ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “วิบากกรรมเก่า” 3 ลักษณะ  (อ่าน 297 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
“วิบากกรรมเก่า” 3 ลักษณะ
« เมื่อ: มิถุนายน 23, 2022, 06:12:27 am »
0



“วิบากกรรมเก่า” 3 ลักษณะ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า..คำสอนของพระพุทธเจ้าที่เราเคยได้ยินบ่อยๆนั้นมีจริงหรือไม่ คือ เรื่องของกรรมเก่าเพราะว่าในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น บางคนทำชั่วกลับได้ดี บางคนทำดีกลับได้ชั่ว เรื่องของกรรมนี้ ถ้าจะให้พูดแบบละเอียดแบบชัดๆ นั้นยากมาก มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่พระองค์ทราบว่า ใครทำกรรมอะไรไว้อย่างไร แต่ผลของการที่กรรมจะสนอง เรียกว่า วิบากกรรม ซึ่งผลอันนี้มีอยู่หลายลักษณะด้วยกันและเป็นสิ่งที่เมื่ออ่านแล้วทำให้เราเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของวิบากทั้งหลาย

แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า “วิบากกรรม” เป็นคำกลางๆ พอเติมคำว่า ดี กับ ชั่ว ตอนท้ายความหมายของคำก็เปลี่ยนไป อาทิ วิบากกรรมดี วิบากกรรมชั่ว เป็นต้น

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า วิบากกรรมมี 3 ลักษณะ
    - ทิฏฐธรรม  คือ ปรากฏทันที
    - อุปปัชชะ  คือ ปรากฏในเวลาต่อมา
    - อปรปริยายะ คือ ปรากฏในกาลเวลาต่อๆไปข้างหน้าอีก

ถ้าเราเข้าใจว่า วิบากแห่งกรรมนี้เป็นแบบนี้ เราคงจะต้องทำใจได้มากขึ้นเมื่อเห็นคนที่ไม่มีคุณธรรมทำสิ่งที่ดีในสังคม ทำความชั่วต่างๆ นานา ไม่ต้องไปใส่ใดๆ เพราะสักวันหนึ่งเขาก็ต้องได้รับผลวิบากนั้นอย่างแน่นอน เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น บางครั้งเราเองมักจะไปเร่งรัดให้ผลกรรมนั้นมาสนองเราโดยเร็วโดยไว โดยที่เราไม่ทันได้คิดว่า สิ่งที่เราคิดอาจจะไม่ใช่ก็ได้ เพราะบางคนแม้สร้างกรรมหนักแต่กรรมส่วนอื่นที่เขาทำดีเอาไว้ก็ยังมีอยู่ได้มาสนองคุณให้เขาอยู่

ดังนั้น ทำดี ได้ดีอย่างแน่นอน ได้เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ขอให้คิดแบบนี้แล้วจะมีความสุข ส่วนคนทำไม่ดี อย่างไรก็ต้องได้รับผลกรรมนั้นช้าเร็วก็เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งเช่นกันตามแต่เหตุปัจจัย วิบากกรรมเก่าก็เป็นเช่นนี้แล


 


Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/502842
คอลัมน์ : ทำมา ธรรมะ โดย ราช รามัญ , 11 พ.ย. 2564 เวลา 3:30 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ