ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กรรมเวร กรรมลิขิต เรื่องกรรม ช่วยอธิบายให้เข้าใจ ด้วยคะ  (อ่าน 3344 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือบางที่ เราทำอะไรไม่สำเร็จ ก็มักจะบอกว่า เป็นกรรมเวร ใช่หรือไม่คะ บางครั้ง ก็โทษว่า กรรมลิขิต

 ถ้าหากกรรมลิขิต ให้เราเป็น หรือ ไม่เป็น เราก็ไม่ต้องขวนขวาย ใช่หรือไม่คะ

 เราควรจะเชื่อเรื่องกรรมอย่าง ไร ถึง จะถูกต้อง คะ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. ฐานสูตร


  [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
   เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
   เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
   เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑
   เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑

   เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
   จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ

  ............................ฯลฯ

   เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้นอริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

    ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
     มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น
     โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน
     เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง
     จักทำกรรมใดดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น


     เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
     เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/read/?22/57/81
ขอบคุณภาพจาก http://j5.tagstat.com/




อัปโหลดเมื่อ 3 ม.ค. 2012 โดย Lek musicday

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๘. วาเสฏฐสูตร
ทรงโปรดวาเสฏฐมาณพ

     
      บุคคลจะชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะชาติก็หาไม่ จะชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะชาติก็หาไม่
      ที่แท้ ชื่อว่าเป็นคนชั่วเพราะกรรม ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะกรรม เป็นชาวนาเพราะกรรม
      เป็นศิลปินเพราะกรรม เป็นพ่อค้าเพราะกรรม เป็นคนรับใช้เพราะกรรม แม้เป็นโจรก็เพราะกรรม
      แม้เป็นทหารก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตเพราะกรรม แม้เป็นพระราชาก็เพราะกรรม


      บัณฑิตทั้งหลายมีปกติเห็นปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในกรรมและวิบาก
      ย่อมเห็นกรรมนั้นแจ้งชัดตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

      โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม..ฯลฯ


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=11070&Z=11248


      จำได้ว่า เคยตอบเรื่องนี้ไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอให้พิจารณาพุทธพจน์ข้างต้นเป็นหลัก
       :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 11:08:25 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ธรรมะกับชีวิตประจำวัน : ทำกรรมเก่าให้เกิดประโยชน์

คนไทยสมัยนี้ได้ยินคำว่า “กรรม” มักจะนึกไปในแง่ว่ากรรมจะตามมาให้เคราะห์ให้โทษอย่างไร พูดถึงกรรมก็จะนึกถึงอะไรอย่างหนึ่งที่คอยตามจะลงโทษ หรือทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ โดยเฉพาะคิดไปถึงชาติก่อน คือมองกรรมในแง่กรรมเก่า และเป็นเรื่องไม่ดี
       
      คำว่า “กรรมเก่า” ก็บอกอยู่ในตัวเองแล้วว่า มันถูกจำกัดให้หดแคบเข้ามาเหลือเพียงส่วนหนึ่ง เพราะเติมคำว่า “เก่า” เข้าไป กรรมก็เหลือแคบเข้ามา ยิ่งนึกในแง่ว่ากรรมไม่ดีอีก ก็ยิ่งแคบหนักเข้า รวมแล้วก็คือเป็นกรรมที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไปๆมาๆก็เลยอะไรๆก็แล้วแต่กรรม (เก่า-ที่ไม่ดี) บางทีถึงกับมีการหาทางตัดกรรม เลยพลัดออกไปจากพระพุทธศาสนา
       
       ความจริง กรรมก็เป็นเรื่องธรรมดาธรรมชาติ คือเป็นเรื่องความเป็นไปตามเหตุปัจจัยของชีวิตมนุษย์ ที่มีเจตนา มีการคิด การพูด และการกระทำ แสดงออก มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลาย แล้วก็เกิดผลต่อเนื่องกันไปในความสัมพันธ์นั้น
       
   ถ้ามัวไปยึดถือว่า แล้วแต่กรรมเก่าปางก่อนอย่างเดียว ก็จะทำกรรมใหม่ที่เป็นบาปอกุศลโดยไม่รู้ตัว     
   หมายความว่า ใครก็ตามที่ปลงว่า “แล้วแต่กรรม (เก่า)” นั้น
   ก็คือ เขากำลังทำความประมาท ที่ปล่อยปละละเลย ไม่ทำกรรมใหม่ที่ควรทำ

   ความประมาทนั้นก็เลยเป็นกรรมใหม่ของเขา ซึ่งเป็นผลจากโมหะ
   แล้วกรรมใหม่ที่ประมาทเพราะโมหะหลงงมงายนั้น ก็จะก่อผลร้ายแก่เขาต่อไป

       



      ความเชื่อว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่กรรมเก่า กรรมปางก่อน หรือกรรมในชาติก่อน คือลัทธิกรรมเก่านั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิ ที่เรียกว่า ปุพเพกตเหตุวาท หรือเรียกสั้นๆว่า ปุพเพกตวาท
       
       ท่านไม่ได้สอนว่าไม่ให้เชื่อกรรมเก่า แต่ท่านสอนไม่ให้เชื่อว่าอะไรๆ จะเป็นอย่างไรก็เพราะกรรมเก่า     
       การเชื่อแต่กรรมเก่า ก็สุดโต่งไปข้างหนึ่ง
       การไม่เชื่อกรรมเก่า ก็สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง

       
       ได้กล่าวแล้วว่า “กรรม” พอเติม “เก่า” เข้าไป คำเดิมที่กว้างครบถ้วนสมบูรณ์ ก็หดแคบเข้ามาเหลืออยู่ส่วนเดียว อย่ามองกรรมที่กว้างสมบูรณ์ให้เหลือส่วนเดียวแค่กรรมเก่า     
       เรื่องกรรมที่เชื่อกันในแง่กรรมเก่านี้ มีจุดพลาดอยู่ 2 แง่ คือ
       
       1. ไปจับเอาส่วนเดียวเฉพาะอดีต ทั้งที่กรรมนั้นก็เป็นกลางๆ ไม่จำกัด ถ้าแยกโดยกาลเวลาก็ต้องมี 3 คือ กรรมเก่า (ในอดีต) กรรมใหม่ (ในปัจจุบัน) กรรมข้างหน้า (ในอนาคต) ต้องมองให้ครบ       
       2. มองแบบแยกขาดตัดตอน ไม่มองให้เห็นความเป็นไปของเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด คือไม่มองเป็นกระแสหรือกระบวนการที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา แต่มองเหมือนกับว่ากรรมเก่าเป็นอะไรก้อนหนึ่งที่ลอยตามเรามาจากชาติก่อน แล้วมารอทำอะไรกับเราอยู่เรื่อยๆ

       



      ถ้ามองกรรมให้ถูกต้องทั้ง 3 กาล และมองอย่างเป็นกระบวนการของเหตุปัจจัย ในด้านเจตจำนง และการทำ-คิด-พูด ของมนุษย์ ที่ต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา ก็จะมองเห็นกรรมถูกต้อง ชัดเจนและง่ายขึ้น ในที่นี้ แม้จะไม่อธิบายรายละเอียด แต่จะขอให้จุดสังเกตในการทำความเข้าใจ 2-3 อย่าง
       
       1. ไม่มองกรรมแบบแยกขาดตัดตอน คือ มองให้เห็นเป็นกระแสที่ต่อเนื่องตลอดมาจนถึงขณะนี้ และกำลังดำเนินสืบไป
       
       ถ้ามองกรรมให้ครบ 3 กาล และมองเป็นกระบวนการต่อเนื่อง จากอดีต มาถึงบัดนี้ และจะสืบไปข้างหน้า ก็จะเห็นว่า กรรมเก่า (ส่วนอดีต) ก็คือเอาขณะปัจจุบันเดี๋ยวนี้เป็นจุดกำหนด นับถอยจากขณะนี้ ย้อนหลังไปนานเท่าไรก็ตาม กี่ร้อยกี่พันชาติก็ตาม มาจนถึงขณะหนึ่งหรือวินาทีหนึ่งก่อนนี้ ก็เป็นกรรมเก่า (ส่วนอดีต) ทั้งหมด
       
       กรรมเก่าทั้งหมดนี้ คือกรรมที่ได้ทำไปแล้ว ส่วนกรรมใหม่ (ในปัจจุบัน) ก็คือที่กำลังทำๆ ซึ่งขณะต่อไปหรือวินาทีต่อไป ก็จะกลายเป็นกรรมเก่า (ส่วนอดีต) และอีกอย่างหนึ่งคือ กรรมข้างหน้า ซึ่งยังไม่ถึง แต่จะทำในอนาคต
       
       กรรมเก่านั้นยาวนานและมากนักหนา สำหรับคนสามัญ กรรมเก่าที่พอจะมองเห็นได้ ก็คือกรรมเก่าในชาตินี้ ส่วนกรรมเก่าในชาติก่อนๆ ก็อาจจะลึกล้ำเกินไป เราเป็นนักศึกษาก็ค่อยๆเริ่มจากมองใกล้หน่อยก่อน แล้วจึงค่อยๆขยายไกลออกไป
       
       อย่างเช่นเราจะวัดหรือตัดสินคนด้วยการกระทำของเขา กรรมใหม่ในปัจจุบันเรายังไม่รู้ว่าเขากำลังจะทำอะไร เราก็ดูจากกรรมเก่า คือความประพฤติและการกระทำต่างๆ ของเขาย้อนหลังไปในชีวิตนี้ ตั้งแต่วินาทีนี้ไป นี่ก็กรรมเก่า ซึ่งใช้ประโยชน์ได้เลย

       



      2. รู้จักตัวเอง ทั้งทุนที่มีและข้อจำกัดของตน พร้อมทั้งเห็นตระหนักถึงผลสะท้อนที่ตนจะประสบ ซึ่งเกิดจากกรรมที่ตนได้ประกอบไว้
       
       กรรมเก่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเราทุกคน เพราะแต่ละคนที่เป็นอยู่ขณะนี้ ก็คือผลรวมของกรรมเก่าของตนที่ได้สะสมมา ด้วยการทำ-พูด-คิด การศึกษาพัฒนาตน และความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในอดีตทั้งหมดตลอดมาจนถึงขณะหรือวินาทีสุดท้ายก่อนขณะนี้
       
      กรรมเก่านี้ให้ผลแก่เรา หรือเรารับผลของกรรมเก่านั้นเต็มที่ เพราะตัวเราที่เป็นอยู่ขณะนี้ เป็นผลรวมที่ปรากฏของกรรมเก่าทั้งหมดที่ผ่านมา กรรมเก่านั้นเท่ากับเป็นทุนเดิมของเราที่ได้สะสมไว้ ซึ่งกำหนดว่า เรามีความพร้อม มีวิสัยขีดความสามารถทางกาย วาจา ทางจิตใจ และทางปัญญาเท่าไร และเป็นตัวบ่งชี้ว่า เราจะทำอะไรได้ดีหรือไม่ อะไรเหมาะกับตัวเรา เราจะทำได้แค่ไหน และควรจะทำอะไรต่อไป
       
       ประโยชน์ที่สำคัญของกรรมเก่า ก็คือการรู้จักตัวเองดังที่ว่านั้น ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ ด้วยการรู้จักวิเคราะห์และตรวจสอบตนเอง โดยไม่มัวแต่ซัดทอดปัจจัยภายนอก     
       การรู้จักตัวเองนี้ นอกจากช่วยให้ทำการที่เหมาะกับตนอย่างได้ผลดีแล้ว ก็ทำให้รู้จุดที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไปด้วย

 
     


      3. แก้ไขปรับปรุงเพื่อก้าวสู่การทำกรรมที่ดียิ่งขึ้น แน่นอนว่า ในที่สุดการปฏิบัติถูกต้องที่จะได้ประโยชน์จากกรรมเก่ามากที่สุด ก็คือ การทำกรรมใหม่ ที่ดีกว่ากรรมเก่า
   
      ทั้งนี้ เพราะหลักปฏิบัติทั้งหมดของพระพุทธศาสนารวมอยู่ในไตรสิกขา อันได้แก่การฝึกศึกษาพัฒนาตน ในการที่จะทำกรรมที่ดีได้ยิ่งขึ้นไป ทั้งในขั้นศีล สมาธิ ปัญญา     
       ในขั้นศีล คือการฝึกกาย วาจา สัมมาอาชีวะ รวมทั้งการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยอินทรีย์ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)       
       ในขั้นสมาธิ คือฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ ที่เรียกว่าจิตภาวนาทั้งหมด     
       ในขั้นปัญญา คือความรู้คิดเข้าใจถูกต้อง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงๆ และสามารถใช้ความรู้นั้นแก้ไขปรับปรุงกรรม ตลอดจนแก้ปัญหาดับทุกข์หมดไป มิให้มีทุกข์ใหม่ได้

       
       พูดสั้นๆ ก็คือ แม้ว่ากรรมเก่าจะสำคัญมาก ก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปสยบยอมต่อมัน แต่ตรงข้าม เรามีหน้าที่พัฒนาชีวิตของเราที่เป็นผลรวมของกรรมเก่านั้นให้ดีขึ้น     
       ถ้าจะใช้คำที่ง่ายแก่คนสมัยนี้ ก็คือ เรามีหน้าที่พัฒนากรรม กรรมที่ไม่ดีเป็นอกุศล ผิดพลาดต่างๆ เราศึกษาเรียนรู้แล้วก็ต้องแก้ไข การปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ก็คือการพัฒนากรรมให้เป็นกุศล หรือดียิ่งขึ้นๆ

       
       ดังนั้น เมื่อทำกรรมอย่างหนึ่งแล้ว ก็พิจารณาวิเคราะห์ตรวจสอบคุณภาพและผลของกรรมนั้น ให้เห็นข้อยิ่งข้อหย่อน ส่วนที่ขาดที่พร่อง เป็นต้น แล้วแก้ไขปรับปรุงเพื่อจะได้ทำกรรมที่ดียิ่งขึ้นไป     
       จะพูดว่า รู้กรรมเก่า เพื่อวางแผนทำกรรมใหม่ให้ดียิ่งขึ้นไป ก็ได้

       
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 144 ธันวาคม 2555 โดย พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม)


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.manager.co.th/dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9550000149045
http://xn--m3cif1apm3a5c5h6ab0d.dmc.tv/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
กรรมลิขิต ให้เราเป็น หรือ ไม่เป็น เราต้องขวนขวายเชื่อเรื่องกรรมอย่างไร ถึง จะถูกต้อง คะ



เราอย่าซีเรียสกับเรื่องความพร่องด้อยในวิบากผลกรรมให้หนักอกหนักใจกันเลยครับ เรามาสร้างซ่อมกำลังใจให้หึกเหิม
เติมเต็มกันเนืองๆเถอะครับ นิวรณ์นั้นหากแซกมีในใจแล้วความดีงามใดใดไม่งอกเงย แช่มชื่น เบิกบาน ถ้ารู้สึกหดหู่ใจเมื่อใดเรามาสวดมนต์ย้ำกระแทกให้มันคลายซะ ภาวนาด้วยยิ่งดีครับ และแล้วหาโอกาสไปทำบุญกราบไหว้พระสงฆ์สุปฏิปันโนกัน ก็แนะนำให้กำลังใจทุกท่านต่อสู้เพื่อย่างก้าวสู่ปีใหม่ที่ไม่รู้ว่าจะมีเภทภัยอะไรรอเราอยู่ให้ต้องเผชิญกัน....
สวัสดีปีใหม่ ครับ!




http://lifestyle.hunsa.com/detail.php?id=2016
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2012, 10:12:41 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา