ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ข้าวมธุปายาส” มีความสำคัญอย่างไรกับ “วันวิสาขะบูชา”  (อ่าน 38957 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เช้าวัน ตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา
ภาพที่ ๒๒ สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชก

“ข้าวมธุปายาส” มีความสำคัญอย่างไรกับ “วันวิสาขะบูชา”

   นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่  ๖
ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว  และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๖  ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา  เป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือข้างมธุปายาส   คือ   ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน  เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ  ไม่ปนเนื้อ  ไม่เจือปลา  ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ
 
   ปฐมสมโพธิเล่าว่า  นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกัน
และได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว   จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน  ก่อนถึงวันหุง  นางสุชาดา  สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ  ให้แม่โคกินชะเอมเครือ  กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา     แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ  ละ  ๕๐๐  ตัว  แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน   แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ  ไปจนเหลือแม่โคนม  ๘  ตัว  เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง  ๘  มาหุงข้าวมธุปายาส


   หุงเสร็จแล้ว  นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร 
นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า  เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏ  นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว  นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง  จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี   ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า   นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย   พระมหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง    นางทราบพระอาการกิริยาว่า     พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร  นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น
 
   ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้    แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี   และด้วยความสำคัญหมายว่า   พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า


ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/picture/f22.html



ข้าวมธุปายาส
    พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้จัก “มธุปายาส” ซึ่งเป็นอาหารโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจากเรื่องราวในพุทธประวัติ โดยมีนางสุชาดาเป็นผู้ปรุงถวายพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีกล่าวอรรถาธิบาย ขั้นตอนในการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาไว้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ถอดความมาได้ดังนี้
 
   “ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสีกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000 ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม
 
    แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค
    500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค   
    ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว
    แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค
    กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว
    นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8 ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศจนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8 ตัว


    ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ นางสุชาดาเห็นดังนั้น ก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือ ตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง

    เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิราชก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น
    ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตร มากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น
    ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ
    เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติ ต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรย ใส่ลงในกระทะด้วย
    เมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี

    
    ครั้นสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เมื่อนั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์”

   ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาล เป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่ม
   มีส่วนผสมของ ข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ
   แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะปั้นให้เป็นคำได้


 

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ ของไทย
    จากคติศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยได้ขนานนาม “ข้าวมธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวกระยาทิพย์” หรือ “ข้าวทิพย์”
    ประเพณีการหุงข้าวทิพย์ในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชาพบว่า มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
    ประเพณีนี้สืบต่อลงมาจนถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วว่างเว้นไปและกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถือเป็นโบราณราชประเพณีปฏิบัติสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    
  สำหรับของที่นำมาปรุง “ข้าวทิพย์” และวิธีการกวนตามแบบไทย มีบันทึกไว้ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรียบเรียงได้ดังนี้

ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์
ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์ 5 ประเภทคือ
    ก. ประเภทถั่ว
    ข. ประเภทข้าว พืชเป็นหัว เมล็ดธัญพืช
    ค. ประเภทน้ำตาล
    ง. ประเภทน้ำมัน
    จ. ประเภทผลไม้ อันได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้คั้นน้ำ ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอม



ของปรุง “ข้าวทิพย์”
เครื่องปรุงทั้ง 5 ประเภทประกอบด้วยของชนิดต่างๆ ดังนี้

ก. ประเภทถั่ว ได้แก่
    1. ถั่วราชมาษ
    2.ถั่วดำ
    3.ถั่วเหลือง
    4.ถั่วเขียว
    5. ถั่วขาว
    6.ถั่วทอง
    7.ถั่วลิสง
    8. ถั่วแม่ตาย


ข.ประเภทข้าว พืชเป็นหัวและเมล็ดธัญพืช ได้แก่
    1. ข้าวอ่อนที่คั้นเป็นน้ำนม
    2.ข้าวสารหอม
    3. ข้าวเม่า
    4. ข้าวฟ่าง
    5.ข้าวตอก
    6. ข้าวโพด
    7.ขนมปังจืด (ป่นหยาบพอเป็นเกร็ด)
    8.สาคูวิลาด
    9. สาคูลาน
    พืชเป็นหัว
    10. มันเทศ
    11. เผือก
    12. แห้วไทย
    13. แห้วจีน
    14. กระจับสด
    เมล็ดธัญพืช
    15.เมล็ดงา
    16. เมล็ดแตงอุลิด
    17. ลูกเดือย
    18. ผลมะกล่ำใหญ่

ค.ประเภทน้ำตาล ได้แก่
    1. น้ำผึ้ง
    2. น้ำอ้อยสด
    3. น้ำอ้อยแดง
    4. น้ำตาลกรวด
    5. น้ำตาลทราย
    6. น้ำตาลหม้อ

ง.ประเภทไขมัน ได้แก่
    1. เนย
    2. น้ำนมโค
    3. มะพร้าวแก่
    4. มะพร้าวอ่อน

จ.ประเภทผลไม้ (ใช้ผลไม้แดงและทุกชนิดที่หาได้)
ผลไม้สดได้แก่
    1. ทับทิม
    2. ลูกพลับสด
    3. ละมุด
    4. สาลี่
    5. กล้วยหอม
    6. กล้วยไข่
    7. กล้าย
    8. น้อยหน่า
    9. เงาะ
    10. ลางสาด
    ผลไม้คั้นน้ำ ได้แก่
    1.ส้มเขียวหวาน
    2. ส้มเกลี้ยง
    3. ส้มมะเป้น
    4. ส้มซ่า
    5. ส้มตรังกานู
    ผลไม้แห้ง ได้แก่
    1. พลับแห้ง
    2. อินทผลัม
    3. ลำไย
    4. พุทราริ้ว
    5. ลิ้นจี่
    ผลไม้กวน ได้แก่
    1.ทุเรียนกวน
    2. สัปปะรดกวน
    ผลไม้แช่อิ่ม ได้แก่
    1.ผลชิด
    2. ผลกระท้อน

พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอมสด ชะเอมเทศ รวมของทั้งหมด 62 รายการ



การเตรียมของปรุง
     1. ของที่ต้องนำมาโขลกตำ ได้แก่ ข้าวอ่อนเจือด้วยน้ำโขลกแล้วคั้น น้ำที่ใช้เป็นน้ำมนต์ถือว่าเป็นสิ่งศิริมงคลและให้ผลทางจิตใจ ชะเอมสดและชะเอมเทศโขลกคั้นเอาน้ำมาเจือในน้ำนม แทนคติว่าแม่โคถูกเลี้ยงในป่าชะเอม (กิ่งชะเอม เมื่อทุบให้แตกใช้ขัดถูฟัน มีสรรพคุณรักษาโรคเหงือก ทำให้ฟันแข็งแรงและบำรุงสายตา)
    2. ของที่ต้องนำมาหั้นฝานให้เป็นชิ้นเล็กได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม
    3. ของที่ต้องนำมาหุงเปียกได้แก่ ประเภทข้าว สาคู ลูกเดือย
    4. ของที่ต้องนำมาแช่น้ำให้นิ่มแล้วนึ่งให้สุก ได้แก่ ประเภทถั่ว
    5. ของที่ต้องนำมาคั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง งา ถั่วลิสงและงาต้องแยกกันคั่ว ไม่นำมาคั่วรวมกัน เพราะของแต่ละอย่างใช้เวลาทำให้สุกไม่เท่ากัน ถั่วลิสงจะสุกช้ากว่างาอย่างนี้กระมังจึงมีสุภาษิตของไทยที่ว่า “กว่าถั่งจะสุกงาก็ไหม้” หมายความถึงการทำงานที่ขาดระเบียบ ไม่มีขั้นตอน ไม่รู้จักจัดลำดับความสำคัญ ว่าสิ่งใดควรทำก่อน ทำหลังเป็นเหตุให้งานเสียหายได้
    6. ของที่ต้องนำมาคั้นน้ำ ได้แก่ ผลไม้ประเภทส้ม ทับทิม
    7. ของที่ต้องนำมากวนให้เหนียวพอเป็นยางมะตูม ได้แก่ น้ำตาลหม้อซึ่งใช้เป็นหลักจริงๆ ส่วนน้ำผึ้ง น้ำอ้อยสด น้ำอ้อยแดง น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย ใส่พอสังเขป
    8. น้ำมันที่ใช้กวน ได้แก่ กะทิซึ่งใช้มะพร้าวแก่ขูดแล้วคั้นด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำนมโค และเนยใช้เจือ
ขณะกวนใส่เพียงนิดหน่อย เรียกว่า ใส่พอเป็นพิธี บางทีกวนกระทะใหญ่โตใช้เนยเพียงช้อนเดียว เมื่อกวนเสร็จจะมีกลิ่นหอมของกะทิและน้ำตาลมากกว่ากลิ่นของนมเนย อันเป็นแบบฉบับขนมอย่างไทยๆ



ขั้นตอนในการใส่ของปรุง “ข้าวทิพย์”
    1. เคี่ยวกะทิและน้ำตาลใช้ไฟ ปานกลางอย่าแรงเกินไปจะทำให้น้ำตาลไหม้
    2. เมื่อเดือดได้ที่ นำของที่หุงเปียกและนึ่งไว้แล้วได้แกประเภทข้าว และถั่วลงกวน
    3. ใส่ผลไม้สดที่หั่นฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ตามความเหมาะสมลงกวนเพื่อทำให้ผลไม้สดลดความชื้น เมื่อกวนเสร็จจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่ชื้นหรือขึ้นราง่าย
    4. ขณะกวนหากเครื่องปรุงข้นเหนียวหรือแห้งเกินไปสามารถเติมน้ำผลไม้คั้นได้ ตามสมควร
    5. เหยาะน้ำนมสด เนย และน้ำนมข้าวอ่อนที่คั้นกับชะเอมพอประมาณ
    6. ใส่ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่อิ่ม และผลไม้กวน ที่หั่นฝานดีแล้วลงกวนคลุกเคล้าเบาๆ จนส่วนผสมกระจายทั่วกันดี ผลไม้แห้งต่างๆ เมื่อใส่ลงในกระทะแล้วจะใช้เวลากวนอีกเพียงชั่วครู่ เพื่อรักษากลิ่นหอมตามธรรมชาติของผลไม้ไว้
    7. เสร็จแล้วยกลงจึงโรยด้วยของที่คั่วสุก ได้แก่ ถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว



ลักษณะของข้าวทิพย์เมื่อกวนเสร็จ
     จะมีความเหนียวพอประมาณ เมื่อเย็นสนิทแล้วสามารถนำมาปั้นหรือกดลงพิมพ์เป็นชิ้นได้ ไม่แข็งกระด้าง หอมกลิ่นผลไม้ต่างๆ กะทิ และน้ำตาลมีสีสรรของส่วนผสม สามารถมองเห็นเนื้อข้าวสีของผลไม้ และส่วนผสม อื่นๆ ได้ดี มองดูน่ารับประทาน
     สิ่งสำคัญในการกวนข้าวทิพย์ ขณะกวนต้องกวนไปทางเดียวกันคือ วนขวาไปตลอด จนกระทั่งเสร็จ เพื่อให้ขนมมีความเหนียวและกะทิไม่แยกตัวจากน้ำตาล

    

สัดส่วนที่ใช้เครื่องปรุงแต่ละอย่างไม่กำหนดตายตัว
   ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ปรุง แต่ส่วนใหญ่จะหนักน้ำตาลหม้อกะทิและข้าว สำหรับขนมปังจืดผึ่งแห้งแล้วนำมาป่นเป็นเกร็ดสำหรับโรย คงเป็นอิทธิพลของขนมตามแบบฝรั่งที่แผ่เข้ามาในสมัยต้นๆ รัชกาล
   ในพระราชพิธีกวนข้าวทิพย์ ฟืนที่ใช้ติดไฟเคี่ยวกะทิและกวน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์และไม้พุทราสองอย่างเท่านั้น เชื้อไฟก็ใช้ส่องด้วยแว่นขยายจุดขึ้นเรียกว่า “ไฟฟ้า” เป็นความหมายว่าไฟเกิดจากฟ้า ถือเอาตามคติที่พระอินทร์เป็นผู้ลงมาจุดไฟในเตาให้นางสุชาดานั้นเองผู้กวน

  ข้าวทิพย์จะเป็นหน้าที่ของเด็กหญิงพรหมจรรย์ อายุไม่เกิน 12 ปี ทั้งสิ้น



จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยำย่อง “มธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวทิพย์” ได้ 3 ประการคือ

   1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี คือมีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกายคือบริวารผู้คน และกำลังสติปัญญาล่วงรู้ขั้นตอนในการปรุง เห็นได้ว่ามิใช่วิสัยของคนธรรมดาจะทำได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์
   2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
   3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้


  ฉะนั้น “ข้าวทิพย์” ก็คือ สมญานามอันเกิดจากความรู้สึกที่ลึกซึ้งในจิตใจว่า เป็นของสูงของวิเศษล้ำค่าหาที่เปรียบมิได้นั้นเอง




ข้อคิดจาก “ข้าวทิพย์”
   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นข้อพิจารณาว่า “ข้าวทิพย์ที่เรากวนอยู่ในราชพิธีทุกวันนี้ เห็นจะเกิดขึ้นด้วยนึกเอาเอง ดูตั้งใจจะให้มีถั่ว งา นม เนยและผลไม้ต่างๆ ให้พร้อมทุกอย่าง เป็นอันรวมรสต่างๆมาลงในอันหนึ่งอันเดียว จนเรียกกันในคำประกาศว่า “อเนกรสปายาส”

   ของที่นำมาปรุงเป็น “ข้าวทิพย์” ของไทยไม่ปรากฏนามว่าใครเป็นผู้กำหนดขึ้น แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดก็จะพบว่า การปรุงข้าวทิพย์ของไทยมีส่วนประกอบของหมู่อาหารตามหลักโภชนาการสมัยใหม่ สามารถจัดคู่เปรียบเทียบได้ดังนี้

     1. ของปรุงประเภทถั่วต่างๆ ก็คือหมู่อาหารโปรตีน
     2. ของปรุงประเภทข้าว พืชเป็นหัวและธัญพืช ก็คือ หมู่อาหารคาร์โบไฮเดรท (แป้งและน้ำตาล)
     3. ของปรุงประเภทน้ำมันกะทิ เนย ก็คือหมู่อาหารไขมัน
     4. ของปรุงประเภทผลไม้สด ผลไม้แห้งต่าง ๆ ก็คือ หมู่อาหารวิตามินและเกลือแร่


     เครื่องปรุงในข้าวทิพย์ไม่เพียงแต่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการในปัจจุบันเท่านั้น
     แต่ยังสอดคล้องเข้ากันได้อย่างน่าอัศจรรย์ กับหลักในการกินอาหารธรรมชาติของชาวตะวันตก
     อาหารมังสะวิรัติของคนเอเซีย และหลักการกินเจของชนชาวจีนซึ่งถ่ายทอดกันมานับ เป็นพันๆปีแล้ว


    ของปรุงที่มากมายในข้าวทิพย์ล้วนเป็นหมวดหมู่อาหารอันทรงคุณค่า ที่บรรพชนในอดีตมุ่งหวังให้คนรุ่นลูกหลาน มิใช่ต้องการให้เราบริโภค “ข้าวทิพย์” เพียงปีละครั้งเดียวตามประเพณีเท่านั้น
    การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องกระทำอยู่ทุกวัน ดังเช่นความชั่วทั้งปวงย่อมต้องไม่กระทำในทุกที่ไม่ว่าทั้งที่ลับหรือที่ แจ้งการทำความดีก็ต้องทำอยู่ทุกเวลาไม่เลือกทำเฉพาะวันใดวันหนึ่งและการทำ จิตใจให้ผ่องใสก็ต้องทำอยู่ทุกขณะจิตไม่ว่าจะหลับหรือตื่นการบริโภคอาหารที่ มีคุณค่าเราก็ย่อมต้องบริโภคเป็นประจำทุกวันเช่นกัน



    พระโบราณจารย์ได้กล่าวอรรถกถาย้ำเตือนพุทธบริษัททั้งหลายเอาไว้ว่า “เป็นพุทธประเพณีที่พระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ทุกพระองค์ จักต้องได้เสวยข้าวทิพย์เสียก่อน จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า” 

    คำกล่าวอันเป็นปริศนาธรรมนี้ชี้ชัดว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางแห่งพุทธะจักต้องบริโภค “ข้าวอันเป็นทิพย์” คือ อาหารที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากเลือดเนื้อและชีวิตทั้งหลายเสียก่อน อันเป็นหนทางนำไปสู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในที่สุด นี่เป็นหน้าที่แรกเริ่มของผู้ประพฤติธรรมจักต้องขึดถือปฏิบัติด้วยกันทุกคน ดังเช่นที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

    การรู้จักรับประทานแต่ผักผบไม้และเมล็ดธัญญพืชย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยดี เมื่อสุขภาพกายดีสุขภาพจิตก็ดีและสติปัญญาก็ดีตาม ต่างเกี่ยวเนื่องโยงใยเป็นสายสัมพันธ์กันโดยตลอด การรู้จักความถูกต้องในการกิน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อชีวิตตนเองและชีวิตผู้อื่นจึงเรียกได้ว่า
    “กินอย่างพุทธะ เพื่อความเป็นพุทธะ กินอย่างถูกต้องเพื่อความถูกต้อง”

    ความดีงามความบริสุทธิ์สะอาดความเบิกบานทั้งกายและใจก็จะบังเกิดขึ้น อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม ฉะนั้นข้าวทิพย์จึงเป็นอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมโดยแท้ ข้าวทิพย์มิใช่เป็นเพียงสมญานามเท่านั้น แต่ข้าวทิพย์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสวยแล้วก็คือ อาหารทิพย์ของมหาชนทั้งโลกนั้นเอง

 

ที่มา http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=137&page=10
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 27, 2012, 09:20:31 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ข้าวทิพย์ กับ กระยาสาตร อันเดียวกันหรือเปล่า เจ๊า

แหมได้สูตร ทำข้าวทิพย์แล้ว แต่ทำยากจัง........

ตอนเช้า ว่าจะลองไปซื้อเครื่องปรุง จะลองทำทานเองหน่อย ตอนว่าง ๆ


 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

นิรนาม_พุทโธ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 48
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณหมวย ทำเสร็จแล้ว ส่งไปถวายพระอาจารย์ ด้วยนะ

จะได้บุญ รอเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ ...... 5 5 5 5

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เมื่อ......แสงธรรม เจิดจรัส สว่างจ้าในใจ เมื่อนั้น ก็จะเห็นพระพุทธองค์
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ตถาคต

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ นิรนาม_พุทโธ


รอทานไม่ได้ แล้ว ซื้อแบบถุง ละ 10 บาททานเลยคะ

เพราะเจ๊นีย์ ( หมวยนีย์ ) ทำไหม้ในรอบแรก แล้ว ไปเห็นกระทะมาแล้ว ใช้เตาแก๊ส ก็อย่างนี้


 :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คุณ นิรนาม_พุทโธ


รอทานไม่ได้ แล้ว ซื้อแบบถุง ละ 10 บาททานเลยคะ

เพราะเจ๊นีย์ ( หมวยนีย์ ) ทำไหม้ในรอบแรก แล้ว ไปเห็นกระทะมาแล้ว ใช้เตาแก๊ส ก็อย่างนี้


 :25: :25:

คุณรักหนอ มาตอบแทนเจ๊นีย์ และดูเหมือนจะแนะนำให้เจ๊นีย์

ใช้เตาถ่าน ทำไมคุณรักหนอไม่ลงมือเองล่ะครับ


อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิดคุณรักหนอปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี

ถึงเวลานี้ น่าจะผ่า่นมาสัก ๑๓ ปี ประสบการณ์อันยาวนานของคุณรักหนอ

น่าจะมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ อย่างน้อยก็เป็นการฆ่าเวลา

ในระหว่างที่รอข้าวทิพย์ของเจ๊นีย์


 :08: :49: :58: :bedtime2:




บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ข้าวหุงด้วยนมโค ท่าจะหอมอร่อย น่ากินมากมาย อิ..อิ :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ความสำคัญ
พิธีกวนข้าวทิพย์ได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในหมู่ของชาวพุทธทั่วไป เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเหตุการณ์ที่นางสุชาดาได้กวนข้าวทิพย์ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ แล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้ ๑ วัน โดยถือว่ามีผลานิสงฆ์มาก ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงพร้อมใจกันกวนข้าวทิพย์ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา เทิดทูนพระเกียรติคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาธรรม

ข้าวทิพย์มธุปายาสนี้เชื่อกันว่า เมื่อทำครบถ้วนตามพิธีแล้ว จะเป็นสิริมงคลแด่ผู้ทำและผู้บริโภค สมควรจะเซ่นสรวงเทพารักษ์ ผู้ที่ได้บริโภคข้าวทิพย์แล้ว จะประสบโชคลาภต่างๆ นานา ปราศจากโรคาพยาธิ ภัยพิบัติ ประสบสิ่งที่เป็นมงคล



พิธีกรรม
  วัตถุที่กวน ได้แก่ น้ำนมโคสด (ปัจจุบันใช้นมข้นหวานแทน) น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ชะเอมเทศ น้ำตาลกรวด น้ำตาลหม้อ ข้าวตอก ข้าวเม่า ธัญพืชต่าง ๆ ที่คั่วสุก ถั่ว งา ลูกเดือย เมล็ดแตง เผือกมัน เมล็ดบัว มะพร้าวแก่ มะพร้าวอ่อน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง เช่น มะม่วง กล้วย ทุเรียน ละมุด ลำไย ส้ม ขนุน เป็นต้น
    ทั้งนี้แล้วแต่ความเหมาะสมเท่าที่จะหาได้หรือปรับปรุงให้มีรสชาติ หอมหวาน อร่อย ตามความต้องการของผู้กวนในแต่ละท้องถิ่น บางท้องที่อาจใช้ผลไม้ชนิดต่าง ๆ ที่มี



การจัดเตรียมการในพิธีกวนข้าวทิพย์
ต้องจัดเตรียมสิ่งสำคัญ ดังนี้
   - ต้องปลูกโรงพิธีขึ้น ๑ หลัง ให้กว้างใหญ่พอสมควร เพื่อตั้งโต๊ะบูชาพระพุทธรูป อาสน์สงฆ์ โต๊ะบูชาเทวรูป และที่ซึ่งผู้เข้าร่วมพิธี คือ พราหมณ์ โหร (ผู้ที่มีความรู้ในพิธีกรรมอย่างดี) เทพยดา นางฟ้า นางสุชาดา สาวพรหมจารี และทายก ทายิกา ฯลฯ
   - นั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และก่อเตาตั้งกะทะกวนภายในโรงพิธี จัดหาพายสำหรับกวนกะทะละ ๓ เล่ม จัดหาฟืนให้เพียงพอและตากให้แห้งสนิท
   - โรงพิธีทาสีขาว เครื่องประดับตกแต่งควรใช้เครื่องขาว ตั้งราชวัฏ ฉัตร ธง ผูกต้นกล้วย อ้อย ทั้ง ๔ มุม หรือครบ ๘ ทิศยิ่งดี
   - แล้วยกศาลเพียงตาขึ้นไว้ในทิศที่เป็นศรีของวัน คือ ทิศที่เทวดาสถิตในวันกวน ตั้งเครื่องสังเวย คือ หัวหมู บายศรี เป็ด ไก่ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย
   - และมีการจัดที่นั่ง การให้โหร นั่ง ๑ ที่ และจัดให้เทวดาและนางฟ้านั่งเรียงแถวหน้ากระดานดังนี้
        แถวที่ ๑ จัดให้ท้าวมหาพรหมกับพระอินทร์นั่งข้างหน้า
        แถวที่ ๒ มหาราชทั้งสี่
        แถวที่ ๓ นางฟ้า
        แถวที่ ๔ นางสุชาดา นั่งข้างหน้าสาวพรหมจารี
   - จัดเตรียมตะลอมพอก หรือยอดเทวดา ๖ ยอด ที่สมมติว่าเป็นท้าวมหาพรหม พระอินทร์ (ท้าวสักกะ) ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวเวสวัณ มงกุฎนางฟ้า ๔ และมงคลสวมศีรษะสาวพรหมจารี ใช้มงคลด้ายแบบมงคล ตัดจุก หรือใช้ดอกมะลิร้อยให้เป็นวงกลม เรียก มงคลดอกไม้ ให้ครบจำนวนเตาละ ๒ คน สมมติว่าเป็นบริวารของนางสุชาดา


ศาสนพิธี จัดที่บูชา ๒ ที่ คือ
  - โต๊ะบูชาพระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หรือทิศเหนือ ถ้าสถานที่ไม่อำนวย มีไม้มหาโพธิ์ใส่กระถางตั้งไว้ด้านหลังพระพุทธรูป ส่วนประกอบอื่นเหมือนการจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาทั่วไป
    - โต๊ะบูชาเทวรูป มีพระพรหม พระอิศวร พระนารายณ์ เป็นต้น สุดแต่จะหาได้ พระฤาษี ๕ ตน ถ้าหายากก็ต้องให้ได้อย่างน้อย ๑ ตน สมมติเป็นฤาษีกไลยโกฏ มีเครื่องบูชาเช่นเดียวกัน
    - จัดตั้งอาสนะสงฆ์ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชาพระพุทธรูปให้สูงกว่าพื้นที่สัปบุรุษทายกทายิกา และผู้เข้าร่วมพิธีนั่ง



การแต่งกาย
   - โหราจารย์ นุ่งผ้าขาวโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นในชั้นนอกสีขาว แขนยาว มีสไบเฉียง ๑ ผืน ถ้ามีเสื้อครุยให้สวมเสื้อครุยแทนสไบเฉียง ส่วนเทวดาก็แต่งตัวเหมือนกับโหราจารย์
   - นางฟ้า ควรเลือกสตรีสาวรูปงาม นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง สวมมงกุฎ
   - นางสุชาดาและสาวพรหมจารี แต่งชุดขาวทั้งชุด นุ่งผ้าจีบ ห่มสไบเฉียง โดยนางสุชาดาควรเป็นหญิงที่มีสามีแล้ว แต่สาวพรหมจารีควรเป็นเด็กหญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน หรือสตรีที่ยังไม่เคยต้องประเวณี และต้องกราบพระเป็นและรับศีลได้

    แต่จะพบว่าปัจจุบัน ความเคร่งครัดในเรื่องการแต่งกายได้ลดน้อยลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ ผู้เข้าร่วมพิธีจึงแต่งกายสวยงามตามสมัยนิยมแทนก็มี



พระปริตรใช้สวดในพิธี
ได้แก่ เจ็ดตำนาน ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร และมหาสมยสูตร เจ็ดตำนานกับธรรมจักรกัปปวัตนสูตรใช้สวดก่อนทำพิธีกวน มหาสมยสูตรสวดเมื่อกำลังกวน


ปี่พาทย์และฆ้องชัย
ปี่พาทย์บรรเลงเมื่อก่อนเจริญพระพุทธมนต์แล เมื่อจบแล้ว เมื่อสวมตะลอมพอกหรือสวมยอดมงกุฎแลมงคล เมื่อพระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เมื่อออกเวียนทักษิณรอบโรงพิธี และเมื่อเทน้ำนมหรือเครื่องกวนลงในกะทะ ฆ้องชัยตีเมื่อประกาศเชิญเทวดา เมื่อพระสงฆ์สวดมนต์จบทุกๆ บท เมื่อสวมตะลอมพอกมงกุฎแลมงคล และเมื่อนางสุชาดาเทน้ำนมและเครื่องกวนลงในกะทะ


กำหนดพิธี
ในสมัยโบราณจะทำพิธี ๒ วัน คือ
   - พิธีตอนเย็น มีการสวดพระพุทธมนต์ (สวดมนต์เย็น) ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เจ็ดตำนานและธรรมจักรฯ
   - พิธีตอนเช้า วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อก่อนจะถึงเวลากวน จะมีพิธีพราหมณ์และพิธีสงฆ์รวมกัน และจะทำการกวนจนเสร็จ ในกรณีที่มีการกวนจำนวนมากหลายกะทะ พอรุ่งเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ จัดถวายเป็นพุทธบูชาและถวายพระสงฆ์


   ในปัจจุบันนิยมทำเสร็จภายในวันเดียว คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ตอนเช้าจะมีการเจริญพระพุทธมนต์ และพิธีกรรมต่าง ๆ ทั้งพิธีพราหมณ์และพุทธ หลังจากนั้นก็จะทำพิธีกวนไปจนเสร็จ ซึ่งอาจเสร็จสิ้นในเวลากลางคืน พอรุ่งเช้าวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ก็จะทำพิธีถวายเป็นพุทธบูชา ถวายพระสงฆ์และแจกจ่ายแก่ผู้ร่วมพิธีหรือบุคคลทั่วไป



สาระ
ประเพณีกวนข้าวทิพย์จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความศรัทธาความเชื่อที่ยังมีอยู่ของประชาชนทั่วไป และผู้นำในชุมชนที่จะร่วมมือกันอนุรักษ์ประเพณีนี้ไว้ เพราะต้องใช้ความร่วมมือร่วมใจของประชาชนจำนวนมาก ในการเตรียมการ การจัดหาอุปกรณ์ในการกวน แรงงานในการกวน และการเตรียมการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินที่ใช้ในการจัดซื้อจัดหาสิ่งของต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุผลข้างต้นในปัจจุบันบางวัด บางท้องที่จึงเลิกประเพณีกวนข้าวทิพย์นี้ไป เพราะขาดความพร้อมในเรื่องต่าง ๆ


ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread24848.html
ขอบคุณภาพจาก http://palungjit.com/,http://personal.swu.ac.th/,http://www.nakhontourism.org/,http://www.livekalasin.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ