ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สุขวิหารีชาดก(สุขอันเกิดจากการบรรพชา)  (อ่าน 2589 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สุขวิหารีชาดก(สุขอันเกิดจากการบรรพชา)
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2012, 11:06:40 am »
สุขวิหารีชาดก(สุขอันเกิดจากการบรรพชา)

 สมัยหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัต ครองกรุงพาราณสี มีพราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อ อุทิจจะ เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องมาก เป็นที่นับถือยกย่อง มีลูกศิษย์มาก ได้พิจารณาเห็นโทษของการครองเรือน และเห็นอานิสงส์ของการออกบวช จึงนำทรัพย์ออกแจกจ่ายเป็นทาน แล้วไปอยู่ในป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษี ฝึกสมาธิจนได้ณานโลกีย์บรรลุสมาบัติ ๘ มีลูกศิษย์ ๕๐๐ คน เป็นบริวาร

                    ในช่วงฤดูฝนไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนา ฤาษีอาจารย์จึงพาศิษย์เข้ามาพำนักในเมือง พระเจ้ากรุงพาราณสี จึงพระราชทานพระราชอุทยานให้เป็นสถานที่บำเพ็ญภาวนา เมื่อสิ้นฤดูฝน พระเจ้าพาราณสีเห็นว่า พระฤาษีอาจารย์นั้นชราภาพมากแล้วจึงอาราธนาให้ท่านพำนักอยู่ต่อ ส่วนลูกศิษย์ก็ให้กลับไปบำเพ็ญเพียรในป่าหิมพานต์กันเองตามลำพัง

                   วันหนึ่งศิษย์คนโตรู้สึกคิดถึงอาจารย์ จึงเดินทางไปเยี่ยมเยียนอาจารย์ ขณะศิษย์คนโตลงนอนในสำนักพระอาจารย์ พระเจ้าพรหมทัตได้เสด็จมาถึงเพื่อกราบมนัสการฤาษีอาจารย์เช่นกัน ฤาษีผู้เป็นศิษย์แม้จะเห็นพระเจ้าพรหมทัต ก็มิได้ลุกขึ้นทำการต้อนรับตามมารยาทอันดีแต่ประการใด กลับนอนเฉยเสีย ซ้ำยังเปล่งอุทานออกมาอีกว่า “ สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ”

                    พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรแล้ว รู้สึกขัดเคืองพระทัยจึงตรัสถามพระฤาษีอาจารย์ว่า “ ข้าแต่พระผู้เจริญ ดาบสผู้นี้ เห็นทีจะฉันจนอิ่มหนำสำราญมากเสียแล้ว จึงคร้านที่จะลุกขึ้น ได้แต่นอนเปล่งอุทานสบายอารมณ์อยู่อย่างนี้ ”

                    พระฤาษีอาจารย์จึงตอบว่า ศิษย์ผู้นี้เดิมก็เป็นกษัตริย์ แต่ที่อุทานออกมาเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะอิ่มจัด ไม่ใช่เพราะต้องการกลับไปแสวงหาความสุขจากราชสมบัติ แต่คิดว่าการออกบวชนั้นเป็นสุขจริง ๆ สุขยิ่งกว่าการเป็นกษัตริย์ เป็นสุขสองชั้น

                     กล่าวคือ สุขที่ไม่ต้องหวาดผวาจากการถูกปองร้าย สุขที่ไม่ต้องมีภาระดูแลราชการบ้านเมือง และไม่ตกเป็นภาระแก่ใคร ๆ ให้ต้องคอยปกป้องอารักขาความปลอดภัย นับเป็นสุขชั้นแรก อนึ่งสุขจากการบรรลุธรรมเป็นสุขอันเลิศ ที่ไม่ต้องอาศัยบุคคลและวัตถุใด ๆ นับเป็นสุขชั้นที่สอง เพราะเหตุนี้ จึงเปล่งอุทานอยู่เสมอ ๆ ว่า “สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ”

                       พระเจ้ากรุงพาราณสีสดับพระธรรมเทศนาด้วยใจที่เบิกบานแช่มชื่น เข้าพระทัยแล้วก็มิได้ถือโกรธดาบสผู้นั้น ดาบสผู้ศิษย์เองก็กราบลาพระอาจารย์กลับสู่ป่าหิมพานต์บำเพ็ญเพียรต่อไป ส่วนพระอาจารย์ได้พำนักอยู่ ณ พระราชอุทยานจนสิ้นอายุขัย เมื่อละโลกไปแล้วได้ไปบังเกิดในพรหมโลก ด้วยอำนาจณานสมาบัติ

ประชุมชาดก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมชาดกว่า

ศิษย์ผู้เป็นหัวหน้า ได้เกิดมาเป็นภัททิยะพระฤาษีอาจารย์ ได้เกิดมาเป็นพระองค์เอง

ข้อคิดจากชาดก

บุคคลแม้มีจิตใจใสสะอาด แต่กิริยามารยาทยังสำรวมระวังไม่พอ ก็อาจมีผู้เข้าใจผิด คิดเป็นศัตรูได้ โบราณจึงเตือนว่า

“ อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา

อยู่ท่ามกลางปวงประชา ให้ระวังทั้ง กาย วาจา ใจ ”





ที่มา http://www.intaram.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=34&thispage=7
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ