ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถาม เรื่อง อานิสงค์ การบำรุงดูแล พระอาพาธ กับ มารดาบิดา บุญต่างกันอย่างไรคะ  (อ่าน 9056 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถาม เรื่อง อานิสงค์ การบำรุงดูแล พระอาพาธ กับ มารดาบิดา บุญต่างกันอย่างไรคะ
เคยถูกนักเรียน ถาม คะ ว่า ระหว่างดูแล พระอาพาธ กับ ดูแลพ่อแม่ที่ป่วยอยู่ ได้บุญต่างกันอย่างไรคะ

  ( ยังตอบไม่ได้ คะ )

  :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ไม่ทราบว่าอยู่ในพระสูตรใด ใครเก่งก็ไปค้นมา เพราะ ท่านnathaponson ไปเฝ้าแม่ป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล  เลยขาดผู้ทําหน้าที่ตรง เรื่อง การดึงพระสูตร.................พระพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า  ดูแลพระป่วย ได้บุญมากกว่า ถวายทานกับพระพุทธเจ้าเอง
         พระพุทธเจ้าท่านเทียบไว้อย่างนี้

        แต่การดูแลพ่อแม่ที่ป่วย หรือไม่ป่วย ก็ต้องเป็นหน้าที่ ที่ลูก จะต้องดูแล เพราะท่านเป็นผู้ให้กําเนิดเรามา ถ้าไม่มีท่าน ก็คงไม่มีเรา  ก็อย่าทิ้งพ่อแม่  ต้องทํา เพราะ พ่อแม่ ก็เป็นพระอรหันต์ในบ้าน
  ของใครยังอยู่ ต้องทํา ควรทําอย่างยิ่ง

                สองประเด็น ระหว่างพระป่วย กับพ่อแม่ป่วย ไม่ขอเปรียบเทียบ ว่าอันไหนดีกว่า
      แต่ขอบอกว่าดีทั้งสองอย่าง

        แต่พ่อแม่คือพระอรหัต์ในบ้าน นั้น เรื่องนี้ ปู่โตเทศน์ไว้ว่าคือบุญใหญ่

          พ่อ-แม่ คือพระอรหันต์ ในบ้าน

           ปู่โตให้ทําในบ้านซะก่อนแล้วค่อยไปทํานอกบ้าน

           ก็ว่ากันไปตามความเป็นจริง
             
              อย่าทิ้งบุญใหญ่
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

nippan55

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำบุญกับ พระอรหันต์ที่อาพาธ ต้องได้บุญมากกว่า พ่อแม่ อยู่แล้วนะครับ

  แต่ถ้าเรียงตามลำัดับ แล้ว บิดา มารดา พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ สงฆ์ น่าจะเป็นอย่างนี้ใช่หรือไม่ครับ

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องพระอาพาธโรคท้องร่วง

    [๑๖๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคท้องร่วง นอนจมกองมูตรกองคูถของตนอยู่
     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคมีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จพระพุทธดำเนินไปตามเสนาสนะ ได้เสด็จเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุรูปนั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุรูปนั้น นอนจมกองมูตรกองคูถของตนอยู่
     ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปใกล้ภิกษุรูปนั้น แล้วตรัสถามว่า เธออาพาธเป็นโรคอะไรภิกษุ?
             ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าอาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. เธอมีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุ?
             ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้า.
             พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?
             ภิ. เพราะข้าพระพุทธเจ้ามิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้นภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลข้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าข้า.


      จึงพระผู้มีพระภาครับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอไปตักน้ำมา เราจักสรงน้ำภิกษุรูปนี้.
       ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธบัญชาว่า เป็นดังนั้น พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว
       ตักน้ำมาถวาย พระผู้มีพระภาคทรงรดน้ำ ท่านพระอานนท์ขัดสี พระผู้มีพระภาคทรงยกศีรษะ ท่านพระอานนท์ยกเท้าแล้ววางบนเตียง



       ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ในวิหารหลังโน้น มีภิกษุอาพาธหรือ ภิกษุทั้งหลาย?
             ภิ. มี พระพุทธเจ้าข้า
             พ. ภิกษุรูปนั้นอาพาธเป็นโรคอะไร ภิกษุทั้งหลาย?
             ภิ. ท่านรูปนั้น อาพาธเป็นโรคท้องร่วง พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. ภิกษุรูปนั้น มีผู้พยาบาลไหมเล่า ภิกษุทั้งหลาย?
             ภิ. ไม่มี พระพุทธเจ้า
             พ. เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาลเธอ?
             ภิ. เพราะท่านรูปนั้นมิได้ทำอุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่พยาบาล
ท่านรูปนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดาไม่มีบิดา ผู้ใดเล่าจะพึงพยาบาลพวกเธอ ถ้าพวกเธอจักไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล

     
   
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงอุปัฏฐากเรา ผู้นั้นพึงพยาบาลภิกษุอาพาธ
     ถ้ามีอุปัชฌายะ อุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีอาจารย์ อาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีสัทธิวิหาริก สัทธิวิหาริกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีอันเตวาสิก อันเตวาสิกพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะพึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย
     ถ้ามีภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ ภิกษุผู้ร่วมอาจารย์พึงพยาบาลจนตลอดชีวิต หรือจนกว่าจะหาย


     ถ้าไม่มีอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรือภิกษุผู้ร่วมอาจารย์
     สงฆ์ต้องพยาบาล ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฏ.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๔๓๕๗ - ๔๓๙๓. หน้าที่ ๑๗๘ - ๑๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=4357&Z=4393&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://board.palungjit.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
๒. โสณนันทชาดก
เรื่องพระราชาไปขอขมาโทษโสณดาบส

    [๑๖๒] มารดาหวังผล คือ บุตร จึงนอบน้อมแก่เทวดา และไต่ถามถึงฤกษ์ ฤดู และปีทั้งหลาย เมื่อมารดานั้นมีระดู ความก้าวลงแห่งสัตว์ผู้เกิดในครรภ์ก็ย่อมมี เพราะสัตว์เกิดในครรภ์นั้นมารดาจึงแพ้ท้อง
 
    เพราะเหตุนั้บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่าเป็นผู้มีใจดี   มารดาบริหารครรภ์อยู่หนึ่งปีหรือหย่อนกว่าปีแล้วจึงคลอด เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่าชนยนตีและชเนตตี ผู้ยังบุตรให้เกิด มารดาย่อมปลอบบุตรผู้ร้องไห้อยู่ให้รื่นเริง ด้วยการให้ดื่มน้ำนมบ้าง ด้วยการขับกล่อมบ้าง ด้วยการอุ้มแนบไว้กับอกบ้าง เหตุนั้น บัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า ปลอบบุตรให้รื่นเริง

     ต่อแต่นั้น มารดาเห็นบุตรผู้ยังเป็นเด็กอ่อน ไม่รู้จักเดียงสา เล่นอยู่ท่ามกลางสายลมและแสงแดดอันกล้าก็เข้ารับขวัญ เพราะเหตุนั้นบัณฑิตจึงเรียกมารดานั้นว่า  โปเสนตี ผู้เลี้ยงดูบุตร มารดาย่อมคุ้มครองทรัพย์แม้ทั้งสองฝ่าย คือ ทรัพย์ของมารดาและทรัพย์ของบิดาเพื่อบุตรนั้น  ด้วยตั้งใจว่า ทรัพย์ทั้งสองฝ่ายพึงเป็นของบุตรแห่งเรามารดายังบุตรให้ศึกษาดังนี้ว่า
     อย่างนี้ซิลูกอย่างโน้นซิลูก ย่อมลำบากเมื่อบุตรกำลังรุ่นหนุ่มคะนอง มารดาย่อมคอยมองดูบุตรผู้หลงเพลิดเพลินในภรรยาผู้อื่น  จนพลบค่ำก็ยังไม่กลับมา ย่อมเดือดร้อนด้วยประการฉะนี้   



    บุตรผู้อันมารดาเลี้ยงดูมาแล้ว ด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดา
     บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในมารดา ย่อมเข้าถึงนรก
     บุตรผู้อันบิดาเลี้ยงมาด้วยความลำบากอย่างนี้ ไม่บำรุงบิดา
     บุตรนั้นชื่อว่าประพฤติผิดในบิดา ย่อมเข้าถึงนรก


     เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงมารดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย
     หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น
     เราได้สดับมาว่า เพราะไม่บำรุงบิดา แม้ทรัพย์ที่เกิดแก่บุตรทั้งหลายผู้ปรารถนาทรัพย์ย่อมฉิบหาย
     หรือบุตรนั้นย่อมเข้าถึงความยากแค้น ความรื่นเริง ความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ



     บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงมารดาความรื่นเริงความบันเทิง และความหัวเราะเล่นหัวกันทุกเมื่อ 
     บัณฑิตผู้รู้แจ้งพึงได้เพราะการบำรุงบิดา สังคหวัตถุ ๕  ประการนี้ คือ
           ทาน การให้ ๑
           ปิยวาจา เจรจาคำน่ารัก ๑ 
           อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์ ๑
           สมานัตตตา ความเป็นผู้มีตนเสมอในธรรมทั้งหลายตามสมควร ในที่นั้นๆ ๑

      ย่อมมีในโลกนี้ เหมือนเพลารถย่อมมีแก่รถที่กำลังแล่นไป ฉะนั้น
      ถ้าว่าสังคหวัตถุเหล่านี้ไม่พึงมีไซร้ มารดาก็จะไม่พึงได้รับความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร หรือบิดาก็จะไม่พึงได้ความนับถือหรือการบูชา เพราะเหตุแห่งบุตร ก็เพราะบัณฑิตทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นสังคหวัตถุนี้



      ฉะนั้น บัณฑิตเหล่านั้นย่อมถึงความเป็นผู้ประเสริฐ และเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์พึงสรรเสริญ
      มารดาและบิดาบัณฑิตเรียกว่าเป็นพรหมของบุตร เป็นบุรพาจารย์ของบุตร 
      เป็นผู้ควรรับของคำนับของบุตร และว่าเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร
      เพราะเหตุนั้นแล  บุตรผู้เป็นบัณฑิต พึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาทั้ง ๒ นั้นด้วย ข้าว น้ำ ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า


      บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุตรนั้น ด้วยการบำรุงในมารดาบิดาในโลกนี้
      ครั้นบุตรนั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์.


      จบ โสณนันทชาดกที่ ๒


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  บรรทัดที่ ๙๔๓ - ๑๑๕๗.  หน้าที่  ๓๘ - ๔๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=28&A=943&Z=1157&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=134
ขอบคุณภาพจาก http://mgr.manager.co.th/,http://board.palungjit.com/,http://image.dek-d.com/,http://blog.eduzones.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

       [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
 
       ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ ฯ

      [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ ท่านทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง
เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
 
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย
      ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย
      ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา
      ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา
      ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา
      ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๖๑๗ - ๑๘๔๐.  หน้าที่  ๗๐ - ๗๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=277
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

พรหมสูตร
      [๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม
      สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
      สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล


      ดูกรภิกษุทั้งหลาย
      คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
      คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา
      คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา

      ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ

      มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ และว่าอาหุไนยบุคคล
      เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการและสักการะ มารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง
      เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๖๙ - ๓๔๘๑. หน้าที่ ๑๕๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3469&Z=3481&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/


อานิสงส์การบำรุงบิดามารดา
     ๑.ทำให้เป็นคนมีความอดทน
     ๒.ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ
     ๓.ทำให้เป็นคนมีเหตุผล
     ๔.ทำให้พ้นทุกข์
     ๕.ทำให้พ้นภัย
     ๖.ทำให้ได้ลาภโดยง่าย
     ๗.ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน
     ๘.ทำให้เทวดาลงรักษา
     ๙.ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
     ๑๐.ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
     ๑๑.ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี
     ๑๒.ทำให้มีความสุข
     ๑๓.ทำให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง 


ที่มา http://www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk11.htm


    กระทู้แนะนำ
    คำว่า "พ่อแม่เป็นพรหมของลูก" มีมาได้อย่างไร???
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6902.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า: “โย ภิกขเว มํ อุปฏฐเหยย โส คิลานํ อุปฏฐเหยย”
"ผู้ใดปราถนาจะอุปปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงรักษาภิกษุป่วยไข้"

     การให้การพยาบาลหรือบำบัดโรคภัยไข้เจ็บของพระสงฆ์ เท่ากับการได้อุปัฏฐากพระพุทธองค์เลยทีเดียว
ตามความเชื่อผู้คนส่วนมากแล้วมึความเชื่อและศรัทธาว่า "ถ้าหากผู้ใดที่ได้ถวายอาหารหรือสิ่งของต่อพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญที่เกิดจากการถวายทานนั้น มีอานิสสงส์มากจริงๆ ถึงขนาดผู้นั้นตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ได้เป็นสาวก หรือ อัครสาวก หรือ ปราถนาพุทธภูมิ ก็ได้สมดังใจปรารถนาเลย"

     ตามพระพุทธดำรัสที่กล่าวมาข้างต้นนั้น การที่เราดูแลช่วยเหลือปรนิบัติต่อพระภิกษุผู้อาพาธ เท่ากับว่าเราได้สร้างกุศลต่อพระพุทธองค์โดยตรงเลยทีเดียว ดังนี้ ผลบุญมหาศาลจักบังเกิดขึ้นแก่เราผู้ได้ปรนนิบัติอุปัฏฐากพระภิกษุสงฆ์ผู้อาพาธ เปรียบเสมือนเราได้ถวายทานต่อพระพุทธเจ้านั่นเอง

      ดังนั้น การที่เรามีโอกาสหรือตั้งใจที่จะปรนิบัติดูแลช่วยเหลือพระภิกษุสงฆ์ที่ป่วยไข้ อาพาธ แล้วเราน้อมจิตของเราระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะส่งผลต่อจิตใจอันเป็นกุศลเป็นอย่างมาก และอานิสสงส์ดังกล่าวนั้น บุญจากการอุปัฏฐากพระพุทธองค์ย่อมมีกำลังกุศลมหาศาล

      หากตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอให้เราเจริญในธรรมในพระศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว กำลังแห่งความตั้งใจนั้นก็ย่อมมีมากมาย และส่งผลให้เราก้าวหน้าในธรรม มีพละและอินทรีย์ เพื่อความหลุดพ้นในโอกาสภายหน้าได้เป็นแน่แท้ เหตุดังนั้น พวกเราอย่ามัวประมาทอยู่เลย พึงกระทำมหากุศลดังกล่าวให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง ครอบครัว และสหธรรมิกของเราโดยพลัน ฯ




อานิสงส์การบริจาคเงินบำรุงภิกษุสามเณรอาพาธ
     ๑. ชื่อว่าเสมือนอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า "ผู้ใดต้องการอุปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นจงไปอุปัฏฐากภิกษุไข้เถิด"
     ๒. อกุศลกรรมในอดีตชาติ จะเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา จากเบาเป็นสูญ ถือเป็นการสเดาะเคราะห์อย่างหนึ่งได้
     ๓. เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติ เมื่อได้รับส่วนบุญนี้จะเลิกจองเวรจองกรรม ช่วยให้พ้นเวรพ้นกรรม
     ๔. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง เทวดารักษา สรรพวิญญาณเมตตาปราณี
     ๕. เหล่าวิญญาณร้ายไม่อาจเบียดเบียนบีฑาได้


     ๖. จิตใจสงบร่มเย็น ปวงภัยไม่เกิด ฝันร้ายไม่มี มีสง่าราศีผ่องใส สุขภาพเเข็งเเรง กิจการงานเป็นมงคลแก่  ตัว อายุยืนยาว ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
     ๗. คุณธรรมเจริญมั่นคง ปฏิบัติธรรมก้าวหน้า ปัญญาเกิด
     ๘. ไม่พลัดพรากจากคนรัก ของรัก ก่อนเวลาอันควร
     ๙. ชื่อว่าได้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ยั่งยืน
   ๑๐. ถือเป็นการทำสังฆทานอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการถวายการอุปัฏฐากบำรุงแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก


   ๑๑. จะไม่ไร้ญาติขาดมิตร เวลาแก่ เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยจะมีคนคอยดูเเล ไม่ถูกทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว
   ๑๒. มีเดชบารมีมาก มียศวาสนา เป็นใหญ่เป็นโต ไม่มีใครข่มขี่เบียดเบียนได้
   ๑๓. จะเป็นที่รักแก่คนทั้งปวง ไปที่ใดจะมีผู้คอยช่วยเหลือเกื้อหนุน ไม่ถูกปล่อยให้ขัดข้องในเรื่องทั้งปวง
   ๑๔. จะมีสมบัติมาก และสมบัติจะไม่ถูกทำลายโดยราชภัย โจรภัย อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
   ๑๕. จะได้พบพระอริยสงฆ์ ได้พบพระอรหันต์ ได้พบพระดี ได้พบพระเครื่องพระบูชาที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่เจอพระปลอม ไม่เจอพระเก๊ พระทุศีล

   ๑๖. จะได้ฟังธรรมจากพระอริยเจ้า และเข้าถึงธรรมได้โดยง่ายดาย
   ๑๗. จะได้เจอครูบาอาจารย์และเพื่อนที่ทรงคุณธรรม
   ๑๘. ด้วยบุญที่อุปัฏฐากภิกษุอาพาธนี้จะเป็นปัจจัยแก่สวรรค์และนิพพาน
   ๑๙. ด้วยบุญที่อุปัฏฐากภิกษุอาพาธนี้ สามารถอธิษฐานให้เป็นปัจจัยแก่การบรรลุเป็นพระมหาสาวก พระอัครสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาลได้


อ้างอิง
ดร.สินเย็น นำเสนอ November 27, 2010
Source:www.sbntwn.com
http://www.watthaistockton.org/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=187
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/,http://www.lampang108.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เรียนถาม เรื่อง อานิสงค์ การบำรุงดูแล พระอาพาธ กับ มารดาบิดา บุญต่างกันอย่างไรคะ
เคยถูกนักเรียน ถาม คะ ว่า ระหว่างดูแล พระอาพาธ กับ ดูแลพ่อแม่ที่ป่วยอยู่ ได้บุญต่างกันอย่างไรคะ

  ( ยังตอบไม่ได้ คะ )

  :c017: :25: :25: :25:
   
     จากการอ่านพระสูตรและอรรถกถา การบำรุงมารดาบิดา อานิสงส์ที่แน่นอน คือ สวรรค์
     แต่การบำรุงภิกษุอาพาธเท่ากับบำรุงพระพุทธเจ้า ในบาลีไม่ได้กล่าวถึงอานิสงส์ที่ชัดเจนเอาไว้
     อานิสงส์ที่นำเสนอ น่าจะเป็นการอนุมานหรือใช้โยนิโสมนสิการ ของอรรถกถาจารย์ต่างๆ
     ที่แน่ๆ ที่ทราบกันอยู่ทั่วไป ทานที่ถวายพระพุทธเจ้ามีอานิสงส์น้อยกว่าสังฆทาน


     หากเราจะตัดสินว่า บำรุงภิกษุอาพาธกับบำรุงบิดามารดา มีอานิสงส์ต่างกันอย่างไร
     คงต้องตั้งเอาบุญสูงสุดเป็นเงื่อนไข บุญสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ มรรคผล นิพพาน
     อีกทั้งหากนำเอาเนื้อนาบุญเป็นที่ตั้ง พ่อแม่ยังไม่ใช่เนื้อนาบุญที่แท้จริง เนื้อนาบุญต้องเป็นอริยบุคคล


     มาถึงตรงนี้เพื่อนๆคงเดากันได้แล้วนะว่า ผมจะกล่าวอะไรต่อไป
     เมื่อกล่าวถึง มรรคผล นิพพาน การบำรุงพ่อแม่ทำให้เรามีพรหมวิหาร ๔(เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา)
     ข้อธรรมนี้เป็นเพียงปัจจัยสนับสนุนทางสู่นิพพาน
     แต่การบำรุงภิกษุอาพาธเท่ากับบำรุงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสามารถชี้ทางไปนิพพานให้กับเราได้   
     อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าเป็นเนื้อนาบุญ พ่อแม่ยังไม่ใช่เนื้อนาบุญ ข้อนี้ชัดเจนมาก

     
     ผมจะไม่สรุปอะไรนะครับ ขอให้คุณครูอริสาและเพื่อนๆ พิจารณาเอาเอง
     ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ