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยฝึกฝนจิตใจให้สงบ เกิดสมาธิ พัฒนาปัญญา และเป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อพระรัตนตรัย เสริมความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบทสวดมนต์นั้นมีหลากหลายบท ซึ่งแต่ละบทก็จะมีความหมายแตกต่างกันไป สำหรับเวลาของการสวดมนต์ก็อาจจะมีหลายคนที่ข้องใจ และสงสัยว่า สวดมนต์ตอนไหนดีที่สุด ควรสวดมนต์เฉพาะตอนเช้า หรือก่อนนอน หรือไม่ หรือจะสวดมนต์เวลาไหนได้บ้าง

สวดมนต์ตอนไหนดีที่สุด.?

การสวดมนต์ นั้นไม่มีเวลาที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล ซึ่งแต่ละช่วงเวลาก็มีข้อดีแตกต่างกันไป เช่น สวดมนต์ตอนเช้าก็จะช่วยให้จิตใจสงบ มีสมาธิ เตรียมพร้อมรับกับวันใหม่ สวดมนต์ตอนเย็น ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ลดความเครียด ได้ทบทวนสิ่งที่ทำในวันดังกล่าว ขณะที่การสวดมนต์ก่อนนอน ก็ช่วยทำให้จิตใจสงบ ผ่อนคลาย นอนหลับสบาย ซึ่งไม่ว่าจะสวดมนต์เวลาไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสวดมนต์ด้วยความตั้งใจ และการประพฤติตนไปในทางที่ดี





Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/272331/
05 ก.พ. 67 (13:46 น.) | S! Horoscope : สนับสนุนเนื้อหา
149  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ค้นหลักฐาน “ชุดไทย” สมัยพระนารายณ์ สตรีสยามเปิด “ท่อนบน” หรือแต่งกายอย่างไร.? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2024, 07:49:27 am


(ซ้าย) ผู้หญิงสยามกับบุตร (ขวา) ขุนนางสยาม จาก จดหมายเหตุลาลูแบร์


ค้นหลักฐาน “ชุดไทย” สมัยพระนารายณ์ สตรีสยามเปิด “ท่อนบน” หรือแต่งกายอย่างไร.?

เครื่องแต่งกายของชาวสยามเป็นที่สะดุดตาและสนใจสำหรับชาวต่างชาติมาหลายยุคสมัย หากย้อนกลับไปถึงสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชาวต่างชาติจากฝรั่งเศสก็สนใจ “ชุดไทย” (เครื่องแต่งกาย) ของสตรีสยาม โดยบันทึกของลาลูแบร์ ราชทูตจากฝรั่งเศสบันทึกไว้ว่า ชาวสยามสมัยนั้นนุ่งน้อยห่มน้อย สตรีก็ “ปล่อยล่อนจ้อน”

เรื่องราวของเครื่องแต่งกายหรือที่คนสมัยใหม่มักสนใจและคุ้นเคยกับคำว่า “ชุดไทย” นั้น แต่ละคนมีภาพจำที่แตกต่างกันออกไปจากประสบการณ์และการเสพรับข้อมูลจากแหล่งต่างๆ หากพูดถึงการแต่งกายสมัย “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” ในช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา ตามการบันทึกของลาลูแบร์ ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในคณะทูตานุทูตฝรั่งเศสชุดที่ 2 ที่เข้ามาถึงสยาม พ.ศ. 2230 และรจนาในปี พ.ศ. 2231 ก็บันทึกเครื่องแต่งกายไว้ว่า ชาวสยามไม่ใคร่จะพอใจหุ้มห่อกายนัก

ลาลูแบร์ เปรียบเทียบกับการแต่งกายของชนชาติอื่นที่แทบจะเปลือยกาย ขณะที่ในความเห็นของลาลูแบร์ ที่ชาวสยามไม่ใคร่พอใจนุ่งห่มนั้น เป็นเพราะ “อาการสะเพร่า และอากาศร้อนจัด”

ลาลูแบร์ เดินทางมาถึงสยาม เมื่อ พ.ศ. 2230 อาศัยในสยามประมาณ 3 เดือน และได้จดบันทึกบรรยายสภาพของสยามไว้หลายด้าน หนึ่งในนั้นคือ เรื่องการแต่งกายของชาวสยาม

จดหมายเหตุลาลูแบร์ ฉบับแปลไทยมี 2 ฉบับ คือฉบับสันต์ ท.โกมลบุตร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์แปล ในที่นี้ขอยกสำนวนฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มากล่าวอ้าง


@@@@@@@

ในส่วนเครื่องแต่งกายของสตรีที่ลาลูแบร์ บรรยายนั้น ระบุว่า ผู้หญิงนุ่งผ้าตามยาววงรอบตัว อย่างเช่นผู้ชาย แต่ปล่อยผ้าตามกว้างคลุมลงมาถึงหน้าแข้ง คล้ายกระโปรงส่ายของฝรั่ง ขณะที่ผู้ชายนุ่งโจงกระเบนม้วนตลบกลับไปข้างหลังระหว่างหว่างขา

    “นอกจากผ้านุ่งแล้ว ผู้หญิงก็ปล่อยล่อนจ้อน ด้วยธรรมเนียมสตรีไม่มีเสื้อครุย (ฝรั่งเรียกเสื้อเชิ้ต) ชั่วแต่คนที่มั่งมีศรีสุขจึ่งจะใช้สะไบห่มอีกผืนหนึ่ง บางที่ห่มคาดนมปัดชายสะไบเฉียงบ่า แต่สตรีที่สุภาพราบเรียบ มักใช้สะไบตะแบงมานพันขนองกลางสะไบ ปัดชายทั้งสองมาสพักอุระ พาดสองบ่าปล่อยชายห้อยเฟื้อยปลิวลงไปข้างหลัง (อย่างผ้าห่มนางละครรำ)”

ส่วนการนุ่งผ้าโดยทั่วไปนั้น ลาลูแบร์ บรรยายว่า เดินเท้าเปล่า ศีรษะเปลือย ปิดบังแต่ที่อุจาดเท่านั้น โดย “ปกสะเอวและขาลงไปกระทั่งหัวเข่าด้วยท่อนผ้าผืนลายๆ ยาวราว 5 แขน”

ลาลูแบร์ ระบุว่า สำหรับเด็กก็วิ่งกันโทงๆ โดยไม่มีเครื่องนุ่งห่มจนอายุ 4-5 ขวบหลังจากนั้นก็ปกปิดอวัยวะ (ผูกจับปิ้ง) ซึ่งกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงวิจารณ์ว่า ลาลูแบร์ ไม่ได้บันทึกเรื่องไว้จุกหรือพิธีไว้จุก

สำหรับพวกขุนนางหรืออำมาตย์ นอกจากนุ่งผ้านุ่งแล้ว ยังมีเสื้อครุยผ้าขาวอีกตัว (ฝรั่งเรียกเสื้อเชิ้ต) เหมือนเป็นเสื้อนอก สวมนอกผ้านุ่งและพันชายเสื้อเข้ากับเอว ใช้เมื่อเข้าไปหาขุนนางผู้ใหญ่มียศสูงกว่าตนเอง เพื่อเป็นการแสดงความเคารพผู้ใหญ่

แม้ว่าจากการบรรยายของลาลูแบร์ ที่ว่าสตรีแทบล่อนจ้อนนั้น แต่ในอีกด้าน ลาลูแบร์ บรรยายว่า ชาวสยามยังเป็นผู้มีความละอาย “ว่ากันที่แท้ชายหญิงในกรุงสยามเป็นคนขี้ละอายอย่างยิ่งในโลก ที่จะแสดงอวัยวะในร่างกาย…”

เมื่อมีเอกอัครราชทูตของกษัตริย์ฝรั่งเศสเข้าพระนคร สตรียังต้องนั่งหันหลังในขบวนแห่

อ่านเพิ่มเติม :-

    • ย้อนดู “วัฒนธรรมการกิน” ของ “อยุธยา” เป็นแบบไหน อย่างไร?
    • คลายข้อสงสัย คนกรุงศรีอยุธยา “หน้าตา” เป็นอย่างไร?
    • เรื่องขี้ ๆ สมัยกรุงศรี กับการ “ปาขี้” ของชาวอยุธยา





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_28064
150  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อั่งเปา-แตะเอีย มาจากไหน? สะท้อนคติความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่ในวัฒนธรรมจีน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2024, 07:12:15 am


ผู้แต่งตัวเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (Choi Sun) แจกอั่งเปาให้กับเด็ก ๆ ที่สวนสนุกในฮ่องกง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (ภาพจาก MIKE CLARKE / AFP)


อั่งเปา-แตะเอีย มาจากไหน? สะท้อนคติความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่ในวัฒนธรรมจีนอย่างไร?

สิ่งที่เด็ก ๆ รอคอยมากที่สุดในเทศกาลตรุษจีนเห็นจะได้แก่เงิน “อั่งเปา” ไม่ก็ “แตะเอีย” ซึ่งขอแปลเอาความว่า “เงินก้นถุงท้ายปี” ซึ่งต้องมีติดตัวไว้ให้ต่อเนื่องกับเงินในปีต่อไป เงินชนิดนี้ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ยาซุ่ยเฉียน” แต้จิ๋วว่า “เอี๊ยบส่วยจี๊” แปลว่า “เงินกด (ท้าย) ปี”

ภาษาพูดเรียกว่า “แตะเอีย” แปลว่า “ทับเอว ถ่วงเอว” เพราะเงินสมัยก่อนเป็นโลหะ นิยมเก็บใส่ไถ้ (ถุงผ้ายาว) เคียนเอวไว้ หรือใช้เชือกร้อยผูกไว้กับเอว การให้เงินก้นถุงท้ายปีจึงถือเป็นการ “ถ่วงเอว”

ในภาษาพูดแต้จิ๋วเรียกการให้เงินชนิดนี้อีกอย่างว่า “เอี๊ยบโต๋วเอีย” แปลว่า “ถ่วงเอี๊ยม” ปกติเอี๊ยมที่เด็กจีนคาดจะมีกระเป๋าอยู่ข้างหน้า เงินที่ผู้ใหญ่ให้เป็นก้นถุงท้ายปีจะใส่ไว้ในกระเป๋านี้ ถ่วงให้เอี๊ยมหนักขึ้น ผู้ใหญ่ให้เงินก้นถุงเด็กตอนสิ้นปีเพื่อเป็นเงินมงคล ให้เด็กมีเงินติดกระเป๋าไว้เพื่อต่อเงินประจําปีหน้า และเป็นการสอนเด็กให้รู้จักเก็บออม ต้องมีเงินเหลืออยู่ในกระเป๋าตลอดทั้งปี

เงินก้นถุงท้ายปีนี้ โดยปกติผู้ใหญ่ให้แก่เด็ก แต่ต่อมาเงินที่ลูกหลานให้แก่ญาติผู้ใหญ่ในเทศกาลตรุษจีนก็นิยมเรียกว่าแตะเอียเหมือนกัน และเงินบําเหน็จพิเศษ (โบนัส) ที่ห้างร้านหรือนายจ้างให้แก่ลูกจ้างก็เรียกว่าแตะเอียด้วย

ที่มาของประเพณีนี้มีความเห็นต่างกันเป็น 2 ทาง ทางหนึ่งว่ามาจากประเพณีการให้ “ยาซุ่ยผ่าน-พานกดท้ายปี” ของสมัยราชวงศ์ซ่ง ในหนังสือ “เมิ่งเหลียงลู่-ฝันจินตนาการ” ของจื้อมู่ คนยุคราชวงศ์ซ่งใต้ (พ.ศ. 1669-1822) กล่าว่าตามประเพณีเก่าในวันสิ้นปี บ้านที่มีเด็กจะเอาพานหรือถาดใส่ผลไม้ให้เป็นของขวัญกัน ขุนนางก็ถวายกล่องผลไม้แก่ฮ่องเต้เพื่อไว้เสวยในคืนสิ้นปี

ในยุคเก่าก่อนยังมีประเพณี “ยาซุ่ยกั่วจือ-ผลไม้กดท้ายปี” คือ เอาส้ม ลิ้นจี่ และผลไม้อื่น ๆ วางไว้ข้างหมอน ตื่นเช้าวันปีใหม่กินให้หมดเพื่อเป็นสิริมงคล ถึงยุคราชวงศ์ซ่งใต้ประเพณีเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ต่อมาการให้พานหรือถาดผลไม้ที่เรียกว่า “ยาซุ่ยผาน” ไม่สะดวก จึงเปลี่ยนเป็นเงินที่เรียกว่า “ยาซุ่ยเฉียน-เงินกดท้ายปี” แทน


@@@@@@@

ถึงสมัยราชวงศ์ชิง ประเพณีการให้ “ยาซุ่ยเฉียน” หรือเงินแตะเอียแพร่หลายไปทั่ว ถึงคืนสิ้นปีผู้ใหญ่จะเอาด้ายแดงร้อยเงินเหรียญกษาปณ์เป็นพวงไปวางไว้ที่ขาเตียงนอนเด็ก ภายหลังนิยมใช้กระดาษแดงห่อเงินแทน จึงเรียกเงินนี้ว่า “อั่งเปา” หมายถึง “เงินห่อกระดาษแดง” อันเป็นสิริมงคล

อีกทางหนึ่งว่าประเพณีแตะเอียนี้มาจาก การให้ “เงินกดอุปัทวันตราย” ซึ่งภาษาจีนออกเสียงว่า “ยาซุ่ยเฉียน” แต่อักษร “ซุ่ย” ตัวนี้แปลว่า “อุปัทวันตรายจากผีร้าย” พ้องเสียงกับคํา “ซุ่ย” ที่แปลว่า “ปี” ต่อมาชื่อประเพณีนี้จึงผิดเพี้ยนแปรเปลี่ยนเป็น “ยาซุ่ยเฉียน” ที่หมายถึง “เงินกด (ท้ายปี)”

ประเพณีการให้ “เงินกดอุปัทวันตราย” มาจากความเชื่อของคนโบราณ ยังมีผีร้ายตนหนึ่งชื่อ “ซุ่ย” ตัวดํามือขาว ตากลมน่ากลัว ทุกคืนสิ้นปีจะออกมาหลอกหลอนทําร้ายเด็ก หากเด็กคนใดถูกมันจับหัวก็จะตัวร้อนเป็นไข้แล้วกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน ผู้คนกลัวลูกหลานตนถูกผีร้ายตนนี้ทําร้าย จึงจุดโคมไฟอยู่เฝ้าลูกหลานตลอดทั้งคืน เรียกว่า “เฝ้าซุ่ย”

ต่อมาที่เมืองเจียซิง (มณฑลเจ้อเจียง) มีผู้เฒ่าแซ่ก่วน ได้ลูกชายเมื่อชรา เขาเล่นกับลูกในคืนสิ้นปีจนเผลอหลับไป เงินเหรียญที่ห่อกระดาษแดงไว้ 8 อันกระจายอยู่รอบหมอนที่เด็กน้อยหนุนอยู่ พอผีร้าย “ซุ่ย” จะมาจับต้องตัวเด็กก็เกิดรัศมีสีทองแผ่พุ่งออกมาจากหมอนทําให้ผีร้ายหนีไป ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านจึงเอากระดาษแดงห่อเหรียญกษาปณ์วางไว้ข้างหมอนลูกหลานในคืนวันสิ้นปี

อีกตํานานหนึ่งกล่าวว่าในทะเลตะวันออก มีถ้ำที่โคนไม้บนภูเขาในทะเลนั้นเป็นที่รวมของภูตผีปีศาจ แต่ปกติจะมีเทพทวารบาลเฝ้าคุมอยู่ พอถึงวันสิ้นปี เทพผู้เฝ้าคุมกลับสวรรค์ บรรดาผีร้ายซึ่งมีสัตว์ประหลาดชื่อ “เหนียน-ปี” เป็นหัวหน้าจะออกอาละวาดตามบ้านคน ผู้คนจึงจุดไฟสว่างทั้งคืน “เฝ้าปี” เพื่อป้องกันภูตผีและสัตว์ร้าย

ผีเหล่านี้กลัวแสงไฟจึงลอบเข้าห้องนอนเด็ก เมื่อเห็นเงินห่อกระดาษแดงข้างหมอนก็ดีใจ หยิบแล้วโลดแล่นออกจากห้องไปหาความสนุกสนานที่อื่นต่อโดยไม่ทําร้ายเด็ก จึงเกิดประเพณีเอาเงินห่อกระดาษแดงวางไว้ข้างหมอนเด็กในคืนวันสิ้นปี เพื่อป้องกันไม่ให้ผีทําร้ายเด็ก



เทพเจ้าแห่งโชคลาภ แจกอั่งเปาให้กับเด็ก ๆ ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในฮ่องกง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (Photo by MIKE CLARKE / AFP)


วิเคราะห์ตามหลักวิชาคติชนวิทยา (Folklore) แล้วเห็นได้ว่า ช่วงสิ้นปีผู้ใหญ่จะตามไฟอยู่ “เฝ้าปี” เด็กมักจะทนง่วงไม่ไหวต้องเข้าไปนอนก่อน ในช่วงคืนสําคัญเช่นนี้ ความสุขและสวัสดิภาพของลูกหลานเป็นเรื่องสําคัญยิ่ง ผู้ใหญ่จึงนิยมเอาเหรียญกษาปณ์ร้อยด้ายแดงหรือห่อด้วยกระดาษแดงไปวางไว้ข้างหมอนหรือขาเตียงเพื่อเป็นของขวัญวันปีใหม่ ให้เด็กได้รับทันทีเมื่อตื่นขึ้นมา และเพื่อเอาเคล็ดขับไล่อุปัทวันตรายอีกด้วย

เพราะในชีวิตจริงของมนุษย์นั้นเมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้น หากมีเงินอยู่ใกล้มือก็อาจจะช่วยแก้ไขได้ ฉะนั้นยามเด็กนอนหลับอยู่ หากมีผีร้ายเข้ามา เงินข้างหมอนอาจช่วยไถ่ถอนเอาตัวเด็กไว้ได้ คนจีนคงเห็นว่า แม้ผีก็ชอบเงิน

เนื่องจากเป็นเงินก้นถุงท้ายปีและขับไล่อุปัทวันตราย จึงเรียกว่า “ยาซุ่ยเฉียน” ซึ่งมีความหมายได้ 2 นัยดังกล่าวแล้วข้างต้น การขับไล่อุปัทวันตรายจากผีร้ายคงเป็นความเชื่อเก่าแก่ แต่ต่อมาจุดมุ่งหมายสําคัญของเงินคือเป็นเงินขวัญถุงท้ายปีแก่ลูกหลาน

เงินยาซุ่ยเฉียนตามประเพณีดังเดิมนี้มีต่างกันเป็น 2 แบบ แบบหนึ่งเป็นเหรียญกษาปณ์ที่ทําขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ มีอักษรที่มีความหมายเป็นสิริมงคล เช่น “รอดพ้นจากโรคภัย ลูกหลานรุ่งเรือง” “พ้นจากถูกเกณฑ์ทหาร ขจัดอุปัทวันตราย”

เหรียญกษาปณ์อู่จู (5 บาท) สมัยราชวงศ์ฮั่นที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน บางเหรียญก็มีข้อความดังกล่าวนี้ แสดงว่าความเชื่อและประเพณีนี้มีมาตั้งแต่ยุคนั้น ในยุคหลัง ๆ เช่น ยุคราชวงศ์ซ่งก็มีนัยความมงคลอื่น ๆ เช่น “สิริมงคลสมปรารถนา” “ลาภ ยศ อายุ เบิกบาน” “อายุยืน 100 ปี” เหรียญเหล่านี้นิยมใช้พกติดตัวขับไล่สิ่งชั่วร้ายอีกด้วย

อีกแบบหนึ่งเป็นเงินที่ใช้ตามปกติ แต่นิยมร้อยด้วยด้ายแดงหรือหลากสีเพื่อเป็นสิริมงคล แต่เงินที่ให้แก่เด็กนิยมใช้เงินปลีกเล็กที่เรียกว่า “เสี่ยวหมาเฉียน” เป็นเหรียญขนาดเล็กกว่า 1 หยวน มีรูสี่เหลี่ยมใช้เชือกร้อยได้สะดวก ถึงยุคสาธารณรัฐเหรียญมีรูเลิกใช้ ผู้ใหญ่จึงนิยมใช้กระดาษแดงห่อเงินเหรียญ 100 เหวินซึ่งมีค่าไม่มากให้เป็นของขวัญเด็ก


@@@@@@@

จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของการให้เงินแตะเอียแก่เด็กน่าจะเพื่อให้เด็กมีเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ ซื้อของกินของเล่นในเทศกาลพิเศษนี้ เช่น ประทัด แต่จุดมุ่งหมาย สําคัญมี 2 ประการคือ เป็นสิริมงคลแก่เด็ก และเป็นเงินขวัญถุงให้เด็กรู้จักเก็บหอมรอมริบ มีเงินติดตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ฟุ่มเฟือยใช้จนหมด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลสําคัญอันเป็นมงคลเริ่มต้นปีใหม่ เพื่อเป็นรากฐานที่ดีแก่ชีวิตในปีใหม่ที่จะมาถึง เงินแตะเอียแต่ละปีนี้ ถ้าเก็บไว้ทุก ๆ ปี ตั้งแต่ยังเด็กเล็กอยู่จนถึงโตเป็นผู้ใหญ่ก็คงพอเป็นทุนรอนตั้งตัวได้พอสมควร

การให้ของ “ยาซุ่ย-กดท้ายปี” หรือ “ตบท้ายปี” มิจําเป็นต้องให้เงินเสมอไป ซูซื่อ (พ.ศ. 1580-1644) กวีเอกสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ให้จานฝนหมึกแก่ซูไหมบุตรชายเป็น “ยาซู่ยอู้ ของขวัญตบท้ายปี” พร้อมกับจารึกคําเตือนใจ 4 วรรค วรรคละ 7 คํา (อักษร) มีใจความให้ใช้จานฝนหมึกนี้เข้าสู่วิถีแห่งการศึกษาด้วยความกระหาย ใฝ่ก้าวหน้าอย่างสำรวมระวัง บริหารทรัพย์อย่างรู้แบ่งปันแก่ปวงชน และชำระคดีความอย่างยุติธรรมให้โอกาสผู้ผิดกลับตัวเป็นคนดี

สาระสำคัญของประเพณีนี้คือ การให้สิ่งที่มีคุณค่า อันจะช่วยพัฒนาเด็กเติบโตเป็นคนดีมีคุณภาพของครอบครัวและสังคม อาจเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ หรือวาทะอันทรงคุณค่าน้อมนำเด็กไปสู่ความดีงาม

การให้เงินแตะเอียแก่เด็ก ๆ ตามธรรมเนียมเก่าส่วนมากเป็นตอนกลางคืน หลังจากกิน “อาหารประจำปี (เหนียนเย่ฟั่น)” แล้ว เด็ก ๆ จะเข้าแถวกันไปอวยพรผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะอวยพรตอบและแจกเงิน “แตะเอีย” แต่บางคนอาจเอาไปสอดไว้ใต้หมอนตอนเด็ก ๆ หลับหรือมีวิธีแจกแตกต่างไปจากนี้อีกหลายวิธี

ส่วนผู้ใหญ่นั้นไม่นอนตลอดคืน เพราะจะต้องอยู่ “เฝ้าปีเก่า รับปีใหม่”





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : เสมียนอารีย์
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2566
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 24 มกราคม 2563
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_62687
อ้างอิง : ถาวร สิกขโกศล. เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้. กรุงเทพฯ : มติชน, 2557.
151  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รู้หรือไม่.? ปีชงแบบจีน มีแต่ “ชงตรง-ชงเฉียด” และไม่มี “แก้ชง” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2024, 07:38:54 am


วัดมังกรกมลาวาส หรือ "เล่งเน่ยยี่" เป็นวัดจีนที่คนนิยมมาแก้ชง


รู้หรือไม่.? ปีชงแบบจีน มีแต่ “ชงตรง-ชงเฉียด” และไม่มี “แก้ชง”

หลายปีมานี้ กระแส “ปีชง” มาแรงในสังคมไทย มีการแบ่งว่าปีไหนชง 25% 50% 75% ไปจนถึงชงเต็มๆ แบบ 100% จนต้องไป “แก้ชง” ทั้งที่จริงแล้ว ตามความเชื่อแบบจีน ไม่มีการแบ่งว่าชงมากหรือชงน้อย และไม่มีการแก้ชง

เรื่องนี้ สมชาย แซ่จิว ผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมจีน เจ้าของหนังสือ “พลิกสุสานอ่านจิ๋นซี” (สำนักพิมพ์มติชน) เล่าว่า “ปีชง” ไม่ใช่เรื่องงมงาย แต่เป็นเรื่องดวงดาวและสถิติ ในความเชื่อจีนมี “ไท้ส่วยเอี๊ย” เทพเจ้าจีนที่ดูแลคุ้มครองดวงชะตา มีทั้งหมด 60 องค์ มนุษย์แต่ละคนจะมีไท้ส่วยเอี๊ยประจำ และมีไท้ส่วยเอี๊ยที่จรมาในแต่ละปี ซึ่งปี 2567 นี้ ไท้ส่วยเอี๊ยคือ “หลีเซ้งไต่เจียงกุง”

“คนจีนถึงมี ‘แซยิด’ เมื่ออายุถึง 60 ปี ในแง่หนึ่งคือเก่งมากที่ฝ่าไท้ส่วยเอี๊ยมาได้ถึง 60 องค์” สมชาย อธิบาย

ส่วนที่บอกกันว่า “ปีชง” มีทั้งชงมาก-ชงน้อย กูรูวัฒนธรรมจีนยืนยันว่า ไม่มี! เพราะตามความเชื่อจีนมีแต่ “ชงตรง” และ “ชงเฉียด” เท่านั้น

ปี 2567 ปีที่ชงตรงคือ ปีจอ ส่วนปีที่ชงเฉียดคือ ปีมังกร ปีฉลู และ ปีเถาะ และแม้จะมีความเชื่อเรื่องปีชง แต่จีนก็ไม่มีเรื่อง “แก้ชง” แต่อย่างใด

    “เราแก้ชงไม่ได้ แต่เรากันชงได้ คือหลีกเลี่ยง สำรวม และระวัง เช่น ปีจอ ที่ชงโดยตรง พลังชี่เราจะอ่อน ดังนั้นก็อาจเลี่ยงด้วยการไม่ไปงานอวมงคลต่างๆ เลี่ยงงานศพ และอีกทางก็ปฏิบัติอย่างที่อาจารย์ถาวร สิกขโกศล กล่าวไว้ คือ ทำตัวให้มีคุณภาพและมีคุณธรรม ก็จะเป็นการแก้ชงที่ดีที่สุด ส่วนการแก้ชงโดยไปที่วัด เป็นการทำเพื่อความสบายใจ แต่วิธีที่ดีสุดคือปัดอวิชชาออกไป”

อ่านเพิ่มเติม :-

    • มูสายมังกร “แก้ชง” ไม่ทำเมื่อขึ้นปีใหม่ 1 มกราคม เพราะอะไร?
    • “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้” ประโยคสุดฮิตในเทศกาลตรุษจีน แท้จริงแล้วใช้อย่างไร?
    • เช็กลิสต์ “ข้อควรทำ-ข้อห้าม” วันตรุษจีน ทำแบบไหนดวงถึงจะรุ่ง?




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : สุทธาสินี จิตรกรรมไทย เจียจันทร์พงษ์
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ : เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_127005

อ้างอิง : สมชาย แซ่จิว ในงานทอล์ก “BAOBOOK: เมาท์เรื่องมู ปีมังกรทอง” จัดโดยสำนักพิมพ์มติชน ร่วมกับ ซีเจ มอร์ ที่บาว คาเฟ่ สีลมซอย 7 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567
152  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เช็กลิสต์ “ข้อควรทำ-ข้อห้าม” วันตรุษจีน ทำแบบไหนดวงถึงจะรุ่ง.? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2024, 07:32:35 am

(ภาพถ่ายโดย 熊大 旅遊趣: https://www.pexels.com/th-th/photo/6854919/)


เช็กลิสต์ “ข้อควรทำ-ข้อห้าม” วันตรุษจีน ทำแบบไหนดวงถึงจะรุ่ง.?

“ตรุษจีน” เป็นเทศกาลสำคัญของคนจีน ทั้งที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่และที่กระจายตัวไปตั้งรกรากอยู่ทั่วโลก ซึ่งใน “วันตรุษจีน” (ปี 2567 ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์) ชาวจีนก็มีความเชื่อเรื่อง “ข้อควรทำ” และ “ข้อห้าม” มาดูกันว่ามีเรื่องอะไรบ้าง.?

@@@@@@@

3 ข้อควรทำ วันตรุษจีน

สมชาย แซ่จิว กูรูประวัติศาสตร์จีน เจ้าของผลงาน “พลิกสุสานอ่านจิ๋นซี” (สำนักพิมพ์มติชน) เล่าไว้ในงานทอล์ก “BAOBOOK: เมาท์เรื่องมู ปีมังกรทอง” จัดโดยสำนักพิมพ์มติชน ร่วมกับ ซีเจ มอร์ ว่า

วันตรุษจีน สิ่งที่ชาวจีนนิยมทำ และถือว่า “ควรทำ” ก็คือ การประดับ “ชุนเหลียน” (ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า ตุ้ยเลี้ยง) เป็นกลอนคู่ มีถ้อยคำมงคลรับฤดูใบไม้ผลิ สมัยโบราณจะสลักลงบน “เถาฝู” คือป้ายที่ทำจากไม้ต้นท้อ เชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่ง จึงเปลี่ยนมาเป็นชุนเหลียนกระดาษแดง หาซื้อกันได้ที่เยาวราช และหากต้องการให้ขลังขึ้น จะเอาชุนเหลียนไปปลุกเสกที่ศาลเจ้าก็ได้ตามสะดวก

ต่อมา คือการไหว้ “ไฉเสิน” หรือที่รู้จักกันว่า “ไฉ่ซิงเอี๊ย” เทพแห่งทรัพย์สินเงินทอง ฤกษ์งามยามดีในการไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ยในปี 2567 คือ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลา 23.00-01.00 น. ในการไหว้ให้หันไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้

ของที่ใช้ไหว้ไฉ่ซิงเอี๊ย สมชายบอกว่าได้หมด แต่ส่วนใหญ่นิยมไหว้ของเจ 5 อย่าง เช่น วุ้นเส้น ขนมอี๋ ธูป 5 ดอก เทียน ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบ้าน ไม่มีข้อบังคับเคร่งครัดแต่อย่างใด

อย่างไรก็ดี ในการไหว้เทพเจ้าจีนแต่ละองค์ สมชายแนะว่า อย่าบน แต่ให้ใช้ “การขอ” แทน หากเทพเจ้าอำนวยพรแล้วก็ค่อยกลับไปขอบคุณเทพเจ้า

นอกจากนี้ สิ่งที่ควรทำในวันตรุษจีนอีกอย่างก็คือ กินอาหารมงคล 7 อย่าง ได้แก่ ปลา หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง, เกี๊ยว หมายถึงความมั่งคั่งมั่งมี, ปอเปี๊ยะหรือชุนเปี๊ยะ หมายถึงความมั่งคั่งมั่งมีเช่นกัน, ส้ม ผลไม้มงคลทุกเทศกาล, บัวลอย หมายถึงครอบครัวมีความสุข, เหนียนเกาหรือขนมเข่ง มีความหมายถึงการเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง และอาหารมงคลอย่างที่ 7 คือ เส้นหมี่หรือบะหมี่ ที่มีนัยถึงการมีอายุยืน

@@@@@@@

7 ข้อห้าม ควรหลีกเลี่ยง

ส่วน “ข้อห้าม” ที่ชาวจีนถือกันว่าไม่ควรทำในวันตรุษจีน สมชายเล่าว่ามี 7 ข้อด้วยกัน

1. ต้อง “ไม่กริ้ว” ไม่โกรธใครในวันตรุษจีน ไม่เช่นนั้นอาจมีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่นตลอดปี
2. ไม่ใช้มีด กรรไกร เข็ม เพราะถือว่าตัดโชคลาภ
3. ไม่สระผม เพราะถือว่าชะล้างโชคดีออกไป
4. อย่างีบกลางวัน เพราะจะขี้เกียจตลอดปี
5. ไม่กินโจ๊กหรือข้าวต้มมื้อเช้า เพราะคนจีนที่ฐานะยากจนสมัยก่อนกินอาหารเหล่านี้ เชื่อว่าหากกินโจ๊กหรือข้าวต้มในมื้อเช้า ชีวิตจะยากจนตลอดปี
6. อย่าให้ใครหยิบอะไรจากกระเป๋าสตางค์ของเรา
7. ไม่ให้แต๊ะเอียใครเป็นจำนวนเงินเลขคี่

เหล่านี้เป็นความเชื่อ “วันตรุษจีน” ที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม :-

    • วันจ่าย วันไหว้ วันถือ ในเทศกาล “ตรุษจีน” เป็นวันไหน ทำอะไร
    • “ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้” ประโยคสุดฮิตในเทศกาลตรุษจีน แท้จริงแล้วใช้อย่างไร?
    • “ไฉ่ซิงเอี๊ย” จากไม่อยู่ในสารบบ สู่เทพเจ้าที่คนเซ่นไหว้มากสุดในเทศกาลตรุษจีน





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : สุทธาสินี จิตรกรรมไทย เจียจันทร์พงษ์
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_126959
อ้างอิง : สมชาย แซ่จิว ในงานทอล์ก “BAOBOOK: เมาท์เรื่องมู ปีมังกรทอง” จัดโดยสำนักพิมพ์มติชน ร่วมกับ ซีเจ มอร์ ที่บาว คาเฟ่ สีลมซอย 7 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567
153  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปีใหม่มี “เคานต์ดาวน์” ตรุษจีนมี “เฝ้าปี” กิจกรรมที่เกิดจากความเชื่อ ความกตัญญู เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2024, 07:25:36 am
.

(ภาพจาก Eka P. Amdela - unsplash.com)


ปีใหม่มี “เคานต์ดาวน์” ตรุษจีนมี “เฝ้าปี” กิจกรรมที่เกิดจากความเชื่อ และความกตัญญู

เคานต์ดาวน์ หรือการนับเวลาถอยหลัง ทั่วไปมักนับเวลา 10 วินาทีสุดท้าย ก่อนจะถึงเหตุที่เฝ้าคอย เคานต์ดาวน์ยอดนิยมที่เห็นกันบ่อยๆ ก็คือ เคานต์ดาวน์คืนวันที่ 31 ธันวาคม เพื่อต้อนรับปีใหม่ (สากล) ในเทศกาลตรุษจีนหรือปีใหม่จีนก็มีกิจกรรมคล้ายๆ “เคานต์ดาวน์” เช่นกัน ที่เรียกว่า “เฝ้าปี”

เพราะ “เคานต์ดาวน์” และ “เฝ้าปี” ก็ต้องอดหลับ อดนอน รอให้ถึงเวลาเที่ยงคืน เพื่อจะก้าวเข้าสู่ปีใหม่เหมือนกัน เพียงแต่เหตุผลต่างกัน

การเคานต์ดาวน์ หรือ เฝ้าปี ในเทศกาลตรุษจีน มีมานานกว่า 1,600 ปี การเฝ้าปีปรากฏหลักฐานครั้งแรกในหนังสือภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณี ของ โจวชู่ บุคคลสมัยราชวงศ์จิ้น (พ.ศ. 807-963) ว่า “ไม่นอนตลอดคืน รออยู่จนฟ้าสาง เรียกว่าเฝ้าปี”

ธรรมเนียมเก่าหลังจากกิน “อาหารค่ำประจําปี” แล้ว เด็กๆ จะเข้าแถวกันไปอวยพรผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะอวยพรตอบและแจกเงิน “แตะเอีย” แต่บางคน บางบ้านอาจเอาไปสอดไว้ใต้หมอนตอนเด็กๆ หลับ หรือมีวิธีแจกแตกต่างไปจากนี้อีกหลายวิธี

ส่วนผู้ใหญ่นั้นไม่นอนตลอดคืน เพราะจะต้องอยู่ “เฝ้าปีเก่า รับปีใหม่”

@@@@@@@

การ “เฝ้าปี” มีสาระสําคัญให้เห็นคุณค่าของวันเวลาซึ่งผ่านไปอย่างรวดเร็ว สําหรับผู้สูงอายุเป็นอนุสติให้คิดถึงวัยชราที่ค่อยๆ มาถึง สําหรับเด็กเน้นให้กระตือรือร้นใช้วันเวลาให้มีคุณค่า จึงต้องอยู่เฝ้าปีให้ต่อเนื่องกัน

แล้วอะไรเป็นเหตุผลของการ “เฝ้าปี” หรือ “เคานต์ดาวน์” ของคนจีน

หนึ่งคือ คําว่า “นอนหลับ (困 Kun)” ในภาษาจีนโบราณมีอีกความหมายหนึ่งว่า “ลําบาก ยากจน” การไม่นอนในคืนสิ้นปี ก็เพื่อเอาเคล็ดหนีความลําบากยากจน ด้วยการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

หนึ่งคือ ความเชื่อที่ว่า การอยู่เฝ้าปีในคืนตรุษจีนจะเจริญอายุและสุขภาพแก่พ่อแม่ ดังนั้นผู้ที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ จึงมักจะค่อนข้างเคร่งครัดกิจกรรมนี้ กลายเป็นธรรมเนียมนิยมสืบกันมา

หนึ่งคือ เกิดจากตํานานเล่าว่า ในอดีตกาลมีสัตว์ร้ายตัวหนึ่งชื่อว่า “เหนียน” ซึ่งแปลว่า “ปี” พอถึงปลายฤดูหนาว เจ้าตัวปีนี้จะออกมาจับคนและสัตว์เลี้ยงกินเป็นอาหารเสมอ การเฝ้าปีก็เพื่อจับเหนียนที่ปีแล้วปีเล่าออกอาละวาด

ในที่สุดมนุษย์ก็พบว่า เหนียนกลัวของอยู่ 3 อย่าง คือ เสียงดัง, สีแดง, และแสงไฟ ดังนั้นพอถึงวันสิ้นปี อันเป็นกำหนดที่สัตว์ร้ายตัวนี้ออกมาหาเหยื่อในหมู่บ้าน ผู้คนก็พากันเอาไม้ท้อทาสีแดงแขวนไว้ที่ประตู ก่อไฟไว้หน้าบ้าน จุดประทัดและตีเกราะเคาะไม้ให้มีเสียงดังตลอดคืนโดยไม่หลับนอน เมื่อเจ้าตัวปีออกมาเห็นแสงสี และได้ยินเสียงดังนั้นก็ตกใจกลัววิ่งหนีไป


@@@@@@@

ค่ำคืนการเฝ้าปี โดยทั่วไปทุกคนในครอบครัวจะอยู่พร้อมหน้ากัน มีกิจกรรมบันเทิงแก้ง่วง ผู้ใหญ่บางคนอาจเล่นไฟ บางคนเล่านิทานให้ลูกหลานฟัง หรือตั้งปัญหาให้ทายเล่นลองปัญญา มีน้ำชาและของว่างกินกันไม่ขาดปาก ถ้าเด็กๆ ง่วงก็ให้นอนอยู่รอบตลอดทั้งคืน นอกจากนี้แต่ละท้องถิ่นก็มีกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป

คืน 30 ค่ำ เดือน 12 (ตามจันทรคติจีน) มีชื่อเรียกเฉพาะว่า ฉูซี่ (ภาษาแต้จิ๋วว่า ตื่อเส็ก) แปลว่า “คืนตัด (ปี)” หมายถึงปีเก่าสิ้นสุด หรือถูกตัดลงในตอนเที่ยงของคืนนี้

ช่วงเวลาพิเศษที่ “คืนเดียวมี 2 ปี” ที่คนในครอบครัวนั่งทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ถ้าเป็นสมัยก่อนได้ยินเสียงประทัดดังขึ้นก็รู้ว่า “เฝ้าปี” จนปีใหม่มาถึงแล้ว ปัจจุบันก่อนจะถึงเวลานั้นก็ “เคานต์ดาวน์” กันเหมือนร่วมกัน อวยพรกันสักหน่อย แล้วแยกย้ายไปนอนเถอะ นอนดึกไม่ดีกับสุขภาพ

คลิกอ่านเพิ่ม :-

    • วันจ่าย วันไหว้ วันถือ ในเทศกาล “ตรุษจีน” เป็นวันไหน ทำอะไร
    • ระฆังหย่งเล่อ ระฆังโบราณ น้ำหนัก 46.5 ตัน ที่เสียงดังไกลกว่า 40 กม.
    • ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ ประโยคสุดฮิตในเทศกาลตรุษจีน

หมายเหตุ : บทความนี้เขียนเก็บความจาก ถาวร สิกขโกศล. เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2557.





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : วิภา จิรภาไพศาล
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_126993
154  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “อีสานใต้” เบ้าหลอมทางวัฒนธรรม “ทวารวดี-เขมรโบราณ” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2024, 07:14:42 am
.

จารึกอักษรปัลลวะ บนฐานรูปเคารพ พบที่แหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน จังหวัดร้อยเอ็ด (ภาพจาก เว็บไซต์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด)


“อีสานใต้” เบ้าหลอมทางวัฒนธรรม “ทวารวดี-เขมรโบราณ”

ดินแดน “อีสานใต้” แหล่งกำเนิด Golden Boy เบ้าหลอมทางวัฒนธรรม “ทวารวดี–เขมรโบราณ”

บริเวณ “อีสานใต้” ของประเทศไทย พบร่องรอยความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับบริเวณทะเลสาบเขมรค่อนข้างเด่นชัด นั่นคือ ปราสาทหิน ตลอดจนโบราณสถาน-วัตถุ เนื่องในวัฒนธรรมเขมรโบราณมากมาย

ขณะเดียวกันยังมีร่องรอยวัฒนธรรม “ทวารวดี” จากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปรากฏให้เห็นเช่นกัน อาจกล่าวได้ว่า ในยุคโบราณ พื้นที่อีสานใต้ คือ “เบ้าหลอม” ทางวัฒนธรรม คือมีทั้งวัฒนธรรมทวารวดีและเขมรโบราณ ผสมปนเปกัน และพัฒนาคลี่คลายเป็นวัฒนธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำมูล แหล่งกำเนิดประติมากรรม “โกลเด้นบอย” (Golden Boy) ที่พิพิธภัณฑ์ The MET สหรัฐอเมริกา กำลังจะส่งคืนไทยในเดือนพฤษภาคมนี้

“ศิลปวัฒนธรรม” ร่วมกับ รศ. ดร. ศานติ ภักดีคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกและประวัติศาสตร์กัมพูชา ชวนแกะรอย “โกลเด้นบอย” โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องวัฒนธรรมแรกเริ่มในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง หรือ “อีสานใต้” แหล่งกำเนิดประติมากรรมสำริด “โกลเด้นบอย” ตลอดจนจารึกที่สัมพันธ์กับพื้นที่ดังกล่าว ในฐานะถิ่นฐานของกษัตริย์ราชวงศ์มหิธรปุระ ที่มีบทบาทในการสถาปนาปราสาทสำคัญมากมายในอีสานใต้และที่ลุ่มทะเลสาบเขมร

อาจารย์ศานติเล่าว่า อีสานใต้มีหลักฐานทางโบราณคดี และลายลักษณ์อักษร ที่ชี้ให้เห็นถึงวัฒนธรรมของอาณาจักรเจนละในพื้นที่แถบนี้ โดยเฉพาะศิลาจารึกของพระเจ้าจิตรเสนมเหนทรวรมัน และศิลาจารึกของพระเจ้าภววรมันที่ 2 กษัตริย์อาณาจักรเจนละ ที่มีอายุอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 อาจอนุมานได้ว่า ภาคอีสานเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเจนละมาก่อน

ซึ่งนั่นหมายรวมถึงบริเวณปราสาทบ้านยางโป่งสะเดา อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์ จุดที่พิสูจน์ทราบว่าคือที่ตั้งของ “โกลเด้นบอย” ประติมากรรมสำริด ที่สร้างขึ้นในอีกหลายร้อยปีให้หลัง คือพุทธศตวรรษที่ 16

@@@@@@@

อาจารย์ศานติชี้ให้เห็นว่า ร่องรอยของ อาณาจักรเจนละ โดยเฉพาะการพบจารึกอักษรปัลลวะในอีสานใต้ ถือเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมต้นกำเนิดในพื้นที่แถบนี้ ทั้งนี้ ในยุคโบราณภาคอีสานมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าดินแดนอื่น ๆ เพราะเป็นแหล่งเกลือ และเหล็ก ซึ่งถือเป็นสินค้าสำคัญของโลกยุคโบราณ

กระทั่งต้นพุทธศตวรรษที่ 13 อาณาจักรเจนละแตกออกเป็น 2 ส่วน คือ เจนละบก กับเจนละน้ำ เชื่อว่าบริเวณอีสานใต้คือส่วนหนึ่งของเจนละบก กินอาณาบริเวณตั้งแต่ลาวใต้มาถึงอีสานใต้ มีแคว้นสำคัญคือ “ภวปุระ” ส่วนเจนละน้ำ คือบริเวณลุ่มทะเลสาบเขมรไปจนถึงปากแม่น้ำโขง ได้พัฒนาเป็นอาณาจักรเขมรโบราณสมัยพระนคร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14-15

แต่เจนละบกแตกต่างออกไป อาจารย์ศานติอธิบายว่า ดินแดนเจนละบกในพื้นที่อีสานใต้ไม่มีผู้ปกครองที่มีอำนาจมาก หรือสามารถรวมตัวกันเป็นอาณาจักรรวมศูนย์ ช่วงเวลานี้เองเริ่มมีวัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลางของไทยแพร่เข้ามา ดังปรากฏหลักฐาน เช่น เมืองเสมา ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พบร่องรอยของวัฒนธรรมทวารวดีค่อนข้างเด่นชัด โดยนักวิชาการหลายท่านเชื่อว่า นี่คือเป็นศูนย์กลางรัฐโบราณที่ชื่อ “ศรีจนาศะ”

ทั้งนี้ ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 นี่เอง อาณาจักรเขมรโบราณสมัยพระนครได้แผ่อำนาจขึ้นมายังพื้นที่อีสานใต้อีกครั้ง วัฒนธรรมเขมรโบราณจึงแผ่กลับเข้ามาทับซ้อนกับวัฒนธรรมทวารวดีในพื้นที่ดังกล่าว เมืองต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือยุคนั้นจึงมีทั้งวัฒนธรรมทวารวดี และวัฒนธรรมเขมรโบราณ

@@@@@@@

อย่างไรก็ดี เมืองเสมาถือว่าตนเองเป็นรัฐอิสระ เพราะระบุในจารึกชัดเจนว่าตนอยู่นอก “กัมพุชเทศ” หรืออยู่นอกเขตของกัมพูชาโบราณ

กระทั่งสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณสมัยพระนคร จึงพบหลักฐานการทับซ้อนทางวัฒนธรรมอย่างเด่นชัดในพื้นที่เมืองเสมา คือ จารึกเมืองเสมา ที่กล่าวถึงพราหมณ์ยัชญวราหะ ราชครูในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ได้เข้ามาสร้างและดูแลศาสนสถานในพื้นที่แล้วก็ทำจารึกต่าง ๆ เอาไว้

อิทธิพลทางวัฒนธรรมเขมรโบราณในอีสานใต้หยั่งรากลึกยิ่งขึ้น ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ดังจะเห็นได้จากการสร้าง “ปราสาทพระวิหาร” ของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1

ติดตามเรื่องราวแบบเต็ม ๆ ได้ใน SILPA PODCAST GOLDEN BOY EP.1 “เขมรโบราณ” ถิ่นอีสานใต้ แหล่งกำเนิด “Golden Boy” โดย รศ. ดร. ศานติ ภักดีคำ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 20.00 น. ที่ YouTube : Silpawattanatham

อ่านเพิ่มเติม :-

   • ใครคือ “Golden Boy” ? รู้จักพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ต้นวงศ์มหิธรปุระแห่งพิมาย
   • แกะรอยที่มา “Golden Boy” แบบสืบถึงฐานประติมากรรม ไขตัวตนรูป “พระเชษฐบิดร” แห่งอีสานใต้?
   • “Golden Boy” รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ประติมากรรมสำริด ศิลปะเขมรแบบพิมาย ที่ไทย (เพิ่ง) ได้คืนจากสหรัฐ!





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน: กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 3 กุภาพันธ์ 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_126662
155  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แกะรอยที่มา “Golden Boy” แบบสืบถึงฐานประติมากรรม.! ไขตัวตนรูป “พระเชษฐบิดร” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2024, 07:05:01 am
.



แกะรอยที่มา “Golden Boy” แบบสืบถึงฐานประติมากรรม.! ไขตัวตนรูป “พระเชษฐบิดร” แห่งอีสานใต้.?

เพราะการได้ประติมากรรมทรงคุณค่าอย่าง โกลเด้นบอย (Golden Boy) คืนมายังประเทศไทย ไม่ใช่แค่การมีโบราณวัตถุเพิ่มขึ้นมาหนึ่งชิ้น และสร้างความปิติยินดีให้กับสังคมไทยเท่านั้น ทว่ามีผลต่อการศึกษาและต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่วงการประวัติศาสตร์และโบราณคดีในปัจจุบัน อันจะสืบเนื่องไปยังอนาคต

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ที่หอประชุม อาคารข่าวสด “ศิลปวัฒนธรรม” ในเครือมติชน จัดใหญ่! สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา “ตามหา ‘Golden Boy’ เทพแห่งที่ราบสูง?” มีวิทยากรได้แก่ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ และ ดร. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ โดยมี เอกภัทร์ เชิดธรรมธร เป็นผู้ดำเนินรายการ

สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา “ตามหา ‘Golden Boy’ เทพแห่งที่ราบสูง?” จัดเต็มข้อมูลเด็ดเกี่ยวกับประติมากรรม โกลเด้นบอย มากมาย หลายประเด็นไม่เคยเปิดเผยที่ใดมาก่อน โดยนักวิชาการชั้นนำระดับประเทศ ผู้รู้ลึก รู้จริง ทั้งมีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการติดตามทวงคืนโบราณวัตถุ สมบัติชาติหลายชิ้นในต่างแดน วิทยากรทั้งสองยังแชร์ความรู้ มุมมองต่าง ๆ มากมาย เรียกว่า “ไม่มีกั๊ก” ไล่เรียงตั้งแต่ต้นตอการกำเนิด โกลเด้นบอย ความเกี่ยวข้องกับ “ราชวงศ์มหิธรปุระ” ของเขมรโบราณ จนถึงประสบการณ์โชกโชนด้านการทวงคืนมรดกไทย และการพิสูจน์ว่าประติมากรรม โกลเด้นบอย พบในประเทศไทยจริง ๆ

@@@@@@@

เยือนบ้านยางโป่งสะเดา พิสูจน์ที่ตั้ง “โกลเด้นบอย”

ดร. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักวิชาการอิสระด้านโบราณคดี เริ่มด้วยการแนะนำว่า โกลเด้นบอย (Golden Boy) คือ ประติมากรรมสำริด กะไหล่ทอง แห่งกรุประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ไทยได้คืนจากสหรัฐอเมริกา ภายใต้การครอบครองของ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ เมโทรโปลิทัน (The Metropolitan Museum of Art หรือ The MET) ก่อนหน้านั้น ป้ายอธิบาย โกลเด้นบอย ระบุว่าเป็น “พระศิวะยืน” จากนครวัด เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา ก่อนจะพิสูจน์ทราบกันภายหลังว่า แท้จริงพบที่ประเทศไทย และถูกจำหน่ายไปตั้งแต่ พ.ศ. 2531

ดร. ทนงศักดิ์ กล่าวว่า “ในพิพิธภัณฑ์ MET เขาเขียนว่า ‘อังกอร์ (นครวัด) เสียมเรียบ’ ให้รายละเอียดครบถ้วน จึงไม่เคยต้องสงสัยเลยว่าเป็นของไทยมาก่อน กระทั่งเราพบว่ามีเอกสารของ ดักลาส แลตช์ฟอร์ด ระบุว่า ‘มีประติมากรรมสำคัญพบในประเทศไทย เป็นแบบบาปวน กะไหล่ทอง อยู่ที่ Metropolitan’ อ้างอิงของเอกสารนี้บอกว่า เจอที่บ้านยาง อ. ละหาน และยังมีส่วนฐานหินปรากฏให้เห็นอยู่ ไม่ได้อยู่ในกัมพูชา แปลว่าต้องเป็นของประเทศไทยแน่ ๆ”

ก่อนจะไล่เรียงให้ทราบว่า เราพิสูจน์ได้อย่างไรว่า นี่คือโบราณวัตถุของไทยจริง ๆ



ดร. ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ ใน สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา “ตามหา ‘Golden Boy’ เทพแห่งที่ราบสูง?”

การติดตามหาฐานประติมากรรม โกลเด้นบอย นั้น ดร. ทนงศักดิ์ ค้นคว้าจากหลักฐานมากมาย โดยเฉพาะหนังสืออ้างอิงบันทึกการค้า-ขาย ประติมากรรมชิ้นนี้ มีหลักฐานสำคัญ คือ เอกสารของ ดักลาส แลตช์ฟอร์ด (Douglas A.J. Latchford) นายหน้าค้าโบราณวัตถุ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำประติมากรรมชิ้นนี้ส่งออกนอกประเทศ ทำให้ติดตามจนได้ไปพบปราสาทบ้านยางโป่งสะเดา อ. ละหานทราย จ. บุรีรัมย์

ดร. ทนงศักดิ์ เผยว่า แม้ ดักลาส แลตช์ฟอร์ด จะมีส่วนทำให้มรดกไทยถูกส่งออกไปต่างประเทศจำนวนมาก แต่คุณูปการสำคัญของแลตช์ฟอร์ดคือบันทึกการซื้อ-ขายของเขา กลายเป็นหลักฐานสำคัญในการติดตามที่มาของ โกลเด้นบอย เพราะมีระบุชัด ทั้งที่ตั้ง แหล่งที่พบ ราคาซื้อ ราคาขาย คือมีข้อมูลเกือบทั้งหมดที่เป็นประโยชน์ต่อการติดตาม และเป็นหลักฐานฟ้องร้องดำเนินคดี เพื่อการส่งคืนโบราณวัตถุชิ้นนี้

ที่บ้านยางโป่งสะเดา ดร. ทนงศักดิ์ ได้พบร่องรอยฐานของซากปราสาท รวมถึงร่องรอยฐานหินที่เชื่อว่าเคยเป็นฐานของประติมากรรมมาก่อน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร ดร. ทนงศักดิ์ ได้พูดคุยสอบถาม ครอบครัวคุณเสถียร ชาวบ้านยางโป่งสะเดา ซึ่งคุณเสถียรให้ข้อมูลว่า คุณพ่อของเขาคือคนที่เคยติดต่อกับแลตช์ฟอร์ด และเป็นผู้อนุญาตให้แลตช์ฟอร์ดเช่าบ้านทำเป็นสำนักงานซื้อ-ขายประติมากรรมกรุประโคนชัย

ดร. ทนงศักดิ์ ชี้ว่า เหตุการณ์ที่ทำให้ข้อมูลจากคุณเสถียรมีความน่าเชื่อถือคือ เมื่อเปิดภาพ โกลเด้นบอย ให้เขาดู คุณเสถียรเอ่ยขึ้นทันทีว่า ประติมากรรมนี้มีความสูงราว ๆ 110 ซม. ซึ่งใกล้เคียงกับข้อมูลในหนังสือของแลตช์ฟอร์ดมาก นั่นคือ 105 ซม.

ด้านลูกสาวของคุณเสถียรให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า จำประติมากรรมนี้ได้ดี เพราะเป็นคนล้างทำความสะอาดเอง และยังเผลอทำประติมากรรมชำรุดก่อนซ่อมแซมแล้วส่งขาย รวมถึงชาวบ้านคนอื่น ๆ ก็ช่วยยืนยันข้อมูลที่ตรงกัน เพราะเป็นเรื่องใหญ่ประจำหมู่บ้าน คือพบแล้วขายเลยในคืนเดียว ในสนนราคา 1 ล้านบาท ก่อนจะมีการจัดมหรสพเฉลิมฉลองกันในหมู่บ้านอย่างยิ่งใหญ่ เหล่านี้คือสิ่งยืนยันว่า โกลเด้นบอย พบในไทย ที่บ้านยางโป่งสะเดานี่แหละ!

สำหรับทฤษฎีที่ว่า โกลเด้นบอยไม่น่าและไม่ควรเป็น “พระศิวะ” ตามป้ายกำกับของ The MET ดร. ทนงศักดิ์ ชี้แจงว่า ตัวโกลเด้นบอย ไม่มีสัญลักษณ์ใด ๆ บ่งบอกว่าเป็นพระศิวะเลย และไม่น่าใช่เทพทวารบาลด้วย น่าจะเป็น พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 มากกว่า

การศึกษาตัวตนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 แห่งวงศ์มหิธรปุระ มีจารึกจำนวนหนึ่งที่เอ่ยถึงพระองค์ เช่น จารึก K384 ที่กล่าวถึงบรรพบุรุษของพระองค์ว่า อยู่ที่ กษิตินทราคราม (บ้างสะกด กษิตินทราคาม) ซึ่งนักวิชาการค้นหากันมานานแล้วว่าอยู่ที่ไหน หากโกลเด้นบอย คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 จึงเป็นไปได้ว่า ปราสาทบ้านยางโป่งสะเดา คือกษิตินทราคราม

รวมถึงจารึกที่พนมซ็อนดอก ที่เล่าถึงเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เสด็จขึ้นครองราชย์ โดยมีราชครูศรีทิวากรบัณฑิตเป็นผู้ประกอบพิธีราชาภิเษก ช่วยยืนยันว่า พระองค์มีตัวตนอยู่จริง และมีพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1 ครองราชย์ต่อจากพระองค์ จากนั้นจึงเป็นพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งกับปราสาทนครวัด ทั้งหมดล้วนเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ วงศ์วานของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6

ดร. ทนงศักดิ์ ยังชี้ให้เห็นด้วยว่า ความโดดเด่นของโกลเด้นบอยและปราสาทพิมาย ล้วนเป็นตัวแทนของศิลปะเฉพาะตัว ที่ไม่ใช่ทั้งศิลปะแบบบาปวนและศิลปะแบบนครวัด คือเป็น “ศิลปะแบบพิมาย” จากหลักฐานทางศิลปกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะผังปราสาท ที่ศาสตราจารย์ฌ็อง บัวเซอลีเยร์ เคยให้ข้อสังเกตไว้ว่าเป็นต้นแบบก่อนการสร้าง “ปราสาทนครวัด” ด้วย

@@@@@@@

“โกลเด้นบอย” ผีบรรพชนแห่งกษิตินทราคราม

ก่อนที่ ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และโบราณคดี จะเริ่มพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับ โกลเด้นบอย ว่าเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 จริงหรือ ในเรื่องนี้เขายืนยันว่า “จริงแท้แน่นอน”

ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้เกริ่นถึงเรื่องราวต้นกำเนิดของ โกลเด้นบอย ก่อนว่า ประติมากรรมชิ้นนี้เป็นพระเชษฐบิดรของราชวงศ์มหิธรปุระ หรือแปลง่าย ๆ คือ ผีบรรพชน สิ่งที่สามารถบอกได้ว่า ประติมากรรมล้ำค่าชิ้นนี้เป็น “พระเจ้าชัยวรมันที่ 6” มีเหตุผลหลัก ๆ 3 ประการ ได้แก่

ประการแรกคือ “รูปแบบที่ตั้ง” จะเห็นว่าสถานที่ค้นพบ โกลเด้นบอย คือ ปราสาทบ้านยางโป่งสะเดา อ. ละหานทราย จ. บุรีรัมย์ มีการสันนิษฐานว่า พื้นที่แถบนี้เป็นศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์มหิธรปุระ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ก็เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ ทั้งอาณาบริเวณดังกล่าว ยังปรากฏประติมากรรมมากมาย ที่อยู่ในกลุ่มประติมากรรมสำริดแบบ “ประโคนชัย” โดยได้รับอิทธิพลแบบพุทธมหายาน เช่น ปราสาทเขาปลายบัดที่ 2 ซึ่งห่างกันเพียงแค่ 5 กิโลเมตร โดยเจอประติมากรรมรูปแบบเดียวกันกว่า 100 ชิ้น

หากเชื่อมโยงกับเหตุผลที่ 2 คือ “รูปแบบศาสนา” พื้นที่ตรงนั้นได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธมหายานอย่างมาก มีมาก่อนโกลเด้นบอยและราชวงศ์มหิธรปุระด้วยซ้ำ โดยศิริพจน์ได้ยกหลักฐานบันทึกของภิกษุ ที่อินเดีย โดยอดีตเป็นเจ้าชายมาออกบวช ในบันทึกเขาเรียกตัวเองว่า ปุณโยทยะ ซึ่งบันทึกดังกล่าวอยู่ในช่วงเดียวกับพระถังซัมจั๋ง ในช่วงนั้นพระพุทธศาสนากำลังแพร่หลายและมีหลากนิกายมาก

ภิกษุรูปนี้ก็ได้นำนิกายที่ตนเองนับถือ นั่นคือ นิกายโยคาจาร ไปแพร่หลายที่จีน เนื่องจากตอนนั้นจีนก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่พระพุทธศาสนาได้รับความนิยม โดยเฉพาะนิกายมหายาน แต่ขณะที่จะไปถึงจุดหมายเขาได้หยุดพักที่ “เจนละบก” หรือปัจจุบันคืออีสานใต้ และถ่ายทอดนิกายของตนเอง ก่อนที่จะเดินทางไปยังจีนต่อ

ทว่าการเผยแพร่ศาสนาพุทธ นิกายดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จในจีน เขาจึงเดินทางกลับมายังเจนละบกอีกครั้ง และพบว่าพระพุทธศาสนานิกายโยคาจารได้รับความนิยมอย่างมาก

ตรงนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้เพิ่มเติมไว้ว่า คนที่รับพุทธศาสนาดังกล่าว ไม่ใช่ชาวบ้านทั่วไป เพราะชาวบ้านยังคงหาเลี้ยงชีพตามปกติ แต่คนที่รับและเรียนรู้แนวคิดดังกล่าว น่าจะเป็นกลุ่มนักเรียนสงฆ์ในวิทยาลัย

เพราะในศรีเทพ ซึ่งเป็นหนึ่งเส้นทางที่เกี่ยวข้องและมีเครือข่ายกับแถวอีสานใต้ก็ปรากฏ “เขาคลังใน” ที่นักวิชาการคาดว่า อาจเป็นวิทยาลัยสงฆ์ เหมือนกับที่มหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย แสดงให้เห็นว่าพระพุทธศาสนา แบบมหายาน เจริญรุ่งเรืองในพื้นที่แถบนั้นมาก

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งหลักฐานด้านศาสนา ที่สามารถเชื่อมโยงได้ว่า “โกลเด้นบอย” คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 เพราะพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางอำนาจของราชวงศ์มหิธรปุระนั้นเต็มไปด้วยความเลื่อมใสเกี่ยวกับพุทธศาสนา แบบมหายาน ซึ่งเชื่อมโยงกับประติมากรรมแบบประโคนชัย ที่แสดงให้เห็นถึงนิกายดังกล่าว ทั้งยังมีหลักฐานที่อาจบอกได้ว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 นับถือนิกายดังกล่าว จากจารึกหลักหนึ่ง ซึ่งศิริพจน์กล่าวไว้ว่า

“…มันมีจารึก ที่ตัวของ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน…”



ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ใน สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา “ตามหา ‘Golden Boy’ เทพแห่งที่ราบสูง?”

อย่างสุดท้ายที่สามารถบอกได้ว่า ประติมากรรมอันงดงามนี้ เป็นรูปแทนกษัตริย์แห่งลุ่มแม่น้ำมูล คือ เทคโนโลยีและรูปแบบการผลิต เพราะเมื่อเทียบกับประติมากรรมชิ้นอื่น ๆ ในกลุ่มประโคนชัย ที่พบในแถบใกล้ ๆ กัน จะเห็นว่ามีการหล่อด้วยเทคนิคแบบเดียวกัน ซึ่งเป็นแบบพิเศษเฉพาะในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ก่อนที่ศิริพจน์จะพูดถึง ความสำคัญของ “โกลเด้นบอย” โดยเขาเชื่อว่าประติมากรรมชิ้นนี้เชื่อมโยงกับความเชื่อ “พระเชษฐบิดร” หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “ผีบรรพชน” ซึ่งมีความสำคัญมาก ๆ และแสดงให้เห็นถึงนัยยะสำคัญบางอย่าง โดยเฉพาะเมื่อเราได้ทราบว่าเดิมถูกตั้งไว้ที่ “ปราสาทบ้านยาง” ดังที่กล่าวไว้ว่า

“ในโลกโบราณของ Southeast Asia เราไม่ทำรูปเหมือนบุคคล…นึกถึงสมัยปลาย ร.3 กล้องถ่ายรูปเข้ามาในสยามใช่ไหมครับ คนไม่กล้าถ่ายรูป เพราะว่าถ่ายออกมามันเหมือนเกินไป วิญญาณมันโดนดูด เพราะฉะนั้นจึงไม่ทำรูปเหมือนกันในโลกโบราณ

การทำรูปเหมือนจึงเพื่อให้วิญญาณหรือว่าพลังงานในตัวของคนไปสถิตในนั้น ก็คือพลังของกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ ก็จะไปสถิตตรงนี้ กลายมาเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ‘พระเชษฐบิดร’ คือผีบรรพชน แล้วตามคติโบราณ…พระเชษฐบิดรรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้เป็นปัจเจก

เพราะฉะนั้น การเจอรูปบุคคลที่น่าจะเป็นกษัตริย์ อยู่ที่ปราสาทตรงนี้ มันเลยน่าสนใจ”

ซึ่งความเชื่อนี้ก็ได้เชื่อมโยงไปถึงเหตุที่หลายคนสงสัยกันว่าทำไม “โกลเด้นบอย” ถึงได้มาประดิษฐานที่ปราสาทบ้านยางโป่งสะเดา โดยศิริพจน์ก็ให้เหตุผลว่า เหตุที่ทำให้ประติมากรรมชิ้นนี้อยู่ที่ปราสาทแห่งนี้ เนื่องจากเขาสันนิษฐานว่า ปราสาทบ้านยางเป็นกษิตินทราคราม กล่าวคือเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6

เมื่อต้องการให้พื้นที่นี้มีความสำคัญ จึงต้องนำรูปสนองพระองค์ของบรรพชนมาตั้งไว้ตรงนี้ ซึ่งการกระทำเช่นนี้ก็ปรากฏอยู่ในหลายที่ เช่น ที่วัดพุทไธศวรรย์ จ. พระนครศรีอยุธยา ปราสาทพระเทพบิดร กรุงเทพฯ เป็นต้น

และสรุปประเด็นนี้ไว้สั้น ๆ แต่น่าสนใจว่า “เพราะฉะนั้นการที่เขาทำรูปโกลเด้นบอย ไปตั้งอยู่ที่บ้านยาง เพราะว่ามันเป็นกษิตินทราคราม คือถิ่นฐานดั้งเดิมของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6…การประดิษฐานรูปไหนไว้ตรงไหนมันมีนัยยะของตัวมันเอง นี่จึงเป็นสิ่งที่อยากเสนอว่าโกลเด้นบอยสำคัญมาก…แปลว่านี่คือรูปเชษฐบิดรของราชวงศ์ที่ไปสร้าง 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก อย่าง นครวัด นี่คือต้นวงศ์ของคนที่ไปสร้างตัวของเมืองนครธม ก็คือ เมืองนครหลวงที่เจ้าสามพระยาไปตี ซึ่งมันคือปราสาท 2 หลังที่ใหญ่ที่สุดของวัฒนธรรมเขมรโบราณ”

@@@@@@@

สังคมไทย ได้อะไรจาก “โกลเด้นบอย”

หลังจากพูดคุยกันมาอย่างจุใจ ก็ถึงเวลาที่จะต้องเข้าคำถามสุดท้าย โดย เอกภัทร์ เชิดธรรมธร ได้ถามไว้ว่า หลังจากที่ประเทศไทยได้ประติมากรรมชิ้นนี้กลับมา เราได้อะไรจากประติมากรรมชิ้นนี้ และควรจะจัดการอย่างไรเพื่อแสดงออกถึงคุณค่าในการกลับมาครั้งนี้บ้าง

ดร. ทนงศักดิ์ ให้ความเห็นเรื่องคุณค่าของโกลเด้นบอย ว่า

“หลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นนี้เป็นสิ่งที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ (ไทย-กัมพูชา) ที่แบ่งพรมแดนแล้ว ได้ค่อนข้างดีมาก เป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าวัฒนธรรมเขมรในอดีตมีพัฒนาการทางสังคมยังไง มันเกิดขึ้นในที่ราบสูงโคราช ก่อนแผ่ลงไปทางที่ลุ่มโตนเลสาบ เราเรียนวัฒนธรรมเขมรมักจะถูกสอนว่าวัฒนธรรมเขมรแผ่จากข้างล่างขึ้นมาข้างบนเสมอ เราไม่เคยนึกเลยว่าครั้งหนึ่งความยิ่งใหญ่ของตัววัฒนธรรมจะเกิดขึ้นบนที่ราบสูงแล้วแผ่ลงข้างล่าง ซึ่งหลักฐานนี้ (โกลเด้นบอย และปราสาทพิมาย) เป็นตัวยืนยันที่ดีมาก”

ส่วนศิริพจน์ให้ความเห็นเรื่องการสานต่อประติมากรรมชิ้นนี้ ว่า

“อย่างแรกคือ เวลาที่เราได้โบราณวัตถุ ไม่ใช่การจัดแสดงอย่างเดียว สิ่งที่มันสำคัญกว่าคือการผลิตชุดความรู้ แล้วก็เผยแพร่ออกไป การผลิตชุดความรู้ในที่นี้สามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ใช่แค่จัดเสวนา ทุกวันนี้โลกอินเทอร์เน็ตไปถึงไหนแล้ว ทำอะไรที่คนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ๆ แล้วก็เผยแพร่ไป อาจจะพ่วงเรื่องเศรษฐกิจเข้ามา ในเมื่อมันมาจากบ้านยาง…มันทำอะไรจากตรงนี้ได้…เราควรที่จะผลิตคอนเทนต์มา และหาวิธีในการจัดการคอนเทนต์นั้น ทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ชุมชนรอบ ๆ”

ชมย้อนหลัง สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา “ตามหา ‘Golden Boy’ เทพแห่งที่ราบสูง?” เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 แบบเต็มอิ่มกว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ณ หอประชุม อาคารข่าวสด ได้ที่นี่ :-
https://www.facebook.com/watch/live/?ref=watch_permalink&v=714225144023023&t=17

อ่านเพิ่มเติม :-

    • ปริศนา “ประติมากรรมสตรี” พนมมือไหว้ใคร เกี่ยวข้องกับ “Golden Boy” หรือไม่!?
    • ของหายต้องได้คืน! ประเทศไทยเคยได้โบราณวัตถุชิ้นไหนคืนอีกบ้าง นอกจาก “Golden Boy”?
    • “Golden Boy” รูปพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ประติมากรรมสำริด ศิลปะเขมรแบบพิมาย ที่ไทย (เพิ่ง) ได้คืนจากสหรัฐ!





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : ธนกฤต ก้องเวหา และ ปดิวลดา บวรศักดิ์
เผยแพร่ : วันพฤหัสที่ 25 มกราคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 25 มกราคม 2567
URL : https://www.silpa-mag.com/on-view/art-and-culture-club/article_126137
156  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กาฬสินธุ์ พร้อมจัดเต็ม ประเพณีเทศกาลมาฆปูรณมีบูชา ทะเลธุงอีสาน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2024, 06:29:18 am
.



กาฬสินธุ์ พร้อมจัดเต็ม ประเพณีเทศกาลมาฆปูรณมีบูชา ทะเลธุงอีสาน

จังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแถลงข่าวความพร้อมจัดใหญ่ จัดเต็มงานประเพณีเทศกาลมาฆปูรณมีบูชา ทะเลธุงอีสาน ประจำปี 2567 เดินหน้าส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองฟ้าแดดสงยาง สืบสานประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้สู่ชุมชน

ที่โบราณสถานเมืองฟ้าแดดสงยางพระธาตุยาคู ต.หนองแปน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานการแถลงข่าวความพร้อมการจัดงานประเพณีเทศกาลมาฆปูรณมีบูชา ทะเลธุงอีสาน จ.กาฬสินธุ์ ประจำปี 2567

โดยมีนายธวัชชัย รอดงาม นายธนภัทร ณ ระนอง นายรุจติศักดิ์ รังษี รองผู้ว่าราชการ จ.กาฬสินธุ์, นายผดุงศักดิ์ อิ่มเอิบ ปลัด จ.กาฬสินธุ์, นางเฉลิมขวัญ หล่อตระกูล นายก อบจ.กาฬสินธุ์, นางศิรดา มะลาสาย วัฒนธรรม จ.กาฬสินธุ์, พ.จ.ต.สำเนียง หวังเจริญ ท้องถิ่น จ.กาฬสินธุ์, นายพุทธภูมิ นาชัยเริ่ม นายอำเภอกมลาไสย, นางไคริกา ศิรประภาเดโช ประชาสัมพันธ์ จ.กาฬสินธุ์, หัวหน้าส่วนราชการ และสื่อมวลชน มาร่วมงานด้วย




สำหรับงานประเพณีเทศกาลมาฆปูรณมีบูชา ทะเลธุงอีสาน จ.กาฬสินธุ์ ประจำปี 2567 ครั้งนี้ จ.กาฬสินธุ์ร่วมกับทุกภาคส่วนจัดขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง ส่งเสริมเทศกาลงานประเพณีของจังหวัด สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้ให้กับชุมชน และสร้างความร่วมมือส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์กับจังหวัดใกล้เคียงได้ร่วมอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

โดยปีนี้มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-25 กุมภาพันธ์ 2567 ที่บริเวณโบราณสถานเมืองฟ้าแดดสงยางพระธาตุยาคู ต.หนองแปน อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ในงานมีกิจกรรม พิธีอัญเชิญพระอุปคุต, พิธีบวงสรวงพระธาตุยาคู, การรำบูชาพระธาตุยาคู, ขบวนแห่สักการะพระธาตุยาคู, กิจกรรมทะเลธุง, สาธิตการทำธุง, การแสดงแสง สี เสียง มินิไลต์แอนด์ซาวด์, การแสดงแบบผ้าไทย, การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน, พิธีทำบุญตักบาตร เวียนเทียน, ตลาดนัดโบราณ และเฮือนโบราณ 18 หลัง เหมือนกับทุกปีที่ผ่านมา




ทั้งนี้จะมีความพิเศษตรงที่ได้มีการเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้ร่วมถวายธุง เพื่อสักการะแด่องค์พระธาตุยาคู และการจัดทะเลธุงในปีนี้ จะมีการนำต้นธุงที่เป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นสีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเรียงกันเป็นเลข 10 และนำต้นธุงที่เป็นสีม่วง ซึ่งเป็นสีของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี มาเรียงไว้รอบๆ ส่วนบริเวณรอบนอกไปกว่านั้น จะเป็นธุงหลากสี ตามความชอบและความสะดวกของผู้มีจิตศรัทธาที่มาร่วมถวายธุง



นายสนั่น พงษ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า พระธาตุยาคูเป็นเหมือนศูนย์รวมใจของชาวกาฬสินธุ์ หรือจะเรียกว่าศูนย์รวมใจของชาวอีสานก็ว่าได้ พวกเราชาวกาฬสินธุ์จึงรวมใจเป็นหนึ่งเดียวในการทำพิธีเพื่อสักการบูชาองค์พระธาตุยาคู และธุงก็มีความเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติในพุทธกาล จึงอยากจะเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกท่านมาร่วมสักการบูชา และร่วมรับชมความงดงามของทะเลธุงที่กำลังจะจัดขึ้นในครั้งนี้





Thank to : https://www.dailynews.co.th/news/3144226/
4 กุมภาพันธ์ 2567 > 15:50 น. > ท้องถิ่น   
157  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผ่าความคิดพวก "คบซ้อน" จิตแพทย์ เผย สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนๆ กัน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2024, 06:23:54 am
,



ผ่าความคิดพวก "คบซ้อน" จิตแพทย์ เผย สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนๆ กัน

คบซ้อน นอกใจ โลกหลายใบ กลุ่มคนที่มีลักษณะพฤติกรรมแบบนี้เกิดจากสาเหตุใดในมุมมองของจิตแพทย์ สิ่งหนึ่งที่พวกเขามีเหมือนๆ กัน

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เคยเผยถึงความนึกคิดของกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการ คบซ้อน ว่า

คนเราเวลามีสัมพันธภาพกับใคร ต้องการให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน หากเราต้องการได้รับสิ่งเหล่านี้ก็ต้องทำในสิ่งเดียวกัน โดยต้องรู้จักใช้ สมองส่วนคิด ควบคุมความอยาก

การคบกันเราสามารถจะมีใจไขว้เขวได้จาก สมองส่วนอยาก แต่เราสามารถยับยั้งพฤติกรรมเหล่านี้ได้ด้วยการใช้สมองส่วนคิด รู้สึกได้แต่ไม่ทำ เพราะสมองส่วนคิดมีความเข้มแข็งมากกว่า

@@@@@@@

อย่างไรตาม การที่เกิดเหตุการณ์การ คบซ้อน เป็นเพราะเราใช้แต่สมองส่วนอยาก ไม่ได้มีการใคร่ครวญ ผู้ที่ทำเพราะคิดว่าตัวเองมีสิทธิ แต่ลืมคิดว่าหากเป็นตัวเอง อยากให้การคบโดยคบเราเป็นทางเลือก หรือไม่?

   "การที่ใช้ความคิดตามใจเราเอง มันก็จะมีปัญหาได้ ถึงแม้จะคบเป็น 10 ปีก็มีปัญหาได้ เพราะไม่มีความลับในโลก ความรักนั้นไม่ได้รักกันเพียงปีหรือ 2 ปี แต่เป็นสัมพันธภาพที่ยืนยาวซึ่งไม่ได้อยู่ที่ความหวานชื่น แต่ตัวที่สำคัญ คือ มีความผูกพัน และมีความรับผิดชอบ แต่ความรู้สึกที่พิศวาสความรักหวานชื่นเป็นความรักส่วนอยาก แต่ความยั่งยืน คือ ความรักที่ทุกคนใฝ่ฝัน ซึ่งจะมาจากความผูกพันและความรับผิดชอบ ที่ต้องมาจากสมองส่วนคิดเป็นหลัก รู้จักมองใจเขาใจเรา มองระยะยาว ก็จะได้ข้อคิดสำหรับตัวเองมากขึ้น"


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

    • รู้จักกฎหมายฟ้องชู้ เปิด 10 หลักเกณฑ์พิจารณาการเรียกค่าทดแทน





Thank to : https://www.amarintv.com/article/detail/59183
4 ก.พ. 67 | Powered by สุขภาพและความงาม
158  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / บ้านนอกคอกนา หรือ บ้านนอกขอกนา? “ขอก” หรือ “คอก” กันแน่!? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2024, 06:17:06 am
.

ภาพถ่ายหน้าโรงเรียนประชาบาลตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อ ค.ศ. 1936 (ภาพจาก University of Wisconsin-Milwaukee Libraries)


บ้านนอกคอกนา หรือ บ้านนอกขอกนา “ขอก” หรือ “คอก” กันแน่.!?

เมื่อชูชกถูกเหล่าหมาของเจตบุตรไล่ขึ้นไปอยู่บนคาคบไม้ และเกลี้ยกล่อมจนเห็นเจตบุตรลังเลไม่ลั่นหน้าไม้แน่แล้ว จึงร้องสำทับไปว่า “เฮ้ย ๆ อ้ายชาวป่าหน้าบ้านนอก กูจะบอกคดี…”

ข้อความนี้ได้สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของชาวเมือง ที่มีต่อชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลเป็นอย่างดี และไม่เท่านั้น แม้ในระหว่างชนชั้นปกครองกันเอง ก็ยังมีความรู้สึกหยามเหยียดกันตามอำนาจหรืออิทธิพลที่ต่างคิดว่าตนมี ดังเช่นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชหัตถเลขาถึงพระยาสุรวงศ์วัยวัฒน์ เมื่อทรงทราบถึงท่าทีของชาติตะวันตก มีความตอนหนึ่งว่า

“ทั้งนี้ก็เพราะมันไม่ได้นับถือเรา ว่าเป็นมนุษย์เหมือนตัวมันพวกมัน…ทั้งฝรั่งเศสแลอังกฤษ ก็คงคิดว่าเราเป็นสัตว์ สำหรับพวกมันจะแทะและแล่เถือ หรือหลอกใช้แรงดังโคกระบือ…การที่แหลมมาเป็นคำอังกฤษว่า new situation of your majesty’s kingdom นี้ว่ากระไร ดูเหมือนจะว่า จะต้องจัดเขตแดนแผ่นดินสยามเสียใหม่มิใช่หรือ…ล้วนเป็นแต่ท่วงทีมนุษย์ทำแก่สัตว์ดิรัจฉาน หรือสำนวนชาวเมืองชาวบ้าน พูดแก่คนเถื่อนคนป่า“

สำนวน “ชาวเมืองชาวบ้านพูดแก่คนเถื่อนคนป่า” เป็นเรื่องความรู้สึกที่ออกมาเป็นคำพูด เป็นลักษณะดูถูกหรือดูหมิ่นหยามกันทางฐานะและความใกล้ชิดศูนย์อำนาจ คือเห็นว่าคนบ้านนอกขัดหูขัดตาน่ารำคาญ

ความรู้สึกทำนองนี้คงจะมีกันในทุกชาติ ทุกภาษา บางสังคมถึงกับแยกชนชั้นกันทางสายเลือดก็ยังมี ว่าจำเพาะในสังคมไทย มีสำนวนภาษาอยู่จำนวนหนึ่ง ที่เห็นร่องรอยลักษณะดังกล่าวนี้

@@@@@@@

ที่ชัดเจนหมดจดจริง ๆ คือสำนวน “บ้านนอกขอกนา” อันเป็นสำนวนสี่คำที่สัมผัสคู่กลาง อาจใช้ได้ทั้งในความหมายเหยียดหยันและเห็นอกเห็นใจ

ขอกนั้นแปลว่าเขต ว่าริม เคยใช้กันอย่างแพร่หลายในสังคมคนไทย ดังเช่นในบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ตอนพระสังข์เลียบเมือง เมื่อเสด็จเข้ามาใกล้ท้าวยศวิมลและนางจันท์เทวี ซึ่งแปลงเป็นชาวบ้าน “ลืมตัว กลัวเกรงภูวไนย ลุกยืนขึ้นได้ตั้งใจดู” พวกเกณฑ์ตกใจ รีบกรูเข้าเงื้อง่าหวายหมายจะเฆี่ยนตี พระสังข์ตรัสห้ามว่า

    ช่างเถิดเสนาอย่าวุ่นวาย
    ตายายชาวบ้านนอกขอกนา

ในนิราศพระประธมของท่าสุนทรภู่ ตอนเดินทางถึงบ้านโพเตี้ย กล่าวถึงศาลเจ้าที่มีคนทรงชักจูงให้ชาวบ้านลุ่มหลงเพราะอยู่ห่างไกลเจ้านายว่า

    แต่บ้านนอกขอกนาอยู่ป่าเขา
    ไม่มีเจ้านายจึงต้องพึ่งผี

ครับ มันเป็นอย่างนี้ คำว่า ขอก ทั้งเสียงและความหมาย ใกล้เคียงกับคำว่า คอก ที่คนไทยรู้จักกันดี และมีลักษณะเป็นรูปธรรมให้เห็นได้ สำนวนนี้จึงกลายเป็น “บ้านนอกคอกนา” ดังเช่นในเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนพระพิจิตรต่อว่าไวยที่ทุบตีศรีมาลา ความว่า

    แต่แรกเริ่มเดิมนั้นได้สัญญา
    ว่าลูกข้ามันไม่สู้รู้อะไร
    ด้วยเป็นชาวบ้านนอกคอกนา
    กิริยาพาทีหาดีไม่

เป็นอันว่า โดยคำแล้วสำนวนนี้มีทั้ง “ขอก” และ “คอก”


@@@@@@@

อ่านเพิ่มเติม :-

    • อัตลักษณ์ราษฎร ในทัศนะของกรมพระยาดำรงฯ
    • ภาพของ “เมือง” ในวรรณกรรมหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หมายเหตุ : คัดลอกเนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความ“บ้านนอกขอกนา กะลาเลี่ยมทอง”เขียนโดย ล้อม เพ็งแก้ว ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2546






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม 2546
ผู้เขียน : ล้อม เพ็งแก้ว
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 18 กันยายน 2561
URL : https://www.silpa-mag.com/culture/article_20376?utm_source=msn_news&utm_medium=footer_click
159  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โคทัตตเถรคาถา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2024, 08:50:37 am
.



พระโคทัตตเถระ

ว่าด้วย : ผู้ไม่ติดอยู่ในโลก
เหตุการณ์ : บุพกรรมและคาถาสุภาษิตของพระโคทัตตเถระ

ท่านพระโคทัตตเถระได้กระทำบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน สั่งสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลแห่งพ่อค้าเกวียนในกรุงสาวัตถี ชื่อว่าโคทัตตะ เมื่อท่านเจริญวัยแล้ว บิดาของท่านตายลง ท่านจึงรวบรวมทรัพย์เอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้า ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ เลี้ยงชีพด้วยการค้าขาย กระทำบุญตามกำลังสมบัติ

วันหนึ่ง เมื่อโคที่เทียมแอกไว้ไม่สามารถลากเกวียนไปได้ ท่านจึงแทงโคนั้นที่หางอย่างแรง โคนั้นโกรธ กล่าวว่าโคลากเกวียนของท่านไปอย่างเต็มกำลังตลอดมา แต่วันนี้ท่านทำร้ายอย่างรุนแรง เพราะเหตุที่โคไม่อาจลากเกวียนนี้ไปได้ ถ้าโคตายจากอัตภาพนี้แล้ว จะขอตามเบียดเบียนท่านในอัตภาพหน้า เมื่อโคทัตตะได้ฟังจึงคิดว่าการเลี้ยงชีพด้วยการเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายจะมีประโยชน์อะไรท่านเกิดความสังเวช ละสมบัติทั้งหมด บวชในสำนักของพระมหาเถระรูปหนึ่ง บำเพ็ญวิปัสสนากรรม ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ยับยั้งอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติ

วันหนึ่งจึงปรารภโลกธรรมของหมู่พระอริยะ ผู้เป็นคฤหัสถ์และบรรพชิต ผู้มายังสำนักของตน เมื่อจะแสดงธรรม จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

@@@@@@@

โคทัตตเถรคาถา คาถาสุภาษิตของพระโคทัตตเถระ

โคอาชาไนยที่ดีอันเขาเทียมแล้วที่แอกเกวียน ไปได้ไม่ย่อท้อต่อภาระอันหนัก ไม่ทอดทิ้งเกวียนอันเขาเทียมแล้ว แม้ฉันใด บุคคลเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา เหมือนมหาสมุทรอันเต็มด้วยน้ำ บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ดูหมิ่นผู้อื่น ฉันนั้น ย่อมเป็นดังอริยธรรมของสัตว์ทั้งหลาย

นรชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของเวลา ตกอยู่ในอำนาจของภพน้อยภพใหญ่ ย่อมเข้าถึงความทุกข์และต้องเศร้าโศก

คนพาลไม่พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ย่อมเดือดร้อนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ
    มีใจฟูขึ้นเพราะเหตุแห่งสุข ๑
    มีใจฟุบลง เพราะเหตุแห่งทุกข์ ๑

ชนเหล่าใดก้าวล่วงตัณหาเครื่องร้อยรัดในทุกขเวทนา ในสุขเวทนา และในอทุกขมสุขเวทนา ชนเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวเหมือนเสาเขื่อน เป็นผู้ไม่ฟูขึ้นและฟุบลง ชนเหล่านั้นย่อมไม่ติดอยู่ในลาภ ความเสื่อมลาภ ในยศ การเสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ทั้งหมด ดังหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว ฉะนั้น

    • นักปราชญ์ทั้งหลายมีความสุข และได้ชัยชนะในที่ทุกแห่งไป การไม่ได้ลาภโดยชอบธรรมกับการได้ลาภโดยไม่ชอบธรรม ทั้งสองอย่างนี้ การไม่ได้ลาภอันชอบธรรมประเสริฐกว่า การได้ลาภอันไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร

    • คนไม่มีความรู้ มียศ กับคนมีความรู้ แต่ไม่มียศ คนมีความรู้ไม่มียศประเสริฐกว่า คนไม่มีความรู้มียศจะประเสริฐอะไร

    • การสรรเสริญจากคนพาล กับการติเตียนจากนักปราชญ์ การติเตียนจากนักปราชญ์ประเสริฐกว่า การสรรเสริญจากคนพาลจะประเสริฐอะไร

    • ความสุขอันเกิดจากกามคุณ กับความทุกข์อันเกิดจากวิเวก ความทุกข์อันเกิดจากวิเวกประเสริฐกว่า ความสุขอันเกิดจากกามคุณจะประเสริฐอะไร

    • ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรม กับความตายโดยธรรม ความตายโดยธรรมประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่โดยไม่ชอบธรรมจะประเสริฐอะไร


@@@@@@@

ชนเหล่าใดละกามและความโกรธได้แล้ว มีจิตสงบระงับเที่ยวไป ในภพน้อยภพใหญ่ ไม่ติดอยู่ในโลก ชนเหล่านั้นไม่มีความรักความชัง

บุคคลเจริญโพชฌงค์ ๗ อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ แล้วบรรลุถึงความสงบอันยอดเยี่ยม หาอาสวะมิได้ ย่อมปรินิพพาน

 

 

 
ขอขอบคุณ :-
ที่มา : แสงธรรมแห่งพระไตรปิฎก
อ้างอิง : โคทัตตเถรคาถา พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๖ ข้อที่ ๓๘๒
URL : https://uttayarndham.org/node/5048
image by : https://uttayarndham.org/dhama-daily
160  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ว่อนเน็ต.! คำสั่งปลด.!! ไวยาวัจกรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2024, 08:32:52 am
.



ว่อนเน็ต.! คำสั่งปลด.!! ไวยาวัจกรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วันที่ 4 ก.พ. 67 พระธรรมวชิรโสภณ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร ลงนามปลดไวยาวัจกร ดังมีรายละเอียดว่า ด้วย ปรากฏว่ามีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการยักยอกเงินวัดของพระธาตุพนม และสำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้เข้ามาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนดังกล่าว เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในกาบริหารด้านการเงินและผลประโยชน์ของวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร โปร่งใส ตรวจสอบได้

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 37,38 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 , 2547 และ พ.ศ.2561 จึงให้ไวยาวัจกรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ที่ได้รับแต่งตั้งตามคำสั่งวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ที่ 31/2566 ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 หยุดปฎิบัติหน้าที่ในทุกตำแหน่ง โดยมีรายชื่อดังนี้

    1. นายสุคนธ์ พรหมศิริ
    2. นายพัฒนา อุธิโย
    3. นายสมพล ดีล้น และ
    4. นายวิวัฒนชัย คงเพชร 

ทั้งนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้น สั่ง ณ วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567  พระธรรมวชิโสภณ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม วรมหาวิหาร






สำหรับปัญหาวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหารมีปัญหาเกี่ยวกับผลประโยชน์แอบอ้างเป็นกรรมการวัด ฉวยโอกาสตั้งแผงปล่อยให้พ่อค้าแม่ค้าเช่า เก็บเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง แถมออกใบเสร็จเป็นตั๋วผีอ้างนำเงินเข้าวัด ตรวจสอบพบมีกรรมการวัดบางกลุ่มรู้เห็นด้วย เมื่อกลางปีที่ผ่านมา เคยมคำสั่งปลดกรรมการวัดชุดเก่าทั้งหมด เพื่อล้างระบบเก่า จัดระเบียบใหม่ แก้ไขปัญหา

โดยพระธรรมวชิรโสภณ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เคยมีคำสั่งแต่งตั้ง ทนายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิกองทัพธรรมเป็นไวยาวัจกรวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อีกทั้งเป็นประธานบริหารดูแลผลประโยชน์ทั้งภายนอกและภายในวัด เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบ ในการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกด้วย








Thank to : https://thebuddh.com/?p=77150
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 706