ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มุทุลักขณชาดก-ชาดกว่าด้วยกามกิเลสคือต้นเหตุแห่งความเศร้าหมอง  (อ่าน 2534 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

มุทุลักขณชาดก-ชาดกว่าด้วยกามกิเลสคือต้นเหตุแห่งความเศร้าหมอง

 สมัยพุทธกาลผ่านมาพระเชตะวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาร่มเย็นเป็นที่พึ่งพาของเวไนยสัตว์อย่างทั่วถึง ดุจแสงจันทร์วันเพ็ญอันสว่างนวลทั่วปริมณฑล แต่จันทร์กระจ่างฟ้าก็หาทำความรื่นรมย์ได้ทั่วทุกคนไม่ ยังมีภิกษุหนุ่มชาวสาวัตถีรูปหนึ่งกำลังกลัดกลุ้มอยู่กับความทุกข์ภายใต้แสงจันทร์นวลทุกราตรี
 “โอ้นวลน้อง ความรักของพี่ที่มีต่อเจ้า ช่างทำให้พี่ทุกข์ใจยิ่งนัก กินไม่ได้นอนไม่หลับ นั่งสมาธิ(Meditation)ก็วุ่นวายใจ เฮ้อ” สมณะกิจใดๆ ภิกษุหนุ่มก็ไม่ได้ปฏิบัติ จนเพื่อนภิกษุทั้งหลายสุดจะทนเวทนาอยู่ได้ จึงนำสมณะสงฆ์รูปนี้มาเฝ้าพระบรมศาสดา “ไปเฝ้าพระพุทธองค์เถอะท่านจะได้ปลดเปลื้องจากทุกข์นี้ซะที” “เป็นเธอนี่แล้วผู้กระวนกระวายรุ่มร้อนใจ ด้วยอำนาจความงามของหญิง
 สิ่งนี้ไม่ได้แปลกอันใด เพราะเธอยังไม่มีคุณวิเศษป้องกัน ในอดีตกาลก่อน เราได้อภิญญา 5_สมาบัติ 8_สามารถข่มกิเลสได้ด้วยญาณ ทั้งเหาะเหินบนฟ้าได้ก็ยังเคยพลาดพลั้งยังเผลอหลงใหลหญิงงาม จนญาณสมาบัติเสื่อมสูญได้รับทุกข์ร้อนมาแล้ว กิเลสนั้นก็มีกำลังมากนัก ดุจลมพายุถอนขุนเขา โค่นไม้ใหญ่
  ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ทรงภูมิรู้ยังเพรี้ยงพร้ำแก่กิเลส ความผิดของเธอครั้งนี้จึงเป็นสิ่งธรรมดา ลำดับนั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัส มุทุลักขณชาดกขึ้น โปรดภิกษุทั้งหลายในพระเชตะวันดังนี้ มานพหนุ่มผู้หนึ่งเกิดในตระกูลดี มีสติปัญญาเลอเลิศ แต่ก็ค้นพบว่าสรรพวิชาที่เล่าเรียนมามิอาจช่วยผู้คนพ้นความทุกข์ได้
 เขาจึงออกหาสัจธรรมไปยังที่ต่างๆ ทั่วชมพูทวีป ท้ายที่สุดท่านได้ถือเพศพรหมจรรย์เป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ริมป่าหิมพานต์จนได้สมาบัติแก่กล้า สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ และมักเหาะลงมาบิณฑบาตโปรดชาวนครพาราณสีอยู่เนืองๆ ครั้งหนึ่งพระดาบสตนนี้ได้เหาะจากหิมพานต์เข้ามายังมหานครดังปกติ “เอ้..วันนี้มีเหตุอันใดหนอจิตใจถึงร้อนรุ่มนัก “
  ครั้งนั้นยังมิทันบิณฑบาตก็ต้องรับนิมนต์จากราชบุรุษให้เข้าไปโปรดพระเจ้าพรหมทัตยังพระราชฐาน “เชิญท่านฤาษีทางนี้เถอะ พระเจ้าพรหมทัตทรงประทับรออยู่” “โอ้ดีจัง วันนี้เราจะได้ฟังธรรมกัน” “ฟังธรรมรึ? ดีจัง ยังไม่เคยฟังมาก่อนเลย” “เจริญพร มหาบพิท” “ข้าพระองค์เลื่อมใสในศีลและประพฤติพรหมจรรย์ของท่าน ปรารถนาในรสธรรมโอวาทยิ่งนัก”
   “หากท่านปรารถนาจะฟังธรรมเราก็ยินดี” พระเจ้าพรหมทัตถวายอาหารอันประณีต แล้วจึงอาราธนาให้พระดาบสพำนักอยู่ในที่พระราชวังต่อไปอีกนานปี “เพื่อเหล่าพระราชวงศ์หญิงชายและปวงอำมาตย์จะได้รับโอวาทอย่างใกล้ชิด บัดนี้ข้าพระองค์ได้จัดอาศรมใหม่ไว้ในพระอุทยานแล้ว ขออาราธนาเป็นพระอาจารย์แก่ราชวงศ์สืบไปแต่วันนี้เถิด”
 “ถ้ามหาบพิทต้องการอย่างนั้น เราก็คงขัดไม่ได้” เมื่อพระฤาษีมาพำนักอยู่ในวัง ก็เป็นที่เคารพนับถือของเหล่าราชนิกูลและข้าราชบริพาร ด้วยท่านมีความรอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมยากที่จะหาใครทัดเทียมได้ในยุคนั้น “อือ..อุทยานนี่ช่างสงบเงียบดีจริงเหมาะแก่การนั่งสมาธิ ให้โอวาทแล้วค่อยกลับมานั่งสมาธิดีกว่า”
  “ความเพียรของหมู่ชนผู้พร้อมเพรียงกันทำให้เกิดสุข ขณะที่สุกรทั้งหลายพร้อมเพรียงกันยังฆ่าเสือโคร่งได้เพราะใจรวมเป็นอันเดียว ท่านพึงศึกษาความสามัคคีไว้เถิด ความสามัคคีนั้นท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคีตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่พลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ” “ถ้าอย่างนั้นเราก็ต้องปกครองคนในพาราณสีให้สามัคคีกันเอาไว้”
  “ต่อจากนี้ไปเราจะยึดหลักความสามัคคีไว้ในใจ” อย่างเข้าฤดูแล้งคราวหนึ่งเมืองพาราณสีก็เกิดสงคราม พระเจ้าพรหมทัตก็มากราบขอพรเพื่อยกทัพไปสงครามชายแดน “มหาบพิทจงเผด็จศึกโดยดีเถิด จงเมตตาแก่ผู้แพ้ตามสมควรเถิดจะเกิดกุศลยิ่ง” “ข้าพระองค์จะยึดหลักศีลธรรมตามที่ท่านฤาษีอบรม” พระเจ้าพรหมทัตได้รับสั่งให้พระนางมุทุลักขณาพระมเหสี
 คอยดูแลเอาใจใส่พระฤาษีมิให้บกพร่องใดๆ แล้วก็ยกทัพออกจากนครไป “เสด็จพี่อย่าทรงห่วงเลยเพคะ หม่อมฉันจะดูแลพระฤาษีเป็นอย่างดีมิให้ขาดตกบกพร่อง” ทุกวันพระนางมุทุลักขณาจัดเตรียมอาหารถวายพระดาบสอย่างดีมิได้ขาด แต่แล้วก็เกิดเหตุใหญ่ขึ้นครั้งหนึ่ง ในวันนั้นพระดาบสเข้าญาณจนลืมเวลานิมนต์ “ทำไม่พระฤาษีถึงยังไม่ออกมาฉันอาหารนะ”
 “คงนั่งสมาธิอยู่กระมังคะ” “ถ้าอย่างนั้นเราไปพักผ่อนก่อนนะ พวกเจ้าอยู่คอยรับใช้ก่อนแล้วกัน” “เพคะ” พระนางมุทุลักขณารอพระฤาษีอยู่นานก็ยังไม่มา พระนางจึงทอดพระวรกายพักผ่อนอิริยาบถอยู่บนยี่พู่ ณ ท้องพระโรงอยู่บริเวณเดียวกัน “เฮ้อง่วงจัง..นอนซักพักดีกว่า” แอ๊ส.ส..ส “เอะ...เสียงอะไรนะ” “เหมือนมีใครเข้ามาทางพระบัญชรนะเพคะ”
 เสียงนั้นคือพระฤาษีซึ่งเหาะเข้ามาทางพระบัญชรอย่างเร่งรีบ พระมเหสีตกพระทัยจึงผุดลุกโดยเร็วภูษาแพรที่ห่มพระอุระก็หลุดลุ่ยลงอวดโฉมแก่สายตาพระฤาษี “โอ๊ะ.ว๊ายผ้าหลุด” “ว๊าย..ตาเถน หลุดๆๆๆ” ความงามแห่งอิสตรีนั้นก่อกวนญาณอันบริสุทธิ์ให้ดับวูบลง กามราคะอันไม่เคยมีของผู้ทรงศีล กลับคุโชนขึ้นมาแทนที่อย่างรวดเร็ว
  “โอ้..ช่างงดงามเหลือเกิน” เมื่อรำลึกรู้ตัวพระดาบสก็หันกลับไปยังอาศรมอุทยานด้วยสองเท้า มิสามารถใช้ญาณเหาะเหินได้ดังเดิม “แย่แล้วเราจะเป็นบาปหรือเปล่าก็ไม่รู้” “ฮู...ท่านฤาษีหน้าซีดไปเลย” จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระฤาษีไม่อาจลืมความงามของสตรีเพศได้เลย ภาพนั้นมีฤทธิ์รุนแรงต่อจิตใจ จนพระฤาษีมิอาจรวบรวมสมาธิต่อต้านได้
 “น้องหญิงช่างสวยเหลือเกินภาพน้องช่างติดตาตรึงใจพี่ จนพี่ไม่อาจลืมเลือนได้แล้ว โอ้..นี่เราเป็นอะไรไปเนี่ย” ยิ่งนานวันฤทธิ์พิศวาสก็รุมเร้าให้เฝ้าแต่เก็บตนเงียบในอาศรม ร่างกายทรุดโทรม จิตใจระทมทุกข์จนหมดสง่าราศี “ไฉนกามเทพบันดาลทุกข์แก่เราได้มหันต์ปานนี้ น้องหญิงเราจะได้ครองเธอเมื่อใดหนอ เมื่อใด” เวลาล่วงไป 7 วัน
พระเจ้าพรหมทัตเสด็จกลับจากชายแดน เมื่อเสร็จราชกิจจากท้องพระโรงก็เร่งเสด็จมากราบพระฤาษี “โอ้..เกิดอะไรขึ้นทำไม่พระฤาษีถึงได้ซูบผอมอย่างนี้” “มหาบพิทกลับมาแล้วรึ เรามีทุกข์หนักอันเรียกว่าความรักเกิดขึ้นในใจจึงเป็นดั่งนี้ มหาบพิท” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงสอบถามสาเหตุที่กระทำต่อผู้ทรงศีล ก็ได้รับคำตอบอันสะเทือนใจยิ่ง
  “เรื่องทั้งหมดเป็นความจริงเรามิสามารถพูดเท็จได้” “ที่แท้ความความเจ็บปวดของพระอาจารย์เนี่ยเกิดเพราะหลงรักพระนางมุทุลักขณานี่เอง” “เป็นเช่นนั้น มหาบพิทจะลงโทษเช่นไรก็ได้ อาจารย์ก็ยอมสิ้น” “หามีโทสะอนุโทษใดสำหรับท่านไม่” (โธ่เอ้ย พระฤาษีผู้ทรงคุณวิเศษ บัดนี้ร่ำหาสตรีเสียแล้ว เราต้องช่วยท่านให้ได้)
  พระเจ้าพรหมทัตนำเรื่องทุกข์ใจของท่านฤาษีมาปรึกษากับพระนางมุทุลักขณาพระมเหสี “รู้ไหมพระฤาษีกำลังทุกข์ใจกับความรักที่มีต่อเธอ จนมิอาจรวบรวมสมาธิได้ดังเคย พี่นะคิดอุบายที่จะทำให้ท่านกลับมาดังเดิมได้แล้ว แต่อยู่ที่น้องหญิงจะช่วยหรือเปล่า” “เพราะน้องแท้ๆ ที่ไม่ระวังตนให้ดีทำให้ตบะท่านเสื่อมไป เสด็จพี่บอกมาเถอะว่าจะให้น้องช่วยอย่างไร
 น้องยินดีทำถวายทุกอย่างเพคะ” วันต่อมาสองพระองค์ก็ทำตามแผนที่วางไว้ คือนิมนต์พระฤาษีมาเพื่อรับตัวพระมเหสีไปอยู่ด้วยกัน “ฟังพี่นะ มุทุลักขณาน้องนะ ต้องทำตามแผนการให้ดี เพื่อคืนสติให้ท่านอาจารย์ ไปเถอะท่านมารออยู่แล้ว” (ในที่สุดความรักของเราก็สมหวัง น้องหญิงของพี่) พระเจ้าพรหมทัตถวายพระมเหสีแก่พระดาบสเป็นการลับเฉพาะ
 ทั้งยังถวายบ้านเล็กๆ ให้ที่ริมกำแพงวัง “ไปกันเถิดน้องหญิง น้องนางที่รักของข้า ไปครองเรือนกันพี่จะทำให้เจ้ามีความสุขที่สุด” (สงสารจังแต่เราต้องทำให้พระฤาษีกลับมาเหมือนเดิมให้ได้) “โอ๊ย..นี่บ้านหรือรังหนูนี่ สกปรกอย่างนี้น้องอยู่ไม่ได้หรอกนะคะ” “ได้เลยจ๊ะ เดี๋ยวพี่จะทำความสะอาดให้เอี่ยมเลยจ้า” “งั้นก็เร็วๆ ซิจ๊ะ น้องนะอยากพักผ่อน เหนียวตัวไปหมดแล้วเนี่ย อยากล้างตัวด้วย”
“จ้าๆๆๆ พี่จะยกน้ำไปให้เดี๋ยวนี้แหละจ้า” เมื่อทำความสะอาดเรือนเสร็จพระฤาษีก็ถูกใช้ให้ไปขนเครื่องเรือนมาจากพระราชวังอีก “โอ้ย..ขนมาตั้ง 3 รอบแล้วไม่หมดซะที เฮ้อ..เหนื่อย แต่เพื่อความรักของเรา ทำได้” “พระฤาษีทำอะไรเนี่ย อันเนี่ยนะเหรอที่เค้าเรียกว่าปฏิบัติธรรม ช่างน่าขันยิ่งนัก” “เห็นแล้วหดหู่ใจ พระฤาษีคนเดิมหายไปไหนกันเนี่ย”
 “เฮ้อ..เจ้าพวกนี้จะวิจารณ์เราไปถึงไหนเนี่ย เฮ้อ..รีบขนดีกว่า ขี้เกียจจะได้ยิน” พระฤาษีทำงานรับใช้พระนางมุทุลักขณาตั้งแต่เช้าจนตะวันใกล้อัสดง “โอ้หลังจะหัก เตียงนอนน้องหญิงนี่หนักจริงๆ โอ้ย ทั้งหนักทั้งเหนื่อย แต่ไม่เป็นไรเราต้องทนไว้ ใกล้มืดแล้วเดี๋ยวก็ถึงเวลาแห่งความสุขของเราแล้ว” เมื่อตะวันตกดินพระดาบสก็ถูกไล่ไปอาบน้ำชำระกายให้สะอาดเหมือนมารดาบังคับบุตรน้อย
 ซึ่งท่านก็ทำตามโดยง่าย “น้องหญิงพี่อาบน้ำเสร็จแล้ว ถึงเวลาของเรารึยัง มามะ” “ถึงตอนนี้แล้วท่านยังไม่รู้อีกรึ ขอให้พระคุณเจ้าดูตัวเองใหม่ให้ชัดซิว่า ยังเป็นนักบวชอยู่หรือไม่” เมื่อพระนางมุทุลักขณาเตือนให้รู้ฐานะพระฤาษก็มีสติพิจารณาก้มลงมองร่างกายของตัวเอง บัดนี้มิเหลือคุณสมบัติของนักบวชอยู่เลย แต่เป็นร่างกายที่ตรากตรำทำงานมาทั้งวันและจิตใจที่เต็มไปด้วยราคะ
   “โอ้..เราหนอสู้เพียรภาวนามานานปี กลับพ่ายแพ้ต่อกามราคะ ยอมทำทุกอย่างดังเสียสติ ไม่กลัวราชอาญา ไม่อายต่อคำครหา ไม่หวั่นเกรงนรกอเวจีเลย” เมื่อพระฤาษีรู้สึกดีชอบ จึงรีบขออภัยต่อพระนางมุทุลักขณา จากนั้นก็รีบเข้าเฝ้าและถวายพระมเหสีคืนต่อพระเจ้าพรหมทัต พระโพธิสัตว์เจ้ากำหนดสติวางจิตเป็นสมาธิญาณ
 อภิญญาก็กลับคืนมาดังเดิม เมื่อแสดงธรรมถวายเป็นเอนกปริยายแล้วพระฤาษีก็เหาะกลับยังป่าหิมพานต์ เจริญภาวนาไปจนสิ้นอายุขัยในโลกมนุษย์ แล้วจุติยังพรหมโลกด้วยกุศลธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศนาด้วยชาดกนี้จบลง ภิกษุหนุ่มผู้หลงใหลในกามกิเลสก็บรรลุธรรมหลุดพ้นความทุกข์ ณ ที่นั้น

 
 
ในพุทธกาลสมัย พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
พระนางมุทุลักขณา กำเนิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี
พระฤาษี เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ