ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?  (อ่าน 15090 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« เมื่อ: มีนาคม 23, 2013, 09:34:13 am »
0
 ask1

อ้างถึง
ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์  เป็นเหตุแห่งสังขาร   ดันบอกมาได้ว่า พระอรหันต์ยังมีขันต์ห้าอยู่
พระสูตรก็อยู่ในมือ  แทนที่จะกางพระสูตรอ่าน  แล้วบอกความตามพระสูตร 

ปากบอกรักเทิดทูลพระสูตร   แต่เวลาเถึยงกับใครดันอ้างอรรถกถาซะงั้น  แถมสิ่งที่อ้างมันคนละเรื่อง
ในความหมายของพระอรหันต์คือ  บุคคลผู้มีสภาวะนิพพาน  เรียกว่า.....สอุปาทิเสสนิพพาน

ในพระสูตรท่านว่าไว้  พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  คือผู้ที่ยังมี.....อินทรีย์ห้า
คิดได้ไง  อินทรีย์ห้าไงกลายเป็นขันธ์ห้าไปได้

ขันธ์ห้ากับอินทรีย์ห้าในพระอรหันต์  มันเป็นคนละเรื่องกันเลย

ขันธ์ห้ามันเป็นกรรมเป็นเจตนา(กุศลและอกุศล)ส่งผลให้เกิดวิบาก
อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์เป็นกิริยาเป็น อัพยากฤต ไม่มีผลเป็นวิบาก

(ตองเก้า)..........ผู้วิจารณ์

 ไปอ่านมา นะครับ เลยไม่ทราบ ควรจะแก้อย่างไร ดี ครับ  หรือ ควรทำความเข้าใจ อย่างไรดี ครับ
 thk56
 
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 12:04:50 pm »
0
ask1

อ้างถึง
ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์  เป็นเหตุแห่งสังขาร   ดันบอกมาได้ว่า พระอรหันต์ยังมีขันต์ห้าอยู่
พระสูตรก็อยู่ในมือ  แทนที่จะกางพระสูตรอ่าน  แล้วบอกความตามพระสูตร 

ปากบอกรักเทิดทูลพระสูตร   แต่เวลาเถึยงกับใครดันอ้างอรรถกถาซะงั้น  แถมสิ่งที่อ้างมันคนละเรื่อง
ในความหมายของพระอรหันต์คือ  บุคคลผู้มีสภาวะนิพพาน  เรียกว่า.....สอุปาทิเสสนิพพาน

ในพระสูตรท่านว่าไว้  พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  คือผู้ที่ยังมี.....อินทรีย์ห้า
คิดได้ไง  อินทรีย์ห้าไงกลายเป็นขันธ์ห้าไปได้

ขันธ์ห้ากับอินทรีย์ห้าในพระอรหันต์  มันเป็นคนละเรื่องกันเลย

ขันธ์ห้ามันเป็นกรรมเป็นเจตนา(กุศลและอกุศล)ส่งผลให้เกิดวิบาก
อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์เป็นกิริยาเป็น อัพยากฤต ไม่มีผลเป็นวิบาก

(ตองเก้า)..........ผู้วิจารณ์

 ไปอ่านมา นะครับ เลยไม่ทราบ ควรจะแก้อย่างไร ดี ครับ  หรือ ควรทำความเข้าใจ อย่างไรดี ครับ
 thk56
 


st11 st11 st11 st11 st11 st11 st11


ที่ถามมาผมเองยังเข้าใจไม่กระจ่าง แต่ก็จะคุยเป็นเพื่อน เพื่อความบันเทิงในธรรม

 ask1    ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์ เป็นเหตุแห่งสังขาร ดันบนอกมาได้ว่า พระอรหันต์ยังมีขันต์ห้าอยู่ พระสูตรก็อยู่ในมือ แทนที่จะกางพระสูตรอ่าน แล้วบอกความตามพระสูตร
 ans1    พระพุทธเจ้าตรัสว่า กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ 
           ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
           เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕
           พระพุทธเจ้าบอกให้ "ละอุปาทานขันธ์ ๕" ไม่ใช่ให้ "ละขันธ์ ๕"
           ดังนั้นพระอรหันต์ที่ยังไม่ละสังขาร(ร่างกาย) ยังมีขันธ์ ๕ อยู่
           จะแสดงพระสูตรในกระทู้ถัดไป



 ask1    ปากบอกรักเทิดทูลพระสูตร แต่เวลาเถึยงกับใครดันอ้างอรรถกถาซะงั้น แถมสิ่งที่อ้างมันคนละเรื่อง
ในความหมายของพระอรหันต์คือ บุคคลผู้มีสภาวะนิพพาน เรียกว่า.....สอุปาทิเสสนิพพาน

 ans1    อรรถกถาไม่ใช่เป็นเรื่องต้องห้าม บัวยังมีหลายระดับ
           บุคคลที่จะเข้าใจพุทธธรรมได้อย่างแทงตลอด สมัยนี้หาได้ไม่ง่าย
           สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นขออรหันต์ที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่(อยู่ในภพ เป็นภพสุดท้าย)
           เทียบกับ อนุปาทิเสสนิพพาน จะไม่มีขันธ์ ๕ แล้ว ภพสิ้นสุด ไม่มีภพ


 ask1    ในพระสูตรท่านว่าไว้  พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  คือผู้ที่ยังมี.....อินทรีย์ห้าคิดได้ไง  อินทรีย์ห้าไงกลายเป็นขันธ์ห้าไปได้
 ans1    เรื่องนี้ขอยก "ธาตุสูตร" มาแสดงให้เห็นกันชัดๆไปเลย           
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
       ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
       มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
       ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
       เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

       สรุปก็คือ พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีอินทรีย์ ๕ อยู่...ขอรับ



 ask1    ขันธ์ห้ากับอินทรีย์ห้าในพระอรหันต์  มันเป็นคนละเรื่องกันเลย
 ans1    พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน มีทั้งขันธ์ ๕ และอินทรีย์ ๕


 ask1    ขันธ์ห้ามันเป็นกรรมเป็นเจตนา(กุศลและอกุศล)ส่งผลให้เกิดวิบาก อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์เป็นกิริยาเป็น อัพยากฤต ไม่มีผลเป็นวิบาก
 ans1    กิริยาของพระอรหันต์ทำไปแล้วไม่มีผลเป็นวิบาก ไม่สร้างภพ ภพที่อยู่เป็นภพสุดท้าย
           กิริยานี้ภาษาอภิธรรมเรียกว่า "มหากิริยาจิต"


           ผมจะยกพระสูตรมาแสดงในกระทู้ถัดไป โปรดติดตาม

            :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2013, 12:09:34 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 12:14:47 pm »
0
อ่านแล้ว ก็ไม่เข้าใจ ที่คำถาม นะครับ อยากได้ ต้นสาย ปลายเหตุ คำถาม อีกสักนิดได้หรือไม่ครับ

  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 12:40:49 pm »
0
 ans1 ans1 ans1
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อุปาทานขันธสูตร
อุปาทานขันธ์ ๕


     [๓๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่
               อุปาทานขันธ์คือ รูป ๑
               อุปาทานขันธ์คือ เวทนา ๑
               อุปาทานขันธ์คือ สัญญา ๑
               อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑
               อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ ๑
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล.


      [๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล ฯลฯ
      ภิกษุควรเจริญอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ ฯลฯ

      จบ สูตรที่ ๘

________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2089&Z=2097&pagebreak=0

 ans1 ans1 ans1
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย
สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
อุปาทานขันธสูตร


     [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
              รูปูปาทานักขันธ์ ๑
              เวทนูปาทานักขันธ์ ๑
              สัญญูปาทานักขันธ์ ๑
              สังขารูปาทานักขันธ์ ๑
              วิญญาณูปาทานักขันธ์ ๑
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้แล ฯลฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ ประการนี้และ ฯ

     จบสูตรที่ ๔

_______________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9806&Z=9813&pagebreak=0

 ans1 ans1 ans1
 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
ธัมมานุปัสสนา สัจจบรรพ


    [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
     ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
     .............ฯลฯ............
     ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
     อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
     เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์

____________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2013, 12:45:06 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 01:11:32 pm »
0
 ans1 ans1 ans1
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๗. ธาตุสูตร


     [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
           สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
           อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
    ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
    เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
    อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น
    นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
    เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหา เป็นต้น ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก(ดับ)เย็น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ


   พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
   นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว
   อันนิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
   ส่วนนิพพานธาตุ(อีกอย่างหนึ่ง)เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้าชื่อว่าอนุปาทิเสส
   ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
   ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพาน เป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ


   เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๗

_____________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5242&Z=5274

 ans1 ans1 ans1

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
๔. อินทริยสังยุต


สุทธกสูตร
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

       [๙๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ
                สุขินทรีย์ ๑
                ทุกขินทรีย์ ๑
                โสมนัสสินทรีย์ ๑
                โทมนัสสินทรีย์ ๑
                อุเปกขินทรีย์ ๑
       อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.


อรหันตสูตร
รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

      [๙๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.
      [๙๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น
      เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ.


วิภังคสูตรที่ ๑
ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์ ๕

    [๙๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.
    [๙๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน?
    ความสุขทางกาย ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.
    [๙๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน?
    ความทุกข์ทางกาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.
    [๙๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน?
    ความสุขทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.
    [๙๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน?
    ความทุกข์ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.
    [๙๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน?
    เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์
    ดูกรภิกษุทั้งหลายอินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.
    จบ สูตรที่ ๖


วิภังคสูตรที่ ๒
ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข

      [๙๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สุขินทรีย์... อุเปกขินทรีย์.
      [๙๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางกาย ... นี้เรียกว่าสุขินทรีย์.
      [๙๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางกาย ... นี้เรียกว่าทุกขินทรีย์.
      [๙๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความสุขทางใจ ... นี้เรียกว่าโสมนัสสินทรีย์.
      [๙๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน? ความทุกข์ทางใจ ... นี้เรียกว่าโทมนัสสินทรีย์.
      [๙๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุเปกขินทรีย์เป็นไฉน? เวทนาอันสำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า อุเปกขินทรีย์.

      [๙๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์และโสมนัสสินทรีย์พึงเห็นว่า เป็นสุขเวทนา.
      [๙๓๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นทุกขเวทนา.
      [๙๓๙] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเปกขินทรีย์ พึงเห็นว่า เป็นอทุกขมสุขเวทนา
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

_________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/read/?19/843-1089/256-318
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 24, 2013, 01:14:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 26, 2013, 12:38:50 pm »
0
 

พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ สุตตันตปิฎกที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ [๒. ทุกนิบาต] ๒. ทุติยวรรค

๗. นิพพานธาตุสูตร ว่าด้วยนิพพานธาตุ

[๔๔] แท้จริง พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว พระสูตรนี้ พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
    “ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ นิพพานธาตุ ๒ ประการ อะไรบ้าง คือ
       ๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
       ๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ เพราะอินทรีย์ ๕ ที่ยังคงอยู่ ไม่ดับไป ภิกษุนั้นจึงประสบอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เสวยสุขและทุกข์อยู่
    ภิกษุทั้งหลายความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของภิกษุนั้น เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ ภิกษุทั้งหลาย เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้นั่นแลของภิกษุนั้น อันตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินไม่ได้ต่อไปแล้ว จักระงับดับสนิท
    ภิกษุทั้งหลาย สภาวะดังกล่าวนี้ เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล”

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความดังกล่าวมานี้แล้ว ในพระสูตรนั้น จึงตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    ตถาคตผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงอิงอาศัยสิ่งใด ๆ ผู้คงที่ ทรงประกาศนิพพานธาตุไว้ ๒ ประการนี้ คือ
    นิพพานธาตุประการหนึ่ง เป็นสภาวะมีให้เห็นในอัตภาพนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาที่นำไปสู่ภพ
    ส่วนนิพพานธาตุอีกประการหนึ่ง เป็นสภาวะมีในภายภาคหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายได้โดยสิ้นเชิง
    ชนทั้งหลายผู้รู้ที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนี้ แล้วมีจิตหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งภวเนตติ ยินดียิ่งในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลส เพราะบรรลุธรรมเป็นสาระเป็นผู้คงที่ ละภพทั้งปวงได้

    แม้เนื้อความนี้ พระผู้มีพระภาคก็ตรัสไว้แล้ว ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้แล
    นิพพานธาตุสูตรที่ ๗ จบ


เชิงอรรถ :
๑ ปลงภาระได้แล้ว หมายถึงปลงขันธภาระได้ ปลงกิเลสภาระได้ และปลงอภิสังขารภาระได้ (ขุ.อิติ.อ. ๔๔/๑๘๙)
๒ สิ้นภวสังโยชน์ หมายถึงสิ้นกิเลสที่เป็นเครื่องผูกสัตว์ คร่าสัตว์มาไว้ในภพทั้งหลาย (ขุ.อิติ.อ. ๔๔/๑๘๙)
๓ หมายถึงจักษุ ๕ ประการ คือ (๑) พุทธจักษุ (ตาพระพุทธเจ้า) (๒) มังสจักษุ (ตาเนื้อ) (๓) ทิพพจักษุ (ตาทิพย์) (๔) ปัญญาจักษุ (ตาปัญญา) (๕) สมันตจักษุ (ตาเห็นรอบ) (ดู ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๖/๔๒๔, ขุ.อิติ.อ.๔๔/๑๙๐)
๔ ภวเนตติ เป็นชื่อของตัณหา หมายถึงเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ(ภวรชฺชุ) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๑/๒๗๙)


อ้างอิง
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
ที่มาของข้อมูล : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มจร. MCUTRAI Version 1.0
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd25.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.sil5.net/



นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์)
       1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ)
       2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ)


หมายเหตุ : ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
       1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน)
       2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน)
       หรือ
       1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
       2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว

________________
ขุ.อิติ. 25/222/258.

       อีกนัยหนึ่งกล่าวถึงบุคคลว่า
       1. สอุปาทิเสสบุคคล = พระเสขะ
       2. อนุปาทิเสสบุคคล = พระอเสขะ

_________________
องฺ.นวก. 23/216/394.

นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา

นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน; นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
           ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
           ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ


สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสแต่ยังมีเบญจขันธ์เหลือ คือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ
อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือ สิ้นทั้งกิเลสและชีวิต หมายถึง พระอรหันต์สิ้นชีวิต, นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะดับภพ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์และฉบับบประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.vcharkarn.com/



 ans1 ans1 ans1
     ผมยกเอา "นิพพานธาตุสูตร" ในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ พร้อมคำอธิบายข้อธรรมและศัพท์ ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของท่านพรหมคุณาภรณ์ มาแสดง เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของคำว่า นิพพาน อรหันต์ ขันธ์ ๕ และอินทรีย์ ๕  สรุปก็คือ

   อรหันต์ที่อยู่ในภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีขันธ์ ๕ แต่ไม่มีอุปทานขันธ์ ๕, มีอินทรีย์ ๕ และยังรู้สึกเย็นอ่อนร้อนแข็ง ภพที่ท่านอยู่เป็นภพสุดท้าย อยู่เพื่อเสวยวิบากกรรมที่มีอยู่ และสงเคราะห์โลก
   ส่วนอรหันต์ที่อยู่ในภาวะอนุปาทิเสสนิพพาน ไม่มีขันธ์ ๕ ไม่มีอุปทานขันธ์ ไม่มีอินทรีย์ ๕ ไม่มีวิบากกรรม ไม่มีภพ
   เพื่อนๆจะเห็นว่า "ภาวะอนุปาทิเสสนิพพาน" ต้องอธิบายด้วยคำปฏิเสธทั้งสิ้น
   หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วมันคืออะไร อะไรๆ ก็ไม่มี แล้วจะเอาอะไรไปรับรู้ภาวะนิพพานล่ะ
   ขอตอบแบบขวานผ่าซากว่า "ถึงภาวะนี้เมื่อไหร่ ก็จะรู้เองแหละ" (ปัจจัตตัง)
   ภาวะของนิพพานเป็นอนัตตา จะมีตัวตนก็ไม่ใช่ ไม่มีอะไรก็ไม่เชิง
   อย่างไรก็ตาม ขอให้เชื่อว่า "นิพพานัง ปรมังสุญญัง และ นิพพานัง ปรมังสุขัง"

     :25: :25: :25:   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 03:41:11 am »
0

st11 st11 st11 st11 st11 st11 st11


 ask1    ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์ เป็นเหตุแห่งสังขาร ดันบนอกมาได้ว่า พระอรหันต์ยังมีขันต์ห้าอยู่ พระสูตรก็อยู่ในมือ แทนที่จะกางพระสูตรอ่าน แล้วบอกความตามพระสูตร
 ans1    พระพุทธเจ้าตรัสว่า กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ 
           ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
           เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕
           พระพุทธเจ้าบอกให้ "ละอุปาทานขันธ์ ๕" ไม่ใช่ให้ "ละขันธ์ ๕"
           ดังนั้นพระอรหันต์ที่ยังไม่ละสังขาร(ร่างกาย) ยังมีขันธ์ ๕ อยู่
           จะแสดงพระสูตรในกระทู้ถัดไป
[/size

ในอุปาทานขันธ์สูตรกล่าวไว้ว่า........
"  [๓๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่
               อุปาทานขันธ์คือ รูป ๑
               อุปาทานขันธ์คือ เวทนา ๑
               อุปาทานขันธ์คือ สัญญา ๑
               อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑
               อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ ๑
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล.

รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญาณ  เป็นขันธ์ห้า  ในพระสูตรนี้กล่าวว่า
อุปาทานขันธ์คือ รูป๑ เวทนา๑ สัญญา๑ สังขาร๑ วิญญาณ๑  ดังนั้นอุปานขันธ์ก็คือขันธ์ห้านั้นเอง

อุปาทานเป็นเรื่องของปฏิจสมุบาท  ขันธ์ห้าเป็นเรื่องกายใจของเรา
จิตของเราเดิมแท้ประภัสสร แต่เพราะเราไปรับเอากิเลสตัณหา(ปฏิจฯ)เข้ามาในกายในเราทำให้จิตมัวหมองไป
จิตที่มัวหมองนี้ก็คือเกิดขันธ์ห้า  ขันธ์ห้าเป็นสังขารมาปรุงแต่งจิต

ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกให้....ละอุปาทานขันธ์ห้า  ความหมายก็คือให้ละขันธ์ห้าเพราะ
อุปาทานขันธ์และขันธ์ห้า เป็นธรรมเดี่ยวกัน  แต่เป็นปัจจัยร่วมกัน  แต่ถ้ากล่าวแยกกัน
อุปาทานเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ห้า

อุปาทานเป็นปฏิจสมุบาทเป็นธรรมชาตินอกกายใจ   ขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์เป็นธรรมที่เกิดภายในกายใจเรา
การปฏิบัติต้องปฏิบัติที่กายใจของเรา  นั้นก็คือการละวางขันธ์ห้า  กล่าวอีกนัยก็คือ ปฏิบัติเพื่อไม่ไปข้องเกี่ยว
กับอุปาทาน  เมื่อกายใจเราไม่ไปข้องเกี่ยวกับ ตัณหาอุปาทาน  ขันธ์ห้าย่อมไม่เกิด  แต่สิ่งที่เกิดเป็น...นิโรธ
บันทึกการเข้า

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 04:07:51 am »
0


 ask1    ปากบอกรักเทิดทูลพระสูตร แต่เวลาเถึยงกับใครดันอ้างอรรถกถาซะงั้น แถมสิ่งที่อ้างมันคนละเรื่อง
ในความหมายของพระอรหันต์คือ บุคคลผู้มีสภาวะนิพพาน เรียกว่า.....สอุปาทิเสสนิพพาน

 ans1    อรรถกถาไม่ใช่เป็นเรื่องต้องห้าม บัวยังมีหลายระดับ
           บุคคลที่จะเข้าใจพุทธธรรมได้อย่างแทงตลอด สมัยนี้หาได้ไม่ง่าย
           สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นขออรหันต์ที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่(อยู่ในภพ เป็นภพสุดท้าย)
           เทียบกับ อนุปาทิเสสนิพพาน จะไม่มีขันธ์ ๕ แล้ว ภพสิ้นสุด ไม่มีภพ



 อรรถกถา  เป็นสิ่งที่ใช้อธิบายพุทธพจน์  การจะกล่าวอ้างอรรถกถาจะต้องมีพุทธพจน์เป็นหลัก
ไม่ใช่กล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆครับ

พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวว่า   อรหันต์(สอุปาทิเสส) ยังมีขันธ์ห้า  กล่าวไว้แต่ว่า เหลือแต่อินทรีย์ห้า
ที่หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่า  สอุปาทิเสสนิพพาน  ยังมีขันธ์ห้า  เป็นเพราะเข้าใจผิดไปว่าร่างกายที่ยังอยู่
เป็นขันธ์  ความหมายของขันธ์ไม่ใช่การมีอยู่ของกายใจ  แต่หมายถึงสภาวะที่ยึดหมั่นในสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ
นอกกายใจ เอามาเป็นตัวตนในกายใจตนเองครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2013, 12:54:41 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 04:31:29 am »
0

  ask1    ในพระสูตรท่านว่าไว้  พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  คือผู้ที่ยังมี.....อินทรีย์ห้าคิดได้ไง  อินทรีย์ห้าไงกลายเป็นขันธ์ห้าไปได้
 ans1    เรื่องนี้ขอยก "ธาตุสูตร" มาแสดงให้เห็นกันชัดๆไปเลย           
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
       ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
       มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
       ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
       เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

       สรุปก็คือ พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีอินทรีย์ ๕ อยู่...ขอรับ



 ask1    ขันธ์ห้ากับอินทรีย์ห้าในพระอรหันต์  มันเป็นคนละเรื่องกันเลย
 ans1    พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน มีทั้งขันธ์ ๕ และอินทรีย์ ๕


 ask1    ขันธ์ห้ามันเป็นกรรมเป็นเจตนา(กุศลและอกุศล)ส่งผลให้เกิดวิบาก อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์เป็นกิริยาเป็น อัพยากฤต ไม่มีผลเป็นวิบาก
 ans1    กิริยาของพระอรหันต์ทำไปแล้วไม่มีผลเป็นวิบาก ไม่สร้างภพ ภพที่อยู่เป็นภพสุดท้าย
           กิริยานี้ภาษาอภิธรรมเรียกว่า "มหากิริยาจิต"


           ผมจะยกพระสูตรมาแสดงในกระทู้ถัดไป โปรดติดตาม

            :25: :25: :25:
ที่ท่านบอกว่า  อรหันต์ที่มีสภาวะ สอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีขันธ์ห้าอยู่
ท่านเอามาจากไหนครับ   ในพระสูตรก็ไม่ได้กล่าวว่ามีขันธ์ห้า  แถมตัวท่านเองก็สรุปในพระสูตร
ว่า  มีอินทรีย์ห้า

ผมขอถามด้วยความเกรงใจนะครับว่า   ท่านกำลังกล่าวตู่พุทธพจน์หรือเปล่าครับ
ถ้าเป็นการกล่าวอธิบายความในสมมุติบัญญัติ  จะกล่าวขาดบ้างเกินบ้างก็ไม่เป็นปัญหา
แต่การจะกล่าวถึง  สภาวะธรรมอันเป็นปรมัตถ์  ท่านห้ามกล่าวเกินกล่าวขาดจากพุทธพจน์
มิเช่นนั้นจะเป็นการ...กล่าวตู่พุทธพจน์ครับ
บันทึกการเข้า

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 04:55:58 am »
0
ท่านขาดความเข้าใจในอินทรีย์ห้า  อินทรีย์ห้าที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวในสอุปาทิเสสคือ...
ศรัทธา๑ ปัญญา๑ วิริยะ๑ สติ๑และสมาธิ๑ ไม่ใช่อินทรีย์ตามที่ท่านยกมา

และเรื่องนิพพานสูตร  เราต้องเอาเรื่อง  รูปที่เกี่ยวกับอนุปาทินนกรูปกับปาทินนกรูปมาเทียบเคียง
สภาวะสอุปาทิเสสนิพพานต้องเทียบกับ  อนุปาทินนกรูป 

นั้นก็คือ  กายใจของพระอรหันต์ที่มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  เป็นอนุปาทินนกรูป
กายของพระอรหันต์ไม่ใช่สังขาร  เพราะพระอรหันต์ละสักกายทิฐิแล้ว  กายของพระอรหันต์
จึงเป็นเพียงรูปที่ไม่มีการปรุงแต่ง  เป็นวิสังขารไม่ใช่สังขาร  รูปที่เห็นจึงไม่ได้เป็นรูปขันธ์
บันทึกการเข้า

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 10:30:20 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 01:21:10 pm »
0


 ask1    ปากบอกรักเทิดทูลพระสูตร แต่เวลาเถึยงกับใครดันอ้างอรรถกถาซะงั้น แถมสิ่งที่อ้างมันคนละเรื่อง
ในความหมายของพระอรหันต์คือ บุคคลผู้มีสภาวะนิพพาน เรียกว่า.....สอุปาทิเสสนิพพาน

 ans1    อรรถกถาไม่ใช่เป็นเรื่องต้องห้าม บัวยังมีหลายระดับ
           บุคคลที่จะเข้าใจพุทธธรรมได้อย่างแทงตลอด สมัยนี้หาได้ไม่ง่าย
           สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นขออรหันต์ที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่(อยู่ในภพ เป็นภพสุดท้าย)
           เทียบกับ อนุปาทิเสสนิพพาน จะไม่มีขันธ์ ๕ แล้ว ภพสิ้นสุด ไม่มีภพ



 อรรถกถา  เป็นสิ่งที่ใช้อธิบายพุทธพจน์  การจะกล่าวอ้างอรรถกถาจะต้องมีพุทธพจน์เป็นหลัก
ไม่ใช่กล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆครับ

พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวว่า   อรหันต์(สอุปาทิเสส) ยังมีขันธ์ห้า  กล่าวไว้แต่ว่า เหลือแต่อินทรีย์ห้า
ที่หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่า  สอุปาทิเสสนิพพาน  ยังมีขันธ์ห้า  เป็นเพราะเข้าใจผิดไปว่าร่างกายที่ยังอยู่
เป็นขันธ์  ความหมายของขันธ์ไม่ใช่การมีอยู่ของกายใจ  แต่หมายถึงสภาวะที่ยึดหมั่นในสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ
นอกกายใจ เอามาเป็นตัวตนในกายใจตนเองครับ

    ans1 ans1 ans1
   
    คุณTong9 เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกวันนี้เอง ทำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะมาร่วมสนทนาธรรม
    เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่รับรู้ความเห็นของคุณTong9
    อย่างไรก็ตาม ห้องนี้มีกติกาที่ชัดเจน คือ คุยเป็นเพื่อน(เท่านั้น)

    คุุณTong9  ครับ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายไว้ว่า   
    นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์)
    1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ)
    2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ)


    หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
    1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน)
    2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน)

    หรือ
    1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
    2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว   

___________________________________________
อ้างอิง ขุ.อิติ. 25/222/258.
ที่มา www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%B9%D4%BE%BE%D2%B9&original=1
   
     เบญจขันธ์ คือ กายกับใจ ครับ
     สภาวะที่ยึดหมั่นในสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติที่คุณTong9กล่าว น่าจะเป็นอุปาทานขันธ์มากกว่า
     อย่างไรก็ตาม พจนานุุกรมฯ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ ก็เป็นคัมภีร์ในชั้นอรรถกถา
     ท่านใดจะมีความเห็นต่างออกไป ก็เชิญวิเคราะห์ตามอัธยาศัย

      :25:

   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 01:44:18 pm »
0

  ask1    ในพระสูตรท่านว่าไว้  พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  คือผู้ที่ยังมี.....อินทรีย์ห้าคิดได้ไง  อินทรีย์ห้าไงกลายเป็นขันธ์ห้าไปได้
 ans1    เรื่องนี้ขอยก "ธาตุสูตร" มาแสดงให้เห็นกันชัดๆไปเลย           
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
       ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
       มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
       ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
       เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

       สรุปก็คือ พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีอินทรีย์ ๕ อยู่...ขอรับ



 ask1    ขันธ์ห้ากับอินทรีย์ห้าในพระอรหันต์  มันเป็นคนละเรื่องกันเลย
 ans1    พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน มีทั้งขันธ์ ๕ และอินทรีย์ ๕


 ask1    ขันธ์ห้ามันเป็นกรรมเป็นเจตนา(กุศลและอกุศล)ส่งผลให้เกิดวิบาก อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์เป็นกิริยาเป็น อัพยากฤต ไม่มีผลเป็นวิบาก
 ans1    กิริยาของพระอรหันต์ทำไปแล้วไม่มีผลเป็นวิบาก ไม่สร้างภพ ภพที่อยู่เป็นภพสุดท้าย
           กิริยานี้ภาษาอภิธรรมเรียกว่า "มหากิริยาจิต"


           ผมจะยกพระสูตรมาแสดงในกระทู้ถัดไป โปรดติดตาม

            :25: :25: :25:
ที่ท่านบอกว่า  อรหันต์ที่มีสภาวะ สอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีขันธ์ห้าอยู่
ท่านเอามาจากไหนครับ   ในพระสูตรก็ไม่ได้กล่าวว่ามีขันธ์ห้า  แถมตัวท่านเองก็สรุปในพระสูตร
ว่า  มีอินทรีย์ห้า

ผมขอถามด้วยความเกรงใจนะครับว่า   ท่านกำลังกล่าวตู่พุทธพจน์หรือเปล่าครับ
ถ้าเป็นการกล่าวอธิบายความในสมมุติบัญญัติ  จะกล่าวขาดบ้างเกินบ้างก็ไม่เป็นปัญหา
แต่การจะกล่าวถึง  สภาวะธรรมอันเป็นปรมัตถ์  ท่านห้ามกล่าวเกินกล่าวขาดจากพุทธพจน์
มิเช่นนั้นจะเป็นการ...กล่าวตู่พุทธพจน์ครับ



ท่านขาดความเข้าใจในอินทรีย์ห้า  อินทรีย์ห้าที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวในสอุปาทิเสสคือ...
ศรัทธา๑ ปัญญา๑ วิริยะ๑ สติ๑และสมาธิ๑ ไม่ใช่อินทรีย์ตามที่ท่านยกมา

และเรื่องนิพพานสูตร  เราต้องเอาเรื่อง  รูปที่เกี่ยวกับอนุปาทินนกรูปกับปาทินนกรูปมาเทียบเคียง
สภาวะสอุปาทิเสสนิพพานต้องเทียบกับ  อนุปาทินนกรูป 

นั้นก็คือ  กายใจของพระอรหันต์ที่มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  เป็นอนุปาทินนกรูป
กายของพระอรหันต์ไม่ใช่สังขาร  เพราะพระอรหันต์ละสักกายทิฐิแล้ว  กายของพระอรหันต์
จึงเป็นเพียงรูปที่ไม่มีการปรุงแต่ง  เป็นวิสังขารไม่ใช่สังขาร  รูปที่เห็นจึงไม่ได้เป็นรูปขันธ์


ans1 ans1 ans1

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๗. ธาตุสูตร
      [๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
            สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
            อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
     ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
     เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
     อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ


     ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
     เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น
     เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลาย มีตัณหา เป็นต้น ให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล ฯ

_____________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5242&Z=5274


ans1 ans1 ans1

อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ทุกนิบาต
ทุติยวรรค ธาตุสูตร

อรรถกถาธาตุสูตร 
      บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ วิมุตติ ๒ อย่าง คือ จิตวิมุตติและนิพพาน.
      จริงอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่าพ้นด้วยจิตวิมุตติบ้าง ชื่อว่าพ้นในนิพพานบ้าง เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมฺมทญฺญา วิมุตฺโต (พ้นเพราะรู้โดยชอบ).


      บทว่า ตสฺส ติฏฺฐนฺเตว ปญฺจินฺทริยานิ ความว่า อินทรีย์ ๕ มีจักขุนทรีย์ เป็นต้น ของพระอรหันต์นั้น
      ยังตั้งอยู่ตราบเท่ากรรมอันเป็นเหตุให้เกิดในภพสุดท้าย ยังไม่สิ้นไป.


      บทว่า อวิคตตฺตา ได้แก่ เพราะยังไม่ดับด้วยการดับคือความไม่เกิด.
      บทว่า มนาปามนาปํ ได้แก่ อารมณ์มีรูปที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจเป็นต้น.
      บทว่า ปจฺจนุโภติ ได้แก่ ย่อมเสวย คือย่อมได้.
      บทว่า สุขทุกฺขํ ปฏิสํเวเทติ ได้แก่ ย่อมเสวยสุขและทุกข์อันเป็นวิบาก คือ ย่อมได้ด้วยไตรทวาร.

_________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=222
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 01:47:55 pm »
0
ได้ยินว่า

    มรรค 4  ผล 4  จัดเป็น สอุปาทิเสสนิพพาน  ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์อยู่

   ส่วน นิพพาน 1  จัดเป็น อนุปาทิเสสนิพพาน  ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์ แล้ว

   ทำไม บรรดาพระอริยสาวก ต้องไปทูลลา นิพพาน ต่อพระพุทธเจ้า กัน

       :49:
บันทึกการเข้า

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:04:38 pm »
0


 ans1 ans1 ans1
   
    คุณTong9 เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกวันนี้เอง ทำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะมาร่วมสนทนาธรรม
    เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่รับรู้ความเห็นของคุณTong9
    อย่างไรก็ตาม ห้องนี้มีกติกาที่ชัดเจน คือ คุยเป็นเพื่อน(เท่านั้น)
มีด้วยหรือครับ  กติกาคุยเป็นเพื่อน  แต่ผมก็มีเจตนาเป็นกัลณมิตรกับทุกคนอยู่แล้วครับ
ไม่ต้องห่วง

 คุุณTong9  ครับ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายไว้ว่า   
    นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์)
    1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ)
    2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ)


    หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
    1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน)
    2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน)

    หรือ
    1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
    2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว   
[/size]

ในพระไตรปิฎกหรือพุทธพจน์ไม่ได้กล่าวอย่างนั้นนี่ครับ  พุทธพจน์กล่าวว่า......
สอุปเสสนิพพาน  คือพระอรหันต์ที่ยังมีอินทรีย์ห้า  มันไม่ใช่ขันธ์ห้าครับ  ความหมายของอินทรีย์ห้าคือ
นามธรรมห้าอย่างที่เป็นใหญ่ของพระอรหันต์  เมื่อคุณรู้ว่าพุทธพจน์กล่าวไว้อย่างนี้  คุณก็ต้องไปศึกษาว่า
อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์คืออะไร  และลักษณะใดเรียกอินทรีย์   ไม่ใช่สรุปเองว่า เป็นขันธ์ห้าหรือมีขันธ์ห้า

และการรับรู้ของพระอรหันต์ไม่ใช่เป็นการเสวยอารมณ์ที่เป็นขันธ์  แต่เป็นเพียงการรับรู้ความรู้สึกด้วยอินทรีย์ห้า
สภาวะที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่อารมณ์ที่เป็นขันธ์  เป็นเพียงกิริยาจิตเท่านั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2013, 02:31:20 pm โดย Tong9 »
บันทึกการเข้า

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:09:12 pm »
0
เป็นเรื่องที่อ่าน แล้ว ก็รู้สึกว่า เกินจากที่เราจะเข้าใจได้ในตอนนี้

    เอาเป็นว่า อ่านไว้ก่อน จริง แท้ ๆ แน่ ชัด ด้วยหลัก คำอธิบาย น่าจะทำความเข้าใจไปพร้อมกับการภาวนา ถึงวันนี้อ่านจะยังไม่เข้า ใจเพราะภูมิธรรม ยังไม่พอ แต่ก็ยังรู้ว่า มีสหธรรม ที่แจกจ่าย ความรู้ ความเข้าใจ เป็นธรรมทานกันอยู่

   :49:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:15:39 pm »
0
เราว่า ส่วนนี้ ต้องทบทวนกับพระสูตร ถึงพอจะเข้าใจ ได้ แต่ถ้าอธิบาย กันตามใจฉัน ( ที่ฉันคิดหรือรู้ ) ก็อาจจะคลาดเคลื่อน ไปได้

    ดังนั้น ถ้าทบทวนเรื่องที่ ถามก่อน ว่า ผู้ที่ตั้งคำถาม ต้องการรู้เรื่องอะไร

       น่าจะต้องถอดเนื้อหา

        1. ขันธ์ 5
   
        2. อินทรีย์ 5

        3. พระอรหันต์ กับ ขันธ์ 5 และ อินทรีย์ 5

      การชี้ชัด หรือ ความเข้าใจ อาศัยการคุยกันเป็น กัลยาณมิตร ก็ถูกทางแล้ว คะ การคุยเป็นเพื่อน ร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ชัดเจนแล้วคะ ไม่ได้ คุยเพื่อชนะกันที่ วาทะ เพียงเพื่อ ความสะใจ นะคะ


    :88: :49:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:17:16 pm »
0



___________________________________________
 
     เบญจขันธ์ คือ กายกับใจ ครับ
     สภาวะที่ยึดหมั่นในสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติที่คุณTong9กล่าว น่าจะเป็นอุปาทานขันธ์มากกว่า
     อย่างไรก็ตาม พจนานุุกรมฯ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ ก็เป็นคัมภีร์ในชั้นอรรถกถา
     ท่านใดจะมีความเห็นต่างออกไป ก็เชิญวิเคราะห์ตามอัธยาศัย
[/size]
      :25:
เบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า  ไม่ได้หมายถึงกายใจนะครับ  เบญจขันธ์หมายถึงสภาวะธรรมอันเกิดจากการปรุงแต่งของกายใจครับ
ถ้าจะกล่าวโดยปรมัตถ์  กายก็คือรูปธรรม  ใจก็คือนามธรรม(จิต เจตสิก นิพพาน)

แล้วเรื่องจะให้วิเคราะห์  ผมพอมีธัมมวิจยะและโยนิโสฯอยู่บ้าง  ผมจึงเลือกวิเคราะห์แต่พุทธพจน์ครับ
บันทึกการเข้า

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:34:36 pm »
0
คุณตองนาย ตามมาตอบให้กับ คุณ Sitti แล้ว

    :08:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:40:42 pm »
0
คุณตองนาย ตามมาตอบให้กับ คุณ Sitti แล้ว

    :08:

ขอบคุณ ท่าน VongoleX ครับที่ช่วยแจ้ง แชท มาที่มามือถือ

 ผมเองตั้งกระทู้ วันนั้น เพราะอ่านไป อ่านมา เห็นเขาเถึยงกัน และ พยายามทำความเข้าใจ วันนี้ก็ลืมไปแล้วนะครับ ว่าตั้งกระทู้ถามเรื่องนี้ไว้ เลยยังนึกไม่ออก ว่าจะถามเรื่องใด

   แต่มองจากหัวข้อ ก็คือ การ อ้าง เรื่อง อรรถกถา กับ พุทธวัจน์ ประมาณนี้นะครับ ว่าต่างคนต่างมีข้ออ้าง กันตามแบบของตนเองแต่ ก็อยู่ในพระไตรปิฏก คือ มีทั้งพุทธวั้จน์ และ อรรถกถา ด้วยกัน

   ที่สำคัญ ความเห็นเรื่อง อินทรีย์ 5 กับ ขันธ์ 5 น่าสนใจอยู่

   เอาเป็นว่า ผมนึำกไม่ออกว่า เจตนาถามวันนั้น คือ เรื่อง อะไร ลืมแล้ว

   ขอบคุณ ที่ ท่าน ตองเก้า เข้ามาตอบ เพราะผมเป็นสมาชิกธรรม แห่งเดียวครับ คือ ที่นี่ ที่อื่น ๆ ไม่เคยสมัีคร พอไปอ่านคำถามแล้ว สงสัยก็จะนำมาถามเพื่อน ในห้องนี้กันครับ

   ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกันตอบ นะครับ และ เป็น กัลยาณมิตร ที่ดี ต่อกันนะครับ


    st12 thk56
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 11:03:14 pm »
0
ประเด็น ของเรื่อง น่าจะเป็นการ อธิบาย เรื่องขันธ์ 5 คนละแบบ

   บันธ์ 5 ที่เป็น กองแห่งขันธ์

   บันธ์ 5 ทีเป็น สภาวะเข้าไปจับต้องด้วย ผัสสะ

   ขันธ์ 5 อันมีอินทรีย์ 5 เป็นกำลัง

    :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 08:32:00 am »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๖. ปัญจขันธสูตร
ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ ๕


    [๙๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ ๕ เป็นไฉน?

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า รูปขันธ์.
    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
    สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ฯลฯ
    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือใกล้. นี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ขันธ์ ๕.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/read/?17/95/58

ขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์ (กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นต้น, ส่วนประกอบ 5 อย่างที่รวมเข้าเป็นชีวิต)
    1. รูปขันธ์ (กองรูป, ส่วนที่เป็นรูป, ร่างกาย พฤติกรรม และคุณสมบัติต่างๆ ของส่วนที่เป็นร่างกาย, ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด, สิ่งที่เป็นร่างพร้อมทั้งคุณและอาการ)
    2. เวทนาขันธ์ (กองเวทนา, ส่วนที่เป็นการเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ)
    3. สัญญาขันธ์ (กองสัญญา, ส่วนที่เป็นความกำหนดหมาย, ความกำหนดได้หมายรู้ในอารมณ์ 6 เช่นว่า ขาว เขียว ดำ แดง เป็นต้น)
    4. สังขารขันธ์ (กองสังขาร, ส่วนที่เป็นความปรุงแต่ง, สภาพที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่วหรือเป็นกลางๆ, คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแต่งคุณภาพของจิต ให้เป็นกุศล อกุศล อัพยากฤต)
    5. วิญญาณขันธ์ (กองวิญญาณ, ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งอารมณ์, ความรู้อารมณ์ทางอายตนะทั้ง 6 มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ได้แก่ วิญญาณ 6)


    ขันธ์ 5 นี้ ย่อลงมาเป็น 2 คือ นาม และ รูป; รูปขันธ์จัดเป็นรูป, 4 ขันธ์ นอกนั้นเป็นนาม.
    อีกอย่างหนึ่ง จัดเข้าในปรมัตถธรรม 4 : วิญญาณขันธ์เป็น จิต, เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์ เป็น เจตสิก, รูปขันธ์ เป็น รูป, ส่วน นิพพาน เป็นขันธวินิมุต คือ พ้นจากขันธ์ 5


อ้างอิง สํ.ข. 17/95/58 ; อภิ.วิ. 35/1/1.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%A2%D1%B9%B8%EC&original=1



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค

     [๔๓๔] ก็เวทนา ๖ เป็นไฉน เวทนา ๖ คือ
        จักขุสัมผัสสชาเวทนา ๑
        โสตสัมผัสสชาเวทนา ๑
        ฆานสัมผัสสชาเวทนา ๑
        ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ๑
        กายสัมผัสสชาเวทนา ๑
        มโนสัมผัสสชาเวทนา ๑
     เหล่านี้เรียกว่าเวทนา ๖ ฯ


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/read/?18/434/287

เวทนา 6 (การเสวยอารมณ์)
       1. จักขุสัมผัสสชา เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา)
       2. โสต ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู )
       3. ฆาน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก)
       4. ชิวหา ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น)
       5. กาย ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย)
       6. มโน ~ เวทนา (เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ)


อ้างอิง สํ.สฬ. 18/434/287.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=113


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๐. สังคีติสูตร (๓๓)


      [๒๙๘] อินทรีย์ ๕ อย่าง
                ๑. จักขุนทรีย์   [อินทรีย์คือตา]
                ๒. โสตินทรีย์  [อินทรีย์คือหู]
                ๓. ฆานินทรีย์  [อินทรีย์คือจมูก]
                ๔. ชิวหินทรีย์  [อินทรีย์คือลิ้น]
                ๕. กายินทรีย์   [อินทรีย์คือกาย]
      [๒๙๙] อินทรีย์อีก ๕ อย่าง
                ๑. สุขินทรีย์         [อินทรีย์คือสุข]
                ๒. ทุกขินทรีย์       [อินทรีย์คือทุกข์]
                ๓. โสมนัสสินทรีย์     [อินทรีย์คือโสมนัส]
                ๔. โทมนัสสินทรีย์  [อินทรีย์คือโทมนัส]
                ๕. อุเปกขินทรีย์     [อินทรีย์คืออุเบกขา]


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

๗. ธาตุสูตร

     
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
     ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
     เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
     อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

_____________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=5242&Z=5274


     ans1 ans1 ans1
     
     ผมไล่เรียงเรื่องขันธ์ ๕ ,เวทนา ๖ และอินทรีย์ ๕ ซึ่งล้วนเป็นพุทธวจนะทั้งสิ้น
     พร้อมกับคำอธิบาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ มาประกอบ
     เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของทั้งสามเรื่อง อันจะนำไปอธิบาย "สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ"
     ขอให้ดูประโยคเหล่านี้
      "ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
       เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
       อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว" 


       คำว่า "เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่"
       เป็นเวทนาหรือไม่.?
       เวทนาอยู่ในขันธ์ใช่หรือไม่.?
       เวทนาจะเกิดได้ก็ต้องผ่านอินทรีย์ ๕ ใช่หรือไม่.?
       อินทรีย์ ๕ อยู่ในขันธ์ ๕ ใช่หรือไม่
       ลองพิจารณาโดยแยบคายดู.....เข้าใจอย่างไร แจ้งให้ทราบบ้าง

        :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 10:02:02 am »
0





     ans1 ans1 ans1
     
     ผมไล่เรียงเรื่องขันธ์ ๕ ,เวทนา ๖ และอินทรีย์ ๕ ซึ่งล้วนเป็นพุทธวจนะทั้งสิ้น
     พร้อมกับคำอธิบาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ มาประกอบ
     เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของทั้งสามเรื่อง อันจะนำไปอธิบาย "สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ"
     ขอให้ดูประโยคเหล่านี้
      "ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
       เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
       อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว" 


       คำว่า "เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่"
       เป็นเวทนาหรือไม่.?
       เวทนาอยู่ในขันธ์ใช่หรือไม่.?
       เวทนาจะเกิดได้ก็ต้องผ่านอินทรีย์ ๕ ใช่หรือไม่.?
       อินทรีย์ ๕ อยู่ในขันธ์ ๕ ใช่หรือไม่
       ลองพิจารณาโดยแยบคายดู.....เข้าใจอย่างไร แจ้งให้ทราบบ้าง

        :25: :25: :25:
อินทรีย์ห้าที่คุณยกมามันไม่ใช่อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์  อินทรีย์พระอรหันต์คือ ปัญญา สติ ศรัทธา วิริยะ
และสมาธิ   

อินทรีย์ที่คุณยกมา มันเป็นอินทรีย์ของปุถุชน  อินทรีย์หมายถึงความเป็นใหญ่ที่ข้องเกี่ยวกับกายใจเรา
ในปุถุชนยึดเอา ๑. จักขุนทรีย์   ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์  ๔. ชิวหินทรีย์  ๕. กายินทรีย์  เป็นใหญ๋
มันก็เลยเกิดการปรุงแต่งเมื่อเกิดการกระทบกับอินทรีย์ทั้งห้านี้  พูดง่ายๆก็คือไปยึดมั่นในรูปจนเกิดการปรุงแต่ง

แต่ในอินทรีย์ห้าของพระอรหันต์  ไม่ได้เป็นอินทรีย์ห้าอย่างที่คุณว่า  พระอรหันต์รู้ด้วยปัญญาว่า
อินทรีย์ที่คุณอ้างมาเป็นเพียง   ธาตุสี่(มหาภูติรูป)ที่มาประชุมกันหมดเหตุมันก็แตกสลาย 
พูดให้ฟังอีกครั้งครับว่า  คุณไม่เข้าใจในเรื่องของอินทรีย์ของพระอรหัต์และอินทรีย์๒๒ครับ



ที่คุณยกมาว่า  เสวยสุขและทุกข์อยู่อารมณ์พึงใจไม่พึงใจ  แล้วถามผมว่า เป็นเวทนาหรือไม่
ผมจะตอบในประเด็นที่เราคุยกันนะครับ   นั้นก็คือประเด็นของพระอรหันต์  อารมณ์ที่คุณยกมา
เป็นเวทนาครับ   แต่ไม่ใช่เวทนาขันธ์   มันเป็นเวทนาในปฏิจสมุบาท  ไม่ใช่เวทนาที่เป็นสังขาร(เวทนาขันธ์)
สรุปก็คือพระอรหันต์ยังมีชีวิต  ย่อมต้องเกิดการกระทบที่ร่างกาย  ย่อมเกิดเวทนา  แต่เวทนาที่ว่า ไม่เกิดขึ้นที่ใจ
ที่เรียกว่าทุกข์ใจ   แต่มันเป็นทุกข์ทางกาย  ทุกข์นี้ไม่ส่งผลต่อภพชาติ  รูปหรือร่างกายนี้เป็นภพชาติอันมีเหตุ
มาจากกองทุกข์หรือสังขารในอดีตชาติ


เวทนาในปฏิจสมุบาทมันมีเหตุมาจาก ผัสสะมีการกระทบเกิดขึ้นที่รูป(กาย)  เมื่อเกิดการกระทบขึ้นแล้ว
พระอรหันต์รู้การกระทบนั้นด้วย  อินทรีย์ห้า  นั้นก็คือรู้ด้วยปัญญา  ที่ประกอบด้วย สติ ศรัทธา วิริยะและ
จบลงที่สมาธิ  อารมณ์ที่รวมกันเป็นสมาธิ จะเกิดสภาวะอุเบกขา(ไม่ยึดผัสสะที่มากระทบ)
บันทึกการเข้า

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 10:40:22 am »
0
คำว่า "เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่"
       เป็นเวทนาหรือไม่.?
     
เสวยอารมณ์ที่พึ่งใจและไม่พึ่งใจ  ในส่วนนี้หมายถึงการกระทบทางกาย  เป็นเวทนาทางกาย(ไม่ใช่ใจ)
ไม่ส่งผลให้เกิดทุกข์  ไม่เกิดภพชาติ  จิตพระอรหันต์รู้แค่การกระทบเท่านั้น  เช่นหนักเบา  ดังค่อย
ขมหวาน ฯลฯ  การรู้ของพระอรหันต์เป็นการรู้ที่เรียกว่า  กิริยาจิต รู้ด้วยอินทรีย์ห้าและวางอุเบกขาแล้ว
ขอยกตัวอย่างให้ดูเพื่อความเข้าใจ  อย่างเช่นปุถุชนเกิดการกระทบทางหูโดนใครเขาด่า  รู้ว่าเขาด่า
คำด่าก็ดับไปแล้ว แต่ใจยังโกรธอยู่ยังแค้นกับคำด่านั้น  นี้เรียกว่าขันธ์

แต่พระอรหันต์พอได้ยินเสียงด่าก็รู้ว่านั้นคือคำด่า  รู้แล้วก็จบแค่นั้นไม่มีความคิดแค้นเคืองอีก
นี่เรียกว่ารู้ด้วยกิริยาจิต

ต้องทำความเข้าใจกับสมมุติบัญญัติให้ดี  บางครั้งคำศัพท์เหมือนกัน  แต่สภาวะธรรมไม่เหมือนกันครับ


       เวทนาอยู่ในขันธ์ใช่หรือไม่.?
       [/color][/size]
        :25: :25: :25:
เวทนาที่เกิดขึ้นทางกายจิตรู้เวทนานั้น  แล้วไม่ปรุงแต่งให้เกิดเวทนาทางใจ  เวทนาที่ว่าก็ไม่ใช่ขันธ์
แต่ถ้าเกิดเวทนาทางกายแล้ว  จิตเข้าไปปรุงแต่งในเวทนาทางกาย  จนเกิดเป็นเวทนาทางใจ แบบจึงเรียกว่า
เวทนาขันธ์

       เวทนาจะเกิดได้ก็ต้องผ่านอินทรีย์ ๕ ใช่หรือไม่.?
       อินทรีย์ ๕ อยู่ในขันธ์ ๕ ใช่หรือไม่
       ลองพิจารณาโดยแยบคายดู.....เข้าใจอย่างไร แจ้งให้ทราบบ้า
อินทรีย์หมายถึงความเป็นใหญ่  หรือจิตยึดเอาสภาวะวะใดในอินทรีย์๒๒ยึดมาเป็นสภาวะปัจจุบัน
เวทนาทางกายของปุถุชนย่อมต้องผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ตัวใดตัวหนึ่งแล้วแต่ว่า  บุคคลจะเอาอินทรีย์ตัวไหน
ขึ้นมาเป็นสภาวะปัจจุบัน  อย่างเช่น จิตไปรู้การกระทบทางตา อินทรีย์นั้นก็คือ  จักขุอินทรีย์ฯลฯ

อินทรีย์เป็นทั้งขันธ์และไม่ได้เป็น  มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยในตัวบุคคลและกิเลส
บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 12:33:16 pm »
0
อ่านแล้ว น่าจะยิง คำถาม อย่างนี้ นะคะ ว่า

    พระอรหันต์ ท่าน มีเวทนา หรือ ไม่

      ถ้า มี คือ แบบไหน

      ถ้า ไม่มี คือ แบบไหน

  น่าจะเป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่ติดตามพระอริยสงฆ์ กันอยู่

    ในฐานะที่เรา พยายามสร้างกุศล ด้วยการอุปัฏฐาก อุปัฏถัมภ์ กับพระสงฆ์ ทั้งที่เป็นพระอริยะสงฆ์ และ มิใช่ อริยะสงฆ์ คะ


   :58: thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 02:20:26 pm »
0


ต้องละฉันทราคะในเบญจขันธ์
ภิกษุ ท. ! สิ่งใดไม่เที่ยง, พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะ
พอใจ) ในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าไม่เที่ยง ? ภิกษุ ท. ! รูป ไม่เที่ยง,
เวทนา ไม่เที่ยง, สัญญา ไม่เที่ยง, สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยง, และวิญญาณ
ไม่เที่ยง. พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่ไม่เที่ยง

พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ.
- ขนฺธ. สํ ๑๗/๒๑๗/๓๓๗.
ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นทุกข์, พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ)
ในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นทุกข์ ? ภิกษุ ท. ! รูปเป็นทุกข์, เวทนา
เป็นทุกข์, สัญญา เป็นทุกข์, สังขารทั้งหลาย เป็นทุกข์, และวิญญาณ
เป็นทุกข์. พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! คือสิ่งใด ที่เป็น
ทุกข์ พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๘/๓๓๘.
ภิกษุ ท. ! สิ่งใดเป็นอนัตตา, พวกเธอพึงละฉันทราคะ (ความกำหนัดเพราะพอใจ)
ในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. ! ก็สิ่งใดเล่าเป็นอนัตตา ? ภิกษุ ท. ! รูป เป็นอนัตตา,
เวทนา เป็นอนัตตา, สัญญา เป็นอนัตตา, สังขารทั้งหลาย เป็นอนัตตา,
และวิญญาณ เป็นอนัตตา. พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้น. ภิกษุ ท. !
คือสิ่งใด ที่เป็นอนัตตา พวกเธอพึงละฉันทราคะในสิ่งนั้นแหละ.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๑๘/๓๔๑.

****สิ่งที่ต้องละ ฉันทราคะ......

พุทธวจน ธรรมะจากพระโอษฐ์
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

Tong9

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 15
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:17:21 am »
0
 
 กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นของร้อน
             [๓๓๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของเร่าร้อน เวทนาเป็นของ
เร่าร้อน สัญญาเป็นของเร่าร้อน สังขารเป็นของเร่าร้อน วิญญาณเป็นของเร่าร้อน. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี
ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=3987&Z=3997

 

บันทึกการเข้า

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ?
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤษภาคม 09, 2013, 09:46:11 am »
0


   วยธัมมา สังขารา   สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา

   อันนี้หมายถึง สังขารชันธ์ หรือ ว่า สังขาร ( การปรุงแต่ง )

        การอธิบาย ขันธ์ 5 เพราะจิตเข้าไปยึดมั่น ถือมั่น จนมีขันธ์ 5

       หรือ ขันธ์ 5 เป็นเพียง  ดิน น้ำ ไฟ ลม อารมณ์ ปรุงแต่ง

      รูป  คือ ธาต 4  หรือ รูป มีเพราะ เข้าไปยึดมั่น ถือ มั่น

      เวทนา  คือ ทุกข สุข  อทุกขมสุข  โสมนัส โทมนัส  อุเบกขา เพราะเข้าไปยึดถือ หรือ ไม่เข้าไปยึดถือ เวทนา ก็มี อยู่อย่างนั้น

      สัญญา ไม่เที่ยง  สังขาร ไม่เที่ยง  วิญญาณ ไม่เที่ยง

      ( อันที่จริง ต้องการทราบเจตนา เรื่อง การเข้าใจ ขันธ์ 5 หรือเข้าไปรู้ตามความเป็นจริง )

     :coffee2: :s_hi:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ