ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ธัมมะวังโส
หน้า: 1 ... 120 121 [122] 123 124 ... 132
4841  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:29:01 am
    [๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์  กามราคานุสัยปฏิฆานุสัย  ส่วนหยาบๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจากขันธ์และจากสรรพนิ มิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
     [๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์  กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย  ส่วนละเอียดๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์  และจากสรรพนิมิตรภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
     [๕๙๖] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ  อุทธัจจะ อวิชชามานานุสัย  ภวราคานุสัยอวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้นจาก ขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอกวิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์  มีวิมุติเป็นโคจรประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ  ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ  ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น  วิมุติจึงเป็นผล ฯ
     [๕๙๗] สัมมาทิฐิเป็นวิมุติเพราะความเห็น ฯลฯ  สัมมาสมาธิเป็นวิมุติเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติ  เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯอุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะความพิจารณาหาทาง  สัทธาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ  ปัญญาพละเป็นวิมุติเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา  สัทธินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความน้อมใจเชื่อฯลฯ  ปัญญินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความเห็น  อินทรีย์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่หวั่น ไหว โพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนำออก มรรคเป็นวิมุติ  เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าตั้งมั่น  สัมมัปปธานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเริ่งตั้งไว้  อิทธิบาทเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ  สัจจะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้  สมถะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน  วิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น  สมถวิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน  ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน  สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม  จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน  ทิฐิวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพ้น  วิชชาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสละ  ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุติ  เพราะอรรถว่าระงับฉันทะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ  เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม  เวทนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม  สมาธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่  ปัญญาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ  วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรมนิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุติเป็นผลอย่างนี้ วิราคะ เป็นมรรค วิมุติเป็นผล  ด้วยประการฉะนี้ ฯ
 จบวิราคกถา ฯ
4842  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล เรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:28:45 am
อ่านพระสูตร กันก่อน เพราะหลายท่าน คิดว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่มีในพระไตรปิฏก

จากเมล ส่วนใหญ่ที่เข้ามาถามกัน เอาเป็นว่ามี ตอบรวมในนี้ ให้อ่านพระสูตรกันก่อน เดี๋ยวค่อยอธิบายกัน

ตอนหลังนะจ๊ะ กับคำถามเรื่อง การจางคลายจากกิเลส มีหลักการอย่างไร จึงรู้่ว่าจางคลาย

[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ
    ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉาทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอกวิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ

          นิพพานเป็นวิราคะ ๑
          ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑

   เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรคพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศเป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
    สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อมคลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่าวิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้นอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯสัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้นจากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯเพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ

    [๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะอวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ มีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้นวิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ
 
  [๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น
         สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะเพราะความดำริ
         สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด
         สัมมากัมมันตะเป็นวิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ
         สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ผ่องแผ้ว
         สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้
         สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
         สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน
        สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะตั้งมั่น
        ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น
        วิริยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะประคองไว้
        ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป
        ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ
        สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความไม่ฟุ้งซ่าน
        อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง
        สัทธาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา
        วิริยพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน
        สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท
        สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ
        ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา
        สัทธินทรีย์เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ
        วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคองไว้
        สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น
        สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ ฟุ้งซ่าน
        ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น
        อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
        โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่านำออกไป
        มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
        สติปัฏฐานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตั้งมั่น
        สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้
        อิทธิบาทเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ
        สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้สมถะเป็นวิราคะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
        สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน
        ธรรมที่คู่กันเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน
        สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวมจิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
        ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเห็น
        วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ
        วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าแทงตลอด
        วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ
        ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าตัดขาด
        ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล
        มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน
        ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
        เวทนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุมลง
        สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน
       สติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่
       ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
       วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม
       สัมมาทิฐิเป็นมรรคเพราะความเห็น
       สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ
       นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ
    [๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺตินี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถ
ว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจากมิจฉาวาจา ฯลฯสัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯสัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะฯลฯ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตรภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ
4843  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลักวิปัสสนา ที่ควรอ่านและทราบ ของนักปฏิบัติกรรมฐาน เรียกว่า อนุปัสสนา 3 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:24:21 am
  [๗๓๖]

การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังหัวฝี เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศรเป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นความลำบาก เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นอย่างอื่นเป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของชำรุด เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ เป็นทุกขาปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นภัย เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหวั่นไหว เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของผุพัง เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน            เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของเปล่า เป็นอนัตตานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ เป็นอนัตตานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา เป็นอนัตตานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นโทษ เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา         เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ เป็นอนัตตานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังเพชฌฆาต เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยเป็นความเสื่อมไป เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยเป็นของมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา

โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์  โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา  เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น ของมีความร่ำไรเป็นธรรมดาเป็นทุกขานุปัสนา ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา ฯ

        ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้

        ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ นี้ ฯ

        ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้

        ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ นี้ มี

        อนิจจานุปัสนาเท่าไร ? มีทุกขานุปัสนาเท่าไร ? มีอนัตตานุปัสนาเท่าไร ?ฯ

        ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสนา ๕๐

                     มีทุกขานุปัสนา ๑๒๕

                     มีอนัตตานุปัสนา ๒๕ ฉะนี้แล ฯ

จบวิปัสสนากถา ฯ
4844  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลักวิปัสสนา ที่ควรอ่านและทราบ ของนักปฏิบัติกรรมฐาน เรียกว่า อนุปัสสนา 3 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:23:47 am
ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นโรค ...


เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีฝี ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความลำบาก ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของชำรุด ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความชำรุดเป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ ..

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นภัย ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่มีภัย ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหวั่นไหว ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความหวั่นไหว ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของผุพัง ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มี   ความผุพัง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์   เป็นนิพพานมี  ความยั่งยืน ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน  เป็นที่ป้องกัน ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีที่พึ่ง ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่พึ่ง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่าง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่างเปล่า ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เปล่า ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญ      อย่างยิ่ง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโทษ ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวน          เป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของเสื่อมไป ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเกิด   เป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน    ไม่มีความเกิด ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่   เป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน     ไม่มีความแก่ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความป่วยไข้   เป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความตาย           เป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน           ไม่มีความตาย ...

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มี  ความเศร้าโศก ...     

เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความร่ำไร เป็นธรรมดา ...

เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน  ไม่มีความร่ำไร ...

เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติเมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม

เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ
4845  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / หลักวิปัสสนา ที่ควรอ่านและทราบ ของนักปฏิบัติกรรมฐาน เรียกว่า อนุปัสสนา 3 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:23:11 am
ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา

สาวัตถีนิทานบริบูรณ์

            [๗๓๑] ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามข้อ นี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตติยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม  ข้อ นี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผลหรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆโดยความเป็นสุขจักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผลหรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆโดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติจักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้    เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม    จักทำให้แจ้งซึ่ง    โสดา ปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่  จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ     ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้       ผู้ประกอบด้วย    อนุโลมขันติจักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม     ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้     ผู้ย่างลงสู่  สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นทุกข์อยู่จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผลอนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยามข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลสกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ

        [๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ? ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการเท่าไร? ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ

        ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน

        ภิกษุย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นทุกข์ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นโรค ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังหัวฝี ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังลูกศร ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความลำบาก ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอาพาธ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอย่างอื่น ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของชำรุด ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นเสนียด ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอุบาทว์ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นภัย ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอุปสรรค ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความหวั่นไหว ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของผุพัง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของไม่เป็นที่พึ่ง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของว่าง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของเปล่า ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของสูญ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นอนัตตา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นโทษ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความแปรปรวน  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของหาสาระมิได้ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นมูลแห่งความลำบาก ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นดังเพชฌฆาต ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นความเสื่อมไป ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีอาสวะ ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความคับแค้นใจ  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เป็นของมีความเศร้าหมอง  เป็นธรรมดา ๑

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม

ภิกษุ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม
4846  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สอบถามอาการที่เกิด เกี่ยวกับกรรมฐาน หรือป่าวคร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:20:07 am
เมื่อเริ่มภาวนา ในกรรมฐาน สิ่งที่จะเกิดเป็นด้านแรก เรียกว่า ปีติ ๆ มีสองส่วน

 ส่วนที่หนึ่งเรียกว่า พระลักษณะ ก็มีอาการเกิดขึ้นทางกาย อันเนื่องด้วยจิตต่าง ๆ

 ส่วนที่สองเรียกว่าพระรัศมี ก็มี แสงสว่างตามดวงธรรมปีติ เพราะ สี แสง เป็นรูปปรมัตถ์ จัดเป็น นิมิตแท้

อาการที่เกิดขึ้น ของคุณโยมไม่ใช่พระลักษณะ เพราะเมื่อเข้าพระลักษณะ ปีติ กายโยกโคลง ไม่เปลี่ยนแปลง

ลักษณะ ยังคงต้องอยู่อย่างนั้น จะตัวสั่นงันงก ร้องไห้ เป็นต้น ก็ต้องนั่งอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนท่่่าทาง แต่ของ

โยมมีการเปลี่ยนอิริยาบถ ก็หมายถึงอารมณ์ฟุ้ง เสียมากกว่า เป็นสมาธิ ซึ่งโยมก็รับทราบว่าทำให้เสียสมาธิ

พอสมควร เอาเป็นว่าครั้งต่อไป ภาวนาพุทโธ ไปเรื่อย ๆ จนอาการสงบ โดยไม่ต้องเปลี่ยน อิริยาบถดู ทดสอบ

ก่อนผลจะเป็นอย่างไร โดยปกติถ้าจิตเป็นสมาธิแล้ว ก็จะวางเวทนาได้โดยธรรมชาติ เพราะต้องเข้า สุขสมาธิ

คือ กายสุข จิตสุข ก่อน เป็น สุขสมาธิ

ว่าแต่โยมฝึกกรรมฐาน อะไรอยู่ละจ๊ะ

เจริญพร เท่านี้ก่อน

 ;)
4847  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:13:04 am
เห็นตามนี้นะจ๊ะ อ่านจากพระสูตร ก่อนไม่ผิด มีหลักการกรรมฐาน วิปัสสนา พร้อมแล้ว

ยุคนัทธวรรค สัจจกถา
            นิทานในกถาบริบูรณ์
    [๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

       สัจจะว่านี้ทุกข์ เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
       สัจจะว่านี้ทุกขสมุทัย เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
       สัจจะว่านี้ทุกขนิโรธ เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
       สัจจะว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้แลเป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ฯ

[๕๔๕] ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น คือ
สภาพที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๑ สภาพแห่งทุกข์ อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ สภาพที่ให้เดือดร้อน ๑ สภาพ
ที่แปรไป ๑ สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
 ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
    สมุทัยเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น
 คือ สภาพที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๑ สภาพที่เป็นเหตุ ๑สภาพที่ประกอบไว้ ๑ สภาพพัวพัน ๑
สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัย
เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
    นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
สภาพสลัดออกแห่งนิโรธ ๑ สภาพสงัด ๑ สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ๑ สภาพเป็นอมตะ ๑
สภาพดับแห่งนิโรธ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น นิโรธเป็นสัจจะ
ด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
    มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพเป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น
คือ สภาพนำออกแห่งมรรค ๑ สภาพเป็นเหตุ ๑ สภาพที่เห็น ๑สภาพเป็นใหญ่ ๑ สภาพเป็น
ทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น มรรคเป็นสัจจะด้วย
อรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ


เอาเท่านี้ก่อน เดี๋ยวยังมีตอนยาวอีก

เจริญพร

 ;)


4848  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มีวิธีทำจิตให้นิ่งแบบมีสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่านหรือง่วงนอนไหมครับ? เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:06:01 am
ปฏิบัีติตามขั้น ตอนตามพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ถ้าพร้อมด้วยนิมิต 3 นั้น ไม่ง่วงนอนจ้า

   1.ปัคคาหะนิมิต ฐานจิต หรือ ที่ตั้งฐานจิต

   2.สมาธินิมิต หรือ บริกรรมนิมิต คือภาวนา เช่น พุทโธ เป็นต้น

   3.อุเบกขานิมิต คือ การวางเฉยต่อนิมิตเมื่อจิตซัดส่าย ไปใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน

 ถ้านิมิต ทั้ง  3 ประการอยู่ครบ แม้เราปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเริ่มต้นรับรอง ไม่ฟุ้งซ่าน และ ไม่ง่วงนอน นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
4849  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรื่อง อิทธิฤทธิ์ ในพระพุทธศาสนา ได้สอนไว้หรือป่าวคร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:03:10 am
ยาวสักนิด หนึ่ง นะ  แต่นำพระสูตรมาตอบก่อน จะได้เห็นว่า ในพระไตรปิฏก นั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนเรื่อง

ฤทธิ์ไว้เช่นเดียวกัน มีหลายพระูสูตร

 ;)
4850  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรื่อง อิทธิฤทธิ์ ในพระพุทธศาสนา ได้สอนไว้หรือป่าวคร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:01:55 am

           [๖๘๙] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน
 
           ความ ละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน  เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิความละวิตกวิจาร  ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
 
 ความละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน ฯลฯความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ
 
 ความละรูปสัญญาปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
 
 ความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ
 
 ความละวิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ
 
 ความ  ละอากิญจัญญายตนสัญญาย่อมสำเร็จได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเพราะเหตุ  นั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิท่านพระสารีบุตร  ท่านพระสัญชีวะท่านพระขาณุโกณฑัญญะ อุตตราอุบาสิกา  สามาวดีอุบาสิกามีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ
 
           [๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ
 
           ภิกษุ ในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า  เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่  ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่  ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่  ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า  เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่  ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและ
 
 ใน สิ่งที่ไม่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่  ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็น  สิ่งปฏิกูลอยู่  ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่  ถ้าหวังว่า  เราพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่ง   ที่ไม่ปฏิกูลอยู่ก็เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่ง  ที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ฯ
 
           ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
 
           ภิกษุ แผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ  ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา  ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้
 
           ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
 
           ภิกษุ แผ่ไปโดยความไม่งาม  หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยงในสิ่งที่น่าปรารถนาภิกษุมีความสำคัญ  ในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้
 
           ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
 
           ภิกษุ แผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ  ในสิ่งทั้งไม่น่าปรารถนาและน่าปรารถนา  ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล  อยู่อย่างนี้
 
           ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร
 
           ภิกษุ แผ่ไปโดยความไม่งาม  หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยงในสิ่งทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่า  ปรารถนา  ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูล  อยู่อย่างนี้
 
           ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร
 
           ภิกษุ ในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ  มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก  ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่  ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่ง  ที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ ฯ
 
           [๖๙๑] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน ฯ
 
           นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวกมีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ฯ
 
           [๖๙๒] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน ฯ
 
           พระ เจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา  ตลอดจนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ  ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดีฤทธิ์ของชฏิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี  ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดีฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน  เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญนี้ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฯ
 
           [๖๙๓] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน ฯ
 
           พวก วิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้าบ้าง  พลรถบ้าง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง  ในอากาศกลางหาวนี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา ฯ
 
           [๖๙๔] ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ อย่างไร ฯ
 
           ความ ละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ  เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ  เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆความละพยาบาท  ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ  ความละถีนมิทธะย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ ความละกิเลสทั้งปวง  ย่อมสำเร็จได้ด้วยอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น  จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ  ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ
 
 อย่างนี้ฤทธิ์ ๑๐ ประการเหล่านี้
 
 จบอิทธิกถา ฯ
4851  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรื่อง อิทธิฤทธิ์ ในพระพุทธศาสนา ได้สอนไว้หรือป่าวคร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:01:37 am
[๖๘๕] ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน ฯ

          ภิกษุ ในศาสนานี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ฯ

          คำ ว่า ในศาสนานี้ คือ ในทิฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่าในศาสนานี้ ฯ

          คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็นพระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ ฯ

          คำว่า แสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่างๆอย่าง ฯ

          คำ ว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติเป็นคนเดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็นร้อยคน พันคนหรือแสนคน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นหลายคน ก็เป็นหลายคน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถกรูปเดียวเป็นหลายรูป ก็ได้ ฉะนั้น ฯ

          คำ ว่า หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียว แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นคนเดียว ก็เป็นคนเดียว ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก หลายรูปเป็นรูปเดียวก็ได้ฉะนั้น ฯ

          คำว่า ทำให้ปรากฏก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ ปิดบังไว้ ทำให้ไม่มีอะไรปิดบังให้เปิดเผยก็ได้ ฯ

          คำว่า ทำให้หายไปก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบังมิดชิดก็ได้ ฯ

          คำ ว่า ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อากาศกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขาแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นที่ว่างก็ย่อมเป็นที่ว่าง ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต ย่อมทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมไปในที่ที่ไม่มีอะไรๆ ปิดบังกั้นไว้ไม่ติดขัด ฉะนั้น ฯ

          คำ ว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้อาโปกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นน้ำ ก็เป็นน้ำ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น ฯ

          คำ ว่า เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงน้ำ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่าจงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น เดินไปบนน้ำไม่แตกได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินไปบนแผ่นดินไม่แตกได้ฉะนั้น ฯ

          คำ ว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงอากาศ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์ นั้น เดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง ในอากาศกลางหาวเหมือนนกก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินบ้างยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น ฯ

          คำ ว่า ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วยฝ่ามือก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือนอนก็ตาม นึกถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า พระจันทร์พระอาทิตย์ จงมีที่ใกล้มือ ก็ย่อมมีที่ใกล้มือ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น นั่งหรือนอนอยู่ก็ตาม ย่อมลูบคลำสัมผัสพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมลูบคลำสัมผัสรูปอะไรๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น ฯ

          คำ ว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ผู้ถึง ความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ว่า จงเป็นที่ใกล้ ก็เป็นที่ใกล้อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกลก็เป็นที่ไกล อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกล ก็เป็นที่ไกล อธิษฐานของมากให้เป็นของน้อยว่า จงเป็นของน้อย ก็เป็นของน้อย อธิษฐาน

ของ น้อยให้เป็นของมากว่า จงเป็นของมาก ก็เป็นของมาก ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วยทิพจักษุย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วยเจโตปริยญาณ ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่ ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานกายด้วยสามารถแห่งจิต ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์นิรมิตรูปอันสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ไว้ข้างหน้าของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายนิรมิตก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกายนิรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายนิรมิตก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่รูปกายนิรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์บังหวนควันอยู่รูปกายนิรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ให้ไฟลุกโพลงอยู่ รูปกายนิรมิตก็ให้ไฟลุกโพลง ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่  รูปกายนิรมิตก็ กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้นถ้าท่านผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมถามปัญหาอยู่ รูปกายนิรมิตก็ถามปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์อันรูปกายนิรมิตถามปัญหาแล้วก็แก้ รูปกายนิรมิตอันท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาแล้วก็แก้อยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนสนทนาปราศรัยอยู่กับพรหมนั้น รูปกายนิรมิตรก็ยืน สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ ณ ที่นั้น ท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใด รูปกายนิรมิตก็ทำกิจนั้นๆ นั่นแล นี้ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นดังนี้ ฯ

          [๖๘๖] ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เป็นไฉน ฯ

          พระ เถระนามว่าอภิภู เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุทราบชัด ท่านแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มิ ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่

ปรากฏ ก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่วงไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศปรกติแล้วแสดงเพศกุมารบ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้างแสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศเทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงเพศสมุทรบ้าง แสดงเพศภูเขาบ้างแสดงเพศป่าบ้าง แสดงเพศราชสีห์บ้าง แสดงเพศเสือโคร่งบ้าง แสดงเพศเสือเหลืองบ้าง แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดงพลราบบ้างแสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง นี้เป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ฯ

          [๖๘๗] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน ฯ

          ภิกษุ ในศาสนานี้ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ออกจากหญ้าปล้องนั่นเองอีกประการหนึ่งเปรียบเหมือนบุรุษชักดาบอกออก จากฝัก เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ออกจากฝักนั่นเอง อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษเอางูออกจากกระทอเขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้งู นี้กระทองูเป็นอย่างหนึ่ง กระทอเป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจมีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฯ

          [๖๘๘] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นไฉน ฯ

          ความ ละนิจจสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสนา เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสนาความละอัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสนา ความละความเพลิดเพลินย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสนา ความละราคะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิราคานุปัสนาความละสมุทัย ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสนา ความ

ละ ความยึดถือ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณท่านพระพักกุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละ มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณนี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ฯ
4852  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรื่อง อิทธิฤทธิ์ ในพระพุทธศาสนา ได้สอนไว้หรือป่าวคร้า... เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 07:59:32 am
อ่านพระสูตร เรื่องนี้ก่อนนะ เดี๋ยวมาตอบกันในเพลาต่อไป

ปัญญาวรรค อิทธิกถา

          [๖๗๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่งฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร ฯ

          ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์มีเท่าไร มี ๑๐

ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ บาทมี ๔ บทมี ๘ มูลมี ๑๖ ฯ

          [๖๘๐] ฤทธิ์ ๑๐ เป็นไฉน ฯ

          ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๑

          ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ๑

          ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ๑

          ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑

          ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑

          ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑

          ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ๑

          ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๑

          ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา ๑

         ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๑ ฯ

          [๖๘๑] ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ

          ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดวิเวก ๑

          ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข ๑

ตติยฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข ๑

จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มีสุข ๑

          ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ

          [๖๘๒] บาท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ

          ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขาร ๑

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียรและปธานสังขาร ๑

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขาร ๑

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร ๑

บาท ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ

          [๖๘๓] บท ๘ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ

          ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่ฉันทะฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง

          ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่งสมาธิเป็นอย่างหนึ่ง

          ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตไม่ใช่สมาธิสมาธิไม่ใช่จิต จิตเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง

          ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่งสมาธิเป็นอย่างหนึ่ง

บท ๘ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ

          [๖๘๔]  มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ

          จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา (จิตไม่หวั่นไหว)

จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะเพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา

          จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ ... จิตไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท ...

จิตอันทิฐิไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะทิฐิ ...

จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ ...

จิตหลุดพ้นย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ ...

จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส ...

จิตปราศจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำแห่งกิเลส ...เอกัคคตาจิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ ...

จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ...

จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน ...

จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท ...

จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ...

จิต ที่กำหนดด้วยปัญญา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชาจิตที่ถึงความสว่างไสวย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคือ อวิชชา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าอเนญชา มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อม

เป็น ไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ
4853  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าเจออะไรที่น่าตกใจ ควรลืมตาเลยหรือเปล่าคะ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 07:53:17 am
ถ้านั่งภาวนากรรมฐาน อยู่เกิดอะไรขึ้นที่น่าตกใจ เช่น เห็นภาพผี ปิศาจ วิญญาณ ทั้งที่เป็นภาพ และ เสียง กลิ่น

เป็นต้น โดยปกติแล้ว เบื้องต้นก็เป็นเพราะจิตอุปาทาน จิตหลอก จิตหลอน เกิดก่อนดังนั้น ทางที่ถูกต้องเมื่อเรา

สมาทานพระกรรมฐาน ตั้งใจไว้เวลาเท่าใด ก็ให้นั่งภาวนาต่อไปแบบเดิมตามเวลาที่เราตั้งใจ ให้วางเฉยเสีย จาก

ภาพ จากเสียง จากกลิ่น ที่เกิดขึ้นขณะนั้นเสีย ให้ภาวนาไปอย่างเดียว ประการเดียว และปฏิบัติตามขั้นตอน

พระกรรมฐานไปจนจบ

จากนั้น ก็แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศลให้แก่ สัมภะเวสี ทั้งหลาย ถ้ายังไม่หาย และยังเกิดอีก ก็ให้ลองปฏิบัติ

ดูเช่นนี้ถึง สัก 1 อาทิตย์ถ้าแ่น่ใจแล้วว่าไม่หาย ควรจะมานั่งกรรมฐานต่อหน้า ครูอาจารย์ เพื่อให้ครูอาจารย์

ได้สอบว่าเป็นจริงแท้อย่างไร ?

 :25:
4854  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ภัยพิบัติ น้ำท่วมกับ มุมมอง ของ โหราศาสตร์ เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2010, 09:04:33 am
อ้างถึง
แต่ผมต้องขออนุญาต พระอาจารย์ก่อนนะครับ

ถ้าเนื้อหา ไม่สร้างความแตกตื่นก็เชิญนะจ๊ะ จะได้เป็นเรื่องที่ควรจะเตรียมตัวรับมือด้วย

เหมือนให้หัดซ้อม

จะว่าตื่นตระหนก ก็ไม่ถูก เหมือนคนหัดตาย เจริญมรณานุสสติ ก็เช่นเดียวกัน

ซ้อม ๆ ไว้บ้างเมื่อถึงเวลา จะได้ไม่หลุดจากธรรม ไปได้


เจริญพร

 ;)
4855  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิธีการตอบของพระพุทธเจ้า 4 ประการครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2010, 09:01:29 am
การแก้ปัญหาในแง่เดียว                           เอกังสะพยากรณ์
ตอบปัญหาแยก                                      วิภัชชะพยากรณ์
ถามปัญหาย้อนกลับแล้วจึงตอบปัญหานั้น  ปฏิปุจฉาพยากรณ์
ไม่ต้องตอบเลยจะดีกว่า                            ฐปนีพยากรณ์


เป็นหลักการสากล ที่ควรนำไปใช้ และสามารถยุติ ความบาดหมางทางความคิด

ได้เพราะ บ้างปัญหา ไม่ใช่จำเป็นว่าจะต้องตอบ นับว่าเป็นหลักการที่ดีที่พระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง

ให้กับเราท่าน ที่คิดในการตอบปัญหา

ใครจำเรื่องที่ อจิณไตรยะ 4 ประการอยู่กระทู้ไหน นำมาแนบให้หน่อยนะจ๊ะ

 อนุโมทนากุศล จ๊ะ

 ;)
4856  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สัญญา 10 เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2010, 08:58:20 am
อนุโมทนา ด้วยนะจ๊ะ มาโพสต์ เนื้อหาเต็มจากพระสูตรไว้ให้

ซึ่งพระสูตรนี้จัดเป็นพระสูตรสำคัญ ที่เป็นหลักวิปัสสนาโดยตรง ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนให้ผู้ป่วย

อย่างพระคิลิมานนท์ จนหายป่วย และ สำเร็จเป็นพระอรหันต์์

 ;)
4857  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ช่วยอธิบายคำว่าวิญญาณขันธ์กับวิญญาณธาตุให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2010, 08:56:22 am
วิญญาณขันธ์ หมายถึงการรับรู้ ทางอายตนะภา่ยใน และ ภายนอก นะจ๊ะ สั้น ๆ ก่อน

วิญญาณธาตุ ในการเิดินจงกรม มีส่วนนี้เข้ามาด้วย ที่จริง คำว่า ธาตุ หมายถึง ทรงอยู่ไว้ก่อน ตามความหมาย

 แต่แปลทับศัพท์ ก็หมายว่า ธาตุรู้ มาพร้อมกับ สติ และ สัมปชัญญะ มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกัน

เอาเท่านี้เุถอะเพราะอธิบายมาก ก็ต้องพิมพ์มาก นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
4858  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: พฤศจิกายน 05, 2010, 08:51:04 am
อนุโมทนากุศล สำหรัีบผู้สนใจ หนังสือไม่เคยทำจำหน่าย มีแต่แจก ตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค

การแจก ก็เลือกแจก ไม่ได้แจกทั่วไป คือใครมาพบพระอาจารย์ เห็นสมควรแจกก็แจก แล้วสมาชิก

นำไปแจกให้กับผู้บริจาคด้วย การแจกก็มีเท่านี้

ดังนั้นใครยังไม่ส่งชื่อให้ส่งชื่อมาทางเมล์ ก่อนนะ เพราะจะพิมพ์แล้ว

เดี๋ยวจะมาบ่นว่าไม่มีชื่อในหน้าผู้สร้าง หนังสือ

  สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง


สำหรับรูปเล่มตอนนี้เปลี่ยนเป็น พ๊อคเก็ตบุ๊คขนาด A5 แล้ว ปรับปรุงหน้าจาก A4 เป็น 124 หน้า

ออกแบบปกหลังใหม่ ภาระกิจเรียบร้อยเหลือแต่ คนช่วยตรวจทานอีกครั้ง

ตั้งใจจะแจกพร้อมซีดี ซึ่งพยายามจะจัดพิมพ์ 1000 เล่ม และ 1000 แผ่น

สำหรับซีดี เป็นวีดีโอ บรรยาย แผ่นละ 12 บาทพิมพ์ออฟเซ็ท

ค่อย ๆ ทำไปไม่ต้องวิตกกังวล ว่าทำได้หรือไม่ได้
4859  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 10:11:36 am
 ในพระสูตรเหล่านั้น ท่านตรัสราหุโลวาทสูตรเพื่อโอวาทเนืองๆ ตรัสราหุลสังยุตเพื่อถือเอาห้องวิปัสสนาของพระเถระ ตรัสมหาราหุโลวาทสูตรเพื่อกำจัดฉันทราคะที่อาศัยเรือน ตรัส
จุลลราหุโลวาทสูตรเพื่อยึดเอาพระอรหัต ในเวลาที่ธรรมเจริญด้วยวิมุตติ ๑๕ ของพระเถระแก่กล้าแล้ว.
               พระราหุลเถระหมายถึงพระสูตรนี้ เมื่อจะสรรเสริญพระคุณของพระตถาคตในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
                                   กิกีว พีชํ รกฺเขยฺย จมรี วาลมุตฺตมํ
                                   นิปโก สีลสมฺปนฺโน มมํ รกฺขิ ตถาคโต
                         พระตถาคตผู้มีพระปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงสมบูรณ์
                         ด้วยศีล ทรงรักษาเราเหมือนนกต้อยตีวิด พึงรักษา
                         พืชพันธุ์ เหมือนเนื้อจามรีรักษาขนหางสูงสุดฉะนั้น.

               ท่านตรัสสามเณรปัญหา เพื่อละถ้อยคำอันไม่ควรตรัส  ในอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้ เพื่อมิให้ทำสัมปชานมุสาวาท (พูดเท็จทั้งๆ  ที่รู้อยู่).
               ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺสสิ โน แก้เป็น ปสฺสสิ นุ คือ เธอเห็นหรือหนอ.
               บทว่า ปริตฺตํ คือ หน่อยหนึ่ง.
               บทว่า สามญฺญํ คือ สมณธรรม.
               บทว่า นิกฺกุชฺชิตฺวา คือ คว่ำ.
               บทว่า อุกฺกุชฺชิตฺวา คือ หงาย.
               บทว่า เสยฺยถาปิ ราหุล รญฺโญ นาโค ดูก่อนราหุล เหมือนช้างต้นของพระราชา ท่านกล่าวอุปมานี้ เพื่อแสดงความเปรียบเทียบของผู้ไม่มีสังวรในการกล่าวเท็จทั้งรู้อยู่.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อีสาทนฺโต มีงาอันงอนงาม คือมีงาเช่นกับงอนไถ.
               บทว่า อุรุฬฺหวา เป็นพาหนะที่เจริญยิ่ง คือน่าขี่.
               บทว่า อภิชาโต คือ มีกำเนิดดี สมบูรณ์ด้วยชาติ.
               บทว่า สงฺคามาวจโร คือ เคยเข้าสงคราม.
               บทว่า กมฺมํ กโรติ ย่อมทำกรรม คือประหารข้าศึกที่เข้ามาแล้วๆ ให้ล้มลง.
               อนึ่ง พึงทราบความในบทมีอาทิว่า ด้วยกายเบื้องหน้า ดังนี้
               คือยังซุ้มแผ่นกระดานและกำแพงโล้นให้ล้มลงด้วยกายเบื้องหน้าก่อน. ด้วยกายเบื้องหลังก็เหมือนกัน. กำหนดกรรมด้วยศีรษะแล้วกลับแลดูด้วยคิดว่า เราจักย่ำยีประเทศนี้. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ก็ทำลายสิ่งตั้งร้อยตั้งพันให้ออกเป็นสองส่วน ชื่อว่าทำกรรมด้วยศีรษะ การประหารลูกศรที่มาแล้วๆ ให้ตกไปด้วยหู ชื่อว่าทำกรรมด้วยหู. การทิ่มแทงเท้าช้างข้าศึก ม้าข้าศึก กองช้าง กองม้า และพลเดินเท้าเป็นต้น ชื่อว่าทำกรรมด้วยงา. การตัดทำลายด้วยไม้ยาวหรือด้วยสากเหล็กที่ผูกไว้ที่หาง ชื่อว่าทำกรรมด้วยหาง.
               บทว่า รกฺขเตว โสณฺฑํ ย่อมรักษาไว้แต่งวงเท่านั้น คือใส่งวงไว้ในปากรักษาไว้.
               บทว่า ตตฺถ คือ ในการที่ช้างรักษางวงนั้น.
               บทว่า อปริจฺจตฺตํ คือ ไม่ยอมสละ ถึงจะเห็นผู้อื่นชนะและเราแพ้.
               บทว่า โสณฺฑายปิ กมฺมํ กโรติ ย่อมทำกรรมแม้ด้วยงวง คือจับค้อนเหล็ก หรือสากไม้ตะเคียน แล้วย่ำยีที่ประมาณ ๑๘ ศอกได้โดยรอบ
               บทว่า ปริจฺจตฺตํ ยอมเสียสละแล้ว คือ บัดนี้ไม่กลัวแต่อะไรๆ อีกแล้ว ในกองทัพช้างเป็นต้น ย่อมเห็นชัยชนะของเรา.
               บทว่า นาหนฺตสฺส กิญฺจิ ปาปํ บุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่ ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มี. ความว่า บุคคลนั้นจะไม่พึงทำกรรมน้อยหนึ่งในการล่วงอาบัติทุกกฏเป็นต้น หรือในกรรมมีมาตุฆาตเป็นต้นไม่มี.
               บทว่า ตสฺมา ติห เต ความว่า เพราะผู้กล่าวเท็จทั้งที่ รู้อยู่จะไม่ทำบาปไม่มี ฉะนั้นเธอพึงศึกษาว่า เราจักไม่กล่าวเท็จแม้เพราะหัวเราะ แม้เพราะใคร่จะเล่น.
               บทว่า ปจฺจเวกฺขณตฺโถ คือ มีประโยชน์สำหรับส่องดู. อธิบายว่า มีประโยชน์ส่องดูโทษที่ใบหน้า.
               บทว่า ปจฺจเวกฺขิตฺวา ปจฺจเวกฺขิตฺวา คือ ตรวจดูแล้ว ตรวจดูอีก.
               บทว่า สสกฺกํ น กรณียํ คือ ไม่พึงทำโดยส่วนเดียวเท่านั้น.
               บทว่า ปฏิสํหเรยฺยาสิ พึงเลิก คือพึงกลับอย่าพึงทำ.
               บทว่า อนุปทชฺเชยฺยาสิ พึงเพิ่ม คือพึงให้เกิดขึ้น พึงค้ำจุนไว้ พึงทำบ่อยๆ.
               บทว่า อโหรตฺตานุสิกฺขิตา คือ ศึกษาทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน.
               บทว่า อฏฺฏิยิตพฺพํ พึงกระดาก คือพึงระอา พึงบีบคั้น.
               บทว่า หรายิตพฺพํ คือ พึงละอาย.
               บทว่า ชิคุจฺฉิตพฺพํ พึงเกลียด คือพึงให้เกิดความเกลียดดุจเห็นคูถ.
               อนึ่ง เพราะมโนกรรมมิใช่วัตถุแห่งเทศนาอันควรแสดงไว้ในที่นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงไม่กล่าวไว้.
               ก็ในฐานะอย่างไรเล่าจึงควรชำระกายกรรมและวจีกรรม ในฐานะอย่างไรจึงควรชำระมโนกรรม.
               ควรชำระกายกรรมและวจีกรรม  ในเวลาก่อนอาหารครั้งหนึ่งก่อน  เมื่อฉันอาหารแล้วควรนั่งในที่พักกลางวันพิจารณาว่า  ตั้งแต่อรุณขึ้นจนถึงนั่งในที่นี้ กายกรรมหรือวจีกรรมอันไม่สมควรแก่ผู้อื่นในระหว่างนี้  มีอยู่แก่เราหรือไม่หนอ. หากรู้ว่ามี ควรแสดงข้อที่ควรแสดง ควรทำให้แจ้งข้อที่ควรทำให้แจ้ง.  หากไม่มี ควรมีปีติปราโมทย์.
               อนึ่ง ควรชำระมโนกรรม ในที่แสวงหาบิณฑบาตครั้งหนึ่ง.
               ชำระอย่างไร.
               ควรชำระว่า วันนี้ความพอใจก็ดี ความกำหนัดก็ดี ความคับแค้นก็ดี ในรูปเป็นต้นในที่แสวงหาบิณฑบาตมีอยู่หรือหนอ. หากมี ควรตั้งจิตว่าเราจักไม่ทำอย่างนี้อีก. หากไม่มีควรมีปีติปราโมทย์.
               บทว่า สมณา วา พฺราหฺมณา วา ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวกของพระตถาคต.
               บทว่า ตสฺมา ติห ความว่า เพราะสมณพราหมณ์ทั้งหลาย แม้ในอดีตก็ชำระแล้วอย่างนี้ แม้ในอนาคตก็จักชำระอย่างนี้ แม้ในปัจจุบันก็ย่อมชำระอย่างนี้ ฉะนั้น แม้พวกเธอเมื่อศึกษาตามสมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็พึงศึกษาอย่างนี้.
               บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระธรรมเทศนานี้ให้จบลงด้วยสามารถแห่งบุคคลที่ควรแนะนำ ดุจเทวดาผู้วิเศษถือเอายอดแห่งกองรัตนะอันตั้งขึ้นจนถึงภวัคคพรหม ด้วยกองแห่งแก้วมณีที่ประกอบกัน.
               จบอรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรที่ ๑               
               ----------------------------------------------------- [/t][/t]
[/t]
[/td][/tr][/table]
4860  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 10:11:18 am
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ภิกขุวรรค จูฬราหุโลวาทสูตร เรื่องพระราหุล
               ๑. อรรถกถาอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร๑-               
๑-บาลีเป็น จูฬราหุโลวาทสูตร.

               อัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้.
               ในบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพลฏฺฐิกายํ วิหรติ ท่านพระราหุลอยู่ ณ ปราสาทชื่อว่า อัมพลัฏฐิกา คือ เมื่อเขาสร้างย่อส่วนของเรือนตั้งไว้ท้ายพระเวฬุวันวิหาร เพื่อเป็นที่อยู่ของผู้ต้องการความสงัด พระราหุลเจริญปวิเวกอยู่ ณ ปราสาทอันมีชื่ออย่างนี้ว่า อัมพลัฏฐิกา.
               ชื่อว่าหนามย่อมแหลมตั้งแต่เกิด.  แม้ท่านพระราหุลนี้ก็เหมือนอย่างนั้น เจริญปวิเวกอยู่ ณ ที่นั้น  ครั้งเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.
               บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ.
               บทว่า อาสนํ คือ ณ ที่นี้ก็มีอาสนะที่ปูลาดไว้เป็นปรกติอยู่แล้ว พระราหุลก็ยังปัดอาสนะนั้นตั้งไว้.
               บทว่า อุทกาทาเน คือ ภาชนะใส่น้ำ. ปาฐะว่า อุทกาธาเน บ้าง.
               บทว่า อายสฺมนฺตํ ราหุลํ อามนฺเตสิ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระราหุล คือตรัสเรียกเพื่อประทานโอวาท.
               จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาไว้มากแก่พระราหุลเถระ. พระองค์ตรัสสามเณรปัญหาแก่พระเถระไว้เช่นกัน. อนึ่ง พระองค์ตรัสราหุลสังยุต มหาราหุโลวาทสูตร จุลลราหุโลวาทสูตร รวมทั้งอัมพลัฏฐิกราหุโลวาทสูตรนี้เข้าด้วยกัน.
               จริงอยู่ ท่านพระราหุลนี้ เมื่อพระชนม์ ๗ พรรษาทรงจับชายจีวร ทูลขอมรดกกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ทรงประทานมรดกแก่ข้าพระองค์เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมอบให้แก่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระบวชให้.
               ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำริว่า  ชื่อว่าเด็กหนุ่มย่อมพูดถ้อยคำที่ควรและไม่ควร เราจะให้โอวาทแก่ราหุล  ดังนี้แล้ว ตรัสเรียกพระราหุลเถระ มีพระพุทธดำรัสว่า ดูก่อนราหุล  ชื่อว่าสามเณรไม่ควรกล่าวติรัจฉานกถา. เธอเมื่อจะกล่าว ควรกล่าวกถาเห็นปานนี้ คือ คำถาม ๑๐ ข้อ การแก้ ๕๕ ข้อ  ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ ฯลฯ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงไม่ทรงละแล้ว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามเณรปัญหานี้ว่า เอกนฺนาม กึ อะไรชื่อว่า ๑ สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงตั้งอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เรากล่าวว่าเป็นอรหันต์.
               พระพุทธองค์ทรงดำริต่อไปว่า  ชื่อว่าเด็กหนุ่มย่อมกล่าวเท็จด้วยคำน่ารัก  ย่อมกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่าเราได้เห็นแล้ว กล่าวสิ่งที่เห็นว่าเราไม่เห็น เราจะให้โอวาทแก่ราหุลนั้น แม้แลดูด้วยตาก็เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย  จึงทรงแสดงอุปมาด้วยภาชนะใส่น้ำ ๔ ก่อน จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยช้าง ๒ จากนั้นทรงแสดงอุปมาด้วยแว่น ๑  แล้วจึงตรัสพระสูตรนี้. ทรงแสดงการเว้นตัณหาในปัจจัย ๔ การละฉันทราคะในกามคุณ ๕  และความที่อุปนิสัยแห่งกัลยาณมิตรเป็นคุณยิ่งใหญ่ แล้วจึงตรัสราหุลสูตร. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะในภพทั้งหลาย ในที่ที่มาแล้วๆ  จึงตรัสราหุลสังยุต. เพื่อทรงแสดงว่า ไม่ควรทำฉันทราคะอันอาศัยเรือน อาศัยอัตภาพว่า เรางาม  วรรณะของเราผ่องใส แล้วจึงตรัสมหาราหุโลวาทสูตร.
               ในมหาราหุโลวาทสูตรนั้น ไม่ควรกล่าวว่าราหุลสูตร ท่านกล่าวไว้แล้วในกาลนี้. เพราะราหุลสูตรนั้นท่านกล่าวด้วยโอวาทเนืองๆ. ท่านตรัสราหุลสังยุต ตั้งแต่พระราหุลมีพระชนม์ได้ ๗ พรรษาจนถึงเป็นภิกษุยังไม่มีพรรษา. ท่านตรัสมหาราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๑๘ พรรษา ท่านตรัสจุลลราหุโลวาทสูตรในเมื่อพระราหุลเป็นภิกษุได้ครึ่งพรรษา. ท่านตรัสกุมารกปัญหา และอัมพลัฏฐิกรา
หุโลวาทสูตรนี้ ในเมื่อพระราหุลเป็นสามเณรมีพระชนม์ ๗ พรรษา.
             
4861  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ราหุลสังยุต เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 10:10:12 am
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค -
ราหุลสังยุตต์ - ทุติยวรรค - ๑๒. อปคตสูตร

[พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]
๑๒. อปคตสูตร
[๖๓๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไป
เฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระราหุลนั่งเรียบร้อย
แล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร
มนัสจึงจะปารศจากอหังการ มมังการและมานะ ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก
ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ พ้นวิเศษแล้ว ฯ
[๖๓๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็น
อนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งหมดนั้น อันอริยสาวกเห็นแล้วด้วย
ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
ดังนี้ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่ถือมั่น [ขันธ์ทั้งห้าก็ควรทำอย่างนี้]
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ...
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีตก็ดี ที่เป็นอนาคตก็ดี ที่เป็นปัจจุบันก็ดี ที่เป็นภายในก็ดี
ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดีเลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี
วิญญาณทั้งหมดนั้นอันอริยสาวกเห็นแล้วด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น
ไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้ ย่อมเป็นผู้หลุดพ้นไปเพราะไม่ถือมั่น
ดูกรราหุล เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล มนัสจึงจะปราศจากอหังการ มมังการ และมานะ
ในกายที่มีใจครองนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ก้าวล่วงส่วนแห่งมานะด้วยดี สงบระงับ
พ้นวิเศษแล้ว ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๑๒
จบทุติยวรรคที่ ๒
_________
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จักขุสูตร
๒. รูปสูตร
๓. วิญญาณสูตร
๔. สัมผัสสสูตร
๕. เวทนาสูตร
๖. สัญญาสูตร
๗. เจตนาสูตร
๘. ตัณหาสูตร
๙. ธาตุสูตร
๑๐. ขันธสูตร
๑๑. อนุสยสูตร
๑๒. อปคตสูตร
จบราหุลสังยุตต์ที่ ๒
4862  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เวลาภาวนา พระพุทธานุสสติ นั้นต้องระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยหรือป่าวคะ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 10:02:21 am
เมื่อเจริญจิตให้เป็นสมาธิ ไม่จำเป็นต้อง นึกถึงพุทธคุณ เีพียงภาวนาวิตก ให้จิตเป็นสมาธิเท่านั้น

ถ้าเป็นการเจริญสติ ให้พิจารณา ในส่วนพระุพุทธคุณ เพื่อภาวนา พระคุณโดยตรง

สั้น ๆ ก่อนนะเพราะพระอาจารย์ไม่ได้นอนมา 7 วันแล้ว ตาปรืออยู่บ้าง

อาจจะไม่ได้ตอบคำถามอีกเป็นสัปดาห์ ใครถามมาก็เก็บไว้ก่อนก็แล้วกัน

ท่านถามคำถามกันสั้น ๆ แต่คำตอบต้องการให้ตอบเยอุะ ๆ เป็นที่ลำบากแก่พระอาจารย์ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
4863  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นามผู้สร้างหนังสือพระกรรมฐานห้อง ๔ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 09:58:52 am
ปกหนังสือ สวยมาก คะ อยากได้ไว้อ่านบ้างต้องทำอย่างไรบ้างคะ

พิมพ์จำนวนเท่าไร คะ ต้นทุนการพิมพ์เท่าไร คะ ?

 :25: Aeva Debug: 0.0004 seconds.
รอพิมพ์ก่อน ถึงจะได้อ่าน ตอนนี้ให้โรงพิมพ์เสนอราคาแล้ว มี 2 โรงพิมพ์

 โรงพิมพ์ย่านสาธร เสนอไว้เล่มละ 62 บาท / โรงพิมพ์ ย่านบางเขน เสนอมาไว้เล่มละ 54 บาท


พิมพ์จำนวนเท่าที่มีเงินพิมพ์
Aeva Debug: 0.0004 seconds.
4864  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ลำดับห้อง ในการภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีเท่าไร คะ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 09:54:46 am
ในระดับขั้นต้น พระพุทธานุสสติ มี 3 ห้่อง

   1. พระธรรมปีติ มี 2 ส่วน คือ พระลักษณะ และ พระรัศมี
      มี 5 ฐาน คือ พระขุททกาปีิิติ เป็นต้น
      มีวิธีปฏิบัติ ในการเดินจิตเฉพาะ
   2. พระยุคลธรรม 6 ประการ
   3. พระสุขสมาธิ เป็นพระพุทธานุสสติแท้ เป็นอุปจาระสมาธิขั้นละัเอียด
   4. พระอานาปานสติ มีนิมิต 2 ส่วน มีการปฏิบัติ 200 ญาณสติ
       มีวิธีการเจริญสมถะ 4 แบบ มีการเจริญวิปัสสนา 5 แบบ
       เป็นอัปปนาจิตตั้งแต่ ปฐมฌาน ขึ้นไป
       ในส่วนของความเป็นพระอริยะบุคคล อานาปานสติก็เพียงพอแล้ว เป็น มหาสติปัฏฐาน โดยสมบูรณ์
   5. จากนี้ไปเป็นกรรมฐานประกอบคือฝึกร่วมกัน เพื่อพอกพูนสมาธิ เห็นว่าแค่ภาวนาดับทุกข์ สิ้นกิเลส
       ก้เพียงพอแล้ว แต่อย่างไรเสียจะบอกว่า ฝึกอานาปานสติสันโดด ก็หาใช่ไม่ เพราะการฝึกใน
       พระพุทธศาสนานั้น มีการฝึกร่วมกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัจเวกขณ เทวตานุสสติ จาคานุสสติ
       สีลานุสสติ พรหมวิหาร อัปปมัญญา เป็นต้นล้วนแล้วแต่ต้องใช้กรรมฐาน ตามสถานการณ์ความเป็นจริง

   ส่วนที่เหลือนั้นท่านทั้งหลาย สามารถอ่านได้จากหนังสือ คู่มือสมถะและวิปัสสนา กรรมฐาน ที่เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม ( สามารถหาซื้อได้ตามร้านหนังสือเช่น ซีเอ็ด เป็นต้น )

 ;)


4865  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จะศึกษาวิปัสสนา ต้องทำอย่างไร คะ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 09:43:16 am
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ในระดับ อุปจาระสมาธิ ดีแล้ว ผู้ฝึกภาวนาสามารถฝึกวิปัสสนา เพื่อความรู้แจ้งใน มรรค ผล

และ นิพพาน ได้ดังนี้

1. กำหนดขันธ์ 5 เป็นอนิจจลักษณะ สัญญา เพื่อมองเห็น

   ขันธ์ 5 ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อสั้นเพียง 2 ส่วน คือ รูป นาม  วิธีเจริญสติ
กำหนดตามขั้นที่ 2 ดังนี้   

  ขั้นที่ 2 รู้ตามความคิด ตรึก นึก เอาเอง คือการพิจารณา พระไตรลักษณ์ ด้วยการตรึก นึก เอาเอง ซึ่งมีอยู่ 4 นัยยะ คือ
    1.กะลาปะ สัมมะสะนะนัย พิจารณารวมกันทั้ง 5 ขันธ์ ว่า รูปนามที่เป็น อดีต อนาคต ปัจจุบัน รูปนาม ภายใน ภายนอก รูปนามที่หยาบ ละเอียด รูปนามที่ เลว ประณีต รูปนามที่ไกล ใกล้ ล้วนแต่ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งสิ้น
    2.อัทธานะ สัมมะสะนะนัย พิจารณารูปนาม ตั้งแต่เป็นเด็ก ๆ  จนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน นี้ ว่า รูปนามที่เป็นอดีต ไม่เป็นรูปนามปัจจุบัน รูปนามปัจจุบัน ไม่เป็นรูปนามของอนาคต  รูปนามภายในไม่เป็นรูปนามภายนอก รูปนามอดีตก็ดับไปในอดีต รูปนามในอนาคตก็ดับไปในอนาคต รูปนามในปัจจุบันก็ดับไปในปัจจุบัน  รูปนามในปัจจุบันไม่เกิดในชาติหน้า แต่มีเหตุปัจจัย สืบต่อกันอยู่ เมื่อปัจจุบันดี อนาคตก็ดี  เมื่อปัจจุบันชั่ว อนาคตก็ย่อมชั่ว
    3.สันตะติ สัมมะสะนะนัย พิจารณาความสืบต่อของรูปนาม เช่น รูปเย็นหายไป รูปร้อนเกิดขึ้น รูปร้อนหายไป รูปเย็นเกิดขึ้น รูปนั่งหายไป รูปยืนเกิดขึ้น รูปยืนหายไป รูปนอนเกิดขึ้น อย่างนี้เป็นต้น ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปรสืบต่อกันอยู่อย่างนี้ ตลอดไปดังนั้น รูปนามจึงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    4.ขะณะ สัมมะสะนะนัย พิจารณาเห็นความเป็นไปของรูปนามชั่ว ขณะ หนึ่ง ๆ คือพิจารณาเห็น ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม ซึ่งนิยมเรียกว่า  อุปปาทะ(เกิดขึ้น) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ(แตกดับไป) จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีรูปนาม เกิดดับ ติดต่อกันอยู่อย่างนี้ตลอดไป ทั้ง กลางวัน และ กลางคืน ดังนั้น รูปนาม จึงเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

2.กำนหนอ อายตนะ ภายใน และ ภายนอก เมื่อผัสสะเกิด ให้พิจาณาเป็นความไม่มีตัว ไม่มีตน
  เรียกว่า อนัตตสัญญา ยกตัวอย่าง

   ตา กระทบ กับ รูป ผัสสะ เกิด เวทนา เกิด หยุดตัณหา เพราะรู้เท่าทันตามความเป็นจริง ว่า
รูป เกิดเพราะผัสสะทาง ตา รูปดับเพราะผัสสะทางตาดับ ยึดมั่น ถือมั่นมิได้ ไม่ใช่เรา ไม่ใชของเรา
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้เป็นต้น พึงรู้ได้ด้วย วิปัสสนาแห่งตนเถิด

 
อายตนะ ภายใน ผัสสะ อายตนะ ภายนอก
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจขันธ์เกิดขึ้นรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์

 ;)
4866  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เวลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 09:29:51 am
อ้างถึง
วลานั่งกรรมฐาน ไปแล้ว ถ้า ปวดขา เป็นเหน็บ เราควรทำอย่างไร ครับ

สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ภาวนาตามความตั้งใจ ให้ใจวางจากเวทนาเสีย ไม่ต้องไปพะวงกับเวทนา

อันนี้ตอบอย่างพืนฐาน ของคนทั่วไป ก็ควรจะตอบว่า ควรจะมีความอดทน เพราะความเพียร และ อดทน

เป็นตบะเครื่องเผากิเลส อย่างยิ่ง

ที่นี้กลับมาตอบ แบบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นอย่างไร ?

เป็นเพราะว่า บุคคลไม่ภาวนาให้อยู่ในองค์บริกรรม จึงทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ เพราะถ้าจิตเป็นสมาธิ จนได้

พระลักษณะ ของ พระธรรมปีติแล้ว ตอนทึ่จิตฝึก อนุโลม ปฏิโลม สะกด ก็ตามนั้น จิตเป็นอุปจาระสมาธิ

ขั้นกลางแล้ว ดังนั้นเมื่อปีติดับโดยธรรมชาติ เมื่อปีติดับ เมื่อใด เมื่อนั้น ก็ย่อมเข้า ยุคลจิต อัน สหรคต ด้วย

กายสุข จิตสุข เพื่อเข้าสู่ภาวะของอุปจาระฌานเต็มขั้น เมื่อใดที่ภาวนาได้ดวงจิตมั่นคงดีแล้ว ก็ย่อมลุล่วง

เวทนาอันเป็น สุข หรือ ทุกข์ หรือ กลาง ๆ ได้

ดัีงนั้นถ้าถามว่าเวทนา สุข ทุกข์ กลาง ๆ ทั้งปวง จะดับได้ตอนไหน ดับได้เมื่อจิตเข้าสู่ปฐมฌาน แล้วนั่นเอง

ดังนั้นตั้งแต่ฌาน 4 ขึ้นไปจึงดับเวทนาจริง ๆ ผู้ฝึกที่ไม่ได้มีิจิตเป็นอุปจาระฌาน ขึ้นไป ย่อมยังคงมี เวทนาอยู่

เป็นธรรมดา

เจริญพร

 ;)


4867  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม เวลาปฏิบัติกรรมฐาน ต้องสมาทานศีลก่อน ครับ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 09:22:23 am
ศีล เป็นบาทฐาน ในบวรพระพุทธศาสนา

ศีล เป็นคุณธรรม ให้งามทาง กาย วาจา

ศีล เป็นคุณเครื่อง ให้ถึงสมาธิ

ศีล เป็นเหตุให้เกิดโภคทรัพย์

บุคคลจะก้าวล่วงจากทุกข์ ได้ก็เพราะมีศีลเป็นเบื้องต้น

ส่วนเวลาอยู่บ้านแล้ว ไม่มีพระสงฆ์ ก็ถือว่าได้สมาทานแล้ว ให้น้อมจิตไปในศีลที่มีอยู่ ว่าหมดจด งดงาม

เป็นที่สรรเสริญ แก่ตนเอง หรือ พระอริยะเจ้า หรือยัง

ปกติ ชาวพุทธจะสมาทานศีล เป็นพื้นฐานไม่ว่าประกอบพิธีใด ๆ ก็ตาม งานศพ งานแต่ง งานมงคล งานไม่มงคล ก็มีศีลเป็นเครื่องนำทาง

ศีล เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ ๆ เป็นเหตุให้เกิด ปัญญา ๆ เป็นคุณเครื่องให้เกิดในนิพพาน

 ;)
4868  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ ห้องที่ 4 ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: ตุลาคม 28, 2010, 09:17:36 am
อ้างถึง
คณนา อนุพันธนา ผุสนา ฐปนา คืออะไรครับ

ขั้นตอนการปฏิบัติพระอานาปานุสติ กรรมฐาน แบบกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
  ผู้ฝึกรรมฐาน พึงกล่าวคำสรรเสริญพระรัตนตรัยกระทำการขอขมา และอธิษฐานเช่นเดียวกับในส่วนของ พระพุทธานุสสติ กรรมฐาน จึงขอละในฐาน ที่เข้าใจกัน
คำอาราธนาสมาธินิมิต ในห้องพระอานาปานุสติ
         ข้าพเจ้า ขอภาวนา อานาปานสติกรรมฐานเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระอุคคหนิมิต (ปฏิภาคนิมิต) ในห้องอานาปานสติกรรมฐานเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้า จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด  ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่ พระมหาอัญญาโกณฑัญญะเถระเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
    ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
    อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าพเจ้า จะขอปฎิบัติบูชา ตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายังพระอุคคหนิมิต (ปฏิภาคนิมิต) ในห้องอานาปานสติกรรมฐานเจ้า นี้จงได้เจ้า นี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน  จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าพเจ้าในขณะเมื่อข้าพเจ้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิด
       อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ  ภะคะวาติ
    สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
    อะระหัง อะระหัง อะระหัง ( และกราบ ๑ ครั้ง เตรียมนั่งกรรมฐาน
        หายใจออก ภาวนา ๑-๒-๓-๔-๕  หายใจเข้าภาวนาว่า ๕-๔-๓-๒-๑
การกำหนดรู้โดยย่อ ในพระอานาปานสติ กรรมฐานเจ้า
๑.คณนา การนับลมหายใจเข้า ออก เป็นอนุโลม (เดินหน้า) และ ปฏิโลม (ถอยกลับ)
๒.อนุพันธนา การติดตามลมหายใจ เข้า ออก อย่างต่อเนื่อง
๓.ผุสนา การกำหนดสติตามลมหายใจในจุดกระทบ ที่กำหนดได้ง่าย ๆ
๔.ฐปนา การกำหนดจิตตั้งมั่นในจุดกระทบ ซึ่งในพระกรรมฐานมีการกำหนดไว้ ๙ จุดด้วยกันดังนี้ ให้ดูตามภาพประกอบ
4869  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 07:21:07 am
หลักภาวนาในการหยุดวงจร ปฏิบัติภาวนา ปฏิจจสมุปบาท นั่นก็คือรู้เห็นตามความเป็นจริง

ว่า สิ่งนี้เนืองด้วยสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิด สิ่งนี้เนื่องด้วยสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงตั้งอยู่ สิ่งนี้เนื่องด้วยสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับ

สำหรับผู้ฝึกเริ่มต้น ควรตามดูที่ ผัสสะ กับ อายตนะ กระทบกัน ให้ว่างจากเรา จากของเรา จากตัวตนของเรา

สำหรับ ผู้ฝึกที่เป็นพระอิรยะบุคคลนั้น ก็ดับลงตามส่วน คือหย่อนทวนกลับ

ส่วนใหญ่ ถ้าละได้แล้ว ก็จะหยุดที่ วิชชา ก็จะไม่เข้าไปในวงจรแห่งกรรมอีก

ไม่จำเป็นต้องหยุดสังขาร เพราะเป็นวิชชาแล้ว ตั้งแต่ต้น

ดูหลักการง่าย ๆ ก็คือ

เมื่อ ตา ผัสสะ กับ รูป ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง วิชชาก็เกิด เพราะพ้นจากความยึดมั่น ถือมั่น เป็นต้น

เจริญพร

 ;)
   
4870  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เกี่ยวกับการฝึกเมตตา เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 07:15:18 am
อ้างถึง
ได้ยินว่า ออกบัวบานพรหมวิหารสี่ เป็นคุณธรรมสูงสุดในกรรมฐาน มัชฌิมา ใช่หรือไม่ครับ

ถ้าผมจะฝึก ออกบัวบานพรหมวิหารสี่ นั้นควรจะเริ่มอย่างไร ครับ

จะกล่าวว่าเป็นธรรมสูงสุด นั้นทีเดียวทั้งหมด ก็หาิมิได้ เพราะ ออกบัวบานพรหมวิหาร 4 นั้นมี 2 ระดับ

คือ ระดับอุปจาระฌาน และ อัปปนาฌาน ผลย่อมแตกต่างกัน เป็นหนึ่งในกรรมฐาน ส่วนหนึ่ง

ความสูงสุด ของกรรมฐาน นั้นอยู่ที่ นิโรธสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ อเนญชาสมาบัติ เจโตสมาธิอนิมิต

ถ้าต้องการฝึกก็ควรจะเริ่มจาก พระพุทธานุสสติ ก่อน และทำควบคู่กันไป

 การแผ่เมตตา นั้น ภาษากรรมฐานใช้คำว่า ออกทิศต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งหมด สิบทิศ

 การฝึกก็มี 2 ส่วน คือ พรหมวิหาร และ อัปปมัญญา ทั้งสองอย่างนั้นก็คล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน

 หัวข้อก็เหมือนกัน คือเริ่มสมาทาน เมตตาพรหมวิหาร กรุณาพรหมวิหาร มุทิตาพรหมวิหาร อุเบกขาพรหมวิหาร

ส่วนมากอาตมาจะให้ศิษย์ฝึกฝนในส่วน พระธรรมปีติขั้นที่ 4 ห้องที่ 1 เป็นต้นไปเพราะกำลังจิตเพียงพอแล้ว

เจริญพร

รายละเอียดการฝึก ปรากฏข้อความในหนังสือ หลักปฏิบัติสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ที่รวบรวมเรียบเรียง

โดยพระครูสิทธิสังวร แล้วติดตามอ่านได้ในหนังสือนั้น
 ;)



4871  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ไม่ชอบนั่งกรรมฐาน แต่อยากพักผ่อนจิต แบบพระพุทธศาสนา คะ เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 06:59:15 am
อันที่จริง จิตสงบได้นั้น ก็เป็นสมาธิ ส่วนหนึ่ง แต่เอาเป็นอันว่าเข้าใจคำถาม นะ

ถ้าเราไม่ชอบนั่งกรรมฐาน แต่ต้องการดำเนินจิตแบบพระพุทธศาสนานั้น ก็ต้องวางอุบายลงไป

เป็นกรรมฐาน อันประกอบด้วยการงาน เช่น ทำงานบ้าน ก็ทำด้วยความรูสึกว่าเป็นหน้าที่ ทำให้ดีที่สุด

ที่จะได้ทำ ทำแล้วก็ขอให้ทุกคนมีความสุข ในสิ่งที่เราทำ แบบนี้เป็นต้น ก็พอได้

หรือ เปลี่ยนวิธี นั่งฟังธรรมะ ฟังบทธรรมะ ต่าง ๆ หรือ สวดมนต์ อันนี้ก็เป็นอุบายให้จิตสงบปราศจาก

สิ่งรบกวน คือ กิเลสได้ ทำใจให้ผ่องใสได้นั้น ก็ต้องตั้งความคิดดี เป็นหลัก คิดในกรอบของกุศลต่าง ๆ

อันนี้จิตย่อมผ่องใสได้ เพราะคุณธรรมนั้น ๆ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
4872  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เกีี่ยวกับเวลาการนั่งกรรมฐาน นาน ๆ เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 06:54:54 am
ภาวนา ตามขั้นตอน เดี๋ยวก็ได้

สิ่งสำคัญ คือการวางจิตไว้ให้เป็นกลาง อย่าคาดหวังว่าเราจะนั่งได้ สำเร็จอย่างนั้นอย่างนี้

และก็อย่าทำใจให้หมดหวังว่า ไม่มีทางภาวนาได้ ที่สำคัญให้ภาวนาตามขั้นตอนก็เท่านั้นเองนะจ๊ะ

เดี๋ยวก็ทำได้ ต้องหมั่นฝึกฝน อย่าไปคิดว่าเรามีบุญญาธิการ อะไรมาก ประเดี๋ยวจะทำให้ขี้เกียจ

ที่สำคัญ ระหว่างภาวนานั้น อุปาทาน จิตหลอก จิตหลอน จิตอุปาทาน ก็จะสร้างภาพตามที่เรานึกไว้

คิดไว้ ทำให้เห็นเป็นเรื่อง เป็นราว การฝึกกรรมฐาน สำหรับสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

จึงไม่สนใจในรูปทั่วไป สนใจแต่รูปปรมัตถ์ โดยเฉพาะพระรัศมีนั้น มีแบบเดียวเท่านั้น

ขยันหมั่นฝึกฝน เดี๋ยวก็ทำได้ นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;)
4873  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มีหลักการในการพิจาณา อนิจจัง ในกรรมฐาน หรือป่าวครับ เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 06:50:26 am
ในการฝึกอานาปานสติ มีการกำหนด อนิจจลักษณะ 2 ส่วน คือส่วนของความไม่เที่ยง 25 ประการ

ส่วนของความเสื่อม ( ทุกข์ ) 25 ประการ รวมกันเป็นหลักกำหนด อนิจลักษณะ 50 ประการ ดังนี้

        ๑.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจออก
        ๒.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในรูปหายใจเข้า
        ๓.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนาหายใจเข้า
        ๔.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในเวทนาหายใจออก
        ๕.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสัญญาหายใจเข้า
        ๖.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสัญญาหายใจออก
        ๗.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสังขาร หายใจเข้า
        ๘.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในสังขาร หายใจออก
        ๙.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในวิญญาณ หายใจเข้า
        ๑๐.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในวิญญาณ หายใจออก
        ๑๑.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจักษุ หายใจเข้า
        ๑๒.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจักษุ หายใจออก
        ๑๓.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในหู หายใจเข้า
        ๑๔.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในหู หายใจออก
        ๑๕.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจมูก หายใจเข้า
        ๑๖.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจมูก หายใจออก
        ๑๗.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในลิ้น หายใจเข้า
        ๑๘.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในลิ้น หายใจออก
        ๑๙.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในกาย หายใจเข้า
        ๒๐.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในกาย หายใจออก
        ๒๑.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจิต หายใจเข้า
        ๒๒.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาในความไม่เที่ยงในจิต หายใจออก
        ๒๓.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะ หายใจออก
        ๒๔.ย่อมศึกษาว่า จักพิจารณาความไม่เที่ยงในชราและมรณะ หายใจเข้า
        ๒๕.ย่อมศึกษาว่าจักพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาความไม่เที่ยงหายใจออกหายใจเข้า ( พิจารณาความเสื่อมอีก ๒๕ ลักษณะ รวมกันเป็น ๕๐ ลักษณะ )

4874  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าเราต้องการหยุด ความฝัน คือไม่อยากฝัน ต้องฝึกกรรมฐานอะไรครับ เมื่อ: ตุลาคม 26, 2010, 06:43:31 am
ความฝันเกิดจากสังขารจิต ของปุถุชน ความฝันเป็นเรื่องปกติของชนที่ยังมีกิเลส

ผู้ที่หยุดความฝันได้นั้น ต้องเป็น พระอนาคามี ระดับ 3 ขึ้นไปมีสมาบัติด้วย ถึงจะหมดความฝันได้

เรื่องนี้คงช่วยได้ยาก เพราะต้องอยู่ที่การภาวนาจริง ๆ แล้ว

แต่ถ้าบรรเทา จิต จากฝันร้ายนั้น ยังพอมีทางช่วยอยู่

ถ้าไม่อยากฝันร้าย ก็ให้สวดมนต์ บท พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ก่อนนอน ตอนนี้ที่จะหลับ

ก็ภาวนา พุทโธ หลับไปด้วยเลย ฝันดีแน่ ๆๆๆ

เจริญพร
 ;)
4875  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ในพรรษา พระอาจารย์ภาวนาอะไร คะ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 06:07:12 pm
คำถามจากเมล

ในพรรษานี้ พระอาจารย์ภาวนาอะไรคะ พอเล่าให้ฟังได้หรือป่าวคะ

ตอบ ในพรรษานี้ พระอาจารย์ แบ่งเวลาเป็นการภาวนาในอานาปานสติ เป็นหลัก ในเดือนแรกภาวนาวันละ 3 ชม

แบ่งเวลาในการพิมพ์หนังสือและตอบกระทู้

ในเดือนที่สอง ภาวนา อานาปานสติ เป็นหลักวันละ 3 - 5 ชม. มีการปฏิบัติ เนสัชชิกธุดงค์ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ คือนั่ง 1 สัปดาห์ และ นอน 1 สัปดาห์ สลับกันทั้งเดือน เวลาที่เหลือพิมพ์หนังสือ และตอบกระทู้

ในเดือนสุดท้าย หยุดการพิมพ์หนังสือ หยุดตอบคำถาม อธิษฐานนั่งกรรมฐาน ตั้งแต่พระพุทธานุสสติ จนถึง
พระอานาปานสติ อธิษฐานนั่งกรรมฐาน ติดต่อมากกว่า 96 ชั่วโมง นั่งยาวเลย ในช่วงก่อนออกพรรษาเวลามี
น้อยกลับมาพิมพ์หนังสือ อธิษฐานนั่งกรรมฐานติดต่อกนเป็นเวลา 96 ชั่วโมง


ดังนั้นในพรรษานี้ สูงสุดนั่งกรรมฐานติดต่อแบบยาว ๆ ได้เพียง 96 ชั่วโมง 1 ครั้ง  48 ชั่วโมง  5 ครั้ง
24 ชม. 12 ครั้ง 3 - 5 ชม. 74 ครั้ง เพราะช่วงนี้มีเวลาภาวนาเป็นส่วนตัวไม่ได้อยู่ที่วัด อยู่ในสถานที่
เฉพาะจึงสามารถ ภาวนาได้ดังกล่าว

ส่วนเนสัชชิกธุดงค์นั้น ปฏิบัติได้ 15 วัน คือ 2 ครั้ง ใช้เวลาหลับเพียง 45 นาทีต่อวัน คือนั่งหลับ ส่วนใหญ่
จะเป็นการเดินจงกรมในช่วงสมาทาน เนสัชชิกธุดงค์

ทั้งพรรษา ฉันอาหารมื้อเดียวเป็นส่วนใหญ่

เล่าให้ฟังเพียงเท่านี้เถอะนะ

เจริญพร
 ;)

 
                                                                                   
4876  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:55:30 pm
คำถามจากเมล

พระอาจารย์มีความเห็นอย่างไร กับการปิดวาจาระหว่างการฝึกกรรมฐาน

ตอบ การฝึกกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็น สมถะ หรือ วิปัสสนา ส่วนใหญ่นั้นจะนิยมการปิดวาจา

การปิดวาจา ก็คือ การหยุดพูด เพ้อเจ้อ ส่อเสียด คำหยาบ คำโกหก เป็นต้น

ดังนั้นการปิดวาจา จักให้ทำให้ ศีล ในส่วนนี้สมบูรณ์ มาตรฐานก็เห็นด้วย

แต่ในส่วนของพระอาจารย์เอง เวลาไปฝึกกรรมฐาน ไม่เคยสั่งให้ ศิษย์ปิดวาจา แต่เปิดโอกาส มีการสนทนา

แลกเปลี่ยนกัน เพราะเมื่อทุกคนปฏิบัติในช่วงที่พระอาจารย์ 80 % ได้สมาธิ ขั้นต่ำก็ 30 นาที

และอีก 80 % ที่เจริญวิปัสสนาได้ ดังนั้นจึงไม่ห่วงเรื่องการปิดวาจา เพราะผู้ที่ตั้งใจมาปฏิบัติภาวนา

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ส่วนใหญ่เป็นผู้มุ่งมั่นในการภาวนา ส่วนใหญ่จะเป็นสาวกภูมิด้วย

จึงไม่มีความจำเป็นต้องสั่งปิดวาจา ให้กับศิษย์กรรมฐาน

เจริญพร

 ;)
4877  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้น กรรมฐาน หรือไม่ ? เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:49:48 pm
คำถามจากเมล

ฝึกกรรมฐาน จำเป็นต้องขึ้นกรรมฐาน หรือไม่?

ตอบ ถ้าไม่ได้ฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นกรรมฐาน ท่านสามารถเลือกฝึกฝนได้

ในตำราทางพระพุทธศาสนาซึ่งมีกรรมฐาน ปรากฏเป็นกองสันโดด 40 กองกรรมฐาน กับกรรมฐานที่ไม่ปรากฏ

เป็นกองใดกองหนึ่ง เช่น การฝึก รโช หรณัง ของพระจูฬปันถก การเพ่งดอกบัวนิรมิตของสัทธิวิหาริก ของ

พระสารีบุตร เป็นต้น ท่านสามารถเลือกฝึกได้ด้วยตนเอง

แต่ถึงแม้ไม่ขึ้นกรรมฐาน ก็ควรกล่าวถึง พระรัตนตรัยว่าเป็น สรณะ เป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย

ส่วนถ้าผู้ใดต้องการฝึกกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็เชิญได้ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม นะจ๊ะ


เจริญพร

 ;)
4878  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นั่งสมาธิ ควรลืมตา หรือ หลับตา ดีครับ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:44:49 pm
คำถามจากเมล 

นั่งสมาธิ ควรจะลืมตา หรือ หลับตาดีครับ


ตอบ  นั่งสมาธิ ถ้าพูดตามหลักการแล้ว ก็ควรจะหลับตาม แต่บางกรรมฐาน ก็ใช้การลืมตาเช่น

  กสิณ อสุภ ธาตุปฏิกูละ กายคตาสติ จตุธาตุววัตถาน เป็นต้น เหล่านี้ก็ใช้การลืมตามเป็นหลัก

  อานาปานสติ นั้นเป็นได้ ทั้งลืมตา และ หลับตา

  แต่ทุกกรรมฐาน ไม่ได้มีผลกับรูป ภายนอก มีผลกับรูป ภายใน คือจิต

  ดังนั้น สมาธิ เป็นเรื่องของจิต สภาวะจิต น้ำจิตตั้งมั่น ดังนั้นตาภายนอกมองไม่เห็น มีแต่ตาใจ ตาจิต เท่านั้น

  ที่จะมองเห็นได้


  ส่วนพระไตรปิฏก ไม่มีคำกล่าว วิธีการปฏิบัติให้ลืมตา หรือ หลับตา

  ที่กล่าวไว้ ก็มีเช่นนี้เป็นส่วนใหญ่ว่า ตั้งกายตรง ขัดสมาธิเพชร ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เป็นต้น

  ดังนั้นผู้ฝึกถ้าสะดวก ลืมตา ก็ฝึกแบบลืมตา

        ผู้ฝึกถ้าสะดวก แบบไม่ลืมตา ก็ฝึกแบบไม่ลืมตา

     จะัลืมตา หรือ หลับตา ถ้าฝึกแล้ว จิตตั้งมั่นได้ไว และตั้งมั่นได้เลย ก็ใช้ได้

  นะจ๊ะ เจริญพรแค่นี้ก่อน

  ;)

     
4879  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / จะศึกษาวิปัสสนา ต้องทำอย่างไร คะ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:36:46 pm
เมล์ มาถามนะคำถามนี้

จะศึกษาวิปัสสนา ต้องทำอย่างไร คะ ?

ตอบ 1.ต้องมีศีลเป็นที่ตั้ง งดงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ในฐานะที่ควรแก่การภาวนา เพราะศีลเป็นบาทฐานแห่ง วิปัสสนา ในวิสุทธิ 7 จัดเป็นลำดับที่ 1 คือ ศีลวิสุทธิ

      2.ต้องศึกษาหลักธรรม องค์ วิปัสสนา ซึ่งพูดสั้น ๆ ก็มี ขันธ์ 5 กับ อายตนะ 12 เท่านี้ก็พอ เพราะต้องใช้ในองค์บริกรรม วิปัสสนา

      3.วิปัสสนาจะมีผลมากถ้า มี นิพพิทา คือความหน่าย ต่อสังสารวัฏฏ์

      4.หมั่นอบรมจิตให้ตั้งมั่น ในขั้นอุปจาระสมาธิ ขึ้นไป เพราะจิตที่เป็นสมาธิ จะมองเห็นตามความเป็นจริงได้ จิตที่ไม่ตั้งมั่น มีโอกาสน้อยที่จะพิจารณาธรรม ( วิปัสสนา )ได้

      5.กรรมฐาน 4 อย่างไม่ควรขาดในการทำวิปัสสนา

        5.1  พระพุทธานุสสติ

        5.2  มรณัสสติ
     
        5.3  กายคตาสติ
 
        5.4  เมตตาพรหมวิหาร

     6.ตั้งมั่นใน ทาน ในศีล ในภาวนา

   รวม ๆ ก็มีแค่นี้ นะจ๊ะ


  เจริญพร

   ;)
4880  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ ห้องที่ 4 ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: ตุลาคม 23, 2010, 05:27:48 pm
พระอานาปานสติ เป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับในห้องที่ 4 มีพลานุภาพมาก

ผู้ฝึกหลังจากผ่าน ห้องพระพุทธานุสสติแล้ว ก็จะสามารถยกดวงจิตได้ ตั้งได้เป็น อุคคหนิมิต

และ ปฏิภาคนิมิต มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหายใจโดยตรง ก็คือเรื่อง การหายใจ ที่เป็น สูรยกลา กับ จันทกลา

ในส่วนนี้คงไม่สามาถอธิบายลงไปในเว็บได้

แต่ ถ้าเราปฏิบัติกรรมฐาน อานาปานสติสันโดด เลยได้ไหม ก็ตอบว่าได้ เพราะวิชาในพระพุทธศาสนานั้น

ปฏิบัติได้ตามที่ท่านต้องการ เป้าหมายคือการสละกิเลสออก


ดังนั้น ในส่วนของการฝึก อานาปานสติ นั้น มีเครื่องมือจริง อยู่ 3 อย่างคือ

1.อัสสาสะ ลมหายใจออก ( อานา )

2.ปัสสสาสะ ลมหายใจเข้า ( อปานะ

3.นิมิต คือเครื่องกำหนด ( อนุสสติ ) ที่จริงแล้วก็คือ วิธีการ ตั้งแต่

  คณนา อนุพันธนา ผุสนา ฐปนา ในส่วนของวิปัสนานั้นยังมีอีก 5 ( เอาไว้ก่อน ยังไม่ต้องรู้ )

ดังนั้น แม้พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นก็ฝึกตามแบบ กรรมฐานสันโดด เช่นเดียวกัน

หลวงปู่มักจะกล่าวว่า อัสวาตะ ปัสสวาตะ นิสสวาตะ อาตมัน สุญญัง เป็นต้น คืออันเดียวกัน

เพราะการปฏิบัติ ทั้งหมดอยู่ที่ลม ตั้งอยู่ที่ลม ดับแล้วที่ลม


ลมจัดเป็น กาย เป็น เวทนา  เป็น จิต เป็น ธรรม

 การฝึกในอานาปานสติมีเท่านี้ นะจ๊ะไม่เกินจากนี้แล้ว     ความฝึกตน ๑  ความสงบตน ๑ความยังตนให้ปรินิพพาน ๑ ความรู้ยิ่ง ๑ ความกำหนดรู้ ๑ ความละ ๑ ความเจริญ ๑ ความทำให้แจ้ง ๑ ความตรัสรู้สัจจะ ๑ ความยังตนให้ประดิษฐานอยู่ในนิโรธ ๑


เป็นข้อความส่วนหนึ่งในหนังสือที่จะพิมพ์

เจริญพร

 ;)
หน้า: 1 ... 120 121 [122] 123 124 ... 132