ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บาลีภาษาน่ารู้ "มัคทายก"  (อ่าน 1470 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บาลีภาษาน่ารู้ "มัคทายก"
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:57:26 pm »
0
มคฺคนายก (ปุํลิงค์)
...ความหมาย : มัคนายก*
...แปลตามศัพท์ : บุคคลผู้นำทาง
...รูปวิเคราะห์ : มคฺคํ เนตีติ มคฺคนายโก.
...มาจาก มคฺค(ปุํ) แปลว่า ทาง เป็นบทหน้า, นี ธาตุในการนำไป ลง ณฺวุ ปัจจัยในนามกิตก์, พฤทธิ์ อี เป็น เอ แปลง เอ เป็น อาย, แล้วแปลง ณฺวุ เป็น อก
*มัคนายก ใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ประสานติดต่อระหว่างวัดกับชาวบ้านในกิจการต่างๆ ของวัด หรือผู้เป็นหัวหน้าในพิธีทำบุญในวัด มักเรียกเพี้ยนเป็น มัคทายก



ความหมายของ "มัคนายก" กับคำว่า "มัคทายก"

คำว่า "มัคนายก" เป็นคำที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะได้ยิน ไม่ค่อยได้ใช้ แต่มักจะได้ยินคำว่า"มัคทายก" มากกว่า และคิดว่าคำๆ นี้เป็นคำที่ใช้เรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำกล่าวคำบูชา คำอาราธนาพระ และพิธีการทางสงฆ์ต่างๆ ในวัดเป็นประจำ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดมานาน

"มัคทายก" เป็นคำสมาส มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลลว่า ทาง) + "ทายก" (แปลว่า ผู้ถวายจตุปัจจัยแด่ภิกษุสงฆ์ ผู้นับถือศาสนา ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ทางของผู้นับถือศาสนา

ส่วน "มัคนายก" เป็นคำสมาสเช่นกัน มาจากภาษาบาลี ๒ คำ คือ "มัคค" (แปลว่า ทาง) + "นายก" (แปลว่า ผู้นำ ) รวมความแล้ว จึงหมายถึง ผู้นำทาง

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับ พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า "มัคนายก" ว่าหมายถึง ผู้จัดการทางกุศล ผู้ชี้แจงทางบุญ แต่ไม่มีการให้ความหมายของ "มัคทายก" ไว้ดังนั้น ถ้าจะใช้คำเพื่อเรียก คนแก่ๆ ที่คอยนำเรากล่าวคำบูชา คำอาราธนา คำถวายสิ่งของให้พระที่วัดแล้ว คำว่า "มัคนายก" จึงเป็นคำที่ถูกต้องมากกว่า "มัคทายก"
บันทึกการเข้า