ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กาฬกัณณิชาดก-ชาดกว่าด้วยมิตร  (อ่าน 1747 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กาฬกัณณิชาดก-ชาดกว่าด้วยมิตร
« เมื่อ: กันยายน 20, 2015, 03:51:41 pm »

กาฬกัณณิชาดก-ชาดกว่าด้วยมิตร


 ตลอดพระชนม์ชีพแห่งพระพุทธศาสดานั้น สถานที่ที่พระพุธเจ้าทรงจำพรรษาเพื่อเทศนาโปรดสาธุชนเป็นเวลานานปีที่สุด ก็คือที่พระเชตวันมหาวิหาร

ซึ่งกล่าวกันว่าท่านอาณาถบิณฑิกเศรษฐีต้องซื้อที่ดินมาปลูกสร้างด้วยการด้วยการเอาแผ่นทองคำปูลาดอาณาเขตพระอารามนั้นที่เดียว
 ซึ่งด้วยเหตุนี้เองจึงมีข้อธรรมอันเกี่ยวข้องกับเศรษฐีผู้เป็นองค์อุปถัมภ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาท่านนี้ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกอยู่เสมอ

และข้อธรรมคำสอนหลายข้อ ก็เกี่ยวข้องท่านผู้นี้อยู่ไม่น้อยเช่นกัน ดังเหตุแห่งการสาทกเทศนาคราหนึ่ง อาณาถบิณฑิกเศรษฐีได้กราบทูล
 เรื่องสหายเก่าที่ท่านอุปการะไว้ท่ามกลางความริษยาของบริวารในบ้าน สหายเก่าท่านนี้ได้รับความเกลียดชังจากบริวารในบ้าน เพราะเป็นผู้ดี

ตกยากมาและชื่อเสียงยังไม่เป็นมงคล “สหายท่านนี้ได้ทุ่มเทช่วยเหลือจนข้าพระพุทธเจ้าให้พ้นภัยจากโจรมาได้
 แม้เหล่าบริวารจะไม่ชอบ แต่หม่อมฉันก็ไม่อาจละทิ้งสหายผู้นี้ได้พระเจ้าค่ะ เมื่ออาณาถบิณฑิกเศรษฐีเล่าเรื่องราวถวายจนจบแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตรัสว่า “ดูก่อนคฤหบดีมิใช่แต่บัดนี้เท่านั้นที่มิตรเก่ารักษาทรัพย์ในเรือนไว้ให้ในอดีตชาติก็เคยเกื้อกูลต่อกันมาแล้ว”
 เมื่อท่านเศรษฐีกราบทูลอาราธนาจึงทรงตรัสเล่าเรื่อราวว่าด้วยมิตรแท้ กาฬกัณณิชาดกขึ้นดังนี้ ในอดีตชาติหนึ่งยังมีกุลบุตรในตระกูลดี คบหากัน

เป็นสหายรัก ร่วมกินร่วมเล่นกันจนเติบโตขึ้นก็ได้ไปเรียนในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ด้วยกัน
  “ดีนะที่เราเรียนมาด้วยกัน เราจะได้ไม่เหงามีเพื่อน” “นั้นนะซิ มีอะไรจะได้ช่วยเหลือกันได้ คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อตาย” แม้เมื่อจบการศึกษา

ก็ยังสำเร็จมาพร้อมกัน ได้เวลาเดินทางกลับพาราณสีบ้านตนพร้อมๆ กัน
   “บัดนี้พวกเจ้าก็ศึกษาเล่าเรียนจนจบแล้ว พวกเจ้าจงนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพวิชา พัฒนาบ้านเมืองของพวกเจ้าเถิด” สหายทั้งสอง

ได้แยกทางกันไปใช้ชีวิตที่เขตแบ่งของนครหลวงกับนิคมชนบทเพื่อกลับสู่บ้านเกิดของตน “กาฬกัณณิ สัญญานะเพื่อน ว่าจะมาเยี่ยมเราบ้าง”
“เออ เราสัญญา ไปดีมาดีนะเพื่อนเอ๋ย ” ฤดูกาลผ่านไปหลายพรรษา เพื่อนของกาฬกัณณิทำมาค้าขายจนกลายเป็นเศรษฐีตั้งแต่วัยหนุ่มใหญ่

และไม่เคยได้ข่าวของสหายรักแต่อย่างใด “เฮ้อ จากกันไปตั้งนาน ทำไมสหายรักของเรา ถึงไม่มีข่าวคราอะไรเลยนะ จะอยู่ดีมีสุขอย่างไรบ้าง

ก็ไม่รู้”
  กระทั่งวันหนึ่งเศรษฐีผู้นี้ก็ได้เจอกับสหายรักกาฬกัณณิ “นายครับ ข้างนอกกบ้านมีคนชื่ออัปมงคลผู้หนึงมาหา อ้างว่าเป็นมิตรสหายของนายขอรับ”

“ให้ดิฉันไล่ไปเลยมั๊ยค่ะ” “ให้เขาเข้ามาเถิด” “นี่คือกาฬกัณณิ คนที่ว่าขอรับ”
เมื่อแรกเห็นสภาพซอมซ่อของเพื่อนรัก เศรษฐีก็ไม่ได้รังเกียจแต่อย่างใด กลับยินดีเป้นอย่างยิ่งที่ได้พบสหายเก่า “โอ้ กาฬกัณณิเพื่อเกลอ

จากกันตั้งนาน เราไม่ได้ข่าวท่านเลย เป็นอย่างไรบ้างเพื่อเกลอ” เศรษฐีมิดีรังเกียจเพื่อนแต่อย่างใด กลับนึกเวทนาและตั้งใจอุปถัมภ์
เพราะสภาพนั้นดูสิ้นไร้ไม้ตอกแล้วจริงๆ “สหายเอ๋ย บัดนี้เราทุกข์ทรมานเหลือเกิน ที่ชนบทนั้นแห้งแล้งเหลือเกิน ไม่ว่าจะปลูกพืชผลเท่าใด

ก็ไม่ได้ผลเลย” “เพื่อเอ๋ย จงมาทำงานกินอยู่กับเราเถอะ อย่าได้เร่ร่อนลำบากอีกเลย”
เศรษฐีทำการเกื้อกูลมิตรซึ่งทุกข์ยากอย่างดี ทั้งข้าวของเครื่องกินดื่ม และเสื้อผ้าที่พัก อันเป็นคุณธรรมข้อสงเคราะห์มิตรที่ดี “ขาดเหลือสิ่งใด

ก็เรียกเอาได้จากพ่อบ้านของเราน่ะ อย่าได้เกรงใจ คิดว่าเป็นบ้านของเจ้าเองเถิด” “ชิ มาปุ๊บก็ได้ดิบได้ดีปั๊บ น่ารังเกียจจริงๆ ฮึ เหม็นสาบคนจน”
  กาฬกัณณิแม้ตกระกำลำบากมานาน เมื่อสุขสบายก็มิได้ลำพอง กลับช่วยงานในไร่สวนจนมืดค่ำ ถึงได้กินนอนเอาแรงในยามค่ำสนองคุณเศรษฐี

เช่นนี้ทุกวัน “อืม ทำงานเหนื่อยๆ แล้วมากินของอร่อยๆ หายเหนื่อยไปเลยเรา ที่อยู่ที่นอนก็สบาย สหายเรานี่ดูแลเราอย่างดีจริงๆ”
   แม้ยามหมดการผลิตสินค้าเกษตรในสวน ก็มักมาช่วยเหลืองานบ้านเป็นการเบาแรงข้าทาสที่เป็นคนแก่และสตรีอยู่เสมอ “สหายท่านเศรษฐีนี่

ขยันจริงๆ เลย  ดูซิทำงานตั้งแต่เช้ายังไม่หยุดเลย เราก็พลอยสบายไปด้วย” “หึ ทำขยันไปเถอะ ตักน้ำเป็นตุ่มๆ ให้ได้อย่างนี้ทุกวันก็แล้วกัน
 หมั่นไส้นัก ผู้ดีตกยากนี่” เมื่อกาฬกัณณิทำงานหนักเพียงไร เศรษฐีก็ตอบแทนความดีของสหายที่เป็นบริวารเป็นน้ำใจมิได้ดูดายเช่นกัน ด้วยเหตุนี้

พ่อบ้านก็บันดาลริษยาขึ้นมามากขึ้นเรื่อยๆ “เก็บเบี้ยนี้ไว้เถอะ เราทำงานก็เพื่อจะตอบแทนที่ท่านดูแลเราอย่างดี” “ไม่เป็นไรหรอก เรายินดี
 น้ำใจที่ท่านช่วยเหลือเรานะ มันมากมายนัก ของเหล่านี้จริงๆ แล้วทดแทนไม่ได้ด้วยซ้ำ รับไว้เถิดสหาย” “แหม ทำเป็นเล่นตัวไม่ยอมรับ สักวันเถอะ

ข้าจะต้องไล่เจ้าไปอยู่ที่อื่นให้ได้” พ่อบ้านได้บันดาลกาฬกัณณิมากขึ้นทุกๆ วัน จนกระทั่งทนไม่ไหว เขารวมเอาพรรคพวกซึ่งเป็นคนเก่าแก่
พากันมาร้องขอให้เศรษฐีกระทำเนรเทศกาฬกัณณิออกไปจากบ้าน “ได้โปรดไล่กาฬกัณณิ ออกไปเถิด เขาช่างชื่ออัปมงคล อีกทั้งเคยตกต่ำ

เขาอาจจะคบหาผู้ร้ายยากจนมาก็ได้นะ ท่านเศรษฐี ทั้งน่ารังเกียจ น่ากลัว นายไล่มันไปเถอะ”
 “ทุกคนฟังนะ คนเรานั้นนะ แค่เดินร่วมกัน 7 ก้าว ก็นับว่าเป็นมิตร เดินด้วยกัน 12 ก้าวนับเป็นสหาย ถ้าอยู่ร่วมกันถึงเดือน นับว่าเป็นญาติ

ยิ่งคนอยู่ร่วมทุกข์สุขกันมานานเช่นเพื่อนเราคนนี้น่ะ นับได้ว่าเสมอเป็นเองทีเดียว แล้วจะให้เราขับไล่คนที่ยิ่งกว่าญาติของเราคนนี้ไป

ได้อย่างไร”
 “แต่เขาชื่อเป็นอัปมงคลนะขอรับ อาจทำให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นกับนายท่านนะขอรับ” “ความอัปมงคลของชื่อนั้นหน่ะ หมู่บัณฑิตผู้เจริญ

เขาไม่ได้ยึดถือเลย ให้เขาอยู่โดยสวัสดีเถอะ”
 กาฬกัณณิเมื่อรู้ว่าพ่อบ้านไม่ชอบตน ก็เลี่ยงไปทำงานห่างๆ วันหนึ่งขณะกำลังเก็บก้อนหินซ่อมกำแพงบ้านอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงคนภายนอก


พูดคุยกัน “คืนนี้ ต้องคืนนี้สหายเอ๋ย พวกข้าได้ยินมาว่า เศรษฐีจะออกนอกบ้านทั้งคืน เมื่อนายไม่อยู่ บริวารก็ย่อมละทิ้งหน้าที่กันอย่างแน่นอน
 จากที่เคยเฝ้ายามลาดตระเวน มันก็ต้องแอบหลับกันแน่ๆ รับรองพวกเราปล้นกันได้ง่ายๆ ชัวร์” กาฬกัณณิได้ยินพวกโจรพูดกัน ก็คิดอุบายแก้ไข

“เจ้าโจรพวกนี้ คิดจะมาปล้นบ้านเศรษฐีสหายเรารึนี่ ไม่ได้การล่ะ เราต้องทำให้บ้านครึกครื้นเหมือนตอนที่ท่านเศรษฐีอยู่
  ต้องจัดเวรยามถืออาวุธให้ครบมือรอไว้” กาฬกัณณินำเรื่องไปหารือพ่อบ้าน แม้มิอาจลดทิฐิลงได้ทั้งหมดแต่ก็ได้รับความร่วมมืออย่างดี “นี่ถือว่า

ทำเพื่อนายนะท่าน เราจะช่วยเหลือเจ้าก็ได้ เจ้าไปบอกฝ่ายกิจกรรมได้เลย ส่วนอาวุธกันคนเฝ้ายามนี่ พี่จะจัดการให้เองน้อง”
 เมื่อค่ำคืนมาเยือนคฤหาสน์ของเศรษฐีก็ครึกครื้นเหมือนมีงานฉลอง ซึ่งเจ้าของบ้านจัดขึ้นบ่อยๆ กาฬกัณณิเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงทุกอย่างในคืนนี้

เขาชักชวนชายฉกรรจ์ภายในบ้านถือคบไฟติดอาวุธ ขึ้นเดินระวังภัยบนกำแพงรั้วของคฤหาสน์ตลอดเวลา ซึ่งได้ผลดีสมเจตนา
  “เฮ้ย นี่มันยังไงกันแน่ ไหนว่าเศรษฐีไม่อยู่ไง ทำไม่ถึงมีงานเลี้ยงครื้นเครงอย่างนั้นหล่ะ” “ข้าว่าเจ้าได้ข่าวมาผิดแน่ๆ เลย เศรษฐีคงไม่ได้ออก

ไปไหนหรอก ไม่งั้นจะมีงานเลี้ยงได้อย่างไรกัน” “รอดูกันอีกสักพักก่อนเถิด อย่าเพิ่งเข้าไปเลย”
   จนจันทร์คล้อยต่ำ น้ำค้างโรยลงทั่วพื้นบอกเวลาใกล้รุ่ง กาฬกัณณิก็ยังไม่ยอมพักผ่อน เขาไม่ได้หยุดผลัดเวรยามเลย “ตรวจเวรยามกันให้ดีล่ะ

รอให้ฟ้าสางก่อนเถิด ตอนนี้ยังไว้ใจไม่ได้หรอก ไม่แน่ว่าโจรพวกนั้นหน่ะ อาจจะยังซุ่มดูอยู่ก็ได้” การเฝ้าเวรยามอย่างดีของกาฬกัณณิ
   ส่งผลให้ทรัพย์สินของมิตรผู้มีพระคุณปลอดภัย ในเวลาต่อมาคณะโจรก็ได้เวลาถอนตัวจากไป “โธ่ อะไรกันนี่ จะขยันเฝ้ายามอะไรปานนั้น

จนเช้าแล้วยังไม่นอนอีก” “เฮ้อ งานนี้ชวดอีกตามเคย ถอยดีกว่า”

 เมื่อตะวันสายเศรษฐีก็กลับมา และได้รับการรายงานเรื่องราวโดยละเอียด “กาฬกัณณิทำคุณใหญ่หลวงมิได้ มิได้เป็นตัวโชคร้าย ดังถ้อยคำตามชื่อ


เลยขอรับ” “กระผมผิดไปแล้วขอรับ ต่อไปจะไม่มองคนแต่ภายนอกแล้วขอรับ” “พวกเธอจงเชื่อเถิด ขึ้นชื่อว่ามิตร ย่อมเกื้อกูลต่อกันเสมอ แม้มิตรนั้น


จะตกต่ำในฐานะ แต่เมื่อจิตใจร่ำรวยดังนี้ มิตรอย่างเราก็ต้องอนุเคราะห์ให้ทรัพย์เป็นทุนกับเขายิ่งๆ ขึ้นไป” “ฮึๆ เขินเลยเรา ชมกันซะขนาดนี้”
   

     ต่อมาเมื่อถึงเวลาอันควร กาฬกัณณิก็ลงทุนทำการค้าในพาราณสี โดยมีมิตรแท้อุปการะจนสิ้นอายุจากกัน


ในพุทธกาลสมัย กาฬกัณณิกำเนิดเป็น พระอานนท์เถระ

เศรษฐีเสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า

ที่มา http://www.dmc.tv/pages/นิทานชาดก/นิทานชาดก-กาฬกัณณิชาดก.html
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ