ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมฐานในพระพุทธศาสนา  (อ่าน 650 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
กรรมฐานในพระพุทธศาสนา
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2023, 08:15:30 am »
0


กรรมฐานในพระพุทธศาสนา
บทเรียนจากมหาสติปัฏฐานสูตร และความนิยมในสังคมไทย

พระเทพวัชรบัณฑิต, ศ.ดร. อธิการบดี มจร

ความนำ

“กรรมฐาน” แปลว่า ที่ตั้งแห่งการงาน มีนัยตรงกับคำว่า “ภาวนา” เป็นคำที่หมายถึง การปฏิบัติธรรมหรือการฝึกอบรมจิตใจและอบรมปัญญาตามหลักพระพุทธศาสนา

กรรมฐานหรือภาวนาในพระพุทธศาสนามี ๒ ประการ คือ {ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๔ /๒๕๖, ๓๕๒/๓๖๙, องฺ.ทุก. (ไทย) ๒๐/๓๒/๗๖, ๑๗๓/๑๒๗, ๒๓๑/๑๓๗.}

    ประการที่ ๑. สมถกรรมฐาน หรือ สมถภาวนา การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ หรือการฝึกสมาธิ
    ประการที่ ๒. วิปัสสนากรรมฐานหรือวิปัสสนาภาวนา การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง หรือการเจริญปัญญา

ทั้ง ๒ ประการรวมอยู่ในหลักไตรสิกขา คือ

    (๑) สีลสิกขา
    (๒) จิตตสิกขาหรือสมาธิสิกขา ก็คือ สมถกรรมฐาน และ
    (๓) ปัญญาสิกขา ก็คือ วิปัสสนากรรมฐาน

หลักการสำคัญของกรรมฐานก็คือการฝึกฝน คำว่า “สิกขา” ในคำว่า “จิตตสิกขา” ก็ดี ในคำว่า “ปัญญาสิกขา” ที่นิยมนำมาใช้ในภาษาไทยว่า “ศึกษา” หมายถึง การฝึกฝนอบรม ตรงกับกับภาษาอังกฤษว่า “Training” ไม่ใช่ “Study” หลักการของคำว่า “ฝึกฝน” ก็คือ การวางกรอบหรือแนวทางไว้ชัดเจน แล้วกำหนดให้ทำตามนั้น

ถ้ามีการแข็งขืนไม่อยากทำตาม ก็ต้องมีการบังคับให้ทำตามนั้นให้ได้ อาจจะไม่สามารถทำตามกรอบนั้นได้ทันที แต่ต้องมีการบังคับไปทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะทำตามกรอบนั้นได้ทั้งหมด เช่น เรานั่งตัวตรง ๕ นาทีแล้วรู้สึกปวดเมื่อย ตามปกติเราก็มักจะหาวิธีคลายปวดเมื่อย โดยนั่งตัวงอบ้าง นั่งพิงฝาบ้าง นั่งเท้าแขนบ้าง ลุกขึ้นเดินบ้าง หรือแม้เปลี่ยนเป็นอิริยาบถอื่นๆ ถ้าเราฝึกฝนบังคับตัวเองทนฝืนความปวดเมื่อยนั่งให้ได้นานกว่า ๕ นาที ก็จะติดเป็นนิสัย สามารถนั่งนานได้ อยู่นิ่งนานๆได้

ข้อนี้เป็นการฝึกฝนกายให้เข้มแข็ง ธรรมชาติของจิตคือคิดถึงเรื่องต่างๆตลอดเวลา ถ้าเราปล่อยให้จิตคิดหลายเรื่อง ในขณะเดียวกันจนติดเป็นนิสัยกลายเป็นคนฟุ้งซ่าน ก็จะกลายเป็นคนไม่มีสมาธิ ทางานไม่สำเร็จ

@@@@@@@

กรรมฐานก็คือ การฝึกฝนอบรมจิตให้มีสมาธิ โดยใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้กำหนดลมหายใจเข้า-ออกของตัวเอง มีสติกำหนดลมหายใจ เป็นอุบายให้จิตคิดอยู่ที่ลมหายใจ ไม่ให้คิดเรื่องอื่น ฝึกฝนอย่างนี้อยู่เป็นประจำ ก็จะทำให้ติดเป็นนิสัยคือ จิตคุ้นชินอยู่กับลมหายใจ จิตอยู่กับชีวิตของตัวเอง ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

เพราะฉะนั้น เป้าหมายของการปฏิบัติกรรมฐาน ก็คือสมาธิ กรรมฐานในพระพุทธศาสนาแม้จะมีวิธีปฏิบัติหลายอย่าง แต่ก็มีเป้าหมายเดียวคือมุ่งสร้างสมาธิ เพื่อเป้าหมายขั้นต่อไป คือ ประสิทธิภาพของบุคคล ก็เพราะเมื่อจิตมีสมาธิย่อมมีอานิสงส์(ผลดี) ๓ ประการ คือ

ประการที่ ๑. มีอิทธิบาทธรรม ๔ อย่างในตัว เป็นคุณธรรมในจิตใจ คือ
    - ฉันทะ พอใจทำสิ่งดีงาม
    - วิริยะ เพียรทำสิ่งดีงาม
    - จิตตะ เอาใจใส่ต่อสิ่งดีงาม และ
    - วิมังสา ไตร่ตรองพิจารณาสิ่งดีงาม

ผู้มีคุณธรรมเหล่านี้ทำงานอะไรก็ประสบความสำเร็จ ดังที่โบราณาจารย์กล่าวว่า องค์ประกอบที่จะทำให้การทำงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ก็คือกรรมฐาน ดังคำวิเคราะห์ว่า

“กมฺมเมว วิเสสาธิคมนสฺสฐานนฺติ กมฺมฏฺฐาน แปลว่า การกระทำ ที่เป็นฐานแห่ง การบรรลุผลที่วิเสส ชื่อว่า กรรมฐาน”

จากบทวิเคราะห์นี้ เป็นเครื่องแสดงว่า การทำงานใดๆก็ตามจะประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยการปฏิบัติกรรมฐานเป็นประการสำคัญ

ประการที่ ๒. มีปัญญาระดับต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ ปัญญาที่สำคัญสำหรับการดำรงชีพคือ สัปปุริสธรรม ๗ ประการ เพราะจิตนิ่งมีสมาธิจึงทำให้เป็นคนรู้เหตุผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้คนอื่น รู้สังคมรอบข้าง เข้าใจโลกและชีวิต

ประการที่ ๓. จิตมีคุณภาพ สุขภาพ และสมรรถภาพ เป็นคนมีจิตใจเข้มแข็ง มีวุฒิภาวะมีจิตใจที่ทนทานต่อแรงกระทบจากสภาพแวดล้อม ที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์



กรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร {สรุปความจาก ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๒-๔๐๓/๓๐๑-๓๓๘.}

๑. หลักการและวิธีการ

พระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ได้ตรัสมหาสติปัฏฐานสูตรซึ่งแสดงหลักการและวิธีการแห่งกรรมฐานไว้ ๔ ประการดังนี้

ประการที่ ๑. ภิกษุพิจารณา “พิจารณาเห็นกายในกาย” ก็คือ ตั้งสติมุ่งตรงต่อกรรมฐานนั้น มีสติกาหนดรู้ชัดลมหายใจเข้าออก มีสติกาหนดรู้ชัดอิริยาบถา เห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

คำว่า “พิจารณาเห็นกายในกาย” ก็คือ ตั้งสติมุ่งตรงต่อกรรมฐานนั้น
    มีสติกำหนดรู้ชัดลมหายใจเข้าออก
    มีสติกำหนดรู้ชัดอิริยาบถใหญ่ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน
    มีสติกำหนดรู้ชัดอิริยาบถย่อย คือ ก้าวไป ถอยกลับ การแลเหลียวดู การเคี้ยว การดื่ม เป็นต้น
    กำหนดพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น ในกายนี้โดยความเป็นของปฏิกูล
    กำหนดพิจารณากายโดยสักว่าเป็น ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม หรือ
    กำหนดพิจารณาซากศพในป่าช้า ตั้งแต่ยังเป็นร่างสมบูรณ์ไปจนถึงกระดูกผุป่นเป็น ชิ้นเล็กชิ้นน้อย

โดยสรุปก็คือ ให้ตั้งสติอยู่เฉพาะหน้าว่า “กายมีอยู่” ก็เพียงเพื่ออาศัยบำเพ็ญกรรมฐานเท่านั้น อาศัยไม่ได้ ยึดถืออะไรก็ไม่ได้

ประการที่ ๒. ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

คำว่า “พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย” ก็คือ เมื่อเสวยสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์(อุเบกขา)
    ก็มีสติกำหนดรู้ชัดเมื่อเสวยสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์(อุเบกขา)ที่มีอามิส
    ก็มีสติกำหนดรู้ชัดเมื่อเสวยสุข ทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์(อุเบกขา)ที่ไม่มีอามิส
    ก็มีสติกำหนดรู้ชัดสภาวะของเวทนา เหตุเกิดเวทนา เหตุดับเวทนา หรือทั้งเหตุเกิดและเหตุดับเวทนา

โดยสรุปก็คือ ให้ตั้งสติอยู่เฉพาะหน้าว่า “เวทนามีอยู่” ก็เพียงเพื่ออาศัยบำเพ็ญกรรมฐานเท่านั้น อาศัยไม่ได้ ยึดถืออะไรก็ไม่ได้

ประการที่ ๓. ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

คำา “พิจารณาเห็นจิตในจิต” ก็คือ จิตย่อมมีการรับรู้อารมณ์ภายนอกตลอดเวลา ไม่ว่าจะในขณะทำกิจกรรมใดๆ
     เมื่อเกิดการรับรู้อารมณ์มีรูป เป็นต้น แล้ว(เกิดวิญญาณ) จิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ หรือจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ก็กำหนดรู้ชัด
     จิตหดหู่หรือฟุ้งซ่าน ก็มีสติกำหนดรู้ชัด หรือแม้กระทั้งว่า จิตหลุดพ้นแล้วหรือยังไม่หลุดพันก็มีสติกำหนดรู้ชัด

โดยสรุปก็คือ ให้ตั้งสติอยู่เฉพาะหน้าว่า “จิตมีอยู่” ก็เพียงเพื่ออาศัยบำเพ็ญกรรมฐานเท่านั้น อาศัยไม่ได้ยึดถืออะไรก็ไม่ได้

ประการที่ ๔. ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้

คำว่า “พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย” ก็คือ พิจารณาเห็นกฎธรรมชาติในธรรม ๕ หมวด คือ
    (๑) นิวรณ์ ๕
    (๒) อุปาทานขันธ์ ๕
    (๓) อายตนะ ๑๒
    (๔) โพชฌงค์ ๗ และ
    (๕) อริยสัจ ๔

• ในทางปฏิบัติ ให้มีสติกำหนดรู้ชัดนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ แะวิจิกิจฉา ว่า มีอยู่หรือไม่มีอยู่ภายในเรา มีสติกาหนดรู้ชัดเหตุเกิด เหตุให้ละ(เหตุดับ)และเหตุที่ให้ละนิวรณ์ ๕ ได้ตลอดไป

• ให้มีสติกาหนดรู้ชัดว่า อุปาทานขันธ์มีรูปเป็นต้นนี้(กองอันเป็นอารมณ์แห่งความถือมั่น)มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา อยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์

• ให้มีสติกำหนดรู้ชัด ตา+รูป หู+เสียง จมูก+กลิ่น ลิ้น+รส กาย+โผฏฐัพพะ ใจ+ธรรมารมณ์ และมีสติกำหนดรู้ชัดสังโยชน์ที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยตา+รูป เป็นต้นนั้น มีสติกำหนดรู้ชัดเหตุเกิด เหตุให้ละ(เหตุดับ) และเหตุที่ให้ละสังโยชน์ทั้งหลายได้ตลอดไป

• ให้มีสติกำหนดรู้ชัดโพชฌงค์ ๗ คือ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขาว่า มีอยู่หรือไม่มีอยู่ภายในเรา มีสติกำหนดรู้เหตุเกิด และเหตุแห่งความเจริญบริบูรณ์ของโพชฌงค์ ๗ นั้น

• ให้มีสติกำหนดรู้ชัดอริยสัจ ๔ คือ
    (๑) ทุกข์เป็นอย่างไร.? รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณเป็นกองทุกข์ เพราะอาศัยรูป เป็นต้น จึงมีชาติ ชรา มรณะ โสกะ เป็นต้น ตามมา
    (๒) สมุทัยเป็นอย่างไร.? ปิยรูปสาตรูป(สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ) ทำให้เกิดตัณหา เช่นเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส นึกถึงสิ่งที่น่ารักน่าชื่นใจ ก็เกิดตัณหา และตัณหานี่แหละพาให้เกิดทุกข์
    (๓) นิโรธเป็นอย่างไร.? ปิยรูปสาตรูป(สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ) ทำให้เกิดตัณหา และในขณะเดียวกันก็ทำให้ดับตัณหาได้ เช่นเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส นึกถึงสิ่งที่น่ารักน่าชื่นใจ เมื่อเกิดตัณหาก็มีสติรู้เท่าทัน ละตัณหาที่เกิดขึ้นแล้ว เมื่อจะเกิดตัณหาใหม่ ก็มีสติรู้เท่าทัน ป้องกันไม่ให้เกิด
    (๔) มัคค์เป็นอย่างไร.?
          สัมมาทิฏฐิ-รู้อริยสัจ ๔
          สัมมาสังกัปปะ-ดำริออกจากกาม ไม่พยาบาท ไม่เบียดเบียน
          สัมมาวาจา-เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นพูดส่อเสียด งดเว้นพูดคาหยาบ งดเว้นพูดเพ้อเจ้อ
          สัมมากัมมันตะ-เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งที่เข้าของไม่ได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
          สัมมาอาชีวะ-ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
          สัมมาวายามะ-สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิต มุ่งมั่นป้องกันความชั่ว ละความชั่ว สร้างความดี และรักษาความดี
          สัมมาสติ-มีสติ กำหนดรู้ชัดกายในกาย เวทนาในเวทนาทั้งหลาย จิตในจิต และธรรมในธรรมทั้งหลาย
          สัมมาสมาธิ-สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานเป็นต้น จนถึงจตุตถฌาน

โดยสรุปก็คือ ให้ตั้งสติอยู่เฉพาะหน้าว่า “ธรรมมีอยู่” ก็เพียงเพื่ออาศัยบำเพ็ญกรรมฐานเท่านั้น อาศัยไม่ได้ ยึดถืออะไรก็ไม่ได้

(ยังมีต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 30, 2023, 12:20:44 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2023, 10:25:19 am »
0

๒. อานาปานสติ สติปัฏฐานที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ {วิ.ม. (ไทย) ๑/๑๖๒-๑๖๕/๑๓๔-๑๓๘.}

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี ตรัสบอกอสุภกรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อได้เรียนกรรมฐานแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็เริ่มปฏิบัติกรรมฐาน ครั้นปฏิบัติไปได้สักระยะหนึ่ง ก็เกิดความรู้สึกอึดอัด เบื่อหน่าย รังเกียจร่างกายของตน จึงฆ่าตัวตายเองบ้าง ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง ภิกษุบางกลุ่มก็ไปบอกตาเถนมิคลัณฑิกะให้ฆ่าบ้าง ตาเถนนั้นรับจ้างฆ่าภิกษุบางวันฆ่าไปถึง ๖๐ รูป ทำให้ภิกษุตายไปเป็นจำนวนมาก

พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่อง ทรงรับสั่งให้พระอานนท์เรียกประชุมสงฆ์ ตรัสพรรณนาคุณของอานาปานสติว่า

   “อานาปานสติสมาธิแม้นี้ ที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นสภาพสงบประณีต สดชื่น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข และทำอกุศลธรรมชั่วร้ายทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานไป สงบไปโดเร็ว”

จากนั้น พระพุทธองค์ตรัสสอน วิธีการเบื้องต้นแห่งวิธีปฏิบัติอานาปานสติว่า “ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า” {ในอานาปานสติสูตร แปลสลับกันดังนี้ “มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก” และในสำนวนพระสูตรอื่นๆก็นิยม
แปลอย่างนี้ ดู ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๔๘/๑๘๗-๑๙๑.}


@@@@@@@

จากนั้นทรงสอนวิธีการปฏิบัติโดยละเอียด โดยให้กาหนดลมหายใจเข้าออก ๒ ขั้นใหญ่ ๑๖ ขั้นย่อย ดังนี้

ขั้นที่ ๑ มีสติกาหนดรู้ลมหายใจแบบรวม

    (๑) เมื่อหายใจออก-เข้ายาว ก็รู้ชัดว่า “หายใจออก-เข้ายาว”
    (๒) เมื่อหายใจออก-เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า “หายใจออก-เข้าสั้น”

ขั้นที่ ๒ มีสติกาหนดรู้เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุดของลมหายใจ

    (๓) สำเหนียกว่า “จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง หายใจออก-เข้า”
    (๔) สำเหนียกว่า “จะระงับกายสังขาร หายใจออก-เข้า”
    (๕) สำเหนียกว่า “จะรู้ชัดปีติ หายใจออก-เข้า”
    (๖) สำเหนียกว่า “ชัดจะรู้สุข หายใจออก-เข้า”
    (๗) สำเหนียกว่า “จะรู้ชัดจิตตสังขาร หายใจออก-เข้า”
    (๘) สำเหนียกว่า “จะระงับจิตสังขาร หายใจออก-เข้า”
    (๙) สำเหนียกว่า “จะรู้ชัดจิต หายใจออก-เข้า”
  (๑๐) สำเหนียกว่า “จะยังจิตให้บันเทิง หายใจออก-เข้า”
  (๑๑) สำเหนียกว่า “จะตั้งจิตมั่น หายใจออก-เข้า”
  (๑๒) สำเหนียกว่า “จะเปลื้องจิต หายใจออก-เข้า”
  (๑๓) สำเหนียกว่า “จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง หายใจออก-เข้า”
  (๑๔) สำเหนียกว่า “จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้ หายใจออก-เข้า”
  (๑๕) สำเหนียกว่า “จะพิจารณาเห็นความดับไป หายใจออก-เข้า”
  (๑๖) สำเหนียกว่า “จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้ หายใจออก-เข้า”

@@@@@@@

อานาปานสติเป็นรากฐานทำให้สติปัฏฐาน ๔ ทั้งหมด และมีอานิสงส์สืบเนื่อง ทำให้หมวดธรรมอื่นๆ บริบูรณ์ ดังพระพุทธองค์ตรัสไว้ ในอานาปานสติสูตร ตอนหนึ่งว่า {ม.อุ. (ไทย) ๑๔/๑๔๗/๑๘๗.}

    “อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก , อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์, สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ , โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์”

นี้เป็นเหตุผลที่พระพุทธองค์ ทรงแนะนำกรรมฐานแบบอานาปานสติเป็นพิเศษ พระอรหันต์ที่ผ่านการบำเพ็ญอานาปานสติกรรมฐานอยู่นิตย์ ย่อมสามารถล่วงรู้ได้ว่า ตัวเองจะนิพพาน(ตาย)ในวันไหน เวลาไหน เช่น กรณีของพระติสสเถระ แห่งวัดโกฏิบรรพตวิหาร, พระมหาติสสเถระ แห่งวัดกรัญชนิยวิหาร, พระปิณฑปาติกติสสเถระ ในเทวปุตรัฐ ,และพระเถระสองพี่น้อง แห่งจิตตลบรรพตวิหาร {พระพุทธโฆสเถระ รจนา, สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง, คัมภีร์วิสุทธิมรรค พิมพ์ครั้งที่ ๙, (กรุงเทหานคร:ธนาเพรส, ๒๕๕๓), หน้า ๔๗๗}



แนวปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร

สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานรวมอยู่ในหลักไตรสิกขาดังกล่าวมาแล้ว และมีความสัมพันธ์สองทิศทางดังพุทธภาษิตว่า {ขุ.ธ.(ไทย) ๒๕/๓๗๒/๑๔๙.}

    ฌานย่อมไม่มีแก่คนไม่มีปัญญา
    ปัญญาย่อมไม่มีแก่คนไม่มีฌาน
    ฌานและปัญญามีแก่บุคคลใด
    บุคคลนั้นย่อมอยู่ใกล้นิพพาน


ในพระคาถานี้ คำว่า “ฌาน” ก็คือ จิตตสิกขา ซึ่งหมายถึงสมถกรรมฐาน คำว่า “ปัญญา” ก็คือ ปัญญาสิกขา ซึ่งวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง และจะปรากฏความสัมพันธ์แบบสองทิศทางอย่างนี้ ซึ่งเข้าใจโดยทั่วไปว่า มีสีลสิกขาเป็นจุดเริ่มต้น ดังในข้อความในอีกพระคาถาหนึ่งว่า {ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๔๒-๑๔๓/๘๙.}

      สมาธิอันบุคคลอบรมโดยมีศีลเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
      ปัญญาอันบุคคลอบรมโดยมีสมาธิเป็นฐาน ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
      จิตอันบุคคลอบรมโดยมีปัญญาเป็นฐาน ย่อมหลุดพ้นโดยชอบ
      จากอาสวะทั้งหลาย คือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ


     ในพระคาถานี้ก็เช่นเดียวกัน คำว่า “ศีล” ก็คือ สีลสิกขา
     คำว่า “สมาธิ” ก็คือ จิตตสิกขา ซึ่งหมายถึง สมถกรรมฐาน
     คำว่า “ปัญญา” ก็คือ ปัญญาสิกขา ซึ่งหมายถึง วิปัสสนากรรมฐาน

ในทางปฏิบัติ พระพุทธเจ้าทรงแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาธิ(สมถะ)กับปัญญา(วิปัสสนา) เป็นแบบสองทิศทางและแบบคู่ขนาน ดังข้อความบางตอนที่พระอานนท์แสดงไว้ว่า {องฺ.จตุกฺก.(ไทย) ๒๑/๑๗๐/๒๓๗-๒๓๘.}

   “(๑) สมถปุพพังคมวิปัสสนาภาวนา การเจริญวิปัสสนาโดยมีสมถะนำหน้า
    (๒) วิปัสสนาปุพพังคมสมถภาวนา การเจริญสมถะโดยมีวิปัสสนานำหน้า
    (๓) สมถวิปัสสนายุคนัทธภาวนา การเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป”

ผลแห่งการปฏิบัติกรรมฐานตามหลักไตรสิกขา เริ่มจากระดับต้นสุด(คือศีล)แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อยไปจนถึงระดับสูงสุด(คือนิพพาน) ความสัมพันธ์กันดังกล่าวแสดงให้เห็นชื่อเป้าหมายในระดับต่าง ๆ ด้วย ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ ความโดยสรุปตอนหนึ่งว่า {องฺ.ทสก. (ไทย) ๒๔/๑/๑-๓, วิ.ป.(ไทย) ๘/๓๖๖/๕๕๒, องฺ.เอกาทสก. (ไทย) ๒๔/๑/๓๘๙-๓๙๐.}

     วินัยย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม(ศีล)
     ความสำรวมมีเพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อน
     ความไม่เดือดร้อนมีเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์
     ความปราโมทย์มีเพื่อประโยชน์แก่ความอิ่มใจ
     ความอิ่มใจมีเพื่อประโยชน์แก่ความสงบ
     ความสงบมีเพื่อประโยชน์แก่ความตั้งใจมั่น(สมาธิ)
     ความตั้งใจมั่นมีเพื่อประโยชน์แก่ความรู้เห็นตามเป็นจริง(ปัญญา)
     ความรู้เห็นตามเป็นจริงมีเพื่อประโยชน์แก่ความเบื่อหน่าย
     ความเบื่อหน่ายมีเพื่อประโยชน์แก่ความสำรอกกิเลส
     ความสำรอกกิเลสมีเพื่อประโยชน์แก่ความหลุดพ้น(วิมุตติ)
     ความหลุดพ้นมีเพื่อประโยชน์แก่ความรู้เห็นความหลุดพ้น
     ความรู้เห็นความหลุดพ้นมีเพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาเชื้อมิได้(นิพพาน)


พัฒนาการจากระดับต้นไปจนถึงระดับสูงสุดภายใต้กรอบแห่งไตรสิกขาดังกล่าว สรุปเป็นชื่อข้อธรรมได้ตามลำดับตามแผนภูมิดังนี้



ข้อธรรมในไตรสิกขามีความเป็นเป้าหมายระดับเหตุและผลในวิถีแห่งการปฏิบัติ เป้าหมายระดับเหตุและผลนี้ไม่ได้มีจุดจบในตัวเอง แต่มีลักษณะการส่งไม้ต่อกันไป เหมือนการเดินทางไปสู่เป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งโดยการนั่งยานเป็นผลัด ดังที่พระปุณณมันตานีบุตรกล่าวกับพระสารีบุตรตอนหนึ่งว่า {ม.มู. (ไทย) ๑๒/๒๕๙/๒๘๑-๒๘๓.}

     สีลวิสุทธิ(ความหมดจดแห่งศีล) มีจิตตวิสุทธิ(ความหมดจดแห่งจิต)เป็นเป้าหมาย (สีลมีสมาธิเป็นเป้าหมาย)
     จิตติวิสุทธิมีทิฏฐิวิสุทธิ(ความหหมดจดแห่งความเห็น=ปัญญา)เป็นเป้าหมาย (สมาธิมีปัญญาเป็นเป้าหมาย)

สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามหลักพระพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กันในฐานะรวมอยู่ในหลักไตรสิกขาและในฐานะเป็นเหตุและผลของกันและกันอย่างนี้ มีคำถาม ๒ ประเด็นใหญ่ คือ

คำถามประเด็นที่ ๑. หลักการไหนในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็นสมถกรรมฐาน หลักการไหนเป็นวิปัสสนากรรมฐาน.?
คำถามประเด็นที่ ๒. การปฏิบัติกรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐานสูตร ปฏิบัติแบบไหนเป็นสมถกรรมฐาน.? ปฏิบัติแบบไหนเป็นวิปัสสนากรรมฐาน.?

คำถามประเด็นที่ ๑. มีคำตอบตามพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรตอนหนึ่งว่า {ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๓/๒๔๘, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑-๓๐๒.}

    อิธภิกฺขเวภิกฺขุ กาเย กายนุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺยโลเก
    อภิชฺฌาโทมนสฺส, เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี ... จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี ... ธมฺเมสุ ธมฺ
    มานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺยโลเกอภิชฺฌาโทมนสฺส.
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ
    กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้...พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่
    ...พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่...พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้


ถามว่า “คำไหนแสดงความเป็นสมถกรรมฐาน.? คาไหนแสดงความเป็นวิปัสสนากรรมฐาน.?”
คำว่า “สมฺปชาโน” คือ วิปัสสนากรรมฐาน คำว่า “สติมา” คือ สมถกรรมฐาน พระบาลีนี้เป็นเครื่องบ่งบอกว่า ทุกหลักการมีทั้งความเป็นสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันไป

คำถามประเด็นที่ ๒. มีคาตอบตามพระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตรตอน ที่ว่าด้วยวิธีปฏิบัติอานาปานปัพพะ ว่า {ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๔ /๒๔๘-๒๔๙, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๔/๓๐๒-๓๐๓.}

     กถญฺจภิกฺขเวภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ. อิธภิกฺขเวภิกฺขุอรญฺญคโต วา รุกฺข
     มูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา นิสีทติ ปลฺลงฺกอาภุชิตฺวา อุชุํ กายํ ปณิธาย ปริ
     มุข สตึอุปฏฺฐเปตฺวา. โสสโต ว อสฺสสติ สโตปสฺสสติ,ทีฆ วา อสฺสสนฺโต
     ทีฆอสฺสสามีติ ปชานาติ, ทีฆ วา ปสฺสสนฺโต ทีฆปสฺสสามีติ ปชานาติ ...
     ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร.? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่
     โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติ
     หายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจ
     ออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว ...


คำว่า “สโต” คือ สมถกรรมฐาน คำว่า “ปชานาติ” คือ วิปัสสนากรรมฐาน พระบาลีนี้เป็นเครื่องบ่งบอกว่า ทุกวิธีการมีทั้งการปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันไป พระบาลีอีกหลายตอน ที่แสดงวิธีปฏิบัติสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานในกระบวนการเดียวกัน เช่น {ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๘๐/๒๕๔, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๘๐/๓๑๔.}
   
     อตฺถิ เวทนาติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทวญาณมตฺตาย
     ปฏิสฺสติมตฺตาย. อนิสฺสิโต จ วิหรติ น กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ.
     ภิกษุมีสติปรากฏอยู่เฉพาะหน้าว่า “เวทนามีอยู่” ก็เพียงเพื่ออาศัยเจริญญาณ
     เจริญสติเท่านั้น ไม่อาศัยอยู่และไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆในโลก


     คำว่า “ญาณ-” ในคำว่า “ญาณมตฺตาย” คือ วิปัสสนากรรมฐาน
     คำว่า “ปฏิสฺสติ-” ในคำว่า “ปฏิสฺสติมตฺตาย” คือ สมถกรรมฐาน

พระบาลีที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้ จะเห็นว่าบางตอนก็เรียงคำที่แสดงความเป็นสมถกรรมฐานไว้หน้า บางตอนก็เรียงคำที่แสดงความเป็นวิปัสสนาไว้หน้า ข้อนี้ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เพราะความจริงแล้ววิธีการแห่งสติปัฏฐานมุ่งที่จะทำจิตให้เป็นสมาธิเป็นเบื้องต้น เมื่อจิตเป็นสมาธิแล้วจึงก้าวไปสู่วิปัสสนากรรมฐาน โดยเอาจิตที่นิ่งมีอารมณ์เป็นหนึ่งนั้นพิจารณาขันธ์ ๕ โดยความเป็นไตรลักษณ์ เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงขันธ์ ๕ โดยความเป็นไตรลักษณ์ และเกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปตามกระบวนการเหตุผล ขั้นนี้คือ วิปัสสนากรรมฐาน

(ยังมีต่อ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 30, 2023, 12:23:44 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2023, 11:29:47 am »
0



กรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐาน กับ ความนิยมในสังคมไทย

๑. กำเนิดและพัฒนาการ

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระและพระอรหันต์ ๑,๐๐๐ องค์ ครั้นทำสังคายนาครั้งที่ ๓ เสร็จแล้ว ได้ส่งพระโสณะและพระอุตตระพร้อมกับพระอรหันต์อีก ๕ องค์ มาประกาศพระพุทธศาสนายังสุวรรณภูมิ พร้อมกับกำชับให้สอนวิปัสสนากรรมฐานให้ประชาชนได้มรรคผลนิพพาน พระเถระทั้ง ๒ สอนวิปัสสนากรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐาน {พระภัททันตะ อาสภะ มหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ, วิปัสสนาธุระ, (กรุงเทพมหานคร:C100 Design Co., LTD., ๒๕๓๖), หน้า ๕๑-๕๒.}

งานสืบทอดวิปัสสนาธุระในดินแดนสุวรรณภูมิดำเนินมาอย่างไม่ขาดสาย ในประเทศพม่ามีพระมหาเถระหลายรูปทาหน้าที่สืบทอดวิปัสสนาธุระ เช่น พระนโมอรหันต์ พระมิงกุลโตญ พระนารทะ โดยเฉพาะพระนารทะหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระมิงกุนเชตะวัน สยาดอ เป็นพระวิปัสสนาจารย์มีชื่อเสียงมาก มีศิษยานุศิษย์จานวนมาก ที่มีชื่อเสียงมากก็คือ พระโสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต หรือท่านมหาสี สยาดอ

พระมิงกุนเชตวันสยาดอได้ประยุกต์วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจากมหาสติปัฏฐาน ให้สามารถปฏิบัติได้ง่าย ท่านมหาสี สยาดอก็เล่าเรียนวิธีการปฏิบัตินี้และสืบทอดของท่านมิงกุนเชตวันสยาดอ

แนวคิดพื้นฐานของท่านมหาสี สยาดอ ก็คือ
    (๑) ความเข้าใจปรากฏการณ์ทั้งทางนามและรูปที่เกิดขึ้นในตัวเรา
    (๒) ร่างกายทั้งหมดเป็นองค์รวมแห่งรูปธรรม
    (๓) ปราฏการณ์ทางรูปธรรมหรือนามธรรม ล้วนเป็นการทำงานของจิต {พระภัททันตะ อาสภะ มหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๘๕.}

ในยุคต่อมา ศิษย์ที่สำคัญอีกท่านหนึ่งคือ พระภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ทำหน้าที่สืบทอดงานวิปัสสนากรรมฐาน และที่สำคัญคือ มีส่วนสำคัญในการสอนวิปัสสนากรรมฐานประเทศไทย โดยในยุคนั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ได้ส่งพระเถระหลายรูปไปศึกษาวิปัสสนากรรมฐานที่ประเทศพม่า และต่อมาพระภัททันตะ อาสภมหาเถระได้เดินทางมาสู่ประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่วัดมหาธาตุปัจจุบัน

มหาเถรสมาคมซึ่งเป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย มีนโยบายส่งเสริมการปฏิบัติกรรมฐานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ใน พ.ศ.๒๕๔๓ ได้ออกระเบียบว่าด้วย การตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ได้มีการตั้งสำนักปฏิบัติอย่างเป็นทางการตามระเบียบนี้แล้ว จำนวน ๑,๕๑๐ แห่งใน ๗๗ จังหวัดทั่วประเทศ และมีสำนักปฏิบัติธรรมที่นอกเหนือจากนี้ อีกเป็นจำนวนมาก

ในด้านการปฏิบัตินั้น มีรูปแบบ(สาย)การปฏิบัติ ๕ อย่าง คือ
     รูปแบบที่ ๑. บริกรรมหรือภาวนาว่า “พุท-โธ”
     รูปแบบที่ ๒. บริกรรมหรือภาวนาว่า “ยุบหนอ-พองหนอ”หรือ “พองหนอ-ยุบหนอ”
     รูปแบบที่ ๓. บริกรรมหรือภาวนาว่า “สัมมา-อรหัง”
     รูปแบบที่ ๔. บริกรรมหรือภาวนา กำหนดลมหายใจเข้า-ออก (แบบอานาปานสติ)
     รูปแบบที่ ๕. กำหนดพิจารณารูป-นาม

ทุกรูปแบบ(สาย)อยู่บนพื้นฐานแห่งมหาสติปัฏฐาน เกิดจากการถอดบทเรียนมาจากสาระในมหาสติปัฏฐานสูตร เพียงแต่บางรูปแบบอาจประยุกต์เล็กน้อย เช่น รูปแบบ “สัมมา-อรหัง” กำหนดเอาดวงแก้วหรือองค์พระพุทธรูปเล็กๆ มาแทนที่ลมหายใจ



๒. วิธีการ “พอง-ยุบ” {มหาสี สยาดอ(โสภณมหาเถร), วิปัสสนาชุนี: หลักการภาคปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แปลโดย จำรูญ ธรรมดา, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๔๐) สรุปความจากหน้า ๓-๒๗.}

กาสอนวิปัสสนากรรมฐานของพระภัททันตะ อาสภมหาเถระและพระเถระไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการประยุกต์หลักมหาสติปัฏฐานเป็นหลายรูปแบบ วิธีการที่ได้รับความนิยมมาก คือ วิธีการ “พอง-ยุบ” โดยมีหลักการเบื้องต้นและลำดับวิธีการปฏิบัติดังนี้

วันที่ ๑ วิปัสสนาจารย์ให้กรรมฐานไปปฏิบัติ ๖ ข้อ คือ

     (๑) เดินจงกรม
          โยคีเดินทอดสายตาไปประมาณ ๔-๕ ศอก สติจับอยู่ที่ส้นเท้า กำหนดเดินช้าวๆ ยกเท้าขวาพร้อมกับนึกภาวนาว่า “ขวา-ย่าง-หนอ” ยกเท้าซ้ายพร้อมกับนึกภาวนาว่า “ซ้าย-ย่าง-หนอ” เท้าที่ยกกับใจที่นึกต้องไปพร้อมกัน และเท้าต้องลงถึงพื้นพร้อมกับใจนึกว่า “หนอ”
     (๒) นั่ง
          เมื่อปฏิบัติโดยการเดินพอสมควรแล้ว ก็ย่อตัวลงนั่งพร้อมกับภาวนาว่า “นั่งหนอ นั่งหนอ” จนกระทั่งขัดสมาธิเรียบร้อย หลับตา สติจับอยู่ที่ท้อง , หายใจเข้าท้องพองให้นึกภาวนาว่า “พองหนอ” , หายใจออกท้องยุบให้นึกภาวนาว่า “ยุบหนอ” , ใจที่นึกกับขณะที่ท้องพอง-ยุบต้องให้พร้อมกันพอดี
     (๓) กำหนดพิจารณาเวทนา
          ขณะนั่งอยู่นั้น เกิดเวทนาขึ้น เช่น ปวดเมื่อย ให้โยคีปล่อยการกำหนด “พอง-ยุบ” แล้วเอาสติไปกำหนดที่เจ็บ ปวดเมื่อยนั้นพร้อมกับนึกภาวนาว่า “ปวดหนอ ปวดหนอ” จนกระทั่งเวทนานั้นหายแล้วให้เอาสติไปกำหนดที่ท้อง ภาวนาว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” ต่อไป
     (๔) กำหนดพิจารณาจิต
          ขณะที่นั่งอยู่ จิตคิดฟุ้งซ่านถึงสิ่งต่างๆ ก็ให้เอาสติปักลงที่หัวใจพร้อมกับนึกภาวนาว่า “คิดหนอ คิดหนอ” จนกว่าจะหยุดคิดฟุ้งซ่านถึงนั้นๆ แล้วกลับไปกำหนดอาการพอง-ยุบต่อไปอีก เกิดอาการดีใจ เสียใจก็ให้กำหนดภาวนาเช่นเดียวกันว่า “ดีใจหนอ เสียใจหนอ”
     (๕) กำหนดพิจารณาเสียง
          ขณะที่นั่งอยู่ มีเสียงดังรบกวน ให้ใช้สติกำหนดที่หูนึกภาวนาว่า “ได้ยินหนอ ได้ยินหนอ” จนกว่าความรู้สึกว่ามีเสียงรบกวนจะหายไปแล้ว ให้กลับไปกำหนดอาการพอง-ยุบต่อไปอีก
     (๖) นอน
          เวลาจะนอน ให้เอนตัวลงอย่างช้าๆ ใช้สติจับอยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของร่างกายพร้อมกับนึกภาวนาว่า “นอนหนอ นอนหนอ” จนกว่าอิริยาบถนอนจะเสร็จเรียบร้อย แล้วเอาสติมากำหนดที่ท้องพร้อมกับนึกภาวนาว่า “พองหนอ ยุบหนอ” ต่อไปอีก คอยให้สังเกตให้ดีว่าจะหลับไปในขณะที่ท้องพองหรือยุบ

วันที่ ๒ วิปัสสนาจารย์ให้เพิ่มอีก ๑ บทเรียน คือ การกำหนดต้นจิต

เมื่อวิปัสสนาจารย์ตรวจสอบความก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติแล้ว จะให้เพิ่มอีก ๑ บทเรียน คือ การกำหนดต้นใจ ได้แก่ กำหนดความอยากนั่นเอง เช่น อยากลุกขึ้น วิธีปฏิบัติคือ ขณะอยากจะลุกขึ้น ให้เอาสติกำหนดที่หัวใจนึกภาวนาว่า “อยากลุกหนอ อยากลุกหนอ” และขณะกาลังลุกขึ้นก็นึกภาวนาว่า “ลุกหนอ ลุกหนอ” ข้อสาคัญในบทเรียนนี้ คือ จะทำอะไรก็ตาม ให้กำหนดต้นใจ(ความอยาก)ทุกครั้ง

วันที่ ๓-๕ วิปัสสนาจารย์ให้เพิ่มการกำหนดทวารทั้ง ๕

ให้กำหนดการรับรู้ ทางทวารทั้ง ๕ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้
     - ขณะตาเห็นรูป ให้กำหนดว่า “เห็นหนอ เห็นหนอ” ตั้งสติไว้ที่ตา
     - ขณะหูได้ยินเสียง ให้กำหนดว่า “ได้ยินหนอ ได้ยินหนอ” ตั้งสติไว้ที่หู
     - ขณะจมูกได้กลิ่น ให้กำหนดว่า “ได้กลิ่นหนอ ได้กลิ่นหนอ” ตั้งสติไว้ที่จมูก
     - ขณะลิ้นได้รส ให้กำหนดว่า “ได้รสหนอ ได้รสหนอ” ตั้งสติไว้ที่ลิ้น
     - ขณะกายสัมผัสกับสิ่งอื่น ให้กำหนดว่า “ถูกหนอ ถูกหนอ” ตั้งสติไว้ตรงที่กายสิ่งอื่น

วันที่ ๖ วิปัสสนาจารย์ให้เพิ่มบทเรียนตามลาดับ ดังนี้

เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดเห็นนามรูปชัด(เกิดญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ)และรู้เหตุปัจจุบันแห่งการเกิดนามรูปชัด(เกิดญาณที่ ๒ ปัจจยปริคคหญาณ) วิปัสสนาจารย์จะให้เพิ่มอีก ๑ บทเรียน คือ เพิ่มเดินจงกรมระยะที่ ๒ ว่า “ยกหนอ เหยียบหนอ”

ต่อจากนั้น ก็เพิ่มระยะที่ ๓ ว่า“ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ” ถ้าผู้ปฏิบัติมีความก้าวหน้า กำหนดเห็นนามรูปโดยความเป็นไตรลักษณ์(เกิดญาณที่ ๓ คือ สัมมสนญาณ )เป็นต้น ไปตามลาดับ วิปัสสนาจารย์ก็จะเพิ่มเดินจงกรมระยะที่ ๔ ไปจนถึงระยะที่ ๖ สรุปได้ดังนี้
     ระยะที่ ๑. ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
     ระยะที่ ๒. ยกหนอ เหยียบหนอ
     ระยะที่ ๓. ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
     ระยะที่ ๔. ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ
     ระยะที่ ๕. ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ
     ระยะที่ ๖. ยกส้นหนอ ยกหนอ ย่างหนอ ลงหนอ ถูกหนอ กดหนอ

ผู้ปฏิบัติควรเดินระยะละประมาณ ๑๐ นาที จากนั้นก็นั่งกำหนดอาการ “พอง-ยุบ” ิขณะนั้นก็ให้เพิ่มการกำหนดอาการ “ถูก” อีก ๖ แห่ง คือ “พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกก้นย้อย ข้างขวา-ซ้าย, ถูกเข่าข้างขวา-ซ้าย, ถูกตาตุ่มขวา-ซ้าย”

ผู้ปฏิบัติด้วยความตั้งใจไม่ประมาท ประมาณ ๒-๓ วันเท่านั้น ก็จะได้รับผลแห่งการปฏิบัติ อย่างเต็มที่



มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับ กรรมฐานตามหลักมหาสติปัฏฐาน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีปรัชญาว่า
   “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม”
มีปณิธานว่า
   “ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงส าหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์”
มีวิสัยทัศน์ว่า
    “ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ ที่สร้างคนดีและเก่งอย่างมีสมรรถภาพ จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ และบริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ”

บริหารงานตามพันธกิจ ๔ ประการ ดังนี้ {มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔), หน้า ๒๐. http://plandiv.mcu.ac.th/?page_id=109 (๒๑ เมษายน ๒๕๖๐)}

ประการที่ ๑. ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิดเป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม

ประการที่ ๒. จัดกรศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน โดยบูรณาการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนามนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุลและสันติสุข

ประการที่ ๓. มุ่งมั่นในการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้และความร่วมมืออันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนระดับชาติและนานาชาติ เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรมอันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา

ประการที่ ๔. มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักนิติธรรม จริยธรรม ความสานึกรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใสตรวจ สอบได้ และความคุ้มค่า รวมทั้งสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริงจากปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์

และกรอบพันธกิจดังกล่าวมานั้น มหาวิทยลัยได้กาหนดเอกลักษณ์ไว้ว่า “บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนา” กำหนดอัตลักษณ์ขององค์กรไว้ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” และอัตลักษณ์ของบัณฑิตไว้ว่า “ศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา”

เพื่อให้การบริหารงานบรรลุวัตถุประสงค์และสะท้อนสาระตามปรัชญาเป็นต้นดังกล่าวมา มหาวิทยาลัยได้จัดทำหลักสูตรระดับต่างๆ และกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน กำหนดให้นิสิตทุกหลักสูตรและทุกระดับศึกษาทั้งวิชาพระพุทธศาสนาและวิชาว่าด้วยศาสตร์ต่างๆ พร้อมกันนั้นก็กำหนดให้นิสิตทุกรูป/คนศึกษาวิชากรรมฐานและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ดังนี้

    - ระดับประกาศนียบัตรสาขาวิปัสสนาภาวนา นิสิตศึกษารายวิชาตามเกณฑ์และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๓ เดือน
    - ระดับปริญญาปริญญาตรี นิสิตทุกสาขาวิชาศึกษาวิชาแก่นพระพุทธศาสนา ๔๐ หน่วยกิต ศึกษาวิชากรรมฐาน ๗ รายวิชา และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานปีละ ๑๐ วัน ใช้ระยะเวลาศึกษา ๔ ปี ต้องปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานรวม ๔๐ วัน
    - ระดับปริญญาโทสาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา นิสิตศึกษารายวิชาตามเกณฑ์และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๗ เดือน
    - ระดับปริญญาโทสาขาอื่นๆ นิสิตศึกษารายวิชาตามเกณฑ์ และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๓๐ วัน
    - ระดับปริญญาเอกทุกสาขาวิชา นิสิตศึกษารายวิชาตามเกณฑ์ และปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๔๕ วัน

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยใช้วิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบ “พอง-ยุบ” หรือตามหลักมหาสติปัฏฐานที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ อาสภมหาเถร) การกำหนดให้นิสิตทุกรูป/คนในทุกระดับปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็เพื่อพัฒนาจิตใจให้มีคุณภาพ สุขภาพ และสมรรถภาพ เป็นผู้มีความเข้มแข็งด้านจิตใจ สามารถที่จะดำรงตนอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหวเมื่อประสบกับโลกธรรมทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์แลอนิฏฐารมณ์

เมื่อตนมีความมั่นคงด้านจิตใจแล้ว ก็สามารถที่จะนำวิชาความรู้มาเป็นเครื่องมือในการบริการวิชาการแก่สังคม คือสอนพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้แก่ประชาชนทั่วไป ให้อยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่ฐานะ

แนวทางการผลิตบัณฑิตดังกล่าวมานี้ เป็นหลักประกันว่า บัณฑิตของมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษาปีละประมาณ ๕,๐๐๐ รูป/คน ในทุกระดับจะมีความรู้ด้านวิชาการและมีทักษะชีวิต ที่สาคัญมีความเจริญงอกงามใน ๔ มิติ กาย ศีล จิต และปัญญา สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่พัฒนาจิตใจและสังคม”

(ยังมีต่อ)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กรรมฐานในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 30, 2023, 12:18:13 pm »
0



อานิสงส์แห่งการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน

๑.อานิสงส์ทั่วไป

การปฏิบัติกรรมฐานเป็นการเตรียมจิตให้อยู่ในสภาพพร้อมและง่ายแก่การปลูกฝังคุณธรรมต่างๆ เป็นการปลูกฝังนิสัยที่ดี รู้จักวิธีทำใจให้สงบ และผ่อนคลายความทุกข์ ผู้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำย่อมจะมีความมั่นคงทางอารมณ์และมีภูมิคุ้มกันโรคทางจิต

อานิสงส์ในชีวิตประจำวันโดยสรุป ดังนี้ {พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พิมพ์ครั้งที่ ๓๙, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗), สรุปความจากหน้า ๗๘๘-๗๘๙.}

     (๑) ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลาย หายเคลียด เกิดความสงบ หายกระวนกระวาย หยุดยั้งจากความกลัดกลุ้มวิตกกังวล เป็นเครื่องพักผ่อนกาย ให้ใจสงบและมีความสุข
     (๒) เป็นเครื่องประสิทธิภาพในการทำงาน การเล่าเรียน และการทำกิจทุกอย่าง เพราะจิตที่เป็นสมาธิแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่กระทำ ย่อมทำให้คิดรอบคอบและทำงานได้ผลดี
     (๓) ช่วยเสริมสุขภาพกายและใช้แก้ไขโรคได้ เพราะร่างกายและจิตใจอาศัยกันและมีอิทธิพลต่อกัน ผู้ที่มีจิตใจเข้มแข็งสมบูรณ์(จิตเป็นสมาธิ) แม้ยามกายเจ็บป่วยก็ไม่สบายอยู่แค่กายเท่านั้น จิตใจไม่พลอยป่วยไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้น กลับใช้ใจที่เข้มแข็งสมบูรณ์นั้นไปผ่อนเบาโรคทางกายได้อีกด้วย

๒. อานิสงส์เฉพาะ

พระพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงหลักการและวิธีการปฏิบัติกรรมฐานไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร แล้วทรงแสดงอานิสงส์แห่งการปฏิบัติกรรมฐานนี้ โดยทรงแสดงไว้ ๒ ประเด็น คือ {ที.ม. (ไทย) ๑๐/๔๐๔/๓๓๘-๓๔๐.}
    (๑) ระยะเวลาปฏิบัติ
    (๒) ผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติ

ประเด็นที่ ๑. เกี่ยวกับระยะเวลาปฏิบัตินั้น ทรงแสดงไว้ ๓ ช่วงหลัก คือ
    (๑) ปี โดยแบ่งเป็นช่วงเวลานานสุดคือ ๗ ปี ถึงช่วยเวลาเร็วสุดคือ ๑ ปี
    (๒) เดือน โดยแบ่งเป็นช่วงเวลานานสุดคือ ๗ เดือน ถึงช่วงเวลาเร็วสุดคือ ๑ เดือนครึ่ง
    (๓) วัน โดยกำหนดช่วงระยะเวลาเร็วสุด คือ ๗ วัน

ประเด็นที่ ๒. เกี่ยวกับผลที่จะได้รับ ผู้ปฏิบัติกรรมฐานนี้ตามช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งดังกล่าวมานั้น ย่อมจะได้รับผลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ อย่าง คือ
    (๑) บรรลุอรหัตตผล-เป็นพระอรหันต์ในปัจจุบัน หรือ
    (๒) เป็นพระอนาคามี

    ถามว่า “เพราะเหตุไร การปฏิบัติที่ใช้เวลาแตกต่างกันจึงได้รับผลเท่ากัน.?
    ข้อนี้เป็นกฎแห่งกรรมตามหลักพระพุทธศาสานานั่นเอง คนที่ใช้เวลาปฏิบัติ ๗ ปีจึงบรรลุอรหัตตผล ก็เพราะได้ปฏิบัติสั่งสมมาน้อย สะสมต้นทุนไว้น้อย ย่อมเป็นธรรมดาที่ต้องทำเพิ่มเติมมากและใช้เวลามาก เหมือนกับแก้วที่มีน้ำอยู่น้อย ถ้าประสงค์จะให้น้ำเต็มแก้วก็ต้องเทน้ำใส่เพิ่มอีกมาก
    ส่วนคนที่ใช้เวลาปฏิบัติเพียง ๗ วันก็บรรลุอรหัตตผล ก็เพราะได้ปฏิบัติสั่งสมไว้มาก สะสมต้นทุนไว้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมดาที่ต้องทำเพิ่มเติมไม่มากและใช้เวลาน้อย เหมือนกับแก้วที่มีน้ำอยู่มากแล้ว ถ้าประสงค์จะให้เต็มแก้วก็เทน้ำใส่อีกเล็กน้อยก็เต็ม

ประเด็นที่น่าสนใจ ก็คือ พระพุทธเจ้าทรงยกเอาคำอุทเทส(คำขึ้นต้น) มาแสดงไว้เป็นปฏินิทเทส(คำลงท้าย)ว่า {ที.ม. (บาลี) ๑๐/๓๗๓/๒๔๘, ๔๐๕/๒๖๙, ที.ม. (ไทย) ๑๐/๓๗๓/๓๐๑, ๔๐๕/๓๔๐.}

    เอกายโน อยภิกฺขเวมคฺโค สตฺตาน วิสุทฺธิยา โสกปริเทวาน สมติกฺกมาย ทุกฺข
    โทมนสฺสานอตฺถงฺคมาย ญายสฺสอธิคมาย นิพฺพานสฺสสจฺฉิกิริยายยทิทจตฺตาโร สติปฏฐานา.
    ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะ
    และปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔

นัยแห่งพระพุทธพจน์นี้คือ คำว่า “ทางเดียว” มี ๔ นัย คือ
    (๑) เป็นทางที่บุคคลผู้ละการเกี่ยวข้องกับหมู่คณะไปประพฤติธรรมอยู่แต่ผู้เดียว
    (๒) เป็นทางสายเดียวที่พระพุทธองค์ทรงสร้างหรือคิดค้นขึ้นมา
    (๓) เป็นทางปฏิบัติที่มีอยู่เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น
    (๔) เป็นทางไปสู่จุดหมายเดียว คือ พระนิพพาน

เป็นการยืนยันว่า การปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนามี ๒ ระดับ
    (๑) ระดับชาวบ้านทั่วไปที่ทำหน้าที่การงานเพื่อเลี้ยงตัว ก็สามารถนำธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้ และย่อมได้รับผลแห่งการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เป็นสุขได้ตามฐานะ
    (๒) ระดับผู้มุ่งไปสู่มรรค ผล นิพพาน ต้องปฏิบัติตามหลัก คำว่า “สติปัฏฐาน” แปลว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ หรือการปฏิบัติมีสติเป็นประธาน การปฏิบัติระดับที่ ๒ นี้เท่านั้น ที่จะทำให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้


ความสรุป

ทุกชาติ ทุกศาสนา ทุกสถาบันล้วนแต่มีกิจกรรมการศึกษาและฝึกฝน เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามาถ  วิธีการศึกษาและฝึกฝนมีหลายอย่างแตกต่างกันไป กรรมฐานในพระพุทธศาสนาเป็นวิธีการฝึกฝนจิตใจให้มีสมาธิ  และจิตที่มีสมาธิย่อมประกอบด้วยคุณภาพ สุขภาพ และสมรรถภาพ ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลมีประสิทธิภาพสูงทำงานทุกอย่างประสบความสำเร็จ

กรรมฐานในพระพุทธศาสนามี ๒ อย่างคือ สมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน มีการปฏิบัติกรรมฐานทั้ง ๒ อย่างในสำนักต่างๆทั่วโลก บางสำนักเน้นสมถกรรมฐาน บางสำนักเน้นวิปัสสนากรรมฐาน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ จิตมีสมาธิ(คุณภาพ สุขภาพ และสมรรถภาพ)

กรรมฐานแบบสติปัฏฐานเป็นวิธีปฏิบัติที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและปัจจุบัน แม่บทแห่งวิธีปฏิบัติกรรมฐาน คือไตรสิกขาอันประกอบด้วยสีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ถือเป็นหลักการใหญ่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงการประยุกต์หลักการใหญ่นี้ ไปสู่ภาคปฏิบัติที่ชัดเจนมากในมหาสติปัฏฐานสูตรและในพระสูตรย่อย คือ อานาปานสติสูตร มีการสืบทอดวิธีการนี้จากสมัยพุทธกาล มาจนถึงปัจจุบัน

ในหลายชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา เช่น ลังกา พม่า ไทย การประยุกต์สติปัฏฐานเพื่อการปฏิบัติในสานักต่างๆ มีความแตกต่างหลากหลาย บางสำนักเน้นกายานุปัสสนาหมวดอิริยาปถปัพพะ(กำหนดอิริยาบถ) บางสำนักเน้นกำยานุปัสสนา หมวดอานาปานปัพพะ(กำหนดลมหายใจเข้าออก) บางสำนักเน้นเวทนานุปัสสนา(กำหนดเวทนา) บางสำนักเน้นจิตตานุปัสสนา(กำหนดจิต)

วิธีปฏิบัติสติปัฏฐานในประเทศไทยก็มีความแตกต่างหลากหลายเช่นเดียวกัน แต่พอสังเกตได้ว่า ที่นิยมมากก็คือวิธีการแบบกายานุปัสสนาหมวดอิริยาปถปัพพะ(กำหนดอิริยาบถ)เป็นฐาน แล้วหมุนเวียนใช้แบบเวทนาปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา

วิธีปฏิบัติก็คือ กำหนดให้โยคีผู้ปฏิบัติเดิน ยืน นั่งเป็นหลัก และให้มีสติระลึกรู้ชัดตลอดเวลา ส่วนอิริยาบถนอนนั้นให้ปฏิบัติตอนที่จะเข้านอน ขณะที่โยคีเดินยืนนั่งอยู่นั้น ถ้ารู้สึกปวดเมื่อยก็ให้กำหนดรู้ชัด นี่คือเวทนานุปัสสนา ถ้าจิตคิดฟุ้งซ่านก็ให้กำหนดรู้ชัด นี่คือจิตตานุปัสสนา ในขณะเดียวกัน เมื่อจิตนิ่งได้ที่แล้วก็ให้ตรวจสอบกิเลสคือนิวรณ์ ตรวจสอบขันธ์ อายตนะ โพชฌงค์ และอริยสัจ นี่คือธัมมานุปัสสนา

การปฏิบัติที่มีความหลายเหล่านี้ก็เพื่อกำหนดรู้ธรรมชาติของชีวิต คือ ขันธ์ ๕ (นามรูปหรือรูปนาม)ว่า “มีความ
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา และเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุปัจจัย” เมื่อรู้แจ้งธรรมชาติของชีวิตแล้วก็จะคลายความยึดมั่นถือมั่นได้

กรรมฐานแบบสติปัฏฐานนี้มีผลมาก มีอานิสงส์มาก เป็นที่ประจักษ์ ผู้ผ่านการปฏิบัติต่างยอมรับว่า จิตใจมีคุณภาพ สุขภาพ และสมรรถภาพ จึงเป็นที่นิยมปฏิบัติทั่วโลกในปัจจุบัน เป็นการพิสูจน์พระพุทธพจน์ว่า

   “ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงโสกะและปริเทวะ เพื่อดับทุกข์และโทมนัสเพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทาให้แจ้งนิพพาน ทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔”





ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ที่มา : หนังสือ กรรมฐานในพระพุทธศาสนา : บทเรียนจากมหาสติปัฏฐานสูตรและความนิยมในสังคมไทย
โดย พระเทพวัชรบัณฑิต, ศ.ดร.อธิการบดี มจร
website : https://www.mcu.ac.th/article/detail/35391

แหล่งข้อมูล
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาฯ
  พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์, ปริวาร, พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค,
  ทีฆนิกาย มหาวรรค, ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์,
  มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต, อังคุตตรนิกาย
  จตุกกนิบาต,อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, อังคุตตรนิกาย เอกาทสกนิบาต,
  ขุททกนิกาย ธรรมบท. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
- พระพุทธโฆสเถระ ผู้รจนา. คัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลและเรียบเรียงโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส, ๒๕๕๓.
- พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย พิมพ์ครั้งที่ ๓๙. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
- พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). หลักปฏิบัติสมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๑.
- พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ) บรรณาธิการ. วิปัสสนากรรมฐานในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๐.
- พระภัททันตะ อาสภะ มหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ. วิปัสสนาธุระ.กรุงเทพมหานคร:C100 Design Co., LTD., ๒๕๓๖.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ