ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เยือนวัดระฆัง รำลึก'หลวงพ่อโต' 145 ปีแห่งการมรณภาพ  (อ่าน 1325 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วัดระฆังโฆษิตารามริมแม่น้ำเจ้าพระยา


เยือนวัดระฆัง รำลึก'หลวงพ่อโต' 145 ปีแห่งการมรณภาพ

        ในวันที่ 22 มิ.ย. ที่จะถึงนี้ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่พุทธศาสนิกชนนิยมเรียกว่า “สมเด็จโต” หรือ "หลวงพ่อโต" ซึ่งท่านเป็นพระมหาเถระรูปสำคัญที่ได้รับความเคารพศรัทธานับถืออย่างมากในประเทศไทย แม้ว่าจะมรณภาพไปนานถึง 145 ปีแล้วก็ตาม แต่เรื่องราวของท่านยังคงเป็นที่เล่าขาน
       
       อีกทั้ง “พระคาถาชินบัญชร” อันเป็นบทสวดมนต์บทหนึ่งที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมสวดมากที่สุดนั้น เชื่อกันว่า สมเด็จโตเป็นผู้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นจากฉบับเดิมที่สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งและใช้เป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระเครื่อง “พระสมเด็จ” ที่สมเด็จโตสร้างขึ้นก็ถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคล เป็นหนึ่งในพระเบญจภาคี หรือสุดยอดพระเครื่องหายากและราคาแพงที่สุดในวงการพระเครื่องไทย


วัดสำคัญทางฝั่งธนบุรี
       
รูปของสมเด็จโตและระฆังขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าวัด

        และเนื่องในโอกาสที่ใกล้วันคล้ายวันมรณภาพของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตในครั้งนี้ จึงอยากขอพาทุกคนมายัง “วัดระฆังโฆษิตาราม” วัดที่สมเด็จโตเคยดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสของในช่วงรัชกาลที่ 4-5 โดยเป็นเจ้าอาวาสครองวัดระฆังโฆสิตารามยาวนานถึง 20 ปี
       
       “วัดระฆังโฆษิตารามวรมหาวิหาร” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “วัดระฆัง” ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับท่าช้าง หรือตรงข้ามกับบริเวณพระบรมมหาราชวังนั่นเอง การเดินทางมายังวัดระฆังทางเรือจึงสะดวกสบายมาก สามารถนั่งเรือข้ามฟากมาจากท่าช้าง หรือจะนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าวังหลังแล้วเดินต่อมายังวัดระฆังก็ได้


ทางเข้าสู่พระวิหารและพระอุโบสถ

หอระฆังพร้อมทั้งระฆัง 5 ลูก

        ก่อนนี้วัดระฆังมีชื่อเดิมว่า “วัดบางหว้าใหญ่” เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดระฆังภายหลังในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เมื่อมีการขุดพบระฆังลูกหนึ่งซึ่งมีเสียงไพเราะมาก ซึ่งต่อมารัชกาลที่ 1 ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำระฆังลูกนั้นไปไว้ที่วัดพระแก้ว และโปรดให้สร้างหอระฆัง พร้อมทั้งระฆังอีก 5 ลูกไว้ให้แทน จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดระฆัง” นั่นเอง
       
       หากอยากมากราบหลวงพ่อโตที่วัดระฆัง ต้องไปที่ “พระวิหารสมเด็จ” ซึ่งเป็นพระวิหารที่ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระราชาคณะของวัด นี้ไว้ 3 องค์ ด้วยกัน คือ ซึ่งก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งประดิษฐานตรงกลาง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ม.จ.ทัด เสนีวงศ์) ประดิษฐานทางซ้ายมือ และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ประดิษฐานอยู่ทางขวามือ ซึ่งทั้งสามท่านนี้เป็นพระภิกษุที่มีคนเคารพนับถืออย่างมาก มีคนเข้ามาสักการะท่านทั้งสามไม่ขาดสาย โดยมีเครื่องสักการะเป็นดอกไม้ มาลัยและหมากพลูต่างๆ


ภายในพระวิหารสมเด็จ

        ภายในวิหารมีบทสวดพระคาถาชินบัญชรตัวใหญ่อ่านง่ายไว้ที่ด้านหลังองค์พระและบริเวณผนังด้านข้างให้ผู้ที่เข้ามากราบหลวงพ่อโตได้สวดตามอย่างสะดวก และเมื่อสวดจบแล้วก็จะปิดทองที่องค์ท่านทั้ง 3 เป็นอันเสร็จ
       
       ส่วนบริเวณตรงข้ามกับพระวิหารสมเด็จ เป็นที่ตั้งของพระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี) ซึ่งเป็นพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ สามารถเข้าไปกราบสักการะกันได้
       
       เสร็จเรียบร้อยแล้วเข้าไปกราบพระในพระอุโบสถกันบ้าง พระอุโบสถของวัดระฆังนี้มีขนาดใหญ่โต ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้อทองสำริดปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 4 ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก 3 องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก เล่ากันว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้ทรงมีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า “...ไปวัดไหนไม่เหมือนมาวัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที...” ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ


พระประธานยิ้มรับฟ้าในพระอุโบสถ

        อีกอย่างที่น่าชมก็คือภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถที่รังสรรค์โดยเสวกโท พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง) จารุวิจิตร ซึ่งเป็นจิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 6 เขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ.2465 ภาพบนผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ และภาพเดียรถีย์ท้าแข่งรัศมีกับพระพุทธองค์ ส่วนด้านหลังเป็นภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ผนังด้านข้างเบื้องบนเขียนเป็นรูปเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติชาดกฝีมืองดงามยิ่งนัก

ตำหนักจันทน์

        อีกหนึ่งไฮไลต์สำคัญของวัดระฆังที่ไม่ควรพลาดไปชมคือ “ตำหนักจันทน์” หรือ “หอพระไตรปิฎก” ซึ่งอยู่ทางด้านข้างของพระอุโบสถ มีรั้วกั้นเป็นสัดเป็นส่วนซ่อนตัวอยู่ในร่มไม้หนา หอไตรนี้เป็นตำหนักไม้แฝด 3 หลัง เดิมเป็นตำหนักและหอประทับนั่งของรัชกาลที่ 1 เมื่อตอนที่ยังเป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกฝ่ายขวา ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสิน แต่เมื่อต้องเสด็จไปตีเมืองโคราชจึงได้รื้อตำหนักนั้นมาถวายให้เป็นหอพระไตรปิฎกแก่วัดระฆัง หรือวัดบางหว้าใหญ่ในขณะนั้น
       
       เมื่อมายืนอยู่ด้านหน้าตำหนักจันทน์จะมองเห็นซุ้มประตูตรงนอกชานดูโดดเด่นด้วยลวดลายแกะสลักไม้เป็นลายดอกไม้ ส่วนบานประตูของหอกลางแกะเป็นลวดลายนกวายุภักษ์และลายกนกเครือเถาสวยงาม ภายในมีพระบรมสาทิสลักษณ์ขนาดใหญ่ของรัชกาลที่ 1 ตั้งอยู่ในหอกลาง ส่วนปีกตำหนักด้านซ้ายและขวานั้นมีตู้พระไตรปิฏกเขียนลายรดน้ำปิดทองฝีมืองดงามอยู่ด้านละใบ ตู้นี้เป็นตู้ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งยังทรงพระยศเป็นเจ้าฟ้าฯทรงลงพระหัตถ์แกะลายร่วมกับครูช่างอยุธยาด้วยพระองค์เอง


ตู้พระไตรปิฎกงดงามบนตำหนักจันทน์

        หอพระไตรปิฏกนี้ได้มีการซ่อมแซมครั้งใหญ่เมื่อคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และยังเคยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี 2530 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
       
       มาวัดระฆังคราวนี้ไม่เพียงได้มาไหว้หลวงพ่อโต แต่ยังได้มาชมของดีอีกเพียบเลย และสำหรับใครที่อยากมากราบหลวงพ่อโตในวันคล้ายวันมรณภาพครบ 145 ปี และอยากร่วมทำบุญบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และอดีตบุรพาจารย์แห่งวัดระฆังก็สามารถมาร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพกันได้ในวันพฤหัสบดีที่ 22 มิ.ย. ณ พระอุโบสถวัดระฆัง อีกทั้งในวันดังกล่าวทางวัดก็มีพิธีวันอาจาริยบูชา โดยมีการสวดพระคาถาชินบัญชรและพิธีมหาพุทธาภิเศก ปิดทองรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒนาจารย์ (โต พรหมรังสี) โดยจะเริ่มพิธีเวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ศาลาการเปรียญวัดระฆังโฆษิตาราม สามารถมาเข้าร่วมพิธีกันได้เลย
       
       “วัดระฆังโฆสิตารามวรวิหาร” ตั้งอยู่บนถนนอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร การเดินทางสามารถนั่งรถประจำทางสาย 19, 57, 83 สามารถนั่งเรือข้ามฟากจากท่าช้างไปยังท่าวัดระฆัง หรือนั่งเรือด่วนเจ้าพระยาลงท่าวังหลัง แล้วเดินต่อมายังวัดระฆังได้



ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000062794
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เยือนวัดระฆัง รำลึก'หลวงพ่อโต' 145 ปีแห่งการมรณภาพ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2017, 07:42:21 pm »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เยือนวัดระฆัง รำลึก'หลวงพ่อโต' 145 ปีแห่งการมรณภาพ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2017, 05:12:06 pm »
0
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เยือนวัดระฆัง รำลึก'หลวงพ่อโต' 145 ปีแห่งการมรณภาพ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 24, 2017, 09:18:06 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา