ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล  (อ่าน 2491 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์

มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล

ราชคฤห์ในแผ่นดินพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นบังเกิดมีสำนักพระพุทธศาสนาที่แปลกแยกออกไปโดยมีพระเทวทัตเป็นผู้นำศาสนสถานแห่งใหม่ตั้งอยู่ ณ ตำบลคยาสีสะที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างถวายและให้อยู่ในพระราชานุเคราะห์อย่างอุดมสมบูรณ์
ในพุทธกาลครั้งนั้นมีชาวเมืองราชคฤห์สองคนเป็นสหายรักกันมาแต่เด็ก ทั้งสองเลื่อมใสในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาจึงตัดสินใจจะบวชเป็นภิกษุเพื่อบรรลุในพระธรรมคำสอน “แล้วพวกเราจะไปบวชที่ไหนกันดีหล่ะ” “ข้าจะขอบวชในพระเวฬุวันมหาวิหารของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเจ้าละไปบวชกับข้าไหม”
  “ไม่ละ ข้าขอบวชในสำนักพระเทวทัตดีกว่า เห็นลือกันว่าที่นั้นนะสุขสบายนัก ฮะฮ่ะๆๆ ฮะ” เวลาผ่านไปแม้สหายทั้งสองต่างครองเพศบรรชิตแล้ว แต่ก็ยังไปมาหาสู่กันมิได้ขาด “เพื่อน ไปฉันอาหารที่วัดเราดีกว่า มีแต่อาหารรสดีทั้งนั้น” “เกรงใจจัง จะดีหรือท่าน มันไม่งามหรือเปล่า”
 ทุกเช้าภิกษุที่เป็นสาวกของพระเทวทัตจะมาชักชวนภิกษุสหายของเขาไปฉันภัตตาหารที่สำนักพระเทวทัตด้วยกันเสมอ” “สหายเอ๋ยจะมาบิณฑบาตให้เหนื่อยทำไม ไป๊..ไปฉันกับเราที่คยาสีสะดีกว่า” อย่าเลยฉันไข่ต้มกับน้ำพริกที่บิณฑบาตมานี่ก็ได้” “โอ้ย! จะไปอร่อยอะไร ปะ..ไปฉันกับเราอาหารเยอะแยะมากมาย
ทั้งต้ม ยำ นึ่ง ทอด ล้วนประณีตถูกปากแบบชาววังทุกวันเลย” “เออ..ท่านมาชวนซะขนาดนี้เราไม่ไปท่านก็จะเสียใจ เอาล่ะเราจะไปก็ได้” เมื่อแรกๆ ที่ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อนภิกษุนั้นก็บ่ายเบี่ยง แต่เมื่อถูกคะยั้นคะยอบ่อยๆ เข้าจึงรับปาก เมื่อไปร่วมฉันอาหารก็เกิดความเคยชินไปฉันเป็นประจำแต่นั้นมา
 “อือ..เราไปฉันอาหารที่สำนักของพระเทวทัตก็จริงน่า แต่พระเทวทัตไม่ได้เป็นคนให้เรา เราฉันอาหารของผู้มีจิตศรัทธานำมาถวายให้ต่างหากไม่เห็นจะผิดอะไร ก็เหมือนในเวฬุวันที่นี่แหละ ทานที่ไหนก็เหมือนกัน” “ที่ท่านคิดก็ถูกแล้ว พวกเราน่ะก็ไม่เห็นว่าท่านจะทำผิดอะไร” “แต่เราก็เกรงว่าภิกษุท่านอื่นในเวฬุวันจะไม่เข้าใจหาว่าเรารักความสบายนะซิ”
 “ถ้าสหายไม่สะดวกใจก็ขอลาพระสมณะโคดมมาอยู่กับฝ่ายเราเสียเลยดีไหม ข้าเดินไปชวนท่านทุกวันก็เริ่มเหนื่อยแล้วเหมือนกัน” นานวันเข้าความประพฤติของภิกษุหนุ่มรูปนี้ก็เป็นที่โจษขานกันในเวฬุวัน กระทั่งวันหนึ่งมีเหตุให้ต้องโต้วาทะกับเพื่อนพระภิกษุอื่นๆ “เจ้าผิดนักที่ไปฉันอาหารของพระเทวทัตเถระผู้ผิดธรรมวินัยนั่นนะ รู้มั๊ย”
 “เราไม่ผิด อาหารเหล่านั้นไม่ได้เป็นของพระเทวทัต แต่เป็นของถวายจากพระเจ้าอชาตศัตรูต่างหาก” “ท่านนี่หัวดื้อจริงๆ” “ผิดมากๆ ด้วย เช่นนี้ต้องนำเข้าเฝ้าพระศาสดาแล้ว” “เมื่อเราตักเตือนอะไรท่านไม่ได้ก็ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตักเตือนท่านแล้วกัน” เพื่อนพระภิกษุพากันว่ากล่าวแล้วนำตัวไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสอบถามความเป็นจริง
 “ดูก่อนภิกษุเธอมาบวชอยู่ในสำนักของเราซึ่งสอนให้ละกิเลสนำตนให้พ้นจากกองทุกข์ แล้วทำไมจึงไปฉันอาหารในสำนักของพระเทวทัตซึ่งเป็นคนทุศีลด้วยเล่า ถึงแม้เธอจะอ้างว่าได้รับอาหารจากคนที่เขามีศรัทธาถวายให้ก็หาใช่เหตุผลอันชอบธรรมไม่ เพราะอาหารนั้นได้มาด้วยการกระทำอันไม่ชอบของพระเทวทัตผู้ทุศีล
  คนเราเมื่อคบกันไปนานเข้าความคิดอ่านก็จะไปในทางเดียวกัน คบคนดีก็จะเป็นคนดี คบคนชั่วก็จะพลอยชั่วไปด้วยเหมือนเมื่อครั้งที่เธอเกิดเป็นช้างชื่อ มหิฬามุข เมื่อชาติก่อนโน้น” ในอดีตกาล ณ นครพาราณสีพระเจ้าพรหมทัตมีช้างพระที่นั่งเชือกหนึ่งชื่อ พลายมหิฬามุข เป็นช้างทรงลักษณะงดงาม สงบเสงี่ยมเรียบร้อยอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
 เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนัก “พลายมหิฬามุขของเรานี่ช่างสง่างามจริงๆ สมแล้วที่เป็นช้างคู่ใจคู่บัลลังก์พาราณสีของเรา หึๆ ฮ่าๆ ฮะ” ครั้นถึงเทศกาลฝึกช้างเพื่อใช้ในราชการ อำมาตย์ราชบัณฑิตจึงเปลี่ยนที่พักมาใกล้กำแพงชั้นนอกเพื่อความสะดวก แต่เพียงไม่กี่วันพลายมหิฬามุขที่เคยสุภาพเรียบร้อยก็เปลี่ยนไปเริ่มแสดงท่าทางเกะกะเกเรขึ้นเรื่อยๆ
 ใช้งวงหวดซ้ายป่ายขวา เห็นใครเดินเข้ามาก็จะเข้าไปทำร้าย “มาแล้วๆ หน่อไม้ของโปรด เฮ้ยๆ....เฮ้ย อย่าสิพ่อ เรามาดีเอาอาหารมาให้ เฮ้ย!ๆๆ ยะ..อย่าฟาดเรานะ” ยิ่งเวลาผ่านไปพลายมหิฬามุขก็ยิ่งกำเริบก้าวร้าวไล่แตะควานบ้าง แตะเข่งอาหารบ้าง ทั้งส่ายสะบัดหัวฟาดงวงไปมาจนควานกับพนักงานไม่กล้าเข้าใกล้ “แกไปป้อนอาหารซิ”
 “แกนั่นแหละเข้าไป เมื่อกี้ข้าเอาเข่งไปวางเฉยๆ ยังวิ่งออกมาเทียบไม่ทันเลย” “เข้าไปป้อนนะคงโดนแตะตายแน่เลย” วันหนึ่งพลายมหิฬามุขตกมันก็ยิ่งแสดงอาการเกะกะเกเรอย่างน่ากลัว พังโรงช้างจนพินาส แม้แต่ช้างด้วยกันก็โดนทำร้ายไม่ละเว้น ควาญทั้งพระราชวังพากันมาระงับเหตุก็ไม่อาจหยุดยั้งความร้ายกาจได้ต้องพลีชีวิตไปหลายคน
 “เอ้าๆๆ พวกเรามาทางนี้ มาช่วยกันหน่อยพลายมหิฬามุขตกมันใหญ่แล้ว” “เชือกเส้นแค่เนี่ยจะมัดมันได้หรือเนี่ย” “โอ้ย! ไม่น่าเข้าไปหน้ามันเลย โดนแตะซะน่วม” พระเจ้าพรหมทัตร้อนพระทัยกับเรื่องนี้มากยิ่งนัก เร่งให้อำมาตย์บัณฑิตไประงับเหตุร้ายและหาสาเหตุนั้นให้ได้ “ข้าพระพุทธเจ้าจะแก้ไขช้างพลายมหิฬามุขให้กลับมาดีได้เหมือนเดิมพระเจ้าค่ะ”
 “ดี เจ้ารีบไปดูเหตุการณ์เถอะแล้วรีบกลับมารายงานเราด้วย เราจะสังเกตการณ์รออยู่ที่นี่” อำมาตย์บัณฑิตจัดควาญฝีมือดีพร้อมช้างในกองทัพพาราณสีเข้าประกบตัวและใช้กำลังเข้าดันให้จนมุม ในที่สุดก็สามารถเข้าจับตัวคล้องพลายมหิฬามุขไว้ได้ “ฮึบ!..เฮ้ย..ๆ ช่วยกันจับไว้พวกเรา” “อ้าวเว้ย!..จับผิดเส้นรึเนี่ย ก็ว่าทำไมจับมาทางนี้คนเดียว”
 “ใครก็ได้เอามันไปเหอะ เกะกะเหลือเกิน” เมื่อพลายมหิฬามุขถูกจับได้ น่าแปลกใจยิ่งนักที่มันไม่ต่อสู้ขัดขืนเลย กลับยืนฟังคำพิพากษาเหมือนมหาโจรที่หมดอิสรภาพ “ทำไมพลายมหิฬามุขถึงเป็นอย่างนี้รึ เกิดเหตุใดขึ้นยังมีสิ่งใดที่เราไม่รู้ควานจงเล่ามาให้หมดอย่าปิดปัง” “แต่เดิมพ่อพลายมหิฬามุขก็ประพฤติตัวดีมีวินัยจนย้ายมาอยู่โรงช้างนี่แหละ
 อยู่ได้ไม่นานก็เริ่มดุร้ายขึ้นทุกวัน” “ท่านบัณฑิต ข้าว่าต้องเป็นเพราะโจรที่มันมาปลูกเพิงพักอาศัยอยู่แถวๆ โรงช้างแน่ๆ เลย” “อึม..อาจจะเป็นไปได้เจ้าเล่ามาอีกซิ ว่าพวกโจรนั้นมันเป็นไง ทำอะไรกันบ้าง” “แต่ละคืนพวกมันก็วางแผนแต่เรื่องเลวร้าย พฤติกรรมแต่ละอย่างก็โหดร้ายทารุณ พ่อพลายมหิฬามุขได้ยินเรื่องนี้ทุกวัน ก็คงนึกว่าเค้าสอนให้ทำเรื่องนี้กระมัง”
 “ฮะ ฮ่า ฮาๆ คืนนี้พวกเราไปปล้นบ้านเศรษฐีกันดีกว่า” “ได้เลย ฮิๆๆ จะขนให้เกลี้ยงเลย ใครมาขวางก็จะแทงด้วยหอกนี้เลย” “ดีๆ แกแทงเสร็จข้าจะเตะอีกให้น่วมไปเลย ฮ่าๆๆ” “คืนนี้ไอ้บ้านเศรษฐีนั้นเสร็จข้าแน่เลย หึ! ใครขวางทางข้าจะฆ่ามันให้หมด ดูซิจะมีใครกล้าเข้ามาสู้มหาโจรอย่างข้า หิๆๆ ฮ่าๆ” “ลองเข้ามาใกล้ข้าดูซิจะเอามีดมาแทงควักไส้ออกมาให้หมดเลย”
“ส่วนข้าเองจะใช้ลูกถีบมหาบันลัยสู้กับมันเอง ลองเข้ามาใกล้ข้าดูซี..ข้าจะถีบให้กระจายหมดเลยทุกอย่าง เพราะเราคือเสือถีบ ถีบซ้าย..ถีบขวา..ถีบหน้า....ถีบหลัง ใครกล้าลองดีกับข้าโดนถีบแน่!...เท้าข้าเหม็นด้วย เหอะๆ” “งึย!..คืนนี้ข้าจะกวาดของมาให้หมด ใครมาขวางนะ ข้าจะฟาดด้วยกระบองนี่ให้และไปเลย สะใจโว้ย ฮ่าๆๆ ฮา ข้ามันให้ตายอย่าให้เหลือ!”
 เมื่ออำมาตย์รู้เรื่องราวทุกอย่างแล้วก็นำขึ้นกราบทูลพระเจ้าพรหมทัต “ขอเดชะอันพลายมหิฬามุขดุร้ายผิดวิสัยเดิม ก็เพราะใกล้ชิดคนชั่วโจรโหดร้ายพวกนั้นพะยะค่ะ” “อืม..ถ้าเช่นนั้นนะเราควรแก้ไขอย่างไรดีท่านอำมาตย์” “เห็นควรให้ทรงโปรดจับพวกโจรพวกนั้นขังไว้แล้วให้นักบวชมาพักอยู่ใกล้โรงช้างแทน เมื่อนักบวชได้สนทนาธรรม พลายมหิฬามุขจะได้ฟังและซึมซับไป
 วิธีการนี้คงจะเปลี่ยนพฤติกรรมโหดร้ายของพลายมหิฬามุขได้พะยะค่ะ” จากวันนั้นมา ที่พักของโจรก็ถูกรื้อทิ้งไปกลายเป็นธรรมศาลาของเหล่านักบวชแทนที่ พลายมหิฬามุขเมื่อได้ฟังเรื่องดีๆ สำเนียงสุภาพทุกวันจากพฤติกรรมเจ้าอารมณ์โหดร้ายก็เปลี่ยนเป็นอ่อนโยนประพฤติตัวดีมีวินัยเช่นเดิม “วันนี้เราจะสนทนาธรรมเรื่องอะไรกันดี” “อือ..เอาเรื่องนี้ซิ คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล ดีกว่า” “อืม..ดี”
 
    เมื่อพลายมหิฬามุขกลับมาประพฤติตัวดีเหมือนเดิม อำมาตย์บัณฑิตก็ได้รับคำสรรเสริญพร้อมรางวัลพระราชทานจากพระเจ้าพรหมทัต “เอ้า..พลายมหิฬามุขทานอ้อยนี่ซิ หวานนะ เออดี เดี่ยวนี้เรียบร้อยขึ้นนะเรา น่ารักเชียว อ้าวกินไป ควาญช้างดูแลพ่อพลายมหิฬามุขดีๆ นะ อย่าให้ใกล้สิ่งที่ชั่วร้ายอีก” “ขอรับข้าน้อยจะดูช้างอย่างดีเลย” “การอยู่ใกล้คนชั่วนี้ช่างเป็นภัยแก่ตัวจริงๆ ขอข้าพเจ้าอย่าพึงได้เห็น ได้ยินคนพาล อย่าพึงอยู่ร่วมกับคนพาล อย่าพึงทำ อย่าพึงใจ ปราศรัยกับคนพาลเป็นอันขาด”

 
ในพุทธกาลสมัย พลายมหิฬามุข กำเนิดเป็น ภิกษุผู้หลงผิด
พระเจ้าพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
อำมาตย์บัณฑิต เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: มหิฬามุขชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการคบคนพาล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 04:16:42 pm »
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ