ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" "ธรรมทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น.  (อ่าน 25343 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
"สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย" "ธรรมทั้งปวงอันใคร ๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น.

ข้อความส่วนนี้ อยู่พระสูตรบทไหน ใครรู้ช่วยจัดเต็ม ให้กบหน่อยคะ
เห็นกำลังเป็นที่ถกเถียงกัน ในห้อง อื่น ๆ คะ

น้าปุ้ม ช่วยหน่อยได้หรือไม่คะ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๔.  มหายมกวรรค]
                    ๗.  จูฬตัณหาสัขยสูตร
 
            “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    กล่าวโดยย่อ    ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร    ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้วด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา    มีความสำเร็จสูงสุด๑    มีความเกษมจากโยคะสูงสุด๒    ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด๓    มีที่สุดอันสูงสุด๔    เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “จอมเทพ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า    ‘ธรรมทั้งปวง๕ไม่ควรยึดมั่น’    ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ว่า    ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’    ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง    ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว    ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง    ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว    เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งสุขก็ตาม    ทุกข์ก็ตาม    มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม    เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง    พิจารณา
เห็นความคลายกำหนัด    พิจารณาเห็นความดับ    และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลายนั้นอยู่    เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง    พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด    พิจารณาเห็นความดับ    และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลายนั้นอยู่    ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร  ๆ    ในโลก    เมื่อไม่ยึดมั่น    ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น    เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น    ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนและรู้ชัดว่า    ‘ชาติสิ้นแล้ว    อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว    ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป๖’


เบื้องต้นช่วยค้นมาที่ตรงกับคำว่า ธรรมทั้ั้งปวงไม่ควรยึดมั่น เท่านี้ก่อนนะครับ เรื่อง ธรรมวิจารณ์นั้นน่าจะมาต่อภายหลัง ครับ

บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป็นหัวข้อธรรม ที่นำมาเสนอ ได้ตรง กับเรื่องจริง ๆ เพราะว่า ธรรมส่วนนี้เป็นส่วนที่ มีส่วนที่ต้องระวังในการทำความเข้าใจ อาตมา พบ พระรูปหนึ่ง เป็นพระบวชใหม่ เข้ามาบวชเสร็จแล้ว ก็อาศัยธรรมส่วนนี้แล้วก็ปฏิเสธโลก ทุกวันที่มีกิจวัตร เธอก็จะบอกว่า โลกนี้มีแต่ความไม่มี ผมถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่น อะไรแล้ว ไม่มีอะไรที่ผมจะต้องทำอีกแล้วปัจจุบัน พระรูปนี้ก็สึกไปแล้ว ไปอยู่ที่บ้าน ก็จะพูดเรื่องพวกนี้ แล้วเขายบอกว่า เขาเป็นพระอรหันต์ ถึงความไม่ยึดถืออะไร ไม่มีพระ ไม่มีฆราวาส เป็นดั่งอรหันต์จี้กง นอนสูบกัญชา อยู่ที่บ้าน จนพ่อแม่ ส่ายหน้าไม่รู้จะทำอย่างไร

ธรรมส่วนนี้ ถ้าไม่มีพื้นฐาน บารมีธรรม ทำให้บุคคลปฏิเสธโลกได้

ดังนั้นต้องทำความเข้าใจตาม พระสูตร

  ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’    ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง   

       ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว    ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง   
     
      ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว    เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งสุขก็ตาม    ทุกข์ก็ตาม    มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม   
              เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง   
              พิจารณาเห็น ความคลายกำหนัด   
              พิจารณาเห็นความดับ   
              และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลายนั้นอยู่   
              เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง   
              พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด   
              พิจารณาเห็นความดับ   
              และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลายนั้นอยู่   
      ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร  ๆ    ในโลก    เมื่อไม่ยึดมั่น    ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น    เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น    ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนและรู้ชัดว่า    ‘ชาติสิ้นแล้ว    อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว    ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป


  พึงศึกษา ให้จบ สาย อย่างนี้ อย่าพึงกล่าวเพียงใด ท่อนหนึ่ง ของพระสูตร แล้วตีความให้ผิดทาง ดังนั้นเป็นการดีที่ท่านทั้งหลาย สาวหาต้นตอของพระสูตร

  เป็นสิ่งที่น่าชมเชย เป็นอย่างยิ่ง

  เจริญธรรม

   ;)

   
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 ๑๑.  ธัมมวรรค  คือ  หมวดธรรม
 

๑๖๒. ธมฺโม  รหโท  อกทฺทโม.
ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม.

ขุ.  ชา.  ฉกฺก.  ๒๗/๒๐๒.
 
๑๖๓. มโนปุพฺพงฺคมา  ธมฺมา.
ธรรมทั้งหลาย  มีใจเป็นหัวหน้า.

ขุ.  ธ.  ๒๕/๑๕.

๑๖๔. ธมฺโม  หิ  อิสินํ  ธโช.
ธรรมแล  เป็นธงชัยของพวกฤษี.

สํ.  นิ.  ๑๖/๒๖.  องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๖๖.  ขุ.  ชา.  อสีติ.  ๒๘/๑๕๒.

๑๖๕. สตํ  ธมฺโม  ทุรนฺวโย.
ธรรมของสัตบุรุษ  รู้ได้ยาก.

สํ.  ส.  ๑๕/๒๖.  ขุ.  ชา.  ทุก.  ๒๗๑๖๓.  ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗๑๒๙๔.

๑๖๖. สตญฺจ  ธมฺโม  น  ชรํ  อุเปติ.
ธรรมของสัตบุรุษ  ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า.

สํ.  ส.  ๑๕/๑๐๒.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๕.  ขุ.  ชา.  อสีติ.  ๒๘/๑๓๖.

๑๖๗. สทฺธมฺโม  สพฺภิ  รกฺขิโต.
ธรรมของสัตบุรุษ  อันสัตบุรุษรักษา.

ที.  มหา.  ๑๐/๒๗๙.

๑๖๘. ธมฺโม  สุจิณฺโณ  สุขมาวหาติ.
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว  นำสุขมาให้.

สํ.  ส.  ๑๕/๕๘.  ขุ.  สุ.  ๒๕/๓๖๐.  ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒จ/๒๙๐.  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๔.

๑๖๙. สพฺเพสํ  สหิโต  โหติ    สทฺธมฺเม  สุปติฏฺฐิโต.
ผู้ตั้งมั่นในสัทธรรม  เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง.

องฺ.  อฏฺฐก.  ๒๓/๒๔๙.

๑๗๐. ธมฺมปีติ  สุขํ  เสติ.
ผู้มีปีติในธรรม  อยู่เป็นสุข.

ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๕.


๑๗๑. ธมฺมจารี  สุขํ  เสติ.
ผู้ประพฤติธรรม  อยู่เป็นสุข.

ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๗, ๓๘.  ขุ.  อุ.  ๒๕/๓๖๖.

๑๗๒. ธมฺโม  หเว  รกฺขติ  ธมฺจารึ.
ธรรมแล  ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.

ขุ.  ชา.  ทสกฺ  ๒๗/๒๙๐.  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๔.

๑๗๓. น  ทุคฺคตึ  คจฺฉติ  ธมฺมจารี.
ผู้ประพฤติธรรม  ไม่ไปสู่ทุคติ.

ขุ.  ชา.  ทสก.  ๒๗/๙๐.  ขุ.  เถร.  ๒๖/๓๑๔.

๑๗๔. ธมฺเม  ฐิตํ  น  วิชหาติ  กิตฺติ.
เกียรติ  ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

องฺ.  ปญฺจก.  ๒๓/๕๑.

๑๗๕. ธมฺเม  ฐิตา  เย  น  กโรนฺติ  ปาปกํ.
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม  ย่อมไม่ทำบาป.

องฺ.  จตุตกฺก.  ๒๑/๒๕.

๑๗๖. สพฺเพ  ธมฺมา  นาลํ  อภินิเวสาย.
สภาวธรรมทั้งปวง  ไม่ควรถือมั่น.

ม.  ม.  ๑๒/๔๖๔.
 
๑๗๗. โยนิโส  วิจิเน  ธมฺมํ.
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย.

ม.  อุปฺ  ๑๔/๔๗๑.  สํ.  ส.  ๑๕/๗๘.  องฺ.  สตฺตก.  ๒๓/๓.
 
๑๗๘. ธมฺมํ  จเร  สุจิตํ    น  ตํ  ทุจฺจริตํ  จเร.
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต  ไม่ควรประพฤติให้ทุจริต.

ขุ.  ธ.  ๒๕/๓๘.  ขุ.  อุ.  ๒๕/๓๖๖.

๑๗๙. สทฺธมฺโม  ครุกาตพฺโพ.
ควรเคารพสัทธรรม.

องฺ.  จตุกฺก.  ๒๑/๒๗.
 
๑๘๐. กณฺหํ  ธมฺมํ  วิปฺปหาย.
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย.

สํ.  มหา.  ๑๙/๒๙.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๖.
 
๑๘๑. สุกฺกํ  ภาเวถ  ปณฺฑิโต.
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว.

สํ.  มหา.  ๑๙/๒๙.  ขุ.  ธ.  ๒๕/๒๖.



ที่มา  http://dhammasound.multiply.com/journal/item/10
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2011, 07:03:30 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


๗.จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา


{๔๓๔} พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “จอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า  ‘ธรรมทั้งปวง(๕)ไม่ควรยึดมั่น’   
ถ้าข้อนั้นภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ว่า ‘ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น’ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งธรรมทั้งปวง

  ครั้นรู้ยิ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง   
  ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว    เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
  สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม  มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม   
  เธอพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด   
  พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลายนั้นอยู่
   

  เมื่อพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นความคลายกำหนัด   
  พิจารณาเห็นความดับ และพิจารณาเห็นความสลัดทิ้งในเวทนาทั้งหลายนั้นอยู่   
  ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆในโลก   
 
  เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น  เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น   
  ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนและรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
  ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป(๖)


  จอมเทพ กล่าวโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว ด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีความสำเร็จสูงสุด มีความเกษมจากโยคะสูงสุด ประพฤติพรหมจรรย์ถึงที่สุด มีที่สุดอันสูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย”
  ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค    กระทำประทักษิณแล้วอันตรธานไปจากที่นั้นนั่นเอง




เชิงอรรถ

(๕) ธรรมทั้งปวง  หมายถึงขันธ์  ๕  อายตนะ  ๑๒  และธาตุ  ๑๘  เป็นธรรมที่ไม่ควรยึดมั่นด้วยอำนาจตัณหา
   และทิฏฐิ  เพราะเป็นภาวะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะยึดถือได้  (ม.มู.อ.  ๒/๓๙๐/๒๐๕-๒๐๖)

(๖) ดูเชิงอรรถที่  ๑-๓  ข้อ  ๕๔  (ภยเภรวสูตร)  หน้า  ๔๓  ในเล่มนี้


๑. อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว  หมายถึงกิจแห่งการปฏิบัติเพื่อทำลายอาสวกิเลส  จบสิ้นสมบูรณ์แล้ว  ไม่มีกิจ
   ที่จะต้องทำเพื่อตนเอง  แต่ยังมีหน้าที่เพื่อผู้อื่นอยู่  ผู้บรรลุถึงขั้นนี้ได้  ชื่อว่า  อเสขบุคคล 
  (ม.มู.อ.  ๑/๕๔/๑๓๘, ที.สี.อ.  ๑/๒๔๘/๒๐๓)

๒. กิจที่ควรทำ  ในที่นี้หมายถึงกิจในอริยสัจ  ๔  คือ  การกำหนดรู้ทุกข์,  การละเหตุเกิดแห่งทุกข์,  การทำให้แจ้งซึ่งความดับทุกข์  และการอบรมมรรคมีองค์  ๘  ให้เจริญ 
(ม.มู.อ.  ๑/๕๔/๑๓๘,  ที.สี.อ.  ๑/๒๔๘/๒๐๓)

๓. ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป  หมายถึงไม่มีหน้าที่ในการบำเพ็ญมรรคญาณเพื่อความหมดสิ้น
   แห่งกิเลสอีกต่อไป        เพราะพระพุทธศาสนาถือว่า  การบรรลุพระอรหัตตผลเป็นจุดหมายสูงสุด 
   (ม.มู.อ.๑/๕๔/๑๓๘,  ที.สี.อ.  ๑/๒๔๘/๒๐๓)




   [๔๓๔]   อิธ   เทวานมินฺท   ภิกฺขุโน  สุตํ  โหติ  สพฺเพ  ธมฺมา นาลํ   อภินิเวสายาติ   เอวญฺเจ   ตํ  เทวานมินฺท  ภิกฺขุโน  สุตํ  โหติ สพฺเพ   ธมฺมา   นาลํ   อภินิเวสายาติ   โส   สพฺพํ  ธมฺมํ  อภิชานาติ สพฺพํ    ธมฺมํ    อภิญฺญาย    สพฺพํ   ธมฺมํ   ปริชานาติ   สพฺพํ   ธมฺมํปริญฺญาย   

ยงฺกิญฺจิ   เวทนํ   เวเทติ  สุขํ  วา  ทุกฺขํ  วา  อทุกฺขมสุขํ วา    โส    ตาสุ   เวทนาสุ   อนิจฺจานุปสฺสี   วิหรติ   วิราคานุปสฺสี วิหรติ   นิโรธานุปสฺสี   วิหรติ   ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี   วิหรติ   โส  ตาสุ เวทนาสุ     อนิจฺจานุปสฺสี     วิหรนฺโต     วิราคานุปสฺสี    วิหรนฺโต นิโรธานุปสฺสี   วิหรนฺโต   ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี  วิหรนฺโต  น  กิญฺจิ  โลเก อุปาทิยติ     อนุปาทิยํ    น    ปริตสฺสติ    อปริตสฺสํ    ปจฺจตฺตญฺเญว ปรินิพฺพายติ   ขีณา   ชาติ   วุสิตํ   พฺรหฺมจริยํ   กตํ   กรณียํ   นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ    เอตฺตาวตา    โข

เทวานมินฺท   ภิกฺขุ สงฺขิตฺเตน   ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต   โหติ   อจฺจนฺตนิฏฺโฐ  อจฺจนฺต-โยคกฺเขมี  อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี    อจฺจนฺตปริโยสาโน   เสฏฺโฐ   เทวมนุสฺสานนฺติ   ฯ  อถ  โข    สกฺโก    เทวานมินฺโท    ภควโต  ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา    อนุโมทิตฺวา   ภควนฺตํ   อภิวาเทตฺวา   ปทกฺขิณํ   กตฺวา ตตฺเถวนฺตรธายิ ฯ



ที่มา http://etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=325&p2=463&volume=12
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2011, 12:16:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


๗. จูฬตัณหาสังขยสูตร
ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา


             [๔๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทแห่งมิคารมารดา (มหาอุบาสิกาวิสาขาผู้เป็นดังว่ามารดาแห่งมิคารเศรษฐี) ในวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นยืนเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า


     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนมีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย?

             [๔๓๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรจอมเทพ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ถ้าข้อนี้ ภิกษุได้สดับแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง

ครั้นรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมทราบชัดธรรมทั้งปวง
ครั้นทราบชัดธรรมทั้งปวงแล้ว ย่อมกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง
ครั้นกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงแล้ว เธอได้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง


สุขก็ดี ทุกข์ก็ดีมิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ดี เธอย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง
พิจารณาเห็นความหน่าย พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นความสละคืนในเวทนาทั้งหลายนั้น

เมื่อพิจารณาเห็นดังนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะดุ้งหวาดหวั่น
เมื่อไม่สะดุ้งหวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสให้สงบได้เฉพาะตัว และทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้


     ดูกรจอมเทพ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านี้แลภิกษุชื่อว่าน้อมไป ในธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา
มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความปลอดโปร่ง จากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็นพรหมจารีล่วงส่วน
มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

     ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพ ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค
ทำประทักษิณและหายไปในที่นั้นนั่นเอง.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๗๙๑๕ - ๘๐๔๐.  หน้าที่  ๓๒๕ - ๓๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=7915&Z=8040&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=433


อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค
จูฬตัณหาสังขยสูตร ว่าด้วยข้อปฏิบัติธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

             
อรรถกถาจูฬตัณหาสังขยสูตร
                             

               จูฬตัณหาสังขยสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ.
               พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น ในข้อว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ได้แก่ ปราสาทของมิคารมารดาในวิหาร ชื่อว่า บุพพาราม.
               ในข้อนั้น มีการพรรณนาความตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

               ครั้งอดีตกาล ในที่สุดแห่งแสนกัปป์ มีอุบาสิกาคนหนึ่งนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ แล้วถวายทานแสนหนึ่งแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วหมอบลงใกล้พระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำการปรารถนาว่า ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพเจ้าเป็นอัคคอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้าเช่นกับพระองค์ ดังนี้.
               เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนแห่งกัปป์แล้วถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสุมนเทวี ในเรือนเศรษฐีผู้เป็นบุตรของเมณฑกะในภัททิยนคร ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย. ในเวลาคลอด พวกญาติได้ตั้งชื่อเขาว่าวิสาขา.

              เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังภัททิยนคร นางวิสาขานั้นพร้อมด้วยเหล่าทาริกา ๕๐๐ ได้ทำการต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เป็นพระโสดาบันในการเห็นครั้งแรกทีเดียว.
               ในกาลอื่นอีก นางไปสู่เรือนของปุณณวัฑฒนกุมาร บุตรมิคารเศรษฐีในพระนครสาวัตถี ในที่นั้น มิคารเศรษฐีได้ตั้งนางไว้ในตำแหน่งแห่งมารดา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่ามิคารมารดา.


               ก็เมื่อนางจะไปสู่ตระกูลสามี บิดาของนางได้ให้ทำเครื่องประดับชื่อว่ามหาลดาให้. เครื่องประดับนั้นประกอบไว้ด้วยเพชร ๔ ทะนาน แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน แก้วประพาฬ ๒๒ ทะนาน แก้วมณี ๓๓ ทะนาน เครื่องประดับนั้นสำเร็จแล้วด้วยรัตนะเหล่านี้ และด้วยรัตนะอื่นมีวรรณะ ๗ ด้วยประการฉะนี้. เครื่องประดับนั้นสวมศีรษะยาวพาดไปถึงหลังเท้า. ก็หญิงผู้มีกำลังถึงช้างพลาย ๕ เชือก จึงสามารถประดับได้

              ครั้นต่อมา นางได้เป็นอัคคอุปัฏฐายิกาของพระทศพล สละเครื่องประดับนั้นสร้างวิหารเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยทรัพย์ ๙ โกฏิให้ทำปราสาทพื้นที่ประมาณหนึ่งกรีส. ประดับด้วยห้องพันหนึ่ง คือชั้นบนของปราสาทนั้นมี ๕๐๐ ห้อง ชั้นล่างมี ๕๐๐ ห้อง. นางวิสาขานั้นคิดว่า ปราสาทล้วนๆ อย่างเดียวย่อมไม่งาม จึงให้สร้างเรือนทวิกูฏะ ๕๐๐ จุลลปราสาท ๕๐๐ ห้อง. ศาลาทีปฆระ ๕๐๐ แวดล้อมปราสาทใหญ่นั้น ได้ทำการฉลองวิหาร ๔ เดือน.

               ชื่อว่าการบริจาคทรัพย์ในพระพุทธศาสนาของหญิงอื่นเหมือนนางวิสาขาผู้ดำรงอยู่ในอัตตภาพแห่งมาตุคาม มิได้มี. ชื่อว่าการบริจาคทรัพย์ไว้ในพระพุทธศาสนาของบุคคลอื่นเหมือนอนาถบิณฑิกเศรษฐีผู้ตั้งอยู่ในอัตตภาพแห่งบุรุษ ก็ไม่มี.
               จริงอยู่ อนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นสละทรัพย์ ๕๔ โกฏิสร้างมหาวิหารชื่อว่าเชตวัน เช่นกับมหาวิหารของอนุราธบุรี ในที่ส่วนอันมีในทิศทักษิณแห่งพระนครสาวัตถี. นางวิสาขาสร้างวิหารชื่อว่าบุพพาราม ในที่เช่นกับเทววิมานอันยอดเยี่ยม ในส่วนแห่งทิศปาจีนแห่งพระนครสาวัตถี.

               พระผู้มีพระภาคเจ้าอาศัยพระนครสาวัตถีประทับอยู่เพื่ออนุเคราะห์ตระกูลทั้งสองเหล่านี้ จึงได้ประทับอยู่ในปราสาททั้งสองเหล่านี้เนืองนิตย์. คือว่า ภายในพรรษาหนึ่งประทับอยู่ในพระเชตวัน พรรษาหนึ่งประทับอยู่ในบุพพาราม. แต่ในสมัยนั้น ประทับอยู่ในบุพพาราม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปุพฺพาราเม มิคารมาตุ ปาสาเท ดังนี้.

               บทว่า กิตฺตาวตา นุโข ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร. บทว่า สงฺขิตฺเตน ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺโต โหติ ความว่า ว่าโดยย่อด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ชื่อว่าน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เพราะความที่ภิกษุนั้นมีจิตน้อมไปกระทำข้อปฏิบัตินั้นให้เป็นไปในอารมณ์นิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหานั้น คือว่า ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ขอพระองค์จงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นของภิกษุผู้มีอาสวะนั้นแล้ว ด้วยข้อปฏิบัติโดยย่อที่น้อมไปเพื่อความสิ้นตัณหา.

               บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโฐ ความว่า ล่วงส่วนกล่าวคือสิ้นและเสื่อม ชื่อว่าอัจจันตนิฏฐะ เพราะมีความสำเร็จล่วงส่วนๆ. อธิบายว่า สำเร็จล่วงส่วน คือสำเร็จเนืองๆ.
               บทว่า อจฺจนฺตโยคกฺเขมี ความว่า มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วนเนืองๆ. บทว่า อจฺจนฺตพฺรหฺมจารี ได้แก่ เป็นพรหมจารีเป็นนิตย์. ชื่อว่า อัจจันตปริโยสาน โดยนัยก่อนเพราะมีจบลงล่วงส่วน.

               บทว่า เสฏฺโฐ เทวมนุสฺสานํ ได้แก่ ประเสริฐสุด คือสูงสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อธิบายว่า ท้าวสักกะจอมเทพย่อมทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ภิกษุเห็นปานนี้ย่อมเป็นผู้มีข้อปฏิบัติด้วยข้อปฏิบัติเท่าไร. ขอพระองค์ตรัสบอกข้อปฏิบัติโดยย่อของภิกษุนั้นเร็วพลันเถิด.
               ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท้าวสักกะจอมเทพนั้นจึงปรารถนาความรีบเร่งอย่างนั้น.
               ตอบว่า เพราะทรงประสงค์จะไปเล่นกีฬา.

               ได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทพนั้นรับสั่งการเล่นกีฬาในอุทยาน แล้วให้มหาราชทั้ง ๔ อารักขาใน ๔ ทิศ ผู้อันหมู่แห่งทวยเทพแวดล้อมแล้วในเทวโลกทั้งสอง ทรงช้างเอราวัณกับนางฟ้อน ๒ โกฏิครึ่ง ประทับอยู่ที่ประตูอุทยาน กำหนดปัญหานี้ว่า ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้นที่บุคคลพึงบรรลุของพระขีณาสพผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา โดยย่อมีเท่าไรหนอ.

               ทีนั้น ท้าวเธอได้มีความดำริว่า ปัญหานี้เป็นไปกับด้วยศิริยิ่งนัก ถ้าเราไม่ได้เรียนเอาปัญหานี้แล้ว. จักเข้าไปยังอุทยานไซร้ ถูกอารมณ์อันเป็นไปในทวารทั้ง ๖ ย่ำยีแล้ว จักกำหนดปัญหานี้อีกไม่ได้ การเล่นกีฬาในอุทยานงดไว้ก่อนเถิด เราจะไปสำนักของพระศาสดาทูลถามปัญหานี้ เราเรียนปัญหานี้แล้ว จักเล่นกีฬาในอุทยานดังนี้ แล้วหายไปในที่คอแห่งช้าง ได้ปรากฏในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

              ท้าวมหาราชทั้ง ๔ แม้เหล่านั้นก็อารักขายืนอยู่ในที่ประทับตรงนั้นแหละ หมู่ทวยเทพผู้บำเรอก็ดี นางฟ้อนทั้งหลายก็ดี ช้างเอราวัณก็ดี นาคราชก็ดี ได้ยืนอยู่ที่ประตูทวารนั้นนั่นแหละ. ท้าวสักกะจอมเทพนั้น เมื่อมีความปรารถนาโดยเร็ว เพื่อประสงค์จะเล่นกีฬาด้วยอาการอย่างนี้ จึงตรัสแล้วอย่างนั้น.

               บทว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย นี้ อธิบายว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ ชื่อว่าธรรมทั้งปวง ธรรมแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ไม่ควร คือไม่เรียน ไม่ปรารถนา ไม่ประกอบไว้ด้วยความยึดมั่นด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิ เพราะเหตุไร เพราะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะถือเอาได้.

               จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายมีขันธ์ ๕ เป็นต้นนั้น แม้จะถือว่าเป็นของเที่ยง ความไม่เที่ยงเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น แม้จะถือว่าเป็นสุข ความทุกข์เท่านั้น ย่อมถึงพร้อม แม้จะถือว่าเป็นอัตตา อนัตตาเท่านั้นย่อมปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลจึงไม่ควรเพื่อยึดมั่น.

               บทว่า อภิชานาติ ได้แก่ ย่อมทราบชัดด้วยญาตปริญญาว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ ย่อมกำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ.

               บทว่า ยํ กิญฺจิ เวทน ได้แก่ เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีประมาณน้อย โดยที่สุดแม้สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมแสดงการกำหนดอรูปธรรม อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเวทนาแก่ท้าวสักกะจอมเทพด้วยบทนี้. ก็ถ้าว่า เวทนากัมมัฏฐานเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ตรัสไว้ในหนหลังไซร้ ก็ไม่ควรกล่าวไว้ในที่นี้. แต่ว่ากัมมัฏฐานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในหนหลัง ฉะนั้น พึงทราบเวทนากัมมัฏฐานโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสติปัฏฐาน.

               ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้พึงทราบว่า เป็นอนิจจัง เป็นอนิจจานุปัสสนา และอนิจจานุปัสสี. ในที่นี้มีอธิบายว่า ในบรรดาบทเหล่านั้น ได้แก่เบญจขันธ์ ชื่อว่าอนิจจัง.
               จริงอยู่ เบญจขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นของไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไป. ความเห็นความรู้เบญจขันธ์ทั้งหลาย โดยความสิ้นไปเสื่อมไป ชื่อว่าอนิจจานุปัสสนา. บุคคลผู้ประกอบด้วยญาณนั้น ชื่อว่าอนิจจานุปัสสี เพราะฉะนั้น บทว่า อนิจฺจานุปสฺสี วิหรติ ได้แก่ เมื่อบุคคลตามเห็นอยู่โดยความเป็นของไม่เที่ยง.

               ในบทว่า วิราคานุปสฺสี ได้แก่ วิราคะ ๒ อย่างคือ ขยวิราคะ อัจจันตวิราคะ.
               ในสองบทนั้น วิปัสสนาเป็นเครื่องเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความสิ้นไป เสื่อมไป ชื่อว่าขยวิราคะ. ฝ่ายมรรคญาณเป็นเครื่องเห็นพระนิพพานอันเป็นอัจจันตวิราคะโดยวิราคะ ชื่อว่าวิราคานุปัสสนา บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิราคะทั้งสองนั้น ชื่อว่าวิราคานุปัสสี.


               บทว่า วิราคานุปสฺสี ท่านกล่าวหมายถึงบุคคลนั้น. อธิบายว่า บุคคลผู้ตามเห็นอยู่โดยความเป็นวิราคะ. แม้ในบทว่า นิโรธานุปสฺสี ก็นัยนี้เหมือนกัน.
               จริงอยู่ แม้นิโรธก็มี ๒ อย่างเหมือนกัน คือ ขยนิโรธะและอัจจันตนิโรธะ.
               โวสสัคคะ (การสละแล้ว) ท่านเรียกว่าการสละคืน ในบทว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี นี้.
               ก็โวสสัคคะมี ๒ คือ ปริจจาคโวสสัคคะ ปักขันทนโวสสัคคะ.
               ในสองอย่างนั้น วิปัสสนาชื่อว่าปริจจาคโวสสัคคะ เพราะว่าวิปัสสนานั้นย่อมสละกิเลสและขันธ์ทั้งหลายด้วยสามารถแห่งตทังคะ. มรรคชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ เพราะมรรคนั้นย่อมแล่นไปสู่นิพพานโดยอารมณ์.

               อีกอย่างหนึ่ง การสละด้วยเหตุแม้ทั้งสอง คือเพราะการสละขันธ์ทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทะ และเพราะการแล่นไปในนิพพาน ฉะนั้น ชื่อว่าปริจจาคโวสสัคคะ เพราะอรรถว่าสละกิเลสทั้งหลายและขันธ์ทั้งหลาย นิโรธชื่อว่าปักขันทนโวสสัคคะ เพราะอรรถว่าจิตย่อมแล่นไปในนิพพานธาตุ.

   ทั้งสองนั้นย่อมเสมอกันในมรรค บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยโวสสัคคะ แม้ทั้งสองนั้น ชื่อว่าปฏินิสสัคคานุปัสสี เพราะความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยความเห็นโดยการสละคืนนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาคำที่กล่าวนั้น จึงตรัสว่า ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสี.

               บทว่า น กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ได้แก่ ย่อมไม่ยึดมั่น ไม่ยึดถือ ไม่ลูบคลำธรรมแม้อย่างใดอย่างหนึ่งอันถึงความเป็นสังขารด้วยอำนาจแห่งตัณหา ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่ยึดมั่น เมื่อไม่ยึดถือจึงไม่สะดุ้งเพราะความสะดุ้งด้วยตัณหาทั้งหลาย ย่อมดับไปเฉพาะตัวเท่านั้น ดังนั้น จึงชื่อว่าย่อมดับด้วยการดับกิเลสเองทีเดียว.

               ปัจจเวกขณะของพระขีณาสพนั้นแหละ ท่านแสดงไว้ด้วยบทว่า ขีณา ชาติ เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันท้าวสักกะจอมเทพทูลถามข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้นของพระขีณาสพโดยย่อ ทรงกระทำให้เบาพระทัยพร้อมตรัสตอบปัญหาโดยย่อเร็วพลัน ด้วยประการฉะนี้. ฯลฯ


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=433
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 01, 2011, 12:39:20 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณ ซึ้งใจน้ำตาไหล เลยคะ โดยเฉพาะ พระอาจารย์ มาตอบด้วย ดีใจมาก คะ

รอมาหลายวัน เลยคะ
 :s_good: :c017:


 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

๓๗ . จูฬตัณหาสังขยสูตร
สูตรว่าด้วยความสิ้นไปแห่งตัณหา สูตรเล็ก

  ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี. ท้าวสักกะมาเฝ้ากราบทูลถามว่า กล่าวโดยย่อด้วยเหตุเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าพ้นเพราะสิ้นตัญหา มีความสำเร็จ , ปลอดโปร่งจากธรรมะที่ผูดมัด , เป็นพรหมจารี, มีที่สุดล่วงส่วน ( คือแน่นอนเด็ดขาด ) เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.


  ๒. ตรัสตอบว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมได้สดับว่า
    ธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดถือ เธอจักรู้ยิ่ง,
    กำหนดรู้ธรรมะทั้งปวง เธอเสวยเวทนาใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นสุข ทุกข์ หรือไม่ทุกข์ไม่สุข
   

    ก็พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง พิจารณาเห็นด้วยวามคลายกำหนัด
    พิจารณาเห็นความดับ พิจารณาเห็นด้วยการปล่อยวางในเวทนาเหล่านั้น ไม่ถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก


    เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่สะดุ้งดิ้นรน เมื่อไม่สะดุ้งดิ้นรนก็ดับเย็น ( ปรินิพพาน ) เฉพาะตน
    รู้ว่าสิ้นชาติ อยู่จนจบพรหมจรรย์ ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงทำเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก

    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่าพ้นเพราะสิ้นตัณหา ฯลฯ ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย .
    ท้าวสักกะก็ชื่นชมภาษิต และกราบทูลลากลับ.



   ๓. พระมหาโมคคัลลานะไปปรากฏกายในชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะก็ต้อนรับเป็นอย่างดี
   เมื่อท่านถามถึง คำเฉลยปัญหาที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ย่อ ๆ เกี่ยวกับความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา
   ท้าวสักกะกลับพูดเลี่ยงไปเรื่องอื่น และชวนพระมหาโมคคัลลานะไปชมปราสาทชื่อเวชยันต์ ซึ่งสร้างขึ้นภายหลังชนะสงครามระหว่างเทวดากับอสูรอย่างวิจิตพิสดาร.

   พระมหาโมคคัลลานะเห็นท้าวสักกะเป็นผู้ประมาท ก็แสดงฤทธิ์เอาหัวแม่เท้าเขี่ยปราสาทเวชยันต์ให้หวั่นไหว ซึ่งทำให้ท้าวสักกะ ท้าวเวสสวัณ และเทพชั้นดาวดึงส์ พากันอัศจรรย์ในฤทธิ์อานุภาพของพระเถระเป็นอันมาก
( ๘ )

__________________________________
(๘.) เรื่องนี้ถ้าถอดเป็นธรรมะจะเห็นได้ว่า มีคติเตือนใจว่า มีปราสาทที่เลอเลิศขนาดนั้น ก็อย่ามัวเมาประมาทเเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งมิให้คนฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมดีมาก


   ๔. เมื่อพระเถระเห็นเช่นนั้น จึงถามย้ำอีกถึงพระดำรัสเฉลยปัญหาเรื่องความหลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหาของพระผู้มีพระภาค . คราวนี้ท้าวสักกะเล่าถวายเป็นอันดี. พระเถระจึงลากลับมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลถามเรื่องการที่ทรงตอบปัญหานั้น ซึ่งก็ตรัสเล่าความให้ฟังตรงกัน.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.4.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.kunkroo.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 14, 2012, 06:18:59 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในเรื่อง พระมหาโมคคัลลานะ เอาเท้าเขี่ยปราสาท นี้เตือนสติ ได้ีดีคะ
  บางครั้งเราก็มัวแต่ตื่นตา ตื่นใจในธรรมชาต ปราสาทวิหาร หมู่ชน จนลืมเป้าหมาย ของตนเองไปคะ

  มีอยู่หลายครั้งได้ไปกับครูอาจารย์ที่ นาน ๆ จะได้พบกันแต่ เราก็มัวเพลินหู เพลินตา กับเรี่องอื่น กับลืมที่จะสอบถาม สนทนาธรรมที่เราควรภาวนาปฏิบัติคะ

  น่าเศร้า นะคะ ที่เรามัวตื่นตา ตื่นใจ กับเจดีย์ วิหาร ทั้ง ๆ ที่สิ่งที่บรรจุอยู่ในเจดีย วิหาร เหล่านั้นต่างหากที่สำคัญ

   :49: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/

   ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น
   ____________________________
   ธรรมทั้งปวง หมายถึง ขันธ์  ๕  อายตนะ  ๑๒  และธาตุ  ๑๘ 
   เป็นธรรมที่ไม่ควรยึดมั่นด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ  เพราะเป็นภาวะไม่ดำรงอยู่โดยอาการที่บุคคลจะยึดถือได้ 
   (ม.มู.อ.  ๒/๓๙๐/๒๐๕-๒๐๖)


    พุทธวจนะบทนี้ ผู้รู้กล่าวว่า พระพุทธเจ้าจะไม่กล่าวกับใครง่ายๆ
   พิจารณาจากพระสูตรแล้ว เห็นว่า พระองค์ตรัสตอบปัญหาของท้าวสักกะ(พระอินทร์ผู้ครองสวรรค์ชั้นดาวดึงษ์)
   โดยเป็นการกล่าวตอบโดยย่นย่อ หากเราไม่พิจารณาโดยแยกคาย ในรายละเอียดหรือความหมายที่แแท้จริงแล้ว
   อาจเข้าใจผิดว่า "งั้นคำสอนของพระองค์ ก็ไม่ควรยึดซิ"


  ดังนั้น ก่อนยกพุทธพจน์นี้มาพูด ควรยกปัญหาของท้าวสักกะขึ้นมาก่อน
  (ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กล่าวโดยย่อ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าน้อมไปแล้วใน   
  ธรรมเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา มีความสำเร็จล่วงส่วนมีความปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบล่วงส่วน เป็น พรหมจารีล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วนเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย?)


  ผมนึกถึง ข้อธรรมใน"ทุกขอริยสัจ" คือ "โดยย่ออุปาทานขันท์ ๕ เป็นทุกข์"
  เราสามารถหลีกเลี่ยงคำว่า "ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น" ได้โดยใช้พุทธพจน์ดังกล่าวได้

 _________________________   
 
  "โดยย่ออุปาทานขันท์ ๕ เป็นทุกข์" ในทุกขอริยสัจนั้น เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือ
          รูป อุปาทานขันธ์ คือ เวทนา
          อุปาทานขันธ์ คือ สัญญา
          อุปาทานขันธ์ คือ สังขาร
          อุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ
          อุปาทานขันธ์เหล่านี้ ท่านกล่าวว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขอริยสัจ ฯ



จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=814&Z=882&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ