สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: ปัญญสโก ภิกขุ ที่ กรกฎาคม 13, 2016, 06:01:34 pm



หัวข้อ: บาลีภาษาน่ารู้ "สังเกต" เขียนแบบนี้ ไม่ต้องเติมสระอุ
เริ่มหัวข้อโดย: ปัญญสโก ภิกขุ ที่ กรกฎาคม 13, 2016, 06:01:34 pm
สงฺเกต(ปุ.,นปุํ.) แปลว่า การกำหนด การหมาย การรู้ การใส่ใจ ***แต่ในภาษาไทยนำมาใช้เป็นกิริยา ในความหมายว่า หมายไว้
...มาจาก สํ บทหน้า กิตฺ ธาตุในความรู้ ลง อ หรือ ณ ปัจจัยในนามกิตก์---พฤทธิ์สระ อิ ที่ กฺ เป็น เอ
...มีวิเคราะห์ว่า สงฺเกตนํ สงฺเกตํ,สงฺเกโต วา ---การกำหนด ชื่อว่า สังเกต

(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/v/t1.0-0/p480x480/13626997_1638627853122088_8473006768065122210_n.png?oh=5735b08ea2d9005bd805755827bd3c87&oe=5830442C)

สังเกต เขียนแบบนี้ ไม่ต้องเติมสระอุ

สังเกต แปลว่า ก. กําหนดไว้ หมายไว้ เช่น ทำเครื่องหมายไว้เป็นที่สังเกต ตั้งใจดู จับตาดู เช่น ไม่ได้สังเกตว่าวันนี้เขาแต่งตัวสีอะไร สังเกตกิริยาท่าทางเขาไว้ว่าเป็นคนดีหรือคนร้าย. (ป. ส.).