ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘เป้าหมายที่แตกต่าง...บนเส้นทางแห่งกุศล’  (อ่าน 1131 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


‘เป้าหมายที่แตกต่าง...บนเส้นทางแห่งกุศล’

ความเป็นชาวพุทธของคนรุ่นใหม่ต่างเกิดคำถามขึ้นมามากมาย จากสิ่งที่เขาได้เรียนรู้และสิ่งที่เขาได้เห็น จุดหมายปลายทางของการเรียนรู้ศึกษาพระพุทธศาสนานั้น คือ ละอัตตาตัวตนของตัวเองลง แต่สิ่งที่เขาได้เห็น คือ นักปฏิบัติธรรมยิ่งปฏิบัติยิ่งมีอัตตา

สิ่งที่เขาเรียนรู้ คือ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอันปราศจากพิธีกรรมที่กระเดียดไปในทางความเชื่อทุกรูปแบบ ทั้งเป่าเสก พรมน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ แต่ภาพในความจริงเกือบทุกวัดมีสิ่งนี้อยู่ทั้งหมด ความสับสนในการเป็นชาวพุทธของคนรุ่นใหม่จึงเกิดขึ้น ตกลงเราจะเป็นชาวพุทธหรือชาวฮินดูกันแน่

นักศึกษาคนหนึ่งถามผมว่า สิ่งที่เป็นอยู่แบบนี้ มีหลักคิดอย่างไรกับความเป็นพระพุทธศาสนา ได้แต่แนะนำไปว่า การที่จะเป็นชาวพุทธที่ดี คือ ไม่ต้องไปมองเรื่องอื่น โค้ชตัวเอง มองตัวเอง ศึกษาตัวเองพอแล้ว คุณชอบความเป็นพุทธแบบไหน ก็ศึกษาแบบนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นพุทธแบบเซน พุทธแบบมหายาน วัชรญาณ หรือจะเป็นพุทธแบบเถรวาทกึ่งพราหมณ์

เพราะทุกแนวทางล้วนสอนให้คนเป็นคนที่ดี อยู่ในหลักของศีลธรรมอันดีงาม ไม่ได้สอนให้คนเข้าไปในทางที่มีจิตใจน้อมลงต่ำแต่ประการใด เราไม่มีสิทธิที่จะไปตัดสินว่าแบบไหนอย่างไร ดี ไม่ดี แต่เรามีสิทธิที่จะ ตัดสินใจเลือกเดินเอาเองว่า เราจะไปทางไหน ฝึกจิตแบบไหนอย่างไร เพื่อให้จิตวิญญาณของเราสูงขึ้น

 :96: :96: :96: :96:

ส่วนตัวผมเชื่อศาสตร์ทุกศาสตร์ของโลกว่ามีอยู่จริง เพียงแต่จะเชื่อและหยิบเอามาใช้ด้วยปัญญา ไม่ใช่ด้วยเพียงแค่หลักความเชื่อเพียงอย่างเดียว ในมุมของความเป็นพระพุทธศาสนา ผมจะไม่เน้นเรื่องของพิธีกรรมทุกกรณี ผมจะไม่เน้นเรื่องการทำบุญเพียงส่วนเดียว และผมไม่ได้เน้นเรื่องของการเป็นนักปฏิบัติธรรมในกรอบตามวัดวาอาราม

แต่ผมจะเน้นลัดตรงมุ่งสู่จิตวิญญาณ ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการยึดกรอบของธรรม โดยมรรคมีองค์แปดที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น เราก็เห็นได้จากประโยคแรกที่พระองค์ทรงสอน คือ เรื่องของแนวความคิด การที่เรามีแนวความคิดที่เป็นธรรมนั้น คือ จุดเริ่มต้นที่ดี สัมมาทิฐิ แปลว่าความเห็นชอบ คำว่าชอบคำนี้ มิได้หมายถึง ชอบใคร ชอบแบบไหน ชอบของใคร แต่หมายถึง ความคิดที่บ่งบอกว่าเป็นความชอบธรรม การที่เรามีความคิดเป็นไปในรูปแบบชอบธรรมนั้นแล คือ ความคิดที่เป็นกลาง

      คิดที่ไม่ได้เอียงเอนไปในฝ่ายใด ตัดสินใครทั้งสิ้น
      การฝึกจิตแบบนี้ ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานเขาเรียกว่า การฝึกแบบโพธิจิต
      ในฝ่ายเถรวาทอาจจะเรียกว่า ฝึกกรรมฐานแบบมรรคมีองค์แปด
      อะไรก็ตาม แล้วแต่ชื่อและความคุ้นเคยของแต่ละคน


ความแตกต่างในการปฏิบัติของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะบางคนปฏิบัติอาจมุ่งผลเพียงแค่แก้บน เสริมดวงชะตา บางคนก็เพื่อดับทุกข์ หรือสูงขึ้นไปนั้น อาจจะหมายถึงการหลุดพ้นหมดกิเลสเลยก็ได้ ไม่ว่าจะมีเป้าหมายอย่างไร ที่แตกต่างกันนั้นก็ตาม แต่สิ่งที่ชัดเจนมากที่สุด คือ ทุกคนล้วนอยู่บนเส้นทางที่สะอาด แม้จะมีธรรมที่แตกต่างกันก็ตาม

 st12 st12 st12 st12

หลังจากที่ได้เล่าเรื่องต่างๆ ให้เขาฟังจบ นักศึกษาคนนี้ได้ถามผมว่า เป้าหมายอันสูงสุดในทางพระพุทธศาสนาของผม คือ อะไร เมื่อถามมาก็ตอบไปว่า "ไม่มี" นักศึกษาทำหน้าตาแปลกใจว่า ทำไมตอบว่า ไม่มี จึงอธิบายให้เขาฟังว่า การศึกษาในเรื่องทางโลกย่อมต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดแล้วมุ่งเดินทางไปให้ถึงเป้าหมายตามที่วางเอาไว้

แต่สำหรับในด้านศาสนาเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ การเรียนรู้ระหว่างทางโลกกับทางธรรมจึงแตกต่างกันในเรื่องนี้ ทุกอย่างต้องค่อยๆ สะสมกุศลในใจไปเรื่อยๆ ให้แก่กล้า เป็นลำดับ ไม่พยายามปล่อยตัวเผลอใจอะไรใดๆ ทั้งสิ้น และหมั่นท่องอยู่ในใจเอาไว้ว่า ใจของเรานั้นบริสุทธิ์อยู่แล้ว แต่ที่เราเป็นแบบนี้เป็นเพราะว่าสิ่งต่างๆ ที่มากระทบทำให้เรามีความคิดต่างๆ มากมาย ทั้งเรื่องดีและเรื่องไม่ดี จึงทำให้เราอ่อนไหวเอนตาม

 st11 st11 st11 st11

ถ้าเราคิดจะฝึกจริงๆ ลัดตรงสู่จิตนี้แหละ เป็นประเด็นที่สำคัญ ที่พระอรหันต์ทั้งหลายท่านก็ทำมา แล้วเราก็ค่อยๆ ทำในสิ่งนั้นแบบไม่ต้องเร่งรีบแต่ประการใด ทำไปเรื่อยๆ ทำไปด้วยความรู้สึกในมุมของการรักษากุศลกรรมในใจ

ฝึกแบบนี้ไม่นานใจเราจะเบา ใจเราจะโปร่ง ที่สำคัญต้องไม่ตัดสินใครอะไรอย่างไร เราไม่มีสิทธิที่จะตัดสินใคร หรือความคิดของใครทั้งนั้น หลายคนที่เป็นนักปฏิบัติธรรมแต่ที่ยังไม่ก้าวไปข้างหน้าได้นั้นคิดว่าเป็นเพราะอะไร ถ้าไม่ใช่เพราะเรื่องของการตัดสินผู้อื่นโดยที่ไม่คิดที่จะตัดสินตัวเอง

ดังนั้น การปฏิบัติธรรมทั้งปวง เราควรจะกลับมามองที่ตัวเราเองมากๆ ไม่ใช่ไปมองแต่ภายนอกเพียงอย่างเดียวการเรียนรู้ภาวะจิตภายในของเรานั้น เราสามารถเข้าถึงจิตวิญญาณได้อย่างแท้จริง เมื่อเราเข้าถึงแล้วทุกอย่างในความเป็นตัวเรานั้นก็จะใสสะอาดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาวะจิตใจ


ขอบคุณที่มา : คอลัมน์ธรรมะ-จิตใจ โดย โดย...ราช รามัญ
https://www.posttoday.com/dhamma/515250
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2017, 06:31:40 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ‘เป้าหมายที่แตกต่าง...บนเส้นทางแห่งกุศล’
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2017, 08:45:11 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;