ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ มีลักษณะอย่างไร ครับ จะสมบูรณ์ ในกรรมฐานได้อย่างไร  (อ่าน 8481 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ มีลักษณะอย่างไร ครับ จะสมบูรณ์ ในกรรมฐานได้อย่างไร

 thk56

 
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
"เมื่อความสุขสงบเย็นอันเกิดขึ้นจากการได้ปฏิบัติธรรมปรากฏขึ้นในจิตของตน ความมีเมตตากรุณาในหมู่สัตว์ย่อมบังเกิดขึ้นโดยไม่มีประมาณ และมีความปรารถนาดีที่จะให้ผู้ือื่นได้รับประโยชน์นั้นด้วยอย่างเต็มที่ จึงไม่มีความตระหนี่ในผู้มีธรรม และย่อมนำพาประโยชน์เกื้อกูลแก่หมู่ชนโดยทั่วไป .."

 :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
      ans1 ans1 ans1
   
    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ อะไร

      ปัสสัทธิ คือ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจและอารมณ์,
     ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ (ข้อ ๕ ในโพชฌงค์ ๗)

     [ความหมายตาม พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)]

     ขอยกข้อความที่เนื่องด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ในพระไตรปิฎก มาแสดงดังนี้

     [๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
                    ๑. สติสัมโพชฌงค์
                    ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
                    ๓. วิริยสัมโพชฌงค์
                    ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
                    ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
                    ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
                    ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์


     [๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
     - ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึกได้ ระลึกได้ย่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์
     - ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
     - ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณาซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์
     - ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่พระภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว นี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์
     - กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
     - จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
     - ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์

__________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๑๐. โพชฌงควิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7181&Z=7207&pagebreak=0

     ans1 ans1 ans1
   
     [๕๔๘] ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
     ปีติที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่
     ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด ปีติที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์
     ย่อมเป็นไป เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
     ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด ปีติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปีติสัมโพชฌงค์
     ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


     [๕๔๙] ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
     กายปัสสัทธิ มีอยู่ จิตตปัสสัทธิ มีอยู่
     กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิ แม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
     ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน
     จิตตปัสสัทธิแม้ใด จิตตปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
     ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


     [๕๕๐] สมาธิสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
     สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่
     สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
     ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
     สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์
     ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

_______________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์ โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๒
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7208&Z=7258&pagebreak=0

     ans1 ans1 ans1
    [๕๕] กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
    ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า กายปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.
    [๕๖] จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
    การสงบ การสงบระงับ กิริยาที่สงบ กิริยาที่สงบระงับ ความสงบระงับแห่งวิญญาณขันธ์
    ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า จิตตปัสสัทธิ มีในสมัยนั้น.

_____________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตตุปปาทกัณฑ์ กุศลธรรม กามาวจรมหากุศลจิต ๘ จิตดวงที่ ๑ บทภาชนีย์
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=34&A=598&Z=847

    ans1 ans1 ans1
    ขอยกเอาบทความในหนังสือ คู่มือสมถะวิปัสสนากรรมฐาน เรียบเรียงโดย พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร
    มาแสดงบางส่วนดังนี้

    อารมณ์ของพระยุคลธรรม ๖ ประการ
๑. พระกายปสฺสทฺธิ จิตปสฺสทฺธิ กายสงบ จิตสงบ อุปจารสมาธิ สมาธิสงบ ขั้นที่ ๑
๒. พระกายลหุตา จิตลหุตา กายเบา จิตเบา อุปจารสมาธิ สมาธิเบา ขั้นที่ ๒
๓. พระกายมุทุตา จิตมุทุตา กายอ่อน จิตอ่อน อุปจารสมาธิ สมาธิอ่อน ขั้นที่ ๓
๔. พระกายกมฺมญฺญตา จิตกมฺมญฺญตา กายควรแก่การงาน จิตควรแก่การงาน อุปจารสมาธิ สมาธิควรแก่การงานขั้นที่ ๔
๕. พระกายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา กายแคล่วคล่อง จิตแคล่วคล่อง อุปจารสมาธิสมาธิแคล่วคล่อง ขั้นที่ ๕
๖. พระกายุชุคฺคตา จิตตุชุคฺคตา กายตรง จิตตรง อุปจารสมาธิ สมาธิตรง ขั้นที่ ๖

   
     
ask1
ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ มีลักษณะอย่างไร ครับ จะสมบูรณ์ ในกรรมฐานได้อย่างไร


    ans1 ans1 ans1
   
    ลักษณะของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ คือ กายและจิตสงบระงับ จิตมีปิติ
    เป็นความสงบระงับทาง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์

    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ "ได้อุปจารสมาธิ" ที่สำคัญต้องมีครูอาจารย์สอบอารมณ์ครับ

     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ