ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนที่ชอบด่าว่าคนอื่นโดยไร้เหตุผลจะได้รับกรรมอย่างไรบ้าง  (อ่าน 16831 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 เนื่องจากว่าจารวีได้รู้จักคนๆหนึ่งซึ่งเห็นแล้วไม่ค่อยถูกชะตา เนื่องจากว่าดูพฤติกรรมแล้ว เขาชอบใช้อำนาจที่คิดว่ามีเหนือใครด้วยการด่าทอคนอื่นอย่างไม่มีเหตุผล แม้เพียงเรื่องเล็กน้อยที่ไม่สมควรว่าเขาก็ว่า เขาตัดสินคนเพียงแค่ว่าชอบหน้าหรือไม่ชอบหน้า เขาด่าคนลั่นออฟฟิตเลย คอยจ้องแต่จะจับผิดคนอื่น หากเขาไม่พอใจใครก็บีบคนๆนั่นออกหรือไล่ออกเลยโดยไม่มีเหตุผล ดูเผินๆเหมือนเป็นโรคจิตขั่นรุนแรง และไม่มีใครกล้าทำอะไรเขาด้วยเนื่องจากว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ในบริษัท(ไม่ใช่เจ้าของบริษัท) เข้าใกล้แล้วเหมือนเข้าใกล้ไฟ จารวีเองไม่รู้จะโดนแบบคนอื่นเมื่อไหร่ดูเขาไม่ค่อยชอบ จารวีซักเท่าไหร่ คนแบบนี้ควรจะสงสารหรือสมเพศดี แล้วเขาจะได้รับกรรมอย่างไรบ้างในชาตินี่ และเมื่อตายไปเขาจะได้ไปนรกไหมค่ะ  ask1 thk56
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ jaravee อยู่ในกลุ่มผู้ได้รับเชิญ ในการตอบคำถาม นะครับ ไม่ใช่ตั้งคำถาม เชื่อว่า คำถามอย่างนี้ น่าจะมีคำตอบเลยนะครับ

  :49:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ฟังจากคุณน้องจารวีแล้ว ต้องบอกเลยว่าเจอะเจอคนประเภทนี้หดหู่ครับ พอๆกับแต่งตัวสวยแต่สะเพร่าเหยียบขี้หมาแบนติดรองเท้ากลิ่นนี้ตามรังควานให้เสียอารมณ์ เผลอๆทำให้ทานข้าวไม่ลงเอาได้ ผมนี้เจอคนประเภทนี้แล้วอยากอาเจียน(อ้วกนั่นแหละ) ลับหลังเดินผละหนีฟ้านี้หม่นเลย ใครไม่เจอไม่รู้หรอกว่ามันอย่างนั้นจริงๆ อยากพูด "มันคนหรือสัตว์กันวะเนี่ย" อัปรีย์แท้ เฮ้อ! ผมคนใจร้อนอยากใส่สักหมัดทันที แต่ต้องหยั้ง สติต้องมี ไมตรีไว้ ใจเย็นให้ได้ ไม่ไหวเดินหนี งานทิ้งทันทีถ้ามันสุดๆ มีปัญหาข้องใจเดี๋ยวค่อยกลับมาเคลียร์ ไปหาอะไรเย็นๆดื่มให้ใจมันคลาย อย่างในวันนี้ผมก็เจอมา พูดจาลามก หยาบคาย เสียงดังตะโกนข้ามหัว ใหญ่โต คนปกติอายปากที่จะแสดงกิริยาพูดจาอย่างนั้น แต่ก็เป็นปกติของเขา เราเลี่ยงหนีไปจากตรงนั้นให้เร็วก็คงพอ หากแต่ทำงานด้วยกันนี่ซิ ยากทำใจแต่ก็อดใจไม่ได้มีเรื่องทุกทีเหมือนกัน ชีวิตคนเราตื่นเช้าได้ยินไก่ขัน เย็นกลับบ้านหมาเห่าไล่ ตกค่ำจิ้งหรีดร้อง มันก็หลากหลาย ทำใจให้เป็นกลางๆอย่ายึดถือหน่วงหนักหทัยเลย ผ่านมาผ่านไป มาเอาใจวางไว้ที่นาภี อิติปิโส ฯลฯ ไปเรื่อยๆ นับพุทโธได้ด้วยยิ่งดี ครับ!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2015, 06:45:32 pm โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :welcome: like1 st11 st12 :035: :035: :035: :67: :88: :72: :happybirthday3:
     ยังไงก็อย่าให้ลืม   หลวงปู่ สุก ไก่เถื่อน ครับ ท่าน ศิษย์พี่ของผม ครับ

         เวทาสากุ  กุสาทาเว

         ทายะสาตะ   ตะสายะทา

         สาสาทิกุ    กุทิสาสา

        กุตะกุภู     ภูกุตะกุ


                  ขออนุโมทนาสาธุในธรรมของทุกท่าน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณจารวี ผมเองก็เจอครับ เจอมาตึ้งแต่ ปี 2552 จนถึงปัจจุบันตอนนี้แหละ(ไม่ใช่คุณเจออยู่คนเดียวหรอก บางคนเจอมาเยอะกว่าคุณ) ซึ่งทั้งแผนกของผมต่างก็สาปแช่งเขาทุกวัน เมื่อก่อนตอนไม่รู้ธรรมก็คิดนะสาปแช่งเขาเช่นกัน แต่พอเห็นของจริงก็ได้แต่ขอโหสิกรรมต่อกันชาติหน้าจะได้ไม่เจออีก แล้วไม่ยินดียินร้ายต่อเขา แม้ทุกวันนี้พี่ก็ แผ่พรหมวิหารแบบเจโตวิมุตติ(แบบโลกียะ)ไปให้เขา คือ..ทำสมาธิแล้วมีจิตแจ่มใสไม่มีอกุศล กิเลสนิวรณ์เครื่องเศร้าหมองกายใจ หรือ พอจะมีอยู่บ้าง..แต่กิเลสนิวรณ์นั้นกำลังอ่อนพอที่จะข่มไว้ได้ถึงความพ้นจากอกุศลในขณะนั้นๆ แผ่ไปให้เขาเป็นสุขไม่มีทุกข์ คงไว้ซึ่งตำแหน่งหน้าที่,สิ่งอันเป็นที่รักที่หวงแหนของเขา แต่สุดท้ายแล้วเราก็มีกรรมเป็นของๆตน ก็ต้องวางใจไว้กลางๆ และ ปล่อย ละ วางมันไป โดยอุบายว่า..

๑. พระองค์คุลีมาลย์เถระ สมัยก่อนเป็นควายทรพี วัดรอยตีนพ่อแล้วก็วิ่งไปไล่ขวิดคนตายในหมู่บ้าน ชาวบ้านเลยรุมประชาฑัน ฆ่าตายเสีย ก่อนตายองคุลีมาได้จองเวรพยาบาทไว้จนต้องฆ่าคนตั้ง 1000 นั้นแหละ
๒. พระสมโคดมมหานุนีย์ องค์พระบรมศาสดาของเรากับพระเทวทัต คงไม่ต้องอธิบายมากนะครับว่าพระเทวทัตจองเวรพระพุทธเจ้ามามากเท่าไหร่ เท่าเม็ดทรายที่เขากำขึ้นอธิษฐานนั้นแหละครับ แต่พระตถาคตเจ้าองค์พระบนมครูนั้นตรัสกับพระสารีบุตรหรือพระอานนท์นี่แหละผมจำไม่ได้ว่า “เรารักราหุลอย่างไรเราก็รักเทวทัตอย่างนั้น"

- ทีนี้มองย้อนมาดูตนว่า ชาติก่อนคงทำเขาไว้อย่างนี้ ชาตินี้เขาจึงมาเอาคืน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็อย่าไปติดข้องใจในเขาเลย ติดข้องใจไปก็เศร้าหมองเร่าร้อนกายใจไปป่าวๆ คิดเสียว่าใช้กรรมเขาไปให้หมด จะได้ไม่ต้องมาเบียดเบียนกันอีกต่อไป

- โดยส่วนตัวผมนั้น ผมพิจารณาดังนี้ว่า
ก.คนที่ทำให้เราโกรธแค้น เขาก็ยังอยู่ดีมีสุขของเขาเป็นของเขาอย่างนั้น มีแต่เรานี่ที่ทุกข์ใจเร่าร้อนคับแค้นอัดอั้นกายใจ เราแค้นเขาไปมันทำให้ชีวิตเราดีขึ้นไหม ไม่เลยใช่ไหม่ ยิ่งทุกข์ซ้ำเก่าฝังทุกข์ทับถมทุกครั้งที่นึกถึง ทีนี้ก็คิดว่า ตายละวา นี่ฉันจะโง่เร่าร้อนเคียดแค้นให้ตนเป็นทุกข์ไปทำไมวะนี่ เราไม่แค้นก็ไม่ทุกข์ เขาอยากทำอะไรก็ทำไป ฉันจะไม่ทุกข์กับเขาอีก ทำงานตามหน้าที่ไปวันๆให้ดี เลิกงานก็กลับแค่นั้น พอเราไม่ทุกข์ไปกับเขาตามเจตนาที่เขาต้องการ ทีนี้เขากลับกระวนกระวายใจแทน ก็ขำดีนะ
ข. พอทำไว้ในใจไม่ยึดติดกับการกระทำไรๆของเขาด้วยความไม่ผูกใจให้เร่าร้อนแล้ว เราไม่รู้สึกอะไรอีก แต่โดยจริตสันดาน(จริต สันดาน เป็นคำพูดทางธรรมนะครับ แปลรวมๆว่า สิ่งที่เขากระทำทาง กาย วาจา ใจ อยู่เป็นประจำๆจนกลายเป็นนิสัยเป็นตัวตนของเขา หรือนิสัยอันเป็นวิบากกรรมของเขาที่ติดตามมา)ของคนที่ชอบเบียดเบียนเขาก็หาอย่างอื่นมาเบียดเบียนทำร้ายเรา เช่น เงินไม่ขึ้นบ้าง โบนัสไม่ได้บ้าง ตัดเกรดว่าไม่ทำงานบ้างทั้งๆที่ทำงานตั้งใจและเขาเอางานที่ผมทำไปส่งผู้บริหารแล้วบอกเป็นผลงานเขา เจ็บป่วยเดินไม่ได้แล้วเราลางานก็ยังโดนทั้งๆที่มีใบรับรองแพทย์แท้ๆ ทุกวันนี้ผมทำงานที่นี่มาตั้งแต่ปี 2546 พอมีเวียนเปลี่ยนมาเจอคนนี้ปรับเปลี่ยนมาเจอแผนกนี้กับคนกลุ่มนี้ผมก็เจอแบบนี้ ทุกวันนี้เงินเดือนผมแค่ 10,950 บาท คนอื่นเขาไป 18,000 กว่าๆ กันหมดแล้ว ..ส่วนลูกน้องเขาเมามานอนที่ทำงานไม่ทำงาน มานอนเอาค่ากะค่าโอที หรือ เมาแล้วฉุกเฉินลาไม่มาทำงานหรือมาทำงานสายแบบรอร้านเหล้าเลิกค่อยมา ก็ตัดการทำงานได้ "A"  แรกๆก็ขัดเคื่องใจเลยแหละเจ็บแค้น โมโห จะดักตี จ้างนักเลงไปฆ่าดีมั้ยนี่.. แต่ก็ดีที่ในสันดานผมยังพอมีกุศลจิตอยู่บ้างแม้เล็กน้อย เลยคิดมาว่า.."ติดใจข้องแวะไปก็เป็นทุกข์ป่าวๆ เขาก็เป็นอย่างนั้นของเขามาตั้งนาน ใครๆก็รู้ก็โดนกันถ้วนหน้า มันกลายเป็นสันดานเขาไปแล้ว ทำไมเราต้องไปเสียเวลาใส่ใจกับคนแบบนั้นด้วยหนอ เสียสุขภาพจิตป่าวๆ" เลยนึกถึงเรื่องที่นางสุชาดา..โดนทหารมาเก็บส่วยแล้วท่านไม่พอใจเสียใจไปทูลต่อพระสัพพัญญูเจ้าเพื่อขอธรรมสร่างทุกข์นั้น พระตถาคตเจ้า..พระบรมศาสดาจึงตรัสสอนว่า "อย่าเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกฝากขึ้นไว้กับผู้อื่น ต้องให้เขารักเรา เอาใจใส่ดูแลเราหรือ เราจึงไม่ทุกข์ พอเขาทำอย่างนี้จึงทุกข์เสียใจ สุขมันเกิดดับที่ใจเราหรือเขา ทุกข์มันเกิดดับที่ใจเราหรือเขา ก็ล้วนแต่เกิดที่เราทั้งนั้น ก่อนหน้าที่จะเจอเขาเราก็ยังเป็นสุขอยู่ได้ตามปกติ หรือ ก็ยังเป็นทุกข์อยู่ตามปกติ แล้วประโยชน์อะไรจึงจะเอาความสุขของตนไปผูกฝากไว้กับผู้อื่นให้มันลำบากเล่า มันเป็นทุกข์เปล่าๆหาประโยชน์สุขไม่ได้เลย นี่น่ะการที่เราเอาความสุขสำเร็จของตนไปฝากไว้ที่เขาใันเป็นความโง่โดยแท้" เขาจะอยากมี อยาากได้ เสพย์ความโลภ หาสิ่งปรนเปรอตนเหล่าใด แล้วมากระทบเรา "เราก็ปล่อยละ ปล่อยวาง สละคืนความโกรธในใจเราให้แก่เขาไว้เสียเป็น..ทาน" นี่ฉันได้ทานบารมีเลย พอทำได้นี่มันเต็มกำลังใจดีนักแล
ค. เมื่อผมได้ฟังธรรมจากพระอรหันต์ แล้วน้อมนำมาปฏิบัติ ศีล ทาน ภาวนา จนเกิดสัมมาทิฐิเห็นของจริง จิตมันไม่ยึดอะไรเลยตลิดแม้ประมาณ 1 เดือน มันจับแค่ของจริง อันไหนจริงจิตมันจับอันนั้น มีลมหายใจเป็นต้นรู้ลมหายใจเป้นอันมากทุกขณะที่ระลึกได้ จิตไม่จับราคะ มันไม่ติดใจ ติดใคร่แสวงหาเสพย์ปรนเปรอตนในสิ่งไรๆ เมื่อไม่มีราคะโทสะก็ไม่มีเพราะไม่มีสิ่งที่รัก จึงไม่มีสิ่งที่เกลียด ไม่ชอบใจ ขุ่นข้อง ขัดเคืองใจ สุดท้ายความลุ่มหลงอยู่ในสิ่งที่รักหรือชังก็ไม่มี มันสุขอยู่อย่างนั้นใครด่าก็ยังยิ้มเป็นสุข  เจออะไรก็ไม่เกลียดกลัวหรือติดใครทั้งสิ้นมีสติสัมปะชัญญะรู้ตัวตลอดจิตเป็นกุศลตลิดเวลา ทีนี้พอมันเสื่อมไปก็เจอตาคนเดิมทำอีกแระ ทีนี้มาหวนระลึกถึงสิ่งที่เคยได้มาก็เห็นว่า ความไม่ยึดสิ่งใดอารมณ์ใด ไม่มีรัก โลภ โกรธ หลง ต่อสิ่งใด ไม่ว่าจะเจออะไรมันก็ไม่ทุกข์ มันสุขอยู่ในใจด้วยตัวของมันเอง อิ่มเอม สงบใจ ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ยึดจับเอาสิ่งใดๆ เป็นสุขทั้งกายและใจด้วยเหตุนั้น เราจึงหวนระลึกว่า อ้อ..อย่างนี้นี่เองที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า "สุขอันเป็นอมตะ คือ สุขจากความไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใด นั่นก็คือความดับสิ้นที่ไปซึ่งไฟกิเลสเครื่องร้อยรัด อันเร่าร้อน-ร้อนรุ่ม-รุมเร้า-อัดอั้น-คับแค้น-เศร้าหมองใจนั้นเอง" .... "สุขทางโลกแวบเดียวชั่วคราวก็ดับ นานสุดก็แค่เราหมดลมหายใจแล้วก็ต้องพรากไป ไม่เที่ยงแท้ยั่งยืน ไม่มีตัวตนบังคับไม่ให้ดับให้อยู่กับเราตลvดไปก็ไม่ได้ ปารถนาในสุขทางโลกมากเท่าไรก็ทุกข์มากเท่านั้น ทิ้งสุขในโลกียะ จึงจะเจอสุขในโลกุตระได้"

   - ก็ดังนั้นแหละ เมื่อเจอปัญหาไรๆ ก็อาศัยหวนระลึกเอาอารมณ์อย่างนั้น โดยทำไว้ในใจดังนี้ว่า
๑. "ติดใจข้องแวะสิ่งไรไปก็หาประโยชน์สุขไม่ได้นอกจากทุกข์ ละความติดข้องใจนั้นไปเสียจะไม่ทุกข์" น้อมใจออกจากสิ่งนั้นๆหรืออารมณ์นั้นๆไปเสีย โดยคำนึงว่า "ไม่ติดข้องใจสิ่งไรๆมันก็ไม่ทุกข์ มันก็สักแต่เป็นแค่สิ่งหนึ่งที่เกิดมีขึ้นมาให้รู้ ไม่ได้ให้เราไว้ยึด ความเข้าไปยึดเอาอารมณ์ไรๆย่อมมีแต่ทุกข์ ล้วนแต่สมมติกิเลสสร้างมาให้หลงตาม ราคะ โทสะ โมหะทั้งนั้น บอกใจว่าจะไปสนใจมัน ที่เราติดข้องใจกับเขาไว้มากนั้นก็เพราะเราให้ความสำคัญกับเขาไว้มาก อย่าให้ความสำคัญอะไรกับเขาอีกเขาจะทำอะไรก็ปล่อยเขาไป เพราะไม่มีความหมายอะไรกับชีวิตเรา สักแต่รู้อาการของมันไม่ต้องให้ความสำคัญว่ามันเป็นอะไรคืออะไร เดี๋ยวความเร่าร้อนนั้นมันก็ดับเอง แล้วจิตจะจับที่ลมหายใจเอง"
๒. "เรามีความตายเป็นที่สุด หลีดกเลี้ยงความตายไม่ได้ ดังนั้นไม่วันนี้ ก็วันพรุ่ง เราก็จะต้องตายอยู่แล้ว เผลอๆจะตายเอาตอนนี้ วินาทีนี้ ตอนกำลังหายใจ หรือ กำลังนอนพอหลับแล้วไม่ตื่นขึ้นมาอีก เมื่อจะตายอยู่แล้วยังจะหอบเอาความขุ่นข้องขัดเคืองใจไรๆ ความอยาก ความหลง ความเร่าร้อน อัดอั้น คับแค้น ร่ำไร รำพัน ความเศร้าหมองกายใจทั้งปวงตายตามไปด้วยหรือ" .... "ก็เมื่อจะตายอยู่แล้ว ติดข้องใจสิ่งไรๆไปก็ไม่เกิดประโยชน์สุขอันใดนอกจากทุกข์ จะตายอยู่แล้วอย่าแบกทุกข์ตายตามไปด้วยเลย ปล่อยวางมันลงเสียละเสียจะได้ไม่ทุกข์เร่าร้อนเพราะไฟกิเลสก่อนตาย" ติดข้องใจไปก็เศร้าหมองกายใจให้ลงนรกไปเปล่าๆ "ช่างมัน ก็แค่ช่างมัน ปล่อยมันไป (ทางภาคอีกสานจะสบถประมาณว่า.."ซ่างแม่งมันเถาะ ปล่อยมันเป็นบ้าไป อย่าไปหัวซามัน !!")" ทำกรรมดีไว้ก่อนตายจะได้ขึ้นสวรรค์ ไม่ก็ถึงพรหมหรือถึงพระนิพพานก็แค่นั้น ติดข้องใจไปก็เปล่าประโยชน์ ไม่มีคุณอันใดเลย อย่าใส่ใจ อย่าให้ความสำคัญไรๆกับมันอีก ระลึกเสียว่าการอภัยทานของเราไม่ติดใจในเขาอีก คือ ทางแห่งกุศล คือ ความฉลาดในการปล่อยวาง แม้เมื่อตายไปในตอนนี้ก้จะไปอยู่สวรรค์ในชั้นต่างๆ ชั้นพรหม จนถึงพระนิพพาน จะไม่ตกล่วงอบายภูมิ หรือ นรกภูมิ


หวังว่าประสบการณ์จริงของผมจะช่วยคุณได้นะครับ ขอให้เลิกเร่าร้อน นอนพักให้สบาย ตื่นมาก็ผ่องใสครับ มีสติให้มาก เลิกฟุ้งซ่าน


ผมมีคติเตือนใจให้นะครับดังนี้ว่า..
  พึงระลึกไว้ว่า หากเรายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง เร่าร้อนทั้งๆที่มาศักษาธรรมะ รู้ธรรมสูง มีสมาธิ หรือ ถึงอภิญญามาบ้างแล้ว  เอะอะอะไรก็ร้องขอให้คนช่วย แล้วพร่ำฟุ้งซ่านอยู่ ถ้ายังเป้นอย่างนี้อยู่พอไม่นานนักเวลาเจอคนชี้หลายๆทางตามแต่จริตเขาพอเธอนั้นเลือกเดินไปแต่ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ของเธอ เธอก็จะกล่าวหาเขา ด่าเขา ติเตียนเขา ทั้งๆที่ตนเองเป้นคนขอความเห็นความช่วยเหลือเขาเอง แต่หากเธอหัดคิดหรืออาจจะมีขอแนวคิดหัวข้อแนะนำ แล้วนำไปประยุกต์ใช้้แก้ปัญหาด้วยตัวเองได้แล้ว สิ่งนั้นจะเป็นประสบการณ์ของเธอวันหนึ่งเเธอก็ต้องเป็นผู้ใหญ่ มีครอบครัว มีสามี มีลูก เป็นแม่คน เป็นพี่คน เป็นป้าคน เป็นย่าคน เป็นยายคน เธอก็จะสามารถเป็นผู้ชี้แนะแนวทางที่ดีให้ลูกหลาน หรือน้องๆได้ เพราะได้ลิ้มรสถึงผลต่างๆดีหรือไม่ดีจากทางนั้นๆด้วยตัวเอง เอาง่ายๆดูตอนนี้พระอาจารย์ธัมมวังโสและทีมงานให้น้องคอยตอบปัญหาช่วยเหลือผู้อื่น นี่แหละคือจุดเริ่มต้นในการที่เราจะโตเป้นคนที่น่านับถือในอนาคตครับ

เพราะรักและเป็นห่วงจากใจจริงนะครับ ยิ่งหากเป็นเด็กต่างจังหวัดมาทำงานใหม่ยิ่งลำบากมาก เพราะผมเอกก็อีสานคนขอนแก่นครับ มาอยู่แผนกนี้ก็เจอเหยียดเลยซะงั้น 555 แต่ก็ละความผูกใจนั้นไว้เสียจะได้ไม่ทุกข์ ผมเลยอยากจะเตือนสติให้น้องโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็งและเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ ไม่ได้มีเจตนาล่วงเกินแต่อย่างใดครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 21, 2015, 02:51:51 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กุศล แก่ท่านผู้มาตอบ ทุกท่าน เลย คะ มีประโยชน์มากคะ

 st11 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12
 คำแนะนำมีประโยชน์
  โดยเฉพาะ ของ คุณธุลีธวัช คราวนี้มีข้อแนะนำทางด้านการปฏิบัติ ด้วย นับถือ

ทำใจให้เป็นกลางๆอย่ายึดถือหน่วงหนักหทัยเลย ผ่านมาผ่านไป มาเอาใจวางไว้ที่นาภี อิติปิโส ฯลฯ ไปเรื่อยๆ นับพุทโธได้ด้วยยิ่งดี ครับ!

   thk56 like1

  สำหรับท่าน Admax นั้น แสดงถึงความเป็นผู้มีน้ำใจ ให้รายละเอียด มาก และ ยกตัวอย่างที่ผ่านมาของตนด้วย นับถือ นับถือ แสดงว่าการปฏิบัติ อยู่ในขั้นที่น่าพอใจ สำหรับท่านเอง

  :49:
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ถ้อยคำที่คนอื่นจะพึงกล่าว ๕ ประการ
(กกจูปมสูตร)

      [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการคือ
               กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
               กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
               กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
               กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
               มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
          จิตของเราจักไม่แปรปรวน
          เราจักไม่เปล่งวาจาลามก
          เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์
          เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน
          เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
      และเราแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น
ดังนี้
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.





      [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน ดังนี้
      เขาขุดลงตรงที่นั้นๆ โกยขี้ดินทิ้งในที่นั้นๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้นๆ ถ่ายปัสสาวะรดในที่นั้นๆ แล้วสำทับว่าเองอย่าเป็นแผ่นดินๆ ดังนี้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
      บุรุษนั้นจักทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือไม่.?
      ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า
      ข้อนั้นเพราะเหตุไร.?
      เพราะเหตุว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
           กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
           กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
           กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
           กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
           มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑
      ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


       st12 st12 st12 st12

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่ควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้นพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
          จิตของเราจักไม่แปรปรวน
          เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก
          เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์
          เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะภายใน
          เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
      และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแผ่นดิน ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น
ดังนี้
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.


อ้างอิง :-
กกจูปมสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
ขอบคุณภาพจาก :-
http://files.palungjit.org/
http://i.ytimg.com/
http://imgsdown.1mobile.com/





เพลงยาวถวายโอวาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลงยาวถวายโอวาท เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ ขณะเมื่อเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เชื่อว่าประพันธ์ขึ้นราวปี พ.ศ. 2371-72 เนื้อหาแสดงคำสอนที่น่าสนใจ รวมถึงประเพณีเก่าแก่ของไทยหลายอย่าง เช่น การแต่งกาย การล้างหน้า การตัดผม เป็นต้น มีวรรคทองมากมายปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องนี้ เช่น

        "อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก     แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
         แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย   เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ"


อีกบทหนึ่งคือ

        "อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ     ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
         สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก      จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย"

______________________________________________
ทีมา :- https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงยาวถวายโอวาท



     
          “เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก    จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
           แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา     จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”
.....สุภาษิตสอนหญิง/สุนทรภู่
   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 08:28:09 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



วาจาสุภาษิต

ขยายความมงคลข้อที่ ๑๐ วาจาสุภาษิตเป็นอุดมมงคล วาจาสุภาษิตคือวาจาที่กล่าวดีแล้ว เป็นวาจาที่เป็นไม่มีโทษ ประกอบด้วยธรรม เป็นวาจาที่เป็นที่รัก เป็นวาจาจริงไม่เท็จ ไม่ส่อเสียด ไม่เหลวไหล เพ้อเจ้อ แม้วาจาที่แสดงธรรมแก่ผู้อื่นด้วยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง ก็ชื่อว่าเป็นวาจาสุภาษิต เพราะเป็นปัจจัยให้ผู้ฟังได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า อีกทั้งยังอาจให้บรรลุมรรค ผล นิพพาน อีกโสดหนึ่งด้วย

    วาจาที่เป็นทุพภาษิตนั้นตรงกันข้ามกับวาจาสุภาษิต มีโทษมาก สามารถนำไปเกิดในอบายได้เหมือนเรื่องนี้

      :96: :96: :96: :96: :96:

    ในสมัยของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระ ๒ รูปอยู่ในอาวาสเดียวกัน รักใคร่กันดุจพี่น้อง ทั้งมีข้อวัตรปฏิบัติงดงาม ต่อมามีพระธรรมกถึกรูปหนึ่งมาพักอยู่ที่อาวาสนั้น เห็นภิกษุ ๒ รูปนั้นมีลาภมาก ก็คิดริษยา  กล่าววาจายุยงให้พระเถระ ๒ รูปนั้นแตกกัน ออกจากอาวาสนั้น แยกกันไปคนละทาง พระธรรมกถึกรูปนั้นก็ได้เป็นเจ้าอาวาส ได้รับลาภสักการะเป็นอันมาก

     ต่อมาพระเถระ ๒ รูปนั้นได้กลับมาพบกันที่วิหารแห่งหนึ่ง ไต่ถามกันทราบความจริงแล้วจึงกลับไปยังอาวาสเดิม ขับไล่ภิกษุผู้ริษยานั้นออกไป
     ภิกษุผู้ริษยานั้นเมื่อแตกกายตายไป บังเกิดในอเวจีมหานรก ได้เสวยทุกขเวทนากล้า เป็นเวลาช้านานตลอดพุทธันดร
    มาในสมัยของพระพุทธเจ้าของเรานี้ได้พ้นจากอเวจีมหานรก มาเกิดเป็นเปรตสุกร อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ มีร่างกายใหญ่โตเหมือนมนุษย์ แต่มีศีรษะเป็นสุกร มีหางงอกออกจากปาก มีหมู่หนอนไหลออกจากปาก ด้วยอำนาจของการกล่าววาจาส่อเสียด ไม่มีความจริงเป็นทุพภาษิต


     เพราะฉะนั้นจึงควรงดวาจาทุพภาษิต กล่าวแต่วาจาสุภาษิต อันเป็นอุดมมงคล แล้วท่านก็จะได้พบกับความสุขและความเจริญตลอดไป

____________________________________________
ที่มา www.84000.org/tipitaka/book/bookpn06.html#10


ans1 ans1 ans1 ans1

หมายเหตุ
วาจาสุภาษิต เป็นมงคลที่ ๑๐ อยู่ในมงคลสูตร มีรายละเอียดอยู่ใน
มงคลสูตรในขุททกปาฐะ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๔๑-๗๒. หน้าที่  ๓-๔.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=41&Z=72&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=5
เรื่องเปรตสุกร อยู่ในอรรถกถา เรื่องสูกรเปรต(บุรพกรรมของสูกรเปรต)
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=4




พูดจาว่ากล่าวด้วย "วาจาสุภาษิต""

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

สุภาษิตสูตรที่ ๕

       [๗๓๘] สาวัตถีนิทาน ฯ
       ในสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระพุทธดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน องค์ ๔ เป็นไฉน


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
      ย่อมกล่าวแต่วาจาที่บุคคลกล่าวดีแล้วอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่บุคคลกล่าวชั่วแล้ว ๑
      ย่อมกล่าวแต่วาจาที่เป็นธรรมอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม ๑
      ย่อมกล่าวแต่วาจาอันเป็นที่รักอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก ๑
      ย่อมกล่าวแต่วาจาจริงอย่างเดียว ไม่กล่าววาจาเท็จ ๑


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ และเป็นวาจาอันวิญญูชนทั้งหลายไม่ติเตียน ฯ

       st12 st12 st12 st12

      [๗๓๙] พระผู้มีพระภาค ผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
               สัตบุรุษทั้งหลาย ได้กล่าววาจาสุภาษิตว่าเป็นที่หนึ่ง
               บุคคลพึงกล่าววาจาที่เป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาที่ไม่เป็นธรรม เป็นที่สอง                       
               บุคคลพึงกล่าววาจาอันเป็นที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รัก เป็นที่สาม                       
               บุคคลพึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าววาจาเท็จ เป็นที่สี่
ดังนี้ ฯ
                         
       ครั้งนั้นแล ท่านพระวังคีสะลุกขึ้นจากอาสนะ ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งประนมอัญชลีเฉพาะพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ข้าแต่พระสุคต เนื้อความนี้ย่อมแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ ฯ
       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เนื้อความนี้จงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด วังคีสะ ฯลฯ.........


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๖๑๐๔ - ๖๑๓๙. หน้าที่ ๒๖๒ - ๒๖๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=6104&Z=6139&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=738
ขอบคุณภาพจาก http://www.phothitham.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 09:01:57 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วิบากของการละเมิดศีล ๕ อย่างเบาที่สุด
(สัพพลหุสสูตร)

     [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาณาติบาตอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปาณาติบาตอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นผู้มีอายุน้อยให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อทินนาทานอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งอทินนาทานอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความพินาศแห่งโภคะให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาเมสุมิจฉาจารอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งกาเมสุมิจฉาจารอย่างเบาที่สุด ย่อมยังศัตรูและเวรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย มุสาวาทอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งมุสาวาทอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการกล่าวตู่ด้วยคำไม่เป็นจริงให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์

      :96: :96: :96: :96: :96:

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปิสุณาวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งปิสุณาวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังการแตกจากมิตรให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผรุสวาจาอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งผรุสวาจาอย่างเบาที่สุด ย่อมยังเสียงที่ไม่น่าพอใจให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมผัปปลาปะอันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งสัมผัปปลาปะอย่างเบาที่สุด ย่อมยังคำไม่ควรเชื่อถือให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์


      :32: :32: :32: :32:

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสัตว์ให้เป็นไปในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย วิบากแห่งการดื่มสุราและเมรัยอย่างเบาที่สุด ย่อมยังความเป็นบ้าให้เป็นไปแก่ผู้มาเกิดเป็นมนุษย์


ที่มา :-
สัพพลหุสสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๑๒๗-๕๑๖๗. หน้าที่ ๒๒๑-๒๒๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5127&Z=5167&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=130
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammavariety.com/



 ask1 ans1 ask1 ans1

อธิบายศัพท์
ปิสุณาวาจา คือ วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
ผรุสวาจา คือ วาจาหยาบ, คำพูดเผ็ดร้อน, คำหยาบคาย
สัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อ, การพูดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์, การพูดเดรัจฉานกถา
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



แก้มุสาวาท

             
     กายประโยคหรือวจีประโยคที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่ามุสา. เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยประสงค์จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยคเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่ามุสาวาท.

     อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่ามุสา (เรื่องเท็จ). การให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้นว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่าวาทะ (การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว) อย่างนั้น ชื่อว่ามุสาวาท (การพูดเท็จ).


      :96: :96: :96: :96: :96:

     มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวนมาก.

     อีกอย่างหนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า
     ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก.

     สำหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้วโดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็มความหรือเล่นสำนวน) ว่า วันนี้น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษน้อย. แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลยว่าได้เห็น มีโทษมาก.


       :29: :29: :29: :29:

      มุสาวาทนั้นมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ
            เรื่องไม่จริง ๑
            ตั้งใจพูดให้ผิด ๑
            พยายามพูด ๑
            ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.

       ประโยคมีประโยคเดียว คือ สาหัตถิกประโยคเท่านั้น.
       ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่าเนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.





แก้ปิสุณาวาจา

             
     พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น.
     วาจาที่เป็นเหตุให้หัวใจของบุคคลผู้ที่ตนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.
     ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจาที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่า ผรุสวาจา.
     วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาป.

     ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่านั้น ก็ได้นามว่าปิสุณาวาจาเป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์เอาเจตนานั้นแล.
     เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมองที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำตนให้เป็นที่รักของผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น.

       :91: :91: :91: :91:

      ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณธรรมมาก.

     ปิสุณาวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ
         ผู้ต้องถูกทำลายเป็นคนอื่น ๑
         ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รักเป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) ๑
         ความพยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น ๑
         การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.





แก้ผรุสวาจา

             
      เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่า ผรุสวาจา.
      เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.
      ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป. มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงด่าว่า ขอให้แม่กระบือดุร้ายจงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่นแหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.

      วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดังที่พรรณนามานี้
      ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน.
      จริงอยู่ บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็นท่อนๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้ตกลงบนเบื้องบนของพวกเขาเลย. และบางครั้งอาจารย์และอุปัชฌาย์ต่อว่า อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกันก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลายจงไล่เขาไปเสีย. แต่ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม (ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้นอยู่.


       st12 st12 st12 st12

      อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่า คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนคนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้ ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิตหยาบคาย

      ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึงเป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.

      ผรุสวาจานั้นมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
               ผู้ที่จะต้องถูกด่าเป็นคนอื่น ๑
               จิตขุ่นเคือง ๑
               การด่า ๑.





แก้สัมผัปปลาปะ
 
             
     ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจีประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ.

     สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความเคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก (ความเคยชินมาก).

     สัมผัปปลาปะนั้นมีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ
           ความมุ่งหน้าที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงครามภารตะและเรื่องการลักพานางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑
           การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น ๑.


ที่มา :-
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=1
ขอบคุณภาพจาก
http://www.happynitan.com/
http://www.guitarthai.com/
https://konlayoot.files.wordpress.com/
http://www.photosdesigner.com/
http://www.kidsquare.com/





      "ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์   มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
      แม้พูดชั่วตัวตายทำลายมิตร   จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา"
....จากนิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่
   
      สำนวนไทย : พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี
     พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี หมายถึง พูดดีย่อมเกิดผลดีกับตัว พูดไม่ดีอาจทำให้ตัวเองต้องเจ็บตัว
     ตัวอย่างของการใช้สำนวนไทย พูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี เช่น พูดในเรื่องที่ควรพูดเสียบ้าง โบราณว่าพูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี
     ระวังให้ดีพูดจาไม่ระวังปากสักวันจะเจ็บตัวแบบไม่รู้เรื่องรู้ราว จำไว้นะว่าพูดดีเป็นศรีแก่ปาก พูดมากปากมีสี

____________________________________________
ที่มา www.สํานวนไทย.com/พูดดีเป็นศรีแก่ปาก-พูดมากปากมีสี/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 10:41:56 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
“เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก    จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
           แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา     จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”.....สุภาษิตสอนหญิง/สุนทรภู่


   อ่านแล้วยาก หยิก ท่านสุนทรภู่ จัง
   สอนแต่หญิง แต่ ชาย ร้ายยิ่งกว่า หญิง อีก

       เจ้า คารม คมหอก เชือดเฉือน  ชาย นี่ ร้าย นัก

   
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :93: :93: :) :hee20hee20hee:
           สาธุ สาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วจีทุจริต ๔

     วจีทุจริต มี ๔ คือ
     ๑. มุสาวาท (อ่านว่า มุ-สา-วาด หรือ มุ-สา-วา-ทะ)
     ๒. ปิสุณวาจา (อ่านว่า ปิ-สุ - นะ-วา-จา)
     ๓. ผรุสวาจา (อ่านว่า ผะ-รุ-สะ-วา-จา)
     ๔. สัมผัปปลาปะ (อ่านว่า สำ-ผับ-ปะ-ลา-ปะ)





๑. มุสาวาท

มุสาวาท คือ การมีเจตนากล่าวคำเท็จ เป็นคำพูดที่ไม่จริง ทำให้ผู้ฟังเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนจากความจริง จะเป็นการพูดด้วยตนเองหรือใช้ให้ผู้อื่น พูด เขียนหนังสือ เขียนจดหมาย หรือประกาศกระจายเสียง ก็จัดเป็นมุสาวาททั้งสิ้น คำพูดเท็จ เป็นคำที่ไม่จริง รวมไปถึงการแสดงกิริยาอาการทางกายด้วย เช่น ส่ายหน้า พยักหน้า ฯลฯ การพูดเท็จจะสำเร็จทางวาจาเป็นส่วนมาก ฉะนั้น คำพูดเท็จ จึงเป็นการขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวกายหรือวาจา เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ด้วยความคิดจะทำลายประโยชน์เขา

     องค์ประกอบของการพูดเท็จ มี ๔ ประการ คือ
     ๑. เรื่องที่ไม่จริง
     ๒. มีจิตคิดจะทาให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อน
     ๓. ความพยายามอันเกิดจากความคิดนั้น
     ๔. เมื่อพูดแล้วมีคนเชื่อคำพูดนั้น

      เรื่องที่ไม่จริง เป็นอย่างไร.?
     คือ เรื่องจริงเป็นอย่างหนึ่ง แต่ตนเองนาไปกล่าวหรือแสดงให้เขาเข้าใจผิดไปอีกอย่างหนึ่ง ถ้ามีเรื่องไม่จริงนั้นอยู่ในใจเท่านั้นยังไม่ได้กล่าวหรือแสดงออกมาก็ยังไม่เป็นมุสาวาท แต่คิดจะกล่าวเรื่องไม่จริงและมีเจตนาจะทำลายประโยชน์ของผู้ฟัง แล้วกล่าวหรือแสดงออก และผู้ฟังรู้เนื้อความนั้นและเชื่อเนื้อความนั้น ได้ชื่อว่ามุสาวาทแล้ว แต่ถ้าไม่ได้ทำลายประโยชน์ คำพูดนั้นก็จัดเป็นเพ้อเจ้อ เพราะเรื่องนั้นตกเป็นเรื่องเหลวไหล ไร้สาระ

     อนึ่ง ถึงแม้เมื่อคิดจะมุสาวาทและตั้งใจอยู่นิ่งๆ โดยคิดว่า “ถ้าเรานิ่งเฉยอยู่อย่างนี้ เขาจะเข้าใจเป็นอย่างอื่น” ก็เป็นความพยายามเหมือนกัน เพราะอาการนิ่งนั้นเป็นเพราะจัดแจงแต่งขึ้นด้วยจุดประสงค์จะมุสา


       :32: :32: :32: :32:

      ผลของมุสาวาท

      การส่งผลในปฏิสนธิกาล : การทำบาปที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แล้ว จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมนี้ส่งผล จะนาไปเกิดในอบายภูมิ
      การส่งผลในปวัตติกาล : ถ้าบาปนี้ไม่ส่งผลนำไปเกิดในอบายภูมิ บุคคลนั้นได้มาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมนี้ก็จะตามส่งผลได้ในปวัตติกาล หรือเมื่อพ้นโทษจากอบายภูมิแล้ว เศษกรรมยังตามมาส่งผลในปวัตติกาลนี้อีก
      ผลในปวัตติกาล เจตนากรรมของมุสาวาทจะส่งผลทำให้ ตาส่อน เพราะเหตุที่เวลากล่าวคำเท็จจะมีอาการ เช่น คอยก้มหน้าต่ำ คอยเบนสายตาหลบ ไม่กล้าสบตากับผู้ที่ตนพูดด้วย เพราะมุ่งจะกล่าวคำเท็จ มีฟันเกไม่เรียบชิดกัน เพราะเหตุที่คำเท็จนั้นเปล่งออกมาเพื่อทำลายประโยชน์ ปากมีกลิ่นเหม็นเพราะคำที่มุ่งทำลายประโยชน์เป็นคำที่น่ารังเกียจเหมือนปล่อยลมเสียออกมาทางปาก คนไม่เชื่อถือในคำพูด พูดติดอ่าง หรือเป็นใบ้ เพราะกรรมของมุสานั้นส่งผลทำให้ใครๆไม่ให้ความสำคัญ ไม่ให้ความเชื่อถือคำพูด เป็นต้น

      การงดเว้นจากการกล่าวคำเท็จจะมีอานิสงส์ส่งผลในปวัตติกาล เช่น เป็นคนหน้าตาแจ่มใส ตาไม่ส่อน ไม่เข ฟันไม่เก ปากมีกลิ่นหอม จะกล่าวเรื่องใดพูดอะไรสั่งการใดๆ ก็มีคนเชื่อฟัง ลูกน้องบริวารน้อมรับฟังคำสั่ง และทำตามเพราะเชื่อในคำพูด ไม่พูดติดอ่าง ไม่เป็นใบ้ เป็นต้น





๒. ปิสุณวาจา

ปิสุณวาจา เป็นคำพูดของบุคคลที่ต้องการทำลายความรักความสามัคคีของคนที่เขาปองดองกันดีอยู่ ให้ผิดใจกัน แล้วหันมารักตนหรือสัมพันธ์กับตนแทน ถ้าผู้แตกแยกนั้นเป็นบุคคลที่มีศีลธรรมจะบาปมาก เช่น การพูดยุยงให้สงฆ์แตกแยกกันไม่ทำสังฆกรรมร่วมกันเป็นบาปมาก

     องค์ประกอบของการพูดส่อเสียดมี ๔ ประการ คือ
     ๑. มีผู้ทำให้ถูกแตกแยก
     ๒. มีเจตนามุ่งให้แตกแยก
     ๓. เพียรพยายามให้เขาแตกแยก
     ๔. เขาได้แตกแยกกันสมใจคิด
     ถ้าพยายามพูดทำให้เขาแตกแยกกัน แต่ว่าไม่สำเร็จผล ก็ยังไม่จัดเป็นปิสุณวาจา


      :32: :32: :32: :32:

     ผลบาปของการพูดส่อเสียด

     ผลของบาปในปฏิสนธิกาล : เมื่อการพูดส่อเสียดสำเร็จลงโดยมีองค์ประกอบทั้ง ๔ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล ตอนสิ้นชีวิตจะนำไปเกิดในอบายภูมิ เป็นการส่งผลในปฏิสนธิกาล
     ผลของบาปในปวัตติกาล : กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้แตกแยกจากมิตรสหาย ถูกติเตียน มักถูกกล่าวหาในเรื่องที่ไม่เป็นจริง เป็นผู้ตำหนิตนเองอยู่เสมอๆ





๓. ผรุสวาจา

ผรุสวาจา คือ การพูดคำหยาบ การด่าทอ การสาปแช่งต่างๆ ทำให้ผู้ถูกด่าเกิดความเศร้าใจเสียใจเดือดร้อนใจ เป็นการกระทำที่เกิดมาจากอำนาจของความโกรธความไม่พอใจ การด่าว่าผู้มีอุปการคุณ เช่น บิดามารดา หรือผู้มีอุปการคุณอื่นๆ ด่าว่าผู้มีศีล เช่น พระภิกษุสงฆ์ สามเณร หรือแม่ชี จะมีบาปมากมีโทษมาก อนึ่ง คำพูดบางคำแม้ว่าเป็นคำหยาบ แต่เมื่อผู้พูดมีเจตนาอ่อนโยน ก็ไม่จัดเป็นผรุสวาจา

       ตัวอย่างเช่น มีเรื่องเล่าว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อฟังคำมารดาว่าอย่าไปเที่ยวเล่นในป่า เมื่อมารดาไม่อาจห้ามได้ จึงด่าออกไปว่า “ขอให้มึงถูกแม่ควายดุ ไล่ขวิดเถอะ”  ต่อมาเขาก็เผชิญกับแม่กระบือป่า ตามคำของมารดาจริงๆ เด็กได้ตั้งใจอธิษฐานว่า 
       “มารดากล่าวถึงสิ่งใดแก่เราด้วยสักแต่ว่าพูดไป ใจมิได้คิดถึงสิ่งนั้นจริง ขอสิ่งนั้นจงอย่ามี คิดถึงสิ่งใดใคร่จะให้มีจริง ขอสิ่งนั้นจงมีเถิด”

      เมื่อจบคำอธิษฐาน แม่กระบือก็หยุดเฉยราวกับว่าถูกตรึงไว้กับที่ ณ ที่นั้น ตัวอย่างนี้ คำพูดของมารดาไม่มีเจตนาทำร้ายบุตร ถึงแม้คำพูดจะเป็นคำหยาบก็ตาม หรือคำพูดที่ไพเราะแต่มีเจตนาเย้ยหยันทาให้เขาเจ็บใจ ก็จัดเป็นผรุสวาจา เช่น การกล่าวประชดหรือดูถูกผู้อื่นเกี่ยวกับสกุลว่า โอ ท่านผู้มีศักดิ์สูงส่ง ไฉนจึงแสร้งทำเป็นคนเข็ญใจอนาถาอยู่เล่า

      องค์ประกอบของการพูดคำหยาบ มี ๓ ประการ คือ
      ๑. มีความโกรธ
      ๒. มีผู้ที่ตนจะพึงด่าว่า
      ๓. มีการพูดกล่าววาจาสาปแช่งหรือด่าทอ


       :32: :32: :32: :32:

      ผลบาปของการพูดคำหยาบ

      ผลของบาปในปฏิสนธิกาล : เมื่อการพูดคำหยาบสำเร็จลงโดยมีองค์ ประกอบทั้ง ๓ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล ตอนสิ้นชีวิตจะนำไปเกิดในอบายภูมิ    
      ผลของบาปในปวัตติกาล : กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้มีกายวาจาหยาบ ตายด้วยการหลงลืมสติ แม้มีทรัพย์สินก็จะพินาศ





๔. สัมผัปปลาปะ

สัมผัปปลาปะ คือ การพูดเพ้อเจ้อ มีเจตนาที่จะพูดเรื่องไร้ประโยชน์ แต่ถ้ามีเจตนาและพูดเรื่องไร้ประโยชน์แล้ว ถ้าผู้อื่นยังไม่เชื่อ ก็ยังไม่เป็นสัมผัปปลาปะ แต่ถ้าผู้อื่นถือเอาคำพูดเรื่องไร้ประโยชน์นั้นโดยความเป็นสาระ เจตนานั้นก็สำเร็จเป็นสัมผัปปลาปะแล้ว

      สัมผัปปลาปะนั้นเป็นเรื่องไม่มีประโยชน์ มีแต่จะเป็นเหตุเป็นกระแสแห่งราคะ แห่งความยินดีพอใจของผู้อื่นนั้นมากขึ้น โดยปกติ มนุษย์ปุถุชนมักมีคำพูดเล่นกันอยู่เสมอเพื่อสนุกรื่นเริง เพื่อหัวเราะเฮฮา

      การยิ้มการหัวเราะนั้น เป็นสิ่งที่พระอริยเจ้าถือว่า เป็นกระแสแห่งราคะ คือ คนที่ยังมีราคะอยู่เท่านั้นจึงยิ้มและหัวเราะ ส่วนพระอริยเจ้าชั้นพระอรหันต์ หรือ พระอนาคามี ซึ่งตัดกระแสราคะได้แล้วย่อมไม่ยิ้มไม่หัวเราะอย่างคนธรรมดา เมื่อเกิดความปีติปราโมทย์ในธรรมก็เพียงแต่แย้ม เมื่อเห็นเหตุการณ์ใดที่ควรแก่การกล่าวขยายให้ผู้อื่นได้ทราบ ก็แสดงอาการแย้ม อย่างที่พระพุทธองค์ทรงกระทำเสมอ

      การพูดเล่นในเรื่องไร้สาระ การสรวลเสเฮฮานั้นทั้งหมดเป็นคำพูดไร้ประโยชน์ แม้พูดมาก เพียงไรก็ไม่ได้เป็นประโยชน์แก่ใคร ส่วนคำที่มีประโยชน์ย่อมประเสริฐกว่า เพราะฟังแล้วนาไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์แก่ตนได้ ได้แก่ คำพูดว่า

      “จงมีสติ สำรวจกายวาจาใจ เพื่อการประพฤติศีลสมาธิ”
      หรือคำที่ประกอบด้วยนิพพาน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ อินทรีย์ พละ และโพชฌงค์ ฯลฯ
      คำเหล่านี้ฟังแล้วเป็นเหตุให้กิเลสสงบระงับ คือ สงบจากราคะ โทสะ เป็นต้น จัดเป็นคำพูดอันประเสริฐกว่าแม้จะพูดเพียงเล็กน้อย นี้เป็นตัวอย่างเบื้องสูง
      คำพูดที่มีประโยชน์แบบคำธรรมดาสามัญ เช่น ทำอย่างไรดี ทำอย่างไรชั่ว อะไรควรเว้น อะไรควรทำ ควรดำเนินชีวิตอย่างไร ควรทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร เป็นต้น ผู้ฟัง ฟังแล้วนำไปปฏิบัติตาม ทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนแก่สังคมได้

      องค์ประกอบของการพูดเพ้อเจ้อ มี ๒ ประการ คือ
      ๑. เจตนากล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์
      ๒. กล่าววาจาที่ไม่เป็นประโยชน์

สัมผัปปลาปะเป็นการกล่าวคำไม่จริง แต่ก็มีความแตกต่างกับมุสาวาท คือ เจตนาที่มุ่งจะกล่าวเรื่องไร้สาระอย่างเดียว แต่ถ้าเป็นเจตนาที่เป็นไปโดยต้องการให้เขาเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วทำประโยชน์ของเขาให้เสียหาย อย่างนี้เป็นมุสาวาท เกี่ยวกับคำพูดที่ไม่เป็นประโยชน์ เรียกว่า เดรัจฉานกถา เพราะเป็นสิ่งที่ขวาง มรรค ผล นิพพาน


     :29: :29: :29: :29:

    เดรัจฉานกถา มี ๓๒ ประการ
    ๑.พูดเรื่องพระมหากษัตริย์และราชวงศ์  ๒.พูดเรื่องโจร ๓.พูดเรื่องราชการ การเมือง
    ๔.พูดเรื่องทหาร ตำรวจ ๕.พูดเรื่องภัยต่างๆที่เกิดขึ้น ๖ พูดเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์
    ๗.พูดเรื่องอาหารการกิน ๘.พูดเรื่องเครื่องดื่ม สุราเมรัย ๙.พูดเรื่องการแต่งตัว เสื้อผ้าอาภรณ์
   ๑๐.พูดเรื่องการหลับนอน ๑๑.พูดเรื่องดอกไม้ การจัดประดับดอกไม้ ๑๒.พูดเรื่องกลิ่นหอมต่าง ๆ
   ๑๓.พูดเรื่องวงศาคณาญาติ ๑๔.พูดเรื่องรถ เรือ ยานพาหนะต่างๆ ๑๕.พูดเรื่องหมู่บ้าน ร้านค้าต่างๆ
   ๑๖.พูดเรื่องนิคมต่างๆ(หมู่บ้านใหญ่,เมืองขนาดเล็ก) ๑๗.พูดเรื่องเมืองหลวง จังหวัด ๑๘.พูดเรื่องชนบท   
   ๑๙.พูดเรื่องผู้หญิง ๒๐.พูดเรื่องผู้ชาย ๒๑.พูดเรื่องหญิงสาว ๒๒.พูดเรื่องชายหนุ่ม
   ๒๓.พูดเรื่องวีรบุรุษ ความกล้าหาญ ๒๔.พูดเรื่องถนนหนทาง ๒๕.พูดเรื่องท่าน้ำ แหล่งน้ำ
   ๒๖.พูดเรื่องญาติ เรื่องคนที่ตายไปแล้ว ๒๗.พูดเรื่องต่างๆนานา ๒๘.พูดเรื่องโลกและผู้สร้างโลก
   ๒๙.พูดเรื่องมหาสมุทร และการสร้างมหาสมุทร ๓๐.พูดเรื่องความเจริญ และความเสื่อมต่างๆ
   ๓๑.พูดเรื่อง ป่าต่างๆ ๓๒.พูดเรื่องภูเขาต่างๆ

     ขอยกคากล่าวจากพระพุทธภาษิต มีความว่า
    "คำพูดแม้ตั้งพัน แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมสู้คำเดียวที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ บทเดียวที่เป็นประโยชน์ซึ่งฟังแล้วทำให้สงบได้นั้น ประเสริฐกว่า"


      :32: :32: :32: :32:

     ผลบาปของการพูดเพ้อเจ้อ

      ผลของบาปในปฏิสนธิกาล : เมื่อการพูดเพ้อเจ้อสำเร็จลงโดยมีองค์ประกอบทั้ง ๒ ครบ จัดเป็นอกุศลกรรมที่สมบูรณ์ เมื่อกรรมเช่นนี้ส่งผล จะนำไปเกิดในอบายภูมิ
      ผลของบาปในปวัตติกาล : กรรมนี้จะส่งผลได้ในปวัตติกาล คือ ทำให้ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส ได้รับอารมณ์ และพิจารณาอารมณ์ที่ไม่ดี เศษกรรมที่จะตามมาส่งผลหลังจากที่ได้รับทุกข์ในอบายภูมิแล้ว ยังสามารถตามมาส่งผลทำให้เป็นบุคคลที่ไม่มีใครเชื่อถือในคำพูด ไม่มีอำนาจ หรือ วิกลจริต



ที่มา :-
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ ชุดที่ ๗.๒ กฎแห่งกรรม หน้า ๑๒ ถึง หน้า ๒๒
คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม เรียบเรียงโดย วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน
ขอบคุณภาพจาก :-
http://www.dmc.tv/
http://i01.i.aliimg.com/
http://www.bloggang.com/
http://up.graaam.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 03:35:02 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ข้อความโดย: kobyamkala

   “เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก    จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
    แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา     จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”.....สุภาษิตสอนหญิง/สุนทรภู่

   อ่านแล้วยาก หยิก ท่านสุนทรภู่ จัง
   สอนแต่หญิง แต่ ชาย ร้ายยิ่งกว่า หญิง อีก

   เจ้า คารม คมหอก เชือดเฉือน  ชาย นี่ ร้าย นัก

   


 ans1 ans1 ans1 ans1

แม่กบงอน คงงามแท้ เป็นแน่หนอ      หลายคนรอ ชมโฉม อันเฉิดฉาย
แม่คงงาม สดใส ทั้งใจกาย      แม้ยามสาย ไปวัดได้ สบายตา
แม่ฝักใฝ่ ในธรรม เลอล้ำเลิศ      บุญประเสริฐ เกิดแล้ว จงรักษา
ขอแม่เจ้า เฝ้าดูเว็บ มัชฌิมา      จะได้ตา เห็นธรรม ในทันใด.....


 :49: :57: :72: :) ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :hee20hee20hee: :P
         แหม ศิษย์พี่เรานี้ก็ เจ้าบทเจ้ากลอนเหมือนกัน นะเนี่ย


                 ตอนนี้ ผู้แต่โคลง อีกท่าน  มีปัญหาด้านสัญญาณ  คอมใช้ไม่ได้  ครับ

                   
                       ถ้าไม่เช่นนั้นผมว่าก็คงไม่มีใครยอมใครละงานนี้
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นี่แหละ เขาจึงบอกว่า ระวัง วาจา ชาย ให้ดี ล่อลวงได้ นะคะ อย่าหลงกล นะ

  ขอบคุณ สำหรับกลอน คะ
 
   :49: st11 st12
 
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ถ้อยคำที่คนอื่นจะพึงกล่าว ๕ ประการ
(กกจูปมสูตร)

      [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการคือ
               กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
               กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
               กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
               กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
               มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
          จิตของเราจักไม่แปรปรวน
          เราจักไม่เปล่งวาจาลามก
          เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์
          เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน
          เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
      และเราแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น
ดังนี้
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.





      [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน ดังนี้
      เขาขุดลงตรงที่นั้นๆ โกยขี้ดินทิ้งในที่นั้นๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้นๆ ถ่ายปัสสาวะรดในที่นั้นๆ แล้วสำทับว่าเองอย่าเป็นแผ่นดินๆ ดังนี้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
      บุรุษนั้นจักทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือไม่.?
      ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า
      ข้อนั้นเพราะเหตุไร.?
      เพราะเหตุว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
           กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
           กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
           กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
           กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑
           มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑
      ก็ฉันนั้นเหมือนกัน


       st12 st12 st12 st12

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่ควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้นพวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
          จิตของเราจักไม่แปรปรวน
          เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก
          เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์
          เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะภายใน
          เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
      และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแผ่นดิน ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น
ดังนี้
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.


อ้างอิง :-
กกจูปมสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=4208&Z=4442
ขอบคุณภาพจาก :-
http://files.palungjit.org/
http://i.ytimg.com/
http://imgsdown.1mobile.com/





เพลงยาวถวายโอวาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เพลงยาวถวายโอวาท เป็นผลงานกวีนิพนธ์แบบกลอนประพันธ์โดยสุนทรภู่ ขณะเมื่อเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เชื่อว่าประพันธ์ขึ้นราวปี พ.ศ. 2371-72 เนื้อหาแสดงคำสอนที่น่าสนใจ รวมถึงประเพณีเก่าแก่ของไทยหลายอย่าง เช่น การแต่งกาย การล้างหน้า การตัดผม เป็นต้น มีวรรคทองมากมายปรากฏอยู่ในวรรณกรรมเรื่องนี้ เช่น

        "อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก     แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
         แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย   เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ"


อีกบทหนึ่งคือ

        "อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ     ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
         สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก      จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย"

______________________________________________
ทีมา :- https://th.wikipedia.org/wiki/เพลงยาวถวายโอวาท



     
          “เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก    จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา
           แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา     จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”
.....สุภาษิตสอนหญิง/สุนทรภู่
 



สาธุ สาธุ สาธุ ท่านรพลสันต์ พระสูตรนี้ถึงใจดีนักดีงามยิ่งแล้ว แม้ผม หรือ ใครๆก็ตามน้อมลงมาใส่ใจย่อมเห็นธรรมอันควรนี้ที่มีประโยชน์สูงแก่ชนทั้งหลายมากๆ

st12 st12 st12 st11

บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ