ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู  (อ่าน 2438 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู

พุทธกาลสมัยในขณะที่พระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขจรขจายไปทั่วแว่นแคว้นดินแดนชมพูทวีป ยังความร่มเย็นเป็นสุขด้วยรสแห่งธรรมที่องค์พระศาสดาตรัสรู้นั้น แผ่นดินมคธกลับผลัดเปลี่ยนอำนาจจากพระเจ้าพิมพิสารอันเป็นองค์ศาสนูปถัมภกมาเป็นโอรสนามพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าอชาตศัตรูองค์นี้กระทำปิตุฆาตสังหารพระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดาเพราะเชื่อคำยุยงของพระเทวทัตเถระผู้มีทิฐิมานะ
 “เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า ในที่สุดแผ่นดินมคธอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ก็ตกเป็นของข้าแต่เพียงผู้เดียว เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า ทั้งหมดก็เป็นเพราะว่าข้าเชื่อฟังพระอาจารย์เทวทัตเป็นแน่แท้ หาไม่แล้วคงต้องรอไปอีกนาน เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า” พระเทวทัตนั้นคิดร้ายกระทำพุทธประหารองค์พระศาสดา จึงว่าจ้างนายขมังธนูลอบปลงพระชนม์ แต่กาลนั้นกลับล้มเหลวลง “เฮ้ย อะไรกันเนี่ย แค่นี้ก็ทำไม่สำเร็จ เห็นทีเราต้องลงมือด้วยตัวเองซะแล้ว”
  วันหนึ่งพระศาสดาเสด็จประทับ ณ เชิงเขาคิชกูฏ พระเทวทัตเห็นสบโอกาสจึงลอบขึ้นไปบนเขาแล้วกลิ้งหินหินก้อนใหญ่ลงมาหมายจะทับพระพุทธองค์ แต่ในระหว่างที่หินกลิ้งลงมานั้นเกิดกระทบกันแตกเป็นหินเล็กหินน้อย สะเก็ดหินก้อนหนึ่งกระเด็นปลิวมากระทบพระบาทของพระองค์จนพระโลหิตห้อ “ฮึย!..พลาดไปอีกจนได้ คราวหน้าต้องทำให้สำเร็จจนได้คอยดู ต้องมีสักวันที่เป็นวันของเราบ้าง”
 และแล้วโอกาสที่พระเทวทัตรอคอยก็มาถึง พระเทวทัตวางแผนการร้ายยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปล่อยโขลงช้างตกมันไล่เหยียบพระพุทธองค์ขณะที่เสด็จออกบิณฑบาตร “หึๆๆ คราวนี้แหละสำเร็จแน่ๆ เจอช้างตกมันเข้าไป ดูซิจะรอดมาได้ก็ให้มันรู้กันไป เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ” ฝูงช้างตกมันอันเกรี้ยวกราดดุร้าย เมื่อมาถึงหน้าพระพักตร์พระพุทธองค์ก็ไม่กล้าทำอันตรายใดๆ “เฮ้ย!!..อะไรกันเนี่ย ทำไมถึงเป็นแบบนี้ไปได้ เฮ้ย..ไม่เข้าใจเลย” เมื่อแผนกาลลอบปลงพระชนม์ไม่เป็นผล
 แทนที่พระเทวทัตจะสำนึกลดมานะทิฐิลง กลับแบ่งแยกหมู่สงฆ์ออกไปตั้งนิกายใหม่สร้างพุทธวินัยใหม่และคอยหาโอกาสปลงพระชนม์พระพุทธองค์ตลอดเวลาเพราะมีบูรพกรรมต่อกันมาหลายภพหลายชาตินั่นเอง “เฮอะๆ ๆ ต่อไปนี้แหละพระโคดมเอ๋ย นิกายที่ข้าสถาปนาขึ้นมาใหม่จะต้องยิ่งใหญกว่า เฮอะๆ ๆ ฮะๆๆ ที่นี้ไม่ว่าใครในแผ่นดินก็จะต้องยกย่องนับถือเราเพียงองค์เดียวเท่านั้น เฮอะๆ ๆ”
 พระเทวทัตนั้นแยกอกไปตั้งนิกายใหม่และตั้งตนเป็นพระศาสดา เกิดเหตุแตกแยกในหมู่สงฆ์และชาวเมืองไปทั่วด้วยไม่รู้แยกแยะผิดชอบชั่วดี สร้างความวุ่นวายไปทั่วนครสาวัตถี “เฮ้ยพวกเราหันไปอยู่กับนิกายพระเทวทัตดีกว่า สบายกว่ากันเยอะเลย” “ใช่ๆ เราขอตามไปอยู่กับพระเทวทัตด้วยคนนะท่าน เบื่อแล้วที่นี่นะไม่อยากจะอยู่แล้ว”
“เฮ้อ ผู้คนต่างแบ่งแยกเป็นสองฝ่ายกระผมละกลุ่มใจมองไปทางไหนเห็นแต่ผู้คนทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกันดังแต่ก่อนเลย” “เหตุนี้เป็นเพราะพระเทวทัตตั้งตนเป็นศาสดาองค์ใหม่ ตั้งแต่เกิดนิกายขึ้นมาใหม่คนก็สับสนพากันไปเคารพนับถือพระเทวทัตมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่พระเจ้าอชาตศัตรูก็ยังทรงโปรดปรานให้ความเคารพ” “มิหน่ำซ้ำพระเทวทัตยังไม่ทรงลดมานะทิฐิคิดแต่จะปองร้ายพระศาสดา
 แล้วอย่างนี้พวกเราจะทำอย่างไรกันดีละท่าน ขืนปล่อยไว้อย่างนี้แล้วพระพุทธศาสนาที่แท้มิมีแต่จะต้องสูญไปรึท่าน” พระเชตวันอารามหลวงในยามนั้นคุกรุ่นด้วยความทุกข์ร้อนและกลิ่นอายแห่งโทสะอันเป็นศัตรูร้ายของการปฏิบัติธรรม สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าพระทัยในความจงรักภักดีของสงฆ์สาวกทั้งหลาย พระองค์จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสให้บรรดาเหล่าสาวกคลายความวิตกกังวลลง
 พระองค์ตรัสปลอบโยนบรรดาสาวกทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเรา แม้ในกาลก่อนก็เคยตะเกียกตะกายมาแล้วเหมือนกัน แต่ก็มิอาจกระทำเหตุเพียงความสะดุ้งกลัวแก่เราได้เลย” พระพุทธองค์ทรงรำลึกถึงอดีตชาติด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณตรัสเล่าชาดกเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพญาวานรอยู่ในป่าใหญ่ดังนี้ ในอดีตกาล ณ ป่าใหญ่อันอุดมสมบูรณ์มีพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นพญาวานร
 มีรูปร่างใหญ่โตเปี่ยมด้วยพละกำลังและมากด้วยสติปัญญาเฉลียวฉลาดออกหากินอยู่เพียงลำพังริมฝั่งใกล้แม่น้ำ กลางแม่น้ำนั้นมีเกาะซึ่งเต็มไปด้วยผลไม้นานาชนิด “ฝั่งโน้นเต็มไปด้วยผลไม้มากมาย เอ้..แต่เราจะข้ามไปยังไงดีนะ ใช้หมองๆ” พญาวานรสอดส่ายสายตาคิดหาหนทางข้ามไปยังเกาะกลางแม่น้ำ ทันใดนั้นเองก็เหลือบไปเห็นโขดหินโผล่พ้นน้ำ
 “โฮ้ โขดหิน มันมีแผ่นหินที่โผล่อยู่กลางน้ำ เราสามารถกระโดดไปพักได้นี่น่า แล้วค่อยกระโดดข้ามไปเกาะกลางแม่น้ำได้ โอ้โห๊ย ฉลาดจริงๆ เลยเรา ข้าขอเหยียบแผ่นหลังเจ้าไปก่อนนะเจ้าแผ่นหิน ฮิๆ คราวนี้แหละเจ้าผลไม้เอ๋ย เดี๋ยวข้าจะกินให้พุงกางไปเลย” แต่นั้นเป็นต้นมาพญาวานร ก็อาศัยแผ่นหินกลางแม่น้ำเป็นที่พักเท้า และกระโดดไปยังเกาะกลางแม่น้ำเพื่อเก็บผลไม้กินเป็นอาหารอย่างปลอดภัยทุกวัน
 “ขอข้าข้ามไปหน่อยนะเจ้าแผ่นหิน เอ้า..1..2..กระโดด หื้อ..มันชั่งง่ายดายอะไรเช่นนี้ ฮืม..อร่อยๆๆ ทั้งกล้วย ฝรั่ง เงาะ ลางสาด นี่ก็ลูกตะขบ โห้..มันช่างมากมายอะไรเช่นนี้” แม่น้ำอันกว้างใหญ่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเกาะกลางแม่น้ำ ยังมีจระเข้ใหญ่สองผัวเมียคอยจับเหล่าสัตว์เคราะห์ร้ายกินเป็นอาหารอยู่เสมอ ในระหว่างนั้นนางจระเข้กำลังตั้งท้อง และเกิดอาการแพ้ท้องอยากกินอาหารไปสารพัด วันหนึ่งในขณะที่นางกำลังจับปลากินอยู่นั้น
  สายตาก็เหลือบไปเห็นพญาวานรกำลังกระโจนไปยังเกาะกลางแม่น้ำเข้าพอดี  “ห๊า!!..นั่นมันพญาวานรนี่น่า..เปรี้ยวปาก” ด้วยบุพกรรมในชาติปางก่อนได้ชักนำให้นางจระเข้เกิดอยากกินหัวใจของพญาวานรขึ้นมาในทันที “พี่จ๋า..น้องแพ้ท้องมาก อยากกินหัวใจของพญาวานรตัวนั้นเหลือเกิน พี่ไปจับมาให้น้องกินหน่อยนะจ๊ะ” “โอ้ย..น้องหญิงจ๋า..พญาวานรตัวนี้นะปราดเปรียวว่องไวเหลือเกิน
 คงจะจับยากน่าดูเลยนะน้อง พี่ว่าน้องหันไปกินอย่างอื่นแทนดีไหม๊จ๊ะ” “ไม่เอา..น้องอยากกินหัวใจพญาวานรตัวนั้นน่ะ...นะๆๆๆ พี่จับมาให้กินหน่อยนะ จะได้เอามาบำรุงลูกๆ ในท้องไง” “จ๊ะๆๆ จ๊ะ ถ้าน้องอยากกินหัวใจของมันแล้วละก็ เดี๋ยวพี่จะไปเอามาให้น้องเอง เพื่อลูกเพื่อเมียพี่ทำได้ทุกอย่าง อย่าร้องนะจ๊ะ เดี๋ยวกระทบกระเทือนถึงลูกในท้องของเรา อู๊ย..อย่าร้องนะจ๊ะน้องหญิง”
จระเข้ตัวผู้สงสารเมียรับปากจับพญาวานรมาให้ได้ “เฮ้ย..จะทำยังไงดีน๊า..ถึงจะจับตัวพญาวานรตัวนั้นมาให้น้องหญิงของเรากินได้ เฮ้อ...โอ้..คิดออกแล้ว..เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า เจ้าจ๋อเอ๋ย เสร็จเราแน่ๆ เฮอะๆ ๆ ฮ่ะๆ ฮ่า” วิธีฉลาดของจระเข้ก็คือแอบไปนอนแล้วเอาหัวเกยทับแผ่นหินกลางแม่น้ำแล้วนิ่งให้พญาวานรหลงกลกระโดดข้ามมาหา   
 แต่มันก็หารู้ไม่ว่ามันก็ไม่ได้รอดพ้นสายตาเจ้าสังเกตของพญาวานรหนุ่มไปได้ “เอ้..ทำไมวันนี้แผ่นหินกลางน้ำดูแปลกๆไปแฮะ ชะรอยจะเป็นเจ้าจระเข้ปลอมตัวมาเป็นหินหรือเปล่าน๊า”  เมื่อคิดได้ดังนั้นพญาวานรก็แสร้งวางอุบายทักทายแผ่นหินนั้นเหมือนอย่างเคย “แผ่นหินเอ้ย เจ้าแผ่นหินเอ๋ย บอกข้าหน่อยซิ วันนี้เจ้าเป็นอย่างไรบ้าง”
จระเข้หนุ่มได้ยินดังนั้นก็เกิดความสงสัยแต่ก็ยังนิ่งเฉยอดทน จนในที่สุดก็หลงกลพญาวานรเข้าจนได้ “เจ้าแผ่นหินเอ้ย ทำไมเจ้าไม่ขานรับข้าเหมือนทุกครั้งล่ะ ข้าจะได้กระโดดไปหาเจ้าซะที” “จ้า..พ่อพญาวานร มีอะไรเหรอจ๊ะ วันนี้พ่อมาซะเย็นเลยน่ะ จะกลับฝั่งหรือยังละ พ่อกระโดดลงมาบนแผ่นหลังของข้าได้เลยนะ แผ่นหินอย่างข้าพร้อมรองรับเจ้ามานานแล้ว”
 “อะๆ...อ่ะ..ที่แท้ก็เป็นเจ้าจระเข้หน้าโง่นี่เอง นึกแล้วไม่มีผิด หึๆๆ ไงล่ะในที่สุดก็เสียทีข้าจนได้” “ฮึย..เสียที่มันจนได้ เออข้าไม้แสร้งเป็นแผ่นหินแล้วก็ได้ แต่ยังไงซะ เจ้าก็ไม่มีทางที่จะกลับไปฝั่งโน้นได้อย่างแน่นอน ฮึๆ ฮ่าๆ วันนี้ข้าจะต้องเอาหัวใจเจ้าไปให้เมียข้ากินให้ได้ ฮึๆ ฮ่าๆ” เจ้าจระเข้หนุ่มไม่ลดละความพยายามยังคงลอยตัวเฝ้าดูพญาวานรอย่างไม่คลาดสายตา
 พญาวานรคิดว่าคงไม่สามารถข้ามกลับไปได้อย่างแน่นอนจึงใช้สติปัญญาคิดวางกลอุบายเพื่อเอาตัวรอดอีกครั้งหนึ่ง “ปล่อยไว้อย่างนี้เห็นทีเราคงข้ามกลับไปไม่ได้แน่ๆ ทำยังไงดีน่า...อ้อ..คิดออกแล้ว..ฮ่ะๆๆ ท่านจระเข้ไหนๆ ข้าคงไม่รอดคมเขี้ยวของเจ้าไปได้แล้วยังไงซะ ให้ท่านนะช่วยสงเคราะห์อะไรข้าสักอย่างได้ไหม๊ นึกว่าช่วยข้าก่อนตายนะท่าน” “ฮึๆๆ ฮ่าๆๆ ก็ได้ ว่าแต่เจ้าขออะไรก็รีบว่ามาเมียข้าหิวแล้ว”
  “ท่านจระเข้ตอนที่ท่านจะกัดข้านะ อย่าให้ข้าต้องทรมานเลยนะ ข้ากลัวเจ็บน่ะ ท่านช่วยอ้าปากกว้างๆ รอไว้เถอะเดี๋ยวเราจะกระโดดลงไปเอง ท่านจะได้สบายไม่ต้องออกแรงกัดให้เมื่อยกร้ามนะท่านนะ” “แค่นี้เองหรอกรึ ได้เลยๆ เดี๋ยวข้าจัดให้ ว่าแต่เจ้าต้องกระ โดดลงมาจริงๆ นะ อย่ามาเบี้ยวข้าแล้วกัน” “ข้าเนี่ยเป็นถึงพญาวานรต้องรัก ษาสัจจะอยู่แล้ว ท่านไม่ต้องห่วง”
  “งั้นพอข้าอ้าปากเจ้ากระโดดลงมาได้เลย” พญาวานรนั้น รู้ว่าขณะที่จระเข้อ้าปากตาของมันจะปิดลงโดยธรรมชาติ ตนจึงรวบรวมกำลังตั้งท่ารอ พอได้จังหวะที่จระเข้อ้าปากก็กระโจรเหยียบหัวจระเข้ตอนที่มันยังหลับตาอยู่แล้วใช้ความว่องไวกระโจนไปยังฝั่งตรงข้ามได้อย่างรวดเร็ว “ฮับ!!...เอ้า เฮ้ย งับลมเฉยเลยเรา โห้ย..พลาดจนได้ ไม่น่าหลงกลมันเลย โอ้ยเสียทีอีกแล้ว”
 จระเข้หนุ่มเห็นเหตุอันวานรได้กระทำเป็นที่อัศจรรย์ใจยิ่งนักเพราะพญาวานรเปี่ยมไปด้วยธรรม 4 ประการ อันได้แก่ สัจจะ คือการพูดแล้วกระทำจริง จาคะ คือมีความกล้าเสี่ยง ธิติ คือความเพียรและประการสุดท้ายคือ ตั้งมั่นในธรรม สามารถวิเคราะห์รู้ถึงผลการกระทำได้ไม่ผิดพลาด ธรรมทั้ง 4_ประการนี้พึงมีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นย่อมครอบงำศัตรูก้าวล่วงพ้นภัยไปได้
 จระเข้สรรเสริญพระโพธิสัตว์ดังนี้แล้วก็ไปที่อยู่ของตน จระเข้หนุ่มนั้นมิได้เคืองโกรธ กลับจากไปด้วยความยกย่อง “ฮะฮ่า ข้าไม่ได้โกหกเจ้านะ ข้ากระโดดลงมาแล้ว แต่เจ้างับไม่ทันเอง ช่วยไม่ได้” “เจ้านี่ชั่งฉลาดเป็นกรดจริงๆ ถึงเจ้าจะเป็นแค่วานรตัวกระจ้อยแต่ก็มีความกล้าหาญเพียรพญายามรักษาสัจจะที่ให้ไว้กับเราอย่างไม่กลัวตาย เอาเถิดเราจะไม่กินเจ้าแล้วก็ได้” จระเข้กล่าวสรรเสริญพญาวานรพระโพธิสัตว์แล้วก็กลับไปหานางจระเข้เมียรักยังที่อยู่ของตน ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองฝ่ายก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกันอีก
ต่างฝ่ายต่างใช้ชีวิตอยู่ตามวิสัยจนสิ้นอายุขัย “อื้อหือ..ผลไม้สุกๆ เต็มไปหมดเลย อร่อยจริงๆ มีความสุข” “เมียจ๋า....ไม่ได้กินหัวใจของพญาวานรก็ไม่เป็นไรนะจ๊ะ เดี๋ยวพี่หาอย่างอื่นให้กินแทนนะจ๊ะ อย่าโกรธเลยน่ะ” “จ๊ะ ตอนนี้น้องไม่อยากกินอะไรพิสดารแล้วหล่ะ เราไปหาของกินกันตามประสาเราเถอะจ๊ะพี่” “จ้า เมียรักของพี่”

 
ในพุทธกาลต่อมา
พญาจระเข้กำเนิดเป็น พระเทวทัต
นางจระเข้ กำเนิดเป็น นางจิญจมาณวิกา
พญาวานร เสวยพระชาติ เป็น พระพุทธเจ้า

พระคาถาประจำชาดก
ยสฺเสเต จตุโร ธมมา วานรินฺท ยถา ตว
สจฺจํ ธมฺโม ธิติ จาโค ฑิฏฺฐํ โส อติวตฺตติ
พานรินธรรม 4 ประการเหล่านี้ สัจจะ ทมะ ธิติ และจาคะ
มีแก่บุคคลใด เหมือนมีแก่ท่าน
บุคคลนั้นย่อมพ้นศัตรูไปได้
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: วานรินทชาดก-ชาดกว่าด้วยธรรมของผู้ล่วงพ้นศัตรู
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 04:39:58 pm »
 gd1 gd1
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ