สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: ปัญญสโก ภิกขุ ที่ กรกฎาคม 13, 2016, 05:57:26 pm



หัวข้อ: บาลีภาษาน่ารู้ "มัคทายก"
เริ่มหัวข้อโดย: ปัญญสโก ภิกขุ ที่ กรกฎาคม 13, 2016, 05:57:26 pm
มคฺคนายก (ปุํลิงค์)
...ความหมาย : มัคนายก*
...แปลตามศัพท์ : บุคคลผู้นำทาง
...รูปวิเคราะห์ : มคฺคํ เนตีติ มคฺคนายโก.
...มาจาก มคฺค(ปุํ) แปลว่า ทาง เป็นบทหน้า, นี ธาตุในการนำไป ลง ณฺวุ ปัจจัยในนามกิตก์, พฤทธิ์ อี เป็น เอ แปลง เอ เป็น อาย, แล้วแปลง ณฺวุ เป็น อก
*มัคนายก ใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ประสานติดต่อระหว่างวัดกับชาวบ้านในกิจการต่างๆ ของวัด หรือผู้เป็นหัวหน้าในพิธีทำบุญในวัด มักเรียกเพี้ยนเป็น มัคทายก

(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-0/p480x480/13592304_1640337079617832_1413133726743384059_n.png?oh=8bb888839cd8c08e9fe374561919dbc7&oe=5824CA7E)

ความหมายของ "มัคนายก" กับคำว่า "มัคทายก"

คำว่า "มัคนายก" เป็นคำที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะได้ยิน ไม่ค่อยได้ใช้ แต่มักจะได้ยินคำว่า"มัคทายก" มากกว่า และคิดว่าคำๆ นี้เป็นคำที่ใช้เรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำกล่าวคำบูชา คำอาราธนาพระ และพิธีการทางสงฆ์ต่างๆ ในวัดเป็นประจำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมานาน

"มัคทายก" เป็นคำสมาส มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลลว่า ทาง) + "ทายก" (แปลว่า ผู้ถวายจตุปัจจัยแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้นับถือศาสนา ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ทางของผู้นับถือศาสนา

ส่วน "มัคนายก" เป็นคำสมาสเช่นกัน มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลว่า ทาง) + "นายก" (แปลว่า ผู้นำ ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ผู้นำทาง

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "มัคนายก" ว่าหมายถึง ผู้จัดการทางกุศล ผู้ชี้แจงทางบุญ แต่ไม่มีการให้ความหมายของ "มัคทายก" ไว้ดังนั้น ถ้าจะใช้คำเพื่อเรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำเรากล่าวคำบูชา คำอาราธนา คำถวายสิ่งของให้พระที่วัดแล้ว คำว่า "มัคนายก" จึงเป็นคำที่ถูกต้องมากกว่า "มัคทายก"