ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตัณหาในสมาธิ กับ ฉันทะ ในสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร คะ  (อ่าน 4035 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตัณหาในสมาธิ กับ ฉันทะ ในสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร คะ

เนื่องด้วยการปฏิบัติสมาธิ เป้าหมายคือการละนิวรณ์ เช่น กามราคะ ซึ่งจัดเป็นตัณหา ตัวหนึ่ง เป็นตัณหาในสมาธิ

ที่นี้ถ้าเราชอบปฏิบัติสมาธิ และ พอใจในสมาธิ อันเรียกว่า ฉันทะในสมาธิ ถ้าอย่างนี้ก็ยังไม่สิ้นสุดตัณหาใช่หรือ

ไม่ ดังนั้นอาจจะเป็นเพราะว่าดิฉัน ยังไม่เข้าใจ ตัณหาในสมาธิ และ ฉันทะในสมาธิ ดีเพียงพอเป็นแน่แท้ ขอได้

โปรดช่วยอธิบาย ตรงนี้ให้ทราบด้วยคะ

 :c017:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

jeeb

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 17
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตัณหาในสมาธิ กับ ฉันทะ ในสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 11:44:09 am »
0
สวัสดีค่่ะ

ด้วยความรู้อันน้อยนิดของข้าพเจ้า

อย่าถือว่าเป็นคำตอบนะคะถือว่าเป็นการแชร์ความคิด

ฉันทะ ซึ่งแปลว่าความพอใจอันเป็นฝ่ายกุศล
ตัณหา ซึ่งหมายถึงความอยากอันเป็นฝ่ายอกุศล

ตัณหาแบ่งเป็น ๓ อย่าง
  1. กามตัณหา อยากในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์
  2. ภวตัณหา อยากเป็นนั่นเป็นนี่ อยากได้นั่น ได้นี่ ตัวนี้มีอาการดึงเข้ามาหาตัว
  3. วิภวตัณหา ไม่อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ไม่อยากได้นั่นได้นี่ ตัวนี้มีอาการผลักไสออกจากตัว

ตัณหาเเบ่งเป็น 6 หมวด ได้แก่
   1. รูปตัณหา คือ อยากได้รูป (ที่มองเห็นด้วยตา)
   2. สัททตัณหา คือ อยากได้เสียง
   3. คันธตัณหา คือ อยากได้กลิ่น
   4. รสตัณหา คือ อยากได้รส
   5. โผฏฐัพพตัณหา คือ อยากได้โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกายสัมผัส)
   6. ธัมมตัณหา คือ อยากในธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด)
ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
ความดับโดยไม่เหลือ ความสงบระงับ ความสูญแห่งตัณหาทั้ง6นี้ เป็นความดับโดยไม่เหลือแห่งทุกข์
ตัณหาทั้ง 6 นี้ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

คราวนี้เรามาดู ฉันทะ กับ ตัณหา ในมุมนี้บ้าง
 
X = ตัวแปรสามารถแทนค่า ใดใดลงไปได้ค่ะ

สมมติเราเป็นคน X=ขี้โกรธ แน่นอนค่ะ X=ตัวโกรธ นี้ตามเป้าหมายเราต้องให้
มันหมดไปจากใจเรา คราวนี้มาดูกันว่า อะไรคือ ฉันทะ อะไรคือ ตัณหา

ถ้าเป็น ตัณหา เราจะไม่อยากเป็น เพราะเราอยากดี อยากทำให้จิตเราสะอาด
ดังนั้น เราจะถูกตัณหาสร้างความคิดต่างๆ เหตุผลต่างๆ ให้เราลดละ X=ตัวโกรธ ที่ไม่ดีนั้น
เมื่อฝึกบ่อยๆ X=ตัวโกรธ นั้นจางลง แต่ตัณหาทำงานมาเต็ม
จนเราเผลอมองไปเลยว่า ตัณหา กิเลสอีกตัวทำงานอยู่ แถมยังยึดว่านั้นคือทาง

ถ้าเป็น ฉันทะ เราจะไม่สนใจผล
เราจะเห็นว่าเรานั้น X=โกรธ แล้ว แต่เราไม่สนใจผลจริงไหมค่ะ แบบนี้ คิดว่า การโกรธนั้นจะ
ดำเนินต่อไปโดยไม่อาจคาดเดาผล หรือ ผลมันจะไม่เกิดเลยเนื่องจากสิ้นความสนใจผลใดๆ
ที่จะได้จากการโกรธนั้น

ทีนี้เราลองมา เปลี่ยนตัวแปรดูกัน จาก X=ตัวโกรธ เป็น X=การปฎิบัติ

เมื่อแทนค่าในบทความด้านบนแล้ว ผลสรุปจากการทดลองจะเป็นประมาณนี้ค่้ะ
ซึ่งตามความเข้าใจของข้าพเจ้า คิดว่าฉันทะคือ ความพอใจ เช่นพอใจที่ได้ปฏิบัติ.สวดมนต์..โดยไม่คำนึงถึงผล
ส่วนตัณหาคือความอยากเช่นอยากทำอยากปฏิบัติ อยากเห็นนรกสวรรค์อภิญญาคือทำแล้วต้องการผลตอบแทนด้วย

ในอีกแง่มุมหนึ่ง

ฉันทะ เป็นการอธิบายในแง่มุมของ ธรรม  ที่เป็นองค์ประกอบไปสู่ความสำเร็จทั้งทางโลกและทางธรรม   จะทำอะไรเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ  ก็ต้องปลูกความพอใจในสิ่งที่เราเชื่อหรือศรัทธาไว้   เช่นคนทั่วไปที่ไม่สนใจธรรม เขาไม่สนใจนั่งกรรมฐานกัน  แต่เราสนใจ  เพราะเรามีความพอใจที่จะนั่ง เราถึงลงมือนั่ง
 
 ส่วนตัณหา เป็นการมองสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามากระทบจิตใจ ทั้งความอยากได้  อยากเป็น ความไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น  ถ้าเรามองเห็นตัณหาที่เข้ามากระทบจิตใจได้ทัน  ฒัณหานั้นก็จะดับลง   แต่ถ้ามันปรุงตัณหาอันใหม่มา เราก็ต้องเห็นใหม่ ไม่อย่างนั้นก็ถูกมันครอบงำ   
 
 บางครั้งมี ความพอใจโผล่เข้ามาในจิตใจ เราก็รู้ได้เท่าทัน  ทำให้เราไม่หลงความพอใจ เพราะในเมื่อเรารู้เท่าทันความพอใจแล้ว  เราก็ลองใครครวญดูว่าสิ่งๆนั้น เป็นสิ่งที่สมควรทำหรือไม่  ทำให้การกระทำนั้น ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส

"ให้ใช้ตัณหาความอยากนั้นแหละในการปฏิบัติก่อนเพื่อให้ถึงจุดหมายและเมื่อใกล้ถึงจุดหมายก็ให้ตัดความอยากนั้นเสีย"

ไม่ Confirm ว่าทั้งหมดเป็นสิ่งถูกต้องนะคะ พราะไม่ใช่ หมอกฤษณ์คอนเฟิร์ม อิอิ

เดี่ยวจะลองหา พุทธพจน์ดูค่ะ สงสัยเหมือนกัน



 :25:


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 11:55:33 am โดย jeeb »
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ตัณหาในสมาธิ กับ ฉันทะ ในสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 07:20:27 pm »
0
เมื่อผู้ฝึกสมาธิ ปรารภ เพียงใช้สติ ตามไปในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ย่อมถึงซึ่งความหวั่นไหว ทั้งภายใน

และภายนอก เพราะความเที่ยวไปแห่งตัณหา ถูกวิตกในนิมิตคือความพอใจ และ ถูกวิตกในนิมิต คือตัณหา

ครอบงำ ย่อมหวั่นไหว เนื่องด้วยจิตคำนึงถึง นิมิต ย่อมทำให้กาย และจิตหวั่นไหว หาได้เป็นสมาธิ มีแต่จิต

ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจนิวรณ์ อันนี้เรียกว่า ตัณหาในสมาธิ


เมื่อผู้ฝึก ใช้ สติ เพ่งจิตด้วยอารมณ์ เดียวมิได้ตกอยู่ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน พ้นจากนิวรณ์ มีความพอใจ

ในอารมณ์เดียวที่สงบนิ่งกับนิมิตนั้นด้วยวิตก ย่อมยังจิตให้บันเทิง ด้วยความพอใจนั้น อันนี้เรียกว่า

ฉันทะในสมาธิ

ฉันทะในสมาธิ ก็ยังเป็นกิเลส แต่ เป็นฝ่ายกุศล เพราะส่งเสริมคุณงามความดี

ส่วนตัณหาในสมาธิ นั้นเป็นกิเลส เต็มตัว เป็นอกุศล เพราะสะกัดกั้น คุณงามความดี


เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ตัณหาในสมาธิ กับ ฉันทะ ในสมาธิ แตกต่างกันอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2011, 05:56:38 am »
0
ผมอ่านเพิ่มเติม ในหนังสือที่พระอาจารย์ ส่งมาให้อ่านแล้ว

 ฉันทะ เป็น เหตุให้เกิด ปราโมทย์

 ปราโมทย์ เป็น เหตุให้ เกิดสมาธิ
 :25:
บันทึกการเข้า