ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘วัฒนธรรมสำนึกผิด’ ที่ไทยต้องเรียนรู้.!!  (อ่าน 6810 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

‘วัฒนธรรมสำนึกผิด’ ที่ไทยต้องเรียนรู้.!!
ไลฟ์สไตล์ : โดย...มีนา

จากเหตุเรือเฟอร์รีเซวอลของเกาหลีใต้ล่ม สอนใจเราได้หลายๆ อย่าง เช่น การแสดงความรับผิดชอบและสำนึกผิดจากจดหมายลาตายของรองครูใหญ่ที่เขียนจดหมายทิ้งไว้ เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้ง จุงฮงวอน นายกรัฐมนตรีเกาหลีใต้ ประกาศลาออก เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อการตอบสนองที่ล่าช้าต่อเหตุการณ์เรือเซวอลล่ม และเพื่อเป็นการขอโทษต่อครอบครัวของผู้ประสบภัย สะท้อนความมี “วัฒนธรรมสำนึกผิด” ที่ไม่มีในบางประเทศ แต่นับเป็นวัฒนธรรมที่ดี ที่น่าเอาเยี่ยงอย่าง

ไม่เพียงแต่ในเกาหลีเท่านั้นที่มี “วัฒนธรรมสำนึกผิด” ที่ญี่ปุ่นประเทศมหาอำนาจก็คุ้นชินกับความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมเช่นนี้ ทำให้ประเทศของเขาเจริญรุดหน้าไปได้มาก เนื่องจากหากคนในประเทศมีความละอายต่อบาปแล้ว ปัญหาคอร์รัปชั่นก็จะน้อยลงมาด้วย

อะไรทำให้ทั้งสองประเทศสามารถอบรมให้ประชาชนในชาติมีความรู้สึกนึกคิดและมีวัฒนธรรมสำนึกผิดเช่นนี้ “โพสต์ทูเดย์” ได้สัมภาษณ์ ศ.ดร.ฮันนูลี ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเกาหลีที่พำนักในเมืองไทยนาน 17 ปีแล้ว และ ผศ.ดร.สมชาย สำเนียงงาม คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เคยไปใช้ชีวิตในเกาหลีมาช่วงระยะเวลาหนึ่งได้วิเคราะห์ว่า “วัฒนธรรมสำนึกผิด” ของชนชาวเกาหลีและให้ทัศนะเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องย้อนไปดูให้ลึกถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติ การเลี้ยงดูในครอบครัว บริบททางสังคม การนับถือศาสนา และระบบการศึกษาที่หล่อหลอมประชาชนในชาติมายาวนาน ซึ่งหากสังคมไทยปลูกวัฒนธรรมดีๆ เหล่านี้บ้าง สังคมก็คงน่าอยู่มากยิ่งขึ้น


 ans1 ans1 ans1

‘วิถีชีวิตคนเกาหลีเคร่งครัดระเบียบวินัย’
ศ.ดร.ฮันนูลี อาจารย์ผู้สอนภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วัย 69 ปี เล่าถึงวิถีชีวิตของคนเกาหลี คือลูกจะเป็นเสาหลักของครอบครัว พ่อแม่ส่งเสริมให้ลูกเรียนหนังสือให้สูงที่สุด ลูกชายคนโตมีหน้าที่รับใช้พ่อแม่ยามแก่เฒ่า และพ่อแม่จะแบ่งทรัพย์สมบัติให้ลูกชายคนโตมากที่สุด เพราะค่าที่ต้องเลี้ยงดูพ่อแม่


 :sign0144: :sign0144: :sign0144:

เคารพกฎหมายและผู้อาวุโส
ในครอบครัวพ่อแม่ถือเป็นต้นแบบอบรมเลี้ยงดูลูกตามนิสัยส่วนตัวของลูก มีการเคารพกฎที่เคร่งครัดภายในครอบครัวคือ เวลารับประทานอาหาร เมื่อพ่อแม่ตักอาหารแล้ว ลูกจึงจับช้อนและตักอาหารรับประทานได้ เมื่อเดินผ่านผู้ใหญ่ต้องก้มหลัง แม้ยุคสมัยเปลี่ยนไป แต่ก็ยังยึดถือขนบธรรมเนียมนี้อยู่

วิธีการปลูกฝังให้เด็กๆ เกาหลีมีความรับผิดชอบและเชื่อฟังคำสั่งสอนมากๆ และต้องเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ทั้งในโรงเรียนและในออฟฟิศ เช่น ต้องพูดครับบอสลงท้ายตลอดเวลาที่พูดกับหัวหน้า เมื่อถึงเวลาเลิกงาน หากเจ้านายยังไม่กลับลูกน้องห้ามกลับบ้านก่อนเจ้านายโดยเด็ดขาด แต่เวลาเริ่มงานห้ามลูกน้องมาสายกว่าเจ้านาย สิ่งเหล่านี้สะท้อนสังคมเกาหลีเคร่งครัดเรื่องระเบียบวินัยที่เข้มงวด

“ข้ามถนนถ้ามีทางม้าลายจึงจะข้ามได้ อีกทั้งคนเกาหลีเป็นผู้ที่รักษาเวลาและตรงต่อเวลามาก หากสายเพียง 5 นาทีก็ต้องโทรไปบอกล่วงหน้า คนเกาหลีรักกฎหมายมากๆ ที่เคารพกฎเพราะเป็นคำสอนตั้งแต่เด็ก เป็นค่านิยมที่ทุกคนต้องปฏิบัติตาม ทำผิดกฎหมายไม่ได้ ต้องโดนปรับทันที ซึ่งค่าปรับแพงมากหลายหมื่นวอน ทำให้คนไม่กล้าทำผิดกฎหมาย แต่สำหรับการคอร์รัปชั่นในการเมืองนั้น แม้ไม่ถูกจับได้ขณะที่อยู่ในตำแหน่ง แต่หากสังคมมารู้และถูกเปิดเผยภายหลัง คนคนนั้นจะถูกดูถูกจากสังคม เพราะคนในสังคมไม่ยอมรับในเรื่องการคอร์รัปชั่นเลย ใครติดสินบนก็ไม่ได้ ถ้ารู้ครอบครัวนั้นจะโดนดูถูก ถึงกับเข้ามาอยู่ในสังคมไม่ได้เลย”



รับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเอง
ในสังคมเกาหลีแต่ละคนจะรู้จักและเคารพหน้าที่ของตัวเอง เช่น เป็นคุณครูก็ต้องทำหน้าที่สอนนักเรียนของตัวเองให้ดีที่สุด แต่ปัจจุบันค่านิยมชาวเกาหลีเปลี่ยนไป ด้วยการแข่งขันให้ได้เรียนในโรงเรียนที่ดีที่สุดในจังหวัดนั้นๆ เพื่ออนาคตที่สดใสในวันหน้า ทำให้เด็กเกาหลีคร่ำเคร่งกับการเรียนกวดวิชาภายนอกโรงเรียน ซึ่งเป็นความรู้สึกผิดของครูในโรงเรียนที่ไม่สามารถสอนเด็กๆ ได้เต็มที่ที่จะส่งให้เด็กๆ เข้าสู่มหาวิทยาลัยที่เขาต้องการได้

“ปัจจุบันเด็กนักเรียนเน้นการเรียนหนังสือในโรงเรียนกวดวิชามากกว่าเรียนในโรงเรียน และครูในโรงเรียนจะรู้สึกผิด เพราะเขาคิดว่าเขาทำหน้าที่ไม่ดีหรือ อย่างหากมีคำถามไหนที่เด็กถามแล้วครูตอบไม่ได้ คุณครูก็จะขอโทษศิษย์และก็ต้องเป็นการบ้านทั้งครูและศิษย์ที่จะต้องไปหาคำตอบนั้นร่วมกันให้ได้ อีกทั้งครูต้องพิจารณาตนเองว่าทำงานได้เต็มที่หรือเปล่า ทำไมเด็กไปโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งยุคนี้เป็นแบบนี้ แต่คุณครูไม่ถึงกับลาออก”

 :03: :03: :03:

แต่วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่บ่มเพาะคนในชาติเมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย คือ มนุษยสัมพันธ์นำหน้ากว่าความสามารถของตัวเอง กล่าวคือใครรู้จักคนเยอะก็ก้าวหน้ากว่าคนเรียนเก่ง เช่น เป็นญาติกับประธานบริษัทก็สามารถเลื่อนตำแหน่งได้เร็วกว่า

“ผมคิดว่าคนทำผิดจริงก็ควรลาออกทันที อีกทั้งมนุษย์เราต้องมีความยุติธรรม เสมอภาค ทุกตำแหน่งควรมีความสำคัญเท่ากัน

ประชาชนชาวเกาหลีทุกคนคิดเสมอว่า เราต้องมีความรับผิดชอบต่องานของตนเองที่ได้รับมอบหมาย หากว่ามีบุคคลผู้ใดในบริษัทและหน่วยงานราชการยังทำงานไม่เสร็จตามหน้าที่ที่รับผิดชอบภายในเวลาที่ปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ ก็ต้องทำงานให้เสร็จก่อนที่จะกลับบ้าน ทำเสร็จแล้วจึงกลับบ้านได้ ดังนั้นคนเกาหลีจึงมีความรับผิดชอบต่องานนั้นสูงมาก” ศ.ดร.ฮันนูลี กล่าว



‘วัฒนธรรมแต่ละประเทศมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน’
ผศ.ดร.สมชาย สำเนียงงาม คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ในฐานะที่เคยไปสอนวิชาภาษาไทยในมหาวิทยาลัยฮันกุ๊ก ประเทศเกาหลี อาจารย์สมชายเห็นวิถีชีวิตของชาวเกาหลีที่ให้ความสำคัญกับหน้าที่รับผิดชอบของตนเองเป็นอย่างมากจนกลายเป็นวัฒนธรรมความรับผิดชอบ สำนึกผิด และไม่คดโกง อีกสิ่งหนึ่งคือคนเกาหลีจะให้ความสำคัญกับการมีหน้าตาในสังคมมากๆ จนมีสำนวนเกาหลีบทหนึ่งกล่าวว่า การเสียทรัพย์สินเป็นการเสียส่วนหนึ่งของชีวิต การเสียชื่อเสียงเป็นการเสียครึ่งหนึ่งของชีวิต การเสียสุขภาพเป็นการเสียทั้งหมดของชีวิต เลยทีเดียว


 :32: :32: :32:

แคร์เรื่องชื่อเสียงและหน้าตา
วัฒนธรรมสำนึกผิด รับผิดชอบต่อตนเองและสังคมส่วนหนึ่งอาจมาจากระบบการศึกษาที่ไทยและเกาหลีมีนั้นไม่แตกต่างกัน เพราะต่างก็สอนวิชาศีลธรรม จริยธรรม และความกตัญญูที่ปลูกฝังกันมาช้านาน สังเกตจากนิทานสอนความกตัญญูต่อพ่อแม่ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ส่วนความรับผิดชอบมาจากการปลูกฝังภายในบ้าน พ่อแม่ให้ลูกดูแลตัวเอง แต่ผู้มีฐานะก็สปอยลูกเหมือนกัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมการเลี้ยงดูที่คล้ายๆ กัน

แต่สิ่งที่สอนให้ชาวเกาหลีมีความรับผิดชอบมากกว่า อาจเป็นเพราะประวัติศาสตร์ความเป็นชาติของเกาหลีที่ต้องผจญกับสงครามการต่อสู้เพื่อดำรงอยู่ที่แทรกซึมอยู่ในสายเลือดของชาวเกาหลี ทำให้เกาหลีสอนให้เด็กแข่งขันกันมากกว่าคนไทย การแข่งขันด้านการศึกษาของเกาหลีจึงเข้มข้นมากๆ เช่น มีมหาวิทยาลัยรัฐที่ดีที่สุดคือ โซล ยูนิเวอร์ซิตี้ เด็กๆ ที่เรียนสายสามัญก็ทำทุกอย่างทั้งติวเข้มเพื่อให้ได้เรียนที่นี่ เพราะหมายถึงอนาคตที่จะได้เข้าทำงานในบริษัทชั้นนำของประเทศต่อไป

 :s_hi: :s_hi: :s_hi:

“คนเกาหลีจะเน้นชื่อเสียงและความมีหน้ามีตา ใครจบมหาวิทยาลัยดีๆ ก็จะสามารถเข้าทำงานในบริษัทดีๆ ได้ เด็กจึงมีความรับผิดชอบต่อตัวเอง เพราะชีวิตมีการแข่งขันกับตัวเองสูงมากๆ เด็กจะมุ่งมั่นด้านการเรียน ทำให้เด็กมีความรับผิดชอบ ของเราก็มีความรับผิดชอบ ผมคิดว่าการหล่อหลอมคนคนหนึ่งไม่ได้มาจากระบบใดระบบหนึ่ง แต่เราต้องมีกระบวนการขัดเกลาทางสังคมด้วย เพื่อทำให้คนหนึ่งคนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เช่น พ่อแม่ปลูกฝังความคิดความเชื่อ โรงเรียนช่วยขัดเกลา ออกจากโรงเรียน สังคมโดยรวมช่วยขัดเกลา รวมทั้งสื่อมวลชนช่วยขัดเกลาอีกแรงด้วย คนเกาหลีผ่านขั้นตอนเหล่านี้มามาก แต่เอกลักษณ์ของชนในชาติที่โดดเด่นคือ คนเกาหลีห่วงชื่อเสียงมากๆ”

เพราะชื่อเสียงคือครึ่งหนึ่งของชีวิต ใครทำผิด เสียชื่อเสียง คนเกาหลีจะรู้สึกบาป ละอายกับเรื่องนี้มากๆ แต่คนไทยก็มีความรับผิดชอบต่อสังคมแต่ไม่ลึกซึ้ง เพราะคนไทยเรามีทั้งสำนวน สุภาษิต คำพังเพยไทยในเรื่องของการ “ให้อภัย” เช่น คนล้มอย่าข้าม สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง เมื่อเรามีความคิดแบบนี้ในใจ คิดว่าทำอะไรผิดสังคมให้อภัย และเราไม่ได้เน้นเรื่องชื่อเสียง ซึ่งแตกต่างจากคนเกาหลีที่คำนึงทั้งชื่อเสียงผนวกกับหน้าตา สังเกตจากศิลปินนักร้องเกาหลีใครเมาแล้วขับ ชาวเกาหลีแท้ๆ จะขับไล่ออกจากวงการเลย อีกทั้งสังคมก็จะบีบ สังคมประณาม หากใครทำผิดฉันชู้สาว ใครรู้คนจะประณามจนอยู่ไม่ได้ ทำให้สังคมเกาหลีมีอัตราฆ่าตัวตายสูงมาก เพราะส่วนหนึ่งมาจากความอาย กลัวชื่อเสียงหายไป

“ดูอย่างเหตุการณ์เรือเซวอลล่ม รองครูใหญ่ที่พาเด็กๆ ไป ตัวเองรู้สึกบาป ผนวกกับจริยธรรมในใจ ผูกกับชื่อเสียงความมีหน้ามีตา ก็คิดว่าตายดีกว่า ดีกว่าอยู่แล้วคนประณาม แต่ไม่ได้หมายถึงคนไทยไม่อาย แต่มันมีความให้อภัยสูง ทำให้สังคมไทยสงบสุข แต่ก็ทำให้คนทำผิดซ้ำอยู่นั่น”



ยกย่องเคารพผู้สูงอายุ
สังคมเกาหลีให้ความสำคัญต่อผู้อาวุโสสูงมากๆ แม้เทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนในการดำรงชีวิตของชาวเกาหลีแล้วก็ตาม เหตุการณ์ที่อาจารย์สมชายพิสูจน์เห็นแล้วคือ บนรถไฟเด็กๆ ชั้นมัธยมคุยกันเสียงดัง สักพักมีคุณตาท่านหนึ่งเดินมาตักเตือนเด็กๆ ว่าอย่าเสียงดัง เด็กๆ ก็สำนึกผิด ก้มศีรษะทำความเคารพ แม้คล้อยหลังไปจะหัวเราะบ้างเล็กน้อย แต่เสียงก็ดังน้อยลง สะท้อนว่าผู้สูงอายุชาวเกาหลีก็ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วย หากผู้ใหญ่ทำอะไรผิดก็จะรู้สึกผิดบาป ทั้งละอายต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม ผู้อาวุโสจึงต้องมีความรับ


 :96: :96: :96:

รับผิดชอบเต็มที่
“คนเกาหลีในออฟฟิศเจ้านายยังไม่กลับ ทุกคนในออฟฟิศห้ามกลับแต่คนไทยไม่ได้นับถือระบบอาวุโส แม้มีแต่ก็น้อย เมื่อหัวหน้ามีอำนาจมากๆ ดังนั้นหน้าที่รับผิดชอบต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกน้องหัวหน้าทำผิดก็จะอายเป็นสามเท่าอีกทั้งคนชาวเกาหลีมีความซื่อสัตย์สูงมาก สังเกตจากตำราเกาหลีผูกกับความเป็นชาติการสร้างชาติ กว่าเกาหลีจะเป็นชาติได้ต้องถูกรุกรานจากจีนต้องสู้รบดิ้นรนจนเกิดวีรบุรุษ วีรสตรีชาวเกาหลีมากมายเขาเป็นชาติได้เพราะพวกเขาต่อสู้เพื่อประเทศชาติ เขาต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดทำดีไม่คดโกง แต่บุคลิกภาพคนไทยรักความสบาย

แม้เรามีการต่อสู้เพื่อเป็นอธิปไตยของประเทศชาติบ้าง แต่เราไม่ได้อยู่ในภาวะนั้นนานๆ เกาหลีตกเป็นเมืองขึ้นของจีน 60 ปี แต่ไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ไม่เคยทุกข์ปัจจุบันพ่อแม่ชาวเกาหลีจึงสอนให้ลูกๆ จัดเป้ของตัวเอง แบกของตัวเองปลูกฝังความรับผิดชอบตัวเองตั้งแต่เด็ก ทำให้เขามีระเบียบวินัย อย่างตอนเรือล่มกัปตันเรือบอกให้เด็กอยู่เฉยๆ เด็กก็อยู่เฉยๆ เพราะเด็กๆเชื่อมั่นว่าแต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้เป็นอย่างดี ถ้าเราไปขัดอาจไปขัดขืนการทำงาน อาจทำให้เรื่องยุ่งยากขึ้น คนเกาหลีเขามีระเบียบวินัยมากและเขารู้สึกว่าต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมกันจะไม่มีใครร่าเริงเลยในเหตุการณ์เรือล่มนี้มันเหมือนเป็นหน้าที่ที่เขาต้องแสดงความรับผิดชอบร่วมกันของคนในชาติ”



ศาสนามีส่วนทำให้คนเคร่งครัดต่อความรับผิดชอบ
คนจะมาเป็นครูในมหาวิทยาลัยเกาหลีได้ต้องศึกษาจบปริญญาเอกทางด้านการสอน และต้องมีผลการเรียนที่ดีเท่านั้น นอกจากการศึกษาแล้ว การนับถือศาสนาก็มีส่วนบ่มเพาะ ส่วนใหญ่คนเกาหลีนับถือขงจื๊อร้อยละ 51นอกนั้นนับถือศาสนาอื่นๆ ซึ่งศาสนาขงจื๊อสอนให้ผู้นับถือมีความรับผิดชอบ สำนึกผิดทบทวน และตรวจสอบอีกทั้งขงจื๊อยังสอนเรื่องการแบ่งหน้าที่สำหรับผู้หญิงผู้ชายชัดเจน แต่จะศาสนาพุทธหรือขงจื๊อ ก็สอนให้คนเป็นคนดีและเกรงกลัวต่อบาปทั้งนั้น

“คนเกาหลีเวลาเดินเหยียบเท้ากันบนถนนหรือบนรถไฟเขาจะไม่ขอโทษกัน เพราะเกาหลีพื้นที่มีน้อย วันหนึ่งๆ เขาต้องพูดเป็นพันครั้งถ้าเหยียบเท้าแล้วต้องขอโทษกัน เขาจะยอมรับผิดก็ต่อเมื่อเขารู้สึกผิดจริงๆ เช่น มาโรงเรียนสาย ถ้าเขาผิดเขาจะก้มศีรษะกล่าวคำขอโทษอยู่แบบนั้น วกกลับเรื่องศาสนา บ้านเราตีความศาสนาผิด ศาสนาบอกว่า ให้เดินสายกลาง ไม่น้อยมากเกินไป มีอะไรให้ละวางอุเบกขา ปล่อยวาง แต่คนไทยอาจจะตีความว่า อาจไม่ทำอะไรสุดโต่ง พออยู่ได้ ไม่ต้องคิดอะไรมาก อยู่กันไปแบบไม่มีกฎระเบียบ หย่อนยานไป แต่เกาหลีต้องทำหน้าที่ของตนเองให้เป็นเลิศ”


 :25: :25: :25:

วัฒนธรรมแต่ละประเทศก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน
หากอยากสอนให้เด็กไทยรู้จักคำว่าวัฒนธรรมสำนึกผิด สถาบันครอบครัว พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักรับผิดชอบตัวเองก่อนอันดับแรก ดูแลจัดการชีวิตตนเองให้ได้ เช่น จัดตารางสอนเป็น แล้วค่อยๆ ขยายให้รู้จักหน้าที่ภายในบ้าน เช่น ดูแลปู่ย่าตายาย เมื่อถึงวัยต้องไปโรงเรียนคุณครูก็จะช่วยสอนกล่อมเกลาอีกทางหนึ่ง เด็กจะได้มีสำนึกช่วยเหลือตัวเอง และต้องสอดแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เมื่อเด็กโตขึ้นอยู่ในสังคมซึ่งเป็นเสมือนโลกจริงได้ และผู้ใหญ่ในสังคมก็ต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีด้วยทั้งระดับจุลภาคและมหภาค เด็กไทยจะได้ซึมซับสิ่งดีๆ ไป

“เราไม่สามารถนำวัฒนธรรมของใครไปเปรียบเทียบกันได้ เพราะวัฒนธรรมเป็นเรื่องวีถีชีวิตของคนในสังคมที่ตกลงกันแล้ว แต่คนไทยก็เริ่มดีขึ้น เพราะรู้จักการเข้าคิว หากเราอยากได้วัฒนธรรมเกาหลีเราก็ต้องตกลงกันใหม่ อย่าคิดว่าวัฒนธรรมของเขาดี ของเราเลว ของเราก็มีดี คนไทยเราอาจขาดจิตสำนึกในบางเรื่อง ก็ต้องเรียนรู้กันไป”


ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.posttoday.com/ไลฟ์สไตล์/ไลฟ์/294449/‘วัฒนธรรมสำนึกผิด’-ที่ไทยต้องเรียนรู้-
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ‘วัฒนธรรมสำนึกผิด’ ที่ไทยต้องเรียนรู้.!!
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2014, 04:38:55 pm »
0
 :c017: thk56
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ