ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ  (อ่าน 4755 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 08:32:45 am »
0

แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ


ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ และ แนวทางวิถีแห่งการปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายทั้งปวงที่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าได้สั่งสอนชี้แนะไว้ มี หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร พระอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่ดุลย์ อตุโล พระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤๅษีฯ) หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่นิล มหันตปัญโญ(ครูอุปัชฌาย์ท่านแรกที่บวชให้แก่ผม) พระครูสุจินต์ธรรมวิมล(ครูอุปัชฌาย์ท่านที่สองที่บวชให้แก่ผม) และ พระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส(ผมขออนุญาตพระอาจารย์เป็นอุปัชฌาย์ของผมอีกท่านหนี่ง โดยการด้วยขอด้วยการตั้งจิตอธิษฐานระลึกถึง) ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน และ แนวทางวิถีปฏิบัติกรรมฐานทั้งหลายของครูบาอาจารย์ผู้เป็นสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทุกท่านตามที่ผมได้กล่าวไว้ข้างต้นนั้น ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๑ ว่าด้วย "ความศรัทธา"

ท่านใดที่จะมาเจริญปฏิบัติในพระพุทธศาสนานี้ ต้องทีศรัทธาก่อน ศรัทธา คือ อะไร

ศรัทธา  คือ  ความเชื่อ  หมายถึงเฉพาะ  ศรัทธาที่เชื่อด้วยปัญญา  เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ  เชื่อด้วยเหตุผล  ถ้าเชื่อโดยปราศจากปัญญา  เรียกว่า  อธิโมกข์ ( ความน้อมใจเชื่อ หรือ เชื่อตามเขา )
       ประเภทของศรัทธา มี ๔ ประเภท คือ
           ๑. กัมมสัทธา    เชื่อกรรม
           ๒. วิปากสัทธา   เชื่อผลของกรรม
           ๓. กัมมัสสกตาสัทธา  เชื่อความที่สัตว์โลกมีกรรม เป็นของ ๆ ตน
           ๔. ตถาคตาโพธิสัทธา  เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ดังนั้นแล้วก่อนอื่นใด ให้เรามีจิตตั้งมั่นในศรัทธา เพื่อความมีเจตตั้งมั่นในการเจริญปฏิบัติกรรมฐานดังนี้
- ศรัทธา ในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เชื่อในพระพุทธเจ้า
- ศรัทธาพระธรรมคำสอนและแนวทางปฏิบัติที่เป็นเครื่องออกจากทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
 (เมื่อเราเชื่อด้วยปัญญาและรู้แล้วว่า ไม่ว่าเราจะกระทำสิ่งใดไว้ เป็นบุญ หรือ เป็นบาป เราย่อมเป็นทายาท คือว่าเราจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป
   และ ด้วยศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า เราก็ต้องศรัทธาในพระธรรมคำสอนและแนวทางปฏิบัติที่เป็นเครื่องออกจากทุกข์ทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า เป็นทางเพื่อออกจากทุกข์ได้จริง)

- เมื่อเรามีความเชื่อเช่นนี้แล้ว จิตเราย่อมมีเจตนาตั้งมั่นแน่วแน่ที่จะปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ทั้งสิ้นนี้


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๒ ว่าด้วย "ทำไมทุกข์ จึงเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้"
ผู้ใดก็ตามแต่ที่จะเจริญกรรมฐานในพระพุทธศาสนานี้ หากไม่กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ย่อมปฏิบัติได้ยาก ที่กล่าวเช่นนี้ ด้วยเหตุผลเพราะ
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ ก็จะไม่รู้จักตัวตนของทุกข์ อาจจะเป็นผู้ที่มีแต่ความสุขอยู่แล้ว แม้จะเคารพในพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนา แต่ก็ไม่รู้จุดหมายของการปฏิบัติกรรมฐาน และ ไม่รู้ว่าจะพ้นทุกข์ไปถึงนิพพานที่เป็นบรมสุขเพื่ออะไร เพราะที่เป็นอยู่ก็มีความสุขดีอยู่แล้ว  (นี่เป็นเหตุให้เกิดความลังเลสงสัย เสื่อมศรัทธา ไม่มีความตั้งใจในการปฏิบัติ)
-  เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราก็จะเกิดแต่ตัณหา อุปาทาน ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นตัวตนอันน่าใครปารถนาไปหมด เหมือนคนที่มีแต่ความสุขอยู่แล้ว เมื่อไม่กำหนดรู้ทุกข์ก็ย่อมไม่เห็นว่าความทุกข์เป็นเช่นไร ที่ตนมีอยู่ก็เป็นสิ่งสัมผัสได้แตะต้องได้มีตัวตนจริงๆ จะต้องสละแล้วดิ้นรนไปให้ลำบากไปทำไม (นี่เป็นเหตุให้เกิดความความยึดมั่น ถือมั่น เป็น อุปาทานทั้งปวง)
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราก็จะไม่รู้จัก คุณ และโทษ ในสิ่งที่เราเสพย์เสวยอารมณ์ใดๆ หรือ สิ่งใดๆอยู่นั้น
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ ก็จะไม่รู้จักความเบื่อหน่ายที่เป็น นิพพิทา คือ ความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง จึงมีความเบื่อหน่ายในกองทุกข์ ,ความหน่ายจากการไปรู้เห็นความจริงในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ หรือความเบื่อหน่ายในการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ ที่ไม่รู้วันจบ,ไม่รู้วันสิ้น  จึงเป็นความหน่ายที่ประกอบด้วยปัญญา  จึงย่อมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับความเบื่อหน่ายโดยทั่วๆไปหรือในทางโลกหรืออย่างโลกิยะ ที่ย่อมประกอบด้วยตัณหา
- เมื่อเราไม่กำหนดรู้ทุกข์ เราก็จะไม่รู้จักดน้อมพิจารณาในธรรม ทำให้ไม่เห็นสาเหตุที่ทำให้เรานั้นเกิดความทุกข์ทาง กาย และ ใจ เป็นเหตุให้ ไม่รู้สมุทัย คือ ไม่รู้สิ่งที่ควรละ เป็นเหตุให้ไม่รู้แจ้งถึงความดับทุกข์ และ ทางดับทุกข์ที่ควรเจริญปฏิบัติให้มาก


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๓ ว่าด้วย "ทุกข์ เราควรกำหนดรู้อย่างไร"

การกำหนดรู้ทุกข์ในชั้นนวกะนี้ มีวิธีกำหนดดังนี้

1. มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ หรือ จะหวนระลึกถึงอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ เรื่องไรๆ ที่เราได้พบเจอมาได้เสพย์อารมณ์สิ่งนั้นๆมา โดยพิจารณาแยกแยะให้เห็นว่า สิ่งที่เรานั้นกำลังเกิดความปารถนายินดีใคร่ได้ต้องการที่จะเสพย์อยู่นี้ เรามีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  หากเมื่อเราเสพย์มันเข้าไปแล้วมันจะให้คุณ หรือ ให้โทษ เป็นประโยชน์สุขกับเราและบุคคลรอบข้างแค่ไหนหรือกลับส่งผลเสียให้เราและบุคคลรอบข้าง มันให้คุณหรือโให้ทษมากกว่ากัน
2. มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ ว่าสิ่งที่เรากำลังเสพย์อยู่นี้ เรามีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ ในขณะที่เสพย์อยู่นี้ มันทำให้หายป่วยไข้ ทำให้หายหิวข้าว ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแจ่มใสเบิกบาน แข็งแรง มีแต่กุศลธรรมในกายและใจไหม หรือ เมื่อเสพย์แล้วมันทำให้เกิดความติดใจเพลิดเพลินยินดี ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์เพิ่มเติมไหม เมื่อได้เสพย์สมใจปารถนาแล้วเกิดความสูญเสียทั้ง เงิน สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บป่วยไข้ สภาพจิตใจไม่ปกติมีความร้อนรุ่มร้อนรนกายและใจ อัดอัดคับแค้นกายและใจ จิตใจเศร้าหมอง สูญเสียครอบครัวคนรัก เสียงาน ละเลยหน้าที่ๆควรทำ ละเลยสิ่งที่ต้องดูแล
3. มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ ว่าหลังจากที่เราได้เสพย์สมอารมณ์ที่ใครปารถนานั้นแล้ว เรามีความรู้สึกอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ ในขณะที่เสพย์อยู่นี้ มันทำให้หายป่วยไข้ ทำให้หายหิวข้าว ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแจ่มใสเบิกบาน แข็งแรง มีแต่กุศลธรรมในกายและใจไหม หรือ เมื่อเสพย์แล้วมันทำให้เกิดความติดใจเพลิดเพลินยินดี ปารถนาใคร่ได้ที่จะเสพย์เพิ่มเติมไหม เมื่อได้เสพย์สมใจปารถนาแล้วเกิดความสูญเสียทั้ง เงิน สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บป่วยไข้ สภาพจิตใจไม่ปกติมีความร้อนรุ่มร้อนรนกายและใจ อัดอัดคับแค้นกายและใจ จิตใจเศร้าหมอง สูญเสียครอบครัวคนรัก เสียงาน ละเลยหน้าที่ๆควรทำ ละเลยสิ่งที่ต้องดูแล
4 หากสิ่งนี้ๆเราได้เคยเสพย์มาก่อนแล้ว ก่อนที่เราเข้าไปร่วมเสพย์อารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ ให้เราเจริญพิจารณาดังนี้
- หวนระลึกพิจารณาถึง สภาพ รูป สี เสียง กลิ่น รส การกระทบสัมผัสทางกาย กระทบสัมผัสทางใจ  ที่เราเคยได้เสพย์อารมณ์นั้นๆมาแล้วในกาลก่อน  ว่ามันมีสภาพอย่างไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ  และ หลังจากที่ได้เสพย์มันแล้วมีผลลัพธ์เช่นไร เป็นสุข หรือ ทุกข์  ให้คุณ หรือ โทษ  เช่น มันทำประโยชน์สุขให้เราแค่ไหน มากเท่าใด ทำให้หายป่วยไข้ ทำให้หายหิวข้าว ทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแจ่มใสเบิกบาน แข็งแรง มีแต่กุศลธรรมในกายและใจไหม หรือ ผลลัพธ์อันเกิดจากหลังที่ได้เสพย์มันแล้วเกิดความสูญเสียทั้ง เงิน สุขภาพร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บป่วยไข้ สภาพจิตใจไม่ปกติมีความร้อนรุ่มร้อนรนกายและใจ อัดอัดคับแค้นกายและใจ จิตใจเศร้าหมอง สูญเสียครอบครัวคนรัก เสียงาน ละเลยหน้าที่ๆควรทำ ละเลยสิ่งที่ต้องดูแล
- มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ หรือ หวนระลึกพิจารณาว่า ก่อนที่เราจะเสพย์ในอารมณ์นั้นๆ สิ่งนั้นๆ สภาพอาการความรู้สึกทางกายและใจของเรานั้นแจ่มใสเบิกบาน มีกาย วาจา ใจ เป็นกุศลมีปกติจิตเป็นสุขยินดี มีสติยั้งคิด รู้แยกแยะดีชั่วไหม
- มีสติระลึกรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ หรือ หวนระลึกพิจารณาว่า เมื่อเราได้เสพย์ในอารมณ์นั้นๆ สิ่งนั้นๆ แล้ว หรือ หลังจากที่ได้เสพย์ในอารมณ์นั้นๆ สิ่งนั้นๆ สภาพอาการความรู้สึกทางกายและใจของเรานั้นเป็นเหมือนก่อนที่จะได้เสพย์ไหม


กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๔ ว่าด้วย "ทุกข์ เราได้กำหนดรู้แล้วเป็นอย่างไร

เมื่อเราได้กำหนดรู้ทุกข์แล้ว ผลอานิสงส์ที่เราจะได้รับหลังจากที่ได้กำหนดรู้ทุกข์แล้วนั้นมีเบื้องต้นดังนี้

1. เห็นคุณประโยชน์ และ โทษ ในอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ ที่เราได้กำหนดรู้ทุกข์แล้วนั้น
2. เกิดความเบื่อหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริงใน อารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ ที่เราได้กำหนดรู้ทุกข์แล้วนั้น
3. มีการหวนระลึกพิจารณาวิเคราะห์ลงในธรรมถึงเสาเหตุที่ทำให้ก่อเกิดความทุกข์เมื่อรู้กระทบสัมผัสในอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆเหล่านั้น เป็นเหตุให้รู้เห็นเหตุแห่งทุกข์ตามจริง
4. ทำให้รู้ถึงสิ่งที่ควรละเพื่อถึงความดับทุกข์ พร้อมเห็นตามจริงถึงทางดับทุกข์อันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ดีแล้ว
5. ทำให้เรานั้นเกิดเจตนาอันมีจิตตั้งมั่นแน่วแน่ที่จะปฏิบัติ สัดับฟัง ค้นคว้าศึกษา โดยความไม่ย่อท้อ

กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๕ ว่าด้วย "การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงกุศลธรรมทั้งปวง และ ให้ถึงซึ่งทางแห่งการพ้นทุกข์ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน


- เมื่อเรารู้ทุกข์แล้ว รู้สมุทัยแล้ว เราจะเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันอยู่ที่ว่า ขณะนั้นที่เราเข้าไปเสพย์อารมณ์ใดๆ หรือ สิ่งใดๆ เหล่านั้นมันเป็นกุศลธรรม หรือ อกุศลธรรม
- เมื่อมีจิตเป็นกุศล เราย่อมไม่น้อมนำเอาสิ่งไรๆที่ไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์สุขยินดี ต่อตนเองและผู้อื่นมาพึงกระทำทาง กาย วาจา ใจ
- เมื่อมีจิตเป็นอกุศล เราย่อมเพิกเฉยต่อกุศลธรรมใดๆ และพร้อมกันนั้นก็เกิดความใคร่ปารถนายินดีที่จะเสพย์ในอารมณ์ใดๆ สิ่งใดๆ แม้รู้ว่ามันเป็นโทษไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ก็ตาม
- ด้วยเหตุอย่างนี้ๆ พระพุทธเจ้าจึงสั่งสอนชี้แนะให้เราเจริญปฏิบัติในสิ่งที่เป็นกุศล และ กุศลจิต กุศลกรรมใดๆ มีความไม่ร้อนรุ่ม ร้อนรนใจด้วยกิเลสเป็นอานิสงส์ ซึ่งหนทางแห่งกุศลจิตที่เราจะพึงเห็นได้และปฏิบัติได้เป็นเบื้องต้นมีดังนี้


1. ศีล คือ ทางปฏิบัติเพื่อความเป็นให้แห่งกุศลทาง กาย และ วาจา เป็นหลัก ให้พึงระลึกว่า หากมีคนมากระทำการใดๆที่ผิดในข้อศีลที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ มีศีล ๕ เป็นเบื้องต้น เราจะรู้สึกดีไหม ยกตัวอย่างเช่น
- หากมีใครมาคิดปองร้ายหมายเอาชีวิตเรา เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากมีใครมาลักขโมยเอาสิ่งของที่มีค่าหวงแหนของเรา สิ่งของที่เราไม่ได้ให้ เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากมีใครมากระทำผิดหรือล่วงละเมิดใดๆต่อบุคคลที่เรารัก เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากมีใครมากล่าววาจาด่าทอ ส่อเสียด ยุยงให้ร้าย ไม่มีความเคารพให้เกียรติต่อเรา เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม
- หากเมื่อเราได้ดื่มสุรายาเมาแล้วทำให้หมดที่ต้องใช้จ่ายหมดไปไม่พอใช้ ต้องไปหยิบยืมเขามาใช้แทน ไม่มีเงินช่วยเหลือจุนเจือครอบครัว ไม่มีเงินใช้ในยามฉุกเฉิน เสียงาน เสียสุขภาพ เรี่ยวแรงกายใจอ่อนล้า สูญเสียสิ่งที่เป็นครอบครัว หรือ อาจจะไปกระทำผิดไรๆที่ทำให้เกิดความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้อีก เกิดความพรัดพราก อยู่ด้วยความร้อนรุ่มร้อนรนกายใจ เราจะชอบใจ พอใจยินดี มีความสุขกาย สุขใจ แจ่มใส เบิกบานไหม หรือ เมื่อ ลูก เมีย สามี พี่ น้อง พ่อ แม่ ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ของเรากินแต่เหล้าอยู่ในสภาพที่เมามายขาดสติยั้งคิดอยู่เป็นประจำ เราจะเอือมระอา และ รังเกลียดไหม หรือ จะเป็นสุขพอใจยินดี
- เมื่อเราไม่ชอบที่จะประสบพบเจอในสิ่งนี้ๆอย่างไร ก็อย่าไปกระทำต่อตนเองและผู้อื่นแบบนั้น ผลอานิสงส์ที่จะได้รับคือ ความไม่ร้อนรุ่มร้อนรนกายใจ ไม่เดือนเนื้อร้อนกายร้อนใจ มีจิตแจ่มใสชื่นบานเป็นสุข อยู่หรือไปสู่ที่ใดๆก็เป็นสุขแจ่มใจเบิกบาน

**ก็แลเมื่อเจริญปฏิบัติในศีลแล้ว ให้พึงระลึกถึงศีลข้อใดอันที่เราปฏิบัติมาดีแล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ดีแล้วในแต่ละวัน เอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต พึงเจริญระลึกอยู่เป็นอารมณ์เช่นนี้เป็นประจำ จะเข้าสู่อุปจาระฌาณได้ป็นอย่างต่ำ นี่คือ "สีลานุสสติกรรมฐาน" ผู้ที่ไม่มีศีลจะไม่สามารถระลึกได้**


2. ทาน คือ การสละให้ เป็นการรู้จักสละให้ผู้อื่นด้วยความปารถนาดี มีความเอื้อเฟื่ออนุเคราะห์แบ่งปันสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น หวังให้ผู้อื่นได้ใช้ประโยชน์สุขจากการให้นั้นของเราด้วยจิตที่ยินดีเมื่อเขาได้รับสุขจากการให้นั้นของเรา

**ก็แลเมื่อเจริญปฏิบัติในทานแล้ว ให้พึงระลึกถึงทานใดๆอันที่เราปฏิบัติมาดีแล้ว งดงามเป็นกุศล ทั้งเมื่อก่อนให้ ขณะให้ และ หลังให้ หรือให้ด้วยจิตที่เป็นเมตตา กรุณา มุทิตา บริสุทธิ์ บริบูรณ์ดีแล้วในแต่ละวัน เอามาเป็นที่ตั้งแห่งจิต พึงเจริญระลึกอยู่เป็นอารมณ์เช่นนี้เป็นประจำ จะเข้าสู่อุปจาระฌาณได้ป็นอย่างต่ำ นี่คือ "จาคานุสสติกรรมฐาน" ผู้ที่ไม่มีกุศลทานจะไม่สามารถระลึกได้**


3.พรหมวิหาร ๔ คือ ทางปฏิบัติเพื่อความเป็นให้แห่งกุศลทาง ใจ เป็นหลัก ให้พึงเจริญระลึกทางใจเบื้องต้นอย่างนี้คือ
- เมตตาพรามหวิหาร ๔  คือ ความปารถนาดีต่อผู้อื่น ด้วยจิตที่ปารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข
- กรุณาพรามหวิหาร ๔  คือ ความรู้จักเอื้อเฟื้อ ประสงค์ที่จะอนุเคราะห์ แบ่งปัน ให้แก่ผู้อื่น ด้วยจิตที่ปารถนาให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์
- มุทิตาพรามหวิหาร ๔  คือ ความมีจิตยินดีเมื่อผู้อื่นเป็นสุข  มีจิตยินดีเมื่อผู้อื่นพ้นจากทุกข์ได้ประสบสุขแล้ว ด้วยจิตที่ไม่ติดใจ ไม่ขัดเคืองใจไรๆ
- อุเบกขาพรามหวิหาร ๔ คือ มีความรู้จักวางใจไว้กลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและ ไม่พอใจยินดีมาเป็นอารมณ์ที่ตั้งแห่งจิต ด้วยจิตที่รู้ว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามผลแห่งกรรม คือ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำใดๆของตนเองไม่ว่าจะเมื่อกาลก่อนหรือปัจจุบันขณะนี้ จะเป็นกุศล หรือ อกุศลใดๆก็ตามแต่ เราย่อมเป็นทายาท คือว่าเราจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป

วิธีการเจริญปฏิบัติให้เริ่มที่ เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต เป็นหลักก่อนโดยปฏิบัติดังนี้

๑. เจริญเข้าสู่สมาธิก่อน ไม่ว่าจะนั่งสมาธิอยู่ จะลืมตา หรือ หลับตา หรือ กำลังเดำเนินไปมในอิริยาบถใดๆก็ตามแต่ เมื่อหายใจเข้า-ออก ให้ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่เป็นผู้ไกลขจากกิเลส คือ ปราศจากกิเลส ตัณหา กาม ราคะ โทสะ โมหะ ทั้งปวง

๒. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ที่มีพระเมตตตา ที่ปารถนาดีหวังให้ สัตว์โลก มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลายได้พ้นจากกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ แล้วน้อมจิตเราให้เกิดความเมตตาจิตแผ่ซ่านไปทั่ว

๓. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ที่มีพระกรุณาของพระพุทธเจ้าว่า พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณา ดุจห้วงมหรรนพมีความอนุเคราะห์ให้แก่หมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย แล้วน้อมจิตเราให้เกิดความกรุณาจิตแผ่ซ่านอนุเคราะห์แบ่งปันไปทั่ว โดยระลึกเอาบุญใดที่เรากราบไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนะตรัยนี้ บุญใดที่เราได้เจริญปฏิบัติกรรมฐานทั้งปวงนี้ บุญใดที่กระทำมาแล้วแม้ในกาลก่อน และ ปัจจุบันนี้ แบ่งปัน อนุเคราะห์ให้แก่หมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย เพื่อให้เขาได้พ้นจากทุกข์ด้วยการเจริญจิตขึ้นเป็น ทาน คือ การสละให้ ไม่มีความหวงแหนยึดมั่นถือมั่นในสิ่งอันใดที่ตนมีอยู่เป็นอยู่ เป็นการสละให้ด้วยจิตปารถนาให้เขาได้พ้นทุกข์ และ ได้ใช้ประโยชน์สุขจากสิ่งที่เราสละให้นั้นของเรา

๔. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ที่มีพระมุทิตา ที่มีความเป็นสุขยินดีเมื่อเห็นหมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย ได้พ้นจากทุกข์  แล้วน้อมจิตเราให้เกิดความมุทิตาจิตแผ่ความมีจิตยินดีที่เห็นผู้อื่นได้พ้นทุกข์ หรือ ได้มี เมตตา กรุณา อนุเคราะห์ช่วยเหลือให้เขาได้พ้นทุกข์ด้วยการแผ่เมตตาความปารถนาดีหวังให้เขาได้เป็นสุข มีความอนุเคราะห์แบ่งปันด้วยการนำเอาบุญใดที่เรากราบไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนะตรัยนี้ บุญใดที่เราได้เจริญปฏิบัติกรรมฐานทั้งปวงนี้ บุญใดที่กระทำมาแล้วแม้ในกาลก่อน และ ปัจจุบันนี้ แบ่งปัน อนุเคราะห์ให้แก่หมู่สัตว์ มนุษย์ เทวดา มาร พรหม ทั้งหลาย เพื่อให้เข้าได้พ้นจากทุกข์นี้แผ่ซ่านไปทั่ว

** นี่เป็นการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พร้อมน้อมนำเอาธรรมและกิตติศัพท์อันงามของพระพุทธเจ้ามาน้อมเจริญปฏิบัติ เมื่อทำเป็นปกติประจำทุกปวัน ย่อมเข้าถึงอุปจาระฌาณได้เป็นอย่างต่ำ เป็นการเจริญปฏิบัติใน "พุทธานุสสติกรรมฐาน" ผู้ที่ไม่มีศรัทธาในพระพุทธเจ้าจะไม่สามารถเจริญปฏิบัติในข้อนี้ได้**

๕. เจริญบทสวดมนต์แผ่เมตตาให้ตนเองก่อน เพื่อให้ตนเองมีกำลังเมตตาหรือบารมีมากพอจะแผ่ไปให้คนอื่น แล้วค่อยแผ่เมตตาให้อื่นต่อไป โดยพึงเจริญเหมือนพ่อแม่ที่มีบุตรคนเดียวที่ให้ความรักใคร่ปารถนาอยากให้ลูกเป็นสุข พ้นจากทุกข์ ยินดีเมื่อลูกได้พ้นทุกข์ประสบสุข

วิธีการระลึกจิตแผ่เมตตานั้น ดูได้ตาม Link ข้างล่างนี้ครับ  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8226.0  หรือ  http://www.thammaonline.com/15097.msg17168

๖. เมื่อได้แผ่ เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต ไปแล้ว เราต้องรู้วาวงใจไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีมาเป็นที่ตั้งแห่งจิต ด้วยพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่เราได้อนุเคราะห์แบ่งปันให้เขาไปนั้น จะช่วยเขาได้มากน้อยแค่ไหน เราก็อย่าไปติดข้องใจไรๆ ด้วยถือว่าได้อนุเเคราะห์ช่วยเหลือเขาแล้ว เขาจะเป็นอย่างไรต่อไปก็อยู่ที่ กรรม และ วิบากกรรมของเขาที่ได้มีได้กระทำมาในกาลก่อน หรือ ปัจจุบันนี้ของเขา ้พราะไม่ว่า สัตว์ใด บุคคลใด ย่อมมีกรรม คือ การกระทำโดยเจตนาไรๆนั้นเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งพาอาศัย ไม่ว่าคนใดหรือสัตว์ใดจะกระทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป จะต้องเป็นทายาท คือว่าจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป
- เมื่อเจริญเมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต เป็นประจำทุกวัน จนจิตที่เป็นเมตตามีกำลังมากแล้ว ให้เจริญเข้าสู่การแผ่ไปแบบไม่มีประมาณเป็นเมตตาฌาณ  คือ เจโตวิมุตติ แผ่ไปใน 10 ทิศ คือ ทิศเบื้องหน้า เบื้องหลัง เบื้องซ้าย เบื้องขวา เบื้องเฉียง เบื้องบน เบื้องล่าง เป็นการปฏิบัติธรรมในกรรมฐานกอง พรหมวิหาร ๔ กรรมฐาน

4. ขันติ คือ ความทนได้ทนไว้ มีความอดทนอดกลั้น มีสภาพจิตที่รู้จักปล่อย รู้จักละ รู้จักวาง ไม่ติดข้องใจกับสิ่งไรๆ สิ่งที่ใช่ปฏิบัติควบคู่กับขันติ คือ โสรัจจะ หรือ การสำรวมระวังใน ศีล พรหมวิหาร ๔  และ ทาน นั้นเอง

5. สมาธิ คือ ความมีจิตตั้งมั่นจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานซึ่งเอื้อประโยชน์แก่การเจริญปฏิบัติในข้อที่ 1-4 ข้างต้นนั้น ด้วยมีความรู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะว่ากำลังกระทำสิ่งใดๆอยู่และมีความระลึกรู้อารมณ์ความรู้สึกความปรุงแต่งนึกคิดเท่าทันก่อนจะกระทำสิ่งไรๆทาง กาย วาจา ใจ ออกไป

การทำสมาธินี้ที่เราพอจะรู้กันดี เข้าใจง่ายและให้ผลได้ไม่จำกัดกาลคือ

1. อานาปานนสติ รู้ลมหายใจเข้า-ออก สั้น-ยาวก็รู้ ตามรู้ลมหายใจเข้าออกไปหยั่งนั้นไม่ส่งจิตออกนอก หากเมื่อส่งจิตออกนอกไปตรึกนึกคิดเรื่องราวใดๆก็ให้รู้ว่ากำลังคิด คิดกุศล หรือ อกุศล  (เพราะไม่ว่าจะคิดเรื่องใดๆสิ่งใดๆมันก็เป็นสมาธิหมดขึ้นอยู่แต่ว่ามันเป็นกุศลดีงามและมีกำลังมากพอที่ทำให้จิตตั้งมั่นและเอื้อแก่สติไหมเท่านั้น หากจิตที่วิตกตรึกนึกนั้นเป็นไปในกุศลจิตใจเราย่อมไม่ถูก กาม ราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม ย่อมสงบรำงับจากกิเลสทั้งปวง หากจิตที่วิตกตรึกนึกนั้นเป็นไปในอกุศลจิตใจเราย่อมถูกบดบังด้วย กาม ราคะ โทสะ โมหะ กลุ้มรุม ทำให้ลุ่มหลงอยู่ ไม่รู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบันขณะ ไม่มีความระลึกรู้เท่าทันสภาพจิตตน แต่หากเป็นผู้ที่อยรมในสัมปชัญญะมาดีแล้วจะมีความรู้กายรู้ใจรู้ปัจจุบันขณะของตนที่กำลังดำเนินไปอยู่แล้วดึงกลับมาเข้าสมาธิอันเป็นกุศลได้)
หากกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ด้วยพุทธานุสสติ คือ พุทโธ ให้รู้ว่าพุทธโธนี่คือ ชื่อพระพุทธเจ้า พุทโธ คือ พระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณ เราจักระลึกถึงพระพุทธเจ้าทุกลมหายใจเข้าออก ก็ให้กำหนดระลึกรู้ลมหายใจไปเรื่อยๆไม่ต้องหวังไม่ต้องไปคิดไม่ต้องไปรู้สิ่งไรๆมาก ให้รู้ลมหายใจเข้าระลึกบริกรรมว่า พุทธ หายใจออกระลึกบริกรรมว่า โธ ไปเรื่อยๆจนกว่า พุทโธ จะกลายเป็นลมหายใจเข้า-ออก

2. กสิน คือ การเพ่ง โดยเพ่งในรูปที่มีลักษณะสีและแสงตามที่มีบัญญัติไว้แทนรูปธาตุใดๆตามใน กสิน ๑๐ ให้พิจารณาเพ่งเพื่อให้เห็นโทษในกามคุณ ๕ เท่านั้น เพ่งด้วยจิตที่ปารถนาเพื่อจะเข้าถึงความจริงตามสภาพจริง โดยไม่ใช่ใครปารถนาเอา อภิญญา วิธีการเพ่งให้เพ่งตามที่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของท่านที่ท่านสอนมา อย่างสายพระราชพรหมญาณท่านสอนให้เพ่งรูปพระพุทธเจ้า แล้วดึงเอารูปพระพุทธเจ้านั้นมาเป็นกสินนิมิตนี่ก็เรียกกสินโดยพุทธานุสสติ

3. อุปสมานุสสติ คือ ระลึกถึงพระนิพานเป็นอารมณ์ ให้ดึงเอาคุณสมบัติของพระนิพพานคือ ความว่างจากกิเลส หมดสิ้นจากกิเลส นั่นคือ สภาพจิตที่เป็นอุเบกขา เช่น อุเบกขาในองค์ฌาณ ระลึกเอาสภาพนั้นเป็นอารมณ์ หากยังไม่ชินหรือจิตชินกับอานาปานสติมาก ก็สามารถระลึกเข้าประกอบกับลมหายใจได้เช่น หายใจเข้าระลึกบริกรรมว่า ว่าง หายใจออกระลึกบริกรรมว่า หนอ เป็นต้น

4. เมื่อเราส่งจิตออกนอกระส่ำระส่ายไม่เป็นสมาธิมีทางแก่ดังนี้
    4.1 ตามดุมัน โดยพึงระลึกรู้ว่าจิตส่งออกนอก ดึงสติขึ้นแลดูในสภาพที่มันตรึกนึกคิดนั้นว่ามันเป็นไปอย่างไร คือเพียงแค่ตามดูเท่านั้น การตามดูนี้คนบางกลุ่มที่ปฏิบัติหากเขาไม่สามารถดึงสัมปชัญญ+สติขึ้นมาให้มีสภาพแค่แลดูแนบไปกับความปรุงแต่งนั้นได้ เขาจะเห็นว่าการตามดูนั้นเป็นแค่เรื่องพื้นๆ และ เมื่อเขาเหล่านั้นรู้สภาพธรรมใดๆความปรุงแต่งนั้นก็จะดับไปทันที ทำให้ไม่เห็นถึงเหตุปัจจัยของสภาวะธรรมนั้นๆ ซึ่งที่จริงแล้วการตามดูนี้เป็นการดึงเอาสติ+สัมปชัญญะขึ้นมา ระลึกรู้และรู้ตัวทั่วพร้อมขึ้นแลดูความปรุงแต่งแห่งสังขารแนบดูตามความปรุงแต่งนั้นไปด้วยกำลังที่พดอเหมาะ ทำให้เราเห็นทั้งความปรุงแต่งและเกิดปัญญาญาณที่รู้ว่า จิตกับสังขารมันแยกกันอย่างไรมันทำหน้าที่ต่างกันยังไง คำว่าเกิดดับทีละขณะเป็นไฉน จะเข้าไปรู้ในตรงนี้ด้วยความเห้นตามจริงอันตัดจากความนึกคิดที่เรียกว่า ยถาภูญาณทัสสะ เช่น
- ขณะที่รับรู้อารมณ์ใดๆทาง สฬายยตนะ เมื่อแรกที่รู็มันจะยังเป็นเพียงสภาพที่ยังไม่มีบัญญัติใดๆทั้งสิ้น
- ขณะที่สังขารปรุงแต่งเรื่องราวใดๆ ขณะแรกนั้นจิตมันยังไม่เขาไปรู้เรื่องราวที่คิดนั้น
- เมื่อความที่ปรุงแต่งเรื่องราวดับไปขณะหนึ่ง ความที่จิตเข้าไปรู้เรื่องราวที่ปรุงแต่งนั้นก็เกิดขึ้น ต่อมาก็เกิดบัญญัติตามมา
- เมื่อจิตรู้บัญญัติ ความหวนระลึกถึงความจำได้จำไว้ในสิ่งที่ตรึกนึกอยู่นั้นก็เกิดขึ้น
- เมื่อสัญญาเกิดแจ้งขึ้นแก่จิต ในขณะนั้นจิตน้อมไปหาความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดีทางใดๆที่เกิดขึ้นแต่ กาม ราคะ โทสะ โมหะ ก็เกิดขึ้น แล้วก็ปรุงแต่งเรื่องราว
- ในขณะที่ปรุงแต่งเรื่องราวโดยมีจิตเข้าไปร่วมเสพย์อยู่นี้ อาการความรู้สึกใน กาม ราคะ โมสะ โมหะ ก็เกิดขึ้น
- อันนี้ก็ทำให้เห็นถึงธรรมารมณ์แล้ว จนเมื่อจิตสงบตั้งมั่นดีพอจะเห็นถึงกองขันธ์ ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แยกเป็นอย่างๆไป
    4.2 ไปเอาฌาณกับลมหายใจและพระพุทธเจ้า ให้จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ โดยพึงระลึกรู้ว่าจะตามไปเอาสามาธิกับลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ค้นหาฌาณสมาธิตามลมหายใจนั้นไป หรือ หากบริกรรมพุทธโธก็ให้พึงระลึกว่าจะไปเอาฌาณกับพระพุทธเจ้าแล้วดึงจิตจดจ่อตามคำบริกรรมพุทธโธพร้อมน้อมจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าตามไป
    4.3 ตั้งจิตระลึกถึงความว่าง โดยไม่ต้องไปจับอารมณ์ไรๆทั้งสิ้นให้พึงระลึกถึงความว่างอันปราศจาก กาม ราคะ โทสะ โมหะ หรือ พึงระลึกถึงความว่างอันหาประมาณไม่ได้ตามดูความว่างนั้นไป
    4.4 เพ่งที่จุดสัมผัสของลม หากเป็นที่จมูกดูเมื่อมีลมผ่านเข้าผัสสะกับปลายจมูกหรือรูจมูก  หากเป็นที่อกให้พึงระลึกรู้ตามเมื่อกระบังลมเคลื่อนตัวขึ้น-ลง หากเป็นที่ท้องก็ให้ระลึกรู้ตามท้องที่ยุบ-พอง หรือ จะตามดูลมเคลื่อนตัวตั้งแต่ผ่านเข้าจมูกเคลื่อนตัวไปที่หน้าอกลงไปท้อง เมื่อหายใจออกก็ระลึกตามดูไล่ตั้งแต่ท้องเคลื่อนตัวผ่านหน้าออกออกมาจมูก
    4.5 เพ่งจุดแสง
   ก. พึงระลึกเวลาเราหลับตามันจะมืดมิดแต่จะมีจุดแสงเล็กๆกระจัดกระจายไปทั่ว ให้พึงเพ่งแสดงเล็กๆนั้นด้วยตรึกนึกว่านั่นคือจิตของเราที่กระจักดกระจายไม่รวมตัว จนเมื่อตั้งเพ่งมองในความมือนั้นโดยตรงหน้ากึ่งกลางระหว่างคิ้วดูแสงที่เล็กๆนั้นผุดขึ้นดับไปหลายๆจุดมันก็เหมือนจิตและเจตสิกนั้นแหละที่ทำให้มันกระจัดกระจายพอเมื่อเพ่งไปเมื่อเรามีจิตตั้งมั่น จิตก็จะรวมแสดงนั้นเป้นจุดเดียวเป็นวงใหญ่เท่าลูกแก้วสว่างไสวหรือจะใหญ่มากก็แล้วแต่จิตคนให้พึงดูตามดวงแก้วแห่งแสงสว่างนั้นไป จนสามารถบังคับมันเล็กใหญ่ได้แต่ไม่เข้าไปยึดมั่นในแสงนั้นเพียงเอาแสงนั้นเป็นฐาน เหมือนพระพุทธเจ้าตรัสว่าจิตเดิมแท้นี้ ปภัสสร คือ สว่างไสว จิตก็จะดำเนินไปหาสัมมาสมาธิเอง
   ข. พึงระลึกเราถึงดวงแก้วที่ผ่องใสสว่างสงบเย็ม เปรียบดั่งใจเรานี้ที่มีความว่าง แต่เพราะอาศัยกิเลสจรมาจึงทำให้เศร้าหมองก็พึงระลึกถึงสภาพที่ดวงแก้วนั้นมือหมองมัวเพราะปกคลุมด้วยกิเลส ก็ตั้งมโนภาพปรุงแต่งไปถึงว่าเราค่อยๆขัดถูขัดเขาเอากิเลสออกดวงแก้วนั้นก็ผ่องใสสงบเน็นดังนี้

ให้เพียรเจริญปฏิบัติแนวทาง กรรมฐาน ชั้นนวกะ บทที่ ๑-๕ เป็นประจำ นี่คือพื้นฐานของการปฏิบัติกรรมฐานเท่านั้น เมื่อทำเป็นประจำผลอานิสงส์ที่ได้รับอย่างต่ำย่อมเข้าถึง การสัมรวมอินทรีย์ หรือ อินทรีย์สังวร อันเป็นทางเบื้องต้นแห่งการเข้าถึง โพงฌงค์ ๗ ได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2014, 07:26:54 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 08:59:13 am »
0

หากท่านผู้แวะเยี่ยมชมกระทู้ทุกท่านเห็นว่าข้อธรรมนี้ๆเป็นประโยชน์ ก็รบกวนอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แด่

 "คุณพ่อกิมคุณ เบญจศรีวัฒนา" บิดาผู้ให้กำเนิดผมด้วยนะครับ



และ รบกวนรอแวะชม  "แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนักธรรมตรี"  ด้วยนะครับ
ผมเชื่อว่าแนวกรรมฐานทั้งหมดนี้แม้เป็นเพียงขั้นพื้นฐานแห่งการปฏิบัติ แต่จะสามารถนำท่านผู้ปฏิบัติไปสู่ทางแห่ง กุศล สมาธิ และ ปัญญา ได้ไม่มากก็น้อยแต่ไม่ใช่ไม่ได้เลยอย่างแน่นอนครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้เริ่มปฏิบัติ หรือ ผู้ที่ปฏิบัติในขั้นกลางย่อมได้รับประโยชน์จากธรรมอันงามของพระพุทธเจ้าแน่นอนครับ

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 01, 2014, 07:50:20 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 10:59:44 am »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2014, 09:37:30 pm »
0
อนุโมทนา สาธุ ครับ เนื้อหา ใช้ได้ ในการภาวนา สำหรับ มือใหม่ มือเก่า ผม อ่านแล้ว ประทับใจในความอุตสาหะ ที่มากล่าวธรรม เป็นเพื่อนกัน ในสายมรรค นี้

  :25:
บันทึกการเข้า

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2014, 08:36:51 am »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: แนวกรรมฐาน ของผู้ศึกษาธรรม ชั้นนวกะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2014, 09:34:24 am »
0
 
st11 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ