ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธชัคคปริตร ปริตรยอดธง | ทำให้พ้นจาก อุปสรรคอันตราย และ การตกจากที่สูง  (อ่าน 841 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธชัคคปริตร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธชัคคปริตร หรือธชัคคสูตร หรือบางตำราเรียกว่า ธชัคคสุตตปาฐะ (บทว่าด้วยธชัคคสูตร) เป็นพระสูตรที่นิยมใช้สวดสาธยาย เพื่อป้องกันภัย รวมอยู่ในพระปริตร หรือบทสวดเจ็ดตำนาน และบทสวดสิบสองตำนาน พระสูตรนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวอุปมาพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณว่า

เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจอันเลิศ เปรียบดั่งชายธงของพระอินทร์ในเรื่องเทวาสุรสงคราม ยามที่เทวดาทั้งหลายกระทำสงครามกับเหล่าอสูร เมื่อมองไปที่ชายธงของพระอินทร์ ทำให้เกิดความมั่นใจฉันใด การระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ทำให้เกิดความมั่นใจหายกลัวฉันนั้น

๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ที่มา

พระผู้มีพระภาคตรัสพระสูตรนี้ ระหว่างที่ทรงประทับอยู่ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร อันเป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตั้งอยู่เขตพระนครสาวัตถี ทรงตรัสถึงวิธีการจัดการกับความหวาดกลัว โดยทรงสอนให้ภิกษุทั้งหลายเจริญพุทธานุสสติ นึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพทธเจ้ายามที่เกิดความหวาดกลัว เมื่อนึกถึงพระพุทธคุณแล้ว ความหวาดกลัวจะมลายหายไป [1]

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงให้อรรถาธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า "คำว่า ธชัคคะ แปลว่า ยอดธง ธชัคคสูตร คือ พระสูตรที่แสดงถึงยอดธง อันท่านแสดงว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง เทวาสุรสงคราม คือ สงครามแห่งเทพดากับอสูรซึ่งเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้ว โดยตรัสเล่าว่า

เมื่อเทพดาทั้งหลายรบกับอสูร ความกลัวบังเกิดขึ้นแก่เทพดาทั้งหลาย ท้าวสักกะจอมเทวดา จึงได้ตรัสแนะนำให้หมู่เทพแลดูยอดธง หรือชายธงของพระองค์หรือว่าของเทวราชที่รองลงมา ความกลัวก็จะหายไปได้ [ส่วน] พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในป่าเกิดความกลัวขึ้น ก็ให้ระลึกถึงพระองค์ หรือระลึกถึงพระธรรม หรือระลึกถึงพระสงฆ์ความกลัวก็จะหายไป

[พระสูตร]นี้แสดงทางธรรมปฏิบัติก็คือ ให้เจริญพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ ในเมื่อภิกษุทั้งหลาย หรือผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลาย เข้าไปอยู่ในป่า ก็จะทำให้ความกลัวต่าง ๆ หายไปได้ ก็เป็นพระสูตรที่สอนให้เจริญพุทธานุสสติเป็นต้น นั้นเอง" [2]


๐๐๐๐๐๐๐๐๐

เนื้อหา

เนื้อหาของธชัคคสูตรสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ ไวยากรณ์ภาษิต และ คาถาประพันธ์ ส่วนที่เป็นไวยากรณ์ภาษิต หรือภาษิตที่กล่าวไว้ดีแล้วถูกต้องตามหลักการแล้ว คือส่วนที่พระพุทธองค์ทรงเท้าความถึงการเจริญพุทธานุสสติว่า มีคุณมากกมาย เหมือนดังที่เทวดาทั้งหลายแลดูธงของพระอินทร์ในเทวาสุรสงคราม แต่พุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ และสังฆานุสสติ อันเป็นเหมือนธงชัยของพระภิกษุทั้งหลายนี้ เป็นสิ่งที่เลิศยิ่งกว่าธงชัยของพระอินทร์ และเทวดาผู้นำทั้งหลายนัก เพราะ

"เมื่อพวกเทวดาแลดูยอดธงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณ เทวราชอยู่ก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ก็ดี ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้างข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดา ยังเป็นผู้ไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะ ไม่ปราศจากโมหะ ยังเป็นผู้กลัว หวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่ฯ" [3]

จากนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า การระลึกคุณพระรัตนตรัยนั้น ช่วยให้ภิกษุที่อยู่ "ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่าง" [4] ปราศจากความหวาดกลัวในสิ่งอันน่าสะพรึงกลัว เพราะเหตุที่ว่า "พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นจะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม" [5] หรือบทพรรณนาพระพุทธคุณ คือ อิติปิโสฯ [6]

จากนั้น ก็ทรงแนะนำว่า หากพระภิกษุไม่อาจนึกถึงพระพุทธคุณ ให้นึกถึงพระธรรมคุณ หากไม่อาจนึกถึงพระธรรมคุณ ให้นึกถึงพระสังฆคุณ แล้วทรงถึงแจกแจงคุณของพระธรรมว่าเป็นเลิศ และคุณของพระสงฆ์ว่าเป็นเลิศ ดังบทพรรณนาพระธรรมคุณว่า สวากฺขาโตฯ [7] และดังบทพรรณนาพระสังฆคุณว่า สุปฏิปนฺโนฯ [8] เป็นต้น

แล้วทรงตรัสว่า เมื่อผู้ใดได้รำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยดังนี้แล้ว "ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไปฯ" [9]

หลังจากที่ทรงอธิบายคุณของการระลึกถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นดั่งธงชัยปัดเป่าความกลัวแล้ว จากนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ ความว่า อรเญฺญ รุกฺขมูเล วาฯ ดังนี้ โดยมีคำแปลพระบาลี กล่าวคือ

     "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย
      ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชนทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว
      ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้วทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า"

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดีความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย ฯ"
[10]

๐๐๐๐๐๐๐๐๐

การสวดสาธยาย

ธชัคคปริตร หรือธชัคคสูตร ได้รับการจัดให้เป็นพระปริตร หรือบทสวดเจ็ดตำนาน และบทสวดสิบสองตำนาน และรวมอยู่ในภาณวาร หรือหนังสือบทสวดมนต์หลวง เชื่อถือกันว่า มีอานุภาพป้องกันยักขภัยและโจรภัย เป็นต้น และมีอานุภาพแผ่ไปได้ถึงแสนโกฏิจักรวาล [11] [12]

นอกจากนี้ ในอรรถกถาสารัตถปกาสินียังเล่าถึงอิทธิฤทธิ์ของพระปริตรนี้ไว้ว่า มีชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังฉาบปูนขาวที่ทีฆวาปิเจดีย์ เกิดพลัดตกจากเชิงเวทีชั้นบนลงมาในโพรงพระเจดีย์ "ภิกษุสงฆ์ยืนอยู่ข้างล่าง จึงกล่าวว่า นึกถึงธชัคคปริตซิคุณ เขาตกใจ กลัวตายจึงกล่าวว่า ธชัคคปริตช่วยผมด้วย ดังนี้ อิฐ 2 ก้อนหลุดจากโพรงเจดีย์ตั้งเป็นบันไดให้เขาทันที คนทั้งหลายก็หย่อนบันไดเถาวัลย์ที่อยู่ข้างบน อิฐที่บันไดนั้นก็ตั้งอยู่ตามเดิม" [13]

คุณของพระปริตรนี้ยังปรากฏในบทขัด ความว่า
     "ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ อนฺตลิกฺเขปิ ปาณิโน /
      ปติฏฺฐมธิคจฺฉนฺติ ภูมิยํ วิย สพฺพทา /
      สพฺพูปทฺทวชาลมฺหา ยกฺขโจราทิสมฺภวา /
      คณนา น จ มุตฺตานํ /
      ปริตฺตนฺตมฺภณาม เหฯ"

กล่าวคือ
    "สัตว์ทั้งหลายย่อมได้ที่พึ่งทุกเวลาแม้ในอากาศ เช่นเดียวกับได้ที่พึ่ง ณ พื้นแผ่นดิน /
     อีกทั้งสัตว์ทั้งหลายที่รอดพ้นจากข่าย /
     แห่งอุปัททวะทั้งมวล อันเกิดแต่ยักษ์และโจร เป็นต้น จนนับมิถ้วน /
     เพราะระลึกถึงพระปริตรใดโดยแท้ /
     เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้น กันเถิด"
[14]

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงมีพระวินิจฉัยว่า "ในการสวดมนต์เมื่อมีเวลามาก หรือในพิธีใหญ่ ที่ต้องการให้สวดพระสูตรเต็ม ก็สวดพระสูตรเต็ม ในการสวดมนต์ทั่วไป สวดจำเพาะอนุสสรณปาฐะ คือ ปาฐะที่เป็นอนุสสรณะ คือ เป็นเครื่องระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็คือสวด อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ เป็นต้น ต่อด้วย สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม เป็นต้น ต่อด้วย สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นต้น ก็คือ สวดจำเพาะพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เท่านั้น

อันนำสวดด้วยคำว่า "อนุสสรณปาฐะ" คือ เป็นปาฐะบาลี หรือถ้อยคำที่แสดง "อนุสสรณะ" คือ คำที่สำหรับระลึกถึง ก็หมายถึงระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็นเนื้อหาสำคัญของพระสูตรนี้ กับสวดตอนท้ายพระสูตรอันเรียกว่า "นิคมคาถา" ที่แปลว่า คาถาตอนท้าย ตั้งต้นด้วยคำว่า อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา เป็นต้น ที่แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือที่โคนไม้ หรือในเรือนว่างเรือนเปล่า ดั่งนี้เป็นต้น" [15]







อ้างอิง :-
[1] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 463 - 467
[2] สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2540). ธชัคคสูตรบรรยาย.
[3] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 464 - 465
[4] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 465
[5] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 465
[6] พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา.
[7] พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา.
[8] พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา.
[9] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 466
[10] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 - หน้าที่ 466
[11] ธนิต อยู่โพธิ์. (2550). อานุภาพพระปริตร. หน้า 109
[12] สารัตถปกาสินี อรรถกาสังยุตตนิกาย ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 1 ภาค 2 . หน้า 467
[13] สารัตถปกาสินี อรรถกาสังยุตตนิกาย ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 1 ภาค 2 . หน้า 468
[14] ธนิต อยู่โพธิ์. (2550). อานุภาพพระปริตร. หน้า 110
[15] สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2540). ธชัคคสูตรบรรยาย.

บรรณานุกรม
    • พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคายนา. สุตฺตปิฎก สํยุตฺตนิกาย สกฺกสํยุตฺตํ ธชคฺคสุตฺตํ.
    • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม 1 ภาค 2 .
    • สารัตถปกาสินี อรรถกาสังยุตตนิกาย ในพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย เล่ม 1 ภาค 2 .
    • สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช. (2540). ธชัคคสูตรบรรยาย. ในนิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ 82 ฉบับที่ 3 ธันวาคม 2540.
    • ธนิต อยู่โพธิ์. (2550). อานุภาพพระปริตร. กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ข้อมูลเพิ่มเติม
    *ธชคฺคสุตฺตํ
    *ธชัคคสูตร
    *อรรถกถาธชัคคสูตร
    *ธชัคคสูตรบรรยาย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    *บทสวดมนต์ธชัคคสูตร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 25, 2023, 08:15:36 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


บทสวดมนต์ : พระสูตร ธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

บทขัดธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

ยัสสานุสสะระเณนาปิ    อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ    ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
สัพพูปัททะวะชาลมหา     ยักขะโจราทิสัมภะวา
คะณะนา นะ จะ มุตตานัง  ปะริตตันตัมภะณามะ เห

๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

      เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะอาราเมฯตัต๎ระโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุงฯ ภะคะวา เอตะทะโวจะ

      ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพ๎ยุฬโห อะโหสิฯอะถะโข ภิกขะเว สักโกเทวานะมินโท เทเวตาวะติงเส อามันเตสิสะเจ มาริสา เทวานัง สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัส๎มิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ มะมัง หิโวธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติโน เจ เม ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
 
       อะถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ ปะชาปะติสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติโน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ

        อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ วะรุณัสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติโน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ

      อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ อีสานัสสะ หิโว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะตีติ

      ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคังอุลโลกะยะตัง ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง วะรุณัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง อีสานัสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหัง โส วา โส ปะหิยเยถาปิโนปิปะหิยเยถะ ตัง กิสสะ เหตุ สักโกหิ ภิกขเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะโทโส อะวีตะโมโห ภิรุฉัมภีอุต๎ราสีปะลายีติฯ

      อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิสะเจ ตุมหากัง ภิกขเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะมูละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉิมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยาถะ

      อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทูอะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติมะมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหัง โส วา โส ปะหิยยิสสะติโน เจ มัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ

      ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ธัมมัง หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติโน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ

      สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริปุริสะยุคานิอัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

      สังเฆ หิโว ภิกขะเว อะนุสสะระตัง ยัมภะวิสสะติภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา โส ปะหิยยิสสะติตัง กิสสะ เหตุตะถาคะโต หิ ภิกขะเวอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะภิรุอัจฉัมภีอะนุต๎ราสีอะปะลายีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา อิทัง วัต๎วานะ สุคะโต อะถาปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา

      อะรัญเญ รุกขะมูเล วา    สุญญาคาเร วะ ภิกขะโว
อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง    ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ    โลกะเชฏฐัง นะราสะภัง
อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ    นิยยานิกัง สุเทสิตัง
โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ    นิยยานิกัง สุเทสิตัง
อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ    ปุญญักเขตตังอะนุตตะรัง
เอวัมพุทธัง สะรันตานัง      ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา    โลมะหังโส นะเหสสะตีติ


    จบ พระสูตร ธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

ฟังเสียงสวดได้ที่ : https://youtu.be/aIUcEJdm5ck




บทสวด ธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง พร้อมคำแปล

บทขัดธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

ยัสสานุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิ ปาณิโน
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมประสบที่พึ่ง แม้ในอากาศดุจในแผ่นดินในกาลทุกเมื่อ

ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา
และความนับสัตว์ทั้งหลายผู้พ้นแล้วจากข่าย

สัพพูปัททะวะชาลมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา
คืออุปัทวะทั้งปวงอันเกิดแก่สัตว์มียักษ์และโจรเป็นต้นมิได้มี

คะณะนา นะ จะ มุตตานัง
แม้ด้วยการตามระลึกพระปริตรอันใด

ปะริตตันตัมภะณามะ เห
เราทั้งหลายจงสวดพระปริตรนั้นเทอญ ฯ

@@@@@@@

บทธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง

เอวมฺเม สุตํ
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ฯ

เอกํ สมยํ ภควา
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

สาวตฺถิยํ วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม
เสด็จประทับอยู่ ที่เชตวันวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ฯ

ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ภิกฺขโวติ ฯ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ดังนี้แลฯ

ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ํ ฯ
พระภิกษุเหล่านั้น จึงทูลรับพระพุทธพจน์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้ฯ

ภควา เอตทโวจ ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว

เทวาสุรสงฺคาโม สมุปพฺยูโฬฺห อโหสิ ฯ
สงครามระหว่างเทพดากับอสูรได้เกิดประชิดกันแล้ว

อถ โข ภิกฺขเว สกฺโก
ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช

เทวานมินฺโท เทเว ตาวตึเส อามนฺเตสิ
ผู้เป็นเจ้าแห่งพวกเทพดา เรียกหมู่เทพดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า

สเจ มาริสา เทวานํ สงฺคามคตานํ อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงบังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพดาผู้ไปสู่สงคราม ในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั่นเทียว

มมญฺหิ โว ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ เม ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไป ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเรา

อถ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้น ท่านทั้งหลาย พึงแลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

ปชาปติสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ปชาปติสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
อันนั้นจักหายไปฯ ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อ ปชาบดี

อถ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

วรุณสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ วรุณสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณ

อถอีสานสฺส เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ฯ
ทีนั้นพวกท่านพึงแลดู ชายธงของเทวราช ชื่ออีสาน

อีสานสฺส หิ โว เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดีอันใดจักมี

โส ปหียิสฺสตีติ ฯ
อันนั้นจักหายไป ดังนี้

ตํ โข ปน ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ข้อนั้นแล

สกฺกสฺส วา เทวานมินฺทสฺส ธชคฺคํอุลฺโลกยตํ
คือการแลดูชายธงของสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดาก็ตาม

ปชาปติสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อปชาบดีก็ตาม

วรุณสฺส วา เทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราช ชื่อวรุณก็ตาม

อีสานสฺส วาเทวราชสฺส ธชคฺคํ อุลฺโลกยตํ
การแลดูชายธงของเทวราชชื่ออีสานก็ตาม

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหีเยถาปิ โนปิ ปหีเยถ
อันนั้นพึงหายไปได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

ตํ กิสฺส เหตุ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร

สกฺโก หิ ภิกฺขเว เทวานมินฺโท
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราชผู้เป็นเจ้าแห่งเทพดา

อวีตราโค อวีตโทโส อวีตโมโห
เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป

ภีรุ ฉมฺภี อุตฺราสี ปลายีติ ฯ
เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้

อหญฺจ โข ภิกฺขเว เอวํ วทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า

สเจ ตุมฺหากํ ภิกฺขเว อรญฺญคตานํ วา รุกฺขมูลคตานํ วา สุญฺญาคารคตานํ วา
ถ้าว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ไปอยู่ในป่าก็ตาม ไปอยู่ที่โคนต้นไม้ก็ตาม ไปอยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม

อุปฺปชฺเชยฺย ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด

มเมว ตสฺมึ สมเย อนุสฺสเรยฺยาถ
ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั่นเทียวว่า

อิติปิ โส ภควา
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

อรหํ
เป็นผู้ไกลกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ ควรบูชา

สมฺมาสมฺพุทฺโธ
เป็นผู้รู้ชอบเอง

วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
เป็นผู้บริบูรณ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ

สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
เป็นพระสุคตผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้โลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า

สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ ฯ
เป็นศาสดาผู้สอนของเทพดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมดังนี้

มมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงเราอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ
อันนั้นจักหายไป

โน เจ มํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงเรา

อถ ธมฺมํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ทีนั้นพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า

สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว

สนฺทิฏฺฐิโก
เป็นของอันบุคคลพึงเห็นเอง

อกาลิโก
เป็นของไม่มีกาลเวลา

เอหิปสฺสิโก
เป็นของจะร้องเรียกผู้อื่นให้มาดูได้

โอปนยิโก
เป็นของอันบุคคลพึงน้อมเข้ามาใส่ใจ

ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺูหีติ ฯ
เป็นของอันวิญญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตัว ดังนี้

ธมฺมํ หิ โว ภิกฺขเว อนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ตามระลึกถึงพระธรรมอยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ ฯ โน เจ ธมฺมํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ก็จักหายไป ถ้าท่านทั้งหลายไม่ตามระลึกถึงพระธรรม

อถ สงฺฆํ อนุสฺสเรยฺยาถ
ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว

อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว

ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกแล้ว

สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว

ยทิทํ
คือ

จตฺตาริ ปุริสยุคานิ
คู่แห่งบุรุษทั้งหลาย ๔

อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา
บุรุษบุคคลทั้งหลาย ๘

เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ
นี่พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา

ปาหุเนยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรของต้อนรับ

ทกฺขิเณยฺโย
ท่านเป็นผู้ควรทักษิณาทาน

อญฺชลิกรณีโย
ท่านเป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีกรรม

อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ ฯ
ท่านเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งไปกว่าดังนี้

สงฺฆํ หิ โว ภิกฺขเวอนุสฺสรตํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลาย ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่

ยมฺภวิสฺสติ ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส วา
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี

โส ปหียิสฺสติ
อันนั้นจักหายไป

ตํ กิสฺส เหตุ
ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร

ตถาคโต หิ ภิกฺขเว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าพระตถาคต

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

วีตราโค วีตโทโส วีตโมโห
มีราคะสิ้นไปแล้ว มีโทสะสิ้นไปแล้ว มีโมหะสิ้นไปแล้ว

อภีรุ อจฺฉมฺภี
เป็นผู้ไม่กลัว เป็นผู้ไม่หวาด

อนุตฺตราสี อปลายีติ ฯ
เป็นผู้ไม่สะดุ้ง เป็นผู้ไม่หนี ดังนี้แล

อิทมโวจ ภควา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้

อิทํ วตฺวาน สุคโต
พระผู้เป็นพระสุคต ครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

อถาปรํ เอตทโวจ สตฺถา
ลำดับนั้น พระองค์ผู้เป็นพระศาสดา จึงตรัสพระพุทธพจน์นี้ อีกว่า

อรญฺเญ รุกฺขมูเล วา สุญฺญาคาเรว ภิกฺขโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในป่า หรือในรุกขมูลหรือในเรือนเปล่า

อนุสฺสเรถ สมฺพุทฺธํ ภยํ ตุมฺหาก โน สิยา
พึงระลึกถึงพระสัมพุทธ ภัยจะไม่พึงมี แก่ท่านทั้งหลาย

โน เจ พุทฺธํ สเรยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลาย ไม่ระลึกถึงพระพุทธ

โลกเชฏฺฐํ นราสภํ
ซึ่งเป็นใหญ่กว่าโลก ประเสริฐกว่านรชนที่นั้นพึงระลึกถึงพระธรรม

นิยฺยานิกํ สุเทสิตํ

อันเป็นเครืองนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว

โน เจ ธมฺมํ สเรยฺยาถ
ถ้าท่านทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม

นิยฺยานิกํ สุเทสิตํ
อันเป็นเครืองนำออกซึ่งเราแสดงไว้ดีแล้ว

อถ สงฺฆํ สเรยฺยาถ
ที่นั้นพึงระลึกถึงพระสงฆ์

ปุญฺญกฺเขตฺตํ อนุตฺตรํ
ซึ่งเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า

เอวํ พุทฺธํ สรนฺตานํ ธมฺมํ สงฺฆญฺจ ภิกฺขโว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านทั้งหลายมาระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อยู่อย่างนี้

ภยํ วา ฉมฺภิตตฺตํ วา โลมหํโส น เหสฺสตีติ ฯ
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีแลฯ


       จบ บทสวด ธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง พร้อมคำแปล

ฟังเสียงสวดได้ที่ : https://youtu.be/aIUcEJdm5ck







อ้างอิง : หนังสือ มนต์วิธานและศาสนพิธี เหมาะสําหรับภิกษุผู้นวกะพระเถระและพุทธศาสนิกชนผู้สนใจทั่วไป
ขออนุโมทนาบุญ : เสียงสวดมนต์ ธะชัคคะปะริตตัง | Youtube : omasign san | 23 ก.ย. 2012

Thank to :-
website :  http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5852
พระสูตร ธะชัคคะปะริตตัง ธะชัคคะสุตตัง | วันที่ 15 เมย. พ.ศ.2557
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 16, 2023, 08:14:40 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ตํานานธชัคคปริตร

ธชัคคปริตร คือ ปริตรยอดธง เป็นพระปริตรที่กล่าวถึง เรื่องที่เทวดาชั้นดาวดึงส์แหงนดูยอดธงของพระอินทร์ ฯลฯ ในสงครามระหว่างเทวดากับอสูร และแนะนําให้ภิกษุระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ในเวลาเกิดความสะดุ้งกลัว เมื่ออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง (สํ. ส. ๑๕/๒๔๙/๒๖๓)

พระอรรถกถาจารย์ได้กล่าวว่า พระปริตรนี้สามารถคุ้มครองผู้ที่ตกจากที่สูงได้ และเล่าเรื่องที่เกิดในประเทศศรีลังกาว่า
     เมื่อพระภิกษุช่วยกันโบกปูนพระเจดีย์ที่ชื่อ "ทีฆวาปี" มีพระรูปหนึ่งพลัดตกลงจากพระเจดีย์
     พระที่ยืนอยู่ข้างล่างได้รีบบอกว่า “ท่านจงระลึกถึงธชัคคปริตรเถิด”
     พระที่พลัดตกได้กล่าวว่า “ขอธชัคคปริตรจงคุ้มครองข้าพเจ้า"
     ขณะนั้นอิฐสองก้อนในพระเจดีย์ได้ยื่นออกมารองรับเท้าของท่าน เมื่อพระรูปอื่นพากันนําบันไดมารับพระรูปนั้นลงไปแล้ว อิฐสองก้อนนั้นได้เคลื่อนกลับไปสถานที่เดิม (ส. อฏ. ๑/๓๒๔-๕)

บทขัดธชัคคปริตร

๑. ยัสสานุสสะระเณนาปี ปะติฏฐะมะธิคัจฉันติ
    อันตะลิกเขปิ ปาณิโน ภูมิยัง วิยะ สัพพะทา

๒. สัพพุปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา
    คะณะนา นะ จะ มุตตานัง ปะริตตัง ตัง ภะณามะ เห

    เหล่าสัตว์ย่อมได้ที่พึ่งในอากาศเหมือนบนพื้นดินเสมอ เพราะระลึกถึงพระปริตรใด ผู้พ้นจากวงข่ายแห่งอุปัทวันตรายทั้งมวล อันเกิดจากยักษ์และโจรเป็นต้น นับจํานวนมิได้ ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดพระปริตรนั้นเถิด


๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ธชัคคปริตร

เอวัง เม สุตัง.
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วดังนี้

เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี

ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ
ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภะทันเตติ เต ภิกขุ ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง
เหล่าภิกษุรับพระวาจาของพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า

ภะคะวา เอตะทะโวจะ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสความดังนี้ว่า

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ภูตะปุพพัง ภิกขะเว เทวาสุระสังคาโม สะมุปัพยพโห อะโหสิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นานมาแล้ว เกิดสงครามระหว่างเทวดากับอสูรขึ้น

อะถะ โข ภิกขะเว สักโก เทวานะมินโท เทเว ตาวะติงเส อามันเตสิ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ว่า

สะเจ มาริสา เทวานัง สังคามะคะตานัง อุปปัชเชยยะ ภะยัง วา ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส วา
ดูก่อนท่านผู้ปราศจากทุกข์ ถ้าท่านเข้าสงครามแล้ว มีความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพอง

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ
ขอให้ท่านแหงนดูยอดธงของเรา ในขณะนั้นเถิด

มะมัง หิ โว ธะชัคคัง อุลโลกะยะตัง ยัง ภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส วา, โส ปะที่ยิสสะติ
เพราะเมื่อท่านเห็นยอดธงของเราแล้ว ท่านจะละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพองเสียได้

โน เจ เม จะชัดดัง อุลโลเกยยากะ,
ถ้าท่านไม่เห็นยอดธงของเรา

ละถะ ปะชาปะติสสะ เทวะราธัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเคยยากะ
ก็ขอให้ท่านแหงนดูยอดธงของพระปชาบดีจอมเทพเถิด

ปะชาปะติสสะ หิ โว เทวะราชสสะ ธะชัคคัง อุลโล- กะยะตัง ยัง ภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส
วา, โส ปะที่ยิสสะติ,
เพราะเมื่อท่านเห็นยอดธงของพระปชาบดีจอมเทพแล้ว ท่านจะละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพองเสียได้

โน เจ ปะชาปะติสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ,
ถ้าท่านไม่เห็นยอดธงของพระปชาบดีจอมเทพ

อะถะ วะรุณัสสะ เทวะราชสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยาถะ
ก็ขอให้ท่านแหงนดูยอดธงของพระวรุณจอมเทพเถิด

วะรุณัสสะ หิ โว เทวะราชสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตั้ง ยัง ภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิตัตตัง วา โลมะหังโส วา, โส
ปะทีมิสสะติ
เพราะเมื่อท่านเห็นยอดธงของพระวรุณจอมเทพแล้ว ท่าน จะละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพองเสียได้

โน เจ วะรุณัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ,
ถ้าท่านไม่เห็นยอดธงของพระวรุณจอมเทพ

อะถะ อีสานัสสะ เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลเกยยาถะ,
ก็ขอให้ท่านแหงนดูยอดธงของพระอีสานจอมเทพเถิด

อีสานัสสะ หิ โว เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตั้ง ยัง ภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส วา, โส ปะที่ยิสสะติ
เพราะเมื่อท่านเห็นยอดธงของพระอีสานจอมเทพแล้ว ท่านจะละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพองเสียได้

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

ตัง โข ปะนะ ภิกขะเว สักกัสสะ วา เทวานะมินทัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตั้ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวดาเห็นยอดธงของท้าวสักกะ จอมเทพนั้นอยู่ก็ดี

ปะชาปะติสสะ วา เทวะราชัสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตั้ง
เห็นยอดธงของพระปชาบดีจอมเทพอยู่ก็ดี

วะรุณัสสะ วา เทวะราชสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตั้ง
เห็นยอดธงของพระวรุณจอมเทพอยู่ก็ดี

อีสานัสสะ วา เทวะราชสสะ ธะชัคคัง อุลโลกะยะตั้ง
เห็นยอดธงของพระอีสานจอมเทพอยู่ก็ดี

ยัง ภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภ์ตัตตัง วา โลมะหังโส วา, ปะที่เยถาปิ โนปิ ปะที่เยอะ
เทวดาเหล่านั้นย่อมละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือ ความขนลุกขนพองได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

ตั้ง อิสสะ เหตุ
ข้อนั้นเพราะอะไร

สักโก หิ ภิกขะเว เทวานะมินโท อะวีตะราโค อะวีตะ โทโส อะวีตะโมโห กรุ ฉัมภี อุตราสี ปะลายติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะท้าวสักกะจอมเทพยังไม่เป็น ผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ยังเป็นผู้มีความกลัว ความหวาดหวั่น ความสะดุ้ง ยังคิดหลบหนี

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อะหัญจะ โข ภิกขะเว เอวัง วะทามิ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตจะขอกล่าวอย่างนี้ว่า

สะใจ ตุมหากัง ภิกขะเว อะรัญญะคะตานัง วา รุกขะ ผู้ละคะตานัง วา สุญญาคาระคะตานัง วา อุปปัชเชยยะ ภะยัง ว่า ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส วา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอเข้าไปอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ อยู่ในเรือนว่างก็ดี แล้วมีความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพอง

มะเมวะ ตัสมิง สะมะเย อะนุสสะเรยยากะ,
ขอให้เธอพร่ำระลึกถึงตถาคตในขณะนั้นเถิดว่า

อิติปิ โส ภะคะวา
แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น

อะระหัง,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทโธ,
ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

วิชชาจะระณะสัมปันโน,
ถึงพร้อมด้วยความรู้และความประพฤติ

สุคะโต,
เป็นผู้เสด็จไปแล้ว

โลกะวิทู,
ทรงรู้แจ้งโลก

อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ,
ทรงเป็นสารถีฝึกบุคคลที่ควรฝึก ไม่มีใครยิ่งกว่า

สัตถา เทวะมะนุสสานัง,
ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พุทโธ,
ทรงเป็นผู้รู้แจ้ง

คะวาติ
ทรงเป็นผู้อธิบายธรรม

มะมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระฆัง ยัง ภะวิสสะติ จะยัง วา จัมภ์ตัดดัง วา โลมะหังโส วา, โส ปะที่ยิสสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอพร่ำระลึกถึงตถาคตแล้ว เธอจะละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพอง เสียได้

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

โน เจ มัง อะนุสสะเรยยากะ.
ถ้าเธอไม่พร่ำระลึกถึงตถาคต

อะถะ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ.
ก็พึงพร่ำระลึกถึงพระธรรมว่า

สุวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม,
พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว

สันทิฏฐิโก,
เป็นธรรมที่เห็นได้ด้วยตนเอง

อะกาลิโก,
ไม่ขึ้นกับกาล

เอหิปัสสิโก,
เป็นธรรมที่ควรมาดู

โอปะนะยิโก,
ควรน้อมมาปฏิบัติ

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ
เป็นธรรมที่วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน

ธัมมัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระฆัง ยัง ภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส วา, โส ปะที่ยิสสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอพร่ำระลึกถึงพระธรรม แล้ว เธอจะละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพองเสียได้

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

โน เจ ธัมมัง อะนุสสะเรยยาถะ
ถ้าเธอไม่พร่ำระลึกถึงพระธรรม

อะถะ สังฆัง อะนุสสะเรยยาถะ
ก็พึงพร่ำระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี

อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติตรง

ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพระนิพพาน

สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ.
พระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติที่ควรนับถือ

ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
ท่านเหล่านั้น คือบุรุษ ๔ คู่ กล่าวคือพระอริยบุคคล ๘ จําพวก

เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, นี้
แหละพระอริยสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค

อาหุเนยโย,
ผู้ควรรับสักการะ

ปาหุเนยโย,
ผู้ควรแก่ของต้อนรับ

ทักขิเณยโย.
ผู้ควรรับทักษิณาทาน

อัญชะลิกะระณีโย,(๑)
ผู้ควรอัญชลีกรรม

_______________________________
(๑) อญฺชลิ เป็นอิการันต์ที่มาจาก อญฺช ธาตุ + อสิ  ปัจจัย จึงไม่ควรมีรูปว่า อญฺชลี..
แม้คําว่า เวรมณีสิกฺขาปทํ ก็ไม่รควมีรูปว่า เวรมณี เพราะทํารัสสะกลางสมาส (รูป. ๓๕๑)


อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
เป็นนาบุญอันประเสริฐของโลก

สังฆัง หิ โว ภิกขะเว อะนุสสะระฆัง ยัง ภะวิสสะติ ภะยัง วา ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส วา, โส ปะที่ยิสสะติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเมื่อเธอพร่ำระลึกถึงพระสงฆ์แล้ว เธอจะละความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความขนลุกขนพองเสียได้

ตัง กิสสะ เหตุ.
ข้อนั้นเพราะอะไร

ตะถาคะโต หิ ภิกขะเว อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วีตะราโค วีตะโทโส วีตะโมโห อะกีรุ อะฉัมภี อะนุตราสึ อะปะลายีติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะตถาคตเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง เป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ไม่มี ความกลัว ความหวาดหวั่น ความสะดุ้ง ไม่คิดหลบหนี

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อิทะมะโวจะ ภะคะวา, อิทัง วัตวานะ สุคะโต, อะถา ปะรัง เอตะทะโวจะ สัตถา
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเรื่องนี้แล้ว พระสุคตทรงกล่าวอย่างนี้แล้ว พระศาสดาได้ตรัสคาถานี้ต่อไปว่า

๑. อะรัญเญ รุกขะมูเล วา สุญญาคาเรวะ ภิกขะโว
    อะนุสสะเรถะ สัมพุทธัง ภะยัง ตุมหากะ โน สิยา
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอเข้าไปอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี ในเรือนว่างก็ดี เธอจึงหมั่นระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้า แล้วเธอจะไม่มีความกลัว

๒. โน เจ พุทธัง สะเรยยาถะ โลกะเชฏฐิง นะราสะดุ้ง
    อะถะ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
    หากเธอไม่หมั่นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวโลก เป็นนรชนผู้ประเสริฐ เธอก็พึงหมั่นระลึกถึงพระธรรมที่เราแสดงดีแล้ว เป็นทางหลุดพ้นจากสังสารวัฏ

๓. โน เจ ธัมมัง สะเรยยาถะ นิยยานิกัง สุเทสิตัง
    อะถะ สังฆัง สะเรยยาถะ ปุญญักเขตตัง อะนุตตะรัง
    หากเธอไม่หมั่นระลึกถึงพระธรรมที่เราแสดงดีแล้ว เป็นทางหลุดพ้นจากสังสารวัฏ เธอก็พึงหมั่นระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นนาบุญอันประเสริฐ

๔. เอวัง พุทธัง สะรันตานัง ธัมมัง สังฆัญจะ ภิกขะโว
    ภะยัง วา ฉัมภิทัตตัง วา โลมะหังโส นะ เหสสะติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอหมั่นระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อย่างนี้แล้ว ความกลัวก็ดี ความหวาดหวั่นก็ดี หรือ ความขนลุกขนพองก็ดี จะไม่ปรากฏเลย






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : หนังสือพระปริตรธรรม โดย พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ ลำปาง
ภาพ : pinterest
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 16, 2023, 09:32:21 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



๓. ธชัคคสูตร ว่าด้วยเรื่องยอดธง

[๒๔๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

     “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามระหว่างเทพกับอสูรประชิดกัน ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพรับสั่งกับเทพชั้นดาวดึงส์ว่า

     ‘ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ถ้าความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทพผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเรา เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

      ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

      ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้น พวกท่านก็พึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณ-เทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

      ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่า เมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าว-อีสานเทวราชอยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

      เมื่อพวกเทพแลดูยอดธงของท้าวสักกะจอมเทพก็ดี แลดูยอดธงของท้าวปชา-บดีเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชก็ดี แลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชก็ดี ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า ที่จักเกิดขึ้นพึงหายไปบ้าง ไม่หายไปบ้าง

      ข้อนั้นเพราะเหตุไร.?
      เพราะว่า ท้าวสักกะจอมเทพยังไม่ปราศจากราคะ ไม่ปราศจากโทสะไม่ปราศจากโมหะ เป็นผู้มีความกลัว มีความหวาดสะดุ้ง หนีไปอยู่


      @@@@@@@

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนเรากล่าวอย่างนี้ว่า ‘ภิกษุทั้งหลาย หากว่าความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้า พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้อยู่ในป่าอยู่ที่โคนไม้ หรืออยู่ในเรือนว่าง ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงเราเนืองๆ เท่านั้นว่า       
                                                 
     ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกผู้ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค (๑-)
     ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงเราเนืองๆ อยู่ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

     ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงเราเนืองๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระธรรมเนืองๆว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเองไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
     ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงพระธรรมอยู่เนืองๆ ความกลัวความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป
             
     ถ้าพวกเธอไม่ระลึกถึงพระธรรมเนืองๆ ทีนั้น พวกเธอพึงระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆ ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติถูกทาง ปฏิบัติสมควร ได้แก่ อริยบุคคล ๔ คู่ คือ ๘ บุคคล พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวาย ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรแก่การทำอัญชลี เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
     เพราะว่า เมื่อพวกเธอระลึกถึงพระสงฆ์อยู่เนืองๆ ความกลัว ความหวาดสะดุ้ง หรือความขนพองสยองเกล้าที่จักเกิดขึ้นก็จักหายไป

     ข้อนั้นเพราะเหตุไร.?
     เพราะว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ เป็นผู้ไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป”

     @@@@@@@
     
     พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า

             ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในป่าก็ดี
             อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
             พึงระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด
             ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย

             ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระพุทธเจ้า
             ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน
             ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรม
             ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
             ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว

             ถ้าเธอทั้งหลายไม่ระลึกถึงพระธรรม
             ซึ่งเป็นเหตุนำออกจากทุกข์
             ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
             ทีนั้น เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์
             ผู้เป็นนาบุญ ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า

             ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึง
             พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่
             ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี
             ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย


                       ธชัคคสูตรที่ ๓ จบ


_________________________________________________________

เชิงอรรถ :-

(๑-) พระพุทธคุณ ๙ บทนี้ แต่ละบทมีอรรถอเนกประการ คือ

๑. ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะห่างไกลจากกิเลส, เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส, เพราะหักซี่กำแห่งสังสาระคือการเวียนว่ายตายเกิด, เพราะเป็นผู้ควรรับไทยธรรม, เพราะไม่ทำบาปในที่ลับ
๒. ชื่อว่าตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วยพระองค์เอง

๓. ชื่อว่าเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
    วิชชา ได้แก่ วิชชา ๓ และวิชชา ๘

    วิชชา ๓ คือ
    (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ที่ระลึกชาติได้
    (๒) จุตูปปาตญาณ ความรู้จุติและอุบัติ
    (๓) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ

   วิชชา ๘ คือ
   (๑) วิปัสสนาญาณ ญาณที่เป็นวิปัสสนา
   (๒) มโนมยิทธิมีฤทธิ์ทางใจ
   (๓) อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
   (๔) ทิพพโสต หูทิพย์
   (๕) เจโตปริยญาณ กำหนดรู้จิตผู้อื่นได้
   (๖) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ระลึกชาติได้
   (๗) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ หรือเรียกจุตูปปาตญาณ
   (๘) อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ

   จรณะ ๑๕ คือ
   (๑) สีลสัมปทา ความถึงพร้อมด้วยศีล
   (๒) อินทรียสังวร ความสำรวมอินทรีย์
   (๓) โภชเนมัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภค
   (๔) ชาคริยานุโยค การหมั่นประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น
   (๕) มีศรัทธา
   (๖) มีหิริ
   (๗) มีโอตตัปปะ
   (๘) เป็นพหูสูต
   (๙) วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร
  (๑๐) มีสติมั่นคง
  (๑๑) มีปัญญา
  (๑๒) ปฐมฌาน
  (๑๓) ทุติยฌาน
  (๑๔) ตติยฌาน
  (๑๕) จตุตถฌาน

๔. ชื่อว่าผู้เสด็จไปดี เพราะทรงดำเนินรุดหน้าไปไม่หวนกลับคืนมาหากิเลสที่ทรงละได้แล้ว
๕. ชื่อว่าผู้รู้แจ้งโลก เพราะทรงรู้แจ้งโลก เหตุเกิดแห่งโลก ความดับโลก วิธีปฏิบัติให้ลุถึงความดับโลก(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค) และทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ สังขารโลก สัตว์โลก และโอกาสโลก
๖. ชื่อว่าสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะทรงฝึกผู้ที่ควรฝึกฝน ทั้งเทวดา มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยอุบายต่างๆ

๗. ชื่อว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะทรงสั่งสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ ด้วยประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า ผู้ปฏิบัติตามแล้วสำเร็จมรรคผลในโลกนี้บ้าง จุติไปเกิดในสวรรค์กลับมาฟังธรรมแล้วสำเร็จมรรคผลบ้าง ทรงช่วยเหลือหมู่สัตว์ให้พ้นความกันดารคือความเกิด
๘. ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงรู้สิ่งที่ควรรู้ทั้งหมด ด้วยพระองค์เองและทรงสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม

๙. ชื่อว่าเป็นพระผู้มีพระภาค เพราะ
   (๑) ทรงมีโชค
   (๒) ทรงทำลายข้าศึกคือกิเลส
   (๓) ทรงประกอบด้วย ภคธรรม ๖ ประการ (คือ ความเป็นใหญ่เหนือจิตของตน โลกุตตรธรรม ยศ สิริ ความสำเร็จประโยชน์ตามต้องการ และความเพียร)
   (๔) ทรงจำแนกแจกแจงธรรม
   (๕) ทรงเสพอริยธรรม
   (๖) ทรงคลายตัณหาในภพทั้ง ๓
   (๗) ทรงเป็นที่เคารพของชาวโลก
   (๘) ทรงอบรมพระองค์ดีแล้ว (๙) ทรงมีส่วนแห่งปัจจัย ๔ เป็นต้น (วิ.อ. ๑/๑๑๕-๑๑๘, สารตฺถ.ฏีกา ๑/๒๗๐-๔๐๐)
   อนึ่ง พระพุทธคุณนี้ ท่านแบ่งเป็น ๑๐ ประการ โดยแยกข้อ ๖ เป็น ๒ ประการ คือ
   (๑) เป็นผู้ยอดเยี่ยม
   (๒) เป็นสารถีฝึกผู้ควรฝึกได้ (วิ.อ. ๑/๑/๑๑๒-๑๑๓, วิสุทฺธิ. ๑/๒๖๕)



ขอบคุณที่มา : ธชัคคสูตร ว่าด้วยเรื่องยอดธง , พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
URL : https://84000.org/tipitaka/pitaka2/m_siri.php?B=15&siri=249



อรรถกถาธชัคคสูตรที่ ๓
             
พึงทราบวินิจฉัยในธชัคคสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้ :-

บทว่า สมุปพฺยุฬฺโห คือ ประชุมกัน รวมกันเป็นกอง.
บทว่า ธชคฺคํ อุลฺโลเกยฺยาถ ความว่า ได้ยินว่า รถของท้าวสักกะยาว ๑๕๐ โยชน์ ตอนท้ายรถนั้น ๕๐ โยชน์ ตอนกลางเป็นตัวรถ ๕๐ โยชน์ ตั้งแต่ฝาถึงหัวรถ ๕๐ โยชน์. อาจารย์บางคนขยายประมาณนั้นเป็น ๒ เท่า กล่าวว่ายาว ๓๐๐ โยชน์บ้าง.

ในรถนั้นปูลาดแท่นนั่งได้โยชน์หนึ่ง ตั้งฉัตรขาวขนาด ๓ โยชน์ไว้ข้างบน. ที่แอกอันเดียวกันเทียมม้าอาชาไนย ๑,๐๐๐ ตัว เครื่องตกแต่งที่เหลือไม่มีประมาณ. ก็ธงของรถนั้นยกขึ้น ๒๕๐ โยชน์. ธงที่ถูกลมพัดก็มีเสียงเจื้อยแจ้วคล้ายดุริยางค์ทั้ง ๕.

ท้าวสักกะตรัสว่า พวกเธอจงดูธงนั้น.
ถามว่า : เพราะเหตุไร.
ตอบว่า : เพราะเมื่อเทวะเห็นธงนั้น คิดว่า พระราชาของเรามายืนอยู่ในที่ท้ายบริษัท เหมือนเสาที่เขาปักไว้ เราไม่กลัวใคร ดังนี้ จึงไม่กลัว.

บทว่า ปชาปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวปชาปตินั้นมีผิวพรรณเหมือนกับท้าวสักกะ มีอายุเท่ากันได้ที่นั่งที่ ๒. ถัดมาก็ท้าววรุณและท้าวอีสาน. ก็แล ท้าววรุณได้ที่นั่งที่ ๓ ท้าวอีสานได้ที่นั่งที่ ๔.
บทว่า ปลายิ ความว่า แพ้พวกอสูรแล้วยืนที่รถนั้น หรือเห็นธงแม้มีประมาณน้อยก็มี ความหนีไปเป็นธรรมดา.

@@@@@@@

บทว่า อิติปิ โส ภควา เป็นต้น มีเนื้อความพิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า อิทมโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธชัคคปริตนี้. อานุภาพของปริตใดย่อมเป็นไปในอาณาเขต คือในแสนโกฏิจักรวาล.

     จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายนึกถึงปริตนี้ย่อมพ้นจากทุกข์มียักขภัยและโจรภัยเป็นต้น ไม่มีจำนวนสิ้นสุด. ความสงบจากทุกข์อื่นจงยกไว้.
     จริงอยู่ ผู้มีจิตเลื่อมใสแล้วนึกถึงปริตนี้ย่อมได้ที่พึ่งแม้ในอากาศ.

ในข้อนั้น มีเรื่องดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อเขากำลังฉาบปูนขาวที่ทีฆวาปิเจดีย์ ชายหนุ่มคนหนึ่งตกจากเชิงเวทีชั้นบนลงมาในโพรงพระเจดีย์. ภิกษุสงฆ์ยืนอยู่ข้างล่าง จึงกล่าวว่า นึกถึงธชัคคปริตซิคุณ. เขาตกใจ กลัวตายจึงกล่าวว่า ธชัคคปริตช่วยผมด้วย ดังนี้. อิฐ ๒ ก้อนหลุดจากโพรงเจดีย์ตั้งเป็นบันไดให้เขาทันที. คนทั้งหลายก็หย่อนบันไดเถาวัลย์ที่อยู่ข้างบน. อิฐที่บันไดนั้น ก็ตั้งอยู่ตามเดิม.


                                   จบอรรถกถาธชัคคสูตรที่ ๓     





ขอบคุณที่มา : อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค สักกสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑ ธชัคคสูตรที่ ๓
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=863
ขอบคุณภาพจาก pinterest
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ