ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กัณหชาดก(วัวยอดกตัญญู)  (อ่าน 2676 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กัณหชาดก(วัวยอดกตัญญู)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 10:59:04 am »
กัณหชาดก(วัวยอดกตัญญู)

..…เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ ขณะที่แสดงปาฏิหาริย์นั้น พระพุทธองค์ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นองค์หนึ่งเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายได้ถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ อีกด้วย ปรากฏว่าในการชมปาฏิหาริย์ครั้งนี้ ทำให้มีผู้บรรลุธรรมขั้นต่างๆ มากมาย

.....หลังจากนั้น พระพุทธองค์เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา เมื่อพระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดเทพบุตรพุทธมารดาจนครบ ๓ เดือนแล้ว จึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ทางด้านประตูเมืองสังกัสสะ ใน วันมหาปวารณา และทรงแสดงปาฏิหาริย์อีกครั้ง ด้วยการเปิดโลกทั้งสาม คือ นรก สวรรค์ และมนุษยโลก ให้ทุกคนมองเห็นซึ่งกันและกัน บังเกิดสัมมาทิฏฐิโดยทั่วหน้ากัน

.....ในวันต่อมา พระภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในธรรมสภา พระพุทธองค์ทรงทราบดังนั้น จึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้นที่เราสามารถทำธุระที่ไม่มีผู้ใดกระทำได้ แม้เมื่อก่อน เรามีกำเนิดเป็นเพียงสัตว์เดียรัจฉาน เราก็สามารถทำธุระที่บุคคลอื่นไม่สามารถทำได้เช่นกัน"

.....พระพุทธองค์จึงทรงนำ กัณหชาดก มาตรัส ดังนี้้

  :: ข้อคิดจากชาดก ::   


.....๑. ลักษณะเด่นของผู้นำคือ ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ควรต้องทำเป็นตัวอย่าง เพื่อไว้ฝีมือให้ลูกน้องเกิดศรัทธาในความรู้ความสามารถ จะได้เกิดกำลังใจทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

.....๒. ใครที่เป็นผู้ใหญ่ เมื่อรับปากเด็กแล้ว อย่ากลับกลอกบิดพริ้วเป็นอันขาด

.....๓. ความกตัญญูกตเวที เป็นคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานของคนมีความรับผิดชอบ

.....๔. การรับคนเข้าทำงาน ถ้าต้องการจะให้ได้คนดีจริง มีความรับผิดชอบสูง ควรเลือกจากผู้ที่ความความกตัญญูต่อพ่อแม่ และเว้นจากอบายมุขโดยเด็ดขาด





ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=6
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ