ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพรหมและพราหมณ์ ฮินดูกับไทย  (อ่าน 1041 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระพรหมและพราหมณ์ ฮินดูกับไทย
« เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 07:59:40 pm »
0

พระพรหมและพราหมณ์ ฮินดูกับไทย
คอลัมน์ รื่นร่มรมเยศ โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก

เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นบริเวณศาลท้าวมหาพรหม สี่แยกราชประสงค์ เมื่อคืนวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา สร้างความตื่นตระหนกและหวาดกลัวให้กับผู้ที่เห็นเหตุการณ์ และผู้ที่ติดตามข่าวสารเป็นอย่างมาก จะเป็นฝีมือของใครหรือผู้ไม่หวังดีกลุ่มไหน ยังไม่สามารถสรุปได้ แต่ในโอกาสนี้ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสุดซึ้ง

จากเหตุการณ์นี้มีหลายคนในโลกออนไลน์ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปต่างจับกลุ่มพูดคุย ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับองค์พระพรหมเอราวัณว่า แรงระเบิดทรงพลานุภาพขนาดนี้ทำไมพระพรหมถึงไม่เป็นอะไรเลย จะว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์หรือเป็นเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายได้ ก็แล้วแต่ศรัทธาของแต่ละท่าน แต่ขอให้เชื่ออย่างมีสติปัญญาไตร่ตรองก็แล้วกัน

 ask1 ask1 ask1 ask1

พระพรหมตามคติของศาสนาพราหมณ์ฮินดูกล่าวว่า ทรงถือกำเนิดมาจากไข่ คัมภีร์วราหปุราณะ อธิบายว่า ทรงเกิดในดอกบัวจากพระนาภีของพระนารายณ์ ขณะประทับบนหลังอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร พระพรหมทรงเป็นผู้สร้างโลกทั้ง 3 และสรรพสิ่งทั้งหลาย ทรงแบ่งภาคสถิตอยู่ในมนุษย์และสัตว์ทั้งปวง

ภาพของพระพรหมมักทำเป็นรูปมี 4 เศียร 4 กร ทรงสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือ คัมภีร์พระเวท ลูกประคำ คนโทบรรจุน้ำ (จากแม่น้ำคงคา) และช้อนสำหรับหยอดไขเนยลงในไฟ บางครั้งทำเป็นรูป 2 กร ถือคทาอาญาสิทธิ์กับธนู อีก 2 กร ห้ามสรรพภยันตราย

พระพรหมสถิตอยู่ ณ พรหมปุระ (พรหมพฤนทา) ในพรหมโลกบนยอดเขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วยแม่น้ำคงคา มีหงส์เป็นพาหนะ พระพรหมเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตา กรุณา ประทานพรให้แก่ทุกคนที่ขอ พระพรหมมีมเหสีชื่อ พระสรัสวดี


 :25: :25: :25: :25:

พระสรัสวดี เป็นเทพีแห่งการศึกษาเล่าเรียน และผู้อุปถัมภ์ศิลปวิทยาการทั้งปวง

ภาพพระสรัสวดีมีพระโฉมงดงาม ผิวพระกายขาวผุดผ่อง ประดับอาภรณ์ด้วยแก้วสีขาว (เพชร) มี 4 กร ทรงพิณ ดอกบัว ถ้วยน้ำ และคัมภีร์ ประทับบนหลังนกยูง

ชาวฮินดูมีเทศกาลเฉลิมฉลองเพื่อสักการะบูชาพระสรัสวดีในเทศกาล "นวราตรี" วันที่ 9 ของงานจัดเป็นพิธีสำหรับเทพีองค์นี้โดยเฉพาะ เรียกว่า "วันอยุทธบูชา" มีการนำเอาหนังสือออกมาทำความสะอาด ประดับประดาด้วยไหมสีงดงาม แล้วเจิมด้วยกระแจะจันทร์หอม ผู้มีอาชีพช่างต่างจะนำเครื่องมือประกอบอาชีพมาวางทำพิธีบูชา นักเรียนหยุดเรียน จัดหาดอกไม้มาบูชาพระสรัสวดี

 ans1 ans1 ans1 ans1

ปรัชญา ค่านิยม และวัฒนธรรม ฮินดูนั้นที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากพอสมควร พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

1.ปรัชญาเรื่องวิญญาณอมตะ คนไทยทั่วไปมีความเชื่อว่า หลังจากตายแล้ว วิญญาณไม่ตายไปด้วย วิญญาณอมตะนี้จะไปหาที่เกิดใหม่ตามอำนาจกรรมที่ทำมา วิญญาณ ในความหมายนี้คือ อาตมัน หรือชีวาตมัน ของศาสนาพราหมณ์ฮินดู หาใช่พระพุทธศาสนาไม่ เข้าใจว่าแนวคิดเช่นนี้ (ทั้งๆ ที่ขัดแย้งกับพระพุทธศาสนา) คนไทยได้รับผ่านศาสนาพราหมณ์ฮินดู

2.เทพเจ้าของฮินดู เช่น พระพรหม พระนารายณ์ (หรือพระวิษณุ) พระศิวะ (หรือพระอิศวร, รุทระ และนาฏราช) พระคเนศ (หรือพระพิฆเนศ) คนไทยรับเอามาโดยไม่เคอะเขิน กราบไหว้บูชา เซ่นสรวงด้วยความสนิทใจ ความเชื่อเรื่อง "ปลัดขิก" ของคนไทย เข้าใจว่ามาจากลัทธิบูชาพระศิวะลึงค์ของพราหมณ์ฮินดูนั้นเอง

3.เทพเจ้าประจำทิศ มาจากพราหมณ์ฮินดู สมัยพระเวท มีเทพประจำทิศทั้ง 8 คือ พระอินทร์ ประจำตะวันออก, พระอัคนี ประจำตะวันออกเฉียงใต้, พระยม ประจำทิศใต้, พระอาทิตย์ ประจำตะวันตกเฉียงใต้, พระวรุณ ประจำตะวันตก พระวายุ ประจำตะวันตกเฉียงเหนือ, ท้าวกุเวร ประจำทิศอุดร, พระจันทร์ ประจำทิศอีสาน ไทยเรามีความเชื่อถือว่าตามทิศต่างๆ มีเทพประจำอยู่

คติทางพระพุทธศาสนา ยุคหลัง มีการจัดพระอรหันต์ประจำทิศทั้ง 8 แทนเทพเจ้า และในคัมภีร์ทางศาสนามีระบุ เทพประจำทิศทั้ง 4 คือ ธตรฐ ประจำทิศตะวันออก, วิรุฬหก ประจำทิศใต้, วิรูปักข์ ประจำทิศตะวันตก, กุเวร ประจำทิศอุดร


4.พระอินทร์ เป็นเทพที่ตกอันดับตั้งแต่เกิดพระพรหมขึ้นในสมัยพราหมณ์ แต่มามีชื่ออยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ยุคหลังถึงกับเกณฑ์ให้พระอินทร์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ส่วนในวรรณคดีไทย ยังเชื่อว่าพระอินทร์เป็นหัวหน้าเทพอยู่เหมือนเดิม และสามารถลงมาช่วยคนตกทุกข์ได้ยากอยู่

5.ดาวประจำวันในทางโหราศาสตร์ ก็คือเทพประจำวันนั้นเอง สืบเนื่องมาจากพราหมณ์-ฮินดู เพราะสิ่งเหล่านี้เขาถือว่าเป็นเทพเจ้า ชาวพุทธเองก็กำหนดเอาพระพุทธเจ้าปางต่างๆ เป็นพระประจำวันด้วย

6.การเซ่นสรวงบูชา หรือพิธีกรรมแบบฮินดู ได้นำมาใช้ควบคู่กับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างที่อยู่อาศัย การขึ้นบ้านใหม่ ตลอดจนพิธีแต่งงาน

7.สังสการของพราหมณ์ เช่น พิธีโกนจุก พิธีตั้งชื่อ ก็ปฏิบัติกันเคร่งครัด โดยเฉพาะในราชสำนัก เฉพาะพิธีตั้งฉายา (ชื่อพระ ตอนบวช) และตั้งชื่อคนทั่วไป เข้าใจว่าได้อิทธิพลมาจากฮินดู

 :96: :96: :96: :96: :96:

สรุปแล้ว ชาวไทยรับเอาความเชื่อ และวัฒนธรรมพราหมณ์-ฮินดู ผ่านมาทางศาสนาฮินดูโดยตรงบ้าง ผ่านศาสนาพุทธบ้าง ผ่านวรรณกรรมอินเดีย เช่น มหาภารตะ รามายณะบ้าง มาหล่อหลอมเป็นวิถีชีวิตของตนได้อย่างสนิทสนมกลมกลืน


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1440329444
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2015, 08:22:07 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ