ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "การเจริญมรณัสสติ อย่างพุทธ แบบ ปัญญาวิมุตติ"  (อ่าน 9844 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  อัฏฐกนิบาต  [๒.ทุติยปัณณาสก์]
๓.ยมกวรรค  ๓.ปฐมมรณัสสติสูตร
เล่มี่ 23 หน้า 382 - 385   

            ๓. ปฐมมรณัสสติสูตร
            ว่าด้วยการเจริญมรณัสสติ๑สูตรที่ ๑
            [๗๓]สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ณ คิญชกาวสถาราม ในนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล    พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย    มรณัสสติที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก    หยั่งลงสู่อมตะ    มีอมตะเป็นที่สุด    เธอทั้งหลายเจริญมรณัสสติอยู่หรือไม่”
            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว    ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้คืนหนึ่งและวันหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’    ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ในเรื่องนี้    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้วันหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’    ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
            ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ในเรื่องนี้    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้กึ่งวัน    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’    ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
            ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ในเรื่องนี้    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’    ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
            ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ในเรื่องนี้    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’    ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
            ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ในเรื่องนี้    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว    ๔-๕    คำ    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’    ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”
           ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”
            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ในเรื่องนี้    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว    ๑    คำ    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’    ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”

            ภิกษุอีกรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แม้ข้าพระองค์ก็ยังเจริญมรณัสสติอยู่”

            พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุ    เธอเจริญมรณัสสติอย่างไร”
            ภิกษุกราบทูลว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ในเรื่องนี้    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะหายใจเข้าหายใจออก    หรือหายใจออกหายใจเข้า    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ข้าพระองค์เจริญมรณัสสติอย่างนี้แล”

            เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้คืนหนึ่งและวันหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

            ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้วันหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้กึ่งวัน    เราพึงมนสิการถึงคำของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

            ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

            ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะฉันบิณฑบาตครึ่งหนึ่ง    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

            ภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว    ๔-๕    คำ    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

            ภิกษุทั้งหลาย    เรากล่าวว่าภิกษุทั้ง    ๖    รูปนี้    ยังเป็นผู้ประมาทอยู่    เจริญมรณัสสติอย่างเพลาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย


            ภิกษุทั้งหลาย    ส่วนภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะเคี้ยวกินคำข้าว    ๑    คำ    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเราพึงทำกิจให้มากหนอ’

            และภิกษุรูปที่เจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า    ‘โอหนอ    เราพึงเป็นอยู่ได้เพียงชั่วขณะหายใจเข้าหายใจออก    หรือหายใจออกหายใจเข้า    เราพึงมนสิการถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาค    เราพึงทำกิจให้มากหนอ’

            ภิกษุทั้งหลาย    เรากล่าวว่าภิกษุทั้ง    ๒    รูปนี้เป็นผู้ไม่ประมาทอยู่    เจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย


            เพราะเหตุนั้นแล    เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า    ‘เราทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่    จักเจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย’
            ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล”
               ปฐมมรณัสสติสูตรที่ ๓ จบ




ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.tumsrivichai.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 09:22:25 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
มรณัสสติ ไม่ได้เหมาะแก่ บุคคลที่ไม่ใช่ ภิกษุ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 09:47:33 am »
0
จะเห็นได้ว่า การเจริญ มรณานัสสติในแนวทางการเตือนใจ เตือนจิตนั้น ( แบบปัญญาวิมุตติ )

  พระพุทธเจ้า พระองค์ ไว้ 2 ประการ คือ

      1.เจริญมรณัสสติอย่างเพลาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
 
          มีการกล่าวนึกถึง จากพระภิกษุ 6 ประการ คือ
              1.นึกถึงความตาย ว่า เราจักมีชีวิตอยู่เพียง วันและคืน พึงรีบทำความเพียร
              2.นึกถึงความตาย ว่า เราจักมีชีิวิตอยู่เพียง วัน พึงรีบทำความเพียร
              3.นึกถึงความตาย ว่า เราจึกมีชีวิตอยู่เพียง กึ่งวัน พึงรีบทำความเพียร
              4.นึกถึงความตาย ว่า เราจักมีชีวิตอยู่เพียง ชั่วขณะแห่งบิณฑบาตร พึีงรีบทำความเพียร       
              5.นึกถึงความตาย ว่า เราจักมีชีวิตอยู่เพียง ชั่วขณะแห่งฉันบิณบาตร พึงรีบทำความเพียร
              6.นึกถึงความตาย ว่า เราจักมีชีิวิตอยู่เพียง ชั่วขณะแห่งการฉันภัตร 3 - 4 คำ พึงรีบทำความเพียร
        นึกถึงขนาดนี้ ยังชื่อว่า ประมาท ยังไม่เป็นปัญญาวิมุตติ แต่ ยังถือว่าดี ยังมีอุปนิสัย ในนิพพาน
     2.เจริญมรณัสสติอย่างแรงกล้าเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
              มีการกล่าวถึง ภิกษุ 2 รูป เป็นแบบอย่างของการเจริญ มรณัสติ

            1.นึกถึงความตาย ว่า เราจักมีชีิวิตอยู่เพียง ชั่วขณะแห่งการฉันภัตร 1 คำ พึงรีบทำความเพียร
            2.นึกถึงความตาย ว่า เราจักมีชีวิตอยู่เพียง ชัวขณะแห่งลมหายใจเข้า หรือ ลมหายใจออก เท่านั้นพึงรึบทำความเพียร
       
            อันนี้เป็นการเจริญมรณัสสติ แบบปัญญาวิมุตติ ที่พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญที่สุด


           
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
มรณัสสติ ไม่ได้เหมาะแก่ บุคคลที่ไม่ใช่ ภิกษุ 2
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 09:57:19 am »
0
ทำไมจึงกล่าวว่า มรณัสสติ ไม่ได้เหมาะกับบุคคลที่มิใช่ ภิกษุ

  ด้วยเหตุ ว่า ธรรมเรียกว่า มรณัสสติ นั้นไม่ได้มีไว้แค่นึก แล้ว ก็จบ

   คนส่วนใหญ่ นึกถึง มรณัสสติ เพื่ออะไร ? เพื่อ...... ( หาเหตุผลกันเอาเองก็แล้วกัน )

  แต่ มรณัสสติ เมื่อนึกถึงแล้ว ต้องจบลง ด้วย การปรารภความเพียร อันนี้จะถูกทาง
 
  แล้ว การปรารภ ความเพียร มีเพื่ออะไร ? ( นี้คือปัญหา และ ปัญญา ที่ควรทำความเข้าใจ )

  ดังนั้นมีคนระลึก นึกถึงความตายมีมาก และ ทุกคนก็รู้ว่าตัวเอง ก็จะต้องตาย การระลึกอย่างนี้ ไม่ใช่ มรณัสสติ เป็นเพียงคำปลอบใจ เพราะมรณัสสติ มิได้ส่งผลให้เธอมาคลายความลำบากใจ แต่ส่งเสริม การปรารภความเพียร

   ปรารภความเีพียร เพื่อ พระนิพพาน ( ตอบแบบกำปั้นทุบดิน ) ..... การปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรมของปุถุชน ที่จะทราบได้เพราะปุถุชน ยังไม่แจ้งด้วยดวงตาเห็นธรรม คือ เห็นในอริยสัจจะทั้ง 4 ดังนั้น ธรรมเรียกว่า มรณานุสสสติ หรือ มรณัสสติ นั้น มีขึ้นแจ่มใส เด่นชัด ที่พระโสดาบัน ต้องไม่ใช่ภิกษุธรรมดาด้วย

  การเจริญมรณัสสติ อาศัยธรรมเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม ดังนั้นในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อนุสสสติ 7 ที่เหลือเรียนต่อ จากพระสุข หรือ พระอานาปานสติ พระกายคตาสติเป็นต้น

   สิ่งสำคัญ วันนี้ท่านทั้งหลาย รู้หรือยังกันว่า

 ท่านทั้งหลายปรารภความเพียรเพื่ออะไร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 10:17:28 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อาตมา ได้ทุ่มเท ทิ้งชีวิต
ด้วยการออกจาริกที่เรียกว่า ธุดงค์ อย่างเอาเป็นเอาตาย ถึงขั้นเกือบตาย มา 4 ครั้ง

  ครั้งแรก นอนเป็นไข้อยู่กับที่ ไม่มีใครดูแล 4 วัน 5 คืน ที่สวนโมกขพลาราม ..... ไม่มีแม้แต่น้ำจะฉัน จะิดื่ม ไม่มีเรียวแรงที่จะลุกจากเสื่อที่นอนได้ จนถึงวันที่ 5 เมื่อไข้ทุเลา จึงได้คลานไปดื่มน้ำอย่างทุลักทุเล  ที่ห้องน้ำใกล้ที่สุดพอพักเอาแรง  5 วันนี้ อาตมานึกถึงความตายมากที่สุด เจริญความตายมากที่สุด แต่ก็มิใช่ถูกทาง เพราะระลึกได้แต่ ก้ไม่รู้จะทำอะไรต่อ เมื่อระลึกถึงความตายได้ ไม่รู้จะภาวนาอะไร เพราะใจก็เห็นอยู่แล้ว

    ว่านี่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของเรา อยู่แล้วในขณะนั้น

  ที่จะกล่าวให้ท่านฟัง เพื่อได้เจริญ มรณัสสติได้ถูกทาง การที่จะเจริญ มรณัสสติ ไ้ด้ท่านทั้งหลายต้องรู้ว่า ปรารภความเพีียรเพื่ออะไร  เมื่อท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า ท่านปรารภความเพียรนี้เพื่ออะไร ท่านก็สมควรที่จะเจริญ มรณัสสติ ได้อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

   ไม่ใช่ว่า ระลึกถึงความตายในขณะลมหายใจเข้าออก ได้แต่ ไม่รู้จะทำอะไรต่อ วางสติ อารมณ์ มรรค อย่างไร ถ้าไม่รู้ มรณัสติ ที่ระลึกได้นั้นก็ไม่ได้ผล


   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 27, 2012, 10:37:47 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านมาแล้ว ตั้งแต่ต้น จึงพอจะทราบได้ว่า พระอาจารย์ กำลังชี้ข้อบกพร่องของผู้เจริญ มรณัสสติ ให้ทราบว่าหลังจากได้เจริญ มรณัสสติแล้ว ควรทำอย่างไร เพราะการสำเร็จด้วย มรณัสติ นั้นมิใช่ธรรมเครื่องตรัสรู้ หากแต่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ในขณะนั้น ว่าควรจะปรารภความเพียร อย่างไร ทำอย่างไร


   ขอบคุณมากคะ จะทบทวนเพิ่มเติม คะ อย่างน้อยหัวข้อนี้ก็เป้น หนูคนหนึ่งที่ส่งเป็นคำถามไปที่พระอาจารย์สอบถามการเจริญ มรณัสติ

  สาธุ สาธุ สาธุ   :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ กว่าจะอ่านมาถึงตรงจุดนี้ ก้เป็น ชั่วโมง เลยนะคะ
ขอบคุณพระอาจารย์ ที่มา่ถ่ายทอดธรรมและให้สติ ในการเจริญ มรณัสติ ด้วยคะ


  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเรื่องที่อ่าน ดี เหมือนจี้จุดโดนใจ พอดี เลยครับ

 อนุโมทนา สาธุ กับพระอาจารย์ ที่ยังลงหัวข้อธรรมชี้แนะ อยู่ ครับ


  :25: :25: :25:

บันทึกการเข้า

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอเรียนถามพระอาจารย์ ครับว่า
คนปุถุชน กำหนด มรณัสสติ แล้วไม่ดีหรือครับ ?

เรียนถามด้วยความนับถือครับ

  :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อีกข้อนะครับ

 เรียนถามว่า การปรารภความเพียร ทำอย่างไรครับ หรือ การปรารภความเพียรวิธิปฏิบัติ เป็นอย่างไรครับ

 เรียนถามด้วยความนับถือครับ  ( อยากให้พระอาจารย์แยกตอบคำถาม ด้วยครับ )

  ขอบคุณมากครับ

   :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ตอบ เรื่องการเจริญมรณัสสติของปุถุชชน ทำไม่ได้เพราะ....
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 07:43:59 am »
0
ขอเรียนถามพระอาจารย์ ครับว่า
คนปุถุชน กำหนด มรณัสสติ แล้วไม่ดีหรือครับ ?

เรียนถามด้วยความนับถือครับ

  :25: :25: :25: :c017:

ปุถุชชน คนหยาบประกอบตนเองด้วยกิเลส ไม่สามารถเจริญ มรณัสสติได้ เพราะเหตุ 2 ประการ คือ

    1. เมื่อเจริญ มรณัสติ ก็ย่อมมีจิตตก เพราะกรรมชั่วที่เคยทำมา เรียกว่า ความกลัวแต่บาป เมื่อเจริญ มรณัสสติ ย่อมส่งผลให้ใจตก จิตเศร้าหมอง เพราะกรรมชั่วที่เคยได้สร้าง หรือสั่งสมไว้ ทำให้จิต กระพือ หาเรื่องตอบสนองในทางที่ผิด กลายเป็นบุคคลที่กล้าทำในสิ่งที่ไม่ดี       

    2.เมื่อเจริญ มรณัสสติ ก็ย่อมมีจิตตก เพราะกรรมดีที่เคยทำ เรียกว่า ความอาลัยต่อกุศล เมื่อเจริญ มรณัสสติ ย่อมส่งผลให้เกิดความอาลัย อาวรณ์ห่วงหา เพราะกรรมดีที่เคยสั่งสมไว้ ทำให้จิตเศร้าหมอง เกิดปลิโพธ กังวลกับ เรื่องต่าง ๆ รอบด้าน เหมือนคนที่รู้ว่าตัวเองจะตายในวันนี้ ก็พยายามทำอะไรให้ดีแก่คนรอบข้าง   

    สรุป ก็คือ ปุถุชชน ที่เจริญ มรณัสติ แล้วไม่ได้ปรารภความเพียร จิตจะตกข้างฝ่าย กุศล ก็คือ อาลัย ข้างฝ่าย อกุศล ก็คือ ความกลัว ดังนั้นผู้ที่เจริญ มรณัสติจึงควรมีเป้าหมายในพระพุทธศาสนา เสียก่อน เพื่อที่จะได้ปรารภความเพียร เพื่อเป้าหมายนั้น 

เจริญธรรม


    ;)
Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 09:00:23 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปรารภความเพีียร คือ .... ( คำตอบสั้น ๆ )
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 07:48:36 am »
0
อีกข้อนะครับ

 เรียนถามว่า การปรารภความเพียร ทำอย่างไรครับ หรือ การปรารภความเพียรวิธิปฏิบัติ เป็นอย่างไรครับ

 เรียนถามด้วยความนับถือครับ  ( อยากให้พระอาจารย์แยกตอบคำถาม ด้วยครับ )

  ขอบคุณมากครับ

   :c017: :25: :25: :25:
จะตอบสั้น ๆ ในหัวข้อนี้ นะจ๊ะ เพราะเดี๋ยวจะมีโพสต์ เรื่องนี้ต่างหากอีกหัวข้อ

การปรารภความเพียร คือ อะไร ?

         การปรารภความเพียร ก็คือ การปฏิบัติกรรมฐาน ไปสู่เป้าหมายที่ได้ตั้งไว้


  เจริญธรรม

 
 ;)

Aeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 08:05:17 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ส่วนเรื่องการปรารภความเพียร ให้อ่านที่หัวข้อนี้เพิ่มเติม นะจ๊ะ

ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6780.0


เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

inlove

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


ชอบภาพนี้ คะ มีคำที่รู้สึกโดนใจมากเลยคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบ วิธีปฏิบัติแบบ เจโตวิมุตติ ครับ ว่าทำอย่างไร ?
ขอความกรุณาแจกธรรม ส่วนนี้เพิ่มได้หรือไม่ครับ ?

ขอบพระคุณพระอาจารย์ล่วงหน้าครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า