ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ  (อ่าน 6129 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2010, 07:19:49 am »
0
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต - หน้าที่ 35

   วสสูตรที่ ๑
     [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ย่อมยังจิตให้เป็นไป
ในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑
ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดรู้ในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล
ย่อมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต ฯ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2011, 10:34:20 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
การจัดหมวด แห่ง สมาธิ 10 หมวด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2011, 10:50:51 am »
0
 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๘ - ๑๑๒๙.  หน้าที่  ๔๕ - ๔๖.

[๙๒] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณอย่างไร

สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต

สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑

สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑

สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑
              สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑

สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑
       สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑

สมาธิ ๖ คือ สมาธิคือ เอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถพุทธานุสสติ ๑
                        ธรรมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑
                        จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑

สมาธิ ๗ คือ  ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
              ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑
              ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑
              ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑

สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑
        เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑ นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑

สมาธิ ๙ คือ  รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ อรูปาวจรส่วนเลว๑
               ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑ สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑
               อัปปณิหิตสมาธิ ๑

สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถอัทธุมาตกสัญญา ๑
               วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑ วิกขายิตกสัญญา ๑
               วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑  โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑
               อัฏฐิกสัญญา ๑ 

  สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๐ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 19, 2011, 10:56:30 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ ประการ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 19, 2011, 10:55:20 am »
0
 เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๘ - ๑๑๒๙.  หน้าที่  ๔๕ - ๔๖.
 

[๙๓] อีกอย่างหนึ่ง สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิ ๒๕ ประการ คือ

สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑
เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑
เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์๑
เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑
เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป ๑
เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑
เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส ๑
เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑
เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะแสวงหาความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่าปฏิบัติสงบ ๑ เพราะอรรถว่าไม่ปฏิบัติไม่สงบ ๑
เพราะปฏิบัติสงบแล้ว ๑ เพราะไม่ปฏิบัติไม่สงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่าเพ่งความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะเพ่งความสงบแล้ว ๑
เพราะเผาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่าเป็นธรรมสงบ เป็นสภาพเกื้อกูลและนำสุขมาให้ ๑


สภาพในความเป็นสมาธิแห่งสมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๒๕ ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่าปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ดี เป็น

สมาธิภาวนามยญาณ ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 20, 2011, 08:55:09 am »
0
ขอบคุณพระอาจารย์ ที่รื้อ เรื่อง เกี่ยวกับสมาธิ มาปูพื้นฐาน ให้ครับ
ผมคิดว่า ถ้าทุกคนอ่าน ตรงส่วนนี้ดี ก็จะได้ไม่ไปพูด กันผิด ๆ ในเรื่องสมาธิ ครับ
 นับว่ามีประโยชน์ มากครับ

  สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

malee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 21, 2011, 01:54:20 pm »
0
อ้างถึง
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑
ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ ๑
ฉลาดรู้ในอารมณ์แห่งสมาธิ ๑
ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ ๑

อยากให้พระอาจารย์ หรือ ทีมมัชฌิมา ช่วยอธิบาย 7 ประการนี้ ด้วยคะ ตอนนี้มีความสนใจในเรื่องกรรมฐานคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 22, 2011, 11:24:15 am »
0
เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑

 หมายถึง เป็นผู้เข้าใจในลำดับของพระกรรมฐาน อะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลัง และอะไรควรทำ และอะไรไม่ควรทำ

 สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ก็คือ ลำดับของพระกรรมฐาน นะจ๊ะ เบื้องต้นถ้าเข้าใจในลำดับพระกรรมฐาน ก็คือ ฉลาดในสมาธิ ฉลาดในองค์แห่งสมาธิ

สมาธิเพราะอรรถว่าอันสัทธินทรีย์เป็นต้นกำหนดถือเอา ๑
เพราะอรรถว่าอินทรีย์เป็นบริวารแห่งกันและกัน ๑
เพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นต้นบริบูรณ์๑

ในการเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ก็คือ กำลังแห่งศรัทธา ในการภาวนาอันนี้เป็นสำคัญ และเหตุปัจจัยที่จะทำให้สมาธิมีได้จริง


 เจริญธรรม

;)

Aeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2011, 11:27:48 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธันวาคม 23, 2011, 12:23:47 pm »
0
ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
การฉลาดในการเข้าสมาธิ คือการเดินจิต ในองค์ แห่งสมาธิ คือ
องค์แห่ง วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา อุเบกขา
สำหรับศิษย์กรรมฐาน ก็คือการเจริญในสมาธิ ในห้องต่าง ๆ ตามลำดับพระกรรมฐาน



เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เป็นอันเดียว ๑
เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ๑
เพราะอรรถว่าไม่แส่ไป ๑
เพราะอรรถว่าไม่ขุ่นมัว ๑
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว ๑
เพราะอรรถว่าหลุดพ้นจากกิเลส ๑
เพราะความที่จิตตั้งอยู่ด้วยสามารถความตั้งมั่นในความเป็นจิตมีอารมณ์เดียว ๑
เพราะอรรถว่าแสวงหาความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะแสวงหาความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่แสวงหาธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑
เพราะอรรถว่ายึดมั่นความสงบ ๑
เพราะอรรถว่าไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบ ๑
เพราะยึดมั่นความสงบแล้ว ๑
เพราะไม่ยึดมั่นธรรมอันเป็นข้าศึกแก่ความสงบแล้ว ๑


ความฉลาดในการเข้าสมาธิ ก็คือ การปล่อยวางทางจิต การปล่อยวางทางจิต ก็สงบระงับกิเลสในเบื้องต้นนั่นก็คือการระงับ นิวรณ์ 5 เบื้องต้นก่อน เพราะระงับนิวรณ์ ทัง 5 เบื้องต้นได้ จิตแจ่มใสมองเห็นธรรมได้
เจริญธรรม
 

 ;)
Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

paitong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 103
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธันวาคม 24, 2011, 11:02:33 pm »
0
อยากให้พระอาจารย์ อธิบายให้มากกว่า หรือ ใส่เสียงบรรยาย เลยก็ได้ครับ
ติดตามเรื่อง สมาธิ อยู่ครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ธรรม 7 ประการของผู้ฝึกสมาธิ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 15, 2012, 02:39:46 pm »
0
แนะนำให้อ่านจ้า
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม