ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 651 652 [653] 654 655 ... 707
26081  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต เมื่อ: กันยายน 06, 2011, 01:57:13 pm
 
ลองค้นดูความหมาย ในพระไตรปิฏก มีเท่านี้นะครับ

ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิตและปรุงแต่งจิต  ในที่นี้หมายถึงให้ทานเครื่องประดับจิตในการเจริญสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน  เพราะทานจะทำจิตใจให้อ่อนโยน  เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐานทั้งสอง 

(องฺ.อฏฺฐก.อ.  ๓/๓๑/๒๕๓)


อยากทราบในการประดับจิต ปรุงแต่งจิต เพื่อการภาวนากรรมฐาน นั้นทำอย่างไร

       ในการเดินจิตของกรรมฐานมัชฌิมาฯ สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนจะกำหนดฐานจิต (ฐานใดฐานหนึ่งในห้าฐานที่มีอยู่) ก็คือ การอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี

    การสัมปยุตธรรม คือ  การตามระลึกถึงองค์ธรรม ในธรรมใดธรรมหนึ่ง เช่น ตามระลึกถึง"บุญกุศล"
เมื่อสัมปยุตจนเต็มเปี่ยม จะทำให้จิตประกอบด้วยความผ่องแผ้ว "ทำให้กายและจิตมีอานุภาพสูงขึ้น"


    ขั้นตอนการอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี มีหลักอยู่ข้อหนึ่งว่า
    สำหรับบุคคลผู้ที่เปี่ยมไปด้วย "ทาน" หรือปฏิบัติในศีลในธรรมอยู่บ้าง ให้ทำการระลึกถึงบุญกุศลที่ได้ทำมา
โดยให้ตามระลึกย้อนไปไม่เกิน ๓ วัน
จากนั้นให้กล่าวคำอธิษฐานสัมปยุตธรรมลงรวมที่ศูนย์นาภี


    กล่าวโดยสรุปก็คือ การระลึกถึงทานทำให้จิตเรามีความผ่องแผ้ว ทำให้จิตมีอานุภาพสูงขึ้น เหมาะแก่การเจริญกรรมฐาน ดังนี้แล

    ขั้นตอนและคำอธิบายต่างๆที่กล่าวมา ผู้ที่มาขึ้นกรรมฐานกับพระอาจารย์จะทราบดี พระอาจารย์จะอธิบายให้ฟังพร้อมไปกับการปฏิบัติ

     :s_good: :49:
26082  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับจิต และปรุงแต่งจิต เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 10:04:13 pm
พระไตรปิฎก(สยามรัฐ) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค


๑๐. สังคีติสูตร (๓๓)
 [๓๔๕] ทานวัตถุ ๘ อย่าง
             ๑. ให้ทานเพราะประจวบเหมาะ
             ๒. ให้ทานเพราะกลัว
             ๓. ให้ทานโดยคิดว่า เขาได้เคยให้แก่เรา
             ๔. ให้ทานโดยคิดว่า เขาจักให้แก่เรา
             ๕. ให้ทานโดยคิดว่า การให้ทานเป็นการดี
             ๖. ให้ทานโดยคิดว่า เราหุงต้ม คนเหล่านี้มิได้หุงต้ม เราหุงต้มอยู่
จะไม่ให้แก่ผู้ที่มิได้หุงต้ม ย่อมไม่สมควร
             ๗. ให้ทานโดยคิดว่า เมื่อเราให้ทานนี้ เกียรติศัพท์อันดีงาม ย่อมจะ
ระบือไป
             ๘. ให้ทานเพื่อประดับจิต และเป็นบริขารของจิต ฯ


อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=4501&Z=7015


อรรถกถา ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
สังคีติสูตร

บทว่า คือ เหตุแห่งทาน. หลายบทว่า อาสชฺช ทานํ เทติ ความว่า ถึงแล้วจึงให้ทาน. บุคคลเห็นภิกษุผู้มาแล้วเทียว นิมนต์ท่านให้นั่งครู่หนึ่งเท่านั้น แล้วจึงกระทำสักการะถวายทาน ย่อมไม่ลำบาก ด้วยการคิดว่า เราจักให้. ความหวังในการให้นี้ ชื่อว่า เหตุแห่งการให้ ด้วยประการฉะนี้.

               เหตุทั้งหลายมีความกลัวเป็นต้น แม้ในคำเป็นต้นว่า ให้ทาน เพราะความกลัว บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นเหตุแห่งการให้. บรรดาเหตุเหล่านั้น ความกลัวต่อคำติเตียน หรือความกลัวต่ออบายว่า บุคคลผู้นี้เป็นผู้ไม่ให้ (ทาน) เป็นผู้ไม่กระทำ (สักการะ) ชื่อว่าความกลัว.

               สองบทว่า อทาสิ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ตอบด้วยคิดว่า บุคคลนั้นได้ให้วัตถุชื่อนี้แก่เราในกาลก่อน.
               สองบทว่า ทสฺสติ เม ความว่า บุคคลย่อมให้ด้วยคิดว่า เขาจักให้วัตถุชื่อนี้ในอนาคต. สองบทว่า สาหุ ทานํ ความว่า บุคคลย่อมให้ (ทาน) ด้วยคิดว่า ธรรมดาว่า การให้เป็นการยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือเป็นกรรมดี อันบัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงสรรเสริญแล้ว.


    หลายบทว่า จิตฺตาลงฺการจิตฺตปริกฺขารตฺกํ ทานํ เทติ ความว่า
    บุคคลย่อมให้ทานเพื่อเป็นเครื่องประดับ และเพื่อเป็นบริขารของจิตในสมถะและวิปัสสนา.

     จริงอยู่ ทานย่อมกระทำจิตให้อ่อนได้.
     อันผู้ใดได้วัตถุ แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนกว่าเราได้แล้ว.
     อันผู้ใดให้แล้ว แม้ผู้นั้นก็ย่อมมีจิตอ่อนว่าเราให้แล้ว.
     ทานย่อมกระทำจิตของบุคคลแม้ทั้งสองให้อ่อนได้ ด้วยประการฉะนี้.

     เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นต้นว่า การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก (ชื่อว่าทาน).
     เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

                         การฝึกจิตซึ่งยังไม่เคยฝึก ชื่อว่าทาน การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว    
                         สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้นและฟุบลงด้วยทานและวาจาที่อ่อนหวาน ดังนี้.
                         

               ก็บรรดาทานทั้ง ๘ ประการเหล่านี้ ทานที่เป็นเครื่องประดับจิตเท่านั้นสูงสุด.


อ้างอิง http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=11&i=221&p=8


     ขอให้พิจารณาข้อความสีแดงที่ขีดเส้นใต้ โดยเฉพาะพุทธพจน์ที่ว่า

     "การไม่ให้เป็นเหตุประทุษร้ายจิตที่ฝึกแล้ว  สัตว์ทั้งหลายย่อมฟูขึ้นและฟุบลงด้วยทาน"

     รอสักระยะหนึ่งก่อน ผมจะมาคุยแนวทางปฏิบัติอีกที
:49:
     
26083  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: จิตตก คะ หลายเรื่องรู้สึกว่า ทำให้อารมณ์ไม่ดี เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 09:20:33 pm
  ขอเป็นกำลังใจให้หนูลักซ์ ปรกติชาวพุทธทุกท่านจะมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง(สรณะ)

 หากหนูลักซ์ไม่ได้สั่งสมบารมีทางกรรมฐานเอาไว้ ยามเมื่อทุกข์มาเยือนจิตย่อมจะหดหู่เซื่องซึม

 ภาษาพระเค้าเรียกว่า "ถีนะมิทธะ" จัดเป็นนิวรณ์ตัวหนึ่ง

ผมคงแนะนำอะไรไม่ได้ไปมากกว่า แนะนำให้หากิจกรรมทางโลกที่ไม่ผิดศีลทำ

 อย่าอยู่ว่าง จะดูหนัง ฟังเพลง ทำงานอดิเรก ทำอะไรก็ได้ที่ชอบ


 Lucky in Game ,Lucky in Love
:49:
26084  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:52:10 pm

ลิงค์แนะนำ เชิญคลิก

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5076.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5077.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5079.0
26085  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:50:48 pm

ลิงค์แนะนำ เชิญคลิก

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5076.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5077.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5080.0

26086  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:49:15 pm

ลิงค์แนะนำ เชิญคลิก

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5076.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5079.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5080.0
26087  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:47:54 pm

ลิงค์แนะนำ เชิญคลิก

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5077.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5079.0

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5080.0

26088  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:43:59 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)





26089  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:39:15 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๔)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)

ภาพชุดนี้เป็นการถวายเงินทำบุญทั้งหมดและแจกวัตถุมงคล หลังพิธีเททองแล้วเสร็จ





26090  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:24:45 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)





26091  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:20:59 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)





26092  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:16:10 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)





26093  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 08:08:37 pm

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๓)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)

ภาพชุดนี้เป็นการเททองลงแบบ





26094  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 05:05:24 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)





26095  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 05:01:20 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)






26096  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 04:56:10 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)






ภาพชุดนี้ขออนุญาตเอาใจ"แฟนคลับ อ.ทองทิพย์"
26097  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 04:41:38 pm

มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๒)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)

ภาพชุดนี้เป็นการเริ่มพิธีหล่อฯ



พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส ทำพิธีแทน พระครูสิทธิสังวร

พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส ทำพิธีแทน พระครูสิทธิสังวร

พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส ทำพิธีแทน พระครูสิทธิสังวร
26098  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 03:50:33 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)




26099  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 03:44:53 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)




26100  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 03:39:46 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)




26101  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑) เมื่อ: กันยายน 05, 2011, 03:33:28 pm
มหากุศลสัญจร พิธีเททองหล่อ "พระสังกัจจายน์ - พระอุปคุตเถรเจ้า" นครปฐม (๑)
วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๔  ณ โรงหล่อพระวิจิตรทัศนา (หลังวัดธรรมศาลา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)

พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม (พลับ)

พระครูสิทธิสังวร วัดราชสิทธาราม (พลับ)

พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส และศิษย์

26102  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ได้ยินหลายคน อยากพ้นจากวัฏฏะสงสาร แล้ว วัฏฏะสงสารนี้น่ากลัวอย่างไรครับ เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 01:45:17 pm
ถ้าอย่างนั้น วัฏฏะสงสาร มีภัยน่ากลัวอย่างนี้

  ทำไม ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ จึงไม่กลัว หรือ อยากจะไปนิพพาน ครับ
  อย่างบ้านผม ก็นับถือ พุทธ ทั้งหมด เกือบ 60 ชีวิต ผมถามเรื่องการไปสู่นิพพาน กัน ไม่มีใครสนใจเลยครับ

ทุกคนจะพูด หรือ ให้คำพูดตัดบทว่า ให้มีความสุขไปวัน  ๆ จน ตายก็ พอแล้ว

 หรือนิพพาน ต้องมีการดำเนินจิต ต่างหากต่างแบบ กันไปเช่นไรครับ

 การปรารถนานิพพาน นั้น ..... เป็นเีพียงความคิดเริ่มต้น หรือว่า ต้องมีอะไรสนับสนุน ความคิดตรงนี้ อีกครับ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ ชื่อมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เป็นสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖

๗. คณกโมคคัลลานสูตร
สูตรว่าด้วยพราหมณ์ชื่อคณกโมคคัลลานะ

    ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทของนางวิสาขาในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ตรัสตอบเรื่องอนุปพพสิกขา ( ข้อศึกษาโดยลำดับ ) อนุปพพปฏิปทา ( ข้อปฏิบัติโดยลำดับ ) ในพระธรรมวินัยนี้ แก่คณกโมคคัลลานพราหมณ์ผู้ทูลถาม โดยชี้ไปที่:-

   ๑. การมีศีลสำรวมในปฏิโมกข์   ( ศีลที่เป็นประธาน )
   ๒. การสำรวมอินทรีย์ คือ   ตา  หู  จมูก  ลิ้น  กาย  ใจ
   ๓. ความเป็นผู้รู้ประมาณในอาหาร
   ๔. การประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่น ( ไม่เห็นแก่นอนมากนัก )
   ๕. การมีสติสัมปชัญญะ       
   ๖. การบำเพ็ญสมาธิชำระจิตจากนีวรณ์ ๕
   ๗. การสงบจากกาม   จากอกุศลธรรม   บำเพ็ญฌานที่ ๑   ถึงฌานที่ ๔


   ๒. พราหมณ์ถามว่า พระนิพพานมีอยู่ ทางไปสู่พระนิพพานมีอยู่ พระสมณโคดมผู้ทรงชักชวนให้ไปก็มีอยู่
เหตุไฉนบางคนที่ได้รับคำสั่งสอนแล้ว จึงได้บรรลุ บางคนจึงมิได้บรรลุ.


ตรัสตอบว่า เหมือนชี้ทางให้คนไปกรุงราชคฤห์ แต่ไปทางอื่นเสียก็ไปไม่ถึง ถ้าไปถูกทางตามที่ชี้ก็ถึงได้.
คณกโมคคัลลานพราหมณ์ กราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต.


อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/6.html
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com


ลิงค์แนะนำ
 นิพพานมีอยู่_ คนสอนก็มีอยู่_ ไฉนบางคนบรรลุ_ บางคนไม่บรรลุ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4658.msg17009#msg17009


     คติทางพุทธเชื่อว่า ในโลกนี้ไม่มีเรื่องบังเอิญ เหตุที่คนทั่วไปยังไม่สนใจเรื่องนิพพาน เป็นเพราะบุญที่สั่งสมมาในอดีตชาติไม่ได้สร้างมาเพื่อรู้นิพพาน หรืออาจสร้างมาเพื่อนิพพาน แต่ยังไม่เพียงพอ นั่นคือคำตอบที่คนไม่สนใจศาสนาหรือนิพพาน

    ทางไปสู่ินิพพานมีทางเดียวครับ ทางนั่นคือ มรรคมีองค์ ๘



หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้
ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป
เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน
         ;) :25: :49: :welcome:
26103  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เวทนากัมมัฏฐาน เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 01:19:09 pm
มีรายละเอียด น่าติดตาม ว่าแต่หลักปฏิบัติ เอาสั้น ๆ สักนิดได้หรือไม่ครับ

สำหรับ การพิจารณาภาวนาเวทนา ต้องผ่าน สมถะก่อนหรือไม่ หรือ ปฏิบัติได้โดยตรงเลยครับ

  :25:

  แนวสมถยานิก ก็ต้องทำสมถะก่อน

  แนววิปัสสนายานิก ไม่ต้องทำสมถะ เดินวิปัสสนาได้เลย ดูเวทนาแบบตรงๆซื่อๆไม่ต้องปรุงแต่ง

  เรื่องนี้ผมจำเค้ามา จากการได้ยินได้ฟังได้อ่าน ตัวผมเองก็ไม่เคยดูเวทนาเลย

  ขอให้ทุกท่านสนุกกับการดูเวทนา...
:49:
26104  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เวทนากัมมัฏฐาน เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 01:11:24 pm

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค


๙. มหาสติปัฏฐานสูตร

        เวทนานุปัสสนา

[ ๒๘๘ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา(ความเสวยอารมณ์)ในเวทนาเนืองๆ อยู่
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เมื่อเสวย สุขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนา

เมื่อเสวย ทุกขเวทนา
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนา

เมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนา (ไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา

หรือเมื่อเสวย สุขเวทนามีอามิส (คือเจือกามคุณ)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนามีอามิส

หรือเมื่อเสวย สุขเวทนาไม่มีอามิส (คือไม่เจือกามคุณ)
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส

หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนามีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส

หรือเมื่อเสวย ทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส

หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส

หรือเมื่อเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส
    ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังนี้

 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายในบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา เป็นภายนอกบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในภายนอกบ้าง


ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมไปในเวทนาบ้าง


ก็หรือสติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่าเวทนามีอยู่
แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก

เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย
ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกด้วย
 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่อย่างนี้

 

อ่าน"มหาสติปัฏฐานสูตร" ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔.  หน้าที่  ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273
ขอบคุณภาพจาก http://image.dek-d.com,http://pixserv.clipmass.com


  ผมแนบไฟล์คำบรรยายเรื่อง "การกำหนดรู้เวทนา" ของ ก. เขาสวนหลวง มาให้อ่าน

26105  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อยากทราบเรื่อง นิมิต คะ เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 11:59:39 am

ขอนำข้อความที่กล่าวถึง"นิมิต" ในหน้า ๕๐ ในหนังสือ คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มาแสดงดังนี้

             พระลักษณะ หรือ รูปนั้น เป็น รูปบัญญัติ อาจ แปรปรวน ไม่แน่นอน นิมิตที่เกิดขึ้นอาจเป็นนิมิตลวง นิมิตหลอน นิมิตหลอก หรือนิมิตอันเกิดจากอุปาทานได้

          ฉะนั้นพระอาจารย์เจ้า แต่ปางก่อน ท่านให้อาราธนานั่งเอายัง  พระรัศมี ดวงธรรม หรือ สี อันเป็นรูปารมณ์ เป็น รูปปรมัตถะ คือ รูปจริงแท้แน่นอน ไม่แปรผัน  การนั่งเอายังพระรัศมีองค์พระ เพื่อปรับจิต กันนิมิตหลอก นิมิตลวง กันนิมิตอุปาทาน ทำให้จิตมีอุปาทานในนิมิตน้อยลง 

เพราะพระพุทธานุสสติกรรมฐานนี้มีแต่ อุคคหะนิมิตประการเดียว หามีปฏิภาคนิมิตไม่, อุคคหะนิมิตนี้ ย่อมเกิดในมโนทวาร ฉะนั้นนิมิตอาจเป็นนิมิตที่นึกขึ้นเอง คิดขึ้นเองก็ได้


อ้างอิง
คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ


   นอกจากนี้แล้วในหนังสือดังกล่าว ในหน้าที่ ๓๔ ถึง หน้าที่ ๔๒ ยังกล่าวถึงนิมิตในแง่มุมต่างๆ น่าสนใจมาก
   ผมจะแนบไฟล์หนังสือนี้ ให้ดาวน์โหลดกัน

26106  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เวลาปฏิบัติกรรมฐาน จำเป็นต้องเกิดปีติ หรือไม่คะ เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 11:40:34 am


ปีติ ๕ (ความอิ่มใจ, ความดื่มด่ำ)

๑. ขุททกาปีติ (ปีติเล็กน้อย พอขนชูชันน้ำตาไหล)

๒. ขณิกาปีติ (ปีติชั่วขณะ ทำให้รู้สึกแปลบๆ เป็นขณะๆ ดุจฟ้าแลบ)

๓. โอกกันติกาปีติ (ปีติเป็นระลอกหรือปีติเป็นพักๆ ให้รู้สึกซู่ลงมาๆ ในกาย ดุจคลื่นซัดต้องฝั่ง)

๔. อุพเพตาปีติ หรือ อุพเพงคาปีติ (ปีติโลดลอย เป็นอย่างแรงให้รู้สึกใจฟูแสดงอาการหรือทำการบางอย่างโดยมิได้ตั้งใจ เช่น เปล่งอุทาน เป็นต้น หรือให้รู้สึกตัวเบา ลอยขึ้นไปในอากาศ)

๕. ผรณาปีติ (ปีติซาบซ่าน ให้รู้สึกเย็นซ่านแผ่เอิบอาบไปทั่วสรรพางค์ ปีติที่ประกอบกับสมาธิ ท่านมุ่งเอาข้อนี้)


อ้างอิง
วิสุทฺธิ.๑/๑๘๒.
พจนานุกรมพุทธศาสน์  ฉบับประมวลศัพท์พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก www.kalasin-mu.go.th


            ปิติ ๕
   ขุททกาปิติ   ปิติอย่างน้อย
   ขณิกาปิติ   ปิติชั่วขณะ
   โอกกันติกาปิติ   ปิติเป็นพักๆ
   อุพเพงคาปิติ   ปิติอย่างโลดโผน
   ผรณาปิติ      ปิติซาบซ่าน


ปิติ แปลตามศัพท์ว่า ความอิ่มใจ ในที่นี้จำแนกเป็น ๕ คือ

๑. ขุททกาปิติ ปิติอย่างน้อย ข้อนี้ท่านกล่าวว่า เมือเกิดขึ้นทำให้ขนชัน ทำให้น้ำตาไหล ตัวอย่างเช่น คนใจอ่อนอ่านเรื่องชาดกต่างๆ เกิดความสงสาร ปิติชนิดนี้ย่อมเกิดขึ้น

๒. ขณิกาปิติ ปิติชั่วขณะ ได้แก่ปิติที่เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้บำเพ็ญเพียรทางใจ นั่งขัดสมาธิ พิจารณาธรรมอยู่ ปิติเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้น ทำให้รู้สึกเสียวแปลบๆ เปรียบเสมือนฟ้าแลย

๓. โอกกันติกาปิติ ปิติเป็นพักๆ ปิติชนิดนี้เกิดขึ้นท่านกล่าวว่า ทำให้ร่างกายซู่ซ่าแรงกว่า เสียวแปลบๆ เปรียบเสมือนคลื่นกระแทกฝั่ง  เช่น ปิติของผู้บำเพ็ญเพียรทางใจที่ได้ขณิกาปิติ แต่แรงกว่า

๔. อุพเพงคาปิติ  ปิติอย่างโลดโผน ปิติชนิดนี้เมื่อเกิดอาจทำให้ใจฟู นำให้อื่นทำการอื่นโดยไม่รู้สึกตัว เช่น การเปล่งอุทาน เป็นต้น เหมือนปิติที่เกิดขึ้นแก่พระวักกลิ ผู้ได้ฟังการสั่งสอนของพระบรมศาสดา  ท่านเปล่งวาจาว่า คำสั่งสอนนี้ดียิ่ง เราได้สดับแล้วดังนี้ ด้วยอำนาจปิตินี้ทำให้กายลอยขึ้นไปในอากาศ ต่อเมื่อข่มปิติได้แล้ว จึงลงมาจากอากาศได้

๕. ผรณาปิติ ปิติซาบซ่าน ปิติชนิดนี้เมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสรรพางค์กาย น่าจะได้แก่ ปิติของบุคคลผู้ดื่มรสของปิติอันเกิดแต่ธรรม หมดความกระวนกระวาย ไม่มีบาป ท่านกล่าวว่า ถ้ายกเอาการทำให้ขนลุกชัน มาเป็นลักษณะแห่งผรณาปิติ ความจักแจ่มขึ้นมาก



อ้างอิง คู่มือ ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒  น.ธ.โท เรียบเรียงโดย คณาจารณ์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง



   ลักษณะอาการ ของปีติ ยุคล สุข

๑.พระขุททกาปีติ เกิดขุนลุก หนังศรีษะ พองสยองเกล้า
๒.ขะณิกาปีติ เกิดในจักขุทวาร เป็นประกายเหมือนตีเหล็กไฟ เหมือนสายฟ้าแลบ
๓.พระโอกกันติกาปีติ เกิดดังขี่เรือต้องระลอกคลื่น เกิดลมพัดไปทั่วกายก็มี
๔.พระอุพเพงคาปีติ เกิดให้กายเบา ให้กายลอยขึ้น หกคะเมน
๕.พระผรณาปีติ เกิดให้กายประดุจอาบน้ำ เย็นซาบซ่านทั่วสกลกาย


๖.พระกายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ เกิดกายใจสงบระงับ ไม่กระวนกระวายฟุ้งซ่าน
๗.พระกายลหุตา จิตลหุตา ความเบากาย เบาใจไม่ง่วงเหงาหาวนอน
๘.พระกายมุทุตา จิตมุทุตา ความอ่อนไม่กระด้างของกาย และ จิต เริ่มข่มนิวรณธรรม
    ได้บ้าง
๙.พระกายกัมมัญญตา จิตกัมมัญญตา กายจิตควรแก่การงาน ไม่มีกามฉันท์ วิจิกิจฉา
๑๐.พระกายปาคุญญตา จิตปาคุญญตา ความแคล่วคล่องแห่งกาย และ จิต ไม่เฉื่อยชา

๑๑.พระกายุชุคคตา จิตตุชุคคตา ความเป็นสภาพตรงกาย และ จิต
๑๒.พระกายสุข จิตสุข ความสบายกาย ความสบายใจนำพาให้เกิดความตั้งมั่นของจิต
       คือสมาธิ
๑๓.พระอุปจารสมาธิ พุทธานุสสติ จิตตั้งมั่นเป็นอุปจารพุทธานุสสติ สามารถข่ม
นิวรณธรรม เป็นกามาวจรจิต เป็นอุปจารฌาน


มีศีล เกิดปราโมทย์ๆ เกิดปีติ ๕ ประการๆ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการๆ เกิดสุขสมาธิ ๒ ประการๆ ย่อมทำให้สัมมาสมาธิสมบูรณ์  ที่สมบูรณ์ เพราะเกิด เป็นขั้น เป็นตอนเป็นลำดับ ปีติ เป็นราก เป็นเง่า เป็นเค้า เป็นมูล ของสมาธิ เป็นสัมมาสมาธิ


อ้างอิง
คู่มือสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ) บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
ขอบคุณภาพจาก www.kalasin-mu.go.th


    ผมนำเรื่องปิติจากหลายๆที่มาให้พิจาณา เพื่อความบันเทิงในธรรม :49:



    ผมแนบไฟล์คำบรรยายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรื่อง "ปิติ" มาให้ดาวน์โหลดไปอ่าน
26107  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 11:20:23 am
 

มหาจัตตารีสกสูตร

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๔
                         
        ทรงแสดงธรรมสัมมาทิฏฐิหรือปัญญาเห็นชอบ,เห็นถูกต้องว่ามี ๒ อย่างด้วยกัน คือ อย่างโลกิยะ และอย่างโลกุตระ,  ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า เมื่อเป็นสัมมาทิฏฐิที่หมายถึงความคิดความเห็นอันดีงาม,อันถูกต้อง จึงต่างล้วนย่อมดีงาม, ทั้งสองนั้นไม่ใช่ว่า ฝ่ายหนึ่งดีงามและอีกฝ่ายไม่ดีงาม แต่ประการใด  เพียงแต่ขึ้นอยู่กับฐานะและจุดประสงค์แห่งตนเป็นสำคัญ 

แล้วปฏิบัติให้ถูกต้องแนวทางของฝ่ายนั้นๆเป็นสำคัญนั่นเอง  เพราะตามความจริงแล้วต่างล้วนดีงาม ยังประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติหรือมีปัญญาเห็นชอบทั้ง ๒ อย่าง ไม่ว่าจะฝ่ายโลกิยะหรือโลกุตระก็ตามที  เพียงแต่ผลที่เกิดขึ้นย่อมมีความแตกต่างกันเป็นธรรมดาไปตามเหตุ,  ฝ่ายหนึ่งแม้ยังไม่ถึงขั้นโลกุตระอันเหนือโลกด้วยหลุดพ้นจากกองกิเลสที่ย่อมแน่นอนว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง 

แต่ฝ่ายโลกิยะก็ย่อมยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่ในการดำรงและดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุขยิ่งตามขันธ์หรือชีวิตตามฐานะนั้นๆของตน กล่าวคือ จึงย่อมดำเนินขันธ์หรือชีวิตอยู่ในศีลและธรรมฝ่ายดีงามจึงย่อมยังให้เกิดวิบากของกรรมดีขึ้น จึงเป็นไปทั้งเพื่อประโยชน์ตนและโลก คือโลกิยะโดยส่วนรวม(สังคม)ขึ้น

        จึงเป็นไปดังที่ผู้เขียนกล่าวอยู่เสมอๆว่า พระองค์ท่านทรงโปรดเวไนยสัตว์ทุกระดับ ด้วยพระมหากรุณาคุณยิ่ง การโปรดหรือแสดงธรรมจึงขึ้นอยู่กับจริต สติ สมาธิ ปัญญา ฐานะแห่งตน เช่นภิกษุหรือฆราวาส ฯ. ของผู้ปฏิบัติ จึงมีการสอนออกไปในรูปแบบต่างๆอย่างมากมาย 

จึงมีการสอนที่แสดงทั้งฝ่ายโลกิยะที่ยังประโยชน์ตนและโลกเป็นที่สุด และฝ่ายโลกุตระที่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์อุปาทานคือนิพพาน  เหมือนดังเช่นหลักการปฏิบัติเช่นกันที่มีขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ และปัญญา, 

ดังนั้นการกล่าวสอนดังบันทึกในพระไตรปิฎกหรือพระคัมภีร์มากหลาย ผู้ศึกษาจึงจำต้องแยกแยะจำแนกแตกธรรมด้วยสัมมาทิฏฐิเสียให้ถูกต้องด้วยว่า  คำสอนหรือธรรมเดียวกันนี้ล้วนแสดงธรรมที่เป็นไปได้ทั้งสองฝ่ายกล่าวคือทั้งในฝ่ายโลกิยะหรือโลกุตระ 

เพราะแม้ว่าล้วนยังประโยชน์ทั้งสองฝ่ายก็ตามที แต่ถ้าตีความผิดเสียแล้ว กลับก่อให้เกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติขึ้นได้ ดังเช่นในกรณีของสาติภิกษุใน มหาตัณหาสังขยสูตร ที่เป็นภิกษุ  พระองค์ท่านได้ตรัสสั่งสอนภิกษุในเรื่องตัณหาต่างๆในแนวทางโลกุตระหรือปรมัตถ์ยิ่ง

เพื่อความหลุดพ้นเป็นสำคัญ แต่สาติภิกษุกลับไปตีความในเรื่องของวิญญาณอย่างโลกิยะในทางโลกคือเป็นไปในลักษณะของเจตภูตหรือปฏิสนธิวิญญาณ  จึงถูกพระองค์ท่านทรงกล่าวโทษไว้อย่างรุนแรงว่าเป็น ทิฏฐิอันลามก ที่หมายถึง เป็นความคิดความเห็นผิดอันชั่วร้าย   

เหตุที่พระองค์ท่านกล่าวโทษรุนแรงถึงขั้นนั้น ก็เนื่องด้วยเมื่อเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างนี้แล้ว ย่อมทำให้ไม่สามารถดำเนินไปได้ตามทางแห่งองค์มรรคเพื่อโลกุตระที่ตนควรดำเนินตามฐานะแห่งตน ด้วยความเป็นภิกษุที่ย่อมควรปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น จึงไม่ควรมีทิฏฐิอย่างโลกิยะที่ย่อมยังให้เนื่องในโลกด้วยไม่เห็นความจริง

        ธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า บางธรรมจึงสามารถจำแนกแตกธรรมออกเป็นไปได้ทั้ง ๒ ลักษณะดังข้างต้น ขึ้นอยู่กับภูมิ หรือจุดประสงค์ของผู้ปฏิบัติเป็นสำคัญอีกด้วย กล่าวคือ ในธรรมเดียวกันนั้นสามารถแสดงหรือตีความหมายได้ทั้ง ๒ ฝ่าย ดังเช่น ปฏิจจสมุปบาท ที่สามารถแสดงได้ทั้ง

        ธรรมฝ่ายโลกิยะ เป็นการแสดงธรรมโดยทั่วไปที่เป็นส่วนแห่งบุญ จึงยังผลบุญกุศลต่อขันธ์หรือชีวิตโดยตรง จึงย่อมยังประโยชน์ทั้งต่อตนเองผู้ยังเนื่องอยู่ในโลก ทั้งต่อผู้อื่น และต่อโลกอีกด้วย  ที่แสดงการเวียนว่ายตายเกิดจึงเกิดความเกรงกลัวต่อบาปกรรมแห่งตน  แต่ย่อมยังเวียนว่ายตายเกิดหรือยังเนื่องอยู่ในโลกหรือโลกิยะอยู่นั่นเอง


        ธรรมฝ่ายโลกุตระ เป็นการแสดงอริยมรรคเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์หรือการเวียนว่ายตายเกิดในโลก หรือกองทุกข์หรือสังสารวัฏในปัจจุบัน โดยสิ้นเชิง อันเป็นสุข สงบ บริสุทธิ์ยิ่ง



ที่มา  http://nkgen.com/372.htm
ขอบคุณภาพจากhttp://nkgen.com

ศึกษารายละเอียด "มหาจัตตารีสกสูตร" ได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๓๗๒๔ - ๓๙๒๓.  หน้าที่  ๑๕๘ - ๑๖๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3724&Z=3923&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=252
26108  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ได้ยินหลายคน อยากพ้นจากวัฏฏะสงสาร แล้ว วัฏฏะสงสารนี้น่ากลัวอย่างไรครับ เมื่อ: กันยายน 03, 2011, 11:04:00 am

 สังสารวัฏ ภพที่เวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลก;
       สังสารวัฏฏ์ หรือ สงสารวัฏ ก็เขียน



วัฏฏะ การวนเวียน, การเวียนเกิดเวียนตาย, การเวียนว่ายตายเกิด,
       ความเวียนเกิด หรือวนเวียน ด้วยอำนาจกิเลสกรรม และวิบาก
       เช่น กิเลสเกิดขึ้นแล้วให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรม เมื่อได้รับผลของกรรมแล้ว กิเลสก็เกิดอีกแล้วทำกรรม แล้วเสวยผลกรรม หมุนเวียนต่อไป;
       ดู ไตรวัฏฏ์



 วิวัฏฏ์, วิวัฏฏะ ปราศจากวัฏฏะ, ภาวะพ้นวัฏฏะ ได้แก่ นิพพาน



ไตรวัฏฏ์ วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก

       (เรียกเต็มว่า
           ๑. กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
           ๒. กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ
           ๓. วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส)

       คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก

       เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุขเวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น

       หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด;
       ไตรวัฏ ก็เขียน



อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ขอบคุณภาพจาก http://nkgen.com


     กล่าวกันว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุด คือ อวิชชา(ความไม่รู้จริง หลงเข้าใจผิด)
     การไม่รู้วงจรปฏิจจสมุปบาท ทำให้เราหลงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวงจรนี้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
     ดังพุทธพจน์ที่ว่า สังสารวัฏนี้ไม่เบื้องต้นเบื้องปลาย

     พระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า การจำอดีตไม่ได้ เป็นสิ่งที่น่ากลัวที่สุด
     น่ากลัวอย่างไร หากเรามีทิพพจักขุญาณ มองเห็นอดีตของเราในชาติก่อนนี้
     เราจะเห็นความทุกข์ต่างๆที่เราเผชิญมา ยิ่งเห็นตัวเราอยู่ในนรกด้วยแล้ว
     ทำให้เราหวาดกลัว เบื่อหน่าย อยากจะข้ามสังสารวัฏนี้ให้ได้


     แต่เนื่องจากเราไม่มีตาทิพย์ มองเห็นอดีตไม่ได้(จำอดีตไม่ได้)
     ทำให้เราต้องต่อสู้กับทุกข์ต่างๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

     ความทุกข์ที่เราได้รับจากการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ เป็นภัย เป็นสิ่งที่น่ากลัว
     การที่จะพ้นจากวัฏฏะนี้ได้ มีทางเดียวก็คือ นิพพาน

     อย่างไรก็ตาม การที่จะเกิดความเบื่อหน่ายวัฏฏะนี้ได้ เราต้องได้วิปัสสนาญาณก่อน อย่างน้อยญาณที่ ๘
     คือ นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)

     

     
     ขอให้ทุกท่านได้ "นิพพิทานุปัสสนาญาณ" เราจะข้ามสังสารวัฏด้วยกัน....รึเปล่า?
;) :25:
     
26109  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระพุทธเจ้า ตรัสห้าม พระสาวกห้ามแสดงฤทธิ์ แต่ พระพุทธเจ้าแสดงฤทธิ์ เองได้เพราะ.. เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 09:22:25 pm

อรรถกถา สรภชาดก
ว่าด้วย ละมั่งทำคุณแก่พระราชา

               พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภการพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์ตรัสถามโดยย่อได้อย่างพิสดารของพระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาสึเสเถว ปุริโส ดังนี้.

               ก็แลในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหากะพระเถรเจ้าโดยย่อ ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวในคราวเสด็จจากเทวโลกนั้นโดยสังเขป.


               กล่าวความจำเดิมแต่ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ถือเอาบาตรไม้จันทน์แดง ในสำนักของราชคหเศรษฐี ได้ด้วยฤทธิ์แล้ว พระศาสดาตรัสห้ามการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ แก่ภิกษุทั้งหลาย.

               ครั้งนั้น เหล่าเดียรถีย์คิดกันว่า พระสมณโคดมทรงห้ามการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์เสียแล้ว ที่นี้แม้ตนเองก็คงจักกระทำไม่ได้ ครั้นถูกพวกสาวกของตนซึ่งขายหน้าไปตามกันพูดว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายถือเอาบาตรด้วยฤทธิ์ไม่ได้แล้วหรือ ก็พากันแถลงว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย นั่นมิใช่เป็นการที่พวกเราจะกระทำได้ยากเลย

แต่ที่พวกเราไม่ถือเอาเพราะคิดกันว่า ใครเล่าจักประกาศคุณที่ละเอียดสุขุมของตนแก่พวกคฤหัสถ์ เพื่อต้องการบาตรไม้อันเป็นประหนึ่งศพ ฝ่ายพวกสมณศากยบุตรพากันสำแดง ถือเอาไปเพราะเป็นคนโง่ ใจโลเล พวกเธออย่าคิดเลยว่า

การกระทำฤทธิ์เป็นเรื่องหนักของพวกเรา เพราะพวกเราน่ะ พวกสาวกของสมณโคดมจงยกไว้เถิด แต่จำนงจะแสดงฤทธิ์กับพระสมณโคดม แม้นว่าพระสมณโคดมจักกระทำปฏิหาริย์อย่างหนึ่ง ฝ่ายพวกเราจักกระทำให้ได้สองเท่า.


               พวกภิกษุฟังเรื่องนั้นแล้วพากันกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวว่าพวกเดียรถีย์จักพากันกระทำปฏิหาริย์.
               พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงพากันกระทำเถิด แม้เราก็จักกระทำบ้าง.

               พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับเรื่องนั้น เสด็จมากราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
                ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข่าวว่า จักทรงกระทำปาฏิหาริย์.

                ตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร.


               ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ.

       ตรัสว่า มหาบพิตร นั่นอาตมภาพบัญญัติแก่หมู่สาวก แต่สิกขาบทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี         
       มหาบพิตร เหมือนอย่างว่า ดอกไม้และผลไม้ในพระอุทยานของมหาบพิตร ทรงห้ามไว้แก่ชนเหล่าอื่น
       มิได้ทรงห้ามแก่มหาบพิตรฉันใด ข้อนี้ ก็พึงเห็นเทียบเคียงฉันนั้น


               ทูลถามสืบไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์จักทรงกระทำปาฏิหาริย์ ณ ที่ไหนพระเจ้าข้า ตรัสว่า ณ โคนไม้คัณฑามพฤกษ์ ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี ขอถวายพระพร ทูลถามว่า ในเรื่องนั้นพวกหม่อมฉันจะต้องทำอะไรบ้าง. ตรัสว่า ไม่มีอะไรเลย มหาบพิตร.

ฯลฯ................ฯลฯ................

อ่านเรื่องเต็มๆได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/jataka.php?i=271854
26110  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 08:30:07 pm

   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
   ชื่ออังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
   เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๑๒


      ๓. ทรงแสดงว่า ไม่ทรงเห็นธรรมะอื่นแม้ข้อหนึ่ง ที่ถ้าไม่อบรมแล้ว ก็ใช้งานไม่ได้ เหมือนจิต.
   แล้วทรงแสดงจิตอีก ๙ ลักษณะ   คือ


   ธรรมะที่อบรมแล้ว   ย่อมใช้งานได้,   
   ไม่อบรมแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะ ( ความพินาศ ),   

   อบรมแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะ ( ประโยชน์),   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะใหญ่, 


   อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะใหญ่,   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่ออนัตถะใหญ่,

   อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่ออัตถะใหญ่ ,   
   ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว นำทุกข์มาให้,   

   อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว นำความสุขมาให้


    ธรรมะแต่ละข้อนี้ไม่มีอะไรเสมอเหมือนจิต.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.html
ขอบคุณภาพจากwww.bangkokbiznews.com




   พระไตรปิฎก(บาลีสยามรัฐ) เล่มที่ ๒๐
   พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
   อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


             [๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ

             [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน ฯ


             [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ


             [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ

             [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ


             [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง
   ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ

   จบวรรคที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๙๔ - ๑๒๗. หน้าที่ ๕ - ๖. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=94&Z=127&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=22
ขอบคุณภาพจากhttp://img.kapook.com


    ผมนำข้อความในพระไตรปิฎก ฉบับประชาชนกับฉบับบาลีสยามรัฐ มาใ้ห้อ่านเปรียบเทียบกัน

    อยากทำความเข้าใจเนื้อหาในพระไตรปิฎก เบื้องต้นให้อ่านอรรถกถา หรือไม่ก็

    ให้ไปอ่านพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ตามลิงค์นี้ครับ
    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/

    ขอให้ทุกท่านสนุกกับการอ่าน
;) :49: :25:
26111  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 04:52:31 pm
ดังนั้น ธรรมอันเป็นโคจร

 ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่เป็นทางเดิน ของจิต ใช่หรือไม่คะ

  ทางเดินของจิต ก็คือ หลักปฏิบัติ ใช่หรือไม่คะ

   หลักปฏิบัติ ก็ตามแบบ กรรมฐาน นั้น ๆ ใช่หรือไม่คะ

   สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ก็หมายถึง บริกรรม ปัคคาหะ และ อุเบกขา ใช่หรือไม่คะ

     ก็สงสัย อยู่ แต่ก็ทำความเข้าใจ ตามด้วยคะ


   ส่วนอารมณ์ ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่ได้ในขณะนั้น มี วิตก วิจาร ปีติ สุข สมาธิ ใช่หรือไม่ คะ

  :smiley_confused1: :25:

 


  อารมณ์ เครื่องยึดหน่วงของจิตต์, สิ่งที่จิตต์ยึดหน่วง,
       สิ่งที่ถูกรู้หรือถูกรับรู้ ได้แก่ อายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์;


       ในภาษาไทย ความหมายเลื่อนไปเป็นความรู้สึก หรือความเป็นไปแห่งจิตใจ ในขณะหรือช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่นว่า อย่าทำตามอารมณ์ วันนี้อารมณ์ดี อารมณ์เสีย เป็นต้น


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


       คำว่า "โคจร" ผมไม่คาดว่า จะหมายถึง "ทางเดินจิต" ควรจะเป็นอารมณ์ของจิตในกรรมฐานมากกว่า

       อารมณ์ในกรรมฐาน น่าจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ อารมณ์ของสมถะ และอารมณ์ของวิปัสสนา
       
       อารมณ์ในสมถะ ก็น่าจะเป็น องค์ฌาน วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา

       รวมทั้ง บริกรรมนิมิต ปัคคาหะนิมิต และ อุเบกขานิมิต ก็เป็นอารมณ์สมถะ

       ส่วนอารมณ์ิในวิปัสสนา ก็ควรไปดูเรื่อง "วิัปัสสนาญาณ ๑๖"

       ลิงค์แนะนำhttp://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5061.msg18455;topicseen#new

        :25:
26112  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 04:32:12 pm
 
ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ


  การปฏิบัติสมถกรรมฐานล้วนๆ(รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔) เป็นโลกียะ

 การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าได้วิปัสสนาญาณ ไม่เกินญาณที่ ๑๓ ก็ยังเป็นโีลกียะ

 การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนได้ญาณที่สูงกว่าญาณที่ ๑๓ (ยกเว้นญาณที่ ๑๖) เป็นโลกุตตระ



 

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตอนนี้เป็น โลกียะ แล้ว ตอนนี้ เป็น โลกุตตระ คะ



  เรื่องความรู้สึกหรืออารมณ์ในกรรมฐาน เป็นเรื่องปัจจัตตัง เข้าใจได้ยาก


  อารมณ์ของโลกียธรรม ถ้าเป็นอารมณ์หยาบๆ ปุถุชนทุกท่านย่อมรับรู้และเข้าใจได้ดี

  อารมณ์หยาบๆ ก็คือ อารมณ์ในโลกธรรม ๘ นั่นเอง

  แต่ถ้าเป็นอารมณ์ที่ละเอียดขึ้น(โลกียะ) เช่น อารมณ์ของสมาธิ ในรูปฌาน และอรูปฌาน

  อันนี้ ถ้ายังปฏิบัติไม่ได้ ไปยังไม่ถึง เข้าฌานไม่ได้ ก็ยากที่จะเข้าใจ



  ในส่วนอารมณ์โลกุตตระธรรม จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อคุณอยู่ใน วิปัสสนาญาณที่ ๑๔ และ ๑๕ เท่านั้น

  นั่นหมายถึง คุณต้องเป็นอริยบุคคลแล้ว เรื่องนี้เข้าใจยาก ผมรู้สึกอึดอัดที่จะอธิบาย ยังไปไม่ถึง


 
  ขอให้คุณจินตนามีความสุขในการอ่าน...นะครับ
;) :25:
26113  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 01:48:57 pm

ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ (ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด)

๑. นามรูปปริจเฉทญาณ (ญาณกำหนดจำแนกรู้นามและรูป คือ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายมีแต่รูปเป็นธรรมและนามธรรม และกำหนดแยกได้ว่า อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม)

๒. ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป คือรู้ว่า รูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุปัจจัยและเป็นปัจจัยแก่กัน อาศัยกัน โดยรู้ตามแนวปฏิจจสมุปบาท ก็ดี ตามแนวกฏแห่งกรรม ก็ดี ตามแนววัฏฏะ ๓ ก็ดี เป็น)


๓. สัมมสนญาณ (ญาณกำหนดรู้ด้วยพิจารณาเห็นนามและรูปโดยไตรลักษณ์ คือ ยกรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นพิจารณาโดยเห็นตามลักษณะที่เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มิใช่ตัวตน)

๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด)

๕. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด)

๖. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น)


๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์)

๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ)

๙. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น)

๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป)


๑๑. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้)

๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป)

๑๓. โคตรภูญาณ (ญาณครอบโคตร คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นหัวต่อแห่งการข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล)

๑๔. มัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น)


๑๕. ผลญาณ (ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ)

๑๖. ปัจจเวกขณญาณ (ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)

ในญาณ ๑๖ นี้ ๑๔ อย่าง (ข้อ ๑-๑๓ และ ๑๖)เป็น โลกียญาณ,
๒ อย่าง (ข้อ ๑๔ และ ๑๕) เป็น โลกุตตรญาณ


ญาณ ๑๖ (บางทีเรียกว่า โสฬสญาณ ซึ่งก็แปลว่าญาณ ๑๖ นั่นเอง) ที่จัดลำดับเป็นชุดและเรียกชื่อเฉพาะอย่างนี้ มิใช่มาในพระบาลีเดิมโดยตรง พระอาจารย์ในสายวงการวิปัสสนาธุระได้สอนสืบกันมา โดยประมวลจากคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ในกาลต่อมา


อ้างอิง
พึงดู ขุ.ปฏิ.๓๑/มาติกา/๑-๒ และ วิสุทธิ.๓/๒๐๖-๓๒๘
พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจากhttp://webboard.mthai.com

26114  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 01:32:11 pm

โลกิยธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่ยังมีอาสวะทั้งหมด;       

โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก
       มี ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑;

     
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



โลกธรรม ๘ (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป)

๑. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ)
๒. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย)
๓. ยส (ได้ยศ, มียศ)
๔. อยส (เสื่อมยศ)
๕. นินทา (ติเตียน)
๖. ปสํสา (สรรเสริญ)
๗. สุข (ความสุข)
๘. ทุกข์ (ความทุกข์)


โดยสรุปเป็น ๒ คือ ข้อ ๑-๓-๖-๗ เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา; ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะปริเทวะ เป็นต้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่า สิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น


มรรค ๔ (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด)
๑. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส)
๒. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง )
๓. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕ )
๔. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐).



ผล ๔
(ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ)
๑. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย)
๒. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย)
๓. อนาคามิผล (ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย)
๔. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย)


ที่มา  พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจากwww.kindergarten.stjohn.ac.th
26115  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 01:09:05 pm


อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา
สมาธิภาวนามยญาณนิทเทส


               อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส     
         
               [๙๒] พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิภาวนามยญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
               พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงประเภทของสมาธิตั้งแต่หมวดหนึ่งๆ แต่ต้นจนถึงหมวด ๑๐ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า เอโก สมาธิ - สมาธิอย่างหนึ่ง.

               ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตสฺส เอกคฺคตา - ความว่า ชื่อว่า เอกคฺโค เพราะอรรถว่ามีอารมณ์เลิศ คือสูงสุดอย่างหนึ่ง เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านแห่งอารมณ์ต่างๆ,

               ความเป็นแห่ง เอกคฺโค นั้นชื่อว่า เอกคฺคตา. เพื่อแสดงความที่มีจิตมีอารมณ์หนึ่งนั้น ไม่ใช่สัตว์ ท่านจึงกล่าวว่า จิตฺตสฺส.


               ในหมวด ๒ บทว่า โลกิโย. วัฏฏะ ท่านกล่าวว่า โลโก เพราะอรรถว่าแตกสลายไป, สมาธิประกอบแล้วในโลก โดยความเป็นสมาธิเนื่องอยู่ในวัฏฏะนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าโลกิยะ.

               บทว่า โลกุตฺตโร ชื่อว่าอุตตระ เพราะข้ามไปแล้ว, ชื่อว่าโลกุตระ เพราะข้ามไปจากโลกโดยความเป็นสมาธิไม่เนื่องอยู่ในโลก.


......ฯลฯ...........ฯลฯ..............


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=92&p=1#อรรถกถาสมาธิภาวนามยญาณนิทเทส
ขอบคุณภาพจากhttp://cdn.gotoknow.org
26116  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 12:51:14 pm



พระไตรปิฎ(สยามรัฐ) เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



  [๙๒] ปัญญาในการสำรวมแล้วตั้งไว้ด้วยดี เป็นสมาธิภาวนามยญาณอย่างไร

สมาธิอย่างหนึ่ง คือ เอกัคคตาจิต

สมาธิ ๒ คือ โลกิยสมาธิ ๑ โลกุตรสมาธิ ๑


สมาธิ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและวิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกมีแต่วิจาร ๑ สมาธิไม่มีวิตกไม่มีวิจาร ๑

สมาธิ ๔ คือ สมาธิมีส่วนเสื่อม ๑ สมาธิเป็นส่วนตั้งอยู่ ๑
สมาธิเป็นส่วนวิเศษ ๑ สมาธิเป็นส่วนชำแรกกิเลส ๑


สมาธิ ๕ คือ สมาธิมีปีติแผ่ไป ๑ สมาธิมีสุขแผ่ไป ๑ สมาธิมีจิตแผ่ไป ๑
สมาธิมีแสงสว่างแผ่ไป ๑ สมาธิมีการพิจารณาเป็นนิมิต ๑

สมาธิ ๖ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถ
พุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑
สีลานุสสติ ๑ จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑



สมาธิ ๗ คือ
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการตั้งสมาธิ ๑
ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในความงามแห่งสมาธิ ๑
ความเป็นผู้ฉลาดในโคจรแห่งสมาธิ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการน้อมไปแห่งสมาธิ ๑

สมาธิ ๘ คือ สมาธิ คือเอกัคคตาจิต มิได้ฟุ้งซ่านด้วยสามารถ
ปฐวีกสิณ ๑ อาโปกสิณ ๑ เตโชกสิณ ๑ วาโยกสิณ ๑
นีลกสิณ ๑ ปีตกสิณ ๑ โลหิตกสิณ ๑ โอทาตกสิณ ๑


สมาธิ ๙ คือ
รูปาวจรสมาธิส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑
อรูปาวจรส่วนเลว ๑ ส่วนปานกลาง ๑ ส่วนประณีต ๑
สุญญตสมาธิ ๑ อนิมิตตสมาธิ ๑ อัปปณิหิตสมาธิ ๑

สมาธิ ๑๐ คือ สมาธิคือเอกัคคตาจิตมิได้ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถ
อัทธุมาตกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิฉิททกสัญญา ๑
วิกขายิตกสัญญา ๑ วิกขิตตกสัญญา ๑ หตวิกขายิตกสัญญา ๑
โลหิตกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑


สมาธิเหล่านี้รวมเป็น ๕๐


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๑๐๘๘ - ๑๑๒๙.  หน้าที่  ๔๕ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=31&A=1088&Z=1129&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=92
26117  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ปฏิบัติภาวนาอย่างไหน เป็น โลกียะ แบบไหน เป็น โลกุตตระ คะช่วยแนะนำด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 12:16:13 pm


สมาธิ ๒ อย่าง หมวดที่ ๒ แยกเป็นโลกียสมาธิ และโลกุตตรสมาธิ

๑. โลกียสมาธิ หมายถึง เอกัคคตา ที่ประกอบกับกุศลจิต ในภูมิ ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิและอรูปภูมิ
๒. โลกุตตรสมาธิ หมายถึง เอกัคคตา ที่ประกอบกับอริยมัคคจิต



อ้างอิง
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
ชุดที่ ๙ เรื่องสมถกรรมฐาน ตอนที่ ๑ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐
จัดทาโดย : มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม รวบรวมโดย อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง



เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่สมาธิ
       (พจนานุกรมเขียน เอกัคตา);


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



รูปาวจรกุศลจิต
เป็นจิตที่เกิดขึ้น โดยการบำเพ็ญสมาธิ หรือสมถภาวนา ในตอนแรก ย่อมเป็นมหากุศลจิต แต่เมื่อเจริญภาวนาไป จนได้สมาธิแนบแน่น เป็นอัปปนาสมาธิแล้ว จิตจึงเปลี่ยนจาก มหากุศลจิต เป็นรูปาวจรกุศลจิต ที่เกิดพร้อมกับองค์ฌาน ๕ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

อรูปาวจรกุศลจิต
อรูปาวจรกุศลจิต เป็นจิตที่เกิดขึ้นอในขณะที่เข้าอรูปฌาน ชั้นต่างๆ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑.   อากาสานัญจายตนกุศลจิต
๒.   วิญญานัญจายตนกุศลจิต
๓.   อากิญจัญญายตนกุศลจิต
๔.   เนวสัญญานาสัญญายตนกุศลจิต


โลกุตตรกุศลจิต
โลกุตตรกุศลจิต หรือ อีกนัยหนึ่ง เรียกว่า มัคคจิต เป็นจิตที่จากโลก เป็นจิตที่ประหาณอนุสัยกิเลส เป็นสมุจเฉทปหาน

โลกุตตรกุศลจิต หรือ มัคคจิต กล่าวโดยย่อ มีจำนวน ๔ ดวง คือ
๑.   โสดาปัตติมัคคจิต
๒.   สกทาคามิมัคคจิต
๓.   อนาคามิมัคคจิต
๔.   อรหัตตมัคคจิต



อ้างอิง
บทเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
ชุดที่ ๓  ตอนที่ ๑ ประเภทของจิต
จัดทาโดย : มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม รวบรวมโดย อาจารย์ทองสุข ทองกระจ่าง
ขอบคุณภาพจากhttp://gallery.palungjit.com,www.212cafe.com,http://btgsf1.fsanook.com
26118  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำบุญหมดตัว บ้า หรือ บ๊องส์ หรือ อะไรกันแน่..... เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 07:52:09 pm

อนาถปิณฑิกเศรษฐี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก


อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อว่า “สุมนะ”
มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดมาแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้ว่า “สุทัตตะ” เป็น
คนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากจนอนาถา

ฯลฯ......ฯลฯ..........ฯลฯ

อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดถวาย
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุ
สงฆ์ ครั้นเสร็จภัตตากิจแล้วก็ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระ
ศาสนายังเมืองสาวัตถี พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวายเมืองสาวัตถีนั้น พระบรม
ศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูล


อนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปราบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับสู่กรุงสาวัตถี
โดยด่วน ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์ ได้บริจาคทรัพย์
จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้
ติดต่อขอซื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร

โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ
ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อ
สร้างพระคันธกุฏีที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔
โกฏิ แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม ขณะนั้น เจ้าชายเชตราชกุมารได้แสดงความ
ประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูพระอาราม ดัง
นั้นพระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “เชตวนาราม”



เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว
เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วย
พระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน (บางแห่ง
ว่า ๕ เดือน) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อ
พิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไป
ฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล


อนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจน และการถวายทาน
แด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่
หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป
ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและ
ปริมาณ จนที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำ
ผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดอยากลำบากไปด้วย


ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ได้แต่กราบเรียนให้
พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันประณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้
เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหา   พระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาต
ที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า



เศรษฐีขับไล่เทวดา
ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิ ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เลื่อมใสพุทธศาสนา เบื่อระอาที่พระภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูเข้าออก
ทุกวัน เพราะในขณะที่ภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูนั้นตนไม่สามารถจะอยู่บนซุ้มประตูได้ เมื่อ
เห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎ
กายต่อหน้าท่านเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิด แล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะ
เพิ่มพูนขึ้นเหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่า


“ท่านเป็นใคร ?”
“ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน”
“ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่าน ขอท่านจง
ออกไปจากซุ่มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”

เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ่มประตูเรือนของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดา
ไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ
แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน
๘๐ โกฏิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจมหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำ
ทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และ
อนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้”


เทวดาทำตามนั้น ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อ
เศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไป


ต้นแบบการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
พุทธบริษัทผู้ใฝ่บุญนั้น ย่อมปรารภเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นมาเป็นเรื่องทำบุญได้เสมอ
เช่นเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐี นี้ วันหนึ่งหลานของท่านเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งแล้วหล่นลง
แตก หลานร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตา เพราะไม่มีตุ๊กตาจะเล่น ท่านเศรษฐีได้ปลอบโยนหลานว่า


“ไม่เป็นไร เราช่วยกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด” ปรากฏว่าหลานหยุด
ร้องไห้ รุ่งเช้า ท่านจึงพาหลายช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตา
ข่าวการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว

ประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำ ดังนั้นเมื่อ
ญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนอย่าที่ท่านเศรษฐีกระทำ
นั้น และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน


ฯลฯ......ฯลฯ..........ฯลฯ


ที่มา http://www.84000.org/one/3/02.html
ขอบคุณภาพจากwww.pantip.com,www.dmc.tv
26119  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 07:36:25 pm

โคจร, โคจร-
    [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.).

ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน,
คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไปของดวงอาทิตย์).



อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


   
    พิจารณาตามศัพท์ น่าจะหมายถึง อารมณ์ที่เกิดจากการเจริญกรรมฐานกองใดกองหนึ่ง

ถ้าจะถามว่าอารมณ์อะไร ขอตอบว่า ควรจะเป็นทุกอารมณ์ คือ กุศล อกุศล และอัพยากฤต

   :25:
26120  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สากัจฉา หมายถึงการปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม เมื่อ: กันยายน 01, 2011, 01:32:33 pm
 

สากัจฉา
    น. การพูดจา, การปรึกษา. (ป.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๓. สากัจฉาสูตร

             [๑๖๓] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า

ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้


    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยศีลสัมปทากถาได้๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยสมาธิสัมปทากถาได้ ๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาโดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยปัญญาสัมปทากถาได้ ๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติโดยตนเอง และเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติสัมปทากถาได้ ๑
    เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะโดยตนเองและเป็นผู้แก้ปัญหาที่มาด้วยวิมุตติญาณทัสสนะสัมปทากถาได้ ๑


ดูกรอาวุโสทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นผู้ควรเพื่อสนทนากับเพื่อนพรหมจรรย์

จบสูตรที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๔๒๓ - ๔๔๓๖. หน้าที่ ๑๙๓. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4423&Z=4436&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=163
ขอบคุณภาพจากwww.rmutphysics.com




วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า

            พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงสอนใครแต่ละครั้ง พระองค์ก็ทรงอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง   ในการสอนบุคคลระดับต่างๆ ที่มีพื้นฐานความรู้     สติปัญญาที่แตกต่างกัน   พระองค์ได้ประยุกต์คำสอนแต่ละลักษณะให้มีความเหมาะสม   เป็นการสอนที่แสดงถึงพุทธลีลาของพระองค์ ที่สำคัญการสอนในลักษณะนี้ของพระองค์ เป็นการนำเนื้อหาที่มีอยู่มาทำการตีความ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แล้วนำเข้าสู่หลักการที่ถูกต้อง  ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาดังนี้
 
วิธีการสอนแบบต่างๆ
            วิธีการสอนแบบต่างๆ ของพระพุทธเจ้าในหัวข้อนี้   ผู้เขียนได้กำหนดขอบข่ายตามลักษณะหัวข้อที่พระธรรมปิฎกกล่าวไว้ในหนังสือชื่อว่าพุทธวิธีการสอน   เพื่อง่ายต่อการจัดลำดับขั้นตอนการทำความเข้าใจ  ซึ่งการสอนธรรมะของพระพุทธเจ้ามีวิธีการที่หลากหลาย    พระองค์จะทรงพิจารณาจากบุคคลที่กำลังรับฟัง   ถ้าบุคคลมีระดับสติปัญญาน้อย ก็จะทรงสอนธรรมะอีกรูปแบบหนึ่ง ผู้มีปัญญามากก็จะใช้อีกรูปแบบหนึ่ง แต่ถึงจะมีวิธีการสอนที่หลากหลายอย่างไร    เมื่อจัดเข้าอยู่ในประเภทแล้ว   จำแนกวิธีการสอนของพระพุทธเจ้าได้ ๔ ประเภทคือ
 
          ๑. แบบสากัจฉาหรือสนทนา
            เป็นการสอนโดยใช้วิธีการถามคู่สนทนา เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจธรรมะและความเลื่อมใสศรัทธา    วิธีการสอนแบบนี้จะเห็นได้จากการที่พระองค์ใช้โปรดบุคคลในกลุ่มที่มีจำนวนจำกัดที่สามารถพูดตอบโต้กันได้   การสอนแบบนี้จะมีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายๆที่

            เช่นกรณีของปริพพาชกชื่อว่าวัจฉโคตร  ที่เข้าไปทูลถามเรื่องความเห็นสุดโต่ง ๑๐ ประการกับพระองค์   และก็ได้มีการสนทนาแบบถาม – ตอบ ในเรื่องดังกล่าวระหว่างปริพพาชกกับพระพุทธองค์ เป็นต้น   ในการสอนแบบสากัจฉาหรือสนทนา   จะมีการถามในรายละเอียดได้มากกว่าการสอนแบบทั่วไป   เพราะเป็นการให้ข้อมูลต่อกลุ่มชนที่มีจำนวนจำกัด    เมื่อพระพุทธองค์แสดงธรรมจบ   ผู้ฟังมักจะได้รับคุณวิเศษจากการฟังธรรมโดยวิธีนี้อยู่เสมอ
         
          ๒.   แบบบรรยาย 
            พระพุทธเจ้าจะทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ในการแสดงธรรมประจำวัน   ซึ่งมีประชาชนและพระสาวกเป็นจำนวนมากมารับฟัง ถือว่าเป็นวิธีการที่พระพุทธองค์ใช้มากที่สุดในการแสดงธรรม    มีทั้งการแสดงธรรมที่มีใจความยาว และที่มีใจความแบบสั้นๆตามแต่สถานการณ์ที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น ในพรหมชาลสูตร   พระองค์ก็ได้บรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาของศีลซึ่งแบ่งออกเป็น   ๓ ระดับคือ

            ๑)   ศีลระดับต้นที่เรียกว่าจุลศีล 
            ๒)   ศีลระดับกลางที่เรียกว่ามัชฌิมศีล 
            ๓)   ศีลระดับสูงที่เรียกว่ามหาศีล 


            และในตอนท้ายก็ทรงแสดงเรื่องทิฏฐิ  ทฤษฎีหรือปรัชญาของลัทธิต่างๆ ร่วมสมัยพุทธกาล    ซึ่งมีทั้งหมด ๖๒ ทฤษฎี   โดยพระพุทธเจ้าทรงนำมาแสดงหรือบรรยาย และชี้ให้เห็นว่า   พระพุทธศาสนามีความเห็น   หรือมีหลักคำสอนที่ต่างจากทฤษฎีทั้ง ๖๒ ประการนี้อย่างไร
 
          ๓. แบบตอบปัญหา
            การสอนแบบตอบปัญหาของพระพุทธเจ้า จะทรงสอนให้พิจารณาดูลักษณะของปัญหาและใช้วิธีตอบให้เหมาะสมกัน   ซึ่งในการตอบปัญหาของพระองค์นั้น จะทรงพิจารณาจากความเหมาะสม     ตามลำดับแห่งภูมิรู้ของผู้ถามเป็นสำคัญ   เช่น   ในเทวตาสังยุตที่มีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า   “บุคคลให้อะไรชื่อว่าให้กำลัง   ชื่อว่าให้วรรณะ   ชื่อว่าให้ความสุข   ชื่อว่าให้จักษุ   ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง”

            พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า   “บุคคลที่ให้ข้าว   ชื่อว่าให้กำลัง   ให้ผ้าชื่อว่าให้วรรณะ   ให้ยานพาหนะชื่อว่าให้ความสุข   ให้ประทีปชื่อว่าให้จักษุ     และผู้ให้ที่พักชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ส่วนผู้พร่ำสอนธรรมชื่อว่าให้อมตะ” ในเนื้อหาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงลักษณะการสอนแบบตอบปัญหา   และแสดงถึงการให้ความหมาย ด้วยการตีความคำถามในขณะเดียวกันด้วย
 
          ๔.   แบบวางกฎข้อบังคับ 
            เป็นการสอนโดยใช้วิธีการกำหนดหลักเกณฑ์   กฎ   และข้อบังคับให้พระสาวกหรือสงฆ์ปฏิบัติ   หรือยึดถือปฏิบัติด้วยความเห็นชอบพร้อมกัน     วิธีการนี้จะเป็นลักษณะของการออกคำสั่งให้ผู้ศึกษาปฏิบัติตาม     ถือว่าเป็นการสอนโดยการวางระเบียบให้ปฏิบัติร่วมกัน   เพื่อความสงบสุขแห่งหมู่คณะ   

ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัยต่างๆ   ซึ่งใช้เป็นข้อบังคับให้พระภิกษุได้ปฏิบัติตาม   และที่สำคัญกฎข้อบังคับที่พระองค์ทรงบัญญัตินั้น   สามารถเป็นตัวแทนของพระองค์ได้   ดังที่ทรงตรัสในวันที่จะเสด็จปรินิพพานว่า “ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว   บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย   หลังจากเราล่วงลับไปก็จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย”


อ้างอิง
หนังสือ "วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า"   
ผู้เรียบเรียงอาศัยแนวการอธิบายของพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
รวมทั้งในส่วนกลวิธีในการสอนด้วย   เพื่อง่ายต่อการทำความเข้าใจตามกรอบของคำสอนตามแนวที่ท่านได้กล่าวไว้ใน พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต),
พุทธวิธีในการสอน, พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมมิก, ๒๕๔๔).
http://www.watyan.net/?name=news&file=readnews&id=40
ขอบคุณภาพจากwww.rd1677.com
หน้า: 1 ... 651 652 [653] 654 655 ... 707