ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ปัญญสโก ภิกขุ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8
41  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีภาษาน่ารู้ "สุทินมตฺถุ" ...ขอให้เป็นวันที่ดีของคุณนะ เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 10:36:03 pm
สุทินมตฺถุ
...ขอให้เป็นวันที่ดีของคุณนะ
...แปลยกศัพท์ : (อิทํ ทินํ อ.วันนี้) สุทินํ จงเป็นวันอันดี (เต ของคุณ) อตฺถุ จงเป็นเถิด
หมายเหตุ : เป็นสำนวนกล่าวลา ในภาษาอังกฤษใช้ Have a nice day

-------------------------------------[อธิบายคำศัพท์]
1. สุทินํ(นปุํ.) = วันอันดี วันดี วันงาม วันเป็นที่ชอบใจ
...มาจาก สุนฺทร(วิ.)=ดี งาม เป็นที่ชอบใจ, ทิน(นปุํ.)=วัน สำเร็จรูปด้วยวิธีสมาส คือ เป็นวิเสสนบุพพบท กัมมธารยสมาส
...วิ. สุนฺทรํ ทินํ สุทินํ.---อ.วัน อันดี ชื่อว่า สุทินะ
-------------------------------------



‪‎บาลีภาษาน่ารู้‬ ‪ประโยคสนทนาสั้นๆ‬ ‪‎ShortSpokenSentences‬ ‪มิตภาณีวากฺยา‬ ‪ภาพนี้ใช้เพื่อเป็นสื่อการศึกษา‬ ‪Likeและshareกันเถอะ‬ ‪เพื่อความเจริญงอกงามของภาษาบาลี‬

ประโยคนี้ เป็นประโยคที่ใช้ในภาษาสันสกฤตเพื่อการสื่อสารแบบ Modern Sanskrit : सुदिनमस्तु ---สุทินมสฺตุ

พระอาจารย์ที่คอยแนะนำ ท่านเคยบอกว่า สมัยโบราณถ้าเป็นของแคว้นโกศลเขาจะใช้ กุสลํ
             กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ---ท่านสบายดีหรือ
             ภาษาสันสกฤตยังเอามาใช้อยู่ : กุศลี ภวาน ?
             ทางลังกาใช้ "โสตฺถิ" ทักทายได้ทุกเวลา

42  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Unseen Tour Thailand "ปราสาทสัจธรรม" อ.บางละมุง จ.ชลบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 11:34:56 am
"ปราสาทสัจธรรม" อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
มีจุดชมวิวที่มองเห็นปราสาทสัจธรรมทั้งหลัง ที่มีพื้นหลังเป็นทะเล ตัวปราสาทสร้างด้วยไม้แกะสลักทั้งหลัง โดยไม่มีการใช้ตะปู มีประติมากรรมไม้แกะสลักวิจิตรพิสดารอยู่แทบทุกจุด เสาเอกเป็นไม้ตะเคียนทองอายุ 600 ปี
www.unseentourthailand.com
ภาพจากแฟนเพจ: Apinant Udomrattana
www.facebook.com/namdang.redsweet

43  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Unseen Tour Thailand"แห่เทียนพรรษาทางน้ำ" จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 19 กรกฎาคม เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 11:29:00 am
"แห่เทียนพรรษาทางน้ำ" จ.พระนครศรีอยุธยา
วันที่ 19 กรกฎาคม 2559 (วันอาสาฬหบูชา) ณ คลองลาดชะโด อ.ผักไห่ เวลา 08.00-14.00 น. วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยังคงรักษาไว้ ตลอดเส้นทางสายน้ำแห่งชีวิต ชมขบวนเรือแห่เทียนพรรษาทางน้ำที่ตกแต่งอย่างสวยงาม
www.unseentourthailand.com
ภาพจากแฟนเพจ: เทศบาลตำบลลาดชะโด อ.ผักไห่ จ.อยุธยา
www.facebook.com/profile.php?id=100002866103279



กำหนดการงานแห่เทียนพรรษาทางน้ำ ณ คลองลาดชะโด
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2559 (วันอาสาฬหบูชา)
08.30-09.00 น. เรือทุกลำลงทะเบียน ณ คลองลาดชะโด (ด้านหน้าตลาดลาดชะโด)
09.00-09.30 น. เรือทุกลำ รวมตัวบริเวณด้านหน้าตลาดลาดชะโดจะมีการแสดงของเรือแต่ละลำสลับกัน ร้องรำ เพื่อความสนุกสนานบรรยากาศเป็นกันเอง
10.00 น. พิธีเปิดงานแห่เทียนทางน้ำ ณ คลองลาดชะโด (ด้านหน้าตลาดลาดชะโด )
10.30 ขบวนเรือจะเริ่มทยอยแห่ ผ่านบ้านเรือนริมสองฝั่งคลองลาดชะโด โดยผ่านจุดไฮไลค์ บริเวณ ศาลเจ้าลาดชะโด โดยช่างภาพสามารถยืนถ่ายภาพได้
11.15 น. ขบวนเรือกลับลำและตั้งขบวนใหม่ที่ บ้านคุณป้าลิ้นจี่ ครุฑธาพันธ์ และขบวนเรือเคลื่อนผ่าน จุดไฮไลท์อีกครั้ง
12.00-12.20 น. ขบวนเรือจะผ่านตลาดลาดชะโดอีกครั้งให้นักท่องเที่ยวได้เก็บภาพความประทับอีกครั้ง
13.00 น.นำเทียนขึ้นจากเรือทุกลำและนำขึ้นไปถวาน ณ วัดลาดชะโด

****** เมื่อพิธีเปิดนักท่องเที่ยวและช่างภาพ สื่อมวลชนสามารถเดินตามขบวนเรือไปเก็บภาพได้ตลอดแนวเลยนะครับ ******


44  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Unseen Tour Thailand หมอกยามเช้า ณ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 11:25:38 am
หมอกยามเช้า ณ วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว
ช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ทำให้มีหมอกแทบจะทุกวัน ทั้งเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น มองเห็นสายหมอกปกคลุมวัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว จากจุดชมวิวบนเนินเขา เหนือวัดขึ้นไป บริเวณร้านกาแฟ Pino Latte เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์
www.unseentourthailand.com
ภาพจากแฟนเพจ: ท่องเทียว ถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก
www.facebook.com/profile.php?id=100006903101265

45  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Unseen Tour Thailand "หลวงปู่ทิม อิสริโก" วัดละหารไร่ จ.ระยอง เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 11:23:47 am
"หลวงปู่ทิม อิสริโก" วัดละหารไร่ จ.ระยอง
นมัสการรูปหล่อ หลวงปู่ทิม อิสริโก องค์เหมือนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองระยอง ที่แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานกว่า 40 ปี (16 ตุลาคม 2518) แต่พลังแห่งความศรัทธายังคงหลั่งไหลไม่ขาดสาย
www.unseentourthailand.com
ภาพจากแฟนเพจ: Palawat Dangkong
www.facebook.com/palawat.dangkong

46  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / โครงการศึกษาพระบาฬีพระไตรปิฎก หลักสูตรพระไตรปิฎกขั้นพื้นฐาน เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2016, 01:54:22 pm
โครงการศึกษาพระบาฬีพระไตรปิฎก
หลักสูตรพระไตรปิฎกขั้นพื้นฐาน สถาบันโพธิยาลัยวัดจากแดง
พร้อม ใบสมัคร








































ที่มา : เฟสบุ๊ค วัดจากแดงและสถาบันโพธิยาลัย
47  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ อนาถบิณฑิก เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2016, 12:51:11 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬
อนาถบิณฑิก
อ่านว่า อะ-นา-ถะ-บิน-ดิก
ประกอบด้วย อนาถ + บิณฑ + อิก
(๑) “อนาถ”
บาลีอ่านว่า อะ-นา-ถะ รูปคำประกอบขึ้นจาก น + นาถ
(1) “น” (นะ)
แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ไม่มี
“น” เป็นศัพท์จำพวกที่เรียกว่า “นิบาต” ศัพท์จำพวกนี้ไม่แจกรูปด้วยวิภัตติปัจจัย คือคงรูปเดิมเสมอ แต่อาจเปลี่ยนแปลงโดยหลักเกณฑ์อื่นได้
(2) “นาถ” (นา-ถะ)
รากศัพท์มาจาก นาถฺ (ธาตุ = ประกอบ, ขอร้อง, ปรารถนา, เป็นใหญ่, ทำให้ร้อน) + อ ปัจจัย
: นาถฺ + อ = นาถ แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “ผู้กอปรประโยชน์แก่ผู้อื่น”
(2) “ผู้ขอร้องคนอื่นให้บำเพ็ญประโยชน์นั้นๆ”
(3) “ผู้ปรารถนาประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ควรช่วยเหลือ”
(4) “ผู้เป็นใหญ่กว่าผู้ที่ควรช่วยเหลือ” (ผู้ช่วยเหลือย่อมอยู่เหนือผู้รับการช่วยเหลือ)
(5) “ผู้ยังกิเลสให้ร้อน” (เมื่อจะช่วยเหลือคนอื่น ความตระหนี่ ความเกียจคร้านเป็นต้นจะถูกแผดเผาจนทนนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้)
“นาถ” ความหมายที่เข้าใจกันคือ ที่พึ่ง, ผู้ปกป้อง, การช่วยเหลือ (protector, refuge, help)
น + นาถ น่าจะเป็น “นนาถ”
แต่กฎบาลีไวยากรณ์บอกว่า “น” เมื่อประสมข้างหน้าคำอื่น = น + :
(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ- อา- อิ- อี- อุ- อู- เอ- โอ-) แปลง น เป็น อน- เช่น :
น + อามัย = อนามัย
น + เอก = อเนก
(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง น เป็น อ- เช่น :
น + นิจจัง = อนิจจัง
น + มนุษย์ = อมนุษย์
น + นาถ
“นาถ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ (น-) ตามกฏจึงต้องแปลง “น” เป็น “อ”
: น + นาถ = อนาถ
“อนาถ” แปลว่า ไม่ใช่ที่พึ่ง, ไม่เป็นที่พึ่ง, ไร้ที่พึ่ง, ไม่มีผู้ปกป้อง, ยากจน (helpless, unprotected, poor)
“อนาถ” ในภาษาไทยใช้เป็น “อนาถ” และ “อนาถา”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
(1) อนาถ : (คำกริยา) สงสาร, สังเวช, สลดใจ. (ป., ส. อนาถ ว่า ไม่มีที่พึ่ง).
(2) อนาถา : (คำวิเศษณ์) ไม่มีที่พึ่ง, กําพร้า, ยากจน, เข็ญใจ. (ป., ส. อนาถ).
(๒) “บิณฺฑ”
บาลีเป็น “ปิณฺฑฺ” (ปิน-ดะ) รากศัพท์มาจาก ปิณฺฑ (ธาตุ = รวบรวม, ทำให้เป็นกอง) + อ ปัจจัย
: ปิณฺฑฺ + อ = ปิณฺฑ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขารวมกัน”
“ปิณฺฑฺ” หมายถึง -
(1) ก้อน, ก้อนกลม, มวลที่หนาและกลม (a lump, ball, thick & round mass)
(2) ก้อนข้าว โดยเฉพาะที่ถวายพระหรือให้ทาน, ทานที่ให้เป็นอาหาร (a lump of food, esp. of alms, alms given as food)
(๓) อนาถ + ปิณฺฑ + อิก ปัจจัย = อนาถปิณฺฑิก (อะ-นา-ถะ-ปิน-ดิ-กะ) เขียนแบบไทยเป็น “อนาถบิณฑิก” อ่านตามหลักนิยมในภาษาไทยว่า อะ-นา-ถะ-บิน-ดิก แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถาที่เข้าไปตั้งไว้ตลอดเวลา” (2) “ผู้ให้ก้อนข้าวแก่คนอนาถาเป็นประจำ”
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า -
อนาถบิณฑิก : อุบาสกคนสำคัญในสมัยพุทธกาล เดิมชื่อ สุทัตต์ เป็นเศรษฐีอยู่ที่เมืองสาวัตถี ต่อมาได้นับถือพระพุทธศาสนา บรรลุโสดาปัตติผล เป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้า สร้างวัดพระเชตวันถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ที่เมืองสาวัตถี ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ประทับจำพรรษารวมทั้งหมดถึง 19 พรรษา ท่านอนาถบิณฑิก นอกจากอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์แล้วยังได้สงเคราะห์คนยากไร้อนาถาอย่างมากมายเป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า อนาถบิณฑิก ซึ่งแปลว่า “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา” ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหมู่ทายกฝ่ายอุบาสก.
.........
ดูก่อนภราดา!
: ก้อนข้าวที่กินเอง อิ่มได้แค่ชาตินี้
: ก้อนข้าวที่ให้ผู้อื่นกิน อิ่มได้ถึงชาติหน้า

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
48  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪‎บาลีวันละคำ‬ ธัญญาหาร เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2016, 12:49:25 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬
ธัญญาหาร
อ่านว่า ทัน-ยา-หาน
ประกอบด้วย ธัญญ + อาหาร
(๑) “ธัญญ”
บาลีเขียน “ธญฺญ” อ่านว่า ทัน-ยะ รากศัพท์มาจาก -
(1) ธาน (การเลี้ยง) + ย ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ ธาน เป็น อะ (ธาน > ธน), แปลง นฺย (คือ -น ที่ ธาน และ ย ปัจจัย) เป็น ญ, ซ้อน ญฺ
: ธาน + ย = ธานฺย > ธนฺย > ธ + ญฺ + ญ = ธญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่มีการเลี้ยงเป็นความดี” (คือดีในทางเลี้ยงผู้คน)
(2) ธนฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ย ปัจจัย, แปลง นฺย เป็น ญ, ซ้อน ญฺ
: ธนฺ + ย = ธนฺย > ธ + ญฺ + ญ = ธญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันผู้คนปรารถนา”
“ธญฺญ” ในที่นี้หมายถึง ข้าวเปลือก, ข้าว (grain, corn)
นอกจากนี้ “ธญฺญ” ยังแปลตามศัพท์ว่า “ซึ่งอุดมด้วยข้าว” หมายถึง ร่ำรวย; มีความสุข, มีโชคดี, มีเคราะห์ดี ("rich in corn" : rich; happy, fortunate, lucky)
(๒) “อาหาร”
บาลีอ่านว่า อา-หา-ระ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = กลับความ เช่น ไป > มา) + หรฺ (ธาตุ = นำไป) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ทีฆะ อะ ที่ ห-(รฺ) เป็น อา (หรฺ >หาร)
: อา + หรฺ = อาหรฺ + ณ + อาหรณ > อาหร > อาหาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่นำมาซึ่งกำลังและอายุ” (2) “สิ่งที่นำมาซึ่งรูปกาย” (3) “สิ่งที่นำมาซึ่งผลของตน”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อาหาร” ตามตัวอักษรว่า “taking up or on to oneself” (นำมา หรือน้อมมาสู่ตัวเอง)
“อาหาร” หมายถึง สิ่งที่บำรุงเลี้ยงร่างกาย, สิ่งที่ค้ำจุน, อาหาร, อาหารบำรุงกำลัง (feeding, support, food, nutriment)
ธญฺญา + อาหารฺ = ธญฺญาหารฺ > ธัญญาหาร แปลว่า “อาหารคือข้าว”
ในคัมภีร์แสดงรายการ “ธัญญาหาร” ไว้ 7 ชนิด คือ -
(1, 2) สาลิ และ วีหิ = ข้าวเจ้า (rice-sorts)
(3) ยว = ข้าวเหนียว (barley)
(4) โคธุม = ข้าวสาลี (wheat)
(5) กงฺุคุ = ข้าวเดือย (millet)
(6) วรก = ถั่ว (beans)
(7) กุทฺรูสก = หญ้ากับแก้ (a kind of grain)
ปัจจุบันนักบริโภคบางจำพวกนิยมบริโภคอาหารประเภท “ธัญญะ” โดยเชื่อว่ามีผลดีต่อสุขภาพ

: คนฉลาดไม่ได้คิดเพียงแค่จะกินอะไร
: แต่คิดต่อไปว่าอิ่มแล้วจะไปทำอะไร

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
49  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พบหีบทองคำบรรจุ “ชิ้นส่วนกะโหลก” ระบุเป็นของ “พระพุทธเจ้า” ในประเทศจีน เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2016, 12:44:02 pm
พบหีบทองคำบรรจุ “ชิ้นส่วนกะโหลก” ระบุเป็นของ “พระพุทธเจ้า” ในประเทศจีน






จากรายงานของ Live Science ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2016, นักโบราณคดีพบชิ้นส่วนกะโหลกเก็บรักษาอย่างดีในหีบหลายชั้นโดยชั้นในสุดเป็นหีบทองคำซึ่งมีจารึกระบุว่า ชิ้นส่วนกะโหลกดังกล่าวเป็นของ “พระพุทธเจ้า” ศาสดาของชาวพุทธ

ทีมนักโบราณคดีได้ทำการสำรวจซากเจดีย์ในวัดเปาอันใหญ่ (Grand Bao’en Temple) ในเมืองหนานจิง (Nanjing) และได้พบกับห้องใต้ดิน ซึ่งภายในพบหีบศิลาขนาดใหญ่พร้อมจารึกที่ระบุว่าเขียนขึ้นโดยเจ้าอาวาสนามว่า เต๋อหมิง (Deming) มีข้อความบรรยายว่าพระเจ้าอโศกกษัตริย์จากอินเดียได้ส่งชิ้นส่วนกะโหลก และอัฐิธาตุอื่นๆอีก 18 ชิ้นของพระพุทธเจ้ามายังประเทศจีน เมื่อกว่า 2,200 ปีก่อน

ในห้องใต้ดินของศาสนสถานเก่าแก่แห่งนี้ นักโบราณคดีได้พบกับหีบศิลาภายในพบกล่องเหล็กบรรจุเจดีย์จำลองทำจากไม้จันทน์ เงิน และทองประดับด้วยอัญมณีและมีการสลักรายชื่อผู้บริจาค ภายในเจดีย์จำลองมีหีบที่ทำจากเงินสลักลวดลายเทพผู้พิทักษ์ และนางอัปสรา ภายในหีบเงินยังพบหีบทองคำขนาดย่อมลงมา บรรจุชิ้นส่วนกะโหลก และอัฐิธาตุอื่นๆ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นของ “พระพุทธเจ้า”





จารึกบนหีบศิลาระบุว่า มันถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของจักรพรรดิเจินจง (Emperor Zhenzong, ค.ศ. 997-1022 หรือ พ.ศ. 1540-1565) แห่งราชวงศ์ซ่ง และแม้จะมีการระบุว่าชิ้นส่วนกะโหลกที่ถูกพบเป็นของพระพุทธเจ้า แต่นักโบราณคดีที่ทำการสำรวจและเผยแพร่การค้นพบในวารสาร Chinese Cultural Relics ก็มิได้แสดงความเห็นถึงโอกาสความเป็นไปได้ว่า ชิ้นส่วนดังกล่าวจะเป็นของ “พระพุทธเจ้า” จริง มีมากน้อยเพียงใด

ภิกษุจีนจารึกว่า หลังจาก “พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ร่างของพระองค์ถูกฌาปนกิจใกล้กับแม่น้ำหิรัญวดี (Hirannavati River)” ในประเทศอินเดีย ก่อนที่พระเจ้าอโศก (268-232 ก่อนคริสตกาล หรือ พ.ศ. 275-311) จะนำอัฐิของพระพุทธองค์มาเก็บรักษาและตัดสินใจ “แบ่งออกเป็น 84,000 ส่วน” โดย “ดินแดนจีนของเราได้รับมาทั้งสิ้น 19 ส่วน…รวมถึงชิ้นส่วนกะโหลกข้างขม่อมด้วย”





เนื้อหาตามจารึกกล่าวต่อไปว่า ชิ้นส่วนกะโหลกชิ้นนี้ถูกเก็บไว้ในวัดที่ถูกทำลายไปเมื่อ 1,400 ปีก่อน จากนั้นจักรพรรดิเจินจงจึงได้มีพระบัญชาให้สร้างวัดขึ้นมาใหม่เพื่อเก็บรักษาชิ้นส่วนสำคัญดังกล่าวพร้อมอัฐิชิ้นอื่นๆ โดยฝังไว้ในห้องใต้ดินของวัดดังกล่าว

รายงานของ Live Science ระบุว่า นักโบราณคดีจากสถาบันโบราณคดีแห่งเมืองหนานจิงได้เริ่มทำการสำรวจห้องใต้ดินแห่งนี้เมื่อช่วงปี 2007-2010 ซึ่งไม่ได้รับความสนใจจากสื่อตะวันตกมากนัก แต่ในประเทศจีนมีการรายงานเรื่องนี้อย่างแพร่หลาย

ปัจจุบันอัฐิดังกล่าวถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดชีเสีย (Qixia Temple) ในหนานจิง และเคยนำไปจัดแสดงที่ฮ่องกงและมาเก๊ามาแล้ว โดยในปี 2012 เมื่อนำไปจัดแสดงที่มาเก๊าสำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ผู้จัดงานสามารถขายบัตรเข้าชมได้มากถึง 140,000 ใบ





ทั้งนี้ รายละเอียดของการค้นพบดังกล่าวถูกเผยแพร่เป็นภาษาจีนในปี 2015 ในวารสาร Wenwu ก่อนแปลเป็นภาษาอังกฤษและเผยแพร่อีกครั้งในวารสาร Chinese Cultural Relics

ที่มา: “Ancient Shrine That May Hold Buddha's Skull Bone Found in Crypt”. Live Science. <http://www.livescience.com/55243-buddha-skull-bone-found-in…>

ภาพประกอบ:

1. หีบศิลาทรงตั้งที่บรรจุเจดีย์ทองคำจำลอง

2. เจดีย์ทองคำจำลอง ซึ่งภายในมีหีบเงินและหีบทองเก็บรักษาอยู่

3. หีบเงินซึ่งถูกเก็บอยู่ในเจดีย์ทองคำจำลอง

4. หีบทองคำที่ใช้บรรจุชิ้นส่วนกะโหลกซึ่งถูกระบุว่าเป็นของพระพุทธเจ้า

(ทั้งหมดเป็นภาพจาก Chinese Cultural Relics)

*แก้ไขคำผิด จาก "ฝัง" เป็น "ฌาปนกิจ" (ใกล้แม่น้ำหิรัญวดี) เวลา 12.40 นาฬิกา*

(ที่มา : เฟสบุ๊ค ศิลปวัฒนธรรม )
50  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ ธรรมสภา เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2016, 12:22:37 pm
บาลีวันละคำ‬
ธรรมสภา
อ่านว่า ทำ-มะ-สะ-พา
ประกอบด้วย ธรรม + สภา
(๑) “ธมฺม” (ทำ-มะ)
รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ธ) และ ร ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)
: ธรฺ > ธ + รมฺม > มฺม : ธ + มฺม = ธมฺม (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “กรรมที่ทรงไว้ซึ่งความดีทุกอย่าง” (หมายถึงบุญ)
(2) “สภาวะที่ทรงผู้ดำรงตนไว้มิให้ตกไปในอบายและวัฏทุกข์” (หมายถึงคุณธรรมทั่วไปตลอดจนถึงโลกุตรธรรม)
(3) “สภาวะที่ทรงไว้ซึ่งสัตว์ผู้บรรลุมรรคเป็นต้นมิให้ตกไปในอบาย” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)
(4) “สภาวะที่ทรงลักษณะของตนไว้ หรืออันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้” (หมายถึงสภาพหรือสัจธรรมทั่วไป)
(5) “สภาวะอันพระอริยะมีโสดาบันเป็นต้นทรงไว้ ปุถุชนทรงไว้ไม่ได้” (หมายถึงโลกุตรธรรม คือมรรคผล)
คำแปลตามศัพท์ที่เป็นกลางๆ “ธมฺม” คือ “สภาพที่ทรงไว้”
“ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม”
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ -
(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม
(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า
(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม
(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม
(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม
(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ
(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ
(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม
ในที่นี้ “ธรรม” มีความหมายเน้นที่-คําสั่งสอนและหลักประพฤติปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
(๒) “สภา” (สะ-พา) รากศัพท์มาจาก -
1) สนฺต (คนดี) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย แปลง สนฺต เป็น ส, ลบ กฺวิ
: สนฺต > ส + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่อันรุ่งเรืองด้วยคนดี”
2) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ภาสฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย, ลบนิคหิตที่ สํ (สํ > ส), ลบ ส ที่สุดธาตุ (ภาสฺ > ภา) และลบ กฺวิ
: สํ > ส + ภาสฺ = สภาสฺ + กฺวิ = สภาสกฺวิ > สภาส > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มาประชุมกันพูด”
3) สห (คำอุปสรรค = ร่วมกัน) + ภา (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ ห ที่ สห (สห > ส) และลบ กฺวิ
: สห > ส + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน”
ตามความหมายเหล่านี้ “สภา” จึงเป็นเครื่องหมายของสังคมประชาธิปไตย คือ คนดีๆ มาปรึกษาหารือกันก่อนแล้วจึงลงมือทำกิจการต่างๆ
“สภา” (อิตถีลิงค์) ทั้งบาลี สันสกฤต และภาษาไทยใช้รูปเดียวกัน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
“สภา : องค์การหรือสถานที่ประชุม”
ในภาษาบาลี “สภา” หมายถึง “สถานที่” แต่ในภาษาไทยนอกจากหมายถึงสถานที่แล้ว ยังหมายถึง “องค์การ” (หรือองค์กร) คือศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงาน เช่น
- สภาผู้แทนราษฎร
- สภาสตรีแห่งชาติ
- สภามหาวิทยาลัย
- วุฒิสภา
“สภา” ในความหมายนี้เล็งถึงความเป็น “หน่วยงาน” ไม่ได้เล็งถึง “สถานที่” หมายความว่า “สภา” ดังกล่าวนี้จะมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน หรือแม้แต่จะไม่มีสถานที่ตั้ง ก็มีฐานะเป็น “สภา” อยู่ในตัวแล้ว
ธมฺม + สภา = ธมฺมสภา > ธรรมสภา แปลตามศัพท์ที่นักเรียนบาลีนิยมแปลว่า “ที่เป็นที่กล่าวและเป็นที่แสดงซึ่งธรรม”
ตามวัฒนธรรมของสังคมสงฆ์สมัยพุทธกาล จะมีช่วงเวลาหนึ่งของแต่ละวันที่ภิกษุซึ่งอยู่ร่วมกันจะไปชุมนุมกันในเวลาและสถานที่ที่กำหนด เช่น ณ อาสนศาลา (โรงฉัน) ในเวลาบ่าย ชาวบ้านจะนำน้ำปานะมาถวาย ภิกษุจะสนทนาธรรมกันในที่นั้น ชาวบ้านก็ถือเป็นโอกาสที่จะได้ฟังธรรมไปด้วย ในเวลานั้นโรงฉันก็จะมีสถานะเป็น “ธรรมสภา” ไปในตัว
: ไม่มีสภา ก็ยังพูดจากันได้
: แต่ถ้าไม่มีธรรมประจำใจ พูดที่ไหนก็ไม่มีราคา

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
51  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / โลกออนไลน์แชร์คลิป คนเก็บกระเป๋าเงินตกต่อหน้าต่อตาแต่ไม่ส่งคืนเจ้าของ เมื่อ: มิถุนายน 25, 2016, 07:13:43 pm
คนเก็บกระเป๋าเงินตกต่อหน้าต่อตาแต่ไม่ส่งคืนเจ้าของ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=7QQ5zjfv6II" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=7QQ5zjfv6II</a>

แล้วถ้าเรา ไม่เก็บเลยล่ะ  จะเกิดอะไรขึ้นกับเราไหม ก็เหมือนที่ หลาย ๆ คน เดิน ผ่าน ๆ ไป

 :smiley_confused1:

52  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ไหว้องค์พระเขี้ยวแก้ว แท้จริงบนโลกมนุษย์ วัดศรีดาลาดา ศรีลังกา (ชมภาพ) เมื่อ: มิถุนายน 25, 2016, 06:19:02 pm
ไหว้องค์พระเขี้ยวแก้ว แท้จริงบนโลกมนุษย์น่ะครับ ที่วัด ศรีดาลาดา เมืองแคนดี้ ศรีลังกา







The grace of the sacred tooth relic and the deprived freedom of majestic wild beasts, perfectly covered under the umbrella of culture ...
ความโปรดปรานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ที่ฟันเรลิกและไร้อิสรภาพของผู้ทรงเดชานุภาพสัตว์ป่า, สมบูรณ์แบบครอบคลุมใต้ร่มของวัฒนธรรม...











Nanumura poson Dalada Perahera 2016

Tilōguruสัมมาพระพุทธเจ้าbudurajāṇanvahansēgēปีผ่านไป 300 ปีต่อมา Jambudveepa ธรรมระหว่างประเทศซึ่งเริ่มแพร่กระจายkirīmaudesāและบริการโฆษณาพระพุทธศาสนา Dharmasoka เนื่องจากศรีบุ: ตาราง: 236 ใน Poson ฟูลมูน Poya วันไปยังเกาะmihintalāvaṭa arahatmi นั่งพระสงฆ์รายการได้ทำ

ศิลปินที่มีชื่อเสียงของโลก, เรื่อง Ada baduya whooshing สะท้อนแสดงวัฒนธรรมของเรา ศุลกากรเก่าของเรา - จุดเริ่มต้นของเสาพื้นฐานของทุกภาษาแบบดั้งเดิมเช่นโภชนาการของพวกเขาเพราะประเทศที่ได้รับการเพิ่มขึ้น Mahi Arahat เพราะพระพุทธศาสนา

พุทธศาสนาเข้ามาในศรีลังกาสังคมก่อนที่จะลากประเทศเป็นśīṣṭhaสุขภาพดี Arahat เซียน มันโผล่ออกมาผ่านทางวัฒนธรรมศิลปะคือความหมายมากขึ้น

Dana ที่รู้จักของชาวพุทธ Sanga พิธี poson ต่างๆศิลาหลักการชั้นนำสำหรับการทำสมาธิและยังช่วยให้เนื่องจาก

ศรี Dalada Maligawa ใน Kandy Perahera poson พิธีกรรมที่น่าสนใจได้รับการจัดขึ้นเมื่อวาน เป็นวันปกติท​​ี่ศรี Dalada Maligawa Perahera mahavahalkaḍaแขวนออกและกำลังเดินตารางพระราชวัง

แปลโดย googletranslate

ที่มา : https://www.facebook.com/drphan.pichit.9
53  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / นิมนต์เจ้าคุณ มาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนเป็นระยะเวลาเกือบ 15 เมื่อ: มิถุนายน 22, 2016, 10:46:31 pm
พระราชสิทธิมุนี วิ. สอนวิปัสสนากรรมฐานให้กับชาวไทย ชาวสวิส และนักเรียนนักศึกษา ในสวิสเซอร์แลนด์ เนื่องด้วยวัดศรีนครินทรวาราม ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นิมนต์เจ้าคุณอาจารย์มาสอนวิปัสสนากรรมฐาน ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนเป็นระยะเวลาเกือบ 15 ปีมาแล้ว ขอกราบอนุโมทนา







54  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมปฏิบัติธรรม วันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: มิถุนายน 20, 2016, 08:54:17 am


ปฏิบัติธรรมวันอาสาฬหบูชา-เข้าพรรษา ณ วัดราชสิทธาราม อิสระภาพ 23
วันเสาร์ที่ ๑๖ อาทิตย์ที่ ๑๗  จันทร์ ๑๘  อาสาฬหบูชา ๑๙ เข้าพรรษา ๒๐ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๙

วันเสาร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘
เวลา 09.30น.- 10.00น. ลงทะเบียน รับอาหารเช้า- สวดมนต์เช้า-ขึ้นกรรมฐาน
เวลา 10.30 น -16.30น. นั่งสมาธิ- สวดมนต์เย็น

วันอาทิตย์ที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๘
เวลา 06.00น.- 08.00 น รับประทานอาหารเช้า- สวดมนต์ในพระอุโบสถ
เวลา 10.30 น -16.30น. นั่งกรรมฐาน สวดมนต์เย็นในอุโบสถ

วันจันทร์ที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘
เวลา 06.00น.- 08.00 น รับประทานอาหารเช้า- สวดมนต์ในพระอุโบสถ
เวลา 10.30 น -16.30น. นั่งกรรมฐาน สวดมนต์เย็นในพระอุโบสถ

วันอังคารที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (อาสาฬหบูชา)
เวลา 06.00น.- 08.00 น รับประทานอาหารเช้า- สวดมนต์-ฟังเทศน์ในพระอุโบสถ
เวลา 13.30 น.- 19.30 นั่งกรรมฐาน—สวดมนต์เย็น เวียนเทียน

วันพุธที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๙ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ (วันเข้าพรรษา)
เวลา 06.00น.- 08.00 น รับประทานอาหารเช้า- สวดมนต์ในพระอุโบสถ
เวลา 10.30 น.- 16.30 ถวายเทียนพรรษา-ถวายสลากภัตร-พระภิกษุ



ถวายเทียนพรรษา-ถวายสลากภัตร-พระภิกษุ











55  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ โลกุตฺตรจิตฺต‬ เมื่อ: มิถุนายน 19, 2016, 12:41:39 pm
‪‎โลกุตฺตรจิตฺต‬ (โลกุตฺตร+จิตฺต)

โลกุตตรจิต มาจากคำว่า โลก + อุตตร + จิต
โลก หมายถึงโลกทั้ง ๓ คือ กามโลก ( กามภูมิ ) รูปโลก ( รูปภูมิ ) และ อรูปโลก(อรูปภูมิ) ก็ได้ อีกนัยหนึ่ง คำว่า โลก หมายถึงการเกิดดับ ก็ได้
อุตตร มีความหมายว่า เหนือ หรือ พ้น
บาฬีวิเคราะห์ความหมายว่า
วิ. โลกโต อุตฺตรตีติ โลกุตฺตรํ.
จิตใด ย่อมพ้นจากโลก เพราะเหตุนั้น จิตฺนั้น ชื่อว่า โลกุตฺตร
‪จิตฺต‬ บาลีอ่านว่า จิต-ตะ (จินฺต จินฺตายํ ในความคิด+ต) ไทยอ่านว่า จิ


‪‎อภิธานัปปทีปิกา‬.. ท่านกล่าวไว้ในคาถาที่ ๑๕๒ ว่า
๑๕๒.จิตฺตํ เจโต มโน นิตฺถี วิญฺญาณํ หทยํ ตถา
มานสํ ธี ตุ ปญฺญา จ พุทฺธิ เมธา มติ มุติ.
จิต, ใจ ๖ ศัพท์ คือ จิตฺต, เจต, มน, วิญฺญาณ, หทย, มานส. อนิตฺถี มนศัพท์เป็นปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์
--------------
‪‎จิตคืออะไร‬
จิต คือ ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่ง รู้อารมณ์ จิตเป็นตัวรู้ สิ่งที่จิตรู้นั้นเป็นอารมณ์ จิตรู้สิ่งใด สิ่งนั้นแหละคืออารมณ์
อีกนัยหนึ่งแสดงว่า จิตคือธรรมชาติชนิดหนึ่งที่ รับ จำ คิด รู้ ซึ่งอารมณ์ จิตต้องมีอารมณ์ และต้องรับ
อารมณ์จึงจะรู้ และจำ แล้วก็คิดต่อไปสมตามนัยขยายความตามบาลีว่า
จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า
จิต มีอรรถว่า ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
-------------------------
‪#‎ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค‬ แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้
ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา
มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
*ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ




‪‎สภาพหรือลักษณะของจิต‬
จิตเป็นปรมัตถธรรม ดังนั้น จิตจึงมีสภาวะ หรือสภาพ หรือลักษณะทั้ง ๒ อย่างคือ ทั้งสามัญลักษณะ และวิเสสลักษณะ
สามัญญลัษณะ หรือไตรลักษณ์ของจิต มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๓ ประการคือ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
จิตนี้เป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ไม่มั่นคง หมายถึงว่า ไม่ยั่งยืน ไม่ตั้งอยู่ได้ตลอดกาล
จิตนี้เป็นทุกขัง คือทนอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ทนอยู่ไม่ได้ตลอดกาล จึงมีอาการเกิดดับ เกิดดับ อยู่ร่ำไป
จิตนี้เป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาให้ยั่งยืน ให้ทนอยู่ไม่ให้เกิดดับ ก็ไม่ได้เลย
และเพราะเหตุว่าจิตนี้ เกิดดับ เกิดดับ สืบต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็วเหลือประมาณ จนปุถุชนคน ธรรมดาเข้าใจไปว่า จิตนี้ไม่มีการเกิดดับ แต่ว่ายั่งยืนอยู่จนตลอดชีวิตจึงดับไปก็เหมือนกับเข้าใจว่า กระแสไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ซึ่งกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเราเห็นหลอดไฟสว่างอยู่ตลอดเวลา ก็เข้าใจว่ากระแสไฟฟ้าไม่ได้ไหลไปแล้วกลับฉะนั้น
ส่วนวิเสสลักษณะหรือ ลักขณาทิจตุกะของจิต ก็มีครบบริบูรณ์ทั้ง ๔ ประการคือ
วิชานน ลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ
ปุพฺพงฺคม รสํ เป็นประธานในธรรมทั้งปวง เป็นกิจ
สนฺธาน ปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเกิดต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นอาการปรากฎ
นามรูป ปทฺฏฐานํ มีนามรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิด
------------------------
*ในธรรมบท ภาค ๒ มีคาถากล่าวถึงเรื่องการระวังสังวรจิต และมีความกล่าวถึง ลักษณะหรือสภาพของจิตด้วย จึงขอนำมาแสดงไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสริรํ คูหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ
แปลความว่า ชนทั้งหลายใด จักระวังจิต ซึ่งไปไกล ไปเดี่ยว ไม่มีสรีระ (รูปร่าง) มีคูหาเป็นที่อาศัย ไว้ได้ ชนทั้งหลายจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร
----------------------------------
อนึ่ง จิตเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้เกิดขึ้น ทำให้เป็นไปได้ คือทำให้วิจิตรได้ถึง ๖ ประการ
๑. วิจิตรในการกระทำ คือทำให้งดงาม แปลก น่าพิศวง พิลึกกึกกือ เช่น สิ่งของต่างๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ย่อมมีทั้งที่งดงาม แปลกตาน่าพิศวง ตลอดจนน่าเกลียด น่าสยดสยองสพรึงกลัว
๒. วิจิตรด้วยตนเอง คือ ตัวจิตเองก็แปลก น่าพิศวง มีประการต่างๆ นานา เช่น จิตดีก็มี ชั่วก็มี จิตที่ฟุ้งซ่าน
จิตที่สงบ จิตเบาปัญญา จิตที่มากด้วยปัญญา จิตที่มีความจำเลอะเลือน จิตที่มีความจำเป็นเลิศ สุดที่จะพรรณนา
๓. วิจิตรในการสั่งสมกรรมและกิเลส ก็น่าแปลกที่จิตนั่นแหละเป็นตัวที่ก่อกรรมทำเข็ญ และก็จิตนั่นแหละ
เป็นตัวสะสมกรรมและกิเลสที่ตัวนั้นทำไว้เอง น่าแปลก น่าพิศวงยิ่งขึ้น ก็ตรงที่ว่า กรรมอะไรที่ไม่ดีที่ตัวทำ เอง ก็ไม่น่าจะเก็บสิ่งที่ไม่ดีนั้นไว้ แต่ก็จำต้องเก็บต้องสั่งสมไว้
๔. วิจิตรในการรักษาไว้ ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสได้สั่งสมไว้ หมายความว่ากรรมทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรมที่จิตเป็นตัวการก่อให้เกิดขึ้นนั้น จะไม่สูญหาย
ไปไหนเลย แม้จะช้านานปานใด ก็ไม่มีการเสื่อมคลายไป เมื่อได้ช่องสบโอกาสเหมาะเมื่อใด เป็นต้องได้รับผลของ
กรรมเมื่อนั้นจนได้
๕. วิจิตรในการสั่งสมสันดานของตนเอง หมายถึงว่าการกระทำกรรมอย่างใดๆ ก็ตาม ถ้ากระทำอยู่บ่อยๆ
ทำอยู่เสมอๆ เป็นเนืองนิจ ก็ติดฝังในนิสสัยสันดานให้ชอบกระทำ ชอบพฤติกรรมอย่างนั้นไปเรื่อยๆ ไป
๖. วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ หมายถึงว่าจิตนี้รับอารมณ์ได้ต่างๆ นานาไม่มีที่จำกัดแต่น่าแปลก น่าพิศวงที่มักจะรับอารมณ์ที่ไม่ดี ที่ชั่วได้ง่ายดาย




‪‎จำแนกจิต‬ เป็น ๔ ประเภท
เมื่อกล่าวตาม สภาพ คือกล่าวตามลักษณะของจิตแล้ว จิตนี้มีเพียง ๑ เพราะจิตมีสภาวะ มีสภาพ มีลักษณะ รับรู้อารมณ์แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอง
แต่เมื่อกล่าวตามอารมณ์ที่รู้ ตามประเภทที่รู้ กล่าวคือ รู้ในเรื่องกามที่เป็นบุญเป็นบาปรู้เรื่องรูปฌาณ รู้ในเรื่อง
อรูปฌาณ รู้ในเรื่องนิพพานเหล่านี้แล้ว จิตก็มีจำนวนนับอย่างพิศดารได้ถึง ๑๒๑ ดวง หรือ ๑๒๑ อย่าง ๑๒๑ ชนิด และจำแนกได้เป็นประเภทตามอาการที่รู้นั้นได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑. กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต ๘ ดวง หรือ ๔๐ ดวง
รวมเป็น ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง
-------------------------------
๑. กามาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่ข้องอยู่ ที่ติดอยู่ ที่หลงอยู่ ที่เจืออยู่ในกามตัณหา หรือเป็นจิตที่ส่วนมากท่องเที่ยววนเวียนอยู่ในกามภูมิ จิตประเภทนี้เรียกสั้นๆ ว่า กามจิต มีจำนวน ๕๔ ดวง
๒. รูปาวจรจิต เป็นจิตที่ถึงซึ่งรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นรูปพรหม หรือเป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ในรูปภูมิ จิตประเภท
นี้มีจำนวน ๑๕ ดวง
๓. อรูปาวจรจิต เป็นจิตประเภทที่เข้าถึงซึ่งอรูปฌาณ พอใจที่จะเป็นอรูปพรหมหรือ เป็นจิตที่ท่องเที่ยวอยู่ใน
อรูปภูมิ จิตประเภทนี้มีจำนวน ๑๒ ดวง
๔. โลกุตตรจิต เป็นจิตประเภทที่กำลังพ้นและพ้นแล้วจากโลกทั้ง ๓ คือ พ้นจาก กามโลก (กามภูมิ), จากรูปโลก
(รูปภูมิ) และจากอรูปโลก (อรูปภูมิ) จิตประเภทนี้มีจำนวน
เพียง ๘ ดวง ถ้าจิต ๘ ดวงนี้ประกอบด้วยฌาณด้วยแล้ว จิตแต่ละดวงก็แจกได้เป็น ๕ ตามชั้นตามประเภทของ
ฌาณ ซึ่งมี ๕ ชั้น จึงเป็นจิตพิศดาร ๔๐ ดวง ดังนั้น จิตทั้งหมด นับโดยย่อก็เป็น ๕๔ ดวง และนับโดยพิศดาร
ก็เป็น ๑๒๑ ดวงที่นับอย่างพิศดารนั้น จำนวนที่เพิ่มขึ้น ก็เพิ่มที่โลกุตตรกุศลจิตประเภทเดียวเท่านั้น
-----------------
*อ้างอิง
คู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
http://www.thepathofpurity.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0…/
---------------------
56  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ โลก โลกวัชชะ เมื่อ: มิถุนายน 19, 2016, 12:33:08 pm
‪โลก‬ บาฬีอ่านว่า โล-กะ

หนังสือศัพท์วิเคราะห์ ของพระมหาโพธิวงศาจารย์(ทองดี) ป.ธ.๙,ราชบัณฑิต มีวิเคราะห์ความหมายว่า..

วิ. ลุชฺชติ ปลุชฺชตีติ โลโก.
ย่อมพินาศไป เหตุนั้น ชื่อว่า โลก (ผู้จะพินาศไป)
(ลุช+ณ) ลบณอนุพันธ์ ,วุทธิ อุ>โอ,แปลง ช>ก

วิ.ลุจฺจติ ปลุจฺจติ วินาสํ คจฺฉตีติ โลโก.
ย่อมย่อยยับ ย่อมถึง ความพินาศ เหตุนั้น ชื่อว่า โลก (ผู้จะย่อยยับไป)
(ลุจ+อ) วุทธิ อุ>โอ,แปลง จ>ก

วิ.โลกียติ ทิสฺสตีติ โลโก.
ย่อมถูกเห็น ย่อมปรากฏ เหตุนั้น ชื่อว่า โลก (ร่างอันเขาเห็น,ตัวตน,กาย,อัตตา)
(โลก+อ)

วิ. โลกติ ปติฏฺฐหติ เอตฺถ ปุญฺญปาปํ ตพฺพิปาโก จาติ โลโก.
บุญบาปและผลของบุญบาป ย่อมตั้ง อยู่ในที่นี้ เหตุนั้น ชื่อว่า โลก (ร่างเป็นที่ตั้งของบุญบาปและผลของบุญบาป)
(โลก+อ)

----------------------
หนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตฺโต)
ให้ความหมาย โลก เป็นต้นว่า..

[102] โลก 3๑ (ประดาสภาวธรรมหรือหมู่สัตว์ กำหนดโดยขอบเขตบ้าง ไม่กำหนดบ้าง — the world; the earth; sphere; universe)
1. สังขารโลก (โลกคือสังขาร ได้แก่สภาวธรรมทั้งปวงที่มีการปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย — the world of formations)
2. สัตวโลก (โลกคือหมู่สัตว์ — the world of beings)
3. โอกาสโลก (โลกอันกำหนดด้วยโอกาส, โลกอันมีในอวกาศ, จักรวาล — the world of location; the world in space; the universe)

Vism.204;
DA.I.173;
MA.I.397.
วิสุทธิ. 1/262;
ที.อ. 1/215;
ม.อ. 2/269.

[103] โลก 3๒ (โลกคือหมู่สัตว์, สัตว์โลก — the world of beings)
1. มนุษยโลก (โลกคือหมู่มนุษย์ — the world of man)
2. เทวโลก (โลกคือหมู่เทพ, สวรรค์ชั้นกามาวจรทั้ง 6 — the heavenly world)
3. พรหมโลก (โลกคือหมู่พรหม, สวรรค์ชั้นพรหม — the Brahma world)

โลก 3 ในหมวดนี้ ท่านจำแนกออกมาจาก ข้อ 2 คือสัตวโลก ในหมวดก่อน [101]

DA.I.173;
MA.I.397.
ที.อ. 1/215;
ม.อ. 2/269.

[104] โลก 3๓ (โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์ — the world; sphere) คือ กามโลก — the world of sense-desire; รูปโลก — the world of form; อรูปโลก — the formless world; เป็นชื่อที่บางแห่งใช้เรียก ภพ 3 แต่ไม่นิยม
------------------------
‪‎วชฺชปเภท‬ มี ๒ คือ

๑. โลกวัชชะ ถ้ารู้วัตถุ จิตจะเป็นอกุศลอย่างเดียว
เช่น เมถุนธรรมสิกขาบท

๒.ปัณณัตติวัชชะ ถึงจะรู้วัตถุ จิตก็เป็นกุศล หรือ อกุศลก็ได้
เช่น วิกาลโภชนสิกฺขาบท

๑.โลกวัชชะ = โลก+วัชชะ
-โลก หมายถึง สัตว์โลก ได้แก่ เทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน
-วัชชะ แปลว่า โทษ, คำติเตียน, เครื่องดนตรี, เพลงขับร้อง
-วัชชะ ในคำว่า โลกวัชชะ กล่าวอรรถโทสะ(เป็นโทษ)
-โลกวัชชะ แปลว่า เป็นโทษแก่สัตว์ ได้แก่ อกุศลกรรมทุกชนิด ซึ่งบุคคลใดก็ตาม ไม่ว่า เทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน ทำก็เป็นโทษเช่นกัน ไม่ใช่จำกัดเฉพาะภิกษุ เช่น ฆ่าสัตว์ ใครฆ่าก็เป็นบาปทั้งนั้น เป็นเหตุนำไปอบายได้ เพียงแต่พระมีสิกขาบทบัญญัติเพิ่มเข้ามาอีก จึงเป็นทั้งอาบัติ และโลกวัชชะ ส่วนโยมเป็นแค่โลกวัชชะ
หรือเช่น การเสพเมถุน ไม่ว่าใครเสพต่างก็เสพด้วยราคจิตทั้งนั้น เป็นอกุศล เป็นโทษเพราะเป็นเหตุนำไปอบาย พระทำมีโทษเป็นอาบัติปาราชิก และเป็นโลกวัชชะ โยมทำเป็นโลกวัชชะ

ปล.ชนจำนวนมาก เข้าใจผิด โลกวัชชะ ว่าชาวบ้านติเตียนจึงเป็นโลกวัชชะ ถ้ากระนั้น ถ้าหากชาวบ้านรวมกลุ่มกันทั้งหมดไม่ติเตียนมีความเห็นเดียวกันกับพระก็ไม่เป็นโลกวัชชะกระนั้นหรือ เช่น ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ชาวบ้านรวมกลุ่มไม่ติเตียน สรรเสริญบอกว่า ดีๆ เป็นการผ่อนคลาย พวกกระผมยังกระทำเลย จะใช่หรือ
-----------
๒.ปัณณัตติวัชชะ = ปัณณัตติ+วัชชะ
-ปัณณัตติ=ปัญญัตติ มีวิธีทางไวยากรณ์คือ เปลี่ยน ญญ เป็น ณณ. ปัณณัตติ จึงแปลว่า พระบัญญัติ (ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้)
-วัชชะ ในที่นี้ แปลว่า เป็นโทษ
-ปัณณัตติวัชชะ แปลว่า เป็นโทษเพราะล่วงละเมิดพระบัญญัติ เป็นโทษเฉพาะพระ เพราะมีพระบัญญัติห้ามไว้ ส่วนโยมไม่มีโทษ เช่น กินข้าวในเวลากลางคืน ถามว่า ชาวบ้านติเตียนไหม พระฉันข้าวในเวลากลางคืน ติเตียนแน่นอน. แต่พระฉันข้าวในเวลาเป็นปัณณัตติวัชชะ ไม่ได้เป็นโลกวัชชะ เพราะการกินข้าวมันเป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการตามธรรมชาติ หาได้เป็นกุศลอกุศลไม่ หาได้เป็นโทษไม่ ส่วนใครจะเกิดกิเลสกินนั่นอีกเรื่องหนึ่ง พระฉันข้าวในเวลาเย็นจึงไม่เป็นโลกวัชชะแต่อย่างใด เป็นปัณณัตติวัชชะเท่านั้น ส่วนโยมไม่เป็นอะไรสักอย่าง

เครดิต..กลุ่มถาม-ตอบพระธรรมวินัย

-------------------------
‪‎คาถาธรรมบท‬

เอถ ปสฺสถิมํ โลกํ
จิตฺตํ ราชรถูปมํ
ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ
นตฺถิ สงฺโค วิชานตํ ฯ

สูเจ้าทั้งหลาย จงมาเถิดมาดูโลกนี้
อันวิจิตรพิสดาร เหมือนกับราชรถทรง
ณ ที่นี่แหละ เหล่าคนโง่พากันหมกมุ่นอยู่
แต่ผู้รู้หาติดข้องอยู่ไม่

Come you all and behold this world
Like an ornamented royal chariot,
Wherein the fools are deeply sunk.
But for those who know there is no bond.

*อ่านเพิ่ม
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=23&p=4
------------------------------
ป.ล.ขอบคุณข้อมูลรูปภาพจากเว็บ

จิตฺเตน โลโก นียเต.
อ.โลก อันจิต ย่อมนำไป
57  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / อาลัย พระครูประภาตธรรมคุณ (สงัด สธฺมโม) วัดภูเขาน้อย อ. เกาะพะงัน สมุย เมื่อ: มิถุนายน 11, 2016, 07:08:51 pm
อาลัย พระครูประภาตธรรมคุณ (สงัด สธฺมโม) วัดภูเขาน้อย อ. เกาะพะงัน สมุย







ที่มา : เฟสบุ๊ค วัดภูเขาน้อย อ. เกาะพะงัน
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=740676569408947&id=100003998313422
58  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / อัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ ประดิษฐาน ณ มณฑปภายในศาลาจตุรมุข วัดอินทราวาส เมื่อ: มิถุนายน 11, 2016, 06:38:08 pm
พระธาตุเจ้าเข้าเวียง อัญเชิญพระทักขิณโมลีธาตุ (พระธาตุเจ้าจอมทอง) มาประดิษฐาน ณ มณฑปภายในศาลาจตุรมุข วัดอินทราวาส (วัดต้นเกว๋น) เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยพระธาตุจะแวะพักที่วัดต้นเกว๋นหนึ่งคืน มีพิธีอบรมสมโภช ก่อนจะอัญเชิญไปประดิษฐานเป็นการชั่วคราว ณ มลฑลพิธี ลานข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์






 




ที่มา และ รับชม อัลบัมรูป ได้ที่ : เฟสบุ๊ค CM77 97.5 MHz วิทยุล้านนา


https://www.facebook.com/cm77thailand/photos/?tab=album&album_id=1194823657205106


ชมคลิปได้ที่

https://www.facebook.com/cm77thailand/videos/1195429960477809/
59  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒ คือ มารดา บิดา เมื่อ: มิถุนายน 11, 2016, 02:15:22 pm
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ท่านทั้ง ๒
ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง
พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง
เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้น
ด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด
และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ
อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา
ยังมารดา บิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา
ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล
การกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ

พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1617&Z=1840]
[url]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=20&A=1617&Z=1840
[/url]
60  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คอร์สอบรมวิปัสสนากรรมฐาน "ปรมัตถภาวนา" ณ ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เมื่อ: มิถุนายน 11, 2016, 12:50:31 am






บรรยากาศธรรมปฏิบัติของผู้เข้าคอร์สอบรมวิปัสสนากรรมฐาน "ปรมัตถภาวนา" ณ ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ โดยพระวิปัสสนาจารย์ พระภาวนาเขมคุณ (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี) เจ้าอาวาสวัดมเหยงค์ พระนครศรีอยุธยา โดยเมื่อวานนี้ (9-6-59)





ช่วงเช้าจัดให้มีพิธีตักบาต ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ช่วงบ่ายพระเดชท่านเจ้าคุณเปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมถามปัญหาการปฏิบัติ ช่วงส่งอารมณ์รวม พร้อมกันนี้บรรดาศิษยานุศิษย์ที่อาศัยอยู่เมืองใกล้เคียงกับสถานที่เปิดคอร์ส ทราบข่าวการเปิดอบรมในครั้งนี้ ได้เข้ากราบนมัสการท่านเจ้าคุณ พร้อมกันนี้ท่านเจ้าคุณ ได้มีเมตตาแสดงพระธรรมเทศนาโปรดแก่คณะญาติโยม ยังความปิติแก่ผู้เข้ากราบนมัสการครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง


61  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ฝรั่ง บวชพระ !!! เมื่อ: มิถุนายน 11, 2016, 12:30:22 am





Reborn

Tan Khantiko was born in 1979 and raised in Nashville, TN. After graduating from the Graduate Theological Union/Institute of Buddhist Studies in Berkeley, CA, he decided to pursue monastic training and arrived at Abhayagiri in December 2012. He went forth as an Anāgārika on May 5, 2013, took Sāmaṇera ordination on May 17, 2014, and took the full Bhikkhu precepts at Abhayagiri Buddhist Monastery, CA on June 9, 2015.

Krab Anumodana.





รีบอร์น

ผิวสีแทน khantiko เกิดใน 1979 และโตใน nashville, tn. หลังจากจบการศึกษาจากการจบการศึกษาศาสนศาสตร์ union / สถาบันพุทธศาสนศึกษาใน berkeley, ca เขาตัดสินใจที่จะไล่ตาม monastic ฝึกอบรมและมาถึง abhayagiri ในเดือนธันวาคม 2012. เขาไปเป็นอนาคาริกในเดือนพฤษภาคม 5, 2013, เอา sāmaṇera การบวชในเดือนพฤษภาคม 17, 2014, และเอาเต็มภิกษุศีลที่อารามพุทธ abhayagiri, ca วันที่ 9 มิถุนายน 2015.





แปลโดย : google translate

ตาล Khantiko เกิด ขึ้นในปี 1979 และเติบโตใน แนชวิลล์, เทนเนสซี หลังจากจบการศึกษา จาก วิทยาลัยศาสนศาสตร์ บัณฑิต Union / สถาบัน การศึกษาพุทธ ในเบิร์กลีย์ , แคลิฟอร์เนีย เขาตัดสินใจที่จะ ดำเนินการฝึกอบรม สงฆ์ และ มาถึงที่ Abhayagiri ในเดือนธันวาคม 2012 เขา ออกไป เป็น Anagarika วันที่ 5 พฤษภาคม 2013 เอา samanera อุปสมบท เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2014 และเอา ศีล ภิกขุ เต็ม ที่วัด Abhayagiri พุทธ CA เมื่อ 9 มิถุนายน 2015



ที่มา : เฟสบุ๊ค Peaceful Uplifting Monasteries
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1605099139804623&id=1488333064814565
62  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪บาลีวันละคำ‬ ปริญญาบัตร เมื่อ: มิถุนายน 11, 2016, 12:13:33 am
‪บาลีวันละคำ‬
ปริญญาบัตร
อ่านว่า ปะ-ริน-ยา-บัด
ประกอบด้วย ปริญญา + บัตร
(๑) “ปริญญา”
บาลีเป็น “ปริญฺญา” (ปะ-ริน-ยา, มีจุดใต้ ญฺ ตัวหน้า) รากศัพท์มาจาก ปริ (คำอุปสรรค = รอบ) + ญา (ธาตุ = รู้) + กฺวิ ปัจจัย, ซ้อน ญฺ, ลบ กฺวิ
: ปริ + ญฺ + ญา = ปริญฺญา + กฺวิ = ปริญฺญากฺวิ > ปริญฺญา แปลตามศัพท์ว่า (1) “การรู้โดยรอบ” (2) “ธรรมชาติเป็นเครื่องรู้รอบ”
“ปริญฺญา” ในบาลีหมายถึง ความรู้ที่ถูกต้องหรือถ่องแท้, ความเข้าใจ, ความรอบรู้ (accurate or exact knowledge, comprehension, full understanding)
“ปริญญา” ในพระพุทธศาสนามี 3 อย่าง พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [92] บอกความหมายไว้ดังนี้ -
[92] ปริญญา 3 (การกำหนดรู้, การทำความรู้จัก, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน — Pariññā: full understanding; diagnosis)
1. ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว, กำหนดรู้ขั้นรู้จัก, กำหนดรู้ตามสภาวลักษณะ คือ ทำความรู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นโดยตรง พอให้ชื่อว่าได้เป็นอันรู้จักสิ่งนั้นแล้ว เช่นรู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้เป็นต้น — Ñāta-pariññā: full knowledge as the known; diagnosis as knowledge)
2. ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา, กำหนดรู้ขั้นพิจารณา, กำหนดรู้โดยสามัญลักษณะ คือ ทำความรู้จักสิ่งนั้นพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่าเวทนาไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ดังนี้เป็นต้น — Tīraṇapariññā: full knowledge as investigating; diagnosis as judgment)
3. ปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละ, กำหนดรู้ถึงขั้นละได้, กำหนดรู้โดยตัดทางมิให้ฉันทราคะเกิดมีในสิ่งนั้น คือรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ละนิจจสัญญาเป็นต้น ในสิ่งนั้นเสียได้ — Pahāna-pariññā: full knowledge as abandoning; diagnosis as abandoning)
“ปริญญา” ที่ใช้ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า -
“ปริญญา : (คำนาม) ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้นมหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้าประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺญา).”
(๒) “บัตร”
บาลีเป็น “ปตฺต” (ปัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก ปตฺ (ธาตุ = ตก) + ต ปัจจัย
: ปตฺ + ต = ปตฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่จะร่วงหล่นโดยไม่นาน” หมายถึง ใบไม้
“ปตฺต” สันสกฤตเป็น “ปตฺร” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “บัตร” แปลว่า ใบ, แผ่น, ใบหนังสือ, จดหมาย, ลายลักษณ์อักษรทั่วไป
เดิมเราขีดเขียนอักษรลงบนใบไม้เพื่อใช้ส่งสารติดต่อถึงกัน ต่อมาเมื่อพัฒนาขึ้นเป็นแผ่นกระดาษ จึงเรียกกระดาษหรือสิ่งที่เป็นแผ่นใช้เขียนลายลักษณ์อักษรว่า “ปตฺต - บัตร”
ในภาษาไทย คำว่า “บัตร” ใช้ต่อท้าย “คำศัพท์” ที่เป็นบาลีสันสกฤตด้วยกัน เช่น นามบัตร สิทธิบัตร ประกาศนียบัตร มรณบัตร อนุโมทนาบัตร
ถ้าใช้คำว่า “บัตร” นำหน้า คำตามหลังจะเป็นคำแสดงลักษณะของบัตรนั้นๆ และไม่จำเป็นต้องเป็นคำบาลีสันสกฤต เช่น บัตรประจำตัว บัตรเครดิต บัตรสนเท่ห์
ปริญญา + บัตร = ปริญญาบัตร แปลงกลับเป็นบาลีว่า “ปริญฺญาปตฺต” ไม่มีรูปคำควบกันเช่นนี้ในคัมภีร์
“ปริญญาบัตร” เป็นคำที่คิดขึ้นใช้ในภาษาไทย แปลโดยอนุรูปแก่ศัพท์ว่า “ใบรับรองว่าเป็นผู้มีความรอบรู้”
พจน.54 บอกไว้ว่า -
“ปริญญาบัตร : (คำนาม) บัตรที่แสดงวิทยฐานะของผู้สําเร็จการศึกษาว่ามีศักดิ์และสิทธิ์ระดับปริญญา.”
: บุญกุศลไม่ได้อยู่ที่อนุโมทนาบัตร
: ความรู้ความถนัดไม่ได้อยู่ที่กระดาษแผ่นเดียว

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
63  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เมื่อคุณเก็บเงินได้ หาเจ้าของไม่เจอ แล้วคุณทำอย่างไร ? เมื่อ: มิถุนายน 10, 2016, 09:06:50 pm
 ask1


เมื่อคุณเก็บเงินได้ หาเจ้าของไม่เจอ แล้วคุณทำอย่างไร ?


ขอบคุณรูปภาพจาก siamfishing.com

หลาย ๆ คน อาจจะมีประสบการณ์ เจอเงินตกอยู่

แล้วไม่รู้ว่า จะไปบอกใคร ไม่รู้ว่าจะหาคือเจ้าของได้ที่ไหน

หาก เป็นท่าน เก็บเงินได้ หาเจ้าของไม่พบ แล้วท่านจะทำยังไง !!!

 :smiley_confused1:
64  กรรมฐาน มัชฌิมา / บันทึกความทรงจำ Memorytime / ประวัติความเป็นมาจังหวัดสระบุรี ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เมื่อ: มิถุนายน 09, 2016, 10:16:42 pm
ประวัติความเป็นมาจังหวัดสระบุรี
ลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์


นักประวัติศาสตร์ถือว่ายุคทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นจุดเริ่มต้นของสมัยประวัติศาสตร์พื้นที่สระบุรีมีหลักฐานว่าอยู่ในยุคทวารวดีเช่นกัน เช่น ที่บ้านอู่ตะเภา ตำบลม่วงหวาน อำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี สันนิษฐานว่าเคยเป็นเมืองเก่าครั้งทวารวดี ที่ถ้ำพระโพธิสัตว์ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี พบภาพสลักนูนต่ำที่ผนังถ้ำเป็นลักษณะศิลปกรรมยุคทวารวดี ศรีศักร วัลลิโภดม สันนิษฐานว่า
น่าจะเป็นที่จำศีลภาวนาของนักบวชและฤาษี ภายในถ้ำโอ่โถงพอสมควรพอเป็นที่พักพำนักได้ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในระดับที่สูงแต่ก็ไม่มีอะไรที่ลำบากแก่การดำรงชีวิตอันเนื่องมาจากบริเวณที่ตีนเขา ตรงหน้าถ้ำนั้นมีธารน้ำตก เหมาะกับการตั้งหลักแหล่งพำนักอาศัยของบรรดานักบวช หรือไม่ก็ชุมชน และผู้คนที่อยู่ในที่สูงป่าเขา อาศัยผลผลิตของป่าในบริเวณนั้นหาเลี้ยงชีพอีกแห่งหนึ่งคือ ที่ถ้ำเขาวง (ถ้ำนารายณ์) หมู่ 4ตำบลเขาวง อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีมีจารึกที่ผนังถ้ำด้วยอักษรปัลลวะ ถ้อยคำที่จารึกเป็นภาษามอญโบราณ ข้อความนี้จารึกราวพุทธศตวรรษที่ 12อยู่ในสมัยทวราวดี

ปิแอร์ ดูปองท์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสสันนิษฐานว่า ผู้คนในยุคทวารวดีเป็นคนมอญที่อพยพมาอยู่ถิ่นนี้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 15 เพราะภาษาที่จารึกในยุคนี้เป็นภาษามอญทุกที่

ราวพุทธศตวรรษที่ 17อาณาจักรทวารดีได้เสื่อมลง เนื่องจากขอมเข้ามาแผ่อิทธิพลปกครองในถิ่นนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในเรื่องตำนานเมืองสระบุรี ว่า
ท้องถิ่นอันเป็นเขตจังหวัดสระบุรีนี้แต่โบราณครั้งเมื่อขอมยังเป็นใหญ่ในประเทศนี้อยู่ ในทางหลวงสายหนึ่งซึ่งขอมไปมาติดต่อกับราชธานีที่นครหลวง (ซึ่งเรียกในภาษาขอมว่านครธม) ยังมีเทวสถาน ซึ่งพวกขอมสร้างเป็นปรางค์หินไว้ตามที่ได้ตั้งเมืองปรากฏเป็นระยะ คือ ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีที่อำเภอวัฒนานครแห่งหนึ่ง ที่ดงมหาโพธิ์แห่งหนึ่ง ต่อมาถึงเขตจังหวัดนครนายกมีที่ดงนครแห่งหนึ่ง แล้วมามีที่บางโขมดทางขึ้นพระพุทธบาทอีกแห่งหนึ่ง ต่อไปก็ถึงเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองหลวงมณฑลละโว้ที่พวกขอมปกครอง แต่ในที่ใกล้ลำน้ำป่าสักซึ่งตั้งเมืองสระบุรีหาปรากฏสิ่งสำคัญครั้งขอมอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ เพราะฉะนั้นเมืองสระบุรีเห็นจะเป็นเมืองต่อเมืองไทยได้ประเทศนี้จากพวกขอมแล้ว

เมืองสระบุรีเริ่มปรากฏชื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางด้วยมีคำว่า เมืองสระบุรี ปรากฏในพงศาวดารครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระมหินทราธิราชคราวที่พระเจ้าหงสาวดียกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระมหินทราธิราชทรงมีพระราชสาส์นถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชแห่งนครเวียงจันทน์ให้นำทัพมาช่วยไทย แต่ทัพลาวถูกทหารพม่าซุ่มตีที่เมืองสระบุรี ทัพลาวแตกกลับเวียงจันทน์ เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อ พ.ศ. 2112

แสดงว่าเมืองสระบุรีต้องตั้งมาก่อน พ.ศ. 2112 แต่จะก่อตั้งเมื่อใดไม่มีหลักฐานเอกสารอ้างอิง สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานการตั้งเมืองสระบุรีไว้ดังนี้
เมื่อในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระราชบิดาของสมเด็จพระมหินทราธิราชนั้น พระเจ้าหงสาวดีตะเบงชะเวตี้ ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2091ในสมัยนั้นมีป้อมปราการเป็นเขื่อนขัณฑ์กันราชธานีอยู่ทั้ง 4ทิศ คือ เมืองสุพรรณบุรี อยู่ทางทิศตะวันตก เมืองลพบุรี อยู่ทางทิศเหนือ เมืองนครนายก อยู่ทางทิศตะวันออก และเมืองพระประแดง (ภายหลังเปลี่ยนไปเป็นเมืองธนบุรี) อยู่ทางทิศใต้ กองทัพพระเจ้าหงสาวดียกเข้าทางด่านพระเจดีย์ 3องค์ ข้างทิศตะวันตก กองทัพไทยจึงไปต่อสู้ที่เมืองสุพรรณบุรี รับข้าศึกไม่อยู่ต้องถอยกลับมาเอาพระนครศรีอยุธยาเป็นที่มั่นจึงได้ชัยชนะ เป็นเหตุให้เห็นว่าเมืองที่ตั้งขึ้นเป็นเขื่อนขัณฑ์กันพระนครนั้นหาเป็นประโยชน์ดังคาดมาแต่ก่อนไม่ที่สร้างป้อมปราการไว้ถ้าข้าศึกยึดเอาเป็นที่มั่นสำหรับทำการสงครามแรมปี ตีพระนคร ก็จะกลับเป็นประโยชน์แก่ข้าศึกจึงให้รื้อป้อมปราการเมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี และเมืองนครนายกเสียทั้ง 3 เมือง คงไว้แต่ที่เมืองพระประแดงซึ่งรักษาทางปากน้ำอีกประการหนึ่งเห็นว่าที่รวบรวมผู้คนในเวลาเกณฑ์ทัพยังมีน้อยนักจึงให้ตั้งตัวเมืองเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายเมืองสำหรับเป็นที่รวบรวมผู้คนเพื่อจะได้เรียกระดมรักษาพระนครได้ทันท่วงทีในเวลาการสงครามมีมาอีก เมืองที่ตั้งใหม่ครั้งนั้นระบุชื่อไว้ในพระราชพงศาวดารแต่ทางทิศใต้กับทางทิศตะวันตกคือเมืองนนทบุรี เมืองสาครบุรี (สมุทรสาคร) และเมืองนครไชยศรี แต่ทางทิศอื่นหาได้กล่าวถึงไม่ เมืองสระบุรี (แลเมืองฉะเชิงเทรา) เห็นจะตั้งในครั้งนี้นั่นเอง คือตั้งราว พ.ศ. 2092ก่อนที่จะปรากฏชื่อในหนังสือพระราชพงศาวดารเพียง 20 ปี เมืองที่ตั้งครั้งนั้นเห็นเป็นแต่สำหรับรวบรวมผู้คนดังกล่าวมา จึงกำหนดแต่เขตแดน มิได้สร้างบริเวณเมืองผู้รั้งตั้งจวนอยู่ที่ไหนก็เชื่อว่าเมืองอยู่ตรงนั้น
จากนิพนธ์นี้เข้าใจว่า ยุคนั้นคงมีผู้คนอยู่ในถิ่นนี้พอสมควร จึงตั้งเมืองขึ้นที่นี่เพื่อให้ทำหน้าที่ช่วยรบ และเตรียมเสบียงไว้ในการสงคราม สระบุรี คงมีความหมายว่า เมืองแห่งน้ำ หรือ ตัวเมืองใกล้น้ำ เพราะครั้งแรกที่ตั้งเมืองอยู่บริเวณบึงโง้ง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ในปัจจุบัน

สระบุรีสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองสระบุรีมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในเรื่องสงครามและการพระศาสนาเป็นสำคัญ ในเรื่องการสงครามเช่น พ.ศ.๒๑๒๕ พระเจ้าแปรยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีรับสั่งให้พระยานครนายก พระยาปราจีนบุรี พระวิเศษเมืองฉะเชิงเทรา พระสระบุรี 4 หัวเมือง ให้พระยานครนายกเป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 10,000 คน ออกไปตั้งค่าย ขุดคู ปลูกยุ้งฉาง ถ่ายลำเลียงไว้ตำบลทำนบรักษาไว้ให้มั่น พ.ศ.2126 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพออกไปลาดตระเวน ฟังราชการให้ถึงทัพหลวง พ.ศ 2227 อ้ายธรรมเถียร คนนครนายกปลอมตนว่าเป็นเจ้าฟ้าอภัยทศลวงผู้คนให้หลงเชื่อมาถึงสระบุรีและลพบุรี แล้วนำผู้หลงเชื่อบุกเข้าไปถึงกรุง แต่ก็พ่ายแพ้และถูกประหารชีวิต พ.ศ. 2235 เกิด กบฏบุญกว้าง เป็นคนมีวิชาอาคมดีนำพวก 28 คนยึดเมืองนครราชสีมาได้ เจ้าเมืองนครราชสีมาลวงว่าควรนำทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา บุญกว้างเชื่อจึงนำผู้คนผ่านมาถึงลพบุรี กรมการเมืองสระบุรีมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการพระศาสนาก็คือ พ.ศ. 2149 ได้พบรอยพระพุทธบาทสระบุรีในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จากนั้นมาเป็นราชประเพณีนิยมที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จมานมัสการพระพุทธละ ทรงนำนุบำรุงพระพุทธบาทรวมทั้งเสด็จไปนมัสการพระพุทธฉาย

เมืองสระบุรีสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ช่วงนี้พระมหากษัตริย์ก็ยังทรงมีพระราชนิยมเสด็จมานมัสการพระพุทธบาทรวมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมพระพุทธบาท เนื่องจากคราวที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเมื่อ พ.ศ.2310 นั้น จีนค่ายคลองสวนพลู 400 คน ขึ้นไปทำลายพระพุทธบาท ลอกเอาเงินดาดพื้น ทองหุ้มพระมณฑปน้อยไป ในสมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯให้ซ่อมพระมณฑปพระพุทธบาทแต่ยังไม่เสร็จ ครั้นถึง พ.ศ.2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จขึ้นไปเป็นแม่การยกพระมณฑปพระพุทธบาท และทำพระมณฑปน้อยกั้นรอยพระพุทธบาทภายในพระมณฑปใหญ่เสาทั้งสี่ กับทั้งเครื่องบน และยอดล้วนหุ้มแผ่น ทองทั้งสิ้น

พ.ศ. 2400พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะมณฑปพระพุทธบาท และทำที่ประทับใหม่หลายหลังในพระราชวังท้ายพิกุล รวมพระราชทรัพย์ ครั้งนี้เป็นเงิน 441 ชั่ง 4 ตำลึง 3 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง ต่อมาปี พ.ศ. 2403 ได้เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธบาทอีก ทรงยกยอดพระมณฑปและทรงบรรจุพระบรมธาตุ และได้เสด็จนมัสการพระพุทธฉาย แล้วเสด็จประทับแรมที่เขาแก้ว (ปัจจุบันคือ วัดเขาแก้ว ตำบลต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี) ทรงรับช้างเผือกที่ พระสุนทรราชวงศ์ เจ้าเมืองสีทา (ปัจจุบัน คือ หมู่ 8 ตำบลสองคอน อำเภอแก่งคอย) และจัดให้เขาคอกเป็นที่ฝึกทหาร และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยเสด็จพระราชดำเนินหลายครั้ง

ช่วงสมัยนี้มีการสงครามที่มีผลต่อเมืองสระบุรีด้วยคือ

พ.ศ.2314พระเจ้าสุริยวงศ์แห่งนครหลวงพระบางมีเรื่องวิวาทกับพระเจ้าสิริบุญสารแห่งนครเวียงจันทน์พระเจ้าสุริยวงศ์ยกทัพไปล้อมนครเวียงจันทน์นานถึงสองเดือนพระเจ้าสิริบุญสารส่งสาสน์ไปยังพม่าที่นครเชียงใหม่ให้ยกทัพมาช่วยตีทัพนครหลวงพระบางพระเจ้าสุริยวงศ์ทรงทราบเรื่องจึงเจรจาขอเป็นไมตรีกับพม่าเหตุการณ์ครั้งนี้ชาวเวียงจันทน์เกรงว่าจะเกิดศึกใหญ่จึงพากันอพยพมายังเมืองนครราชสีมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯให้ชาวลาวเหล่านี้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองสระบุรีพาไพร่พลหนีมาเรื่อยๆพระเจ้าสิริบุญสารก็ตามมารบจนพระตาตายพระวอพาไพร่พลหนีมายังบ้านดอนมดแดงจังหวัดอุบลราชธานีพ.ศ.2319พระเจ้าสิริบุญสารให้พระยาสุโพยกทัพมาตีและฆ่าพระวอตายทหารของพระวอที่เหลือมีหนังสือขอความช่วยเหลือมายังเจ้าเมืองนครราชสีมาเจ้าเมืองนครราชสีมานำหนังสือกราบทูลมายังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกริ้วว่าพระเจ้าสิริบุญสารมาฆ่าพระวอผู้มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินของพระองค์พ.ศ.2321ได้ทรงมอบให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์นำทัพไปตีนครเวียงจันทน์แลยึดนครเวียงจันทน์ได้ในคราวนั้นได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทน์มาจำนวนมากรวมทั้งนำพระราชบุตรของพระเจ้าสิริบุญสารมาด้วยพร้อมกับอัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางมาถึงเมืองสระบุรีเมื่อเดือน4ปีกุนเอกศกจุลศักราช1141 (พ.ศ.2322) โปรดฯให้ชาวเวียงจันทน์ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่สระบุรีเรียกว่าลาวเวียงส่วนพระบรมวงศานุวงศ์ของลาวได้นำไปยังกรุงธนบุรีทรงชุบเลี้ยงเป็นอย่างดีสำหรับพระบางนั้นไทยได้คืนไปให้แก่ลาวเมื่อวันที่ 13 มีนาคมพ.ศ.2408 พ.ศ.2347พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้กรมหลวงเทพหริรักษ์และพระยายมราชนำทัพไปขับไล่พม่าให้ออกจากเมืองเชียงแสนเมื่อได้ชัยชนะแล้วก็รวบรวมชาวเชียงแสนได้23,000ครอบครัวแบ่งออกเป็น5ส่วนส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่เชียงใหม่ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ลำปางส่วนหนึ่งให้ไปอยู่น่านส่วนหนึ่งให้ไปอยู่เวียงจันทน์อีกส่วนหนึ่งถวายลงกรุงเทพฯโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่เมืองสระบุรีบ้างแบ่งไปอยู่ราชบุรีบ้าง

พ.ศ.2368เจ้าอนุวงศ์ราชบุตรของพระเจ้าสิริบุญสารผู้เคยมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1ต่อมากลับไปครองนครเวียงจันทน์ได้ลงมาร่วมงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้งนั้นได้ทูลขอชาวลาวที่อยู่ในเมืองไทยกลับไปยังเวียงจันทน์แต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงอนุญาตเมื่อเจ้าอนุวงศ์เสด็จกลับไปยังนครเวียงจันทน์แล้วเดือนยี่ปีจออัฐศกจุลศักราช1188 (พ.ศ.2369) ได้นำทัพลงมาลวงเจ้าเมืองตามหัวเมืองต่างๆว่าทางกรุงเทพฯสั่งให้นำทัพมาช่วยรบกับอังกฤษในพงศาวดารกล่าวว่าลวงเบิกเสบียงอาหารที่นครราชสีมาได้แล้วลงมาตั้งอยู่ณตำบลขอนขว้างใกล้กับเมืองสระบุรีให้ลงมาเกลี้ยกล่อมพระยาสระบุรีซึ่งเป็นลาวพุงดำและนายครัวลาวพุงขาวเข้าด้วยกวาดครอบครัวอพยพไทยจีนลาวซึ่งตั้งอยู่เมืองสระบุรีได้เป็นอันมากขณะนั้นทางกรุงเทพฯก็รู้ความเคลื่อนไหวของเจ้าอนุวงศ์คาดว่าเจ้าอนุวงศ์จะยกทัพไปถึงกรุงเทพฯจึงเตรียมรับมืออยู่ที่กรุงเทพฯต่อมากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพพระยาราชสุภาวดีและเจ้าเมืองนครราชสีมานำทัพไปตีนครเวียงจันทน์เมื่อพ.ศ. 2370ทัพไทยชนะเจ้าอนุวงศ์นำครอบครัวไปพึ่งญวนแต่ถูกจับกุมส่งมายังกรุงเทพฯต้องโทษถูกนำออกประจานจนถึงแก่พิราลัย

พ.ศ.2371 ทัพไทยไปตีนครเวียงจันทน์อีกครั้ง คราวนี้ได้นำครอบครัวลาวเวียงจันทน์ ลาวพวน (เมืองเชียงขวาง) ลงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ลพบุรีบ้าง สระบุรีบ้าง สระบุรีจึงมีประชาการลาวมากขึ้น

สงครามทั้ง 4 ครั้งนี้ ทำให้เมืองสระบุรีมีผู้คนมาอยู่อาศัยมากขึ้น
คนสระบุรีแต่เดิมนั้นเป็นคนไทยภาคกลาง อยู่ที่นี่มาก่อนแล้ว เช่น บ้านโคกโบสถ์ (หมู่ 4 ตำบลหนองสรวง อำเภอวิหารแดง) เคยเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์มาก่อน สิ่งที่ได้พบบริเวณนี้ คือ เศียรพระพุทธรูป กระเบื้องมุงหลังคาแบบมีตะขอเกี่ยว พระกริ่ง ถาดโลหะ ลูกปืนโบราณ ฯลฯ สิ่งดังกล่าวเป็นโบราณวัตถุสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ตำบลบัวลอย อำเภอหนองแคมี บ้านดงเมืองเป็นเมืองเก่าคราวเดียวกับเมืองอู่ตะเภา อำเภอหนองแซง เคยเป็นเมืองที่เจริญมาก่อน ต่อมาผู้คนจากพระนครศรีอยุธยาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ ที่นี้ด้วยเนื่องจากเหตุการณ์สงครามตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่ถึงกระนั้นยุคต้น ๆ ประชากรเมืองสระบุรีก็มีไม่มากนัก และกระจายกันอยู่เป็นกลุ่ม ๆ
จากเหตุการณ์สงครามสี่ครั้งดังกล่าว ทำให้มีคนลาวและชาวเวียงแสนมาตั้งถิ่นฐานอยู่ ทำให้สระบุรีมีประชากรเพิ่มมากขึ้น
ลาวที่มาครั้งนั้นเรียกตามสำเนียงภาษาพูดที่ต่างกันสี่กลุ่มคือ
ลาวเวียงคือ ลาวมาจากนครเวียงจันทน์ ปัจจุบันมีอยู่มากที่อำเภอแก่งคอย หนองแค หนองแซง วิหารแดง เสาไห้ บ้านหมอ
ลาวพวนคือ ลาวที่มาจากเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง) ตั้งถิ่นฐานที่อำเภอหนองโดน และอำเภอดอนพุด
ลาวแง้วคือ ลาวที่มาจากชนบทชานเมืองเวียงจันทน์ ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานที่บ้านตาลเสี้ยน บ้านหนองระกำ อำเภอพระพุทธบาท และบางหมู่บ้านในอำเภอหนองโดน
ลาวญ้อ คือ ลาวที่มาจากเมืองคำเกิดในประเทศลาว ปัจจุบันยังมีผู้พูดภาษาลาวญ้อในบางหมู่บ้านอำเภอแก่งคอย

คนลาวที่อพยพมาอยู่สระบุรีครั้งนั้น มีผู้ที่เคยเป็นเจ้าเมืองสระบุรี เช่น พระยาสุราราชวงศ์ เจ้าเมืองสระบุรีสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นชาวลาวพุงดำที่อพยพมาอยู่ถิ่นนี้ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี พระสยามลาวบดี ปลัดเจ้าเมืองสระบุรีสมัยรัชกาลที่ 4 ก็เป็นชาวลาวเช่นกัน ที่ตำบลโคกแย้ อำเภอหนองแค มีวัดอยู่สองวัด คือ วัดสนมลาว (วัดไทยงาม) และวัดสนมไทย (วัดเขาพนมยงค์) วัดสนมไทยเป็นทีอยู่ของคนไทยอยุธยา ส่วนวัดสนมลาวเป็นถิ่นที่อยู่ของกลุ่มชนที่อพยพมาจากนครเวียงจันทน์ได้มาอยู่บ้านโป่งแร้ง บ้านหนองผักชี และบ้านสนมลาว ชาวบ้านเล่าสืบพันมาว่าครั้งหนึ่ง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามเสด็จเยี่ยมชาวบ้านกลุ่มนี้ได้มีชาวบ้านผู้หนึ่งทูลถวายบุตรสาวของตนเพื่อเป็นบาทบริจาริกา พระองค์ก็ทรงรับไว้ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระสนมเอก

วันหนึ่งพระสนมเอกผู้นี้ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเดิมของตน พบว่าญาติพี่น้องยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง แต่ไม่มีวัดที่จะประกอบศาสนพิธี เมื่อเดินทางกลับพระนครแล้วจึงกราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ช่วยสร้างวัดให้ พระมหากษัตริย์พระองค์นั้นจึงโปรดฯ ให้ช่างหลวงมาสร้างวัดให้และโปรดฯ ให้สร้างพระเจดีย์ไว้ด้วย (ปัจจุบันยังมีหลักฐานเหลืออยู่) ที่เชิงเขาโป่งแร้ง และพระราชทานนามวัดว่า วัดพระสนมลาววิหาร แต่ชาวบ้านนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วัดสนมลาว

ส่วนชาวเชียงแสนที่มาอยู่เมืองสระบุรีเมื่อ พ.ศ. 2347 ถิ่นแรก คือท้องที่อำเภอเสาไห้ เรียกตนเองว่า คนยวน (มาจากโยนก) ปัจจุบันมีอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดสระบุรี (ยกเว้นอำเภอหนองโดน และอำเภอดอนพุด) คนยวนเหล่านี้ได้นำภาษา และประเพณีวัฒนธรรมของล้านนาไทยมาใช้สืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

ชาวไทยยวนที่อพยพมาจากเชียงแสนครั้งนั้นมีหัวหน้ากลุ่มชนเรียกว่า ปู่คัมภีระ มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านไผ่ล้อม ตำบลสวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ทุกวันนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ปู่คัมภีระได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสระบุรีมีบรรดาศักดิ์เป็น พระยารัตนกาศ ท่านมีบุตรสี่คน บุตรชายคนแรกได้เป็นเจ้าเมืองสระบุรี สืบต่อจากบิดา มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยารัตนกาศ เช่นกัน บุตรชายคนที่สองได้รับแต่งตั้งให้เป็นปลัดเมืองสระบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาบำรุงราษฎร์ บุตรชายคนที่สามของปู่คัมภีระชื่อว่า มหาวงศ์ ท่านผู้นี้มีบุตรคือ พระยาการีสุนทร (ทองคำ) เคยเป็นนายอำเภอแก่งคอย (พ.ศ.2436-2457) บุตรของผู้เฒ่ามหาวงศ์ อีกท่านหนึ่งคือ พระยารัตนกาศ (แก้วก้อน) เคยเป็นนายอำเภอเสาไห้ (พ.ศ.๒๔๓๙- ๒๔๔๒) บุตรคนที่สี่ของปู่คัมภีระเป็นหญิงชื่อว่า บัว มีสามีคือ พระบำรุงภาชี เป็นผู้มีหน้าที่ดูแลพาหนะม้าสังกัดกองโค

นามเจ้าเมืองสระบุรีคนแรกไม่ปรากฏหลักฐานคงมีเพียงตำแหน่งบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองสระบุรีซึ่งปรากฏเด่นชัดในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อพ.ศ. 2125 ทราบแต่ว่ามีบรรดาศักดิ์เป็น“ พระสระบุรี ” เท่านั้นโดยสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคนไทยภาคกลางมีหน้าที่คุมรักษาฉางข้าวไว้ให้กองทัพหลวงครั้งยกไปตีเขมร ซึ่งคงจะเป็นเพราะให้ชาวเมืองสระบุรีสมัยนั้นทำไร่ทำนาเก็บเกี่ยวไว้สำหรับงานสงคราม

จวบจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าเมืองสระบุรีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสุราราชวงศ์ ” ซึ่งตามพงศาวดารว่าเป็นชนเผ่าลาวพุงดำซึ่งถูกเกณฑ์อพยพมาแต่ครั้ง เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) พาทัพไปตีนครเวียงจันท์ (สมัยกรุงธนบุรี ) แล้วมาตั้งรกราก ณ แขวงเมืองสระบุรี พ.ศ. 2324

ล่วงถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทางการมีการแต่งชื่อเจ้าเมืองใหม่ดังนี้

เจ้าเมืองพระพุทธบาท (แก้วประศักดิ์เมืองปรันตปะ ) เดิมนามว่าขุนอนันตคีรีตั้งใหม่เป็นหลวงสัจจภัญฑคิรีศรีรัตนไพรวันเจติยาสันคามวาสีนพคูหาพนมโขลน

เจ้าเมืองสระบุรีเดิมนามว่าขุนสรบุรีปลัดตั้งใหม่เป็นพระสยามลาวบดีปลัดตำแหน่งเจ้าเมืองในสมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2435) มีการจัดรูปการปกครองใหม่เป็นเทศาภิบาลโดยจัดตั้งเป็นมณฑลเทศาภิบาลจังหวัดอำเภอตำบลหมู่บ้านลดหลั่นกันลงไปเมืองสระบุรีขึ้นอยู่กับมณฑลกรุงเก่ามีการส่งข้าราชการมาปกครองแทนการตั้งเจ้าเมืองสำหรับที่ตั้งเมืองสระบุรีครั้งแรกไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนคงทราบแต่เพียงว่าตั้งอยู่ที่หัวจวนบริเวณบึงหนองโง้งใกล้วัดจันทบุรีตำบลศาลารีลาวปัจจุบันคือตำบลเมืองเก่าอำเภอเสาไห้มีพระยาสระบุรี (เลี้ยง) เป็นเจ้าเมืองปีพ.ศ. 2433 พระยาสระบุรี (เลี้ยง) ถึงแก่กรรมจ่าเริงเป็น เจ้าเมืองแทนได้ย้ายศาลากลางเมืองสระบุรีไปอยู่ที่บ้านไผ่ล้อมน้อยอ.เสาไห้ ( บ้านเรือนที่เจ้าเมืองสร้างอยู่อาศัยคือศาลากลางเมือง ) จนถึงสมัยที่พระยาพิชัยรณรงค์สงครามเป็นเจ้าเมืองเห็นว่าตัวเมืองเดิมที่เสาไห้อยู่ห่างไกลจากทางรถไฟมาก (รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือขึ้นมาถึงเมืองสระบุรีเมื่อ พ.ศ.2439) ประกอบกับภูมิประเทศไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในสมัยนั้นยากแก่การขยายเมืองในอนาคตจึงได้สร้างศาลากลาง ขึ้นใหม่ณบริเวณตำบลปากเพรียวการก่อสร้างเสร็จในสมัยเจ้าเมืองคนที่ 3 คือพระยาบุรีสราธิการ (เป้าจารุเสถียร) ในปีพ.ศ. 2509 ก็ได้รื้อและสร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นแทน

จัดทำและพัฒนาโดย
กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดสระบุรี
ศาลากลางจังหวัดสระบุรี อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
โทร./โทรสาร 036-220439 E-mail : saraburi@moi.go.th

ที่มา : http://www.saraburi.go.th/
65  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สรุปสาระสำคัญของพระวินัยในหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องน้ำปานะ ครุภัณฑ์ กัปปิยภูมิ เมื่อ: มิถุนายน 09, 2016, 12:45:44 am
สีมา ว่าด้วยเขตแดนสำหรับทำสังฆกรรมของภิกษุสงฆ์




มาติกา ๑๗ สำหรับวินิจฉัยสิกขาบท




อาการขโมย ๒๕ อย่างในอทินนาทานสิกขาบท




ปาราชิกข้อ ๑ เมถุนธรรมสิกขาบท
ปาราชิกข้อ ๒ อทินนาทานสิกขาบท





ปาราชิกข้อ ๓ มนุสสวิคคหสิกขาบท
ปาราชิกข้อ ๔ อุตริมนุสสธรรมสิกขาบท





สมุฏฐานของเสขิยวัตร

66  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สรุปสาระสำคัญของพระวินัยในหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องน้ำปานะ ครุภัณฑ์ กัปปิยภูมิ เมื่อ: มิถุนายน 09, 2016, 12:28:22 am
เสขิยวัตร ๑




เสขิยวัตร ๒




เสขิยวัตร ๓




67  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สรุปสาระสำคัญของพระวินัยในหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องน้ำปานะ ครุภัณฑ์ กัปปิยภูมิ เมื่อ: มิถุนายน 09, 2016, 12:20:49 am
มาติกา ๑๗ สำหรับวินิจฉัยสิกขาบท




อาการขโมย ๒๕ อย่างในอทินนาทานสิกขาบท




ปาราชิกข้อ ๑ เมถุนธรรมสิกขาบท
ปาราชิกข้อ ๒ อทินนาทานสิกขาบท





ปาราชิกข้อ ๓ มนุสสวิคคหสิกขาบท
ปาราชิกข้อ ๔ อุตริมนุสสธรรมสิกขาบท





สมุฏฐานของเสขิยวัตร




ปริมัณฑลสิกขาบท ว่าด้วยการนุ่งห่มให้เรียบร้อย

68  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สรุปสาระสำคัญของพระวินัยในหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องน้ำปานะ ครุภัณฑ์ กัปปิยภูมิ เมื่อ: มิถุนายน 09, 2016, 12:04:42 am
ครุภัณฑ์ ว่าด้วยของที่ภิกษุไม่ควรแจกแบ่งกัน




ไหว้ ว่าด้วยบุคคลที่ภิกษุควรไหว้และบุคคลที่ภิกษุไม่ควรไหว้




กุลทูสกกรรม ว่าด้วยการประจบคฤหัสถ์




นิทานุทเทสในกังขาวิตรณี




สีมา ว่าด้วยเขตแดนสำหรับทำสังฆกรรมของภิกษุสงฆ์

69  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สรุปสาระสำคัญของพระวินัยในหัวข้อต่างๆ เช่น เรื่องน้ำปานะ ครุภัณฑ์ กัปปิยภูมิ เมื่อ: มิถุนายน 08, 2016, 11:58:52 pm
ปานะ ว่าด้วยเครื่องดื่มที่พระสามารถฉันในเวลาวิกาลได้




กัปปิยภูมิ ว่าด้วยสถานที่เก็บอาหารของภิกษุ




จิตรกรรม ว่าด้วยรูปที่ภิกษุวาดได้และรูปที่ภิกษุวาดไม่ได้




สามเณร ว่าด้วยสิกขาบทของสามเณรเป็นต้น




ระวัง ว่าด้วยเสนาสนะที่ภิกษุไปถูกเข้าโดยไม่มีเครื่องรองแล้วจะต้องอาบัติเป็นต้น

70  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ โกลาหล เมื่อ: มิถุนายน 08, 2016, 01:07:36 pm
บาลีวันละคำ‬
โกลาหล
อ่านว่า โก-ลา-หน
“โกลาหล” บาลีอ่านว่า โก-ลา-หะ-ละ รากศัพท์มาจาก โกล (ความเป็นอันเดียวกัน) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + หลฺ (ธาตุ = ได้) + อ ปัจจัย
: โกล + อา = โกลา + หลฺ = โกลาหล + อ = โกลาหล แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ได้ความเป็นอันเดียวกัน” (คือเมื่อเกิดภาวะนั้นขึ้น คนจะตื่นใจไปยังจุดเดียวกัน)
“โกลาหล” หมายถึง เสียงตะโกน, เสียงอึกทึกครึกโครม, ความตื่นเต้น, ความโกลาหล, ความสังหรณ์, การตักเตือน, การร้องเรียก (shouting, uproar, excite-ment about, tumult, foreboding, warning about something, hailing)
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“โกลาหล : (คำนาม) เสียงกึกก้อง. (คำวิเศษณ์) อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (คำโบราณ; คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).”
ในคัมภีร์กล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ชาวโลกเกิดโกลาหล (ความตื่นเต้น) ว่ามี 5 อย่าง คือ -
1 กัปปโกลาหล เกิดก่อนโลกแตกแสนปี
2 จักกวัตติโกลาหล เกิดก่อนมีพระเจ้าจักรพรรดิร้อยปี
3 พุทธโกลาหล เกิดก่อนพระพุทธเจ้าจะอุบัติพันปี
4 มงคลโกลาหล เกิดก่อนพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องมงคลสิบสองปี
5 โมเนยยโกลาหล เกิดก่อนพระพุทธเจ้าตรัสโมไนยปฏิปทา (หลักปฏิบัติของนักปราชญ์) เจ็ดปี
: เมื่อจิตนิ่ง แม้แต่ลิงยังหลับ
: เมื่อจิตสับปลับ โลกจึงโกลาหล

นาวาเอก ทองย้อย แสงสิยชัย
71  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ สังฆปาโมกข์ เมื่อ: มิถุนายน 08, 2016, 01:06:01 pm
‪บาลีวันละคำ‬
สังฆปาโมกข์
อ่านว่า สัง-คะ-ปา-โมก
ประกอบด้วย สังฆ + ปาโมกข์
(๑) “สังฆ”
บาลีเป็น “สงฺฆ” (สัง-คะ) รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อมกัน, ร่วมกัน) + หนฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + อ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ง, แปลง หนฺ เป็น ฆ
: สํ > สงฺ + หนฺ > ฆ : สงฺ + ฆ = สงฺฆ + อ = สงฺฆ แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “หมู่เป็นที่ไปรวมกันแห่งส่วนย่อยโดยไม่แปลกกัน” หมายความว่า ส่วนย่อยที่มีคุณสมบัติหลักๆ “ไม่แปลกกัน” คือมีคุณสมบัติตรงกัน เหมือนกัน ส่วนย่อยดังกล่าวนี้ไปอยู่รวมกัน คือเกาะกลุ่มกัน ดังนี้เรียกว่า “สงฺฆ”
(2) “หมู่ที่รวมกันโดยมีความเห็นและศีลเสมอกัน” ความหมายนี้เล็งที่บรรพชิตหรือสาวกที่เป็นนักบวชในลัทธิศาสนาต่างๆ เช่นภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นต้น ต้องมีความคิดเห็นและความประพฤติลงรอยกันจึงจะรวมเป็น “สงฺฆ” อยู่ได้
“สงฺฆ” จึงหมายถึง หมู่, กอง, กลุ่ม, คณะ
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สงฺฆ” เป็นอังกฤษว่า -
(1) multitude, assemblage (ฝูงชน, ชุมนุมชน, หมู่, ฝูง)
(2) the Order, the priesthood, the clergy, the Buddhist church (คณะสงฆ์, พระ, นักบวช, พุทธจักร)
(3) a larger assemblage, a community (กลุ่มใหญ่, ประชาคม)
“สงฺฆ” ปกติในภาษาไทยใช้ว่า “สงฆ์” ถ้าอยู่หน้าคำสมาสมักใช้เป็น “สังฆ-”
“สงฆ์” ในภาษาไทย อาจหมายถึงภิกษุที่รวมกันเป็นหมู่คณะก็ได้ หมายถึงภิกษุแต่ละรูปก็ได้
(๒) “ปาโมกข์” บาลีเป็น “ปาโมกฺข” (ปา-โมก-ขะ) รากศัพท์มาจาก ป (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + มุข
1) มุข (มุ-ขะ) รากศัพท์มาจาก -
ก) มุขฺ (ธาตุ = เปิด; เป็นไป) + อ ปัจจัย
: มุขฺ + อ = มุข แปลตามศัพท์ว่า (1) “อวัยวะอันเขาเปิดเผย” (2) “อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข”
ข) มุ (ธาตุ = ผูก) + ข ปัจจัย
: มุ + ข = มุข แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องผูก”
“มุข” หมายถึง ปาก (the mouth), หน้า (the face)
2) ป + มุข = ปมุข แปลตามศัพท์ว่า (1) “มุขประธาน” (2) “ผู้มีความเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่” (3) “ผู้เป็นหัวหน้าโดยความเป็นประธาน”
“ปมุข” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลตามศัพท์ว่า “in front of the face” (ต่อหน้า) หมายถึง ส่วนหน้า, แรก, ขึ้นหน้า, หัวหน้า, เด่น (fore-part, first, foremost, chief, prominent)
3) ปมุข + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ยืดเสียง อะ ที่ ป-(มุข) เป็น อา (ปมุข > ปามุข), แผง อุ ที่ (ป)-มุ-(ข) เป็น โอ (ปมุข > ปโมข), ซ้อน กฺ ระหว่าง ปมุ + ข
: ปมุข > (ปมุ + กฺ + ข) > ปมุกฺข + ณ = ปมุกฺขณ > ปมุกฺข > ปามุกฺข > ปาโมกฺข แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำรงอยู่ในความเป็นประมุข”
“ปาโมกฺข” มีความหมายว่า -
(1) สำคัญ, ที่หนึ่ง, ดีเลิศ, วิเศษ, เด่น; ผู้นำ (chief, first, excellent, eminent; a leader)
(2) หันหน้าไปทางตะวันออก (facing east)
สงฺฆ + ปาโมกฺข = สงฺฆปาโมกฺข > สังฆปาโมกข์ หมายถึง ภิกษุผู้มีตำแหน่งหน้าที่เป็นหัวหน้าภิกษุสงฆ์ในเขตใดเขตหนึ่ง
“สังฆปาโมกข์” เคยเป็นตำแหน่งพระสังฆาธิการในอดีต เช่น พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง) ที่สังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต เป็นต้น
ตำแหน่ง “สังฆปาโมกข์” บัดนี้เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแล้ว
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้สั้นๆว่า -
“สังฆปาโมกข์ : (คำนาม) หัวหน้าสงฆ์. (ป.).”
: เมื่อตามหลัง อย่าขัดขา
: เมื่อนำหน้า อย่าลังเล
------------
(ตามคำขอของ ทรงวุฒิ ช่างเจรจา)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
72  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪บาลีวันละคำ‬ สัมฤทธิ์ เมื่อ: มิถุนายน 04, 2016, 10:28:05 pm
‪บาลีวันละคำ‬
สัมฤทธิ์
อ่านว่า สำ-ริด
บาลีเป็น “สมิทฺธิ” อ่านว่า สะ-มิด-ทิ
“สมิทฺธิ” ประกอบด้วย สํ + อิทฺธิ
(๑) “สํ” (สัง)
เป็นคำอุปสรรค ตำราบาลีไทยแปลว่า “พร้อม, กับ, ดี” หมายถึง พร้อมกัน, ร่วมกัน (together)
(๒) “อิทฺธิ” (อิด-ทิ)
รากศัพท์มาจาก อิธฺ (ธาตุ = เจริญ) + อิ ปัจจัย, ซ้อน ทฺ หลัง อิ- ต้นธาตุ
: อิธ > (อิ + ท + ธฺ) > อิทฺธ + อิ = อิทฺธิ แปลตามศัพท์ว่า “เหตุเป็นเครื่องเจริญ”
“อิทฺธิ” ในภาษาบาลี โดยเฉพาะที่สรุปได้จากคัมภีร์ มีความหมายดังนี้ -
(1) ความสมบูรณ์พรั่งพร้อมสมกับตำแหน่งฐานะ
(2) ความสามารถทำสิ่งใดๆ ได้ตามที่ผู้อยู่ในฐานะนั้นๆ จะพึงทำได้
(3) ความสามารถเหนือวิสัยสามัญอันเกิดจากการอบรมจิตถึงระดับ เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ เหาะได้ (โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยใดๆ)
(4) การฝึกฝนอบรมให้มีคุณธรรมอันจะสามารถทำสิ่งใดๆ ให้สำเร็จได้ตามปรารถนา
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อิทธิ : (คำนาม) ฤทธิ์, อํานาจศักดิ์สิทธิ์; ความเจริญ, ความสําเร็จ, ความงอกงาม”
สํ + อิทฺธิ แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น ม (สํ > สม)
: สํ > สม + อิทฺธิ = สมิทฺธิ แปลตามศัพท์ว่า “ความสำเร็จพร้อมกัน” หมายถึง ความสำเร็จ, ความรุ่งเรือง (success, prosperity)
บาลี “สมิทฺธิ” สันสกฤตเป็น “สมฺฤทฺธิ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“สมฺฤทฺธิ : (คำนาม) แผลงเปน - ‘สัมฤทธิ,’ วรรธนะ; บุณโยทัย; อาธิปัตย์; อำนาจ; increase; prosperity; sway; power.”
สมิทฺธิ > สมฺฤทฺธิ ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “สัมฤทธิ”
ถ้าต้องการให้อ่านว่า สำ-ริด เขียน “สัมฤทธิ์” (การันต์ที่ -ธิ)
ถ้ามีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย เขียน “สัมฤทธิ-” อ่านว่า สำ-ริด-ทิ-
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“สัมฤทธิ-, สัมฤทธิ์ : (คำนาม) ความสําเร็จ ในคําว่า สัมฤทธิผล; โลหะเจือชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยทองแดงกับดีบุก, ทองสัมฤทธิ์ หรือ ทองบรอนซ์ ก็เรียก, โบราณเขียนว่า สําริด. (ส. สมฺฤทฺธิ; ป. สมิทฺธิ).”
แถม :
“สัมฤทธิ” โบราณเขียนว่า “สําริด” เหมือนเขียนเสียงอ่าน เราใช้คำว่า “สําริด” กันมานาน จนกระทั่งสมัยหนึ่งมีการแยกความหมายว่า -
ถ้าหมายถึงความสำเร็จ ใช้ว่า “สัมฤทธิ์”
ถ้าหมายถึงโลหะเจือชนิดหนึ่ง ใช้ว่า “สําริด” เช่น ทองสำริด ขันสำริด
แต่ปัจจุบัน “สำริด” ที่หมายถึงโลหะเจือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้เขียนเป็น “สัมฤทธิ์” ตามรูปคำเดิม
..........
: ไม่ทำอะไรเลย ดีกว่าทำทุจริต
: ทำกุศล แม้ผลไม่สัมฤทธิ์ ก็ยังดีกว่าไม่คิดทำอะไรเลย

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
73  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ กาสาวกัณฐะ เมื่อ: มิถุนายน 04, 2016, 10:03:55 pm
บาลีวันละคำ‬
กาสาวกัณฐะ
technical term ในคัมภีร์
อ่านว่า กา-สา-วะ-กัน-ถะ
ประกอบด้วย กาสาว + กัณฐะ
(๑) “กาสาว” (กา-สา-วะ) รูปศัพท์เดิมมาจาก กสาว + ณ ปัจจัย
“กสาว” (กะ-สา-วะ) รากศัพท์มาจาก -
(1) ก (น้ำ) + สิ (ธาตุ = เสพ, กิน) + อว ปัจจัย, แปลง อิ (ที่ สิ) เป็น อา
: ก + สิ = กสิ > กสา + อว = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสเป็นเหตุให้ดื่มน้ำ” (เมื่อรสชนิดนี้ไปกลั้วที่คอ ก็จะเกิดอาการอยากดื่มน้ำ)
(2) ก (น้ำ) + สุ (ธาตุ = ฟัง) + อ ปัจจัย, แปลง อุ (ที่ สุ) เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว
: ก + สุ = กสุ > กโส > กสาว + อ = กสาว แปลตามศัพท์ว่า “รสที่ยังน้ำให้ได้ยิน” (คือทำให้เรียกหาน้ำ)
“กสาว” มีความหมายหลายอย่าง คือ :
(1) ดินเปียก หรือยางชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นสีทาฝาผนัง (a kind of paste or gum used in colouring walls)
(2) น้ำยาห้ามเลือดที่ต้มกลั่นจากพันธุ์ไม้ (an astringent decoction extracted from plants)
(3) (น้ำ) มีรสฝาด (astringent)
(4) (ผ้า) มีสีเหลืองปนแดง, มีสีส้ม (reddish-yellow, orange coloured)
(5) (ความหมายทางธรรม) อกุศลมูล, กิเลสที่ย้อมดุจน้ำฝาด (the fundamental faults)
กสาว + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ยืดเสียง อะ (ที่ ก-) เป็น อา (ตามสูตรบาลีไวยากรณ์ว่า “ด้วยอำนาจปัจจัยที่เนื่องด้วย ณ”)
: กสาว + ณ = กสาว > กาสาว แปลตามศัพท์ว่า “-ที่ย้อมด้วยนำฝาด”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“กาสาว-, กาสาวะ : (คำนาม) ผ้าย้อมฝาด, เขียนเป็น กาสาว์ ก็มี. (ป.).”
ในที่นี้ “กาสาว” หมายถึง ผ้าที่เป็นเครื่องนุ่งห่มของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยเรียกรู้กันว่า “ผ้าเหลือง”
(๒) “กัณฐะ”
บาลีเป็น “กณฺฐ” (กัน-ถะ) รากศัพท์มาจาก -
(1) กํ (ศีรษะ) + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + กฺวิ ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ กํ เป็น ณฺ (กํ > กณฺ), ลบสระที่สุดธาตุและ กฺวิ
: กํ > กณฺ + ฐา + กฺวิ = กณฺฐากฺวิ > กณฺฐา > กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นที่ตั้งแห่งศีรษะ”
(2) กมฺ (ธาตุ = ปรารถนา) + ฐ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (กมฺ > ก), ซ้อน ณฺ
: กมฺ > ก + ณฺ + ฐ = กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ปรารถนาข้าวสุกเป็นต้น”
(3) กณฺ (ธาตุ = ส่งเสียง) + ฐ ปัจจัย
: กณฺ + ฐ = กณฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องออกเสียง”
“กณฺฐ” หมายถึง คอ (neck), คอหอย (throat)
“กณฺฐ” ภาษาไทยเขียน “กัณฐ์” (กัน) เช่นคำว่า “ทศกัณฐ์” แปลว่า “ผู้มีสิบคอ”
กาสาว + กณฺฐ = กาสาวกณฺฐ > กาสาวกัณฐะ แปลว่า “ผู้มีผ้ากาสาวะผูกไว้ที่คอ”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กาสาวกณฺฐ” ว่า the “yellow necks” those whose necks are dressed in yellow (“คอสีเหลือง” ผู้ซึ่งคอของเขาถูกแต่งด้วยสีเหลือง)
ในคัมภีร์กล่าวไว้ว่า ในอนาคตกาลนานไกล เมื่อพระศาสนาเสื่อมถึงที่สุด บรรพชิตจะแต่งกายเหมือนชาวบ้าน เพียงแต่มีผ้าเหลืองผูกไว้ที่คอเท่านั้นเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นภิกษุ ชีวิตปกติก็จะประกอบอาชีพ มีครอบครัวเยี่ยงชาวบ้านธรรมดา
ท่านเรียกบรรพชิตในยุคสมัยนั้นว่า “กาสาวกณฺฐ > กาสาวกัณฐะ > ผู้มีผ้ากาสาวะผูกไว้ที่คอ”
: ผ้ากาสาวพัสตร์สามารถรองรับความเป็นสมณะได้เสมอมา
: แต่ไม่สามารถรับรองความเป็นสมณะได้เสมอไป

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
74  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪‎บาลีวันละคำ‬ “ต้นโพ” ไม่ใช่ “ต้นโพธิ์” แต่ “ต้นโพ” เป็น “ต้นโพธิ์” เมื่อ: มิถุนายน 04, 2016, 09:51:33 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬
“ต้นโพ” ไม่ใช่ “ต้นโพธิ์”
แต่ “ต้นโพ” เป็น “ต้นโพธิ์”
คำว่า “โพธิ์” บาลีเป็น “โพธิ” อ่านว่า โพ-ทิ รากศัพท์มาจาก พุธฺ (ธาตุ = รู้) + อิ ปัจจัย, แผลง อุ ที่ พุ-(ธฺ) เป็น โอ (พุธฺ > โพธ)
: พุธฺ + อิ = พุธิ > โพธิ แปลตามศัพทว่า (1) “ธรรมชาติเป็นเครื่องรู้” (2) “สิ่งเป็นเหตุรู้” (3) “ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้”
ความหมายของ “โพธิ” ในบาลี -
(1) ความรู้อันยอดเยี่ยม, การตรัสรู้, ความรู้ที่พระพุทธเจ้าทรงมี (supreme knowledge, enlightenment, the knowledge possessed by a Buddha)
(2) ต้นไม้ตรัสรู้, ต้นโพธิ์ศักดิ์สิทธิ์, ต้นไม้จำพวกไทร (อสฺสตฺถ, ต้นอสัตถพฤกษ์) ซึ่งพระโคดมพุทธเจ้าบรรลุพระโพธิญาณ (the tree of wisdom, the sacred Bo tree, the fig tree (Assattha, Ficus religiosa) under which Gotama Buddha arrived at perfect knowledge)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำที่ออกเสียงว่า “โพ” 2 คำ คือ “โพ ๑” และ “โพธิ์” บอกไว้ดังนี้ -
(1) โพ ๑ : (คำนาม) ชื่อไม้ต้นชนิด Ficus religiosa L. ในวงศ์ Moraceae เป็นต้น ไม้ซึ่งเป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ใบรูปหัวใจ ปลายยาวคล้ายหาง ผลกินได้ ใบอ่อนและผลใช้ทำยาได้, โพศรีมหาโพธิ ก็เรียก.
(2) โพธิ-, โพธิ์ : (คำนาม) ความตรัสรู้; ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ. (ป., ส.).
บทนิยามของพจนากรมชวนให้มึนงงว่า ชื่อต้นไม้ชนิดนี้เขียนว่า “ต้นโพ” หรือ “ต้นโพธิ์” กันแน่
คำตอบคือ ต้นไม้ชนิดนี้ในภาษาไทยเรียกว่า “ต้นโพ” (ไม่มี -ธิ์)
แต่ต้นโพนี้เป็น “ต้นโพธิ์” (มี -ธิ์, อ่านว่า ต้น-โพ) หมายความว่าเป็นต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งภายใต้แล้วได้ตรัสรู้
ถ้าจับหลักได้ก็ไม่ต้องงง :
๑ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ตรัสรู้เมื่อประทับนั่งใต้ต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ต้นไม้นั้นก็ได้นามเรียกว่า โพธิรุกฺข > โพธิพฤกษ์ > ต้นโพธิ์ เช่น ประทับนั่งใต้ต้นกากะทิงแล้วตรัสรู้ ต้นกากะทิงก็เป็น “ต้นโพธิ์”
๒ พระพุทธเจ้าของเราพระองค์นี้ประทับนั่งใต้ต้น “อัสสัตถะ” (ชื่อบาลี) ต้นอัสสัตถะนี้ภาษาไทยเรียกว่า “โพ” หรือต้นโพ ดังนั้น ต้นโพจึงเป็น “ต้นโพธิ์” ดังที่พจนานุกรมบอกไว้ว่า “บัดนี้หมายถึงต้นไม้จําพวกโพ”
๓ สรุปว่า “ต้นโพธิ์” เป็นคำแสดงฐานะของ “ต้นโพ” บอกให้รู้ว่า ต้นโพเป็นต้นไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (เฉพาะพระองค์นี้) เมื่อจะเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนี้ในภาษาไทย จึงต้องเขียนว่า “ต้นโพ” ไม่ใช่ “ต้นโพธิ์” แต่อาจพูดเล่นสำนวนได้ว่า “ต้นโพเป็นต้นโพธิ์”
ดูก่อนภราดา!
ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน?
: เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในสมัยโน้น
: ง่ายกว่าเข้าพบภิกษุบางรูปในสมัยนี้

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
75  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ เลศนัย เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 01:36:17 pm
บาลีวันละคำ‬
เลศนัย
พจน.54 บอกคำอ่านว่า เลด-ไน
ได้ยินคนเก่าอ่านกันว่า เลด-สะ-ไน
ประกอบด้วย เลศ + นัย
(๑) “เลศ”
บาลีเป็น “เลส” (เล-สะ) รากศัพท์มาจาก ลิสฺ (ธาตุ = ติดอยู่, ข้องอยู่) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อิ ที่ ลิ-(สฺ) เป็น เอ (ลิสฺ > เลส)
: ลิสฺ + ณ = ลิสณ > ลิส > เลส แปลตามศัพท์ว่า “เรื่องที่ติดข้องอยู่” หมายถึง การลวง, ข้ออ้างแก้ตัว, กลอุบาย, การแสร้งทำ (sham, pretext, trick)
“เลส” ในภาษาไทยใช้เป็น “เลศ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เลศ : (คำนาม) การแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที, มักใช้เข้าคู่กับคํา นัย เป็น เลศนัย. (ส.; ป. เลส).”
ข้อสังเกต :
๑ ในภาษาไทยมีคำว่า “อุปเท่ห์เล่ห์กล” คำว่า “อุปเท่ห์” เข้าใจกันว่าเลือนมาจากบาลีว่า “อุปเทส” (อุ-ปะ-เท-สะ อ่านแบบไทยว่า อุ-ปะ-เทด) = คำแนะนำ, คำสั่งสอน, การชี้แจง, การบ่งชี้
๒ พจน.สันสกฤตให้ความหมายคำว่า “อุปเทศ” ว่า คำแนะนำ, คำบอกหรือชี้แจง, คำสั่ง, คำสั่งสอน, มายา, การเริ่มแนะนำสั่งสอน, การบอกมนตร์หรือสูตรเบื้องต้น
๓ คำว่า “เท่ห์” เป็นเสียงโทเท่ากับ “เทส” ส กลายเป็น ห การันต์ในภาษาไทย
๔ คำว่า “เลส” ในบาลี ถ้า ส กลายเป็น ห การันต์ ก็ตรงกับ “เล่ห์”
๕ “เลส” ในบาลี = การลวง, ข้ออ้างแก้ตัว, กลอุบาย, การแสร้งทำ
“เล่ห์” ในภาษาไทย = กลอุบายหรือเงื่อนงําอันอาจทําให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด
“เลส” กับ “เล่ห์” จึงมีนัยสำคัญที่พึงสังเกต
(๒) “นัย”
บาลีเป็น “นย” (นะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป, รู้) + อ ปัจจัย, แผลง อี ที่ นี เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (นี > เน > นย)
: นี > เน > นย + อ = นย แปลตามศัพท์ว่า (1) “การเป็นไป” (2) “อุบายเป็นเครื่องแนะนำ” (3) “วิธีที่พึงแนะนำ” (4) “วิธีเป็นเหตุให้รู้” หมายถึง หนทาง, วิธีการ, แผน, วิธี (way, method, plan, manner)
“นย” ในภาษาไทยใช้ว่า “นัย” (ไน) พจน.54 บอกความหมายไว้ดังนี้ -
(1) เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง
(2) ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้
(3) ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย
(4) แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย
(5) แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง
เลส + นย = เลสนย > เลศนัย
ยังไม่พบศัพท์ที่ประกอบรูปเช่นนี้ในคัมภีร์ “เลสนย > เลศนัย” จึงเป็นคำไทยที่ปรุงขึ้นจากบาลีสันสกฤต แต่ก็ยังมีความหมายตามคำเดิมอยู่
พจน.54 บอกไว้ว่า -
“เลศนัย : (คำนาม) การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.”
“เลศนัย” ยังหมายถึงการกระทำที่ไม่ตรงไปตรงมา หรือไม่ซื่อ อย่างที่ภาษาไทยพูดว่า-ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนตร์ก็เอาด้วยคาถา
: ศัตรูที่ไม่เซอะซะ
: วางใจได้มากกว่าสมณะที่มีเลศนัย

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
76  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪บาลีวันละคำ‬ สุภาพบุรุษ เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 01:34:16 pm
‪บาลีวันละคำ‬
สุภาพบุรุษ
อ่านว่า สุ-พาบ-บุ-หฺรุด
ประกอบด้วย สุภาพ + บุรุษ
(๑) “สุภาพ”
แปลงกลับเป็นบาลีว่า “สุภาว” (สุ-พา-วะ) รากศัพท์มาจาก สุ (คำอุปสรรค = ดี, งาม, ง่าย, สะดวก) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว
: สุ + ภู = สุภู + ณ = สุภูณ > สุภู > สุโภ > สุภาว แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่ดีงาม”
สุภาว แปลง ว เป็น พ : สุภาว > สุภาพ
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“สุภาพ : (คำวิเศษณ์) เรียบร้อย เช่น เขาแต่งกายสุภาพตามกาลเทศะและความนิยม, อ่อนโยน, ละมุนละม่อม, เช่น เขาพูดด้วยน้ำเสียงสุภาพ ไม่กระโชกโฮกฮาก.”
“สุภาพ” เป็นบาลีไทย คือรูปคำเป็นบาลี แต่ความหมายเป็นของไทยคิดขึ้นเอง ความหมายตามภาษาไทยนี้ บาลีไม่ได้ใช้คำว่า “สุภาว” แต่ใช้คำว่า “อาจารสีลี” หรือ “อาจารสมฺปนฺน” (มีกิริยามารยาทเรียบร้อย) หรือ “สุสีล” (ความประพฤติเรียบร้อยงดงาม)
(๒) “บุรุษ”
บาลีเป็น “ปุริส” (ปุ-ริ-สะ) รากศัพท์มาจาก -
(1) ปุร (ธาตุ = เต็ม) + อิส ปัจจัย
: ปุร + อิส = ปุริส แปลว่า “ผู้ยังดวงใจของบิดามารดาให้เต็ม”
(2) ปุ ( = นรก) + ริส (ธาตุ = เบียดเบียน, กำจัด)
: ปุ + ริส = ปุริส แปลว่า “ผู้เบียดเบียนนรก” คือทำให้นรกว่าง เพราะเกิดมาทำให้บิดามารดาไม่ต้องตกนรกขุมที่ชื่อ “ปุตตะ”
(3) ปุริ ( = เบื้องบน) + สี (ธาตุ = อยู่)
: ปุริ + สี > ส = ปุริส แปลว่า “ผู้อยู่ในเบื้องสูง” หมายถึงเป็นหัวหน้า
(4) ปุร ( = เบื้องหน้า) + สี (ธาตุ = เป็นไป)
: ปุร + อิ = ปุริ + สี > ส = ปุริส แปลว่า “ผู้เป็นไปในเบื้องหน้า” หมายถึงผู้นำหน้า
(5) ป ( = ปกติ) + อุร ( = อก) + สี (ธาตุ = นอน)
: ป + อุร = ปุร + อิ = ปุริ + สี > ส = ปุริส แปลว่า “ผู้นอน บน อก โดยปกติ”
“ปุริส” สันสกฤตเป็น “ปุรุษ” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “บุรุษ”
ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า -
“บุรุษ : (คำนาม) ผู้ชาย, เพศชาย, คู่กับ สตรี, ใช้ในลักษณะที่สุภาพ.”
พึงทราบว่า “ปุริส” ในภาษาบาลีไม่ได้เล็งที่ “ผู้ชาย” เสมอไป ในที่หลายแห่งหมายถึง “คน” หรือมนุษย์ทั่วไป ไม่แยกว่าชายหรือหญิง เช่นเดียวกับคำว่า man ในภาษาอังกฤษ แปลว่า “ผู้ชาย” ก็ได้ แปลว่า “คน” หรือมนุษย์ทั่วไปก็ได้
สุภาพ + บุรุษ = สุภาพบุรุษ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“สุภาพบุรุษ : (คำนาม) ชายที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย รู้กาลเทศะ และมีคุณธรรม เช่น เขาช่วยเหลือเธอตามหน้าที่สุภาพบุรุษ.”
เป็นที่เข้าใจกันว่า “สุภาพบุรุษ” ภาษาอังกฤษใช้ว่า gentleman
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล gentleman เป็นบาลีว่า -
(1) ayya อยฺย (ไอ-ยะ) = เจ้านาย, สุภาพบุรุษ, ผู้ทรงเกียรติ
(2) arya อริย (อะ-ริ-ยะ) = ผู้เจริญ
(3) mahāsaya มหาสย (มะ-หา-สะ-ยะ) = ผู้มีอัธยาศัย, ผู้มีใจอารี
คำว่า “สุภาพบุรุษ” ยังมีความหมายโดยนัยถึงการรู้จักรับผิดชอบ พูดจริงทำจริง มีสัจจะ ดังคำว่า “สัญญาสุภาพบุรุษ” คือรักษาสัญญาโดยไม่ต้องใช้กฎหมายบังคับ หรือปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนอย่างซื่อตรงแม้จะไม่มีใครสั่งหรือจับจ้องอยู่ก็ตาม
: ทำผิดแล้วยอมรับผิด
: เป็นศักดิ์ศรีที่ศักดิ์สิทธิ์ของสุภาพบุรุษ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
77  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ ประชาธิปกศักดิเดชน์ เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 01:31:51 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬
ประชาธิปกศักดิเดชน์
อ่านว่า ปฺระ-ชา-ทิ-ปก-สัก-ดิ-เดด
ประกอบด้วย ประชา + อธิปก + ศักดิ + เดชน์
(๑) “ประชา”
บาลีเป็น “ปชา” (ปะ-ชา) รากศัพท์มาจาก ป (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ข้างหน้า, ก่อน) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ น ที่สุดธาตุ และ กฺวิ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์
: ป + ชนฺ + กฺวิ = ปชนกฺวิ > ปชน > ปช + อา = ปชา
“ปชา” นักเรียนบาลีมักแปลกันว่า “หมู่สัตว์” ทำให้ผู้ไม่คุ้นสำนวนบาลีเข้าใจไปว่าหมายถึงหมู่สัตว์เดรัจฉาน แต่ความจริงหมายถึง “หมู่คน” – (ดูความหมายของคำว่า “สัตว์” ที่คำว่า สตฺต บาลีวันละคำ (212) 6-12-55)
“ปชา” แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดมาต่างกันไป” ซึ่งเป็นคำแปลที่ตรงตามสัจธรรม เพราะท่านว่าผู้คนแม้จะมีจำนวนเป็นพันล้านก็ไม่เหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว
“ปชา” หมายถึง คน, ผู้คน, รุ่นของคน, ผู้สืบตระกูล, ลูกหลาน, สัตว์โลก, มนุษยชาติ (progeny, offspring, generation, beings, men, world, mankind)
“ปชา” สันสกฤตเป็น “ปฺรชา” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ประชา”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ประชา : (คำนาม) หมู่คน เช่น ปวงประชา. (ส. ปฺรชา; ป. ปชา).”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ปฺรชา : (คำนาม) ‘ประชา,’ สันตติ, บุตร์หรือสุดา; ราษฎร, ประชาชนทั่วไป; progeny, offspring; people, subjects.”
(๒) “อธิปก”
บาลีอ่านว่า อะ-ทิ-ปะ-กะ รากศัพท์มาจาก อธิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) + ปติ (เจ้า, นาย) + ก (พยัญชนะลงท้ายศัพท์ ลงแล้วศัพท์นั้นมีความหมายเท่าเดิม ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “ก-สกรรถ” - กะ-สะ-กัด), ลบ ติ ที่ (ป)-ติ (ปติ > ป)
: อธิ + ปติ = อธิปติ > อธิป + ก = อธิปก แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง” หมายถึง ผู้เป็นใหญ่, อธิปกหรือผู้ปกครอง, ผู้มีอำนาจ (mastering, ruling or governed, influenced by)
ปชา + อธิปก = ปชาธิปก > ประชาธิปก แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งหมู่ชน, ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ชน
(๓) “ศักดิ์”
บาลีเป็น “สตฺติ” (สัด-ติ) รากศัพท์มาจาก -
(1) สกฺ (ธาตุ = สามารถ) + ติ ปัจจัย, แปลง กฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ (นัยหนึ่งว่า ลบ กฺ ซ้อน ตฺ)
: สกฺ + ติ = สกฺติ > สตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่สามารถ” หมายถึง ความสามารถ, กำลัง, อำนาจ (ability, power)
(2) สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ติ ปัจจัย, แปลง สฺ ที่สุดธาตุเป็น ตฺ
: สสฺ + ติ = สสฺติ > สตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เบียดเบียน” หมายถึง หอก, หลาว; มีด, กริช, ดาบ (a spear, javelin; knife, dagger, sword)
บาลี “สตฺติ” สันสกฤตเป็น “ศกฺติ”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
(สะกดตามต้นฉบับ)
“ศกฺติ : (คำนาม) ‘ศักติ,’ กำลัง, แรง, ความกล้า; หอกหรือศรเหล็ก; เตชัส (หรือเดช) ของเทพดา, อันโรปยติเปนชายาของเธอ; นัยหรือความหมายของศัพท์; power, strength, prowess; an iron spear or dart; the energy of a deity, personified as his wife; signification or meaning of words.”
ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ศักดิ” พจน.54 บอกไว้ว่า -
“ศักดิ์ : (คำนาม) อํานาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์; กำลัง; ฐานะ เช่นมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ; หอก, หลาว. (ส. ศกฺติ; ป. สตฺติ).”
(๔) “เดชน์”
บาลีเป็น “เตชน” (เต-ชะ-นะ) รากศัพท์มาจาก ติชฺ (ธาตุ = ลับให้คม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แผลง อิ ที่ ติ-(ชฺ) เป็น เอ (ติชฺ > เตช)
: ติชฺ + ยุ > อน = ติชน > เตชน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งอันเขาเหลาให้แหลม” หมายถึง ลูกศร, ปลายลูกศร (an arrow, the point or shaft of an arrow)
สตฺติ + เตชน = สตฺติเตชน = ศักดิเดชน์ แปลว่า ลูกศรอันทรงอำนาจ
“ประชาธิปกศักดิเดชน์” เป็นพระนามเดิมในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์” พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐพระองค์ที่ 7 แห่งมหาจักรีบรมราชวงศ์
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต
หมายเหตุ: บาลีวันละคำวันนี้มีความประสงค์เพียงแปลศัพท์เป็นคำๆ เพื่อให้รู้ว่าแต่ละศัพท์แปลว่าอะไรเท่านั้น มิได้มุ่งหมายแปลความหมายรวมในพระนาม
: แม้ไม่เห็นทาง ก็หาทางออกได้อย่างวิเศษ คือผู้มีเดชน์ที่แท้จริง
: มีทางมองเห็นอยู่ตรงหน้า แต่ไม่กล้าออก คือผู้กระจอกที่แท้จริง

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
78  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ ธรรมาภิบาล เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 12:40:44 pm
บาลีวันละคำ‬  ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล
อ่านว่า ทำ-มา-พิ-บาน
ประกอบด้วย ธรรม + อภิบาล
(๑) “ธรรม”
บาลีเป็น “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ธ) และ ร ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)
: ธรฺ > ธ + รมฺม > มฺม : ธ + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้”
ธมฺม สันสกฤตเป็น ธรฺม เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม
ธมฺม > ธัมม > ธรรม มีความหมายหลายหลาก (ดูความหมายของคำว่า “ธรรม” ที่คำอื่นๆ เช่น “ธรรมทาน กับ วิทยาทาน” บาลีวันละคำ (823) 19-8-57 เป็นต้น)
ในที่นี้ “ธรรม” หมายถึงความยุติธรรม, ความถูกต้อง, ความเป็นธรรมในสังคม
(๒) “อภิบาล”
บาลีเป็น “อภิปาล” (อะ-พิ-ปา-ละ) รากศัพท์มาจาก อภิ (คำอุปสรรค = ยิ่ง, ใหญ่, จำเพาะ, ข้างหน้า) + ปาล (การระวังรักษา, การเก็บรักษา [guarding, keeping])
: อภิ + ปาล = อภิปาล แปลตามศัพท์ว่า “การระวังรักษาอย่างยิ่ง” หมายถึง การคุ้มครองป้องกัน (protecting)
“อภิปาล” ในภาษาไทยใช้ว่า “อภิบาล” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“อภิบาล : (คำกริยา) บำรุงรักษา, ปกครอง. (ป., ส. อภิปาล).”
ธมฺม + อภิปาล = ธมฺมาภิปาล > ธรรมาภิบาล แปลตามศัพท์ว่า “การคุมครองป้องกันอย่างถูกต้อง”
“ธรรมาภิบาล” เป็นคำที่คิดขึ้นเทียบคำอังกฤษว่า good governance
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล good เป็นบาลีไว้หลายศัพท์ แต่ที่ใกล้เคียงที่สุดคือ dhammika ธมฺมิก (ทำ-มิ-กะ) = ถูกต้องชอบธรรม
และแปล governance เป็นบาลีว่า -
(1) pālanakkama ปาลนกฺกม (ปา-ละ-นัก-กะ-มะ) = วิธีดูแลรักษา
(2) pālana ปาลน (ปา-ละ-นะ) = การดูแลรักษา
good governance > ธมฺมิกปาลน : ธมฺมาภิปาล > ธรรมาภิบาล แปลตามความหมายว่า การปกครองที่เป็นธรรม คือการปกครองที่ถูกต้องชอบธรรม
เทียบตามนัยแห่งพระปฐมบรมราชโองการ “ธรรมาภิบาล” ก็คือ การครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน
ตรงกันข้ามกับการครองอำนาจเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง
: ใจครองธรรม ความสุขล้ำก็ครองโลก
: ใจขาดธรรม ความระยำก็ครองโลก
--------------
(ตามคำขอของ Dejavu Monmon)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
79  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ภาพเก่าๆ ของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ภาคต่อ 2 เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2016, 03:05:10 pm


จากซ้าย : ไม่ทราบฉายา, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน,
พระอาจารย์กว่า สุมโน,
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ และพระอาจารย์บุญธรรม





องค์ถือไม้เท้าอยู่หน้าสุดคือ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม (ไม่ใช่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต),
หลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่ขาว อนาลโย, ส่วนองค์อยู่ด้านหลังสุดคือ
หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต (ไม่ใช่ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
บันทึกภาพ ณ บริเวณด้านหน้าศาลาหลังเก่า
วัดถ้ำกองเพล ต.โนนทัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู





บรรดาศิษยานุศิษย์พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ที่มาในงานประชุมเพลิง
สรีระสังขารท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ
เมื่อวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๙๓
ณ วัดป่าสุทธาวาส บ้านคำสะอาด ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร
80  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / เรื่องยมกปาฏิหาริย์ พระสารีบุตรเถระมีปัญญามาก เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:59:01 am
 พระสารีบุตรเถระมีปัญญามาก               
               พระศาสดาทรงดำริว่า "สารีบุตรย่อมลำบาก ด้วยว่า เธอได้ฟังปัญหาที่เราถามแล้วในพุทธวิสัยนี้ว่า:-
                                   ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตน
                         อันเราถามถึงความเป็นไปของท่าน ผู้มีธรรมอัน
                         นับพร้อมแล้วทั้งหลาย และพระเสขะทั้งหลาย ซึ่ง
                         มีอยู่มากในโลกนี้ จงบอกความเป็นไปนั้นแก่เรา
               ดังนี้, เป็นผู้หมดความสงสัยในปัญหาว่า ‘พระศาสดาย่อมตรัสถามถึงปฏิปทา เป็นที่มา (มรรคปฏิปทา) ของพระเสขะและอเสขะกะเรา’ ดังนี้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นก็ยังหวังอัธยาศัยของเราอยู่ว่า ‘เราเมื่อกล่าวปฏิปทานี้ด้วยมุขไหนๆ ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น จึงจักอาจถือเอาอัธยาศัยของพระศาสดาได้’
               สารีบุตรนั้น เมื่อเราไม่ให้นัย จักไม่อาจแก้ได้ เราจักให้นัยแก่เธอ" เมื่อจะทรงแสดงนัย ตรัสว่า "สารีบุตร เธอจงพิจารณาเห็นความเป็นจริงนี้."
               ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงดำริอย่างนี้ว่า "สารีบุตรเมื่อถือเอาอัธยาศัยของเราแก้ จักแก้ด้วยสามารถแห่งขันธ์" ปัญหานั้นปรากฏแก่พระเถระตั้งร้อยนัย พันนัย พร้อมกับการประทานนัย. ท่านตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทาน แก้ปัญหานั้นได้แล้ว,
               ได้ยินว่า คนอื่นยกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะทันปัญญาของพระสารีบุตรเถระหามิได้. นัยว่า เหตุนั้นแล พระเถระจึงยืนตรงพระพักตร์พระศาสดา บันลือสีหนาทว่า "พระเจ้าข้า เมื่อฝนตกแม้ตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ข้าพระองค์ก็สามารถเพื่อจะนับ แล้วยกขึ้นซึ่งคะแนนว่า ‘หยาดน้ำทั้งหลายตกในมหาสมุทรเท่านี้หยาด, ตกบนแผ่นดินเท่านี้หยาด, บนภูเขาเท่านี้หยาด."
               แม้พระศาสดาก็ตรัสกะท่านว่า "สารีบุตร เราก็ทราบความที่เธอสามารถจะนับได้." ชื่อว่าข้ออุปมาเปรียบด้วยปัญญาของท่านนั้น ย่อมไม่มี.
               เหตุนั้นแล ท่านจึงกราบทูลว่า :-
                                   ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป น้ำในห้วงน้ำใหญ่
                         พึงสิ้นไป ดินในแผ่นดินพึงสิ้นไป การแก้ปัญหาด้วย
                         ความรู้ของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไปด้วยคะแนน.
               มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้เป็นที่พึ่งของโลก ก็ถ้าว่า เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาข้อหนึ่งแล้ว บุคคลพึงใส่ทรายเมล็ดหนึ่งหรือหยาดน้ำหยาดหนึ่ง หรือดินร่วนก้อนหนึ่ง เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาร้อย หรือพัน หรือแสนข้อ พึงใส่คะแนนทั้งหลายมีทรายเป็นต้น ทีละหนึ่งๆ ณ ส่วนข้างหนึ่งในแม่น้ำคงคา, คะแนนทั้งหลายมีทรายเป็นต้นในแม่น้ำคงคาเป็นต้น พึงถึงความสิ้นไปเร็วกว่า การแก้ปัญหาของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไป."
               ภิกษุแม้มีปัญญามากอย่างนี้ ก็ยังไม่เห็นเงื่อนต้นหรือเงื่อนปลายแห่งปัญหาที่พระศาสดาถามแล้วในพุทธวิสัย ต่อตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว จึงแก้ปัญหาได้.
               ภิกษุทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว สนทนากันว่า "แม้ชนทั้งหมด อันพระศาสดาตรัสถามปัญหาใด ไม่อาจแก้ได้, พระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีผู้เดียวเท่านั้น แก้ปัญหานั้นได้."
               พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้วตรัสว่า "สารีบุตรแก้ปัญหาที่มหาชนไม่สามารถจะแก้ได้ ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในภพก่อน เธอก็แก้ได้แล้วเหมือนกัน"
               ดังนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสชาดก๑- นี้โดยพิสดารว่า :-
                                   คนที่มาประชุมกันแล้ว แม้ตั้งพันเป็นกำหนด
                         คนเหล่านั้นหาปัญญามิได้ พึงคร่ำครวญตั้ง ๑๐๐ ปี,
                         บุรุษใดผู้รู้ชัดซึ่งอรรถแห่งภาษิตได้ บุรุษผู้นั้นซึ่งเป็น
                         ผู้มีปัญญาคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า. ดังนี้แล.
____________________________
๑- ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๙๙.

               เรื่องยมกปาฏิหาริย์ จบ.     
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 8