ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการเจริญเมตตาจิตในการสวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั้งหลาย  (อ่าน 6542 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

วิธีการเจริญเมตตาจิตในขณะที่สวดมนต์แผ่เมตตา

ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการเจริญเมตตาจิตในขณะที่สวดมนต์แผ่เมตตา ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


- เมื่อหลายวันก่อนหลังผมทิ้งกัมมัฏฐานเพื่อแก้ความฟุ้งซ่าน แก้ความหลงในตน แก้ความหลงกับสิ่งที่รู้เห็น เพื่อให้ใจสงบลงแล้วกลับมาเจริญปฏิบัติใหม่ ผมมีความปรุงแต่งฟุ้งซ่านมากมาย ผมย้อนนึกถึงสมัยก่อนตอนปฏิบัติธรรมใหม่ๆที่ดำเนินเข้าถึงอารมณ์สมถะ นึกย้อนตอนครั้งแรกที่เห็นตถาคตเสด็จมาหา (ผมระลึกพิจารณาถึงการเห็นพระตถาคตในสมาธินี้เสมอว่า เป็นความปรุงแต่งจิตจนเกิดมโนภาพขึ้นในใจไม่ใช่ความจริงแต่อย่างใด แต่ผมนำมโนภาพที่เห็นจากสมาธิมาพิจารณาปฏิบัติเพื่อรู้จิตตน) ในขณะนั้นมีมารตนหนึ่งเป็นเพศหญิงกำลังพยายามทำร้ายผม และ พยายามจะฆ่าผมอยู่ (ผมพิจารณาเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นก็คือ กิเลสตัณหาของผมเอง) พระองค์ทรงพาเจริญเมตตาจิตเพื่อสยบมาร ในขณะนั้นผมไม่รู้ว่าเมตตาจิตเป็นอย่างไร จึงได้แต่สวดแค่บทสวดมนต์แผ่เมตตาเพราะความกลัว เวลาสวดมารก็แค่คลายมือที่บีบคอผม พอหยุดสวดมารก็บีบคอทำร้ายผมใหม่ พระตถาคตก็บอกให้เข้าถึงสภาพเมตตาจิตอันหาประมาณไม่ได้ ผมก็พึงนิ่งตัดจิตพลั่นกลัวนั้นออกแล้วเข้าสู่สภาวะเมตตาจิตแล้วแผ่ให้มารด้วยจิตที่ปารถนาดีอยากให้มารได้รับสุขพ้นจากทุกข์โดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทนกลับคืน ด้วยใจที่พึงตรึกนึกคิดว่า ตอนนี้มารคงกำลังอัดอั้นคับแค้นกายใจอยู่ และ เป็นผู้ที่ถูกความทุกข์ครอบงำอยู่ จึงได้กระทำเช่นนี้กับผม แล้วมารตนนั้นก็ปล่อยมือออกจากคอผม ยิ้มให้ผม แล้วก็เลือนหายไป (ที่กล่าวเรื่องเห็นมาร เรื่องเห็นพระคถาคตเจ้า และ การเข้าสู่เมตตาจิตนี้ เพื่อให้มองเห็นว่ามารที่เป็น กิเลส-ตัณหา ความปรุงแต่ง ความตรึกนึกคิดฟุ้งซ่านไปต่างๆนาๆ ก็ดับไปด้วยเมตตาจิตที่แท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรมีในใจเราทุกคน ซึ่งพระตถาคตก็ได้ตรัสสอนไว้ดีแล้ว) เมื่อผมระลึกนึกย้อนเห็นได้เช่นนั้นแล้ว ผมก็ทำสมาธิเจริญเข้าสู่เมตตาจิต ยังความเป็นกุศลให้เกิด เพียงเวลาชั่วแว๊บครู่หนึ่งผมก็เข้าสมาธิพร้อมกับมีจิตนิ่งได้เร็วมาก ยังความกุศลแห่งเมตตาจิตได้ซักพัก ก็ได้เห็นแนวทางการแผ่กุศลเมตตาได้เป็นแนวทางดังนี้ว่า

- โดยปกติทั่วไป คนที่ไม่ศึกษาในพระธรรม หรือ เพิ่งเริ่มต้นศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนานี้ หากยังวางจิตเข้าถึง เมตตาจิต กรุณาจิต ทานจิต มุทิตาจิตไม่ได้ มักจะเข้าใจแค่ว่าเวลาแผ่เมตตาให้คนอื่นเราก็สวดๆบทแผ่เมตตานั้นๆแล้วระลึกถึงบุคคลที่จะให้ ด้วยสภาพจิตที่อยากให้เขารักใคร่ตนกลับคืนบ้าง อยากให้เขาเลิกทำร้ายเบียดเบียนเราบ้าง โดยไม่ได้มุ่งเน้นในสภาพจิตที่เป็นเมตตาจริงๆที่จะส่งผลให้การสวดมนต์แผ่เมตตานั้นสำเร็จผลได้จริงๆ
- ผมเจอคนโดยมากมักกล่าวว่า เจอคนที่ชอบเบียดเบียนตนเองบ้าง ตนเองไม่พอใจเขาบ้าง เกลียดเขาบ้าง สวดบทแผ่เมตตาอยู่ทุกวันไม่เห็นเป็นผลเลย ซึ่งนั่นก็เพราะที่กระทำไปนั้นเพราะมุ่งเน้นผลตอบกลับซึ่งสภาพจิตเช่นนี้มันเต็มไปด้วยความโลภจนก่อเป็นตัณหาความทะยานอยากที่จะให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ จนจิตที่เป็นเมตตาจริงๆของตนนั้นถูกบดบังด้วยความอยากที่เป็นความโลภและตัณหาเข้ามาทดแทนจิตที่เป็นเมตตา ดังนั้นเมื่อสวดบทแผ่เมตตาแม้จะพันครั้งก็เหมือนท่องอ่านบทกลอนเล่นๆเพื่อสนองตัณหาตนไม่อาจเข้าถึงประโยชน์และคุณค่าที่แท้จริงของบทสวดนั้นได้


การปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเมตตาจิตเพื่อการสวดมนต์แผ่เมตตาจิต

** เริ่มต้นให้แผ่เมตตาให้ตนเองก่อนนะครับ โดยเจริญจิตตั้งมั่นระลึกให้ตนเองนั้นมีสภาพกาย-วาจา-ใจ ดังนี้คือ
         - เราจักเป็นผู้มีปกติจิตเป็นกุศล คิด พูด ทำแต่สิ่งที่ดีงามไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น มีปกติจิตผ่องใส เบิกบาน เป็นสุข
         - เราจักเป็นผู้มีความสงบรำงับปราศจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท อยู่เป็นปกติจิต
         - เราจักเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร
         - เราจักเป็นผู้ไม่เบียดเบียนพยาบาททำร้ายใคร
         - เราจักเป็นผู้ไม่มีความขุ่นเคือง-ขัดข้อง-มัวหมองใจ-เศร้าหมองใจ
         - เราจักเป็นผู้ไม่มีความคับแค้น-อึดอัด-อัดอั้น-เดือดร้อน-ร้อนรนใจ
(ให้พึงหวนรำลึกถึงช่วงเวลาที่เรานั้นผูกเวรจองเวรพยายาทใคร เรานั้นจะคอยแต่คิดจะหาเรื่องทำร้ายเขา ทะยานอยากต้องการจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้เขา ต้องให้ให้เขาประสบพบเจอสิ่งร้ายๆเรื่องร้ายๆอย่างนี้ๆ พอใจยินดีที่จะทำให้เข้าเจ็บปวดทุกข์ทรมานกาย-ใจอย่างนี้ ขณะที่เรา คิด พูด ทำ อย่างนั้นเรามีแต่ความร้อนรุ่มใจ ร้อนรนกระวนกระวายใจ คับแค้นกาย-ใจอยู่อย่างนั้นไม่เป็นปกติสุขเลย มันทุกข์ทรมานกายใจมากใช่ไหม เราจะดับทุกข์นี้ได้ก็ด้วยการที่เรานั้นไม่เป็นผู้ผูกเวรใคร ไม่พยาบามเบียดเบียนทำร้ายใคร)
         - เราจักเป็นผู้มีความปกติสุขยินดีมีสติอยู่เสมอ มีความสงบ-ผ่องใสทั้งกายและใจ มีจิตตั้งมั่นควรแก่งาน ปราศจากทุกภัยใดๆที่ทำให้หมองมัวใจ-เศร้าหมองใจ-คับแค้นกสยและใจ ปราศจากติดใจใคร่ตามเพลิดเพลินยินดีในอกุศลธรรมใดๆ
         - เราจักเป็นผู้มีความปกติสุขยินดีมีสติอยู่เสมอ มีจิตสงบ-ผ่องใสทั้งหายและใจ เป็นผู้มีความคิดดี-พูดดี-ทำดีเป็นกุศล ไม่คิด-พูด-ทำในสิ่งใดๆที่เป็นการเบียดเบียนทำร้ายใคร
         - เราจักเป็นผู้มีสติอยู่เสมอจิตปารถนาดี-มีความเอื้อเฟื้อ-อนุเคราะห์-รู้จักสละให้-แบ่งปันสิ่งดีๆที่เป็นสุขให้แก่ผู้อื่นด้วยความยินดี มีจิตปกติสุขยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นสุขได้พ้นจากทุกข์ เป็นผู้มีจิตรู้จักอดโทษ-ละโทษ-ปล่อยวางโทษ จนถึงความสงบผ่องใสมีใจวางไว้กลางๆ

** จากนั้นสวดมนต์แผ่เมตตาพร้อมเจริญจิตตั้งมั่นเจริญในอุบายแนวทางของใจที่มอบเมตตาจิตแก่บุคคลแต่ละประเภทดังต่อไปนี้ **


1. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลที่เรา รักใคร่ หรือ เคารพบูชา เช่น บุพการี พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ครูบาอาจารย์ ลุง ป้า น้า อา พี่ น้องภรรยา สามี ลูก หลาน เพื่อนสนิท มิตรสหาย
1.1 การแผ่เมตตาจิตให้กับ พ่อ แม่  ครูบาอาจารย์ ลูก หลาน ญาติ พี่ น้อง เพื่อนทั้งหลายนั้น เราต้องตั้งจิตระลึกถึงพระคุณที่มีเป็นอันมากของผู้ที่มีความอุปการะคุณ เอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน ปนะโยชน์สุขให้แก่เรา(พ่อ- แม่ บุพการี ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย) หรือ ปารถนาให้บุคคลที่อันเป็นที่รักเรานั้นมีความปกติสุข สงบ สบายกาย-ใจ มีความสำเร็จ เจริญก้าวหน้า(ญาติ พี่น้อง ภรรยา สามี บุตร หลาน เพื่อน)
1.2 ตั้งจิตที่ปารถนาให้ท่านทั้งหลายได้พบเจอสิ่งที่ดีงาม ได้ประสบกับความสุข ได้พ้นจากความทุกข์  เป็นผู้ไม่มีทุกข์ เป็นผู้ไม่มีภัยอันตรายใดๆทั้งปวง มีจิตระลึกให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นมีความปิติ สงบสุข ยินดี เปรมปรีย์จิต
1.3 ตั้งจิตในความเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน และ ตั้งจิตแผ่มอบให้ ด้วยใจที่หวังและปารถนาให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์สุขหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายที่มีที่เป็นอยู่นี้ จากบุญใดๆที่เราได้เจริญ ได้กระทำ ได้ปฏิบัติดี ได้ปฏิบัติชอบมา ทั้ง กาย วาจา และ ใจ ได้แผ่ไพศาลไปถึงแก่ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม เป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร เป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในท่านทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติสุขมีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย


2. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลทั่วๆไป เช่น คนที่เราพอจะรู้จักแต่ไม่ได้เกี่ยวพันธ์สัมพันธ์ใดๆเป็นการส่วนตัว หรือ บุคคลที่เราไม่รู้จักมักจี่ ไม่คุ้นเคยด้วยก็ดี
2.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่เขาเหล่านั้น ให้พึงระลึกรู้ในจิตของเราดังนี้ก่อนว่า ให้มองเขาเหล่านั้นเหมือนเป็น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ญาติ พี่ น้อง ลูก หลาน เพื่อนของเรา
2.2 ตั้งความปารถนาให้เขามีความสุขกาย สบายใจ มีความปิติสุข ยินดี ปราศจากทุกข์ ทั้งกายและใจ
2.3 ตั้งจิตในความเอื้ออนุเคราะห์ แบ่งปัน แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นด้วยการให้ที่เป็น "ทาน" ที่ให้ด้วยใจปารถนาให้เขาได้รับประโยชน์สุขจากการให้นั้นๆของเรา แล้วพึงตั้งมั่นในใจดังนี้ว่า..ขอมอบผลบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ ที่มีคุณเป็นมหาศาลจากการเจริญกัมมัฏฐาน การปฏิบัติที่ดีงามด้วย กาย วาจา ใจ นี้ๆของเรา ให้แก่เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้รับผลบุญกุศลนี้ เพื่อได้ล่วงพ้นจากความทุกข์ ได้ประสบกับความสุขกายสบายใจ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม จงเป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร จงเป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในท่านทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้นจงเป็นผู้มีปกติสุขยินดี มีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย


3. การแผ่เมตตาให้แก่บุคคลผู้ทำให้เราต้องความผิดหวัง เจ็บช้ำ ทุกข์ทน อัดอั้น คับแค้น ทรมานไปทั้งกายและใจ ทำให้เราต้องโศรกเศร้า เสียใจ หรือ เมื่อเราอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความยินดีเลย เกลียด กลัว เช่น ถูกแฟนทิ้ง ถูกเขาหลอก ถูกเขาด่า ถูกเขานินทา ถูกทำร้าย

3.1 กรณีที่ประสบกับความพรัดพราก เช่น ผิดหวัง-ไม่สมหวังในรัก เลิกรา-ร้างลากับคนที่รัก ถูกแฟนทิ้ง ซึ่งทำให้เราได้รับความผิดหวัง ช้ำใจ โศรกเศร้าเสียใจ เป็นต้น
3.1.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่บุคคลที่ทำให้เราต้องประสบพบเจอกับสภาพความรู้สึกเช่นนี้ เราต้องพึงพิจารณาทบทวนให้เห็นถึง ข้อดี-ข้อเสีย และ ผลได้-ผลเสีย ความรู้สึก-นึกคิด ต่างๆ จากการที่เรานั้นได้ประสบพบเจอในความไม่สมหวังปารถนา และ ความพรัดพรากที่เป็นอยู่ในตอนนี้ แล้วเราก็จะมองเห็นว่า
- หากเรามีจิตที่คิด อาลัย อาวรณ์ เสียดาย ร้องไห้ เสียใจ ต้องการอยากจะได้กลับคืน หรือ หวนเวลากลับคืน หรือ ขอให้มันย้อนกลับจะขอแก้ไขส่วนใดๆที่ขาดตกไปด้วยความใคร่ครวญ สภาพความรู้สึกของจิตใจเรานั้นจะ เศร้าหมอง ขุ่นมัว อัดอั้น คับแค้น กรีด หวีด หวิวทั้งกายและใจ โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน จิตใจสั่นเครือ จิตใจอ่อนล้า จิตใจไร้แรงกำลัง ลมหายใจระรัว แผ่วเบาบ้าง ถี่ติดขัดบ้าง ไม่เป็นปกติสุข
- หากเรามีจิตที่คิด ผูกเวร จองเวร พยาบาท อาฆาตแค้น สภาพความรู้สึกของจิตใจเรานั้นจะ ขุ่นข้อง ขัดเคือง มัวหมอง อัดอั้น คับแค้นกายและใจ  ถี่ติดขัดบ้าง ไม่เป็นปกติสุข มีแต่ทุกข์ เพราะจิตใจและความตรึกนึกคิดของเรานั้นจะคอยคิดเคียดแค้น อยากแก้แค้นจะเอาคืน จนร้อนรุ่มไปทั้งกายและใจ จิตใจเดือดดานอยู่ไม่เป็นปกติสุข ฟุ้งซ่าน ทุรนทุราย เพราะคอยคิดที่จะหาทาง อาฆาต ทำร้าย เบียดเบียนบุคคลนั้นให้มันเป็นไปตามความทะยานอยากตน
- สิ่งทั้งหลายที่ผมกล่าวมานี้เกิดขึ้นและเป็นจริงใช่ไหมครับ เมื่อเกิดความ อาลัย-อาวรณ์  และ ผูกจองเวร-พยาบาท
- ดังนั้นเราต้องวางใจออกจากทั้ง 2 สิ่งนี้ให้ได้ เพื่อให้สภาพร้ายๆนี้ลดลงและหดหายไป โดยเรียนรู้และยอมรับในสัจธรรมที่ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะสมหวังปารถนาใคร่ได้ดั่งใจเราหมดทุกอย่าง คนเรามีความพรัดพรากเป็นที่สุดไม่ด้วยเหตุใดก็เหตุหนึ่ง ซึ่งต่อให้ทำยังไงทุกสิ่งทุกอย่างก็ไม่อาจหวนย้อนวันเวลากลับคืนไปได้ ทำได้ในตอนนี้คือการอยู่กับตนเอง รู้ตนเอง ทำสภาพจิตให้สงบ ผ่องใส จนเป็นปกติสุข
- พึงเจริญจิตหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีงามที่ได้ทำให้เรานั้นเป็นสุขกายและใจ พึงหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีงามใดๆที่เขาทำให้เรานั้นเป็นสุขทั้งกาย-ใจ พึงหวนรำลึกถึงสิ่งที่ดีที่เป็นสุขเป็นกุศลใดๆที่เรานั้นเคยทำร่วมกันมา ให้พึงระลึกถึงความดีงามหรือกุศลกรรมใดๆที่เขาเคยมีให้แก่เรา พึงระลึกถึงกุศลกรรมนั้นมาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต แล้วพึงระลึกถึงแต่ความดีของเขาหรือสิ่งดีๆที่เขาได้ทำให้เราเป็นสุขใจ มันจะทำให้จิตใจของเราแจ่มใส เบิกบาน มีความอิ่มเอม สงบและเป็นสุข แล้วความร้อนรุ่มใจใดๆจะลดน้อยลง แล้วจิตเราก็จะแลดูรู้เห็นว่าสิ่งนี้ๆเราควรละมันไปเสีย สิ่งนี้เราๆควรปล่อยมันไปเสีย สิ่งนี้ๆเราควรอดใจไว้เสีย สิ่งนี้ๆเราควรอดโทษไว้เสีย สิ่งนี้ๆเราควรวางมันไปเสีย มีจิตรู้ว่าเราควรอดใจละมันไว้ไม่ควรติดข้องใจใดๆในสิ่งนั้นเพราะมันหาประโยชน์ใดๆไม่ได้นอกจากทุกข์ แล้วจะเข้าถึงความดับไปแห่งความโกรธอันร้อนรุ่มใจนั้นๆ
- เมื่อจิตใจเราผ่อนคลายลง ผ่องใสขึ้น สงบขึ้น และ มีใจที่อดไว้ซึ่งโทษนั้นๆแก่เขา ให้พึงตรึกนึกว่า เขานั้นคงได้รับความทุกข์ทน ทรมาน คับแค้นใจ อัดอั้นใจ ฝืดเคือง ขัดข้องใจ ไม่มีความสงบสุขใดๆแก่ใจเขาเลย ซึ่งความสุขใดๆที่ขาดหายตกหล่นไปจากใจเขานั้นเราไม่สามารถให้ได้
- เหมือนดั่งเวลามีคนที่เราไม่ได้รัก ไม่ชอบใจ ไม่พอใจยินดี รำคาญ หรือ บุคคลใดที่คอยแต่ทำร้ายเราทั้งกายและใจเข้ามาอยู่เคียงข้างชิดใกล้กับเรา เราย่อมรู้สึกอึดอัดใจ ทุกข์ทน ทรมาน คับแค้นใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ อยากจะหนีหรือผลักไสให้พ้นไปไกลๆจากเราใช่มั้ยครับ ลองเอาใจเขามายกใส่ใจเราในความรู้สึกเช่นนี้ๆก็คงไม่ต่างกัน
- ให้คิดเสียว่าหากเขาอยู่กับเรามันอาจจะไม่ดี หรือ ไม่เพียงพอที่จะทำให้เขามีความสุขทั้งกายและใจ หากแม้เขาอยู่กับเราต่อไปก็รังแต่ทำให้เขาเกิดความคับแค้น อัดอั้น ลำบาก ทุกข์กายและใจ สิ่งที่พอจะทำให้ได้ในตอนนี้คือการมีจิต เมตตา กรุณา ทาน และ มุทิตา ให้แก่เขาได้ ภายภาคหน้าเมื่อพานพบเจอกันจะได้ไม่ต้องอยู่กันแบบคับแค้นใจอีก
- เหมือนพ่อ-แม่ที่อยากให้ลูกตั้งใจเรียน ไม่เกเร ขยันทำงาน กตัญญู รู้คุณ เป็นเด็กดีอยู่ในโอวาท ต้องการอยากให้ลูกนั้นเรียนตามที่ตนเองพอใจต้องการเป็นต้น แต่ทว่าก็ไม่สามารถบังคับให้ลูกนั้นกระทำ หรือ เป็นไปดั่งใจที่ต้องการได้ ลูกก็ย่อมทะยานออกไปหาสิ่งที่ลูกนั้นปารถนาใคร่ได้ พอใจยินดี โดยที่พ่อ-แม่ห้ามไม่ได้ ถึงแม้เสียใจไปลูกก็คงไม่เข้าใจ เห็นใจ หรือ มองย้อนกลับมาดู และ ทำตามที่พ่อแม่ขอร้องต้องการได้ ที่พ่อ-แม่ทำได้นั้นก็เพียงแค่คอยดู และ ตักเตือนให้แง่คิดแนะนำ ประครองให้ลูกไม่พลาดพลั้งอยู่ห่างๆ ด้วยหวังให้ลูกนั้นได้รับสุขจากการกระทำต่างๆ
3.1.2 ให้ตั้งเจริญอยู่ในจิตที่ปารถนาให้เขานั้นได้พ้นจากทุกข์ประสบสุข  และ ได้รับความสุขยินดีกับเส้นทาง หรือ สิ่งที่เขาเลือกแล้วนั้น เหมือนที่พ่อ-แม่ หรือ ผู้มีความอุปการะคุณนั้นมีให้แก่เรา
3.1.3 ให้ตั้งเจริญอยู่ในจิตที่มีความสงสารด้วยความปารถนาให้เขาเป็นสุขมีจิตเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ แบ่งปัน จากบุญใดๆที่เราได้เจริญ ได้กระทำ ได้ปฏิบัติดี ได้ปฏิบัติชอบมา ทั้ง กาย วาจา และ ใจ ได้แผ่ไพศาลถึงแก่เขาให้เขาได้รับสุขจากสิ่งที่เราได้ให้มอบเขานี้ ให้เขาได้พานพบได้อยู่กับสิ่งที่เขาต้องการ
3.1.4 ปล่อยให้เขาไปเป็น "อภัยทาน" อันประเสริฐแก่เขา เว้นเสียซึ่งโทษ อดโทษ และ ความเบียดเบียน พยาบาทแก่เขา เพื่อให้เขาได้มีอิสระสุขตามที่ต้องการ การที่เราปล่อยให้เขาจากไปนั้นมันอาจจะเป็นหนทางที่เป็นประโยชน์สุขให้กับเขา เขาอาจจะมีความสุข สบายยินดีมากกว่าที่อยู่กับเรา ความคับแค้น อัดอั้น เสียใจนั้นๆจะได้ไม่เกิดกับเขาอีกต่อไป เมื่อเขาได้เลือกที่จะไปแล้วก็ขอให้เขาอย่าพบเจอกับความโศรกเศร้า เสียใจ หรือ คับแค้นกายและใจอีกเลย ขอให้เขาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีงาม เป็นผู้ไม่ผูกจองเวรใคร เป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใครและปราศจากผู้ที่จะมาผูกเวรพยาบาทในเขา ขอให้เขาเป็นผู้มีปกติสุขยินดี มีจิตใจผ่องใสไม่เศร้ามัวใจ ไม่หมองมัวใจ ไม่ขุ่นมัวขัดเคืองใจ ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย

3.2 กรณีที่ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจยินดี เช่น มีคนไม่ชอบใจเรา ไม่พอใจยินดีเรา หรือ เกลียดเรา แล้วคอยที่จะกลั่นแกล้ง บีบคั้น ด่าทอ ล่วงเกิน ใส่ร้าย-ทำร้าย ทำให้เราเกิดความคับแค้นใจ เสียใจ ทุกข์ ทรมานไปทั้งกายและใจ ทำให้เราต้องโศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน หรือ เมื่อเราอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข ไม่มีความยินดีเลย
3.2.1 เวลาที่เราจะแผ่เมตตาจิตให้แก่บุคคลที่ทำให้เราประสบพบเจอกับสภาพความรู้สึกเช่นนี้ ให้เราเจริญพิจารณามองว่า เขาเหล่านั้นเป็นบุคคลผู้น่าสงสาร เป็นบุคคลไม่มีปกติสุข มีความขุ่นมัวใจ ขัดข้องติดเคืองในใจอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถคงอยู่แบบปกติสุขได้ จึงต้องคอย คิด-พูด-ทำ ที่เป็นความฟุ้งซ่าน พร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ  ใส่ร้าย ทำร้าย เบียดเบียนผู้อื่นอยู่เสมอๆ เพื่อให้ตนเองได้พ้นจากความทุกข์ที่ อัดอั้น ฝืดเคือง ขัดข้อง ขุ่นมัว คับแค้น ที่มีมากจนฝังลึกอยู่ในใจเขานั้น
3.2.2 ลองนึกย้อนกลับดูว่าเวลาที่เรานั้นเกลียดใคร ไม่พอใจใคร แล้วใจเรามีความผูกจองเวรจองกรรม อาฆาต พยาบาท เบียดเบียนเขา ต้องการจะกลั่นแกล้ง บีบคั้น อยากทำร้ายเขา เพราะเราไม่ชอบใจ ไม่พอใจยินดีในตัวเขา สภาพจิตใจเราในขณะนั้นจะขุ่นเคืองใจ ขัดข้องใจ หมองมัวใจ มุ่งทะยานคอยคิดหาหนทางกลั่นแกล้ง บีบคั้น ทำร้ายเขาเสมอ มีความเดือดร้อนใจกลัวเขาได้ดีมีสุข ไม่มีความเย็นใจ มีความขุ่นเคืองหมองมัวใจอยู่ตลอดเวลา  ไม่มีความปกติสุขของจิตแบบคนทั่วไปที่อยู่โดยไม่คิดผูกจองเวร หรือ กระทำเพื่อเบียดเบียน อาฆาต พยาบาท ทำร้ายใคร
3.2.3 ให้ตั้งจิตด้วยใจปารถนาให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นได้มีชีวิตเป็นปกติสุข มีจิตใจสงบ-ผ่องใส
3.2.4 ตั้งจิตเจริญอยู๋ในความเอื้อเฟื้อ อนุเคราะห์ อุปการระ แบ่งปัน มอบให้เขาทั้งหลายเหล่านั้นมีจิตที่สุขสว่าง สดใส ได้หลุดพ้นจากความอัดอั้น-คับแค้น-ขัดเคือง-ขุ่นข้อง-มัวหมอง ร้อนรุ่ม-ร้อนรนทั้งกายและใจ ให้ความมีใจผูกจองเวร อาฆาต พยาบาท เบียดเบียดทำร้ายใครๆทั้งหลายเหล่านี้ของเขาได้สูญสลายหายไปจากจิตใจของเขา เพื่อเขาทั้งหลายเหล่านั้นได้หลุดพ้นจากทุกข์ที่เป็นอยู่ มีจิตใจที่แจ่มใสเป็นที่รักใคร่แก่ผู้อื่น ปราศจากทุกข์ภัย-ขอให้โรคภัยทั้งหลายอย่าได้มากล้ำกลาย และได้หลุดพ้นจากทุกข์ทางกายและใจทั้งหลาย


- จะเห็นได้ว่าแนวทางที่ผมกล่าวมาทั้งหมด จะเว้นซึ่งการสนองความปารถนาแก่ตน เว้นซึ่งจิตที่คิดหวังผลให้สิ่งนั้นๆย้อนหรือส่งผลคืนแก่ตนด้วยความติดใจใคร่ได้เพลิดเพลินยินดีของเรา แต่เป็นความปารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นด้วยใจ ด้วยเห็นว่าเขาทุกข์ร้อนอยู่ หรือ ปารถนาให้เขาเป็นสุขด้วยสภาพจิตที่ปารถนาดี ไร้ความขุ่นมัวใจ มีแต่ความสงบผ่องใสซึ่งเป็นปกติสุขในการปารถนาที่จะให้
- ลองเจริญและปฏิบัติดูครับอาจจะเป็นแนวทางเบื้องต้นที่จะช่วยให้เราแยกออกระหว่างความเป็น กุศลจิต และ อกุศลจิต พร้อมกับแยก โลภะ กับ เมตตา ออกจากกันได้ และ "ที่สำคัญที่สุดคือ ทำให้เราสามารถเข้าสมาธิจิตได้ง่าย มีความสงบ ผ่องใส เบาบางไม่ขุ่นมัว"
- เรื่องนิมิต-มโนภาพที่กล่าวมาในตอนต้นนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ผมจะเอายกขึ้นมาเพื่ออวดตน หรือ อวดธรรมที่มีในตน ผมเป็นเพียงผู้ไม่รู้ เป็นแค่เศษส่วนเล็กๆของเศษผงเท่านั้น "ที่บอกว่าผมเห็นนี้ผมเห็นจริง แต่ว่าสิ่งที่ผมเห็นอาจจะไม่จริง" แต่ที่ยกขึ้นมาเพราะอยากในเป็นแนวทางให้ผู้เห็นมโนภาพ หรือ นิมิตทั้งหลายว่าไม่ตวรยึดติดจนเอามาตั้งเป็นอุปาทานให้แก่ตน ครูบาอาจารย์ทั้งหลายท่านจะสอนเราว่าควรใช้ปัญญาพิจารณาในนิมิต-มโนภาพที่จิตเราสร้างขึ้นมาให้เห็น เพราะมันมีทั้งจริงและอุปาทาน ดังนั้นเราจึงควรพิจารณาด้วยปัญญาลงสู่ความจริงที่รู้ว่านั่นเป็นเพียงมโนภาพที่สร้างขึ้นมาตามสภาพของความเป็นธรรมชาติของจิตที่รู้คิด รู้ปรุง รู้สร้างเรื่องราว จนเกิดเป็นความพอใจยินดี และ ต้องการ จนกลายเป็นภาพต่างๆที่เห็น จนถึงแก่รู้ในสภาพปรมัตถ์ในขณะจิตนั้น หากติดอยู่ในนิมิต-มโนภาพใดๆเราก็จะเกิดความหลงตนและจิตฟุ้งซ่านได้ง่ายครับ


ดูวิธีและสภาพจิตในการเจริญปฏิบัติเบื้องต้นใน พรหมวิหาร ๔ เพิ่มเติมตาม Link นี้ครับ
ในห้วข้อที่ ๔. ระลึกรู้ปฏิบัติทำใน พรหมวิหาร ๔ คือ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2013, 01:24:15 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

MICRONE

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 310
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็น บทความที่ผมติดตาม อยู่เช่นเดียวกันครับ
 :c017:
บันทึกการเข้า
อบอุ่นใจด้วยคุณธรรม จุดเล็ก ๆ ที่ไม่ควรมองข้าม

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอขอบพระคุณท่าน MICRONE อย่างสูง

ที่ท่านให้เกียนติอ่านและติดตามกระทู้ครับ หวังอย่างยิ่งว่าอุบายแนวทางนี้จะเป็นประฏยชน์แก่หลายๆท่านครับ

ขอขอบพระคุณท่าน MICRONE และ ทุกๆท่านที่ให้เกียรติอ่านกระทู้ครับ

สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

wiriya

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีเนื้อหา ดีครับ
 :25:
บันทึกการเข้า
รักครอบครัว ห่วงลูกหลาน ต้องช่วยต้าน ภัยยาเสพติด
รักตนเอง หนีสงสาร ต้องภาวนาให้ มาก ๆๆๆๆๆ